พจนานุกรม ไทย – ไทย ด

【 ด 】แปลว่า: พยัญชนะตัวที่ ๒๐ นับเป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กด.
【 ดก 】แปลว่า: ว. มาก, มากกว่าปรกติ, (มักใช้แก่สิ่งที่เกิดมีขึ้นตามธรรมชาติ) เช่น
ต้นไม้ออกดอกออกผลมากกว่าปรกติ เรียกว่า ดอกดก ผลดก, ไก่ที่
ไข่มากกว่าปรกติเรียกว่า ไข่ดก, หญิงที่มีลูกถี่และมากกว่าปรกติ
เรียกว่า ลูกดก, คนที่มีผมมากกว่าปรกติ เรียกว่า ผมดก; โดยปริยาย
ใช้เป็นคําพูดประชด เช่น พูดว่าได้ดกละ หมายความว่า ไม่มีหวังที่
จะได้, มีดกละ หมายความว่า ไม่มี.
【 ดกดื่น 】แปลว่า: ว. มากหลาย, มีอยู่ทั่วไป.
【 ดง ๑ 】แปลว่า: น. ป่าที่มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นหนาแน่น เช่น ขึ้นเป็นดง, ที่ซึ่งมีต้นไม้อย่างใด
อย่างหนึ่งขึ้นหนาแน่น เช่น ดงกล้วย, โดยปริยายเรียกสถานที่ที่มีคน
หรือสัตว์เป็นต้นประเภทเดียวกันรวมอยู่ด้วยกันมาก ๆ เช่น ดงผู้ร้าย
ดงเสือ.
【 ดงดาน 】แปลว่า: น. ป่าทึบ.
【 ดงดิบ 】แปลว่า: น. ป่าในเขตอากาศร้อนบริเวณเส้นศูนย์สูตร ซึ่งมีฝนตกชุกเกือบ
ตลอดปี มีต้นไม้สีเขียวไม่ผลัดใบ, ป่าที่มีต้นไม้หนาแน่นเขียวชอุ่ม
อยู่ทั้งปี.
【 ดงดึก 】แปลว่า: น. ป่าลึกเข้าไปไกล.
【 ดง ๒ 】แปลว่า: ก. เอาหม้อข้าวที่เช็ดนํ้าข้าวแล้วขึ้นตั้งไฟอ่อน ๆ เพื่อให้ระอุ.
【 ด้ง 】แปลว่า: (ถิ่น) น. กระด้ง.
【 ดงวาย 】แปลว่า: (กลอน; แผลงมาจาก ตังวาย) น. ของถวาย.
【 ด้น 】แปลว่า: ก. เย็บเป็นฝีเข็มขึ้นทีลงที, ด้นปล่อย ก็เรียก; กิริยาที่หนอนชอนไชใน
ผลไม้เป็นต้น; มุ่งหน้าเดาไป, มุ่งหน้าฝ่าไป, ด้นดั้น ก็ว่า. น. เรียก
กลอนชนิดหนึ่งที่ว่าดะไปไม่คำนึงถึงหลักสัมผัสว่า กลอนด้น; (ปาก)
เรียกตัวจี๊ดว่า หนอนด้น.
【 ด้นดั้น 】แปลว่า: ก. มุ่งหน้าเดาไป, มุ่งหน้าฝ่าไป, ด้น ก็ว่า.
【 ด้นถอยหลัง 】แปลว่า: ก. เย็บผ้าวิธีหนึ่ง คล้ายวิธีด้น แต่เมื่อจะแทงลงต้องย้อนมาแทง
ข้างต้นอีกฝีเข็มหนึ่งเหมือนฝีจักร.
【 ด้นปล่อย 】แปลว่า: ก. เย็บเป็นฝีเข็มขึ้นทีลงที, ด้น ก็เรียก.
【 ดนโด่ 】แปลว่า: (ปาก) ก. กระดกกระดนโด่.
【 ดนตรี 】แปลว่า: น. เสียงที่ประกอบกันเป็นทํานองเพลง, เครื่องบรรเลงซึ่งมีเสียงดัง
ทําให้รู้สึกเพลิดเพลินหรือเกิดอารมณ์รัก โศก หรือรื่นเริง เป็นต้น
ได้ตามทํานองเพลง. (ส. ตนฺตฺรินฺ).
【 ดนตรีกรรม 】แปลว่า: (กฎ) น. งานเกี่ยวกับเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อบรรเลงหรือขับร้องไม่ว่า
จะมีทำนองและคำร้องหรือมีทำนองอย่างเดียว และหมายความ
รวมถึงโน้ตเพลงหรือแผนภูมิเพลงที่ได้แยกและเรียบเรียงเสียง
ประสานแล้ว.
【 ดนยะ, ดนัย 】แปลว่า: ดะนะยะ, ดะไน น. ลูกชาย. (ป., ส. ตนย).
【 ดนยา 】แปลว่า: ดะนะยา น. ลูกหญิง. (ป., ส. ตนย).
【 ดนุ, ดนู 】แปลว่า: (แบบ) (กลอน) ส. ฉัน, ข้าพเจ้า. (ป., ส. ตนุ ว่า ตัวตน; เล็กน้อย,
เบาบาง).
【 ดนุช 】แปลว่า: น. ผู้บังเกิดแต่ตน, ลูกชาย, เช่น ใกล้หัตถ์ดลดนุช. (ม. คําหลวง
วนปเวสน์). (ป., ส.).
【 ดบัสวิน, ดบัสวี 】แปลว่า: ดะบัดสะ- น. ผู้ประพฤติความเพียร, ฤษี, เพศหญิงว่า
ดบัสวินี. (ส. ตปสฺวินฺ).
【 ดม 】แปลว่า: ก. ใช้จมูกสูดกลิ่น, สูดเอากลิ่น, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ดอม เป็น
ดมดอม หรือ ดอมดม.
【 ดมไร 】แปลว่า: น. ช้าง, โดยมากใช้ ดําไร หรือ ดํารี. (ข. ฎํรี).
【 ดร ๑ 】แปลว่า: ดอน น. พ่วง, แพ. (ป., ส. ตร).
【 ดร ๒ 】แปลว่า: (โบ) น. ดอน.
【 ดรงค์ 】แปลว่า: ดะ- น. คลื่น, ระลอก. (ป., ส. ตรงฺค).
【 ดรณี 】แปลว่า: ดะระนี น. เรือ. (ป., ส. ตรณี = สิ่งที่แล่นไป).
【 ดรธาน 】แปลว่า: [ดอระทาน] ก. หายไป, ลับไป. (ตัดมาจาก อันตรธาน).
【 ดรรชนี ๑ 】แปลว่า: [ดัดชะนี] น. นิ้วชี้, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระดรรชนี, ดัชนี ก็ใช้.
(ส. ตรฺชนี; ป. ตชฺชนี).
