พจนานุกรม ไทย – ไทย ฅ-ฆ-ง-จ-ฉ

【 ฅ 】แปลว่า: พยัญชนะตัวที่ ๕ นับเป็นพวกอักษรต่ำ แต่ปัจจุบันนี้เลิกใช้แล้ว.
【 ฆ 】แปลว่า: พยัญชนะตัวที่ ๖ นับเป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กกในคํา
ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต ที่ใช้เขียนในคําไทยมีบ้างเล็กน้อย
คือ ฆ่า เฆี่ยน ฆ้อง ระฆัง ตะเฆ่.
【 ฆน-, ฆนะ 】แปลว่า: คะนะ- น. แท่ง, ก้อน. ว. แน่น, ทึบ, แข็ง เช่น กรวดกรับ
อันคละฆนศิลา. (ดุษฎีคําฉันท์). (ป., ส.).
【 ฆร-, ฆระ 】แปลว่า: [คะระ-] น. เรือน. (ส. คฺฤห).
【 ฆรณี 】แปลว่า: [คอระนี] น. แม่เรือน, เมีย. (ป., ส.).
【 ฆราวาส 】แปลว่า: [คะราวาด] น. คนผู้อยู่ครองเรือน, คนทั่ว ๆ ไปที่ไม่ใช่บรรพชิตหรือ
นักบวช. (ป.).
【 ฆ้อง 】แปลว่า: น. เครื่องตีให้เกิดเสียงอย่างหนึ่ง ทําด้วยโลหะผสม รูปร่างเป็นแผ่น
วงกลม มีขอบยื่นลงมารอบตัว เรียกว่า ใบฉัตร มีปุ่มกลมตรงกลาง
สําหรับตี มีหลายชนิด เช่น ฆ้องกระแต ฆ้องชัย ฆ้องวง.
【 ฆ้องกระแต 】แปลว่า: น. ฆ้องขนาดเล็ก ใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์มอญ โดยทำร้านฆ้องโค้ง
งอขึ้นเหมือนฆ้องมอญแต่ปลายสั้นกว่า วงหนึ่งมีลูกฆ้อง ๑๑ ลูก
หรือใช้แขวนกับไม้สำหรับถือตีเป็นสัญญาณในการอยู่เวรยามหรือ
แจ้งข่าวสารต่าง ๆ.
【 ฆ้องคู่ 】แปลว่า: น. ฆ้องที่ใช้บรรเลงในการเชิดหนังตะลุงและละครโนราชาตรี ชุดหนึ่ง
มี ๒ ลูก, ปักษ์ใต้เรียก โหม่ง.
【 ฆ้องชัย 】แปลว่า: น. ฆ้องขนาดใหญ่ สมัยโบราณใช้ตีเป็นสัญญาณในกองทัพ ในปัจจุบัน
ใช้ตีในงานพิธีมงคลต่าง ๆ, ฆ้องหุ่ย ก็เรียก.
【 ฆ้องปากแตก 】แปลว่า: (สํา) ว. ปากโป้ง, เก็บความลับไม่อยู่, ชอบนําความลับของผู้อื่น
ไปโพนทะนา.
【 ฆ้องวง 】แปลว่า: น. ฆ้องที่ใช้ตีดำเนินทำนอง เจาะรูที่ใบฉัตร ๔ รู สําหรับร้อยหนัง
ตีเกลียวผูกโยงกับวงที่ทําด้วยต้นหวายโป่ง วงหนึ่งมีลูกฆ้อง ๑๖
-๑๙ ลูก ทุกลูกเทียบเสียงตํ่าสูงเรียงกันเป็นลําดับ มีหลายชนิด
คือ ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ฆ้องมโหรี ฆ้องวงเล็กมโหรี.
【 ฆ้องหุ่ย 】แปลว่า: /ดู ฆ้องชัย/.
【 ฆ้องเหม่ง 】แปลว่า: น. ฆ้องขนาดเขื่องกว่าฆ้องกระแต หนามาก มีเชือกร้อยรูทั้ง ๒ ที่
ใบฉัตร แขวนห้อยกับไม้สําหรับถือตีประกอบจังหวะ.
【 ฆ้องโหม่ง 】แปลว่า: น. ฆ้องขนาดใหญ่กว่าฆ้องเหม่ง มีเชือกร้อยรูทั้ง ๒ ที่ใบฉัตร แขวน
ห้อยทางตั้งกับขาหยั่งหรือคานไม้ ตรงหัวไม้ที่ใช้ตีพันด้วยผ้ากับ
เชือกให้เป็นปุ่มโตอ่อนนุ่ม เวลาตีจะมีเสียงดังโหม่ง ๆ ใช้ตีกำกับ
จังหวะในวงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย หรือวงมโหรี, สมัยโบราณใช้ตี
ในเวลากลางวันเป็นสัญญาณบอก “โมง” คู่กับกลองที่ตีเป็น
สัญญาณในเวลากลางคืนบอก “ทุ่ม”.
【 ฆ้องสามย่าน 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล /Kalanchoe/ วงศ์ Crassulaceae
ใบอวบนํ้า ใช้ทํายาได้ เช่น ชนิด /K. laciniata/ DC. ดอกสีเหลือง.
【 ฆ่า 】แปลว่า: ก. ทําให้ตาย เช่น ฆ่าคน ฆ่าสัตว์; ทำให้หมดไป, ทำให้สิ้นไป, เช่น
ฆ่าเวลา ฆ่ากลิ่น ฆ่าข้อความ.
【 ฆ่าแกง 】แปลว่า: (ปาก) ก. ทำให้ตาย.
【 ฆ่าควายเสียดายเกลือ, ฆ่าควายอย่าเสียดายพริก 】แปลว่า: (สํา) ก. ทําการใหญ่ไม่ควรตระหนี่.
【 ฆ่าช้างเอางา 】แปลว่า: (สำ) ก. ทำลายของใหญ่เพื่อให้ได้ของเล็กน้อยซึ่งไม่คุ้มค่ากัน.
【 ฆ่าไม่ตายขายไม่ขาด 】แปลว่า: (สํา) ก. ตัดเยื่อใยไม่ขาด (มักใช้แก่พ่อแม่ที่รักลูกมากถึงจะโกรธ
จะเกลียดอย่างไรก็ตัดไม่ขาด).
【 ฆ่าฟัน 】แปลว่า: ก. ใช้อาวุธฆ่ากัน.
【 ฆาฏ 】แปลว่า: (โบ; เลิก) น. การฆ่า, การทําลาย. ก. ตี.
【 ฆาต, ฆาต- 】แปลว่า: [คาด, คาดตะ-] น. การฆ่า, การทําลาย. ก. ตี เช่น เจ้าวิลาสฆาตกลอง
เร่งกองรบ. (อภัย).
【 ฆาตกร 】แปลว่า: น. ผู้ที่ฆ่าคน.
【 ฆาตกรรม 】แปลว่า: น. การฆ่าคน. (ป. ฆาต + ส. กรฺมนฺ).
【 ฆาน, ฆาน- 】แปลว่า: คาน, คานะ- น. จมูก, ประสาทที่รับรู้กลิ่น. (ป.).
【 ฆานประสาท 】แปลว่า: น. ประสาทที่รับรู้กลิ่น.
【 ฆานินทรีย์ 】แปลว่า: น. จมูกซึ่งเป็นใหญ่ในการดมกลิ่น. (ป. ฆาน + อินฺทฺริย).
【 ฆานินทรีย์ 】แปลว่า: /ดู ฆาน, ฆาน-/.
【 เฆี่ยน 】แปลว่า: ก. ตีด้วยหวายหรือไม้เรียวเป็นต้นเป็นการลงโทษ; (ปาก) เร่งความเร็ว
เช่น เฆี่ยนมาด้วยความเร็ว ๑๘๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง, เอาชนะคู่แข่งขัน
อย่างขาดลอย เช่น เฆี่ยนฝ่ายตรงข้าม ๓ เกมรวด.
【 โฆรวิส 】แปลว่า: [โคระวิด] น. งูพิษ. ว. มีพิษร้าย. (ป.).
【 โฆษก 】แปลว่า: [โคสก] น. ผู้ประกาศ, ผู้โฆษณา, เช่น โฆษกสถานีวิทยุ; ผู้แถลงข่าว
แทน เช่น โฆษกพรรคการเมือง. (ส.; ป. โฆสก ว่า ผู้ป่าวร้อง, ผู้โฆษณา).
【 โฆษณา 】แปลว่า: [โคดสะนา] ก. เผยแพร่ข้อความออกไปยังสาธารณชน; ป่าวร้อง,
ป่าวประกาศ, เช่น โฆษณาสินค้า; (กฎ) กระทําการไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ
ให้ประชาชนเห็นหรือทราบข้อความเพื่อประโยชน์ในทางการค้า.
(ส.; ป. โฆสนา).
【 โฆษณาการ 】แปลว่า: น. การป่าวร้องให้ทราบ, การแจ้งความให้ทราบ. (ส. โฆษณา + อาการ).
【 โฆษณาชวนเชื่อ 】แปลว่า: ก. เผยแพร่อุดมการณ์หรือความคิดเห็น ด้วยกลอุบายต่าง ๆ เพื่อ
โน้มน้าวจิตใจผู้อื่นให้เห็นคล้อยตาม.
【 โฆษะ 】แปลว่า: ว. ก้อง, เสียงสระหรือพยัญชนะซึ่งขณะที่เปล่งออกมาเส้นเสียงสั่น
ในภาษาไทยได้แก่เสียง บ ด เมื่อเป็นพยัญชนะต้น เสียง ง น ม ย ร
ล ว และเสียงสระทุกเสียง, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและ
สันสกฤตที่มีเสียงก้องว่า พยัญชนะโฆษะ ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๓,
๔, ๕ ของวรรค และ ย ร ล ว ห ฬ. (ส.; ป. โฆส).
【 โฆษิต 】แปลว่า: ก. กึกก้อง, ป่าวร้อง. (ส.; ป. โฆสิต).
【 ง 】แปลว่า: พยัญชนะตัวที่ ๗ นับเป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กง.
【 งก ๑ 】แปลว่า: ก. แสดงอาการอยากได้หรือไม่อยากเสียจนเกินควร. ว. มีอาการ
สั่นอย่างคนแก่หรืออย่างกลัวหรืออย่างหนาวมาก.
【 งกเงิ่น, งก ๆ เงิ่น ๆ 】แปลว่า: ว. ตัวสั่น, มีอาการประหม่าตัวสั่นจนทําอะไรไม่ถูก.
【 งก ๒ 】แปลว่า: น. ไม้รูปคล้ายตะลุมพุกสําหรับควาญท้ายตีช้างเมื่อต้องการให้ช้าง
ไปเร็ว เรียกว่า ไม้งก.
【 งก ๆ, ง่ก ๆ 】แปลว่า: ว. อาการที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งโดยไม่คำนึงถึงความเหนื่อยยาก
เช่น ทำงานง่ก ๆ ทั้งวันจนไม่มีเวลาหยุดพัก.
【 งง 】แปลว่า: ก. ฉงน, คิดไม่ออกเพราะยุ่งยากซับซ้อน, ทําอะไรไม่ถูกเพราะยังตั้ง
สติไม่อยู่; อาการมึนเกิดเพราะหัวหรือบริเวณหน้าได้รับความกระทบ
กระเทือนอย่างแรงเป็นต้น.
【 งงงวย 】แปลว่า: ก. เคลิบเคลิ้ม, เผลอสติ, มึนงง, งวยงง ก็ว่า.
【 งงงัน 】แปลว่า: ก. งงจนทําอะไรไม่ถูก.
【 งงเป็นไก่ตาแตก 】แปลว่า: (สำ) ก. งงมากจนทำอะไรไม่ถูก.
【 งงิด 】แปลว่า: [งะ-] น. มืด. (ข. งงึด ว่า มืด).
【 งด 】แปลว่า: ก. หยุดหรือเว้น คือ ไม่กระทําหรือไม่ดําเนินการตามปรกติ เช่น ผู้ป่วย
ต้องงดอาหารและน้ำตามที่แพทย์สั่ง.
【 งดเว้น 】แปลว่า: ก. เว้นด้วยการงด คือ หยุดไม่กระทำหรือไม่ดำเนินการตามปรกติ
เช่น งดเว้นอบายมุขระหว่างเข้าพรรษา.
【 งดงาม 】แปลว่า: ว. สวย, ดี, งาม.
【 งบ ๑ 】แปลว่า: น. สิ่งที่เป็นแผ่นกลม ๆ เช่น งบนํ้าตาล งบนํ้าอ้อย, เรียกนํ้าตาล นํ้าอ้อย
ที่ทําให้เป็นแผ่น ๆ เช่นนั้น ว่า นํ้าตาลงบ นํ้าอ้อยงบ.
【 งบ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อกับข้าวชนิดหนึ่งคล้ายห่อหมก ห่อด้วยใบไม้ มีใบตองเป็นต้น
แล้วปิ้งไฟ. ก. ปรุงอาหารด้วยวิธีเช่นนั้น.
【 งบ ๓ 】แปลว่า: ก. ปิด, รวม, เช่น งบบัญชี.
【 งบดุล 】แปลว่า: (กฎ) น. รายการแสดงสินทรัพย์และหนี้สิน เพื่อให้รู้ฐานะการเงิน
ของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่ง.
【 งบประมาณ 】แปลว่า: (กฎ) น. ประมาณการรายรับและรายจ่าย.
【 งบ ๔ 】แปลว่า: (ปาก) น. วงเงิน เช่น งบค่าก่อสร้างบ้าน.
【 งม 】แปลว่า: ก. ดํานํ้าลงไปคลําหาของ, คลําหาของในนํ้า; โดยปริยายหมายความว่า
งุ่มง่าม, ชักช้า, เช่น มัวไปงมอยู่ที่ไหน.
【 งมเข็มในมหาสมุทร 】แปลว่า: (สํา) ก. ค้นหาสิ่งที่ยากจะค้นหาได้, ทํากิจที่สําเร็จได้ยาก.
【 งมโข่ง 】แปลว่า: (ปาก) ว. งุ่มง่าม, ไม่ทันเหตุการณ์.
【 งมงาย 】แปลว่า: ก. หลงเชื่อโดยไม่มีเหตุผล หรือโดยไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นหรือ
เหตุผลของผู้อื่น.
【 งวง ๑ 】แปลว่า: น. จมูกของช้างที่ยื่นยาวออกไป ตรงปลายมีจะงอยสําหรับจับของ
อย่างมือ, เรียกจั่นมะพร้าวและช่อดอกเพศผู้ของตาลเพื่อเตรียม
ทํานํ้าตาล, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น งวงครุ
งวงผีเสื้อ; ลมชนิดหนึ่งเมื่อเริ่มเกิดจะเห็นเป็นลํายื่นลงมาจากใต้
ฐานเมฆ มีลักษณะคล้ายงวงช้าง ถ้ามีกําลังแรงมาก ลํานี้จะยาว
ลงมามากเรียกว่า ลมงวง, ลมงวงช้าง ก็เรียก; ตัวลำยองที่ทำเป็น
งวงเกี่ยวอยู่ตรงแปงวง.
【 งวง ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไก่ขนาดใหญ่ชนิด /Meleagris gallopavo/ ในวงศ์ Meleagrididae
ขนสวยงาม คอและหัวเปลือยมีหนังตะปุ่มตะป่ำ เหนือจะงอยปากบน
มีหนังเส้นหนึ่งห้อยยาวเหมือนงวง ตัวผู้มักพองขนและรําแพนหาง
มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ.
【 ง่วง 】แปลว่า: ก. อาการที่ร่างกายอยากนอน.
【 ง่วงงุน 】แปลว่า: ก. ง่วงซึม.
【 ง่วงเหงา 】แปลว่า: [-เหฺงา] ว. มีลักษณะง่วงซึมไม่กระปรี้กระเปร่า.
【 ง่วงเหงาหาวนอน 】แปลว่า: ก. มีอาการซึมเซาอยากนอนมาก.
【 งวงช้าง ๑ 】แปลว่า: น. (๑) หญ้างวงช้าง. /(ดู หญ้างวงช้าง)./ (๒) กล้วยงวงช้าง. /(ดู ร้อยหวี)./
(๓) /ดู ไก่ไห้ (๑)./
【 งวงช้าง ๒ 】แปลว่า: น. ชื่องูนํ้าจืดชนิด /Acrochordus javanicus/ ในวงศ์ Colubridae ตัวนิ่ม
เกล็ดเป็นตุ่ม ๆ อาศัยตามแหล่งนํ้าจืดทั่วไป หากินปลาในนํ้า แต่มัก
ขดนอนตามโพรงตลิ่งที่แฉะ ๆ ไม่มีพิษ.
【 งวด 】แปลว่า: น. คราวที่กำหนด เช่น การออกรางวัลสลากกินแบ่งออกเป็นงวด,
ลักษณนามเรียกจำนวนนับของคราวที่กำหนด เช่น แบ่งการชำระหนี้
ออกเป็น ๕ งวด. ก. ลดลงไป, พร่องลงไป, แห้งลงไป, เช่น น้ำงวดลง.
【 ง่วน 】แปลว่า: ว. เพลินทําเพลินเล่นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง. (จ. หง่วน).
【 ง้วน ๑ 】แปลว่า: น. เรียกโอชะของบางสิ่ง เช่น ง้วนดิน คือ โอชะของดิน ที่กล่าวไว้ใน
คัมภีร์ไตรภูมิโลกวินิจฉัยว่ามีรสหวาน, ง้วนผึ้ง คือ ละอองดอกไม้ที่
ผึ้งนํามาสะสมไว้ที่รัง มีสีเหลือง มีรสมัน หอมหวาน.
【 ง้วน ๒ 】แปลว่า: น. ต้นไม้ชนิดหนึ่ง ยางมีพิษ ใบเหมือนใบเงิน ดอกแดง ต้นเหมือน
ต้นสลอด. (พจน. ๒๔๙๓); ยาพิษ.
【 งวยงง 】แปลว่า: ก. เคลิบเคลิ้ม, เผลอสติ, มึนงง, งงงวย ก็ว่า.
【 งอ 】แปลว่า: ว. ลักษณะที่มีส่วนปลายหักโค้งเข้าหาตัวมันเองเช่นรูปอย่างขอ;
เรียกหน้าซึ่งมีสีหน้าแสดงอาการโกรธ ไม่พอใจ หรือไม่ได้อย่างใจ
เป็นต้นว่า หน้างอ. ก. ทําให้มีรูปหรือเป็นเช่นนั้น, เรียกอาการของ
คนที่หัวเราะจนตัวงอว่า หัวเราะงอ.
【 งอก่อ, งอก่องอขิง 】แปลว่า: ว. อาการที่ตัวงอหรือทําตัวงอ เพราะร้อนหรือหนาวมากเป็นต้น.
【 งอขี้กล้อง 】แปลว่า: (ปาก) ว. อาการที่ถูกทำร้ายบริเวณท้องจนล้มลงกับพื้นในลักษณะ
ตัวงอคล้ายคนนอนสูบฝิ่น.
【 งอมืองอตีน 】แปลว่า: ก. เกียจคร้าน, ไม่สนใจขวนขวายทําการงาน, ไม่คิดสู้.
【 งอหาย 】แปลว่า: ว. อาการที่ร้องไห้หรือหัวเราะจนเสียงเงียบหายไป.
【 ง้อ 】แปลว่า: ก. ขอคืนดีด้วย, ขอพึ่งพาอาศัย.
【 ง้องอน 】แปลว่า: ก. อ้อนวอนขอคืนดีด้วย, อ่อนเข้าหาเพื่อให้ยอมหรือช่วยเหลือ,
งอนง้อ ก็ว่า.
【 งอก ๑ 】แปลว่า: ก. อาการที่เมล็ดผลไม้แตกเป็นต้นขึ้น; ผลิออก, แตกออก, เช่น รากงอก
ยอดงอก; เพิ่มปริมาณมากขึ้น (ใช้เฉพาะของบางอย่าง) เช่น เงินงอก
แผ่นดินงอก เนื้องอก; เรียกหน้าผากที่กว้างยื่นงํ้าออกไปกว่าปรกติว่า
หน้างอก.
【 งอกงาม 】แปลว่า: ก. เจริญผลิดอกออกผล.
【 งอกเงย 】แปลว่า: ก. มีผลประโยชน์หรือรายได้เพิ่มมากขึ้น.
【 งอก ๒ 】แปลว่า: น. เรียกต้นอ่อนที่งอกออกจากผลบางชนิดมีผลมะพร้าวเมล็ดตาล
เป็นต้นว่า งอกมะพร้าว งอกตาล.
【 ง่อกแง่ก 】แปลว่า: ว. โยกคลอนไปมา, ไม่แน่น, ไม่มั่นคง.
【 ง่อง 】แปลว่า: น. เรียกสายโยงคางม้าไม่ให้เงยว่า สายง่อง.
【 ง่องแง่ง 】แปลว่า: ว. อาการที่ร่างกายไม่แข็งแรงทําให้เดินหรือเคลื่อนไหวไม่ถนัด,
กระย่องกระแย่ง หรือ กระง่องกระแง่ง ก็ว่า. ก. ทะเลาะเบาะแว้งกัน,
ไม่ปรองดองกัน.
【 งอแง 】แปลว่า: ว. ขี้แย, ขี้อ้อน, (ใช้แก่เด็ก); (ปาก) รวนเร, บิดพลิ้ว; เอาใจยาก.
【 งอด 】แปลว่า: น. ชื่องูจําพวกงูปี่แก้วในวงศ์ Colubridae ขนาดเล็กประมาณเท่า
ดินสอดํา ส่วนใหญ่ลําตัวสีเทา ท้องเป็นจุดสีแดงและดํา ไม่มีพิษ
ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น งอดท้องแดง (/Oligodon taeniatus/)
งอดด่าง (/O. cinereus/).
【 งอดแงด 】แปลว่า: ว. กระเง้ากระงอด, กะบึงกะบอน.
【 งอน ๑ 】แปลว่า: น. ส่วนปลายแห่งของบางอย่างที่เป็นรูปยาวเรียวและช้อยขึ้น เช่น
งอนไถ. ว. ช้อยขึ้น, โง้งขึ้น. ก. แสดงอาการโกรธเคืองหรือไม่พอใจ
เพื่อให้เขาง้อ, ทําจริตสะบัดสะบิ้ง.
【 งอนง้อ 】แปลว่า: ก. อ้อนวอนขอคืนดีด้วย, อ่อนเข้าหาเพื่อให้ยอมหรือช่วยเหลือ,
ง้องอน ก็ว่า.
【 งอนไถ 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์มฆา มี ๕ ดวง, ดาวงูผู้ ดาวโคมูตร ดาววานร
ดาวมฆะ หรือ ดาวมาฆะ ก็เรียก.
【 งอน ๒ 】แปลว่า: ว. งาม ในคำว่า งามงอน. (งอน อะหม ว่า งาม).
【 ง่อน 】แปลว่า: น. ก้อนดินหรือหินที่ตั้งสูงขึ้นไป เช่น เงื้อมง่อน ว่า เงื้อมแห่งก้อนดิน
หรือหินที่ตั้งสูงขึ้นไป.
【 ง่อนแง่น 】แปลว่า: ว. คลอนแคลน, ไม่แน่น, ไม่มั่นคง, กระง่อนกระแง่น ก็ว่า.
【 งอนหง่อ 】แปลว่า: ว. คู้ตัวงอตัว เป็นอาการของคนที่กลัวมากหรือหนาวมากเป็นต้น.
【 ง้อนหมู 】แปลว่า: น. หญ้าแห้วหมู. (โอสถพระนารายณ์).
【 งอบ 】แปลว่า: น. เครื่องสวมหัวสําหรับกันแดดและฝน สานด้วยตอกไม้ไผ่ กรุด้านนอก
ด้วยใบลาน รูปคล้ายกระจาดควํ่า มีรังสําหรับสวม.
【 งอม 】แปลว่า: ว. สุกจัดจนเกือบเน่าหรือเละ เช่น กล้วยงอม มะม่วงงอม, โดยอนุโลม
ใช้กับคนที่แก่มากจนทำอะไรไม่ไหว เช่น ปีนี้คุณยายดูงอมมาก, โดย
ปริยายหมายความว่า แย่ เช่น ถูกใช้ให้ทํางานเสียงอม, บอบชํ้า เช่น
ถูกตีเสียงอม, ได้รับทุกข์ทรมานมาก เช่น เป็นไข้เสียงอม.
【 งอมแงม 】แปลว่า: ว. เลิกได้ยาก เช่น ติดฝิ่นงอมแงม, แก้ได้ยาก, รักษาได้ยาก, เช่น
เจ็บงอมแงม.
【 งอมพระราม 】แปลว่า: (สํา) ว. มีความทุกข์ยากลําบากเต็มที่ เช่น ทศกัณฐ์จะงอมพระราม
ที่ไหน เกรงพระรามจะงอมพระรามไปเองเสียอีก. (ลักวิทยา).
【 ง้อม 】แปลว่า: ว. งํ้า, ค้อม เช่น กิ่งไม้ง้อมลงเพราะลูกดก.
【 งอย ๑ 】แปลว่า: ก. อยู่หมิ่น, ตั้งอยู่หมิ่น, ห้อย.
【 งอย ๒ 】แปลว่า: ก. คอย เช่น งอยท่า.
【 ง่อย 】แปลว่า: ว. อาการที่แขนหรือขาพิการเคลื่อนไหวไม่ได้อย่างปรกติ.
ง่อยเปลี้ยเสียขา ว. มีร่างกายพิการจนเดินไม่ได้อย่างปรกติ.
【 งะ 】แปลว่า: (โบ) คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ง เป็นพยัญชนะต้น
มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น เช่น งะงก งะงัน งะโง้ง.
【 งัก ๆ, งั่ก ๆ 】แปลว่า: ว. อาการที่สั่นสะท้าน, อาการที่เดินสั่น ๆ มา.
【 งั่ก 】แปลว่า: ว. มาก เช่น แก่งั่ก หนาวงั่ก.
【 งัง ๆ 】แปลว่า: ว. อาการที่เดินโดยด่วน.
【 งั่ง ๑ 】แปลว่า: น. รูปหล่อด้วยโลหะเหมือนพระพุทธรูป แต่ไม่มีผ้าพาด, เรียก
พระพุทธรูปที่ยังไม่ได้ทําพิธีเบิกพระเนตร.
【 งั่ง ๒ 】แปลว่า: ว. โง่ไม่เป็นประสีประสา.
【 งั่ง ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓).
【 งัด 】แปลว่า: ก. ทําให้เผยอหรือเคลื่อนที่โดยใช้วัตถุยาวคัด เช่น งัดตะปู งัดซุง; นํา
ออกมาจากที่เก็บ เช่น งัดเอาเครื่องลายครามมาอวด, โดยปริยาย
หมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น งัดเอาเรื่องเก่ามาพูด.
【 งัดข้อ 】แปลว่า: ก. เกร็งแขนขัดกัน แล้วออกกําลังกดให้แขนอีกฝ่ายหนึ่งล้มลง,
โดยปริยายหมายความว่า โต้เถียงกัน, มีความเห็นขัดแย้งกัน,
ไม่ลงรอยกัน.
【 งัน 】แปลว่า: ก. หยุดชะงัก เช่น นิ่งงัน, ไม่งอกงาม เช่น ต้นไม้งันไป, อาการที่ชะงัก
นิ่งอึ้งไปชั่วขณะเพราะคาดไม่ถึง ในคำว่า ตะลึงงัน.
【 งันงก 】แปลว่า: ว. สั่นเงอะงะอยู่, สะทกสะท้านอยู่.
【 งับ 】แปลว่า: ก. ปิดอย่างไม่สนิทหรือปิดอย่างไม่ลงกลอน เช่น งับประตู; อาการที่
อ้าปากคาบหรือกัดโดยเร็ว.
【 งับแง 】แปลว่า: ก. แง้ม, ปิดไม่สนิท.
【 งัว ๑ 】แปลว่า: น. วัว, โค ก็เรียก.
【 งัว ๒, งั่ว ๑ 】แปลว่า: (โบ) น. ลูกชายคนที่ ๕.
【 งัว ๓ 】แปลว่า: น. ไม้รับกงพัดที่โคนเสา ๒ อันเพื่อกันไม่ให้เสาทรุดลงไปในหลุม.
【 งัว ๔ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในหลายวงศ์ เช่น วงศ์ Triacanthidae,
Monacanthidae, Balistidae, Anacanthidae ผิวหนังหยาบเหนียว
หรือเป็นแผ่นกระดูกหนาเรียงติดต่อกัน ฟันเป็นแผ่น ใช้แทะเล็ม
หาอาหารตามแนวปะการังและพื้นท้องทะเล ก้านครีบหลังก้านแรก
และครีบท้องเป็นแท่งกระดูกใหญ่คล้ายเขาสัตว์, บางชนิดมีชื่อเรียกว่า
วัว หรือ กวาง.
【 งั่ว ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อนกชนิด /Anhinga melanogaster/ ในวงศ์ Anhingidae ปากยาวตรง
สีเหลือง ปลายแหลมมาก คอโค้งยาวคล้ายเคียว ขนดํา ปีกและหลัง
มีลายสีขาว ตีนมีแผ่นพังผืดติดกันทั้ง ๔ นิ้วคล้ายตีนเป็ด ดํานํ้าจับ
ปลาโดยใช้ปากแทง, อ้ายงั่ว ก็เรียก.
【 งัวเงีย 】แปลว่า: ก. อาการที่คนแรกตื่นยังง่วงอยู่.
【 งัวซัง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Capparis thorelii/ Gagnep. ในวงศ์ Capparidaceae
ลําต้นมีหนามโค้ง ดอกสีชมพู.
【 งัวเลีย ๑ 】แปลว่า: น. เรียกผมที่หน้าผากซึ่งตั้งชันขึ้นไปแล้วปลายย้อนกลับลงมา.
【 งัวเลีย ๒ 】แปลว่า: /ดู ไก่ไห้ (๑)/.
【 งา ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Sesamum orientale/ L. ในวงศ์ Pedaliaceae
ผลเป็นฝัก มีเมล็ดเล็ก ๆ สีขาวหรือดํา ใช้ประกอบอาหารหรือ
สกัดนํ้ามัน.
【 งาตัด 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยงากวนกับนํ้าตาลแล้วตัดเป็นชิ้น
สี่เหลี่ยมคล้ายข้าวพองในเครื่องจันอับ.
【 งาลั่ว 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่งทำด้วยงาคั่วให้สุกแล้วเคล้ากับน้ำตาลเคี่ยว
ทำเป็นแผ่นบาง ๆ ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยม.
【 งา ๒ 】แปลว่า: น. ฟันตัดแถวบนที่งอกออกจากปากช้าง, ลักษณนามเรียก กิ่ง.
【 งากำจาย 】แปลว่า: น. งาช้างที่หักติดอยู่ในไม้หรือสิ่งอื่น ๆ.
【 งาเครือ 】แปลว่า: น. งาช้างที่ยาวมากแต่วงรอบเล็ก.
【 งาเนียม 】แปลว่า: น. งาช้างที่ใหญ่แต่สั้นและมักจะชี้ตรง, เรียกช้างที่มีงาเช่นนั้นว่า
ช้างงาเนียม.
【 งาสาน 】แปลว่า: (โบ) น. เรียกพัดยศที่พื้นพัดสานด้วยงาช้าง เป็นเครื่องหมายฝ่าย
อรัญวาสีว่า พัดงาสาน, ในสมัยโบราณ สมเด็จพระสังฆราชและ
สมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่ที่ลงท้ายสร้อยราชทินนามว่า
‘คามวาสี อรัญวาสี’ มีพัดยศ ๒ เล่ม พัดแฉกพื้นกำมะหยี่ปักด้วยทอง
และเงิน เป็นเครื่องหมายฝ่ายคามวาสี พัดงาสานเป็นเครื่องหมาย
ฝ่ายอรัญวาสี.
【 งา ๓ 】แปลว่า: น. ส่วนหนึ่งของเครื่องดักสัตว์เช่นลอบหรือไซ ทําเป็นซี่ ๆ ปลายสอบ
เข้าหากันเพื่อไม่ให้ปลาที่เข้าไปแล้วออกมาได้.
【 งาแซง 】แปลว่า: น. งาอย่างหนึ่งคล้ายงาลอบงาไซกันไม่ให้ของข้างในออก แต่ใส่
ลงไปได้ ใช้สวมปากข้องปากลันเป็นต้น; เสาเสี้ยมปลายที่ปัก
ตะแคงระหว่างเสาระเนียด เพื่อกันไม่ให้ช้างกระแทกเสาระเนียด,
เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้นสําหรับตั้งกีดขวางทางเข้า
ประตูค่ายเป็นต้น.
【 งา ๔ 】แปลว่า: น. ชื่อปลานํ้ากร่อยหรือทะเลขนาดเล็กชนิด /Thryssa setirostris/ ในวงศ์
Engraulidae กระดูกขากรรไกรบนโค้งยื่นยาวเป็นเส้นจดครีบท้อง
หรือครีบก้น ลําตัวยาว แบนข้าง ปากกว้าง เกล็ดที่สันท้องเป็น
เหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย พื้นลําตัวสีเงินอมเหลืองส้ม.
【 ง่า ๑ 】แปลว่า: ก. เงื้อ, อ้า, กางออก. น. ค่าคบไม้.
【 ง่า ๒ 】แปลว่า: น. เรียกตัวหนังใหญ่ที่สลักเป็นรูปยักษ์หรือลิงในท่าเหาะ ว่า
หนังง่า. (ลัทธิ).
【 ง้าง 】แปลว่า: ก. ทำให้อ้าออก เช่น ง้างประตู, ดึงให้ยืดออก เช่น ง้างศร, งัด เช่น
ง้างปาก, เหนี่ยว เช่น ง้างไกปืน, เงื้อ เช่น ง้างหมัด.
【 ง่าเงย 】แปลว่า: ก. เป็นสง่า, เปิดเผย.
【 งาช้าง ๑ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อนํ้าเต้าพันธุ์หนึ่ง ผลยาวคล้ายงาช้าง. /[ดู นํ้าเต้า (๑)]./ (๒)
ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Sansevieria cylindrica/ Boijer ในวงศ์ Agavaceae
ใบกลมเป็นแท่ง สีเขียวเข้ม ใช้เป็นยาทําให้อาเจียน.
【 งาช้าง ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อหอยทะเลในชั้น Scaphopoda เปลือกมีรูปร่างคล้ายงาช้าง
ส่วนมากเป็นสีขาวมีหลายชนิด เช่น ชนิด /Dentalium aprinum,/
/D. longitrorsum/, ฟันช้าง ก็เรียก.
【 งาช้าง ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์เชษฐา มี ๑๔ ดวง, ดาวช้างใหญ่ ดาวคอนาค
ดาวแพะ หรือ ดาวเชษฐะ ก็เรียก.
【 งาไซ 】แปลว่า: /ดู ตังโอ๋/.
【 งาน ๑ 】แปลว่า: น. สิ่งหรือกิจกรรมที่ทํา, มักใช้เข้าคู่กับคำ การ เช่น การงาน เป็นการ
เป็นงาน ได้การได้งาน; การพิธีหรือการรื่นเริงที่คนมาชุมนุมกัน เช่น
งานบวช งานปีใหม่.
【 งานการ 】แปลว่า: น. กิจการที่ทํา.
【 งานพิเศษ 】แปลว่า: น. งานที่ทำนอกเหนือจากงานประจำ.
【 งานสารบรรณ 】แปลว่า: (กฎ) น. งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร เริ่มตั้งแต่การจัดทำ
การรับ การส่ง การเก็บรักษา การยืม จนถึงการทำลายเอกสาร.
【 งานหลวงไม่ให้ขาด งานราษฎร์ไม่ให้เสีย 】แปลว่า: (สํา) ทํางานไม่บกพร่องทั้งงานส่วนรวมและส่วนตัว,
【 ใช้เพี้ยนว่า 】แปลว่า:
งานหลวงไม่ขาด งานราษฎร์ไม่เสีย ก็มี.
【 งานอดิเรก 】แปลว่า: น. งานที่ทำเพื่อความเพลิดเพลิน.
【 งาน ๒ 】แปลว่า: น. มาตราวัดเนื้อที่ตามวิธีประเพณี เท่ากับ ๑๐๐ ตารางวา หรือ
๔๐๐ ตารางเมตร, ลักษณนามเรียกเนื้อที่ ๑๐๐ ตารางวา หรือ
๔๐๐ ตารางเมตรว่า งานหนึ่ง หรือ ๑ งาน, อักษรย่อว่า ง.
【 งาน ๓ 】แปลว่า: (วิทยา) น. ผลของแรงที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ คำนวณได้จากผลคูณ
ของแรงกับระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่.
【 ง่าน ๑ 】แปลว่า: ก. ดิ้นรนกระวนกระวาย (มักใช้แก่ของเสพติดและกามคุณ).
【 ง่าน ๒ 】แปลว่า: (กลอน) ก. งุ่นง่าน เช่น มารดาเห็นบุตรเงื้อ ง่านใจ. (นิทราชาคริต).
【 งาบ ๆ 】แปลว่า: ว. อาการที่อ้าปากแล้วหุบปาก, อาการที่หายใจทางปาก (เป็นอาการ
ของคนและสัตว์ที่เหนื่อยหอบหรือใกล้จะตาย), พะงาบ พะงาบ ๆ
ปะงาบ หรือ ปะงาบ ๆ ก็ว่า. [ไทยขาว งาบ ว่า อ้า, งาบสบ ว่า อ้าปาก
(เพื่อหายใจ)].
【 งาม 】แปลว่า: ว. ลักษณะที่เห็นแล้วชวนให้ชื่นชมหรือพึงใจ เช่น มารยาทงาม รูปงาม;
มีลักษณะสมบูรณ์ดี เช่น ต้นไม้งาม ปีนี้ฝนงาม; ดี, มาก, มีลักษณะที่
เป็นไปตามต้องการ, เช่น กําไรงาม ธนาคารนี้จ่ายดอกเบี้ยงาม.
【 งามงอน 】แปลว่า: ว. สวยงาม.
【 งามแงะ 】แปลว่า: (กลอน) ว. งามน่าดู เช่น เจ้าเย้ยเยาะว่าเงาะไม่งามแงะ แฮะแฮะ
ว่าเล่นหรือว่าจริง. (สังข์ทอง).
【 งามหน้า 】แปลว่า: ว. น่าขายหน้า, ใช้เป็นคําประชด เช่น เขาทำงามหน้าละคราวนี้.
【 ง่าม ๑ 】แปลว่า: น. ลักษณะหรือสิ่งที่แยกออกเป็น ๒ หรือ ๓ เป็นต้น เช่น ง่ามไม้ ไม้ง่าม
สามง่าม, โดยปริยายใช้หมายถึงถ้อยคําที่มีความหมายได้ ๒ ทาง คือ
ทั้งทางสุภาพและไม่สุภาพ เช่น พูดสองง่าม.
【 ง่ามถ่อ 】แปลว่า: น. ไม้ที่มีรูปร่างโค้งคล้ายง่ามมือที่เสียบปลายถ่อเอาไว้สำหรับให้หัวไหล่
ดันถ่อได้ถนัด มักจะใช้ผ้าพันเพื่อกันไม่ให้ไหล่เจ็บ, เหล็กที่มีรูปร่างโค้ง
คล้ายเขาควาย มีปลอกอัดที่โคนถ่อ ใช้สำหรับตู๊เรือหรือสำหรับกดลง
ในดินเพื่อไม่ให้โคนถ่อจมลึกลงไป, ลักษณะหัวที่มีผมเถิกเข้าไปเป็น
๒ แฉกเหมือนง่ามถ่อ.
【 ง่ามมือ 】แปลว่า: น. ช่วงโค้งระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้.
【 ง่าม ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อมดขนาดเล็กชนิด /Phidologeton diversus/ ในวงศ์ Formicidae
สีนํ้าตาลแก่จนเกือบดําตลอดตัว อยู่กันเป็นฝูงใหญ่ ๆ ในฝูงจะพบ
พวกที่ทําหน้าที่เฝ้ารังขนาดใหญ่กว่าตัวธรรมดา ๒-๓ เท่าปะปน
อยู่ มีขากรรไกรหน้าเห็นเป็นง่ามใหญ่ อาศัยอยู่ตามพื้นดิน ใกล้
บ้านเรือน เดินกันเป็นทาง ขนเศษอาหารหรืออาจพบในแปลงปลูกพืช.
【 งาย 】แปลว่า: น. เวลาเช้า เช่น พ่อแผนจะไปแต่ในงาย สายแล้วสํารับไม่ยกมา.
(ขุนช้างขุนแผน).
【 ง่าย 】แปลว่า: ว. สะดวก, ไม่ยาก.
【 ง่าย ๆ 】แปลว่า: ว. ธรรมดา ๆ, ไม่ยุ่งยาก.
【 ง่ายดาย 】แปลว่า: ว. ง่ายมาก, สะดวกมาก.
【 ง่าย้อย 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด /Hydnocarpus kurzii/ Warb. ในวงศ์
Flacourtiaceae ใบรูปไข่แกมรูปใบหอก ผลกลม สีน้ำตาล.
【 ง้าว ๑ 】แปลว่า: น. อาวุธชนิดหนึ่ง คล้ายดาบ มีด้ามยาว, ถ้าใต้คอของด้ามมีขอสำหรับ
สับบังคับช้างได้ เรียกว่า ของ้าว.
【 ง้าว ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด /Bombax anceps/ Pierre var. /cambodiense/
Robyns ในวงศ์ Bombacaceae ต้นคล้ายต้นงิ้วแต่เปลือกสีเทาดํา
ดอกสีแดงคลํ้า ในผลมีปุยขาวใช้ยัดหมอนและที่นอนเป็นต้น.
【 งำ 】แปลว่า: ก. ปิด เช่น งําความ, ปกครอง เช่น งำเมือง, รักษา ในคำว่า เก็บงำ,
บางทีใช้เข้าคู่กับคํา ครอบ เป็น ครอบงํา.
【 ง่ำ, ง่ำ ๆ 】แปลว่า: ว. เสียงขู่ของหมาที่กำลังกินข้าว. ก. งับเบา ๆ เช่น หมางํ่าน่อง.
【 ง้ำ 】แปลว่า: ว. ยื่นออกไปเกินปรกติจนปลายโน้มลง, โน้มไปทางหน้า เช่น สวมชฎา
งํ้าหน้า, เรียกหน้าที่มีสีหน้าแสดงอาการโกรธไม่พอใจหรือไม่ได้อย่างใจ
เป็นต้นว่า หน้างํ้า.
【 งิ้ว ๑ 】แปลว่า: น. ละครจีนแบบโบราณ.
【 งิ้ว ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด /Bombax ceiba/ L. ในวงศ์ Bombacaceae
กิ่งก้านและลําต้นมีหนามแหลมคม เปลือกสีเทา ขรุขระ ดอกสีแดงสด
ใช้ปุยในผลอย่างเดียวกับง้าว.
【 งี่เง่า 】แปลว่า: (ปาก) ว. โง่มาก.
【 งีบ 】แปลว่า: ก. หลับไปชั่วขณะหนึ่ง; ลักษณนามบอกการหลับเช่นนั้นว่า หลับงีบหนึ่ง
หลับ ๒ งีบ.
【 งึก ๆ 】แปลว่า: ว. อาการที่พยักหน้าเป็นการรับรู้, หงึก ๆ ก็ว่า.
【 งึน 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ, อีสาน; โบ) น. เงิน.
【 งึม 】แปลว่า: ว. เสียงบ่นเบา ๆ; (ถิ่น-อีสาน) ซึม.
【 งึมงำ 】แปลว่า: ว. เสียงพูดหรือบ่นพึมพํา.
【 งุด, งุด ๆ 】แปลว่า: ว. อาการก้มหน้าลงเพราะกลัวหรืออายเป็นต้น เช่น ก้มหน้างุด, อาการ
ที่เดินก้มหัวหรือก้มหน้าไปโดยเร็ว, อาการที่ก้มหน้าก้มตาทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
เช่น นั่งทำงานงุด ๆ ทั้งวัน.
【 งุนงง 】แปลว่า: ก. งงซึมเซา, ฉงน, มึน.
【 งุ่นง่าน 】แปลว่า: ก. โกรธฮึดฮัด, กระวนกระวายผุดลุกผุดนั่ง, ง่าน.
【 งุบ, งุบ ๆ 】แปลว่า: ว. อาการที่หัวก้มลงโดยเร็วเมื่อเวลาง่วนหรือเดินไป.
【 งุบงิบ 】แปลว่า: ก. ทําอย่างเงียบ ๆ, ทํากันอย่างปิดบัง.
【 งุ้ม 】แปลว่า: ว. งอลงอย่างปากนกแก้ว.
【 งุ่มง่าม 】แปลว่า: ว. ชักช้า, ไม่คล่องแคล่วว่องไว.
【 งุย 】แปลว่า: (โบ) ว. ซึม, เซื่อง, มึนหัว.
【 งู ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานในอันดับ Squamata อันดับย่อย Serpentes
ลําตัวเรียวยาว มีเกล็ด ไม่มีขา ที่มีพิษ เช่น งูเห่าไทย (/Naja kaouthia/)
ที่ไม่มีพิษ เช่น งูเหลือม (/Python reticulatus/).
【 งูกลืนหาง, งูกินหาง ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อกลอนกลอักษร วรรคหนึ่ง ๆ ต้องมีคำซ้ำกัน ๓ คู่ คือระหว่าง
๓ คำหน้ากับ ๓ คำสุดท้ายของวรรค แต่เวลาเขียนจะตัดคำซ้ำ ๓
คำสุดท้ายของแต่ละวรรคออก เวลาอ่านให้อ่านไปจนจบวรรคแล้ว
ย้อนกลับไปอ่านคำที่ ๑ ถึงคำที่ ๓ ในวรรคเดียวกันอีกครั้งหนึ่ง
ตัวอย่างว่า ฟังเสียงหวานขานเสียงดัง เหมือนน้ำตาลหวานเตือน
เสนาะจริงยิ่งคำหวาน อ่านว่า ฟังเสียงหวานขานเสียงดังฟังเสียง
หวาน เหมือนน้ำตาลหวานเตือนเหมือนน้ำตาล เสนาะจริงยิ่ง
คำหวานเสนาะจริง.
【 งูกินหาง ๒ 】แปลว่า: น. การเล่นของเด็กอย่างหนึ่ง สมมุติฝ่ายหนึ่งเป็นแม่งู มีลูกงูเกาะ
หลังเป็นแถว อีกฝ่ายเป็นพ่องู คอยไล่จับลูกงูตัวที่อยู่ท้ายแถวเอา
มาเป็นพวกทีละตัว ๆ.
【 งูกินหาง ๓ 】แปลว่า: (สํา) ว. เกี่ยวโยงกันจากหัวถึงหางโดยซัดกันไปเป็นทอด ๆ.
【 งู ๆ ปลา ๆ 】แปลว่า: ว. มีความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ, ไม่รู้จริง, ในคําว่า รู้งู ๆ ปลา ๆ.
【 งูผู้ 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์มฆา มี ๕ ดวง, ดาวโคมูตร ดาววานร
ดาวงอนไถ ดาวมฆะ หรือ ดาวมาฆะ ก็เรียก.
【 งูเมีย 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์บุรพผลคุนี มี ๒ ดวง, ดาววัวตัวผู้
ดาวปุรพผลคุนี หรือ ดาวปุพพผลคุนี ก็เรียก.
【 งูสวัด 】แปลว่า: น. โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง มีอาการอักเสบอย่าง
เฉียบพลันที่ปมประสาทไขสันหลัง และพุเป็นเม็ดพองตามผิวหนัง
เป็นทางยาวพาดขวางลําตัวเป็นต้น ทําให้ปวดแสบปวดร้อน.
【 งูเหลือม 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์สวาดิ มี ๕ ดวง, ดาวช้างพัง ดาวสวาตี
หรือ ดาวสวัสติ ก็เรียก.
【 งู ๒ 】แปลว่า: น. ปลางู. /(ดู ปล้องอ้อย)./
【 งูบ 】แปลว่า: ก. ก้มหัวฟุบลงเมื่อเวลาง่วงนอนเป็นต้น.
【 งู่หนี 】แปลว่า: น. กุหนี.
【 งูเห่า 】แปลว่า: น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นและหัวเหมือนขมิ้นอ้อย แต่เนื้อสีขาว กลิ่นฉุน
เหมือนนํ้ามันดินอ่อน ๆ. (กบิลว่าน).
【 เง้ 】แปลว่า: ก. เงื้อไม้ มีดเป็นต้น จนสุดกําลังแขนแล้วฟาดลงเต็มแรง.
【 เงก 】แปลว่า: (ปาก) ว. เต็มที, แย่, เช่น คอยเสียเงก.
【 เง็น 】แปลว่า: (โบ) น. เงิน.
【 เงย 】แปลว่า: ก. ยกหน้าขึ้น.
【 เงยหน้าอ้าปาก 】แปลว่า: ก. มีฐานะดีขึ้นกว่าเดิมพอทัดเทียมเพื่อน, ลืมตาอ้าปาก หรือ
ลืมหน้าอ้าปาก ก็ว่า.
【 เงอะ, เงอะงะ 】แปลว่า: ว. แสดงกิริยาอาการเคอะเขินไม่แนบเนียนเพราะหย่อนความ
ชํานาญเป็นต้น.
【 เงา 】แปลว่า: น. ส่วนที่มืดเพราะมีวัตถุบังแสงทําให้แลเห็นเป็นรูปของวัตถุนั้น; รูปที่
ปรากฏในของใสหรือเป็นมันเช่นนํ้าหรือกระจก; (แสง) อาณาเขตหลัง
วัตถุที่แสงเคลื่อนที่ไปกระทบวัตถุนั้นแล้วแสงเคลื่อนที่ไปไม่ถึงทั้งหมด
หรือไปถึงได้บ้าง. ว. เป็นมัน เช่น ขึ้นเงา.
【 เงา ๆ 】แปลว่า: ว. ราง ๆ.
【 เงาตามตัว 】แปลว่า: (สํา) น. ผู้ที่ไปไหนไปด้วยกันแทบไม่คลาดกันเลย; สิ่งที่เพิ่มขึ้นหรือ
ลดลงไปตามกัน เช่น นํ้ามันขึ้นราคา สินค้าอื่น ๆ ก็ขึ้นราคาเป็นเงา
ตามตัว.
【 เงามัว 】แปลว่า: (แสง) น. อาณาเขตหลังวัตถุที่แสงเคลื่อนที่ไปกระทบวัตถุนั้น
แล้วแสงเคลื่อนที่ไปถึงได้บ้าง; (ภูมิ) ส่วนที่เห็นเป็นเงาหลัว ๆ
รอบบริเวณที่มืดมิดของดวงจันทร์หรือดวงอาทิตย์เวลามีคราส.
【 เงามืด 】แปลว่า: (แสง) น. อาณาเขตหลังวัตถุที่แสงเคลื่อนที่ไปกระทบวัตถุนั้นแล้ว
แสงเคลื่อนที่ไปไม่ถึงทั้งหมด; (ภูมิ) ส่วนที่มืดมิดของดวงจันทร์และ
ดวงอาทิตย์เวลามีคราส.
【 เง่า 】แปลว่า: ว. โง่, มักใช้พูดเข้าคู่กับคํา โง่ เป็น โง่เง่า.
【 เง้า 】แปลว่า: ว. เรียกหน้าซึ่งมีสีหน้าแสดงอาการโกรธ ไม่พอใจหรือไม่ได้อย่างใจ
เป็นต้น ว่า หน้าเง้า.
【 เง้างอด, เง้า ๆ งอด ๆ 】แปลว่า: ว. กะบึงกะบอน, โกรธอย่างแสนงอน, กระเง้ากระงอด ก็ว่า.
【 เงาะ ๑ 】แปลว่า: น. คนป่าพวกหนึ่ง รูปร่างตํ่าเตี้ย ตัวดํา ผมหยิก ในตระกูลนิกริโต
(Negrito) และตระกูลออสโตรเนเชียน (Austronesian) อยู่ในแหลม
มลายู เรียกตัวเองว่า กอย ได้แก่ พวกเซมัง และซาไกหรือเซนอย,
โดยปริยายเรียกคนที่มีรูปร่างเช่นนั้น.
【 เงาะ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด /Nephelium lappaceum/ L. ในวงศ์ Sapindaceae
ผลกินได้ เปลือกมีขนยาวสีเหลืองหรือแดงเป็นต้น, ปักษ์ใต้เรียก พรวน.
【 เงาะป่า 】แปลว่า: /ดู กระทกรก (๒)/.
【 เงิน 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๔๗ สัญลักษณ์ Ag เป็นโลหะสีขาว เนื้อค่อนข้างอ่อน
หลอมละลายที่ ๙๖๐.๘?ซ. (อ. silver); วัตถุที่ใช้วัดราคาในการซื้อขาย
แลกเปลี่ยนกัน, วัตถุที่มีตราของรัฐ ใช้ชําระหนี้ได้ตามกฎหมาย, ได้แก่
เหรียญกระษาปณ์และธนบัตร, เงินตรา ก็เรียก; โบราณใช้ว่า งึน เง็น หรือ
เงือน ก็มี; (เศรษฐ) วัตถุที่กําหนดให้ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
หรือชําระหนี้. (อ. money).
【 เงินก้นถุง 】แปลว่า: น. เงินจํานวนหนึ่งที่ผู้ใหญ่มอบให้ในงานแต่งงานเป็นต้น เพื่อเก็บไว้
เป็นเงินก้อนแรก.
【 เงินก้อน 】แปลว่า: น. เงินที่จ่ายทีเดียวทั้งหมด, เงินที่สะสมไว้เป็นจํานวนมาก ๆ.
【 เงินกินเปล่า 】แปลว่า: น. เงิน ทรัพย์สิน หรือสิ่งอื่น ๆ ที่เสียไป เพื่อให้ได้สิทธิตามที่ตกลงกัน.
【 เงินกู้ 】แปลว่า: น. เงินที่ยืมโดยมีดอกเบี้ย.
【 เงินขวัญถุง 】แปลว่า: น. เงินจำนวนหนึ่งที่ผู้ใหญ่มอบให้ในงานแต่งงานเป็นต้น เพื่อเก็บ
ไว้เป็นสิริมงคล.
【 เงินคงคลัง 】แปลว่า: (กฎ) น. เงินทั้งปวงที่พึงชำระให้แก่รัฐบาลไม่ว่าเป็นภาษีอากร
ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ เงินกู้ หรือเงินอื่นใด ซึ่งหัวหน้าส่วนราชการ
ได้เก็บหรือรับเงินนั้นมีหน้าที่ควบคุมให้ส่งเข้าบัญชีเงินคงคลัง หรือ
คลังจังหวัด หรือคลังอำเภอ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมาย
กำหนด.
【 เงินจันทรภิม 】แปลว่า: /ดู จันทรภิม/.
【 เงินเชื่อ 】แปลว่า: น. เงินค่าสิ่งของที่ยอมให้ชำระภายหลังเมื่อซื้อขาย, เงินแห้ง ก็เรียก.
【 เงินดาวน์ 】แปลว่า: (ปาก) น. เงินที่ต้องชำระครั้งแรกเมื่อทำสัญญา โดยมีข้อตกลง
ว่าเงินส่วนที่เหลือจะผ่อนส่งเป็นงวด ๆ ตามจำนวนที่กำหนด.
【 เงินเดือน 】แปลว่า: น. เงินค่าตอบแทนการทํางานที่กําหนดให้เป็นรายเดือน; (กฎ) เงิน
ที่มีกําหนดจ่ายเป็นรายเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวด
เงินเดือน.
