พจนานุกรม ไทย – ไทย ข

【 ข 】แปลว่า: พยัญชนะตัวที่ ๒ เป็นพวกอักษรสูง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กกในคํา
ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต.
【 ขง 】แปลว่า: (โบ) น. กรุง, บางทีเขียนเป็น โขง. (“กรุง” เป็น “ขุง” และเป็น “ขง”
อย่าง ทุ่ง-ท่ง, มุ่ง-ม่ง).
【 ขงจื๊อ 】แปลว่า: น. ชื่อศาสนาสําคัญศาสนาหนึ่งของจีน มีศาสดาชื่อขงจื๊อ.
【 ขจร ๑ 】แปลว่า: [ขะจอน] ก. ฟุ้งไป. (ข. ขฺจร ว่า ฟุ้งไป แผลงเป็น กําจร ก็ได้;
ป., ส. ข = อากาศ + จร = ไป).
【 ขจร ๒ 】แปลว่า: [ขะจอน] /ดู สลิด ๑/.
【 ขจรจบ 】แปลว่า: [ขะจอน-] น. ชื่อหญ้าชนิด /Pennisetum pedicellatum/ Trin.
และ /P. polystachyon/ (L.) Schult. ในวงศ์ Gramineae แพร่พันธุ์
รวดเร็วมากและปราบยาก หญ้าทั้ง ๒ ชนิดนี้ต้นอ่อนใช้เป็น
อาหารสัตว์ ต้นแก่ใช้ทํากระดาษได้.
【 ขจอก 】แปลว่า: [ขะ-] ว. กระจอก, ง่อย, ขาเขยก. (ข. ขฺจก ว่า ขาเขยก, พิการ).
【 ขจัด 】แปลว่า: [ขะ-] ก. กําจัด เช่น ขจัดความสกปรก; กระจัด, แยกย้ายออกไป.
(ข. ขฺจาต่ ว่า พลัด, แยก).
【 ขจัดขจาย 】แปลว่า: ก. กระจัดกระจาย.
【 ขจ่าง 】แปลว่า: [ขะ-] ก. กระจ่าง เช่น จวบแจ้งขจ่างจา มิกราจํารัสศรี.
(สรรพสิทธิ์).
【 ขจาย 】แปลว่า: [ขะ-] ก. กระจาย, มักใช้เข้าคู่กับคำ ขจร เป็น ขจรขจาย.
(ข. ขฺจาย).
【 ขจาว 】แปลว่า: [ขะ-] (ถิ่น-พายัพ, ปักษ์ใต้) น. ต้นกระเชา. /(ดู กระเชา)./
【 ขจิต 】แปลว่า: [ขะ-] ก. ประดับ, ตกแต่ง. (ป.).
【 ขจิริด 】แปลว่า: [ขะ-] ว. กระจิริด.
【 ขจี 】แปลว่า: [ขะ-] ว. งามสดใส, ใช้ในคําว่า เขียวขจี. (ข. ขฺจี ว่า ดิบ, อ่อน).
【 ขจุย 】แปลว่า: [ขะ-] ว. กระจุย.
【 ขเจา 】แปลว่า: [ขะ-] (ถิ่น-พายัพ, ปักษ์ใต้) น. ต้นกระเชา. /(ดู กระเชา)./
【 ขณะ 】แปลว่า: [ขะหนะ] น. ครู่, ครั้ง, คราว, เวลา, สมัย. (ป.; ส. กษณ).
【 ขด ๑ 】แปลว่า: ก. ม้วนตัวให้เป็นวง ๆ เช่น งูขด, ทําให้เป็นวง ๆ เช่นนั้น เช่น
เอาลวดมาขด, งอหรือทําให้งอ เช่น นอนขด ขดให้เป็นลวดลาย.
น. สิ่งที่เป็นวง ๆ, ลักษณนามเรียกของที่เป็นวง ๆ เช่นนั้น เช่น
เชือก ๓ ขด.
【 ขด ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) ก. ขยด, เขยิบ, กระเถิบ.
【 ขดถวาย 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) ก. ขัดสมาธิ.
【 ขดาน 】แปลว่า: ขะ- น. กระดาน เช่น นางทายขดานผทับแด ไฟสมรลามแล
ลืมพาษปธาราราย. (สมุทรโฆษ).
【 ขตอย 】แปลว่า: [ขะ-] น. แมงป่อง. (ข. ขฺทวย).
【 ขทิง ๑ 】แปลว่า: ขะ- น. กระดิ่ง, กระดึง, เช่น ขทิงทอง รนนทดโยง
ลยวแล่ง. (กําสรวล).
【 ขทิง ๒ 】แปลว่า: ขะ- น. ต้นกระทิง.
【 ขทิง ๓ 】แปลว่า: ขะ- น. ปลากระทิง.
【 ขทึง ๑ 】แปลว่า: ขะ- น. กระดิ่ง, กระดึง.
【 ขทึง ๒ 】แปลว่า: ขะ- น. ต้นกระทิง.
【 ขน ๑ 】แปลว่า: น. สิ่งที่เป็นเส้นขึ้นตามผิวหนังคนและสัตว์ เช่น ขนตา ขนนก
ขนเม่น และใช้ตลอดไปจนถึงที่ขึ้นบนผิวต้นไม้ ผลไม้ ใบไม้
และอื่น ๆ, ราชาศัพท์ว่า พระโลมา.
【 ขนพอง 】แปลว่า: น. ขนตั้งชันฟูขึ้น เกิดจากความตกใจหรือความกลัวเป็นต้น.
【 ขนพองสยองเกล้า 】แปลว่า: น. ขนและผมตั้งชันขึ้นเพราะรู้สึกสยดสยองมากเป็นต้น.
【 ขนเพชร 】แปลว่า: น. ขนสีขาวที่ขึ้นแปลกเป็นพิเศษ มีลักษณะยาวกว่าปรกติ.
【 ขนแมว 】แปลว่า: น. รอยเป็นเส้น ๆ อยู่บนสิ่งที่ขัดเงายังไม่เกลี้ยงหรือบนผิว
ของเพชรที่เจียระไนแล้ว.
【 ขนลุก 】แปลว่า: น. ขนตั้งชันขึ้นเพราะอากาศเย็นเยือก ความตกใจ หรือความ
เสียวซ่าน เป็นต้น.
【 ขนลุกขนชัน, ขนลุกขนพอง 】แปลว่า: น. ขนตั้งชันขึ้นเพราะความขยะแขยงหรือตกใจกลัวเป็นต้น.
【 ขนสัตว์ 】แปลว่า: น. เรียกผ้าที่ทอจากขนของสัตว์บางชนิดเช่นแกะว่า ผ้าขนสัตว์.
【 ขนหน้าแข้งไม่ร่วง 】แปลว่า: (สํา) ว. ไม่กระทบกระเทือนถึงเดือดร้อน (ใช้แก่คนมั่งมีที่ต้อง
จ่ายเงินแม้จะมากแต่ก็ดูเหมือนเป็นจํานวนเล็ก ๆ น้อย ๆ).
【 ขนหนู 】แปลว่า: น. เรียกผ้าที่มีลักษณะเป็นขนขดใช้ห่มหรือเช็ดตัวเป็นต้นว่า
ผ้าขนหนู.
【 ขนหย็อง 】แปลว่า: น. ขนหัวตั้งชัน ตัวลีบ หางตก เป็นอาการของไก่หรือนก
ที่รู้สึกกลัวไม่กล้าสู้. ก. โดยปริยายใช้แก่คนที่ไม่กล้าสู้, กลัว.
【 ขนหัวลุก 】แปลว่า: (สำ) ว. อาการที่ตกใจหรือกลัวมากเป็นต้นจนรู้สึกคล้ายกับ
ผมตั้งชันขึ้น.
【 ขนอุย 】แปลว่า: น. ขนอ่อนหรือขนเพิ่งแรกขึ้น.
【 ขน ๒ 】แปลว่า: ก. เอาสิ่งของเป็นต้นจํานวนมากจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดย
บรรทุก หาบ หาม หรือด้วยวิธีอื่น.
【 ขนทรายเข้าวัด 】แปลว่า: ก. ทําบุญกุศลโดยวิธีนําหรือขนทรายไปก่อพระเจดีย์ทรายเป็นต้น
ที่วัด, (สำ) หาประโยชน์ให้ส่วนรวม.
【 ขนส่ง 】แปลว่า: น. ธุรกิจเกี่ยวด้วยการขนและส่ง เช่น ขนส่งสินค้า.
【 ขน ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อหญ้าชนิด /Brachiaria mutica/ (Forssk.) Stapf ในวงศ์
Gramineae ขึ้นในที่ชื้นและชายนํ้า ข้อ กาบใบ และใบมีขน
ใช้เป็นอาหารสัตว์, ปล้องขน ก็เรียก.
【 ขน ๔ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) ก. กรน เช่น คนนอนหลับขน ว่า คนนอนหลับกรน.
【 ข้น 】แปลว่า: ว. ลักษณะของเหลวที่มีการรวมตัวกันแน่นเข้า, ไม่ใส; มีน้อย
ลงไป, งวด.
【 ข้นแค้น 】แปลว่า: ก. อัตคัด, ขัดสน, มักใช้เข้าคู่กับคำ ยากจน เป็น ยากจนข้นแค้น.
【 ขนง 】แปลว่า: [ขะหฺนง] น. คิ้ว, ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า พระขนง.
【 ขนงเนื้อ 】แปลว่า: [ขะหฺนง-]น. หนังสัตว์ที่เผาไฟให้สุกแล้วต้มให้เปื่อย เพื่อปรุง
เป็นอาหาร.
【 ขนด 】แปลว่า: [ขะหฺนด] น. ตัวงูที่ขด; ลูกบวบจีวร; โคนหางงู มักเรียกว่า
ขนดหาง.
【 ขนน 】แปลว่า: [ขะหฺนน] น. หมอนอิง. (ข. ขฺนล่ ว่า หมอนอิง, ขอนที่ใช้เป็นหมอน).
【 ขนบ 】แปลว่า: [ขะหฺนบ] น. แบบอย่าง, แผน, ระเบียบ; กลีบ, รอยที่พับ (ของ
สมุดข่อย หรือผ้าจีบ หรือจีวร เป็นต้น); ชั้น เช่น ขนบหิน.
(ข. ขฺนบ่ ว่า สิ่งที่อยู่ในห่อ, ที่หมก).
【 ขนบธรรมเนียม 】แปลว่า: [ขะหฺนบทํา-] น. แบบอย่างที่นิยมกันมา.
【 ขนบประเพณี 】แปลว่า: น. จารีตประเพณีที่วางเป็นระเบียบแบบแผนไว้แล้ว.
【 ขนม 】แปลว่า: [ขะหฺนม] น. ของกินที่ไม่ใช่กับข้าว มักปรุงด้วยแป้งหรือข้าว
กับกะทิหรือนํ้าตาล, ของหวาน, ทางเหนือเรียกว่า ข้าวหนม.
【 ขนมครก 】แปลว่า: น. ขนมทําด้วยแป้งกับกะทิหยอดในภาชนะกระเบื้องหรือโลหะ
ที่ทําเป็นหลุม ๆ ตั้งบนไฟ.
【 ขนมทราย 】แปลว่า: (ราชา) น. ขนมขี้หนู.
【 ขนมเปียก 】แปลว่า: น. ขนมชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งข้าวเจ้าตั้งไฟกวนกับน้ำตาลหม้อ
และกะทิ หยอดให้มีขนาดพอคำแล้วโรยถั่วทองคั่ว.
【 ขนมเปียกปูน 】แปลว่า: น. ขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้าผสมกาบมะพร้าวเผาให้
เป็นถ่านบดละเอียด ตั้งไฟกวนกับน้ำตาล กะทิและน้ำปูนใส
เมื่อสุกเทลงใส่ถาด ตัดเป็นชิ้น ๆ ให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
ที่มีด้านทั้ง ๔ ยาวเท่ากัน แต่ไม่มีมุมภายในเป็นมุมฉาก; เรียก
รูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่มีด้านทั้ง ๔ ยาวเท่ากัน แต่ไม่มีมุมภายใน
เป็นมุมฉาก ว่า สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน, สี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด
ก็เรียก.
【 ขนมจีน 】แปลว่า: [ขะหฺนม-] น. อาหารชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งเป็นเส้นกลม ๆ คล้าย
เส้นหมี่ กินกับนํ้ายา นํ้าพริก เป็นต้น.
【 ขนมผสมน้ำยา 】แปลว่า: (สํา) ว. พอดีกัน จะว่าข้างไหนดีกว่ากันก็ไม่ได้.
【 ขนมผักกาด, ขนมหัวผักกาด 】แปลว่า: น. ของคาวชนิดหนึ่งทําด้วยแป้งผสมหัวผักกาด นึ่งให้สุก แล้วผัด
กับถั่วงอก ผักกุยช่าย.
【 ขนมเส้น 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ขนมจีน, ข้าวเส้น ก็เรียก.
【 ขนอง 】แปลว่า: [ขะหฺนอง] น. หลัง, ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า พระขนอง, ปฤษฎางค์
ก็ว่า. (ข. ขฺนง).
【 ขนอน 】แปลว่า: ขะหฺนอน น. ที่ตั้งอากรการผ่านเขต, ที่คอย.
【 ขนอบ ๑ 】แปลว่า: [ขะหฺนอบ] ก. นิ่ง. (ต.).
【 ขนอบ ๒ 】แปลว่า: [ขะหฺนอบ] น. ไม้ ๒ อันประกับเป็นขอบหรือกรอบของสิ่งของเพื่อ
ให้แน่น เช่น ไม้ขนอบใบลาน.
【 ขนัด 】แปลว่า: [ขะหฺนัด] น. แถว, แนว, เช่น เรือแล่นเป็นขนัด; ลักษณนามใช้เรียก
สวนที่มีคันดินกั้นเป็นตอน ๆ เช่น สวนขนัดหนึ่ง สวน ๒ ขนัด.
ว. แออัด ในคําว่า แน่นขนัด.
【 ขนัน ๑ 】แปลว่า: [ขะหฺนัน] น. ชื่อไม้ต้นชนิดหนึ่ง, คู่กับ ขนุน. (ปรัดเล).
【 ขนัน ๒ 】แปลว่า: [ขะหฺนัน] ก. กัน, บัง, ขวาง, เช่น ขนันนํ้า; วง, ล้อม, เช่น ล้อมขนัน;
ผูก, รัด, เช่น ขนันศพเด็ก. ว. ขัน.
【 ขนาก 】แปลว่า: [ขะหฺนาก] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Juncellus inundatus/ C.B. Clarke
ในวงศ์ Juncaceae ขึ้นอยู่ในทุ่งนาและริมแม่นํ้าคล้ายกก,
กระหนาก ก็เรียก.
【 ขนาง 】แปลว่า: [ขะหฺนาง] ก. กระดาก, อาย.
【 ขนาด ๑ 】แปลว่า: [ขะหฺนาด] น. ลักษณะของรูปที่กําหนดสังเกตได้ว่าใหญ่ เล็ก สั้น ยาว
หนัก หรือ เบา เท่านั้นเท่านี้ เช่น ขนาดใหญ่ ขนาดยาว ขนาด ๒ x ๑
เมตร; อัตรา, เกณฑ์ที่กําหนดไว้, เช่น ดีถึงขนาด เกินขนาด ไม่ได้ขนาด.
【 ขนาด ๒ 】แปลว่า: [ขะหฺนาด] น. เครื่องสาดนํ้ารดต้นไม้ โดยมากสานด้วยไม้ไผ่ รูปแบน ๆ
มีด้ามสําหรับถือ.
【 ขนาน ๑ 】แปลว่า: [ขะหฺนาน] น. หมู่; ลักษณนามเรียกยาที่ปรุงขึ้น เช่น ยาขนานหนึ่ง
ยา ๒ ขนาน.
【 ขนานใหญ่ 】แปลว่า: (ปาก) ว. มาก เช่น สับเปลี่ยนตำแหน่งกันขนานใหญ่.
【 ขนาน ๒ 】แปลว่า: [ขะหฺนาน] ก. เรียงคู่กันไป เช่น เรือแล่นขนานกันไป วิ่งขนาน,
เรียกเรือที่ผูกหรือตรึงติดเรียงคู่กันสําหรับข้ามฟากว่า เรือขนาน;
เรียก, ตั้ง, เช่น ขนานนาม ว่า ตั้งชื่อ. (คณิต) น. เรียกเส้นตรงคู่
ใด ๆ ซึ่งอยู่ห่างกันเป็นระยะเท่ากันโดยตลอดว่า เส้นขนาน.
(ข. ขฺนาน ว่า เทียบ).
【 ขนานน้ำ 】แปลว่า: น. ท่าที่เอาเรือ ๒ ลํามาจอดเทียบเคียงกันแล้วปูกระดานเพื่อให้
ขึ้นลงสะดวก.
【 ขนานลี่ 】แปลว่า: น. เรือแล่นคู่เคียงกันไป.
【 ขนาบ 】แปลว่า: [ขะหฺนาบ] ก. ประกบเข้าให้แน่น เช่น เอาไม้ขนาบทั้งข้างล่างข้างบน
หรือขนาบข้างเป็นต้น, ประชิดเข้าไปทั้ง ๒ ข้าง เช่น กองทัพตีขนาบ,
ติดชิดกันอยู่ทั้ง ๒ ข้าง เช่น ที่ดินขนาบคาบเกี่ยวกัน; (ปาก) ดุดันเอา
เช่น ถูกขนาบ; โดยปริยายหมายความว่า เรื่อยมา, ตลอดมา, เช่น รับ
ของถวายกันขนาบมา. (ประพาสมลายู).
【 ขนาย 】แปลว่า: [ขะหฺนาย] น. งาช้างพัง. (ข. ขฺนาย ว่า เขี้ยวหมู).
【 ขนำ 】แปลว่า: ขะหฺนํา น. กระท่อมชั่วคราวในทุ่งนาเป็นต้น.
【 ขนิษฐ, ขนิษฐา 】แปลว่า: [ขะนิด, ขะนิดถา] น. น้อง. (เลือนมาจาก กนิษฐ, กนิษฐา).
【 ขนุน ๑ 】แปลว่า: [ขะหฺนุน] น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด /Artocarpus/
/heterophyllus/ Lam. ในวงศ์ Moraceae มีนํ้ายางขาว ผลกลม
ยาวราว ๒๐-๕๐ เซนติเมตร ภายนอกเป็นหนามถี่ ภายในมียวง
สีเหลืองหรือสีจําปา รสหวาน กินได้ แก่นสีเหลือง เรียกว่า กรัก
ใช้ต้มเอานํ้าย้อมผ้า, พันธุ์ที่มียวงสีเหลือง เนื้อนุ่มแต่ไม่เหลว
เรียก ขนุนหนัง, พันธุ์ที่มียวงสีจําปา เนื้อนุ่ม เรียก ขนุนจําปาดะ,
ส่วนพันธุ์ที่มียวงสีเหลือง เนื้อเหลวเรียก ขนุนละมุด.
【 ขนุนป่า 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด /Artocarpus lanceifolius/ Roxb.
ในวงศ์ Moraceae เกิดในป่าดิบ.
【 ขนุนสำปะลอ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด /Artocarpus altilis/ Fosberg ในวงศ์
Moraceae ใบใหญ่เป็นแฉก ๆผลมีเมล็ดมาก กินได้ พันธุ์
ที่ผลไม่มีเมล็ด เรียก สาเก เนื้อกินได้.
【 ขนุน ๒ 】แปลว่า: [ขะหฺนุน] /ดู ใบขนุน (๑)/.
【 ขนุนญวน 】แปลว่า: /ดู ใบขนุน (๑)/.
【 ขนุนนก 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด /Palaquiumobovatum/ Engl. ในวงศ์
Sapotaceae มีนํ้ายางขาวจับเป็นก้อนแข็งเมื่อผสมกับยาง
อื่น ๆ ใช้ยาเรือได้.
【 ขบ ๑ 】แปลว่า: ก. เอาฟันเน้นเพื่อให้แตก เช่น ขบเมล็ดแตงโม, เอาฟันเน้นกัน เช่น
ขบฟัน; กัด เช่น หมาใดตัวร้ายขบบาทา. (โลกนิติ); อาการที่เมื่อย
ปวดเหมือนมีอะไรบีบหรือกดอยู่ที่ตรงนั้น เรียกว่า เมื่อยขบ,
ลักษณะของสิ่งที่ยังเข้ากันได้ไม่สนิท ยังปีนหรือเกยกันอยู่ เช่น
บานประตูขบกัน; อาการที่เล็บมือเล็บเท้ายาวจนกดเนื้อข้างเล็บ
เรียกว่า เล็บขบ.
【 ขบเขี้ยวเคี้ยวฟัน 】แปลว่า: ก. แสดงอาการโกรธเมื่อยังทําอะไรเขาไม่ได้.
【 ขบคิด 】แปลว่า: ก. คิดตรึกตรองอย่างหนัก.
【 ขบฉัน 】แปลว่า: ก. เคี้ยวกิน (ใช้แก่นักบวช). น. เรียกอาหารการกินของนักบวชว่า
ของขบฉัน.
【 ขบปัญหา 】แปลว่า: ก. คิดแก้ปัญหา.
【 ขบเผาะ 】แปลว่า: ว. เรียกผลมะม่วงอ่อน ๆ ขนาดหัวแม่มือว่า มะม่วงขบเผาะ
หมายเอาเสียงเวลาเอาฟันขบดังเผาะ; โดยปริยายเรียกวัยของ
เด็กหญิงที่เพิ่งเริ่มแตกเนื้อสาวว่า วัยขบเผาะ.
【 ขบไม่แตก 】แปลว่า: ก. คิดไม่ออก, แก้ไม่ตก, (ใช้แก่ปัญหา).
【 ขบ ๒ 】แปลว่า: /ดู คางเบือน/.
【 ขบขัน 】แปลว่า: ว. น่าหัวเราะ, ชวนหัวเราะ, ขัน ก็ว่า.
【 ขบถ 】แปลว่า: [ขะบด] ก. ประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร, ทรยศ. น. การประทุษร้าย
ต่อทางอาณาจักร, ความทรยศ; ผู้ประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร,
ผู้ทรยศ, กบฏ ก็ว่า.
【 ขบวน 】แปลว่า: [ขะ-] น. กระบวน, พวกที่จัดเป็นแถวเป็นแนวหรือเป็นหมวดเป็นหมู่
อย่างขบวนแห่ ขบวนรถ ขบวนเรือ; ทางขี้ผึ้งในการหล่อรูป.
【 ขบวนการ 】แปลว่า: น. กลุ่มบุคคลที่รวมกันเพื่อดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง.
【 ขบูร, ขบวร 】แปลว่า: ขะบูน, ขะบวน ว. แต่ง, ประดับ.
【 ขม ๑ 】แปลว่า: ว. รสอย่างหนึ่งอย่างรสสะเดาหรือบอระเพ็ด.
【 ขมขื่น 】แปลว่า: ก. รู้สึกชํ้าใจแต่ฝืนไว้ เพราะไม่สามารถแสดงออกมาได้, ขื่นขม
ก็ใช้.
【 ขมเป็นยา 】แปลว่า: (สำ) น. คำติมักเป็นประโยชน์ทำให้ได้คิด, มักใช้เข้าคู่กับ
หวานเป็นลม ว่า หวานเป็นลม ขมเป็นยา.
【 ขม ๒ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกในสกุล /Amaranthus/ วงศ์ Amaranthaceae มี
หลายชนิด เช่น ผักขมหนาม (/A. spinosus/ L.) ลําต้นมีหนาม ใช้ทํา
ยาได้ ผักขมสวน (/A. tricolor/ L.) ผักขมแดง (/A. caudatus/ L.) ใบ
สีแดง ปลูกเป็นไม้ประดับ, ผักโขม หรือ ผักโหม ก็เรียก. (๒) บวบขม.
/[ดู นมพิจิตร (๒)]/. (๓) หวายขม. /[ดู หวาย (๑)]/. (๔) เทียนขม.
/(ดู เทียนขม ที่ เทียน ๓)/. (๕) ชื่อบัวสายพันธุ์หนึ่งในสกุล /Nymphaea/
ดอกเล็ก สีขาว สายกินได้ หัวมีรสขม.
【 ขม ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อหอยนํ้าจืดกาบเดี่ยวในวงศ์ Viviparidae เปลือกขนาดประมาณ
เท่าหัวแม่มือ ยอดแหลม สีเขียวหรือดํา ออกลูกเป็นตัว มีหลายชนิด
เช่น ชนิด /Filopaludina sumatrensis, F. doliaris/.
【 ข่ม 】แปลว่า: ก. ใช้กําลังกดลงไม่ให้เผยอขึ้น; สานลายด้วยการใช้เส้นตอกเป็นต้น
ที่เป็นเส้นสานขัดทับอยู่ข้างบนเส้นตอกที่เป็นเส้นยืน ตรงข้ามกับคำ
ยก คือ ใช้เส้นสานลอดใต้เส้นยืน เช่น ยก ๒ ข่ม ๒; โดยปริยายหมาย
ความว่า แสดงกิริยาวาจาให้เห็นว่าเหนือกว่า หรือทำให้อีกฝ่ายหนึ่ง
รู้สึกว่าด้อยกว่า เช่น แต่งตัวข่มเพื่อน พูดข่ม, บังคับ เช่น ข่มใจ
ข่มอารมณ์; ครอบ.
【 ข่มขวัญ 】แปลว่า: ก. ทําให้ขวัญเสีย เช่น พูดข่มขวัญฝ่ายตรงข้าม.
【 ข่มขี่ 】แปลว่า: ก. กดขี่.
【 ข่มขืน 】แปลว่า: ก. บังคับ, ขืนใจ, ขู่เข็ญ.
【 ข่มขืนกระทำชำเรา 】แปลว่า: (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานขืนใจกระทําการร่วมประเวณี
กับหญิงซึ่งมิใช่ภรรยาของตนโดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ หรือ
ใช้กําลังประทุษร้ายหญิงซึ่งอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้
หรือทำให้หญิงเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น.
【 ข่มขืนใจ 】แปลว่า: (กฎ) ก. บังคับให้กระทําหรืองดเว้นกระทํา โดยไม่สมัครใจแต่จํา
ต้องฝืนใจปฏิบัติตาม เพราะไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้
เช่น ข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่ หรือ
ให้ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือ
ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ซึ่งเป็นความผิดอาญาตามประมวล
กฎหมายอาญามาตรา ๑๓๙.
【 ข่มขู่ 】แปลว่า: ก. ทําให้กลัว, ทําให้เสียขวัญ; (กฎ) ทําให้ผู้อื่นต้องกลัวว่าจะเกิด
ความเสียหายเป็นภัยแก่ตนเอง แก่สกุลแห่งตน หรือแก่ทรัพย์สิน
ของตน เป็นภัยอันใกล้จะถึงและอย่างน้อยร้ายแรงถึงขนาดที่จะ
พึงกลัว ตามประมวลกฎหมายแพ่ง การข่มขู่อาจทำให้นิติกรรม
เสื่อมเสียได้.
【 ข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า 】แปลว่า: (สํา) ก. บังคับขืนใจผู้อื่นให้ทําตามที่ตนต้องการ เช่น จะจัดแจง
แต่งตามอารมณ์เราเหมือนข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า. (สังข์ทอง).
【 ข่มท้อง 】แปลว่า: ก. ใช้มือกดท้องช่วยในการคลอดลูก.
【 ข่มนาม 】แปลว่า: ก. ทําพิธีข่มชื่อศัตรูก่อนยกทัพ.
【 ข่มหมู 】แปลว่า: (ปาก) ก. รังแก.
【 ข่มเหง 】แปลว่า: [-เหง] ก. ใช้กําลังรังแกแกล้งทําความเดือดร้อนให้ผู้อื่น.
【 ข่มเหงคะเนงร้าย 】แปลว่า: ก. รังแกเบียดเบียน.
【 ขมงโกรย 】แปลว่า: [ขะหฺมงโกฺรย] /ดู มงโกรย (๑)/.
【 ขมม 】แปลว่า: [ขะหฺมม] ก. เชยชม, คลึงเคล้า.
【 ขมวด 】แปลว่า: [ขะหฺมวด] ก. บิดม้วนแล้วขอดให้เป็นปม, โดยปริยายหมายความ
ว่า ย่นย่อข้อความทิ้งท้ายไว้ให้คิด. น. ลักษณนามเรียกของที่ขมวด
อย่างนั้น เช่น หัวหอม ๔ ขมวด.
【 ขมวดยา 】แปลว่า: [ขะหฺมวด-] น. ชื่อเรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้น ใหญ่กว่าเรือกราบ
รูปร่างค่อนข้างเพรียว หัวและท้ายเรือเสริมไม้ต่อเป็นโขนงอน
เชิดขึ้น ด้านข้างหัวเรือเขียนลวดลายด้วยนํ้ายาสีต่าง ๆ วาง
กระทงขวางลําสําหรับคนนั่งพายได้ประมาณ ๕๐ คน เป็นเรือ
ตามเสด็จในการเสด็จพระราชดําเนินโดยกระบวนพยุหยาตรา
ชลมารคหรือเสด็จพระราชดําเนินลําลองทางชลมารค ใช้เป็น
เรือกันหรือเรือพิฆาตได้, โขมดยา ก็ว่า.
【 ขมวน 】แปลว่า: [ขะหฺมวน] น. ชื่อหนอนของแมลงพวกด้วงปีกแข็งที่กินปลาแห้ง
เนื้อแห้ง และอาหารแห้งอื่น ๆ โดยทิ้งรอยให้เห็นเป็นขุยเล็ก ๆ
ออกมา เรียกว่า ขี้ขมวน ตัวหนอนมักจะมีสีครีมหรือนํ้าตาลอ่อน
ที่พบบ่อยได้แก่ ชนิด /Dermestes maculatus/ ในวงศ์ Dermestidae
ซึ่งเมื่อเป็นตัวเต็มวัยจะเป็นด้วงที่มีลําตัวยาวประมาณ ๗ มิลลิเมตร
ตัวสีดํา ท้องสีขาวหม่นและมีเส้นสีดําเป็นลายพาดตามขวาง.
ว. ผุ, ยุ่ย, ใช้แก่เนื้อแห้งปลาแห้งเป็นต้นที่เก็บไว้นาน ๆ ซึ่งเกิดจาก
เชื้อราหรือตัวขมวนกัดกิน เช่น ปลาเป็นขมวน เนื้อเป็นขมวน.
【 ขมหิน 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Boerhavia diffusa/ L. ในวงศ์ Nyctaginaceae
ใช้ทํายาได้.
【 ขมอง 】แปลว่า: ขะหฺมอง น. สมอง เช่น ปวดขมอง. (ข. ขฺมง ว่า ไขในกระดูก).
【 ขม่อม 】แปลว่า: [ขะหฺม่อม] น. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวกลางศีรษะ แต่ต่ำกว่า
ส่วนสูงสุดลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะ
มีเนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้น
เนื้อเยื่ออ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว
เช่น เป่าขม่อม ลงขม่อม, กระหม่อม ก็ว่า.
【 ขม่อมบาง 】แปลว่า: (สํา) ว. เจ็บป่วยง่าย เช่น เขาเป็นคนขม่อมบาง ถูกนํ้าค้างหน่อย
ก็เป็นหวัด, กระหม่อมบาง ก็ว่า.
【 ขมอย 】แปลว่า: [ขะมอย] น. หลาน, ลูกหลาน, เช่น ขมอยเมือเฝือแฝกหญ้า
ยุงชุมฉ่าฝ่าเหลือบฝูง. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ข. กฺมวย
ว่า หลาน, ลูกของพี่หรือของน้อง).
【 ขมัง ๑ 】แปลว่า: [ขะหฺมัง] น. พรานธนู. (ข. ขฺมาน่).
【 ขมัง ๒ 】แปลว่า: ขะหฺมัง ว. แรง, แข็งขัน, เช่น สองอาจแข็งขมังขึ้น แบ่ง
ให้กันเสมอ. (กําสรวล).
【 ขมับ 】แปลว่า: [ขะหฺมับ] น. ส่วนที่อยู่หางคิ้วเหนือกระดูกแก้มทั้ง ๒ ข้าง.
【 ขมา 】แปลว่า: [ขะมา] ก. กล่าวคําขอโทษ เช่น ไปขมาศพ. น. การยกโทษให้
เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งยอมรับผิด เช่น ขอขมา, ษมา ก็ใช้. (ป.; ส. กฺษมา).
【 ขม้ำ 】แปลว่า: [ขะมํ่า] ก. เอาปากงับกินเร็ว ๆ (ใช้แก่สุนัขเป็นต้น ถ้าใช้แก่คน
ถือว่าเป็นคําไม่สุภาพ).
【 ขมิ้น ๑ 】แปลว่า: [ขะมิ่น] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Curcuma longa/ L. ในวงศ์ Zingiberaceae
เหง้าสีเหลือง ใช้ปรุงอาหาร ทํายา ทําผงทาตัว และใช้ย้อมผ้า, ขมิ้นชัน
ก็เรียก, อีสานและปักษ์ใต้เรียก ขี้มิ่น.
【 ขมิ้นกับปูน 】แปลว่า: (สํา) ว. ชอบวิวาทกันอยู่เสมอเมื่ออยู่ใกล้กัน, ไม่ถูกกัน.
【 ขมิ้นขาว 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกในสกุล /Curcuma/ ในวงศ์ Zingiberaceae
เหง้าสีขาวอมเหลืองอ่อน ใช้เป็นผัก.
【 ขมิ้นอ้อย 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกในสกุล /Curcuma/ วงศ์ Zingiberaceae เหง้าสีเหลือง
บางส่วนโผล่พ้นดินขึ้นมา ใช้ปรุงอาหารและทํายา, ขมิ้นขึ้น
หรือ ขมิ้นหัวขึ้น ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก กะตุมู.
【 ขมิ้น ๒ 】แปลว่า: [ขะมิ่น] น. ชื่อนกชนิดหนึ่งในวงศ์ Oriolidae ตัวเท่านกเอี้ยง
มีหลายสี เช่น เหลือง แดง ฟ้า ขาว กินผลไม้และแมลง ทํารัง
เป็นรูปถ้วยอยู่ตรงง่ามไม้สูง ๆ ในประเทศไทยมีหลายชนิด
เช่น ขมิ้นท้ายทอยดํา หรือ ที่มักเรียกกันว่า ขมิ้นเหลืองอ่อน
(/Oriolus chinensis/) ขมิ้นแดง (/O. traillii/) ขมิ้นขาว
(/O. mellianus/).
【 ขมิ้นขึ้น 】แปลว่า: /ดู ขมิ้นอ้อย ที่ ขมิ้น ๑/.
【 ขมิ้นเครือ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาหลายชนิดในวงศ์ Menispermaceae เช่น ชนิด
/Arcangelisia/ /flava/ (L.) Merr., /Fibraurea tinctoria/
Lour. ทั้ง ๒ ชนิดใช้ทํายาได้, ชนิด หลัง กําแพงเจ็ดชั้น ก็เรียก.
【 ขมิ้นชัน 】แปลว่า: /ดู ขมิ้น ๑/.
【 ขมิ้นนาง 】แปลว่า: /ดู กระดูกอึ่ง/.
【 ขมิ้นลิง 】แปลว่า: /ดู กระดูกอึ่ง/.
【 ขมิ้นหัวขึ้น 】แปลว่า: /ดู ขมิ้นอ้อย ที่ ขมิ้น ๑/.
【 ขมิบ 】แปลว่า: [ขะหฺมิบ] ก. กระหมิบ, บีบเข้าหรือเม้มเข้าซ้ำ ๆ กัน (มักใช้แก่ปาก
ช่องทวารหนักและทวารเบา).
【 ขมีขมัน 】แปลว่า: [ขะหฺมีขะหฺมัน] ว. รีบเร่งในทันทีทันใด. (ข. ขฺมี; ต. ขมัน).
【 ขมึง 】แปลว่า: [ขะหฺมึง] ก. ขึงตา.
【 ขมึงทึง 】แปลว่า: [ขะหฺมึงทึง] ว. ลักษณะหน้าตาที่บูดบึ้ง ไม่ยิ้มแย้ม, หน้าตาน่ากลัว,
ถมึงทึง ก็ว่า.
【 ขมุ 】แปลว่า: [ขะหฺมุ] น. ชื่อชนชาวเขาเผ่าหนึ่งในตระกูลมอญ-เขมร.
【 ขมุกขมัว 】แปลว่า: [ขะหฺมุกขะหฺมัว] ว. มืด ๆ มัว ๆ, โพล้เพล้, จวนคํ่า, จวนมืด, โดย
ปริยายใช้หมายถึงสีมัว ๆ, ไม่ผ่องใส, เช่น ครั้นจะทำขมุกขมัว
มอมแมม ชายเห็นจะเยื้อนแย้มบริภาษให้บาดจิต. (ม. ร่ายยาว
ทานกัณฑ์).
【 ขมุดขมิด 】แปลว่า: [ขะหฺมุดขะหฺมิด] ว. กระหมุดกระหมิด, หวุดหวิด; บิดกระหมวด;
ไม่แน่น, ไม่ถึง, ไม่ถนัด.
【 ขมุบ 】แปลว่า: [ขะหฺมุบ] ก. กระหมุบ, กระดุบกระดิบ, ทําปากหมุบ ๆ; เต้นตุบ ๆ
อย่างชีพจรเต้น.
【 ขมุบขมิบ 】แปลว่า: [ขะหฺมุบขะหฺมิบ] ก. อาการที่ริมฝีปากเผยอขึ้นและหุบลงโดยเร็ว,
อาการของปากที่พูดอย่างไม่ออกเสียง เช่น ทำปากขมุบขมิบ
สวดมนต์ขมุบขมิบ, หมุบหมิบ ก็ว่า.
【 ขมุม 】แปลว่า: [ขะหฺมุม] น. ผึ้ง. (ข. ฆฺมุํ).
【 ขโมย 】แปลว่า: [ขะ-] น. ผู้ลักทรัพย์. ก. ลัก, โดยปริยายหมายความว่า ลอบ
ทำสิ่งที่ตนไม่มีสิทธิ์หรือไม่ได้รับอนุญาต เช่น เด็กขโมยสูบบุหรี่
เขาขโมยอ่านจดหมายเพื่อน.
【 ขย- 】แปลว่า: ขะยะ- น. ความสิ้นไป, ความเสื่อมไป, โดยมากใช้ใน
สมาส เช่น ขยธรรม อาสวักขยญาณ, ถ้าใช้โดด ๆ หรือเป็นคํา
ท้ายสมาส เป็น ขัย เช่น อายุขัย. (ป.).
【 ขยด 】แปลว่า: [ขะหฺยด] ก. ถด, ถอย, กระเถิบ, เลื่อนจากที่เดิม, เช่น ทวารวังใน
ว่าใกล้ ฤๅแลวันนี้ไสร้ ขยดออกรื้อดูไกล บารนี ฯ. (ลอ), ใช้ว่า
กระหยด ก็มี เช่น กระหยดเข้า นางเจ้าแม่ทรงศาสตราชัย. (มโนห์รา).
【 ขยม 】แปลว่า: [ขะหฺยม] น. ขยุม, ข้า, บ่าว. (โบ) ส. ขยุม, ฉัน, เป็นสรรพนามบุรุษ
ที่ ๑. (ข. ขฺญุํ).
【 ขย่ม 】แปลว่า: [ขะหฺย่ม] ก. ใช้นํ้าหนักตัวกดลง แล้วยกตัวขึ้นแล้วกลับกดลงอีก
ซ้ำ ๆ กัน, ห่ม ก็ว่า. /(ดู ห่ม ๑)./
【 ขยล 】แปลว่า: [ขะหฺยน] น. ลม. (ข. ขฺยล่).
【 ขยอก ๑ 】แปลว่า: [ขะหฺยอก] น. ชื่อหนอนผีเสื้อชนิด /Nymphula depunctalis/ ในวงศ์
Pyralidae ทําลายข้าวโดยกัดใบข้าวให้ขาดออกมาม้วนเป็นปลอก
หุ้มตัว ยาว ๓-๕ เซนติเมตร ลอยไปตามนํ้าได้ ตัวหนอนสีเขียวซีด
ผิวค่อนข้างใส หัวสีนํ้าตาล ข้างตัวมีเหงือกเป็นครีบข้างละ ๖ แถว
สําหรับช่วยหายใจในนํ้า, หนอนม้วนใบข้าว ก็เรียก.
【 ขยอก ๒ 】แปลว่า: [ขะหฺยอก] ก. อาการที่ค่อย ๆ กลืนอาหารที่คับคอลงไปทีละน้อย,
กระเดือกเข้าไป.
【 ขยอง ๑ 】แปลว่า: ขะหฺยอง ก. ผยอง, รู้สึกหวาดกลัว.
【 ขยอง ๒ 】แปลว่า: น. โขยง, พวก, หมู่, ฝูง.
【 ขย่อน 】แปลว่า: [ขะหฺย่อน] ว. กระชั้น เช่น ครั้นไก่ขันขย่อนค่อนคืน. (มณีพิชัย).
【 ขย้อน 】แปลว่า: [ขะย่อน] ก. ทําอาการจะอาเจียน; ถอยกลับ.
【 ขยะ 】แปลว่า: [ขะหฺยะ] น. หยากเยื่อ, มูลฝอย, ใช้ว่า กระหยะ ก็มี.
【 ขยะแขยง 】แปลว่า: [ขะหฺยะขะแหฺยง] ก. เกลียดเมื่อได้เห็นหรือถูกต้องสิ่งที่สกปรก
น่ารังเกียจหรือน่าเกลียดน่ากลัวหรือเมื่อนึกถึงสิ่งนั้น, แขยง ก็ว่า.
【 ขยัก 】แปลว่า: [ขะหฺยัก] ก. กักหรือเก็บไว้บ้างไม่ปล่อยไปจนหมดหรือไม่ทํา
ให้หมด.น. ตอน, พัก, เช่น ทํา ๒ ขยัก ๓ ขยัก.
【 ขยักขย่อน 】แปลว่า: [-ขะหฺย่อน] ก. ทํา ๆ หยุด ๆ ไม่ให้เสร็จในรวดเดียว.
【 ขยักขย้อน 】แปลว่า: [-ขะย่อน] ก. มีอาการพะอืดพะอมจวนจะอาเจียน.
【 ขยัน ๑ 】แปลว่า: [ขะหฺยัน] ก. ทําการงานอย่างแข็งขันไม่ปล่อยปละละเลย, ทําหรือ
ประพฤติเป็นปรกติสมํ่าเสมอ, ไม่เกียจคร้าน; แข็งแรง, เข้าที, เช่น
เนื้อหนังขยันมั่นคงนัก. (อิเหนา), พอกํ้ากึ่งกลางนั้นขยันนัก.
(เพลงยาวถวายโอวาท).