【 ดรรชนี ๒ 】แปลว่า: ดัดชะนี น. จํานวนที่เขียนไว้บนมุมขวาของอีกจํานวนหนึ่ง
ซึ่งเรียกว่า ฐาน เพื่อแสดงการยกกําลังของฐานนั้น เช่น ๓๒ ๒ เป็น
ดรรชนีของ ๓; ตัวเลขอัตราส่วนซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ในระยะเวลา
หนึ่ง เช่น ดรรชนีค่าครองชีพ; ดัชนี ก็ใช้. (อ. index number).
【 ดรรชนีหักเห 】แปลว่า: (แสง) น. ดรรชนีหักเหระหว่างตัวกลางคู่หนึ่งที่แสงผ่าน คือ
อัตราส่วนระหว่างไซน์ของมุมตกกระทบของแสงในตัวกลางหนึ่ง
ต่อไซน์ของมุมหักเหของแสงในอีกตัวกลางหนึ่ง, ดัชนีหักเห ก็ใช้.
(อ. refractive index).
【 ดรรชนี ๓ 】แปลว่า: น. บัญชีคําเรียงตามลําดับอักษรที่พิมพ์ไว้ส่วนท้ายของหนังสือเล่ม
รวบรวมคําสําคัญ ๆ ซึ่งมีกล่าวถึงในหนังสือเล่มนั้น โดยบอกเลขหน้า
ที่มีคํานั้น ๆ ปรากฏอยู่เพื่อสะดวกแก่การค้น, ดัชนี ก็ใช้.
【 ดราฟต์ 】แปลว่า: น. ตราสารซึ่งธนาคารเป็นผู้ออก สั่งธนาคารตัวแทนของตนให้
จ่ายเงินจํานวนหนึ่งแก่ผู้รับตามที่ได้ระบุชื่อไว้หรือตามคําสั่ง
ของผู้รับ. (อ. draft).
【 ดรุ 】แปลว่า: ดะรุ น. ต้นไม้. (ป., ส. ตรุ).
【 ดรุณ 】แปลว่า: น. เด็กรุ่น. ว. หนุ่ม, อ่อน, รุ่น. (ป., ส. ตรุณ).
【 ดรุณาณัติ 】แปลว่า: น. ตําแหน่งหัวหน้านักเรียน.
【 ดรุณาณัติ 】แปลว่า: /ดู ดรุณ/.
【 ดรุณี 】แปลว่า: น. เด็กหญิงรุ่น. ว. สาว, อ่อน, รุ่น. (ป., ส. ตรุณี).
【 ดฤถี 】แปลว่า: ดฺรึ- น. ดิถี. (ส. ตฺฤถี; ป. ติถิ).
【 ดล ๑, ดล- 】แปลว่า: [ดน, ดนละ-] น. พื้น, ชั้น, เช่น พสุธาดล. (ป., ส. ตล).
【 ดลภาค 】แปลว่า: น. พื้นราบ.
【 ดล ๒ 】แปลว่า: [ดน] ก. ถึง. (ข. ฎล่).
【 ดล ๓ 】แปลว่า: [ดน] ก. ให้เป็นไป, ทําให้แล้ว, ตั้งขึ้น, เผอิญให้เป็นไป, บันดาล
ให้เป็นไป.
【 ดลใจ 】แปลว่า: ก. มีเหตุอันไม่ปรากฏจูงใจให้คิดหรือให้ทํา เช่น เทวดาดลใจ กุศล
ดลใจ มารดลใจ.
【 ดลบันดาล 】แปลว่า: ก. ให้มีให้เป็นหรือไม่ให้มีไม่ให้เป็น เช่น ขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์จงดลบันดาล
ให้ประสบความสําเร็จหรือให้แคล้วคลาดจากภัยอันตราย.
【 ดวง 】แปลว่า: น. คําเรียกสิ่งที่มีลักษณะเป็นรูปกลม ๆ หรือที่เห็นเป็นวง ๆ เช่น
ดวงดาว ดวงไฟ ดวงตรา ดวงกสิณ, และบางสิ่งที่ไม่มีรูป เช่น
ดวงชีวิต ดวงวิญญาณ; ลักษณนามเรียก จิต วิญญาณ หรือสิ่ง
ที่มีแสงสว่าง เช่น ดาว ไฟฟ้า ตะเกียงว่า ดวง; ใช้ประกอบคําอื่น
เป็นคําเปรียบเทียบ เช่น ดวงใจ ดวงตา ดวงสมรหมายความถึง
สิ่งที่เป็นที่รักยิ่ง หญิงที่รัก หรือ ลูกที่รัก; แบบรูปราศีที่บอกดาว
พระเคราะห์เดินถึงราศีนั้น ๆ ในเวลาเกิดของคนหรือเวลาสร้าง
สิ่งสําคัญ เช่นบ้านเมืองเป็นต้นที่โหรคํานวณไว้โดยแบ่งเป็น ๑๒
ราศี เรียกว่า ดวง ซึ่งเป็นคําตัดมาจาก ดวงชะตา.
【 ดวงแก้ว 】แปลว่า: น. ชื่อดาวฤกษ์สวาดิ.
【 ดวงใจ, ดวงตา 】แปลว่า: น. คําเปรียบเทียบเรียกหญิงที่รักหรือลูกที่รัก.
【 ดวงเดือน 】แปลว่า: (ราชา) น. โรคกลาก.
【 ดวงเดือนประดับดาว 】แปลว่า: น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า เจ็บจิตมิตรหมางค้างเขินขวย
เวียนวนหลงลมงมงงงวย ฉาบฉวยรวยเร่อเธอถูกทาง.
【 ดวงตรา 】แปลว่า: น. เครื่องหมายที่มีลักษณะเป็นรูปต่าง ๆ สำหรับประทับเป็นสำคัญ
เช่นดวงตราแผ่นดิน ดวงตราของทบวงการเมือง.
【 ดวงตราไปรษณียากร 】แปลว่า: น. ดวงตราที่ใช้ปิดเป็นค่าธรรมเนียมที่ต้องเสียสำหรับส่งจดหมาย
หรือไปรษณียภัณฑ์และพัสดุไปรษณีย์ทางไปรษณีย์.
【 ดวงสมร 】แปลว่า: น. หญิงที่รัก.
【 ด้วง ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อแมลงในอันดับ Coleoptera มีปีก ๒ คู่ ลําตัวและปีกคู่หน้าแข็ง
เมื่อพับปีกขอบปีกจะจดกันที่กึ่งกลางสันหลัง ปีกคู่หลังบางเมื่อพับ
จะซ้อนเข้าไปเก็บใต้ปีกคู่หน้า ปากเป็นชนิดกัดกิน อกปล้องแรกใหญ่
และเห็นได้ชัดเจน แมลงพวกนี้มีมากชนิดกว่าแมลงอื่น ๆ.
