Site icon ENLIGHTENTH

เครื่องแต่งกายสมัยหมิง 明代的服饰

ปี1368─ปี1644

   image227

公元1368年,明朝建国。为重新振兴中国社会,明朝政府采取了上承周汉,下取唐宋的治国方针,对整顿和恢复礼仪极其重视,并根据汉族传统重新规定了服饰制度。在政治、经济、文化技术发展的前提之下,明代的服饰面貌仪态端庄,气度宏美,成为中国近世纪服饰艺术的典范。

ในปี 1368 ชาวจีนได้สถาปนาราชวงศ์หมิงขึ้น และเพื่อที่จะฟื้นฟูสังคมจีนให้รุ่งเรืองอีกครั้ง   รัฐบาลหมิงจึงเลือกใช้ขนบธรรมเนียมและเครื่องแต่งกายสำหรับราชสำนักแบบโจวและฮั่น  และระบบการปกครองประเทศแบบถังและซ่ง     ทั้งให้ความสำคัญกับการแก้ไขฟื้นฟูจารีตประเพณีเดิม และฟื้นฟูระบบการแต่งกายที่สืบทอดกันมาของชนชาติฮั่นขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง   ภายใต้การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ การพัฒนาทางเทคนิคและวัฒนธรรมนั้น ทำให้เครื่องแต่งกายในยุคสมัยหมิงมีความสง่าและงดงาม ผ่าเผย กลายมาเป็นรูปแบบของศิลปะการแต่งกายของจีนยุคใกล้นี้

戴凤冠的明代贵妃(明人《朱夫人像》)

 

 

皇帝服饰

    明代皇帝的日常服装是龙袍,上面绣着龙纹、翟纹和十二章纹,一般以黄色纱罗制成,配金冠。皇帝礼服则仍保持上衣下裳的古制,由玄衣、纁裳、白罗大带、黄蔽膝、素纱中单、赤舄等组成。玄衣肩部织日、月、龙纹,背部织星辰、山纹,袖部织火、华虫、宗彝纹,领、袖口、衣襟侧边、裾都是本色。纁裳织藻、粉米、黻、黼纹。

ฉลองพระองค์

ฉลองพระองค์ของพระจักรพรรดิที่สวมใส่ประจำวันคือชุดมังกร   ด้านบนปักเป็นลายมังกร  ลายนกกระเรียนและสิบสองลายมงคล  ซึ่งปกติแล้วถักทอมาจากด้ายสีเหลือง   เสื้อลายมังกรจะสวมคู่กับพระสุวรรณมงกุฎ (หมวกทองคำ)    ชุดพระราชพิธีของพระจักรพรรดิก็ยังคงเป็นเสื้อผ้าและกระโปรงตามแบบโบราณราชประเพณี  ประกอบด้วยชุดพิธีการ(สีดำ)  กระโปรงสีแดงเข้ม  เข็มขัดสีขาว  แถบผ้าเหลืองที่ใช้แขวนที่เอว  เสื้อชั้นใน และฉลองพระบาทสีแดง     ชุดพิธีการ(เสื้อคลุมสีดำ)ปักลาย สุริยัน จันทราและมังกรที่หัวไหล่  ด้านหลังเป็นกลุ่มดาว ภูเขา  แขนเสื้อเป็นลายเปลวไฟ  ลายไก่ฟ้า  ลายจอกบูชา   บริเวณคอเสื้อ ปลายแขนเสื้อและสาบเสื้อ เป็นสีพื้น   ที่กระโปรงแดงมีกอสาหร่าย  เมล็ดข้าว รูปคันธนูสองคัน และรูปขวาน

    金冠(北京定陵出土实物)
戴乌纱折上巾、穿盘领、窄袖、绣龙袍的皇帝(南薰殿旧藏《历代帝王像》)
中单(参考《中东宫冠服》绘制) 蔽膝(参考《中东宫冠服》绘制)
龙袍十二章纹包括:日、月、星辰、山、龙、华虫、宗彝、藻、火、粉米、黼、黻。十二章纹发展历经数千年,每一章纹饰都有取义,、星辰代表三光照耀,象征着帝王皇恩浩荡,普照四方。,代表着稳重性格,象征帝王能治理四方水土。,是一种神兽,变化多端,象征帝王们善于审时度势地处理国家大事和
对人民的教诲。

华虫,通常为一只雉鸡,象征王者要“文采昭著”。

宗彝,是古代祭祀的一种器物,通常是一对,绣虎纹和譐纹,象征帝王
忠、孝的美德。

,则象征皇帝的品行冰清玉洁。

,象征帝王处理政务光明磊落,火炎向上也有率士群黎向归上命之意。

粉米,就是白米,象征着皇帝给养着人民,安邦治国,重视农桑。

,为斧头形状,象征皇帝做事干练果敢。

黻,为两个己字相背,代表着帝王能明辨是非,知错就改的美德。 

 

ขออนูญาตินำบทความของคุณกฤชวรรธน์ โล่ห์วัชรินทร์ ที่อธิบายเรื่องสัญลักษณื 12 ประการไว้มาให้อ่านเพิ่มเติมกันครับ© 2009-2010 กฤชวรรธน์ โล่ห์วัชรินทร์