【 เงินแดง 】แปลว่า: (โบ) น. เงินปลอม แต่เดิมใช้เงินหุ้มทองแดงไว้ข้างใน ต่อมาหมายถึง
เงินปลอมที่มีทองแดงผสมปนมากเกินส่วน, โดยปริยายหมายถึงคน
ที่ใช้งานใช้การไม่ได้.
【 เงินได้กำบัง 】แปลว่า: (เศรษฐ) น. รายรับในดุลการชําระเงินระหว่างประเทศอันเกิดจากค่า
บริการต่าง ๆ การใช้จ่ายเงินของนักท่องเที่ยว ค่าประกันภัย เป็นต้น.
【 เงินต้น 】แปลว่า: น. เงินที่ให้กู้ยืมโดยไม่รวมดอกเบี้ย, ต้นเงิน ก็ว่า.
【 เงินตรา 】แปลว่า: (กฎ) น. เงินที่รัฐกําหนดขึ้นไว้เพื่อใช้ชําระหนี้ได้ตามกฎหมาย ได้แก่
เหรียญกระษาปณ์และธนบัตร.
【 เงินตาย 】แปลว่า: (โบ) น. เงินตราที่รัฐให้เลิกใช้, เงินที่มิได้เอามาทําเป็นรูปพรรณ, เงินที่
เก็บไว้ไม่นําออกใช้.
【 เงินทองตรา 】แปลว่า: (โบ) น. เงินตราที่ทําด้วยทองหรือเงินเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสต่าง ๆ.
【 เงินทอน 】แปลว่า: น. เงินส่วนที่เกินราคาสิ่งของที่จ่ายคืนให้แก่ผู้จ่ายเงิน.
【 เงินถึง 】แปลว่า: ว. ให้เงินมากจนเป็นที่พอใจ, ถึงเงิน ก็ว่า.
【 เงินนอน 】แปลว่า: น. เงินเหลือใช้ที่เก็บไว้.
【 เงินน้ำห้าน้ำหก 】แปลว่า: (โบ) น. เงินเนื้อไม่บริสุทธิ์ เพราะมีทองแดงปนติดอยู่บ้าง.
【 เงินปลีก 】แปลว่า: น. เงินจํานวนย่อยที่แตกออกมาจากเงินจํานวนใหญ่หน่วยใด
หน่วยหนึ่งของเงินตรา.
【 เงินปันผล 】แปลว่า: น. ส่วนแบ่งเงินกําไรที่กําหนดจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น.
【 เงินปากถุง 】แปลว่า: น. เงินที่ผู้ให้กู้เรียกเก็บจากผู้กู้ก่อนที่จะจ่ายเงินจำนวนที่ตกลงให้กู้.
【 เงินปากผี 】แปลว่า: น. เงินที่ใส่ไว้ในปากคนตายตามประเพณี.
【 เงินดาวเงินเดือน, เงินเดือนเงินดาว 】แปลว่า: น. เงินเดือน.
【 เงินปี 】แปลว่า: (กฎ) น. เงินที่มีกําหนดจ่ายเป็นรายปีให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์หรือ
ข้าราชบริพารจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินอุดหนุนของ
สํานักพระราชวัง, โบราณเรียก เบี้ยหวัดหรือ เบี้ยหวัดเงินปี.
【 เงินแป 】แปลว่า: (โบ) น. เงินเหรียญที่เป็นเงินย่อย มีเงินแปราคาสองสลึง แปสลึง
แปเฟื้อง. (ประชุม ร. ๔).
【 เงินผ่อน 】แปลว่า: น. เงินที่ชำระให้แก่เจ้าหนี้เป็นงวด ๆ.
【 เงินฝืด 】แปลว่า: (เศรษฐ) น. ภาวะทางเศรษฐกิจที่ปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศ
มีน้อยไป การใช้จ่ายลดน้อยลง ทําให้ราคาสินค้าตก.
【 เงินเฟ้อ 】แปลว่า: (เศรษฐ) น. ภาวะทางเศรษฐกิจที่ปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศ
มากเกินไปทําให้ราคาสินค้าแพงและเงินเสื่อมค่า.
【 เงินมุ่น 】แปลว่า: น. เงินแท่งชนิดหนึ่ง ถือว่าเป็นเงินเนื้อดี.
【 เงินยวง 】แปลว่า: น. เนื้อเงินบริสุทธิ์ที่ละลายคว้างอยู่ในเบ้า มีสีขาวผ่องเป็นมันปลาบ.
ว. เรียกสีขาวผ่องเป็นมันปลาบเหมือนสีเงินที่ละลายคว้างอยู่ในเบ้า
ว่า สีเงินยวง.
【 เงินเยอรมัน 】แปลว่า: น. โลหะเจือซึ่งมีองค์ประกอบโดยประมาณเป็นทองแดง ๕ ส่วน
สังกะสี ๒ ส่วน และนิกเกิล ๒ ส่วน. (อ. German silver).
【 เงินร้อน 】แปลว่า: น. เงินที่ได้จากการทุจริตหรือไม่บริสุทธิ์; เงินที่หมุนเวียนเร็ว.
【 เงินรายปี 】แปลว่า: น. จํานวนเงินที่บริษัทประกันชีวิตจ่ายให้แก่ผู้รับเงินรายปี ตามเงื่อนไข
กรมธรรม์ประกันชีวิตแบบเงินรายปี ซึ่งผู้รับประกันภัยสัญญาว่า
ตราบใดที่ผู้เอาประกันชีวิตยังทรงชีพอยู่ บริษัทจะจ่ายเงินให้ตลอดไป
จนกว่าจะเสียชีวิต หรือจะจ่ายให้ชั่วระยะเวลาหนึ่งตามที่ตกลงไว้ เงิน
รายปีนี้อาจจะจ่ายเป็นงวด รายปี รายครึ่งปี หรือรายเดือนก็ได้ จํานวน
เงินที่จ่ายอาจจะคงที่ เพิ่มขึ้น หรือเปลี่ยนแปลงก็ได้. (อ. annuity).
【 เงินแล่ง 】แปลว่า: น. เงินที่เอามาแล่งเป็นเส้นบาง ๆ ใช้สำหรับปักหรือทอผ้า.
【 เงินสด 】แปลว่า: น. ตัวเงินที่มีอยู่ซึ่งใช้ได้ทันที, เงินที่ชําระให้ทันทีเมื่อซื้อหรือขายกัน.
【 เงินสเตอร์ลิง 】แปลว่า: น. โลหะเจือซึ่งประเทศอังกฤษเคยใช้ทําเงินตรา มีองค์ประกอบเป็น
โลหะเงินร้อยละ ๙๒.๕ ทองแดงร้อยละ ๗.๒ ตะกั่วร้อยละ ๐.๒ และ
ทองคําร้อยละ ๐.๑. (อ. sterling silver).
【 เงินหมุน 】แปลว่า: น. เงินที่ใช้หมุนเวียนเรื่อยไปหลายครั้งโดยไม่เก็บไว้คงที่.
【 เงินหลวง 】แปลว่า: (ปาก) น. เงินที่เป็นของแผ่นดินหรือรัฐ.
【 เงินแห้ง 】แปลว่า: (ปาก) น. เงินเชื่อ.
【 เงี่ย 】แปลว่า: ก. เอียง, ตะแคง, ในคำว่า เงี่ยหู.
【 เงี่ยหู 】แปลว่า: ก. เอียงหูฟังเพื่อให้ได้ยินถนัด, ตั้งใจฟัง.
【 เงี่ยง ๑ 】แปลว่า: น. กระดูกแหลมของปลาบางชนิด เช่น ปลากระเบนมีเงี่ยงที่โคนหาง
หรือปลาดุกมีเงี่ยงที่ครีบอก, แง่ของสิ่งของบางอย่าง มีรูปหยักตอน
ปลายเช่นเบ็ดหรือลูกศร.
【 เงี่ยง ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. กระโถน.
【 เงี่ยน 】แปลว่า: ก. อยากจัด, กระหายจัด, มีความรู้สึกอยากหรือกระหายเป็นกําลัง,
(โดยมากใช้เฉพาะของเสพติดและกามคุณ).
【 เงียบ 】แปลว่า: ว. ไม่มีเสียง เช่น นั่งเงียบ, ไม่มีเสียงอื้ออึง เช่น บ้านนี้เงียบ, สงบ,
ปราศจากเสียงรบกวนหรือการก่อกวน, เช่น เหตุการณ์เงียบลงแล้ว;
โดยปริยายหมายความว่า ไม่กระโตกกระตากเช่น เก็บเรื่องเงียบ, ไม่
แสดงออก เช่น พลังเงียบ. ก. หายไปโดยไม่มีข่าวคราวหรือไม่เป็น
ข่าวเลย เช่น หมู่นี้นาย ก เงียบไป.
【 เงียบ ๆ 】แปลว่า: ว. ไม่มีเสียงเอะอะ เช่น นั่งทำงานเงียบ ๆ, ไม่เอิกเกริกอื้ออึง เช่น
ทำอย่างเงียบ ๆ; นิ่งไม่พูดจา, ไม่ทำเสียงเอะอะโวยวายหรืออื้ออึง,
เช่น เขาเป็นคนเงียบ ๆ.
【 เงียบกริบ 】แปลว่า: ก. เงียบสนิท.
【 เงียบเชียบ 】แปลว่า: ก. วังเวง, เงียบไม่มีเสียง.
【 เงียบเป็นเป่าสาก 】แปลว่า: (สํา) ว. ลักษณะที่เงียบสนิท.
【 เงียบเหงา 】แปลว่า: ก. เปล่าเปลี่ยว, ว้าเหว่, อ้างว้าง; มีคนน้อย, มีคนไปมาหาสู่น้อย.
【 เงี้ยว ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของชนชาวไทยใหญ่ที่ใช้เรียกกันเป็นสามัญในประเทศไทย
สมัยก่อน.
【 เงี้ยว ๒ 】แปลว่า: น. งู เช่น นํ้าเคี้ยวยูงว่าเงี้ยว ยูงตาม. (โลกนิติ).
【 เงี้ยว ๓ 】แปลว่า: ดู มังกร ๒.
【 เงี้ยว ๔ 】แปลว่า: ว. คด เช่น แล้วลวงล่องอเงี้ยว. (นิ. เพชร).
【 เงี้ยวระเริง 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 เงี้ยวรำลึก 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 เงี่ยหู 】แปลว่า: ก. เอียงหูฟังเพื่อให้ถนัด, ตั้งใจฟัง.
【 เงื้อ 】แปลว่า: ก. ยกมือขึ้นทําท่าจะทุบจะตี ในคำว่า เงื้อมือ, อาการที่มือยกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ขึ้นทําท่าจะตีหรือฟันเป็นต้น เช่น เงื้อไม้ เงื้อมีด.
【 เงื้อง่าราคาแพง 】แปลว่า: (สํา) ก. จะทําอะไรก็ไม่กล้าตัดสินใจทําลงไป ดีแต่ทําท่าหรือวางท่า
ว่าจะทําเท่านั้น.
【 เงือก ๑ 】แปลว่า: (โบ) น. งู เช่น ท้าวเสด็จเหนือวัวเผือก เอาเงือกเกี้ยวข้าง. (แช่งนํ้า).
【 เงือกหงอน 】แปลว่า: (โบ) น. พญานาค เช่น ทรงวัวเผือกเงือกหงอนสังวรสังวาล.
(รําพันพิลาป).
【 เงือก ๒ 】แปลว่า: น. สัตว์นํ้าในนิยาย เล่ากันว่าท่อนบนเป็นคน ท่อนล่างเป็นปลา.
【 เงือก ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อนกในวงศ์ Bucerotidae ส่วนใหญ่ลําตัวสีดํา ปากใหญ่ อยู่รวมกัน
เป็นฝูงในป่าลึกเวลาบินเสียงดังมาก ขณะตกไข่ตัวเมียจะอยู่ในโพรงไม้
แล้วใช้เศษอาหารและอุจจาระปิดปากโพรงไว้ เหลือรูพอที่ตัวผู้จะหา
อาหารมาป้อนให้ขณะกกไข่และเลี้ยงลูกอ่อนได้ ร้องเสียงดังมาก กิน
เนื้อสัตว์และผลไม้ มีหลายชนิด เช่น เงือกกรามช้าง (/Rhyticeros undulatus/)
เงือกหัวแรด (/Buceros rhinoceros/) แก๊ก (/Anthracoceros albirostris/).
【 เงือก ๔ 】แปลว่า: /ดู พะยูน/.
【 เงื่อง, เงื่อง ๆ 】แปลว่า: ว. เซื่อง, เชื่องช้า.
【 เงื่องหงอย 】แปลว่า: ว. ซึมเซาไม่ชื่นบาน, เซื่อง ๆ, เฉื่อยชา.
【 เงือด, เงือดงด 】แปลว่า: ก. อดกลั้น, ยับยั้ง, เช่น เงือดคํารบสองคาบสามคาบ. (จารึกสยาม),
จำต้องเงือดงดอดกลั้น คอยหยิบผิดมันให้จงได้. (สังข์ทอง).
【 เงือดเงื้อ 】แปลว่า: ก. เงื้อค้างท่าไว้.
【 เงือน 】แปลว่า: (โบ) น. เงิน.
【 เงื่อน ๑ 】แปลว่า: น. เชือกหรือเส้นด้ายเป็นต้นที่ผูกกันเป็นปม เช่น เงื่อนกระทกหรือ
เงื่อนกระตุก คือเงื่อนที่ผูกแล้วกระตุกออกได้ง่าย เงื่อนตาย คือเงื่อน
ที่ผูกแล้วแก้ยาก เงื่อนเป็น คือเงื่อนที่ผูกแล้วแก้ง่าย.
【 เงื่อนไข 】แปลว่า: น. ข้อแม้; (กฎ) ข้อความอันบังคับไว้ให้นิติกรรมเป็นผลหรือสิ้นผล
ต่อเมื่อมีเหตุการณ์อันไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ในอนาคต.
【 เงื่อนไขบังคับก่อน 】แปลว่า: (กฎ) น. เงื่อนไขที่ทําให้นิติกรรมเป็นผล เมื่อเงื่อนไขนั้นสําเร็จแล้ว.
【 เงื่อนไขบังคับหลัง 】แปลว่า: (กฎ) น. เงื่อนไขที่ทําให้นิติกรรมสิ้นผล เมื่อเงื่อนไขนั้นสําเร็จแล้ว.
【 เงื่อนงำ 】แปลว่า: น. เรื่องราวหรือข้อความที่ซ่อนอยู่ไม่เปิดเผย.
【 เงื่อนเวลา 】แปลว่า: (กฎ) น. ระยะเวลาที่กําหนดไว้ให้นิติกรรมเป็นผลหรือสิ้นผล
เมื่อถึงเวลาที่กําหนด.
【 เงื่อนเวลาเริ่มต้น 】แปลว่า: (กฎ) น. เงื่อนเวลาที่กําหนดไว้ให้นิติกรรมเป็นผล เมื่อถึงเวลาที่
กําหนด.
【 เงื่อนเวลาสิ้นสุด 】แปลว่า: (กฎ) น. เงื่อนเวลาที่กําหนดไว้ให้นิติกรรมสิ้นผล เมื่อถึงเวลาที่
กําหนด.
【 เงื่อน ๒ 】แปลว่า: ว. เหมือน เช่น เขี้ยวโง้งเงื่อนงาคชกรรม. (คําพากย์).
【 เงือบ 】แปลว่า: ว. อาการที่ปลาขยับเหงือกหายใจ.
【 เงื้อม 】แปลว่า: น. สิ่งที่สูงยื่นงํ้าออกมา เช่น เงื้อมผา.
【 เงื้อมมือ 】แปลว่า: น. อํานาจที่ครอบงําจะไม่ให้หลุดพ้นไปได้.
【 แง ๑ 】แปลว่า: น. เรียกส่วนของหน้าตรงหว่างคิ้วว่า หน้าแง.
【 แง ๒, แง ๆ 】แปลว่า: ว. เสียงเด็กร้องไห้.
【 แง่ ๑ 】แปลว่า: น. ส่วนที่เป็นเหลี่ยมเป็นสันเป็นมุมหรือส่วนที่ยื่นออกมา เช่น แง่หิน
แง่โต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เหลี่ยม, ชั้นเชิง, เช่น ชาวแพแผ่แง่
ค้าขายของ. (นิ. นรินทร์), นัย.
【 แง่งอน 】แปลว่า: น. อาการที่แสร้งทําชั้นเชิงเพื่อให้ผู้อื่นเอาใจหรือให้เป็นที่พอใจตน.
【 แง่ ๒ 】แปลว่า: (โบ) น. ตัว เช่น แต่งแง่. (จารึกสยาม), มิแต่งแง่ให้แม่ชม มิหวีผม
ให้แม่เชย. (ลอ).
【 แง่ง ๑ 】แปลว่า: น. ส่วนที่งอกเป็นแง่ออกมาจากเหง้าขิงข่ากะทือเป็นต้น.
【 แง่งขิง 】แปลว่า: น. เครื่องประดับยอดปรางค์ทําเป็นรูปหอก มีกิ่งเป็นรูปดาบแตกสาขา
ออกไป ๔ ทิศ, ฝักเพกา ลําภุขัน สลัดได นพศูล หรือ นภศูล ก็เรียก.
【 แง่ง ๒, แง่ง ๆ 】แปลว่า: ว. เสียงขู่ของหมาเมื่อจะกัดกันในเวลาแย่งอาหารกันเป็นต้น.
【 แง่น 】แปลว่า: ก. แยกเขี้ยวจะกัด (อย่างหมา).
【 แง่น ๆ 】แปลว่า: ว. แสดงกิริยาโกรธอย่างหมาจะกัด.
【 แง้ม 】แปลว่า: ก. เปิดแต่น้อย ๆ เช่น แง้มประตู. (โบ) น. ริม, ข้าง, เช่น ปากคลอง
บางกอกน้อยแง้มขวา.
【 แงะ 】แปลว่า: ก. งัดให้เผยอขึ้น.
【 โง 】แปลว่า: ก. ยก (ใช้แก่หัว) เช่น โงหัวไม่ขึ้น.
【 โง่ 】แปลว่า: ว. เขลา, ไม่ฉลาด, ไม่รู้.
【 โง่แกมหยิ่ง 】แปลว่า: (สํา) ว. โง่แล้วยังอวดฉลาด, อวดดีทั้ง ๆ ที่โง่.
【 โง่เง่า 】แปลว่า: ว. โง่มาก.
【 โง่เง่าเต่าตุ่น 】แปลว่า: (สํา) ว. โง่ที่สุด เช่น เพราะโง่เง่าเต่าตุ่นพ่อคุณเอ๋ย ผู้ใดเลยจะประสงค์
จํานงหมาย. (นิ. ทวาราวดี).
【 โง่แล้วอยากนอนเตียง 】แปลว่า: (สํา) ว. โง่แล้วไม่เจียมตัวว่าโง่ ไปทําสิ่งที่ตนไม่รู้ไม่เข้าใจ.
【 โงก 】แปลว่า: ว. อาการที่หัวงุบลงเพราะง่วง.
【 โงกเงก 】แปลว่า: ก. โยกเยก.
【 โงง, โงงเงง 】แปลว่า: ก. โคลง, ไหว, ตั้งไม่ตรง, โยกโคลง, ตั้งอยู่ด้วยอาการไม่มั่นคง.
【 โง่ง ๆ, โง่งเง่ง 】แปลว่า: ว. โย่ง ๆ, อาการเดินก้าวยาว ๆ ของคนผอมสูง.
【 โง้ง 】แปลว่า: ว. โค้งเข้าหากัน เช่น ควายเขาโง้ง, โค้งขึ้น เช่น หนวดโง้ง.
【 โงเง 】แปลว่า: ว. อาการที่ลุกขึ้นนั่งหรือยืนโงกเงกของคนที่มึนงงหรือเพิ่งตื่นนอนใหม่,
ยังงัวเงียอยู่.
【 โงน 】แปลว่า: ก. จวนจะล้มเพราะส่วนบนหนักหรือใหญ่ ส่วนล่างไม่แน่นหรือเล็ก.
【 โงนเงน 】แปลว่า: ก. เอียงเอนไปมา, โอนเอนไปมา.
【 ไง้ 】แปลว่า: (ปาก) ก. ไค้, งัดขึ้น, คัดง้าง.
【 จ 】แปลว่า: พยัญชนะตัวที่ ๘ เป็นตัวต้นวรรคที่ ๒ นับเป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็น
ตัวสะกดในแม่กดในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น
กิจ วินิจฉัย ตํารวจ จอร์จ.
【 จก 】แปลว่า: ก. ฉก เช่น ระวังงูจะจกเอา, ล้วง เช่น รู้สึกเหมือนกับว่ามีมือใครมาจก
กระเป๋า, ควัก เช่น น้องคงแอบมาจกเงินไป ๕๐๐ บาท, ขุด เช่น จกแรง ๆ
หน่อย ทำอย่างนี้พรุ่งนี้ก็ไม่ได้สักหลุม, คุ้ย, สับ เช่น เอาจอบจกลงไป
ตรงนั้นซิ; เอาตัวมา เช่น คุณต้องไปจกตัวเขามาให้ได้.
【 จง 】แปลว่า: เป็นคําช่วยกริยา บอกความบังคับ เช่น จงปฏิบัติตามระเบียบวินัย,
หรือบอกความหวัง เช่น จงมีความสุขความเจริญ.
【 จงเกลียดจงชัง 】แปลว่า: ก. ผูกใจเกลียดชังอย่างยิ่ง.
【 จงใจ 】แปลว่า: ก. ตั้งใจ, หมายใจ, เจตนา.
【 จงดี 】แปลว่า: ว. ให้ดี, ให้เรียบร้อย.
【 จงรัก, จงรักภักดี 】แปลว่า: ก. ผูกใจรักด้วยความเคารพนับถือหรือรู้คุณอย่างยิ่ง.
【 จ่ง 】แปลว่า: (กลอน) ว. จง.
【 จ๋ง 】แปลว่า: (โบ) น. เรียกลูกชายคนที่ ๑๐ ว่า ลูกจ๋ง, คู่กับ ลูกหญิงคนที่ ๑๐ ว่า
ลูกอัง. (กฎ. ๒).
【 จงกรม 】แปลว่า: [-กฺรม] ก. เดินไปมาโดยมีสติกำกับอย่างพระเดินเจริญกรรมฐาน
เรียกว่า “เดินจงกรม. (ส.; ป.จงฺกม).
【 จงกรมแก้ว 】แปลว่า: น. พระพุทธรูปปางหนึ่งยืนย่างพระบาทซ้าย พระหัตถ์ทั้ง ๒ ประสาน
พระเพลา มีเรือนแก้ว. (พุทธเจดีย์).
【 จงกล 】แปลว่า: [-กน] น. บัว, บัวสาย, เช่น อันประดับด้วยอรพินธุเนานึก บุณฑรึกจงกล.
(ม. คำหลวง วนปเวสน์); สิ่งที่ทําให้มีรูปร่างคล้ายดอกบัวชนิดหนึ่ง
สําหรับเป็นส่วนประกอบเครื่องใช้ เครื่องประดับตกแต่งต่าง ๆ เช่น
จงกลเชิงเทียน จงกลปลายพระทวย จงกลปิ่น จงกลดาวเพดาน;
ก้านของพู่ที่ประดับหัวม้าติดอยู่กับขลุมทั้ง ๒ ข้าง ตั้งขึ้นไป.
(รูปภาพ จงกล)
【 จงกลนี 】แปลว่า: [-กนละนี] น. บัว, บัวดอกคล้ายบัวขม มีเกสรซ้อนหลายชั้น แตกก้าน
ต่อดอกแล้วมีดอกต่อกัน ๓ ดอกบ้าง ๔ ดอกบ้าง. (ทมิฬ เจ็ง ว่า แดง
กาฬนีร ว่า บัว หมายความว่า บัวแดง). (พจน. ๒๔๙๓).
【 จงโคร่ง, โจงโคร่ง 】แปลว่า: [-โคฺร่ง] น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกชนิด /Bufo asper/ ในวงศ์
Bufonidae เป็นสัตว์สกุลเดียวกับคางคก อาศัยในป่าบริเวณริม
ลําธารหรือน้ำตก, กระทาหอง กระหอง หรือ กง ก็เรียก.
【 จงอร 】แปลว่า: -ออน ก. จงทำให้ดีใจ, จงทำให้ปลาบปลื้ม, เช่น ใครรู้แห่ง
พระแพศยันดร บอกจงอรใจกู. (ม. คําหลวง ชูชก). (ข. อร ว่า ดีใจ,
ปลาบปลื้ม).
【 จงอาง 】แปลว่า: น. ชื่องูพิษชนิด /Ophiophagus hannah/ ในวงศ์ Elapidae เป็นงูพิษที่มี
ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โตเต็มวัยยาวประมาณ ๔.๕ เมตร ตัวสีเขียว
อมเทาหรือสีคลํ้า ชูคอแผ่แม่เบี้ยได้พบทั้งในป่าโปร่งและป่าทึบ,
บองหลา ก็เรียก.
【 จแจ้น 】แปลว่า: (แบบ) ว. แตกจากหมู่, กระจัดกระจาย, ในคําว่า หนีญญ่ายพายจแจ้น.
(จารึกสยาม).
【 จญ 】แปลว่า: (โบ; กลอน) ก. ประจญ, สู้รบ, เช่น คือนาคจญครุทธสรงง วิ่งเว้น.
(ยวนพ่าย). (ข. ชล่).
【 จด ๑ 】แปลว่า: ก. จ่อให้ถึงกัน, ถึง, จนถึง; แตะ.
【 จดจ้อง, จด ๆ จ้อง ๆ 】แปลว่า: ก. ตั้งท่าจะทําแล้วไม่ลงมือทําเพราะไม่แน่ใจ.
【 จดไม่ลง 】แปลว่า: (ปาก) ก. ไม่กล้าซื้อเพราะราคาแพงมาก.
【 จดหมัด 】แปลว่า: ก. ตั้งท่ามวย.
【 จด ๒ 】แปลว่า: ก. กําหนด, หมายไว้, เขียนไว้.
【 จดจ่อ 】แปลว่า: ก. มีใจฝักใฝ่ผูกพันอยู่.
【 จดจำ 】แปลว่า: ก. กําหนดไว้ในใจ, จําไว้ในใจ.
【 จดทะเบียน 】แปลว่า: (กฎ) ก. ลงบันทึกข้อความไว้เป็นหลักฐานตามที่กฎหมายกําหนด เช่น
จดทะเบียนรถยนต์ จดทะเบียนสมรส จดทะเบียนหุ้นส่วนและบริษัท.
【 จดหมาย 】แปลว่า: น. หนังสือที่มีไปมาถึงกัน.
【 จดหมายเวียน 】แปลว่า: น. (ปาก) หนังสือเวียน; หนังสือที่มีข้อความเหมือนกันส่งไปถึงคน
จํานวนมาก.
【 จดหมายเหตุ 】แปลว่า: น. หนังสือบอกข่าวคราวที่เป็นไป, รายงานหรือบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้น, เอกสารที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ผลิตขึ้นเพื่อ
ใช้เป็นหลักฐานและเครื่องมือในการปฏิบัติงาน.
【 จดุร- 】แปลว่า: จะดุระ แผลงมาจาก จตุร หมายความว่า สี่.
【 จดุรงค์ 】แปลว่า: จะดุรง ว. องค์ ๔. (ป. จตุร + องฺค).
【 จดูร- 】แปลว่า: [จะดูระ-] ว. สี่ เช่น จดูรพรรค ว่า รวม ๔ อย่าง. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
【 จตุ- 】แปลว่า: [จะตุ-] ว. สี่, ใช้ประกอบหน้าคําที่มาจากภาษาบาลี. (ป.).
【 จตุกาลธาตุ 】แปลว่า: [-กาละทาด] น. ธาตุกาล ๔ คือ ว่านนํ้า เจตมูลเพลิง แคแตรพนมสวรรค์.
【 จตุทิพยคันธา 】แปลว่า: [-ทิบพะยะ-] น. กลิ่นทิพย์ ๔ ประการ คือ ดอกพิกุล ชะเอมเทศ
มะกลํ่าเครือ ขิงแครง.
【 จตุบท 】แปลว่า: น. สัตว์สี่เท้า. (ป.).
【 จตุบริษัท 】แปลว่า: น. บริษัท ๔ เหล่า, ถ้าเป็นพุทธบริษัท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา,
ถ้าเป็นราชบริษัทหรือประชุมชนทั่วไป ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี
สมณะ. (ป.).
【 จตุปัจจัย 】แปลว่า: [จะตุปัดไจ] น. เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตในพระพุทธศาสนา
๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่)
คิลานเภสัช (ยา). (ป.).
【 จตุปาริสุทธิศีล 】แปลว่า: [จะตุปาริสุดทิสีน] น. ศีลคือความบริสุทธิ์ หรือ ศีลคือเครื่องให้บริสุทธิ์ ๔
ประการ คือ ๑. สํารวมในพระปาติโมกข์ (ปาติโมกฺขสํวร) ๒. สํารวมตา
หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อินฺทฺริยสํวร) ๓. เลี้ยงชีพโดยทางชอบ (อาชีวปาริสุทฺธิ)
๔. บริโภคปัจจัยด้วยการพิจารณา (ปจฺจยสนฺนิสฺสิต). (ป.).
【 จตุลังคบาท 】แปลว่า: จะตุลังคะบาด น. เจ้ากรมพระตำรวจหลวงประจำ ๔ เท้าช้างทรง
ของพระมหากษัตริย์หรือพระมหาอุปราชในเวลาสงคราม เช่น
จตุลังคบาทสี่ตน ล้วนขุนพลสามรรถ. (ตะเลงพ่าย), จัตุลังคบาท ก็ว่า.
【 จตุโลกบาล 】แปลว่า: [จะตุโลกกะบาน] น. ท้าวจาตุมหาราช, หัวหน้าเทวดาในสวรรค์ชั้น
จาตุมหาราช มีหน้าที่รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ เรียกว่า ท้าวจตุโลกบาล
คือ ๑. ท้าวธตรฐ จอมภูตหรือจอมคนธรรพ์ รักษาโลกด้านทิศบูรพา
หรือทิศตะวันออก ๒. ท้าววิรุฬหก จอมเทวดาหรือจอมกุมภัณฑ์ รักษา
โลกด้านทิศทักษิณหรือทิศใต้ ๓. ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค รักษาโลกด้าน
ทิศประจิมหรือทิศตะวันตก ๔. ท้าวกุเวร จอมยักษ์ รักษาโลกด้านทิศ
อุดรหรือทิศเหนือ, จัตุโลกบาล ก็ว่า.
【 จตุสดมภ์ 】แปลว่า: น. วิธีจัดระเบียบราชการบริหารส่วนกลางในสมัยโบราณโดยตั้งกรม
หรือกระทรวงใหญ่ขึ้น ๔ กรม คือ กรมเมือง กรมวัง กรมคลัง กรมนา
มีเสนาบดีเจ้ากระทรวงว่าการในแต่ละกรมนั้น รวมเรียกว่า จตุสดมภ์
ซึ่งแปลว่าหลัก ๔. (ป. จตุ = สี่ + ส. สฺตมฺภ = หลัก หมายความว่า หลัก ๔).
【 จตุตถ-, จตุตถี 】แปลว่า: [จะตุดถะ-, -ตุดถี] ว. ที่ ๔ เช่นจตุตถจุลจอมเกล้า จตุตถสุรทิน จตุตถีดิถี. (ป.).
【 จตุร- 】แปลว่า: [จะตุระ-] ว. สี่, ใช้ประกอบหน้าคําที่มาจากภาษาบาลีหรือสันสกฤต.
(ส.; ป. จตุ).
【 จตุรคูณ 】แปลว่า: ว. ๔ เท่า.
【 จตุรงค์ 】แปลว่า: ว. องค์ ๔, ๔ เหล่า. น. หมากรุก เช่น ต่งงกรดานจตุรงคมยง ม่ายม้า.
(กำสรวล). (ป.; ส. จตุร + องฺค).
【 จตุรงคนายก 】แปลว่า: [จะตุรงคะ-] น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ กลอนแต่ละ
วรรค แบ่งออกเป็น ๔ จังหวะ จังหวะละ ๒ คำ คำเริ่มต้นของทุกจังหวะ
ใช้คำเดียวกันซ้ำตลอด คำที่ ๒ กับคำที่ ๔ ใช้เสียงพยัญชนะเดียวกัน
และคำที่ ๖ กับคำที่ ๘ ใช้เสียงพยัญชนะเดียวกัน ตัวอย่างว่า จักกรีด
จักกรายจักย้ายจักย่อง ไม่เมินไม่มองไม่หมองไม่หมาง งามเนื้องามนิ่ม
งามยิ้มงามย่าง ดูคิ้วดูคางดูปรางดูปรุง. (ชุมนุมตำรากลอน).
【 จตุรงคประดับ 】แปลว่า: [จะตุรงคะ-] น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ กลอน ๔ วรรค
ในแต่ละบทขึ้นต้นวรรคด้วยคำ ๒ คำซ้ำกัน ตัวอย่างว่า พระหน่อไทยได้
สดับแสดงกิจพระหน่อคิดจิตวาบระหวาบหวาม พระหน่อตรึกนึกคะเน
คะนึงความ พระหน่อนามแจ้ง กระจัดกระจ่างใจ. (ชุมนุมตำรากลอน).
【 จตุรงคพล 】แปลว่า: [จะตุรงคะ-] น. กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า
เหล่าราบ; หมากรุก.
【 จตุรงคยมก 】แปลว่า: [จะตุรงคะยะมก] น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ ทุก ๆ ๒
บทให้ใช้ภาษาบาลีแต่งวรรคแรกทั้งวรรค และวรรคที่ ๒ เฉพาะจังหวะ
แรก ตัวอย่างว่า ภุมมาจายันตุเทวา ภุมมะจาเจ้าที่บดีสูร อารักษ์เรือง
ฤทธิ์เดชเกษสกูล อันเรืองรูญรังษีระวีวร. (ชุมนุมตำรากลอน).
【 จตุรงคโยธา 】แปลว่า: [จะตุรงคะ-] น. กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า
เหล่าราบ. (ป., ส. จตุรงฺค + โยธา).
【 จตุรงคเสนา 】แปลว่า: [จะตุรงคะ-] น. กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า
เหล่าราบ, จตุรงคินีเสนา ก็ว่า. (ป., ส. จตุรงฺค + เสนา).
【 จตุรงคินีเสนา 】แปลว่า: [จะตุรง-] น. กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า
เหล่าราบ, จตุรงคเสนา ก็ว่า. (ป., ส. จตุรงฺคินี + เสนา).
【 จตุรพักตร์ 】แปลว่า: ว. “ผู้มี ๔ หน้า” คือ พระพรหม.
【 จตุรพิธ 】แปลว่า: ว. มี ๔ อย่าง.
【 จตุรพิธพร 】แปลว่า: [-พิดทะพอน] น. พร ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ, ใช้ใน
การให้พรขอให้มีอายุยืน มีผิวพรรณผ่องใส มีความสุขกายสุขใจ
และมีกําลังแข็งแรง.
【 จตุรภุช 】แปลว่า: [-พุด] ว. “ผู้มี ๔ แขน” คือ พระนารายณ์.
【 จตุรภูมิ 】แปลว่า: [-พูม] น. ภูมิ ๔ คือ ๑. กามาวจรภูมิ ภูมิของผู้ท่องเที่ยวในกามภพ
๒. รูปาวจรภูมิ ภูมิของผู้ท่องเที่ยวในรูปภพ ๓. อรูปาวจรภูมิ ภูมิของ
ผู้ท่องเที่ยวในอรูปภพ ๔. โลกุตรภูมิภูมิอันพ้นจากโลก.
【 จตุรมุข 】แปลว่า: (กลอน) น. “ผู้มี ๔ หน้า” คือ พระพรหม.
【 จตุรยุค 】แปลว่า: น. ยุคทั้ง ๔ คือ กฤดายุค ไตรดายุค ทวาบรยุค กลียุค.
【 จตุรเวท, จตุรเพท 】แปลว่า: [จะตุระเวด, จะตุระเพด] น. ชื่อคัมภีร์พระเวท ๔ คัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์
ในยุคพระเวท คือ ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท และอถรรพเวทหรืออาถรรพเวท.
/(ดู เวท, เวท-)/.
【 จตุราริยสัจ 】แปลว่า: [จะตุราริยะสัด] น. อริยสัจ ๔ ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค.
(ป. จตุร + อริยสจฺจ).
【 จตุรงค์ 】แปลว่า: /ดู จตุร-/.
【 จตุรถ- 】แปลว่า: [จะตุระถะ-] ว. ที่ ๔ เช่น จตุรถาภรณ์. (ส.; ป. จตฺตถ).
【 จทึง 】แปลว่า: [จะทึง] น. แม่นํ้า, ใช้ว่า ฉทึง ชทึง ชรทึง สทิง สทึง หรือ สรทึง ก็มี.
(ข. สฺทึง ว่า คลอง).
【 จน ๑ 】แปลว่า: ว. อัตคัดขัดสน, ฝืดเคือง, มีเงินไม่พอยังชีพ. ก. แพ้ เช่น หมากรุกจน;
หมดทาง เช่น จนใจ คือ ไม่มีทางที่จะทําได้อย่างคิด, จนตรอก คือ ไม่มี
ทางไป, จนแต้ม คือ ไม่มีทางเดินหรือไม่มีทางสู้, จนมุม คือ ไม่มีทางหนี.
【 จน ๒ 】แปลว่า: สัน. ตราบเท่า เช่น จนตาย, จนกระทั่ง หรือ จนถึง ก็ว่า.
【 จนกระทั่ง, จนถึง 】แปลว่า: สัน. ตราบเท่า, ที่สุดถึง.
【 จนกว่า 】แปลว่า: สัน. กระทั่งถึงเวลานั้น ๆ เช่น จนกว่าจะตาย.
【 จนชั้น 】แปลว่า: สัน. ที่สุดแต่.
【 จนด้วยเกล้า 】แปลว่า: (ปาก) ก. หมดปัญญาคิด.
【 จนได้ 】แปลว่า: ว. ในที่สุดก็เป็นเช่นนั้น เช่น ห้ามแล้วยังไปทำอีกจนได้.
【 จนแล้วจนรอด 】แปลว่า: ว. เป็นอยู่อย่างนั้นจนถึงบัดนี้.
【 จ้น 】แปลว่า: ว. ถี่ ๆ เช่น กินออกจ้นมิได้หยุดช่างสุดแสน. (นิ. ลอนดอน).
【 จบ ๑ 】แปลว่า: น. การสิ้นสุดคราวหนึ่ง ๆ, ลักษณนามเรียกการสิ้นสุดเช่นนั้น เช่น
สวดจบหนึ่ง ตั้งนโม ๓ จบ. ก. สิ้นสุดคราวหนึ่ง ๆ เช่น จบชั้นไหน.
【 จบเห่ 】แปลว่า: (ปาก) ก. หมดเสียง; สิ้นท่า, หมดท่า; ยุติ.
【 จบ ๒ 】แปลว่า: ก. ยกของขึ้นหรือพนมมือเหนือหน้าผากเพื่อตั้งใจอุทิศให้เวลาทำบุญ
ทำทาน; กิริยาที่ช้างชูงวงขึ้นเหนือหัวทําความเคารพ ในคำว่า ช้างจบ.
【 จบ ๓ 】แปลว่า: ก. ต่อกัน, พบกัน, เช่น จับปลายเชือก ๒ เส้นมาจบกัน.
【 จม 】แปลว่า: ก. หายลงไปหรืออยู่ใต้ผิวพื้น เช่น จมนํ้า จมดิน, โดยปริยายหมายความว่า
เข้าลึก เช่น จมมีด จมเขี้ยว, หมกตัวหรือฝังตัวอยู่ เช่น จมอยู่ในห้องหนังสือ
จมเลือด, ถอนทุนไม่ขึ้น เช่น ทุนจม, ยุบตัวลง เช่น สะบักจม; เรียกลวดลาย
ที่ไม่เด่นว่า ลายจม. (ปาก) ว. มาก เช่น วันนี้มีการบ้านจมเลย.
【 จมเบ้า 】แปลว่า: ว. อยู่กับที่เป็นเวลานาน ๆ.
【 จมปลัก 】แปลว่า: ก. ติดอยู่กับที่, ไม่ก้าวหน้า.
【 จมไม่ลง 】แปลว่า: (สํา) ก. เคยทําตัวใหญ่มาแล้วทําให้เล็กลงไม่ได้ (มักใช้แก่คนที่เคยมั่งมี
หรือรุ่งเรืองมาก่อน เมื่อยากจนหรือตกอับลงก็ยังทําตัวเหมือนเดิม).
【 จ่ม 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) ก. บ่น. (จ่ม ไทยดำ ว่า บ่น).
【 จมร, จมรี 】แปลว่า: /ดู จามรี/.
【 จมูก 】แปลว่า: [จะหฺมูก] น. อวัยวะส่วนหนึ่งที่ยื่นออกมา อยู่เหนือปาก มีรู ๒ รู สําหรับ
ดมกลิ่นและหายใจเข้าหายใจออก, (ปาก) ตมูก ก็ว่า, ราชาศัพท์ว่า
พระนาสิก, โดยปริยายเรียกสิ่งที่ยื่นออกมาคล้ายจมูก, เรียกสิ่งที่เจาะ
เป็นรู ๒ รูเพื่อร้อยเชือกเป็นต้น เช่น จมูกซุง. (ข.จฺรมุะ).
【 จมูกข้าว 】แปลว่า: น. ส่วนปลายของเมล็ดข้าวที่ติดกับก้านดอก เป็นส่วนที่ต้นอ่อนงอก.
【 จมูกมด 】แปลว่า: (สํา) ว. ที่ไหวตัวหรือรู้ตัวทันเหตุการณ์, บางทีใช้เข้าคู่กับคํา หูผี เป็น
หูผีจมูกมด.
【 จมูกวัว 】แปลว่า: น. ท่อที่ต่อจากสูบไปเป่าเปลวไฟไปท่วมเบ้า.
【 จมูกปลาหลด, จมูกปลาไหล 】แปลว่า: /ดู กระพังโหม/.
【 จมูกหลอด 】แปลว่า: /ดู ตะพาบ, ตะพาบนํ้า/.
【 จยุติ 】แปลว่า: จะยุดติ ก. จุติ. (ส.).
【 จร ๑, จร- 】แปลว่า: [จอน, จอระ-, จะระ-] ว. ไม่ใช่ประจํา เช่น คนจร รถจร, แทรกแปลกเข้ามา
เช่น โรคจร ลมจร. ก. ไป, เที่ยวไป; ประพฤติ. (ป., ส.), ใช้เป็นบทท้าย
สมาสก็มี เช่น ขจร = เที่ยวไปในอากาศ, วนจร = เที่ยวไปในป่า, ที่ใช้ควบ
กับคําไทยก็มี.
【 จรกลู่ 】แปลว่า: จอระกฺลู่ ก. เที่ยวลอยเกลื่อนกลาดอยู่ เช่น จรกลู่ขึ้นกลาง
โพยมากาศ. (ม. คําหลวง ทศพร).
【 จรจรัล 】แปลว่า: จอระจะรัน, จอนจะรัน ก. เที่ยวไป, เดินไป, เช่น แม่รักลูกรัก
จรจรัล พลายพังก็กระสัน. (ดุษฎีสังเวย).
【 จรจัด 】แปลว่า: [จอน-] ว. ร่อนเร่และไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง.
【 จรดล 】แปลว่า: จอระดน ก. เที่ยวไปถึง. (ป. จร + ตล = พื้น; ข. ฎล = ถึง).
【 จรบน, จรบัน 】แปลว่า: จะระ- ก. เที่ยวไปเบื้องบน, ฟุ้งไป, บินไป, เช่น ด้วยคันธามลก
ชําระจรบันสระหอมรส. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
【 จรบาท 】แปลว่า: จอระ- ก. เดินไปด้วยเท้า, ตรงกับคําว่า บทจร.
【 จรมัน 】แปลว่า: จอระ- ก. ทําให้มั่น, ทําให้แข็งแรง.
【 จรลวง, จรล่วง 】แปลว่า: จอระ- ก. ล่วงไป, ลับไป.
【 จรลาย 】แปลว่า: จอระ- ก. ละลายไป, หายไป.
【 จรล่ำ, จรหล่ำ 】แปลว่า: จอระหฺล่ำ ก. เที่ยวไปนาน, ไปช้า, เช่น ในเมื่อชีชูชกเถ้า
มหลกอการไปแวนนานจรล่ำแล. (ม. คำหลวง ชูชก), เท่าว่าทาง
ไกลจรล่ำ วันนี้ค่ำสองนางเมือ. (ลอ.), คิดใดคืนมาค่ำ อยู่จรหล่ำ
ต่อกลางคืน. (ม. คำหลวง มัทรี).
【 จรลิ่ว 】แปลว่า: จอระ- ก. เที่ยวไปไกล, ลอยไป, เช่น เหลียวแลทางจรลิ่ว
เหลียวแลทิวเทินป่า. (ลอ).
【 จรลี 】แปลว่า: จอระ- ก. เดินเยื้องกราย.
【 จรลู่ 】แปลว่า: จอระ- ก. เที่ยวไปตามทาง, เที่ยวกลิ้งอยู่, เที่ยวกองอยู่.
【 จร ๒ 】แปลว่า: [จอน] /ดู จอน ๒/.
【 จรก 】แปลว่า: [จะรก] น. ผู้เที่ยวไป, ผู้เดินไป. (ป., ส.).
【 จรแกว่ง 】แปลว่า: จะระแกฺว่ง ก. แกว่ง.
【 จรคั่ง 】แปลว่า: จะระ- ก. คั่ง.
【 จรณะ 】แปลว่า: [จะระ-] น. ความประพฤติ, ในพระพุทธศาสนาหมายความว่า
ข้อปฏิบัติเป็นเครื่องบรรลุวิชชา. (ป.).
【 จรด 】แปลว่า: [จะหฺรด] (โบ; แบบ) ก. จด, ถึง, จ่อให้ถึง.
【 จรดพระกรรไกรกรรบิด, จรดพระกรรไตรกรรบิด 】แปลว่า: (ราชา) ก.
【 ใช้กรรไตรและมีดโกนขริบและโกนผมเล็กน้อย เป็นการ 】แปลว่า:
เริ่มในพระราชพิธีโสกันต์และเกศากันต์.
【 จรดพระนังคัล 】แปลว่า: ก. จดไถลงดินเพื่อไถนาในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ.
【 จรมูก 】แปลว่า: จะระหฺมูก น. จมูก. (ข. จฺรมุะ).
【 จรรจา 】แปลว่า: จัน- ก. พูด, กล่าว, เช่น อันว่าคนจรรจาลิ้นล่าย กล่าวสองฝ่าย
ให้ดูดี. (ม. คำหลวงกุมาร). (ส. จฺรจา).
【 จรรโจษ 】แปลว่า: [จันโจด] ก. โจษจัน, พูดอึง, พูดกันเซ็งแซ่, เล่าลือกันอื้ออึง, เช่น
จรรโจษประชามี พลพิรียชาญชม. (สมุทรโฆษ), จันโจษ ก็ว่า.
【 จรรม, จรรม- 】แปลว่า: จํา, จํามะ- น. หนังสัตว์. (ส. จรฺมนฺ; ป. จมฺม).
【 จรรมการ 】แปลว่า: น. ช่างหนัง. (ส.; ป. จมฺมการ).
【 จรรมขัณฑ์ 】แปลว่า: น. ท่อนหนัง, แผ่นหนัง, เช่น ทรงครองอชินจรรมขัณฑ์เป็นเครื่องคลุม.
(ม. ร่ายยาว จุลพน). (ส.; ป. จมฺม + ขณฺฑ).
【 จรรยา 】แปลว่า: [จัน-] น. ความประพฤติ, กิริยาที่ควรประพฤติในหมู่ในคณะ เช่น
จรรยาแพทย์, นิยมใช้ในทางดี เช่น มีจรรยา หมายความว่า มีความ
ประพฤติที่ดี. (ส. จรฺยา; ป. จริยา).
【 จรรยาบรรณ 】แปลว่า: [จันยาบัน] น. ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงาน
แต่ละอย่างกําหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียง
และฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้.
【 จรรโลง 】แปลว่า: จัน- ก. พยุงไว้ไม่ให้เซหรือไม่ให้ล้มลง, ผดุง, ค้ำชู, เช่น จรรโลง
ประเทศ, บำรุงรักษาและเชิดชูไว้ไม่ให้เสื่อม เช่น จรรโลงศาสนา.
【 จรลาด, จรหลาด 】แปลว่า: จะระหฺลาด น. ตลาด, ที่ชุมนุมซื้อขายของต่าง ๆ, เช่น
จบจรลาดแลทาง ทั่วด้าว. (นิ. นรินทร์), จรหลาดเลขคนหนา
ฝ่งงเฝ้า. (กำสรวล).
【 จรวจ 】แปลว่า: จฺรวด ก. กรวด, หลั่งน้ำ. (เทียบ ข. จฺรวจทึก ว่า กรวดนํ้า).
【 จรวด ๑ 】แปลว่า: [จะหฺรวด] น. ชื่อดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง ใช้ไม้อ้อบรรจุดินดำ มีหางยาว เมื่อ
จุดชนวนแล้วเหวี่ยงให้พุ่งขึ้นสูง, กรวด ก็เรียก. (ข. กําชฺรัวจ ว่า พลุ).
ว. สูงชัน, ใช้ว่า กรวด ก็มี.
【 จรวด ๒ 】แปลว่า: [จะหฺรวด] น. อาวุธหรือยานอวกาศที่ขับเคลื่อนด้วยความเร็วสูงมาก
โดยใช้เชื้อเพลิงในตัวเองเผาไหม้เป็นแก๊สพุ่งออกมาจากส่วนท้าย มีทั้ง
ชนิดที่ใช้เชื้อเพลิงแข็งและชนิดที่ใช้เชื้อเพลิงเหลว. (อ. rocket).
【 จรวดนำวิถี 】แปลว่า: น. อาวุธปล่อยนําวิถีซึ่งขับเคลื่อนด้วยจรวด. (อ. guided rocket).
【 จรวดจรี 】แปลว่า: จฺรวดจะรี น. ยอดแหลมสูง.
【 จรวดไจร 】แปลว่า: จะหฺรวดจะไร ก. ตรวจดู, พิจารณาดู, เช่น ทังทุ่มทู้ต่างย้าง
จรวจไจร. (ยวนพ่าย).
【 จรวัก 】แปลว่า: จะระหฺวัก น. ตวัก.
【 จรส 】แปลว่า: [จะหฺรด] ว. จรัส, แจ่มแจ้ง, รุ่งเรือง, สว่าง, เช่น เหลืองจรุลจรสรจนา.
(ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
【 จรอก ๑ 】แปลว่า: จะหฺรอก น. ทาง, ทางแคบ, ทางเล็ก, ตรอก, ซอก, เช่น มา
คะคล้ายโดยทาง ถับถึงกลางจรอกปู่. (ลอ), บ้างก็นั่งในท่าน้ำบ้างก็
ค้ำกันไปนั่งในจรอก. (ม. คำหลวง ชูชก). (ข. จฺรก).
【 จรอก ๒ 】แปลว่า: จะหฺรอก น. จอก, ขันเล็ก ๆ ที่ใช้ตักนํ้าจากขันใหญ่, เช่น
จับจรอก คันธรสจุณจันทน์. (สุธนู).
【 จระกล้าย 】แปลว่า: จะระ- ก. วางเฉย, อยู่เฉย, ไม่รู้สึกยินดียินร้าย, โบราณเขียน
เป็น จรกล้าย ก็มี เช่น เออาศนไอสูรยเสีย จรกล้าย. (ยวนพ่าย), แล้วก็
น่งงเยียม่งง ช่งงอยู่จรกล้าย ว่าเถ้าร้ายฤๅจะรู้กล. (ม. คำหลวง กุมาร).
【 จระขาบ 】แปลว่า: จะระ- น. ตะขาบ, ใช้ว่า จะขาบ ก็มี.
【 จระเข้ 】แปลว่า: [จอระ-] น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ในวงศ์ Crocodylidae อาศัย
บริเวณป่าริมนํ้า หนังเป็นเกล็ดแข็ง ปากยาวและปลายปากนูนสูงขึ้น
เป็นช่องเปิดของรูจมูก เรียกว่า ก้อนขี้หมา หางแบนยาวใช้โบกว่ายนํ้า
มักหากินในนํ้า ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ จระเข้บึง จระเข้นํ้าจืด หรือ
จระเข้สยาม(/Crocodylus siamensis/) จระเข้อ้ายเคี่ยม หรือ จระเข้นํ้าเค็ม
(/C. porosus/) และ จระเข้ปากกระทุงเหว หรือ ตะโขง (/Tomistoma schlegelii/),
ตะเข้ หรือ อ้ายเข้ ก็เรียก, อีสานเรียก แข้, ปักษ์ใต้ เรียก เข้; ชื่อดาวฤกษ์
กลุ่มหนึ่ง; เรียกธงผืนผ้ามีรูปจระเข้ตรงกลาง มักปักไว้ที่ท่านํ้าหน้าวัด
แสดงว่าทอดกฐินแล้ว ว่า ธงจระเข้.
【 จระเข้ขวางคลอง 】แปลว่า: (สำ) น. ผู้ที่ชอบกันท่าหรือขัดขวางไม่ให้ผู้อื่นทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง
ได้สะดวก เหมือนจระเข้ที่ขึ้นมาขวางคลองทำให้เรือผ่านไปมาไม่สะดวก.
【 จระเข้คับคลอง 】แปลว่า: (สำ) น. ผู้ที่ชอบวางตัวใหญ่โตเกินไปย่อมมีอุปสรรคในการดำรงตนใน
สังคม.
【 จระเข้ปากกระทุงเหว 】แปลว่า: /ดู ตะโขง/.
【 จระเข้หางยาว 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
【 จระคลับ 】แปลว่า: จะระคฺลับ ว. มืด, ครึ้ม.
【 จระคล้าย 】แปลว่า: จะระคฺล้าย ก. ใกล้กราย, อยู่ใกล้, โบราณเขียนเป็น จรคล้าย
ก็มี, เช่น โหยบเหนสายใจ จรคล้าย. (กำสรวล).
【 จระคลุ่ม 】แปลว่า: จะระคฺลุ่ม ว. มืดมัว, คลุ้ม.
【 จระแคง 】แปลว่า: จะระ- ว. ตะแคง เช่น เท้าล้มจระแคง ทลายพุงพัง. (สุธนู).
【 จระจุ่ม 】แปลว่า: จะระ- ก. ใส่, เผา, ทิ้ง, โยน.
【 จระทก, จระเทิน 】แปลว่า: จะระทก, -เทิน ก. สะทก, สะเทิน, งกเงิ่น; จับจด, โบราณ
เขียนเป็น จรเทิน ก็มี เช่น อ้าแม่อย่าจองจิตรจรเทิน ศุขเพลินภิรมย์สม.
(ดุษฎีสังเวย).
【 จระนำ 】แปลว่า: [จะระ-] น. ซุ้มคูหาท้ายวิหารหรือท้ายโบสถ์มักเป็นที่ประดิษฐาน
พระพุทธรูป เรียกว่า ซุ้มจระนํา. (ทมิฬ จาฬรัม ว่า หน้าต่าง).
【 จระบาน 】แปลว่า: จะระ- ก. สู้รบ.
【 จระบี 】แปลว่า: [จะระ-] น. จาระบี.
【 จระลิ่ง, จระลึง 】แปลว่า: จะระ- ก. ตะลึง เช่น จระลิ่งทางทิพห้อง แห่งองค์. (ทวาทศมาส).