【 ด้วง ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้าเป็นตัวเล็ก ๆ คล้ายตัวด้วง
กินกับงาคั่วผสมนํ้าตาล เหยาะเกลือนิดหน่อย และมะพร้าวทึนทึก
ขูดเป็นเส้น.
【 ด้วง ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อเครื่องดักสัตว์ชนิดหนึ่ง ทําด้วยกระบอกไม้ยาวประมาณ ๕-๖
เซนติเมตร มีคันยาว ประมาณ ๑ เมตร มีสายห่วงติดกับกระบอก
ไม้ไผ่ส่วนล่าง โยงไปผูกติดกับปลายคันมีไม้คํ้าอันหนึ่งเพื่อให้คันโก่ง
กับไม้ลิ้นพาดปากกระบอกอีกอันหนึ่งทําหน้าที่เสมือนไก สําหรับ
ดักแย้เป็นต้น.
(รูปภาพ ด้วง)
【 ด้วง ๔ 】แปลว่า: น. ชื่อซอชนิดหนึ่ง มีกระบอกมักทําด้วยไม้เนื้อแข็ง มีลักษณะ
คล้ายด้วงดักสัตว์ ใช้หนังหรือ”กระดาษหลาย ๆ ชั้นปิดด้านหนึ่ง
มีสาย ๒ สาย ขนาดค่อนข้างเล็กเพื่อให้มีเสียงสูงในเวลาสี.
【 ด้วงโสน 】แปลว่า: น. ชื่อหนอนของแมลงชนิด Azygophleps scalaria และ Zeuzera
coffeae ในวงศ์ Cossidae เป็นตัวอ่อนของผีเสื้อที่เจาะกินเข้าไป
ในต้นโสน ตัวยาว ๔-๖ เซนติเมตร สีขาวหรือชมพูอ่อน ชาวชนบท
จับมาทําเป็นอาหารรับประทาน, โสน ก็เรียก.
【 ดวจ 】แปลว่า: [ดวด] (กลอน; แผลงมาจาก ดุจ) ว. เหมือน, คล้าย, เช่น, เพียง,
ราวกะ.
【 ดวด ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อการเล่นชนิดหนึ่ง เดินแต้มตามเบี้ยที่ทอดได้ไปตามตาตาราง.
(ปาก) ก. ดื่มทีเดียวหมด (มักใช้แก่เหล้า). ว. เดี่ยว, หนึ่ง; (ปาก)
ทีเดียว.
【 ดวด ๒ 】แปลว่า: ว. สูง.
【 ด่วน 】แปลว่า: ว. รีบเร่ง, รวดเร็ว.
【 ด้วน 】แปลว่า: ก. กุด, ขาด, สั้นเข้า. ว. เรียกสิ่งที่มีรูปยาว ๆ ที่ตอนปลายขาดหายไป
เช่น แขนด้วน ขาด้วน ตาลยอดด้วน, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มี
ลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คลองด้วน แม่นํ้าด้วน.
【 ด้วมเดี้ยม 】แปลว่า: ว. กระด้วมกระเดี้ยม, ต้วม ๆ เตี้ยม ๆ, ค่อย ๆ ไป, ไม่คล่องแคล่ว.
【 ด้วย 】แปลว่า: ว. คําแสดงกริยารวมหรือเพิ่ม เช่น สวยด้วยดีด้วย, แสดงกริยา
ร่วมกันหรือในทํานองเดียวกันเช่น กินด้วย, แสดงความขอร้อง
เช่น ช่วยด้วย บอกด้วย. บ. คํานําหน้านามเพื่อให้รู้ว่านามนั้น
เป็นเครื่องใช้หรือเป็นสิ่งที่ใช้เป็นเครื่องกระทํา เช่น ฟันด้วยมีด;
ตาม เช่นทําด้วยอารมณ์. สัน. เพราะ, เหตุ, เช่น ด้วยปรากฏว่า.
【 ด้วยว่า 】แปลว่า: สัน. เพราะว่า.
【 ดอก ๑ 】แปลว่า: น. ส่วนหนึ่งของพรรณไม้ที่ผลิออกจากต้นหรือกิ่ง มีหน้าที่ทําให้เกิด
ผลและเมล็ดเพื่อสืบพันธุ์ มีเกสรและเรณูเป็นเครื่องสืบพันธุ์, เรียก
เต็มว่า ดอกไม้; ลวดลายที่เป็นดอกเป็นดวงตามผืนผ้าเป็นต้น; (ปาก)
ค่าตอบแทนที่บุคคลหนึ่งต้องใช้ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เพื่อการที่ได้
ใช้เงินของบุคคลนั้น หรือเพื่อทดแทนการไม่ชําระหนี้หรือชําระหนี้ไม่
ถูกต้อง, เรียกเต็มว่า ดอกเบี้ย; ลักษณนามของสิ่งของบางอย่าง เช่น
ข้าวโพดดอกหนึ่ง สว่านหนึ่งดอก.
【 ดอกจอก 】แปลว่า: น. ชื่อลายที่มีลักษณะคล้ายต้นจอก; เรียกกระเพาะอาหารหยาบ
ของสัตว์บางชนิดเช่นวัวควาย ซึ่งพลิกกลับแล้วมีสัณฐานคล้าย
ต้นจอก; เรียกสว่านชนิดหนึ่งที่ปลายบานว่า สว่านดอกจอก; ชื่อ
ขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้าใส่ในพิมพ์รูปอย่างดอกจอกแล้ว
เอาไปทอด; (ปาก) ดอกไม้จีบ.
【 ดอกจัน 】แปลว่า: น. รูปกลม ๆ เป็นจัก ๆ ดังนี้ *.
【 ดอกจิก 】แปลว่า: น. เรียกลายที่มีลักษณะอย่างลายหน้าไพ่ป๊อกชนิดหนึ่ง มี ๓ แฉก
ใบมน.
【 ดอกชนต้น 】แปลว่า: น. ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจนมีจํานวนเท่า ๆ กับเงินต้น, ต้นชนดอก ก็ว่า.
【 ดอกดั้ว 】แปลว่า: (โบ) น. นมผู้หญิง, ผู้หญิง; เขาสัตว์ที่นิยมว่าเป็นของวิเศษ (คุ้มไฟ
ไหม้บ้าน) เช่น เขาวัวบางชนิด ในตําราเขาพระโค เรียกว่า เขาดอกดั้ว.
【 ดอกถวายพระ 】แปลว่า: น. ดอกไม้ตัวผู้ของพรรณไม้เลื้อย เช่น ฟักทอง บวบ, กระชอมดอก
ก็เรียก.
【 ดอกบัว ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์บุษยะ มี ๕ ดวง, ดาวโลง ดาวปู ดาวสิธยะ
ดาวสมอสําเภา ดาวปุยฝ้าย ดาวพวงดอกไม้ ดาวบุษย์ ดาวปุษยะ
หรือ ดาวปุสสะ ก็เรียก.