สงวนลิขสิทธิ์สำหรับวัตถุประสงค์ทางการค้า
http://www.wiraja.com/?p=340สัญลักษณ์12 ประการที่ปรากฏในเสื้อคุลมมังกรประกอบไปด้วยดวงอาทิตย์ดวงจันทร์กลุ่มดาวภูเขามังกรไก่ฟ้า จอกบูชาสาหร่ายเมล็ดข้าวเปลวไฟขวานและอักษรฝูฉลองพระองค์ของจักรพรรดิในแต่ละราชวงศ์จะปรากฏสัญลักษณ์เหล่านี้เสมอแต่ในลักษณะและตำแหน่งแตกต่างกันไปไม่มากก็น้อยอีกทั้งความหมายของสัญลักษณ์ก็มักแปรผันไปตามกาลเวลาด้วยเช่นกันดังมีความหมายและรายละเอียดต่อไปนี้สุริยัน () เป็นพลังด้านสว่างหรือหยาง (阳) ถือเป็นบ่อเกิดของสรรพชีวิตสัญลักษณ์นี้หมายถึงอาณัติสวรรค์หรือความรู้แจ้งขององค์จักรพรรดิโดยมากลายปักสัญลักษณ์ดวงอาทิตย์มักเป็นวงกลมสีแดงภายในวงกลมปรากฏรูปกาหรือนกสามขา (三足鸟) ตำนานกล่าวว่าเดิมทีมีกาสามขาอยู่สิบตัวโดยทั้งสิบเป็นลูกของเทพีซีเหอ (羲和) มีถิ่นอาศัยอยู่ในดวงอาทิตย์สิบดวงโดยเกาะอยู่บนต้นหม่อนในทะเลตะวันออกมีนิสัยชอบบินลงมากินหญ้าอมฤตบนโลกมนุษย์ในแต่ละวันกาตัวหนึ่งจะทำหน้าที่โคจรรอบโลกเพื่อให้แสงสว่างแก่มวลมนุษย์สลับกันไปเรื่อยๆมีอยู่ครั้งหนึ่งกาทั้งสิบตัวบินลงมายังโลกพร้อมกันสร้างความเดือดร้อนแสนสาหัสแก่มวลมนุษย์เป็นอย่างยิ่งวีรบุรุษโฮ่วยี่ (后羿) จึงเอาธนูยิงกาเก้าตัวหล่นลงจากท้องฟ้าทำให้เหลือกาสามขาตัวเดียวหรือดวงอาทิตย์ดวงเดียวมาจนทุกวันนี้จันทรา() เป็นพลังด้านมืดหรือยิน (阴) และเป็นสัญลักษณ์ของสรวงสวรรค์บนฉลองพระองค์ของจักรพรรดิสัญลักษณ์ดวงจันทร์มักปรากฏเป็นรูปวงกลมพื้นสีขาวฟ้าหรือเขียวอ่อนภายในมีกระต่ายตัวหนึ่งกำลังตำยาอายุวัฒนะตำนานกล่าวว่ากระต่ายตัวนี้เป็นสัตว์เลี้ยงของฉางเอ๋อ (嫦娥) เทพีแห่งดวงจันทร์นอกจากกระต่ายแล้วสัญลักษณ์ของดวงจันทร์ยังปรากฏว่าภายในวงกลมเป็นรูปกบด้วยซึ่งกบแทนความหมายของการปัดเป่าโรคภัยและความเจริญรุ่งเรืองกลุ่มดาว (星辰) เป็นสัญลักษณ์ของจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาลหมายถึงเมตตาธรรมอันไม่มีขอบเขตสิ้นสุดของจักรพรรดิสัญลักษณ์นี้มักปรากฏเป็นวงกลมขนาดเล็กสามวงวางทำมุมเป็นรูปสามเหลี่ยมโดยมีเส้นโยงวงกลมแต่ละวงไว้ด้วยกันดาวทั้งสามดวงนี้คือส่วนด้ามของกลุ่มดาวกระบวยใหญ่ ( Big Dipper หรือ 北斗七星 ) ซึ่งก็คือส่วนหางของกลุ่มดาวหมีใหญ่ (Ursa Major) ในแผนที่ดาวของชาวตะวันตกนั่นเองโดยดาวสามดวงนี้มีความสำคัญในการกำหนดฤดูกาลมาตั้งแต่ยุคหินใหม่ (Neolithic) เมื่อนำมาเป็นสัญลักษณ์โดยทั่วไปจึงหมายถึงความสามารถในการพยากรณ์หรือการหยั่งรู้ฟ้าดินด้วยภูเขา () เป็นสัญลักษณ์ของโลกหมายถึงความชอบธรรมในการปกครองผืนดินผืนน้ำขององค์จักรพรรดิด้วยความที่ภูเขาตั้งตระหง่านสูงชันยิ่งใหญ่และหนักแน่นสัญลักษณ์นี้จึงยังสื่อถึงการปกครองอันมั่นคงและมีเสถียรภาพทั้งยังเป็นสัญลักษณ์แทนธาตุดินอันเป็นหนึ่งในห้าธาตุสำคัญของจีนด้วย

มังกร () เป็นสัตว์ในตำนานที่มีพลังอำนาจและความยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาสรรพสัตว์ทั้งมวลรูปมังกรที่ปรากฏบนฉลองพระองค์ของจักรพรรดิเป็นมังกรห้าเล็บซึ่งสงวนไว้เฉพาะองค์จักรพรรดิเท่านั้นมีความหมายถึงพระราชอำนาจและฐานันดรศักดิ์นอกจากนั้นมังกรยังเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำบนบกและบนฟ้าสามารถปรับเปลี่ยนรูปร่างไปตามสภาพแวดล้อมทั้งยังควบคุมฟ้าฝนได้อีกด้วยจึงสื่อถึงพระราชอำนาจที่แผ่ครอบคลุมไปทุกทิศานุทิศความสามารถในการปรับตัวและอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของไพร่ฟ้าประราชราษฎร์ตามลำดับ

ไก่ฟ้า (华虫) เป็นสัตว์ในตระกูลหงส์ (凤) ที่มีสีสันงดงามแพรวพรายสัญลักษณ์นี้แทนพระปรีชาในทาง
บุ๋นและความละเอียดอ่อนในทางภาษาและวรรณคดีของจักรพรรดิหมายถึงจักรพรรดิจะต้องรับฟังเสียงเรียกร้องของพสกนิกรอย่างตั้งใจจึงจะสามารถครองใจประชาชนได้มังกรกับไก่ฟ้าเป็นสัตว์สำคัญในบรรดาสัตว์ทั้งมวลเมื่อปรากฏร่วมกันจึงนับเป็นตัวแทนของสรรพชีวิตทั้งหลายที่อยู่ใต้พระราชอำนาจ