【 ขยัน ๒ 】แปลว่า: [ขะหฺยัน] น. ชื่อไม้เถาชนิด /Bauhinia strychnifolia/ Craib ในวงศ์
Leguminosae เปลือกมีรสหวาน ๆ ฝาด ๆ ใช้กินกับหมาก.
【 ขยั้น 】แปลว่า: [ขะยั่น] ก. คร้าม, เกรง, ไม่กล้า, แหยง.
【 ขยับ 】แปลว่า: [ขะหฺยับ] ก. เคลื่อนไหวหรือทําท่าว่าจะทําอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น
ขยับปากจะพูด ขยับปีกจะบิน ขยับดาบ; เลื่อนที่ เช่น ขยับตู้ใบนี้
เข้าไปให้ชิดฝา, กระเถิบ เช่น นั่งอยู่ห่างนัก ขยับเข้ามาให้ใกล้.
ว. ค่อนข้าง, เกือบ, เช่น ขยับจะจริง.
【 ขยับขยาย 】แปลว่า: [-ขะหฺยาย] ก. แก้ไขให้คลายความลําบากหรือความคับแคบเป็นต้น
เพื่อให้เหมาะแก่ความต้องการหรือเหตุการณ์.
【 ขยับเขยื้อน 】แปลว่า: [-ขะเยื่อน] ก. เคลื่อนที่, เลื่อนที่, ย้ายที่, (มักใช้ในความปฏิเสธ).
【 ขยาด 】แปลว่า: [ขะหฺยาด] ก. ครั่นคร้าม, กลัวเพราะเคยรู้ฤทธิ์มาแล้ว, เข็ดเพราะ
เคยได้รับผลร้ายมาแล้ว.
【 ขยาบ 】แปลว่า: [ขะหฺยาบ] น. เครื่องกันแดดและฝนที่เลื่อนเข้าออกจากประทุนเรือได้.
【 ขยาย 】แปลว่า: [ขะหฺยาย] ก. อธิบาย, ชี้แจง, เช่น ขยายความ, แผ่กว้างออกไป เช่น
ขยายตัว, เปิดเผย เช่น ขยายความลับ, คลายให้หายแน่น เช่น ขยาย
เข็มขัดให้หลวม, คลี่, แย้ม, เช่น ดอกไม้ขยายกลีบ, ทําให้กว้างใหญ่
ออกไป เช่น ขยายห้อง ขยายรูป, ทําให้มากขึ้น เช่น ขยายพันธุ์.
ขยายขี้เท่อ (ปาก) ก. แสดงให้เห็นความโง่เขลา.
【 ขยำ 】แปลว่า: [ขะหฺยํา] ก. กํายํ้า ๆ, บีบยํ้า ๆ, คลุก.
【 ขย้ำ 】แปลว่า: [ขะยํ่า] ก. เอาปากงับกัดอย่างแรง, โดยปริยายหมายถึงการทำร้าย
ด้วยวาจาหรือการกระทำอย่างรุนแรง.
【 ขยิก 】แปลว่า: [ขะหฺยิก] ว. เร็ว ๆ ถี่ ๆ เช่น เกาขยิก ๆ.
【 ขยิบ 】แปลว่า: [ขะหฺยิบ] ก. ทําหลับตาแล้วลืมโดยเร็วครั้งหนึ่ง โดยเป็นอาณัติ
สัญญาณให้ผู้อื่นกระทําหรือเว้นกระทําอย่างใดอย่างหนึ่ง.
【 ขยิ่ม 】แปลว่า: [ขะหฺยิ่ม] ก. กระหยิ่ม, ครึ้มใจ, ภูมิใจ, อิ่มใจ, มักใช้เข้าคู่กับคำ
ยิ้มย่อง เป็น ขยิ่มยิ้มย่อง.
【 ขยี้ 】แปลว่า: [ขะยี่] ก. ใช้มือ เท้า หรือเล็บเป็นต้นบี้ซํ้า ๆ ให้แหลกละเอียด เช่น
ขยี้พิมเสน, ขยี้ดิน, เอาวัตถุเช่นผ้าถูกับเนื้อของมันเองในการซักฟอก,
เอาวัตถุเช่นกระดาษถูกับเนื้อของมันเองเพื่อให้นิ่ม, เอามือกดถูไปมา
เช่น ขยี้ตา ขยี้ผม, โดยปริยายหมายความว่า ทําลายให้แหลกละเอียด
เช่น ขยี้ข้าศึก.
【 ขยี่ขยัน 】แปลว่า: [ขะหฺยี่ขะหฺยัน] ก. ขยันขันแข็ง เช่น เห็นก็จะขยี่ขยันเขยื้อน.
(ม. ร่ายยาว ชูชก).
【 ขยุกขยิก 】แปลว่า: [ขะหฺยุกขะหฺยิก] ก. ไม่อยู่นิ่ง ๆ ขยับไปขยับมา (ใช้ในอาการที่แสดง
ถึงความไม่เรียบร้อย) เช่น นั่งขยุกขยิก, โดยปริยายหมายถึงลักษณะ
ที่เขียนไม่เรียบร้อย อ่านยากหรืออ่านไม่ออก เช่น เขียนลายมือขยุกขยิก.
【 ขยุกขยุย 】แปลว่า: [ขะหฺยุกขะหฺยุย] ว. ยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบ.
【 ขยุบ, ขยุบขยิบ 】แปลว่า: [ขะหฺยุบ, -ขะหฺยิบ] ว. กระดุบ ๆ, เต้นดุบ ๆ อย่างเนื้อเต้น.
【 ขยุม ๑ 】แปลว่า: [ขะหฺยุม] น. ขยม, ข้า, บ่าว. (โบ) ส. ขยม, ฉัน, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
【 ขยุม ๒ 】แปลว่า: [ขะหฺยุม] ว. ขะยุก, ทําถี่ ๆ, เช่น เห็นลับแลแล้วก็พายขยุมใหญ่.
(ส. ท่านพุฒาจารย์-โต).
【 ขยุ้ม 】แปลว่า: [ขะยุ่ม] ก. เอาปลายนิ้วทั้ง ๕ หยิบรวบขึ้นมาเพื่อให้ได้มาก, โดยปริยาย
ใช้ในอาการอย่างนั้น เช่น แมงมุมขยุ้มหลังคา. น. ปริมาณของที่ขยุ้มมา
ได้ครั้งหนึ่ง ๆ เรียกว่า ขยุ้มหนึ่ง.
【 ขยุ้มตีนหมา 】แปลว่า: น. ชื่อโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง มีพิษอักเสบออกเป็นเม็ดผื่นดวง ๆ.
【 ขยุย ๑ 】แปลว่า: [ขะหฺยุย] ว. กระจุย, เป็นปุย ๆ.
【 ขยุย ๒ 】แปลว่า: [ขะหฺยุย] น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กชนิด /Akysis macronemus/ ในวงศ์
Akysidae รูปร่างคล้ายปลาแขยง ไม่มีเกล็ด มีหนวด, สามเขี้ยว
ก็เรียก.
【 ขรม 】แปลว่า: [ขะหฺรม] ว. เอ็ดอึง, แซ่, (ใช้แก่เสียง).
【 ขรรค์ 】แปลว่า: [ขัน] น. ศัสตราวุธชนิดหนึ่ง มีคม ๒ ข้าง ที่กลางใบมีดทั้งหน้า
และหลังเป็นสันเล็กคล้ายคมรูปหอก ด้ามสั้น. (ป. ขคฺค; ส. ขฑฺค).
【 ขรรคะ, ขรรคา 】แปลว่า: ขักคะ, ขันคา น. แรด เช่น หนึ่งนบสิขานนนารถ เถลิง
ขรรคาอาศน์ แลยาตรอัมพรแผ่นพาย. (ดุษฎีสังเวย). (ป. ขคฺค;
ส. ขฑฺค).
【 ขรัว 】แปลว่า: [ขฺรัว] น. คําเรียกภิกษุที่มีอายุมาก หรือที่บวชเมื่อแก่ หรือฆราวาส
ผู้เฒ่า. ว. เรียกคนที่มั่งมีว่า เจ้าขรัว.
【 ขรัวตา 】แปลว่า: น. สามัญชนที่เป็นตาของพระองค์เจ้า.
【 ขรัวยาย 】แปลว่า: น. สามัญชนที่เป็นยายของพระองค์เจ้า.
【 ขริบ 】แปลว่า: [ขฺริบ] ก. ตัดเล็มด้วยตะไกรเป็นต้น.
【 ขรี 】แปลว่า: [ขฺรี] /ดู สักขี ๒/.
【 ขรึม 】แปลว่า: [ขฺรึม] ว. มีอาการนิ่งอย่างตรึกตรอง.
【 ขรุขระ 】แปลว่า: [ขฺรุขฺระ] ว. เป็นปุ่มเป็นแง่, ไม่เรียบราบ.
【 ขล้ง 】แปลว่า: ขฺล้ง ก. เผลอไผล, หลง ๆ ลืม ๆ, เช่น แก่มากจนขล้ง.
ว. ฟุ้งไป, กระจายไป, เช่นกลิ่นขล้งไปทั้งห้อง.
【 ขลบ 】แปลว่า: ขฺลบ ก. สลบ.
【 ขลม 】แปลว่า: ขฺลม น. ขนม.
【 ขลวน 】แปลว่า: [ขฺลวน] น. ตัว. (ข. ขฺลวน ว่า ตัว, ตน).
【 ขล้อเงาะ 】แปลว่า: [ขฺล้อ-] น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด /Terminalia cambodiana/ Gagnep.
ในวงศ์ Combretaceae ใบรีหรือรูปไข่ ดอกเล็ก สีขาวนวล ออกเป็น
ช่อเล็ก ๆ ผลมี ๕ ครีบ, คร่อเงาะ ก็เรียก.
【 ขล้อเทียน 】แปลว่า: [ขฺล้อ-] น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด /Anogeissus rivularis/ (Gagnep.)
O. Lec. ในวงศ์ Combretaceae ใบเล็กลักษณะคล้ายใบทับทิม
กิ่งมักเรียวและย้อย ช่อดอกและผลเป็นกระจุกกลม, คร่อเทียน
ก็เรียก.
【 ขลัง 】แปลว่า: [ขฺลัง] ว. มีกําลังหรืออํานาจที่อาจบันดาลให้เป็นไปได้, มีอํานาจ
ศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อกันว่า อาจบันดาลให้สําเร็จได้ดังประสงค์. น.
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ในนั้นปูอิฐวางขลัง. (สิบสองเดือน).
【 ขลับ 】แปลว่า: [ขฺลับ] ว. เลื่อม, เกลี้ยงเป็นมัน, เช่น ดําขลับ มันขลับ.
【 ขลา 】แปลว่า: [ขฺลา] น. เสือ. (ข. ขฺลา).
【 ขลาด 】แปลว่า: [ขฺลาด] ว. มักกลัว, ไม่กล้า.
【 ขลาย 】แปลว่า: [ขฺลาย] น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมถึงขนาดกลาง ขึ้นอยู่ตามป่าตํ่า
ทางภาคกลางของไทย ไม้ใช้ทําฟืนกันมาก เช่น คุดคุยขลู่ขลาย.
(สมุทรโฆษ).
【 ขลิบ 】แปลว่า: [ขฺลิบ] ก. เย็บหุ้มริมผ้าและของอื่น ๆ เพื่อกันลุ่ยหรือเพื่อให้งามเป็นต้น;
(ถิ่น-ปักษ์ใต้) ขยิบ เช่น ขลิบตา ว่า ขยิบตา.
【 ขลึง 】แปลว่า: ขฺลึง ว. เล่น เช่น พูดขลึง ว่า พูดเล่น.
【 ขลุก ๑ 】แปลว่า: [ขฺลุก] ว. ง่วนอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือในที่ใดที่หนึ่ง.
【 ขลุกขลุ่ย 】แปลว่า: ว. ง่วนอยู่, คลุกคลีอยู่; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) สบาย เช่น นอนหลับขลุกขลุ่ย
ว่า นอนหลับสบาย.
【 ขลุก ๒, ขลุก ๆ 】แปลว่า: ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงไอ, ขุก หรือ ขุก ๆ ก็ว่า, เสียงดัง
อย่างก้อนดินกลิ้งอย่างเร็ว ในคำว่า กลิ้งขลุก ๆ.
【 ขลุกขลัก 】แปลว่า: ว. ติดกุกกักอยู่ในที่แคบ, ติดขัด, ไม่สะดวก, เสียงดังอย่าง
ก้อนดินกลิ้งอยู่ในหม้อหรือในไห.
【 ขลุกขลิก 】แปลว่า: น. เครื่องเล่นการพนันชนิดหนึ่ง ใช้ลูกเต๋า ๓ ลูกใส่จานมีฝาครอบ
เขย่าแล้วเปิดออกมานับแต้ม, เต๋าเขย่า ก็เรียก; เรียกแกงเผ็ด
ที่มีนํ้าน้อยและข้น เช่นแกงฉู่ฉี่หรือพะแนงเป็นต้นว่า แกงขลุกขลิก
หรือ แกงมีน้ำขลุกขลิก.
【 ขลุบ 】แปลว่า: [ขฺลุบ] น. ลูกคลี, ลูกกลม ๆ สําหรับเล่นแข่งขัน, ใช้เป็น คลุบ ก็มี;
เบ้ากลมรูปเหมือนขลุบ มีแบบพิมพ์ติดอยู่บนเบ้านั้นเสร็จ เมื่อทอง
ในเบ้าละลาย ก็พลิกควํ่าให้ทองไหลลงในแบบพิมพ์นั้น เรียกว่า
เบ้าขลุบ; อาวุธชนิดหนึ่ง ใช้ในการรบ เช่น ลืมระวังพลั้งเพลี่ยงมัน
เหวี่ยงขลุบ ถูกอกอุบจุกอัดขัดไม่หาย. (อภัย). (เทียบ ป. คุฬ ว่า
ลูกกลม).
【 ขลุม 】แปลว่า: [ขฺลุม] น. เครื่องผูกปากม้าอย่างหนึ่ง.
【 ขลุมประเจียด 】แปลว่า: [ขฺลุม-] น. ชื่อช้างตระกูลหนึ่ง ในอัคนีพงศ์ ประเภทศุภลักษณ์.
【 ขลุ่ย 】แปลว่า: [ขฺลุ่ย] น. ชื่อเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งสำหรับเป่าให้เป็นเพลง มักทํา
ด้วยไม้รวกเจาะรูตามยาวมีระยะห่างพอควร สําหรับเอานิ้วปิดและ
เปิดให้เป็นเพลงเมื่อเป่า มีหลายชนิด เช่น ขลุ่ยหลีบ ขลุ่ยเพียงออ,
ลักษณนามว่า เลา.
【 ขลู 】แปลว่า: [ขฺลู] /ดู ขลู่/.
【 ขลู่ 】แปลว่า: [ขฺลู่] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Pluchea indica/ (L.) Less. ในวงศ์
Compositae มักขึ้นเป็นหมู่ตามชายทะเล ใบรูปไข่ขอบ
จักห่าง ๆ ใช้ทํายาได้ ดอกสีม่วงอ่อน, ขลู ก็เรียก.
【 ขวง ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Glinus oppositifolius/ A. DC. ในวงศ์
Molluginceae ใช้ทํายาได้, ผักขวง สะเดาดิน หรือ ผักขี้ขวง ก็เรียก.
【 ขวง ๒ 】แปลว่า: น. ข่วง, บริเวณ, ลาน, เช่น ให้ยกหอกลองยังขวงหลวงริมสนาม.
(พงศ. โยนก).
【 ขวง ๓ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. กรง เช่น ขวงนก ว่า กรงนก.
【 ขวง ๔ 】แปลว่า: น. ผี เช่น เสียขวง ว่า เสียผี.
【 ขวด 】แปลว่า: น. ภาชนะกลวงใน โดยมากทําด้วยแก้ว รูปสูง มักมีคอหรือ
ปากแคบ สําหรับบรรจุของเหลวเป็นต้น, ลักษณนามว่า ใบ.
【 ขวดตีนช้าง 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ขวดโหล.
【 ขวดโหล 】แปลว่า: [-โหฺล] น. ขวดปากกว้างมีฝา, โหล ก็เรียก.
【 ข่วง 】แปลว่า: น. บริเวณ, ลาน, ใช้ว่า ขวง ก็มี.
【 ขวน 】แปลว่า: ขฺวน ก. ขวนขวาย, ใฝ่, เช่น ขวนทรรป ว่าใฝ่จองหอง.
(ม. คําหลวง สักบรรพ).
【 ขวนขวาย 】แปลว่า: [-ขฺวาย] ก. หมั่นเสาะแสวงหาเพิ่มเติมโดยไม่ยอมอยู่นิ่ง,
ขวายขวน ก็ว่า.
【 ข่วน 】แปลว่า: ก. ขูดหรือขีดด้วยของแหลมเช่นหนามหรือเล็บ.
【 ขวบ 】แปลว่า: น. ปี, รอบปี, ลักษณนามใช้แก่อายุของเด็กประมาณ ๑๒ ปีลงมา
เช่น เด็กอายุ ๕ ขวบ, เวลาที่นับมาบรรจบรอบ เช่น ชนขวบ.
【 ขวย 】แปลว่า: ก. กระดาก, อาย, เช่น แก้ขวย ขวยใจ.
【 ขวยเขิน 】แปลว่า: ก. กระดากอาย, สะเทิ้นอาย.
【 ขวยใจ 】แปลว่า: ก. กระดากใจ.
【 ขวะไขว่เขวี่ย 】แปลว่า: ขฺวะไขฺว่เขฺวี่ย ก. ขวักไขว่ เช่น เดินขวะไขว่เขวี่ย.
(ม. ร่ายยาว ชูชก).
【 ขวักไขว่ 】แปลว่า: [ขฺวักไขฺว่] ว. อาการที่เคลื่อนไหวสวนกันไปมาอย่างสับสน เช่น
เดินขวักไขว่ บินขวักไขว่.
【 ขวัญ 】แปลว่า: [ขฺวัน] น. ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย; มิ่งมงคล, สิริ, ความดี,
เช่น ขวัญข้าว ขวัญเรือน; สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจําชีวิต
ของคนตั้งแต่เกิดมา ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบาย
จิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป ซึ่ง
เรียกว่า ขวัญหายขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทําให้คนนั้นได้รับผล
ร้ายต่าง ๆ, เรียกผู้ตกใจง่ายคือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหาย
บ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน, และอนุโลมใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง
เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญเช่นเดียวกับคนเหมือนกัน,
โดยปริยายหมายความว่า ยอดกำลังใจเช่น ขวัญเมือง ว่า ยอด
กําลังใจของเมือง; กําลังใจดี เช่น ขวัญดี; ผู้รู้พิธีทําขวัญ เรียกว่า
หมอขวัญ; การทําพิธีเชิญขวัญหมายความว่า เรียกขวัญ มาอยู่
กับตัว; การเสียเงินค่าปรับให้แก่ผู้ถูกทําร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท
เรียกว่า ทำขวัญ; เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียก ขวัญว่า
”ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว” แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามควร เรียกว่า
ผูกขวัญ; เรียกขวัญหรือเชิญขวัญ เรียกว่า รับขวัญ; ทําพิธี เช่น
รดนํ้ามนตร์ให้ เสกเป่าให้ หรือกล่าวปลุกใจต่าง ๆ เพื่อให้ขวัญดี
มีใจกล้าหาญ เรียกว่า บำรุงขวัญ; สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญเมื่อ
เสร็จพิธีทําขวัญแล้ว หรือสิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญ
หรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เรียกว่า ของขวัญ; ข้าวบายศรี เรียกว่า ข้าวขวัญ;
ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี เรียกว่า ไข่ขวัญ, ไข่ข้าว ก็เรียก;
ลูกคนที่รักมากที่สุด เรียกว่า ลูกขวัญ; ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยม
หมายถึงหญิงที่รัก เรียกว่า จอมขวัญ; คำยกย่องเรียกภรรยาอันเป็น
ที่รักว่า เมียขวัญ; กําลังใจเสีย เรียกว่า เสียขวัญ.
【 ขวัญเกี่ยง 】แปลว่า: ว. ขวัญร้าย เช่น ขวัญเกี่ยงได้เป็นดี. (ม. คําหลวง สักบรรพ).
【 ขวัญข้าว 】แปลว่า: น. มิ่งขวัญของข้าวซึ่งเจ้าของทําพิธีเชื้อเชิญ เรียกว่า ทําขวัญข้าว,
ค่าสินบนซึ่งเจ้าของไข้บนไว้ต่อหมอ เมื่อไข้หายก็ยกขวัญข้าวนี้ไป
เป็นค่ารักษา.
【 ขวัญแขวน 】แปลว่า: ก. ขวัญไปค้างอยู่ที่อื่น หมายความว่า ตกใจ, มักใช้เข้าคู่กับคำ อกสั่น
เป็น อกสั่นขวัญแขวน.
【 ขวัญใจ 】แปลว่า: น. ยอดกําลังใจ. ว. เป็นที่นิยมรักใคร่.
【 ขวัญดี 】แปลว่า: น. กําลังใจดี.
【 ขวัญตา 】แปลว่า: น. มิ่งขวัญดวงตา, สิ่งที่เห็นเป็นที่เจริญตา.
【 ขวัญบ่า 】แปลว่า: ก. ขวัญไหลไปจากตัว.
【 ขวัญบิน, ขวัญหนี, ขวัญหนีดีฝ่อ, ขวัญหาย 】แปลว่า: ก. ตกใจ, ใจหาย.
【 ขวัญเมือง ๑ 】แปลว่า: น. ยอดกําลังใจของเมือง.
【 ขวัญอ่อน ๑ 】แปลว่า: น. เรียกผู้ตกใจง่ายคือเด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ
ว่า ขวัญอ่อน.
【 ขวัญเมือง ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ขวัญ/.
【 ขวัญเมือง ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 ขวัญอ่อน ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ขวัญ/.
【 ขวัญอ่อน ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
【 ขวัด 】แปลว่า: [ขฺวัด] ก. ขวิด, กวัด, ขัด, เช่น แรดควายขวางขวัดอยู่. (ลอ).
【 ขวัดขวิด 】แปลว่า: [ขฺวัดขฺวิด] ก. กวัดไกว เช่น เท้ากวัดขวัดขวิดคือควัน.
(ม. ฉันท์ มหาราช).
【 ขวัดแคว้ง 】แปลว่า: ขฺวัดแคฺว้ง ก. วิ่งไปวิ่งมา, ค้นหา, ดิ้นรน.
【 ขวั้น 】แปลว่า: [ขฺวั้น] (ถิ่น-อีสาน, ปักษ์ใต้) น. หัวขั้ว เช่น และผูกเป็นขวั้นแขวนวง.
(สมุทรโฆษ).
【 ขวับ ๑, ขวับเขวียว 】แปลว่า: [ขฺวับ, ขฺวับเขฺวียว] ว. เสียงหวดไม้เรียว.
【 ขวับ ๒ 】แปลว่า: [ขฺวับ] ว. เร็ว, ทันที, เช่น เหลียวขวับ.
【 ขวา 】แปลว่า: [ขฺวา] ว. ตรงข้ามกับซ้าย, ถ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านทิศใต้
เรียกว่า ด้านขวามือ ด้านทิศเหนือ เรียกว่า ด้านซ้ายมือ, ถ้าหันหลังไป
ทางต้นนํ้าหรือยอดนํ้า ด้านขวามือเรียกว่า ฝั่งขวา ด้านซ้ายมือเรียกว่า
ฝั่งซ้าย, คู่กับซ้าย แต่ใหญ่กว่าหรือสําคัญกว่า เช่น มเหสีฝ่ายขวา
อัครสาวกฝ่ายขวา. (การเมือง) น. เรียกกลุ่มที่มีอุดมคติทางการเมือง
การเศรษฐกิจเป็นต้นโน้มไปทางอนุรักษนิยมว่า ฝ่ายขวา.
【 ขวาก 】แปลว่า: [ขฺวาก] น. ไม้หรือเหล็กเป็นต้นมีปลายแหลม สําหรับปักหรือโปรย
เพื่อดักหรือให้ตําผู้ผ่านเข้าไป.
【 ขวากหนาม 】แปลว่า: น. อุปสรรค, เครื่องขัดข้อง, เครื่องขัดขวาง.
【 ขวาง 】แปลว่า: [ขฺวาง] ก. กีดกั้น, สกัด; รำคาญหรือไม่ถูกใจ; ใช้เข้าคู่กับ กว้าง
เป็นกว้างขวาง หมายความอย่างเดียวกับคําว่า กว้าง.
【 ขวางเชิง 】แปลว่า: ก. ขัดขวางไว้เพื่อไม่ให้ทําได้สะดวก.
【 ขวาง ๆ รี ๆ 】แปลว่า: ก. กีดเกะกะ, เก้งก้าง, รี ๆ ขวาง ๆ ก็ว่า.
【 ขวางโลก 】แปลว่า: ว. แปลกไปจากคนอื่น, ผิดจากปรกติวิสัย.
【 ขวางหูขวางตา 】แปลว่า: ก. รู้สึกรำคาญ, หมั่นไส้.
【 ขว้าง 】แปลว่า: [ขฺว้าง] ก. เอี้ยวตัวเบี่ยงแขนไปทางหลังแล้วซัดสิ่งที่อยู่ในมือ
ออกไปโดยแรง.
【 ขว้างกา 】แปลว่า: น. เรียกไม้ชนิดหนึ่งที่เสี้ยมหัวท้ายให้แหลมใช้เป็นอาวุธ.
【 ขว้างข้าวเม่า 】แปลว่า: น. ประเพณีอย่างหนึ่ง เอามะพร้าวทั้งผลโยนไปยังที่เขากําลัง
ทําข้าวเม่ากันอยู่ เพื่อแสดงว่าเอามะพร้าวมาขอแลกข้าวเม่า
ไปกินบ้าง.
【 ขว้างงูไม่พ้นคอ 】แปลว่า: (สํา) ก. ทําอะไรแล้วผลร้ายกลับมาสู่ตัวเอง.
【 ขว้างจักร 】แปลว่า: [-จัก] น. กรีฑาประเภทลานอย่างหนึ่ง ผู้แข่งขันจะต้องยืนอยู่ใน
วงเขตที่กําหนด แล้วขว้างจานไม้กลมตรงกลางนูนทั้ง ๒ ข้าง
ออกไปให้ไกลที่สุด.
【 ขว้างค้อน 】แปลว่า: น. ชื่องู ๒ ชนิด คือ งูกะปะ (/Calloselasma rhodostoma/) ในวงศ์
Viperidae และ งูปลิง (/Enhydris plumbea/) ในวงศ์ Colubridae
ทั้ง ๒ ชนิดเมื่อตกใจจะดีดตัวไปได้ในระยะสั้น ๆ แทนการเลื้อย.
【 ขวาด ๑ 】แปลว่า: /ดู พะวา/.
【 ขวาด ๒ 】แปลว่า: [ขฺวาด] ว. วุ่น, ยุ่ง, เช่น มันจะมาเตือนตั้งก่อความขวาด.
(ม. ร่ายยาว ชูชก).
【 ขวาน ๑ 】แปลว่า: [ขฺวาน] น. เครื่องมือสําหรับตัด ฟัน ผ่า ถากไม้ ทําด้วยเหล็กมีสัน
หนาใหญ่, ถ้าบ้องที่หัวบิดได้สําหรับตัดและถาก เรียกว่า ขวานโยน,
ขวานปูลู หรือ ขวานปุลู ก็เรียก, ถ้าด้ามสั้น สันหนา มีบ้องยาว
ตามสันเป็นเครื่องมือของช่างไม้ ใช้ตัด ถาก ฟัน เรียกว่า ขวานหมู,
ถ้าด้ามยาว ใบขวานใหญ่ เรียกว่า ขวานผ่าฟืน; หมอนที่ทำหน้าตัด
เป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายขวาน ใช้อิง เรียกว่า หมอนขวาน.
【 ขวานผ่าซาก 】แปลว่า: (สํา) ว. โผงผางไม่เกรงใจใคร (ใช้แก่กริยาพูด).
【 ขวานฟ้า 】แปลว่า: น. ขวานที่ทําด้วยหินในยุคหิน เชื่อกันว่าตกลงมาจากฟ้า
เมื่อเวลาฟ้าผ่า.
【 ขวานหิน 】แปลว่า: น. ขวานที่ทำด้วยหินในยุคหิน.
【 ขวาน ๒ 】แปลว่า: [ขฺวาน] น. ชื่อหอยนํ้าจืดกาบคู่ชนิดหนึ่งในสกุล /Corbicula/ วงศ์
Corbiculidae กาบคล้ายรูปสามเหลี่ยม ผิวเรียบ พบตามแม่นํ้า
และทะเลสาบทั่วไป.
【 ขวายขวน 】แปลว่า: [ขฺวายขฺวน] ก. เสาะหา, แสวงหา, ขวนขวาย ก็ว่า.
【 ขวาว 】แปลว่า: [ขฺวาว] /ดู ขว้าว/.
【 ขว้าว 】แปลว่า: [ขฺว้าว] น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Haldina cordifolia/ (Roxb.) Ridsdale
ในวงศ์ Rubiaceae ขึ้นในป่าเบญจพรรณทั่วไป ลําต้นสูงใหญ่
ใบมนรูปหัวใจ ปลายแหลม ดอกสีเหลือง คล้ายดอกกระทุ่ม
แต่เล็กกว่า เนื้อไม้สีเหลืองละเอียด ใช้ทําฝาบ้าน เครื่องเรือน
เครื่องกลึง และเครื่องแกะสลัก, กว้าว ขวาว หรือคว่าว ก็เรียก.
【 ขวิด ๑ 】แปลว่า: [ขฺวิด] ก. กิริยาของหมูป่าหรือสัตว์ที่ใช้เขาหรือนอทําร้าย, เสี่ยว,
ชน. ว. อาการที่เดินสะดุดขาตัวเองเพราะอายหรือรีบร้อน เรียกว่า
เดินขาขวิด.
【 ขวิด ๒ 】แปลว่า: [ขฺวิด] น. มะขวิด.
【 ขษณะ 】แปลว่า: ขะสะหฺนะ น. ครู่, ครั้ง, คราว, เช่น ขษณะอัฒรติเวลา.
(สมุทรโฆษ). (ส. กฺษณ; ป. ขณ).
【 ขษัย 】แปลว่า: ขะสัย น. กษัย, การสิ้นไป, การหมดไป, การเสื่อมไป,
การน้อยไป. (ส. กฺษย; ป. ขย).
【 ขษีณาศรพ 】แปลว่า: [ขะสีนาสบ] (โบ; กลอน) น. พระขีณาสพ, พระอรหันต์, เช่น ดูกร
ขษีณาศรพทั้งหลาย. (ม. คําหลวง สักบรรพ).
【 ขษีระ 】แปลว่า: (โบ) น. นํ้านม เช่น ขษีรแปรรูปา. (สมุทรโฆษ). (ส. กฺษีร; ป. ขีร).
【 ขอ ๑ 】แปลว่า: น. ไม้หรือเหล็กที่งอ ๆ สําหรับชัก เกี่ยว แขวน หรือสับ, ตะขอ
หรือ ตาขอ ก็เรียก.
【 ขอแกว 】แปลว่า: น. ไม้ยาว ๆ ที่ผูกเบ็ดที่ปลาย สําหรับชักกบในรู.
【 ของ้าว 】แปลว่า: น. อาวุธด้ามยาวมีง้าวอยู่ตรงปลาย ใต้คอของด้ามมีขอ
สําหรับสับบังคับช้างได้, ราชาศัพท์ว่า พระแสงของ้าว.
【 ขอฉาย 】แปลว่า: น. ไม้สําหรับสงฟางในเวลานวดข้าว, กระดองหาย คันฉาย
ดอง ดองฉาย หรือ ดองหาย ก็เรียก. (ข. ฉาย ว่า สง).
ข้อกฎหมาย).
【 ข้อบังคับ 】แปลว่า: (กฎ) /ดู กฎข้อบังคับ/.
【 ข้อบัญญัติ 】แปลว่า: (กฎ) น. กฎหมายที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นตราขึ้นเพื่อใช้
บังคับในเขตขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ เช่น ข้อบัญญัติ
จังหวัด ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ข้อบัญญัติเมืองพัทยา.
【 ข้อปลีกย่อย 】แปลว่า: น. รายละเอียด, เรื่องเบ็ดเตล็ด.
【 ข้อพับ 】แปลว่า: น. ส่วนของแขนหรือขาที่พับได้.
【 ข้อมือขาว 】แปลว่า: (โบ) น. ข้อมือที่ไม่ได้สักบอกสังกัดทหาร.
【 ข้อมูล 】แปลว่า: น. ข้อเท็จจริง หรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สําหรับ
ใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริงหรือการคํานวณ.
【 ข้อแม้ 】แปลว่า: น. เงื่อนไขที่กําหนดไว้.
【 ข้อยกเว้น 】แปลว่า: น. ข้อความที่ไม่เกี่ยวด้วยเงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์เป็นต้น
ที่กำหนดไว้.
【 ข้อราชการ 】แปลว่า: น. เรื่องราชการ.
【 ข้อลำ 】แปลว่า: น. พละกำลัง เช่น ข้อลำอย่างนี้จะสู้งานหนักไหวหรือ.
【 ข้อศอก 】แปลว่า: น. ส่วนของแขนตรงข้ามกับข้อพับ, ศอก ก็ว่า.
【 ข้อสอบ 】แปลว่า: น. ปัญหาที่ตั้งขึ้นในการสอบความรู้.
【 ข้อสังเกต 】แปลว่า: น. สิ่งที่กำหนดไว้ให้สนใจเป็นพิเศษ เช่น บทความนี้มีข้อสังเกต
อยู่หลายประการ เขาตั้งข้อสังเกตว่า ๒-๓ วันนี้มีชายแปลกหน้า
มาเยี่ยม ๆ มอง ๆ ที่ประตูบ้านบ่อย.
【 ข้อเสนอ 】แปลว่า: น. เรื่องราวที่นำเสนอเพื่อพิจารณา.
【 ข้อเสนอแนะ 】แปลว่า: น. ข้อคิดเห็นเชิงแนะนำที่เสนอเพื่อพิจารณา.
【 ข้อเสือ 】แปลว่า: /ดู ข้อเหวี่ยง/.
【 ข้อหา 】แปลว่า: น. คํากล่าวโทษ; (กฎ) คํากล่าวหาบุคคลว่าได้กระทําความผิด
อาญา; คํากล่าวหาเกี่ยวกับข้อโต้แย้งสิทธิ หรือหน้าที่ของบุคคลใน
ทางแพ่ง.
【 ข้อเหวี่ยง 】แปลว่า: น. ส่วนที่ต่อเพลา โดยมากมีลักษณะงอ สำหรับรับกำลังดันหรือ
กำลังฉุดให้เพลาหมุนรอบ ๆ, ภาษาปากว่า ข้อเสือ. (อ. crank).
【 ข้อใหญ่ใจความ 】แปลว่า: น. เรื่องสําคัญ.
【 ข้ออ้อย 】แปลว่า: น. ชื่อลายชนิดหนึ่ง; ชื่อเหล็กเส้นชนิดหนึ่งซึ่งมีลักษณะคล้าย
ลำอ้อย.
【 ข้ออ้าง 】แปลว่า: น. สิ่งที่นํามาอ้างสนับสนุนความคิดเห็นหรือการกระทําของตน.
【 ขอก 】แปลว่า: น. เขต, แดน; (ถิ่น-พายัพ) ริม, ขอบ, เช่น ไปขอกฟ้า ว่า ไปริมฟ้า.
【 ของ 】แปลว่า: น. สิ่งต่าง ๆ. บ. แห่ง (ใช้สําหรับนําหน้านามที่เป็นผู้ครอบครอง).
【 ของกลาง 】แปลว่า: น. ของที่ใช้ร่วมกัน; (กฎ) ของที่ทําหรือมีไว้เป็นความผิดหรือที่ได้
มาโดยได้กระทําความผิด หรือที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทํา
ความผิด หรือที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทําความผิด หรือที่สงสัยว่า
เป็นของดังกล่าว ซึ่งเจ้าพนักงานได้ยึดไว้เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐาน
ในคดีอาญา.
【 ของกอง 】แปลว่า: (โบ) น. ของแห้งและผลไม้ที่ทายกวัดหามาไว้สมทบถวายพระ
ในเวลาทอดกฐินหรือเทศน์มหาชาติ.
【 ของกำนัล 】แปลว่า: น. สิ่งของที่นําไปให้แก่ผู้ที่รักและนับถือ.
【 ของกิน 】แปลว่า: น. ของสําหรับกิน.
【 ของเก่า 】แปลว่า: น. ของโบราณ, ของใช้แล้ว; (กฎ) ทรัพย์ที่ผู้ค้าของเก่าเป็นอาชีพ
เสนอขาย แลกเปลี่ยน หรือจําหน่ายโดยประการอื่นอย่างทรัพย์
ที่ใช้แล้ว ทั้งนี้ รวมถึงของโบราณด้วย.
【 ของขบเคี้ยว 】แปลว่า: น. ของกินเล่นที่ไม่เจตนากินให้อิ่ม.
【 ของขลัง 】แปลว่า: น. ของที่มีอํานาจศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อกันว่าอาจบันดาลให้สําเร็จได้
ดังประสงค์.
【 ของขวัญ 】แปลว่า: น. สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญเมื่อเสร็จพิธีทําขวัญแล้ว; สิ่งของ
ที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญหรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี
เช่น ของขวัญปีใหม่ ของขวัญวันเกิด.
【 ของแข็ง 】แปลว่า: น. สิ่งที่รวมตัวกันแน่น, สิ่งที่มิใช่ของเหลวหรือแก๊ส; (วิทยา)
สถานะหนึ่งของสสารซึ่งมีทั้งรูปร่างและปริมาตรคงตัว.
【 ของค้าง 】แปลว่า: น. ของกินที่เหลือข้ามคืน.
【 ของคาว 】แปลว่า: น. ของกินที่ประกอบด้วยเนื้อสัตว์, กับข้าว.
【 ของเค็ม 】แปลว่า: น. ของกินที่หมักหรือดองด้วยเกลือ.
【 ของเคียง 】แปลว่า: น. ของกินที่เอามาตั้งเทียบข้างเพื่อกินประกอบกับอาหารบางชนิด,
ราชาศัพท์ว่า เครื่องเคียง.
【 ของโจร 】แปลว่า: น. สิ่งของที่ถูกโจรกรรมมา.
【 ของชำ 】แปลว่า: น. ของแห้งต่าง ๆ ที่ใช้เป็นอาหาร เช่น พริก กะปิ หอม กระเทียม.
【 ของชำร่วย 】แปลว่า: น. ของตอบแทนผู้มาช่วยงานเช่นงานแต่งงานและงานศพ.
【 ของใช้ 】แปลว่า: น. ของสําหรับใช้.
【 ของดี 】แปลว่า: น. ของขลัง, โดยปริยายหมายถึงของสําคัญที่ไม่อยากเปิดเผย
ให้ใครรู้.
【 ของเถื่อน 】แปลว่า: น. ของที่ผิดกฎหมาย.
【 ของนอก 】แปลว่า: น. ของที่มาจากต่างประเทศ.
【 ของร้อน 】แปลว่า: น. ของที่มีผู้ขโมยเขาเอามาฝากไว้หรือจําหน่ายให้ ถ้ารับเอาไว้
จะทําให้เดือดร้อน; ของที่ผิดกฎหมาย ถ้ามีไว้ในครอบครอง
จะทําให้เดือดร้อน เช่น ปืนเถื่อน ฝิ่นเถื่อน.
【 ของลับ 】แปลว่า: น. อวัยวะสืบพันธุ์ของมนุษย์.
【 ของเล่น 】แปลว่า: น. ของสําหรับเด็กเล่นเพื่อให้สนุกหรือเพลิดเพลิน.
【 ของเลื่อน 】แปลว่า: น. สํารับคาวหวานที่เจ้าภาพในงานทําบุญนําไปให้ผู้ที่นับถือ
ด้วยไมตรีจิต.
【 ของเลื่อนเตือนขันหมาก 】แปลว่า: น. สํารับคาวหวานเนื่องในการแต่งงาน ซึ่งฝ่ายเจ้าสาวนําไป
ให้ฝ่ายเจ้าบ่าวเพื่อเตือนบอกให้ทราบว่าทางบ้านเจ้าสาว
เตรียมพร้อมที่จะรับขันหมากได้แล้ว.
【 ของวัด 】แปลว่า: น. ของสงฆ์.
【 ของว่าง 】แปลว่า: น. ของกินนอกเวลากินอาหารตามปรกติ มักกินในเวลาบ่าย,
อาหารว่าง ก็ว่า, ราชาศัพท์ว่า เครื่องว่าง.
【 ของสงฆ์ 】แปลว่า: น. ของที่เป็นของวัด, ของที่สงฆ์ใช้ร่วมกัน, ของวัด ก็ว่า.
【 ของสงวน 】แปลว่า: น. นมหญิง.
【 ของสด 】แปลว่า: น. ของที่มิได้สุกด้วยความร้อน.
【 ของสดคาว, ของสดของคาว 】แปลว่า: น. ของกินที่ประกอบด้วยเนื้อสัตว์ทั้งสุกและดิบ.
【 ของแสลง 】แปลว่า: น. ของที่กินแล้วทำให้โรคกำเริบ, สิ่งที่ไม่ถูกกับโรค.
【 ของหลวง 】แปลว่า: น. ของของสถาบันพระมหากษัตริย์, ของที่เป็นของแผ่นดิน
หรือรัฐ.
【 ของหวาน 】แปลว่า: น. ขนม.
【 ของหายตะพายบาป 】แปลว่า: (สํา) น. ของหายหรือเข้าใจว่าหายแล้วเที่ยวโทษผู้อื่น.
【 ของเหลว 】แปลว่า: น. ของที่ไม่แข็งมีลักษณะไหลได้อย่างนํ้า; (วิทยา) สถานะหนึ่ง
ของสสารซึ่งมีปริมาตรคงตัวแต่รูปร่างเปลี่ยนไปได้ตามภาชนะ
ที่รองรับ, สถานะระหว่างแก๊สกับของแข็ง.
【 ของแห้ง 】แปลว่า: น. อาหารแห้งที่เก็บไว้กินได้นาน, เสบียงกรัง.
【 ของไหล 】แปลว่า: (วิทยา) น. สสารซึ่งมีรูปร่างเปลี่ยนไปได้ตามภาชนะที่รองรับ
ได้แก่ ของเหลวและแก๊ส.
【 ของไหว้ 】แปลว่า: น. ของที่ผู้น้อยนําไปให้ผู้ใหญ่ เพื่อแสดงความคารวะในบาง
โอกาส; เครื่องเซ่น.