【 ดอกบุก 】แปลว่า: (โบ) น. ชื่อโรคมะเร็งชนิดหนึ่ง.
【 ดอกเบี้ย 】แปลว่า: (กฎ) น. ค่าตอบแทนที่บุคคลหนึ่งต้องใช้ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เพื่อ
การที่ได้ใช้เงินของบุคคลนั้น หรือเพื่อทดแทนการไม่ชําระหนี้หรือ
ชําระหนี้ไม่ถูกต้อง.
【 ดอกเบี้ยทบต้น 】แปลว่า: น. ดอกเบี้ยที่ค้างชําระซึ่งนําไปรวมกับเงินต้นเพื่อรวมคิดดอกเบี้ย
ต่อไป.
【 ดอกพิกุลร่วง 】แปลว่า: (สํา) เรียกอาการที่นิ่งไม่พูดว่า กลัวดอกพิกุลจะร่วง.
【 ดอกฟ้า 】แปลว่า: น. หญิงที่ถือว่ามีฐานะสูงศักดิ์กว่าชายที่หมายปอง.
【 ดอกมะตาด, ดอกไม้ตาด 】แปลว่า: น. ดอกไม้เพลิงชนิดหนึ่ง ทําด้วยกระบอกไม้บรรจุดินปืนเมื่อจุดมีสี
ต่าง ๆ. (เทียบอิหร่าน มะตัด ว่า ดอกไม้เทียน).
【 ดอกไม้ 】แปลว่า: น. ฟันของเด็กที่แรกขึ้น.
【 ดอกไม้จันทน์ 】แปลว่า: น. เนื้อไม้จันทน์เป็นต้นที่ไสเป็นแถบบางนํามาประดิษฐ์เป็นช่อขนาด
เล็ก ใช้ในการเผาศพ.
【 ดอกไม้จีน ๑ 】แปลว่า: น. ดอกไม้กระดาษแบบจีน.
【 ดอกไม้จีบ 】แปลว่า: น. เรียกลายแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่จัดเป็นดอกเล็ก ๆ
สําหรับประดับที่รังดุมคอพับของเสื้อสากลเบื้องซ้ายแทน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์, ภาษาปากใช้ว่า ดอกจอก.
【 ดอกไม้เจ้า 】แปลว่า: น. ขุนเพ็ดซึ่งใช้เป็นเครื่องบูชาตามศาลเจ้า.
【 ดอกไม้เทียน 】แปลว่า: น. ดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง รูปเหมือนเทียน จุดมีสีนวล.
【 ดอกไม้ไทร 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงปี่พาทย์ทํานองหนึ่ง.
【 ดอกไม้น้ำ 】แปลว่า: น. ดอกไม้ไฟที่จุดให้วิ่งไปบนผิวนํ้า.
【 ดอกไม้พวง 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงยาวกลอักษร ตัวอย่างว่า นิจาเอ๋ยกะไรเลยไม่เคยเห็น
นิจาเอ๋ยกะไรน่านํ้าตากระเด็น นิจาเอ๋ยกะไรเปนได้เช่นนี้. (กลบท).
【 ดอกไม้พุ่ม 】แปลว่า: น. ดอกไม้เทียนที่เสียบปลายซี่ไม้ไผ่ ทําเป็นชั้น ๆ คล้ายฉัตรจุดเวลาคํ่า.
【 ดอกไม้เพลิง, ดอกไม้ไฟ 】แปลว่า: น. เครื่องสําหรับจุดในงานเทศกาลหรืองานศพเป็นต้น ทําด้วย
กระบอกไม้อ้อหรือไม้ไผ่เป็นต้น บรรจุดินดํา มีชื่อต่าง ๆ กันตามชนิด.
【 ดอกไม้ร่วง 】แปลว่า: น. ชื่อลายที่เขียนเป็นช่อดอกไม้จะจะไม่ติดต่อกัน; ดอกไม้ที่ยัง
ไม่ได้ร้อยเป็นพวง.
【 ดอกไม้รุ่ง 】แปลว่า: น. ดอกไม้เพลิงชนิดหนึ่ง ทําด้วยดินจุดใส่ในห่อกระดาษขดเหมือน
ไส้ไก่แขวนไว้ตามศาลาเพื่อจุดเวลาคํ่าให้มีแสงสว่างตลอดรุ่ง
ใช้แทนโคม.
【 ดอกไม้ไหว 】แปลว่า: น. ชื่อดอกไม้ประดิษฐ์ ทําด้วยกระดาษบ้าง ด้วยทองบ้างแล้ว
เอาลวดเล็ก ๆ ขดทําเป็นต้นสั่นไหวได้.
【 ดอกยาง 】แปลว่า: น. ดอกของยางนอกที่หล่อเป็นลวดลายต่าง ๆ เพื่อให้เกาะถนน.
【 ดอกรัก 】แปลว่า: น. ชื่อลวดลายชนิดหนึ่ง.
【 ดอกลำเจียก 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้า แร่งลงบนกระทะร้อน ๆ
ให้ผงแป้งติดกันเป็นแผ่น ใส่ไส้หน้ากระฉีก โบราณพับเป็นรูป
สามเหลี่ยม ปัจจุบันพับเป็นรูปสี่เหลี่ยมหรือม้วนคล้ายทองม้วน.
【 ดอกลำดวน 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งสาลีเคล้านํ้าตาลกับนํ้ามัน
ปั้นเป็นดอก ๓ กลีบอย่างดอกลําดวน แล้วอบหรือผิง.
【 ดอกลำโพง 】แปลว่า: น. เครื่องช่วยในการขยายเสียง รูปเหมือนดอกลําโพง, เรียกสั้น ๆ
ว่า ลําโพง.
【 ดอกเล็บ 】แปลว่า: น. รอยจุดขาว ๆ ที่เกิดบนเล็บ.
【 ดอกหมาก ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อเกลื้อนชนิดหนึ่ง ขึ้นตามตัวตามหลังเป็นผื่นขาว ๆ; จั่นหมาก
ที่บานแล้ว; ขนสร้อยคอไก่หรือตามตัวไก่ที่เป็นจุดขาว ๆ.
【 ดอก ๒ 】แปลว่า: (โบ) ก. ทํา เช่น ดอกขายหูขายตา ดอกบนําพารู้. (ลอ).
【 ดอก ๓ 】แปลว่า: ว. คําประกอบให้ได้ความชัดขึ้น เช่น ฉันดอก ไม่ใช่คนอื่น ทําไม่ได้ดอก,
(ปาก) มักพูดว่า หรอก เช่น ไม่ไปหรอก. ก. หลอก เช่น บ้างดอกล้อแล้ว
โลมคืน. (ม. คําหลวง ชูชก).
【 ดอกกระบอก 】แปลว่า: /ดู รําเพย ๒/.
【 ดอกกะทือ 】แปลว่า: ใช้เป็นคําด่าผู้หญิง.