จอกบูชา (宗彝) เป็นเครื่องบูชาในพิธีบวงสรวงบรรพบุรุษสัญลักษณ์นี้จึงหมายถึงคุณธรรมของจักรพรรดิในการเคารพเทิดทูนเหล่าบรรพชนลายปักสัญลักษณ์จอกบูชาจะปรากฏเป็น2 จอกจอกหนึ่งเป็นรูปเสือหรือสิงโตหมายถึงความแข็งแรงอีกจอกหนึ่งเป็นรูปลิงหมายถึงความฉลาดว่องไวเมื่อพิจารณาโดยรวมจึงหมายถึงความแกร่งกล้าในการปกป้องอาณาประชาราษฎร์และสติปัญญาในการปกครองบ้านเมืองขององค์จักรพรรดินอกจากนั้นจอกบูชายังเป็นสัญลักษณ์ของธาตุโลหะด้วย

สาหร่าย () เป็นพืชน้ำที่สะอาดจึงเป็นสัญลักษณ์หมายถึงความบริสุทธิ์ไร้มลทินไม่มีราคีตีความได้ว่าเป็นสัญลักษณ์แสดงความชอบธรรมขององค์จักรพรรดิในฐานะผู้นำที่ไม่มีผู้ใดอาจก้าวล่วงหรือปฏิเสธได้สาหร่ายยังเป็นสัญลักษณ์ของธาตุน้ำด้วย

เมล็ดข้าว (粉米) เป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์และความมั่งคั่งแสดงให้เห็นว่าจักรพรรดิเป็นหลักยึดของมวลหมู่ประชาชนเหตุเพราะจักรพรรดิมีความสามารถในการสร้างความกินดีอยู่ดีความเจริญรุ่งเรืองและความผาสุกให้เกิดแก่ราษฎรในจักรวรรดิเมล็ดข้าวยังถือเป็นสัญลักษณ์แทนธาตุไม้ด้วย

เปลวไฟ () หมายถึงอัจฉริยภาพอันสว่างสุกใสขององค์จักรพรรดิในอันที่จะนำพาจักรวรรดิและอาณาประชาราษฎร์ไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองเปลวไฟยังเป็นสัญลักษณ์แทนธาตุไฟด้วย

ขวาน () เป็นสัญลักษณ์แทนพระเดชานุภาพความเด็ดขาดและการลงโทษซึ่งล้วนเป็นหลักการสำคัญขององค์จักรพรรดิในการบริหารราชการแผ่นดินในยามขับขันเกิดศึกสงครามเกิดจลาจลหรือเกิดทุพภิกขภัย

อักษรฝู () สัญลักษณ์นี้เป็นรูปธนูสองคันหันหลังชนกันโดยคันหนึ่งมักมีสีดำส่วนอีกคันมักมีสีขาวหรือมักใช้สีมืดกับสีสว่างประกอบกันหมายถึงความสามารถในการจำแนกดีชั่วถูกผิดซึ่งก็คือพระราชอำนาจในการตัดสินขององค์จักรพรรดินั่นเอง

ดังกล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่าสัญลักษณ์12 ประการนั้นแสดงให้เห็นฐานันดรศักดิ์และอำนาจหน้าที่ของจักรพรรดิจีนทุกประการนับตั้งแต่การได้รับอาณัติสวรรค์ให้มีอำนาจเด็ดขาดยิ่งใหญ่และน่าเกรงขามไปจนถึงบุคลิกอันอ่อนโยนและเอาใจใส่ไพร่ฟ้าประชาชนซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นคุณสมบัติอันพึงประสงค์ของนักปกครองที่ดีแทบทั้งสิ้น

皇后服饰

皇后在受册、朝会时穿礼服。礼服由凤冠、霞帔、翟衣、背子和大袖衫组成。凤冠上饰有龙凤和珠宝流苏,配玉革带,青色加金饰的袜、舄。皇后的常服是穿金绣龙纹的红色大袖衫、霞帔、红色长裙、红背子,配凤冠。

ฉลองพระองค์พระมเหสี

พระมเหสีจะสวมชุดพิธีในโอกาสที่รับพระราชโองการ หรือโอกาสสำคัญๆต่างๆ   ชุดพิธีประกอบด้วย มงกุฎหงส์ แถบคล้องคอ (มีหน้าที่คล้ายสายสะพายบ่าในปัจจุบัน)   ชุดตี๋ (เสื้อคลุมข้างใน)  แถบผ้า(คล้ายผ้ากันเปื้อน) และเสื้อแขนใหญ่สำหรับสวมด้านนอก     ด้านบนของมงกุฎหงส์มีมังกรหงส์และพู่ไข่มุก เข็มขัดประดับหยก ถุงน่องสีเขียวเข้มเหลือบทอง  ฉลองพระบาท   ฉลองระองค์ที่พระมเหสีทรงสวมในเวลาปกติคือเสื้อแขนใหญ่ที่ปักลายมังกรทอง  แถบคล้องคอ กระโปรงแดง  แถบผ้า(คล้ายผ้ากันเปื้อน)สีแดง  และมงกุฎหงส์

  穿耳、带耳环的明代皇后 (南薰殿旧藏《历代帝后》)

 

凤冠

明代凤冠以金、银、铜等金属丝网为胎,衬以罗纱,并挂有珠宝流苏,它有两种基本形式:一种是后妃所戴的礼冠,上缀点翠凤凰、龙等装饰,龙凤嘴中常衔着珠花,下垂至肩;另一种是普通命妇所戴的彩冠,上面不缀龙凤,仅缀珠翟、花钗等,但习惯上也称它为凤冠。