【 จระลุง, จะลุง 】แปลว่า: จะระ- น. เสาตะลุง, โบราณเขียนเป็น จรลุง หรือ จลุง ก็มี
เช่น แท่นที่สถิตย์ จรลุงโสภิต พื้นฉลักฉลุทอง. (ดุษฎีสังเวย), จลุงอาศน์
เบญพาศเกลี้ยงเกลา พเนกพนักน่าเนา จะนอนก็ศุขสบไถง.
(ดุษฎีสังเวย).
【 จรัล 】แปลว่า: จะรัน ก. เดิน เช่น แปดโสตรสี่ภักตร์ทรงพา หนหงษ์เหินคลา
วิหาศจรัลผันผาย. (ดุษฎีสังเวย).
【 จรัส 】แปลว่า: จะหฺรัด ว. แจ่มแจ้ง, รุ่งเรือง, สว่าง.
【 จราก 】แปลว่า: จะหฺราก ก. ตรากตรำ, ทําให้ลําบาก, เช่น คล้องติดคชคลอคชทังป่า
ขับจากขัง แลเข้าจรลุงจรากจอง. (สมุทรโฆษ).
【 จราง 】แปลว่า: จะราง ก. ผุดขึ้น เช่น ลางส่ำจรางมันผัน ม่ายม้า. (ยวนพ่าย).
(ข. จฺรางว่า ตั้งขึ้น, ขนชัน).
【 จราจร 】แปลว่า: [จะราจอน] น. การที่ยวดยานพาหนะ คน หรือ สัตว์พาหนะเคลื่อนไปมา
ตามทาง, เรียกผู้มีหน้าที่เกี่ยวด้วยการนั้น; (กฎ) การใช้ทางของผู้ขับขี่
คนเดินเท้า หรือคนที่จูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์.
【 จราญ 】แปลว่า: จะราน ก. ผลัก, พัง, ทําลาย, กระจาย, ดับ. (ข. จฺราน ว่า ผลัก).
【 จราย 】แปลว่า: จะ- ก. ทําลาย, กระจาย.
【 จราว ๑ 】แปลว่า: [จะ-] น. ตะพาบนํ้า เช่น จริวจราวจรัลชลจรมกรกรรกฏกูรม์. (สมุทรโฆษ).
【 จราว ๒ 】แปลว่า: จะ- น. ดอกไม้ เช่น แคแจรเจรอญจราว. (ม. คําหลวง จุลพน).
(แผลงมาจาก จาว). /(ดู จาว ๔)./
【 จราส 】แปลว่า: [จะหฺราด] ว. ตลอดตัว เช่น แถวจราสศุภลักษณ์. (ลอ). (ข. จราส ว่า
ทวนจากล่างไปบน).
【 จริก ๑ 】แปลว่า: จะหฺริก ก. เอาปากสับและงับอย่างอาการนกสับ, กดลง.
(แผลงมาจาก จิก).
【 จริก ๒ 】แปลว่า: จะหฺริก น. ต้นจิก เช่น จริกโจรตพยงผกากรรณก็มี.
(ม. คําหลวง มหาพน).
【 จริง, จริง ๆ 】แปลว่า: [จิง] ว. แน่ เช่น ทําจริง ชอบจริง ๆ; แท้, ไม่ปลอม, เช่น ของจริงไม่ใช่ของ
เทียม; เป็นอย่างนั้นแน่แท้ ไม่กลับเป็นอย่างอื่น เช่น ข้อนี้เป็นความจริง,
ไม่เท็จ, ไม่โกหก, ไม่หลอกลวง, เช่น เรื่องจริง พูดจริง, เป็นไปตามนั้น
เช่น ความฝันกลายเป็นความจริง.
【 จริงจัง 】แปลว่า: ว. แน่แท้ เช่น เชื่อถืออย่างจริงจัง, ไม่เป็นการเล่น เช่น ทํางานอย่างจริงจัง.
【 จริงใจ 】แปลว่า: ว. บริสุทธิ์ใจ, สุจริตใจ.
【 จริงอยู่แต่, จริงอยู่…แต่ 】แปลว่า: สัน. ใช้แสดงความยืนยันข้อความที่กล่าวมาแล้วข้างหน้าและแสดงว่า
มีข้อความขัดแย้งตามมาข้างหลัง.
【 จริต 】แปลว่า: [จะหฺริด] น. ความประพฤติ, กิริยาหรืออาการ, เช่น พุทธจริต เสียจริต
วิกลจริต, บางทีใช้ในทางไม่ดี เช่น ดัดจริต มีจริต, จริตจะก้าน ก็ว่า. (ป.).
【 จริม- 】แปลว่า: [จะริมะ-] ว. สุดท้าย เช่น จริมจิต ว่า จิตดวงสุดท้าย. (ป.).
【 จริย- 】แปลว่า: [จะริยะ-] น. ความประพฤติ, กิริยาที่ควรประพฤติ, ใช้ในคำสมาส
เช่น จริยศึกษา. (ป.).
【 จริยธรรม 】แปลว่า: น. ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ, ศีลธรรม, กฎศีลธรรม.
【 จริยวัตร, จริยาวัตร 】แปลว่า: น. หน้าที่ที่พึงประพฤติปฏิบัติ; ความประพฤติ ท่วงทีวาจา และ
กิริยามารยาท.
【 จริยศาสตร์ 】แปลว่า: น. ปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วยการแสวงหาความดีสูงสุดของชีวิตมนุษย์
แสวงหาเกณฑ์ในการตัดสินความประพฤติของมนุษย์ว่าอย่างไหนถูก
ไม่ถูก ดีไม่ดีควรไม่ควร และพิจารณาปัญหาเรื่องสถานภาพของค่าทาง
ศีลธรรม. (อ. ethics).
【 จริยศึกษา 】แปลว่า: น. การศึกษาเกี่ยวกับความเจริญงอกงามในทางความประพฤติและ
การปฏิบัติตน เพื่อให้อยู่ในแนวทางของศีลธรรมและวัฒนธรรม.
(อ. moral education).
【 จริยา 】แปลว่า: [จะ-] น. ความประพฤติ, กิริยาที่ควรประพฤติ, ใช้ในคําสมาส เช่น
ธรรมจริยา.
【 จริยาปิฎก 】แปลว่า: น. ชื่อคัมภีร์ที่ว่าด้วยการบําเพ็ญบารมีของพระพุทธเจ้าในชาติที่ล่วง
แล้วรวมอยู่ในขุทกนิกายแห่งสุตตันตปิฎก.
【 จริว ๑ 】แปลว่า: [จะ-] น. เต่า; ตะพาบนํ้า; เช่น จริวจราวจรัลชลจรมกรกรรกฏกูรม์
(สมุทรโฆษ); กริว หรือ ตริว ก็ว่า.
【 จริว ๒ 】แปลว่า: จะ- ว. เกรียว.
【 จรี 】แปลว่า: จะ- น. มีด, หอก, ดาบ, เช่น บัดออกกลางสนามสองรา
สองแขงขันหาก็กุมจรีแกว่งไกว. (สมุทรโฆษ). (ข.).
【 จรึง 】แปลว่า: จะ- ก. กรึง, ตรึง, เช่น เทียบที่ถมอก่อภูเพียง บรรพตจรึงเรียง.
(ดุษฎีสังเวย).
【 จรุก 】แปลว่า: จะหฺรุก น. หมู. (จินดามณี). (ข. ชฺรูก).
【 จรุง, จรูง 】แปลว่า: จะรุง, จะรูง ก. จูง, ชักชวน, เช่น ปลดยากพรากทุกข์ยุคเขิน
จรุงราษฎร์ดำเนินสู่ศุขสวัสดีโดยไว. (ดุษฎีสังเวย); ยั่ว เช่น จรุงใจ; กรุ่น,
อบอวล, ชื่น, เช่น จรุงกลิ่นแก้มน้องแก้ว ไป่วาย. (กำสรวล).
【 จรูญ 】แปลว่า: จะรูน ว. รุ่งเรือง, งาม.
【 จรูส 】แปลว่า: จะหฺรูด ว. สูง, กรวด, จรวด.
【 จเร 】แปลว่า: [จะ-] น. ผู้ดูแลทั่ว ๆ ไป, ผู้ตรวจตราทั่ว ๆ ไป, เช่น จเรตำรวจ จเรทหาร.
ก. ตระเวนไป.
【 จล 】แปลว่า: [จน] ก. ไหว, สั่น, เช่น จลวิจล. (ป.).
【 จลนพลศาสตร์ 】แปลว่า: [จะละนะพนละ-, จนละนะพนละ-] น. สาขาหนึ่งของพลศาสตร์ ว่าด้วย
การเคลื่อนที่ของเทหวัตถุที่เป็นของแข็ง และแรงที่ก่อให้เกิดการเคลื่อน
ที่นั้นด้วย. (อ. kinetics).
【 จลนศาสตร์ 】แปลว่า: [จะละนะ-, จนละนะ-] น. สาขาหนึ่งของพลศาสตร์ ว่าด้วยการเคลื่อนที่
ของเทหวัตถุที่เป็นของแข็ง โดยไม่คํานึงถึงแรงที่ก่อให้เกิดการเคลื่อนที่นั้น.
(อ. kinematics).
【 จลนี ๑ 】แปลว่า: จะ- น. เนื้อสมัน. (ป.).
【 จลนี ๒ 】แปลว่า: จะ- น. ชะนี เช่น จลนีหวนโหนปลายทูม. (ม. คําหลวง
ทานกัณฑ์). (ป.).
【 จลา 】แปลว่า: จะ- น. ธูป, ของหอม; แสงสว่าง, ฟ้าแลบ, เช่น จลาจเลนทร์.
(ม. คําหลวง แปลจากคํา คนฺธมาทโน; ส. จล + อจล + อินฺทฺร).
【 จลาจล 】แปลว่า: [จะลาจน] น. ความปั่นป่วนวุ่นวายไม่มีระเบียบ. (ป., ส. จล + อจล).
【 จวก 】แปลว่า: ก. สับหรือฟันโดยแรงด้วยจอบเป็นต้น, (ปาก) โดยปริยายหมายถึงตีฟัน
ชกต่อยผู้อื่นโดยแรง หรือว่าร้ายด้วยวาจา.
【 จ๊วก 】แปลว่า: ว. คําแต่งคํา ขาว ให้รู้ว่าสีขาวมาก, จั๊วะ ก็ว่า.
【 จวง, จวงหอม 】แปลว่า: /ดู เทพทารู, เทพทาโร/.
【 จวงจันทน์ 】แปลว่า: น. เครื่องหอมที่เจือด้วยจวงและจันทน์.
【 จ้วง 】แปลว่า: ก. กิริยาที่เอาภาชนะเช่นขันเอื้อมลงไปตักนํ้าขึ้นมาโดยแรง; อาการที่
เอาพายพุ้ยนํ้าโดยเร็วอย่างพายเรือแข่ง; โดยปริยายหมายถึงกิริยา
ที่ตีหรือฟันสุดแขน เช่น จ้วงตี จ้วงฟัน.
【 จ้วงจาบ 】แปลว่า: ว. อาจเอื้อม, ล่วงเกินผู้อื่นด้วยวาจา, จาบจ้วง ก็ว่า.
【 จ๋วง 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นสนเขา. /(ดู สน ๑)./
【 จ๋วงเครือ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นรากสามสิบ. /(ดู รากสามสิบ)./
【 จวด 】แปลว่า: น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดและหลายสกุลในวงศ์ Sciaenidae มีทั้งขนาด
เล็กและขนาดใหญ่ปลายหัวอาจทู่หรือแหลม ปากเชิดมากน้อยหรืองุ้มตํ่า
บ้างมีฟันแหลมคมหรือละเอียด หางเป็นรูปตัดมน หรือ กลม จนแม้กระทั่ง
แหลม โดยทั้งหมดขึ้นอยู่กับชนิดหรือขนาด ลําตัวมักมีสีเงินหรือเทา บ้าง
มีจุดประบนลําตัวและครีบ มักอยู่รวมกันเป็นฝูงใกล้ฝั่ง หรือบริเวณนํ้ากร่อย
ปากแม่นํ้า ทําเสียงได้.
【 จวดลาก 】แปลว่า: /ดู แก้ว ๔/.
【 จวน ๑ 】แปลว่า: น. ที่อยู่ของเจ้าเมือง, บ้านที่ทางราชการจัดให้เป็นที่อยู่ของผู้ว่าราชการ
จังหวัดเรียกว่า จวนผู้ว่าราชการจังหวัด.
【 จวน ๒ 】แปลว่า: น. ผ้าชนิดหนึ่ง.
【 จวน ๓ 】แปลว่า: ว. เกือบ, ใกล้, เช่น จวนถึง จวนตาย จวนได้.
【 จวนเจียน 】แปลว่า: ว. หวุดหวิด, เฉียด.
【 จวนแจ 】แปลว่า: ว. กระชั้นชิด (ใช้เกี่ยวกับเวลา).
【 จวนตัว 】แปลว่า: ว. เข้าที่คับขัน, เข้าที่จําเป็น.
【 จวบ 】แปลว่า: น. พบ, ประสบ, ร่วม, ถึง.
【 จวัก 】แปลว่า: [จะหฺวัก] น. เครื่องใช้ตักแกงหรือตักข้าว ทําด้วยกะลามะพร้าว
มีด้ามถือ, กระจ่า จ่า หรือ ตวัก ก็ว่า.
【 จอ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อปีที่ ๑๑ ของรอบปีนักษัตร มีหมาเป็นเครื่องหมาย.
【 จอ ๒ 】แปลว่า: น. ผ้าขาวที่ขึงไว้สําหรับเชิดหนังหรือฉายภาพยนตร์เป็นต้น; โดยปริยาย
เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น จอโทรทัศน์.
【 จ่อ ๑ 】แปลว่า: ก. เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไปใกล้หรือเกือบจดสิ่งอื่น เช่น เอายาดมจ่อจมูก;
มุ่งอยู่เฉพาะกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มักใช้เข้าคู่กับคำ จด เป็น จดจ่อ เช่น เขามี
ใจจดจ่อกับงาน.
【 จ่อคิว 】แปลว่า: (ปาก) ว. ใกล้ถึงลำดับที่จะได้หรือจะเป็น เช่น เขาจ่อคิวขึ้นเป็นหัวหน้า.
【 จ่อ ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. ภาชนะสานชนิดหนึ่ง รูปร่างอย่างกระด้ง มีไส้สานเป็น
ช่องโค้งอยู่ภายในใช้เลี้ยงตัวไหม.
【 จ้อ 】แปลว่า: ว. อาการที่พูดหรือคุยเรื่อยไปไม่หยุดปาก เช่น พูดจ้อ.
【 จ๋อ 】แปลว่า: น. คําใช้เรียกลิงหรือเด็กที่ซนอย่างลิงว่า อ้ายจ๋อ.
【 จอก ๑ 】แปลว่า: น. ภาชนะเล็ก ๆ รูปอย่างขัน ถ้าใช้สําหรับตักนํ้าโดยลอยอยู่ในขันใหญ่
เรียก จอกลอย, ถ้าใช้ใส่หมากในเชี่ยนหมากเรียก จอกหมาก; ภาชนะ
เล็ก ๆ รูปทรงกระบอก ใช้กินยา ดื่มเหล้า เป็นต้น; ใช้เป็นลักษณนาม เช่น
เหล้า ๓ จอก.
【 จอก ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้นํ้าชนิด /Pistia stratiotes/ L. ในวงศ์ Araceae ลอยอยู่บนผิวนํ้า
ไม่มีลําต้นมีแต่รากเป็นกลุ่มใหญ่ ใบเป็นแผ่นสีเขียวสดซ้อน ๆ กัน
เป็นกลุ่ม ยาว ๕-๑๐ เซนติเมตร.
【 จอก ๓ 】แปลว่า: (โบ) น. นกกระจอก.
【 จ้อก, จ้อก ๆ 】แปลว่า: ว. เสียงอย่างเสียงนํ้าที่ไหลตกลงมา.
【 จ๊อก 】แปลว่า: ว. เสียงร้องของไก่เมื่อเวลาเจ็บหรือใกล้จะตาย, เสียงร้องของไก่ชนตัว
ที่แพ้, โดยปริยายหมายความว่า ยอมแพ้, ใช้ตามสํานวนนักเลงไก่
เพราะไก่ตัวใดร้องจ๊อก ก็แสดงว่าไก่ตัวนั้นแพ้; เสียงท้องร้องเวลาหิว,
จ๊อก ๆ ก็ว่า.
【 จ๊อก ๆ 】แปลว่า: ว. เสียงอย่างเสียงนํ้าที่ไหลตกลงมาเบา ๆ; เสียงท้องร้องเวลาหิว, จ๊อก ก็ว่า.
【 จ้อกแจ้ก 】แปลว่า: ว. เสียงดังเช่นนั้น, เสียงของคนมาก ๆ ที่ต่างคนต่างพูดกันจนฟังไม่ได้ศัพท์.
【 จ้อกวอก 】แปลว่า: ว. ขาวมาก (มักใช้แก่หน้าที่ผัดแป้งไว้ขาวเกินไป).
【 จอกหูหนู 】แปลว่า: น. ชื่อผักกูดนํ้าชนิด /Salvinia cucullata/ Roxb. ในวงศ์ Salviniaceae ลอย
อยู่บนผิวนํ้า มีรากเป็นฝอยยาวคล้ายจอก ที่ต่างกับจอก คือ มีใบ ๒ ใบ
อยู่ตรงข้ามกัน ก้านใบสั้น ตัวใบกลม สีเขียวแก่ โคนใบเว้าเข้าเล็กน้อย
ตั้งชูขึ้นคล้ายหูหนู.
【 จอง 】แปลว่า: ก. ผูกไว้; มั่นหมายไว้, ขอกําหนดไว้, เช่น จองกฐิน จองที่. (ข. จง ว่า ผูก).
【 จองกฐิน 】แปลว่า: ก. แจ้งความจำนงว่าจะนำผ้ากฐินไปทอดที่วัดนั้น ๆ ไว้เป็นการล่วงหน้า.
【 จองคช 】แปลว่า: [-คด] น. ช้างที่ผูกเครื่องรบเข้าระวางทัพ.
【 จองจำ 】แปลว่า: ก. ใส่ตรวนหรือเครื่องพันธนาการขังไว้ในคุกในตะรางเป็นต้น,
จําจอง ก็ว่า.
【 จองตั๋ว 】แปลว่า: (ปาก) ก. ซื้อตั๋วล่วงหน้า.
【 จองถนน 】แปลว่า: (โบ) ก. ถมที่ลุ่มขึ้นเป็นถนน.
【 จองล้างจองผลาญ 】แปลว่า: ก. ผูกใจเจ็บคิดจะทำการแก้แค้นให้ได้.
【 จองเวร 】แปลว่า: ก. ผูกอาฆาตพยาบาท.
【 จองเวรจองกรรม 】แปลว่า: ก. ผูกอาฆาตพยาบาทไม่มีที่สิ้นสุด.
【 จ้อง ๑ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ร่ม. (อนันตวิภาค ว่า จ่อง).
【 จ้อง ๒ 】แปลว่า: ก. เพ่งตาดูหรือมุ่งมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น จ้องหน้า,
มุ่งคอยจนกว่าจะได้ช่อง, คอยที, เช่น จ้องจับผิด จ้องจะทําร้าย
จ้องจะแทง, กิริยาที่เอาปืนหรืออาวุธเล็งมุ่งตรงไปยังสิ่งใดสิ่งหนึ่ง.
【 จ๋อง 】แปลว่า: (ปาก) ว. หงอยเหงา, เซื่อง, ไม่กล้า, ไม่คึกคัก.
【 จ้องเต 】แปลว่า: น. ต้องเต.
【 จองเปรียง 】แปลว่า: [-เปฺรียง] น. ชื่อพิธีอย่างหนึ่งของพราหมณ์ เป็นพิธีจุดโคมรับพระเป็นเจ้า
ทําในวันเพ็ญเดือน ๑๒.
【 จองหง่อง 】แปลว่า: ว. อาการที่นั่งอย่างหงอยเหงา.
【 จ้องหน่อง 】แปลว่า: น. เครื่องทําให้เกิดเสียงเป็นเพลง โดยใช้ปากคาบแล้วกระตุกหรือชักด้วย
เชือกให้สั่นดังเป็นเสียงดนตรี.
【 จองหอง 】แปลว่า: ว. เย่อหยิ่ง, ทะนงตัว, ถือดี, อวดดี.
【 จองหองพองขน 】แปลว่า: ว. เย่อหยิ่งแสดงอาการลบหลู่.
【 จอแจ 】แปลว่า: ว. มีผู้คนคับคั่งและมีเสียงเซ็งแซ่ เช่น ผู้คนจอแจ ตลาดจอแจ; จวนแจ
เช่น เวลาจอแจเต็มที.
【 จ๋อแจ๋ 】แปลว่า: ว. เสียงอย่างเสียงเด็กพูด.
【 จอด 】แปลว่า: ก. หยุดอยู่หรือทําให้หยุด, หยุดอยู่ชั่วคราว, (ใช้แก่เรือรถเป็นต้น);
(ปาก) พ่ายแพ้, ไม่มีทางสู้, ตาย; (กลอน) รัก เช่น มิตรใจเรียม
จอดเจ้า จักคิดถึงฤๅ. (นิ. นรินทร์).
【 จอน ๑, จอนหู 】แปลว่า: น. ชายผมข้างหูที่ระลงมาที่แก้ม.
【 จอน ๒ 】แปลว่า: (กลอน) น. เครื่องประดับหูอยู่ด้านหน้ากรรเจียก เช่น กรรเจียกซ้อน
จอนแก้วแพรวพราว. (อิเหนา), เขียนเป็น จร ก็มี. (ไทยใหญ่ จอน ว่า
เสียบ).
【 จ้อน ๑ 】แปลว่า: /ดู กระจ้อน ๑/.
【 จ้อน ๒ 】แปลว่า: ว. แคระ, เล็ก, แกร็น; เฟ็ด, หด, สั้น, ถลกขึ้นสูง, เช่น นุ่งผ้าจ้อน.
【 จอนจ่อ 】แปลว่า: ว. อาการนั่งชันเข่าค้อมหลังลง.
【 จอบ ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องมือสําหรับขุด พรวน หรือถากดิน ทําด้วยเหล็กหน้าแบนกว้าง
มีด้ามยาว; เรียกฟันหน้าบนที่ใหญ่กว่าปรกติ ว่า ฟันจอบ.
【 จอบ ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) ก. แอบ, ลอบ, คอยฟัง; (ถิ่น-พายัพ) ล่อ, เล้าโลม, ชักชวน.
【 จอบ ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ในวงศ์ Pinnidae เปลือกค่อนข้างเปราะ รูปร่าง
คล้ายซองพลู ปลายด้านหนึ่งแผ่บานออก อีกด้านหนึ่งเรียวลง สีนํ้าตาล
อมเทา มีหลายชนิด เช่น ชนิด /Pinna bicolor, Atrina vexillum/, ซองพลู
ก็เรียก.
【 จอม 】แปลว่า: น. ยอดที่สูงสุดของสิ่งที่มีฐานใหญ่ปลายเรียวเล็กขึ้นไป เช่น จอมเขา;
ผู้ที่ยอดเยี่ยมในหมู่ เช่น จอมโจร.
【 จอมขวัญ 】แปลว่า: น. ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยม หมายถึง หญิงที่รัก.
【 จอมใจ 】แปลว่า: น. หญิงที่เป็นยอดดวงใจ.
【 จอมไตร 】แปลว่า: น. ผู้เป็นใหญ่ในโลกสาม, โดยมากหมายถึงพระพุทธเจ้า หรือ
พระอิศวร (ตัดมาจาก จอมไตรโลก หรือ จอมไตรภพ).
【 จอมทัพ 】แปลว่า: น. ตําแหน่งสูงสุดของกองทัพ.
【 จอมปลวก 】แปลว่า: น. รังปลวกขนาดใหญ่ที่สูงเป็นจอมขึ้นไป.
【 จอมพล 】แปลว่า: น. ยศทหารบกชั้นสูงสุด, ถ้าเป็นทหารเรือ เรียก จอมพลเรือ, ถ้าเป็น
ทหารอากาศเรียก จอมพลอากาศ.
【 จ่อม ๑ 】แปลว่า: น. ชื่ออาหารอย่างหนึ่ง ทําด้วยปลาหรือกุ้งตัวเล็ก ๆ หมักเกลือไว้
ระยะหนึ่ง แล้วใส่ข้าวสารคั่วป่น ทำด้วยปลาเรียกว่า ปลาจ่อม
ทำด้วยกุ้งเรียกว่า กุ้งจ่อม ใช้เป็นเครื่องจิ้ม.
【 จ่อม ๒ 】แปลว่า: ก. หย่อนลง, วางลง, เช่น เอาเบ็ดไปจ่อม จ่อมก้นไม่ลง, จุ่มลง, จม,
เช่น ปวงเทพเจ้าตกจม จ่อมม้วย. (โคลงตำนานศรีปราชญ์), จอด
เช่น ใจจ่อมเจ้า; ฟุบ, หมอบ, (ใช้แก่สัตว์ เช่น โค กระบือ).
【 จ่อมจ่าย 】แปลว่า: ก. ค่อยจับจ่าย, จ่ายทีละน้อย.
【 จอมปลอม 】แปลว่า: ว. ที่หลอกลวงให้คนเชื่อว่าเป็นเช่นนั้นจริง เช่น ของจอมปลอม
ผู้ดีจอมปลอม บัณฑิตจอมปลอม.
【 จ้อมป้อม 】แปลว่า: ว. จอมเปาะ.
【 จอมเปาะ 】แปลว่า: ว. กลมนูนอย่างปุ่มฆ้อง.
【 จอมสุรางค์ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 จ่อย 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) ว. ผอม.
【 จ้อย ๑ 】แปลว่า: ว. เล็ก, น้อย, เช่น เรื่องจ้อย.
【 จ้อย ๒, จ้อย ๆ 】แปลว่า: ว. คล่อง, ไม่หยุดปาก, ในคำว่า พูดจ้อย หรือ พูดจ้อย ๆ.
【 จ้อย ๓ 】แปลว่า: ว. ไม่ได้วี่แวว, ไร้วี่แวว, เช่น หายจ้อย เงียบจ้อย.
【 จ๋อย ๑ 】แปลว่า: ว. ซีดเซียว, หงอยเหงา, สลด, เช่น หน้าจ๋อย.
【 จ๋อย ๒ 】แปลว่า: ว. คําแต่งคํา เหลือง หรือ หวาน ให้รู้ว่าเหลืองหรือหวานจริง ๆ เช่น
เหลืองจ๋อย หวานจ๋อย.
【 จ๋อย ๓, จ๋อย ๆ 】แปลว่า: ว. คล่อง, ไม่หยุดปาก, เช่น พูดจ๋อย พูดจ๋อย ๆ.
【 จอแส 】แปลว่า: /ดู ชาด/.
【 จะ ๑ 】แปลว่า: คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี จ เป็นพยัญชนะต้นใน
บทกลอน เช่น แจ้งแจ้ง กร่อนเป็น จะแจ้ง แจ่มแจ่ม กร่อนเป็น จะแจ่ม
มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำหรือเน้น.
【 จะ ๒ 】แปลว่า: เป็นคําช่วยกริยาบอกอนาคต เช่น จะไป จะอยู่.
【 จ้ะ 】แปลว่า: ว. คํารับ (ใช้เป็นสามัญทั่วไป).
【 จ๊ะ ๑ 】แปลว่า: ว. คําต่อท้ายคําเชิญชวนหลังคำ “นะ” หรือ “ซิ” เช่น ไปนะจ๊ะ เชิญซิจ๊ะ
หรือต่อท้ายคำถามเป็นต้น เช่น อะไรจ๊ะ.
【 จ๊ะ ๒ 】แปลว่า: ก. เจอกันหรือพ้องกันโดยบังเอิญ เช่น เดินมาจ๊ะกัน แกงจ๊ะกัน.
【 จ๊ะเอ๋ 】แปลว่า: น. ชื่อการเล่นชนิดหนึ่งที่ผู้หนึ่งโผล่หน้าหรือเปิดหน้าแล้วพูดว่า “จ๊ะเอ๋”
กับอีกผู้หนึ่งซึ่งมักเป็นเด็ก.
【 จ๋ะ ๑ 】แปลว่า: ว. เสียงประกอบคําถาม.
【 จ๋ะ ๒ 】แปลว่า: ว. เสียงประกอบคําเรียก เช่น แม่จ๋ะ (เป็นเสียงสั้นจากคํา จ๋า).
【 จะกรัจจะกราจ 】แปลว่า: (กลอน) ว. เสียงขบฟันกรอด ๆ, ทําอาการเกรี้ยวกราด, เช่น ขบฟันขึงเขียว
จะกรัจจะกราจคึกคาม. (สุธนู), เขียนเป็น จะกรัดจะกราด ก็มี.
【 จะกรุน, จะกรูน 】แปลว่า: ว. สีดํา, โบราณเขียนเป็น จกรูน ก็มี เช่น ช้างสารชํานิเมามัน หลากหลาก
หลายพรรณ แลหน้าจกรูนแสงนิล. (อนิรุทธ์).
【 จะกรุมจะกราม 】แปลว่า: ว. ตะกรุมตะกราม, ซุ่มซ่าม.
【 จะกละ ๑, จะกลาม 】แปลว่า: ว. ตะกละ, ตะกลาม, มักกิน, กินไม่เลือก, เห็นแก่กิน, มักใช้รวมกันว่า
จะกละจะกลาม ก็มี, ตะกละตะกลาม ก็ว่า, โดยปริยายหมายความว่า
อยากได้มาก ๆ.
【 จะกละ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อผีชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่ามีรูปเป็นแมว อยู่ในจําพวกผีป่า หมอผี
ชาวป่าเลี้ยงไว้ใช้ไปทําร้ายศัตรู. (สยามสมาคม).
【 จะกวด 】แปลว่า: น. ตะกวด.
【 จะกูด 】แปลว่า: น. เครื่องถือท้ายเรือ คล้ายหางเสือ ทำด้วยไม้เป็นแผ่นใหญ่ รูปร่าง
คล้ายพาย มีด้ามยาว, จังกูด หรือ ตะกูด ก็เรียก.
【 จะเกร็ง 】แปลว่า: /ดู เหงือกปลาหมอ ๒/.
【 จะขาบ ๑ 】แปลว่า: /ดู ตะขาบ ๑/.
【 จะขาบ ๒ 】แปลว่า: /ดู ตะขาบ ๓/.
【 จะเข้ ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องดนตรีไทยชนิดหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายตัวจระเข้ ตัวเป็นโพรง วางยาว
ไปกับพื้น มีสาย ๓ สาย มีนม ๑๑ นมเป็นฐานรองรับสายเมื่อกดนิ้วขณะดีด
ทําให้มีเสียงสูงตํ่า มีขา ๕ ขา ใช้บรรเลงผสมอยู่ในวงเครื่องสายและมโหรี,
ลักษณนามเรียก ตัว.
【 จะเข้ ๒ 】แปลว่า: (โบ) น. จระเข้.
【 จะเข็บ 】แปลว่า: /ดู ตะเข็บ ๑/.
【 จะแคง 】แปลว่า: (ถิ่น) ว. ตะแคง. /(ดู จระแคง)./
【 จะงอย 】แปลว่า: น. ปลายหรือที่สุดที่มีลักษณะโค้งหรืองุ้มลง เช่น จะงอยปากนกแก้ว
จะงอยบ่า, ราชาศัพท์เรียก จะงอยบ่า ว่า พระอังสกุฏ.
【 จะจะ 】แปลว่า: ว. ให้ชัดเจน, กระจ่าง, เช่น เขียนจะจะ; ห่างเป็นระยะ ๆ เช่น ดํานาจะจะ.
【 จะจ้า 】แปลว่า: ว. เสียงร้องไห้.
【 จ๊ะจ๋า 】แปลว่า: ว. เรียกอาการที่เด็กเริ่มหัดพูดพูดอย่างน่ารักน่าเอ็นดู เช่น ลูกฉันเริ่มหัด
พูดจ๊ะจ๋าแล้ว. ก. อาการที่คู่รักพูดคุยกันอย่างมีความสุข เช่น สองคนนั้น
เขากำลังจ๊ะจ๋ากันอยู่อย่าไปกวนเขา.
【 จะแจ้ง 】แปลว่า: ว. กระจ่าง, ชัดเจน, แจ่มแจ้ง.
【 จะแจ่ม 】แปลว่า: (กลอน) ว. แจ่ม, ใส, กระจ่าง, ชัดเจน, ไม่มัว.
【 จะไจ้ 】แปลว่า: ว. บ่อย ๆ, เนือง ๆ.
【 จะบัน 】แปลว่า: ก. ตะบัน, ทิ่มหรือแทงกดลงไป, กระทุ้ง, เช่น ดาบดั้งดึงโดดดั้น
จะบันแรง. (ยอพระเกียรติกรุงธน).
【 จะปิ้ง 】แปลว่า: น. เครื่องปิดของลับของเด็กหญิง ทําด้วยเงิน ทอง หรือนาก เป็นต้น,
กระจับปิ้ง จับปิ้ง ตะปิ้ง หรือ ตับปิ้ง ก็เรียก. (ม.); แผ่นโลหะที่ติดฝาหีบ
สําหรับลั่นกุญแจ, ใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน เช่น จะปิ้งหูกลอง
จะปิ้งห่วงประตู.
【 จะปิ้งเรือ 】แปลว่า: น. แผ่นโลหะโดยมากทําเป็นรูปดอกจัน สําหรับตรึงที่โคนห่วงร้อยโซ่
ผูกเรือ.
**
【 จะเพลิง 】แปลว่า: /ดู กระดูกค่าง/.
【 จะละเม็ด ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาทะเลในวงศ์ Stromateidae รูปร่างป้อม ค่อนข้างสั้น ลําตัวแบน
ข้างมาก หัวเล็กมน ปากเล็ก เกล็ดเล็ก บริเวณคอดหางไม่มีสันคม ได้แก่
จะละเม็ดขาว (/Pampus argenteus/) หางเป็นแฉกยาว เว้าลึก จะละเม็ดเทา
(/P. chinensis/) หางเว้าตื้น ทั้ง ๒ ชนิดนี้ไม่มีครีบท้อง ส่วนจะละเม็ดดํา
(/Parastromateus niger/) ที่บริเวณคอดหางเป็นสันคม และมีครีบท้อง
เฉพาะในปลาขนาดเล็ก.
【 จะละเม็ด ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อเต่าทะเลชนิด /Caretta caretta/ ในวงศ์ Cheloniidae หัวโตกว่าเต่า
ทะเลชนิดอื่น เกล็ดกระดองหลังแถวข้างมี ๕ ชิ้น กระดองสีนํ้าตาลหรือ
นํ้าตาลแดง ท้องสีขาวครีมพบในมหาสมุทรแปซิฟิก เขตนํ้าอุ่นของ
มหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรอินเดีย, เรียกไข่เต่าทะเลทุกชนิด
ว่า ไข่จะละเม็ด.
【 จะละหวั่น 】แปลว่า: ว. ชุลมุน, วุ่นวาย, จ้าละหวั่น ก็ใช้.
【 จะลุง 】แปลว่า: น. เสาตะลุง, ในบทกลอนใช้ จระลุง ก็มี.
【 จัก ๑ 】แปลว่า: ก. ทําให้เป็นแฉก ๆ หรือหยัก ๆ คล้ายฟันเลื่อย, เอาคมมีดผ่าไม้ไผ่
หรือหวายให้แตกจากกันเป็นเส้นบาง ๆ. ว. เป็นแฉก ๆ หรือหยัก ๆ.
【 จักตอก 】แปลว่า: ก. เอาคมมีดผ่าไม้ไผ่ให้เป็นเส้นแบนบาง สำหรับใช้ผูกมัดหรือสาน
สิ่งต่าง ๆ.
【 จักสาน 】แปลว่า: น. เรียกเครื่องใช้ที่ทําด้วยไม้ไผ่หรือหวายเป็นต้นว่า เครื่องจักสาน.
【 จัก ๒ 】แปลว่า: (ไว) คําช่วยกริยาบอกกาลภายหน้า แสดงเจตจำนง เช่น จักกิน จักนอน.
【 จัก ๓ 】แปลว่า: ก. รู้, ทราบ, แจ้ง, จําได้, เช่น รู้จัก, ข้อยคูดนูแนบนิทรา รมย์ร่วมรถ
พาหนห่อนจักสึกสมประดี. (สรรพสิทธิ์).
【 จั้ก ๆ 】แปลว่า: ว. เสียงอย่างเสียงฝนตกแรง.
【 จักกาย 】แปลว่า: น. แม่ทัพ. (ต.).
【 จั๊กกิ้ม 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. จิ้งจก. /(ดู จิ้งจก)./
【 จักขุ, จักขุ- 】แปลว่า: น. ตา. (ป.; ส. จกฺษุ).
【 จักขุนทรีย์ 】แปลว่า: น. ตาซึ่งทำหน้าที่ดูรูป. (ป. จกฺขุ + อินฺทฺริย).
【 จักขุทวาร 】แปลว่า: น. ช่องตา.
【 จักขุประสาท 】แปลว่า: น. ส่วนสําคัญของตา ทําให้แลเห็น.
【 จักขุวิญญาณ 】แปลว่า: น. ความรู้อันอาศัยทางตาเกิดขึ้น.
【 จักขุสัมผัส 】แปลว่า: น. อาการที่ตากับรูปและจักขุวิญญาณประจวบกัน.
【 จักขุนทรีย์ 】แปลว่า: /ดู จักขุ, จักขุ-/.
【 จักจั่น ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อแมลงพวกหนึ่งในวงศ์ Cicadidae มีหลายขนาด ลําตัวยาวตั้งแต่
๒-๑๐ เซนติเมตร และเรียวลงไปทางหาง หัวและอกกว้าง ปีกมี ๒ คู่
เนื้อปีกเหมือนกันตลอด ปีกเมื่อพับจะเป็นรูปหลังคาคลุมตัว มีปากชนิด
เจาะดูดโผล่จากหัวทางด้านล่างที่บริเวณใกล้กับอก ตาโตเห็นได้ชัดอยู่
ตรงมุม ๒ ข้างของหัว ตัวผู้มีอวัยวะพิเศษสําหรับทําเสียงได้ยินไปไกล
ระดับเสียงค่อนข้างสมํ่าเสมอ ไร้กังวาน ส่วนใหญ่สีเขียว ที่พบบ่อยเป็น
ชนิด /Dundubia intermerata/.
【 จักจั่น ๒ 】แปลว่า: [จักกะ-] /ดู กระพี้นางนวล/.
【 จักจั่น ๓ 】แปลว่า: [จักกะ-] /ดู จั่น ๓/.
【 จักจี้, จั๊กจี้ 】แปลว่า: [จักกะ-, จั๊กกะ-] ก. อาการที่ทําให้รู้สึกเสียวสะดุ้งหรือหัวเราะโดยไม่ตั้งใจ
เมื่อถูกจี้ที่เอวหรือรักแร้เป็นต้น.
【 จั๊กเดียม 】แปลว่า: [จั๊กกะ-] ก. กระดาก, เขินอาย, มักใช้เข้าคู่กับคำ จั๊กจี้ เป็น จั๊กจี้จั๊กเดียม.
【 จักร, จักร- 】แปลว่า: [จัก, จักกฺระ-] น. อาวุธในนิยาย รูปเป็นวงกลมและมีแฉก ๆ โดยรอบ เช่น
พระนารายณ์ทรงจักร, สิ่งที่มีลักษณะเป็นวงกลมอย่างล้อรถ เช่น จักรที่ใช้
ขว้างในการกีฬา, สิ่งที่มีรูปเป็นวงกลมมีฟันเฟืองหมุนด้วยพลังงานต่าง ๆ
เช่น จักรนาฬิกา, เรียกเครื่องกลบางชนิด เช่น เครื่องจักร รถจักร, เรียก
เครื่องเย็บผ้าที่ใช้เดินด้วยพลังงานหรือใช้เท้าถีบหรือใช้มือหมุนว่า จักร
หรือ จักรเย็บผ้า; บรรจบรอบแห่งปีหรือแห่งฤดู เช่น พฤหัสบดีจักร.
(ส.; ป. จกฺก).
【 จักรปาณิ, จักรปาณี 】แปลว่า: น. ผู้มีจักรในมือ คือ พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์. (ส.; ป. จกฺกปาณิ,
จกฺกปาณี).
【 จักรผัน 】แปลว่า: [จัก-] ว. เร็ว.
【 จักรพรรดิ 】แปลว่า: น. พระราชาธิราช, ประมุขของจักรวรรดิ, โบราณเขียนว่า
จักรพัตราธิราช ก็มี. (ส. จกฺรวรฺตินฺ; ป. จกฺกวตฺติ).
【 จักรพาล 】แปลว่า: น. จักรวาล.
【 จักรยาน 】แปลว่า: น. รถถีบ, ยานพาหนะประเภทรถที่มีล้อ ๒ ล้อ ล้อหนึ่งอยู่ข้างหน้าและ
อีกล้อหนึ่งอยู่ข้างหลัง มีโครงเหล็กเชื่อมล้อหน้ากับล้อหลัง มีคันบังคับ
ด้วยมือติดตั้งอยู่บนล้อหน้า ขับเคลื่อนด้วยกำลังคนผู้ขี่ซึ่งใช้เท้าถีบ
บันไดรถให้วิ่ง เรียกว่า จักรยานสองล้อ, ถ้ามี ๓ ล้อ เรียกว่า จักรยาน
สามล้อ.
【 จักรยานยนต์ 】แปลว่า: น. รถที่มีล้อ ๒ ล้อ เหมือนกับรถจักรยานขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องยนต์,
ภาษาปากเรียก รถเครื่อง หรือ มอเตอร์ไซค์.
【 จักรราศี 】แปลว่า: น. อาณาเขตที่ดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์, อาณาเขตโดยรอบ
ดวงอาทิตย์ที่ดาวเคราะห์เดิน, วิถีโคจรประจําของดวงอาทิตย์ซึ่งดู
เสมือนวนไปรอบท้องฟ้าได้ ๓๖๐ องศาใน ๑ ปี วงโคจรนี้แบ่งออกเป็น
๑๒ ส่วน หรือ ๑๒ ราศี แต่ละส่วนหรือแต่ละราศีมีช่วง ๓๐ องศา ได้แก่
ราศีเมษ ราศีพฤษภ ราศีเมถุน ราศีกรกฎ ราศีสิงห์ ราศีกันย์ ราศีตุล
หรือราศีดุล ราศีพฤศจิกหรือราศีพิจิก ราศีธนู ราศีมังกร ราศีกุมภ์ และ
ราศีมีน, วงโคจรของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ที่สมมุติ
ขึ้นทางโหราศาสตร์ประกอบด้วย ๑๒ ราศี. (ส.).
【 จักรวรรดิ 】แปลว่า: [-หฺวัด] น. รัฐหรือสหภาพของรัฐต่าง ๆ ที่มีจักรพรรดิเป็นประมุข เช่น
จักรวรรดิโรมัน, อาณาเขตหรืออาณาจักรที่อยู่ภายใต้อํานาจอธิปไตย
การปกครองอันเดียวกัน เช่น จักรวรรดิอังกฤษ. (ส.; อ. empire).
【 จักรวรรดินิยม 】แปลว่า: [-หฺวัดนิยม] น. ลัทธิขยายอาณาเขตและอํานาจปกครองของรัฐ.
(อ. imperialism).
【 จักรวาต 】แปลว่า: [-วาด] น. ลมบ้าหมู (ลมหมุน). (ส.).
【 จักรวาล 】แปลว่า: [-วาน] น. ปริมณฑล; ประชุม, หมู่; เทือกเขาในนิยาย เป็นกําแพง
ล้อมรอบโลกและเป็นเขตกั้นแสงสว่างกับความมืด, บริเวณโดย
รอบของโลก, ทั่วโลก. (ส.; ป. จกฺกวาล).
【 จักรผาน 】แปลว่า: [จักผาน] /ดู ตาเดียว/.
【 จักรพาก, จักรวาก 】แปลว่า: [จักกฺระ-] น. นกจากพราก. /(ดู จากพราก, จากพาก)./ (ส. จกฺรวาก).
【 จักริน, จักรี 】แปลว่า: [จักกฺริน, จักกฺรี] น. ผู้มีจักร หมายถึง พระนารายณ์, ต่อมาหมายถึง
พระราชาตามคติความเชื่อของไทยที่ถือว่าเป็นพระนารายณ์อวตาร.
(ส. จกฺรี, จกฺรินฺ; ป. จกฺกี).
【 จั๊กเล้อ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. จิ้งเหลน. /(ดู จิ้งเหลน)./
【 จักษุ 】แปลว่า: น. ดวงตา. (ส.; ป. จกฺขุ).
【 จักแหล่น, จั๊กแหล่น 】แปลว่า: จักกะแหฺล่น, จั๊กกะแหฺล่น ว. จวนเจียน, เกือบ, หวุดหวิด, เช่น
จักแหล่นจะไม่ทันรถไฟ.
【 จัง 】แปลว่า: (ปาก) ว. ยิ่งนัก เช่น เก่งจัง ร้อนจัง ของสิ่งนี้ถูกจัง; เต็มที่, เต็มแรง, เช่น
ชนกันเข้าอย่างจัง.
【 จังหนับ 】แปลว่า: (ปาก) ว. เต็มที่, เต็มแรง, จั๋ง จำหนับ หรือ จ๋ำหนับ ก็ว่า.
【 จังหน้า 】แปลว่า: ว. เต็มหน้า, เต็มที่, เช่น เจอเข้าจังหน้า โดนเข้าจังหน้า.
【 จั้ง 】แปลว่า: (โบ) ก. ตั้ง เช่น คือคชกลับกลอกจั้ง จญสีห์. (ยวนพ่าย).
【 จั๋ง ๑ 】แปลว่า: (ปาก) ว. เต็มที่, เต็มแรง, จังหนับ จําหนับ หรือ จํ๋าหนับ ก็ว่า.
【 จั๋ง ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อปาล์มชนิด /Rhapis excelsa/ Henry ในวงศ์ Palmae ใบรูปพัด
ปลูกเป็นไม้ประดับ, เท้าสาน ก็เรียก.
【 จังกวด ๑ 】แปลว่า: น. จะกวด. (พจน. ๒๔๙๓). (ข. ตฺรกวต).
【 จังกวด ๒ 】แปลว่า: (กลอน) ว. บ้า เช่น เฒ่าจังกวดกามกวน. (ม. คําหลวง ชูชก). (ข. ฉฺกวต).
【 จังกอบ 】แปลว่า: (โบ) น. ภาษีผ่านด่าน, ภาษีปากเรือ, ภาษีที่เก็บเพื่อใช้บำรุงท้องถิ่น.
ก. ผูก, มัด, เชิงกอบ ก็เรียก.
【 จังกา 】แปลว่า: น. ไม้ขาหยั่ง.
【 จังก้า 】แปลว่า: ว. ลักษณะยืนถ่างขาตั้งท่าเตรียมสู้, ลักษณะที่ตั้งปืนกลเป็นต้นเตรียม
พร้อมที่จะยิง.
【 จังกูด 】แปลว่า: น. เครื่องถือท้ายเรือ คล้ายหางเสือ ทำด้วยไม้เป็นแผ่นใหญ่ รูปร่าง
คล้ายพาย มีด้ามยาว, จะกูด หรือ ตะกูด ก็เรียก. (ข. จงฺกูต).
【 จังเก 】แปลว่า: น. สะเอว เช่น มือนวดแนบจังเก แกะพลิ้ว. (โคลงพระยาตรัง).
(ข. จงฺเกะ).
【 จังโกฏก์ 】แปลว่า: (แบบ) น. ผอบ. (ป.).
【 จังงัง 】แปลว่า: ว. อาการที่ตกตะลึงนิ่งงันอยู่.
【 จังมัง 】แปลว่า: น. ไม้สําหรับขัดก้นกระบุงและตะกร้าทั้ง ๔ มุมให้แน่นและแข็งแรง.
ว. แข็งแรง, จั้งมั่ง ก็ว่า.
【 จั้งมั่ง 】แปลว่า: ว. แข็งแรง, จังมัง ก็ว่า.
【 จังไร 】แปลว่า: ว. เลวทราม, เป็นเสนียด, ไม่เป็นมงคล, จัญไร ก็ว่า. (ข. จงฺไร).
【 จังลอน 】แปลว่า: น. ปลาหรือเนื้อโขลกปั้นเป็นก้อนหรือเป็นแผ่นเคี่ยวกับนํ้ากะทิ
สําหรับกินกับขนมจีนซาวนํ้า, บางทีใช้โขลกปลาปั้นเป็นก้อน
เสียบไม้ปิ้งไฟ เรียกว่า จังลอนแห้ง, แจงลอน ก็ว่า.
【 จังเว็จ 】แปลว่า: จังเหฺว็ด น. เจว็ด.
【 จังหรีด 】แปลว่า: น. จิ้งหรีด. /(ดู จิ้งหรีด)./
【 จังหล่อ 】แปลว่า: น. เครื่องกีดกั้นขวางทางในสมัยโบราณ ปักเสาสูงราว ๒ ศอก มีไม้เสา
ทับหลัง ขวางถนนเป็น ๒ แนวเยื้องไม่ตรงกัน ปลายต่อปลายเกินกันทั้ง
๒ ข้าง, ค่ายผนบ บ้านหล่อ จั้นหล่อ หรือ จำหล่อ ก็เรียก. (ลำดับสกุลเก่า;
ลัทธิ). (จ. จั้ง ว่า กีด, ขวาง; โหล่ว ว่า ถนน).
【 จังหวะ 】แปลว่า: น. ระยะที่สมํ่าเสมอ เช่น หัวใจเต้นเป็นจังหวะ, ระยะที่กําหนดไว้เป็นตอน ๆ
เช่น เพลงจังหวะช้า จังหวะเร็ว พูดเป็นจังหวะ, โดยปริยายหมายความว่า
โอกาสอันควร เช่น เจ้านายกำลังโกรธ ไม่มีจังหวะจะเข้าพบ. (ข. จงวาก่).
จังหวะจะโคน (ปาก) น. จังหวะ.
【 จังหวัด 】แปลว่า: (กฎ) น. หน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคที่รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอเข้า
ด้วยกันและมีฐานะเป็นนิติบุคคล มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้า
ปกครอง, (โบ) เมือง, หัวเมือง; ถิ่น, เขต, บริเวณ, เช่น อารามขึ้นคณะ
ป่าแก้วในจังหวัดเมืองนครศรีธรรมราช. (ประชุมพระตำราบรมราชูทิศ
เพื่อกัลปนา).
【 จังหัน ๑ 】แปลว่า: น. ข้าว, อาหาร, (ใช้แก่พระสงฆ์). (ข. จงฺหาน่).
【 จังหัน ๒ 】แปลว่า: น. กังหัน.
【 จังออน 】แปลว่า: น. มาตราตวงตามวิธีประเพณีของไทยโบราณ ๘ กำมือ = ๑ จังออน
และ ๒ จังออน = ๑ แล่ง.
【 จัญไร 】แปลว่า: ว. เลวทราม, เป็นเสนียด, ไม่เป็นมงคล, จังไร ก็ว่า.
【 จัณฑ-, จัณฑ์ 】แปลว่า: [จันทะ-, จัน] ว. ดุร้าย, หยาบช้า, เกรี้ยวกราด, ฉุน, ฉุนเฉียว; ราชาศัพท์.
ใช้เรียกสุราหรือเมรัยว่า นํ้าจัณฑ์. (ป., ส.)
【 จัณฑวาตา 】แปลว่า: (แบบ) น. ลมร้าย เช่น จัณฑวาตารําพายพาน. (สมุทรโฆษ).
【 จัณฑาล 】แปลว่า: [จันทาน] ว. ตํ่าช้า. น. ลูกคนต่างวรรณะ. (ส. จณฺฑาล ว่า ลูกที่บิดาเป็น
ศูทร มารดาเป็นพราหมณ์).
【 จัด ๑ 】แปลว่า: ว. ยิ่ง, เต็มที่, เกินปรกติมาก, มากหรือหนักไปในทางใดทางหนึ่ง, เช่น
ระเบียบจัด ธรรมเนียมจัด หิวจัด ร้อนจัด หนาวจัด แดดจัด; แก่เต็มที่
เช่น ผลไม้แก่จัด. (ข. จาส่).
【 จัดจ้า 】แปลว่า: ว. สว่างมาก, มีแสงกล้า.
【 จัดจ้าน 】แปลว่า: ว. ปากกล้า, ปากจัด, เจ้าคารม.
【 จัดเจน 】แปลว่า: ก. สันทัด, ชํานาญ, มีประสบการณ์มาก, เจนจัด ก็ว่า.
【 จัด ๒ 】แปลว่า: ก. ตกแต่ง เช่น จัดบ้าน, ทําให้เรียบ, วางระเบียบ, เรียงตามลําดับ,
เช่น จัดแถว จัดหนังสือ; นับ เช่น จัดว่าเป็นความดี.
【 จัดการ 】แปลว่า: ก. สั่งงาน, ควบคุมงาน, ดําเนินงาน.
【 จัดแจง 】แปลว่า: ก. เตรียมการ.
【 จัดตั้ง 】แปลว่า: ก. ตั้งขึ้น, แต่งตั้งให้มั่นคง.
【 จัดประกัน 】แปลว่า: ก. ทําให้แน่นอน.
【 จัดมั่น 】แปลว่า: ก. ทําให้ได้โดยมั่นคง.
【 จัดสรร 】แปลว่า: ก. แบ่งส่วนไว้โดยเฉพาะ, ปันไว้ใช้เพื่อประโยชน์โดยเจาะจง.
【 จัดหา 】แปลว่า: ก. ไปเลือกเฟ้นหามา.
【 จัดจอง 】แปลว่า: (โบ) น. ทุ่น, แพ, เรือน้อย, สัดจอง ก็ว่า. (ข. สาต่ ว่า ลอย, จง ว่า ผูก).
【 จัตตาฬีสะ 】แปลว่า: (แบบ) ว. สี่สิบ. (ป.).
【 จัตวา 】แปลว่า: [จัดตะวา] ว. สี่, ชั้นที่ ๔ (เดิมใช้เรียกข้าราชการที่มีลำดับชั้นต่ำกว่าชั้นตรี
ว่า ชั้นจัตวา) เช่น ข้าราชการชั้นจัตวา; เรียกเครื่องหมายวรรณยุกต์รูป
ดังนี้ + ว่า ไม้จัตวา, ตีนกา ก็เรียก. (ส.; ป. จตุ).
【 จัตวาทัณฑี 】แปลว่า: น. ชื่อโคลง ๔ ชนิดหนึ่ง ซึ่งบาท ๒ ใช้พยางค์ที่ ๔ สัมผัส เช่น
ท้าวไทยนฤเทศข้า ขับหนี
ลูกราชสีพีกลัว ไพร่ฟ้า
พลเมืองบดูดี ดาลเดียด
กระเหลียดลับลี้หน้า อยู่สร้างแสวงบุญ.
(ชุมนุมตำรากลอน).
จัตวาศก น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๔ เช่น ปีจอ จัตวาศก
จุลศักราช ๑๓๔๔.
【 จัตุ 】แปลว่า: [จัดตุ] ว. สี่. (ป. จตุ; ส. จตุรฺ).
【 จัตุร- 】แปลว่า: [จัดตุระ-] ว. สี่. (ส. จตุร; ป. จตุ).
【 จัตุรงค์ 】แปลว่า: ว. จตุรงค์, องค์ ๔, ๔ เหล่า.