【 ดอกก้าน 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นกะแท่ง. /(ดู กะแท่ง)./
【 ดอกข้าวใหม่ 】แปลว่า: /ดู ชมนาด/.
【 ดอกจันทน์ 】แปลว่า: น. รกหุ้มเมล็ดจันทน์เทศ. /(ดู จันทน์เทศ ที่ จันทน์)./
【 ดอกด้าย 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นดอกฟอน. /(ดู ดอกฟอน)./
【 ดอกดิน 】แปลว่า: น. ชื่อพืชเบียนชนิด /Aeginetia indica/ L. และชนิด/ A. pedunculata/
Wall. ในวงศ์ Orobanchaceae ลําต้นเป็นปุ่มปมเกาะเบียนรากหญ้า
ดอกสีม่วงดํา อยู่พ้นพื้นดินขึ้นมา ใช้ทําขนม.
【 ดอกทอง 】แปลว่า: น. หญิงใจง่ายในทางประเวณี (ใช้เป็นคําด่า).
【 ดอกน้ำผึ้ง 】แปลว่า: /ดู รวงผึ้ง/.
【 ดอกบัว ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ดอก ๑/.
【 ดอกบัว ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น ดอกบัวผ้ายจับบัว. (ลอ).
【 ดอกฟอน 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Buddleja asiatica/ Lour. ในวงศ์ Buddlejaceae, พายัพ
เรียก ดอกด้าย.
【 ดอกมะขาม 】แปลว่า: น. ชื่อข้าวพันธุ์หนึ่ง สีเหลืองคล้ายดอกมะขาม.
【 ดอกไม้จีน ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ดอก ๑/.
【 ดอกไม้จีน ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในสกุล /Hemerocallis/ วงศ์ Hemerocallidaceae
ชนิด /H. lilioasphodelus/ L. ดอกสีเหลือง ชนิด/ H. fulva/ (L.) L. ดอกสีส้ม,
ทั้ง ๒ ชนิดนิยมใช้ดอกแห้งเป็นอาหาร.
【 ดอกไม้ทะเล 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังหลายชนิดและหลายสกุล ในอันดับ
Actiniaria รูปทรงกระบอกยืดหดได้ ด้านหนึ่งเป็นฐานสําหรับยึด ด้าน
ตรงข้ามเป็นช่องปาก มีหนวดมาก, เห็ดหลุบ ก็เรียก.
【 ดอกสร้อย ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด/ Combretum apetalum/ Wall. ในวงศ์ Combretaceae ใบ
รูปไข่ เรียงตรงข้าม ดอกเล็กมาก.
【 ดอกสร้อย ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อคําร้อยกรองชนิดหนึ่งมีลักษณะคล้ายสักวา แต่ในวรรคที่ ๑ ใช้
๔ คํามี เอ๋ย เป็นคําที่ ๒ มี ๔ คํากลอน และคําลงจบบทให้ลงว่า เอย
เช่น แมวเอ๋ยแมวเหมียว… คอยดูอย่างไว้ใส่ใจเอย.
【 ดอกหมาก ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ดอก ๑/.
【 ดอกหมาก ๒ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อปลาทะเลและนํ้ากร่อยขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล/ Gerres/ วงศ์
Gerreidae ลําตัวสั้นป้อม แบนข้าง คล้ายปลาแป้น เว้นแต่มีเกล็ดใหญ่
ไม่หลุดง่าย ส่วนท้ายทอยไม่มีกระดูกแข็งโผล่ บางชนิดมีก้านครีบหลัง
อันแรก ๆ ยาวเป็นเส้น ด้านหลังสีนํ้าตาลอมเทา ด้านข้างและท้องสีเงิน
มักมีจุดสีเข้มเป็นดอกดวงเรียงลงมาจากหลังหลายแนว อยู่กันเป็นฝูง.
(๒) ชื่อปลานํ้าจืดในสกุล /Barilius/ วงศ์ Cyprinidae ลําตัวยาว แบนข้าง
เล็กน้อย มีหนวดสั้น ๆ หรือไม่มี แต่ก็มีจุดสีดําหรือนํ้าตาลบนพื้นลําตัว
สีเงินกระจายอยู่ข้างตัว อาศัยอยู่ตามต้นนํ้าลําธาร.
【 ดอกหิน 】แปลว่า: /ดู ไข่หิน ๒/.
【 ดอกอาว 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นว่านมหาเมฆ. /(ดู ว่านมหาเมฆ ที่ ว่าน)/.
【 ดอง ๑ 】แปลว่า: ก. แช่หรือหมักผัก ผลไม้ และสิ่งต่าง ๆ ไว้ในนํ้าส้ม นํ้าเกลือ เป็นต้น
เพื่อเก็บรักษาไว้ให้อยู่ได้นาน ๆ เช่น ดองผัก ดองผลไม้ หรือเพื่อไม่ให้
เปื่อยเน่า เช่น ดองศพ; โดยปริยายหมายความว่า เก็บหมกไว้นาน
เกินควร เช่น เอาหนังสือไปดองไว้. ว. เรียกสิ่งที่ดองแล้วนั้น เช่น ผักดอง
ยาดอง ศพดอง.
【 ดองยา 】แปลว่า: ก. แช่เครื่องยาไว้ในของเหลวมีเหล้าเป็นต้น.
【 ดอง ๒ 】แปลว่า: น. วิธีห่มผ้าของภิกษุสามเณรอย่างหนึ่งโดยปิดบ่าซ้าย เปิดบ่าขวา
เรียกว่า ห่มดอง.
【 ดอง ๓ 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. การแต่งงาน เช่น กินดอง = กินเลี้ยงในพิธีแต่งงาน
เกี่ยวดอง = เกี่ยวข้องกันโดยการแต่งงาน. ว. เนื่องกันในทางเขย
หรือสะใภ้ เช่น เกี่ยวดอง เป็นดองกัน.
【 ดอง ๔ 】แปลว่า: น. ไม้สําหรับสงฟางในเวลานวดข้าว, กระดองหาย ขอฉาย คันฉาย
ดองฉาย หรือ ดองหาย ก็เรียก.
【 ด่อง ๆ, ด้อง ๆ 】แปลว่า: ว. หย่อง ๆ.
【 ด้อง ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด /Parasilurus cochinchinensis/ ในวงศ์ Siluridae
มีหนวดยาว ไม่มีเกล็ด ลักษณะคล้ายปลาเนื้ออ่อนพวกที่มีครีบหลัง
เว้นแต่มีครีบก้นต่อเนื่องกับครีบหางที่มีขอบกลม ครีบอกมีก้านแข็ง
คล้ายเงี่ยง.
【 ด้อง ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) ว. ผอม.
【 ดองฉาย, ดองหาย 】แปลว่า: น. ไม้สําหรับสงฟางในเวลานวดข้าว, ดอง กระดองหาย ขอฉาย หรือ
คันฉาย ก็เรียก. (ข. จงฺหาย ว่า ไม้สงฟาง, ดอง ว่า ด้าม, ฉาย ว่า สง).