มงกุฎหงส์

มงกุฎหงส์ในสมัยราชวงศ์หมิงมีโครงซึ่งทำมาจากตาข่ายที่ถักจากทองคำ  เงิน ทองแดง เป็นต้น    บุภายในด้ายผ้าใยไหม  ประดับพูห้อยและอัญมณี  มีรูปร่างพื้นฐาน ๒ แบบ คือ   รูปแบบแรก  เป็นมงกุฎพิธีสำหรับพระมเหสี พระวรราชเทวี และพระราชเทวีลำดับชั้นต่างๆ  ด้านบนประดับหงส์ มังกร และเครื่องประดับอื่นๆที่ทำมาจากขนนกกระเต็น  บริเวณปากของมังกร และหงส์มักประดับดอกไม้เพชร ดอกไม้พลอย  ห้อยถึงบ่า     รูปแบบที่สองมีไว้สำหรับสตรีสูงศักดิ์และเหล่าภริยาขุนนางชั้นต่างๆ  ส่วนบนของมงกุฎไม่มีหงส์และมังกร  แม้ว่าประดับเพียงขนนกป่าหรือกิ๊บดอกไม้  แต่ก็ถูกเรียกว่ามงกุฏหงส์ด้วยเหมือนกัน

   龙凤珠翠冠 (北京定陵出土实物) 凤冠 (湖北蕲春蕲州明刘娘井墓出土)    

霞帔

霞帔是一种帔子,因为被人们比喻成美丽的彩霞,所以有了“霞帔”之称。它的形状象两条彩练,绕过头颈,披挂在胸前,下垂一颗金玉坠子。霞帔的纹样随品级的差别而有不同的装饰:一品、二品命妇霞帔,用蹙金绣云霞翟鸟纹。三品、四品霞帔,绣云霞孔雀纹。五品霞帔,绣云霞鸳鸯纹等。

แพรแถบคล้องคอ

แพรแถบคล้องคอเสียเพ่ยเป็นแพรแถบคล้องคอชนิดหนึ่ง  เนื่องจากการที่ถูกคนเปรียบเปรยว่างดงามราวกับเมฆสีชมพูบนท้องฟ้า ดังนั้นจึงเรียกสายแถบคล้องคอชนิดนี้ว่า เสียเพ่ย หรือ แพรแถบเมฆชมพู  มีปลายสองด้าน  พันจากคอลงมา พาดยาวผ่านอก  ปลายทั้งสองห้อยเป็นจี้หยกและทอง   ลวดลายของแพรแถบนั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งและระดับชั้น   ภริยาของขุนนางข้าราชการชั้นหนึ่ง และชั้นสอง ใช้ดิ้นทองปักเป็นลายลายเมฆและไก่ฟ้าบนผ้าสีแดง  ระดับสามและระดับสี่ เป็นลายเมฆและนกยูง  ระดับห้า  ลายเมฆและลายเป็ดแมนดารินเป็นต้น

  戴凤冠、穿霞帔的明朝皇后 (南薰殿旧藏) 《历代帝后像》     明《中东宫冠服》 所绘大衫凤纹霞帔正面/背面  

 

乌纱帽

乌纱帽是用乌纱制成的圆顶官帽。它的式样和晚唐五代的幞头基本相同,以漆纱做成,两边展角,角长40厘米左右。皇帝日常所戴的乌纱折上巾,其样式与乌纱帽基本相同,只是将左右二角向上折,竖于纱帽之后而已。

หมวกวูซา

หมวกวูซาหรือหมวกแพรสีนิลนั้น ใช้ผ้าแพรสีนิลประดิษฐ์เป็นหมวกยอดกลม  มีลักษณะคล้ายกับหมวกฝู (โพกหัว) ในตอนปลายสมัยถังและสมัยห้าราชวงศ์  แต่หมวกฝูช่วงถังทำจากผ้าที่ย้อมสีเคลือบด้านนอก  มีปลายห้อยสองข้างยาวประมาณ ๔๐ เซนติเมตร     หมวกที่พระจักรพรรดิสวมในวันทั่วๆไปนั้นมีลักษณะคล้ายกับหมวกวูซาทั่วไป แต่ทว่าปลายทั้งสองข้างจะเป็นลักษณะยกขึ้น และถูกสร้างหลังจากมีการประดิษฐ์หมวกวูซา

  乌纱帽 (上海肇家浜路潘允徵墓出土实物)

 

 

文武官服

明代文武官员一律穿盘领右衽、袖宽三尺的袍衫,在重要礼仪场合,不论职位高低,都戴梁冠,穿赤罗衣裳,以冠上梁数及所佩绶带分别等差。在日常服装中,都带乌纱帽或幞头,并在前胸和后背缀以一方补子,文官用禽、武官用兽作装饰。官服的颜色、质地、式样、花纹图案以及尺寸因级别而异,都有明确的规定。

เครื่องแต่งกายของข้าราชการพลเรือนและกลาโหม

เครื่องแต่งกายข้าราชการพลเรือนและกลาโหมในสมัยหมิงนี้ เป็นเสื้อคอกลมที่สาบเสื้อพับไปทางขวา แขนกว้าง ๓ ฟุต  ในงานพระราชพิธีที่สำคัญๆ ไม่ว่าจะมีตำแหน่งต่ำหรือสูงต่างจะสวมหมวกกวนเหลียง  สวมเสื้อผ้าสีชาด  โดยจะใช้ จำนวนริ้วบนหมวกและสายริบบิ้นบ่งบอกถึงลำดับขึ้น    เครื่องแต่งกายในวันทั่วไปก็จะสวมหมวกวูซาหรือไม่ก็หมวกฝู    โดยมีแผ่นภาพสัตว์มงคลที่บอกดำดับขั้นแปะไว้ด้านหลังและด้านหน้าบริเวณหน้าอก  ที่เรียกว่า ปู่จึ  ข้าราขการฝ่ายบุ๋นใช้สัตว์จำพวกนก  ฝ่ายบู๊ใช้สัตว์จตุรบาท    เสื้อผ้าของข้าราชการนั้น  ทั้งสีสัน  เนื้อผ้า รูปแบบ ลวดลายต่างๆนั้น มีความแตกต่างกันไปตามระดับซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ที่มีความชัดเจน

  戴乌纱幞头、穿织金蟒袍的官吏 (明人《李贞写真像》) 戴貂蝉笼巾、佩方心曲领、穿朝服的官吏 (明人《范仲淹写真像》)   戴展角幞头、穿织金蟒袍、系白玉腰带的官吏 (明人《王鏊写真像》)  

 