【 จัตุรงคพล 】แปลว่า: [จัดตุรงคะ-] น. จตุรงคพล, กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง
เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ. (ป., ส. จตุรงฺค + เสนา).
【 จัตุรงคินีเสนา 】แปลว่า: [จัดตุรง-] น. จตุรงคินีเสนา, กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง
เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ. (ป., ส. จตุรงฺคินี + เสนา).
【 จัตุรพักตร์ 】แปลว่า: ว. จตุรพักตร์, “ผู้มี ๔ หน้า” คือ พระพรหม.
【 จัตุรภุช 】แปลว่า: ว. จตุรภุช, “ผู้มี ๔ แขน” คือ พระนารายณ์.
【 จัตุรมุข 】แปลว่า: น. เรียกอาคารที่มี ๔ มุข.
【 จัตุรัส 】แปลว่า: [-หฺรัด] น. เรียกรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่าที่มีมุมภายในเป็นมุมฉากว่า
สี่เหลี่ยมจัตุรัส.
【 จัตุลังคบาท 】แปลว่า: จัดตุลังคะบาด น. เจ้ากรมพระตำรวจหลวงประจำ ๔ เท้า
ช้างทรงของพระมหากษัตริยหรือพระมหาอุปราชในเวลาสงคราม
เช่น จัตุลังคบาทบริรักษ์ พิทักษ์เท้ากุญชร. (ตะเลงพ่าย), จตุลังคบาท
ก็ว่า.
【 จัตุโลกบาล 】แปลว่า: [จัดตุโลกกะบาน] น. ท้าวจาตุมหาราช, หัวหน้าเทวดาในสวรรค์ชั้น
จาตุมหาราช มีหน้าที่รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ เรียกว่า ท้าวจัตุโลกบาล
คือ ๑. ท้าวธตรฐ จอมภูตหรือจอมคนธรรพ์ รักษาโลกด้านทิศบูรพา
หรือทิศตะวันออก ๒. ท้าววิรุฬหกจอมเทวดาหรือจอมกุมภัณฑ์ รักษา
โลกด้านทิศทักษิณหรือทิศใต้ ๓. ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค รักษาโลกด้าน
ทิศประจิมหรือทิศตะวันตก ๔. ท้าวกุเวร จอมยักษ์ รักษาโลกด้านทิศ
อุดรหรือทิศเหนือ, จตุโลกบาล ก็ว่า. (ป.).
【 จัตุสดมภ์ 】แปลว่า: [จัดตุสะดม] น. จตุสดมภ์, วิธีจัดระเบียบราชการบริหารส่วนกลางใน
สมัยโบราณ โดยตั้งกรมหรือกระทรวงใหญ่ขึ้น ๔ กรม คือ กรมเมือง
กรมวัง กรมคลัง กรมนา มีเสนาบดีเจ้ากระทรวงว่าการในแต่ละกรม
นั้น รวมเรียกว่า จัตุสดมภ์ ซึ่งแปลว่า หลัก ๔. (ป. จตุ = สี่ + ส. สฺตมฺภ
= หลัก หมายความว่า หลัก ๔).
【 จัน 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด /Diospyros decandra/ Lour.
ในวงศ์ Ebenaceae ผลสุกสีเหลือง หอม กินได้, ชนิดลูกกลมแป้น
กลางบุ๋ม ไม่มีเมล็ด เรียก ลูกจันอิน, ชนิดลูกกลมรี มีเมล็ด เรียก
ลูกจันโอ.
【 จั่น ๑ 】แปลว่า: น. ช่อดอกหมากหรือช่อดอกมะพร้าวเมื่อยังอ่อนอยู่.
【 จั่น ๒ 】แปลว่า: น. เครื่องดักสัตว์ทั้งในนํ้าและบนบก มีรูปคล้ายกรง มีหลายชนิด;
เรียกประตูนํ้าอย่างโบราณที่ใช้ไม้ซุงขวางกันว่า ปากจั่น.
【 จั่นหับ 】แปลว่า: น. กรงดักสัตว์ ด้านหน้ามีประตูปิดเปิดได้.
【 จั่นห้าว 】แปลว่า: น. เครื่องยิงสัตว์ ใช้หอก หรือปืน หรือหลาว ขัดสายใยไว้ เมื่อคน
หรือสัตว์ไปถูกสายใยเข้า ก็ลั่นแทงเอาหรือยิงเอา ใช้อย่างเดียว
กับหน้าไม้ก็ได้.
【 จั่น ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อเบี้ยชนิด /Cypraea moneta/ ในวงศ์ Cypraeidae หลังนูน
ท้องเป็นร่อง ๆ เปลือกแข็งเรียกว่า เบี้ยจั่น ในสมัยโบราณใช้ต่างเงิน,
เบี้ยจักจั่น ก็เรียก.
【 จั่น ๔ 】แปลว่า: น. เครื่องประดับคอชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายทับทรวงและจี้ ใหญ่
กว่าจี้ แต่ย่อมกว่าตาบและทับทรวง.
【 จั่น ๕ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด /Millettia brandisiana/ Kurz ในวงศ์
Leguminosae ดอกสีม่วงหรือม่วงคราม ลักษณะคล้ายดอกถั่ว
แต่ขนาดเล็กกว่าเวลาออกดอกไม่ใคร่มีใบ เป็นไม้ประดับที่งาม.
(๒) (ถิ่น-พายัพ) ชื่อเห็ดชนิด /Tricholoma crassum/ (Berk.) Succ.
ในวงศ์Tricholomataceae ขึ้นตามพื้นดิน ดอกเห็ดใหญ่ สีขาว
นวล เนื้อหนา ก้านใหญ่ ด้านล่างมีครีบ กินได้, เห็ดตีนแรด หรือ
เห็ดตับเต่าขาว ก็เรียก.
【 จันโจษ 】แปลว่า: ก. โจษจัน, พูดอึง, พูดกันเซ็งแซ่, เล่าลือกันอื้ออึง, ในบทกลอนใช้ว่า
จรรโจษ ก็มี.
【 จั่นดิน 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นรากสามสิบ. /(ดู รากสามสิบ)./
【 จันท์ 】แปลว่า: (แบบ) น. จันทร์, ดวงเดือน. (ป.; ส. จนฺทฺร).
【 จันทน์ 】แปลว่า: น. ชื่อพรรณไม้บางชนิดที่มีเนื้อไม้ ดอก หรือผลหอม ใช้ทํายาและ
ปรุงเครื่องหอม. (ป., ส.).
【 จันทน์กะพ้อ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด /Vatica diospyroides/ Symington ในวงศ์
Dipterocarpaceae ขึ้นตามป่าดิบทางปักษ์ใต้และปลูกกันตามบ้าน
ดอกขาว หอมคล้ายนํ้ามันจันทน์.
【 จันทน์ขาว 】แปลว่า: /ดู จันทนา/.
【 จันทน์ชะมด 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด /Aglaia silreotris/ (M. Roem.)
Merr. ในวงศ์ Meliaceae ขึ้นตามป่าชื้นบางแห่ง เนื้อไม้หอม. (๒) ชื่อ
ไม้ต้นขนาดกลางชนิด /Mansonia gagei/ J.R. Drumm. ex Prain ในวงศ์
Sterculiaceae ขึ้นตามป่าชื้นบนเขาหินปูน เนื้อไม้หอม, จันทน์หอม
ก็เรียก.
【 จันทน์แดง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Dracaena loureiri/ Gagnep. ในวงศ์ Agavaceae
ขึ้นตามเขาหินปูน เนื้อไม้ที่สารลงมีสีแดง, จันทน์ผา ก็เรียก.
【 จันทน์เทศ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด /Myristica fragrans/ Houtt. ในวงศ์
Myristicaceae รกหุ้มเมล็ดมีกลิ่นหอมฉุนเรียก ดอกจันทน์ เมล็ด
มีกลิ่นหอมฉุนเช่นกัน เรียก ลูกจันทน์ ใช้เป็นเครื่องเทศ เป็นพรรณ
ไม้ที่นําเข้ามาจากหมู่เกาะอินเดียตะวันออก.
【 จันทน์ผา 】แปลว่า: /ดู จันทน์แดง/.
【 จันทน์หอม 】แปลว่า: /ดู จันทน์ชะมด (๒)/.
【 จันทนา 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด /Tarenna hoaensis/ Pit. ในวงศ์ Rubiaceae
เนื้อไม้หอม, จันทน์ขาว ก็เรียก.
【 จันทร-, จันทร์ 】แปลว่า: [จันทฺระ- ในกลอนบางทีอ่านเป็น จันทอน, จัน] น. ดวงเดือน, เรียก
เทวดาองค์หนึ่งในนิยายว่า พระจันทร์, ในตำราโหราศาสตร์เป็นชื่อ
ดาวพระเคราะห์ที่ ๒; ชื่อวันที่ ๒ ของสัปดาห์. (ส.).
【 จันทรกลา 】แปลว่า: -กะลา น. เสี้ยวที่ ๑๖ ของดวงจันทร์, โดยอนุโลมหมายถึง
งามเหมือนแสงจันทร์อ่อน ๆ นวลตา เช่น ลางล้วนเผือกผ่องคือคิรี
ไกลาสรูจี แลพรายคือจันทรกลา. (สมุทรโฆษ). (ส.).
【 จันทรกานต์ 】แปลว่า: น. แร่ประกอบหินที่มีค่าสูงชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในพวกรัตนชาติ มีโพแทสเซียม
อะลูมิเนียมซิลิเกต (KAlSi3O8) เป็นองค์ประกอบสําคัญ ปรกติมีสีขาวปน
ฟ้าหรือสีเหลืองขุ่นมัวอย่างนํ้านม แต่มีวาวขาวฉาบหน้าเหมือนวาวมุกใน
หอยมุก หรือวาวแสงจันทร์ในหยาดนํ้าค้าง. (ส.; อ. moonstone).
【 จันทรคติ 】แปลว่า: น. วิธีนับวันและเดือนโดยถือเอาการเดินของดวงจันทร์เป็นหลัก เช่น
ขึ้น ๑ คํ่าถึงแรม ๑๕ คํ่า เป็นการนับวันทางจันทรคติ เดือนอ้ายถึง
เดือน ๑๒ เป็นการนับเดือนทางจันทรคติ. (ส.).
【 จันทรคราส 】แปลว่า: -คฺราด น. “การกลืนดวงจันทร์” ตามความเข้าใจของคน
โบราณที่เชื่อว่าพระราหูอมดวงจันทร์, จันทรุปราคา ก็เรียก. (ส.).
【 จันทรพิมพ์ 】แปลว่า: น. ดวงเดือน, รูปที่แลดูแบนแห่งดวงจันทร์, จันทรมณฑล ก็ว่า. (ส.).
【 จันทรภิม 】แปลว่า: (โบ) น. เรียกเงินที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่ผู้ทำนายจันทรุปราคา
ได้ถูกต้องว่า เงินจันทรภิม ในข้อความว่า เมื่อจันทรุปราคได้เงีนจันทรภิม.
(สามดวง).
【 จันทรมณฑล 】แปลว่า: น. จันทรพิมพ์. (ส.).
【 จันทรวงศ์ 】แปลว่า: น. วงศ์แห่งกษัตริย์เนื่องมาจากพระจันทร์, คู่กับ สุริยวงศ์. (ส.).
【 จันทรวาร 】แปลว่า: น. วันจันทร์, จันทวาร หรือ โสมวาร ก็ว่า.
【 จันทรเศขร 】แปลว่า: น. ผู้มีพระจันทร์เป็นปิ่น คือ พระอิศวร. (ส.).
【 จันทรุปราคา 】แปลว่า: [จันทฺรุปะราคา, จันทะรุบปะราคา] น. ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ
ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกัน ทําให้
เงาของโลกตกลงบนดวงจันทร์บางส่วนหรือทั้งหมด, (ปาก)
จันทรคราส. (ส.).
【 จันทรเม็ด 】แปลว่า: จันทะระ- น. ปลาจะละเม็ด เช่น ปลาแมวลิ้นหมาปลาหมู
คชราราหู มีจันทรเม็ดและทรมาง. (สมุทรโฆษ).
【 จันทวาร 】แปลว่า: [จันทะวาน] น. วันจันทร์, จันทรวาร หรือ โสมวาร ก็ว่า.
【 จันทัน 】แปลว่า: น. ชื่อตัวไม้เครื่องบนแห่งเรือนอยู่ตรงกับขื่อสําหรับรับแปลานหรือ
รับระแนง.
【 จันทันพราง 】แปลว่า: น. ตัวไม้จันทันที่ไม่ได้อยู่บนหัวเสา.
【 จันเทา 】แปลว่า: (โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางวัน. /(ดู ยาม)./
【 จันลอง ๑ 】แปลว่า: น. ลําธาร. (ข. ชฺรลง).
【 จันลอง ๒ 】แปลว่า: น. จังลอน.
【 จันเลา, จันเลาะ 】แปลว่า: น. ลําห้วย. (ข. เชฺราะ ว่า เหว, ลําธาร).
【 จั้นหล่อ 】แปลว่า: น. เครื่องกีดกั้นขวางทางในสมัยโบราณ ปักเสาสูงราว ๒ ศอก มีไม้เสา
ทับหลังขวางถนนเป็น ๒ แนวเยื้องไม่ตรงกัน ปลายต่อปลายเกินกันทั้ง
๒ ข้าง, ค่ายผนบ บ้านหล่อ จังหล่อ หรือ จำหล่อ ก็เรียก.
【 จันอับ 】แปลว่า: น. ชื่อขนมหวานอย่างแห้งของจีน มีหลายอย่างรวมกัน เช่น ข้าวพอง
ถั่วตัด งาตัด.
【 จับ 】แปลว่า: ก. อาการที่ใช้มือแตะต้องสิ่งใดสิ่งหนึ่งตลอดจนกําไว้ยึดไว้; เกาะ เช่น
นกจับคอน; ติด เช่น เขม่าจับก้นหม้อ; กินหรือกลืน ในความว่า คราส
จับดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์; เริ่ม เช่น จับเรื่องตั้งแต่ตอนนั้นไป; เกาะ
กุมตัวไว้ไม่ให้หนี เช่น จับผู้ร้าย, (กฎ) เกาะกุมตัวไว้โดยเจ้าพนักงานผู้มี
อํานาจตามกฎหมาย, จับกุม ก็ว่า; กิริยาที่ทําขนมจีนให้เป็นหัว ๆ เรียกว่า
จับขนมจีน, ลักษณนามของขนมจีนว่า จับ หรือ หัว เช่น ขนมจีน ๕ จับ
หรือ ขนมจีน ๕ หัว.
【 จับกลุ่ม 】แปลว่า: ก. รวมกันเป็นหมู่.
【 จับกุม 】แปลว่า: ก. เกาะกุมตัวไว้ไม่ให้หนี เช่น จับกุมผู้ร้าย, (กฎ) เกาะกุมตัวไว้โดย
เจ้าพนักงานผู้มีอํานาจตามกฎหมาย, จับ ก็ว่า.
【 จับเขม่า 】แปลว่า: ก. เอาเขม่าผสมนํ้ามันตานีเป็นต้นทาไรผมให้ดํา.
【 จับเข่าคุยกัน, จับหัวเข่าพูด 】แปลว่า: (ปาก) ก. พูดปรับความเข้าใจกันอย่างใกล้ชิด.
【 จับไข้ 】แปลว่า: ก. อาการที่เป็นไข้.
【 จับความ 】แปลว่า: ก. จับใจความ, เข้าใจความหมาย.
【 จับงูข้างหาง 】แปลว่า: (สํา) ก. ทําสิ่งที่เสี่ยงต่ออันตราย.
【 จับจด 】แปลว่า: ว. ลักษณะที่ทําไม่จริงจัง ชอบเปลี่ยนงานบ่อย ๆ.
【 จับจอง 】แปลว่า: (กฎ) ก. เข้าครอบครองที่ดินสาธารณะไว้เพื่อตน.
【 จับจิต, จับใจ 】แปลว่า: ว. ติดใจ, เป็นที่พอใจ.
【 จับเจ่า 】แปลว่า: ว. หงอยเหงา, หงอยก๋อย.
【 จับเชิง 】แปลว่า: ก. ตกปลอกช้าง, ล่ามเท้าช้าง.
【 จับดำถลำแดง 】แปลว่า: (สํา) ก. มุ่งอย่างหนึ่งไปได้อีกอย่างหนึ่ง, มุ่งอย่างหนึ่งกลายไปเป็น
อีกอย่างหนึ่ง.
【 จับได้ไล่ทัน 】แปลว่า: (สำ) ก. รู้เท่าทัน เช่น เขาจับได้ไล่ทันว่าเป็นเรื่องไม่จริง.
【 จับตัววางตาย 】แปลว่า: (สํา) ก. กําหนดลงไปแน่นอนไม่เปลี่ยนแปลง, กําหนดตัวบุคคลให้
ประจําหน้าที่โดยเฉพาะ.
【 จับตา ๑ 】แปลว่า: ว. ถูกตา, เหมาะตา, เป็นที่พอตา.
【 จับตา ๒, จับตาดู 】แปลว่า: ก. คอยเฝ้าสังเกต, จ้องระวังระไว.
【 จับตาย 】แปลว่า: ก. จับตัวมาให้ได้แม้ว่าจะต้องทำให้ตาย.
【 จับปลาสองมือ 】แปลว่า: (สำ) ก. หมายจะเอาให้ได้ทั้ง ๒ อย่าง, เสี่ยงทำการ ๒ อย่างพร้อม ๆ กัน
ซึ่งอาจไม่สำเร็จทั้ง ๒ อย่าง.
【 จับปูใส่กระด้ง 】แปลว่า: (สำ) ก. ยากที่จะทำให้อยู่นิ่ง ๆ ได้.
【 จับเป็น 】แปลว่า: ก. จับตัวมาให้ได้โดยไม่ทำให้ตาย.
【 จับเปาะ 】แปลว่า: (สำ) ว. ตรงเป้า เช่น ต่อยจับเปาะเข้าที่ปลายคาง.
【 จับผิด 】แปลว่า: ก. จับความผิดของผู้อื่น, สรรหาเอาผิดจนได้.
【 จับพลัดจับผลู 】แปลว่า: ก. จับผิด ๆ ถูก ๆ; บังเอิญเป็นไปโดยไม่ตั้งใจ.
【 จับแพะชนแกะ 】แปลว่า: ก. ทําอย่างขอไปที ไม่ได้อย่างนี้ก็เอาอย่างนั้นเข้าแทนเพื่อให้
ลุล่วงไป.
【 จับมือ 】แปลว่า: ก. ทักทายตามธรรมเนียมตะวันตกโดยบุคคล ๒ คน ประสานมือขวา
ของกันและกันแล้วเขย่า, เรียกอาการที่ครูสอนโดยจับมือผู้เริ่มเรียนให้
ทำตามในการสอนบางวิชาเช่น ฟ้อนรำ ดนตรี หรืองานฝีมือบางอย่าง
เช่น จับมือรำ, จับมือตีระนาด, โดยปริยายหมายถึงร่วมมือกัน เช่น
ชาวบ้านจับมือกันพัฒนาแหล่งน้ำ.
【 จับมือใครดมไม่ได้ 】แปลว่า: (สำ) ก. หาตัวผู้กระทำผิดไม่ได้.
【 จับมือถือแขน 】แปลว่า: (สำ) ก. ฉวยโอกาสล่วงเกินหญิงด้วยการจับมือจับแขนในเชิงชู้สาว.
【 จับไม้จับมือ 】แปลว่า: ก. จับมือจับแขนแสดงความสนิทสนม.
【 จับยาม 】แปลว่า: ก. นับยามตามหลักยามสามตา (ตรีเนตร) โดยนับตามหลัก ๓ หลัก
คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร เวียนกันไป โดยนับขึ้นต้นที่อาทิตย์ ถ้าวัน
จับยามเป็นวันข้างขึ้น ให้นับเวียนขวาจากอาทิตย์ไปยังจันทร์และ
อังคาร ถ้าวันจับยามเป็นวันข้างแรม ให้นับเวียนซ้ายจากอาทิตย์ไป
ยังอังคารและจันทร์ แล้วทำนายตามตำรา.
【 จับระบำ 】แปลว่า: น. กระบวนรําท่าต่าง ๆ. ก. เริ่มฟ้อนรํา.
【 จับลมปราณ 】แปลว่า: น. วิธีกำหนดดูความคล่องของลมหายใจเข้าออกว่าฤกษ์ดีหรือ
ฤกษ์ร้าย.
【 จับลิงหัวค่ำ 】แปลว่า: น. การเล่นเรื่องเบ็ดเตล็ดก่อนจะเล่นเรื่องที่แสดงจริงเพื่อเรียกคนดู
เช่นในการเล่นหนังตะลุง หนังใหญ่ หรือโขน.
【 จับเวลา 】แปลว่า: ก. ดูเวลาที่ใช้ในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเช่นในการแข่งขันกีฬา, ดูเวลา
ให้ตรงตามที่กําหนด.
【 จับสายสิญจน์ 】แปลว่า: ก. ควบจับด้ายเส้นเดียวทบให้เป็น ๓ เส้น หรือควบด้าย ๓ เส้น
ทบให้เป็น ๙ เส้นเพื่อให้เหนียว.
【 จับเส้น 】แปลว่า: ก. บีบนวดเพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว; โดยปริยายหมายถึงรู้จักเอาใจ
ผู้ที่จะให้ผลประโยชน์แก่ตน.
【 จับเสือมือเปล่า 】แปลว่า: (สํา) ก. แสวงหาประโยชน์โดยตัวเองไม่ต้องลงทุน.
【 จับหลัก 】แปลว่า: (สำ) ก. นิ่งอยู่กับที่, เช่น นกกระเต็นจับหลัก.
【 จับหวัด 】แปลว่า: (โบ) ก. ใช้สมุนไพร เช่น ว่านเปราะ หัวหอม โขลกพอกกระหม่อม
แก้หวัด.
【 จับหัวเข่าพูด, จับเข่าคุยกัน 】แปลว่า: (ปาก) ก. พูดปรับความเข้าใจกันอย่างใกล้ชิด.
【 จับหืด 】แปลว่า: ก. อาการที่คนกำลังหอบหายใจไม่ทันเนื่องจากหืดกำเริบ.
【 จับกัง 】แปลว่า: น. กรรมกร, ผู้ใช้แรงงาน, ใช้เรียกผู้รับจ้างทำงานต่าง ๆ. (จ.).
【 จับกิ้ม 】แปลว่า: น. ชื่อขนมของจีนชนิดหนึ่ง มี ๑๐ อย่าง เช่น ฟักเชื่อม ถั่วตัด งาตัด
ข้าวพอง มักใช้เป็นของไหว้เจ้า. (จ.).
【 จับจ่าย 】แปลว่า: ก. ใช้เงินซื้อหา, มักใช้เข้าคู่กับคำ ใช้สอย เป็น จับจ่ายใช้สอย.
【 จับเจี๋ยว 】แปลว่า: น. หม้อดินเล็ก ๆ มีพวยและที่จับสําหรับต้มนํ้า. (จ.). (รูปภาพ จับเจี๋ยว)
【 จับฉ่าย 】แปลว่า: น. ชื่ออาหารอย่างจีนชนิดหนึ่งที่ใส่ผักหลาย ๆ อย่าง. (ปาก) ของต่าง ๆ
ที่ปะปนกันไม่เป็นสํารับ ไม่เป็นชุด. (จ.).
【 จับเดิม 】แปลว่า: ว. จําเดิม.
【 จับปิ้ง 】แปลว่า: น. เครื่องปิดของลับของเด็กหญิง ทําด้วยเงิน ทอง หรือนาก เป็นต้น,
กระจับปิ้ง จะปิ้ง ตะปิ้ง หรือ ตับปิ้ง ก็เรียก. (ม. จะปิ้ง).
【 จับโปง 】แปลว่า: (โบ) น. ลมที่ทําให้ปวดเมื่อยตามข้อต่าง ๆ.
【 จับยี่กี 】แปลว่า: น. การเล่นพนันของจีนชนิดหนึ่ง มีไพ่ทําด้วยไม้แผ่นบาง ๆ รูป
สี่เหลี่ยมผืนผ้า ๑๒ แผ่น. (จ.).
【 จับสั่น 】แปลว่า: น. ชื่อไข้ที่เกิดเพราะถูกยุงก้นปล่องที่มีเชื้อมาลาเรียกัด มีอาการหนาว
และสั่น, ไข้จับสั่น หรือ ไข้มาลาเรีย ก็เรียก. (อ. malaria fever, malaria,
paludism).
【 จัมบก, จัมปกะ 】แปลว่า: จําบก น. ต้นจําปา เช่น จัมบกตระการกรร- ณิกาแก้วก็อยู่แกม.
(สมุทรโฆษ). (ป., ส.).
【 จัมปา 】แปลว่า: น. จำปา, แหนบรูปคล้ายกลีบดอกจำปาซึ่งติดอยู่กับแกนในประแจจีน
สำหรับยันไม่ให้กุญแจหลุดออกจากกัน.
【 จัมมะ 】แปลว่า: (แบบ) น. จรรม, หนังสัตว์. (ป.; ส. จรฺม).
【 จัว 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. สามเณร.
【 จั่ว ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องบนแห่งเรือนที่ปิดด้านสกัดหลังคาสําหรับกันลมและแดดฝน
มีรูปเป็นสามเหลี่ยม, หน้าจั่ว ก็ว่า.
【 จั่ว ๒ 】แปลว่า: ก. ลากไพ่จากกองมาเปิด, เปิดไพ่ในกอง.
【 จั๊วะ 】แปลว่า: ว. คําแต่งคํา ขาว ให้รู้ว่าสีขาวมาก, จ๊วก ก็ว่า.
【 จา 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) ก. พูด, กล่าว.
【 จ่า ๑ 】แปลว่า: น. หัวหน้า, หัวโจก, เช่น จ่าฝูง จ่าโขลง; ยศทหารและตํารวจชั้นประทวน
เช่น จ่าตรี จ่าสิบตำรวจ, บรรดาศักดิ์ในราชสํานัก เช่น จ่าแผลงฤทธิ
รอนราญ จ่าเร่ง งานรัดรุด, ตําแหน่งหัวหน้าธุรการบางอย่าง เช่น จ่าศาล;
การเอาข้าวสุกกับขี้เถ้าคลุกกันปะตรงกลางหน้ากลองเพื่อให้เสียงสูงตํ่า.
【 จ่ากลอง 】แปลว่า: น. คนตีกลองนํากลองชนะ.
【 จ่าปี่ 】แปลว่า: น. คนเป่าปี่ประกอบกลองชนะ.
【 จ่า ๒ 】แปลว่า: ก. บอก, เขียนบอก; ถูกปรับ (ในการเล่นโยนหลุมเป็นต้น).
【 จ่าหน้า 】แปลว่า: ก. เขียนบอกไว้ข้างหน้า เช่น จ่าหน้าซอง, เขียนบอกไว้ที่ต้นเรื่อง
เช่น จ่าหน้าเรื่อง.
【 จ่า ๓ 】แปลว่า: น. เครื่องใช้ตักแกงหรือตักข้าว ทำด้วยกะลามะพร้าว มีด้ามถือ, กระจ่า
จวัก หรือ ตวัก ก็ว่า.
【 จ้า 】แปลว่า: ว. จัด, ยิ่ง, แรง, (ใช้แก่สี แสง หรือเสียง) เช่น สีจ้า แสงจ้า.
【 จ๋า 】แปลว่า: ว. คําขานรับ; คําลงท้ายคําร้องเรียก เช่น หนูจ๋า.
【 จาก ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อปาล์มชนิด /Nypa fruticans/ Wurmb ในวงศ์ Palmae ขึ้นเป็นกอ
อยู่ตามป่าเลนหรือริมฝั่งนํ้ากร่อยตื้น ๆ ใบใช้มุงหลังคาและกรุฝา
ออกดอกเป็นช่อยาวผลรวมเป็นทะลาย กินได้ เรียกว่า ลูกจาก;
เรียกขนมชนิดหนึ่งทําด้วยแป้งข้าวเหนียวผสมมะพร้าวกับนํ้าตาล
ห่อด้วยใบจากแล้วปิ้ง ว่า ขนมจาก.
【 จากหลบ 】แปลว่า: น. ตับจากทำเป็นคู่ใช้ปิดหลังคาที่ตรงสันหลังคาให้มิดเพื่อไม่ให้
ฝนรั่วได้.
【 จาก ๒ 】แปลว่า: ก. ออกพ้นไป เช่น จากบ้านจากเมือง จากลูกจากเมีย. บ. คํานําหน้า
นามบอกต้นทางที่มา เช่น ดื่มนํ้าจากแก้ว เขามาจากอยุธยา; ตั้งแต่
เช่น จากเช้าจดคํ่า.
【 จาก ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อปูชนิด /Varuna litterata/ ในวงศ์ Grapsidae ตัวเล็ก อาศัยอยู่ตามป่า
จากในเขตน้ำกร่อยหรือน้ำเค็ม.
【 จากพราก, จากพาก 】แปลว่า: [จากกะพรฺาก, จากกะพาก] น. ชื่อนกในวงศ์นกเป็ดนํ้า (ทางวรรณคดีนิยม
ว่า คู่ของนกนี้ต้องพรากจากกันจะครวญถึงกันในเวลากลางคืน), จักรพาก
หรือ จักรวาก ก็เรียก. (พจน. ๒๔๙๓).
【 จาคะ 】แปลว่า: น. การสละ, การให้ปัน. (ป.; ส. ตฺยาค).
【 จาคี 】แปลว่า: (แบบ) น. ผู้มีการเสียสละ, ผู้นิยมทําทาน. (ป.; ส. ตฺยาคินฺ).
【 จาง 】แปลว่า: ว. น้อยไป, ลดไป, ไม่เข้ม, (โดยมากใช้แก่สี รส กลิ่น).
【 จ่าง 】แปลว่า: ก. สว่าง.
【 จ้าง ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อขนมของจีนชนิดหนึ่ง ทำด้วยข้าวเหนียวที่แช่น้ำด่างแล้วล้าง
ให้สะอาด นำมาผึ่งให้สะเด็ดน้ำ ห่อด้วยใบไผ่แล้วต้มให้สุก. (จ. จัง).
【 จ้าง ๒ 】แปลว่า: ก. ให้ทํางานหรือทําของโดยให้ค่าตอบแทน, ผู้ให้ทํางานเรียก นายจ้าง
หรือผู้ว่าจ้าง, ผู้รับทํางานเรียก ลูกจ้าง หรือ ผู้รับจ้าง, ผู้ให้ทําของเรียก
ผู้ว่าจ้าง, ผู้รับทําของเรียก ผู้รับจ้าง.
【 จางปาง 】แปลว่า: (ปาก) ว. สว่างจ้า, สว่างโล่ง; อีสานว่า จ่างป่าง.
【 จางวาง 】แปลว่า: (เลิก) น. ตําแหน่งยศข้าราชการชั้นสูงในกรมมหาดเล็ก, ตําแหน่ง
ผู้กํากับการ, ตําแหน่งหัวหน้าข้ารับใช้ของเจ้านายชั้นบรมวงศ์หรือ
ทรงกรม.
【 จาด ๑ 】แปลว่า: น. สีขาวใช้ทาฝาเรือนและอื่น ๆ.
【 จาดตะกั่ว 】แปลว่า: น. สารประกอบชนิดหนึ่งของธาตุตะกั่ว เป็นสารสี สีขาว มีสูตร
2PbCO3•Pb(OH)2 ใช้เป็นองค์ประกอบของสีทาบางประเภท.
(อ. white lead).
【 จาด ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด /Tor stracheyi/ ในวงศ์ Cyprinidae ปากเล็ก ลําตัว
ยาว เกล็ดใหญ่ คล้ายปลาเวียนในสกุลเดียวกัน แต่ส่วนกลางของ
ริมฝีปากบนไม่มีแผ่นเนื้อ ลําตัวสีเงิน ด้านหลังสีเขียวเข้ม อาศัยอยู่
ในแหล่งนํ้าสะอาดใกล้ต้นนํ้า เป็นปลาขนาดใหญ่ ยาวได้ถึง ๑ เมตร,
โพ ก็เรียก.
【 จาตุ- 】แปลว่า: ว. แปลงมาจาก จตุ หมายความว่า สี่, ใช้ประกอบหน้าคําที่มาจาก
ภาษาบาลี.
【 จาตุกรณีย์ 】แปลว่า: น. ราชกิจ ๔ อย่าง คือ ๑. ตัดสินความเมือง ๒. บํารุงราษฎร ๓. บํารุง
ผลประโยชน์บ้านเมือง ๔. ป้องกันพระนคร, บางทีในบทกลอนใช้ว่า
จาตุกรณย์, จาตุรราชการ ก็ว่า. (ป., ส. จตุ + กรณีย).
【 จาตุทสี 】แปลว่า: [-ทะสี] น. ดิถีที่ ๑๔ (คือ วัน ๑๔ คํ่า). (ป. จาตุทฺทสี; ส. จตุรฺทศี).
【 จาตุมหาราช 】แปลว่า: น. ชื่อสวรรค์ชั้นแรกแห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือ
จาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี
และปรนิมมิตวสวัตดี มีท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ ผู้รักษาโลกในทิศทั้ง ๔
ร่วมกันปกครอง, จาตุมหาราชิก หรือ จาตุมหาราชิกา ก็ว่า; เรียก
หัวหน้าเทวดาผู้มีหน้าที่รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ ว่า ท้าวจาตุมหาราช คือ
๑. ท้าวธตรฐ จอมภูตหรือจอมคนธรรพ รักษาโลกด้านทิศบูรพาหรือทิศ
ตะวันออก ๒. ท้าววิรุฬหก์ จอมเทวดาหรือจอมกุมภัณฑ์ รักษาโลกด้าน
ทิศทักษิณหรือทิศใต้ ๓.ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค รักษาโลกด้านทิศประจิม
หรือทิศตะวันตก ๔. ท้าวกุเวร จอมยักษ์ รักษาโลกด้านทิศอุดรหรือทิศ
เหนือ, จตุโลกบาล หรือ จัตุโลกบาล ก็ว่า.
【 จาตุมหาราชิก, จาตุมหาราชิกา 】แปลว่า: น. ชื่อสวรรค์ชั้นแรกแห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่
【 จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิก 】แปลว่า:
หรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดีและปรนิมมิตวสวัตดี
มีท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ ผู้รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ ร่วมกันปกครอง, จาตุมหาราช
ก็ว่า.
【 จาตุร- 】แปลว่า: จาตุระ- ว. แปลงมาจาก จตุร หมายความว่า สี่, ใช้ประกอบ
หน้าคําที่มาจากภาษาบาลี.
【 จาตุรราชการ 】แปลว่า: /ดู จาตุกรณีย์ ที่ จาตุ–/.
【 จาตุรงค-, จาตุรงค์ 】แปลว่า: [-ตุรงคะ-] ว. มีองค์ ๔, มีส่วน ๔. (ป. จาตุร + องฺค).
【 จาตุรงคสันนิบาต 】แปลว่า: น. การประชุมพร้อมด้วยองค์ ๔ ประการ คือ ๑. วันนั้นดวงจันทร์เสวย
มาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึงดาวฤกษ์ชื่อมฆา) ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐
รูป ประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมวันนั้นล้วน
ได้รับเอหิภิกขุอุปสัมปทา ๔. พระสงฆ์เหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น,
นับเป็นวันสําคัญวันหนึ่งในพระพุทธศาสนา, คําสามัญว่า มาฆบูชา.
(ป., ส.).
【 จาตุรนต์, จาตุรันต์ 】แปลว่า: (แบบ) น. เจ้าแห่งโลกหรือแห่งทิศทั้ง ๔. (ป., ส.).
【 จาตุรนต์รัศมี 】แปลว่า: น. ผู้มีรัศมีแผ่ไปในทิศทั้ง ๔ คือ พระอาทิตย์. (ส.).
【 จาน ๑ 】แปลว่า: น. ภาชนะรูปแบน ๆ สําหรับใส่สิ่งของต่าง ๆ, ลักษณนามเรียกจานที่
ไม่มีอะไรบรรจุว่า ใบ หรือ ลูก เช่น จานใบหนึ่ง จาน ๒ ลูก, ลักษณนาม
เรียกสิ่งของที่บรรจุอยู่ในจานว่าจาน เช่น ข้าวจานหนึ่ง ข้าว ๒ จาน,
เรียกของที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น จานเสียง, เรียกมะเขือชนิดหนึ่งว่า
มะเขือจาน, คู่กับ มะเขือถ้วย.
【 จานจ่าย 】แปลว่า: น. อุปกรณ์ที่ส่งกระแสไฟฟ้าไปยังหัวเทียนในฝาสูบของเครื่องยนต์
ตามจังหวะที่เหมาะสม เพื่อจุดระเบิดไอนํ้ามันเชื้อเพลิงผสมอากาศ.
【 จานเชิง 】แปลว่า: น. ภาชนะกระเบื้องชนิดหนึ่ง ลักษณะแบนกลมคล้ายจานยกขอบและ
มีเชิงอย่างพาน เดิมสั่งทำจากจีน มีทั้งชนิดเขียนลายครามและเขียนสี
เบญจรงค์ ใช้ใส่อาหาร.
【 จานบิน 】แปลว่า: น. วัตถุบิน ลักษณะคล้ายจาน ๒ ใบควํ่าประกบกัน เชื่อกันว่าเป็น
ยานอวกาศที่มาจากดาวดวงอื่น, จานผี ก็เรียก.
【 จานผี 】แปลว่า: /ดู จานบิน/.
【 จานเสียง 】แปลว่า: น. วัสดุแผ่นกลมบางซึ่งบันทึกเสียงไว้ในลักษณะเป็นร่องบนผิวพื้น
เมื่อใส่บนแผ่นหมุนของหีบเสียง วางเข็มลงในร่องแล้วให้จานหมุนไป
ก็จะเกิดเสียงตามที่บันทึกไว้, แผ่นเสียง ก็เรียก.
【 จาน ๒ 】แปลว่า: ก. เจือหรือปนด้วยน้ำ เช่น ข้าวจานนํ้า.
【 จานเจือ 】แปลว่า: ก. เพิ่มเติม, ประสม; เผื่อแผ่, อุดหนุน, เจือจาน ก็ว่า.
【 จาน ๓ 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. ต้นทอง. /(ดู ทอง ๒)./
【 จ้าน 】แปลว่า: ว. จัด, มาก, ยิ่ง, นัก, เช่น รูปร่างช่างกระไรเหมือนยักษ์มาร ล่ำสัน
ขันจ้านสักเท่าพ้อม. (สังข์ทอง).
【 จาบ ๑ 】แปลว่า: (โบ) ก. พูดล่วงเกิน.
จาบจ้วง ว. อาจเอื้อม, ล่วงเกินผู้อื่นด้วยวาจา, จ้วงจาบ ก็ว่า.
【 จาบ ๒ 】แปลว่า: (กลอน) น. นกกระจาบ เช่น มีกุโงกกุงานแลกุงอน นกจิบจาบซอบ.
(สมุทรโฆษ).
【 จาบคา 】แปลว่า: น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Meropidae ลำตัวเรียวบาง สีออกเขียว
ปากสีดำ ขนหางอาจสั้นหรือยาวแล้วแต่ชนิด สร้างรังเป็นโพรงในดิน
หรือตามหน้าผาเป็นกลุ่ม กินแมลง มีหลายชนิด เช่น จาบคาเคราแดง
(/Nyctyornis amictus/) จาบคาหัวเขียว (/Merops philippinus/)
ซึ่งเดิมเรียก คับคา.
【 จาบัล, จาบัลย์ 】แปลว่า: -บัน ก. หวั่นไหว, กระสับกระส่าย เช่น ดาลดับรงับจิตรจาบัลย์
เทียรทิพยสุคันธ ธรศมาโสรจโทรมสกนธ์. (ดุษฎีสังเวย); กำสรด, ร้องไห้
คร่ำครวญ, สะอึกสะอื้น. (ส. จาปลฺย ว่า ความหวั่นไหว).
【 จาป ๑ 】แปลว่า: จาบ, จาปะ น. ธนู, ศร, หน้าไม้, เช่น ชักกุทัณฑกำซาบ ด้วย
ลูกจาปแล่นลิ่ว. (อนิรุทธ์). (ป., ส.).
【 จาป ๒ 】แปลว่า: จาบ น. ลูกสัตว์ เช่น แม่นกจากพรากพราก แลนา จาก
จาปน้อยแนบอก แลนา. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์).(ป. จาป; ส. ศาว).
【 จาม ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อชนชาติหนึ่ง ปัจจุบันส่วนใหญ่มีถิ่นฐานอยู่ในเขตประเทศ
เวียดนามตอนใต้.
【 จาม ๒ 】แปลว่า: ก. อาการของลมที่พุ่งออกมาทางจมูกและปาก มักจะเป็นห้วง ๆ ใน
ทันทีทันใดโดยไม่ตั้งใจ เพราะเกิดระคายเคืองในจมูก; ฟันลงไปเต็มที่
เช่น เอาขวานจามหัว.
【 จ่ามงกุฎ 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง คล้ายกะละแมขาว มีไส้เป็นถั่วลิสงเม็ด ห่อด้วย
ใบตองอ่อนนาบ เช่น งามจริงจ่ามงกุฎ ใส่ชื่อดุจมงกุฎทอง. (เห่ชม
เครื่องคาวหวาน).
【 จามจุรี ๑ 】แปลว่า: /ดู จามรี/.
【 จามจุรี ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Albizia lebbeck/ Benth. ในวงศ์ Leguminosae ดอก
(เกสร) อ่อนมีสีเขียวและขาว เมื่อดอก (เกสร) แก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง
ใกล้โรยเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมแสด ฝักแบนยาวกว้าง ฝักอ่อนสีเขียว
เมื่อแก่สีนํ้าตาลอ่อน ไม่มีรส, พฤกษ์ ซึก หรือ ซิก ก็เรียก, มักเรียกต้น
ก้ามปู หรือต้นจามจุรีแดง [/Samanea saman/ (Jacq.) F. Muell.] ซึ่งเป็น
ไม้ต่างชนิดกันว่า ต้นจามจุรี.
【 จามร 】แปลว่า: [-มอน] น. แส้ขนจามรี ด้ามยาว ปรกติสอดอยู่ในฝักแบนรูปคล้ายน้ำเต้า
จัดเป็นเครื่องสูงชนิดหนึ่ง.
【 จามรี 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิด /Bos grunniens/ ในวงศ์ Bovidae เป็นสัตว์
จำพวกวัว ขนยาวมาก ละเอียดอ่อน สีนํ้าตาลเข้มจนถึงดำ เฉพาะ
บริเวณสวาบจะมีสีดําห้อยยาวลงมาเกือบถึงพื้น ช่วงเขากว้างมาก
หางยาวเป็นพู่ อาศัยอยู่แถบภูเขาสูงในทิเบต, จมร จมรี หรือ จามจุรี
ก็เรียก; เรียกแส้ที่ทําด้วยขนหางจามรีว่า แส้จามรี.
【 จามีกร 】แปลว่า: [-กอน] น. ทอง, เครื่องทอง. (ป., ส.).
【 จ่าย 】แปลว่า: ก. เอาออกใช้หรือให้ เช่น จ่ายเครื่องแบบ, โดยปริยายหมายความว่า
ซื้อ ก็มี เช่น จ่ายกับข้าว.
【 จ่ายตลาด 】แปลว่า: ก. ซื้อกับข้าวที่ตลาด.
【 จ่ายสด 】แปลว่า: (ปาก) ก. ซื้อด้วยเงินสด.
【 จาร ๑ 】แปลว่า: [จาน] ก. ใช้เหล็กแหลมเขียนลงบนใบลานหรือศิลาเป็นต้นให้เป็น
ตัวหนังสือ เช่น จึงจารจารึกอันนี้ไว้อีกโสด. (ศิลาจารึกเขาสุมนกูฏ).
(จารึกสมัยสุโขทัย). น. เรียกเหล็กแหลมสำหรับเขียนลงบนใบลาน
หรือศิลาเป็นต้นว่าเหล็กจาร. (ข.).
【 จาร- ๒ 】แปลว่า: [จาระ-] น. ผู้สอดแนม, ใช้ประกอบหน้าคําอื่นในคำว่า จารกรรม
จารชน จารบุรุษ จารสตรี. (ป., ส.).
【 จ่ารง 】แปลว่า: น. ชื่อปืนโบราณชนิดหนึ่ง.
【 จารวาก 】แปลว่า: [จาระ-] น. ลัทธิโลกายัต. /(ดู โลกายัต ที่ โลก, โลก-)./
【 จาระไน 】แปลว่า: ก. พูดชี้แจงอย่างละเอียดลออหรือถี่ถ้วน.
【 จาระบี 】แปลว่า: น. นํ้ามันข้นเหนียวสําหรับหล่อลื่นและกันความสึกหรอของเครื่องจักร
เป็นต้น, จระบี ก็ว่า. (ฮ. จรฺพี).
【 จาริก, จารึก ๑ 】แปลว่า: น. ผู้ท่องเที่ยวไปเพื่อสั่งสอนหรือแสวงบุญเป็นต้น. ก. ท่องเที่ยวไปเพื่อ
สั่งสอนหรือแสวงบุญเป็นต้น.
【 จารี 】แปลว่า: น. ผู้ประพฤติ, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น ธรรมจารี สัมมาจารี. (ป.).
【 จารีต 】แปลว่า: [-รีด] น. ประเพณีที่ถือสืบต่อกันมานาน. (ป. จาริตฺต; ส. จาริตฺร).
【 จารีตนครบาล 】แปลว่า: ก. ไต่สวนพิจารณาคดีด้วยการทรมานจําเลย.
【 จารีตประเพณี 】แปลว่า: น. ประเพณีที่นิยมและประพฤติกันสืบมา ถ้าฝ่าฝืนถือว่าเป็นผิด
เป็นชั่ว.
【 จารึก ๒ 】แปลว่า: ก. เขียนหรือจารให้เป็นรอยลึกเป็นตัวอักษรหรือภาพเป็นต้นบนแผ่น
ศิลา โลหะหรือดินเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึง
เช่นนั้น เช่น จารึกไว้ในดวงใจ, ในบทกลอนหมายความว่า เขียนโดย
ทั่ว ๆ ไป ก็มี. น. เรียกศิลาที่จารึกเป็นตัวอักษรหรือภาพเป็นต้นว่า
ศิลาจารึก, เรียกสั้น ๆ ว่า จารึก เช่น จารึกอโศก จารึกสุโขทัย.
【 จารุ 】แปลว่า: (แบบ) น. ทองคํา. ว. งาม, น่ารัก, สม, เหมาะ. (ป., ส.).
【 จ้าละหวั่น 】แปลว่า: ว. ชุลมุน, วุ่นวาย, จะละหวั่น ก็ใช้.
【 จาว ๑ 】แปลว่า: น. สิ่งที่งอกอยู่ภายในผลไม้บางอย่าง เช่น จาวมะพร้าว จาวตาล,
(กลอน) โดยปริยายหมายถึงนมผู้หญิง เช่น พวงจาวเจิดแจ่มแก้ว
จักรพรรดิ พี่เอย. (นิ. นรินทร์), ดวงจาววนิภาคย์พ้น เสาวบุษป์.
(ทวาทศมาส).
【 จาว ๒ 】แปลว่า: น. เจ้า, ผู้เป็นใหญ่, หมายถึงเทวดาในชั้นอาภัสรพรหม. ก. โผลงมา,
โฉบ, เช่น จาวชิมดินแสงหล่น. (แช่งน้ำ). (ไทยใหญ่ จาว ว่า โผลงมา).
【 จาว ๓ 】แปลว่า: ว. ตามกันไป, ประสานกันไป, เช่น ชลธารนทีเจือ จาวหลั่ง ไหลนา.
(ทวาทศมาส). (ไทยขาว จาว ว่า ตกลง, ยอมตาม; จ่าว ว่า คล้อย
ตามคำแนะนำ).
【 จาว ๔ 】แปลว่า: น. ดอก, ดอกไม้, เช่น ดอกไม้งามเงื่อนแต้ม แชรงยอดแย้มผกาแจรง
จาวจำแทงจำเทิด. (ม. คำหลวง จุลพน), จราว ก็ใช้, โดยปริยาย
หมายถึงผู้หญิง เช่น ไฟกามรลุงจาว ทองเทศ. (ทวาทศมาส).
【 จาว ๕ 】แปลว่า: ก. บาน (ใช้แก่ดอกไม้) เช่น โพทเลจาวดวงดอกก็มี. (ม. คำหลวง
มหาพน). (ลาว จาว ว่า กำลังบาน).
【 จาว ๖ 】แปลว่า: ก. ส่งเสียงดัง, อึกทึก, เช่น อันจาวจำเรียงเสียงฉันท์. (สมุทรโฆษ).
(ไทยขาว จาว ว่า ส่งเสียงดัง).
【 จาว ๆ 】แปลว่า: ว. ห่าง ๆ เช่น เนาผ้าจาว ๆ, จะจะ เช่น วางเครื่องข้าวยำจาว ๆ
ให้เลือกกิน.
【 จ้าว 】แปลว่า: (โบ) น. เจ้า.
【 จาวมะพร้าว 】แปลว่า: น. (๑) มันจาวมะพร้าว. /(ดู มันเสา ที่ มัน ๑)./ (๒) ชื่อเห็ดชนิด /Clavatia/
/craniformis/ Coker et Couch ในวงศ์ Lycoperdaceae ขึ้นตามพื้นดิน
ดอกเห็ดเป็นก้อนกลมใหญ่สีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาล โคนสอบ
เมื่ออ่อนอยู่กินได้ เมื่อโตเต็มที่ผิวบนย่นหยักคล้ายสมอง.
【 จ่าหวัก 】แปลว่า: น. จวัก, ตวัก.
【 จำ ๑ 】แปลว่า: ก. กําหนดไว้ในใจ, ระลึกได้, เช่น จําหน้าได้.
【 จำพรรษา 】แปลว่า: ก. อยู่ประจําที่วัด ๓ เดือนในฤดูฝน (ใช้แก่พระสงฆ์).
【 จำวัด 】แปลว่า: ก. นอนหลับ (ใช้แก่ภิกษุสามเณร).
【 จำศีล 】แปลว่า: ก. ถือศีล, รักษาศีล; โดยปริยายหมายถึงการที่สัตว์บางชนิดนอนนิ่ง
ไม่ออกหาอาหารชั่วระยะเวลาหนึ่ง เช่น กบจําศีล.
【 จำ ๒ 】แปลว่า: ก. ลงโทษด้วยวิธีเอาโซ่ตรวนล่ามไว้ เช่น จําโซ่ จําตรวน, ลงโทษ
ด้วยวิธีขังเช่น จําคุก.
【 จำครบ 】แปลว่า: ว. จําห้าประการ.
【 จำคุก 】แปลว่า: (กฎ) น. โทษทางอาญาสถานหนึ่ง ที่ให้เอาตัวผู้ต้องโทษไปคุมขัง
ไว้ในเรือนจำ.
【 จำจอง 】แปลว่า: ก. ใส่ตรวนหรือเครื่องพันธนาการขังไว้ในคุกในตะรางเป็นต้น,
จองจํา ก็ว่า.
【 จำห้าประการ 】แปลว่า: ว. มีเครื่องจองจําครบ ๕ อย่าง คือ ๑. ตรวนใส่เท้า ๒. เท้าติดขื่อไม้
๓. โซ่ล่ามคอ ๔. คาไม้ใส่คอทับโซ่ ๕. มือ ๒ ข้างสอดเข้าไปในคาและ
ไปติดกับขื่อทําด้วยไม้, เรียกสั้น ๆ ว่า จําครบ. (ประชุมพงศ. ๓๙).
【 จำ ๓ 】แปลว่า: ก. อาการที่ต้องฝืนใจทํา เช่น จำใจจากแม่เปลื้อง ปลิดอก อรเอย.
(นิ. นรินทร์).
【 จำเป็น 】แปลว่า: ว. ต้องเป็นอย่างนั้น, ต้องทํา, ขาดไม่ได้.
【 จำ ๔ 】แปลว่า: (โบ) น. ชายผ้า เช่น เอาพระจําเจิมเฉลิมเชิงเวียน. (อะหม จํา ว่า ชายผ้า).
【 จ้ำ ๑ 】แปลว่า: ก. พายเรือแจวถี่ ๆ เช่น เขาจ้ำเรือข้ามฟาก, ฟันหรือแทงถี่ ๆ เช่น ผู้ร้าย
จ้ำแทง. ว. อาการที่ทำเร็ว ๆ ถี่ ๆ เช่น พายเรือจ้ำเอา ๆ เขียนหนังสือ
จ้ำเอา ๆ.
【 จ้ำ ๒ 】แปลว่า: น. รอยฟกชํ้าดําเขียว.
【 จ้ำ ๓ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล /Ardisia/
วงศ์ Myrsinaceae บางชนิดดอกและยอดอ่อนกินได้เรียก ผักจํ้า เช่น
ชนิด /A. arborescens/ Wall. ex A. DC.
【 จำกว่า 】แปลว่า: ก. ให้ยิ่งขึ้น.
【 จำกัด 】แปลว่า: ก. กําหนดหรือขีดคั่นไว้โดยเฉพาะ เช่น จํากัดอายุ จํากัดความรู้.
【 จำกัดความ 】แปลว่า: ก. ให้ความหมายอย่างกะทัดรัด, กําหนดความหมาย.
【 จำกัดความรับผิดชอบ 】แปลว่า: น. บริษัทจำกัดซึ่งจำกัดความรับผิดของผู้ถือหุ้นไว้ไม่เกินจำนวนเงิน
ที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่ารวมของหุ้นที่ตนถือ.
【 จำกัดจำเขี่ย 】แปลว่า: ก. จํากัดจนที่สุด, ใช้จ่ายอย่างประหยัดที่สุด, กระเบียดกระเสียร.
【 จำงาย 】แปลว่า: (โบ) น. สาย, บ่าย, เช่น ลูกไม้บ่ทันงาย จำงายราชอดยืน. (ม. คำหลวง
มัทรี). ว. ห่าง, ไกล, เช่น หากให้เจ้าตูฉิบหาย จำงายพรากพระบุรี
ท่านนี้. (ม. คำหลวง ชูชก). (ข. จํงาย ว่า ระยะไกล).
【 จ้ำจี้ 】แปลว่า: น. การเล่นชนิดหนึ่งของเด็ก.
【 จ้ำจี้จ้ำไช 】แปลว่า: ว. อาการที่พร่ำพูดหรือสอน. ก. พร่ำพูดหรือสอน.
【 จำเจ 】แปลว่า: ว. เนือง ๆ, บ่อย ๆ, ซํ้าซาก.
【 จำเดิม 】แปลว่า: บ. แต่ต้น, เริ่มแรก, แรก.
【 จำทวย ๑ 】แปลว่า: (โบ) ก. ประจําหมู่.
【 จำทวย ๒ 】แปลว่า: (กลอน) ก. ถือ, ถืออาวุธร่ายรํา, เช่น จําทวยธนูในสนาม. (สมุทรโฆษ).
【 จำทับ 】แปลว่า: (โบ) ก. โผลง, โจนลง, ทุ่มลง, ตกลง.
【 จำทาบ 】แปลว่า: (กลอน) ก. จับ, ถือ.
【 จำเทิด 】แปลว่า: (โบ) ก. เผ่นขึ้นสูง, งอกขึ้นสูง, สูงไสว.
【 จำแทง 】แปลว่า: (โบ) ก. เผ่นขึ้น, โผขึ้น, ตั้งขึ้น, ชูขึ้น, งอกขึ้น; ถืออาวุธร่ายรําท่าแทง,
เช่น ชดกรกระลึงกุมแสง รำจำแทงองอาจ เผ่นผงาดขับสารสีห์. (ลอ).