【 ดองดึง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด/ Gloriosa superba/ L. ในวงศ์ Colchicaceae ปลายใบ//
ม้วนลง กลีบดอกเป็นคลื่น สีแดงและเหลือง หัวมีพิษ. (ข. ฎงฎึง).
【 ดอด 】แปลว่า: ก. อาการที่ไปมาหรือทําอย่างใดอย่างหนึ่งโดยอีกฝ่ายหนึ่งไม่รู้หรือ
โดยไม่ให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้ เช่น ดอดมา ดอดเอาไป ดอดไปหา.
【 ดอน 】แปลว่า: น. ที่สูงซึ่งมีลักษณะตรงข้ามกับที่ลุ่ม, ที่เขิน, ที่ห่างนํ้า, เนิน, โคก, โขด,
เขิน; (ถิ่น-อีสาน) เรียกเกาะในแม่นํ้าว่า ดอน; คําประพันธ์โบราณเขียน
เป็น ดร ก็มี.
【 ด่อน ๑ 】แปลว่า: น. ที่ปัก, ที่สวม, เช่น ด่อนตะไล.
【 ด่อน ๒ 】แปลว่า: ว. เผือก, ขาว, ด่างขาว, เช่น ควายด่อน.
【 ด่อน ๓ 】แปลว่า: น. เครื่องมือสําหรับแทงช้างเมื่อเวลาขี่ รูปเป็นเดือยแหลม ทําด้วยเหล็ก.
【 ดอม ๑ 】แปลว่า: น. ราว, แถว, แนว, เช่น ดอมไพร. (ข. ฎงไพฺร).
【 ดอม ๒ 】แปลว่า: น. เครื่องหอม. ก. ดม, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ดม เป็น ดอมดม หรือ ดมดอม.
【 ดอม ๓ 】แปลว่า: ว. ด้วย เช่น พ่อแม่เป็นผู้ใหญ่จะไปดอม. (ขุนช้างขุนแผน).
【 ด่อม 】แปลว่า: ว. ดุ่ม เช่น สู่ซุ้มไพรเดียวด่อม. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
【 ด้อม 】แปลว่า: ก. อาการเดินที่มีลักษณะก้ม ๆ เงย ๆ.
【 ดอย ๑ 】แปลว่า: น. ภูเขา.
【 ดอย ๒ 】แปลว่า: ก. ผูก, มัด, ตอก, ชก, ตี, ปา, ทอย.
【 ด้อย 】แปลว่า: ก. ตํ่ากว่าโดยคุณสมบัติ รูปสมบัติ หรือตําแหน่งหน้าที่ เป็นต้น, อาการ
ที่ท้ายเรือหรือท้ายรถตํ่าลง เรียกว่า ท้ายด้อย, ลักษณะที่ส่วนท้ายของ
สัตว์มีช้างเป็นต้นลาดตํ่าลง.
【 ดอลลาร์ 】แปลว่า: น. ชื่อหน่วยเงินตราที่ใช้เรียกในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา
ออสเตรเลีย. (อ. dollar).
【 ดะ ๑ 】แปลว่า: ว. ตะลุยไป, ไม่เลือกหน้า, ไม่งดเว้น, เช่น เก็บดะ ตีดะ เตะดะ ฟันดะ.
【 ดะ ๒ 】แปลว่า: ใช้นําหน้าคําที่ตั้งต้นด้วยตัว ด ในบทกลอน มีความแปลอย่างเดียวกับ
คําเดิมนั้น เช่น ดะด่อน ดะดัก ดะดุ่ม.
【 ดะโต๊ะยุติธรรม 】แปลว่า: (กฎ) น. ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้มีอํานาจและ
หน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลาม.
【 ดะหมัง 】แปลว่า: [-หฺมัง] น. เสนา. (ช.).
【 ดัก ๑ 】แปลว่า: ก. คอยสกัด เช่น ดักทําร้าย, วางเครื่องดักสัตว์มีกับเป็นต้น เพื่อให้สัตว์
เข้ามาติด เช่น ดักไก่ ดักนก.
【 ดักคอ 】แปลว่า: ก. พูดสกัดหรือกันไว้ล่วงหน้า.
【 ดักฟัง 】แปลว่า: ก. ลักฟัง.
【 ดัก ๒ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กชนิด /Amblyceps mangois/ ในวงศ์
Amblycipidae มีหนวด ไม่มีเกล็ด ลําตัวยาว แบนข้าง ครีบหลัง
ตอนแรกและครีบอกมีก้านครีบเป็นเงี่ยงมีแผ่นเนื้ออยู่ส่วนหน้า
ของครีบอก ครีบหลังตอนที่ ๒ เป็นแผ่น เนื้อครีบหางเป็นแฉก พบ
อาศัยอยู่ตามแหล่งต้นนํ้าลําธาร. (๒) ชื่อปลาดุกนํ้าจืดชนิด /Clarias/
/melanoderma/ ในวงศ์ Clariidae รูปร่างคล้ายปลาดุกอุยและปลาดุก
ด้านซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน เว้นแต่เป็นชนิดเดียวที่ขอบหน้าของ
เงี่ยงครีบอกจักเป็นฟันเลื่อย.
【 ดัก ๆ 】แปลว่า: ว. อาการที่ดิ้นอย่างทุรนทุราย เช่น ปลาดิ้นดัก ๆ. (โบ; กลอน) ว.
ลำบาก, อึดอัด, เร่าร้อนใจ, เช่น มาเดียวพี่ดักดัก ใจจอด แม่แม่.
(นิ. นรินทร์), อะดัก ก็ว่า.
【 ดักดน 】แปลว่า: (กลอน) ว. ลําบาก, ตรากตรําอยู่นาน, เช่น แสนสะดุ้งดักดน.
(ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
【 ดักดาน 】แปลว่า: ว. คงสภาพอยู่อย่างนั้นเป็นเวลานาน (มักใช้ในเรื่องที่ไม่เจริญก้าวหน้า)
เช่น เป็นเสมียนอยู่ดักดาน โง่ดักดาน.
【 ดักเดี้ย 】แปลว่า: ก. ลําบาก, ขัดสน, แกร่วอยู่.
【 ดักแด้ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อตัวอ่อนระยะสุดท้ายของแมลงหลายชนิดที่สร้างเปลือกแข็งหุ้มตัว
เพื่อที่จะเจริญวัยเปลี่ยนรูปร่างเป็นตัวเต็มวัย ระยะนี้จะเป็นระยะอยู่นิ่ง
กับที่และไม่กินอาหารมีรูปร่างต่าง ๆ กัน เช่น รูปไข่ รูปยาวรี, แดกแด้
หรือ แด็กแด้ ก็เรียก.
【 ดักแด้ ๒ 】แปลว่า: ก. ลําบากเต็มแย่, ขัดสนเต็มแย่.