补 子

明代官服上最有特色的装饰就是补子。所谓补子,就是在官服的胸前和后背补上一块表示职别和官阶的标志性图案,补子一般长34厘米,宽36.5厘米,上面织有禽兽两种图案:文官一品用仙鹤,二品用锦鸡,三品用孔雀,四品用云雁,五品用白鹇,六品用鹭鸶,七品用鸂鶒,八品用黄鹂,九品用鹌鹑,杂职用练鹊;武官一品二品用狮子,三品四品用虎豹,五品用熊罴,六品七品用彪,八品用犀牛,九品用海马。

ชุดลายสัตว์มงคล   补 子 

ลักษณะเด่นที่สุดของเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายขุนนางข้าราชสำนักหมิงก็คือ  ปู่จึ (ลายภาพสัตว์มงคล)    ที่เรียกว่าปู่จึ ก็เนื่องมาจาก เป็นภาพปักลายทีปักไว้ด้านหน้าบริเวณอกและด้านหลังเพื่อใช้แสดงและบ่งบอกถึงลำดับชั้นของตำแหน่ง ความยาวของปู่จึคือ ๓๔ เซนติเมตร  และกว้าง ๓๖.๕ เซนติเมตร  ลายที่ปักก็มี ๒ ประเภทด้วยกัน

ขุนนางบุ๋นระดับ ๑ ปักเป็นนกกระเรียนขุนนางบุ๋นระดับ๒ ปักเป็นไก่ฟ้าสีทองขุนนางบุ๋นระดับ๓ ปักเป็นนกยูงขุนนางบุ๋นระดับ๔ ปักเป็นห่านป่า

ขุนนางบุ๋นระดับ๕ ปักเป็นไก่ฟ้าสีเงิน

ขุนนางบุ๋นระดับ๖ ปักเป็นนกกระยาง

ขุนนางบุ๋นระดับ๗ ปักเป็นนกเป็ดน้ำ

ขุนนางบุ๋นระดับ๘ ปักเป็นนกขมิ้น

ขุนนางบุ๋นระดับ๙ ปักเป็นนกกระทา
ขุนนางบู้ระดับ ๑ ปักเป็นสิงโตขุนนางบู้ระดับ๒ ปักเป็นสิงโตขุนนางบู้ระดับ๓ ปักเป็นเสือดาวขุนนางบู้ระดับ๔ ปักเป็นเสือดาว

ขุนนางบู้ระดับ๕ ปักเป็นหมีสีน้ำตาล

ขุนนางบู้ระดับ๖ ปักเป็นเสือดำ

ขุนนางบู้ระดับ๗ ปักเป็นเสือดำ

ขุนนางบู้ระดับ๘ ปักเป็นแรด

ขุนนางบู้ระดับ๙ ปักเป็นม้าที่อยู่บนน้ำ
  明万历灯笼景刺绣圆补,私人收藏   穿斗牛服的明邢玠夫妇像  
  明早期六品文官鹭鸶纹缂丝方补   明中期织锦斗牛纹补,私人收藏
明初编绣龙纹方补,私人收藏
补子

盘领衣

盘领衣是继承唐宋以来的圆领袍衫发展而来的。明代官员服装大多为高圆领、缺胯的样式,官服的衣袖多宽袖或大袖,有的在衣裙两侧有插摆;平民的衣服无插摆,袖为窄袖,但60岁以上老者可以穿大袖,袖长也可适当加长至出手挽回至离肘10厘米处。

เสื้อคอกลม

เสื้อคอกลมนี้เป็นชุดคลุมคอกลมที่สืบทอดและพัฒนามาจากชุดในสมัยถังและซ่ง  รูปแบบเครื่องแต่งกายของขุนนางหมิงส่วนใหญ่เป็นคอกลมกว้าง แหวกข้าง   แขนเสื้อกว้างหรือมีขนาดใหญ่ ซึ่งบ้างก็มีตุ้งติ้งห้อยอยู่ข้างลำตัว แต่ราษฎรทั่วไปจะไม่ห้อยตุ้งติ้ง  และแขนเสื้อจะแคบ  สำหรับผู้สูงอายุที่อายุเกิน ๖๐ ปีขึ้นไปอาจสวมเสื้อแขนกว้างได้    แขนเสื้อยาวนั้นอาจยาวกว่ามือมาอีก ๑๐ เซนติเมตรเลยทีเดียว

  穿公服的官吏 (明人《江舜夫像》)   戴乌纱帽、穿盘领补服的明朝官吏 (明人《沈度写真像》)  

程子衣

这种形式与元代以来的辫线袄近似,明朝起初称为“曳撒”,是君臣外出乘马时所穿的袍式,后来明代士大夫日常也穿这种形式的服装,称其为“程子衣”。它的特点是大襟、右衽、斜领、袖子宽松,前襟的腰部有接缝,下面打满褶裥。

เครื่องแต่งกายนักวิชาการ นักศึกษา

เสื้อผ้าลักษณะนี้มาจากชุดเปี้ยนเสี้ยนอ่าวจิ้นซื่อของชาวหยวน  ในช่วงต้นราชวงศ์หมิงเรียกว่า เย่ซา เป็นฉลองพระองค์สำหรับ พระมหากษัตริย์ที่ใช้ทรงเวลาทรงม้า   ภายหลังเหล่าบัณฑิตก็ได้นำมาสวมเป็นชุดในวันปกติทั่วไป   แล้วเรียกว่า  เสื้อเฉิงจึ  จุดเด่นของมันคือมี ปกเสื้อกว้าง  สาบเสื้อพับไปทางขวา  คอเสื้อเฉียง (คอวี)  แขนเสื้อหลวม  ปกเสื้อด้านหน้ามีตะเข็บ  ด้านล่างเป็นจีบ

 

 