【 ข้อง ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องจักสานสําหรับใส่ปลา ปู เป็นต้น รูปคล้ายตะกร้า
ปากแคบอย่างคอหม้อดิน ก้นสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีขนาดต่าง ๆ.
【 ข้อง ๒ 】แปลว่า: ก. ติดอยู่.
【 ข้องขัด 】แปลว่า: (กลอน) ก. ขัดข้อง, ติดขัด.
【 ข้องใจ 】แปลว่า: ก. ติดใจสงสัย, ยังไม่สิ้นสงสัย.
【 ข้องแวะ 】แปลว่า: ก. ติดต่อ, เอาใจใส่, เกี่ยวพัน, เกี่ยวข้อง, มักใช้ในประโยคที่มี
ความหมายเป็นเชิงถามหรือปฏิเสธ.
【 ขอด ๑ 】แปลว่า: ก. ขมวดเป็นปม เช่น ขอดเชือก ขอดผ้า ขอดชายพก. ว. ที่ขมวด
เป็นปมหรือม้วนเข้ามา เช่น หมาหางขอด.
【 ขอด ๒ 】แปลว่า: ก. ทำให้สิ่งที่ติดอยู่ออกมาด้วยอาการอย่างขูด เช่น ขอดเกล็ดปลา,
เหลืออยู่น้อยจนถึงกับต้องขูดเอา เช่น น้ำขอดคลอง น้ำขอดโอ่ง
ข้าวขอดหม้อ.
【 ขอดค่อน 】แปลว่า: ก. ค่อนว่า, พูดแคะไค้ในเรื่องที่ไม่ดี, พูดให้เขาอายหรือเจ็บใจ,
ค่อนขอด ก็ว่า.
【 ขอน 】แปลว่า: น. ท่อนไม้ใหญ่ที่ยังไม่ได้ถากกล่อมให้เป็นรูปที่ต้องการ; ลักษณนาม
เรียกข้างหนึ่งของกำไลที่เป็นคู่ว่า กำไลขอนหนึ่ง; ลักษณนามของสังข์
เช่น สังข์ขอนหนึ่ง สังข์ ๒ ขอน, ลักษณนามของไพ่ตองว่า สำรับหนึ่ง
หรือชุดหนึ่งมี ๒ ขอน.
【 ขอนดอก 】แปลว่า: น. ท่อนไม้ของต้นตะแบก พิกุล และบุนนาค ที่ผุราขึ้นเป็น
จุดขาว ๆ มีกลิ่นหอม ใช้เป็นเครื่องยาไทย.
【 ขอนสัก 】แปลว่า: น. ซุงไม้สัก, ลำต้นไม้สักที่ตัดเป็นท่อนยาวก่อนแปรรูป.
【 ข่อน 】แปลว่า: ว. ปั่นป่วน, ไม่สบายใจ, โดยมากใช้เป็นคําคู่ เช่น อกใจมันให้
ข่อน ๆ จะนั่งนอนก็ไม่หลับสนิท. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์).
【 ข้อน 】แปลว่า: ก. ตี, ทุบ, ค่อน ก็ใช้.
【 ขอบ ๑ 】แปลว่า: น. ริมรอบ เช่น ขอบโต๊ะ, ริมที่ยกให้สูงขึ้นโดยรอบ เช่น ขอบสระ
ขอบถนน.
【 ขอบทาง 】แปลว่า: (กฎ) น. แนวริมของทางเดินรถ.
【 ขอบไร 】แปลว่า: (โบ) น. ใช้โดยปริยายว่า ความรอบคอบ, ความทั่วถึง.
【 ขอบ ๒ 】แปลว่า: ก. ทดแทน, ตอบ, รับ, เช่น ขอบแต่ขอมสักตั้ง. (ตะเลงพ่าย),
ภายในสองนางขอบ, ธขอบคําความมนตรี. (ลอ).
【 ขอบข่าย 】แปลว่า: น. ขอบเขตงานหรือความรู้ที่อยู่ในความรับผิดชอบ.
【 ขอบเขต 】แปลว่า: น. อาณาเขต, ขอบข่าย, ข้อจํากัด.
【 ขอบคุณ, ขอบพระคุณ 】แปลว่า: คํากล่าวแสดงความรู้สึกบุญคุณ (เป็นคําที่ใช้แก่บุคคลที่เสมอกัน
หรือผู้น้อยใช้แก่ผู้ใหญ่).
【 ขอบใจ 】แปลว่า: คํากล่าวแสดงความรู้สึกพอใจในความดีที่ผู้อื่นได้มีต่อตน (เป็นคํา
ที่ผู้ใหญ่ใช้แก่ผู้น้อย).
【 ขอบเหล็ก 】แปลว่า: น. นาชนิดที่ไม่มีทางจะบุกเบิกออกไปได้อีก เรียกว่า นาขอบเหล็ก,
นาเชิงทรง ก็ว่า.
【 ขอม ๑ 】แปลว่า: น. เขมรโบราณ.
【 ขอม ๒ 】แปลว่า: ก. ชื่อเพลงไทยจําพวกหนึ่ง มีชื่อต้นด้วยคําว่า ขอม เช่น ขอมใหญ่
ขอมเงิน ขอมทรงเครื่อง.
【 ข่อย 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมถึงขนาดกลางชนิด /Streblus asper/ Lour.
ในวงศ์ Moraceae มักขึ้นตามป่าตํ่าและริมแม่นํ้าลําคลอง ใบเล็ก
สากคาย ใช้ขัดถูได้ เปลือกใช้ทํากระดาษ เรียกว่า กระดาษข่อย ใบ
เปลือก เนื้อไม้และเมล็ดใช้ทํายาได้.
【 ข่อยน้ำ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมชนิด /Streblus taxoides/ (Heyne) Kurz
ในวงศ์ Moraceae ขึ้นตามที่ชื้นแฉะ ลําต้นและกิ่งก้านมักงอหัก
ไปมา ใบเกลี้ยง ไม่สากคาย, ข่อยหยอง ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ขี้แรด.
【 ข่อยหนาม 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด /Streblus ilicifolius/ (Vidal) Corner
ในวงศ์ Moraceae มักขึ้นบนเขาหินปูนในป่าดิบ ลําต้นตรง
ใบแข็งหนา ด้านบนเขียวแก่เป็นมัน ขอบใบเป็นหนามแหลมคม,
ปักษ์ใต้เรียก กระชิด.
【 ข้อย 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
น. ข้า, บ่าว, เช่น เมื่อให้สูสองราชเป็นข้อยขาดแก่พราหมณ์.
(ม. คําหลวง กุมาร).
【 ข่อยหยอง 】แปลว่า: /ดู ข่อยนํ้า ที่ ข่อย/.
【 ขะข่ำ 】แปลว่า: (โบ; กลอน) ว. คลํ้า, มืดมัว, เขียนเป็น ขข่ำ ก็มี เช่น ฟ้าแมลบ
มล่นนร้อง ท้องฟ้าเขียวขขํ่า ยงงฝนพพร่ำพรอยพรำ อื้ออึงอัม
พรระงม ด้วยกำลงงลมพายุพัดน้นน. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์).
【 ขะแข่น, ขะแข้น 】แปลว่า: (โบ; กลอน) ว. แข้น, แข็ง, เขียนเป็น ขแข่น ก็มี เช่น สองอ่อน
โอ้อาดูร ร้อนแสงสูรย์ขแข่น. (ม. คําหลวง กุมาร), (ม. คําหลวง
กุมาร), ร้อนขะแข้น. (ม. คําหลวง กุมาร).
【 ขะแจะ 】แปลว่า: /ดู กระแจะ ๒/.
【 ขะแถก 】แปลว่า: (ถิ่น) ก. กระแทก, กระทบโดยแรง, กระทุ้ง, เช่น ขะแถกแทงทอท่ยว
เขาส้ยมส่ยวยงงมี. (ม. คําหลวง มหาราช).
【 ขะน่อง, ขาน่อง 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. อวัยวะส่วนหลังของลำแข้ง ตั้งแต่ขาพับลงไปถึง
ส้นเท้า เช่น ตัว ๑ ขบขะน่อง. (ม. สำนวนอีสาน ชูชก), กระน่อง
หรือกระหน่อง ก็เรียก.
【 ขะนาน 】แปลว่า: น. ทะนาน.
【 ขะเน็ด 】แปลว่า: น. เขน็ด.
【 ขะมอมขะแมม 】แปลว่า: ก. กระมอมกระแมม, มอมแมมมาก, เลอะเทอะ, เปื้อนเปรอะ,
กระดํากระด่าง.
【 ขะมักเขม้น 】แปลว่า: [ขะมักขะเม่น, ขะหฺมักขะเม่น] ก. ตั้งใจทําอย่างรีบเร่งเพื่อให้แล้ว
เสร็จไป, ก้มหน้าก้มตาทํา, เขม้นขะมัก ก็ว่า.
【 ขะมุกขะมอม 】แปลว่า: ว. เปรอะเปื้อนมอซอ.
【 ขะแมซอ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 ขะแมธม 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 ขะยิก 】แปลว่า: ก. ขยับเข้าไปทีละน้อย ๆ, กระยิก ก็ว่า.
【 ขะยุก 】แปลว่า: ก. ดันเข้าไปทีละน้อย ๆ; ยุหรือหนุนส่ง.
【 ขะเย้อแขย่ง 】แปลว่า: [-ขะแหฺย่ง] ก. กระเย้อกระแหย่ง, เขียนเป็น เขย้อแขย่ง ก็มี.
【 ขะแยะ 】แปลว่า: ก. ตําเบา ๆ, ตําแซะ ๆ; เอาไหล่กระแทกเข้าไป.
【 ขัค ๑ 】แปลว่า: [ขัก] น. แรด เช่น พยัคฆขัคศฤงคาล. (สรรพสิทธิ์).
(ป. ขคฺค; ส. ขฑฺค).
【 ขัค ๒ 】แปลว่า: (แบบ) น. ขรรค์ เช่น สุรขัคอนันต์. (สมุทรโฆษ). (ป. ขคฺค; ส. ขฑฺค).
【 ขัง 】แปลว่า: ก. ให้อยู่ในที่ล้อมเช่นกรง คอก หรือเล้า เป็นต้น, ให้อยู่ในที่ซึ่งกันไว้
เช่น ขังนํ้า; (กฎ) กักขังจําเลยหรือผู้ต้องหาโดยศาล.
【 ขังข้อ 】แปลว่า: ก. ตัดกระบอกไม้ไผ่เป็นต้นให้มีข้อติดอยู่ข้างหนึ่ง.
【 ขังปล้อง 】แปลว่า: ว. ลักษณะกระบอกที่ตัดให้มีข้อติดอยู่ทั้ง ๒ ข้าง โดยฝานข้าง ๆ
ทั้ง ๒ ข้างให้เป็นขาแล้วผ่าตลอดด้านหนึ่งเพื่อทําเป็นตะขาบ
เป็นต้น.
【 ขังหน่วย 】แปลว่า: ว. เรียกนํ้าตาที่ปริ่มอยู่ที่ขอบตาเมื่อร้องไห้ว่า นํ้าตาขังหน่วย,
น้ำตาคลอหน่วย หรือ น้ำตาล่อหน่วย ก็ว่า.
【 ขังขอก 】แปลว่า: น. ชาวเมือง.
【 ขัช, ขัชกะ 】แปลว่า: ขัด, ขัดชะกะ น. อาหารควรเคี้ยว เช่น ตั้งขัชกโภชนาหาร.
(ม. ร่ายยาว ชูชก). (ป. ขชฺช, ขชฺชก).
【 ขัณฑ- 】แปลว่า: [ขันทะ-] น. ภาค, ตอน, ท่อน, ส่วน, ก้อน, ชิ้น. (ป., ส. ขณฺฑ).
【 ขัณฑสกร 】แปลว่า: ขันทดสะกอน น. นํ้าตาลกรวด, เครื่องยาไทยอย่างหนึ่งคล้าย
นํ้าตาลกรวด, นํ้าตาลชนิดหนึ่งเชื่อกันว่าเกิดที่ใบบัว, เช่น เมื่อเวลา
พุ่มไม้มีดอกออกตระการบานเต็มที่พร้อมฤดู เสาวคนธรสเรณูโรยร่วง
ลงบนใบอุบลซึ่งลอยลาดดาดาษอยู่บนหลังน้ำ เมื่อล่วงเวลากาลก็ก่อ
เกิดโอชะวิเศษหวานเป็นมธุรส มีนามกำหนดเรียกว่า โบกขรมธุ?ผู้
เรียนรู้ลุในตำราแพทยศาสตร์ ย่อมสืบเสาะแสวงหามาประกอบใช้ใน
การโอสถ มีนามปรากฏเรียกว่า ขัณฑสกร. (ม. ร่ายยาว จุลพน).
(ป. ขณฺฑสกรา; ส.ขณฺฑศรฺกรา).
【 ขัณฑสีมา 】แปลว่า: น. เขตแดน, เขตแดนส่วนหนึ่ง ๆ. (ป., ส.).
【 ขัด ๑ 】แปลว่า: ก. ให้ติดขวางไว้ไม่ให้หลุดออก เช่น ขัดกระดุม ขัดกลอน; เหน็บ
เช่น ขัดกระบี่; ไม่ทําตาม, ฝ่าฝืน, ขืนไว้, เช่น ขัดคําสั่ง; แย้งกัน,
ไม่ลงรอยกัน.
【 ขัดขวาง 】แปลว่า: ก. ทําให้ไม่สะดวก, ทําให้ติดขัด.
【 ขัดข้อง 】แปลว่า: ก. ไม่ยอมให้ทํา, ไม่ตกลงด้วย, ติดขัด.
【 ขัดขา 】แปลว่า: ก. จงใจขัดขวางเพื่อไม่ให้ทำได้สะดวก, ขัดแข้งขัดขา ก็ว่า; แทน
ชั่วคราว เป็นการแก้ขัดในการเล่นไพ่เป็นต้น, คานขา หรือ คันขา
ก็ว่า.
【 ขัดขืน 】แปลว่า: ก. ไม่ประพฤติตาม, ไม่ทําตาม.
【 ขัดเขมร 】แปลว่า: ก. ถกเขมร เช่น ทะเลาะกูกําหมัดขัดเขมร. (ดึกดําบรรพ์).
【 ขัดเขิน 】แปลว่า: ก. กระดากอาย.
【 ขัดแข็ง 】แปลว่า: ก. ไม่อ่อนน้อม.
【 ขัดแข้งขัดขา 】แปลว่า: ก. จงใจขัดขวางเพื่อไม่ให้ทำได้สะดวก, ขัดขา ก็ว่า.
【 ขัดคอ 】แปลว่า: ก. พูดแย้งขวางเข้ามา, ไม่ให้ทําได้โดยสะดวก.
【 ขัดเคือง 】แปลว่า: ก. โกรธเพราะถูกขัดใจเป็นต้น.
【 ขัดแค้น 】แปลว่า: ก. โกรธเจ็บใจอยู่ไม่หาย.
【 ขัดจังหวะ 】แปลว่า: ก. แทรกเข้ามาในระหว่างร้องรํา; ขวางเข้ามาเพื่อไม่ให้ทําหรือ
พูดได้สะดวก.
【 ขัดใจ 】แปลว่า: ก. โกรธเพราะทําไม่ถูกใจ, ไม่ยอมให้ทําตามใจ.
【 ขัดดอก 】แปลว่า: (โบ) ก. ส่งลูกหรือเมียให้รับใช้แทนส่งดอกเบี้ย.
【 ขัดตะหมาด 】แปลว่า: (ปาก) ว. เรียกท่านั่งคู้เข่าทั้ง ๒ ข้างให้แบะลงที่พื้น แล้วเอาขา
ไขว้กันทับฝ่าเท้า ว่า นั่งขัดตะหมาด.
【 ขัดตา 】แปลว่า: ก. ดูไม่ถูกตา, ดูไม่เหมาะตา, ขัดนัยน์ตา ขัดลูกตา หรือ
ขัดลูกหูลูกตา ก็ว่า.
【 ขัดตาทัพ 】แปลว่า: ก. ยกทัพไปตั้งชั่วคราว กันไม่ให้ข้าศึกรุกลํ้าเข้ามา; (ปาก)
แก้ไขไปพลาง ๆ ก่อน.
【 ขัดตำนาน 】แปลว่า: ก. สวดบทนําเป็นทํานองก่อนสวดมนต์.
【 ขัดแตะ 】แปลว่า: ก. เรียกเรือนที่มีฝาเอาไม้ไผ่ซีกสอดขัดกับลูกตั้งว่า เรือน
ฝาขัดแตะ.
【 ขัดนัยน์ตา, ขัดลูกตา, ขัดลูกหูลูกตา 】แปลว่า: ก. ขัดตา.
【 ขัดบท 】แปลว่า: ก. แทรกเข้ามาเมื่อเขาพูดยังไม่จบเรื่อง, ใช้เลือนมาเป็น
ขัดคอ ก็มี.
【 ขัดเบา 】แปลว่า: ก. ถ่ายปัสสาวะไม่ค่อยออก.
【 ขัดยอก 】แปลว่า: ก. เคล็ดและรู้สึกเจ็บปวด.
【 ขัดแย้ง 】แปลว่า: ก. ไม่ลงรอยกัน.
【 ขัดลาภ 】แปลว่า: ก. ทําให้ไม่ได้รับสิ่งที่จะพึงได้, ทําให้ไม่มีโชค.
【 ขัดลำ 】แปลว่า: ก. อาการที่กระสุนปืนค้างติดในลำกล้อง.
【 ขัดลำกล้อง 】แปลว่า: (ปาก) ก. ถ่ายปัสสาวะไม่ค่อยออก (ใช้แก่ผู้ชาย).
【 ขัดสมาธิ 】แปลว่า: [ขัดสะหฺมาด] ว. นั่งคู้เข่าทั้ง ๒ ข้างให้แบะลงที่พื้นแล้วเอาขาไขว้
กันทับฝ่าเท้า, ถ้าเอาขาซ้อนทับกันเรียกว่า ขัดสมาธิสองชั้น, ถ้าเอา
ขาขวาทับขาซ้าย เรียกว่า ขัดสมาธิราบ, ถ้าเอาฝ่าเท้าทั้ง ๒ ข้างขึ้น
ข้างบน เรียกว่า ขัดสมาธิเพชร, ขัดสมาธิราบและขัดสมาธิเพชรนั้น
เป็นท่าพระพุทธรูปนั่ง. น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถ
นั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้ง ๒ วางซ้อนกันบนพระเพลา พระหัตถ์ขวา
ทับพระหัตถ์ซ้าย.
【 ขัดหนัก 】แปลว่า: ก. ถ่ายอุจจาระไม่ค่อยออก.
【 ขัดห้าง 】แปลว่า: ก. ทําที่พักบนต้นไม้ในป่าชั่วคราวสําหรับคอยเฝ้าดูเหตุการณ์
หรือดักยิงสัตว์เป็นต้น.
【 ขัดหู 】แปลว่า: ก. ฟังไม่ถูกหู, ฟังไม่เพราะหู.
【 ขัด ๒ 】แปลว่า: ก. ถูให้เกลี้ยง, ถูให้ผ่องใส, ถูให้ขึ้นเงา, เช่น ขัดขี้ไคล ขัดพื้น.
【 ขัดเกลา 】แปลว่า: ก. ทําให้เกลี้ยงเกลา, ทําให้เรียบร้อย, อบรมพรํ่าสอน, เช่น
ขัดเกลานิสัย.
【 ขัด ๓ 】แปลว่า: ก. ไม่ใคร่จะมี, ฝืดเคือง, ไม่คล่อง, ไม่เป็นปรกติ.
【 ขัดสน 】แปลว่า: ว. ฝืดเคือง, อัตคัด, ขาดแคลน; ลําบาก.
【 ขัด ๔ 】แปลว่า: (โบ; กลอน) ก. คาด เช่น มีพิกัดขัดค่าเป็นราคาน้อยมาก.
(ม. ร่ายยาว มหาราช).
【 ขัดมอน 】แปลว่า: /ดู หญ้าขัด/.
【 ขัดมอนตัวผู้ 】แปลว่า: /ดู หญ้าขัดหลวง ที่ หญ้าขัด/.
【 ขัดมอนหลวง 】แปลว่า: /ดู หญ้าขัดหลวง ที่ หญ้าขัด/.
【 ขัตติย- 】แปลว่า: [-ยะ-] น. พระเจ้าแผ่นดิน. (ป.).
【 ขัตติยมานะ 】แปลว่า: น. การถือตัวว่าเป็นกษัตริย์หรือเชื้อสายกษัตริย์.
【 ขัน ๑ 】แปลว่า: น. ภาชนะสําหรับตักหรือใส่นํ้า มีหลายชนิด.
【 ขันข้าวบาตร 】แปลว่า: น. ขันเชิงสำหรับใส่ข้าวตักบาตร.
【 ขันเชิง 】แปลว่า: น. ขันชนิดที่มีเชิง.
【 ขันน้ำพานรอง 】แปลว่า: น. ขันนํ้าที่มีพานรองรับ.
【 ขันลงหิน 】แปลว่า: น. ขันที่ทำด้วยโลหะผสมทองแดงกับดีบุก แล้วขัดให้เป็นมัน.
【 ขันสาคร 】แปลว่า: น. ขันขนาดใหญ่ทำด้วยโลหะผสม ได้แก่ สัมฤทธิ์ ทองเหลือง
ตัวขันเป็นทรงลูกมะนาวตัด ก้นขันมีเชิง ข้างขันทำเป็นรูปหน้า
สิงโตปากคาบห่วงซึ่งใช้เป็นหูหิ้วข้างละหู ใช้บรรจุน้ำสำหรับทำ
น้ำมนต์หรือสำหรับผู้มีบรรดาศักดิ์ใช้อาบ.
(รูปภาพ ขันสาคร)
【 ขันเหม 】แปลว่า: น. ขันชนิดที่เล็กกว่าขันเชิงเล็กน้อย ใส่ข้าวสารไว้ในขันสำหรับ
ปักแว่นเวียนเทียน.
【 ขัน ๒ 】แปลว่า: ก. ทำให้ตึงหรือให้แน่นด้วยวิธีหมุนกวดเร่งเข้าไป เช่น ขันชะเนาะ
ขันเกลียว. ว. แข็งแรง, กล้าหาญ, เช่น กูนี้คนขัน จะขามคนใด.
(สมุทรโฆษ).
【 ขันกว้าน 】แปลว่า: [-กฺว้าน] ก. ฉุดด้วยกว้าน.
【 ขันชะเนาะ 】แปลว่า: ก. บิดลูกชะเนาะให้ตึง.
【 ขันต่อ 】แปลว่า: ก. กล้าต่อ. (กฎ) น. การต่อรองซึ่งได้เสียกันโดยอาศัยเหตุการณ์
ในอนาคตที่ไม่แน่นอนเป็นข้อแพ้ชนะ.
【 ขันสมอ 】แปลว่า: [-สะหฺมอ] ก. หมุนเครื่องเอาสมอขึ้น.
【 ขันสู้ 】แปลว่า: ก. แข่งเข้าสู้, กล้าสู้.
【 ขันอาสา 】แปลว่า: ก. เสนอตัวเข้ารับทําโดยเต็มใจ, กล้าอาสา.
【 ขัน ๓ 】แปลว่า: ก. อาการร้องอย่างหนึ่งของไก่หรือนกบางชนิด เฉพาะในตัวผู้ เช่น
ไก่ ไก่ฟ้า นกเขา ใช้เป็นสัญญาณติดต่อสื่อสารในสัตว์ประเภท
เดียวกันจะร้องมากในระหว่างฤดูผสมพันธุ์ หรือในเวลาจำเพาะ
เช่นเช้าตรู่.
【 ขัน ๔ 】แปลว่า: ก. หัวเราะ, นึกอยากหัวเราะ. ว. น่าหัวเราะ, ชวนหัวเราะ, ขบขัน ก็ว่า.
【 ขัน ๕ 】แปลว่า: /ดู คัน ๓/.
【 ขั้น 】แปลว่า: น. ชั้นที่ทําลดหลั่นกันเป็นลําดับ เช่น ขั้นบันได; ลําดับ, ตอน,
เช่น ในขั้นนี้.
【 ขันแข็ง 】แปลว่า: ว. อย่างเอาจริงเอาจัง เช่น ขยันขันแข็ง รับปากขันแข็ง.
【 ขันติ, ขันตี 】แปลว่า: น. ความอดกลั้นต่อสิ่งที่ไม่พอใจ, ความอดทน. (ป. ขนฺติ = ความอดทน
เป็นบารมี ๑ ในบารมี ๑๐.
【 ขันโตก 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ภาชนะทําด้วยไม้กลึง ไม้ไผ่สาน หวาย หรืออย่าง
เครื่องเขิน ส่วนบนลักษณะคล้ายถาด ส่วนล่างเป็นตีนลักษณะเป็น
วงแหวนมีขนาดเล็กกว่าถาดส่วนบน โดยมีซี่ไม้ลูกมะหวดประมาณ
๖ ซี่ปักที่ตีนค้ำถาดไว้ ใช้สำหรับใส่อาหารเป็นต้น, โตก หรือ สะโตก
ก็ว่า, ลักษณนามว่า ใบ หรือ ลูก.
【 ขันทองพยาบาท 】แปลว่า: [-พะยาบาด] น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด /Suregada multiflorum/
(A. Juss.) Baill. ในวงศ์ Euphorbiaceae สูง ๕-๘ เมตร ใบรี หนา
ด้านบนสีเขียวแก่เป็นมัน ผลกลมมี ๓ พู ขนาดกว้างประมาณ ๒.๕
เซนติเมตร ใช้ทํายาได้.
【 ขันที 】แปลว่า: น. ชายที่ถูกตอน บางประเทศทางเอเชียสมัยโบราณใช้สําหรับ
ควบคุมฝ่ายใน.
【 ขันธ์ 】แปลว่า: น. ตัว, หมู่, กอง, พวก, หมวด, ส่วนหนึ่ง ๆ ของรูปกับนามที่แยก
ออกเป็น ๕ กอง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งเรียกว่า
ขันธ์ ๕ หรือ ขันธ์ทั้ง ๕. (ป.; ส. สกนฺธ).
【 ขันธาวาร 】แปลว่า: -ทาวาน น. ค่าย, กองทัพ, เช่น เสด็จถึงขันธาวารประเทศ.
(ม. ร่ายยาว นครกัณฑ์). (ป.).
【 ขันหมาก ๑ 】แปลว่า: น. ขันใส่หมากพลูเป็นต้นซึ่งเชิญไปพร้อมกับของอื่น ๆ ในพิธี
หมั้นหรือแต่งงาน เป็นเครื่องคํานับผู้ปกครองฝ่ายหญิง.
【 ขันหมาก ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นเหมือนจําปา รากเป็น ๓ แง่ ดอก
เหมือนบอน ลูกเหมือนแตงกวา. (กบิลว่าน).
【 ขันหมาก ๓ 】แปลว่า: (โบ; ราชา) น. เรียกพานใส่หมากพลูของพระเจ้าแผ่นดินว่า
พานพระขันหมาก หรือ พระขันหมาก, พานพระศรี ก็ว่า.
【 ขับ ๑ 】แปลว่า: ก. ต้อนให้ไป, บังคับให้ไป, ไล่; ไล่ตาม; บังคับให้เคลื่อนไปได้ เช่น
ขับเกวียน ขับรถม้า, สามารถบังคับเครื่องยนต์ ให้ยานพาหนะ
เคลื่อนที่ไปได้ เช่น ขับรถ ขับเรือ; บังคับให้ออก เช่น ขับปัสสาวะ;
ประชดอย่างล้อ, พูดล้อเพื่อสนุก.
【 ขับขัน 】แปลว่า: ว. คับขัน.
【 ขับขี่ 】แปลว่า: ว. (ปาก) เรียกใบอนุญาตให้ขับรถได้ว่า ใบขับขี่, (กฎ) ใช้ว่า
ใบอนุญาตขับขี่. ก. สามารถบังคับเครื่องยนต์ให้ยานพาหนะ
เคลื่อนที่ไปได้.
【 ขับเคลื่อน 】แปลว่า: ก. ผลักหรือดันให้ไปด้วยแรงดันไอนํ้าหรือกังหันเป็นต้น.
【 ขับเคี่ยว 】แปลว่า: ก. เร่งรัด, ต่อสู้หรือแข่งขันกันไปจนถึงที่สุด หรือจนแพ้ชนะ
ไปข้างหนึ่ง.
【 ขับถ่าย 】แปลว่า: ก. รุหรือระบายสิ่งที่ไม่ต้องการออกจากร่างกาย.
【 ขับไล่ไสส่ง 】แปลว่า: ก. ไล่ไปอย่างไม่มีเยื่อใย, ขับไสไล่ส่ง ก็ว่า.
【 ขับพล 】แปลว่า: ก. ยกทัพ, เคลื่อนกองทัพเข้าโจมตีข้าศึก.
【 ขับ ๒ 】แปลว่า: ก. ร้องเป็นทํานอง เช่น ขับกล่อม ขับเสภา.ขับซอ (ถิ่น)
ก. ร้องเพลงโดยมีดนตรีประกอบ เช่น ขับซอยอยศอ้าง
ฦๅลูกกษัตริย์เจ้าช้าง ชื่นแท้ใครเทียมเทียบนา. (ลอ).
【 ขับไม้ 】แปลว่า: น. การเล่นดนตรีอย่างหนึ่ง มีคนเล่น ๓ คนด้วยกัน คนหนึ่งขับร้อง
ลํานํา คนหนึ่งสีซอ ๓ สายประสานเสียง คนหนึ่งไกวบัณเฑาะว์
ให้จังหวะ; ชื่อคําประพันธ์ชนิดหนึ่ง ใช้โคลงกับกาพย์สุรางคนางค์
สลับกัน.
【 ขับไม้บัณเฑาะว์ 】แปลว่า: [-บันเดาะ] น. วิธีบรรเลงอย่างหนึ่ง; ชื่อเพลงไทยชนิดหนึ่ง.
【 ขับร้อง 】แปลว่า: ก. ร้องเพลง.
【 ขัย 】แปลว่า: [ไข] น. ความสิ้นไป, เขตอายุของคนที่นิยมกันว่าสูงสุด เรียกว่า
อายุขัย. (ป. ขย; ส. กฺษย).
【 ขัว 】แปลว่า: (ถิ่น; กลอน) น. สะพาน.
【 ขั้ว 】แปลว่า: น. ส่วนที่ต่อของก้านดอกไม้ ใบไม้ ผลไม้ และอื่น ๆ.
【 ขั้วกระจก 】แปลว่า: น. จุดกึ่งกลางของผิวกระจกโค้งทรงกลม.
【 ขั้วบวก 】แปลว่า: น. ขั้วไฟฟ้าที่มีศักย์ไฟฟ้าสูงกว่าอีกขั้วหนึ่ง.
【 ขั้วแม่เหล็ก 】แปลว่า: น. บริเวณที่ตัวแท่งแม่เหล็กซึ่งมีแรงแม่เหล็กมากที่สุด โดยปรกติ
บริเวณดังกล่าวจะอยู่ใกล้ปลายทั้ง ๒ ของแท่งแม่เหล็ก, ถ้าชี้ไป
ทางทิศเหนือ เรียกว่า ขั้วเหนือ ถ้าชี้ไปทางทิศใต้ เรียกว่า ขั้วใต้.
【 ขั้วแม่เหล็กโลก 】แปลว่า: น. เรียกบริเวณที่มีแรงแม่เหล็กโลกมากที่สุดทางซีกโลกเหนือ
และใต้ว่า ขั้วแม่เหล็กโลกเหนือ ขั้วแม่เหล็กโลกใต้.
【 ขั้วลบ 】แปลว่า: น. ขั้วไฟฟ้าที่มีศักย์ไฟฟ้าตํ่ากว่าอีกขั้วหนึ่ง.
【 ขั้วโลก 】แปลว่า: น. เรียกบริเวณปลายสุดของแกนโลกเหนือและใต้ที่มีละติจูด
๙๐ องศาเหนือว่า ขั้วโลกเหนือและที่มีละติจูด ๙๐ องศาใต้ว่า
ขั้วโลกใต้.
【 ขา ๑ 】แปลว่า: น. อวัยวะตั้งแต่ตะโพกถึงข้อเท้า สําหรับยันกายและเดินเป็นต้น
(ไทยถิ่นอื่น ขา หมายความตั้งแต่ตะโพกถึงเข่า); สิ่งของซึ่งมี
ลักษณะคล้ายขาสําหรับยันหรือรองรับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ขาโต๊ะ
ขาเก้าอี้ ขาตั้ง; เรียกส่วนที่ยื่นออกไปจากส่วนใหญ่เหมือนรูปขา
เช่น ขากางเกง.
【 ขากบ 】แปลว่า: น. ขาของว่าวจุฬา.
【 ขากรรไกร 】แปลว่า: [-กันไกฺร] น. กระดูกต้นคางที่อ้าขึ้นอ้าลง มีลักษณะอย่างกรรไกร,
ขากรรไตร หรือ ขาตะไกร ก็ว่า.
【 ขากรรไตร 】แปลว่า: น. ขากรรไกร.
【 ขากอม 】แปลว่า: [-กอม] ว. ขาโก่ง.
【 ขาไก่ ๑ 】แปลว่า: น. เรียกขนมปังกรอบค่อนข้างแข็ง ขนาดโตเท่านิ้วหัวแม่มือ
ยาวประมาณ ๘ นิ้ว ว่า ขนมปังขาไก่.
【 ขาขวิด 】แปลว่า: ว. อาการที่เดินสะดุดขาตัวเองเพราะอายหรือรีบร้อน เรียกว่า
เดินขาขวิด.
【 ขาตะเกียบ 】แปลว่า: น. ขาคนที่ลีบเล็ก.
【 ขาตะไกร 】แปลว่า: น. ขากรรไกร.
【 ขาทราย 】แปลว่า: น. ไม้ ๒ อันผูกหรือร้อยปลายให้อ้าออกเป็นง่ามสําหรับรับ
หรือคํ้าของ.
【 ขานกยาง ๑ 】แปลว่า: น. ปืนโบราณที่ตั้งยิงบนขาคํ้า; เรียกตรวนที่มีลูกย่าง ๒ อันว่า
ตรวนขานกยาง.
【 ขาพับ 】แปลว่า: น. ส่วนของขาที่พับได้อยู่หลังเข่า.
【 ขาม้า 】แปลว่า: น. ครีบคู่ที่อยู่ตรงอกปลา, ตะเกียบ ก็เรียก.
【 ขาลาก 】แปลว่า: ว. อาการที่เดินยกขาไม่ขึ้น.
【 ขาสิงห์ 】แปลว่า: น. ขาโต๊ะ ตั่ง หรือตู้เป็นต้นที่ออกแบบให้คล้ายขาของสิงห์.
【 ขาหนีบ 】แปลว่า: น. บริเวณโคนขาด้านหน้าตรงส่วนที่ต่อกับลำตัว.
【 ขาหมา 】แปลว่า: น. ไม้ ๒ อันที่ทำเป็นขาไขว้กัน ใช้วางบนหลังช้าง สำหรับนั่ง
บรรทุกของ หรือลากไม้.
【 ขาหยั่ง 】แปลว่า: [-หฺยั่ง] น. ไม้ ๓ อันผูกปลายรวมกันและกางออกไป สําหรับตั้ง
หรือห้อยของต่าง ๆ.
【 ขาอ่อน 】แปลว่า: น. ส่วนหลังของขานับตั้งแต่โคนขาถึงขาพับ.
【 ขา ๒ 】แปลว่า: น. พวก, ฝ่าย, เช่น ขานักเลง ขาเจ้าชู้; เรียกผู้ร่วมเล่นการพนัน
เช่นไพ่ว่า ขา; คราว, เที่ยว, เช่น ขากลับ ขาเข้า ขาออก; (โบ)
สลึง, ใช้เฉพาะราคาทองคำที่คิดเป็นราคาเงินบาท เศษที่เป็น
สลึงเรียกว่า ขา เช่น ทองคำหนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๘ บาท
๒ สลึง เรียกว่า ทองเนื้อแปดสองขา ถ้าเป็นราคาเงิน ๘ บาท
๓ สลึง เรียกว่า ทองเนื้อแปดสามขา.
【 ขาจร 】แปลว่า: [-จอน] น. ลูกค้าที่ไม่ใช่ขาประจำ.
【 ขาประจำ 】แปลว่า: น. ลูกค้าที่ติดต่อสม่ำเสมอ.
【 ขาไพ่ 】แปลว่า: น. ผู้ร่วมเล่นการพนันไพ่, ลักษณนามว่า ขา.
【 ขาใหญ่ 】แปลว่า: (ปาก) น. นักเลงผู้มีอิทธิพล, นักโทษหรือผู้กักขังที่มีอิทธิพล.
【 ขา ๓ 】แปลว่า: ว. คําขานรับของผู้หญิง.
【 ขา ๔ 】แปลว่า: (โบ) ส. เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ แทนคำว่า เขาสองคน เช่น
สองขาพ่อลูก หมายถึง เขาสองคนพ่อลูก.
【 ข่า ๑ 】แปลว่า: น. คนชาวเขาจำพวกหนึ่ง แบ่งออกเป็น ๒ พวก พวกหนึ่งพูด
ภาษาในตระกูลมอญ-เขมร เช่น ข่า อัตตะปือ ข่าตองเหลือง
และอีกพวกหนึ่งพูดภาษาในตระกูลอินโดนีเซียน ได้แก่
ข่าระแด และ ข่าจะราย.
【 ข่า ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Alpinia galanga/ (L.) Sw. ในวงศ์ Zingiberaceae
มีเหง้า ลําต้นเป็นกอ สูง ๑-๓ เมตร ดอกขาว ออกเป็นช่อที่ยอด
เหง้ามีกลิ่นฉุน ใช้ปรุงอาหารและทํายาได้.
【 ข่าแดง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Achasma sphaerocephalum/ Holtt. ในวงศ์
Zingiberaceae ดอกสีแดง ออกเป็นช่อสั้น ๆ ใกล้พื้นดิน กินได้.
【 ข่า ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์นํ้าชนิดหนึ่ง ในมหาชาติคําหลวงแปลจากศัพท์ว่า
สุสู, คือ จระเข้, เช่น มงงกรฉลองเข้ข่าก็มี. (ม. คําหลวง
มหาพน).
【 ข่า ๔ 】แปลว่า: น. ไม้ที่ทําเป็นร้านขึ้นคร่อมกองไฟสําหรับปิ้งปลา, ไม้ไผ่ขัดเป็น
ตารางเล็ก ๆ สำหรับวางหรือห้อยอาหารแห้งให้อยู่เหนือเตาไฟ
ในครัว.
【 ข้า ๑ 】แปลว่า: น. บ่าวไพร่, คนรับใช้.
【 ข้าเก่าเต่าเลี้ยง 】แปลว่า: (สํา) น. คนเก่าคนแก่, คนที่อยู่ด้วยกันในฐานะรับใช้มานาน.
【 ข้าไท 】แปลว่า: น. คนรับใช้ที่ไม่ใช่ทาส.
【 ข้านอกเจ้าข้าวนอกหม้อ 】แปลว่า: (สํา; โบ) น. จำนวนคนซึ่งมีจำนวนมากย่อมกระทำหรือประพฤติ
นอกออกไปจากคำสั่งหรือแบบอย่างขนบธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติ
กันมามากเช่นกัน ดังข้อความว่า กาลแต่ก่อนเจ้านายน้อยตัวก็
ไม่รั่วไม่ร้ำข้างไหนหนัก ครั้นภายหลังเจ้านายมากขึ้นก็เกิดการ
รั่วร้ำไปต่าง ๆ เป็นการข้านอกเจ้าเข้านอกหม้อ ลูกนอกพ่อ
หลานนอกปู่ เป็นขึ้น. (พระราชหัตถเลขารัชกาลที่ ๔).
【 ข้านอกเจ้าบ่าวนอกนาย 】แปลว่า: (สำ) น. ผู้ที่กระทำหรือประพฤตินอกเหนือคำสั่งหรือแบบอย่าง
ขนบธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติกันมา.
【 ข้าแผ่นดิน 】แปลว่า: น. พลเมือง.
【 ข้าเฝ้า 】แปลว่า: น. ขุนนางที่มีตําแหน่งเข้าเฝ้า.
【 ข้าพระ 】แปลว่า: (โบ) น. ผู้ที่นายเงินทำหนังสือสำคัญยกให้เป็นคนใช้ของสงฆ์,
คนที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานแก่พระสงฆ์ เพื่อรักษาวัดและ
ปฏิบัติพระสงฆ์.
【 ข้าราชการ 】แปลว่า: น. (โบ) คนที่ทําราชการตามทําเนียบ; ผู้ปฏิบัติราชการในส่วน
ราชการ; (กฎ) บุคคลซึ่งรับราชการ โดยได้รับเงินเดือนจากเงิน
งบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือน เช่น ข้าราชการพลเรือน
ข้าราชการการเมือง ข้าราชการครู ข้าราชการทหาร ข้าราชการ
ตุลาการ ข้าราชการอัยการ.
【 ข้าราชการอัยการ 】แปลว่า: (กฎ) น. ข้าราชการผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการดำเนินคดีตาม
กฎหมายซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ,
ถ้ารวมถึงข้าราชการธุรการในสำนักงานอัยการสูงสุดด้วย
เรียกว่า ข้าราชการฝ่ายอัยการ. /(ดู อัยการ)./
【 ข้าหลวง ๑ 】แปลว่า: น. (โบ) คนที่ถวายตัวเป็นข้าของพระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านาย,
คนใช้ของพระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านาย.
【 ข้าหลวงเดิม 】แปลว่า: น. คนใช้เก่าแก่ของเจ้านาย, คนที่พระเจ้าแผ่นดินเคยใช้มา
แต่เมื่อยังไม่ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน, (ปาก) คนหรือสิ่งของที่
ใช้สอยถูกใจมาเป็นเวลานาน ๆ.
【 ข้าหลวงน้อย 】แปลว่า: น. คนใช้ของเจ้านาย.
【 ข้า ๒ 】แปลว่า: ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด พูดกับผู้ที่เสมอกันอย่างเป็นกันเองหรือ
ผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
【 ข้าเจ้า 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
【 ข้าน้อย 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
【 ข้าพเจ้า 】แปลว่า: [ข้าพะเจ้า] ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด มักใช้อย่างเป็นทางการ,
เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
【 ข้าพระพุทธเจ้า 】แปลว่า: [ข้าพฺระพุดทะเจ้า] ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด กราบบังคมทูล
พระเจ้าแผ่นดินหรือกราบทูลเจ้านายชั้นสูง, เป็นสรรพนาม
บุรุษที่ ๑.
【 ขาก ๑ 】แปลว่า: ก. อาการที่ทําให้เสมหะเป็นต้นในลําคอหลุดออก มักมีเสียง
ดังเช่นนั้น.