【 ดักษก 】แปลว่า: ดักสก น. ช่างไม้. (ส. ตกฺษก; ป. ตจฺฉก).
【 ดักษณะ 】แปลว่า: ดักสะนะ น. เครื่องตัดและกรางสิ่งของ มีมีด พร้า บุ้ง ตะไบ
เป็นต้น; การตัด, การปอก, การทอน; ตัวหารเฉพาะ (วิชาเลข).
(ส. ตกฺษณ; ป. ตจฺฉน).
【 ดักษณี 】แปลว่า: [-สะนี] น. ผึ่ง, ขวาน. (ส. ตกฺษณี; ป. ตจฺฉนี).
【 ดักษัน 】แปลว่า: น. คนตัดไม้, ช่างไม้. (ส. ตกฺษนฺ).
【 ดัง ๑ 】แปลว่า: น. สันจมูก, ใช้ว่า ดั้ง ก็มี.
【 ดัง ๒ 】แปลว่า: ว. บังเกิดเสียงขึ้นหรือทําให้เสียงบังเกิดขึ้นอย่างแรง เช่น กลองดัง
พูดดัง เสียงดัง.
【 ดัง ๓, ดั่ง 】แปลว่า: ว. เช่น, อย่าง, ราวกับ, คล้าย, เหมือน.
【 ดังจริง 】แปลว่า: ว. อย่างจริง, จริงอย่างนี้.
【 ดังนั้น 】แปลว่า: ว. เช่นนั้น.
【 ดังนี้ 】แปลว่า: ว. เช่นนี้.
【 ดังแนบ 】แปลว่า: ว. เช่นที่แนบมา.
【 ดังรือ, ดังฤๅ 】แปลว่า: ว. เช่นไร, เหตุไร, ไฉน.
【 ดังหนึ่ง 】แปลว่า: ว. เสมือนหนึ่ง.
【 ดั้ง ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องถือสําหรับปิดป้องศัสตราวุธ รูปคล้ายกาบกล้วย, โบราณ
ใช้ว่า ด้าง ก็มี; เรียกเสาเรือนเครื่องสับที่ตั้งอยู่กึ่งกลางบนหลังรอด
ขึ้นไปรับอกไก่ว่า เสาดั้ง, เรียกเสาที่ตั้งบนขื่อสําหรับรับอกไก่ว่า
ดั้งแขวน; เรียกเรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จทางชลมารค จัด
เป็น ๒ สายขนาบเรือกลอง ไปข้างหน้าเรือพระที่นั่งไชยและเรือ
พระที่นั่งทรง อาจมีกี่คู่ก็ได้ ว่า เรือดั้ง; ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่
ป้องกันและ, ล้อมทัพช้างกัน ก็เรียก. ก. ป้องกัน.
【 ดั้ง ๒ 】แปลว่า: น. สันจมูก, มักพูดว่า ดั้งจมูก, ใช้ว่า ดัง ก็มี.
【 ดั้งเดิม 】แปลว่า: ว. เก่าก่อน, เก่าแก่, เดิมที.
【 ดัชนี ๑ 】แปลว่า: [ดัดชะนี] น. นิ้วชี้, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระดัชนี, ดรรชนี ก็ใช้. (ป. ตชฺชนี;
ส. ตรฺชนี).
【 ดัชนี ๒ 】แปลว่า: ดัดชะนี น. จำนวนที่เขียนไว้บนมุมขวาของอีกจำนวนหนึ่ง
ซึ่งเรียกว่า ฐานเพื่อแสดงการยกกำลังของฐานนั้น เช่น ๓๒ ๒ เป็น
ดัชนีของ ๓; ตัวเลขอัตราส่วนซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ในระยะเวลา
หนึ่ง เช่น ดัชนีค่าครองชีพ; ดรรชนี ก็ใช้. (อ. index number).
【 ดัชนีหักเห 】แปลว่า: (แสง) น. ดัชนีหักเหระหว่างตัวกลางคู่หนึ่งที่แสงผ่าน คือ อัตราส่วน
ระหว่างไซน์ของมุมตกกระทบของแสงในตัวกลางหนึ่งต่อไซน์ของ
มุมหักเหของแสงในอีกตัวกลางหนึ่ง, ดรรชนีหักเห ก็ใช้.
(อ. refractive index).
【 ดัชนี ๓ 】แปลว่า: น. บัญชีคำเรียงตามลำดับอักษรที่พิมพ์ไว้ส่วนท้ายของหนังสือเล่ม
รวบรวมคำสำคัญ ๆ ซึ่งมีกล่าวถึงในหนังสือเล่มนั้น โดยบอกเลข
หน้าที่มีคำนั้น ๆ ปรากฏอยู่เพื่อสะดวกแก่การค้น, ดรรชนี ก็ใช้.
【 ดัด ๑ 】แปลว่า: ก. ทําให้คดหรือตรงตามประสงค์ เช่น ดัดไม้ ดัดนิสัย; ทําให้เที่ยงตรง
เช่น พระดัดคดีดล โดยเยี่ยง ยุกดิ์นา. (ตะเลงพ่าย); ปลุก เช่น เคยดัด
ฤดีตาตื่นตรับ. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). ว. ที่ทําให้คดหรือตรงตาม
ประสงค์ เช่น ไม้ดัด ตะโกดัด.
【 ดัดจริต 】แปลว่า: [-จะหฺริด] ก. แสร้งทํากิริยาหรือวาจาให้เกินควร.
【 ดัดดั้น 】แปลว่า: ก. ตัดทางไป, ลัดทางไป, เช่น ก็รีบลัดดัดดั้นตามไป. (อิเหนา), ดั้นดัด
ก็ใช้ เช่น ดั้นดัดลัดพงดงดาน. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
【 ดัดตน 】แปลว่า: ก. บริหารร่างกาย.
【 ดัดแปลง 】แปลว่า: [-แปฺลง] ก. แก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม, เปลี่ยนจากรูปเดิมโดย
แก้ไขเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย, เช่น ดัดแปลงเรือนชั้นเดียวให้เป็น ๒
ชั้น; (กฎ) เปลี่ยนแปลงต่อเติม เพิ่ม ลด หรือขยายซึ่งลักษณะขอบเขต
แบบ รูปทรง สัดส่วนนํ้าหนัก เนื้อที่ ของโครงสร้างของอาคารหรือส่วน
ต่าง ๆ ของอาคาร ซึ่งได้ก่อสร้างไว้แล้วให้ผิดไปจากเดิม และมิใช่การ
ซ่อมแซมหรือการดัดแปลงที่กําหนดในกฎกระทรวง; ทําซํ้าโดยเปลี่ยน
รูปใหม่ ปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติม หรือจําลองงานต้นฉบับในส่วนอันเป็น
สาระสําคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทํางานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ไม่ว่า
ทั้งหมดหรือบางส่วน.