士人服装

明代的读书人一般都穿蓝色或黑色袍子,四周镶有宽边,也有穿浅色衫子的,衣长一般到脚面,袖子比较宽肥,袖长也一律过手。通常会与儒巾和四方平定巾相配,风格清静儒雅。

ชุดบัณฑิต

บัณฑิตยุคหมิงส่วนใหญ่สวมเสื้อคลุมสีน้ำเงินหรือสีดำ  ทุกด้านมีขอบกว้าง    และมีบ้างที่สวมเป็นชุดสีอ่อน  ส่วนมากมีความยาวถึงเท้า  แขนเสื้อค่อนข้างใหญ่และยาวเลยข้อมือไป  มักสวมคู่กับหมวกผ้าหรูจินหรือไม่ก็เป็นหมวกแข็งสี่เหลี่ยม  แลสุขุมและเยือกเย็น

 

戴儒巾、穿大袖衫的士人(明人肖像画)

 

 

四方平定巾

四方平定巾是以黑色纱罗制成的便帽,因其造型四角都呈方形,所以也叫“四角方巾”,明代以此来寓意“政治安定”。这种巾帽多为官员和读书人所戴,平民百姓戴的比较少,服装一般是配染色蓝领衣。

หมวกแข็งสี่เหลี่ยม

หมวกแข็งสี่เหลี่ยมเป็นหมวกที่ทำมาจากผ้าหลัวซาสีดำ  และเนื่องจากรูปร่างลักษณะที่มีสี่เหลี่ยม  ดังนั้นจึงเรียกว่า   หมวกผ้าสี่ทิศ      และในสมัยหมิงนี้ได้ยึดหลัก  “การเมืองมีเสถียรภาพ”    หมวกประเภทนี้เป็นหมวกที่เหล่าขุนนางและบัณฑิตใช้สวมใส่  สามัญชนทั่วไปนั้นน้อยมากที่จะสวมหมวกชนิดนี้  และมักสวมเสื้อที่ย้อมสีคราม

戴儒巾或四方平定巾、 穿衫子的士人 (《娄东十老图》局部)   戴儒巾、穿衫子的士人  

 

 

比甲

比甲的前身是隋唐时期的半臂,到了明代它演变成一种无领无袖的对襟式半长上衣,并成为青年女子日常穿着的外衣。后来到了清代又缩短衣身,称为坎肩、背心、马甲。

เสื้อกั๊กยาวปี๋เจี่ย

เสื้อกั๊กยาวปี๋เจี่ยนี้ ก็คือเสื้อกั๊กปั้นปี้ในยุคสุยถัง  พอมาถึงสมัยหมิง มันก็ถูกปรับปรุงให้กลายเป็นเสื้อกั๊กที่ไม่มีแขนและไม่มีคอเสื้อ สาบเสื้อตรง ยาวถึงเข่า  ซึ่งกลายมาเป็นเสื้อนอกที่ใส่ประจำวันของบรรดาสาวรุ่น  ภายหลังในสมัยชิงก็หดสั้นลง และถูกเรียกว่า  ข่านเจียน  เป้ยซิน หรือ หมาเจี่ย

穿比甲的妇女(《燕寝怡情》图册

背子

明代的背子多为合领或直领对襟的,衣长与裙齐,左右腋下开禊,衣襟敞开,两边不用钮扣,有时以绳带系连,是女子的日常服装。一般情况下,贵族女子穿合领对襟大袖的款式,而平民女子则穿直领对襟小袖的款式。

ชุดเป้ยจึ

ชุดเป้ยจึในสมัยหมิง ส่วนมากมีปกเสื้อรวบและปกเสื้อแบบตรง  ยาวและรัดรูป  ใต้วงแขนทั้ง ๒ ข้างมีการเย็บให้เกิดริ้วลอนหรือแขนจ้ำ  ปลายกระโปรงบานออก  สายเสื้อทั้งสองด้านไม่ต้องมีกระดุม  บางครั้งใช้เชือกมัด    เป็นเสื้อที่หญิงสาวสวมใส่ในชีวิตประจำวัน    ในเวลาปกติทั่วไป หญิงสูงศักดิ์มักสวมชุดเป้ยจึปกเสื้อรวบที่มือแขนเสื้อใหญ่  แต่หญิงชาวบ้านจะสวมเป้ยจึปกและสาบเสื้อตรงและแขนเสื้อเล็ก

  穿宽袖背子的贵妇 穿窄袖背子的贵妇及侍女(唐寅《簪花仕女图》)

 

水田衣

中国诗句中有“裁衣学水田”的描述,女子水田衣的浪漫和新奇从中可见一斑。水田衣是用许许多多零星的织锦缎料拼合而成的。这些缎料色彩不同,图案不同,大小不同,形状也各异,所以拼制起来的服装色彩斑斓,形如水田,具有一种极其特殊的装饰效果,受到明代女子的普遍喜爱。

ชุดผ้าตัดปะลายตารางนาข้าว

คำโบราณจีนกล่าวไว้ว่า  “เย็บเสื้อผ้าต้องเรียนรู้ปะผ้าลายตารางนาข้าว”   ซึ่งเป็นความแปลกใหม่และความโรแมนติกของเสื้อผ้าแบบตัดปะในหมู่หญิงสาว  เสื้อผ้าตัดปะลายตารางนาข้าวพวกนี้ตัดเย็บขึ้นมาจากเศษผ้าหลายๆชิ้น     สีสัน ลวดลาย ขนาดของเศษผ้าเหล่านี้แตกต่างกัน  รูปร่างก็แตกต่างกันไป  ดังนั้นเสื้อผ้าที่ตัดเย็บขึ้นมาจึงมีสีสันที่สดใสและแปลกใหม่ ลักษณะคล้ายนาข้าว  มีลักษณะที่โดดเด่นเป็นพิเศษ  ซึ่งได้รับความนิยมชมชอบจากบรรดาสาวยุคหมิงเป็นอย่างมาก

   

 