【 ขาก ๒ 】แปลว่า: (โบ) ก. ภูมิใจ เช่น ความยินลากขากดีจะมีไหน. (อภัย). (ไทยใหญ่).
【 ขาก๊วย 】แปลว่า: น. กางเกงจีนขาสั้นแค่เข่า.
【 ขาเกวียน 】แปลว่า: (โบ) น. ลูกล้อเกวียน เช่น ขาเกวียนขาหนึ่ง. (อัยการเบ็ดเสร็จ).
【 ขาไก่ ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ขา ๑/.
【 ขาไก่ ๒ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด /Strobilanthes dolicophylla/ R. Ben. ในวงศ์
Acanthaceae ต้นสูงประมาณ ๑ เมตร ปลูกเป็นรั้ว. (๒) ชื่อเห็ด
ชนิดหนึ่งในพวกเห็ดโคน แต่ใหญ่และแข็งกว่า. (๓) เรียกอ้อย
ชนิดลําเล็กสีเหลืองว่าอ้อยขาไก่.
【 ขาไก่ ๓ 】แปลว่า: /ดู หางแข็ง/.
【 ขาเขียด 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Monochoria vaginalis/ (Burm.f.) Kunth
ในวงศ์ Pontederiaceae ดอกสีม่วงนํ้าเงิน เกิดในนํ้าและ
ปลักตม กินได้.
【 ขาง ๑ 】แปลว่า: น. ไข่แมลงวัน เรียกว่า ไข่ขาง. (อะหม ขาง ว่า ขว้าง, วาง, ทิ้ง).
【 ขาง ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. รอดเรือน.
【 ขางดัง 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. ดั้งจมูก.
【 ขาง ๓ 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. โลหะชนิดหนึ่งอย่างเหล็กกระทะ.
【 ขาง ๔ 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) ก. อัง, ทําให้ร้อน, ทําให้สุก, เช่น เอาขี้ผึ้งไปขางไฟ
ว่า เอาขี้ผึ้งไปอังไฟ.
【 ข่าง ๑ 】แปลว่า: น. ของเล่นอย่างหนึ่งเป็นลูกกลม ๆ มีเดือยใช้ปั่นให้หมุนด้วยมือ
หรือด้วยเชือก เรียกว่า ลูกข่าง; ชื่อดาวหมู่หนึ่งมี ๔ ดวงคล้าย
รูปลูกข่าง.
【 ข่าง ๒ 】แปลว่า: น. ไม้ชนิดหนึ่ง อยู่ทางแถบทะเล เปลือกเรียบ ๆ ใบคล้ายมะขวิด
ไม้ใช้ทําฟืน. (พจน. ๒๔๙๓).
【 ข่าง ๓ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) ก. ระบาย, ถ่าย, เช่น ข่างนํ้า ว่า ระบายนํ้า.
【 ข้าง 】แปลว่า: น. เบื้อง เช่น ข้างหน้า ข้างหลัง; ส่วน เช่น ข้างหัว ข้างท้าย;
ฝ่าย เช่น ข้างไหน ข้างนี้; สีข้าง เช่น เอาข้างเข้าถู. บ. ใกล้,
ริม, เช่น ต้นฝรั่งข้างรั้ว.
【 ข้าง ๆ 】แปลว่า: ว. ใกล้ด้านข้าง เช่น ยืนอยู่ข้าง ๆ.
【 ข้างกบ 】แปลว่า: น. กระดานกรุกระหนาบข้างเสาในพระระเบียง ปลายแผ่น
กระดานยันใต้ท้องสะพานที่พาดอยู่บนหัวเสา, กระดาน
กรุกระหนาบข้างคูหาหรือช่องหน้าต่างโบสถ์ วิหาร พระที่นั่ง
ต่าง ๆ, บานกบ ก็ว่า.
【 ข้างขึ้น 】แปลว่า: น. ส่วนของเดือนจันทรคติที่มีพระจันทร์สว่าง คือ ตั้งแต่ขึ้น
คํ่าหนึ่งไปถึงกลางเดือน.
【 ข้างควาย 】แปลว่า: น. เรียกไม้ขนาบใกล้สันหลังคา ๒ ข้างจากหลบ มีไม้เสียบหนู
ยึดกลัดให้แน่น ว่า ไม้ข้างควาย.
【 ข้าง ๆ คู ๆ 】แปลว่า: ว. ออกนอกแนวนอกเรื่องอย่างไม่สมเหตุสมผล เช่น เถียงไป
ข้าง ๆ คู ๆ.
【 ข้างเคียง 】แปลว่า: ว. ที่อยู่ใกล้ ๆ, ที่สนิทชิดชอบกันมาก, เช่น คนข้างเคียง.
【 ข้างจัน 】แปลว่า: น. วิธีเหลาไม้ให้เป็นผิวนูนมีลักษณะอย่างข้างของลูกจัน.
【 ข้างตก 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ทิศตะวันตก.
【 ข้างตีน 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ทิศเหนือ.
【 ข้างแรม 】แปลว่า: น. ส่วนของเดือนจันทรคติที่พระจันทร์มืด คือ ตั้งแต่แรมคํ่าหนึ่ง
ไปถึงสิ้นเดือน.
【 ข้างหัวนอน 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ทิศใต้.
【 ข้างออก 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ทิศตะวันออก.
【 ข้างกระดาน 】แปลว่า: น. ชื่อเรือต่อในจําพวกเรือข้าวชนิดหนึ่งที่เสริมข้างให้สูงขึ้น.
【 ข้างเงิน 】แปลว่า: น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดในสกุล /Allanetta และ Stenatherina/
วงศ์ Atherinidae ลําตัวค่อนข้างกลมยาว หัวโต เกล็ดใหญ่และแข็ง
ข้างลําตัวมีสีเด่นเป็นเพียงแถบสีเงินเหลือบนํ้าเงินพาดตลอดตามยาว
อยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ใกล้ผิวนํ้าชายฝั่ง, หัวแข็ง หรือ หัวตะกั่ว ก็เรียก.
【 ขางแดง 】แปลว่า: /ดู กางขี้มอด ที่ กาง ๒/.
【 ข้างตะเภา 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล /Plectorhynchus/ และ /Diagramma/
วงศ์ Haemulidae ลำตัวป้อม แบนข้าง สันหัวโค้งลาดลง รอบปากมี
เนื้อนุ่ม ใต้คางมีรู ๑-๓ คู่ เกล็ดเล็กสากมือพื้นลำตัวและอกมักมีสี
ฉูดฉาด ในปลาขนาดเล็กมักมีลายสีทึบพาดตามยาวหลายเส้นและ
มักแตกเป็นจุดเมื่อตัวโตขึ้น ขอบแผ่นปิดเหงือกและในโพรงปากมัก
มีสีแดงส้ม ส่วนใหญ่พบอาศัยอยู่ตามแนวปะการัง ขนาดตั้งแต่ ๓๐-๘๐
เซนติเมตร, สร้อยนกเขา ก็เรียก. (๒) /ดู ข้างลาย./
【 ข้างลาย 】แปลว่า: น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล /Therapon/ และ /Pelates/ วงศ์
Theraponidae มีเส้นดำข้างลำตัวข้างละ ๔-๖ เส้น แล้วแต่ชนิด
อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลและบริเวณน้ำกร่อย เช่น ชนิด /T. jarbua,/
/P. quadrilineatus/, ข้างตะเภา ออดแอด หรือ ครืดคราด ก็เรียก.
【 ขาณุ 】แปลว่า: (แบบ) น. ตอ. (ป.).
【 ขาด 】แปลว่า: ก. แยกออกจากกันเพราะถูกดึง ตัด หรือฉีก เป็นต้น เช่น เชือกขาด
แขนขาด ผ้าขาด; ควรจะมีแต่ไม่มี เช่น เศรษฐีขาดไฟ; มีไม่ครบ, มี
ไม่เต็ม, เช่น ขาดคุณสมบัติ; ไม่ครบ, บกพร่อง, เช่น ศีลขาด; ไม่เต็ม
ตามจํานวน เช่น นับเงินขาด; ไม่มาตามกําหนด เช่น ขาดเรียน
ขาดประชุม.
【 ขาดกัน 】แปลว่า: ก. แยกจากกัน ไม่คบค้าสมาคมกันต่อไป เช่น แม้นมิยกพลไกร
ไปช่วย ถึงเราม้วยก็อย่ามาดูผี อย่าดูทั้งเปลวอัคคี แต่วันนี้
ขาดกันจนบรรลัย. (อิเหนา).
【 ขาดคราว 】แปลว่า: ก. ไม่มีไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง.
【 ขาดคอช้าง 】แปลว่า: ก. ถูกฟันตายบนคอช้างเมื่อเวลาชนช้างกัน, ขาดหัวช้าง ก็เรียก.
【 ขาดค่า 】แปลว่า: ก. จํากัดราคาตายตัว.
【 ขาดคำ, ขาดปาก 】แปลว่า: ก. ทันทีที่สุดคําพูด, ทันทีที่จบคําพูด.
【 ขาดแคลน 】แปลว่า: ก. ขัดสน, อัตคัด.
【 ขาดใจ 】แปลว่า: ก. สิ้นใจ, ตาย; โดยปริยายหมายความว่า ยอด, มาก, เช่น
สุดสวาทขาดใจ.
【 ขาดตกบกพร่อง 】แปลว่า: ก. ไม่ครบ, ไม่บริบูรณ์, ยังไม่เรียบร้อย.
【 ขาดตลาด 】แปลว่า: ก. ไม่มีขายในท้องตลาดอย่างที่เคยมี.
【 ขาดตอน 】แปลว่า: ก. ขาดระยะกัน, ไม่ติดต่อกัน.
【 ขาดตัว 】แปลว่า: ว. จํากัดราคาคงที่ไม่เพิ่มไม่ลด, จํากัดราคาตายตัว.
【 ขาดทุน 】แปลว่า: ก. ได้น้อยกว่าต้นทุน.
【 ขาดน้ำใจ 】แปลว่า: ก. ไม่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่.
【 ขาดมือ 】แปลว่า: ก. เคยมีแล้วหมดไป, ไม่มีเป็นการชั่วคราว.
【 ขาดเม็ด 】แปลว่า: ก. หายสนิท, หยุดตก, (ใช้แก่ฝน).
【 ขาดลอย 】แปลว่า: ก. สูญไปโดยไม่มีหวังว่าจะได้คืน เช่น ว่าวขาดลอย, เด็ดขาด
เช่น ชนะขาดลอย.
【 ขาดหัวช้าง 】แปลว่า: ก. ถูกฟันตายบนคอช้างเมื่อเวลาชนช้างกัน เช่น ผู้ใดชนช้างมีชัย
และข้าศึกขาดหัวช้าง. (กฎมนเทียรบาลในกฎ. ราชบุรี), ขาดคอช้าง
ก็เรียก.
【 ขาดเหลือ 】แปลว่า: ก. ไม่ครบตามที่ควรมี เช่น ถ้ามีสิ่งใดขาดเหลือ ก็ขอให้บอก.
【 ขาดอายุ 】แปลว่า: ก. พ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น ใบขับขี่ขาดอายุ.
【 ข่าต้น 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด /Cinnamomum ilicioides/ Cheval.
ในวงศ์ Lauraceae เปลือกและเนื้อไม้มีกลิ่นหอม, พายัพเรียก
พลูต้น.
【 ขาทนียะ 】แปลว่า: ขาทะ- น. อาหารควรเคี้ยว, มักใช้เข้าคู่กับคำ โภชนียะ
เป็น ขาทนียโภชนียะ หมายความว่า อาหารที่ควรเคี้ยวและ
อาหารที่ควรบริโภค. (ป.).
【 ขาน ๑ 】แปลว่า: ก. กล่าว, เรียก, เอ่ย, พูด, ตอบ, เช่น ขานรับ ขานยาม.
【 ขานไข 】แปลว่า: (กลอน) ก. กล่าวชี้แจง.
【 ขานนาค 】แปลว่า: ก. กล่าวคําขอบวชในพิธีบวชนาค.
【 ขานยาม 】แปลว่า: (โบ) ก. บอกเวลาเปลี่ยนชั่วโมง.
【 ขานรหัส 】แปลว่า: ก. ร้องเรียกโดยใช้สัญญาณหรือสัญลักษณ์ที่กําหนดรู้กัน
โดยเฉพาะ.
【 ขาน ๒ 】แปลว่า: ว. ใช้ประกอบต่อคํา “ตาย” ว่า ไม้ตายขาน หมายความว่า
ต้นไม้ที่ยืนต้นตายเป็นแถว ๆ.
【 ขานกยาง ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ขา ๑/.
【 ขานกยาง ๒ 】แปลว่า: /ดู สีเสียด ๓/.
【 ขานาง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด /Homalium tomentosum/ (Vent.) Benth.
ในวงศ์ Flacourtiaceae ดอกเล็ก สีเหลืองอ่อน กลิ่นเหม็น.
【 ขาบ ๑ 】แปลว่า: ว. สีนํ้าเงินแก่อมม่วง.
【 ขาบ ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) ก. แอบ, ซ่อน.
【 ขาม ๑ 】แปลว่า: ก. คร้าม, เกรง, มักใช้เข้าคู่กับคํา เกรง เป็น เกรงขาม.
【 ขาม ๒ 】แปลว่า: (กลอน) น. มะขาม.
【 ข่าม 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) ก. อยู่ยงคงกระพัน.
【 ข้าม ๑ 】แปลว่า: ก. ยกเท้าย่างผ่านเหนือสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้พ้นไป เช่น ข้ามธรณีประตู,
ผ่านจากข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่ง เช่น ข้ามฟาก ข้ามถนน, ล่วงพ้น
สิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยผ่านเหนือสิ่งนั้นไป เช่น บินข้ามมหาสมุทร, ล่วงพ้น
ช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่ง เช่น ข้ามวันข้ามคืน, ผ่านเลยลําดับ เช่น
ข้ามชั้น อ่านหนังสือข้าม.
【 ข้ามน้ำข้ามทะเล, ข้ามน้ำข้ามท่า 】แปลว่า: (สํา) ก. ต้องฟันฝ่าอุปสรรคและความลําบากต่าง ๆ กว่าจะได้
ผลสําเร็จ.
【 ข้ามเรือ 】แปลว่า: ก. ลงเรือข้ามน้ำไปยังอีกฝั่งหนึ่ง.
【 ข้ามสมุทร 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยชนิดหนึ่ง.
【 ข้ามหน้า, ข้ามหน้าข้ามตา 】แปลว่า: ก. ทําโดยไม่ไว้หน้าผู้ใด.
【 ข้ามหัว 】แปลว่า: ก. ทําโดยพลการไม่บอกกล่าวหรือปรึกษาหารือผู้ที่ควรบอก
กล่าวหรือควรปรึกษาหารือ.
【 ข้าม ๒, ข้าม ๆ 】แปลว่า: ว. เลยลําดับ, ไม่เป็นไปตามลําดับ, เช่น อ่านข้าม อ่านข้าม ๆ.
【 ขาย 】แปลว่า: ก. เอาของแลกเงินตรา, โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่กันโดย
ตกลงกันว่าผู้รับโอนจะใช้ราคาแห่งทรัพย์สินนั้น มีหลายลักษณะ
คือ ชําระเงินในขณะที่ซื้อขายกัน เรียกว่า ขายเงินสด, ขายโดยยอม
เก็บเงินอันเป็นราคาของในวันหลัง เรียกว่า ขายเชื่อ, (เลิก) เอาเงิน
เขามาโดยยอมตนเข้ารับใช้การงานของเจ้าเงิน เรียกว่า ขายตัวลง
เป็นทาส.
【 ขายขาด 】แปลว่า: ก. ขายไม่รับคืน.
【 ขายเงินเชื่อ, ขายเชื่อ 】แปลว่า: ก. ขายโดยยอมเก็บเงินอันเป็นมูลค่าในวันหลัง.
【 ขายเงินผ่อน 】แปลว่า: ก. ขายโดยผู้ซื้อชำระเงินเป็นงวด ๆ.
【 ขายเงินสด 】แปลว่า: ก. ขายโดยผู้ซื้อชำระเงินในขณะที่ซื้อขายกัน.
【 ขายชาติ 】แปลว่า: ก. ขยายความลับประเทศชาติของตนแก่ศัตรูหรือเอาใจ
ออกหากไปเข้ากับศัตรู เพราะเห็นแก่สินจ้างหรือสิ่งตอบแทน
เพื่อทําลายล้างประเทศชาติของตน, ขายบ้านขายเมือง ก็ว่า.
【 ขายชื่อ 】แปลว่า: ก. เอาชื่อเข้าแลกในทํานองขาย, ไม่รักชื่อ, ทําให้เสียชื่อเสียง,
ถ้าเอาชื่อผู้อื่นไปแอบอ้างหาผลประโยชน์ เรียกว่า เอาชื่อ
ไปขาย.
【 ขายตัว 】แปลว่า: ก. เอาตัวแลกเงิน, เอาชื่อเสียงแลกเงิน.
【 ขายตามคำพรรณนา 】แปลว่า: (กฎ) น. สัญญาซื้อขายที่คู่สัญญาตกลงซื้อขายทรัพย์สินตาม
ลักษณะและคุณภาพที่ผู้ขายได้บรรยายไว้อย่างละเอียด.
【 ขายตามตัวอย่าง 】แปลว่า: (กฎ) น. สัญญาซื้อขายที่คู่สัญญาตกลงซื้อขายทรัพย์สินตาม
ที่ผู้ขายได้แสดงไว้.
【 ขายทอดตลาด 】แปลว่า: (กฎ) น. การขายทรัพย์สินที่กระทําโดยเปิดเผยแก่บุคคลทั่วไป
ด้วยวิธีเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อสู้ราคากัน ผู้ใดให้ราคาสูงสุดและผู้
ทอดตลาดแสดงความตกลงด้วยเคาะไม้หรือด้วยกิริยาอย่างอื่น
ตามจารีตประเพณีในการขายทอดตลาด ผู้นั้นเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินนั้น.
【 ขายบ้านขายเมือง 】แปลว่า: ก. ขายชาติ.
【 ขายปลีก 】แปลว่า: ก. ขายเป็นส่วนย่อย, ขายตรงแก่ผู้บริโภคใช้สอย.
【 ขายผ้าเอาหน้ารอด 】แปลว่า: (สํา) ก. ยอมเสียสละแม้แต่ของจําเป็นที่ตนมีอยู่ เพื่อรักษา
ชื่อเสียงของตนไว้, ทําให้สําเร็จลุล่วงไป เพื่อรักษาชื่อเสียง
ของตนไว้.
【 ขายเผื่อชอบ 】แปลว่า: (กฎ) น. สัญญาซื้อขายที่มีเงื่อนไขว่าให้ผู้ซื้อได้มีโอกาสตรวจ
ดูทรัพย์สินก่อนรับซื้อ.
【 ขายฝาก 】แปลว่า: (กฎ) น. สัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ
โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้.
【 ขายส่ง 】แปลว่า: ก. ขายเป็นจํานวนมาก ๆ แก่ร้านค้าย่อยหรือร้านที่เป็นลูกค้าประจํา.
【 ขายหน้า, ขายหน้าขายตา 】แปลว่า: ก. อับอาย.
【 ขายหน้าวันละห้าเบี้ย 】แปลว่า: (สํา) ก. ทําให้ต้องอับอายขายหน้าอยู่ทุกวัน.
【 ขายหู 】แปลว่า: ก. ฟังแล้วละอาย ไม่อยากฟัง.
【 ขายหูขายตา 】แปลว่า: (แบบ) ก. ได้ยินได้เห็นแล้วรู้สึกอายไม่อยากฟังไม่อยากเห็น
เช่น ดอกขายหูขายตา ดอกบนำพารู้. (ลอ), ใช้ว่า ไขหูไขตา
ก็มี.
【 ขายเหมา 】แปลว่า: [-เหฺมา] ก. ขายเป็นจํานวนรวมทั้งหมด. (กฎ) น. การขาย
ซึ่งผู้ซื้อตกลงซื้อทรัพย์สินที่ผู้ขายเสนอขายหมดทั้งจํานวน
ในราคาตามที่ตกลงกัน ซึ่งผู้ซื้อต้องผูกพันชําระราคาและ
ผู้ขายต้องส่งมอบทรัพย์สินทั้งหมดตามที่ตกลงกันไว้ ทั้งนี้
ไม่ว่าทรัพย์สินที่ซื้อขายจะมีปริมาณมากหรือน้อยกว่าที่คิด
คํานวณไว้.
【 ข่าย 】แปลว่า: น. เครื่องดักสัตว์ชนิดหนึ่ง ถักเป็นตาร่างแห; ขอบเขต เช่น
เรื่องนี้ไม่อยู่ในข่ายที่จะพิจารณา. (พายัพ ว่าห่าย).
【 ข่ายงาน 】แปลว่า: น. วงงานที่อยู่ในความควบคุมดูแลและประสานกัน.
【 ขาล 】แปลว่า: [ขาน] น. ชื่อปีที่ ๓ ของรอบปีนักษัตร มีเสือเป็นเครื่องหมาย;
เสือ. (ข.).
【 ขาว ๑ 】แปลว่า: น. สีชนิดหนึ่งเหมือนสําลี. ว. มีสีอย่างสำลี, โดยปริยาย
หมายความว่า แจ่มแจ้ง, สะอาดบริสุทธิ์, ปราศจากมลทิน.
【 ขาว ๒ 】แปลว่า: น. เทียนขาว. (ดู เทียนขาว ที่ เทียน ๓).
【 ข่าว 】แปลว่า: น. คําบอกเล่าเรื่องราวซึ่งโดยปรกติมักเป็นเรื่องเกิดใหม่หรือ
เป็นที่สนใจ, คําบอกกล่าว, คําเล่าลือ.
【 ข่าวกรอง 】แปลว่า: น. ข่าวที่ได้ตรวจสอบหลักฐานแล้วว่าเป็นข่าวที่เชื่อถือได้.
【 ข่าวคราว 】แปลว่า: น. คําบอกเล่าเรื่องทุกข์สุข.
【 ข่าวพาดหัว 】แปลว่า: น. ข่าวสําคัญที่นํามาพิมพ์เป็นหัวเรื่องในหน้าแรกของ
หนังสือพิมพ์ด้วยอักษรขนาดใหญ่เพื่อให้เกิดความสนใจ.
【 ข่าวยกเมฆ 】แปลว่า: น. ข่าวที่ไม่มีมูล, ข่าวเหลวไหล.
【 ข่าวล่า 】แปลว่า: น. ข่าวที่ได้มาใหม่.
【 ข่าวลือ 】แปลว่า: น. ข่าวที่พูดกันทั่วไป แต่ยังไม่มีอะไรยืนยันได้แน่นอน.
【 ข่าวสด 】แปลว่า: น. ข่าวใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น.
【 ข่าวสาร 】แปลว่า: น. ข้อความที่ส่งมาให้รู้เรื่องกัน.
【 ข้าว 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Gramineae โดยเฉพาะ
ชนิด /Oryza sativa/ L. เมล็ดเป็นอาหารหลัก มีหลายพันธุ์ เช่น
ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว.
【 ข้าวก้นบาตร 】แปลว่า: (สำ) น. อาหารเหลือจากพระฉันแล้วที่ศิษย์วัดได้อาศัยกิน.
【 ข้าวกระยาทิพย์ 】แปลว่า: น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ปรุงด้วยเครื่องกวนมี น้ำผึ้ง น้ำอ้อย
น้ำนม ถั่ว งา เป็นต้น นิยมใช้หญิงพรหมจารีเป็นผู้กวน
มักทำในพิธีสารท, ข้าวทิพย์ ก็เรียก.
【 ข้าวกรู 】แปลว่า: น. ข้าวชนิดที่ทําเพื่ออุทิศให้เปรตประเภทหนึ่งในพิธีสารท.
【 ข้าวกล้อง 】แปลว่า: น. ข้าวที่สีเอาเปลือกออกโดยยังมีจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดข้าว
อยู่, เดิมใช้วิธีใส่ครกตำเรียกว่า ข้าวซ้อม หรือ ข้าวซ้อมมือ.
【 ข้าวกล้า 】แปลว่า: น. ต้นข้าวที่เพาะไว้สําหรับย้ายไปปลูกที่อื่น, กล้า ก็เรียก.
【 ข้าวกลาง 】แปลว่า: น. กลุ่มพันธุ์ข้าวที่ออกรวงหลังข้าวเบา คือในช่วงกลางเดือน
ตุลาคมถึงปลายเดือนตุลาคม และเก็บเกี่ยวได้ในช่วงกลางเดือน
พฤศจิกายนถึงปลายเดือนพฤศจิกายน เช่น พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ
๑๐๕ พันธุ์ข้าว กข ๖.
【 ข้าวเกรียบ 】แปลว่า: น. ของกินทําด้วยแป้งข้าวเจ้าหรือแป้งข้าวเหนียว เป็นแผ่น
ตากให้แห้ง แล้วปิ้งหรือทอด มีหลายชนิด เช่น ข้าวเกรียบว่าว
ข้าวเกรียบงา ข้าวเกรียบกุ้ง.
【 ข้าวเกรียบปากหม้อ 】แปลว่า: น. ชื่อของว่างชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้าละเลงบนผ้าที่ขึง
ปากหม้อน้ำเดือด มีไส้ทําด้วยกุ้งหรือหมูเป็นต้น.
【 ข้าวเกรียบอ่อน 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้า ประสมกับนํ้าตาล
โตนดหรือนํ้าตาลมะพร้าว ละเลงบนผ้าที่ขึงปากหม้อน้ำ
เดือด มีไส้ทําด้วยถั่วและมะพร้าว กินกับนํ้าตาลคลุกงา.
【 ข้าวเก่า 】แปลว่า: น. ข้าวที่เก็บเกี่ยวไว้ค้างปี.
【 ข้าวแกง 】แปลว่า: น. อาหารที่ขายมีข้าวกับแกงเป็นต้น, เรียกร้านอาหาร
ประเภทนี้ว่า ร้านข้าวแกง.
【 ข้าวโกบ 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. ขนมนางเล็ด.
【 ข้าวขวัญ 】แปลว่า: น. ข้าวบายศรี.
【 ข้าวของ 】แปลว่า: น. สิ่งของต่าง ๆ มีเครื่องใช้เครื่องประดับเป็นต้น.
【 ข้าวแขก 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่งทําด้วยข้าวเปียก มีหน้าคล้ายตะโก้ แต่สี
เหลือง มีรสเค็ม ๆ มัน ๆ.
【 ข้าวควบ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ข้าวเกรียบใส่นํ้าตาลอ้อย มีรสหวานอย่าง
ข้าวเกรียบว่าว.
【 ข้าวแคบ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ข้าวเกรียบที่มีรสเค็ม ๆ อย่างข้าวเกรียบกุ้ง.
【 ข้าวงัน 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. ข้าวหนัก.
【 ข้าวจี่ ๑ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) น. ข้าวเหนียวนึ่งนวดกับเกลือปั้นเป็นก้อน
เสียบไม้ปิ้งไฟ บางทีใส่น้ำอ้อยงบข้างใน ทาไข่แล้วปิ้งไฟ.
【 ข้าวเจ้า 】แปลว่า: น. ชื่อข้าวพันธุ์หนึ่งของชนิด /Oryza sativa/ L. เนื้อเมล็ดใส
ใช้หุงเป็นอาหาร เมื่อหุงแล้วเมล็ดมักร่วนและสวย มีชื่อต่าง ๆ กัน
เช่น ข้าวปิ่นแก้ว ข้าวมันปู. (ไทยใหญ่ เจ้าว่า เปราะ, ร่วน, ไม่เหนียว).
【 ข้าวแจก 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. ข้าวที่ทําบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย.
【 ข้าวแช่ 】แปลว่า: น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง มีข้าวสุกขัดแช่นํ้าเย็น กินกับเครื่อง
กับข้าวต่าง ๆ.
【 ข้าวซ้อม, ข้าวซ้อมมือ 】แปลว่า: น. ข้าวที่เอาเปลือกออกโดยใช้วิธีใส่ครกตำ ยังมีจมูกข้าวและ
เยื่อหุ้มเมล็ดข้าวอยู่, ปัจจุบันใช้เครื่องจักรสีข้าวแทนเรียกว่า
ข้าวกล้อง.
【 ข้าวซอย 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง เป็นเส้นคล้ายบะหมี่
แล้วปรุงเครื่อง, เดิมเรียก ก๋วยเตี๋ยวฮ่อ.
【 ข้าวแดกงา 】แปลว่า: น. ข้าวเหนียวนึ่งโขลกปนงา.
【 ข้าวแดง, ข้าวเมล็ดแดง 】แปลว่า: น. เมล็ดข้าวที่มีปลอกรำสีแดงหุ้มอยู่ร้อยละ ๒๕ ของเนื้อ
ที่เมล็ดข้าวหรือมากกว่า.
【 ข้าวแดงแกงร้อน 】แปลว่า: (สํา) น. บุญคุณ.
【 ข้าวตก 】แปลว่า: น. ข้าวที่หลงเหลืออยู่ในท้องนาหลังจากเก็บเกี่ยวแล้ว.
【 ข้าวต้ม ๑ 】แปลว่า: น. ข้าวที่ต้มให้สุก; ข้าวเหนียวที่ห่อด้วยใบไม้เช่นใบตองหรือ
ใบมะพร้าวอ่อน แล้วต้มหรือนึ่งให้สุกอยู่ในจําพวกขนม มีชื่อ
ต่าง ๆ เช่น ข้าวต้มมัด ข้าวต้มผัด.
【 ข้าวต้มน้ำวุ้น 】แปลว่า: น. ชื่อของหวานชนิดหนึ่ง ทําด้วยข้าวเหนียวห่อใบตองเป็นรูป
สามเหลี่ยม ต้มสุก กินกับนํ้าเชื่อม.
【 ข้าวต้มปัด 】แปลว่า: น. ข้าวเหนียวต้มที่ห่อด้วยใบไม้เช่นใบมะพร้าวอ่อนหรือใบเตย
มักทําถวายพระในเทศกาลออกพรรษา, ข้าวปัด ก็ว่า.
【 ข้าวต้มลูกโยน 】แปลว่า: น. ข้าวเหนียวที่ผัดกับกะทิใส่เกลือ น้ำตาล ห่อด้วยใบมะพร้าว
อ่อนหรือใบเตยไว้หางยาว แล้วต้มให้สุก.
【 ข้าวตอก ๑ 】แปลว่า: น. ข้าวเปลือกข้าวเจ้าที่เอามาคั่วให้แตกบานเป็นดอก.
【 ข้าวตอกตั้ง 】แปลว่า: น. ชื่อของหวานทําด้วยข้าวตอกคลุกนํ้าตาลและมะพร้าว
ทําเป็นแว่น ๆ เกลือกแป้ง.
【 ข้าวตอกแตก 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. ข้าวตอก; โดยปริยายหมายถึงเสียงดังอย่างเสียง
แตกของข้าวตอกที่ดังรัว เช่น เสียงพิมพ์ดีดดังอย่างข้าวตอกแตก.
【 ข้าวต้อง 】แปลว่า: น. ต้นข้าวในนาที่โศกใบเหลืองไป ซึ่งถือกันว่าถูกผีกระทำ.
【 ข้าวตัง 】แปลว่า: น. ข้าวสุกที่ติดเป็นแผ่นเกรียมอยู่ก้นหม้อหรือกระทะ.
【 ข้าวตาก 】แปลว่า: น. ข้าวสุกที่ตากแห้ง.
【 ข้าวตู 】แปลว่า: น. ข้าวตากคั่วแล้วตําเป็นผงเคล้ากับนํ้าตาลและมะพร้าว.
【 ข้าวแตก 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ข้าวตอก.
【 ข้าวแตน 】แปลว่า: น. ขนมรังแตน. /(ดู รังแตน ๒)./
【 ข้าวทิพย์ 】แปลว่า: น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ปรุงด้วยเครื่องกวนมี นํ้าผึ้ง นํ้าอ้อย นํ้านม
ถั่ว งา เป็นต้น นิยมใช้หญิงพรหมจารีเป็นผู้กวนมักทําในพิธีสารท,
ข้าวกระยาทิพย์ ก็เรียก.
【 ข้าวนก ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในวงศ์ Gramineae คือ ชนิด /Oryza/
/granulata/ Nees et Arn. และชนิด /Echinochloa colona/
(L.) Link.
【 ข้าวนาปรัง 】แปลว่า: น. ข้าวที่ปลูกในฤดูแล้งนอกฤดูทำนา.
【 ข้าวนึ่ง 】แปลว่า: น. ข้าวที่ได้จากการสีข้าวเปลือกซึ่งผ่านการแช่น้ำและอบ
ด้วยความร้อนแล้ว; (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) ข้าวเหนียวนึ่ง.
【 ข้าวบาตร 】แปลว่า: น. ข้าวสารเก่าหุงในน้ำเดือดเพื่อให้สวยเป็นตัวสำหรับตักบาตร,
เรียกขันเชิงสําหรับใส่ข้าวตักบาตรว่า ขันข้าวบาตร.
【 ข้าวบาร์เลย์ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Hordeum vulgare/ L. ในวงศ์ Gramineae
เป็นพรรณไม้ต่างประเทศ ปลูกกันบ้างในภาคเหนือ เมล็ด
ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเบียร์ และเป็นอาหารสัตว์. (อ. barley).
【 ข้าวบิณฑ์ 】แปลว่า: น. ข้าวตอกปั้นเป็นรูปทรงคล้ายดอกบัวตูม.
【 ข้าวบุหรี่ 】แปลว่า: น. ข้าวหุงอย่างวิธีของแขกมีเครื่องปรุงและเนื้ออยู่ในตัว.
(กะบุลี แปลว่า ข้าวปรุงอย่างแบบชาวกรุงกาบุล).
【 ข้าวเบา 】แปลว่า: น. กลุ่มพันธุ์ข้าวที่ได้ผลเร็วกว่ากลุ่มพันธุ์ข้าวอื่น ออกรวงใน
ช่วงปลายเดือนกันยายนถึงกลางเดือนตุลาคมและเก็บเกี่ยว
ได้ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนพฤศจิกายน เช่น
พันธุ์ข้าวเหนียวหางยี ๗๑ พันธุ์ข้าวน้ำสะกุย ๑๙, พายัพและ
อีสานว่า ข้าวดอ.
【 ข้าวเบือ 】แปลว่า: น. ข้าวสารที่ตําละเอียด ใช้ประสมกับนํ้าแกงเพื่อให้นํ้าแกงข้น.
【 ข้าวประดับดิน 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. อาหารที่เอาไปวางไว้ตามต้นโพและพระเจดีย์
เป็นต้นในเวลาเช้ามืดวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๙.
【 ข้าวปลูก 】แปลว่า: น. ข้าวเปลือกที่เก็บไว้สําหรับทําพันธุ์.
【 ข้าวปัด 】แปลว่า: น. ข้าวเหนียวต้มที่ห่อด้วยใบไม้เช่นใบมะพร้าวอ่อนหรือใบเตย
มักทําถวายพระในเทศกาลออกพรรษา, ข้าวต้มปัด ก็ว่า.
【 ข้าวป่า 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล /Oryza/ วงศ์ Gramineae เช่น
ข้าวละมาน (/O. minuta/ J. Presl) มักขึ้นแซมต้นข้าว.
【 ข้าวปาด 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. ขนมชนิดหนึ่ง คล้ายขนมเปียกปูน แต่
เหนียวมาก.
【 ข้าวปุ้น 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. ขนมจีน.
【 ข้าวเปรต 】แปลว่า: น. เครื่องเซ่นเปรตในเทศกาลตรุษสารท.
【 ข้าวเปลือก ๑ 】แปลว่า: น. เมล็ดข้าวที่ยังไม่ได้เอาเปลือกออก.
【 ข้าวเปียก 】แปลว่า: น. ข้าวที่ต้มและกวนให้เละ, ข้าวที่ต้มกับนํ้ากะทิเจือเกลือเล็กน้อย
กวนให้สุกจนข้นหรือเละ มีรสเค็ม ๆ มัน ๆ.
【 ข้าวผอก 】แปลว่า: น. ข้าวห่อหรือข้าวที่บรรจุกระบอกไปกินกลางวัน.
【 ข้าวผอกกระบอกน้ำ 】แปลว่า: น. ของกินเล็ก ๆ น้อย ๆ และมีกระบอกนํ้าเล็ก ๆ กรอกนํ้า
แขวนกิ่งไม้ผูกไว้กับบันไดเรือน ใช้เซ่นผีในเทศกาลตรุษ.
【 ข้าวผัด 】แปลว่า: น. ข้าวสุกผัดกับน้ำมันใส่หมูเป็นต้น.
【 ข้าวพระ 】แปลว่า: น. อาหารคาวหวานที่จัดใส่สำรับสําหรับถวายพระพุทธ.
【 ข้าวพอง 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยเมล็ดข้าวเจ้าทอดน้ำมันให้พอง
เคล้ากับน้ำตาลแล้วอัดเป็นแผ่น.
【 ข้าวโพด 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Zea mays/ L. ในวงศ์ Gramineae ลําต้นสูง
คล้ายอ้อยหรือข้าวฟ่าง เมล็ดเรียงชิดกันแน่นรอบซังเป็นฝัก
กลม ๆ ยาว ๆ มีกาบหุ้มหลายชั้น.
【 ข้าวฟ่าง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิด ในวงศ์ Gramineae คือ ข้าวฟ่างหางหมา
[/Setaria italica/ (L.) Pal.] ต้นสูงประมาณ ๑ เมตร เมล็ดขนาดเมล็ดงา
และข้าวฟ่างสมุทรโคดม หรือข้าวฟ่างหางช้าง [/Sorghum bicolor/ (L.)
Moench.] ต้นสูงประมาณ ๒ เมตร เมล็ดขนาดเมล็ดพริกไทย.
【 ข้าวเภา 】แปลว่า: น. ชื่อข้าวในพิธีธนญชัยบาศรับช้างเผือกของพราหมณ์พฤฒิบาศ
คลุกด้วยสีเหลือง สีแดง แล้วปั้นเป็นก้อน ๆ, ข้าวกระยาสังแวง
ก็เรียก.
【 ข้าวมัน 】แปลว่า: น. ข้าวเจ้าที่หุงด้วยกะทิให้สุก มักกินกับส้มตำ, ข้าวเจ้าผัดกับมันไก่
แล้วหุงแบบไม่เช็ดน้ำ; (ถิ่น-พายัพ) ข้าวเหนียวหุงแล้วมูนด้วยกะทิ.
【 ข้าวเม่า ๑ 】แปลว่า: น. ข้าวเปลือกข้าวเหนียวที่ยังไม่แก่จัดเอามาคั่วแล้วตำให้แบน,
ข้าวเม่าที่เอามาคั่วให้กรอบ เรียกว่า ข้าวเม่าราง, ข้าวเม่าราง
ทอดแล้วใส่เครื่องปรุง มีกุ้งแห้งทอด ถั่วลิสงทอด เต้าหู้หั่นทอด
เรียกว่า ข้าวเม่าหมี่.
【 ข้าวเม่าทอด 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ใช้ข้าวเม่าตำคลุกกับมะพร้าวและน้ำตาลปึก
หุ้มกล้วยไข่สุก แล้วชุบแป้งทอดเป็นแพ ๆ.
【 ข้าวยากหมากแพง 】แปลว่า: (สํา) น. ภาวะขาดแคลนอาหาร, ทุพภิกขภัย.
【 ข้าวยาคู 】แปลว่า: น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ทําด้วยเมล็ดข้าวอ่อนตําแล้วคั้นเอานํ้าตั้งไฟ
จนสุก ใส่น้ำตาล เรียกว่า ข้าวยาคูน้ำ, ถ้าเคี่ยวให้แห้ง เรียกว่า
ข้าวยาคูแห้ง.
【 ข้าวยำ 】แปลว่า: น. อาหารชนิดหนึ่งของชาวปักษ์ใต้ ใช้ข้าวสุกคลุกกับเครื่องปรุง
มีกุ้งแห้งป่น มะพร้าวคั่ว นํ้าเคยหรือนํ้าบูดู ส้มโอ และผักต่าง ๆ
หั่นละเอียด เช่น ใบมะกรูด ตะไคร้ ถั่วฝักยาว.
【 ข้าวไรย์ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Secale cereale/ L. ในวงศ์ Gramineae
เป็นพรรณไม้ต่างประเทศ เมล็ดใช้ทําอาหารและเลี้ยงสัตว์. (อ. rye).
【 ข้าวละมาน 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Oryza minuta/ J. Presl ในวงศ์
Gramineae เป็นข้าวป่าชนิดหนึ่ง มักขึ้นแซมต้นข้าว.
【 ข้าวสวย 】แปลว่า: น. ข้าวที่หุงสุกแล้ว, ข้าวสุก ก็เรียก.
【 ข้าวสาก 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. ของเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เอาไปบูชาตามต้นโพและ
พระเจดีย์เวลาเช้ามืดในเดือน ๑๐.
【 ข้าวสามเดือน 】แปลว่า: น. ชื่อข้าวเบาพันธุ์หนึ่งซึ่งได้ผลเร็วกว่าข้าวเบาพันธุ์อื่น เก็บเกี่ยว
ได้ภายใน ๓ เดือนหลังจากปลูก.
【 ข้าวสาร ๑ 】แปลว่า: น. ข้าวเปลือกที่สีซ้อมจนเหลือแต่เมล็ดขาวดีแล้ว.
【 ข้าวสาลี 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Triticum aestivum/ L. ในวงศ์ Gramineae
เป็นพรรณไม้ต่างประเทศ เมล็ดบดเป็นแป้ง เรียกว่า แป้งสาลี
ใช้ทําขนมปังเป็นต้น.
【 ข้าวสุก 】แปลว่า: น. ข้าวที่หุงสุกแล้ว, ข้าวสวย ก็เรียก.
【 ข้าวเส้น 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ขนมจีน, ขนมเส้น ก็เรียก. (ไทยใหญ่ ว่า เส้นหมี่).
【 ข้าวเสียแม่ซื้อ 】แปลว่า: น. ข้าวปั้นเป็นก้อน แล้วทาปูน ขมิ้น เขม่า คราม เป็นต้น จำนวน
๓-๕ ก้อน นำมาวนตัวเด็กที่ป่วย เป็นการปัดรังควาน แล้วโยน
ข้าวทีละก้อนให้ข้ามหลังคาเรือน เพื่อทิ้งให้แม่ซื้อ.
【 ข้าวหนัก 】แปลว่า: น. กลุ่มพันธุ์ข้าวที่ได้ผลช้ากว่ากลุ่มพันธุ์ข้าวอื่น ออกรวงประมาณ
เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม และเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือน
ธันวาคมถึงเดือนมกราคม เช่น พันธุ์ข้าวขาวตาแห้ง ๑๗ พันธุ์
ข้าวพวงนาก ๑๖.