【 จำนง 】แปลว่า: ก. ประสงค์, มุ่งหวัง, ตั้งใจ. (แผลงมาจาก จง).
【 จำนน 】แปลว่า: ก. แพ้, ไม่มีทางสู้. (แผลงมาจาก จน).
【 จำนรรจ์, จำนรรจา 】แปลว่า: -นัน, -นันจา ก. เจรจา, พูด, กล่าว.
【 จำนวน 】แปลว่า: น. ยอดรวมที่กําหนดนับไว้เป็นส่วน ๆ.
【 จำนวนจริง 】แปลว่า: (คณิต) น. จำนวนใด ๆ ซึ่งอาจเป็นจํานวนตรรกยะหรือจํานวนอตรรกยะ.
【 จำนวนจินตภาพ 】แปลว่า: (คณิต) น. จํานวนเชิงซ้อน a + bi เมื่อ b + o.
【 จำนวนเชิงซ้อน 】แปลว่า: (คณิต) น. จํานวนที่มีองค์ประกอบ ๒ ส่วน เขียนได้เป็น a + bi โดย a
และ b เป็นจํานวนจริง และ i๒ = -๑.
【 จำนวนตรรกยะ 】แปลว่า: (คณิต) น. จํานวนที่สามารถเขียนให้เป็นรูปเศษส่วนได้ โดยทั้งเศษ
และส่วนต้องเป็นจํานวนเต็ม และส่วนต้องไม่เท่ากับศูนย์, จํานวน
ที่สามารถเขียนให้เป็นรูปทศนิยมไม่รู้จบประเภทซํ้าได้ เช่น เศษ ๑
ส่วน ๙ (เท่ากับ ๐.๑), เศษ ๑๒ ส่วน ๙๙ (เท่ากับ ๐.๑๒).
【 จำนวนเต็ม 】แปลว่า: (คณิต) น. จํานวนที่เป็นจํานวนนับ, จํานวนนับติดเครื่องหมายลบ
หรือศูนย์.
【 จำนวนนับ 】แปลว่า: (คณิต) น. จํานวนที่เกิดจากการนับ จำนวนที่ใช้แทนการนับ ได้แก่ ๑,
๒, ๓, ๔ … .
【 จำนวนบวก 】แปลว่า: (คณิต) น. จำนวนเลขที่มีค่ามากกว่าศูนย์.
【 จำนวนลบ 】แปลว่า: (คณิต) น. จำนวนเลขที่มีค่าต่ำกว่าศูนย์.
【 จำนวนอตรรกยะ 】แปลว่า: (คณิต) น. จํานวนที่สามารถเขียนให้เป็นรูปทศนิยมไม่รู้จบประเภท
ไม่ซํ้าได้ เช่น รากที่ ๒ ของ ๒ (= ๑.๔๑๔๒๑๓๕…), p (= ๓.๑๔๑๕
๙๒๖…).
【 จำนอง 】แปลว่า: ก. ผูก, คล้อง, หมายไว้, กําหนด, จําไว้, (โบ; กลอน) ประพันธ์, แต่ง,
เช่น จึ่งจำนองโคลงอ้าง ถวายแด่บพิตรเจ้าช้าง. (ลอ). (กฎ) น. ชื่อ
สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้จํานอง เอาทรัพย์สินตราไว้แก่
บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับจํานอง เพื่อเป็นประกันการชําระหนี้
โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจํานอง. (แผลงมาจาก จอง).
【 จำนับ 】แปลว่า: จําหฺนับ ก. จับ, อาการที่ใช้มือจับต้องสิ่งใดสิ่งหนึ่งตลอดจน
กําไว้ยึดไว้, ใช้ จําหนับ ก็มี.
【 จำนัล 】แปลว่า: ก. แจจัน เช่น จํานัลจํานับรอบราย. (สมุทรโฆษ). (ข. จาล่, จัล, จำนัล
ว่า ปะทะ). /(ดู แจจน, แจจัน)./
【 จำนำ 】แปลว่า: ก. ประจํา, เรียกผู้ซื้อขายหรือติดต่อกันเป็นประจำว่า เจ้าจํานํา. (กฎ)
น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้จํานํา ส่งมอบสังหาริมทรัพย์
สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับจํานํา เพื่อเป็นประกัน
การชําระหนี้. (แผลงมาจาก จํา).
【 จำนำพรรษา 】แปลว่า: ว. เรียกผ้าที่ถวายแก่พระสงฆ์ที่อยู่จําพรรษาในวัดนั้น ๆ ว่า
ผ้าจํานําพรรษา.
【 จำเนียน 】แปลว่า: ก. ตัด ขริบ หรือเฉือนให้ไปตามแนวหรือให้ได้รูปตามที่ต้องการ.
(แผลงมาจาก เจียน). (ข. เจียร ว่า ตัด, เล็ม).
【 จำเนียม 】แปลว่า: ก. รู้จักประมาณตัว, ประพฤติตนพอสถานประมาณ เช่น บรรจงภาพ
จําเนียม. (ลอ). (แผลงมาจาก เจียม).
【 จำเนียร 】แปลว่า: ว. นาน, ช้า. (แผลงมาจาก เจียร).
【 จำแนก 】แปลว่า: ก. แจก, แบ่ง, แยกออก, เช่น จําแนกออกเป็น ๓ อย่าง. (แผลงมาจาก
แจก).
【 จำโนทย์ 】แปลว่า: (โบ) ก. ฟ้อง, ร้องขอ, กล่าวหา. (แผลงมาจาก โจท, โจทย์).
【 จำบ่ม 】แปลว่า: ว. ผลไม้ที่แก่ยังไม่ได้ที่ เก็บเอามาบ่มให้สุก เรียกว่า ผลไม้จําบ่ม เช่น
มะม่วงจําบ่ม.
【 จำบัง ๑ 】แปลว่า: ก. รบ เช่น คชจําบังข้าศึก. (ตะเลงพ่าย). น. ศึก, สงคราม; นักรบ.
(จารึกสยาม). (ข. จํบาง, จมฺบําง ว่า การรบ, สงคราม).
【 จำบัง ๒ 】แปลว่า: ก. กำบังกาย, หายตัวไป, เช่น โจนจำบับจำบัง. (ม. คำหลวง มหาราช).
【 จำบับ 】แปลว่า: ก. จับ เช่น โจนจําบับจําบัง. (ม. คําหลวง มหาราช). (ข. จํบาบ่ ว่า
การปล้ำกัน, การประสานมือกัน).
【 จำเบศ 】แปลว่า: ความหมายอย่างเดียวกับ จําบัง แต่เพื่อประโยชน์ในกลอนจึงใช้ ศ
เข้าลิลิต เช่น หมู่โยธาโยเธศ รู้จําเบศจําบัง. (ม. คําหลวง มหาราช).
【 จ้ำเบ้า 】แปลว่า: ว. อาการที่ก้นกระแทกพื้นลุกไม่ขึ้น เช่น หกล้มจํ้าเบ้า.
【 จำแบ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาแห้งชนิดหนึ่งที่ไม่เป็นริ้ว, ตําแบ ก็ว่า. ก. แผ่ออก.
【 จำปา 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด /Michelia champaca/ L. ในวงศ์ Magnoliaceae
ดอกสีเหลืองอมส้ม กลีบดอกใหญ่ยาว มีหลายกลีบ กลิ่นหอม; สีเหลือง
อมส้มอย่างดอกจำปา; เครื่องหน้าซุงว่าวจุฬา รูปเป็นกลีบเหมือนกลีบ
ดอกจําปา; แหนบรูปคล้ายกลีบดอกจําปาซึ่งติดอยู่กับแกนในประแจจีน
สําหรับยันไม่ให้กุญแจหลุดออกจากกัน, จัมปา ก็ใช้; ไม้ไผ่ที่จักปลาย
ด้านหนึ่งเป็น ๔-๕ แฉก แล้วเอาชิ้นไม้ขัดให้บานออกเป็นรูปดอกจำปา
ใช้เสียบปลายไม้สำหรับสอยผลไม้; เครื่องยึดธรณีบนของประตูให้ติด
กับกรอบเช็ดหน้าของอาคารประเภทโบสถ์ วิหาร ในสถาปัตยกรรมไทย
ทำด้วยไม้ เป็นแท่งรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านหน้าตกแต่งเป็นเส้นขอบของ
ดอกไม้หรือแต่งให้เป็นรูปดอกสี่กลีบที่เรียกว่า ดอกประจำยาม. (๒)
(ถิ่น-อีสาน) ต้นลั่นทม. /(ดู ลั่นทม)./
【 จำปาขอม 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นลั่นทม. /(ดู ลั่นทม)./
【 จำปาแขก 】แปลว่า: /ดู จําปีแขก (๑)/.
【 จำปาดะ 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด /Artocarpus integer/ (Thunb.)
Merr. ในวงศ์ Moraceae คล้ายต้นขนุน เยื่อหุ้มเมล็ดเนื้อเหลว กลิ่นฉุน
กินได้; เรียกขนุนพันธุ์ที่มียวงสีจําปา เนื้อนุ่ม ว่า ขนุนจําปาดะ. /(ดู ขนุน ๑)./
【 จำปาทองเทศ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓).
【 จำปาทองเทศ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
【 จำปาลาว 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นลั่นทม. /(ดู ลั่นทม)./
【 จำปาหอม 】แปลว่า: /ดู ลั่นทม/.
【 จำปี 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด /Michelia alba/ DC. ในวงศ์ Magnoliaceae
ดอกสีขาว คล้ายดอกจําปาแต่กลีบเล็กและหนากว่า บางพันธุ์สีนวล
หรือสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอมเย็น.
【 จำปีแขก 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด /Michelia figo/ (Lour.) Spreng. ในวงศ์ Magnoliaceae
ดอกคล้ายดอกจําปีแต่เล็กกว่า กลีบเลี้ยงสีนํ้าตาลมีขนหนานุ่ม
กลีบดอกแข็งสีนวล กลิ่นหอมมาก, จําปาแขก ก็เรียก. (๒) ชื่อไม้ต้น
ขนาดกลางชนิด /Pterospermum diversifolium/ Blume ในวงศ์ Sterculiaceae
กลีบเลี้ยงสีนํ้าตาล กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอมอ่อน.
【 จำปูน 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Anaxagorea javanica/ Blume ในวงศ์ Annonaceae
มีตามป่าดิบทางปักษ์ใต้ กลีบดอกแหลมหนาแข็ง ด้านนอกสีเขียว
ด้านในสีขาวนวล กลิ่นหอมมาก.
【 จำพวก 】แปลว่า: น. พวก, ประเภท, ชนิด, หมู่, เหล่า.
【 จำเพาะ 】แปลว่า: ว. เฉพาะ, เจาะจง, เผอิญ, เช่น จําเพาะฝนมาตกเวลาจะออกจาก
บ้านจึงไปไม่ได้.
【 จำแพรก 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ยืนต้น. (พจน. ๒๔๙๓).
【 จ้ำม่ำ 】แปลว่า: ว. คําประกอบลักษณะอ้วน ให้รู้ว่าอ้วนน่ารัก (โดยมากใช้เฉพาะเด็ก).
【 จำรด 】แปลว่า: -หฺรด ก. จด, ถึง, จ่อให้ถึง. (แผลงมาจาก จรด).
【 จำรัส 】แปลว่า: [-หฺรัด] ว. แจ่มแจ้ง, รุ่งเรือง, สว่าง. (แผลงมาจาก จรัส).
【 จำราญ 】แปลว่า: (กลอน) ก. หัก, พัง, ทําลาย, กระจาย, ดับ. (แผลงมาจาก จราญ).
【 จำราย 】แปลว่า: (กลอน) ก. กระจาย, แผ่ไป, เช่น เสด็จจรจํารายศักดิ์ โสภิต.
(ทวาทศมาส).
【 จำรูญ 】แปลว่า: ว. รุ่งเรือง, งาม, เช่น ลางหมู่หน้าแดงจกูรล ดูจำรูญจกราด.
(ม. คำหลวง มหาราช). (แผลงมาจาก จรูญ).
【 จำเริญ 】แปลว่า: ก. เติบโต, งอกงาม, มากขึ้น, สมบูรณ์; ทิ้ง เช่น จําเริญยา, ตัด เช่น
จําเริญเกศา. (แผลงมาจาก เจริญ).
【 จำเรียง 】แปลว่า: ก. ขับลํา, ขับกล่อม, ร้องเพลง. (แผลงมาจาก เจรียง).
【 จำลอง ๑ 】แปลว่า: ก. ถ่ายแบบ เช่น จําลองจากของจริง. ว. แทน เช่น พระพุทธชินราชจําลอง,
ที่ทําให้เหมือนของจริง เช่น ท้องฟ้าจําลอง.
【 จำลอง ๒ 】แปลว่า: น. อาน, สัปคับ.
จำลองทอง น. เครื่องสัปคับจำพวกกูบ ใช้ผูกหลังช้างพัง.
【 จำลาย 】แปลว่า: (โบ) ก. สลัก.
【 จำเลย 】แปลว่า: น. (กฎ) บุคคลผู้ถูกฟ้องต่อศาลแล้ว; ผู้ถูกฟ้องความ. (กลอน) ก. เฉลย,
ตอบ. (ข. จํเลิย ว่า ผู้ตอบ).
【 จำเลาะ 】แปลว่า: ก. ทะเลาะ. (ข. เฌฺลาะ).
【 จำเลาะตา 】แปลว่า: [-เหฺลาะ-] น. ซีกไม้ไผ่ที่มีตาไม้ติดอยู่.
【 จำแลง 】แปลว่า: ก. แปลงตัว.
【 จำแล่น 】แปลว่า: ก. ให้แล่น เช่น ตีด้วยเชือกเขาแขง ไม้ท้าวแทงจำแล่นแล.
(ม. คำหลวง มหาราช).
【 จำหนับ ๑ 】แปลว่า: ก. อาการที่ใช้มือจับต้องสิ่งใดสิ่งหนึ่งตลอดจนกำไว้ยึดไว้, ใช้ จำนับ
ก็มี. (แผลงมาจาก จับ).
【 จำหนับ ๒ 】แปลว่า: (ปาก) ว. เต็มที่, เต็มแรง, จั๋ง จังหนับ หรือ จํ๋าหนับ ก็ว่า.
【 จ๋ำหนับ 】แปลว่า: (ปาก) ว. เต็มที่, เต็มแรง, จั๋ง จังหนับ หรือ จําหนับ ก็ว่า.
【 จำหน่าย 】แปลว่า: ก. ขาย, จ่าย, แจก, แลกเปลี่ยน, โอน; เอาออก เช่น จําหน่ายจากบัญชี.
(แผลงมาจาก จ่าย).
【 จำหระ 】แปลว่า: น. แถบ, ซีก, แปลง, (ใช้แก่ที่ดินหรือร่างกาย), ตําหระ ก็ว่า.
【 จำหล่อ 】แปลว่า: น. เครื่องกีดกั้นขวางทางในสมัยโบราณ ปักเสาสูงราว ๒ ศอก มีไม้เสา
ทับหลังขวางถนนเป็น ๒ แนวเยื้องไม่ตรงกัน ปลายต่อปลายเกินกันทั้ง
๒ ข้าง, ค่ายผนบบ้านหล่อ จั้นหล่อ หรือ จังหล่อ ก็เรียก.
【 จำหลอก 】แปลว่า: -หฺลอก ก. ถลอก, ลอก, ไสหรือแซะให้ลึกเป็นร่อง, ทำให้เป็น
ลวดลาย, เช่น จําหลักจําหลอกกลม ภบังอวจจําหลักราย. (สมุทรโฆษ).
【 จำหลัก 】แปลว่า: ก. สลัก, แกะให้เป็นลวดลาย.
【 จำหัน ๑, จำหาย ๑ 】แปลว่า: น. หมวก, เทริด.
【 จำหัน ๒ 】แปลว่า: ว. ฉัน, มีแสงกล้า; เฉกเช่น, ดังเช่น; โบราณเขียนเป็น จำหนน ก็มี เช่น
จำหายแสงส่องตรวัน จำหนนแสงส่องฟ้า. (ม. คำหลวง มหาราช).
(แผลงมาจาก ฉัน).
【 จำหาย ๒ 】แปลว่า: ก. ส่อง เช่น จำหายแสงส่องตรวัน จำหนนแสงส่องฟ้า. (ม. คำหลวง
มหาราช). (แผลงมาจาก ฉาย).
【 จำหุด 】แปลว่า: ก. แม่น, ปรากฏ, เที่ยง, แข็งแรง, เปรื่องปราด, ศักดิ์สิทธิ์, สําคัญ,
เช่น อันหนึ่งให้จำหุดให้กระทำบุญ. (ไตรภูมิ). (ข. จํหุต ว่า ความ
ถูกต้อง, ความเที่ยงตรง).
【 จำเหียง 】แปลว่า: ก. โค้งงอน เช่น งาเจียงจําเหียงแข. (ยวนพ่าย). (แผลงมาจาก
เฉียง). (ข. จํเหียง ว่า ซีก, เสี้ยว).
【 จำอวด 】แปลว่า: น. การแสดงโดยใช้ถ้อยคํา ท่าทาง ชวนให้ตลกขบขัน.
【 จิ 】แปลว่า: (แบบ) ก. จะ เช่น จิปากทั้งลิ้นล้า เพื่อเจ้าเจียรจันทร์. (ทวาทศมาส).
【 จิก ๑ 】แปลว่า: ก. กิริยาที่เอาจะงอยปากสับอย่างอาการของนกเป็นต้น, กิริยาที่เอา
สิ่งมีปลายคมหรือแหลมกดลงพอให้ติดอยู่ เช่น เอาเล็บจิกให้เป็นรอย
เอาปลายเท้าจิกดินให้อยู่; (ปาก) โขกสับเมื่อเป็นต่อ เช่น เมื่อได้ท่าก็
จิกเสียใหญ่.
【 จิกปีก 】แปลว่า: ก. งงจนไม่รู้จะทําอะไรได้ (มาจากอาการของไก่ที่ถูกตีจนงงแล้ว
เอาปากจิกปีกตัวเอง).
【 จิกหัว 】แปลว่า: ก. เอามือขยุ้มผมแล้วรั้งไป; บังคับให้พุ่งไป เช่น เครื่องบินจิกหัวลง;
กดขี่, ข่มขี่, เช่น จิกหัวใช้.
【 จิก ๒ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดกลางหลายชนิดในสกุล /Barringtonia/ วงศ์
Lecythidaceae ขึ้นในที่ชุ่มชื้นและที่นํ้าท่วมถึง ดอกสีขาว เกสร
เพศผู้สีแดงมักออกเป็นช่อยาวห้อยเป็นระย้า เช่น จิกนา [/B. acutangula/
(L.) Gaertn.] จิกบ้าน หรือ จิกสวน [/B. racemosa/ (L.) Roxb.] จิกเล
[/B. asiatica/ (L.) Kurz]. (๒) /ดู กระโดน./ (๓) /ดู ตีนตุ๊กแก (๖)./
【 จิ่ง 】แปลว่า: (โบ) สัน. จึง.
【 จิ้งโกร่ง 】แปลว่า: น. เรียกจิ้งหรีดชนิด /Brachytrypes portentosus/ เป็นจิ้งหรีดที่มี
ขนาดใหญ่ที่สุด ยาวประมาณ ๔.๕ เซนติเมตร กว้างประมาณ
๑ เซนติเมตร สีน้ำตาลตลอดทั้งตัว, อ้ายโกร่ง หรือ หัวตะกั่ว
ก็เรียก, พายัพเรียก จี้กุ่ง หรือ ขี้กุ่ง, อีสานเรียก จี่นายโม้ จี่ป่ม
หรือ จี่โป่ง.
【 จิ้งจก 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กในวงศ์ Gekkonidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียว
กับตุ๊กแก ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น จิ้งจกบ้าน (/Cosymbotus/
/platyurus/) ตีนเกาะติดผนังได้, จิ้งจกดินลายหินอ่อน (/Cyrtodactylus/
/peguensis/) ตีนเกาะติดผนังไม่ได้, จิ้งจกบิน (/Platyurus craspedotus/)
สามารถร่อนตัวไปในอากาศได้, พายัพเรียก จั๊กกิ้ม.
【 จิงจ้อ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Convolvulaceae เช่น
จิงจ้อขาว จิงจ้อเหลี่ยม หรือ จี๋จ้อ [/Operculina turpethum/ (L.)
S. Manso] ลําต้นเป็นเหลี่ยมหรือมีครีบ ดอกสีขาว จิงจ้อใหญ่
จิงจ้อเหลือง หรือ จิงจ้อขน (/Merremia vitifolia/ Hallier f.) ลําต้น
กลม มีขนมาก ดอกสีเหลือง, ทั้ง ๒ ชนิดรากใช้ทํายาได้.
【 จิ้งจอก 】แปลว่า: /ดู หมาจิ้งจอก ที่ หมา/.
【 จิงจัง, จิ้งจัง 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. อาหารอย่างหนึ่ง ทำด้วยปลาเล็ก ๆ หมักเกลือกับ
ข้าวคั่ว อย่างเดียวกับปลาจ่อม ใช้เป็นเครื่องจิ้ม, จุ้งจัง ก็ว่า.
【 จิงโจ้ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Macropodidae ขาคู่หน้าสั้น
คู่หลังยาวและแข็งแรง ใช้กระโดดได้ไกล ๆ หางยาวและแข็งแรง
ใช้เป็นอวัยวะช่วยในการทรงตัว ตัวเมียออกลูกเป็นตัวไม่มีรกติด
ออกมา มีถุงที่หน้าท้องสําหรับใส่ลูก มีหลายชนิด เช่น ชนิด /Macropus/
/rufus,/ /M. giganteus/ มีถิ่นกําเนิดในทวีปออสเตรเลีย.
【 จิงโจ้ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อแมลงพวกมวนในวงศ์ Gerridae หรือ Gerrididae ลําตัวลีบและ
ยาว โดยทั่วไปยาว ๑-๒ เซนติเมตร มีทั้งพวกที่มีปีกซึ่งอาจสั้นหรือยาว
หรือไม่มีปีก ขาคู่หน้าสั้นใช้จับสัตว์เล็ก ๆ กิน ขาคู่กลางและคู่หลังยาว
กว่าลําตัวมาก ที่ปลายขามีขนละเอียดปกคลุมแน่น สามารถวิ่งไปตาม
ผิวนํ้าได้ อาศัยตามแหล่งนํ้าต่าง ๆ มีหลายชนิด ที่พบบ่อย ๆ ตามสระ
มักเป็นพวกที่อยู่ในสกุล /Limnogonus/, จิงโจ้นํ้า ก็เรียก.
【 จิงโจ้ ๓ 】แปลว่า: น. เครื่องป้องกันใบจักรเรือไม่ให้สวะเข้าไปปะกันกระทบ และกัน
ไม่ให้เพลาแกว่ง.
【 จิงโจ้ ๔ 】แปลว่า: น. เรียกทหารผู้หญิงในวังครั้งรัชกาลที่ ๔ ว่า ทหารจิงโจ้.
【 จิงโจ้ ๕ 】แปลว่า: น. ชื่อเครื่องแขวนให้เด็กดู.
【 จิงโจ้น้ำ 】แปลว่า: /ดู จิงโจ้ ๒/.
【 จิ้งหรีด 】แปลว่า: น. ชื่อแมลงพวกหนึ่งในวงศ์ Gryllidae ลําตัวขนาดปานกลาง หนวดยาว
มีปีก ๒ คู่ คู่หน้าเนื้อปีกหนากว่าคู่หลัง ปีกเมื่อพับจะหักเป็นมุมที่ด้านข้าง
ของลําตัว ปีกคู่หลังบางพับได้แบบพัดสอดเข้าไปอยู่ใต้ปีกคู่หน้า ปากเป็น
ชนิดกัดกิน หัวกับอกมีขนาดกว้างไล่เลี่ยกัน ตัวผู้มีอวัยวะพิเศษสําหรับ
ทําเสียงเป็นฟันเล็ก ๆ อยู่ตามเส้นปีกบริเวณกลางปีก ใช้กรีดกับแผ่นทํา
เสียงที่อยู่บริเวณท้องปีกของปีกอีกข้างหนึ่ง มีหลายชนิด เช่น ทองดํา
(/Acheta bimaculatus/) ทองแดง (/Gryllus testaceus/), จังหรีด ก็เรียก.
จิ้งหรีดผี /ดู แอ้ด ๑./
【 จิ้งเหลน 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานหลายสกุลในวงศ์ Scincidae เกล็ดเป็นมัน
เงา ส่วนมากอยู่ตามพื้นดิน เช่น จิ้งเหลนบ้าน (/Mabuya multifasciata/)
มีบางชนิดขึ้นหากินตามต้นไม้ เช่น จิ้งเหลนต้นไม้ (/Leiolopisma/
/vittigerum/) บางชนิดไม่มีขา เช่น จิ้งเหลนด้วง (/Ophioscincus/
/anguinoides/), พายัพเรียก จักเล้อ.
【 จิ้งเหลนด้วง ๑ 】แปลว่า: น. จิ้งเหลนชนิดหนึ่ง. /(ดู จิ้งเหลน)./
【 จิ้งเหลนด้วง ๒ 】แปลว่า: /ดู ปากจอบ/.
【 จิต, จิต- 】แปลว่า: [จิด, จิดตะ-] น. ใจ, สิ่งที่มีหน้าที่รู้ คิดและนึก, (โบ เขียนว่า จิตร),
ลักษณนามว่า ดวง. (ป. จิตฺต).
【 จิตกึ่งสำนึก 】แปลว่า: น. ภาวะที่จิตไม่ค่อยรู้สึกตัว เมื่อปลุกอาจรู้สึกตัวดีขึ้น แต่ไม่รู้ตัวเต็มที่.
(อ. semiconscious).
【 จิตใจ 】แปลว่า: น. ใจ, อารมณ์ทางใจ, (ปาก) กะจิตกะใจ.
【 จิตใต้สำนึก 】แปลว่า: น. ภาวะของจิตที่ไม่อาจรู้สึกได้ เพราะอยู่ในส่วนลึกของจิตใจ.
(อ. subconscious).
【 จิตนิยม 】แปลว่า: [จิดตะ-] น. ลัทธิที่เชื่อว่าจิตเท่านั้นเป็นความแท้จริงขั้นสูงสุด วัตถุ
ทั้งหลายเป็นเพียงสิ่งที่จิตคิดขึ้น. (อ. idealism).
【 จิตบำบัด 】แปลว่า: [จิดตะ-, จิด-] น. วิธีรักษาผู้ป่วยหรือผู้มีปัญหาทางด้านจิตใจด้วยวิธีที่
จิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาสนทนากับผู้ที่มารับการรักษา เพื่อให้ทราบ
ถึงสาเหตุของโรคหรือปัญหาแล้วหาทางแก้ไข. (อ. psychotherapy).
【 จิตแพทย์ 】แปลว่า: [จิดตะ-] น. แพทย์ผู้รักษาโรคทางจิตใจ ซึ่งมีอาการแสดงความรู้สึก
ความคิด อารมณ์ หรือพฤติกรรมที่ผิดปรกติ. (อ. psychiatrist).
【 จิตภาพ 】แปลว่า: [จิดตะ-] น. ลักษณะทั่วไปของจิตที่แสดงให้เห็นเด่นชัด, บางทีใช้
หมายถึงวิสัยสามารถของจิต. (อ. mentality).
【 จิตไร้สำนึก 】แปลว่า: น. ความคิด ความรู้สึก และแรงผลักดัน ซึ่งถูกกดเก็บไว้ภายในจิตใจ
โดยไม่รู้ตัว แม้จะพยายามนึกอย่างไรก็นึกไม่ออก. (อ. un-conscious).
【 จิตวิทยา 】แปลว่า: [จิดตะ-] น. วิชาว่าด้วยจิต, วิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งว่าด้วยปรากฏการณ์
พฤติกรรม และกระบวนการของจิต.
【 จิตวิสัย 】แปลว่า: [จิดตะ-] ว. ที่มีอยู่ในจิต, ที่เกี่ยวกับจิต; ที่จิตคิดขึ้นเองโดยไม่อาศัยวัตถุ
ภายนอก, ตรงข้ามกับ วัตถุวิสัย; เรียกการสอบแบบที่ให้ผู้ตอบแสดง
ความคิดเห็นด้วยว่า การสอบแบบจิตวิสัย, อัตนัย ก็ว่า. (อ. subjective).
【 จิตเวชศาสตร์ 】แปลว่า: [จิดตะเวดชะ-] น. วิชาแพทย์แขนงหนึ่งที่เกี่ยวกับการศึกษาการตรวจ
รักษาและป้องกันโรคของจิตใจ เช่น โรคประสาท โรคจิต. (อ. psychiatry).
【 จิตสำนึก 】แปลว่า: น. ภาวะที่จิตตื่นและรู้ตัวสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากประสาทสัมผัส
ทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่สัมผัสได้ด้วยกาย. (อ. conscious).
【 จิตกาธาน 】แปลว่า: [จิดตะ-] น. เชิงตะกอน (สำหรับเจ้านาย), (ราชา) พระจิตกาธาน.
(ป., ส. จิตก + อาธาน).
【 จิตต-, จิตต์ 】แปลว่า: จิดตะ- น. จิต. (ป.).
【 จิตตภาวนา 】แปลว่า: (แบบ) น. การอบรมจิต.
【 จิตตวิสุทธิ 】แปลว่า: (แบบ) น. ความหมดจดของจิต คือหมดจดจากกิเลส.
【 จิตตานุปัสสนา 】แปลว่า: น. การพิจารณาจิตเป็นอารมณ์เป็นข้อ ๑ ในสติปัฏฐาน ๔.
【 จิตร ๑, จิตร- ๑ 】แปลว่า: [จิด, จิดตฺระ-] น. การวาดเขียน, การระบายสี, ลวดลาย. ว. งดงาม,
สดใส, ที่เขียนงดงาม. (ป., ส.).
【 จิตรกร 】แปลว่า: น. ช่างวาดเขียน, ช่างวาดภาพ. (ป., ส.).
【 จิตรกรรม 】แปลว่า: น. ศิลปะประเภทหนึ่งในทัศนศิลป์เกี่ยวกับการเขียนภาพวาดภาพ,
รูปภาพที่เขียนหรือวาดขึ้น. (ส.).
【 จิตรปทา 】แปลว่า: น. ชื่อฉันท์ในวรรณพฤติ. (ป., ส.).
【 จิตรลดา ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อกาพย์ชนิดหนึ่ง, คู่กับ มหาจิตรลดา.
【 จิตรเลขา 】แปลว่า: น. รูปภาพลายเส้น. (ส.; ป. จิตฺตเลขา).
【 จิตร ๒ 】แปลว่า: จิด น. จิต, ใจ.
【 จิตร- ๒ 】แปลว่า: [จิดตฺระ-] น. เดือนอันมีพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์จิตรา เรียกว่า
จิตรมาส คือ เดือน ๕ ตกในราวเดือนเมษายน. (ส. ไจตฺร; ป. จิตฺต).
【 จิตรจุล 】แปลว่า: จิดตฺระ- น. เต่า. (ชื่อเต่าในภูริทัตชาดกว่า จิตฺตจูฬ).
【 จิตรลดา ๑ 】แปลว่า: /ดูใน จิตร ๑, จิตร- ๑/.
【 จิตรลดา ๒ 】แปลว่า: [จิดตฺระ-] น. เครือเถาชนิดหนึ่ง. (ส. แปลว่า หลากด้วยไม้เถาต่าง ๆ
หรือว่าเป็นที่รวมแห่งไม้ทิพย์ชื่อจิตรลดา; ป. จิตฺตลตา).
【 จิตรลดาวัน 】แปลว่า: น. ชื่อสวนของพระอินทร์ ๑ ใน ๔ แห่ง ได้แก่ นันทวัน ปารุสกวัน
จิตรลดาวัน และมิสกวัน. (ป. จิตฺตลตาวน).
【 จิตระ, จิตรา 】แปลว่า: [จิดตฺระ, จิดตฺรา] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๔ มี ๑ ดวง เห็นเป็นรูปต่อมนํ้า
หรือไต้ไฟ เช่น จิตราก็ปรากฏดําบล เสถียรที่สิบสี่หมาย. (สรรพสิทธิ์),
ดาวต่อมนํ้า ดาวไต้ไฟ ดาวตาจระเข้ หรือ ดาวตาเสือ ก็เรียก.
(ส.; ป. จิตฺตา).
【 จินเจา 】แปลว่า: น. ชื่อแพรจันชนิดหนึ่ง มีดอกดวงโต.
【 จินดา 】แปลว่า: น. ความคิด, ความนึก; แก้วมีค่า เช่น ทับทรวงดวงกุดั่นจินดาแดง.
(อิเหนา).
【 จินดามณี 】แปลว่า: น. แก้วอันให้ผลแก่เจ้าของตามใจนึก, แก้วสารพัดนึก; ชื่อตำรา
แบบเรียนหนังสือไทยโบราณ เช่น จินดามณีฉบับพระโหราธิบดี
แต่งในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จินดามณีฉบับไม่
ปรากฏชื่อผู้แต่งในรัชกาลสมเด็จพระบรมโกศ จินดามณีฉบับ
กรมหลวงวงษาธิราชสนิทแต่งในสมัยรัตนโกสินทร์. (ป., ส.).
【 จินดามัย 】แปลว่า: ว. ที่สําเร็จด้วยความคิด. (ป., ส. จินฺตามย)
【 จินดาหนา 】แปลว่า: [-หฺนา] น. ต้นจันทน์. (ช.).
【 จินดาหรา 】แปลว่า: [-หฺรา] ว. ฉลาด. (ช.).
【 จินต-, จินต์ 】แปลว่า: [จินตะ-] ก. คิด. (ป., ส.).
【 จินตกวี 】แปลว่า: น. กวีผู้มีความสามารถในการแต่งร้อยกรองตามแนวความคิดและ
จินตนาการของตนเอง.
【 จินต์จล 】แปลว่า: ก. คิดหวั่น, คิดหวาดหวั่น, เช่น ใจปราชญ์ฤๅเฟื่องฟื้นห่อนได้จินต์จล.
(โลกนิติ). (ป. จินฺต ว่า คิด, จล ว่าหวั่นไหว).
【 จินตนาการ 】แปลว่า: น. การสร้างภาพขึ้นในจิตใจ. (ป. จินฺตน + อาการ).
【 จินตนิยม 】แปลว่า: น. (ปรัชญา) ขบวนการในประวัติศาสตร์ของปรัชญาและศิลปะที่เน้น
การเป็นตัวของตัวเอง เป็นอิสระจากกฎเกณฑ์และระเบียบการที่ยึดถือ
กันมา นักปรัชญาและศิลปินของขบวนการนี้ถือว่าอารมณ์ ความรู้สึก
สำคัญกว่าเหตุผล; (ศิลปะและวรรณคดี) คตินิยมในการสร้างสรรค์
วรรณกรรมหรือศิลปะซึ่งแสดงให้เห็นชีวิตและโลกตามจินตนาการหรือ
มโนภาพ. (อ. romanticism).
【 จินตภาพ 】แปลว่า: น. ภาพที่เกิดจากความนึกคิดหรือที่คิดว่าควรจะเป็นเช่นนั้น, ภาพลักษณ์
ก็ว่า. (อ. image).
【 จิบ ๑ 】แปลว่า: ก. ลิ้ม, ดื่มทีละนิด.
【 จิบ ๒ 】แปลว่า: น. เครื่องมือจับสัตว์นํ้าชนิดหนึ่ง ใช้เสาหรือไม้ลําปักทางซ้ายและทาง
ขวาเรียงกันเป็นลําดับ แล้วเอาเฝือกขนาบกับเสาทั้ง ๒ ข้างอย่างเดียว
กับกะบัง แต่ระหว่างกลางเอาอวนลงกางกั้นให้ปลาเข้าถุงอวน จับเมื่อ
เวลานํ้าไหลอ่อน ๆ.
【 จิบ ๓ 】แปลว่า: (กลอน) น. นกกระจิบ.
【 จิปาถะ 】แปลว่า: ว. สารพัด, ไม่เลือกว่าอะไร, ทุกสิ่งทุกอย่าง.
【 จิ่ม 】แปลว่า: ก. ล่วงเข้าไปแต่น้อย เช่น ใส่กลอนจิ่มไว้นิดเดียว.
【 จิ้ม 】แปลว่า: ก. จุ่ม, จุ้ม, เช่น จิ้มนํ้าพริก จิ้มหมึก; เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งทิ่มหรือแทงเบา ๆ
เช่น จิ้มฟัน, เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งแตะ ๆ เช่น เอามะม่วงจิ้มพริกกะเกลือ.
【 จิ้มก้อง 】แปลว่า: ก. เจริญทางไมตรีโดยนำเครื่องบรรณาการไปมอบให้ เช่น แต่งทูตออก
ไปจิ้มก้อง. (พงศ. ร. ๓), (ปาก) โดยปริยายหมายถึงนำสิ่งของเป็นต้นไป
กำนัลเพื่อเอาใจ.
【 จิ้มฟันจระเข้ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาทะเลและนํ้าจืดทุกชนิดในวงศ์ Syngnathidae ปากยื่นเป็น
ท่อลําตัวหน้าตัดเป็นเหลี่ยมแต่ยาวเรียวมาก ผิวหนังเป็นแผ่นแข็งเรียง
ต่อกันเป็นเหลี่ยมเป็นข้อ ครีบต่าง ๆ มีขนาดเล็ก เฉพาะครีบท้องไม่มี
ตัวผู้ทําหน้าที่ฟักไข่โดยเก็บไว้บริเวณหน้าท้อง ลําตัวมักมีสีนํ้าตาล
อาจมีลายสีเข้มพาดขวาง ที่พบในนํ้าจืดได้แก่ ชนิด /Microphis boaja/
ส่วนในทะเลได้แก่ชนิดในสกุลต่าง ๆ เช่น /Doryrhamphus, Corythoichthys,/
/Trachyramphus/.
【 จิ้มลิ้ม 】แปลว่า: ว. น่ารักน่าเอ็นดู (มักใช้แก่หน้าตาหญิงรุ่นสาว).
【 จิร- 】แปลว่า: [-ระ-] ว. นาน, ช้า. (ป., ส.).
【 จิรกาล 】แปลว่า: น. กาลนาน, เวลาช้านาน.
【 จิรัฐิติกาล 】แปลว่า: [จิรัดถิติ-] น. เวลายั่งยืน, เวลาที่ตั้งอยู่นาน. (ป. จิร + ??ติ + กาล).
【 จิ๋ว 】แปลว่า: ว. เล็กมาก.
【 จี 】แปลว่า: ว. ตูม เช่น สงวนมิ่งมาลยจาวจี แกล่กลํ้า. (ทวาทศมาส), พายัพว่า จี๋.
【 จี่ ๑ 】แปลว่า: ก. เผา, ใช้เข้าคู่กับคํา เผา เป็น เผาจี่, โดยปริยายหมายความว่า ทอดใน
กระทะที่ทานํ้ามันน้อย ๆ เช่น แป้งจี่.
【 จี่ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อแมลงพวกด้วงปีกแข็งในวงศ์ Copridae อาศัยอยู่ตามมูลสัตว์
ส่วนใหญ่ตัวขนาดกลาง ยาวประมาณ ๒ เซนติเมตร กว้างประมาณ
๑ เซนติเมตร หัวแบน ขาแบน ด้านข้างมีลักษณะเป็นหนามคล้ายฟัน
เลื่อย สีดําตลอด ปั้นมูลสัตว์ให้เป็นก้อนเพื่อวางไข่ ให้ลูกได้อาศัยอยู่
ภายใน เมื่อถูกต้องตัวมักทําเสียงร้องดังฉู่ฉี่ บางครั้งจึงเรียกตัวฉู่ฉี่
หรือด้วงจู้จี้ ชนิดที่พบบ่อยได้แก่พวกที่อยู่ในสกุล /Onitis/ เช่น ชนิด
/O. subopacus/ พบมากในภาคใต้ ชนิด /O. philemon/ พบมากในภาค
อีสาน ส่วนในภาคอื่น ๆ เป็นชนิด /O. virens/.
【 จี้ ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องประดับมีรูปเหลี่ยม กลม หรือรี มักทําด้วยทองคําประดับ
เพชรพลอยเป็นต้น มีห่วงที่กรอบสําหรับห้อยคอ.
【 จี้ ๒ 】แปลว่า: ก. เอานิ้วมือหรือสิ่งของจดหรือแหย่เข้าไป, เอามือแหย่ให้รู้ตัวหรือให้
สะดุ้ง; ติดตามอย่างกระชั้นชิด เช่น วิ่งจี้หลังมา, ติดตามเร่งรัด เช่น จี้
ให้ทำงาน; (ปาก) ใช้อาวุธขู่เข็ญบังคับให้ทําตาม.
【 จี้เส้น 】แปลว่า: (ปาก) ก. พูดหรือแสดงท่าทางให้เกิดอารมณ์ขัน.
【 จี้ ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเหนียวผสมแป้งข้าวเจ้านวดกับ
กะทิแล้วนึ่งให้สุก ปั้นเป็นก้อนกลมแบน หุ้มไส้ที่ทำด้วยน้ำตาลทราย
เคี่ยวจนเหนียวผสมงาคั่ว แล้วคลุกนวลแป้งข้าวเจ้าที่คั่วสุก.
【 จี้ ๔ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นคนทา. /(ดู คนทา)./
【 จี๋ ๑ 】แปลว่า: ว. เร็ว, จัด, เช่น วิ่งจี๋ หมุนจี๋ เร็วจี๋, ยิ่ง เช่น ร้อนจี๋ ปวดจี๋.
【 จี๋ ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) ว. ตูม.
【 จี้กุ่ง 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. จิ้งโกร่ง. /(ดู จิ้งโกร่ง)./
【 จี๋จ้อ 】แปลว่า: /ดู จิงจ้อ/.
【 จี่จู้ 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. นกกางเขน. /(ดู กางเขน)./
【 จีแจ๊บ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. นกกางเขน. /(ดู กางเขน)./
【 จี๊ด ๑ 】แปลว่า: ว. เล็ก, เล็กมาก.
【 จี๊ด ๒ 】แปลว่า: ว. จัด, ยิ่ง, (ใช้แก่รสเปรี้ยวหรืออาการปวดอย่างเสียดแทงคล้าย
มีอะไรมาจี้อยู่).
【 จีน ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อประเทศและชนชาติที่อยู่ในเอเชียตะวันออก มีพรมแดนติดต่อกับ
มองโกเลีย รัสเซีย เวียดนาม ลาว พม่า ภูฏาน เนปาล อินเดีย คีร์กีซ
และคาซัคสถาน มีภาษาพูดและอักษรของตนเองใช้.
【 จีนเต็ง 】แปลว่า: น. หัวหน้าคนงานที่เป็นชาวจีน (ใช้เฉพาะในสถานที่ทําการร่วมกัน
มาก ๆ เช่น บ่อนหรือโรงสุรายาฝิ่น). (จ.).
【 จีนฮ่อ 】แปลว่า: น. จีนพวกหนึ่งที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน มีมณฑล
ยูนนานเป็นต้น, ฮ่อ ก็เรียก.
【 จีน ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า จีน เช่น จีนขวัญอ่อน
จีนลั่นถัน จีนขิมเล็ก.
【 จีนแส 】แปลว่า: น. หมอ, ครู, ซินแส ก็ว่า. (จ. ซินแซ).
【 จีนแสโสกา 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 จี่นายโม้ 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. จิ้งโกร่ง. /(ดู จิ้งโกร่ง)./
【 จีบ ๑ 】แปลว่า: ก. พับกลับไปกลับมาหรือทําให้ย่นเป็นกลีบเป็นรอย เช่น จีบผ้า, เรียก
ผ้าที่จีบในลักษณะเช่นนั้นว่า ผ้าจีบ; (ปาก) เกี้ยวพาราสี. น. ชื่อขนม
อย่างหนึ่งทําด้วยแป้ง มีไส้ มีรอยเป็นจีบ ๆ; (ราชา) เรียกเหล็กแหลมคือ
ลูกชนักสําหรับใช้ในการขี่ช้างตกมันว่า พระแสงจีบ; ลักษณนามเรียก
พลูที่ม้วนพันใยฝ้ายแล้ว เช่น พลูจีบหนึ่ง พลู ๒ จีบ.
【 จีบปาก, จีบปากจีบคอ 】แปลว่า: ก. พูดอย่างดัดจริต, พูดเชิงประจบประแจง.
【 จีบพลู 】แปลว่า: ก. ม้วนพลูที่ป้ายปูนไว้แล้วให้เป็นรูปกรวย แล้วพันด้วยใยฝ้าย.
【 จีบ ๒ 】แปลว่า: น. พุดจีบ. /[ดู พุด (๒)]./
【 จีโบ 】แปลว่า: น. หมวกโบราณชนิดหนึ่ง ทําด้วยขนสัตว์ ข้าง ๆ ยาวลงมาปกหูกัน
ความหนาว เวลาไม่ใช้ม้วนขึ้น. (ประชุมพงศ. ภาค ๕๐); ชื่อเครื่อง
ถ้วยชาชุดชนิดหนึ่ง.
(รูปภาพ หมวกจีโบ)
【 จี่ป่ม 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. จิ้งโกร่ง. /(ดู จิ้งโกร่ง)./
【 จี่โป่ง 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. จิ้งโกร่ง. /(ดู จิ้งโกร่ง)./
【 จีพร 】แปลว่า: (โบ) น. จีวร.
【 จีม 】แปลว่า: ก. เอาลิ่มเสียบแทรกลงไปเพื่อให้แน่นเป็นต้น.
【 จีรัง 】แปลว่า: ว. นาน, ยาวนาน, มักใช้เข้าคู่กับคำ ยั่งยืน เป็น จีรังยั่งยืน เช่น
สังขารไม่จีรังยั่งยืน.
【 จีวร, จีวร- 】แปลว่า: [จีวอน, จีวอนระ-] น. เครื่องนุ่งห่มของภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา,
ผ้าสําหรับห่มของภิกษุสามเณร, คู่กับ สบง, ภาษาปากเรียก ผ้าเหลือง.
[ในพระพุทธศาสนา จีวร ในคําว่า บาตรจีวร หรือ ไตรจีวร หมายเอาผ้า
ทั้ง ๓ อย่าง คือ ผ้าทาบ (สังฆาฏิ) ผ้าห่ม (จีวร) และผ้านุ่ง (สบง), ในคําว่า
สบง จีวร สังฆาฏิ หมายเอาแต่ผ้าห่มอย่างเดียว]. (ป., ส.).
【 จีวรกรรม 】แปลว่า: (แบบ) น. การเตรียมจีวรเพื่อเดินทาง เช่น ซัก สุ ย้อม. (ส.; ป. จีวรกมฺม).
【 จีวรการสมัย 】แปลว่า: (แบบ) น. คราวที่พระทําจีวร คือตัดเย็บอยู่. (ป.).
【 จีวรกาลสมัย 】แปลว่า: (แบบ) น. คราวที่เป็นฤดูถวายจีวร (งวดที่ ๑ ตั้งแต่วันมหาปวารณา
คือ วันแรมคํ่าหนึ่งเดือน ๑๑ ถึงวันเพ็ญเดือน ๑๒, งวดที่ ๒ ตั้งแต่วัน
มหาปวารณาไปจนหมดฤดูหนาว, งวดที่ ๑ เป็นของพระที่มิได้กราน
กฐิน, งวดที่ ๒ เป็นของพระที่กรานกฐินแล้ว). (ป.).
【 จีวรทานสมัย 】แปลว่า: (แบบ) น. สมัยถวายจีวรในจีวรกาล. (ป.).
【 จีวรภาชก 】แปลว่า: (แบบ) น. ผู้แจกจีวร คือ ภิกษุที่สงฆ์สมมุติให้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวร
ที่สงฆ์ได้มาให้แก่ภิกษุ. (ป., ส.).
【 จึง, จึ่ง 】แปลว่า: สัน. สําหรับต่อความแสดงกิริยาที่กระทําภายหลัง เช่น กินข้าวแล้ว
จึงไป, แสดงความที่เป็นผลเนื่องจากเหตุข้างหน้า เช่น ทําดีจึงได้ดี.
【 จึ้ง 】แปลว่า: น. เหล็กสําหรับไชรูอย่างหนึ่ง เช่น เกะกะกบไสไชเหล็กจึ้ง.
(ขุนช้างขุนแผน). (ดิกชนารีไทย). (จ. จึ่ง ว่า เจาะ).
【 จืด 】แปลว่า: ว. มีรสไม่เค็มไม่เปรี้ยวเป็นต้น เช่น นํ้าจืด ไข่จืด; ไม่เข้ม เช่น หน้าจืด,
ไม่ฝาด เช่น หมากจืด, ไม่ฉุน เช่น ยาจืด; ไม่สนุก, ไม่ครึกครื้น, เช่น
งานนี้จืด; หมด เช่น อันสมรรถมือผจญ จืดเสี้ยน. (ตะเลงพ่าย).
【 จืดจาง 】แปลว่า: ก. คลายลง, เหินห่าง, เช่น ความสัมพันธ์จืดจาง.
【 จืดชืด 】แปลว่า: ว. ไม่มีรสชาติ, ไม่สนุก, เช่น งานเลี้ยงจืดชืด.
【 จืดตา 】แปลว่า: ว. ไม่เข้ม, ไม่เด่น, เบื่อเพราะชินตา.
【 จื้นเจือก 】แปลว่า: ว. อย่างเต็มตื้น.
【 จุ ๑ 】แปลว่า: ก. มีขนาด ปริมาณ หรือจํานวนบรรจุ เช่น ขวดใบนี้จุน้ำได้ ๑ ลิตร
ลิฟต์นี้จุคนได้ ๑๐ คน. ว. มาก เช่น กินจุ.
【 จุใจ 】แปลว่า: ว. มากจนเป็นที่พอใจ.
【 จุ ๒, จุ ๆ 】แปลว่า: ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงดูดลมเข้าปากเพื่อดุ ห้าม หรือเตือน
เป็นต้น.
【 จุปาก 】แปลว่า: ก. ทำเสียงด้วยปากดังจุ ๆ.
【 จุก ๑ 】แปลว่า: น. ผมเด็ก ๆ ที่ขมวดเอาไว้ตรงขม่อม, ผมจุก หรือ หัวจุก ก็เรียก, ราชาศัพท์
ว่า พระเมาลี หรือ พระโมลี; กลุ่ม, ขมวด, หมวด, (ใช้แก่หัวหอมหัวกระเทียม
เรียกว่า จุกหอม จุกกระเทียม); ลักษณนามเรียกสิ่งที่มัดรวมกันเป็นจุก เช่น
ผูกผม ๒ จุก จุกหอม ๓ จุก.
【 จุก ๒ 】แปลว่า: น. สิ่งที่ใช้อุดปากขวด. ก. อาการที่บังเกิดแน่นอยู่ในอกหรือในท้อง เช่น
กินมากจนจุก; เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งอุดปากขวดเป็นต้น เช่น เอาไม้ก๊อกจุก
ปากขวด, ค้างคาอยู่ที่ช่อง เช่น นั่งจุกประตู ลิ้นจุกปาก, ปิด ใช้ใน
ความเช่น หางจุกตูด.
【 จุกเจ่า 】แปลว่า: ว. เซา, นั่งเหงา, นั่งคุดคู้อยู่, เจ่าจุก ก็ว่า.
【 จุกช่องล้อมวง 】แปลว่า: (โบ) ก. อารักขาพระเจ้าแผ่นดินในเวลาเสด็จประพาสหรือในเหตุ
บางประการเช่นเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงพระประชวร. (จุกช่อง คือ
จัดคนให้รักษาการณ์อยู่ตามช่องทางเช่นตรอก ซอย ปากคลอง
ล้อมวง คือจัดคนให้ล้อมที่ประทับเป็นชั้น ๆ).
【 จุกยา 】แปลว่า: ก. เอายาจืดหรือยาฉุนทําเป็นก้อนกลม ๆ จุกไว้ที่มุมปาก.
【 จุก ๓ 】แปลว่า: น. ส้มจุก. /(ดู ส้ม ๑)./
【 จุ๊กกรู๊ 】แปลว่า: ว. เสียงนกเขาขันคู, กรุกกรู๊ ก็ว่า.
【 จุกจิก 】แปลว่า: ก. รบกวน, กวนใจ, เช่น อย่าจุกจิกนักเลย. ว. จู้จี้ เช่น เขาเป็นคน
จุกจิก; เล็ก ๆ น้อย ๆ, เบ็ดเตล็ดคละกัน, เช่น ในกระเป๋าถือมีแต่
ของจุกจิก, กระจุกกระจิก ก็ว่า.
【 จุกชี 】แปลว่า: [จุกกะชี] น. ฐานปูนสําหรับประดิษฐานพระประธานเป็นต้น, ชุกชี ก็ว่า.
【 จุกผาม 】แปลว่า: [จุกกะผาม] น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง มีตับและม้ามโต มีไข้คลุมเครือเรื้อรัง
คือ ไข้จับสั่นเรื้อรัง, ป้าง ก็เรียก.
【 จุกผามม้ามย้อย 】แปลว่า: น. ชื่อโรคเกิดที่ม้ามทําให้ม้ามย้อยลงมา.
【 จุกพราหมณ์ 】แปลว่า: น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวชนิด /Cymbiola nobilis/ ในวงศ์ Volutidae
เปลือกหนารูปไข่ พื้นผิวด้านนอกมีลายเส้นหยักสีนํ้าตาลไหม้บน
พื้นสีนํ้าตาลอ่อน ปลายยอดเป็นจุกม้วนเป็นวงเหมือนมวยผมของ
พราหมณ์.
【 จุกโรหินี 】แปลว่า: [จุกกะ-] น. ชื่อไม้อิงอาศัยชนิด /Dischidia rafflesiana/ Wall. ในวงศ์
Asclepiadaceae เกาะเลื้อยบนต้นไม้ มีนํ้ายางขาว ใบเป็นรูปถุง
กลวงใน ออกเป็นกระจุก รากใช้ทํายาได้, พุงปลา หรือ พุงปลาช่อน
ก็เรียก, พายัพเรียก กล้วยไม้.
【 จุ่ง 】แปลว่า: ก. จง, คําช่วยกริยาบอกความบังคับหรือความหวัง.
【 จุ้งจัง 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. อาหารอย่างหนึ่ง ทำด้วยปลาเล็ก ๆ หมักเกลือกับ
ข้าวคั่ว อย่างเดียวกับปลาจ่อม ใช้เป็นเครื่องจิ้ม, จิงจัง หรือ จิ้งจัง ก็ว่า.
【 จุ๋งจิ๋ง 】แปลว่า: ก. พูดกันเบา ๆ ทำเสียงเล็กเสียงน้อยน่าเอ็นดู, กระจุ๋งกระจิ๋ง
ก็ว่า. ว. อาการที่พูดกันเบา ๆ ทําเสียงเล็กเสียงน้อยน่าเอ็นดู,
กระจุ๋งกระจิ๋ง ก็ว่า.
【 จุฑา 】แปลว่า: (แบบ) น. จุก, โดยปริยายหมายถึงที่สูงสุดของศีรษะ เช่น ยอด หัว
มงกุฎ, จุฬา ก็ว่า. (ส. จูฑา; ป. จูฬา).
【 จุฑาธิปไตย 】แปลว่า: [-ทิปะไต, -ทิบปะไต] น. พระเจ้าแผ่นดิน เช่น จงมาประสิทธิวจี
พระจุฑาธิปไตย. (ปฐมมาลา).