裙子

明代女子穿裙子比较普遍。裙子的颜色,开始流行浅淡的色彩,以素白居多,虽然上面有纹饰,但并不明显,即使施绣,也只是在裙摆处绣以花边,作为压脚。裙幅开始采用六幅,这也是遵循古训“裙拖六幅湘江水”。后来裙幅采用八幅,腰间细褶数十,行动辄如水纹。裙上的纹样,也更讲究。据说有种浅色画裙,名叫“月华裙”,裙幅共有十幅,腰间每褶各用一色,轻描淡绘,色彩非常淡雅,风动色如月华,因此得名。此外,还有的裙子用绸缎裁剪成大小规则的条子,每条绣以花鸟图纹,另在两畔镶以金线,称“凤尾裙”。更有以整缎折以细缱,做成“百褶裙”的。

กระโปรง

การสวมกระโปรงของหญิงสาวในสมัยหมิงค่อนข้างเป็นที่แพร่หลาย     สีสันของกระโปรง   ในระยะเริ่มแรก สีที่นิยมคือสีอ่อนเบาๆ และใช้สีขาวพื้นเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแม้ว่าจะมีลวดลายแต่ก็มิได้ดูโดดเด่นชัดเจนมากนัก  และการปักลาย ก็พียงแค่ปักเป็นลูกไม้ที่ชายกระโปรงเท่านั้น    ในตอนต้น จีบกระโปรงมีเพียง ๖ จีบ   ตามคำกล่าวที่ว่า “ กระโปรงหกจีบลายแม่น้ำเซียง”    ภายหลังก็ได้เปลี่ยนมาใช้ ๘ จีบ เอวรัดรูปมีจีบนับสิบจีบ  มักเป็นลายน้ำไหล    ลวดลายบนกระโปรงนั้นก็ยิ่งให้ความสำคัญมากเช่นกัน    กล่าวกันว่า  มีกระโปรงสีอ่อนอยู่รูปแบบหนึ่ง  เรียกว่า  กระโปรงเยว่ฮว๋า(จันทราทรงกลด)  ซึ่งมีจีบกระโปรงถึง ๑๐ จีบ  จีบที่ส่วนเอวก็มีสีสันที่แตกต่างกันไป มักมีสีอ่อนโยนอันแลหรูหราเป็นอย่างยิ่ง  และเนื่องจากยามกระโปรงโบกสะบัดเวลาเดินจะมีสีสันซึ่งคล้ายกับพระจันทร์ที่กำลังทรงกลด  จึงได้ชื่อว่า กระโปรงจันทราทรงกลด        นอกจากนั้น  ยังมีกระโปรงอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งตัดเย็บมาจากแถบผ้าซาตินที่มีขนาดไม่เท่ากัน  แต่ละแถบผ้าปักเป็นลายบุปผาชาติและปักษา  และขลิบด้านข้างด้วยดิ้นทอง  เรียกกระโปรงชนิดนี้  กระโปรงหางหงส์    และมีกระโปรงอีกประเภทหนึ่ง ใช้ผ้าซาตินทั้งผืนพับเป็นจีบๆ  เรียกว่า กระโปรงร้อยริ้ว

  穿襦裙及腰裙的侍女(费晓楼《仕女精品》)   穿襦裙的乐女 (传世绘画《汉宫秋》局部)
  凤尾裙(传世实物)

 

 

弓鞋

明代女子不仅沿袭了前代缠足的风俗,而且使之大胜。缠足后所穿的鞋叫做“弓鞋”,这是一种以香樟木制成的高底鞋。木底露在外边的叫“外高底”,有“杏叶”、“莲子”、“荷花”等名称;木底藏在里边的一般叫“里高底”,又称“道士冠”。老年妇女大多穿平底鞋,称为“底而香”。

รองเท้าคันศร

สตรีชาวหมิงมิเพียงแต่ปฏิตามบรรพบุรุษในประเพณีรัดเท้าเท่านั้น  แต่ทว่ายังให้ความสำคัญมากอีกด้วย    รองเท้าที่สวมใส่หลังจากรัดเท้าแล้วเรียกว่า “กงเสย์” หรือ รองเท้าคันศร    รองเท้าชนิดนี้เป็นรองเท้าพื้นสูงที่ประดิษฐ์     พื้นรองเท้าจากไม้หอม  ส้นไม้ที่ยื่นออกมานั้นเรียกว่า  ไว่เกาตี่  หรือ ใบแปะก้วย  หรือ ดอกบัว และอื่นๆอีกหลายชื่อ  และส่วนส้นไม้ที่ซ่อนไว้ภายในเรียกว่า  หลี่เกาตี่  หรือ หมวกนักพรต    ส่วนผู้สูงอายุจะสวมรองเท้าพื้นเรียบ เรียกว่า  ตี่เอ๋อร์เซียง

  穿弓鞋的妇女(山西宾宁寺明《水陆画》局部)   高底弓鞋
  翘头小脚银鞋

 

女子发饰

明代女子将头髻梳成扁圆形状,并在发髻的顶部,饰以宝石制成的花朵,时称“挑心髻”。后来又将发髻梳高,以金银丝挽结,顶上也有珠翠装点。渐渐地名目越来越多,样式也从扁圆趋于长圆,有“桃尖顶髻”、“鹅胆心髻”等名称,还有模仿汉代“堕马髻”的。除此之外,明代妇女也常用假髻作装饰。这种假髻一般比原来的发髻要高出一半,戴时罩在真髻上,以簪绾住头发。明末,这类发饰的样式更加丰富,有“懒梳头”、“双飞燕”、“到枕松”等各种不同样式,甚至还有成品出售。