【 ข้าวหมก 】แปลว่า: น. อาหารชนิดหนึ่งของมุสลิม ประกอบด้วยข้าวสวยปรุงด้วย
เครื่องเทศและขมิ้น มีเนื้อไก่หรือเนื้อแพะหมกในข้าว.
【 ข้าวหมาก 】แปลว่า: น. ของกินอย่างหนึ่ง ทําด้วยข้าวเหนียวนึ่งแล้วหมักกับแป้งเชื้อ.
【 ข้าวหลาม 】แปลว่า: น. ข้าวเหนียวที่บรรจุในกระบอกไม้ไผ่แล้วเผาให้สุก.
【 ข้าวหลามตัด 】แปลว่า: น. ข้าวเหนียวนึ่งอัดใส่ถาดโรยถั่วทอง ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยม
ขนมเปียกปูน มักกินกับข้าวหมาก; เรียกรูปสี่เหลี่ยมด้าน
ขนานที่มีด้านทั้ง ๔ ยาวเท่ากัน แต่ไม่มีมุมภายในเป็นมุมฉาก
ว่า สี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด, สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ก็เรียก.
【 ข้าวหัวโขน 】แปลว่า: น. ข้าวตากคั่วคลุกนํ้าตาลปึก.
【 ข้าวเหนียว 】แปลว่า: น. ชื่อข้าวพันธุ์หนึ่งของชนิด /Oryza sativa/ L. เนื้อเมล็ดขุ่นกว่า
ข้าวเจ้า เมื่อหุงหรือนึ่งแล้วเมล็ดจะเหนียวติดกัน มีชื่อต่าง ๆ กัน
เช่น ข้าวเหนียวเขี้ยวงู ข้าวเหนียวดํา, ข้าวเหนียวที่เอามากวนกับ
กะทิและนํ้าตาลทราย เรียกว่า ข้าวเหนียวแก้ว, ถ้าเอามากวนกับ
กะทิและนํ้าตาลหม้อมีสีแดงเป็นสีนํ้าตาลไหม้ เรียกว่า ข้าวเหนียว
แดง, ถ้าเอามานึ่งใส่หน้ากะทิตัดเป็นชิ้น ๆ เรียกว่า ข้าวเหนียวตัด,
ถ้าเอามาห่อแล้วนึ่งใส่หน้ากะทิ เรียกว่า ข้าวเหนียวห่อ; เรียกผลไม้
ที่มีเนื้อนุ่มและเหนียวอย่างข้าวเหนียว เช่น สาเกข้าวเหนียว
มะตาดข้าวเหนียว.
【 ข้าวเหนียวดำ 】แปลว่า: น. ชื่อข้าวเหนียวพันธุ์หนึ่งเมล็ดสีดํา ๆ.
【 ข้าวเหลือเกลืออิ่ม 】แปลว่า: (สํา) น. บ้านเมืองที่บริบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร.
【 ข้าวใหม่ 】แปลว่า: น. ข้าวที่เก็บเกี่ยวใหม่ในปีนั้น ๆ; ชื่อหนึ่งของดอกชมนาด.
【 ข้าวใหม่ปลามัน 】แปลว่า: (สํา) น. อะไรที่เป็นของใหม่ก็ถือว่าดี, นิยมเรียกช่วงเวลาที่
สามีภรรยาเพิ่งแต่งงานกันใหม่ ๆ ว่า ระยะข้าวใหม่ปลามัน.
【 ข้าวโอ๊ต 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Avena sativa/ L. ในวงศ์ Gramineae
เป็นพรรณไม้ต่างประเทศ เมล็ดใช้เป็นอาหาร. (อ. oat).
【 ข้าวฮาง 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. ข้าวเหนียวที่ยังไม่แก่จัด เอามาคั่วตากแดด
ให้แห้งแล้วตําและนึ่ง.
【 ข้าวข้า 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวใต้ดินชนิด /Euphorbia sessiflora/ Roxb.
ในวงศ์ Euphorbiaceae สูงประมาณ ๒๐ เซนติเมตรต้นและ
ใบอวบนํ้า เส้นกลางใบด้านล่างเป็นสันแหลม ทุกส่วนมียางขาว
หัวใช้ทํายาได้, ว่านพระฉิม ก็เรียก, เขียนเป็น เข้าค่า ก็มี.
【 ข้าวคำ 】แปลว่า: น. (๑) ต้นไม้ชนิดหนึ่ง ใช้ทํายา. (พจน. ๒๔๙๓). (๒) /ดู การบูรป่า./
【 ข้าวจี่ ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ข้าว/.
【 ข้าวจี่ ๒ 】แปลว่า: /ดู ซ้องแมว/.
【 ขาวจีบ 】แปลว่า: น. ชื่อส้มโอพันธุ์หนึ่ง ผลขนาดส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่ แต่แป้นกว่า.
【 ข้าวต้ม ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ข้าว/.
【 ข้าวต้ม ๒ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด /Wissadula periplocifolia/ (L.) C. Presl
ex Thwaites ในวงศ์ Malvaceae ต้นสูงประมาณ ๑ เมตร
เปลือกเหนียว ใบรูปใบโพ โคนป้าน ผลมี ๕ พู เมื่อแก่พูแยก
ออกจากกัน. (๒) /ดู หญ้าขัดใบยาว/ ที่ หญ้าขัด.
【 ข้าวตอก ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ข้าว/.
【 ข้าวตอก ๒ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด /Serissa japonica/ (Thunb.) Thunb.
ในวงศ์ Rubiaceae ใบเล็กรูปไข่ เมื่อขยี้มีกลิ่นเหม็น ดอกสี
ขาวเล็ก ๆ เป็นพรรณไม้ต่างประเทศ ปลูกเป็นไม้ดัดหรือ
ไม้ประดับ. (๒) (ถิ่น-พายัพ) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Anaphalis /
/margaritacea/ (L.) Benth. ex C.B. Clarke ในวงศ์ Compositae
ขึ้นอยู่บนเขาในระดับสูง ๑,๐๐๐ เมตรขึ้นไป ขนาดสูงราว ๕๐
เซนติเมตร ต้น ใบ ดอก มีขนสีขาวทึบ ใช้ทํายาได้. (๓) ชื่อไม้พุ่ม
รอเลื้อยชนิด /Callicarpa longifolia/ Lam. ในวงศ์ Labiatae ดอกเล็ก
สีม่วง ผลกลมเล็ก สุกสีขาว ใช้ทํายาได้. (๔) ชื่อเห็ดหลายชนิด
ในสกุล /Hemimycena/ วงศ์ Tricholomataceae ขึ้นตามพื้นดินเป็น
กลุ่มใหญ่ ดอกเห็ดสีขาวขนาดเท่าดอกมะลิบาน ด้านล่างมีครีบ
ก้านยาวตั้งตรง เช่น ชนิด /H. cucullata/ (Pers. ex Fr.)
Sing. กินได้. (๕) /ดู ตีนตุ๊กแก (๕)/.
【 ข้าวนก ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ข้าว/.
【 ข้าวนก ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อเรือชนิดหนึ่ง เช่น ถ้าทรงเรือแผงและเรือข้าวนกประพาสบัว.
(ลัทธิ).
【 ข้าวเปลือก ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ข้าว/.
【 ข้าวเปลือก ๒ 】แปลว่า: /ดู เทียนข้าวเปลือก ที่ เทียน ๓/.
【 ขาวพวง 】แปลว่า: น. ชื่อส้มโอพันธุ์หนึ่ง ผลคล้ายส้มจุก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง
ประมาณ ๑๕ เซนติเมตร.
【 ขาวม้า 】แปลว่า: น. ชื่อเรียกผ้าฝ้ายทอเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มักมีลายตาหมากรุก
ใช้ผลัดอาบนํ้าหรือเคียนพุงเป็นต้น เรียกว่า ผ้าขาวม้า, (ปาก)
ผ้าขะม้า.
【 ข้าวมิ่น 】แปลว่า: (โบ) น. ขมิ้น.
【 ข้าวเม่า ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ข้าว/.
【 ข้าวเม่า ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาทะเลและปลานํ้าจืดหลายชนิด ในสกุล /Ambassis/
วงศ์ Ambassidae หรือมีผู้รวมไว้กับวงศ์ Centropomidae
เป็นปลาขนาดเล็ก ลําตัวแบนข้าง ค่อนข้างใส ก้านครีบแข็ง
แหลม และมักชี้กางทําให้ทิ่มตําเมื่อจับต้อง ยังพบมีผู้เรียก
ปลาทะเลชนิด /Ephippus orbis/ ในวงศ์ Ephippidae Chela
วงศ์ Cyprinidae ว่า ปลาข้าวเม่า ด้วย.
【 ข้าวเย็นใต้ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด /Smilax glabra/ Roxb. ในวงศ์ Smilacaceae
เหง้าใช้ทํายาได้.
【 ข้าวเย็นเหนือ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด /Smilax china/ L. ในวงศ์ Smilacaceae เหง้าใช้
ทํายาได้.
【 ข้าวสาร ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ข้าว/.
【 ข้าวสาร ๒ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้เถาในสกุล /Raphistemma/ วงศ์ Asclepiadaceae เช่น
ข้าวสารดอกใหญ่ [/R. pulchellum/ (Roxb.) Wall.] ข้าวสารดอกเล็ก
[/R. hooperianum/ (Blume) Decne.] ทั้ง ๒ ชนิดนี้ดอกกินได้. (๒)
/ดู ชะเอม (๑)/.
【 ข้าวหางช้าง 】แปลว่า: น. ข้าวฟ่างหางช้าง. /(ดู ข้าวฟ่าง ที่ ข้าว)./
【 ขาวใหญ่ 】แปลว่า: น. ชื่อส้มโอพันธุ์หนึ่ง ผลคล้ายส้มโอพันธุ์ขาวพวง แต่ขนาด
ใหญ่กว่า.
【 ข้าวใหม่ใหญ่ 】แปลว่า: น. ชื่อไข้ชนิดหนึ่ง มีอาการคล้ายไข้ข้าวใหม่น้อย.
【 ข้าวอังกุลี 】แปลว่า: /ดู กบ ๕ (๒)/.
【 ข้าศึก 】แปลว่า: น. ศัตรูของบ้านเมือง, คู่สงคราม, โดยปริยายหมายความว่า
ผู้ขัดขวางหรือทําลาย.
【 ข้าหลวง ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ข้า ๑/.
【 ข้าหลวง ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาทะเลชนิด /Scolopsis leucotaenia/ ในวงศ์ Nemipteridae
มีแถบสีขาวเด่นพาดตามยาวใกล้แนวสันหลังข้างละเส้น
พบอาศัยอยู่ตามแนวหินปะการัง.
【 ข้าหลวงหลังลาย 】แปลว่า: น. ชื่อเฟินอิงอาศัยชนิด /Asplenium nidus/ L. ในวงศ์ Aspleniaceae
รูปทรงคล้ายชาม แตกใบอ่อนตรงกลาง.
【 ขำ ๑ 】แปลว่า: ว. มีลักษณะหน้าตาคมชวนให้มอง เช่น งามขํา ดำขำ; ขบขัน
เช่น นึกขํา.
【 ขำ ๒ 】แปลว่า: น. สิ่งหรือข้อความที่มีนัย ไม่ควรเปิดเผย เช่น แล้วทูลว่านางคันธมาลี
ให้ข้านี้นำของมาถวาย เป็นความขำกำชับมามากมาย พลางยอบกาย
เข้าไปให้ใกล้ชิด. (คาวี).
【 ข่ำเขียว 】แปลว่า: (กลอน) ว. รีบ, ด่วน, เร่ง.
【 ขิก 】แปลว่า: (ปาก) น. เรียกรูปจําลองอวัยวะเพศชาย ใช้เป็นเครื่องรางของขลัง
ว่า ไอ้ขิก อ้ายขิก หรือ ปลัดขิก, ขุนเพ็ด ก็เรียก.
【 ขิก ๆ 】แปลว่า: ว. หัวเราะเสียงอย่างนั้น. (โบ) ก. หัวเราะเบา ๆ เช่น พระลออดบ่ได้
ขิกหัว. (ลอ).
【 ขิง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Zingiber officinale/ Roscoe ในวงศ์ Zingiberaceae
เหง้ามีกลิ่น รสเผ็ด ใช้ประกอบอาหารและทํายาได้, ขิงแกลง หรือ
ขิงแครง ก็เรียก.
【 ขิงก็รา ข่าก็แรง 】แปลว่า: (สํา) ต่างก็จัดจ้านพอ ๆ กัน, ต่างก็มีอารมณ์ร้อนพอ ๆ กัน,
ต่างไม่ยอมลดละกัน.
【 ขิงแห้ง 】แปลว่า: น. ขิงชนิดหนึ่งที่ตากแห้ง ใช้เป็นเครื่องยาไทย.
【 ขิ่ง 】แปลว่า: ก. พยายามทําสิ่งที่ยากอันตนจะต้องทําให้เสร็จ เช่น ท้าวธผู้ข้อนขิ่ง
ทําทาน. (ม. คําหลวง ชูชก).
【 ขิงแกลง, ขิงแครง 】แปลว่า: [-แกฺลง, -แคฺรง] /ดู ขิง/.
【 ขิด 】แปลว่า: น. ชื่อผ้าทอชนิดหนึ่ง มีวิธีทําลวดลายโดยใช้ไม้แผ่นแบนบางปากโค้ง
ให้ปลายหนึ่งแหลมเป็นเครื่องมือสําหรับสะกิดเส้นเครือหรือเส้นยืน
เพื่อเก็บยกขึ้นตามรูปลักษณะลวดลายที่ต้องการในแต่ละแถว
แต่ละลาย, เขียนเป็น ขิต ก็มี.
【 ขิปสัทโท 】แปลว่า: ขิปะ- ก. กระแอม. (จินดามณี). (ป. ขิปิตสทฺท ว่า
เสียงจาม).
【 ขิม 】แปลว่า: น. ชื่อเครื่องดนตรีจีนชนิดหนึ่ง รูปคล้ายพระจันทร์ครึ่งซีก ใช้ตี.
【 ขี่ 】แปลว่า: ก. นั่งเอาขาคร่อม, โดยปริยายหมายถึงนั่งไปในยานพาหนะ.
【 ขี่ช้างจับตั๊กแตน 】แปลว่า: (สํา) ก. ลงทุนมากแต่ได้ผลนิดหน่อย.
【 ขี่ม้าตีคลี 】แปลว่า: น. ชื่อท่ารำท่าหนึ่ง.
【 ขี่ม้าเลียบค่าย 】แปลว่า: น. ชื่อท่ารำท่าหนึ่ง.
【 ขี่ม้าส่งเมือง 】แปลว่า: น. ชื่อการเล่นของเด็กอย่างหนึ่ง ฝ่ายแพ้ต้องให้ฝ่ายชนะขี่หลัง
ไปส่งถึงที่ฝ่ายชนะ.
【 ขี้ 】แปลว่า: ก. กิริยาที่ถ่ายกากอาหารออกทางทวารหนัก, ถ่ายอุจจาระ,
ราชาศัพท์ว่า ลงพระบังคนหนัก. น. กากอาหารที่ร่างกาย
ไม่ต้องการแล้วขับถ่ายออกทางทวารหนัก, อุจจาระ, สิ่งที่
ร่างกายขับถ่ายออกมาเกรอะกรังอยู่ เช่นขี้ไคล ขี้รังแค ขี้หู
ขี้ตา, โดยปริยายหมายความถึงสิ่งที่ไม่ต้องการ เช่น ขี้ตะกั่ว,
เศษหรือกากที่ออกมาจากสิ่งนั้น ๆ เช่น ขี้กบ ขี้เลื่อย. ว.
ใช้ประกอบหน้าคําที่แสดงความหมายในทางที่ไม่ดี เช่น
ขี้เกียจ ขี้เหนียว, หรือมักเป็นเช่นนั้น เช่น ขี้หัวเราะ ขี้ขอ.
【 ขี้กบ 】แปลว่า: น. เศษไม้ที่ออกมาด้วยการไสกบ.
【 ขี้กระทาเกลือ, ขี้ทา 】แปลว่า: น. ขี้เกลืออันตกกระฉาบทาไปตามพื้นดินหรือพื้นที่มีเกลือแห้งเกรอะ
อยู่เป็นกระ.
【 ขี้กลาก 】แปลว่า: น. ชื่อโรคผิวหนังอย่างหนึ่ง มีหลายชนิด เกิดจากเชื้อราขึ้นเป็นวง
มีอาการคัน, กลาก ก็ว่า.
【 ขี้ก้อนใหญ่ให้เด็กเห็น 】แปลว่า: (สํา) ก. ทําสิ่งที่ไม่สมควรให้ผู้น้อยเห็น.
【 ขี้กะโล้โท้ 】แปลว่า: (ปาก) ว. ไม่ดี, ไม่มีคุณภาพ, เอาเรื่องเอาราวไม่ได้.
【 ขี้ก้าง ๑ 】แปลว่า: น. ขี้ดีบุกที่ถลุงแล้วเอาไปถลุงอีก. ว. ผอมจนเห็นซี่โครงเป็นซี่ ๆ,
ผอมเนื้อน้อย.
【 ขี้เกลือ 】แปลว่า: น. คราบเหงื่อที่แห้งกรังจนขึ้นขาว.
【 ขี้เกลื้อน 】แปลว่า: น. ชื่อโรคผิวหนังเกิดจากเชื้อรา /Malassezia furfur/ ขึ้นเป็นดวง
ขาว ๆ อาจมีอาการคัน, เกลื้อน ก็ว่า.
【 ขี้ข้า 】แปลว่า: น. ทาส, ไพร่.
【 ขี้ครอก ๑ 】แปลว่า: น. ลูกของขี้ข้า, ทาสโดยกําเนิด.
【 ขี้คร้าน 】แปลว่า: ก. เชื่อว่าเป็นเช่นนั้น เช่น พอยอเข้าหน่อยขี้คร้านจะทำให้ทุกอย่าง.
【 ขี้คุก 】แปลว่า: ว. เคยต้องโทษจําคุกมาแล้ว.
【 ขี้เค้า 】แปลว่า: น. ขี้ข้า.
【 ขี้ไคล 】แปลว่า: (ปาก) น. เหงื่อที่ปนกับฝุ่นละอองติดกรังอยู่กับหนังกำพร้า, ไคล
ก็ว่า.
【 ขี้จาบ 】แปลว่า: (ปาก) ว. หยาบคาย เช่น ชาติอ้ายขี้จาบปราบเพื่อนบ้าน.
(รามเกียรติ์ พลเสพย์).
【 ขี้ซ้าย, ขี้ไซ้ 】แปลว่า: (ปาก) ว. ที่เลวกว่า (ใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ไม่ได้ขี้ไซ้ของเขา.
【 ขี้เซา 】แปลว่า: ว. นอนปลุกให้ตื่นยาก.
【 ขี้เดือด 】แปลว่า: น. ขี้เมฆตามริมขอบฟ้าวิ่งเดือดพลุ่งขึ้นข้างบนซึ่งนัยว่าจะเกิดพายุ.
【 ขี้แดด 】แปลว่า: น. ตะไคร่ที่จับบนผิวโคลนสีเขียว ๆ.
【 ขี้ตา, ขี้ตาเล็น 】แปลว่า: (ปาก) ว. เล็กมาก.
【 ขี้ตืด 】แปลว่า: (ปาก) ว. ตระหนี่, ขี้เหนียว ก็ว่า.
【 ขี้เต่า 】แปลว่า: น. เมือกเหงื่อไคลที่ติดอยู่ตามรักแร้ มีกลิ่นเหม็น.
【 ขี้แต้ 】แปลว่า: น. ดินที่แห้งแข็งเป็นตะปุ่มตะป่ำอยู่ตามทุ่งนา มักอูดขึ้นมาจาก
รอยกีบเท้าวัวเท้าควาย เรียกว่า หัวขี้แต้.
【 ขี้ไต้ ๑ 】แปลว่า: น. ส่วนของไต้ที่ใช้เป็นเชื้อไฟหรือส่วนของไต้ที่จุดและเขี่ยให้ร่วง
หล่นลง.
【 ขี้ถัง 】แปลว่า: (ปาก) ว. เลวทราม เช่น จงหลีกเลี่ยงเสียให้พ้นคนขี้ถัง. (สุภาษิต
สุนทรภู่).
【 ขี้เถ้า 】แปลว่า: น. เถ้า.
【 ขี้ไถ ๑ 】แปลว่า: /ดู มูล ๓/.
【 ขี้ทูด 】แปลว่า: น. ชื่อโรคเรื้อนชนิดทําให้มือกุดเท้ากุด.
【 ขี้เท่อ 】แปลว่า: ว. ไม่คม, ไม่ฉลาด, เซ่อ. น. ความโง่ เช่น ขยายขี้เท่อ.
【 ขี้เทา 】แปลว่า: น. ขี้ที่ค้างอยู่ในลําไส้เด็กที่คลอดใหม่.
【 ขี้เทือก 】แปลว่า: น. ที่ดินที่ไถและคราดเป็นต้นแล้วทำให้เป็นโคลนเป็นตมเพื่อตกกล้า
เช่น ทําขี้เทือกตกกล้า, เทือก ก็ว่า.
【 ขี้ปะติ๋ว 】แปลว่า: ว. เล็กน้อย, ไม่สําคัญ.
【 ขี้ปาก 】แปลว่า: น. คําที่เอาอย่างเขามาพูด; คนสําหรับเขาล้อด่าว่าและติเตียน.
【 ขี้เป้ 】แปลว่า: ว. ไม่ได้เรื่อง เช่น คนขี้เป้ ของขี้เป้.
【 ขี้เป็ด 】แปลว่า: น. ชื่อทรายหรือดินร่วนสีดําคล้ายขี้เป็ด.
【 ขี้ผง 】แปลว่า: ว. เล็กน้อย, ไม่สําคัญ.
【 ขี้ผึ้ง ๑ 】แปลว่า: น. รังผึ้งที่เอามาหุงใช้ในการต่าง ๆ เช่น ทําเทียน ทำสีผึ้ง.
【 ขี้ฝิ่น 】แปลว่า: น. กากของฝิ่นที่สูบแล้ว, คนติดฝิ่น, ขี้ยา ก็เรียก.
【 ขี้แพ้ชวนตี 】แปลว่า: (สํา) ก. แพ้ตามกติกาแล้วยังไม่ยอมรับว่าแพ้จะเอาชนะด้วย
กําลัง, แพ้แล้วพาล.
【 ขี้ม้า ๑ 】แปลว่า: ว. เรียกสีกากีแกมเขียวว่า สีขี้ม้า.
【 ขี้มูก 】แปลว่า: น. นํ้าเมือกที่ไหลออกทางจมูก.
【 ขี้เมฆ 】แปลว่า: (ปาก) น. เมฆ.
【 ขี้แมลงวัน 】แปลว่า: น. จุดดําเล็ก ๆ ที่ขึ้นตามร่างกาย, ราชาศัพท์ว่า พระปิลกะ.
【 ขี้แมว ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งในพวกจันอับ.
【 ขี้ไม่ให้หมากิน 】แปลว่า: (สํา) ก. ขี้เหนียว, ตระหนี่เหนียวแน่น.
【 ขี้ยา 】แปลว่า: น. กากของฝิ่นที่สูบแล้ว, คนติดฝิ่น, ขี้ฝิ่น ก็เรียก. ว. ติดฝิ่น.
【 ขี้แย 】แปลว่า: ว. มักร้องไห้บ่อย ๆ, ใจน้อย.
【 ขี้รังแค 】แปลว่า: น. ขุยหนังหัว มีลักษณะเป็นผง ๆ สีขาว, ขี้ลม หรือ รังแค ก็เรียก.
【 ขี้ราดโทษล่อง 】แปลว่า: (สํา) ก. ทําผิดเอง แล้วกลับโทษผู้อื่น.
【 ขี้ริ้ว 】แปลว่า: น. เรียกผ้าเก่าที่ใช้เช็ดถูเป็นต้น. ว. ไม่สวย, ไม่งาม, บางทีใช้
เข้าคู่กับคำ ขี้เหร่ เป็น ขี้ริ้วขี้เหร่.
【 ขี้เรื้อน 】แปลว่า: น. เรื้อน. (ปาก) ว. ไม่มีคุณค่า เช่น คนขี้เรื้อน ของขี้เรื้อน.
【 ขี้เรื้อนกวาง 】แปลว่า: น. ชื่อโรคผิวหนังเรื้อรังชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นผื่นคัน ทําให้
ผิวหนังหนา หยาบ และอาจแตกมีนํ้าเหลืองไหลหรือตกสะเก็ด
ในระยะหลัง มักเป็นตามบริเวณข้อเท้า หัวเข่า หรือบริเวณที่ที่
มือเอื้อมไปเกาถึง.
【 ขี้ลม ๑ 】แปลว่า: น. ขุยหนังหัว มีลักษณะเป็นผง ๆ สีขาว, ขี้รังแค หรือ รังแค ก็เรียก.
【 ขี้ลอก 】แปลว่า: (ปาก) น. ดินที่ลอกขึ้นมาจากท้องร่อง.
【 ขี้ลีบ 】แปลว่า: (ปาก) น. ข้าวลีบ เช่น ชาวนาคัดเอาขี้ลีบออก.
【 ขี้เล็บ 】แปลว่า: (ปาก) ว. ใช้เปรียบของที่เล็กน้อย.
【 ขี้โล้ 】แปลว่า: น. เรียกน้ำมันที่เป็นขี้ตะกอนว่า น้ำมันขี้โล้; กะทิที่เคี่ยวจนเป็น
น้ำมันใช้ทำอาหารบางอย่าง.
【 ขี้หดตดหาย 】แปลว่า: (ปาก) ว. ใช้เป็นสำนวนประกอบคำ กลัว ว่า กลัวจนขี้หดตดหาย
หมายความว่า กลัวมาก.
【 ขี้หมา 】แปลว่า: น. ก้อนขี้หมา, หัวขี้หมา ก็เรียก. /(ดู ก้อนขี้หมา ที่ก้อน)./ (ปาก)
ว. ไม่มีคุณค่า, ไร้สาระ, เช่น เรื่องขี้หมา ของขี้หมา.
【 ขี้หมูขี้หมา 】แปลว่า: (ปาก) ว. ไร้สาระ, ไม่สำคัญ, ไม่มีค่า, ไม่มีราคา.
【 ขี้หมูราขี้หมาแห้ง 】แปลว่า: ว. ไร้สาระ, ไร้ประโยชน์, เช่น เรื่องขี้หมูราขี้หมาแห้ง.
【 ขี้เหนียว 】แปลว่า: ว. ตระหนี่, ขี้ตืด ก็ว่า.
【 ขี้เหร่ 】แปลว่า: ว. ไม่สวย, ไม่งาม, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ขี้ริ้ว เป็น ขี้ริ้วขี้เหร่.
【 ขี้ใหม่หมาหอม 】แปลว่า: (ปาก) ก. เห่อของใหม่.
【 ขี้กา 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาเนื้ออ่อนหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Cucurbitaceae
ผลกลมขนาดผลมะนาวถึงผลส้มเกลี้ยง สุกสีแดง เมล็ดสีเขียวแก่
มีเยื่อเป็นเมือก ๆ หุ้ม และมีรสขม เช่น ขี้กาแดง หรือ กระดึงช้างเผือก
(/Trichosanthes tricuspidata/ Lour.).
【 ขี้ก้าง ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ขี้/.
【 ขี้ก้าง ๒ 】แปลว่า: /ดู ก้าง ๒/.
【 ขี้กาดง 】แปลว่า: /ดู กระดอม/.
【 ขี้กาแดง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาเนื้ออ่อนชนิด /Trichosanthes tricuspidata/ Lour. ในวงศ์
Cucurbitaceae เถาเป็นเหลี่ยม มีมือเกาะแยกเป็น ๓ แฉก
ใบใหญ่มน บางทีเป็น ๕ เหลี่ยม กลีบเลี้ยงสีแดง กลีบดอก
สีขาวหรือขาวอมชมพู ผลกลมใหญ่ขนาดผลส้ม สุกสีแดง
เมล็ดเป็นพิษเบื่อเมา, กระดึงช้างเผือก ก็เรียก.
【 ขี้กาเหลี่ยม 】แปลว่า: /ดู กระดอม/.
【 ขี้กุ่ง 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. จิ้งโกร่ง. /(ดู จิ้งโกร่ง)./
【 ขี้ขม 】แปลว่า: น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด /Osteochilus hasselti/ ในวงศ์ Cyprinidae
เกล็ดข้างตัวมีจุดสีดําจนเห็นเรียงกันเป็นลายตามยาว ๖-๘ เส้น
ที่โคนครีบหางมีจุดสีดําใหญ่ ครีบต่าง ๆ สีแดงส้ม เฉพาะครีบอก
สีเขียวอ่อน พบทั้งในแหล่งนํ้านิ่งและนํ้าไหลทั่วทุกภาคของประเทศ
ไทย ขนาดยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร, ซ่าสร้อยนกเขา นกเขา หรือ
พรหมหัวเหม็น ก็เรียก.
【 ขี้ขวง 】แปลว่า: น. ผักขี้ขวง. /(ดู ขวง ๑)./
【 ขี้ขุย 】แปลว่า: /ดู ขี้ควาย/.
【 ขี้เข็บ 】แปลว่า: /ดู ตะเข็บ ๑/.
【 ขี้ครอก ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ขี้/.
【 ขี้ครอก ๒ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด /Urena lobata/ L. ในวงศ์ Malvaceae ดอกสีชมพู
ผลมีขนปลายเงี่ยงคลุม. (๒) /ดู กระชับ ๑./
【 ขี้ครั่ง 】แปลว่า: น. สารซึ่งตัวครั่งผลิตออกมาหุ้มลําตัว ประกอบด้วยชันเป็น
ส่วนใหญ่ ไข และสารสีแดง.
【 ขี้ควาย 】แปลว่า: น. ชื่อปลาทะเลชนิด /Polycaulus uranoscopus/ ในวงศ์ Synanceiidae
ตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวสั้น ปากกว้างเชิดขึ้น ลําตัวมีรอยด่างสี
นํ้าตาล มักมีจุดขาวประปราย ขอบครีบเป็นสีดําคลํ้า เงี่ยงมีพิษ
ซ่อนตัวอยู่ตามซอกหินหรือพื้นท้องทะเล, ขี้ขุย ก็เรียก.
【 ขี้โครง 】แปลว่า: (ปาก) น. ซี่โครง.
【 ขีณะ 】แปลว่า: (แบบ) ว. สิ้นไป เช่น ถั่นคํ่าขีณะแล้ว. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป.).
【 ขีณาสพ 】แปลว่า: ขีนาสบ น. พระผู้สิ้นอาสวะ, พระอรหันต์. (ป. ขีณ + อาสว).
【 ขีด 】แปลว่า: ก. ใช้ของแหลมหรือมีดเป็นต้นทําให้เป็นเส้นหรือรอยยาว. น. แนวเส้น;
ระดับ เช่น เกินขีด, ขีดขั้น ก็ว่า; ลักษณนามเรียกสิ่งที่เป็นเส้นหรือรอย
ยาวปรากฏอยู่บนพื้นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น มีรอย ๓ ขีด; (ปาก) เรียก
เครื่องหมายแสดงระดับชั้นของข้าราชการพลเรือน เช่น ข้าราชการชั้นตรี
ที่บ่ามีขีดใหญ่ ๑ ขีด; เรียกน้ำหนัก ๑ ใน ๑๐ ของกิโลกรัมว่า ขีดหนึ่ง.
【 ขีดขั้น 】แปลว่า: น. ระดับแห่งความรู้ความสามารถเป็นต้น เช่น ขีดขั้นแห่งสติปัญญา.
【 ขีดคร่อม 】แปลว่า: (กฎ) ก. ขีดเส้นขนานคู่ขวางไว้ข้างด้านหน้าเช็ค. /(ดู เช็คขีดคร่อม)./
【 ขีดคั่น 】แปลว่า: ก. ขีดกั้นไว้, กำหนดไว้โดยเฉพาะ เช่น อ่านหนังสือไปถึงไหนแล้ว
ให้ทำเครื่องหมายขีดคั่นไว้.
【 ขีดฆ่า 】แปลว่า: (กฎ) ก. ขีดเส้นตัดข้อความในเอกสารออกและลงลายมือชื่อกำกับ
เพื่อแก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิกข้อความนั้น; ตามประมวลรัษฎากร
หมายความว่า การกระทำเพื่อมิให้ใช้แสตมป์ได้อีกโดยขีดเส้นคร่อม
ฆ่าแสตมป์ที่ปิดทับกระดาษและลงวันเดือนปีที่ขีดฆ่าไว้ด้วย.
【 ขีดเส้นตาย 】แปลว่า: ก. กำหนดเวลาสุดท้ายให้.
【 ขีดเส้นใต้ 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของเครื่องหมายสัญประกาศ. /(ดู สัญประกาศ)./
【 ขี้ตด 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. แมลงตด. /(ดู ตด ๒)./
【 ขี้ตังนี 】แปลว่า: /ดู ชันโรง/.
【 ขี้ติ้ว 】แปลว่า: /ดู ติ้ว ๑/.
【 ขี้ไต้ ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ขี้/.
【 ขี้ไต้ ๒ 】แปลว่า: /ดู กะล่อน ๑/.
【 ขี้ไถ ๑ 】แปลว่า: /ดู มูล ๓/.
【 ขี้ไถ ๒ 】แปลว่า: /ดู มูลไถ/.
【 ขี้นก 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อฝรั่งพันธุ์หนึ่ง ผลเล็ก ไส้แดง. (๒) ชื่อพริกขี้หนูพันธุ์หนึ่ง
รสเผ็ดร้อนกว่าพริกขี้หนูธรรมดา.
【 ขีปนาวุธ 】แปลว่า: [ขีปะ-] น. อาวุธซึ่งถูกส่งออกไปจากผิวพิภพเพื่อใช้ประหัตประหาร
หรือทําลายในการสงคราม โดยมีการบังคับวิถีในตัวเองเพื่อนําไปสู่
เป้าหมาย การบังคับวิถีนี้บังคับเฉพาะตอนขึ้นเท่านั้น มีหลายชนิด
เช่น ขีปนาวุธข้ามทวีป. (อ. ballistic missile).
【 ขี้ผึ้ง ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ขี้/.
【 ขี้ผึ้ง ๒ 】แปลว่า: /ดู เต่าเหลือง ที่ เต่า ๑/.
【 ขี้มอด 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็ก ๒ ชนิด ในวงศ์ Leguminosae คือ ชนิด
/Dalbergia lanceolaria/ L.f. var. /lakhonensis/ (Gagnep.)
Niyomdham ดอกสีขาวหรือขาวแกมม่วงน้ำเงิน และชนิด /Derris/
/robusta/ Benth. ดอกสีชมพูถึงม่วงอ่อน เนื้อไม้ฟ่าม ใช้ทําหีบหรือลัง.
【 ขี้ม้า ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ขี้/.
【 ขี้ม้า ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อส้มพันธุ์หนึ่งของชนิด /Citrus reticulata/ Blanco.
【 ขี้มิ่น 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน, ปักษ์ใต้) น. ขมิ้น. /(ดู ขมิ้น ๑)./
【 ขี้แมว ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ขี้/.
【 ขี้แมว ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อมะขามพันธุ์ฝักเล็ก. /(ดู มะขาม)./
【 ขี้ยอก 】แปลว่า: น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด /Mystacoleucus marginatus/ ในวงศ์ Cyprinidae
รูปร่างทั่วไปคล้ายปลาตะเพียน เว้นแต่มีหนามแข็งยื่นจากต้นครีบ
หลังออกไปข้างหน้า, ชื่อนี้เรียกกันเฉพาะในเขตแม่นํ้าปิงเท่านั้น
ในเขตแม่นํ้าน่านเรียก หนามไผ่, ปักษ์ใต้เรียก หญ้า.
【 ขีระ 】แปลว่า: (แบบ) น. นํ้านม. (ป.).
【 ขี้แรด 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นข่อยนํ้า. /(ดู ข่อยนํ้า ที่ข่อย)./
【 ขี้แรดล้อมปรวด 】แปลว่า: /ดู ล้อมปรวด/.
【 ขี้ลม ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ขี้/.
【 ขี้ลม ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อผักที่ขึ้นปกคลุมตามต้นไม้ชายทะเล มีสีเหลืองคล้ายฝอยทอง.
(พจน. ๒๔๙๓).
【 ขี้สูด 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) /ดู ชันโรง/.
【 ขี้หนอน 】แปลว่า: [-หฺนอน] น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด /Zollingeria dongnaiensis/
Pierre ในวงศ์ Sapindaceae ขึ้นตามป่าโปร่งที่ตํ่า ผลมี ๓ ครีบ.
(๒) ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด /Scleropyrum wallichianum/ (Wight
et Arn.) Arn. ในวงศ์ Santalaceae ลําต้นมีหนามแข็ง ใบอ่อนและ
ดอกเป็นพิษอย่างแรง. (๓) /ดู สําเภา ๒./
【 ขี้หน้า 】แปลว่า: น. หน้า (ใช้ในความหมั่นไส้ รังเกียจ หรือ ดูหมิ่น) เช่น เกลียดขี้หน้า
ขายขี้หน้า.
【 ขี้หนู ๑ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อพริกชนิด /Capsicum frutescens/ L. ในวงศ์ Solanaceae
เม็ดเล็ก, พริกแกว ก็เรียก. (๒) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Coleus parvifolius/
Benth. ในวงศ์ Labiatae หัวกินได้ เรียกว่า มันขี้หนู.
【 ขี้หนู ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งข้าวเจ้าโม่ทับน้ำ ยีให้ร่วนแล้วนึ่ง
ให้สุก ใส่น้ำเชื่อม เคล้าให้ฟูเป็นเม็ดเล็ก ๆ คล้ายเม็ดทราย โรย
ด้วยมะพร้าวทึนทึกขูด, (ราชา) ขนมทราย.
【 ขี้เหล็ก 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด /Cassia siamea/ Lam. ในวงศ์
Leguminosae มักขึ้นตามริมนํ้าหรือป่าชื้น ดอกเหลืองดกเป็นช่อ
ใหญ่ เนื้อไม้สีนํ้าตาลแก่หรือบางทีเกือบดํา มีลายเป็นเส้นสีแก่หรือ
สีอ่อนกว่าพื้น แข็ง เหนียว และหนักมาก ใช้ทําเครื่องเรือนและ
เครื่องใช้ต่าง ๆ ใบอ่อนและดอกกินได้.
【 ขี้อ้น 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล /Helicteres/ วงศ์ Sterculiaceae
ลูกเป็นขน ๆ. (๒) /ดู กระชับ ๑./
【 ขี้อ้าย 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด /Terminalia triptera/ Stapf. ในวงศ์
Combretaceae เปลือกชั้นในสีแสด รสฝาด ใช้เคี้ยวกับหมาก,
กําจาย ก็เรียก, จันทบุรีเรียก หอมกราย. (๒) ชื่อไม้ต้น ๓ ชนิด
ในสกุล /Walsura/ วงศ์ Meliaceae คือ ชนิด /W. robusta/ Roxb.,
/W. trichostemon/ Miq. และ /W. villosa/ Wall.
【 ขึง 】แปลว่า: ก. ทําให้ตึง เช่น ขึงเชือก ขึงจอภาพยนตร์, ผูกสิ่งเป็นเส้นให้
ยาวเหยียดออกไปเป็นราว เช่น ขึงราว, โดยปริยายหมายถึง
อาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หน้าขึง.
【 ขึงขัง 】แปลว่า: ว. ผึ่งผาย, เอาจริงเอาจัง, แข็งแรง.
【 ขึงตา 】แปลว่า: ก. จ้องดูอย่างเขม็งด้วยอาการโกรธ หรือด้วยประสงค์จะห้าม.
【 ขึงพืด 】แปลว่า: ก. จับให้นอนเหยียดยาวกางแขนกางขา.
【 ขึงอูด 】แปลว่า: ก. นอนหงายเหยียดตรง แล้วใช้ผ้าที่ขมวดปมหัวท้ายคลุมศีรษะ
ด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งใช้ปลายเท้ายันผ้าให้ตึงเพื่อกันยุงเป็นต้น.
【 ขึ้ง 】แปลว่า: ก. แค้น, เคือง, โกรธ, มักใช้เข้าคู่กับคําอื่น เช่น โกรธขึ้ง ขึ้งโกรธ
ขึ้งเคียด.
【 ขึ้งโกรธ 】แปลว่า: ก. โกรธเอาจริงเอาจัง, โกรธมาก, โกรธขึ้ง ก็ว่า.
【 ขึ้งเคียด 】แปลว่า: ก. โกรธอย่างชิงชัง.
【 ขึ้น ๑ 】แปลว่า: ก. ไปสู่เบื้องบน เบื้องสูง หรือ เบื้องหน้า, ไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้าม
กับลง; เพิ่มหรือทําให้เพิ่ม เช่น ขึ้นราคา ขึ้นภาษี ราคาขึ้น ภาษีขึ้น;
เริ่ม เช่น ขึ้นหนุ่ม ขึ้นบรรทัดใหม่; เอาเข้าไว้เป็นหลักฐาน เช่น
ขึ้นทะเบียน ขึ้นทําเนียบ; เอ่ยคําหยาบออกมาด้วยความโกรธ เช่น
ขึ้นมึง ขึ้นกู; เกิด, มี, เช่น ฝีขึ้น สนิมขึ้น; นิยมนับถือ,เลื่อมใส, เช่น
อาจารย์คนนี้มีคนขึ้นมาก; อยู่ในสังกัด เช่น กรมศิลปากรขึ้นกับ
กระทรวงศึกษาธิการ; อืดพอง เช่น ศพขึ้น ท้องขึ้น; ฟู เช่น ขนมขึ้น;
แรกปรากฏจากขอบฟ้า เช่น ตะวันขึ้น; งอก เช่น ต้นไม้ขึ้น; มีโชค
จะทําอะไรก็ประสบผล เช่น มือขึ้น ชะตาขึ้น; ก่ง เช่น ขึ้นธนู; ขึง เช่น
ขึ้นกลอง ขึ้นฆ้อง; เริ่มเดินเป็นครั้งแรก เช่น ขึ้นขุน ขึ้นโคน; ทําให้เป็น
รูปร่าง เช่น ขึ้นรูป ขึ้นกระบุง; เอาเช็คเป็นต้นไปขอรับเป็นตัวเงินจาก
ธนาคาร เรียกว่า ขึ้นเงิน; เอาเข้าเก็บไว้ เช่น ขึ้นคลัง; (ปาก) แล่นไป
ตามทางจากใต้ไปเหนือ เช่น รถขึ้น ขาขึ้น. น. ข้างขึ้น เช่น ขึ้นคํ่าหนึ่ง
ขึ้น ๒ คํ่า.