【 จุฑามณี 】แปลว่า: น. ปิ่น, ราชาศัพท์ว่า พระจุฑามณี; มวยผมของพระพุทธเจ้า;
ชื่อพระธาตุเจดีย์บรรจุพระเกศธาตุของพระพุทธเจ้าอยู่ที่ดาวดึงส์
เรียกว่า จุฑามณีเจดีย์, จุฬามณี ก็ว่า. (ส.; ป. จูฬามณี).
【 จุฑามาศ 】แปลว่า: น. หย่อมผมกลางกระหม่อม. (ส.).
【 จุฑารัตน์ 】แปลว่า: น. เครื่องประดับจุก. (ส.).
【 จุณ 】แปลว่า: (โบ) น. จุรณ, จูรณ, ของที่ป่น, ของที่ละเอียด, ผง. (ป. จุณฺณ; ส. จูรฺณ).
จุณมหาจุณ, จุณวิจุณ (โบ) น. ของที่แหลกละเอียดมาก เช่น แหลก
เป็นจุณมหาจุณ แหลกเป็นจุณวิจุณ, จุรณมหาจุรณ หรือ จุรณวิจุรณ
ก็ว่า.
【 จุณณียบท 】แปลว่า: จุนนียะบด น. บทบาลีเล็กน้อย ที่ยกขึ้นแสดงก่อนเนื้อความ. (ป.).
【 จุด 】แปลว่า: น. รอยหรือแต้มที่มีลักษณะกลม ๆ ปรากฏที่ผิวพื้น; ขีด, ระดับ, ขั้น,
เช่น จุดเดือด จุดเยือกแข็ง, ที่ เช่น จุดหมาย จุดประสงค์; ประเด็น
สําคัญของเรื่องที่พูดหรือถกเถียงกันเป็นต้น เช่น พูดไม่ถูกจุด ตอบ
ไม่ตรงจุด. ก. ทําเครื่องหมายเช่นนั้น เช่น เอาปลายดินสอจุดไว้;
ทําให้ไฟติด เช่น จุดบุหรี่ จุดไฟ.
【 จุดแข็ง 】แปลว่า: น. จุดที่เข้มแข็ง, จุดที่ฝ่ายตรงข้ามจะเอาชนะได้ยาก, ตรงข้ามกับ
จุดอ่อน.
【 จุดจบ 】แปลว่า: น. วาระสุดท้าย, ตอนสุดท้าย; ความตาย.
【 จุดชนวน 】แปลว่า: ก. ก่อเหตุ, เป็นต้นเหตุให้เกิดเรื่องอื่นขึ้นต่อไป, เช่น จุดชนวนสงคราม.
【 จุดเด่น 】แปลว่า: น. สิ่งที่ปรากฏชัดสะดุดตาหรือสะดุดใจ.
【 จุดเดือด 】แปลว่า: น. อุณหภูมิขณะที่ความดันสูงสุดของไอของของเหลวเท่ากับความ
กดของบรรยากาศ ณ อุณหภูมินี้ ของเหลวจะเปลี่ยนสถานะกลาย
เป็นไอได้ทั่วทั้งหมด. (อ. boiling point).
【 จุดไต้ตำตอ 】แปลว่า: (สํา) ก. พูดหรือทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งบังเอิญไปโดนเอาเจ้าตัวหรือผู้ที่เป็น
เจ้าของเรื่องนั้นเข้าโดยผู้พูดหรือผู้ทําไม่รู้ตัว.
【 จุดทศนิยม 】แปลว่า: น. จุดที่ใส่หลังจํานวนเต็มและหน้าเศษตามวิธีทําเลขแบบทศนิยม.
【 จุดน้ำค้าง 】แปลว่า: น. อุณหภูมิที่ไอนํ้าในอากาศเกิดการอิ่มตัวและเริ่มควบแน่นเป็น
หยดนํ้า. (อ. dew point).
【 จุดบอด 】แปลว่า: น. บริเวณที่เครื่องมือสื่อสารรับสัญญาณได้ไม่ชัด, บริเวณหลัง
ลูกตาที่ไม่รับแสง, บริเวณที่ควรจะมองเห็นแต่ไม่สามารถมอง
เห็นได้เช่น ทางโค้งนี้มีจุดบอด ทำให้เกิดอุบัติเหตุรถชนกันบ่อย ๆ,
จุดของปัญหาที่ไม่สามารถตัดสินใจหรือแยกแยะได้อย่างชัดเจน
อาจจะเนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้เป็นต้น, โดย
ปริยายหมายถึงสภาวะที่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้.
【 จุดประสงค์ 】แปลว่า: น. ผลที่ประสงค์ให้บรรลุ เช่น การแข่งขันกีฬาครั้งนี้มีจุดประสงค์
เพื่อสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ, วัตถุประสงค์ ก็ว่า.
【 จุดยืน 】แปลว่า: น. ความคิดแน่วแน่, ความมั่นคงในหลักการตามความคิด
ความเชื่อของตน.
【 จุดยุทธศาสตร์ 】แปลว่า: น. พื้นที่และสถานที่ตั้งที่มีความสำคัญในทางการเมือง เศรษฐกิจ
จิตวิทยา และกำลังรบทางทหารทั้งในยามสงบและยามสงคราม.
【 จุดเยือกแข็ง 】แปลว่า: น. อุณหภูมิที่เกิดภาวะสมดุลระหว่างของแข็งกับของเหลว ณ
ความกดมาตรฐาน ๑ บรรยากาศ, อุณหภูมิที่ของเหลวเปลี่ยน
สถานะเป็นของแข็ง ณ ความกดมาตรฐาน ๑ บรรยากาศ,
(อุณหภูมินี้เป็นอุณหภูมิเดียวกับจุดหลอมเหลวของสารเดียวกัน).
(อ. freezing point).
【 จุดรวม 】แปลว่า: น. จุดกลางซึ่งเป็นที่รวมของคน สิ่งของ หรือความรู้สึกนึกคิดเป็นต้น,
จุดศูนย์กลาง ก็ว่า.
【 จุดลูกน้ำ 】แปลว่า: น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ , สำหรับคั่นวรรคตอนของข้อความ,
จุลภาค ก็เรียก.
【 จุดศูนย์กลาง 】แปลว่า: (คณิต) น. จุดที่อยู่ตรงใจกลางของวงกลมหรือวงรี ซึ่งเป็นจุดกึ่งกลาง
ของคอร์ดทุกเส้นที่ผ่านจุดนั้น, จุดรวม.
【 จุดศูนย์ถ่วง 】แปลว่า: น. จุดซึ่งแนวของนํ้าหนักของก้อนเทหวัตถุนั้นผ่านดิ่งลง ไม่ว่าก้อน
เทหวัตถุนั้นจะอยู่ในลักษณะใดก็ตาม, จุดศูนย์กลางของความถ่วง
ก็ว่า. (อ. centre of gravity).
【 จุดสะเทิน 】แปลว่า: (ฟิสิกส์) น. บริเวณเล็ก ๆ ที่เป็นกลาง.
【 จุดสัมผัส 】แปลว่า: (คณิต) น. จุดที่เส้นสัมผัสแตะเส้นโค้ง. (อ. point of contact).
【 จุดหมาย, จุดหมายปลายทาง 】แปลว่า: น. จุดหรือสภาวะที่ต้องพยายามไปให้ถึง, จุดหรือสภาวะที่ตั้งใจจะให้
บรรลุถึง, เช่น การเดินทางครั้งนี้มีจุดหมายที่จังหวัดสุโขทัย คนเรามี
ความสุขเป็นจุดหมายในชีวิต.
【 จุดหลอมเหลว 】แปลว่า: น. อุณหภูมิที่เกิดภาวะสมดุลระหว่างของแข็งกับของเหลว ณ ความกด
มาตรฐาน ๑ บรรยากาศ, อุณหภูมิที่ของแข็งเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว
ณ ความกดมาตรฐาน ๑ บรรยากาศ, (อุณหภูมินี้เป็นอุณหภูมิเดียวกับ
จุดเยือกแข็งของสารเดียวกัน). (อ. melting point).
【 จุดหลัง 】แปลว่า: ก. เอาเล็บจิกหรือกดตุ่มหรือผื่นที่หลังเพื่อแก้คันเป็นต้น.
【 จุดเหี่ยวเฉา 】แปลว่า: น. ขีดขั้นที่กําหนดปริมาณนํ้าในดินน้อยที่สุดเท่าที่พืชจะสามารถ
นําไปเลี้ยงลําต้นได้โดยไม่เหี่ยวเฉา ถ้ามีปริมาณนํ้าในดินน้อย
กว่านั้น พืชจะเหี่ยวเฉาทันที.
【 จุดอ่อน 】แปลว่า: น. จุดอ่อนแอ, จุดที่ฝ่ายตรงข้ามจะเอาชนะได้โดยง่าย, ตรงข้าม
กับจุดแข็ง.
【 จุดอิ่มตัว 】แปลว่า: น. ขีดขั้นที่อากาศสามารถรับไอนํ้าไว้ได้เต็มที่ ณ อุณหภูมิใดอุณหภูมิ
หนึ่ง ถ้าได้รับเกินขีดขั้นนี้ ไอนํ้าที่ได้รับเกินมาจะควบแน่นเป็นหยดนํ้า.
(อ. saturation point).
【 จุติ 】แปลว่า: [จุ-ติ, จุดติ] ก. เคลื่อน, เปลี่ยนสภาพจากกำเนิดหนึ่งไปเป็นอีก
กำเนิดหนึ่ง, (มักใช้แก่เทวดา). (ป.; ส. จฺยุติ).
【 จุตูปปาตญาณ 】แปลว่า: -ตูปะปาตะยาน น. ความรู้ในจุติและเกิดของสัตว์ทั้งหลาย,
ทิพยจักษุญาณ ก็เรียก. (ป.; ส. จฺยุตฺยุตฺปาตชฺ?าน).
【 จุทสะ 】แปลว่า: จุดทะสะ ว. สิบสี่. (ป. จุทฺทส; ส. จตุรทศ).
【 จุทสมสุรทิน 】แปลว่า: น. วันที่ ๑๔ ทางสุริยคติ.
【 จุน 】แปลว่า: ก. คํ้าหรือยันเพื่อปะทะปะทังไว้.
【 จุนเจือ 】แปลว่า: ก. อุดหนุน, เผื่อแผ่.
【 จุ่น 】แปลว่า: ว. ลักษณะสะดือที่โปนออกมา เรียกว่า สะดือจุ่น.
【 จุ้น ๑ 】แปลว่า: น. ที่รองภาชนะเช่นถ้วยหรือป้าน ทําด้วยไม้หรือกระเบื้องเป็นต้น.
【 จุ้น ๒ 】แปลว่า: (ปาก) ก. จุ้นจ้าน.
【 จุ้นจ้าน 】แปลว่า: ก. เข้าไปยุ่งเกี่ยวในสถานที่หรือในเรื่องที่ไม่ใช่หน้าที่ของตัวจน
น่าเกลียด, (ปาก) จุ้น.
【 จุ้นจู๊ 】แปลว่า: น. ผู้จัดการเรือ, หัวหน้าและผู้จัดการเรื่องสินค้าในเรือ. (จ.).
【 จุนจู๋ 】แปลว่า: ว. หดตัวเข้าไปมาก, สั้นมาก ในคําว่า สั้นจุนจู๋, จู๋ ก็ว่า.
【 จุนทการ 】แปลว่า: จุนทะกาน น. ช่างกลึง. (ป.; ส. กุนฺทกร).
【 จุนสี 】แปลว่า: [จุนนะสี] น. เกลือปรกติชนิดหนึ่ง ชื่อ คิวปริกซัลเฟต (CuSO4)
เมื่อเป็นผลึก มีสูตร CuSO4•5H2O ลักษณะเป็นผลึกสีนํ้าเงิน
ใช้ประโยชน์ในการชุบทองแดงด้วยไฟฟ้า ใช้เป็นสารฆ่าเชื้อรา
ฆ่าลูกนํ้า, คนทั่วไปเข้าใจว่าเกิดจากสนิมทองแดง.
【 จุบ 】แปลว่า: ก. เอาปากดูดโดยเร็วและแรง, อาการที่ปลาทําอย่างนั้น เรียกว่า
ปลาจุบ.
【 จุ๊บ ๑ 】แปลว่า: ว. เสียงอย่างเสียงดูดปาก. ก. (ปาก) จูบ, ดูด.
【 จุ๊บ ๒ 】แปลว่า: น. หลอดสําหรับรับของไหลเช่นลมหรือไอนํ้าเป็นต้นให้ผ่านเข้าไป.
(อ. tube).
【 จุบจิบ 】แปลว่า: ว. อาการที่กินพร่ำเพรื่อทีละเล็กทีละน้อย, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ กิน
เป็น กินจุบกินจิบ, โบราณใช้ว่า กระจุบกระจิบ ก็มี.
【 จุ๊บแจง ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวชนิด /Cerithidea obtusa/ ในวงศ์
Potamididae เปลือกผิวขรุขระเวียนเป็นวง รูปร่างค่อนข้าง
ยาว ปลาย แหลม สีเทาอมดํา.
【 จุ๊บแจง ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
【 จุ่ม 】แปลว่า: ก. เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งจ่อมลงไปในของเหลวแล้วยกขึ้น เช่น เอาผ้าจุ่มนํ้า.
【 จุ้ม 】แปลว่า: ก. เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งชุบหรือจุ่มลงไปในของเหลว เช่น เอาปากกาจุ้มหมึก.
【 จุ๋มจิ๋ม 】แปลว่า: ว. เล็ก ๆ น้อย ๆ น่าเอ็นดู, กระจุ๋มกระจิ๋ม ก็ว่า.
【 จุมพฏ 】แปลว่า: [-พด] น. เสวียน; รัดเกล้า, เทริด; ของที่เป็นวง. (ป.).
【 จุมพรวด 】แปลว่า: น. ชื่อปลาน้ำกร่อยหลายชนิดและหลายสกุลในวงศ์ Periophthalmidae
เช่น สกุล /Boleophthalmus, Pseudapocryptes, Parapocryptes/ชนิด
/B. boddarti/ พบตามหาดเลนหรือชายฝั่งทะเล รูปร่างและพฤติกรรมใน
การเคลื่อนไหวคล้ายปลากระจัง, กำพวด กำพุด ตีน หรือ ตุมพรวด ก็เรียก.
【 จุมพล 】แปลว่า: จุมพน น. จอมพล, นายทัพ, ผู้เป็นใหญ่กว่าพล.
【 จุมพิต 】แปลว่า: [-พิด] ก. จูบ. (ป.; ส. จุมฺพิต ว่า จูบด้วยปาก).
【 จุมโพล่ 】แปลว่า: [-โพฺล่] น. ฝาปิดช่องบันไดหรือช่องทางขึ้นลงเรือดำน้ำหรือที่ดาดฟ้าเรือ.
【 จุ้ย 】แปลว่า: ว. เล็ก, น้อย, เช่น พระจอมจุ้ย.
【 จุรณ, จูรณ 】แปลว่า: [จุน, จูน] น. ของที่ป่น, ของที่ละเอียด, ผง, เช่น แหลกเป็นจุรณ, โบราณ
เขียนเป็น จุณ ก็มี. (ส. จูรฺณ; ป. จุณฺณ).
【 จุรณมหาจุรณ, จุรณวิจุรณ 】แปลว่า: [จุนมะหาจุน, จุนวิจุน] น. ของที่แหลกละเอียดมาก เช่น แหลกเป็น
จุรณมหาจุรณ แหลกเป็นจุรณวิจุรณ, โบราณเขียนเป็น จุณมหาจุณ
หรือ จุณวิจุณ ก็มี.
【 จุรี 】แปลว่า: (กลอน) น. มีด, หอก, ดาบ. (ข. จรี ว่า มีด, หอก, ดาบ).
【 จุไร 】แปลว่า: น. ไรจุก, ไรผม, (ราชา) พระจุไร.
【 จุล- 】แปลว่า: [จุนละ-] ว. เล็ก, น้อย, (มักใช้นําหน้าคําสมาส) เช่น จุลศักราช จุลพน.
(ป. จุลฺล).
【 จุลกฐิน 】แปลว่า: น. เรียกพิธีทอดกฐินที่ต้องทําตั้งแต่ปั่นฝ้าย ทอ เย็บ ย้อมผ้ากฐิน
และถวายสงฆ์ให้เสร็จในวันเดียว, โดยปริยายหมายความว่า งาน
ที่ต้องทําอย่างชุลมุนวุ่นวายเพื่อให้เสร็จทันเวลาอันจํากัด.
【 จุลชีพ, จุลชีวัน, จุลชีวิน, จุลินทรีย์ 】แปลว่า: น. สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น
【 ต้องดูด้วยกล้อง 】แปลว่า:
จุลทรรศน์ ส่วนมากมีเซลล์เดียว. (อ. microbe, micro-organism).
【 จุลทรรศน์ 】แปลว่า: น. กล้องขยายดูของเล็กที่ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า.
(อ. microscope).
【 จุลพน 】แปลว่า: [จุนละ-] น. ชื่อกัณฑ์ที่ ๖ ของมหาชาติ.
【 จุลภาค 】แปลว่า: น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ , สำหรับคั่นวรรคตอนของข้อความ,
จุดลูกนํ้า ก็เรียก; ภาคเล็ก.
【 จุลวรรค 】แปลว่า: น. ชื่อคัมภีร์ที่ ๔ ในพระวินัยปิฎก; ชื่อมาตราปักษคณนา คือ ปักษ์ถ้วน
๓ ปักษ์ ปักษ์ขาด ๑ ปักษ์ เป็นจุลวรรค.
【 จุลศักราช 】แปลว่า: น. ศักราชน้อย เริ่มตั้งภายหลังพุทธศักราช ๑๑๘๑ ปี (พุทธศักราช
ลบด้วย ๑๑๘๑ เท่ากับจุลศักราช).
【 จุลสาร 】แปลว่า: น. สิ่งตีพิมพ์ที่บอกเรื่องต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ออกมาเป็นคราว ๆ ไม่มี
กําหนดเวลาแน่นอน.
【 จุลอุปรากร 】แปลว่า: น. ละครประเภทหนึ่ง มีดนตรีเป็นส่วนประกอบสำคัญดำเนินเรื่อง
ด้วยการร้องเพลงผสมวงดุริยางค์คล้ายอุปรากรแต่มีบทสนทนา
เนื้อเรื่องมีความร่าเริงขบขัน และมักจบลงด้วยความสุข.
(อ. operetta).
【 จุลจอมเกล้า 】แปลว่า: [จุนละ-] น. ชื่อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลหนึ่ง สร้างขึ้นครั้งแรก
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.
【 จุลวงศ์ 】แปลว่า: [จุนละ-] น. ชื่อหนังสือพงศาวดารลังกา แต่งเป็นภาษาบาลีต่อจาก
มหาวงศ์ ตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าสิริเมฆวรรณจนถึงลังกาถูกอังกฤษ
ยึดครอง.
【 จุฬา ๑ 】แปลว่า: น. จุก, โดยปริยายหมายถึงที่สูงสุดของศีรษะ เช่น ยอด หัว มงกุฎ,
จุฑา ก็ว่า. (ป. จูฬา; ส. จูฑา).
【 จุฬามณี 】แปลว่า: น. ปิ่น; มวยผมของพระพุทธเจ้า; ชื่อพระธาตุเจดีย์บรรจุพระเกศธาตุ
ของพระพุทธเจ้าอยู่ที่ดาวดึงส์ เรียกว่า จุฬามณีเจดีย์, จุฑามณี ก็ว่า.
(ป.; ส. จูฑามณี).
【 จุฬาลักษณ์ 】แปลว่า: ว. มีลักษณะเลิศ, โฉมงาม.
【 จุฬา ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อว่าวชนิดหนึ่ง มีรูปร่าง ๕ แฉก หัวแหลม, คู่กับ ว่าวปักเป้า,
ว่าวกุลา ก็เรียก.
【 จุฬาราชมนตรี 】แปลว่า: น. ตำแหน่งผู้นำสูงสุดทางด้านการบริหารกิจการมุสลิมในประเทศไทย
เป็นที่ปรึกษาทางราชการเกี่ยวกับกิจการมุสลิมทั้งปวง.
【 จุฬาลัมพา, จุฬาลำพา 】แปลว่า: น. โกฐจุฬาลัมพา. /(ดู โกฐจุฬาลัมพา, โกฐจุฬาลําพา ที่ โกฐ)./
【 จู 】แปลว่า: น. ชื่อหมาชนิดหนึ่งตัวเล็ก ๆ ขนยาวปุกปุย เรียกว่า หมาจู.
【 จู่ 】แปลว่า: ก. กรากหรือรี่เข้าใส่โดยไม่รู้ตัว. ว. ตรงถึง, ไม่รั้งรอ.
【 จู่ ๆ 】แปลว่า: ว. ไม่บอกกล่าวล่วงหน้า เช่น จู่ ๆ ก็มา.
【 จู่โจม 】แปลว่า: ก. เข้ากระทําการโดยไม่ให้รู้ตัว.
【 จู่ลู่ 】แปลว่า: ก. รี่เข้าไปตามทาง (ลู่ ว่า ทาง), ถลันเข้าไป; โดยปริยายหมายความว่า
ดูถูก.
【 จู้ ๑ 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. นม, ใช้ว่า นมจู้ เช่น มาฉกชักผ้าห่มชมชู นมจู้เจ้าเณรนี้
ราคี. (ขุนช้างขุนแผน). (ถิ่น-พายัพ) ก. จี้, จ่อ, ไช.
【 จู้ ๒ 】แปลว่า: น. เครื่องดักปลาไหลชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ รูปคล้ายหม้อคอสูง
มีงาแซงอยู่ริมก้น ห้อยเหยื่อไว้ภายใน, กระจู้ หรือ อีจู้ ก็มี.
【 จู๋ 】แปลว่า: ว. หดตัวเข้าไปมาก, สั้นมาก ในคําว่า สั้นจู๋, จุนจู๋ ก็ว่า; อาการที่
ห่อปากเข้ามา เช่น ทําปากจู๋.
【 จูง 】แปลว่า: ก. พาไปด้วยอาการคล้ายดึงหรือฉุด เช่น จูงควาย จูงเด็ก. น. ชื่อวัย
ของเด็กระหว่างวัยอุ้มกับวัยแล่น เรียกว่า วัยจูง.
【 จูงจมูก 】แปลว่า: ก. อาการที่จับเชือกที่สนตะพายจมูกวัวควายแล้วจูงไป, โดยปริยาย
ใช้แก่คนว่า ถูกจูงจมูก หมายความว่า ถูกเขาชักนําไปโดยไม่ใช้
ความคิดของตน.
【 จูงใจ 】แปลว่า: ก. ชักนําหรือเกลี้ยกล่อมเพื่อให้เห็นคล้อยตาม เช่น พูดจูงใจ.
【 จูงนางเข้าห้อง 】แปลว่า: น. ชื่อการเล่นชนิดหนึ่ง ใช้เบี้ยทอดแล้วเดินตามช่องในรูปเป็นวง
อย่างก้นหอย.
【 จูงนางลีลา 】แปลว่า: น. ชื่อท่ารําชนิดหนึ่งที่ควาญช้างรําเมื่อนําช้างบํารูงาเสร็จครั้งแรกแล้ว.
【 จูงมือ 】แปลว่า: ก. จับมือพากันไป.
【 จู้จี้ ๑ 】แปลว่า: ก. งอแง เช่น เด็กจู้จี้, บ่นจุกจิกรํ่าไร เช่น คนแก่จู้จี้; พิถีพิถันเกินไป เช่น
ซื้อของเลือกแล้วเลือกอีกจู้จี้มาก.
【 จู้จี้ ๒ 】แปลว่า: /ดู จี่ ๒/.
【 จู๋จี๋ 】แปลว่า: ก. พูดกันเบา ๆ ด้วยอาการสนิทสนม, กระจู๋กระจี๋ ก็ว่า. ว. อาการ
ที่พูดกันเบา ๆ ด้วยความสนิทสนม, กระจู๋กระจี๋ ก็ว่า.
【 จู๊ด 】แปลว่า: ว. อาการที่พุ่งตัวออกไปโดยเร็ว เช่น วิ่งจู๊ด พุ่งจู๊ด.
【 จูบ 】แปลว่า: ก. เอาจมูกสัมผัสสูดแสดงความรักหรือความใคร่.
【 จูบฝุ่น 】แปลว่า: (ปาก) ก. หกล้มหน้าควํ่า.
【 เจ 】แปลว่า: น. อาหารที่ไม่ปรุงด้วยเนื้อสัตว์ และผักบางชนิดเช่นกระเทียม กุยช่าย
ผักชี, แจ ก็ว่า. (จ. ว่า แจ).
【 เจ๊ก 】แปลว่า: (ปาก) น. คําเรียกคนจีน.
【 เจ๊กตื่นไฟ 】แปลว่า: (ปาก) ว. ตื่นตกใจและเอะอะโวยวายเกินกว่าเหตุ.
【 เจ่ง ๑ 】แปลว่า: (โบ) น. ช้าง.
【 เจ่ง ๒, เจ้ง 】แปลว่า: น. เครื่องดนตรีจีนชนิดหนึ่ง มีสายสําหรับดีด คล้ายจะเข้. (จ. ว่า เจ็ง).
【 เจ๊ง 】แปลว่า: (ปาก) ก. เลิกล้มกิจการเพราะหมดทุน; สิ้นสุด. (จ.).
【 เจ๋ง 】แปลว่า: (ปาก) ว. ยอดเยี่ยม, ดีเลิศ.
【 เจ็ด 】แปลว่า: น. จํานวนหกบวกหนึ่ง; ชื่อเดือนจันทรคติ เรียกว่า เดือน ๗ ตกในราว
เดือนมิถุนายน; (โบ) เรียกลูกชายคนที่ ๗ ว่า ลูกเจ็ด, คู่กับ ลูกหญิง
คนที่ ๗ ว่า ลูกเอก. (กฎ. ๒/๒๖).
【 เจ็ดชั่วโคตร 】แปลว่า: น. วงศ์สกุลที่สืบสายโลหิต ซึ่งนับตั้งแต่ตัวเองขึ้นไป ๓ ชั้น คือ ชั้นพ่อ
ชั้นปู่ และชั้นทวด กับนับจากตัวเองลงมาอีก ๓ ชั้น คือ ชั้นลูก ชั้นหลาน
และชั้นเหลน รวมเป็นเจ็ดชั่วโคตร ไม่นับผู้หญิงรวมด้วย.
【 เจ็ดตะคลี 】แปลว่า: [-คฺลี] น. ผ้าลายอย่างดีชนิดหนึ่ง, เขียนเป็น เจตตะคลี หรือ เจ็ตคลี ก็มี.
【 เจดีย-, เจดีย์ ๑ 】แปลว่า: [-ดียะ-] น. สิ่งซึ่งก่อเป็นรูปคล้ายลอมฟาง มียอดแหลม บรรจุสิ่งที่
นับถือมีพระธาตุเป็นต้น, สิ่งหรือบุคคลที่เคารพนับถือ. (ป. เจติย;
ส. ไจตฺย).
【 เจดียฐาน, เจดียสถาน 】แปลว่า: น. สถานที่เคารพเช่นที่ประดิษฐานพระพุทธปฏิมา พระพุทธบาท
พระพุทธฉายา และพระบรมสารีริกธาตุ.
【 เจดีย์ทิศ 】แปลว่า: น. เจดีย์บริวารตั้งอยู่บนฐานไพทีหรือลานประทักษิณล้อมเจดีย์ประธาน
มี ๔ องค์ เหมือนดังประจำทิศต่าง ๆ ตามคตินิยมทางจักรวาล.
【 เจดีย์ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวหลายชนิดในวงศ์ Turritellidae เปลือกเวียน
เป็นเกลียวสูงหลายชั้น ยอดแหลมคล้ายเจดีย์ เช่น ชนิด /Turritella terebra/.
【 เจต, เจต- 】แปลว่า: [เจด, เจตะ-, เจดตะ-] น. สิ่งที่คิด, ใจ. (ป.; ส. เจตสฺ).
【 เจตคติ 】แปลว่า: [เจตะ-] น. ท่าทีหรือความรู้สึกของบุคคลต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง. (อ. attitude).
【 เจตจำนง 】แปลว่า: [เจด-] น. ความตั้งใจมุ่งหมาย, ความจงใจ.
【 เจตภูต 】แปลว่า: [เจดตะพูด] น. สภาพเป็นผู้คิดอ่าน คือ มนัส, ที่เรียกในภาษาสันสกฤต
ว่าอาตมัน เรียกในภาษาบาลีว่า “อัตตา” ก็มี “ชีโว” ก็มี, มีอยู่ในลัทธิว่า
ในโลกนี้ไม่มีอะไรสูญ แม้คนและสัตว์ตายแล้ว ร่างกายเท่านั้นทรุดโทรม
ไป, ส่วนเจตภูตเป็นธรรมชาติไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกําเนิดอื่นสืบไป
ลัทธินี้ทางพระพุทธศาสนาจัดเป็นสัสตทิฐิ แปลว่า ความเห็นว่าเที่ยง,
ตามสามัญที่เข้าใจกัน เจตภูต คือวิญญาณที่สิงอยู่ในตัวคน กล่าวกันว่า
ออกจากร่างได้ในเวลานอนหลับ.
【 เจตนา 】แปลว่า: [เจดตะนา] ก. ตั้งใจ, จงใจ, มุ่งหมาย. น. ความตั้งใจ, ความจงใจ,
ความมุ่งหมาย. (ป., ส.).
【 เจตนารมณ์ 】แปลว่า: น. ความมุ่งหมาย.
【 เจตพังคี 】แปลว่า: [เจดตะ-] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Cladogynos orientalis/ Zipp. ex Span.
ในวงศ์ Euphorbiaceae ท้องใบขาว รากใช้ทํายาได้.
【 เจตมูลเพลิง 】แปลว่า: [เจดตะ-] น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล /Plumbago/ วงศ์
Plumbaginaceae เช่น เจตมูลเพลิงแดง (/P. indica/ L.) ดอกสีแดง
และ เจตมูลเพลิงขาว (/P. zeylanica/ L.) ดอกสีขาว, รากของทั้ง ๒ ชนิด
มีรสเผ็ดร้อน ใช้ทํายาได้.
【 เจตมูลเพลิงฝรั่ง 】แปลว่า: /ดู พยับหมอก ๒/.
【 เจตสิก 】แปลว่า: [เจตะ-, เจดตะ-] น. อารมณ์ที่เกิดกับใจ. ว. เป็นไปในจิต เช่น สุขหรือทุกข์
ที่เกิดในจิต. (ป.; ส. ไจตสิก).
【 เจติย- 】แปลว่า: -ติยะ- น. เจดีย์. (ป.).
【 เจโตวิมุติ 】แปลว่า: -วิมุด น. ความหลุดพ้นด้วยอํานาจแห่งจิต เป็นโลกุตรธรรม
ประการหนึ่ง, คู่กับ ปัญญาวิมุติ. (ป. เจโตวิมุตฺติ).
【 เจน 】แปลว่า: ว. คุ้น, ชิน, เช่น เจนตา, ชํานาญ เช่น เจนสังเวียน, จําได้แม่นยํา
เช่น เจนทาง.
【 เจนจบ 】แปลว่า: ว. ชํานาญทั่ว, รอบรู้, ได้พบได้เห็นมามาก.
【 เจนจัด 】แปลว่า: ก. สันทัด, ชํานาญ, มีประสบการณ์มาก, จัดเจน ก็ว่า.
【 เจนใจ 】แปลว่า: ว. ขึ้นใจ, แม่นยําในใจ.
【 เจนเวที 】แปลว่า: ก. ขึ้นเวทีมามากแล้ว, โดยปริยายหมายความว่า มีความชำนาญ,
ช่ำชอง.
【 เจนสนาม 】แปลว่า: ก. ออกสนามมามากแล้ว, โดยปริยายหมายความว่า มีความชำนาญ,
ช่ำชอง.
【 เจนสังเวียน 】แปลว่า: ก. ขึ้นชกบนสังเวียนบ่อย, โดยปริยายหมายความว่า มีความชำนาญ,
ช่ำชอง.
【 เจ็บ 】แปลว่า: ก. ป่วยไข้, ราชาศัพท์ว่า ประชวร; รู้สึกทางกายเมื่อถูกทุบตีหรือ
เป็นแผลเป็นต้น.
【 เจ็บไข้, เจ็บป่วย 】แปลว่า: ก. ไม่สบายเพราะโรคหรือความไข้หรือเหตุอื่นที่ทําให้รู้สึกเช่นนั้น,
เจ็บไข้ได้ป่วย ก็ว่า.
【 เจ็บแค้น 】แปลว่า: ก. ผูกใจเจ็บ.
【 เจ็บใจ 】แปลว่า: ก. ชํ้าใจ.
【 เจ็บช้ำน้ำใจ 】แปลว่า: ก. เจ็บใจ, สะเทือนใจ.
【 เจ็บท้อง 】แปลว่า: ก. อาการเจ็บท้องเวลาจะคลอดลูก.
【 เจ็บท้องข้องใจ 】แปลว่า: (โบ) ก. เดือดเนื้อร้อนใจ. (จารึกพ่อขุนรามคำแหง).
【 เจ็บปวด 】แปลว่า: ก. รู้สึกเจ็บใจเพราะผิดหวัง.
【 เจ็บร้อน 】แปลว่า: ก. เป็นเดือดเป็นแค้น.
【 เจ็บแสบ 】แปลว่า: ก. รู้สึกเจ็บใจอย่างเผ็ดร้อน.
【 เจรจา 】แปลว่า: [เจนระจา] ก. พูด, พูดจากัน, พูดจากันเป็นทางการ. (ส. จรฺจา).
【 เจริญ 】แปลว่า: [จะเริน] ก. เติบโต, งอกงาม, ทําให้งอกงาม, เช่น เจริญทางพระราชไมตรี
เจริญสัมพันธไมตรี, มากขึ้น; ทิ้ง เช่น เจริญยา, จำเริญยา ก็ว่า; ตัด เช่น
เจริญเกศา, จำเริญเกศา ก็ว่า; สาธยาย, สวด, (ในงานมงคล) เช่น
เจริญพระพุทธมนต์.
【 เจริญตาเจริญใจ 】แปลว่า: ว. งาม, ต้องตาต้องใจ.
【 เจริญพร 】แปลว่า: เป็นคําเริ่มที่ภิกษุสามเณรพูดกับสุภาพชน และเป็นคํารับ.
【 เจริญพันธุ์ 】แปลว่า: ว. มีความสามารถในการสืบพันธุ์และแพร่พันธุ์.
【 เจริญรอย 】แปลว่า: ก. ประพฤติ เช่น เจริญรอยตามผู้ใหญ่.
【 เจริญสมณธรรม 】แปลว่า: ก. บําเพ็ญสมณธรรม.
【 เจริญอาหาร 】แปลว่า: ก. บริโภคอาหารได้มาก. ว. ที่ทําให้บริโภคอาหารได้มากเช่น
ยาเจริญอาหาร.
【 เจริด 】แปลว่า: จะเหฺริด ว. งาม, เชิด, สูง, เช่น ป่านั้นเจริดจรุงใจก็มี.
(ม. คําหลวง มหาพน).
【 เจรียง 】แปลว่า: จะเรียง ก. ขับลํา, ขับกล่อม, ร้องเพลง. (ข. เจฺรียง).
【 เจลียง 】แปลว่า: [จะเลียง] น. ชื่อไข้ที่มีอาการจับวันเว้นวัน.
【 เจว็ด 】แปลว่า: [จะเหฺว็ด] น. แผ่นไม้รูปคล้ายใบเสมา เขียนหรือแกะเป็นรูปเทพารักษ์
ประดิษฐานไว้ในศาลพระภูมิหรือศาลเจ้า มักทำเป็นรูปเทวดาถือ
พระขรรค์, โดยปริยายหมายความว่า ผู้ที่ได้รับยกย่องให้เป็นประธาน
หรือเป็นใหญ่ แต่ไม่มีอำนาจ เช่น ตั้งเป็นเจว็ดขึ้นไว้, ใช้ว่า ตระเว็ด หรือ
เตว็ด ก็มี.
【 เจษฎา ๑ 】แปลว่า: [เจดสะดา] น. ผู้เป็นใหญ่ที่สุด, พี่. (ป. เชฏ?; เชฺยษฺ?).
【 เจษฎา ๒ 】แปลว่า: [เจดสะดา] น. การเคลื่อนไหวอวัยวะ, การไหวมือและเท้า, ท่ารํา;
กรรม, การทําด้วยตั้งใจ, การประพฤติ, การตั้งใจทํา, เช่น ภูบาล
ทุกทวี- ปก็มาด้วยเจษฎา. (สมุทรโฆษ). (ส. เจษฺฏา).
【 เจ๊สัว 】แปลว่า: น. คนที่มั่งมี (มักหมายถึงเศรษฐีจีน), เจ้าขรัว หรือ เจ้าสัว ก็เรียก.
【 เจอ, เจอะ 】แปลว่า: ก. พบ, เห็น, ประสบ, ประจวบ.
【 เจ่อ 】แปลว่า: ก. อาการที่ปากบวมยื่นออกมาหรือมีลักษณะเช่นนั้น.
【 เจ๋อ, เจ๋อเจ๊อะ 】แปลว่า: ก. เสนอหน้าเข้าไปในสถานที่ไม่สมควรเมื่อเขาไม่ต้องการหรือ
มิได้เรียกหา.
【 เจอร์เมเนียม 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๓๒ สัญลักษณ์ Ge เป็นโลหะสีขาว เปราะ หลอมละลาย
ที่ ๙๓๗.๔?ซ. มีสมบัติเป็นกึ่งตัวนํา สารประกอบแมกนีเซียมเจอร์เมเนต
ใช้ประโยชน์ในหลอดวาวแสง (fluorescent lamp). (อ. germanium).
【 เจา 】แปลว่า: (โบ) น. เรียกลูกชายคนที่ ๙ ว่า ลูกเจา, คู่กับ ลูกหญิงคนที่ ๙ ว่า ลูกเอา.
(กฎ. ๒/๒๖).
【 เจ่า ๑ 】แปลว่า: น. อาหารชนิดหนึ่ง ทำด้วยกุ้งหรือปลาประสมด้วยข้าวหมาก เรียกว่า
กุ้งเจ่า ปลาเจ่า, ถ้าหลนกับกะทิ เรียกว่า หลนกุ้งเจ่า หลนปลาเจ่า
ใช้เป็นเครื่องจิ้ม.
【 เจ่า ๒ 】แปลว่า: ว. อาการที่เกาะ จับ หรือนั่งอย่างหงอยเหงา เช่น นกจับเจ่า นั่งเจ่า,
อยู่ในที่จํากัดไปไหนมาไหนไม่ได้ เช่น นํ้าท่วมต้องนั่งเจ่าอยู่กับบ้าน.
【 เจ่าจุก 】แปลว่า: ว. เซา, นั่งเหงา, นั่งคุดคู้อยู่, จุกเจ่า ก็ว่า.
【 เจ้า ๑ 】แปลว่า: น. ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, เช่น เจ้านคร; เชื้อสายของกษัตริย์นับตั้งแต่
ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป, บางแห่งหมายถึงพระเจ้าแผ่นดินก็มี เช่น เจ้ากรุงจีน;
ผู้เป็นเจ้าของ เช่น เจ้าทรัพย์ เจ้าหนี้; ผู้ชํานาญ เช่น เจ้าปัญญา เจ้าความคิด
เจ้าบทเจ้ากลอน; มักใช้เติมท้ายคําเรียกผู้ที่นับถือ เช่น พระพุทธเจ้า เทพเจ้า;
เทพารักษ์ เช่น เจ้าพ่อหลักเมือง.
【 เจ้ากรม 】แปลว่า: น. หัวหน้ากรมในราชการฝ่ายทหาร, (โบ) หัวหน้ากรมในราชการฝ่าย
พลเรือน เช่น เจ้ากรมสวนหลวง. (สามดวง), หัวหน้ากรมของเจ้าต่างกรม.
【 เจ้ากรรม 】แปลว่า: น. ผู้เคยมีกรรมมีเวรต่อกันมาแต่ชาติก่อน, เจ้ากรรมนายเวร ก็ว่า.
ว. ที่ทำให้ผิดหวังหรือได้รับความเดือดร้อน เช่น รถเจ้ากรรมเกิดเสีย
ขึ้นกลางทางเลยไปไม่ทัน เด็กเจ้ากรรมวิ่งมาชนเกือบหกล้ม. อ. คำ
กล่าวแสดงความผิดหวังเพราะเกิดอุบัติเหตุโดยไม่คาดคิดมาก่อน
เป็นต้น เช่น เจ้ากรรมแท้ ๆ รถมาเสียเอาตอนฝนตกเสียด้วย.
【 เจ้ากรรมนายเวร 】แปลว่า: น. ผู้เคยมีกรรมมีเวรต่อกันมาแต่ชาติก่อน, เจ้ากรรม ก็ว่า.
【 เจ้ากระทรวง 】แปลว่า: น. ผู้บังคับบัญชากระทรวง ได้แก่ รัฐมนตรี และ ปลัดกระทรวง.
【 เจ้ากี้เจ้าการ 】แปลว่า: น. ผู้ที่ชอบเข้าไปวุ่นในธุระของคนอื่นซึ่งมิใช่หน้าที่ของตนจนน่ารำคาญ.
【 เจ้ากู 】แปลว่า: น. ท่าน (ใช้เรียกพระที่นับถือ).
【 เจ้าขรัว 】แปลว่า: น. คนที่มั่งมี (มักหมายถึงเศรษฐีจีน), เจ๊สัว หรือ เจ้าสัว ก็เรียก.
【 เจ้าของ 】แปลว่า: น. (กฎ) ผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน; ผู้มีสิทธิครอบครอง ใช้สอย เก็บ
ผลประโยชน์ และจําหน่ายทรัพย์สิน.
【 เจ้าขา 】แปลว่า: ว. คําที่ผู้หญิงใช้เรียกหรือขานรับผู้ใหญ่อย่างสุภาพ.
【 เจ้าข้า 】แปลว่า: ว. คําของผู้น้อยรับคําของผู้ใหญ่; คําร้องบอกกล่าว.
【 เจ้าข้าวแดงแกงร้อน 】แปลว่า: น. ผู้มีบุญคุณที่เคยอุปการะเลี้ยงดูมา.
【 เจ้าขุนมุลนาย, เจ้าขุนมูลนาย 】แปลว่า: น. ผู้บังคับบัญชา, เจ้านาย ก็ว่า.
【 เจ้าไข้ 】แปลว่า: น. เจ้าของคนไข้, ผู้รับผิดชอบในตัวคนไข้.
【 เจ้าคณะ 】แปลว่า: น. หัวหน้าคณะสงฆ์, คําเรียกตําแหน่งผู้ปกครองคณะสงฆ์ระดับตําบล
อําเภอ จังหวัด และภาค เป็นต้น ว่า เจ้าคณะตําบล เจ้าคณะอําเภอ
เจ้าคณะจังหวัด และเจ้าคณะภาคตามลําดับ.
【 เจ้าครอก 】แปลว่า: (โบ) น. เจ้าโดยกําเนิดหรือที่สถาปนาขึ้น, เรียกพระราชโอรสและ
พระราชธิดาชั้นเจ้าฟ้าว่า เจ้าครอกฟ้า, เรียกพระองค์เจ้าและ
หม่อมเจ้าว่า เจ้าครอก.
【 เจ้าคะ 】แปลว่า: ว. คำที่ผู้หญิงใช้เรียกหรือถามผู้ใหญ่อย่างสุภาพ.
【 เจ้าค่ะ 】แปลว่า: ว. คำที่ผู้หญิงใช้ขานรับผู้ใหญ่อย่างสุภาพ.
【 เจ้าคารม 】แปลว่า: น. ผู้มีฝีปากคมคาย.
【 เจ้าคุณ 】แปลว่า: (โบ) บรรดาศักดิ์ฝ่ายในที่ทรงแต่งตั้ง; (โบ; ปาก) คำเรียกผู้มีบรรดาศักดิ์
ตั้งแต่ชั้นพระยาขึ้นไป; (ปาก) คำเรียกพระภิกษุที่เป็นพระราชาคณะ.
【 เจ้าคุณจอม 】แปลว่า: น. ตําแหน่งพระสนมเอกวังหลวง.
【 เจ้าแง่เจ้างอน, เจ้าแง่แสนงอน 】แปลว่า: ว. มีแง่งอนมาก.
【 เจ้าจอม 】แปลว่า: น. ตําแหน่งพระสนมวังหลวง.
【 เจ้าจอมมารดา 】แปลว่า: น. เจ้าจอมที่มีพระราชโอรสหรือพระราชธิดาแล้ว.
【 เจ้าจำนวน 】แปลว่า: (โบ) น. เจ้าหน้าที่เก็บภาษีอากร.
【 เจ้าจำนำ 】แปลว่า: น. ผู้ซื้อขายหรือติดต่อกันเป็นประจํา.
【 เจ้าชีวิต 】แปลว่า: น. พระเจ้าแผ่นดิน.
【 เจ้าชู้ ๑ 】แปลว่า: น. ผู้ใฝ่ในการชู้สาว.
【 เจ้าเซ็น 】แปลว่า: น. อิหม่ามฮูเซ็นผู้เป็นหลานตาของพระมะหะหมัด, คนพวกหนึ่งที่ถือ
ศาสนาอิสลาม ซึ่งนับถืออิหม่ามฮูเซ็น; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
【 เจ้าเซ็นเต้นต้ำบุด 】แปลว่า: น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง มีตัวอย่างว่า สุดแค้นแสนคมสมเขาสรวล คําสอน
ข้อนสั่งข้างสิ่งควร ซํ้าข้อส่วนเข้าแซงแข่งซน.
【 เจ้าตัว 】แปลว่า: น. ตัวของผู้ที่ถูกอ้างถึง.
【 เจ้าถ้อยหมอความ 】แปลว่า: น. ผู้ที่ชอบเอากฎหมายมาอ้าง, ผู้มักใช้โวหารพลิกแพลงไปในทาง
กฎหมาย.
【 เจ้าถิ่น 】แปลว่า: น. เจ้าของถิ่น, ผู้ชำนาญในเรื่องของท้องถิ่นนั้น ๆ, (ปาก) นักเลงโต.
【 เจ้าท่า 】แปลว่า: (กฎ) น. เจ้าพนักงานผู้มีอํานาจหน้าที่ควบคุมและตรวจตราการเดินเรือ
การใช้เรือ การจอดเรือ ร่องนํ้า ทางเดินเรือ และกิจการท่าเรือ.
【 เจ้าที่ ๑ 】แปลว่า: น. พระภูมิ, มักใช้เข้าคู่กันเป็น พระภูมิเจ้าที่.
【 เจ้าที่ ๒, เจ้าที่เจ้าทาง 】แปลว่า: น. เทวดารักษาพื้นที่และหนทาง.
【 เจ้าทุกข์ 】แปลว่า: น. ผู้ที่เสียหายได้รับทุกข์หรือเดือดร้อน, ผู้ที่ไม่มีความสุขใจ. ว. ที่มี
หน้าเศร้าอยู่เสมอ เช่น เด็กคนนี้อาภัพ หน้าตาเจ้าทุกข์.
【 เจ้าไทย 】แปลว่า: (โบ) น. พระสงฆ์; เจ้านายชั้นผู้ใหญ่; เขียนเป็น เจาไท ก็มี เช่น
พ๋องเผ่าพรรนอนนเหงาเจาไทอนนไปสู. (จารึกวัดช้างล้อม).
【 เจ้านาย 】แปลว่า: น. เจ้า; ผู้บังคับบัญชา, เจ้าขุนมุลนาย หรือ เจ้าขุนมูลนาย ก็ว่า.
【 เจ้าเนื้อ 】แปลว่า: ว. อ้วน.
【 เจ้าบ้าน 】แปลว่า: (กฎ) น. บุคคลผู้เป็นหัวหน้าซึ่งครอบครองบ้านในฐานะเป็นเจ้าของผู้เช่า
หรือในฐานะอื่น เช่น ผู้ดูแลบ้าน.
【 เจ้าบ่าว 】แปลว่า: น. ชายผู้เข้าพิธีแต่งงานกับเจ้าสาว.
【 เจ้าบุญนายคุณ 】แปลว่า: น. ผู้มีบุญคุณ.
【 เจ้าเบี้ย 】แปลว่า: น. นายเงิน.
【 เจ้าประคุณ 】แปลว่า: น. (โบ) คำเรียกผู้ที่นับถือ และท่านที่เป็นเจ้าบุญนายคุณ. ส. คำที่
ภิกษุสามเณรหรือคฤหัสถ์ใช้เรียกสมเด็จพระราชาคณะ, ใช้เต็มว่า
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. (เพี้ยนมาจาก
เจ้าพระคุณ).
【 เจ้าประคู้น 】แปลว่า: น. คําเรียกสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อขอให้มาช่วยให้สมประสงค์, เป็นคำอุทาน
แสดงถึงการอ้อนวอน อธิษฐาน บนบาน หรือ สาปแช่ง เป็นต้น.
【 เจ้าปู่ 】แปลว่า: น. ผู้เฒ่าที่คนเคารพนับถือ, ปู่เจ้า ก็ว่า.
【 เจ้าพนักงาน 】แปลว่า: (กฎ) น. บุคคลผู้ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการ ไม่ว่าเป็นประจําหรือ
ชั่วคราว และหมายความรวมถึงบุคคลผู้ทําหน้าที่ช่วยราชการ ซึ่ง
กฎหมายถือว่าเป็นเจ้าพนักงานเฉพาะกรณีด้วย.
【 เจ้าพนักงานบังคับคดี 】แปลว่า: (กฎ) น. เจ้าพนักงานศาลหรือพนักงานอื่น ผู้มีอํานาจตามบทบัญญัติ
แห่งกฎหมาย ในอันที่จะปฏิบัติการเพื่อคุ้มครองสิทธิของคู่ความใน
ระหว่างพิจารณา หรือเพื่อบังคับตามคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาล.
【 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ 】แปลว่า: (กฎ) น. บุคคลซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมแต่งตั้งโดยเฉพาะตัว
หรือโดยตําแหน่งหน้าที่ ให้ปฏิบัติหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์สินและจัดการ
เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
นี้ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานของศาล.
【 เจ้าพนักงานภูษามาลา 】แปลว่า: น. ข้าราชการในราชสํานัก มีหน้าที่ถวายทรงพระเครื่องใหญ่ ถวาย
พระกลด ถวายสุกํา ทําสุกํา เปลื้องเครื่องสุกําศพ พระบรมศพ
พระศพ และเปลื้องเครื่องสุกําศพที่ได้รับพระราชทานโกศ เป็นต้น
โบราณมีหน้าที่ถวายเครื่องต้นด้วย, ในกฎหมายตราสามดวง เรียก
แยกเป็น พนักงานพระภูษา พนักงานพระมาลา.
【 เจ้าพนักงานสนมพลเรือน 】แปลว่า: น. ข้าราชการในราชสํานัก ทําหน้าที่เกี่ยวกับพิธีศพ ทําสุกําศพหีบ
จัดดอกไม้ ดูแลรักษาเครื่องนมัสการ โกศ หีบ เป็นต้น.
【 เจ้าพระเดชนายพระคุณ 】แปลว่า: น. ผู้มีบุญคุณมาก.
【 เจ้าพระคุณ 】แปลว่า: ส. คำที่ภิกษุสามเณรหรือคฤหัสถ์ใช้เรียกสมเด็จพระราชาคณะ,
ใช้เต็มว่า ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, ใช้ว่า
เจ้าประคุณ ก็มี.
【 เจ้าพระยา ๑ 】แปลว่า: น. บรรดาศักดิ์ข้าราชการผู้ใหญ่ สูงกว่าพระยา ต่ำกว่าสมเด็จเจ้าพระยา
เช่น เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี.
【 เจ้าพ่อ 】แปลว่า: น. เทพารักษ์ผู้คุ้มเกรงถิ่นนั้น ๆ, ผู้เป็นใหญ่หรือมีอิทธิพลในถิ่นนั้น.
【 เจ้าพายุ 】แปลว่า: น. ชื่อตะเกียงชนิดหนึ่งเมื่อเผาไส้แล้วสูบลมให้ดันนํ้ามันเป็นไอขึ้นไป
เลี้ยงไส้ทำให้เกิดแสงสว่างนวลจ้า.
【 เจ้าฟ้า 】แปลว่า: น. สกุลยศสำหรับพระราชโอรสหรือพระราชธิดาซึ่งพระมารดาเป็น
พระราชธิดาหรือพระราชนัดดาของพระมหากษัตริย์; เรียกเจ้าผู้ครอง
แคว้นไทยถิ่นอื่น เช่น เจ้าฟ้าเชียงตุง.
【 เจ้าภาพ 】แปลว่า: น. เจ้าของงานพิธีหรือผู้รับเป็นเจ้าของงานพิธี เช่น เจ้าภาพงานแต่งงาน
เจ้าภาพสวดพระอภิธรรม; (ปาก) เจ้ามือ เช่น เย็นนี้ฉันขอเป็นเจ้าภาพ
เลี้ยงข้าวเอง.
【 เจ้าภาษี 】แปลว่า: (โบ) น. ผู้ผูกขาดตัดตอนจากรัฐบาลไปเรียกเก็บภาษีบางอย่างจากราษฎร.
【 เจ้ามรดก 】แปลว่า: (กฎ) น. ผู้ตายซึ่งมีทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาท.
【 เจ้ามือ 】แปลว่า: น. ผู้ตั้งต้นในวงการพนันเช่นวงไพ่, ผู้รับกินรับใช้ในการเล่นการพนัน
เช่นถั่ว โป หวย; (ปาก) ผู้รับออกเงินในการเลี้ยง, เจ้าภาพ ก็ว่า.
【 เจ้าแม่ 】แปลว่า: น. เทพารักษ์ผู้หญิงที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์จะให้ความคุ้มเกรงรักษาได้ เช่น
เจ้าแม่ทับทิม, หญิงผู้เป็นใหญ่หรือมีอิทธิพลในถิ่นนั้น.
【 เจ้าไม่มีศาล สมภารไม่มีวัด 】แปลว่า: (สํา) น. ผู้ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง.
【 เจ้ายศ, เจ้ายศเจ้าอย่าง 】แปลว่า: ว. ถือยศถือศักดิ์.
【 เจ้าระเบียบ 】แปลว่า: ว. ที่ถือระเบียบอย่างเคร่งครัด, ระเบียบจัด.
【 เจ้าเรือน 】แปลว่า: น. นิสัยซึ่งประจําอยู่ในจิตใจ เช่น มีโทสะเป็นเจ้าเรือน; (โหร) ดาวเจ้าของราศี.
【 เจ้าเล่ห์ 】แปลว่า: น. ผู้มีกลอุบายพลิกแพลงต่าง ๆ.
【 เจ้าเล่ห์เพทุบาย 】แปลว่า: ว. มีเล่ห์เหลี่ยมเพทุบายมาก.
【 เจ้าเล่ห์แสนกล 】แปลว่า: ว. มีเล่ห์เหลี่ยมกลอุบายมาก, แสนกล ก็ว่า.
【 เจ้าสังกัด 】แปลว่า: น. ส่วนราชการที่หน่วยงานย่อยหรือหน่วยงานอื่นสังกัดอยู่ เช่น
กระทรวงศึกษาธิการเป็นเจ้าสังกัดของกรมสามัญศึกษา สำนัก
นายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าสังกัดของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
【 เจ้าสัว 】แปลว่า: น. คนที่มั่งมี (มักหมายถึงเศรษฐีจีน), เจ๊สัว หรือ เจ้าขรัว ก็เรียก.