เครื่องประดับศีรษะของผู้หญิง

สตรีชาวหมิงจะหวีผมเป็นมวยรูปไข่  มวยเป็นก้อนไว้บนศีรษะ   เครื่องประดับก็เป็นดอกไม้ที่ทำจากอัญมณี เรียกว่า  เทียวซินจี้  ภายหลังก็เริ่มมวยให้ผมสูง ดึงปมด้วยไหมเงินไหมทอง  และประดับมรกต   ซึ่งเครื่องประดับบนศีรษะก็ค่อยๆเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ   ทรงผมมวยที่จากเดิมเป็นรูปไข่ก็กลายเป็นทรงรียาว  มีทรงผม  มวยยอดท้อ  มวยตับห่าน  เป็นต้น   และยังมีทรงที่เลียนแบบจากยุคฮั่นคือ  ทรงตกหลังม้า    นอกจากนี้แล้ว  สตรีชาวหมิงยังนิยมใช้ผมปลอมอีกด้วย      วิกผมเหล่านี้จะมีความสูงกว่าผมเดิมครึ่งหนึ่ง    เวลาใส่ก็จะสวมไว้บนผมและติดกิ๊บเพื่อให้อยู่ทรง        ช่วงปลายราชวงศ์หมิง
วิกผมทรงที่ได้รับความนิยมได้แก่  ทรงขี้เกียจหวี (ปล่อยผม)  ทรงอีแอ่นคู่  ทรงหมอนหลวม  เป็นต้น  และถึงขนาดทำไว้ขายกันเลยทีเดียว
  簪珠翠发饰的贵妇及挂玉佩的侍女(陈洪绶《夔龙补衮图》)   金凤簪(湖北蕲春蕲州明刘娘井墓出土)  
如意头簪(四川成都营门口明墓出土)

 

头箍

明代在年轻女子中,还有戴头箍的风尚。头箍最初是以棕丝结成网状,罩住头发。以后戴的人渐渐多了,又出现了纱头箍及热罗头箍。头箍的作用,慢慢地也由束发变成了一种装饰,发展到最后,只留下一条窄边,系扎在额头眉上。

ที่คาดผม

ในหมู่สาวน้อยชาวหมิงนั้น  ยังมีแฟชั่นนิยมที่คาดผมอีกด้วย  แรกเริ่มเดิมที  ที่คาดผมทำจากเส้นไหมสีน้ำตาลที่ถักเป็นตาข่าย   สวมไว้บนหัว  ต่อมาผู้ที่ใช้มันก็ค่อยๆเพิ่มขึ้น  และปรากฏเป็นแถบคาดผมผ้าไหมและผ้าเร่อหลัว    บทบาทของที่คาดผมจากที่แต่เดิมใช้เป็นเพื่อจัดทรงผม ภายหลังได้กลายเป็นเครื่องประดับศีรษะประเภทหนึ่ง   และสุดท้ายพัฒนามาเป็นเพียงแถบแคบๆที่ใช้คาดผมเหนือหน้าผากเท่านั้น

 

 

明光铠

明光铠是中国古代著名的铠甲,它最大的特点就是在前胸和后背的左右各佩有一块圆形护镜,这种护镜在阳光下能闪烁反光,具有明亮的视觉效果,因而有了“明光铠”的得名。除护镜以外,明光铠在肩上还装有兽头形状的护膊,它既具有保护作用,又能显示出将士勇猛威武的气势。

เสื้อเกราะหมิงกวง (ชุดเกราะประกายแสง)

ชุดเกราะหมิงกวงเป็นชุดเกราะที่มีชื่อเสียงของจีนยุคโบราณ  ลักษณะที่เด่นที่สุดของมันก็คือมีแผ่นกระจกทรงกลมติดอยู่ที่หน้าอกและด้านหลังทั้งซ้ายและขวา    แผ่นกระจกนี้จะสะท้อนแสงเมื่อต้องกับแสงอาทิตย์ จึงทำให้มีแสงกระพริบระยิบระยับ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ได้ชื่อ ว่าเสื้อเกราะประกายแสงนี้มา    นอกจากจะมีการประดับกระจกแล้วนั้น  บริเวณหัวไหล่ของเสื้อเกราะประกายแสงนี้ยังตกแต่งด้วยเกราะไหล่สำหรับป้องกันรูปหัวสัตว์อารักษ์ขาอีกด้วย  ซึ่งช่วยแสดงถึงความแกร่งกล้าสามารถของนายพล

 胄甲穿戴展示图(根据出土陶俑复原绘制)

 

 

服饰纹样

人们常将几种不同形状的图案配合在一起,或取其寓意,或取其谐音,以此寄托美好的愿望,或抒发自己的感情。这些富有浓厚民族色彩的传统图案被称为“吉祥图案”,在明代的织物上体现得非常充分:如“福从天来”“金玉满堂”“连年有余”“八吉祥”等等。尽管这些图案的形状各不相同,结构也比较复杂,但在一幅画面上,被组织得相当和谐,常在主体纹样中穿插一些云纹、枝叶或飘带,给人以轻松活泼的感觉。

ลวดลายบนเครื่องแต่งกาย

ผู้คนในสมัยนี้จะนำรูปร่างที่แตกต่างกันมาประกอบลายขึ้นเป็นลวดลายเดียวกัน  หรืออาจจะเป็นเรื่องของความหมายหรือการพ้องเสียงกับคำความหมายดี  ซึ่งเป็นการแสดงถึงความปรารถนาความต้องการต่างๆหรืออาจจะเป็นเพียงเพื่อแสดงความรู้สึกของพวกเขา   ลวดลายที่เต็มไปด้วยสัญลักษณ์ดั้งเดิมของชนเผ่าจีนพวกนี้ ถูกเรียกว่า “ลวดลายมงคล”  โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับลวดลายสมัยหมิงซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจน    เช่น  “สุขมาจากฟ้า”  “เงินทองเต็มบ้าน”(กิมเง็กมั่วตึ๊ง)  “เหลือกินทั้งปี”  “แปดมงคล”  เป็นต้น   ถึงแม้ว่าลวดลายพวกนี้จะไม่เหมือนกัน  การประกอบลายค่อนข้างซับซ้อน แต่ทว่าพอเวลาไปอยู่บนผืนผ้าแล้วก็กลมกลืนเข้ากันได้เป็นอย่างดี   ลวดลายหลักที่ใช้เป็นโครงก็เช่น ลายเมฆ  ลายใบไม้ ลายสายรุ้งที่ให้ความรู้สึกมีชีวิตชีวา

   明缂丝葫芦纹藏袍(童服)。葫芦纹是明朝年节所穿的服饰纹样, 取福禄吉庆之意,俗称“大吉葫芦”,私人收藏。     北京定陵出土明万历皇帝织金妆花纱柿蒂形过肩龙阑(复制件,北京定陵博物馆藏)