【 ขึ้นเขียง 】แปลว่า: (ปาก)ก. ตกอยู่ในภาวะที่แทบไม่มีทางจะต่อสู้หรือเอาชนะหรือ
หลีกเลี่ยงได้เลย.
【 ขึ้นครู 】แปลว่า: ก. ทําพิธีคํานับครูที่ประสาทวิชาให้เมื่อแรกเรียน.
【 ขึ้นคาน 】แปลว่า: ก. มีฝีมือในทางใดทางหนึ่งจนไม่มีคู่แข่งขัน; (ปาก) โดยปริยาย
หมายถึงหญิงโสดที่มีอายุแต่ยังไม่มีสามี.
【 ขึ้นใจ 】แปลว่า: ก. เจนใจ, จําได้แม่นยํา.
【 ขึ้นชื่อ 】แปลว่า: ก. ลือชื่อ, เอ่ยถึงบ่อย ๆ; ยกขึ้นมาอ้าง เช่น อย่ามาขึ้นชื่อฉัน.
【 ขึ้นซัง 】แปลว่า: ก. เข้าอยู่ในที่ซึ่งไม่มีใครจะทําอันตรายได้แล้ว, นั่งซัง ก็ว่า.
【 ขึ้นต้นไม้สุดยอด 】แปลว่า: (สํา) ก. ขึ้นถึงตําแหน่งสูงสุดแล้ว.
【 ขึ้นโต๊ะ 】แปลว่า: ว. เรียกลักษณะของสิ่งที่ดีมีราคา, (ปาก) เรียกลักษณะของสิ่งที่ไม่มี
ราคาแต่ยกย่องให้เป็นสิ่งที่มีราคา.
【 ขึ้นทะเบียนทหาร 】แปลว่า: ก. แสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินเมื่อมีอายุย่างเข้า ๑๘ ปี,
ผู้ที่ได้ลงบัญชีทหารกองเกินแล้ว ถือว่าเป็นทหารกองเกิน.
【 ขึ้นนวล 】แปลว่า: ก. เกิดละอองสีขาวบนผิวผลไม้หรือใบไม้บางชนิดแสดงว่าแก่จัด
เช่น ใบตองขึ้นนวล มะม่วงขึ้นนวล ฟักขึ้นนวล
【 ขึ้นปาก 】แปลว่า: ก. เจนปาก, คล่องปาก.
【 ขึ้นพลับพลา 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
【 ขึ้นไม้ขึ้นมือ 】แปลว่า: ก. ชี้หน้าในเวลาโกรธ เช่น มาขึ้นไม้ขึ้นมืออยู่หรบหรบ.
(ขุนช้างขุนแผน).
【 ขึ้นระวาง 】แปลว่า: ก. เข้าทําเนียบ, เข้าประจําการ, (ใช้แก่พาหนะของหลวง คือ ม้า
ช้าง รถ และเรือ).
【 ขึ้นร้าน 】แปลว่า: น. วิธีนับคะแนนในการเล่นหมากเก็บ โดยเอาตัวหมากทั้งหมดวาง
บนหลังมือกระดกมือให้หมากลอยขึ้นแล้วหงายมือรับอย่างรวดเร็ว.
【 ขึ้นสนิม 】แปลว่า: ก. ฝืด, ไม่คล่อง, เช่น ความรู้ขึ้นสนิมหมดแล้ว.
【 ขึ้นสมอง 】แปลว่า: ก. นิยมมาก เช่น เขาชอบกีฬาจนขึ้นสมอง.
【 ขึ้นสาย 】แปลว่า: ก. เทียบเสียงเครื่องดนตรีที่มีสาย.
【 ขึ้นเสียง 】แปลว่า: ก. ออกเสียงดังด้วยความโกรธ; เทียบเสียงเครื่องดนตรี.
【 ขึ้นหน้าขึ้นตา 】แปลว่า: ก. มีชื่อเสียง, เด่น.
【 ขึ้นหม้อ 】แปลว่า: น. เรียกข้าวที่หุงแล้วพองตัวมากกว่าข้าวธรรมดาว่าข้าวขึ้นหม้อ.
ว. โดยปริยายหมายความว่า มีผลประโยชน์รวดเร็วมากผิดปรกติ,
โดดเด่น, เป็นที่โปรดปราน, โชคดี.
【 ขึ้นหา 】แปลว่า: ก. ลอบขึ้นห้องหญิงเพื่อการชู้สาว.
【 ขึ้นหิ้ง 】แปลว่า: (ปาก) ก. เก็บไว้โดยไม่ได้ใช้ประโยชน์; ขึ้นคาน.
【 ขึ้นเหนือล่องใต้ 】แปลว่า: ก. เดินทางไกลไปยังที่ต่าง ๆ โดยมักไปเป็นประจํา.
【 ขึ้น ๒ 】แปลว่า: ว. ใช้ประกอบคําอื่นเพื่อเน้นความให้เด่นหรือให้ชัดแจ้งกว่าเดิม
เช่น เกิดขึ้น เป็นขึ้น สวยขึ้น สูงขึ้น; เป็นคําประกอบท้าย
หมายความว่า มากกว่าเดิม เช่น ดีขึ้น เร็วขึ้น อ้วนขึ้น; เป็นไป
ตามคําที่ยอหรือยุเป็นต้น เช่น ยกขึ้น ยุขึ้น หนุนขึ้น; ดูสวยกว่า
ตัวจริง เช่น แต่งตัวขึ้น ถ่ายรูปขึ้น; มีเหตุผลสมควร เช่น ฟังขึ้น,
ถ้าใช้ในความปฏิเสธ เช่น เถียงไม่ขึ้น หมายความว่า เถียงไม่ชนะ.
【 ขึ้นชื่อว่า 】แปลว่า: ใช้เป็นคําประกอบหน้านามที่เป็นประธานหรือใช้ขึ้นต้นข้อความ
เช่น ขึ้นชื่อว่าคนพาลละก็ต้องหลีกให้ห่างไกล.
【 ขึ้นฉ่าย 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Apium graveolens/ L. ในวงศ์ Umbelliferae
ใบคล้ายผักชีแต่โตกว่า กลิ่นฉุน เป็นพรรณไม้ที่นําเข้ามาปลูก
เพื่อเป็นอาหาร.
【 ขีน 】แปลว่า: ก. ยั้งไว้หรือบังคับไว้ไม่ให้เป็นไปตาม เช่น ขืนตัว ขืนเรือ; ไม่ควร
ทําแต่ยังกล้าทํา เช่น ขืนกิน ขืนสู้, ไม่ยอมทําตาม เช่น ขืนคําสั่ง.
【 ขืนใจ 】แปลว่า: ก. บังคับให้ยอมทําตาม เช่น ขืนใจเด็กให้กินยา; ข่มขืน.
【 ขื่น ๑ 】แปลว่า: ว. รสฝาดเฝื่อนชวนให้คลื่นไส้ ไม่ชวนกิน; (ถิ่น-พายัพ) ฉุน.
【 ขื่นขม 】แปลว่า: ก. รู้สึกชํ้าใจแต่ฝืนไว้ เพราะไม่สามารถแสดงออกมาได้, ขมขื่น ก็ใช้.
【 ขื่อ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เครื่องบนสําหรับยึดหัวเสาด้านขวาง; เครื่องจองจํานักโทษ
ทําด้วยไม้มีช่องสําหรับสอดมือหรือเท้าแล้วมีลิ่มตอกกำกับกันขื่อ
หลุด; เรียกกระดูกเชิงกรานที่ขวางอยู่ด้านหน้า.
【 ขื่อกะละปังหา 】แปลว่า: น. ขื่อด้านสกัดหัวท้ายสําหรับรับหน้าจั่วและติดกลอนปีกนก.
【 ขื่อขวาง, ขื่อคัด 】แปลว่า: น. ขื่อที่ ๒ อยู่ใต้ขื่อเดิม อยู่ในพวกเครื่องเรือน.
【 ขื่อจมูก 】แปลว่า: น. แกนกลางระหว่างช่องจมูก.
【 ขื่อเท่าต่อ 】แปลว่า: ก. รู้เท่าทันกัน.
【 ขื่อมุก 】แปลว่า: น. แกนเปลือกที่อยู่ในตัวหอยจำพวกหอยสังข์ใช้ทำด้ามทัพพี
เป็นต้น.
【 ขื่อหมู่ 】แปลว่า: น. ขื่อไม่น้อยกว่า ๒ ตัว เจาะฝังเข้าไปในเสาร่วมในซึ่งเป็นมุม
แล้วทอดไปหาเสาหรือผนังของระเบียงคล้ายเต้าที่รับเชิงกลอน.
【 ขื่อผี 】แปลว่า: น. ชื่อกําไลที่ทําด้วยเงินหรือทองเกลี้ยง ๆ หัวท้ายรีดเป็นลวด
ทําเป็นห่วงสอดไขว้กันเพื่อรูดเข้าออกได้, กําไลคู่ผี ก็เรียก.
【 ขุก ๑ 】แปลว่า: ว. พลัน, ทันทีทันใด, เช่น ขุกเข็ญ ว่า เกิดความลําบากขึ้นทันที.
ก. คิดขึ้นได้ทันที, เกิดขึ้นในปัจจุบันทันด่วน, เช่น อาวุธอย่าวางไกล
ขุกคํ่า คืนแฮ. (โลกนิติ).
【 ขุก ๒, ขุก ๆ 】แปลว่า: ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงไอ, ขลุก หรือ ขลุก ๆ ก็ว่า.
【 ขุด 】แปลว่า: ก. กิริยาที่สับ เจาะ แทง หรือ คุ้ยเอาดินหรือสิ่งที่อยู่ในดินขึ้น เช่น
ขุดดิน ขุดศพ, อาการที่ขุดดินหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้มีรูปร่างตามที่
ต้องการ เช่น ขุดหลุม; เรียกเรือชนิดที่ทําด้วยไม้ซุงทั้งต้นหรือทั้งท่อน
ขุดด้านบนให้เป็นรางแล้วเบิกปากออกให้กว้าง ถากหัวและท้ายเรือ
ให้เรียวเชิดขึ้นตามส่วน ว่า เรือขุด; โดยปริยายหมายถึงอาการที่
คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ขุดเรื่องเก่า ๆ ขึ้นมาพูด, ขุดคุ้ย หรือ คุ้ยเขี่ย ก็ว่า.
【 ขุดคุ้ย 】แปลว่า: ก. ค้นเอาเรื่องเก่าขึ้นมาเปิดเผย, ขุด หรือ คุ้ยเขี่ย ก็ว่า.
【 ขุดด้วยปากถากด้วยตา 】แปลว่า: (สํา) ก. แสดงอาการเหยียดหยามทั้งด้วยวาจาและสายตา.
【 ขุดดินกินหญ้า 】แปลว่า: (สํา) ก. ทํางานกระท้อมกระแท้มพอเลี้ยงตัวไปวันหนึ่ง ๆ
เช่นทําไร่เล็ก ๆ น้อย ๆ.
【 ขุดบ่อล่อปลา 】แปลว่า: (สํา) ก. ทํากลอุบายเพื่อให้ฝ่ายหนึ่งหลงเชื่อโดยหวังประโยชน์
จากอีกฝ่ายหนึ่ง.
【 ขุทกนิกาย 】แปลว่า: น. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๕ แห่งพระสุตตันตปิฎก แปลว่า หมวดเล็กน้อย
รวบรวมข้อธรรมะที่ไม่อยู่ใน ๔ นิกายข้างต้น มี ๑๕ เรื่อง ซึ่งมี
ธรรมบทและชาดก รวมอยู่ในคัมภีร์นี้ด้วย.
【 ขุน ๑ 】แปลว่า: น. ผู้เป็นใหญ่, หัวหน้า, บรรดาศักดิ์ข้าราชการรองจากหลวงลงมา
เช่น ขุนวิจิตรมาตรา; เรียกหมากรุกตัวสําคัญที่สุด. ว. ใหญ่ เช่น
ขุนเขา.ขุนนาง (โบ) น. ข้าราชการที่ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร
ตามปรกติต้องมีศักดินาตั้งแต่ ๔๐๐ ขึ้นไป.
【 ขุนนางใช่พ่อแม่ หินแง่ใช่ตายาย 】แปลว่า: (สำ) ถ้าไม่ใช่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยายของตน
【 ก็ไม่ควรไว้วางใจใคร, 】แปลว่า:
ทํานองเดียวกับภาษิตที่ว่า อย่าไว้ใจทางอย่าวางใจคน จะจนใจเอง.
【 ขุนน้ำ 】แปลว่า: น. สายนํ้าที่ไหลจากยอดเขา.
【 ขุนน้ำขุนนาง 】แปลว่า: (ปาก) น. ขุนนาง.
【 ขุนบาล 】แปลว่า: (โบ) น. นายอากรหวย ก ข.
【 ขุนแผน ๑ 】แปลว่า: (โบ) น. พรหมธาดา. (เจ้าแห่งแผน คือพระพรหม).
【 ขุนพล 】แปลว่า: น. แม่ทัพ.
【 ขุนพัฒน์ 】แปลว่า: (โบ) น. นายอากรบ่อนเบี้ย.
【 ขุนศาล 】แปลว่า: (โบ) น. ผู้พิพากษาความ.
【 ขุนศึก 】แปลว่า: น. แม่ทัพผู้มีความสามารถในการรบ.
【 ขุนหมื่น 】แปลว่า: (โบ) น. ข้าราชการชั้นต่ำพวกหนึ่งที่เจ้าสังกัดเอาประทวนตั้งเป็น
ขุนบ้างเป็นหมื่นบ้าง.
【 ขุนหลวง 】แปลว่า: (โบ) น. พระเจ้าแผ่นดิน เช่น เป็นขุนหลวงเสวยราชย์ได้สองปี.
(พงศ. ร. ๓).
【 ขุน ๒ 】แปลว่า: ก. ให้อาหารแก่สัตว์เลี้ยง, โดยปริยายหมายถึงเลี้ยงดูอย่างดี.
ขุนไม่ขึ้น, ขุนไม่เชื่อง (สํา) ว. เลี้ยงไม่เชื่อง มีแต่เนรคุณ.
【 ขุ่น 】แปลว่า: ว. มีลักษณะมัว ไม่ใส ไม่ชัดเจน.
【 ขุ่นข้องหมองใจ 】แปลว่า: ก. ผิดใจกัน.
【 ขุ่นเคือง 】แปลว่า: ก. โกรธกรุ่น ๆ อยู่ในใจ, เคืองขุ่น ก็ว่า.
【 ขุ่นแค้น 】แปลว่า: ก. โกรธอย่างเจ็บใจ.
【 ขุ่นใจ 】แปลว่า: ก. หมองใจ, ไม่พอใจ, ขัดเคืองกัน.
【 ขุ่นมัว 】แปลว่า: ว. ไม่แจ่มใส.
【 ขุ่นหมอง 】แปลว่า: ว. ไม่ผ่องใส.
【 ขุนทอง 】แปลว่า: น. ชื่อนกในวงศ์ Sturnidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกเอี้ยงและ
นกกิ้งโครง ขนดําเลื่อมเป็นมัน ที่ปีกมีขนสีขาวแซม และมีติ่ง
หรือเหนียงสีเหลืองติดอยู่ทางหางตาทั้ง ๒ ข้าง ปากสีแสด ขา
และตีนสีเหลืองจัด ร้องเลียนเสียงคนหรือเสียงอื่น ๆ บางอย่างได้
ในประเทศไทยมี ๒ ชนิดย่อย คือ ขุนทองเหนือ (/Gracula religiosa/
/intermedia/) และ ขุนทองใต้ หรือ ขุนทองควาย (/G. r. religiosa/)
ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าชนิดย่อยแรก, พายัพเรียก เอี้ยงคํา.
【 ขุนแผน ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ขุน ๑/.
【 ขุนแผน ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อนกชนิด /Urocissa erythrorhyncha/ ในวงศ์ Corvidae
ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับอีกา ปากสีแดง หัวและคอสีดํา ลําตัว
สีฟ้าอมเทา หางยาว กินนกเล็ก ๆ และสัตว์เลื้อยคลาน.
【 ขุดเพ็ด 】แปลว่า: น. รูปจำลองอวัยวะเพศชาย ใช้เป็นเครื่องรางของขลัง, ปลัดขิก
ไอ้ขิก หรือ อ้ายขิก ก็เรียก, ถ้าใช้เป็นเครื่องบูชาตามศาลเจ้า
เรียกว่า ดอกไม้เจ้า, ราชาศัพท์ว่า ทองพระขุน.
【 ขุม 】แปลว่า: น. หลุม, ใช้ในบางลักษณะ เช่น ขุมขน ขุมนรก; แหล่งที่เกิดที่เก็บ
เช่น ขุมทรัพย์; ลักษณนามใช้เรียกหน่วยที่ต่อรองกันในการพนัน
คราวหนึ่ง ๆ เช่น ๕ เอา ๑ เป็นหน่วยหนึ่ง เรียกว่า ขุมหนึ่ง.
【 ขุย 】แปลว่า: น. ผงที่เกิดจากเนื้อของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ติดอยู่ที่เนื้อนั้นเอง หรือหลุด
ออกมากองอยู่เป็นกลุ่ม ๆ เช่น ผิวหนังเป็นขุย ขุยกระดาษ ขุยมด.
【 ขุยไผ่ 】แปลว่า: น. เมล็ดไผ่ที่ตกลงมากองอยู่ที่กอไผ่.
【 ขุยอินทรีย์ 】แปลว่า: น. อินทรียวัตถุที่สลายตัวปะปนอยู่ในดิน ทําให้ดินอุดมสมบูรณ์.
(อ. humus).
【 ขู 】แปลว่า: (กลอน) ว. มาก. (เลือนมาจาก โข).
【 ขู่ 】แปลว่า: ก. แสดงอาการให้อีกฝ่ายหนึ่งเกรงกลัว เช่น ผู้ใหญ่ขู่เด็ก งูขู่ฟ่อ ๆ.
【 ขู่กรรโชก 】แปลว่า: ก. ทําให้กลัวโดยแสดงกิริยาอาการจะทําร้าย.
【 ขู่ขวัญ 】แปลว่า: ก. ทําให้หวาดกลัว, ทําให้เสียขวัญ.
【 ขู่เข็ญ 】แปลว่า: ก. ทําให้กลัวโดยบังคับ; (กฎ) แสดงกิริยาหรือวาจาให้ผู้อื่นต้องกลัวว่า
จะเป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของ
ผู้นั้น หรือของบุคคลที่สาม.
【 ขูด 】แปลว่า: ก. เอาของมีคมเป็นต้นครูด เช่น เอาช้อนขูดมะพร้าว เอาเล็บขูดขี้ผึ้ง,
ครูดสิ่งใดสิ่งหนึ่งกับของมีคม เช่น เอามะพร้าวไปขูดกับกระต่าย.
【 ขูดรีด 】แปลว่า: ก. แสวงหาประโยชน์โดยวิธีบีบบังคับเอา, แสวงหาประโยชน์
โดยวิธีบีบบังคับให้จํายอม.
【 ขูดเลือด, ขูดเลือดขูดเนื้อ 】แปลว่า: ก. เรียกเอาราคาหรือดอกเบี้ยเกินสมควร.
【 เข ๑ 】แปลว่า: ว. เหล่น้อย (ใช้แก่ตา).
【 เข ๒ 】แปลว่า: /ดู แลแก/.
【 เข้ 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. จระเข้. /(ดู จระเข้)./
【 เขก 】แปลว่า: ก. ใช้ด้านหลังของข้อนิ้วที่งอเข้าด้วยกันเคาะลงไป เช่น ใช้มะเหงก
เขกหัว.
【 เข็ง 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. ปลาหมอ. /(ดู หมอ ๒)./
【 เข่ง 】แปลว่า: น. ภาชนะสานอย่างหนึ่งมีรูปและขนาดต่าง ๆ เช่น เข่งลําไย เข่งปลาทู;
ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเหนียวกับนํ้าตาล ใส่กระทงวางใน
เข่งเล็ก ๆ นึ่งให้สุกเรียกว่า ขนมเข่ง.
【 เขจร 】แปลว่า: [-จอน] ก. บินไป, เหาะไป. (ส. เขจร ว่า ไปในอากาศ).
【 เข็ญ 】แปลว่า: [เข็น] ว. ยาก, ยากจน, เช่น ลําบากแสนเข็ญ.
【 เข็ญใจ 】แปลว่า: ว. ยากจนข้นแค้น.
【 เข็ด ๑ 】แปลว่า: ลักษณนามเรียกด้ายหรือไหมหลาย ๆ ไจรวมกัน.
【 เข็ด ๒ 】แปลว่า: ก. กลัวจนไม่กล้าทําเช่นนั้นอีก เพราะเคยได้รับผลร้ายมาแล้ว,
หลาบจํา, ไม่กล้าสู้, เช่นในคําว่า เข็ดข้อ เข็ดข้อเข็ดลํา เข็ดเขี้ยว.
【 เข็ดขยาด 】แปลว่า: ก. กลัวมากจนไม่กล้าทำ.
【 เข็ดข้อ, เข็ดข้อเข็ดลำ 】แปลว่า: ก. ไม่กล้าสู้เพราะคร้ามข้อคร้ามลํา.
【 เข็ดเขี้ยว 】แปลว่า: ก. ไม่กล้าสู้เพราะเคยต่อสู้กัน แล้วสู้ไม่ได้.
【 เข็ดฟัน 】แปลว่า: ก. เสียวฟันเพราะกินของเปรี้ยว.
【 เขดา 】แปลว่า: [ขะเดา] น. กําเดา, ความร้อน, เช่น ชลเขดาเดือดดาลพอง.
(ม. คําหลวง ฉกษัตริย์). (ข. เกฺดา).
【 เขต 】แปลว่า: [เขด] น. แดนที่กําหนดขีดคั่นไว้ เช่น เขตป่า เขตบ้าน, เวลาที่กําหนด
ขีดคั่นไว้ เช่น หมดเขตวันที่ ๑๕. (ป. เขตฺต). (โบราณเขียนว่า เขตร).
【 เขตแดน 】แปลว่า: น. พื้นที่ที่กําหนดขีดคั่นไว้, เส้นแบ่งพื้นที่ระหว่าง ๒ ประเทศ,
อาณาเขต.
【 เขตเลือกตั้ง 】แปลว่า: (กฎ) น. ท้องที่ซึ่งจัดเป็นเขตอันจะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรหรือสมาชิกสภาท้องถิ่น.
【 เขตอำนาจศาล 】แปลว่า: (กฎ) น. พื้นที่และประเภทคดีที่ศาลมีอํานาจพิจารณา.
【 เขน ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องปิดป้องศัสตราวุธ รูปกลมคล้ายกระทะ ทำด้วยโลหะ
ด้านหลังมีห่วงสำหรับสอดแขนและมือจับ มักใช้คู่กับดาบหรือหอก.
【 เขน ๒ 】แปลว่า: น. เรียกตัวแสดงโขนพวกหนึ่งซึ่งเป็นพลรบ มีหน้าที่ออกเต้น
ในเวลายกทัพ ว่า พลเขน, เรียกอาการเต้นของพลเขนว่า เต้นเขน.
【 เขน ๓ 】แปลว่า: ก. คลี่ (ขนหางนก), มักใช้เข้าคู่กับคํา กาง เป็น กางเขน.
【 เขน ๔ 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. พระจันทร์.
【 เข็น 】แปลว่า: ก. ดันสิ่งที่ติดขัดไม่อาจเคลื่อนไปได้โดยปรกติให้เคลื่อนไป เช่น
เข็นเรือ เข็นเกวียน, ดันให้เคลื่อนที่ไป เช่น เข็นรถ, ใช้เกวียนเป็นต้น
บรรทุกไป เช่น เข็นข้าว เข็นไม้; โดยปริยายหมายความว่า เร่งรัด
ให้ดี เช่น เด็กคนนี้เข็นไม่ขึ้น. เข็นครกขึ้นเขา, เข็นครกขึ้นภูเขา (สํา)
ก. ทํางานที่ยากลำบากอย่างยิ่งโดยต้องใช้ความเพียรพยายามและ
อดทนอย่างมาก หรือบางทีก็เกินกำลังความสามารถหรือสติปัญญา
ของตน.
【 เข่น 】แปลว่า: ก. ทุบหรือตีอย่างแรงเพื่อให้แบนเป็นต้น เช่น เข่นมีด.เข่นเขี้ยว
ก. กัดฟันด้วยความโกรธ, มักใช้เข้าคู่กับคำ เคี้ยวฟัน เป็น
เข่นเขี้ยวเคี้ยวฟัน.
【 เข่นฆ่า 】แปลว่า: ก. ฆ่าด้วยความโกรธแค้น.
【 เขนง 】แปลว่า: [ขะเหฺนง] น. เขาสัตว์, เขาวัวเขาควายที่ใช้เป่าบอกอาณัติสัญญาณ;
ภาชนะใส่ดินปืน เดิมใช้เขาสัตว์; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
【 เขนงนายพราน 】แปลว่า: [ขะเหฺนง-] น. ชื่อไม้เถาล้มลุกชนิด /Nepenthes mirabilis/ (Lour.)
【 Druce 】แปลว่า:
ในวงศ์ Nepenthaceae ชอบขึ้นตามพงหญ้าบนดินทรายที่ชุ่มแฉะ
ปลายใบเปลี่ยนเป็นรูปคล้ายกระบอก มีฝาปิด ใช้ดักจับแมลง,
กระดึงพระราม แล่งพระราม เหนงนายพราน หรือ ลึงค์นายพราน
ก็เรียก.
【 เขน็ด 】แปลว่า: [ขะเหฺน็ด] น. ฟางที่ทำเป็นเชือกมัดฟ่อนข้าว, ขะเน็ด ก็ว่า.
【 เขนย 】แปลว่า: ขะเหฺนย น. หมอนหนุน, ราชาศัพท์ว่า พระเขนย.
(ข. เขฺนิย).
【 เขบ็จขบวน 】แปลว่า: [ขะเบ็ดขะบวน] น. ท่าทาง, ระเบียบ, ชั้นเชิง, ท่วงที.
【 เขบ็ต 】แปลว่า: [ขะเบ็ด] น. ชื่อตัวหมายเสียงอย่างหนึ่งที่ใช้บันทึกเสียงดนตรีสากลมี
๔ ชนิด คือ เขบ็ตชั้นเดียว เขบ็ต ๒ ชั้น เขบ็ต ๓ ชั้น และเขบ็ต ๔ ชั้น.
【 เขม-, เขมา ๑ 】แปลว่า: [เขมะ-, เข-มา] น. เกษม, ความสบายใจ, ความพ้นภัย. (ป.; ส. เกฺษม).
【 เข็ม ๑ 】แปลว่า: น. เหล็กแหลมใช้เย็บผ้าเป็นต้นหรือกลัดสิ่งของ, ของอื่น ๆ ที่มีรูปร่าง
คล้ายเข็ม เช่น เข็มนาฬิกา เข็มฉีดยา; ไม้ที่เสี้ยมให้แหลมหรือวัตถุอื่น
ที่มีลักษณะเช่นนั้นสําหรับฝังเป็นรากสิ่งก่อสร้างกันทรุด, เสาเข็ม ก็ว่า;
เครื่องประดับสําหรับกลัดเป็นเครื่องหมาย เช่น เข็มข้าหลวงเดิม; โดย
ปริยายหมายความว่า จุดมุ่งหมาย เช่น ตั้งเข็มชีวิต.
【 เข็มกลัด 】แปลว่า: น. เครื่องประดับสําหรับกลัดสไบและเสื้อเป็นต้น, เข็มซ่อนปลาย.
【 เข็มขัด 】แปลว่า: น. เครื่องคาดเอวชนิดหนึ่ง, สายรัดเอว.
【 เข็มขัดนิรภัย 】แปลว่า: น. เข็มขัดที่ติดอยู่ที่นั่งในรถยนต์หรือเครื่องบินเพื่อป้องกันไม่ให้
ผู้โดยสารถูกเหวี่ยงกระเด็นจากที่นั่งเมื่อมีอุบัติเหตุ.
【 เข็มควัก 】แปลว่า: น. เข็มที่มีปลายงอเป็นเงี่ยง สําหรับควักด้ายหรือไหมให้เป็นลูกไม้
เป็นต้น.
【 เข็มซ่อนปลาย 】แปลว่า: น. เข็มสําหรับใช้กลัดเสื้อผ้า, เข็มกลัด ก็ว่า.
【 เข็มทิศ 】แปลว่า: น. ชื่อเครื่องชี้บอกทิศ มีเข็มเป็นแม่เหล็กซึ่งปลายข้างหนึ่งชี้ไป
ทางเหนือเสมอ.
【 เข็มหมุด 】แปลว่า: น. เข็มที่มีหัวเป็นปุ่มใช้กลัดกระดาษหรือผ้าเป็นต้น.
【 เข็ม ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล /Ixora/ วงศ์ Rubiaceae ดอกตูมมีลักษณะ
คล้ายเข็ม ดอกมี ๔ กลีบ สีต่าง ๆ เช่น เข็มพวงขาว (/I. finlaysoniana/
Wall. ex G. Don) ดอกสีขาว กลิ่นหอม ใช้ทํายาได้, เข็มเศรษฐี (/I. congesta/
Roxb.) ดอกสีแดง ออกเป็นช่อใหญ่.
【 เข็ม ๓ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กชนิด /Dermogenys pusillus/ ในวงศ์
Hemirhamphidae ปากล่างยื่นยาวแหลม ลําตัวกลมเรียวยาว
คล้ายเข็ม ขอบหางกลม ยาวไม่เกิน ๘ เซนติเมตร ออกลูกเป็นตัว
พบว่ายตามผิวนํ้าในแหล่งนํ้านิ่งทั่วไป. (๒) /ดู กระทุงเหว./
【 เข้ม 】แปลว่า: ว. แรงกล้า เช่น รสเข้ม เหล้าเข้ม; แก่, จัด, (มักใช้แก่สีและรส)
เช่น สีเข้ม.
【 เข้มข้น 】แปลว่า: ว. เข้มมาก, เข้มจัด; ดุเดือด.
【 เข้มแข็ง 】แปลว่า: ก. แข็งแรงในการงาน, ขยันขันแข็ง, ไม่ย่อท้อหวั่นไหว.
【 เข้มงวด 】แปลว่า: ก. กวดขัน, เคร่งครัด.
【 เข้มขาบ 】แปลว่า: น. ผ้าที่ทอควบกับทองแล่งเป็นริ้ว ๆ ตามยาว. (อิหร่าน).
【 เข้มขาบไหม 】แปลว่า: น. ผ้ามัสรู่.
【 เขม็ง 】แปลว่า: [ขะเหฺม็ง] ว. ตึงเครียด; แน่น, แข็ง; อย่างแน่วแน่ เช่น จ้องเขม็ง.
ก. ทำให้ตึง เช่น เขม็งเกลียว.
【 เขม็ดแขม่ 】แปลว่า: [ขะเหฺม็ดขะแหฺม่] ก. กระเหม็ดกระแหม่, ใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง
เพราะเกรงว่าจะไม่พอใช้.
【 เขม่น 】แปลว่า: [ขะเหฺม่น] ก. อาการที่กล้ามเนื้อกระตุกเต้นเบา ๆ ขึ้นเอง ตาม
ความเชื่อโบราณถือว่าเป็นนิมิตบอกเหตุร้ายหรือดีได้, กระเหม่น
ก็ว่า; (ปาก) รู้สึกไม่ชอบหน้า หรือไม่พอใจ.
【 เขม้น 】แปลว่า: [ขะเม่น] ก. เพ่ง, จ้องดู, มุ่งโดยเฉพาะ เช่น ฝ่ายผู้ได้พิจารณาว่า
กล่าวบางคนก็ลำเอียงไปว่าทรัพจะได้เปนหลวง เขม้นว่ากล่าว
กันโชกข่มขี่จเอาแต่ทรัพเปนหลวงจงได้. (สามดวง), มักใช้เข้าคู่
กับคำ มอง เป็น เขม้นมอง หรือ มองเขม้น, (โบ) เขียนเป็น ขเม่น
ก็มี เช่น ขเม่น, คือ คนฤๅสัตวแลดูสิ่งของใด ๆ เพ่งตาดูไม่ใคร่จะ
กพริบ. (ปรัดเล)
【 เขม้นขะมัก 】แปลว่า: [ขะเม่น-] ก. ตั้งใจทําอย่างรีบเร่งเพื่อให้แล้วเสร็จไป, ก้มหน้าก้มตา
ทํา, ขะมักเขม้น ก็ว่า.
【 เขมร ๑ 】แปลว่า: [ขะเหฺมน] น. ชื่อประเทศและชนชาติที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
มีพรมแดนติดต่อกับไทย ลาว และเวียดนาม มีภาษาพูดอยู่ใน
ตระกูลมอญ-เขมร และมีอักษรของตนเองใช้ เรียกว่า อักษรขอม.
【 เขมร ๒ 】แปลว่า: [ขะเหฺมน] น. ชื่อเพลงไทยจําพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า เขมร
เช่น เขมรไทรโยค เขมรโพธิสัตว์ เขมรลออองค์.
【 เขมา ๑ 】แปลว่า: /ดู เขม-/.
【 เขมา ๒ 】แปลว่า: [ขะเหฺมา] น. โกฐเขมา. /(ดู โกฐเขมา ที่ โกฐ)./ (ข. เขฺมา ว่า ดํา).
【 เขม่า 】แปลว่า: [ขะเหฺม่า] น. ละอองดํา ๆ ที่เกิดจากควันไฟหรือดินปืน.
【 เขม่าซาง 】แปลว่า: น. ชื่อโรคชนิดหนึ่งตามตําราแพทย์แผนโบราณ.
【 เขมาโกรย 】แปลว่า: [ขะเหฺมาโกฺรย] น. ชื่อปลาชนิดหนึ่งมีหลังดํา. (ข. ใช้ในความว่า หลังดํา).
(พจน. ๒๔๙๓).
【 เขมือบ 】แปลว่า: [ขะเหฺมือบ] ก. กลืนกินอย่างปลา, กินอย่างตะกละ.
【 เขย 】แปลว่า: น. ชายที่มาแต่งงานกับญาติผู้หญิง, ผัวของญาติ, เช่น ถ้าเป็น
ผัวของลูกสาว เรียก ลูกเขย ถ้าเป็นผัวของป้า เรียก ลุงเขย.
【 เขยก 】แปลว่า: [ขะเหฺยก] ก. อาการที่เดินหรือวิ่งด้วยปลายเท้าอย่างคนเท้าเจ็บ,
อาการที่เดินหรือวิ่งเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งอย่างคนขาพิการ.
【 เขย่ง 】แปลว่า: [ขะเหฺย่ง] ก. ยืนด้วยปลายเท้า, พยุงตัวให้สูงขึ้น.
【 เขย่งก้าวกระโดด 】แปลว่า: น. การแข่งกรีฑาชนิดหนึ่ง ผู้แข่งขันวิ่งจากต้นทางทีละคนจนถึง
เส้นเริ่มที่มีกระดานรองรับ เขย่งเท้าข้างหนึ่งพร้อมกับยันตัวขึ้น
แล้วก้าวด้วยเท้าอีกข้างหนึ่ง ต่อจากนั้นจึงกระโดด ใครกระโดด
ได้ไกลที่สุดเป็นผู้ชนะ.
【 เขย่งเก็งกอย 】แปลว่า: ก. กระโดดตีนเดียว. น. ชื่อการเล่นของเด็กอย่างหนึ่ง.
【 เขยตาย 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Glycosmis pentaphylla/ (Retz.) Correa ในวงศ์
Rutaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นตามชายป่าและริมหมู่บ้าน สูงประมาณ
๒ เมตร ผลกลมขนาดราวปลายนิ้วก้อย สุกสีชมพูเรื่อ ๆ รสหวาน
กินได้ รากใช้ทํายา, กระรอกน้ำข้าว กระโรกนํ้าข้าว หรือ นํ้าข้าว
ก็เรียก, พายัพและอีสานเรียก ส้มชื่น.
【 เขย้อแขย่ง 】แปลว่า: [ขะเย่อขะแหฺย่ง] ก. ตะเกียกตะกายจะให้ตัวสูงขึ้น, ออกเสียงว่า
ขะเย้อขะแหย่ง ก็มี.
【 เขยอะขยะ 】แปลว่า: [ขะเหฺยอะขะหฺยะ] ว. เหนอะหนะ, ติดรุงรัง.
【 เขย่า 】แปลว่า: [ขะเหฺย่า] ก. อาการที่จับสิ่งใดสั่นหรือยกขึ้นยกลงเร็ว ๆ เพื่อให้
สิ่งนั้นกระเทือนหรือเคลื่อนไหว เช่น เขย่าตัวเพื่อให้ตื่น เขย่าขวด
เพื่อให้ยาระคนกัน เขย่ากิ่งไม้เพื่อให้ลูกไม้หล่น, กระเทือน, ทําให้
กระเทือน, เช่น รถเขย่า เกวียนเขย่า, โดยปริยายหมายถึงอาการ
ที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เขย่าขวัญ เขย่าโลก.
【 เขยิน 】แปลว่า: [ขะเหฺยิน] ก. ยื่นออกมา เช่น ฟันเขยิน, เผยอขึ้น เช่น ไม้เขยิน
ตะปูเขยิน.
【 เขยิบ 】แปลว่า: [ขะเหฺยิบ] ก. ขยับเลื่อนไปเล็กน้อย.
【 เขยิบขยาบ 】แปลว่า: [-ขะหฺยาบ] ว. พะเยิบพะยาบ.
【 เขยิบฐานะ 】แปลว่า: ก. เลื่อนฐานะสูงขึ้น.
【 เขยียวขยอน 】แปลว่า: [ขะเหฺยียวขะหฺยอน] ว. สนั่น, หวั่นไหว, เกรียวกราว. (ข. เขฺญียวขฺญาร
ว่า เจื้อยแจ้ว).
【 เขยื้อน 】แปลว่า: [ขะเยื่อน] ก. ไหวตัวหรือเคลื่อนที่ไปเล็กน้อย, ทําให้ไหวตัวหรือให้
เคลื่อนที่ไปเล็กน้อย.
【 เขรอะ, เขลอะ 】แปลว่า: [เขฺรอะ, เขฺลอะ] ว. เป็นตะกอนทับถมอย่างของที่นอนก้นซับซ้อนอยู่
เช่น ตะกอนเขรอะ, เกรอะ ก็ว่า; เลอะเทอะ เช่น รองเท้าเปื้อนโคลน
เขลอะ. ก. จับหรือเกาะซับซ้อนกันอยู่ เช่น สนิมเขรอะ ฝุ่นเขลอะ.
【 เขลง ๑ 】แปลว่า: [เขฺลง] ว. ทอดอารมณ์อย่างสบาย (ใช้แก่กริยานอน).
【 เขลง ๒ 】แปลว่า: [เขฺลง] /ดู หยี ๒/.
【 เขละ 】แปลว่า: [เขฺละ] ว. เละ, เละเทะ, เกะกะ, ไม่เป็นระเบียบ, เขละขละ ก็ว่า.
【 เขลา 】แปลว่า: [เขฺลา] ว. ขาดไหวพริบ, รู้ไม่ถึง, รู้ไม่เท่าทัน, ไม่เฉียบแหลม,
ไม่ฉลาด. (ข.).
【 เขลาะ 】แปลว่า: [เขฺลาะ] ว. กําเลาะ, หนุ่ม, สาว. (ข. เขฺลาะ ว่า หนุ่ม).
【 เขว 】แปลว่า: [เขฺว] ว. เหไปนอกทาง, ผิดทาง, ไม่ตรงทาง.
【 เขษตร 】แปลว่า: ขะเสด น. เกษตร, ทุ่ง, นา, ไร่.
【 เขษม 】แปลว่า: [ขะเสม] น. เกษม, ความสบายใจ, ความพ้นภัย. (ป. เขม; ส. เกษม).
【 เขษียร 】แปลว่า: ขะเสียน น. เกษียร, นํ้านม.
【 เขฬะ 】แปลว่า: [เข-ละ] น. นํ้าลาย, ราชาศัพท์ว่า พระเขฬะ. (ป.).
【 เขะขะ 】แปลว่า: ว. เกะกะ, กีดขวาง.
【 เขา ๑ 】แปลว่า: น. เนินที่นูนสูงขึ้นไปเป็นจอมเด่น.
【 เขามอ 】แปลว่า: น. เขาจําลองที่ทําไว้ดูเล่นในบ้านเป็นต้น.
【 เขา ๒ 】แปลว่า: น. สิ่งที่งอกออกมาจากหัวสัตว์บางพวก มีลักษณะแข็ง.
【 เขากวาง ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อขวากชนิดหนึ่งทําด้วยต้นไม้หรือกิ่งไม้ เสี้ยมปลายให้แหลม
เพื่อกีดขวางข้าศึก.
【 เขากวางอ่อน 】แปลว่า: น. เขากวางที่งอกใหม่หลังผลัดเขา มีหนังอ่อนนุ่มหุ้ม มีขนสั้น
สีน้ำตาลเป็นมัน นิยมใช้ทำยา.
【 เขา ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อนกในวงศ์ Columbidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกลุมพูและนกพิราบ
ขนสีนํ้าตาล บางชนิดออกสีนํ้าตาลแดง ลําตัวมีลาย มักอยู่เป็นคู่หรือ
เป็นฝูง หากินเมล็ดพืชบนพื้นดิน ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น เขาใหญ่
หรือ เขาหลวง (/Streptopelia chinensis/) เขาไฟ (/S. tranquebarica/)
เขาชวา(/Geopelia striata/). เขาเปล้า /ดู เปล้า ๒./
【 เขา ๔ 】แปลว่า: ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
【 เขา ๕ 】แปลว่า: น. เถาวัลย์ เช่น เครือเขา.
【 เข่า 】แปลว่า: น. ส่วนที่ต่อระหว่างขาส่วนบนกับขาส่วนล่าง สําหรับคู้ขาเข้าและ
เหยียดขาออก เช่น คุกเข่า ตีเข่า ขึ้นเข่า, ราชาศัพท์ว่า พระชานุ.
【 เข่าลอย 】แปลว่า: น. ท่าต่อสู้ของกีฬามวยไทยโดยกระโดดให้ตัวลอยแล้วใช้เข่า
กระแทกคู่ต่อสู้.
【 เข่าลา 】แปลว่า: น. อาการที่เอาเข่าเดาะโดยงอเข่าแต่น้อย.
【 เข่าอ่อน 】แปลว่า: ก. อาการที่เข่าหมดกําลังทรุดลง, โดยปริยายหมายถึงอาการ
หมดแรงเพราะรู้เรื่องที่ทำให้เสียใจเป็นต้นในทันทีทันใด.