【 เจ้าสามสี 】แปลว่า: น. พลอยชนิดหนึ่ง เมื่อโดนแสงอาทิตย์จะมีสีเขียวมรกต เมื่อโดนแสง
อื่น ๆ ที่ไม่ใช่แสงอาทิตย์ เช่นแสงไฟจากหลอดไฟ จะมีสีแดงแล้วเปลี่ยน
เป็นสีม่วง, พลอยสามสี ก็เรียก.
【 เจ้าสาว 】แปลว่า: น. หญิงผู้เข้าพิธีแต่งงานกับเจ้าบ่าว.
【 เจ้าสำบัดสำนวน, เจ้าสำนวน 】แปลว่า: น. ผู้ใช้คารมพลิกแพลง.
【 เจ้าสำราญ 】แปลว่า: ว. ที่ชอบฟุ้งเฟ้อใช้ชีวิตอย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน.
【 เจ้าหน้า, เจ้าหน้าเจ้าตา 】แปลว่า: น. ผู้ชอบทําเอาหน้า, ผู้ชอบเสนอหน้าเข้าไปทําธุระให้คนอื่นโดยเขา
ไม่ได้ขอร้อง.
【 เจ้าหน้าที่ 】แปลว่า: น. ผู้มีหน้าที่, ผู้ปฏิบัติหน้าที่.
【 เจ้าหนี้ 】แปลว่า: น. เจ้าของหนี้; ผู้ขายเชื่อหรือให้กู้ยืมทรัพย์แก่บุคคลซึ่งเรียกว่าลูกหนี้;
(กฎ) บุคคลซึ่งมีมูลหนี้เหนือบุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่าลูกหนี้ และมี
สิทธิที่จะเรียกให้ลูกหนี้ชําระหนี้ได้.
【 เจ้าหลวง 】แปลว่า: น. เจ้าผู้ครองประเทศราชฝ่ายเหนือ.
【 เจ้าหล่อน 】แปลว่า: ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, คําใช้แทนผู้ที่เรา
พูดถึง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓, บางทีผู้ใหญ่ใช้แก่ผู้น้อยในบุรุษที่ ๓.
【 เจ้าหัว, เจ้าหัวกู 】แปลว่า: (โบ) น. ผู้เป็นเจ้าเหนือหัว (ใช้เรียกพระสงฆ์).
【 เจ้าอธิการ 】แปลว่า: น. พระที่ดํารงตําแหน่งเป็นพระอุปัชฌาย์หรือเจ้าคณะตําบลซึ่งไม่มี
สมณศักดิ์อย่างอื่น.
【 เจ้าอารมณ์ 】แปลว่า: ว. ที่โกรธง่าย, ที่เอาใจยาก.
【 เจ้าอาวาส 】แปลว่า: น. พระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งผู้ปกครองวัด.
【 เจ้า ๒ 】แปลว่า: ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย สําหรับผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อยอย่างสุภาพหรือ
เอ็นดู, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เช่น เจ้ามานี่, คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง,
เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓, มักใช้เข้าคู่กับคํา นั่น เป็น เจ้านั่น เช่น เจ้านั่น
จะไปด้วยหรือเปล่า.
【 เจ้า ๓ 】แปลว่า: น. คำนำหน้าชื่อเพื่อแสดงว่าเป็นเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ เช่น
เจ้าดวงเดือน; คํานําหน้าที่ผู้ใหญ่เรียกเด็กหรือผู้น้อย เช่น เจ้าหนู
เจ้าแดง เจ้านี่.
【 เจ้า ๔ 】แปลว่า: น. ผู้ค้าขายสิ่งของต่าง ๆ เช่น เจ้าผัก เจ้าปลา, ลักษณนามหมายความว่า
ราย เช่น มีผู้มาติดต่อ ๓ เจ้า.
【 เจ๊า 】แปลว่า: ก. เลิกกันไป, ไม่ได้ไม่เสีย. (ภาษาการพนัน).
【 เจ้าชู้ ๑ 】แปลว่า: /ดูใน เจ้า ๑/.
【 เจ้าชู้ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อหญ้าชนิด /Chrysopogon aciculatus/ (Retz.) Trin. ในวงศ์
Gramineae ผลมักเกาะติดเมื่อผ่านไปถูกเข้า.
【 เจ้าพระยา ๑ 】แปลว่า: /ดูใน เจ้า ๑/.
【 เจ้าพระยา ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อมะเขือพันธุ์หนึ่งของชนิด /Solanum aculeatissimum/ Jacq.

【 เจ้าฟ้า ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อกั้งขนาดกลางชนิด /Acanthosquilla sirindhorn/ ในวงศ์
Nannosquillidae ลำตัวค่อนข้างแบนสีเหลืองนวล มีแถบสีดำ
พาดขวางทุกปล้องตลอดความยาวลำตัวและแพนหาง ด้านบนของ
หางนูนเป็น ๓ ลอน แต่ละลอนมีหนาม ๔-๖ อัน ขุดรูอยู่ตาม
หาดทรายปนโคลน.
【 เจ้าฟ้า ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อปูน้ำจืดชนิด /Phricotelphusa sirindhorn/ ในวงศ์ Potamidae
กระดองและขาก้ามสีขาว เบ้าตาและขาสีม่วงอมดำ อาศัยอยู่
บริเวณน้ำตกตามซอกหินบนภูเขาระดับสูง พบในจังหวัดระนอง
ราชบุรี และเพชรบุรี.
【 เจ้าฟ้าหญิงสิรินธร 】แปลว่า: น. ชื่อนกนางแอ่นชนิด /Pseudochelidon sirintarae/ ในวงศ์
【 Hirundinidae 】แปลว่า:
ลำตัวสีดำ มีแต้มขาวตรงโคนหาง ตาและขอบตาขาว ปากเหลือง
เฉพาะตัวผู้มีหางยาวคล้ายเส้นลวด ๒ เส้นพบบริเวณบึงบอระเพ็ด,
ตาพอง ก็เรียก.
【 เจาะ ๑ 】แปลว่า: ก. ทําให้เป็นช่องเป็นรู.
【 เจาะจมูก 】แปลว่า: ก. เจาะด้านหัวและท้ายของซุงเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายจมูกห่างจาก
หัวไม้ประมาณ ๗๕ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๑๒.๕ เซนติเมตร แล้ว
เอาลวดหรือหวายร้อยเข้ากับคานแพซึ่งเป็นไม้ยาว ๆ ขวางลํากับท่อน
ซุงเพื่อผูกเป็นแพ.
【 เจาะ ๒, เจาะจง 】แปลว่า: ก. ตั้งใจเฉพาะ, มุ่งไปที่, เช่น นักข่าวเจาะข่าวเรื่องยาเสพติดในโรงเรียน
หัวหน้าเจาะจงให้เขาทำงานชิ้นนี้.
【 เจิ่ง 】แปลว่า: ก. แผ่ไปมากกว่าปรกติ (ใช้แก่นํ้า).
【 เจิด 】แปลว่า: ว. เชิดชู.
【 เจิดจ้า 】แปลว่า: ว. สว่างสุกใส.
【 เจิ่น 】แปลว่า: ก. เข้าหน้าไม่สนิทเพราะห่างเหินไปนาน เช่น หมู่นี้เขาเจิ่นไป, เจื่อน ก็ว่า.
【 เจิม ๑ 】แปลว่า: ก. เอาแป้งหอมแต้มเป็นจุด ๆ ที่หน้าผากหรือสิ่งที่ต้องการให้มีสิริมงคล;
เสริม, เพิ่ม, เช่น เจิมปากกระทง.
【 เจิม ๒ 】แปลว่า: น. คิ้ว. (อนันตวิภาค). (ข. จิญฺเจิม ว่า คิ้ว).
【 เจีย 】แปลว่า: (ปาก) ก. ทําให้ผิวโลหะสึก เรียบ โดยวิธีขัดหรือกลึงเป็นต้น.
【 เจียง 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ; อีสาน) น. เดือนแรกของปีนับทางจันทรคติ คือ เดือนอ้าย.
【 เจียด ๑ 】แปลว่า: น. ภาชนะชนิดหนึ่งลักษณะคล้ายตะลุ่มมีฝาคล้ายรูปฝาชี เป็นเครื่องยศ
ขุนนางโบราณ สําหรับใส่ของเช่นผ้า มักทําด้วยเงิน.
【 เจียด ๒ 】แปลว่า: ก. แบ่งปันแต่น้อย, ขอแบ่งปันบ้าง, เช่น เขามีน้อยขอเจียดเอามาบ้าง.
【 เจียดยา 】แปลว่า: ก. ซื้อยาแผนโบราณ.
【 เจียน ๑ 】แปลว่า: ก. ตัด ขริบ หรือเฉือนให้ไปตามแนวหรือให้ได้รูปตามที่ต้องการ เช่น
เจียนพลู เจียนใบตอง. (ข. เจียร ว่า ตัด, เล็ม).
【 เจียนหมาก 】แปลว่า: ก. ผ่าหมากดิบสดตามยาวเป็นซีก ๆ แล้วใช้มีดเล็กปอกเปลือกชั้นนอก
ตรงกลางผล ลอกเปลือกถกขึ้นไปเกือบถึงด้านขั้วผล แล้วเจียนเปลือก
ชั้นในให้ขาดจากเนื้อหมาก แกะเอาเนื้อที่ติดกับเปลือกนอกออกมากิน
กับพลูที่บ้ายปูนหรือตากให้แห้งเพื่อเก็บไว้กินได้นาน ๆ.
【 เจียน ๒ 】แปลว่า: ว. เกือบ เช่น เหนื่อยเจียนตาย.
【 เจี๋ยน 】แปลว่า: น. กับข้าวอย่างหนึ่ง มีปลาทอดแล้วปรุงด้วยเครื่องต่าง ๆ เรียกว่า
ปลาเจี๋ยน. (จ. เจี๋ยน ว่า เคลือบนํ้าตาล, เชื่อมนํ้าตาล).
【 เจี๊ยบ ๑ 】แปลว่า: ว. จัด, มาก, ยิ่งนัก, เช่น เย็นเจี๊ยบ.
【 เจี๊ยบ ๒ 】แปลว่า: น. เรียกลูกไก่ตัวเล็ก ๆ ว่า ลูกเจี๊ยบ. ว. เสียงร้องของลูกเจี๊ยบ.
【 เจียม ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องลาดลักษณะเหมือนพรม ทําด้วยขนสัตว์ชนิดหนึ่งในจําพวก
กวาง มีอยู่ทางเหนือของประเทศจีน. (เทียบ ข. เจียม ว่า แกะ).
【 เจียม ๒ 】แปลว่า: ก. รู้จักประมาณตัว, ประพฤติตนพอสถานประมาณ, เช่น เจียมเนื้อ
เจียมตัว.
【 เจียมสังขาร 】แปลว่า: (ปาก) ก. รู้จักประมาณร่างกาย, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่เจียมสังขาร.
【 เจี๋ยมเจี้ยม 】แปลว่า: ว. วางหน้าไม่สนิทมีอาการเก้อเขิน.
【 เจียร ๑ 】แปลว่า: [เจียน] ว. นาน, ช้านาน, ยืนนาน. (ป., ส. จิร ว่า ยั่งยืน).
【 เจียร ๒ 】แปลว่า: [เจียน] ก. จร, ไป, จากไป, เช่น วันเจียรสุดาพินท์ พักเตรศ. (ทวาทศมาส).
【 เจียระไน 】แปลว่า: ก. ทําเพชรพลอยหรือแก้วให้เป็นเหลี่ยมหรือรูปตามต้องการแล้วขัดเงา.
(เทียบทมิฬ จาไณ).
【 เจียระบาด 】แปลว่า: น. ผ้าคาดเอวชนิดหนึ่ง มีชายห้อยลงที่หน้าขา.
【 เจียว ๑ 】แปลว่า: ก. ทอดมันสัตว์เพื่อเอานํ้ามัน เช่น เจียวนํ้ามันหมู, ทอดของบางอย่าง
ด้วยนํ้ามัน เช่น เจียวไข่ เจียวหอม เจียวกระเทียม; (ถิ่น-พายัพ) แกง.
ว. ที่ทอดด้วยนํ้ามัน เช่น ไข่เจียว หอมเจียว กระเทียมเจียว.
【 เจียว ๒ 】แปลว่า: ว. เชียว, ทีเดียว, อย่างนั้น, แน่นอน.
【 เจี๊ยว ๑ 】แปลว่า: (ปาก) ก. ส่งเสียงดังเซ็งแซ่ก่อให้เกิดความรำคาญ โดยมากเป็นเสียง
ผู้หญิงหรือเด็ก, เจี๊ยวจ๊าว ก็ว่า; ก่อเรื่องวุ่นวาย, เอะอะอาละวาด.
ว. อาการที่ส่งเสียงดังเซ็งแซ่ก่อให้เกิดความรำคาญ โดยมากเป็นเสียง
ผู้หญิงหรือเด็ก, เจี๊ยวจ๊าว ก็ว่า.
【 เจี๊ยวจ๊าว 】แปลว่า: (ปาก) ก. ส่งเสียงดังเซ็งแซ่ก่อให้เกิดความรำคาญ โดยมากเป็นเสียง
ผู้หญิงหรือเด็ก, เจี๊ยว ก็ว่า. ว. อาการที่ส่งเสียงดังเซ็งแซ่ก่อให้เกิด
ความรำคาญ โดยมากเป็นเสียงผู้หญิงหรือเด็ก, เจี๊ยว ก็ว่า.
【 เจี๊ยว ๒ 】แปลว่า: (ปาก) น. กระเจี๊ยว.
【 เจือ 】แปลว่า: ก. เอาส่วนน้อยประสมลงไปในส่วนมากให้ระคนปนกัน, ตามปรกติ
ใช้กับของเหลว เช่น เอานํ้าเย็นเจือนํ้าร้อน. ว. ไม่แท้ไม่บริสุทธิ์เพราะ
มีสิ่งอื่นปนอยู่ด้วย เช่น เงินเจือ.
【 เจือจาง 】แปลว่า: ว. ไม่เข้มข้น, เข้มข้นน้อยลงเพราะเติมตัวทําละลายเช่นนํ้าเพิ่มลงไป,
มีตัวทําละลายมาก มีตัวถูกละลายน้อย เช่น สารละลายกรดเจือจาง,
(ใช้แก่สารละลาย).
【 เจือปน 】แปลว่า: ก. เอาส่วนน้อยประสมลงในส่วนมากเพื่อให้ระคนปนเป็นอันเดียวกัน.
【 เจือจาน 】แปลว่า: ก. เผื่อแผ่, อุดหนุน, จานเจือ ก็ว่า.
【 เจื่อน 】แปลว่า: ก. เข้าหน้าไม่สนิทเพราะห่างเหินไปนาน เช่น หมู่นี้เขาเจื่อนไป, เจิ่น ก็ว่า;
วางหน้าไม่สนิทเพราะกระดากอายเนื่องจากถูกจับผิดได้เป็นต้น เช่น หน้า
เขาเจื่อนไป, เรียกหน้าที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า หน้าเจื่อน.
【 เจื้อย 】แปลว่า: ว. เรื่อยไปไม่มีติดขัด เช่น เทศน์เจื้อย พูดเจื้อย แล่นเจื้อย.
【 เจื้อยแจ้ว 】แปลว่า: ว. มีเสียงไพเราะทอดยาวติดต่อเรื่อยไปไม่ขาดระยะ.
【 เจือสม 】แปลว่า: ก. มีความสอดคล้องหรือสนับสนุนให้น่าเชื่อ เช่น คำให้การของพยาน
โจทก์กับพยานจำเลยเจือสมกัน.
【 แจ ๑ 】แปลว่า: ว. กระชั้นชิด, ไม่คลาด, ไม่ห่าง, (ใช้ในอาการที่คุมหรือติดตาม) เช่น
คุมแจ ตามแจ.
【 แจจน, แจจัน 】แปลว่า: ว. เบียดเสียดกัน, ยัดเยียดกัน, แน่นกัน, อัดแอ, มากนัก; อึกทึก, อึง.
【 แจ ๒ 】แปลว่า: น. อาหารที่ไม่ปรุงด้วยเนื้อสัตว์ และผักบางชนิดเช่นกระเทียม กุยช่าย
ผักชี, เจ ก็ว่า. (จ.).
【 แจ้ 】แปลว่า: น. ชื่อไก่ชนิดหนึ่ง ตัวเล็กเตี้ย หงอนใหญ่ ตัวผู้มีสีสันสวยงามกว่าไก่ตัวผู้
ชนิดอื่น. ว. ลักษณะของต้นไม้เตี้ย ๆ ที่มีกิ่งทอดแผ่ออกไปโดยรอบ,
โดยปริยายหมายถึงสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เรือนทรงแจ้.
【 แจ๋ 】แปลว่า: ว. จัด (ใช้แก่สีแดงหรือแสงแดด) เช่น แดงแจ๋ แดดแจ๋.
【 แจก 】แปลว่า: ก. แบ่งหรือปันให้แก่คนหลาย ๆ คน เช่น แจกเสื้อผ้า แจกสตางค์;
กระจายออก, แยกออก, เช่น แจกออกเป็นแม่ ก กา.
【 แจกจ่าย 】แปลว่า: ก. แบ่งปันให้ไปทั่ว ๆ.
【 แจกแจง 】แปลว่า: ก. อธิบายขยายความออกไป, อธิบายแสดงรายละเอียด.
【 แจกไพ่ 】แปลว่า: ก. แบ่งไพ่ให้แก่ผู้เล่นทุกคนตามกําหนดกฎเกณฑ์.
【 แจกัน 】แปลว่า: น. ภาชนะสําหรับปักดอกไม้ตั้งเครื่องบูชาหรือประดับสถานที่
มักมีรูปคล้ายขวดปากบาน.
【 แจง ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด /Maerua siamensis/ Pax ในวงศ์ Capparidaceae
ลําต้นเกลี้ยง เปลือกสีเทาดํา เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ผลกลมรี สุกสีเหลือง.
【 แจง ๒ 】แปลว่า: ก. กระจายออกเป็นส่วน ๆ เช่น แจงเบี้ย แจงถั่ว, พูดหรือเขียนขยายความ
ออกไปในคำว่า ชี้แจง. น. เรียกเทศน์สังคายนาว่า เทศน์แจง.
【 แจงรูป 】แปลว่า: น. วิธีเอาเถ้าถ่านและกระดูกศพที่เผาเสร็จแล้วบนกองฟอนมาเรียงลําดับ
เป็นอย่างรูปคน ให้หัวอยู่ทางทิศตะวันตกแล้วหันกลับมาทางทิศตะวันออก,
แปรรูป หรือ แปรธาตุ ก็ว่า.
【 แจงสี่เบี้ย 】แปลว่า: ก. อธิบายละเอียดชัดแจ้ง.
【 แจง ๓, แจ่ง 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ; อีสาน) น. มุม.
【 แจ้ง 】แปลว่า: ก. แสดงให้รู้, บอกให้รู้, เช่น แจ้งความประสงค์. ว. กระจ่าง, สว่าง,
ชัด, เช่น แจ้งใจ.
【 แจ้งความ 】แปลว่า: ก. บอกให้ทราบความ, แจ้งเหตุต่อเจ้าพนักงาน.
【 แจงลอน 】แปลว่า: น. ปลาหรือเนื้อโขลกปั้นเป็นก้อนหรือเป็นแผ่นเคี่ยวกับนํ้ากะทิ สําหรับ
กินกับขนมจีนซาวนํ้า, บางทีใช้โขลกปลาปั้นเป็นก้อนเสียบไม้ปิ้งไฟ
เรียกว่า แจงลอนแห้ง, จังลอน ก็ว่า.
【 แจ๊ด 】แปลว่า: (ปาก) ว. จัด, ยิ่ง, ในคำว่า แดงแจ๊ด.
【 แจดแจ้, แจ๊ดแจ๋ 】แปลว่า: (ปาก) ว. มีกิริยาวาจาจุ้นจ้านเกินพอดี.
【 แจตร 】แปลว่า: [แจด, แจดตฺระ] น. เดือน ๕ ตามจันทรคติ. (ส. ไจตฺร).
【 แจ้น 】แปลว่า: ก. รีบไปหา เช่น แจ้นไปหา. ว. เร็ว เช่น วิ่งแจ้น.
【 แจบ 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) ก. สนิท; แจ้ง, ชัด.
【 แจ่ม 】แปลว่า: ว. กระจ่าง, ไม่มัวหมอง.
【 แจ่มแจ้ง 】แปลว่า: ว. กระจ่างชัด, แจ่มกระจ่าง.
【 แจ่มใส 】แปลว่า: น. ปลอดโปร่งไม่ขุ่นมัว เช่น อารมณ์แจ่มใส, โปร่ง เช่น อากาศแจ่มใส.
【 แจร 】แปลว่า: [แจฺร] น. ต้นแคแตร เช่น แคแจรเจริญจราว. (ม. คําหลวง จุลพน).
【 แจรก 】แปลว่า: แจฺรก ก. แจก, แตกออก, กระจายออก, แยกออก.
【 แจรง 】แปลว่า: แจฺรง ก. แจง, กระจายออก, ขยายออก, เช่น ดอกไม้งาม
เงื่อนแต้ม แชรงยอดแย้มผกาแจรง. (ม. คำหลวง จุลพน).
【 แจว 】แปลว่า: น. เครื่องมือสำหรับพุ้ยนํ้าให้เรือเดิน ลักษณะคล้ายพาย แต่ด้ามยาว
เรียว มีที่มือจับเรียกว่า หมวกแจว ใช้หูแจวคล้องเข้ากับหลักแจว. ก.
เอาแจวพุ้ยนํ้าให้เรือเดิน; (ปาก) รีบหนีไป เช่น แจวอ้าว.
【 แจ่ว 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องจิ้มชนิดหนึ่ง ทําด้วยนํ้าปลาร้าหรือน้ำปลาใส่พริกป่น.
【 แจ้ว, แจ้ว ๆ 】แปลว่า: ว. มีเสียงแจ่มใส เช่น ไก่ขันแจ้ว, มีเสียงดังติดต่อกันไปเป็นระยะ ๆ
เช่น พูดแจ้ว ๆ.
【 แจ๋ว 】แปลว่า: ว. มีเสียงดังกังวานแจ่มชัด, ใสมาก เช่น นํ้าใสแจ๋ว; (ปาก) ดีเยี่ยม เช่น
ปาฐกถาวันนี้แจ๋ว.
【 แจ๋วแหวว 】แปลว่า: ว. มีประกายสดใส.
【 แจะ ๑ 】แปลว่า: ก. แตะ, กระทบ, ประกบกัน, (ใช้เฉพาะการเล่นอย่างเล่นโยนหลุม
โดยโยนสตางค์หรือเบี้ยให้ไปแตะหรือประกบกัน), ภาษาปากใช้ว่า
กบแจะ ก็มี; แตะต้อง เช่น มือไปแจะหน้าขนม.
【 แจะ ๒ 】แปลว่า: ว. เสียงดังเช่นนั้น เช่น เคี้ยวหมากแจะ ๆ.
【 โจก 】แปลว่า: น. หัวหน้า (มักใช้ในทางไม่สู้ดี).
【 โจ๊ก ๑ 】แปลว่า: น. ข้าวต้มชนิดหนึ่งที่ใช้ปลายข้าวต้มจนเละ. (จ.).
【 โจ๊ก ๒ 】แปลว่า: ว. มีนํ้ามากเกินส่วน (ใช้แก่นํ้าแกง) เช่น น้ำแกงใสโจ๊ก; เสียงดัง
อย่างเสียงนํ้าไหล.
【 โจ๊ก ๓ 】แปลว่า: น. ไพ่ตัวพิเศษจะใช้แทนตัวไหนก็ได้ตามที่ต้องการ. (อ. joker).
【 โจ๊ก ๔ 】แปลว่า: น. ตัวตลก. (อ. joker); เรื่องตลก. ว. ตลกขบขัน. (อ. joke).
【 โจง 】แปลว่า: ก. โยงขึ้น, รั้งขึ้น.
【 โจงกระเบน 】แปลว่า: ก. ม้วนชายผ้านุ่งแล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บขอบผ้านุ่ง
ด้านหลังระดับบั้นเอว, เรียกวิธีนุ่งผ้าเช่นนั้นว่า นุ่งผ้าโจงกระเบน.
【 โจงกระเบนตีเหล็ก 】แปลว่า: น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
【 โจ่งครึ่ม, โจ๋งครึ่ม, โจ่งครุ่ม 】แปลว่า: ว. ลักษณะเสียงอย่างหนึ่งคล้ายกับเสียงกลองแขกดัง เลยหมายความ
เลือนไปถึงทําการสิ่งไร ๆ ที่เป็นการเปิดเผย, อย่างเปิดเผย, อย่างโจ่งแจ้ง,
อย่างไม่เกรงกลัวใคร.
【 โจ๋งเจ๋ง 】แปลว่า: ว. ใสมีแต่นํ้า เช่น น้ำแกงใสโจ๋งเจ๋ง.
【 โจ่งแจ้ง 】แปลว่า: ว. อย่างเปิดเผย, ไม่ปิดบัง, เช่น เขาแสดงอย่างโจ่งแจ้ง.
【 โจท 】แปลว่า: โจด ก. ฟ้อง เช่น ทาษโจทเจ้าว่ามิได้เปนทาษก็ดีว่าได้ส่งเงิน
ค่าตัวแล้วก็ดี. (สามดวง).
【 โจทเจ้า 】แปลว่า: ก. เอาความผิดของเจ้าไปโพนทะนา; เอาใจออกหาก.
【 โจทก์ 】แปลว่า: [โจด] น. (กฎ) บุคคลผู้ฟ้องคดีต่อศาล; ผู้กล่าวหา. (เดิมเขียนเป็นโจทย์).
(ป., ส.).
【 โจทนา 】แปลว่า: [โจดทะนา] น. การทักท้วง, การฟ้องหา; คําฟ้องหา. (ป., ส.).
【 โจทย์ 】แปลว่า: [โจด] น. คําถามในวิชาคณิตศาสตร์, โดยปริยายใช้หมายถึงสิ่งที่
คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปัญหานี้เป็นโจทย์ที่รัฐบาลแก้ไม่ตก.
【 โจน 】แปลว่า: ก. กระโดดพุ่งไปโดยเร็ว เช่น โจนนํ้า, เผ่นข้ามไป เช่น โจนท้องร่อง,
กระโจน ก็ว่า, โดยปริยายหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น
นํ้าโจน.
【 โจนร่ม 】แปลว่า: (โบ) น. การเล่นชนิดหนึ่ง เช่น มีการมหรสพสมโภชต่าง ๆ และมีโจน
ร่มด้วย. (พงศ. เลขา).
【 โจม ๑ 】แปลว่า: น. สิ่งที่ตามปรกติมียอดเป็นลอมอย่างซุ้ม ใช้เป็นเครื่องกำบังแดดลม
เป็นต้น; กูบที่มีด้านเปิดโล่ง ๔ ด้าน; กระโจม ก็ว่า.
【 โจม ๒ 】แปลว่า: ก. โถมเข้าไป, กระโดดเข้าไป, เช่น โจมจับ โจมฟัน.
【 โจมจับ 】แปลว่า: น. ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่เข้าโจมตีข้าศึก, ช้างโจมทัพ ก็เรียก.
【 โจมตี 】แปลว่า: ก. ใช้กําลังบุกเข้าตี, โดยปริยายหมายความว่า พูดหรือเขียนว่าหรือ
กล่าวหาผู้อื่นอย่างรุนแรง.
【 โจมทัพ 】แปลว่า: น. ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่เข้าโจมตีข้าศึก, ช้างโจมจับ ก็เรียก.
【 โจร ๑, โจร- 】แปลว่า: [โจน, โจระ-, โจนระ-] น. ผู้ร้ายที่ลักขโมยหรือปล้นสะดมทรัพย์สิน
ผู้อื่นเป็นต้น. (ป., ส.).
【 โจรกรรม 】แปลว่า: [โจระกํา, โจนระกํา] น. การลัก, การขโมย, การปล้น. (ส.; ป. โจรกมฺม).
【 โจรสลัด 】แปลว่า: [โจนสะหฺลัด] น. โจรที่ปล้นเรือในทะเล.
【 โจร ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อโรคซางชนิดหนึ่ง เรียกว่า ซางโจร.
【 โจล 】แปลว่า: โจน, โจละ น. ผ้า, ท่อนผ้า, เช่น บริขารโจล. (ป.).
【 โจษ, โจษจัน 】แปลว่า: [โจด, โจดจัน] ก. พูดอึง, พูดกันเซ็งแซ่, เล่าลือกันอื้ออึง, จรรโจษ
หรือ จันโจษ ก็ใช้.
【 โจษจน, โจษแจ 】แปลว่า: (กลอน) ก. พูดอึง, เล่าลือกันอื้ออึง.
【 ใจ 】แปลว่า: น. สิ่งที่ทําหน้าที่รู้ รู้สึก นึก และคิด เช่น ใจก็คิดว่าอย่างนั้น, หัวใจ เช่น
ใจเต้น, ลมหายใจ เช่น กลั้นใจ อึดใจ หายใจ, ความรู้สึกนึกคิด เช่น ใจคด
ใจซื่อ; จุดสำคัญของบางสิ่งบางอย่าง เช่น ใจมือ, บริเวณที่ถือว่าเป็นจุด
สำคัญของสถานที่ เช่นใจบ้านใจเมือง.
【 ใจกลาง 】แปลว่า: น. ศูนย์กลาง.
【 ใจกว้าง 】แปลว่า: ว. มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่.
【 ใจขาด 】แปลว่า: ว. จนสุดความสามารถ เช่น สู้ใจขาด.
【 ใจขุ่น 】แปลว่า: ว. มีใจไม่ผ่องใส.
【 ใจแข็ง 】แปลว่า: ว. ไม่ยอมง่าย ๆ, ไม่รู้สึกสงสาร, อดกลั้นความเจ็บปวดหรือทุกข์โศกไว้ได้.
【 ใจความ 】แปลว่า: น. ส่วนสําคัญของเรื่อง, ตรงข้ามกับ พลความ.
【 ใจคอ 】แปลว่า: น. จิตใจ, อัธยาศัย, อารมณ์, บางทีใช้ในทางร้ายก็มี เช่น ใจคอจะทิ้ง
บ้านทิ้งช่องไปได้หรือ.
【 ใจแคบ 】แปลว่า: ว. ไม่คิดเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ใคร ๆ.
【 ใจง่าย 】แปลว่า: ว. เชื่อง่าย, ยินยอมง่าย.
【 ใจจดใจจ่อ 】แปลว่า: ว. มุ่งอยู่, เป็นห่วงอยู่.
【 ใจจืด 】แปลว่า: ว. ไม่มีแก่ใจเอื้อเฟื้อใคร.
【 ใจเฉื่อย 】แปลว่า: ว. มีอารมณ์เฉื่อยชา, ไม่กระตือรือร้น.
【 ใจชื้น 】แปลว่า: ว. รู้สึกเบาใจ, มีหวังขึ้น, ไม่เดือดร้อน.
【 ใจดำ 】แปลว่า: ว. เห็นแก่ตัว, ไม่เอื้อเฟื้อใคร, ขาดกรุณา. น. ความในใจ เช่น พูดถูกใจดํา
แทงใจดํา; จุดดําที่อยู่กลางเป้า.
【 ใจดี 】แปลว่า: ว. มีใจเมตตากรุณา, ไม่โกรธง่าย; คุมใจไว้ให้มั่น เช่น ใจดีสู้เสือ.
【 ใจเด็ด 】แปลว่า: ว. มีนํ้าใจเด็ดเดี่ยว.
【 ใจเดียว 】แปลว่า: ว. ไม่หลายใจ, มีความรักและซื่อตรงในบุคคลเดียวหรือสิ่งเดียว
ไม่เปลี่ยนแปลง.
【 ใจเดียวกัน 】แปลว่า: ว. มีความรู้สึกนึกคิดตรงกัน.
【 ใจต่ำ 】แปลว่า: ว. มีใจใฝ่ในทางเสีย.
【 ใจเติบ 】แปลว่า: ว. มีใจกว้างขวางเกินสมควร; มีใจอยากให้มากไว้หรือใหญ่โตไว้.
【 ใจแตก 】แปลว่า: ว. ประพฤติไปตามที่ตนนิยมในทางที่ผิดหรือนอกโอวาทจนเคยตัว.
【 ใจโต 】แปลว่า: ว. มีใจกว้างเกินประมาณ, มักใช้เข้าคู่กับ หน้าใหญ่ เป็น หน้าใหญ่ใจโต.
【 ใจถึง 】แปลว่า: ว. กล้าทํา, กล้าพูด.
【 ใจทมิฬ 】แปลว่า: ว. มีใจดุร้าย, มีใจร้ายกาจ, บางทีก็ใช้คู่กับคำ หินชาติ เป็น ใจทมิฬหินชาติ.
【 ใจน้อย 】แปลว่า: ว. โกรธง่าย.
【 ใจนักเลง 】แปลว่า: น. มีใจกล้าสู้; มีใจกว้างขวางกล้าได้กล้าเสีย.
【 ใจบาน 】แปลว่า: ว. ดีใจ, ปลื้มใจ.
【 ใจบาป, ใจบาปหยาบช้า 】แปลว่า: ว. มีใจฝักใฝ่ในทางชั่วร้าย.
【 ใจบุญ 】แปลว่า: ว. มีใจฝักใฝ่ในการบุญ.
【 ใจเบา 】แปลว่า: ว. ไม่ยั้งคิด, เชื่อง่าย.
【 ใจปลาซิว 】แปลว่า: ว. มีใจไม่อดทน.
【 ใจป้ำ 】แปลว่า: ว. กล้าได้กล้าเสีย.
【 ใจแป้ว 】แปลว่า: ว. มีใจห่อเหี่ยว.
【 ใจฝ่อ 】แปลว่า: ว. ตกใจ.
【 ใจพระ 】แปลว่า: ว. มีใจบุญ, มีใจเมตตา.
【 ใจเพชร 】แปลว่า: ว. ใจแข็ง.
【 ใจมา 】แปลว่า: ว. มีหวังขึ้น เช่น ใจมาเป็นกอง ใจมาเป็นกระบุง.
【 ใจมาร 】แปลว่า: ว. มีใจดุร้าย, มีใจอำมหิต, บางทีก็ใช้คู่กับ ใจยักษ์ เป็น ใจยักษ์ใจมาร.
【 ใจมือ 】แปลว่า: น. มาตราตวงตามวิธีประเพณีของไทยโบราณ ๑๕๐ เมล็ดข้าว = ๑ ใจมือ
๔ ใจมือ = ๑ กำมือ และ ๘ กำมือ = ๑ จังออน; กลางฝ่ามือ.
【 ใจเมือง 】แปลว่า: ว. ศูนย์กลางของเมือง, กลางเมือง เช่น เกิดเรื่องที่กลางใจเมือง.
【 ใจไม่ดี 】แปลว่า: ว. ใจเสียเพราะกลัวหรือวิตกกังวล.
【 ใจไม้ไส้ระกำ 】แปลว่า: ว. เพิกเฉยดูดาย, ไม่มีเมตตากรุณาและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ใคร.
【 ใจยักษ์ 】แปลว่า: ว. มีใจดุร้าย, มีใจอํามหิต, บางทีก็ใช้คู่กับ ใจมาร เป็น ใจยักษ์ใจมาร.
【 ใจเย็น 】แปลว่า: ว. ใจหนักแน่นไม่ฉุนเฉียว, ไม่รีบร้อน.
【 ใจร้อน 】แปลว่า: ว. มีใจไม่หนักแน่น ฉุนเฉียวง่าย; มีใจรีบร้อนอยากจะให้เสร็จเร็ว ๆ.
【 ใจร้าย 】แปลว่า: ว. ดุร้าย, ไม่ปรานี.
【 ใจเร็ว 】แปลว่า: ว. ตกลงใจอย่างรวดเร็วโดยไม่พิจารณาให้รอบคอบ.
【 ใจเร็วด่วนได้ 】แปลว่า: (สำ) ว. อยากได้เร็ว ๆ โดยไม่คิดให้รอบคอบ.
【 ใจลอย 】แปลว่า: ว. เผลอสติ, เคลิบเคลิ้ม.
【 ใจสูง 】แปลว่า: ว. มีใจที่อบรมมาดี, มีใจใฝ่ในทางดี.
【 ใจเสาะ 】แปลว่า: ว. มีใจขี้กลัวหรือร้องไห้ง่าย, มีใจอ่อนแอ.
【 ใจเสีย 】แปลว่า: ว. มีใจไม่ดีเพราะกลัวหรือวิตกกังวล, หมดกําลังใจ.
【 ใจหนักแน่น 】แปลว่า: ว. มีใจอดทน, ไม่เชื่อง่าย.
【 ใจหาย 】แปลว่า: ว. อาการที่ตกใจเสียวใจขึ้นทันที, ใช้ประกอบท้ายคําอื่นมีความหมายว่า
มาก เช่น ดีใจหาย แพงใจหาย.
【 ใจหายใจคว่ำ 】แปลว่า: ว. ใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว.
【 ใจหิน 】แปลว่า: ว. มีใจโหดเหี้ยม, มีใจที่แข็งมากไม่ยอมโอนอ่อน เช่น โจรใจหิน.
【 ใจเหี่ยวแห้ง 】แปลว่า: ว. มีใจไม่สดชื่น.
【 ใจใหญ่ใจโต 】แปลว่า: ว. มีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เกินฐานะ.
【 ใจอ่อน 】แปลว่า: ว. ยอมง่าย, สงสารง่าย.
【 ไจ 】แปลว่า: น. ด้ายหรือไหมที่แยกจากเข็ดแล้วมัดผูกไว้เพื่อไม่ให้ยุ่ง, ลักษณนาม
เรียกด้ายหรือไหมที่แยกออกจากเข็ดแล้วเช่นนั้น เช่น ด้ายไจหนึ่ง
ด้าย ๒ ไจ.
【 ไจ้ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ปีชวด.
【 ไจ้ ๆ 】แปลว่า: (กลอน) ว. เนือง ๆ, บ่อย ๆ, เป็นอยู่อย่างนั้น, จะไจ้ ก็ว่า.
【 ไจร 】แปลว่า: ไจฺร จร, จากไป, เช่น แลเอกจักร เจียรไจร. (สมุทรโฆษ).

【 ฉ ๑ 】แปลว่า: พยัญชนะตัวที่ ๙ นับเป็นพวกอักษรสูง
【 ฉ ๒ 】แปลว่า: [ฉอ, ฉ้อ, ฉะ] ว. หก, สําหรับประกอบหน้าศัพท์อื่น. (ป.).
【 ฉกษัตริย์ 】แปลว่า: [ฉ้อกะสัด, ฉอกะสัด] น. กษัตริย์ ๖ พระองค์, ชื่อกัณฑ์ที่ ๑๒ ของ
มหาชาติ.
【 ฉกามาพจร, ฉกามาวจร 】แปลว่า: [ฉะกามาพะจอน, ฉะกามาวะจอน] น. สวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ ๑.
【 จาตุมหาราช 】แปลว่า:
หรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ๒. ดาวดึงส์ ๓. ยามา ๔. ดุสิต
๕. นิมมานรดี ๖. ปรนิมมิตวสวัตดี. (ป. ฉ + กาม + อวจร).
【 ฉทวาร 】แปลว่า: [ฉะทะวาน] น. ทวารทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ.
【 ฉทานศาลา 】แปลว่า: [ฉ้อทานนะสาลา] น. ศาลาเป็นที่ทําทาน ๖ แห่ง, บางทีเขียนว่า
ศาลาฉทาน.
【 ฉศก 】แปลว่า: [ฉอสก] น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๖ เช่น ปีชวดฉศก
จุลศักราช ๑๓๔๖.
【 ฉก ๑ 】แปลว่า: ก. ฉวยหรือชิงเอาโดยเร็ว; สับ, โขก, เช่น งูฉก.
【 ฉกจวัก 】แปลว่า: [-จะหฺวัก] ก. ชูหัวขึ้นแผ่พังพานทําท่าจะฉก (ใช้แก่งู).
【 ฉกฉวย 】แปลว่า: ก. ยื้อแย่งเอาไปต่อหน้า.
【 ฉกชิง 】แปลว่า: ก. แย่งชิงเอาไปซึ่งหน้า.
【 ฉก ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อปาล์มชนิด /Arenga westerhoutii/ Griff. วงศ์ Palmae ขึ้นตาม
ป่าดิบชื้นทางภาคใต้ใบด้านล่างเป็นคราบสีเทา ไม่ใคร่หักหรือพับ
จั่นเป็นพวงห้อย ออกผลเป็นทะลายใหญ่, รังกับ หรือ รังไก่ ก็เรียก.
【 ฉกรรจ์ 】แปลว่า: [ฉะกัน] ว. ห้าวหาญ เช่น ใจฉกรรจ์, แข็งแรงสมบูรณ์ เช่น วัยฉกรรจ์
ชายฉกรรจ์, รุนแรงอาจถึงตาย เช่น แผลฉกรรจ์.
【 ฉกรรจ์ลำเครื่อง 】แปลว่า: (โบ) น. ทหารที่เลือกคัดและแต่งเครื่องรบพร้อมที่จะเข้ารบได้ทันที
เช่น พลฉกรรจ์ลำเครื่องแสนหนึ่ง ช้างเครื่องแปดร้อย. (พงศ. เลขา).
【 ฉกาจ, ฉกาจฉกรรจ์ 】แปลว่า: [ฉะกาด, ฉะกาดฉะกัน] ว. เก่งกาจ, ดุร้าย, กล้าแข็ง.
【 ฉง 】แปลว่า: /ดู กระฉง/.
【 ฉงน 】แปลว่า: [ฉะหฺงน] ก. สงสัย, ไม่แน่ใจ, แคลงใจ.
【 ฉงาย ๑ 】แปลว่า: [ฉะหฺงาย] ก. สงสัย.
【 ฉงาย ๒ 】แปลว่า: [ฉะหฺงาย] ว. ไกล, ห่าง. (ข.).
【 ฉทึง 】แปลว่า: [ฉะ-] น. แม่น้ำ เช่น ฉทึงธารคีรีเหวผา. (ดุษฎีสังเวย), ใช้ว่า จทึง ชทึง
ชรทึง สทิง สทึง หรือ สรทึง ก็มี. (ข. สฺทึง ว่า คลอง).
【 ฉนวน ๑ 】แปลว่า: [ฉะหฺนวน] น. ทางเดินซึ่งมีเครื่องกําบัง ๒ ข้าง สําหรับพระมหากษัตริย์
หรือเจ้านายฝ่ายในเสด็จขึ้นลงหรือเข้าออก. ก. กําบัง, คั่น, กั้น.
【 ฉนวน ๒ 】แปลว่า: [ฉะหฺนวน] น. วัตถุที่ไฟฟ้าหรือความร้อนผ่านไม่ได้สะดวก, วัตถุที่
ไม่เป็นตัวนําไฟฟ้า หรือความร้อน. (อ. insulator).
【 ฉนวน ๓ 】แปลว่า: [ฉะหฺนวน] น. ดินแดนที่มีทางออกทะเลหรือที่ทําให้ดินแดนถูกแยก
ออกเป็น ๒ ฟาก. (อ. corridor).
【 ฉนวน ๔ 】แปลว่า: [ฉะหฺนวน] น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด /Dalbergia nigrescens/ Kurz
ในวงศ์ Leguminosae เนื้อไม้อ่อน ไม่ทนทาน, สนวน หรือ ชนวน ก็เรียก.
【 ฉนัง 】แปลว่า: [ฉะหฺนัง] น. หม้อ, โบราณเขียนเป็น ฉนงง ก็มี เช่น ฉนงงบ่อมาทนนสาย
แสบท้อง. (กำสรวล). (ข.).
【 ฉนาก 】แปลว่า: [ฉะหฺนาก] น. ชื่อปลาทะเลขนาดใหญ่ในสกุล /Pristis/ วงศ์ Pristidae เป็น
ปลากระดูกอ่อน จัดอยู่ในอันดับ Rajiformes มีเหงือก ๕ คู่อยู่ใต้ส่วนหัว
บริเวณปลายสุดของหัวมีแผ่นกระดูกยื่นยาวมาก ขอบทั้ง ๒ ข้างมีซี่
กระดูกแข็งคล้ายฟันเรียงห่างกันอย่างสม่าเสมอข้างละ ๑ แถวโดย
ตลอด ชนิด /P. cuspidatus/ มี ๒๓-๓๕ คู่, ชนิด /P. microdon/ มี ๑๗-๒๐ คู่.
【 ฉนำ 】แปลว่า: [ฉะหฺนํา] น. ปี. (ข.).
【 ฉบบ 】แปลว่า: [ฉะ-] น. แบบ, เล่มหนังสือ, เรื่อง. (ข. จฺบาบ่).
【 ฉบัง 】แปลว่า: [ฉะ-] น. ชื่อกาพย์ชนิดหนึ่ง บทละ ๑๖ คํา แบ่งเป็น ๓ วรรค วรรคที่ ๑
และ ๓ มี ๖ คำ วรรคที่ ๒ มี ๔ คำ เช่น
ไว้ปากไว้วากย์วาที ไว้วงศ์กระวี
ไว้เกียรติ์และไว้นามกร.
(สามัคคีเภท). (ข. จฺบำง).
【 ฉบัด 】แปลว่า: ฉะ- ว. ชัด, สันทัด, ทันทีทันใด, เช่น เจ้าช้างจึ่งรู้ฉบัด. (ลอ),
เร่งยอมนุญาตเยาวฉบัด. (สรรพสิทธิ์). (ข. จฺบาส่).
【 ฉบับ 】แปลว่า: [ฉะ-] น. หนังสือเรื่องเดียวกันซึ่งมีข้อความหรือสํานวนแตกต่างกันเป็นต้น
เช่น พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ต้นเดิมของหนังสือที่พิมพ์หรือ
เขียน เรียกว่า ต้นฉบับ; ลักษณนามเรียกหนังสือเล่มหรือหนังสือเป็นแผ่น
ที่ถือว่าเป็นหน่วยหนึ่ง ๆ เช่น จดหมาย ๓ ฉบับ สลากกินแบ่ง ๕ ฉบับ
หนังสือสัญญา ๒ ฉบับ. (ข. จฺบาบ่).
【 ฉพีสติม- 】แปลว่า: ฉะพีสะติมะ- ว. ที่ ๒๖ เช่น ฉพีสติมสุรทิน ว่า วันที่ ๒๖ (แห่ง
เดือนสุริยคติ). (ป.).
【 ฉม 】แปลว่า: น. กลิ่นหอม, เครื่องหอม.
【 ฉมบ 】แปลว่า: [ฉะมบ] น. ผีผู้หญิงที่ตายในป่าและสิงอยู่ในบริเวณที่ตาย มีรูปเห็นเป็น
เงา ๆ แต่ไม่ทําอันตรายใคร เช่น อนึ่งเปนสัจว่าเปนฉมบจะกละกะสือ
แลมาฟ้องร้องเรียนแก่มุขลูกขุนก็ดี ๒๐. (สามดวง), ชมบ หรือ ทมบ ก็ว่า.
(ข. ฉฺมบ ว่า หมอตําแย).
【 ฉมวก 】แปลว่า: [ฉะหฺมวก] น. เครื่องมือแทงปลาเป็นต้น มีง่ามเป็น ๑, ๓ หรือ ๕ ขา ที่
ปลายขาทำเป็นเงี่ยง มีด้ามยาว. (ข. จฺบูก).
【 ฉมวย 】แปลว่า: ฉะหฺมวย ก. ฉวย, จับ; ได้. ว. แม่น, ขลัง.
【 ฉม่อง 】แปลว่า: [ฉะหฺม่อง] น. คนตีฆ้อง เช่น พานรนายฉม่องว่องไว คุมคนธรรพ์ไป
ประจานให้ร้องโทษา. (คําพากย์).
【 ฉมัง 】แปลว่า: [ฉะหฺมัง] ว. แม่น เช่น มือฉมัง, ขลัง เช่น เป่ามนตร์ฉมัง.
【 ฉมัน 】แปลว่า: [ฉะหฺมัน] น. สมัน.
【 ฉมา 】แปลว่า: [ฉะมา] น. แผ่นดิน. (ป.; ส. กฺษมา).
【 ฉมำ 】แปลว่า: [ฉะหฺมํา] ว. แม่น, ไม่ผิด, ขลัง.
【 ฉล 】แปลว่า: [ฉะละ, ฉน] น. ความฉ้อโกง. ก. โกง. (ป., ส.).
【 ฉลวย 】แปลว่า: [ฉะหฺลวย] ว. สวยสะโอดสะอง.
【 ฉลวยฉลาด 】แปลว่า: ว. ปัญญาดีงาม.
【 ฉลอง ๑ 】แปลว่า: [ฉะหฺลอง] ก. ทําบุญหรือบูชาสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นงานเอิกเกริกเพื่อแสดง
ความปีติยินดี เช่น ฉลองพระ ฉลองหนังสือ ฉลองอายุ, จัดงานเอิกเกริก
เพื่อแสดงความยินดีในโอกาสต่าง ๆ เช่น ฉลองปริญญา, บางทีใช้เข้าคู่
กับคำ เฉลิม เป็น เฉลิมฉลอง.
【 ฉลอง ๒ 】แปลว่า: [ฉะหฺลอง] ก. แทน, ทดแทน, เช่น ฉลองคุณ.
【 ฉลองศรัทธา 】แปลว่า: (ปาก) ก. ตอบแทนเต็มที่.
【 ฉลอง ๓ 】แปลว่า: [ฉะหฺลอง] ก. จำลอง, รอง, แทน, ช่วย.
【 ฉลองได 】แปลว่า: (ราชา) น. ไม้เกาหลัง.
【 ฉลองพระกรน้อย 】แปลว่า: (ราชา) น. ชื่อเสื้อชั้นในที่แขนต่อแถบรัดคู่กับฉลองพระองค์ทรงประพาส,
พระกรน้อย ก็ว่า.
【 ฉลองพระเนตร 】แปลว่า: (ราชา) น. แว่นตา.
【 ฉลองพระบาท 】แปลว่า: (ราชา) น. รองเท้า.
【 ฉลองพระศอ 】แปลว่า: (ราชา) น. สร้อยนวม.
【 ฉลองพระหัตถ์ 】แปลว่า: (ราชา) น. ช้อนส้อม, ตะเกียบ, มีดสำหรับโต๊ะอาหาร, ใช้ว่า ฉลองพระหัตถ์
ช้อนส้อม ฉลองพระหัตถ์ตะเกียบ ฉลองพระหัตถ์มีด.
【 ฉลองพระองค์, ฉลององค์ 】แปลว่า: (ราชา) น. เสื้อ.
【 ฉลอง ๔ 】แปลว่า: ฉะหฺลอง ก. ข้าม ในคำว่า ท่าฉลอง คือ ท่าสำหรับข้าม. (ข. ฉฺลง).
【 ฉลอม 】แปลว่า: [ฉะหฺลอม] น. ชื่อเรือต่อชนิดหนึ่ง คล้ายเรือกระแชง หัวท้ายงอนเรียว
กลาง ป่องตัวเรือเป็นเหลี่ยม กระดานข้างเรือเป็นทับเกล็ด นิยมใช้ตาม
หัวเมืองชายทะเลแถบปากอ่าวสำหรับบรรทุกสินค้าหรือหาปลา สมัย
โบราณเวลาเกิดศึกสงครามก็จะถูกเกณฑ์ไปใช้ในราชการทัพด้วย
อาจติดใบหรือไม่ก็ได้.
【 ฉลอมท้ายญวน 】แปลว่า: น. ชื่อเรือใบเดินทะเลรูปท้ายตัด ใช้ทางทะเลด้านตะวันออก.
【 ฉลัก 】แปลว่า: [ฉะหฺลัก] ก. สลัก, แกะให้เป็นลวดลาย. (ข. ฉฺลาก่ ว่า สลัก).
【 ฉลับ 】แปลว่า: ฉะหฺลับ ก. สลับ เช่น แล่นลล้าวฉลับพล. (สมุทรโฆษ).
【 ฉลาก 】แปลว่า: [ฉะหฺลาก] น. สิ่งเช่นติ้ว ตั๋ว หรือแผ่นกระดาษเล็ก ๆ เป็นต้น ซึ่งทําเป็น
เครื่องหมายกําหนดไว้เนื่องในการเสี่ยงโชคเสี่ยงทายเป็นต้น; ป้ายบอก
ชื่อยา ใช้ปิดขวดยารักษาโรค เรียกว่า ฉลากยา; สลาก ก็ว่า; (กฎ) รูป
รอยประดิษฐ์ เครื่องหมายหรือข้อความใด ๆ ที่แสดงไว้ที่ภาชนะหรือหีบห่อ
บรรจุยา อาหาร หรือผลิตภัณฑ์อื่น เช่น ฉลากยา ฉลากเครื่องสําอาง.
【 ฉลากบาง 】แปลว่า: น. ชื่อเรือชนิดหนึ่ง.
【 ฉลาง 】แปลว่า: [ฉะหฺลาง] น. ชื่อชนชาติเดิมพวกหนึ่ง อยู่ทางทะเลด้านตะวันตกของ
แหลมมลายู, ชาวน้ำ หรือ ชาวเล ก็เรียก. (ม. ว่า ซะลัง); ชื่อผ้าที่มีลาย
ชนิดหนึ่ง เรียกว่า ผ้าลาย ฉลาง เช่น พวกโขลนเลวลายฉลางกับริ้วญวน.
(ขุนช้างขุนแผน).
【 ฉลาด ๑ 】แปลว่า: [ฉะหฺลาด] ว. เฉียบแหลม, ไหวพริบดี, ปัญญาดี. (ข. ฉฺลาต, ฉฺลาส).
【 ฉลาดเฉลียว 】แปลว่า: ว. มีปัญญาและไหวพริบดี, เฉลียวฉลาด ก็ว่า. (ข. ฉฺลาตเฉฺลียว,
ฉฺลาสเฉฺลียว).
【 ฉลาด ๒ 】แปลว่า: [ฉะหฺลาด] /ดู สลาด/.
【 ฉลาม 】แปลว่า: [ฉะหฺลาม] น. ชื่อปลาทะเลหลายวงศ์ในอันดับ Lamniformes เป็นปลา
กระดูกอ่อน เหงือกส่วนใหญ่มี ๕ คู่อยู่ข้างส่วนหัว แฉกบนของหางยก
สูงขึ้นและยาวมาก ตัวผู้ขอบในของครีบท้องขยายใหญ่มีแท่งอวัยวะ
สืบพันธุ์ เรียกว่า เดือย บางชนิดเป็นปลาผิวน้า เช่น ฉลามหนู (/Scoliodon/
/sorrakowvah/), ฉลามเสือเสือทะเล พิมพา หรือตะเพียนทอง (/Galeocerdo/
/cuvieri/) บางชนิดอยู่สงบตามพื้นท้องทะเล เช่น ฉลามกบ หรือ ฉลามหิน
(/Chiloscyllium griseum/) บางชนิดอยู่ในน้ำลึกมาก เช่น ฉลามน้ำลึก
(/Squalus fernandinus/) บางชนิดขนาดใหญ่มาก เช่น ฉลามวาฬ (/Rhincodon/
/typus/) บางชนิดหัวแผ่แบน เรียก ฉลามหัวค้อน หรือ อ้ายแบ้ เช่น ชนิด
/Sphyrna leweni/.
【 ฉลามเสือ 】แปลว่า: /ดู พิมพา/.
【 ฉลาย 】แปลว่า: [ฉะหฺลาย] ก. สลาย, แตกพัง, ทลาย, ละลาย.
【 ฉลิว 】แปลว่า: [ฉะหฺลิว] น. เฉลว.
【 ฉลีก 】แปลว่า: ฉะหฺลีก ก. ฉีก, ทําให้ขาดจากกัน; แยกออกจากกัน.