【 เข้า ๑ 】แปลว่า: ก. อาการที่เคลื่อนไปข้างในหรือทําให้เคลื่อนไปข้างใน เช่น เข้าบ้าน
เข้าถํ้า เอาหนังสือเข้าตู้; เคลื่อนมาสู่ที่, มาถึง, เช่น รถด่วนเข้า ๑๐
โมง; ใส่, บรรจุ, เช่น เข้าหีบ; ประสม, แทรก, เช่น เข้ายาดำ; รวม เช่น
เข้าหุ้น เข้าทุน; รวมเป็นพวก เช่น เข้าพรรค เข้าแถว เข้าข้าง; ถูกกัน,
ลงรอยกัน, ทําให้ลงรอยกัน, เหมาะเจาะ, เช่น เสียงเข้ากัน สีเข้ากัน
เข้าไม้; เคลื่อนมาสู่ เช่น พระศุกร์เข้า; สิง เช่น เจ้าเข้า ผีเข้า; เริ่ม เช่น
เข้าเรียน, เริ่มทํางาน เช่น โรงเรียนเข้า; เริ่มอยู่ในภาวะ เช่น เข้าโรงเรียน
เข้าทํางาน. ว. ตรงข้ามกับ ออก เช่น ทางเข้า ขาเข้า; ใช้ประกอบคําอื่น
แสดงความหมายเร่งรัดหรือเน้นความว่า มากขึ้น เช่น เร็วเข้า คิดเข้า
หนักเข้า ดึกเข้า นานเข้า.
【 เข้ากรรม 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) ก. อยู่ไฟ.
【 เข้ากระโจม 】แปลว่า: ก. เข้าไปอยู่ในผ้าที่ทําเป็นกระโจมเพื่ออบให้เหงื่อออก, เข้าไปอบ
ควันยาในกระโจม.
【 เข้ากระดูกดำ 】แปลว่า: ว. ติดแน่นจนถอนไม่ขึ้นหรือไม่รู้ลืม.
【 เข้าเกณฑ์ 】แปลว่า: ก. เข้าหลักที่กําหนดไว้ เช่น อายุเข้าเกณฑ์.
【 เข้าเกียร์ 】แปลว่า: ก. ผลักคันเกียร์ให้เข้าที่เพื่อเปลี่ยนระดับความเร็วของเครื่องยนต์.
【 เข้าโกศ 】แปลว่า: ก. บรรจุศพลงในโกศ, ลงโกศ ก็ว่า.
【 เข้าข้อ 】แปลว่า: น. อาการของโรคชนิดหนึ่งให้เมื่อยขัดอยู่ในข้อ; กามโรคที่เรื้อรัง
มาจนถึงทําให้ปวดตามข้อกระดูก, มักใช้เข้าคู่กับคำ ออกดอก
เป็น เข้าข้อออกดอก.
【 เข้าขา 】แปลว่า: ว. สอดคล้องกัน, ไปกันได้ดี, เช่น นักเทนนิสคู่นี้เล่นเข้าขากันได้ดี.
【 เข้าข้าง 】แปลว่า: ก. เข้าเป็นฝ่าย.
【 เข้าคอ 】แปลว่า: ก. ประพฤติให้ถูกใจกันได้, มีความประพฤติถูกกัน, ไม่ขัดคอกัน.
【 เข้าคิว 】แปลว่า: ก. เข้าแถวตามลําดับมาก่อนมาหลัง.
【 เข้าคู่ 】แปลว่า: ก. เอาไพ่ตอง ๒ ใบที่เหมือนกันมาเข้าชุดกันเป็น ๑ คู่; ไปด้วยกัน
ได้อย่างดี.
【 เข้าเครื่อง 】แปลว่า: ก. สวมใส่เครื่องแต่งตัวโขน ละคร ลิเกตัวสําคัญ ๆ; คําพูดสําหรับ
ว่าว หมายความว่า ผูกเหนียง ผูกติ่ง, ถ้าสายป่านของว่าวปักเป้า
ตรงช่วงสายเหนียงติดเครื่อง คือ ติดเหนียงและติ่ง เรียกว่า เหนียง
เข้าเครื่อง, ถ้าสายป่านของว่าวจุฬาติดจำปา เรียกว่า ป่านเข้าเครื่อง.
【 เข้าเค้า 】แปลว่า: ก. เหมาะกับรูปร่าง เค้าหน้า หรือ กิริยาท่าทาง, เหมาะกับเรื่องราว
หรือเหตุผล.
【 เข้าไคล 】แปลว่า: ก. ลักษณะมะม่วงที่แก่มีนวล มีเมล็ดแข็ง, โดยปริยายหมายความว่า
จวนจะรู้ผล, ใกล้จะสำเร็จ.
【 เข้าเงียบ 】แปลว่า: ก. ประพฤติสงบจิตใจอยู่ในที่สงัดตามลัทธิคริสต์ศาสนา.
【 เข้าแง่ 】แปลว่า: ก. ถูกที่เหมาะ, ถูกที่สําคัญ.
【 เข้าเจ้า 】แปลว่า: ก. ทําพิธีให้เจ้ามาสิงในกาย, ตัวผู้ทําพิธีให้เจ้ามาสิงนั้น เรียกว่า
”คนทรง”, มักใช้เข้าคู่กับคำ เข้าทรง เป็น เข้าเจ้าเข้าทรง.
【 เข้าเจ้าเข้านาย 】แปลว่า: ก. รู้จักธรรมเนียมเข้าเฝ้าเจ้านาย และเข้าไปหาผู้หลักผู้ใหญ่
อย่างเหมาะสม.
【 เข้าใจ 】แปลว่า: ก. รู้เรื่อง, รู้ความหมาย.
【 เข้าชื่อ 】แปลว่า: ก. ลงชื่อร่วมกันหลาย ๆ คน เพื่อร้องเรียนหรือแสดงความจํานง.
【 เข้าฌาน 】แปลว่า: ก. ทําใจให้สงบตามหลักทางศาสนา, โดยปริยายหมายถึงนั่งหลับ
หรือนั่งเหม่อใจลอยไม่รับรู้อะไร. /(ดู ฌาน)./
【 เข้าด้ายเข้าเข็ม 】แปลว่า: (สํา) ว. จวนจะสำเร็จ ถ้าทำผิดพลาดหรือมีอะไรมาขัดจังหวะ
แม้เพียงเล็กน้อยก็เสียการ.
【 เข้าเดือย 】แปลว่า: ก. นําไม้ ๒ อัน โดยอันหนึ่งทําให้เป็นเดือย อีกอันหนึ่งเจาะรู
ให้พอเหมาะกัน มาประกบให้ประสานกันพอดี.
【 เข้าตรีทูต 】แปลว่า: ว. มีอาการหมดความรู้สึกเมื่อใกล้จะตาย, อาการหนักปางตาย.
【 เข้าตอง 】แปลว่า: ก. เอาไพ่ตอง ๓ ใบที่เหมือนกันมาเข้าชุดกันเป็น ๑ ตอง.
【 เข้าตัว 】แปลว่า: ก. อาการที่อาคม ของขลัง หรือถ้อยคําที่ปรารถนาจะกระทําหรือ
พูดให้ร้ายแก่ผู้อื่น แล้วย้อนกลับมาโดนตัวเอง, ไม่พ้นตัว เช่น
พูดเข้าตัว.
【 เข้าตา 】แปลว่า: ก. เห็นว่าดีและพอใจ เช่น เข้าตากรรมการ.
【 เข้าตาจน 】แปลว่า: ก. หมดทางไป, หมดทางที่จะแก้ไข, หมดหนทางหากิน.
(มาจากภาษาหมากรุก).
【 เข้าตามตรอกออกตามประตู 】แปลว่า: (สํา) ก. ทําตามธรรมเนียมในเรื่องการสู่ขอ.
【 เข้าตาร้าย 】แปลว่า: ก. ถึงคราวเดือดร้อน.
【 เข้าตำรา 】แปลว่า: ก. ถูกแบบแผน, ตรงตามแบบอย่างที่เคยมีมา, ถูกกับเรื่องราว
ที่เคยเล่ากันมา.
【 เข้าตู้ 】แปลว่า: (ปาก) ก. ลืมวิชาความรู้ที่ได้เรียนมา ใช้พูดว่า “วิชาเข้าตู้” ซึ่ง
หมายความว่า วิชาที่เคยจําได้นั้นบัดนี้ลืมหมดแล้ว ยังคงอยู่แต่ใน
ตําราที่เก็บไว้ในตู้.
【 เข้าไต้เข้าไฟ 】แปลว่า: ว. เริ่มมืดต้องใช้แสงไฟ, พลบ, ใช้ว่า เวลาเข้าไต้เข้าไฟ.
【 เข้าถ้ำ 】แปลว่า: น. ชื่อตะเข็บเย็บผ้าชนิดหนึ่ง ซึ่งเย็บซ่อนตะเข็บไว้ข้างใน.
【 เข้าถึง 】แปลว่า: ก. เข้าใจอย่างซาบซึ้ง เช่น เข้าถึงบท เข้าถึงวรรณคดี, เข้าใกล้ชิด
สนิทสนมเพื่อจะได้รู้ซึ้งถึงชีวิตจิตใจและความต้องการเป็นต้น เช่น
เข้าถึงประชาชน.
【 เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า 】แปลว่า: (สํา) ก. ให้มีความรอบคอบอย่าประมาท เช่นเดียวกับเวลาจะเข้าป่า
จะต้องหามีดติดตัวไปด้วย.
【 เข้าทรง 】แปลว่า: ก. อาการที่เจ้าเข้าสิงในตัวคนทรง, มักใช้เข้าคู่กับคำ เข้าเจ้า เป็น
เข้าเจ้าเข้าทรง.
【 เข้าท่า 】แปลว่า: ก. มีท่าทางดี, น่าดูไม่ขัดตา, เหมาะสม.
【 เข้าทาง 】แปลว่า: ก. ตรงตามที่ต้องการ, ตรงตามที่ถนัด.
【 เข้าที 】แปลว่า: ก. มีท่วงทีดี, มีชั้นเชิงดี, มีท่าทีจะสําเร็จ.
【 เข้าที่ 】แปลว่า: ก. นั่งภาวนากรรมฐาน (ทางพระศาสนา); กลับเหมือนเดิม เช่น
ซ้อมจนเข้าที่; นอน ใช้ในราชาศัพท์ พูดเต็มว่า เข้าที่บรรทม.
【 เข้าที่เข้าทาง 】แปลว่า: ก. จัดให้เป็นระเบียบ, จัดให้เรียบร้อย, เช่น จัดข้าวของให้เข้าที่เข้าทาง.
【 เข้าทุน 】แปลว่า: ก. รวมทุนกันเพื่อทํากิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง.
【 เข้านอกออกใน 】แปลว่า: ก. สนิทสนมกับเจ้าของสถานที่เป็นพิเศษ จนสามารถเข้าไปถึง
ข้างในได้ตลอดเวลา.
【 เข้าเนื้อ 】แปลว่า: ก. ขาดทุน, เสียทรัพย์ไป; เสียหาย, เสียเปรียบ, เช่น พูดให้เข้าเนื้อ;
เข้าเลือด หรือ เข้าเลือดเข้าเนื้อ ก็ว่า.
【 เข้าแบบ, เข้าแบบเข้าแผน 】แปลว่า: ก. ถูกต้องตามแบบแผน, เป็นไปตามแบบ เช่น ตัวละครเข้าแบบ.
【 เข้าปก 】แปลว่า: ก. เย็บปกหนังสือ.
【 เข้าปริวาส, เข้าปริวาสกรรม 】แปลว่า: ก. เข้าปฏิบัติปริวาสกรรมให้ครบตามวันที่กำหนด (ใช้แก่ภิกษุ
ผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส), อยู่กรรม หรือ อยู่ปริวาส ก็ว่า.
【 เข้าปากไม้ 】แปลว่า: ก. นำไม้ตั้งแต่ ๒ ชิ้นมาบากหรือเจาะตรงปลายแล้วประกอบ
เข้าด้วยกัน ใช้ลูกสลักไม้หรือปลิงเหล็กยึดปลายนั้นให้แน่น.
【 เข้าปิ้ง 】แปลว่า: ก. อาการที่ว่าวปักเป้าติดสายป่านว่าวจุฬาแล้วกระดิกไม่ไหว;
อยู่ในความลําบากแก้ไขยาก, (ปาก) ถูกจับกุมคุมขัง, เข้าข่าย
มีความผิดไปด้วย.
【 เข้าปีก 】แปลว่า: ก. อาการที่เอาต้นแขนของคนเมาเป็นต้นขึ้นพาดบ่าพยุงไป.
【 เข้าไป 】แปลว่า: ว. ใช้ประกอบกิริยาแสดงการหนุนให้ทํา เช่น เตะเข้าไป กินเข้าไป.
【 เข้าผี 】แปลว่า: ก. ทําพิธีให้ผีเข้าสิงในตัว.
【 เข้าผู้เข้าคน 】แปลว่า: ก. ติดต่อกับคนอื่น ๆ ได้ดี.
【 เข้าฝัก 】แปลว่า: ก. ชํานาญจนอยู่ตัวแล้ว.
【 เข้าฝัน 】แปลว่า: ก. มาบันดาลให้ฝันเห็น.
【 เข้าเฝ้า 】แปลว่า: ก. ไปหาเจ้านาย.
【 เข้าเฝือก 】แปลว่า: ก. เอาเฝือกประกับแขนหรือขาเป็นต้นที่เดาะหักเพื่อให้ปรกติ.
【 เข้าพกเข้าห่อ 】แปลว่า: ก. เอาไว้เป็นส่วนของตัว, รู้จักเก็บไว้บ้าง, รู้จักเก็บไม่ใช้สุรุ่ยสุร่าย.
【 เข้าพรรษา 】แปลว่า: น. เรียกวันที่พระสงฆ์เริ่มเข้าจําพรรษา คือ วันแรม ๑ คํ่า เดือน ๘
ว่า วันเข้าพรรษา. ก. เข้าอยู่ประจําที่ ๓ เดือนในฤดูฝน
(ใช้แก่พระสงฆ์).
【 เข้าพระเข้านาง 】แปลว่า: ก. แสดงบทเกี้ยวพาราสี.
【 เข้าพุง 】แปลว่า: (ปาก) ก. (โบ) จําได้แม่นยําจนไม่ต้องอาศัยตําราสอบทาน;
ใช้ในความว่า ลืมความรู้ที่ได้เล่าเรียนมาหมด ก็มี.
【 เข้าม่าน 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
【 เข้ามุม 】แปลว่า: ก. นำไม้ ๒ ชิ้นมาประกอบเป็นมุม โดยตกแต่งอันหนึ่งให้เป็นเดือย
รูปสามเหลี่ยม ๒ เดือย ส่วนอีกอันหนึ่งเจาะให้เป็นช่องรูปสามเหลี่ยม
๒ ช่อง มีขนาดพอที่จะสวมกันได้สนิท.
【 เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม 】แปลว่า: (สํา) ก. ประพฤติตนตามที่คนส่วนใหญ่ประพฤติกัน.
【 เข้าไม้ 】แปลว่า: ก. นําไม้ตั้งแต่ ๒ ชิ้นขึ้นไปมาบากรับแล้วประกอบเข้าด้วยกัน
ยึดไม้นั้นให้แน่นอยู่ในรูปแบบที่ต้องการด้วยการตอกตะปูหรือ
ตอกอัดด้วยลูกสลักไม้ การต่อหรือประกอบอาจทำได้หลายวิธี.
【 เข้ายา 】แปลว่า: ก. เป็นประโยชน์, ใช้การได้, เปรียบกับวัตถุหรือพืชที่ทํายาได้.
【 เข้ารกเข้าพง 】แปลว่า: (สํา) ก. พูดหรือทําไม่ถูกต้องกับเรื่อง เพราะขาดความชํานาญ
ในเรื่องนั้น.
【 เข้ารหัส 】แปลว่า: ก. เปลี่ยนสารธรรมดาให้เป็นสารลับด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง เช่น เปลี่ยน
ตัวอักษรอื่นแทนอักษรที่ต้องการจะใช้ หรือสลับตําแหน่งอักษร
ของข้อความนั้น หรือใช้สัญลักษณ์แทนซึ่งรู้กันเฉพาะผู้ที่รู้กุญแจ
รหัสเท่านั้น.
【 เข้าร่องเข้ารอย, เข้ารอย 】แปลว่า: ว. ถูกทาง.
【 เข้ารอบ 】แปลว่า: ก. เข้าเกณฑ์ที่กําหนดไว้, ได้รับคัดเลือกไว้.
【 เข้ารางลิ้น 】แปลว่า: ก. นำไม้อันหนึ่งที่ทำให้เป็นร่องยาวมาประกบกับไม้อีกอันหนึ่งที่ทำ
ให้เป็นลิ้นยาวไปตามตัวไม้ให้เข้ากันสนิทพอดี, พูดสั้น ๆ ว่า เข้าลิ้น.
【 เข้าร้าย 】แปลว่า: (โบ) ก. ตกอยู่ในฐานะไม่ดี.
【 เข้ารีต 】แปลว่า: ว. เปลี่ยนไปถือศาสนาอื่น. น. เรียกผู้เปลี่ยนไปถือคริสต์ศาสนา
ส่วนใหญ่เป็นนิกายโรมันคาทอลิกว่า ผู้เข้ารีต เช่น ญวนเข้ารีต.
【 เข้ารูป 】แปลว่า: ก. พอเหมาะ, พอดีตัว, เช่น เสื้อเข้ารูป.
【 เข้ารูปเข้ารอย 】แปลว่า: ก. ถูกกับแบบแผน.
【 เข้าเรื่อง 】แปลว่า: ว. ตรงประเด็นของเรื่อง; มีสาระ, ได้เรื่องได้ราว; มักใช้ในความปฏิเสธ
เช่น พูดไม่เข้าเรื่อง ทำไม่เข้าเรื่อง.
【 เข้าโรง 】แปลว่า: ก. กลับเข้าไปหลังฉากเมื่อตัวละครแสดงจบบทแล้ว.
【 เข้าล็อก 】แปลว่า: ก. เป็นไปตามที่คาดหมาย.
【 เข้าลิ้น 】แปลว่า: ก. นำไม้อันหนึ่งที่ทำให้เป็นร่องยาวมาประกบกับไม้อีกอันหนึ่ง
ที่ทำให้เป็นลิ้นยาวไปตามตัวไม้ให้เข้ากันสนิทพอดี, พูดเต็มว่า
เข้ารางลิ้น.
【 เข้าลิลิต 】แปลว่า: ก. สัมผัสคำระหว่างบทตามแบบการแต่งลิลิตที่กำหนดไว้ใน
ตำราฉันทลักษณ์ เช่นคำ “สม” กับ ”สนม” ในตัวอย่างต่อไปนี้
จำใจจรจากสร้อย อยู่แม่อย่าละห้อย
ห่อนช้าคืนสม แม่แลฯ
สามสนมสนองนารถไท้ ทูลสาร
พระจักจรจากสถาน ถิ่นท้าว
เสด็จแดนทุระกันดาร ใดราช เสนอนา
ฤๅพระรานเสน่ห์ร้าว ด่วนร้างแรมไฉนฯ
(ตะเลงพ่าย).; เรียกคำที่เติม เอศ ข้างท้าย
เพื่อทำคำสุภาพให้เป็นคำเอกตามข้อบังคับโคลงว่า ศ เข้าลิลิต.
【 เข้าเล่ม 】แปลว่า: ก. เรียงหน้าหนังสือให้เป็นลําดับเพื่อเย็บเป็นเล่ม เรียกว่า
เข้าเล่มหนังสือ.
【 เข้าเลือด, เข้าเลือดเข้าเนื้อ 】แปลว่า: ก. เข้าเนื้อ.
【 เข้าโลง 】แปลว่า: (ปาก) ก. ตาย.
【 เข้าวัดเข้าวา 】แปลว่า: ก. ไปวัดเพื่อฟังเทศน์ฟังธรรม, ไปอยู่ที่วัดเพื่อปฏิบัติธรรม,
ประพฤติตนอยู่ในศีลในธรรม.
【 เข้าว่า 】แปลว่า: ว. เป็นสำคัญ เช่น เอามากเข้าว่า.
【 เข้าเวร 】แปลว่า: ก. เข้าอยู่รักษาหน้าที่ตามเวลาที่กะกันไว้.
【 เข้าแว่น 】แปลว่า: ก. ถึงวัยหรือเวลาที่ต้องสวมแว่นตา.
【 เข้าเศียร 】แปลว่า: ก. เอาไพ่ตอง ๓ ใบพวกเดียวกันแต่ไม่เหมือนกันมาเข้าชุดกัน
เป็น ๑ เศียร.
【 เข้าสมาธิ 】แปลว่า: [-สะมาทิ] ก. ทําจิตให้แน่วแน่อย่างเข้าฌาน.
【 เข้าสิง 】แปลว่า: ก. อาการที่เชื่อกันว่าผีเข้าแทรกอยู่ในตัวคน เช่น เขาถูกผีเข้าสิง,
โดยปริยายหมายความว่าครอบงำ เช่น เขาถูกผีการพนันเข้าสิง.
【 เข้าสุหนัต 】แปลว่า: ก. เข้าพิธีขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายตามข้อกำหนด
ในศาสนาอิสลาม.
【 เข้าใส่ 】แปลว่า: ว. ตรงเข้าไปโดยเร็ว เช่น กรากเข้าใส่ รี่เข้าใส่.
【 เข้าไส้ 】แปลว่า: (ปาก) ว. ถึงอกถึงใจ เช่น นักมวยคู่นี้ชกกันมันเข้าไส้; มากที่สุด
เช่น เกลียดเข้าไส้.
【 เข้าหน้า 】แปลว่า: ก. เผชิญหน้า เช่น ไม่กล้าเข้าหน้า.
【 เข้าหม้อ 】แปลว่า: (ปาก) ก. ลืมวิชาความรู้ที่ได้เรียนมา.
【 เข้าหลัก 】แปลว่า: ก. ถูกแบบ, ถูกตํารา, บางทีใช้ว่า เข้าหลักเข้าเกณฑ์.
【 เข้าหา 】แปลว่า: ก. ไปให้เห็นหน้า, ไปอ่อนน้อม เช่น เรื่องนี้ต้องเข้าหาผู้ใหญ่;
ลอบเข้าห้องหญิงเพื่อการชู้สาว.
【 เข้าหุ้น 】แปลว่า: ก. รวมทุนเข้าด้วยกันเพื่อหาผลประโยชน์.
【 เข้าหู 】แปลว่า: ก. มาให้ได้ยิน (ใช้สําหรับเรื่องราวหรือข่าวคราว) เช่น เรื่องนี้
เข้าหูฉันบ่อย ๆ. ว. น่าฟัง (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น พูดไม่เข้าหู.
【 เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา 】แปลว่า: (สํา) ก. บอกหรือสอนไม่ได้ผล.
【 เข้าให้ 】แปลว่า: ว. เน้นความเพื่อแสดงกริยาข้างหน้าให้มีนํ้าหนักขึ้นและเฉพาะ
เจาะจง เช่น ด่าเข้าให้ ชกเข้าให้.
【 เข้าไหนเข้าได้ 】แปลว่า: ก. สามารถติดต่อหรือคบหาสมาคมกับใคร ๆ ได้.
【 เข้า ๒ 】แปลว่า: (โบ) น. ข้าว; ขวบปี.
【 เขากวาง ๑ 】แปลว่า: /ดูใน เขา ๒/.
【 เขากวาง ๒ 】แปลว่า: /ดู ปะการัง/.
【 เขาแกะ 】แปลว่า: น. ชื่อกล้วยไม้ชนิด /Rhynchostylis coelestis/ Rchb.f. ในวงศ์ Orchidaceae
ใบโค้ง ๆ คล้ายเขาแกะ ดอกสีฟ้าอมม่วง.
【 เข้าหมิ้น 】แปลว่า: (โบ) น. ขมิ้น.
【 เขิง 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องสานสําหรับร่อนสิ่งของหรือช้อนกุ้งปลาเป็นต้น
มีลักษณะเป็นรูปกลม ก้นลึก ช่องตาถี่, ภาคกลางเรียกว่า ตะแกรง.
【 เขิน ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อคนไทยใหญ่เผ่าหนึ่ง ส่วนมากอยู่ในแคว้นฉาน ประเทศพม่า;
เครื่องสานที่ทำจากผิวไม้ไผ่ ซึ่งนำมาเรียดแล้วทำเป็นโครง ฉาบด้วย
รักสมุกหรือรักชาดเพื่อกันน้ำรั่วซึม ไทยได้รับวิธีการทำมาจากไทยเขิน
ซึ่งอยู่ในยูนนานตอนใต้ จึงเรียกว่า เครื่องเขิน.
【 เขิน ๒ 】แปลว่า: ว. ตื้นสูงเป็นเนินขึ้นมา (ใช้แก่พื้นที่ในแม่นํ้า ลําคลอง หนอง บึง
เป็นต้น), มักใช้ว่า ตื้นเขิน เช่น แม่นํ้าตื้นเขิน; สั้นหรือสูงเกินไป
จนดูขัดตา เช่น นุ่งผ้าเขิน.
【 เขิน ๓, เขิน ๆ 】แปลว่า: ว. วางหน้าไม่สนิท, รู้สึกกระดากอาย; เข้ากันไม่สนิท เช่น ข้อความ
ตอนนี้ฟังเขิน ๆ อยู่.
【 เขิบ 】แปลว่า: (ถิ่น) ว. ดอน, เขิน.
【 เขี่ย 】แปลว่า: ก. ใช้ไม้หรือสิ่งอื่น ๆ ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเคลื่อนที่ไป เช่น เขี่ยฟุตบอล
เขี่ยสวะ; ค่อย ๆ สะกิดออก เช่น เขี่ยผงที่ลูกตา เอาก้านพลูเขี่ยตา;
สะกิด เช่น เอานิ้วเขี่ยหลัง; คุ้ยเขี่ยให้ไฟกลับลุกขึ้นอีก เช่น เขี่ยขี้ไต้
เขี่ยขี้เถ้า, เอานิ้วเคาะหรือดีดบุหรี่หรือเอาบุหรี่เคาะที่สิ่งอื่นเพื่อให้ขี้บุหรี่
ร่วง เรียกว่า เขี่ยบุหรี่; ขีดไปขีดมาหรือปัดไปปัดมาเพื่อให้กระจายออก
เช่น เขี่ยดินเพื่อหาของที่ตกอยู่ในดิน ไก่เขี่ยดินหาอาหาร; (ปาก) เขียน
หรือวาดอย่างหวัด ๆ เช่น ช่วยเขี่ย ๆ ประวัติเรื่องนี้ให้หน่อยเถอะ
ลายมือเป็นไก่เขี่ย; ปัดไปให้พ้น เช่น ถูกเขี่ยออกไป.
【 เขียง 】แปลว่า: น. ไม้รองรับการสับ หั่น มักเป็นแผ่นกลม ๆ; กระทงจำลองสร้างไว้
บนบกสำหรับฝึกฝีพายที่พายเรือพระราชพิธี.
【 เขียงเท้า 】แปลว่า: น. รองเท้าไม้.
【 เขียงพระนางอี่, เขียงพร้า 】แปลว่า: /ดู เฉียงพร้านางแอ/.
【 เขียด 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกในวงศ์ Ranidae ซึ่งเป็นวงศ์
เดียวกับกบแต่มักมีขนาดเล็กกว่า ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น
เขียดอ๋อง (/Rana nigrovittata/) เขียดหลังขาว . (/R. limnocharis/)
【 เขียดตะปาด 】แปลว่า: /ดู ปาด ๒/
【 เขียน 】แปลว่า: ขีดให้เป็นตัวหนังสือหรือเลข, ขีดให้เป็นเส้นหรือรูปต่าง ๆ, วาด,
แต่งหนังสือ.
【 เขียนด้วยมือลบด้วยตีน 】แปลว่า: (สํา) ก. ยกย่องแล้วกลับทําลายในภายหลัง.
【 เขียนทอง 】แปลว่า: น. เรียกผ้าลายแต้มทองสําหรับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายทรง.
【 เขียนไทย 】แปลว่า: น. วิชาเขียนภาษาไทยตามคําบอกของครู เพื่อฝึกเขียนตัวสะกด
การันต์ให้ถูกต้อง, เขียนตามคำบอก ก็ว่า.
【 เขียนเสือให้วัวกลัว 】แปลว่า: (สํา) ก. ทําอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียขวัญหรือ
เกรงขาม.
【 เขี่ยน 】แปลว่า: ก. ข่วน, ขีด, เช่น ถูกหนามเขี่ยน.
【 เขียม 】แปลว่า: (ปาก) ว. ประหยัด, กระเหม็ดกระแหม่. (จ.).
【 เขียว ๑ 】แปลว่า: (โบ) ก. รีบไป, รีบมา, เคียว หรือ เครียว ก็ใช้.
【 เขียว ๒ 】แปลว่า: ว. มีสีอย่างสีใบไม้สด, บางทีหมายถึงเขียวครามด้วย เช่น สุดหล้า
ฟ้าเขียว โกรธจนหน้าเขียว;กลิ่นเหม็นอย่างกลิ่นใบไม้สดบางชนิด
เรียกว่า เหม็นเขียว.
【 เขียวขี้ม้า 】แปลว่า: ว. สีกากีแกมเขียว.
【 เขียวไข่กา 】แปลว่า: น. ชื่อชามสมัยก่อน สีเขียวปนครามอ่อน ๆ รูปก้นสอบ ปากผาย.
ว. มีสีอย่างสีเขียวปนครามอ่อน ๆ.
【 เขียว ๆ แดง ๆ 】แปลว่า: (สำ) น. กลุ่มผู้หญิงที่แต่งตัวหลากสี เช่น ไปดูเขียว ๆ แดง ๆ
นอกบ้านเสียบ้าง.
【 เขียวหวาน ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อแกงเผ็ดที่ใช้พริกขี้หนูสดแทนพริกแห้ง.
【 เขียว ๓ 】แปลว่า: น. ชื่องูสีเขียวหลายชนิดและหลายวงศ์ เช่น เขียวพระอินทร์
(/Chrysopelea ornata/) ในวงศ์ Colubridae ลําตัวเรียวยาว
อาศัยตามต้นไม้และชายคาบ้านเรือน ออกหากินเวลากลางวัน
มีพิษอ่อนมาก, เขียวหางไหม้ท้องเหลือง (/Trimeresurus albolabris/)
ในวงศ์ Viperidae ลําตัวอ้วนสั้น หางแดง ออกหากินเวลากลางคืน
มีพิษอ่อนแต่เป็นอันตราย.
【 เขียวหางไหม้ 】แปลว่า: น. ชื่องูเขียวหลายชนิดในวงศ์ Viperidae ลําตัวอ้วนสั้น หัวโต
คอเล็ก หลายชนิดปลายหางสีแดงหรือสีน้ำตาล ทุกชนิดออกหากิน
เวลากลางคืน มักมีนิสัยดุมีพิษอ่อนแต่เป็นอันตราย เช่น เขียวหางไหม้
ท้องเขียว (/Trimeresurus popeorum/).
【 เขี้ยว 】แปลว่า: น. ฟันแหลมคมสําหรับฉีกเนื้อและอาหาร อยู่ระหว่างฟันหน้ากับ
กราม, ราชาศัพท์ว่า พระทาฐะ หรือ พระทาฒะ, (ถิ่น-พายัพ) ฟัน.
【 เขี้ยวแก้ว 】แปลว่า: น. เขี้ยวของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระเขี้ยวแก้ว; เขี้ยวของงูพิษอยู่
บริเวณส่วนหน้าของขากรรไกรบน มีขนาดใหญ่และยาว เช่น งูจงอาง
งูเห่า งูเขียวหางไหม้, ถ้าอยู่บริเวณท้ายขากรรไกรบน เรียกว่า เขี้ยวแก้วใน
หรือ เขี้ยวแก้วใต้ตา เช่น งูปล้องทอง งูเขียวหัวจิ้งจก; เขี้ยวที่งอกอยู่กลาง
เพดานปากของหนุมาน.
【 เขี้ยวตะขาบ 】แปลว่า: น. เหล็กที่ทําเป็นหมุดแหลมโค้งอย่างเขี้ยวของตะขาบสําหรับตอก
เพลาะกระดานยึดให้แน่นสนิท, ตะปลิง ตัวปลิง หรือ ปลิง ก็เรียก;
ชายผ้าสังฆาฏิของพระพุทธรูปในสมัยเชียงแสนและสุโขทัย มี
ลักษณะปลายผ้าย้อยต่ำแหลมลงมา ๒ ด้าน ปลายขมวดเข้าหา
กันคล้ายเขี้ยวของตะขาบ มีช่องตอนกลางยกสูง.
【 เขี้ยวลากดิน 】แปลว่า: ว. มีเล่ห์เหลี่ยมมาก, มีประสบการณ์มาก.
【 เขี้ยวเล็บ 】แปลว่า: น. กําลัง, อํานาจ, ความเก่ง, เช่น ถอดเขี้ยวเล็บ หมดเขี้ยวเล็บ
กองทัพต้องมีเขี้ยวเล็บ.
【 เขี้ยวหนุมาน 】แปลว่า: น. แร่ประกอบหินชนิดหนึ่ง มีรูปเป็นผลึกหกเหลี่ยมหัวท้ายแต่
ละเหลี่ยมมีด้านสามเหลี่ยมเอนเข้าไปบรรจบกันเป็นยอดแหลม
ดูคล้ายฟันลิง แร่นี้มีแทบทุกสี ตั้งแต่ใสเหมือนกระจกจนขาวขุ่น
ชมพู เขียว ม่วง ตลอดจนดํา.
【 เขี้ยวหมา 】แปลว่า: น. ไม้หรือเหล็กทําคล้ายเดือยสําหรับเพลาะกระดาน ๒ แผ่น
ให้สนิท.
【 เขี้ยวกระแต 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Coffea bengalensis/ Heyne ex Roem. et Schult.
ในวงศ์ Rubiaceae ดอกสีขาว กลิ่นหอมแรงคล้ายพุทธชาด.
【 เขี้ยวงู 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้เถาหลายชนิดในสกุล /Jasminum/ วงศ์ Oleaceae ดอกสีขาว
ออกที่ปลายกิ่ง กลิ่นหอม. (๒) ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด /Strychnos axillaris/
Colebr. ในวงศ์ Strychnaceae ดอกสีขาว ออกตามง่ามใบ.
【 เขี้ยวเนื้อ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด /Lagerstroemia undulata/ Koehne var.
/subangulata/ Craib ในวงศ์ Lythraceae ช่อดอกเรียวแหลม ดอกเล็ก
สีชมพูคล้ำ.
【 เขียวพระอินทร์ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาทะเลชนิด /Thalassoma lunare/ ในวงศ์ Labridae ลําตัว
ยาวรี แบนข้าง สีเขียว และมีริ้วสีนํ้าเงินพาดขวางตลอดตัว บริเวณ
หัวมีแถบลวดลายสีม่วงแดง ครีบหางใหญ่ สีเหลือง ปลายขอบบน
และล่างสีแดง พบอาศัยอยู่ตามแนวหินปะการัง เมื่อขนาดยังเล็ก
มีพื้นสีนํ้าตาลแดงที่บริเวณกลางครีบหลังและโคน ครีบหางมีจุด
ใหญ่สีดํา.
【 เขียวพระอินทร์ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่องูเขียวชนิดหนึ่ง. /(ดู เขียว ๓)./
【 เขียวเสวย 】แปลว่า: น. ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด /Mangifera indica/ L. ผลสีเขียว รสมัน.
【 เขียวหวาน ๑ 】แปลว่า: /ดูใน เขียว ๒/.
【 เขียวหวาน ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อส้มพันธุ์หนึ่งของชนิด /Citrus reticulata/ Blanco เปลือกบาง
ผลเขียว รสหวาน.
【 เขียะ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นกระบองเพชร. /(ดู กระบองเพชร ๒)./
【 เขือ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาในสกุล /Taenioides/ และ /Brachyamblyopus/ วงศ์ Gobioididae
ลําตัวยาวเรียว แบนข้าง และเป็นสีชมพูโดยตลอด ตาเล็กมากอยู่ในรู
บริเวณปากแม่น้ำที่มีพื้นเป็นเลน.
【 เขือ ๒ 】แปลว่า: (กลอน) น. เพื่อน.
【 เขือ ๓ 】แปลว่า: (กลอน) ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เช่น
สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤๅพี่. (ลอ).
【 เขือง 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้เถาหลายชนิดในสกุล /Smilax/ วงศ์ Smilacaceae เถามี
หนาม เหง้าแข็ง เช่น เขืองสร้อย (/S. davidiana/ A. DC.) ดอกสีขาว
อมเขียว ผลกลม สุกสีแดง. (๒) /ดู กะตังใบ./
【 เขื่อง ๑ 】แปลว่า: ว. ค่อนข้างใหญ่, ค่อนข้างโต.
【 เขื่อง ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. ที่ซึ่งปลาช่อนปลาดุกอาศัยอยู่เวลาไข่.
【 เขื่อน 】แปลว่า: น. เครื่องป้องกันไม่ให้ดินริมนํ้าพัง, สิ่งที่สร้างขึ้นขวางกั้นลํานํ้า เพื่อกัก
เก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในทางชลประทานเป็นต้น เช่น เขื่อนเจ้าพระยา,
โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กำแพงดิน
หรืออิฐที่ล้อมรอบต้นโพธิ์; (โบ) รั้ว, กำแพง, คันดินกันตลิ่งพัง, เช่น
ปิดประตูเมืองลง เขื่อนขว้าง. (ยวนพ่าย).
【 เขื่อนเพชร 】แปลว่า: น. ตึกแถวมีผนังหลังตันหันออกมาข้างนอกในพระราชฐานเฉพาะ
ตรงที่แบ่งข้างหน้ากับข้างในต่อกัน.
【 เขือม 】แปลว่า: ก. เข้มแข็ง เช่น ทั้งอกไหล่ก็ผายผึ่งผงาดเงื้อมเขือมขยัน.
(ม. ร่ายยาว ชูชก).
【 แข 】แปลว่า: น. ดวงเดือน, พระจันทร์. (ข.).
【 แข้ 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. จระเข้ /(ดู จระเข้)/.
【 แขก ๑ 】แปลว่า: น. ผู้มาหา, ผู้มาแต่อื่น, ผู้ที่มาร่วมงานพิธีของเจ้าภาพ, บางทีเรียกว่า
แขกเหรื่อ; คนบ้านอื่นที่มาช่วยทํางาน.
【 แขกเมือง 】แปลว่า: น. แขกของบ้านเมือง.
【 แขกไม่ได้รับเชิญ 】แปลว่า: (สำ) น. คนหรือสัตว์ที่ไม่พึงปรารถนาซึ่งเข้ามาทำให้เกิดความ
เสียหายหรือเดือดร้อนรำคาญ มักหมายถึง ขโมยหรือสัตว์บางชนิด
เช่น ก่อนนอนอย่าลืมปิดประตูตูหน้าต่าง มิฉะนั้นแขกไม่ได้รับเชิญ
จะขนของไปหมด กางเต็นท์นอนในป่าระวังแขกไม่ได้รับเชิญจะ
เข้ามา.
【 แขก ๒ 】แปลว่า: น. คําเรียกชาวอินเดีย ศรีลังกา ปากีสถาน บังกลาเทศ อัฟกานิสถาน
เนปาล ชวา มลายู ชาวเอเชียตะวันออกกลางและตะวันออกใกล้
ยกเว้นชาวยิว แอฟริกาเหนือ และ นิโกร.
【 แขก ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า แขก เช่น
แขกสาหร่าย แขกบรเทศ แขกกุลิต.
【 แขกเต้า 】แปลว่า: น. ชื่อนกปากงุ้มเป็นขอชนิด /Psittacula alexandri/ ในวงศ์ Psittacidae
ที่หน้าผากมีเส้นสีดําลากผ่านไปจดหัวตาทั้ง ๒ ข้าง และมีแถบสีดํา
ลากจากโคนปากลงไปทั้ง ๒ ข้างของคอคล้ายเครา ตัวผู้ปากสีแดง
ตัวเมียปากสีดํา อยู่เป็นฝูงใหญ่ กินผลไม้ ร้องเลียนเสียงคนหรือเสียง
อื่น ๆ บางอย่างได้.
【 แข็ง 】แปลว่า: ว. กระด้าง เช่น ลิ้นแข็ง; ไม่อ่อน, ไม่นิ่ม, เช่น เนื้อแข็ง ของแข็ง; กล้า
เช่น แดดแข็ง; ไม่ยอมง่าย ๆ, ไม่รู้สึกสงสาร, เช่น ใจแข็ง; แรง เช่น
วันแข็ง ชะตาแข็ง, เข้มแข็ง, ทนทาน, เก่ง, เช่น ทํางานแข็ง วิ่งแข็ง;
ว่ายาก เช่น เด็กคนนี้แข็ง; นิ่งไม่ไหวติง, ไม่กระดิกกระเดี้ย, เช่น
ขาแข็ง ตัวแข็ง.
【 แข็งกร้าว 】แปลว่า: ว. แข็งกระด้าง, ไม่นุ่มนวล.
【 แข็งกล้า 】แปลว่า: ว. กล้ายิ่งนัก.
【 แข็งแกร่ง 】แปลว่า: ว. อดทนไม่ท้อถอย.
【 แข็งข้อ 】แปลว่า: ก. ไม่ยอมตาม, ตั้งข้อสู้.
【 แข็งขัน 】แปลว่า: ว. ขยันไม่ย่อท้อ, เอาจริงเอาจัง, มีกําลังมาก.
【 แข็งใจ 】แปลว่า: ก. ทําใจให้กล้า, ทําใจให้เข้มแข็ง.
【 แข็งตัว 】แปลว่า: ก. เปลี่ยนสภาพไปมีลักษณะแข็ง.
【 แข็งมือ 】แปลว่า: ก. ทําเต็มกําลังไม่ย่อท้อ.
【 แข็งเมือง 】แปลว่า: ก. กลับตั้งเป็นอิสระ, ไม่ยอมเป็นเมืองขึ้นอีกต่อไป.
【 แข็งแรง 】แปลว่า: ว. มีกําลังมาก, ลํ่าสัน, มั่นคง, คงทน, อย่างเต็มกําลัง เช่น
ทํางานแข็งแรง.
【 แข่ง 】แปลว่า: ก. ชิงเอาชนะกัน, ชิงดี, ชิงขึ้นหน้า.
【 แข่งกับเวลา 】แปลว่า: (สำ) ก. ทำอย่างรวดเร็ว เช่น ทำงานแข่งกับเวลา.
【 แข่งขัน 】แปลว่า: ก. ชิงเอาชนะเพื่อรางวัล, ขันสู้เอาชนะกัน.
【 แข่งเกมวิบาก 】แปลว่า: น. การเล่นชนิดหนึ่ง ผู้เล่นต้องวิ่งข้ามสิ่งกีดขวางหรือทำกิจกรรม
ที่ยาก ๆ เช่น ใช้ปากควานหาสตางค์ในแป้ง สนเข็ม เป่าลูกโป่ง
ให้แตก ใครทำเสร็จและวิ่งถึงเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ.
【 แข่งดี 】แปลว่า: ก. มุ่งเอาชนะชิงดีชิงเด่นโดยไม่ยอมลดราวาศอกให้แก่กัน,
มุ่งเอาชนะชิงดีชิงเด่นโดยไม่ยอมผ่อนปรนให้แก่กัน.
【 แข่งเรือแข่งแพแข่งได้ แข่งบุญแข่งวาสนาแข่งไม่ได้ 】แปลว่า: (สำ) ก.
【 รู้ประมาณความสามารถของตนไม่อาจเอื้อมเกินตัว. 】แปลว่า:
【 แข้ง 】แปลว่า: น. ส่วนหน้าของขา ใต้เข่าลงไปถึงข้อเท้า, หน้าแข้งก็ว่า,
ราชาศัพท์ว่า พระชงฆ์.
【 แข้งสิงห์ 】แปลว่า: น. ส่วนหน้าของขาสิงห์ตรงที่เป็นสัน; เรียกการพันกระดาษซึ่งซอย
ให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ที่ด้ามธงว่า พันแข้งสิงห์.
【 แขน ๑ 】แปลว่า: น. อวัยวะที่ต่อจากไหล่ทั้ง ๒ ข้าง, (ราชา) เรียกอวัยวะตั้งแต่ศอก
ไปถึงไหล่ว่า พระพาหา ตั้งแต่ศอกไปถึงมือว่า พระกร; เรียกสิ่ง
ที่ยื่นออกไปจากส่วนใหญ่เหมือนรูปแขน เช่น แขนเสื้อไม้เท้าแขน.
【 แขนขวา 】แปลว่า: น. บริวารหรือผู้ใต้บังคับบัญชาที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงเปรียบเสมือน
แขนข้างขวา.
【 แขนคู้ 】แปลว่า: น. ชื่อดาวฤกษ์อาศเลษา.
【 แขนซ้ายแขนขวา 】แปลว่า: น. บริวารหรือผู้ใต้บังคับบัญชาที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงเปรียบเสมือน
แขนซ้ายแขนขวา.
【 แขนทุกข์ 】แปลว่า: น. ปลอกแขนสีดําสําหรับสวมติดแขนเสื้อข้างซ้ายเป็นการแสดง
ความไว้อาลัยต่อคนตาย.
【 แขนนาง ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อดาวฤกษ์วิศาขา.
【 แขนนาง ๒ 】แปลว่า: น. เครื่องค้ำยันชายคาเรือนเครื่องสับ ทำด้วยไม้หรือเหล็ก.
【 แขนพับ 】แปลว่า: น. ส่วนของแขนตรงที่พับได้.
【 แขน ๒ 】แปลว่า: น. เรียกสายเสื้อชั้นในของผู้หญิง.
【 แข่น, แข้น 】แปลว่า: ก. ข้นจวนแห้งจวนแข็ง เช่น เลือดแข้น. ว. แข็ง เช่น อาหารแข้น.
【 แขนง ๑ 】แปลว่า: [ขะแหฺนง] น. กิ่งไม้เล็ก ๆ ที่แตกใหม่จากลําของไม้พวกไม้ไผ่,
กิ่งไม้เล็ก ๆ ที่แยกออกจากกิ่งใหญ่, โดยปริยายหมายถึงส่วน
ย่อยที่แยกจากส่วนใหญ่ เช่น วิชาฟิสิกส์เป็นแขนงหนึ่งของ
วิชาวิทยาศาสตร์.
【 แขนง ๒ 】แปลว่า: [ขะแหฺนง] ก. แหนง, แคลง, เช่น และแขนงหฤทัยนาง. (ม. คําหลวง
มัทรี); ใช้ในการต่อของให้ราคาตํ่า ถือเป็นลางบอกว่าจะขายไม่ได้
ราคาดีต่อไป.
【 แขนง ๓ 】แปลว่า: /ดู เต่าเหลือง ที่ เต่า ๑/.
【 แขนะ 】แปลว่า: ขะแหฺนะ ก. แกะ, สลัก, เจาะ. น. กรรมวิธีในการสร้างงาน
ประติมากรรมตกแต่ง หรือวิธีการทางช่างจุลศิลป์ประเภทหนึ่ง โดย
ใช้สมุกปั้นเป็นลวดลายหรือรูปภาพติดเข้ากับพื้นไม้หรือพื้นกระดาษ
เช่น ปั้นหน้ายักษ์หน้าลิงติดลงบนกะโหลกปิดกระดาษทำเป็นหัวโขน,
กระแหนะ ก็ว่า.
【 แขม ๑ 】แปลว่า: [แขมฺ] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Saccharum arundinaceum/ Retz. ในวงศ์
Gramineae มักขึ้นตามชายนํ้า ชายป่า และชายเขาที่ชุ่มชื้น, พง ก็เรียก.
【 แขม ๒ 】แปลว่า: [ขะแม] น. คนเขมร, เขียนเป็น แขมร์ ก็มี.
【 แขม็บ, แขม็บ ๆ 】แปลว่า: [ขะแหฺม็บ] ว. หายใจแผ่ว ๆ แสดงว่าจวนจะหมดกําลัง, กระแหม็บ
หรือ กระแหม็บ ๆ ก็ว่า.
【 แขม่ว 】แปลว่า: [ขะแหฺม่ว] ก. ผ่อนลมหายใจให้ท้องยุบลง, บังคับกล้ามเนื้อท้องให้
ท้องยุบลง, กระแหม่ว ก็ว่า.
【 แขย็ก ๆ 】แปลว่า: [ขะแหฺย็ก] ว. อาการที่ปีนขยับขึ้นไปทีละน้อย ๆ ขึ้นไปได้ไม่สะดวก
เช่น ปีนต้นไม้แขย็ก ๆ, อาการที่ขยับไปทีละน้อย ๆ เพราะไปไม่ถนัด
เช่น ถีบจักรยานแขย็ก ๆ เดินแขย็ก ๆ.
【 แขยง ๑ 】แปลว่า: [ขะแหฺยง] น. ชื่อปลานํ้าจืดแทบทุกชนิดในวงศ์ Bagridae ไม่มีเกล็ด
มีหนวดยาว ๔ คู่ ครีบหลังตอนแรกมีก้านครีบแข็ง หยักเป็นหนามคม
เช่นเดียวกับครีบอก ตอนที่ ๒ เป็นครีบไขมันลักษณะเป็นแผ่นเนื้อ
ขนาดเล็กหรือใหญ่ขึ้นกับชนิดของปลา ครีบก้นสั้น รูปร่างคล้ายปลากด
แต่มีขนาดเล็กกว่า เช่น แขยงหิน (/Leiocassis siamensis/) แขยงใบข้าว
(/Mystus cavasius/) แขยงธง หรือ แขยงหมู (/Heterobagrus bocourti/)
แขยงวัง หรือ แขยงหนู (/Bagroides macropterus/).
【 แขยง ๒ 】แปลว่า: [ขะแหฺยง] ก. เกลียดเมื่อได้เห็นหรือถูกต้องสิ่งที่สกปรก น่ารังเกียจ
หรือน่าเกลียดน่ากลัว หรือเมื่อนึกถึงสิ่งนั้น, ขยะแขยง ก็ว่า.
【 แขยงแขงขน 】แปลว่า: ก. สะอิดสะเอียนจนขนลุก.
【 แขย่ง 】แปลว่า: [ขะแหฺย่ง] ว. แขย็ก ๆ, อาการที่ปีนขยับขึ้นไปทีละน้อย ๆ ขึ้นไปได้
ไม่สะดวก, เช่น ผ้าคาดพุงผูกพันขยันตะแบง แขย่งเข่นฆ่าพร้าขัดเอว.
(ม. ร่ายยาว ชูชก), มักใช้พูดเข้าคู่กับคํา เขย้อ เป็น เขย้อแขย่ง.
【 แขยงหนู 】แปลว่า: [ขะแหฺยง-] น. (๑) ชื่อปลาแขยงชนิดหนึ่ง, แขยงวัง ก็เรียก. /(ดู แขยง ๑)./
(๒) /ดู มังกง./
【 แขละ 】แปลว่า: [แขฺละ] น. ลายเกลียวเส้นลวดเล็ก ๆ ส่วนมากนิยมทำไว้ตรงโคน
กระเปาะที่ฝังหัวแหวนแบบโบราณชนิดเม้มหรือล้มขอบ.
【 แขวก 】แปลว่า: [แขฺวก] น. ชื่อนกชนิด /Nycticorax nycticorax/ ในวงศ์ Ardeidae
ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกยาง หัวค่อนข้างโต คอสั้น ขาสั้นกว่านกยาง
ชนิดอื่น ลําตัวส่วนบนสีเขียวอมเทา ท้ายทอยมีเปียสีขาว ๒-๓ เส้น
ลําตัวส่วนล่างสีขาว อยู่เป็นฝูง กินปลาและสัตว์เล็ก ๆ หากินใน
เวลากลางคืน.
【 แขวง 】แปลว่า: [แขฺวง] น. เขต, แดน, ส่วน, ฝ่าย, อาณาบริเวณที่กําหนดไว้เพื่อ
สะดวกในการปฏิบัติราชการอย่างใดอย่างหนึ่ง.
【 แขวน ๑ 】แปลว่า: [แขฺวน] ก. เกี่ยวห้อยอยู่.
【 แขวนคอ 】แปลว่า: ก. เอาเชือกหรือผ้าเป็นต้นผูกคอห้อยไว้บนที่สูงเช่นบนต้นไม้ไม่ให้
เท้าถึงพื้นเพื่อให้ตายเป็นการประหารชีวิตนักโทษแบบหนึ่งของ
ชาวตะวันตกบางประเทศ.
【 แขวนนวม 】แปลว่า: (สำ) ก. เลิกชกมวย, โดยปริยายหมายถึง เลิก, หยุด.
【 แขวน ๒ 】แปลว่า: [แขฺวน] น. ตัวไม้โครงหลังคา เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวระหว่างเต้ากับ
จันทันระเบียง, ค้างคาว หรือ โตงเตง ก็เรียก.
【 แขวนลอย 】แปลว่า: (เคมี) น. ภาวะที่อนุภาคซึ่งมีขนาดจํากัดแผ่กระจายอยู่ในของไหล
หรือของแข็งโดยไม่ละลายหรือสลายตัวรวมเป็นเนื้อเดียวกับของไหล
หรือของแข็งนั้น, สารที่อยู่ในภาวะเช่นนี้เรียกว่า สารแขวนลอย เช่น
ฝุ่นในอากาศ หยดนํ้าเล็ก ๆ ในแก๊ส. (อ. suspension).
【 แขวะ 】แปลว่า: [แขฺวะ] ก. เอาสิ่งมีคมแหวะคว้านให้กว้าง; พูดชวนวิวาท.
【 แขสร์ 】แปลว่า: [ขะแส] น. กระแส; เส้นเชือก. (ข.).
【 โข 】แปลว่า: (ปาก) ว. มาก. (กร่อนมาจาก อักโข ซึ่งตัดมาจาก อักโขภิณี).
【 โขก 】แปลว่า: ก. ควํ่าภาชนะเป็นต้นแล้วเคาะลงที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยแรง, กิริยาที่
ควํ่าหน้าลงแล้วเอาหน้าผากกระแทกพื้นเป็นต้น เช่น เอาหน้าผาก
โขกพื้น.
【 โขกสับ 】แปลว่า: ก. ด่าว่าข่มขี่.
【 โขง 】แปลว่า: ว. กลิ่นเหม็นอย่างเนื้อเน่าที่ค้างหลายวัน, โขลง ก็ว่า.
【 โข่ง ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อหอยนํ้าจืดกาบเดี่ยวในวงศ์ Ampullariidae เปลือกสีเขียวคลํ้า
มีขนาดเท่าหัวแม่มือจนถึงกําปั้น เวียนเป็นวง ยอดสั้น วงสุดท้าย
ค่อนข้างกลม มีหลายชนิดในสกุล /Pila/ เช่น ชนิด
/P. ampullacea, P. polita/.
【 โข่ง ๒ 】แปลว่า: (ปาก) ว. เปิ่น, ไม่เข้าท่า; โค่ง.
【 โข่งทะเล 】แปลว่า: /ดู เป๋าฮื้อ ๑/.
【 โขด 】แปลว่า: น. ดินหรือหินที่สูงขึ้นเป็นโคกเป็นเนิน, ดิน หิน หรือทรายที่เป็นจอม
สูงขึ้นพ้นนํ้าบ้าง อยู่ใต้นํ้าบ้าง.
【 โขดง 】แปลว่า: [ขะโดง] น. กระโดง; ใบเรือ. (ข.).
【 โขน ๑ 】แปลว่า: น. การเล่นอย่างหนึ่งคล้ายละครรํา มักเล่นเรื่องรามเกียรติ์ โดย
ผู้แสดงสวมหัวจําลองต่าง ๆ ที่เรียกว่า หัวโขน.
【 โขน ๒ 】แปลว่า: น. ไม้ที่ต่อเสริมหัวเรือท้ายเรือให้งอนเชิดขึ้นไป เรียกว่า โขนเรือ;
เรียกเรือชนิดหนึ่งที่มีโขนว่า เรือโขน เช่น เรือโขนขนาดใหญ่น้อย
เหลือหลาย. (ลิลิตพยุหยาตรา); ส่วนสุดทั้ง ๒ ข้างของรางระนาด
หรือฆ้องวงที่งอนขึ้น.
【 โขนง 】แปลว่า: [ขะโหฺนง] น. ขนง, คิ้ว.
【 โขม 】แปลว่า: น. ผักโขม. /[ดู ขม ๒ (๑)]./
【 โขม- 】แปลว่า: โขมะ- น. โกษม, ผ้าใยไหม (ผ้าลินิน), ผ้าขาว, ผ้าป่าน, ใช้
เป็นศัพท์ประกอบว่า โขมพัตถ์ โขมพัสตร์ และแผลงเป็น โขษมพัสตร์
ก็มี. (ป.; ส. เกฺษาม).
【 โขมง 】แปลว่า: [ขะโหฺมง] ก. พลุ่งออกมาพร้อมกันมาก ๆ เช่น ควันโขมง. ว. ฟุ้ง,
เอ็ดอึง, เช่น คุยโขมง.
【 โขมด ๑ 】แปลว่า: [ขะโหฺมด] น. ชื่อผีชนิดหนึ่งในพวกผีกระสือหรือผีโพง เห็นเป็นแสง
เรืองวาวในเวลากลางคืน ทําให้หลงผิดนึกว่ามีคนถือไฟหรือจุดไฟอยู่
ข้างหน้า พอเข้าไปใกล้ก็หายไป ทางวิทยาศาสตร์ อธิบายว่า ได้แก่
แก๊สมีเทน (methane) ที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังของสารอินทรีย์
แล้วติดไฟในอากาศ เป็นแสงวอบแวบในที่มืด. (ข. โขฺมจ ว่า ผี).
【 โขมด ๒ 】แปลว่า: [ขะโหฺมด] น. กระหมวด; จอมประสาทหัวช้าง.
【 โขมดยา 】แปลว่า: [ขะโหฺมด-] น. ชื่อเรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้นใหญ่กว่าเรือกราบ รูปร่าง
ค่อนข้างเพรียวหัวและท้ายเรือเสริมไม้ต่อเป็นโขนงอนเชิดขึ้น ด้านข้าง
หัวเรือเขียนลวดลายด้วยนํ้ายาสีต่าง ๆ วางกระทงขวางลําสําหรับคนนั่ง
พายได้ประมาณ ๕๐ คน เป็นเรือตามเสด็จในการเสด็จพระราชดําเนิน
โดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคหรือเสด็จพระราชดําเนินลําลอง
ทางชลมารค ใช้เป็นเรือกันหรือเรือพิฆาตได้, ขมวดยา ก็ว่า.
【 โขยก 】แปลว่า: [ขะโหฺยก] ก. เดินหรือวิ่งด้วยอาการคล้ายกระโดด.
【 โขยกเขยก 】แปลว่า: [-ขะเหฺยก] ว. กะโผลกกะเผลก.
【 โขยง 】แปลว่า: [ขะโหฺยง] น. พวก, หมู่, ฝูง. ว. หมดด้วยกัน.
【 โขย่ง 】แปลว่า: [ขะโหฺย่ง] ก. กระโหย่ง, ทําให้สูงขึ้น.
【 โขยด 】แปลว่า: [ขะโหฺยด] ว. วิ่งอย่างกระโดด เช่น ทั้งพระยากาสรตัวกล้าก็ลับเขา
โขยดโลดลองเชิง. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
【 โขยม 】แปลว่า: ขะโหฺยม น. ขยม, ข้า, บ่าว, เช่น ไว้โขยมวัดสามครัว. (พงศ.
โยนก). (ข. ขฺญุ?).
【 โขลก, โขลก ๆ 】แปลว่า: [โขฺลก] ก. ตําให้เข้ากัน หรือให้เหนียว หรือให้แหลก. ว. เสียงดังเช่น
นั้น เช่น เสียงไอโขลก ๆ.
【 โขลง ๑ 】แปลว่า: [โขฺลง] น. ฝูง (ใช้เฉพาะช้าง).
【 โขลง ๒ 】แปลว่า: [โขฺลง] ว. มีกลิ่นเหม็นอย่างเนื้อเน่าที่ค้างหลายวัน, โขง ก็ว่า.
【 โขลน 】แปลว่า: โขฺลน น. ชื่อกรมซึ่งมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยใน
พระราชฐานชั้นใน, เจ้าพนักงานหญิงในกรมโขลน มีหน้าที่คล้าย
ตํารวจ; ตําแหน่งราชการฝ่ายทหาร. (จารึกสยาม).
【 โขลนทวาร 】แปลว่า: [โขฺลนทะวาน] น. ประตูป่า, ประตูป่าที่ทําตามตําราพราหมณ์ คือทํา
เป็นประตูสะด้วยใบไม้ให้ทหารผู้ไปทัพนั้นลอดไป มีพราหมณ์คู่หนึ่ง
นั่งบนร้านสูง ๒ ข้างประตูคอยประนํ้าเทพมนตร์ เพื่อเป็นชัยมงคลแก่
กองทัพที่ยกไป. (ข. โขฺลงทฺวาร ว่า ประตูใหญ่ที่มีเสาปัก ๒ ข้าง และ
มีไม้ขวางข้างบน).
【 โขษม 】แปลว่า: [ขะโสม] น. ผ้าใยไหม (ผ้าลินิน), ผ้าขาว, ผ้าป่าน. (ป. โขม;
ส. เกฺษาม). (แผลงมาจาก โขม).
【 ไข ๑ 】แปลว่า: น. มันข้น, นํ้ามันที่ได้จากสัตว์ พืช หรือแร่ ที่แข็งตัวในอุณหภูมิ
ปรกติ; น้ำมันที่มีสถานะเป็นของแข็งเนื่องจากอยู่ในอุณหภูมิต่ำ.
(อ. wax).
【 ไขกระดูก 】แปลว่า: น. เนื้อส่วนในของกระดูก บางแห่งเป็นที่สร้างเม็ดเลือดชนิดต่าง ๆ
ของร่างกาย.
【 ไขข้อ 】แปลว่า: น. นํ้าหล่อลื่นข้อของร่างกาย.
【 ไขมัน 】แปลว่า: น. สารประกอบอินทรีย์จำพวกหนึ่งมีทั้งในสัตว์และพืช ไม่ละลาย
น้ำ, ถ้าเป็นของเหลวในอุณหภูมิปรกติเรียก น้ำมัน, ถ้าเป็นของแข็ง
ในอุณหภูมิปรกติเรียก ไข. (อ. fat); (ปาก) เรียกเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน
ชนิดหนึ่งในคนและสัตว์บางชนิดซึ่งสะสมสารประกอบอินทรีย์
ดังกล่าวไว้มากโดยเฉพาะบริเวณหน้าท้องหรือในผนังหน้าท้อง
มีลักษณะนุ่ม ๆ หยุ่น ๆ, มัน ก็ว่า.
【 ไขสันหลัง 】แปลว่า: น. ประสาทส่วนกลางที่ต่อเนื่องจากประสาทส่วนปลาย
มีความยาวจากระดับต้นคอถึงระดับเอว.
【 ไขสันหลังอักเสบ 】แปลว่า: น. โรคโปลิโอ.
【 ไข ๒ 】แปลว่า: ก. กวดสิ่งที่ยังหลวมอยู่ให้แน่นหรือทําสิ่งที่แน่นอยู่ให้หลวม เช่น
ไขตะปูควง ไขนอต, หมุน เช่น ไขลาน ไขกระจก; บอก, อธิบาย,
ขยาย, เช่น ไขความ ไขข่าว ไขปัญหา.
【 ไขควง 】แปลว่า: น. ชื่อเหล็กเครื่องมือมีด้าม ทางปลายแบนหรือเป็นแฉก ๆ
สําหรับไขตะปูควง.
【 ไขดาล 】แปลว่า: ก. ทำให้ลูกดาลที่ลงไว้เปิดออก.
【 ไขน้ำ 】แปลว่า: ก. ปล่อยนํ้าที่ขังอยู่ให้ไหล เช่น ไขนํ้าเข้านา.
【 ไขพระวิสูตร 】แปลว่า: (ราชา) ก. เปิดม่าน, คู่กับ ปิดพระวิสูตร หมายความว่า ปิดม่าน.
【 ไขย่น 】แปลว่า: น. ม่านจีบ. (ประชุมพงศ.).
【 ไขลาน 】แปลว่า: (ปาก) ก. สั่ง, บอกให้ทํา, เช่น ต้องไขลานกันอยู่เรื่อย ไม่อย่างนั้น
ไม่ทํา; หมดกําลัง, หมดแรง, เช่น พอขึ้นชกยกที่ ๕ นักมวยก็เริ่ม
ไขลานแล้ว.
【 ไขสือ 】แปลว่า: ว. รู้แล้วทำเป็นไม่รู้.
【 ไขแสง 】แปลว่า: ก. เริ่มส่องแสง เช่น พระอาทิตย์ไขแสง.
【 ไขหู 】แปลว่า: ว. ทำเป็นว่าไม่ได้ยิน.
【 ไขหูไขตา 】แปลว่า: ก. ได้ยินได้เห็นแล้วรู้สึกอายไม่อยากฟังไม่อยากเห็น,
ขายหูขายตา ก็ว่า.
【 ไข่ ๑ 】แปลว่า: น. ตัวสืบพันธุ์ประกอบด้วยเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย อาหาร และ
สิ่งห่อหุ้มซึ่งอาจจะเป็นไข่ขาววุ้น เยื่อถุงไข่ หรือเปลือก ส่วนมาก
มีรูปร่างกลม จะมีตัวอ่อนภายในหรือไม่ก็ได้, ฟอง ก็เรียก,
ลักษณนามเรียก ฟอง ลูก หรือ ใบ; เรียกสิ่งที่เป็นเม็ดกลม ๆ
เล็ก ๆ ที่มีอยู่ตามใบไม้บางชนิด เช่น ไข่ชะอม ไข่ปรง; (ปาก)
ลูกอัณฑะ. ก. ตกฟอง เช่น แม่ไก่ไข่ออกมา ๓ ฟอง.
【 ไข่กบ 】แปลว่า: /ดูใน กินสี่ถ้วย/.
【 ไข่ไก่ 】แปลว่า: ว. มีสีเหลืองอมแดงน้อย ๆ ดังเปลือกไข่ไก่ เรียกว่า สีไข่ไก่.
【 ไข่ขวัญ 】แปลว่า: น. ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี, ไข่ข้าว ก็เรียก. /(ดู ขวัญ)/;
ไข่งูที่อยู่บนยอดกลางกองไข่, ไข่ลูกยอด ก็เรียก.
【 ไข่ขาง 】แปลว่า: น. ไข่แมลงวัน. /(ดู ขาง)./
【 ไข่ขาว 】แปลว่า: น. ส่วนของไข่สัตว์ เช่น ไข่ของนก ไข่ของสัตว์เลื้อยคลาน มีสี
ขาวใสอยู่รอบ ๆ ไข่แดงเป็นสารโปรตีนทําหน้าที่ป้องกันส่วน
ที่เป็นเซลล์ของไข่ เวลาเซลล์ของไข่แบ่งตัวเจริญเป็นตัวอ่อน
ไข่ขาวจะเป็นอาหารของตัวอ่อนด้วย; (เคมี) กลุ่มของโปรตีน
ซึ่งมีนํ้าหนักโมเลกุลประมาณ ๖๕,๐๐๐ ถึง ๗๐,๐๐๐.
【 ไข่ข้าว 】แปลว่า: น. ไข่ที่ฟักไม่เป็นตัวต้มแล้วแข็งและเหนียวผิดปรกติ; ไข่ปอก
ที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี, ไข่ขวัญ ก็เรียก. (ดู ขวัญ).
【 ไข่เค็ม 】แปลว่า: น. ไข่ที่ดองนํ้าเกลือ, ไข่ที่พอกด้วยขี้เถ้าหรือแกลบผสมเกลือ
มักทําจากไข่เป็ด มีรสเค็ม, ไข่พอก ก็เรียก.
【 ไข่จระเข้ 】แปลว่า: ว. เรียกของที่มีลักษณะคล้ายไข่จระเข้ เช่น โถไข่จระเข้.
【 ไข่จิ้งจก 】แปลว่า: น. ถั่วลิสงเคลือบนํ้าตาลหรือลูกกวาดสีต่าง ๆ ทําเม็ดเล็ก ๆ
ขนาดไข่จิ้งจก.
【 ไข่จิ้งหรีด 】แปลว่า: น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งทําด้วยข้าวตากคั่วจนพองเหลืองกวนกับ
นํ้าตาลปีบที่เคี่ยวเหนียว บางทีโรยมะพร้าวขูดด้วย.
【 ไข่เจียว 】แปลว่า: น. ไข่ที่ตีไข่แดงกับไข่ขาวให้เข้ากันแล้วทอดนํ้ามัน, ถ้านํ้ามันมากจน
ไข่ที่เจียวฟู เรียก ไข่ฟู, ถ้ามีเนื้อหมูสับผสมด้วย เรียก ไข่เจียวหมูสับ.
【 ไข่ญี่ปุ่น 】แปลว่า: (โบ) น. ไข่ลูกเขย.
【 ไข่ดาว 】แปลว่า: น. ไข่ทอดทั้งลูกโดยไม่ต้องตีไข่แดงกับไข่ขาวให้เข้ากัน.
【 ไข่แดง 】แปลว่า: น. ส่วนของไข่สัตว์ เช่น ไข่ของนก ไข่ของสัตว์เลื้อยคลาน อยู่รอบ
ส่วนที่จะเจริญเป็นตัวอ่อน มักมีสีเหลืองหรือแดง เป็นสารประเภท
ไขมันที่สะสมไว้สําหรับเลี้ยงตัวอ่อนขณะที่เติบโต.
【 ไข่ตายโคม 】แปลว่า: น. ไข่ที่ตัวตายในระหว่างฟัก.
【 ไข่ตุ๋น 】แปลว่า: น. ไข่ที่ตีไข่แดงกับไข่ขาวให้เข้ากันแล้วนึ่ง.
【 ไข่เต่า ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งทําด้วยแป้งต้มกับกะทิ มีสีขาวรสมันเค็ม
มักกินผสมกับขนมปลากริม.
【 ไข่นกกระสา 】แปลว่า: น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งทําด้วยสาคูเม็ดเล็กผสมนํ้าตาลปีบ
ปั้นเป็นก้อน นึ่งมีไส้ทําด้วยถั่วเขียวนึ่งผัดกับพริกไทย.
【 ไข่น้ำค้าง 】แปลว่า: น. ไข่ขาวส่วนที่เป็นนํ้าใส ๆ ที่ติดอยู่กับเปลือกด้านป้าน.
【 ไข่ในหิน 】แปลว่า: (สํา) น. ของที่ต้องระมัดระวังทะนุถนอมอย่างยิ่ง.
【 ไข่ปลา 】แปลว่า: น. จุดที่เรียงกันเป็นเส้น, ลายที่มีจุดเล็ก ๆ เป็นเส้นหรือเป็นกลุ่ม.
【 ไข่พอก 】แปลว่า: น. ไข่เค็ม.
【 ไข่แมงดา 】แปลว่า: น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งลักษณะอย่างทองหยอดเม็ดเล็ก ๆ ใช้โรยหน้า
ข้าวเหนียวกระทงหรือข้าวเหนียวตัด.
【 ไข่ยัดไส้ 】แปลว่า: น. ไข่กรอกในกระทะให้บาง แล้วห่อไส้หมูสับผัดน้ำมันให้สุก
ปรุงรสเค็มหวาน.
【 ไข่เยี่ยวม้า 】แปลว่า: น. ไข่แช่นํ้าด่าง, ไข่สําเภา ก็เรียก.
【 ไข่ลม 】แปลว่า: น. ไข่ที่ไม่มีเชื้อตัวผู้ผสม.
【 ไข่ลูกเขย 】แปลว่า: น. อาหารของคาวทําด้วยไข่ต้มทั้งลูก ปอกเปลือกแล้วทอดนํ้ามัน
เคล้ากับนํ้าตาล นํ้าปลาที่เคี่ยวจนงวด, (โบ) ไข่ญี่ปุ่น.
【 ไข่ลูกยอด 】แปลว่า: น. ไข่งูที่อยู่บนยอดกลางกองไข่, ไข่ขวัญ ก็เรียก.
【 ไข่สำเภา 】แปลว่า: น. ไข่แช่นํ้าด่าง, สามัญเรียกว่า ไข่เยี่ยวม้า.
【 ไข่หงส์ 】แปลว่า: น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งทำด้วยแป้งทอด มีไส้ทำด้วยถั่วเขียวนึ่ง
ผัดกับพริกไทย เกลือกน้ำตาลจนแห้ง ลักษณะกลม, ไข่เหี้ย
ก็ว่า.
【 ไข่หวาน 】แปลว่า: น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งทําโดยต่อยไข่ใส่ลงในนํ้าเชื่อมร้อน ๆ แล้ว
ต้มให้สุก มักใส่ขิงด้วย.
【 ไข่หำ 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. ลูกอัณฑะ.
【 ไข่หิน ๑ 】แปลว่า: น. ไข่ที่แข็งคล้ายหิน.
【 ไข่เหา 】แปลว่า: น. ชื่อมาตราวัดโบราณ, ๘ เส้นผม เท่ากับ ๑ ไข่เหา ๘ ไข่เหา
เท่ากับ ๑ ตัวเหา.
【 ไข่เหี้ย 】แปลว่า: น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งทําด้วยแป้งทอด มีไส้ทำด้วยถั่วเขียวนึ่ง
ผัดกับพริกไทย เกลือกนํ้าตาลจนแห้งลักษณะกลมอย่างไข่เหี้ย,
ไข่หงส์ ก็ว่า.
【 ไข่ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่งซึ่งกลายมาจากกล้วยป่า (/Musa acuminata/
Colla) ผลเล็ก เปลือกบาง ไม่มีเมล็ด บางพันธุ์มีกระที่เปลือก.
【 ไข้ 】แปลว่า: น. ความเจ็บป่วย เช่น ไข้จับสั่น ไข้ทรพิษ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่;
อาการที่มีอุณหภูมิของร่างกายผิดจากระดับปรกติเนื่องจาก
ความเจ็บป่วย. (อ. fever, pyrexia, pyrexy).
【 ไข้กาฬ 】แปลว่า: /ดู ไข้ผื่น/.
【 ไข้กาฬนกนางแอ่น, ไข้กาฬหลังแอ่น 】แปลว่า: น. ไข้ติดเชื้อเฉียบพลันของเยื่อหุ้มสมอง มีอาการไข้ ซึม คอแข็ง
หลังแอ่น และมีผื่นชนิดตกเลือดใต้ผิวหนัง ต่อมาสีของผื่นจะ
เปลี่ยนเป็นคลํ้า. (อ. meningococcal meningitis).
【 ไข้กำเดา 】แปลว่า: (โบ) น. ไข้ชนิดหนึ่งที่เกิดจากหวัด.
【 ไข้ความร้อน, ไข้แดด 】แปลว่า: น. ไข้ที่ขึ้นเร็วและสูงเพราะถูกความร้อนจัด อาจมีอาการปวด
ศีรษะ เวียนศีรษะ ชัก และต่อไปอาจสลบโดยไม่มีเหตุอื่นร่วม.
(อ. heat stroke).
【 ไข้จับสั่น 】แปลว่า: น. ไข้ที่เกิดเพราะถูกยุงก้นปล่องที่มีเชื้อมาลาเรียกัด มีอาการ
หนาวและสั่น, ไข้มาลาเรีย ก็ว่า. (อ. malarial fever, malaria,
paludism).
【 ไข้ใจ 】แปลว่า: น. ความระทมใจเนื่องจากผิดหวังในความรักเป็นต้น.
【 ไข้แดด 】แปลว่า: น. ไข้ที่ขึ้นเร็วและสูงเพราะถูกแดดจัด อาจมีอาการปวดศีรษะ
เวียนศีรษะ ชัก และต่อไปอาจสลบโดยไม่มีเหตุอื่นร่วม. (อ. solar
fever, sunstroke).
【 ไข้ทรพิษ 】แปลว่า: น. ชื่อโรคระบาดชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อไวรัส มีอาการไข้สูงแล้วมี
ผื่นขึ้นดาษตามใบหน้าและลำตัว ต่อมาผื่นจะกลายเป็นตุ่ม ตุ่มใส
ตุ่มหนอง และตกสะเก็ด ตามลำดับ เมื่อหายแล้วมีแผลเป็นเป็น
รอยบุ๋ม, ฝีดาษ ก็เรียก, โบราณเรียก ไข้หัว. (อ. smallpox, variola).
【 ไข้ทับระดู 】แปลว่า: น. ไข้ขณะที่กําลังมีระดูหรือระดูเพิ่งหยุด.
【 ไข้ป่า 】แปลว่า: น. ไข้ที่รับจากป่าหรือดงดิบ เกิดเพราะถูกอายพิษดิน พิษแร่ หรือ
ว่านยาหรือเชื้อไข้มาลาเรีย. (อ. jungle fever).
【 ไข้ผื่น 】แปลว่า: น. ไข้ที่มีผื่นและการเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นทางผิวหนัง มีลักษณะ
อาการและความรุนแรงต่าง ๆ กัน ตั้งแต่เป็นเม็ดเล็ก ๆ เหมือนหัว
เข็มหมุดจนถึงปื้นใหญ่ ๆ ในรายที่รุนแรงมากอาจมีเลือดออกใต้
ผิวหนังบริเวณผื่นหรือปื้น และผิวหนังจะเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ, ไข้กาฬ
หรือ ไข้ส่า ก็เรียก. (อ. exanthematous fever).
【 ไข้พิษ 】แปลว่า: น. ไข้ที่มีพิษกล้าทําให้เชื่อมซึมไปไม่มีเวลาสร่าง.
【 ไข้มาลาเรีย 】แปลว่า: /ดู ไข้จับสั่น/.
【 ไข้เลือดออก 】แปลว่า: น. ไข้ที่เกิดเพราะถูกยุงลายที่มีเชื้อไข้เลือดออกกัด มักเกิดแก่เด็ก
มีอาการเลือดออกใต้ผิวหนังเป็นจํ้า ๆ. (อ. haemorrhagic fever).
【 ไข้สันนิบาต 】แปลว่า: (โบ) น. ไข้ที่มีอาการสั่นเทิ้มชักกระตุกและเพ้อ เช่น ไข้สันนิบาต
ลูกนก ไข้สันนิบาตหน้าเพลิง.
【 ไข้ส่า 】แปลว่า: /ดู ไข้ผื่น/.
【 ไข้หวัด 】แปลว่า: น. ไข้ที่เป็นในขณะที่เป็นหวัด มีนํ้ามูกและเสมหะมาก บางทีก็ไอด้วย.
(อ. common cold, coryza, acute catarrhal rhinitis).
【 ไข้หวัดใหญ่ 】แปลว่า: น. โรคติดต่อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจ เกิดจากเชื้อไวรัส
ผู้ป่วยมีไข้สูงมาก มีอาการหนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้อและอ่อนเพลีย.
(อ. influenza).
【 ไข้หัว 】แปลว่า: (โบ) น. ไข้ทรพิษ, ฝีดาษ.
【 ไข้หัวลม 】แปลว่า: น. ไข้ที่มักเกิดเพราะถูกอากาศเย็นต้นฤดูหนาว.
【 ไข้เหลือง 】แปลว่า: น. โรคติดต่อร้ายแรงชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อไวรัส มียุงเป็นพาหะ ผู้ป่วย
มักมีอาการเวียนศีรษะ คลื่นเหียน อาเจียน ปวดศีรษะ และปวดหลัง
ไข้ขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว ชีพจรเต้นช้าลง ผิวและตาเหลือง อาจมีอันตราย
ถึงแก่ชีวิตภายใน ๖-๗ วัน. (อ. yellow fever).
【 ไข่ดัน 】แปลว่า: น. ต่อมนํ้าเหลืองที่อยู่ใต้ผิวหนังของบริเวณขาหนีบ ซึ่งเป็นแนวต่อ
ระหว่างลำตัวกับต้นขามีหน้าที่กักและทําลายเชื้อโรคที่อาจผ่านเข้า
ในร่างกายท่อนบน.
【 ไข่ดันหมู 】แปลว่า: น. ไตหมู.
【 ไข่เต่า ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ไข่ ๑/.
【 ไข่เต่า ๒ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อมะเขือขื่นพันธุ์หนึ่ง สีขาว เนื้อกรอบ. (๒) ชื่อไม้พุ่มชนิด
/Polyalthia debilis/ (Pierre) Finet et Gagnep. ในวงศ์ Annonaceae
ขึ้นตามป่าโปร่งดินทราย ผลเป็นข้อ ๆ.
【 ไข่น้ำ 】แปลว่า: /ดู ไข่แหน/.
【 ไข่เน่า ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด /Vitex glabrata/ R. Br. ในวงศ์ Labiatae
ขึ้นตามป่าดิบและที่ราบลุ่มทั่ว ๆ ไป สูง ๘-๑๒ เมตร ใบเป็นใบ
ประกอบ มีใบย่อย ๕ ใบ ดอกเล็ก สีม่วงอ่อน ผลรูปไข่ขนาด
หัวแม่มือ สุกสีดํา กินได้ มีรสหวานเล็กน้อย เปลือกและรากใช้
ทํายาได้.
【 ไข่เน่า ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อแก๊สพิษชนิดหนึ่ง มีกลิ่นเหม็นเหมือนไข่เน่า. /(ดู ก๊าซไข่เน่า,/
/แก๊สไข่เน่า)/.
【 ไข่มุก 】แปลว่า: น. วัตถุมีค่า มักมีลักษณะกลม ๆ เกิดจากหอยบางชนิด ที่รู้จักกัน
ทั่วไปมีสีขาวที่เป็นสีขาวอมชมพูหรือสีดำก็มี ใช้ทำเป็นเครื่องประดับ.
【 ไขรา 】แปลว่า: น. ส่วนของหลังคาอาคารสถาปัตยกรรมไทย เฉพาะตอนที่ยื่นพ้น
ผนังอาคารออกไปยังขอบหลังคา, ถ้าส่วนที่ยื่นนั้นอยู่ตรงหน้าจั่ว
เรียก ไขราหน้าจั่ว, ถ้าอยู่ปลายหน้าบัน เรียก ไขราหน้าบัน, ถ้าเป็น
หลังคาปีกนก เรียก ไขราปีกนก, ถ้าเป็นหลังคาบังสาดตามขนาด
ยาวของเต้า เรียกไขราจันทันเต้า หรือ ไขราเต้า.
【 ไขว่ 】แปลว่า: [ไขฺว่] ก. ไขว้ เช่น ไขว่ชะลอม, ก่ายกัน. ว. อาการที่เคลื่อนไหวไปมา
อย่างสับสน เช่น เดินไขว่ โบกมือไขว่. น. เรียกแผ่นกระดาษที่รองรับ
แผ่นทองคำเปลวสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ จำนวน ๒๐ แผ่นว่า ๑ ไขว่.
【 ไขว่คว้า 】แปลว่า: ก. เอื้อมมือฉวยเอาอย่างสับสน, พยายามจับหรือถือเอา, คว้าไขว่ ก็ว่า.
【 ไขว่ห้าง 】แปลว่า: ว. อาการที่นั่งหรือนอนเอาขาพาดบนเข่าซึ่งตั้งชันอยู่.
【 ไขว้ 】แปลว่า: [ไขฺว้] ก. ขัด เช่น ไขว้เฉลว, สับกัน เช่น ส่งของไขว้ คือ เอาของคนหนึ่ง
ไปส่งคืนให้อีกคนหนึ่ง, ก่ายสับกัน เช่น ไขว้ขา; กิริยาที่เตะตะกร้อด้วย
บิดเท้าไปอีกข้างหนึ่ง เรียกว่า เตะไขว้.
【 ไขว้เขว 】แปลว่า: ก. สับกัน; (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า เอาของไปจํานํา.
【 ไขว้โรง 】แปลว่า: ก. กลับตรงกันข้าม (เดิมเป็นภาษาใช้ในการพนันหวย ก ข มีตัวโรงเช้า
โรงคํ่า เมื่อผู้แทงระบุตัวแทงแล้ว ถ้าหากตัวออกกลับกันเสีย ก็เรียกว่า
ขุนบาลกินอย่างไขว้โรง, ตรงกับว่า โอละพ่อ).
【 ไขษย 】แปลว่า: ขะไส น. กษัย, การสิ้นไป, การหมดไป.
【 ไขเสนียด 】แปลว่า: [-สะเหฺนียด] น. นํ้าครํา.
【 ไข่หิน ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ไข่ ๑/.
【 ไข่หิน ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อสาหร่ายสีเขียวชนิด /Nostochopsis lobatus/ Wood ในวงศ์
Nostochopsidaceae ลักษณะรูปไข่ ค่อนข้างกลมเล็ก สีเขียวแก่
เกิดในนํ้าใสสะอาด เกาะอยู่กับหิน กินได้, ดอกหิน ก็เรียก.
【 ไข่แหน 】แปลว่า: [-แหฺน] น. ชื่อไม้นํ้าชนิด /Wolffia globosa/ (Roxb.) Hartog et Plas
ในวงศ์ Lemnaceae เกาะกันเป็นกลุ่มลอยอยู่ในนํ้า ลักษณะเป็นเม็ด
เขียว ๆ กลม ๆ เล็ก ๆ ขนาดเม็ดทราย ไม่มีรากcเป็นพืชที่เล็กที่สุด
ในจําพวกพืชมีดอก กินได้, ไข่นํ้า หรือ ผํา ก็เรียก.
【 ฃ 】แปลว่า: พยัญชนะตัวที่ ๓ เป็นอักษรสูง ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

error: Content is protected !!