【 ฉลุ 】แปลว่า: [ฉะหฺลุ] ก. ปรุ, สลัก.
【 ฉลุลาย 】แปลว่า: ก. ฉลุให้เป็นลาย, ลายที่ฉลุแล้ว เรียกว่า ลายฉลุ.
【 ฉลุกฉลวย 】แปลว่า: [ฉะหฺลุกฉะหฺลวย] ว. รวดเร็ว.
【 ฉลู 】แปลว่า: [ฉะหฺลู] น. ชื่อปีที่ ๒ ของรอบปีนักษัตร มีวัวเป็นเครื่องหมาย. (ข. ฉฺลูว).
【 ฉวย 】แปลว่า: ก. คว้า จับ หรือหยิบเอาโดยเร็ว. สัน. ถ้า, แม้.
【 ฉวยฉาบ 】แปลว่า: (กลอน) ก. จิกหรือหยิบแล้วบินหรือพาไป เช่น ฉวยฉาบคาบนาคี
เป็นเหยื่อ. (เห่เรือ).
【 ฉวะ 】แปลว่า: ฉะวะ น. ร่างสัตว์หรือคนที่ตายแล้ว, ซากศพ. (ป.; ส. ศว).
【 ฉวัดเฉวียน 】แปลว่า: [ฉะหฺวัดฉะเหฺวียน] ก. อาการที่บินวนเวียนไปมาอย่างผาดโผน
เช่น บินฉวัดเฉวียน, แล่นเร็วอย่างผาดโผน เช่น ขับรถฉวัดเฉวียน.
ว. วนเวียน. (ข. ฉฺวาต่เฉวียล).
【 ฉวาง 】แปลว่า: [ฉะหฺวาง] น. วิธีเลขชั้นสูงของโบราณอย่างหนึ่ง. (ข. ฉฺวาง) ก. ขวาง
เช่น อันว่า พยัคฆราช อันฉวางมรรคาพระมัทรี. (ม. คําหลวง มัทรี).
【 ฉวี 】แปลว่า: [ฉะหฺวี] น. ผิวกาย. (ป., ส. ฉวิ).
【 ฉ้อ 】แปลว่า: ก. โกง เช่น ฉ้อทรัพย์.
【 ฉ้อโกง 】แปลว่า: (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานหลอกลวงผู้อื่นโดยทุจริต ด้วยการแสดง
ข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง โดยการ
หลอกลวง ดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม
หรือทําให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทํา ถอน หรือทําลายเอกสารสิทธิ
เรียกว่า ความผิดฐานฉ้อโกง.
【 ฉ้อฉล 】แปลว่า: ก. ใช้อุบายหลอกลวงโดยเอาความเท็จมากล่าวเพื่อให้เขาหลงผิด.
【 ฉ้อราษฎร์บังหลวง 】แปลว่า: ก. การที่พนักงานเจ้าหน้าที่เก็บเงินจากราษฎรแล้วไม่ส่งหลวงหรือ
เบียดบังเงินหลวง.
【 ฉอก 】แปลว่า: ว. แหว่ง, เว้า, (ใช้กับลักษณะของผม) ในคําว่า ผมฉอก, กระฉอก ก็ใช้.
【 ฉ่อง 】แปลว่า: ว. ข้างล่างแคบข้างบนกว้าง คือ ตีนสอบ เช่นพูดว่า เรือนหลังนี้ตีนมัน
ฉ่องเข้าไปนัก. (ดิกชนารีไทย). ก. กระจ่าง เช่น ฉ่องพระโฉม; ส่อง.
เช่น คันฉ่อง
【 ฉอด ๆ 】แปลว่า: ว. อาการที่พูดหรือเถียงไม่หยุดปาก เช่น พูดฉอด ๆ เถียงฉอด ๆ.
【 ฉ่อย 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงสําหรับว่าแก้กันระหว่างชายกับหญิง เป็นเพลงที่นิยมว่า
ปากเปล่าโดยอาศัยปฏิภาณเป็นสําคัญ เมื่อว่าจบบทแล้ว ลูกคู่จะรับ
พร้อมกันว่า ชา ฉา ชา ฉาด ชา หน่อยแม่.
【 ฉอเลาะ 】แปลว่า: ว. พูดออดอ้อนหรือแสดงกิริยาทํานองนั้นเพื่อให้เขาเอ็นดูเป็นต้น (มักใช้
เฉพาะเด็กหรือผู้หญิง).
【 ฉะ ๑ 】แปลว่า: ก. ฟันลงไป; (ปาก) คําใช้แทนกริยาได้หลายอย่างแล้วแต่คําห้อมล้อม
เช่น ฉะปาก หมายความว่า ต่อยปาก, ฉะข้าว หมายความว่า กินข้าว.
【 ฉะหน้าโรง 】แปลว่า: น. วิธีของเพลงทำนองหนึ่ง.
【 ฉะ ๒ 】แปลว่า: คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ฉ เป็นพยัญชนะต้นใน
บทกลอน เช่น ฉาดฉาด กร่อนเป็น ฉะฉาด ฉ่ำฉ่ำ กร่อนเป็น ฉะฉ่ำ มี
คำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำหรือเน้นคำ.
【 ฉะกะ 】แปลว่า: ก. ระกะ เช่น โกมุทอุบลบานฉะกะ. (อนิรุทธ์).
【 ฉะฉาด 】แปลว่า: (กลอน) ว. ฉาด, เสียงอย่างเสียงของแข็งกระทบกัน.
【 ฉะฉาน 】แปลว่า: ว. อาการที่พูดห้าวหาญและชัดถ้อยชัดคํา, ฉาดฉาน ก็ใช้.
【 ฉะฉ่ำ 】แปลว่า: (กลอน) ว. ฉ่า, ชุ่มชื้น.
【 ฉะฉี่ 】แปลว่า: (กลอน) ว. ฉี่, เสียงดังอย่างเสียงของที่ทอดน้ำมัน.
【 ฉะเฉื่อย 】แปลว่า: (กลอน) ว. เฉื่อย, ช้า, เรื่อย ๆ, ไม่รีบร้อน.
【 ฉะต้า 】แปลว่า: (โบ) อ. ชะต้า.
【 ฉะนั้น 】แปลว่า: ว. ฉันนั้น, เช่นนั้น, อย่างนั้น, ดังนั้น, ดั่งนั้น, เพราะฉะนั้น, เพราะเหตุนั้น.
【 ฉะนี้ 】แปลว่า: ว. ฉันนี้, เช่นนี้, อย่างนี้, ดังนี้, ดั่งนี้, เพราะฉะนี้, เพราะเหตุนี้.
【 ฉะอ้อน 】แปลว่า: ก. แสดงกิริยาวาจาเพื่อให้เขาเมตตา, ชะอ้อน ก็ใช้. ว. กล้องแกล้ง,
แน่งน้อย, รูปเล็กบาง, ชะอ้อน ก็ใช้.
【 ฉักกะ 】แปลว่า: (แบบ) น. หมวด ๖ คือ รวมสิ่งละหก ๆ. (ป.).
【 ฉัฐ 】แปลว่า: ฉัดถะ ว. ที่ ๖. (ป. ฉฏฺ?).
【 ฉัด 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ก. เตะ.
【 ฉัตร ๑, ฉัตร- 】แปลว่า: [ฉัด, ฉัดตฺระ-] น. เครื่องสูงชนิดหนึ่ง มีรูปคล้ายร่มที่ซ้อนกันขึ้นไปเป็น
ชั้น ๆ ชั้นบนมีขนาดเล็กกว่า ชั้นล่างลดหลั่นกันไปโดยลําดับ สําหรับ
แขวน ปัก ตั้ง หรือเชิญเข้ากระบวนแห่เป็นเกียรติยศ. (ส. ฉตฺร; ป. ฉตฺต
ว่า ร่ม); ส่วนที่ต่อจากปุ่มฆ้องเป็นฐานแผ่ออกไปแล้วงองุ้มลงมาเป็นขอบ
โดยรอบอย่างฉัตร; ชื่อดาวฤกษ์อารทรา.
【 ฉัตรบรรณ 】แปลว่า: [ฉัดตฺระบัน] น. ต้นสัตบรรณ.
【 ฉัตรมงคล 】แปลว่า: [ฉัดตฺระ] น. พระราชพิธีฉลองพระเศวตฉัตร ทําในวันซึ่งตรงกับ
วันบรมราชาภิเษก.
【 ฉัตรสามชั้น 】แปลว่า: [ฉัด-] น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า หวนสวาทโหยถวิลโหยสวาทหวน
ครวญคะนึงคะเนนึกคะนึงครวญ ใจเศร้าโศกแสนกําสรวลโศกเศร้าใจ.
【 ฉัตร ๒ 】แปลว่า: [ฉัด] น. ไม้เล็ก ๆ ซึ่งจัดไว้ที่วงฆ้องระหว่างลูกฆ้อง.
【 ฉัททันต์ 】แปลว่า: (แบบ) น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูลเรียกว่า ฉัททันตหัตถี กายสีขาว
บริสุทธิ์ดั่งสีเงินยวง แต่ปากและเท้าสีแดง. /(ดู กาฬาวก)/; ชื่อสระใหญ่สระ
๑ ในสระทั้ง ๗ ในป่าหิมพานต์. (ป.).
【 ฉัน ๑ 】แปลว่า: ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด พูดกับผู้ที่เสมอกันหรือผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย, เป็น
สรรพนามบุรุษที่ ๑.
【 ฉัน ๒ 】แปลว่า: ก. กิน (ใช้แก่ภิกษุสามเณร).
【 ฉัน ๓ 】แปลว่า: ว. เสมอเหมือน, เช่น, อย่าง, เช่น ฉันญาติ.
【 ฉันใด 】แปลว่า: ว. อย่างไร, อย่างใด, เช่นใด. ส. อย่างใด, เช่นใด, (เป็นคำที่ใช้เข้าคู่กับคำ
ฉันนั้น ซึ่งเป็นคํารับ).
【 ฉันนั้น 】แปลว่า: ส. อย่างนั้น, เช่นนั้น, (เป็นคำรับใช้เข้าคู่กับคำ ฉันใด).
【 ฉัน ๔ 】แปลว่า: ว. มีแสงกล้า, มีแสงพุ่งออกไป, เช่น พระสุริฉัน.
【 ฉันท- ๑, ฉันท์ ๑ 】แปลว่า: [ฉันทะ] น. ชื่อคําประพันธ์ประเภทหนึ่งที่วางคํา ครุ ลหุ เป็นแบบ
ต่าง ๆ. (ป.).
【 ฉันทลักษณ์ 】แปลว่า: [ฉันทะลัก] น. ลักษณะแบบแผนคำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง, ชื่อตำรา
ไวยากรณ์ตอนที่ว่าด้วยลักษณะของคำประพันธ์.
【 ฉันทวิลาส 】แปลว่า: [ฉันทะวิลาด] น. ชื่อเพลงทำนองหนึ่ง. (ดึกดําบรรพ์).
【 ฉันทศาสตร์ 】แปลว่า: [ฉันทะสาด] น. ตำราว่าด้วยการแต่งฉันท์ทั้งที่เป็นมาตราพฤติและ
วรรณพฤติ เป็นศิลปศาสตร์อย่างหนึ่งในศิลปศาสตร์ ๑๘ ประการ. (ส.).
【 ฉันท- ๒, ฉันท์ ๒, ฉันทะ 】แปลว่า: น. ความพอใจ, ความรักใคร่, ความชอบใจ, ความยินดี; ความร่วม
ความคิดความเห็นกัน เช่น ลงมติเป็นเอกฉันท์, ความไว้เนื้อเชื่อใจ
เช่น มอบฉันทะ. (ป.).
【 ฉันทา 】แปลว่า: (กลอน) ก. ลําเอียงเพราะรักใคร่ชอบใจ เช่น พระแก่วันชันษากว่าข้านี้
นึกว่าพี่น้องกันไม่ฉันทา. (อภัย).
【 ฉันทาคติ 】แปลว่า: น. ความลำเอียงเพราะความรักใคร่ชอบใจ เป็นอคติ ๑ ในอคติ ๔ ได้แก่
ฉันทาคติ โทสาคติ ภยาคติ และโมหาคติ. (ป. ฉนฺท + อคติ).
【 ฉันทานุมัติ 】แปลว่า: [ฉันทานุมัด] น. ความเห็นชอบตามโดยความพอใจ, การได้รับมอบหมาย
ด้วยความเต็มใจ. (ป. ฉนฺท + อนุมติ).
【 ฉันทา 】แปลว่า: /ดู ฉันท- ๒, ฉันท์ ๒, ฉันทะ/.
【 ฉันทาคติ 】แปลว่า: /ดู ฉันท- ๒, ฉันท์ ๒, ฉันทะ/.
【 ฉันทานุมัติ 】แปลว่า: /ดู ฉันท- ๒, ฉันท์ ๒, ฉันทะ/.
【 ฉันวุติ 】แปลว่า: [ฉันนะวุดติ] ว. เก้าสิบหก เช่น เป็นที่หมายฉันวุติโรค. (สิบสองเดือน).
(ป. ฉนฺนวุติ).
【 ฉับ, ฉับ ๆ 】แปลว่า: ว. อาการที่พูดหรือฟันเป็นต้นอย่างเร็ว เช่น ฟันฉับ พูดฉับ ๆ; เสียงดัง
เช่นนั้น.
【 ฉับพลัน 】แปลว่า: ว. ทันทีทันใด, ทันทีทันควัน.
【 ฉับไว 】แปลว่า: ว. รวดเร็ว.
【 ฉับฉ่ำ 】แปลว่า: (กลอน) ว. ไพเราะ, เสนาะหู, เช่น ละครก็ฟ้อนร้อง สุรศัพทกลับขาน ฉับฉ่ำ
ที่ตำนานอนิรุทธกินรี. (บุณโณวาท).
【 ฉัพพรรณรังสี 】แปลว่า: ฉับพันนะ- น. รัศมี ๖ ประการ คือ ๑. นีล เขียวเหมือนดอกอัญชัน
๒. ปีต เหลืองเหมือนหรดาลทอง ๓. โลหิต แดงเหมือนตะวันอ่อน ๔. โอทาต
ขาวเหมือนแผ่นเงิน ๕. มัญเชฐ สีหงสบาทเหมือนดอกเซ่งหรือหงอนไก่
๖. ประภัสสร เลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก. (ปฐมสมโพธิ). (ป. ฉพฺพณฺณรํสี).
【 ฉัยยา 】แปลว่า: (กลอน) น. ผู้หญิง, นางผู้มีโฉมงาม, เขียนเป็น ไฉยา ก็มี เช่น เมื่อนั้น นาง
รจนาไฉยา แลเห็นสมเด็จพระมารดา กัลยาออกมารับทันที. (บทละคร
สังข์ทอง). /(ดู ชายา ๒)./
【 ฉ่า 】แปลว่า: ว. เสียงน้ำมันเดือดเมื่อเวลาทอดของ; เสียงลูกคู่เพลงร้องรับจังหวะ
พ่อเพลงแม่เพลง; เสียงอื้ออึง เช่น จะชุมฉ่าชายจะมาก. (ม. ร่ายยาว
ชูชก); เสียงน้ำดังเช่นนั้น เช่น พรายสายชลฉ่าเพียง สินธุ์สวรรค์.
(เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์).
【 ฉาก 】แปลว่า: น. เครื่องบังหรือเครื่องกั้น มีหลายชนิด ใช้ตั้ง แขวน หรือพับได้, เครื่อง
ประกอบเวทีละครเพื่อให้ดูสมจริงตามเนื้อเรื่อง เช่น ฉากป่า ฉากเมือง;
เครื่องสําหรับวัดมุมซึ่งมี ๙๐ องศา, มุมซึ่งกางได้ ๙๐ องศา เรียกว่า
มุมฉาก, ลักษณนามเรียกตอนย่อยของละครในองก์หนึ่ง ๆ หรือตอน
หนึ่งของละครที่เปิดม่านหน้าเวทีครั้งหนึ่ง ๆ เช่น ละคร ๓ ฉาก.
【 ฉากแข็ง 】แปลว่า: น. ฉากตั้ง.
【 ฉากญี่ปุ่น 】แปลว่า: น. เครื่องบังตาที่ประกอบด้วยแผ่นพับหลายแผ่น.
【 ฉากตั้ง 】แปลว่า: น. ฉากละครที่ทําเป็นรูปต่าง ๆ แล้วนํามาตั้งไว้, ฉากแข็ง ก็เรียก.
【 ฉากทิ้ง 】แปลว่า: น. ฉากลิเกละครเป็นต้นเขียนเป็นภาพต่าง ๆ แขวนทิ้งไว้กับที่ อาจ
ชักรอกขึ้นลงได้, ฉากอ่อน ก็เรียก.
【 ฉากน้อย, ฉากใหญ่ 】แปลว่า: น. ท่าละครชนิดหนึ่ง.
【 ฉากบังเพลิง 】แปลว่า: น. ฉากพับได้ที่ติดไว้กับเสาเมรุทั้ง ๔ ด้าน ใช้สําหรับกั้นบังในเวลาเผาศพ
ชั้นโกศเท่านั้น, ถ้าเป็นเมรุธรรมดาและเป็นศพข้าราชการ ใช้ลายเถาไม้,
ถ้าเป็นพระศพพระราชวงศ์ ใช้ฉากรูปเทวดา.
【 ฉากอ่อน 】แปลว่า: น. ฉากทิ้ง.
【 ฉาก ๒ 】แปลว่า: (ปาก) ก. หลบ, เลี่ยง เช่น ฉากหนี.
【 ฉาง 】แปลว่า: น. สิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่สําหรับเก็บข้าวหรือเกลือเป็นต้น.
【 ฉ่าง 】แปลว่า: ก. เสี่ยงทายว่าใครจะเป็นผู้ขึ้นต้น, ลองดูว่าท่าไหนจะดี, (โดยมากใช้
สําหรับเล่นลูกเต๋าหรือไพ่). ว. เสียงดังเช่นเสียงม้าล่อ.
【 ฉ่าฉาว 】แปลว่า: ว. เกรียวกราว, เลื่องลือ, อื้ออึง.
【 ฉาด 】แปลว่า: ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงดังเมื่อตบหน้าโดยแรงเป็นต้น.
【 ฉาดฉาน 】แปลว่า: ว. อาการที่พูดห้าวหาญและชัดถ้อยชัดคํา, ฉะฉาน ก็ใช้.
【 ฉาตกภัย 】แปลว่า: [ฉาตะกะไพ] น. ภัยที่เกิดจากความแห้งแล้ง, ภัยที่เกิดจากข้าวยากหมากแพง.
(ป. ฉาต, ฉาตก, ว่า หิว, อิดโรยเพราะการอดอาหาร).
【 ฉาทนะ 】แปลว่า: [ฉาทะนะ] น. เครื่องปิดคลุม, เครื่องกําบัง, หนัง, การซ่อน, การบัง, เช่น
ท้าวก็แรงสุกลพัสตรฉาทน อนนขาวตระดาษดุจสังข์ โสดแล. (ม. คําหลวง
นครกัณฑ์). (ป., ส.).
【 ฉาน ๑ 】แปลว่า: น. ข้างหน้า เช่น ธงฉาน; ลาน เช่น ตัดหน้าฉาน.
【 ฉาน ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ส. ฉัน, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
【 ฉาน ๓ 】แปลว่า: ก. แตก, กระจาย, ซ่าน, เช่น แตกฉานซ่านเซ็น. ว. มีแสงกล้า, มีแสงพุ่ง
ออกไป, สว่าง, กระจ่างแจ้ง, จ้า, เช่น แสงฉาน ปัญญาแตกฉาน; ฉาด
เช่น ขวิดควิ้วอยู่ฉาน ๆ. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
【 ฉาน ๔ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
【 ฉาน ๕ 】แปลว่า: น. ชื่อรัฐหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศพม่า ติดต่อกับทาง
ภาคเหนือของประเทศไทย, ไทยใหญ่ ก็เรียก.
【 ฉาบ ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องตีประกอบจังหวะชนิดหนึ่ง ทําด้วยโลหะรูปร่างเป็นแผ่นกลม
คล้ายจานแต่มีปุ่มนูนขึ้นตรงกลาง เจาะรูตรงกลางปุ่มไว้ร้อยเชือกหรือ
เส้นหนังสําหรับถือตี.
【 ฉาบ ๒ 】แปลว่า: ก. ทา เกลือก หรือเคลือบแต่ผิว ๆ เช่น ฉาบปูน ฉาบกล้วย.
【 ฉาบหน้า 】แปลว่า: (ปาก) ก. เสแสร้งเพื่อให้เข้าใจว่ามีสถานะดีกว่าที่เป็นจริง.
【 ฉาบฉวย 】แปลว่า: ว. ชั่วครั้งชั่วคราว, ขอไปที, ไม่จริงจัง, เช่น ทําอย่างฉาบฉวย.
【 ฉาปะ 】แปลว่า: (แบบ) น. ลูกสัตว์, แผลงเป็น จาปะ ก็มี. (ป.; ส. ศาว).
【 ฉาย ๑ 】แปลว่า: น. เงา, ที่ร่ม; ราชาศัพท์เรียกกระจกส่องหน้าว่า พระฉาย. (ป., ส. ฉายา).
【 ฉาย ๒ 】แปลว่า: ก. ส่องแสงออกไป; (ปาก) กรายให้เห็น เช่น หล่อนฉายไปฉายมาทั้งวัน.
【 ฉายเฉิด 】แปลว่า: ว. งาม, สดใส.
【 ฉายซ้ำ 】แปลว่า: (ปาก) ก. กระทำซ้ำ ๆ เช่น เขามักฉายซ้ำเรื่องเก่า ๆ.
【 ฉายหนัง 】แปลว่า: (ปาก) ก. ฉายแสงผ่านฟิล์มภาพยนตร์ให้ปรากฏภาพเคลื่อนไหวบนจอ.
【 ฉาย ๓ 】แปลว่า: ก. เกลี่ยให้เสมอ, กระจายให้เสมอ, เช่น ฉายดิน.
【 ฉายา ๑ 】แปลว่า: น. เงา, ร่มไม้. (ป.); ชื่อที่พระอุปัชฌาย์ตั้งให้เป็นภาษาบาลีเมื่ออุปสมบท,
ชื่อตั้งให้กันเล่น ๆ หรือตามลักษณะที่หมายรู้กันในหมู่คณะ. (ป., ส.).
【 ฉายาลักษณ์ 】แปลว่า: (ราชา) น. รูปถ่าย.
【 ฉายา ๒ 】แปลว่า: (กลอน; ปาก) น. ผู้หญิง, นางผู้มีโฉมงาม, เช่น ฉายามิใคร่จะจากไป.
(มโนห์รา).
【 ฉาว 】แปลว่า: ว. อื้ออึง, เอิกเกริก, เกรียวกราว.
【 ฉาวโฉ่ 】แปลว่า: ว. อื้ออึง, เกรียวกราวขึ้น, รู้กันทั่วไป, (ใช้แก่ข่าวที่ไม่ดีไม่งาม), โฉ่ฉาว ก็ว่า.
【 ฉ่ำ 】แปลว่า: ว. ชุ่มชื้น, ชุ่มน้ำในตัว.
【 ฉำฉา ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อเรียกไม้เนื้ออ่อน โดยมากเป็นพวกไม้สนที่ใช้ทําหีบบรรจุของมา
จากต่างประเทศ.
【 ฉำฉา ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นก้ามปู. /(ดู ก้ามปู)./
【 ฉำเฉง 】แปลว่า: น. มูลฝิ่นครั้งที่ ๓. (จ. ซำเฉง).
【 ฉำแฉะ 】แปลว่า: ว. เฉอะแฉะ; อืดอาดล่าช้า.
【 ฉิ่ง ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องตีกำหนดจังหวะชนิดหนึ่ง ทําด้วยโลหะหล่อหนา รูปร่างกลม
คล้ายถ้วยเจาะรูตรงกลางไว้ร้อยเชือกให้เป็นคู่กันสําหรับถือตีบอก
จังหวะเข้ากับดนตรี; ชื่อเพลงไทยประเภทหนึ่ง.
【 ฉิ่งตรัง 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. (ดึกดําบรรพ์).
【 ฉิ่ง ๒ 】แปลว่า: ว. เก, เฉ, ไม่ตรง, (ใช้แก่แขนขา) เช่น ขาฉิ่ง แขนฉิ่ง.
【 ฉิน ๑ 】แปลว่า: ก. ติ, ติเตียน, เช่น สามสิ่งนี้โหดให้ โทษแท้คนฉิน. (โลกนิติ), มักใช้เข้าคู่
กับคํา ติ เป็น ติฉิน.
【 ฉิน ๒ 】แปลว่า: (กลอน) ว. ฉัน, เช่น, คล้าย, เหมือน, เช่น ทิพฉายฉวงฉินฉัตร ใบชรอัด
อรชร. (ม. คำหลวง วนประเวสน์).
【 ฉิน ๓ 】แปลว่า: ว. ฉัน, มีแสงกล้า, มีแสงที่พุ่งออกไป; งาม, มักใช้เข้าคู่กับคํา โฉม เป็น
ฉินโฉม หรือโฉมฉิน เช่น ฉินโฉมเฉกช่างวาด. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
【 ฉินท-, ฉินท์ 】แปลว่า: ฉินทะ- ก. ตัด, ขาด, ทําลาย. (ป., ส.).
【 ฉินทฤกษ์ 】แปลว่า: [ฉินทะเริก] น. ฤกษ์ตัดจุก.
【 ฉิบ 】แปลว่า: ว. อาการที่หายไปหรือจากไปเร็วเกินคาด.
【 ฉิบหาย 】แปลว่า: ก. สูญหมด, เสียหมด, หมดเร็ว, ป่นปี้, โดยปริยายใช้เป็นคําด่า คําแช่ง
หมายความเช่นนั้น. (ปาก) ว. มาก เช่น เก่งฉิบหาย.
【 ฉิมพลี 】แปลว่า: [ฉิมพะลี] น. ไม้งิ้ว. (ป. สิมฺพลิ; ส. ศาลฺมลิ).
【 ฉิว 】แปลว่า: ว. เร็วเรื่อยไปไม่ขาดสาย เช่น ลมพัดฉิว, เร็วไม่มีติดขัด เช่น แล่นฉิว
เดินฉิว; คล่อง, สะดวก. ก. รู้สึกไม่พอใจขึ้นมาทันที.
【 ฉี่ 】แปลว่า: (ปาก) ก. ถ่ายปัสสาวะ. น. ปัสสาวะ. ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงของที่
ทอดน้ำมัน; อย่างยิ่ง เช่น เงียบฉี่ ร้อนฉี่.
【 ฉีก 】แปลว่า: ก. ขาดแยกออกจากกันหรือทําให้ขาดหรือแยกออกจากกัน เช่น ผ้าฉีก
ฉีกผ้า ฉีกทุเรียน,โดยปริยายหมายความว่า แยกสิ่งที่เป็นคู่หรือเป็นสํารับ
ออกจากกัน เช่น ฉีกตองไพ่.
【 ฉีกคำ 】แปลว่า: ก. แยกพยางค์ของคำให้อยู่คนละวรรคหรือคนละบรรทัด มักใช้ใน
คำประพันธ์.
【 ฉีกแนว 】แปลว่า: ก. แหวกแนว.
【 ฉีกหน้า 】แปลว่า: ก. ทําให้ได้รับความอับอาย.
【 ฉีด 】แปลว่า: ก. ใช้กําลังอัดหรือดันให้ของเหลวอย่างน้ำพุ่งออกจากช่องเล็ก ๆ.
【 ฉีดยา 】แปลว่า: ก. เอายาฉีดเข้าไปในร่างกายทางใต้ผิวหนัง ทางกล้ามเนื้อ หรือทาง
เส้นเลือด.
【 ฉุ 】แปลว่า: ว. มีเนื้อไม่แน่น, ใช้แก่ อ้วน หรือ บวม เป็น อ้วนฉุ บวมฉุ.
【 ฉุก 】แปลว่า: ก. อาการที่เกิดขึ้นโดยพลัน, มักใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น ฉุกคิด ฉุกใจ.
ยุพราช และ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ว่า วันเฉลิมพระชนมพรรษา.
【 เฉลี่ย 】แปลว่า: [ฉะเหฺลี่ย] ก. แบ่งส่วนให้เท่ากัน, แจกจ่ายให้ทั่วกัน. ว. ที่ถัวให้มีส่วน
เสมอกัน เช่น รายเฉลี่ย.
【 เฉลียง 】แปลว่า: [ฉะเหฺลียง] น. ส่วนของโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญที่ต่อออกมาโดย
รอบ หรือส่วนของเรือนที่ต่อออกมาด้านหัวและท้ายเรือน สําหรับนั่งเล่น
หรือเดินติดต่อกันเป็นต้น. ว. เฉียง.
【 เฉลี่ยง 】แปลว่า: [ฉะเหฺลี่ยง] น. ยาน, คานหาม, โดยมากใช้ว่า เสลี่ยง.
【 เฉลียบ ๑ 】แปลว่า: [ฉะเหฺลียบ] น. ชื่อปลาทะเลชนิด /Scomberoides lysan/ ในวงศ์ Carangidae
หัวและลําตัวแบนข้างมาก เกล็ดละเอียดแทรกแน่นอยู่ในหนัง เกล็ดบน
เส้นข้างตัวไม่เป็นสันแข็ง ลําตัวและปากไม่กว้างเท่าปลาสละ แต่เพรียว
และค่อนข้างยาว ปากกว้างกว่าปลาสีเสียดเล็กน้อยและมีจุดดํา ๒ แถว
เรียงตามยาวอยู่ข้างลําตัว.
【 เฉลียบ ๒ 】แปลว่า: [ฉะเหฺลียบ] น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ชนิด /Isognomon isognomum/ ในวงศ์
Isognomonidae เปลือกแบน ขอบด้านบนค่อนข้างเป็นแนวตรง ขอบ
ด้านล่างโค้งเว้าทางด้านหน้า นูนทางด้านตรงข้าม สีเข้มเกือบดำ เกาะ
อยู่ตามรากไม้หรือหินในป่าชายเลน.
【 เฉลียว 】แปลว่า: [ฉะเหฺลียว] ก. นึกระแวงขึ้นมา เช่น ไม่เฉลียวว่าเขาจะหักหลัง, มีไหวพริบ
เช่น ฉลาดแต่ไม่เฉลียว.
【 เฉลียวใจ 】แปลว่า: ก. นึกระแวงขึ้นมา, ชักจะสงสัย.
【 เฉลียวฉลาด 】แปลว่า: ว. มีปัญญาและไหวพริบดี, ฉลาดเฉลียว ก็ว่า. (ข. เฉฺลียวฉฺลาต, เฉฺลียว
ฉฺลาส).
【 เฉวียง 】แปลว่า: [ฉะเหฺวียง] น. ซ้าย; เอียง, ตะแคง, ทแยง. (ข. เฉฺวง).
【 เฉวียงบ่า 】แปลว่า: ว. เรียกการห่มผ้าปิดทางบ่าซ้ายเปิดบ่าขวาว่า ห่มเฉวียงบ่า.
【 เฉวียน 】แปลว่า: [ฉะเหฺวียน] ว. เวียน, วนเวียน.
【 เฉอะแฉะ 】แปลว่า: ว. เปียกเลอะเทอะเปรอะเปื้อน.
【 เฉา 】แปลว่า: ก. เหี่ยว, ไม่สดชื่น.
【 เฉาก๊วย 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง สีดํา ทําจากเมือกที่ได้จากการต้มเคี่ยวพรรณไม้
ชนิดหนึ่ง ใส่แป้งลงไปผสม กวนให้ทั่ว ทิ้งไว้ให้เย็น กินกับน้ำหวาน
หรือใส่น้ำตาลทรายแดง. (จ.).
【 เฉาโฉด 】แปลว่า: ว. โง่, เซ่อ, โง่เขลา, โฉดเฉา ก็ว่า.
【 เฉาฮื้อ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด /Ctenopharyngodon idellus/ ในวงศ์ Cyprinidae
ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด ที่สําคัญคือ ลําตัวยาว ท้อง
กลม เกล็ดใหญ่เรียบ ลําตัวสีเงินอาศัยหากินพืชน้ำอยู่ใกล้ผิวน้า มี
ถิ่นเดิมอยู่ในประเทศจีน นําเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหาร.
【 เฉาะ 】แปลว่า: ก. เอามีดสับลงเป็นที่ ๆ เฉพาะที่ต้องการแล้วงัดให้แยกออก เช่น เฉาะตาล
เฉาะฝรั่ง. น. เรียกเนื้อในตาลอ่อนที่เฉาะออกมาจากเต้าตาลว่า ตาลเฉาะ.
【 เฉาะ ๆ 】แปลว่า: ว. ง่าย ๆ, สะดวก, เหนาะ ๆ.
【 เฉาะปล่อง 】แปลว่า: ก. ทําให้เป็นช่องไป.
【 เฉิด 】แปลว่า: ว. งามเด่น, สง่าผ่าเผย.
【 เฉิดฉัน, เฉิดฉิน 】แปลว่า: (กลอน) ว. งาม, เพริศพริ้ง.
【 เฉิดฉาย 】แปลว่า: ว. งามผุดผาดสดใส.
【 เฉิบ, เฉิบ ๆ 】แปลว่า: ว. คําร้องบอกจังหวะในการเต้นหรือรํา, มีท่าทางเนิบ ๆ เป็นจังหวะ เช่น
รําเฉิบ ๆ เดินเฉิบ ๆ พายเรือเฉิบ ๆ, ใช้ประกอบคําอื่นมีความหมายไปใน
ทางที่มีอาการประหนึ่งว่าเป็นเช่นนั้น เช่น นั่งสบายใจเฉิบ.
【 เฉียง ๑ 】แปลว่า: ว. เฉหรือเบี่ยงจากแนวไปทางใดทางหนึ่ง เช่น เฉียงเหนือ เฉียงใต้ ห่ม
สไบเฉียง.
【 เฉียง ๒ 】แปลว่า: น. ต้นไม้ใช้ใบทํายา. (พจน. ๒๔๙๓).
【 เฉียงพร้าดำ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Justicia ventricosa/ wall. ในวงศ์ Acanthaceae ต้นสูงได้
ถึง ๓ เมตร ใบออกตรงข้ามกัน ปลายและโคนใบแหลม ดอกสีขาวประ
แดง ออกเป็นช่อแน่นที่ปลายกิ่ง ต้นและใบใช้ทํายาได้, บัวฮาดํา ก็เรียก.
【 เฉียงพร้านางแอ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด /Carallia brachiata/ Merr. ในวงศ์
Rhizophoraceae เนื้อไม้ใช้ทําเครื่องเรือน, คอแห้ง เขียงพระนางอี่
เขียงพร้า สันพร้านางแอ หรือ สีฟันนางแอ ก็เรียก.
【 เฉียงพร้ามอญ 】แปลว่า: /ดู กระดูกไก่ดํา/.
【 เฉียด 】แปลว่า: ก. ผ่านไปในระยะกระชั้นชิด, โดยปริยายหมายความว่า จวนถูก เช่น
เฉียดรางวัล, เกือบ, จวนเจียน, เช่น เฉียดตาย.
【 เฉียบ 】แปลว่า: ว. ยิ่งนัก, จัด, เช่น เย็นเฉียบ คมเฉียบ.
【 เฉียบขาด 】แปลว่า: ว. เด็ดขาด.
【 เฉียบพลัน 】แปลว่า: ว. อาการที่เริ่มอย่างรวดเร็วและรุนแรงมาก (มักใช้แก่อาการของโรค)
เช่น หัวใจวายเฉียบพลัน.
【 เฉียบแหลม 】แปลว่า: ก. ฉลาดหลักแหลม.
【 เฉียว 】แปลว่า: ว. แรง, จัด.
【 เฉียวฉุน 】แปลว่า: ก. ฉุนจัด, โกรธง่าย, โกรธเร็ว, ฉุนเฉียว ก็ว่า.
【 เฉี่ยว 】แปลว่า: ก. กิริยาของนกที่โฉบลงมาคว้าอาหารไปโดยเร็ว, อาการที่กระทบหรือ
เสียดสีไปโดยเร็ว เช่น รถเฉี่ยวคน. (ปาก) ว. ล้ำยุค, นำสมัย, เช่น ผู้หญิง
คนนี้แต่งตัวเฉี่ยว.
【 เฉือน 】แปลว่า: ก. เชือดแบ่งเอาแต่บางส่วน, โดยปริยายหมายความว่า ชนะไปนิดเดียว,
ชนะอย่างหวุดหวิด.
【 เฉื่อย ๑, เฉื่อย ๆ 】แปลว่า: ว. เรื่อย ๆ, ช้า ๆ, เช่น ลมเฉื่อย ลมพัดเฉื่อย ๆ, ไม่รีบร้อน, อืดอาด, เช่น
คนเฉื่อยทํางานเฉื่อย ๆ.
【 เฉื่อยชา 】แปลว่า: ว. อืดอาด, ไม่รีบร้อน, แฉะแบะ.
【 เฉื่อย ๒ 】แปลว่า: (เคมี) ว. ไม่เปลี่ยนไปง่ายโดยปฏิกิริยาเคมี, ไม่ไวต่อปฏิกิริยาเคมี.
【 แฉ ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องตีชนิดหนึ่ง ทําด้วยโลหะ สําหรับตีขัดจังหวะ เล็กกว่าฉาบ.
【 แฉ ๒ 】แปลว่า: ก. แบ, ตีแผ่, เปิดเผย, เช่น แฉไพ่.
【 แฉโพย 】แปลว่า: ก. เปิดเผยข้อที่ปิดบังหรือความลับ. (จ.).
【 แฉ่ 】แปลว่า: ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงฝนตกพรํา ๆ เป็นระยะ ๆ หรือเสียงที่เอาโลหะ
เผาไฟร้อนจุ่มลงในน้า.
【 แฉก, แฉก ๆ 】แปลว่า: ว. ลักษณะของสิ่งที่เป็นแผ่นและแยกออกเป็นจัก ๆ หรือเป็นทางยาว เช่น
พัดแฉกดาว ๕ แฉก ใบตาลเป็นแฉก ๆ; เรียกพัดยศพระราชาคณะ มียอด
แหลมและริมเป็นจัก ๆ ว่า พัดแฉก. น. ลักษณนามเรียกสิ่งที่มีลักษณะเป็น
แฉก ๆ เช่น ใบมะละกอมี ๕ แฉก รูป ๓ แฉก.
【 แฉง 】แปลว่า: น. กระบังศัสตราวุธ เช่น คนถือหอกแฉงปลอกทอง. (สุบิน). (ข.).
【 แฉ่ง 】แปลว่า: ว. ใช้ประกอบอาการของยิ้มหรือหน้าที่ร่าเริงเบิกบาน เช่น ยิ้มแฉ่ง หน้าแฉ่ง.
น. เครื่องตีประกอบจังหวะทําด้วยโลหะ รูปอย่างม้าล่อ.
【 แฉลบ ๑ 】แปลว่า: [ฉะแหฺลบ] ก. อาการของสิ่งแบน ๆ เคลื่อนเฉไปเฉมาไม่ตรงแนวทาง เช่น
ว่าวแฉลบร่อนกระเบื้องให้แฉลบไปตามผิวน้ำ. ว. อาการที่เคลื่อนเฉไป
เฉมาไม่ตรงแนวทาง เช่น นกบินแฉลบ รถวิ่งแฉลบ.
【 แฉลบ ๒ 】แปลว่า: [ฉะแหฺลบ] น. ชื่อไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล /Acacia/ วงศ์ Leguminosae คือ
แฉลบขาว (/A. harmandiana/ Gagnep.) และ แฉลบแดง (/A. leucophloea/
willd.) ดอกกลม ฝักรูปเคียวสีน้ำตาลเข้ม มีเปลือกสีขาว.
【 แฉลบ ๓ 】แปลว่า: [ฉะแหฺลบ] น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ชนิด /Placuna sella/ ในวงศ์ Anomiidae
เปลือกค่อนข้างกลม แบน โค้งเล็กน้อยคล้ายอานม้า สีน้ำตาลเข้ม,
อานม้า ก็เรียก.
【 แฉล้ม 】แปลว่า: [ฉะแล่ม] ว. สวย, งดงาม, แช่มช้อย, แชล่ม หรือ แสล้ม ก็ใช้.
【 แฉละ 】แปลว่า: [ฉะแหฺละ] ก. แล่, เถือให้เป็นชิ้นบาง ๆ, เชือด, ชําแหละ ก็ใช้.
【 แฉว 】แปลว่า: ฉะแหฺว ว. ที่รุ้ง, ที่คุ้ง, ที่เวิ้ง.
【 แฉะ 】แปลว่า: ก. เปียกหรือชุ่มน้ำอยู่เสมอ เช่น ถนนแฉะ ตาแฉะ, เปียกหรือชุ่มน้ำเกินไป
เช่น ข้าวแฉะ; ไม่รีบร้อน, เฉื่อยชา, เช่น ทํางานแฉะ.
【 แฉะแบะ 】แปลว่า: ว. อาการที่นั่งเฉื่อยชาอยู่นาน ๆ, เฉื่อยชา, แบะแฉะ ก็ว่า.
【 โฉ 】แปลว่า: ก. ฟุ้งไป (ใช้แก่กลิ่นเหม็น).
【 โฉ่ 】แปลว่า: ว. คลุ้ง, ฟุ้ง, (มักใช้แก่กลิ่นที่เน่าเหม็นหรือเรื่องราวที่ไม่ดี) เช่น เหม็นโฉ่.
【 โฉ่ฉาว 】แปลว่า: ว. อื้ออึง, เกรียวกราวขึ้น, รู้กันทั่วไป, (ใช้แก่ข่าวที่ไม่ดีไม่งาม), ฉาวโฉ่ ก็ว่า.
【 โฉเก 】แปลว่า: ว. ฉลาดแกมโกง, ไม่ตรงไปตรงมา, เฉโก ก็ว่า.
【 โฉ่งฉ่าง 】แปลว่า: ว. เสียงอย่างเสียงโลหะกระทบกัน, มีท่าทางเก้งก้างไม่รัดกุม เช่น กิริยา
โฉ่งฉ่าง ชกโฉ่งฉ่าง, ส่งเสียงดังอย่างไม่เกรงใจใคร เช่น เขาพูดจาโฉ่งฉ่าง.
【 โฉงเฉง 】แปลว่า: ว. เอะอะเอ็ดอึงเป็นทํานองเกะกะเกเร เช่น พูดจาโฉงเฉง.
【 โฉด 】แปลว่า: ว. โง่เขลาเบาปัญญา.
【 โฉดเฉา 】แปลว่า: ว. โง่, เซ่อ, โง่เขลา, เฉาโฉด ก็ว่า.
【 โฉนด 】แปลว่า: [ฉะโหฺนด] น. หนังสือสําคัญของทางราชการแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน, ก่อนนี้
ถ้าเป็นสวนปลูกไม้ยืนต้น เรียกว่า โฉนดสวน, ถ้าเป็นสวนไม้ล้มลุก เรียกว่า
โฉนดป่า, เมื่อพ.ศ. ๒๔๔๔ เริ่มออกโฉนดแบบใหม่โดยวิธีรังวัดปักหลักเขต
ลงในที่ดินด้วยหมุดหลักฐานการแผนที่ และแสดงรูปแผนที่ที่ดินนั้นลงไว้
ในโฉนดด้วย เรียกว่า โฉนดแผนที่; หนังสือ เช่น ออกโฉนดบาดหมายให้แก่
ราชการ. (บรมราชาธิบาย ร. ๔).
【 โฉนดที่ดิน 】แปลว่า: (กฎ) น. หนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน.
【 โฉบ 】แปลว่า: ก. โผลงมาคว้าเอาสิ่งของไป (ใช้แก่นก) เช่น กาโฉบลูกไก่, ฉวยเอาไป
อย่างรวดเร็ว เช่น เด็กโฉบมะม่วงนอกรั้วไปเสียแล้ว; เจตนาไปที่ใดที่หนึ่ง
เช่น โฉบไปหน้าโรงเรียน.
【 โฉเบ๊ 】แปลว่า: (ปาก) ก. เกะกะแกมโกง.
【 โฉม ๑ 】แปลว่า: น. รูปร่าง, ทรวดทรง, เค้า, เช่น เนื้อชาววังใช้ช้า โฉมใช่โฉมคนค้า หน้าใช่
หน้ากริกกริว. (ลอ). ว. งาม.
【 โฉมงาม ๑ 】แปลว่า: น. รูปงาม.
【 โฉมฉาย, โฉมฉิน, โฉมเฉิด 】แปลว่า: น. รูปร่างงามเปล่งปลั่ง, รูปร่างงามสง่าผ่าเผย.
【 โฉมเฉลา 】แปลว่า: น. รูปร่างหล่อเหลา, หญิงงามหล่อเหลา.
【 โฉมตรู 】แปลว่า: น. รูปงาม, หญิงงาม.
【 โฉมยง 】แปลว่า: น. รูปร่างงามสง่า เช่น หนุ่มน้อยโสภาน่าเสียดาย ควรจะนับว่าชายโฉมยง.
(อิเหนา), หญิงงามสง่า เช่น พระเพื่อนโฉมยงหย้อง อยู่เพี้ยงดวงเดือน. (ลอ).
【 โฉมศรี 】แปลว่า: น. รูปเป็นสง่า.
【 โฉมหน้า 】แปลว่า: น. เค้าหน้า; เค้าที่คาดว่าจะเกิดในภายหน้า เช่น โฉมหน้าการเมืองยุคใหม่.
ก. บ่ายหน้า.
【 โฉม ๒ 】แปลว่า: น. ผักโฉม. /(ดู กระโฉม)./
【 โฉมงาม ๑ 】แปลว่า: /ดูใน โฉม ๑/.
【 โฉมงาม ๒ 】แปลว่า: น. ปลาผมนาง. (ประพาสจันทบุรี).
【 โฉลก 】แปลว่า: [ฉะโหฺลก] น. โชค, โอกาส; ลักษณะซึ่งมีทั้งส่วนดีและส่วนไม่ดี ถ้าดี
เรียกว่า ถูกโฉลกถ้าไม่ดีเรียกว่า ไม่ถูกโฉลก มักกำหนดด้วยการดู
ลักษณะ วัดขนาด นับ จำนวน เป็นต้นของคน สัตว์ สิ่งของ ว่าเป็นมงคล
หรือไม่เป็นมงคล, อีสานเรียก โสก; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง, โฉลกแรก ก็ว่า.
【 ไฉน ๑ 】แปลว่า: [ฉะไหฺน] ว. ฉันใด, เช่นไร, อย่างไร, เช่น เป็นไฉน, ทำไม, เหตุใด, เช่น
ไฉนจึงไม่มาให้ทันเวลา.
【 ไฉน ๒ 】แปลว่า: [ฉะไหฺน] น. ชื่อปี่ชนิดหนึ่ง มีรูปร่างเหมือนปี่ชวา ใช้บรรเลงนำหมู่กลองชนะ
สำหรับประโคมในงานพระราชทานเพลิงศพที่ได้รับพระราชทานโกศเป็นต้น
มีหัวหน้าเรียกว่า จ่าปี่, สรไน ก็ว่า.
【 ไฉยา 】แปลว่า: (กลอน) น. ผู้หญิง, นางผู้มีโฉมงาม, เช่น เมื่อนั้น นางรจนาไฉยา แลเห็น
สมเด็จพระมารดา กัลยาออกมารับทันที. (บทละครสังข์ทอง), เขียนเป็น
ฉัยยา ก็มี. /(ดู ชายา ๒)./
【 ไฉไล 】แปลว่า: ว. งาม; (โบ) เลี่ยน, เลื่อม.


【 ฉุกคิด 】แปลว่า: ก. คิดขึ้นมาทันที, คิดได้ในขณะนั้น, บังเอิญคิดได้.
【 ฉุกใจ 】แปลว่า: ก. สะดุดใจ.
【 ฉุกเฉิน 】แปลว่า: ว. ที่เป็นไปโดยปัจจุบันทันด่วนและจะต้องรีบแก้ไขโดยฉับพลัน เช่น
เหตุฉุกเฉิน, ที่อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่ง
ราชอาณาจักร เช่น ภาวะฉุกเฉิน สถานการณ์ฉุกเฉิน.
【 ฉุกละหุก 】แปลว่า: ก. สับสนวุ่นวายเพราะมีเรื่องเกิดขึ้นปัจจุบันทันด่วนโดยไม่คาดฝัน.
【 ฉุด 】แปลว่า: ก. ออกแรงลากหรือคร่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งไป หรือรั้งสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้น หรือ
ดึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้.
【 ฉุน 】แปลว่า: ว. แรง, กล้า, (ใช้แก่กลิ่นและรส) เช่น บุหรี่ฉุน เหล้าฉุน. ก. รู้สึกชักโกรธ
ขึ้นมาทันที. (ข. ฉุรฺ).
【 ฉุนเฉียว 】แปลว่า: ว. ฉุนจัด, โกรธง่าย, โกรธเร็ว, เฉียวฉุน ก็ว่า.
【 ฉุบ 】แปลว่า: ว. อาการที่แทงเข้าไปโดยเร็ว เช่น เขาใช้เหล็กแหลมแทงฉุบเข้าไป.
【 ฉุป, ฉุป 】แปลว่า: [ฉุบ, ฉุปะ-] น. การรบกัน, สงคราม, การสัมผัสถูกต้อง; เถาวัลย์; ลม.
(ส., ป.).
【 ฉุปศาสตร์ 】แปลว่า: [ฉุปะสาด] น. วิชาว่าด้วยการสงคราม. (ส.).
【 ฉุย 】แปลว่า: ว. อาการที่กลิ่นโชยมากระทบจมูก; อาการของควันที่พลุ่งขึ้นมาเรื่อย ๆ
เช่น ควันฉุย; คล่องแคล่ว เช่น เดินฉุย.
【 ฉุยฉาย 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงร้องและท่ารําแบบหนึ่ง. ว. กรีดกราย.
【 ฉุยฉายเข้าวัง 】แปลว่า: น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
【 ฉู่ 】แปลว่า: ว. โฉ่, ฟุ้ง, (ใช้แก่กลิ่นเหม็น); เสียงแมลงวันซึ่งตอมสิ่งของอยู่มาก ๆ.
【 ฉู่ฉี่ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อแกงอย่างหนึ่ง คล้ายแกงคั่ว มีน้ำแกงข้น, ถ้าไม่มีน้ำแกง เรียกว่า
ฉู่ฉี่แห้ง.
【 ฉู่ฉี่ ๒ 】แปลว่า: /ดู จี่ ๒/.
【 ฉูด 】แปลว่า: ว. อาการที่พุ่งหรือไปโดยเร็ว เช่น น้ำพุ่งฉูด เรือแล่นฉูด.
【 ฉูดฉาด 】แปลว่า: ว. จ้ากว่าปรกติ อาจทําให้รู้สึกบาดตา (ใช้แก่สีบางสี).
【 เฉ 】แปลว่า: ว. เหไป, ไม่ตรงเส้นตรงแนว.
【 เฉไฉ 】แปลว่า: ว. เถลไถล, เชือนแช.
【 เฉก 】แปลว่า: ว. เช่น, เหมือน.
【 เฉโก 】แปลว่า: ว. ฉลาดแกมโกง, ไม่ตรงไปตรงมา, โฉเก ก็ว่า. (ป. เฉโก ว่า ฉลาด).
【 เฉ่ง 】แปลว่า: ก. ชําระเงินที่ได้เสียกัน, ชําระเงินที่ติดค้างกันอยู่, โดยปริยายหมายความว่า
ด่า ว่า หรือทําร้ายร่างกาย. (จ.).
【 เฉด 】แปลว่า: ก. ขับไล่ไสส่ง เช่น เฉดหัวไป. ว. คําร้องไล่หมา.
【 เฉท 】แปลว่า: เฉด น. การตัด, การฟัน, การฉีก, การเด็ด, การขาด, เช่น เฉทเฌอ.
(ม. คําหลวงทานกัณฑ์). (ป., ส.).
【 เฉนียน 】แปลว่า: [ฉะเหฺนียน] น. ฝั่งน้ำ. (ข. เฉฺนร ว่า ชายฝั่ง).
【 เฉพาะ 】แปลว่า: [ฉะเพาะ] ว. โดยเจาะจง, เพ่งตรง, ตรงตัว; เผอิญ; แต่; จํากัด, เท่านี้,
เท่านั้น. (ข. เฉฺพาะ).
【 เฉพาะกาล 】แปลว่า: ว. ชั่วคราว ในคําว่า บทเฉพาะกาล.
【 เฉพาะกิจ 】แปลว่า: ว. เจาะจงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น หน่วยปราบปรามเฉพาะกิจ.
【 เฉพาะตัว 】แปลว่า: ว. เฉพาะบุคคล, ส่วนตัว.
【 เฉพาะพระพักตร์ 】แปลว่า: (ราชา) ว. ต่อหน้า.
【 เฉพาะหน้า 】แปลว่า: ว. ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ๆ และจะต้องรีบแก้ไขให้ทันท่วงที เช่น ปัญหา
เฉพาะหน้า เหตุการณ์เฉพาะหน้า.
【 เฉย 】แปลว่า: ก. แสดงอาการเป็นปรกติไม่สนใจไยดีต่อสิ่งหรือเหตุการณ์ที่ประสบ
เช่น ถูกด่าว่า ก็เฉย. ว. นิ่งอยู่ไม่แสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่งออกมา
เช่น นอนเฉย.
【 เฉย ๆ 】แปลว่า: ว. ใช้ประกอบข้อความหรือคําอื่น มีความหมายต่าง ๆ แล้วแต่ข้อความ
แวดล้อม เช่น หยิบไปเฉย ๆ คือ หยิบไปโดยไม่ได้บอกกล่าว, อยู่บ้าน
เฉย ๆ คือ อยู่บ้านโดยไม่ทําอะไรให้เป็นกิจจะลักษณะ หรือไม่ได้
ทํามาหากินอะไร; ไม่ยินดียินร้ายเช่น เขาเป็นคนเฉย ๆ, เท่านั้น เช่น
ปลูกเรือนไว้เฉย ๆ ไม่ให้ใครอยู่.
【 เฉยเมย 】แปลว่า: ก. ละเลย, เพิกเฉย, ไม่นําพา.
【 เฉลย 】แปลว่า: [ฉะเหฺลย] ก. อธิบายหรือชี้แจงข้อปัญหาต่าง ๆ ให้เข้าใจ เช่น เฉลยปัญหา
เฉลยความ. (ข. เฉฺลิย ว่า ตอบ).
【 เฉลว 】แปลว่า: [ฉะเหฺลว] น. เครื่องจักสานชนิดหนึ่ง ทําด้วยตอกหักขัดกันเป็นมุม ๆ
ตั้งแต่ “๕ มุมขึ้นไป สําหรับปักหม้อยา ปักเป็นเครื่องหมายที่สิ่งของ
ซึ่งจะขาย ปักบอกเขต หรือปักบอกเขตด่านเสียค่าขนอน, ฉลิว หรือ
ตาเหลว ก็ว่า.
【 เฉลา 】แปลว่า: [ฉะเหฺลา] ว. สวย, งาม, เกลี้ยงเกลา, เพราพริ้ง.
【 เฉลิม 】แปลว่า: [ฉะเหฺลิม] ก. ยกย่อง เช่น เฉลิมพระเกียรติ, เพิ่มพูน, เสริม, เช่น เฉลิมศรัทธา.
ว. เลิศ, ยอด.
【 เฉลิมพระชนมพรรษา 】แปลว่า: [ฉะเหฺลิมพฺระชนมะพันสา] น. เรียกวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระ
บรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

error: Content is protected !!