【 ดัดสันดาน 】แปลว่า: ก. แก้นิสัยให้ดี.
【 ดัด ๒ 】แปลว่า: ก. ดาด, กั้น, เช่น ดัดพิดาน ว่า กั้นเพดาน.
【 ดัดปลัก 】แปลว่า: น. เดือน.
【 ดัตช์ 】แปลว่า: น. ชาวฮอลันดา. (อ. Dutch).
【 ดัน 】แปลว่า: ก. ผลักเพื่อให้เคลื่อนไปด้วยกําลัง เช่น ดันประตู; (ปาก) โดยปริยาย
หมายถึงขืนทํา เช่น กางเกงคับยังดันสวมเข้าไปได้, ทําในสิ่งที่ไม่น่า
จะทํา เช่น ดันขึ้นไปอยู่บนยอดไม้.
【 ดันทุรัง 】แปลว่า: ว. ดื้อดึงไม่ยอมแพ้, ดื้อดึงไม่เข้าเรื่อง, ดัน ก็ว่า.
【 ดั้น ๑ 】แปลว่า: ก. ฝ่าไป, มุดด้นไป.
【 ดั้นเมฆ 】แปลว่า: ก. ฝ่าไปในเมฆ.
【 ดั้น ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อโคลงและร่ายประเภทหนึ่ง เรียกว่า โคลงดั้น และ ร่ายดั้น.
【 ดันเหิม 】แปลว่า: (โบ; กลอน) ก. ตันเหิม, รื่นเริง, บันเทิงใจ, เช่น ดันเหิมหื่นหรรษาโมทย์.
(ม. คําหลวง จุลพน).
【 ดับ ๑ 】แปลว่า: ก. สูญสิ้นไป เช่น วิญญาณดับ อนาคตดับ, สิ้นแสง เช่น ไฟดับ
เดือนดับ, ทําให้สิ้นแสง เช่น ดับไฟ, ทําให้สิ้น เช่น ดับกิเลส ดับ
ทุกข์, ทําให้ระงับ เช่น ดับโทสะ ดับโมโห, หยุดหรือทําให้หยุด
เช่น เครื่องดับ ดับเครื่อง; เรียกวันสิ้นเดือนตามจันทรคติว่า วันดับ.
【 ดับขันธ์ 】แปลว่า: ก. ตาย.
【 ดับเครื่อง 】แปลว่า: ก. ทําให้เครื่องยนต์เครื่องกลไกเป็นต้นหยุด, ถ้าเครื่องยนต์เครื่อง
กลไกเป็นต้นหยุดเอง เรียกว่า เครื่องดับ.
【 ดับจิต 】แปลว่า: ก. ตาย. (ปาก) น. เรียกห้องเก็บศพของโรงพยาบาลว่า ห้องดับจิต.
【 ดับชีพ 】แปลว่า: ก. ตาย.
【 ดับลม 】แปลว่า: ก. ทําให้ลมในท้องระงับไปชั่วคราว, โดยปริยายหมายความว่า
กินพอประทังความหิว.
【 ดับ ๒ 】แปลว่า: น. คํากํากับชื่อปีในวิธีนับศักราชทางเหนือ ตรงกับเลข ๒.
【 ดับ ๓ 】แปลว่า: (โบ) น. ลําดับ.
【 ดัมพ์ 】แปลว่า: (แบบ) น. ทองแดง. (ป. ตมฺพ).
【 ดั้วเดี้ย 】แปลว่า: ว. เคลื่อนไปทีละน้อย ๆ เช่น หนอนไต่ดั้วเดี้ย.
【 ดัสกร 】แปลว่า: ดัดสะกอน น. ข้าศึก. (ส. ตสฺกร; ป. ตกฺกร ว่า โจร, ขโมย).
【 ดัสกรี 】แปลว่า: [ดัดสะกะรี] น. หญิงที่มากด้วยราคจริตและโทสจริต. (ส.).
【 ดา ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อแมลงพวกมวน มีหลายสกุล, ชนิดที่ตัวกว้าง รูปไข่ แบน
เมื่อพับปีก ปีกจะแนบไปกับสันหลัง ความยาวจากหัวถึงปลาย
ปีก ๖.๒-๘.๒ เซนติเมตร ส่วนท้องกว้าง ๒.๖-๒.๘ เซนติเมตร สี
นํ้าตาลแก่หรือนํ้าตาลอมเขียว ด้านหลังของส่วนอกตอนต้นมีลาย
เป็นแถบ ๕ แถบ คือ แมลงดา หรือ แมลงดานา /(Lethocerus indicus)/
ใช้ตํากับนํ้าพริก กินได้; อีกสกุลหนึ่ง คือ แมลงดาสวน หรือ แมลง
สีเสียด /(Sphaerodema rusticum/ และ/ S. molestum)/ รูปร่างคล้าย
แมลงดานามาก แต่เล็กกว่า ขนาดยาว ๑.๓-๑.๗ เซนติเมตร กว้าง
๐.๙ เซนติเมตร นํามาคั่วกับเกลือ กินได้; และยังมีสกุล/ Laccotrephes/ ได้แก่
ชนิด /L. ruber/ และ/ L. robustus/ ซึ่งมีลําตัวยาว ๓-๔.๔ เซนติเมตร กว้าง
๑-๑.๓ เซนติเมตร สีนํ้าตาลอมแดง มีหางยาว ๒ อัน ยาว ๑.๒-๑.๓
เซนติเมตร, สกุลนี้ แมลงดาโป้งเป้ง ดากลั้นเยี่ยว หรือ ดาเยี่ยว ก็เรียก.
【 ดา ๒ 】แปลว่า: ก. เรียงหน้ากันเข้าไปเป็นหน้ากระดาน เช่น ดาหน้า. ว. มาก,
หลาย, เกลื่อนไป.
【 ดาดาษ 】แปลว่า: ว. มากมาย, เกลื่อนกลาด, มีทั่วไป, ดารดาษ ดาษ หรือ ดาษดา ก็ใช้.
【 ดาดำ 】แปลว่า: ว. ดําล้วน.
【 ด่า 】แปลว่า: ก. ใช้ถ้อยคําว่าคนอื่นด้วยคําหยาบช้าเลวทราม.
【 ด่าทอ 】แปลว่า: ก. ด่า, ด่าตอบกัน.
【 ดาก 】แปลว่า: น. ปลายลําไส้ใหญ่ที่ทวารหนัก; ไม้สําหรับอุดก้นตะบันหรือสิ่งอื่นที่มี
รูปร่างอย่างนั้น เช่น ดากตะบัน ดากพลุ, ไม้ลิ่มที่ตอกขั้วลูกขนุนที่ตัด
มาแล้ว เชื่อว่าทำให้สุกเร็วขึ้น.
【 ดากลั้นเยี่ยว 】แปลว่า: /ดู ดา ๑/.
【 ด่าง ๑ 】แปลว่า: น. นํ้าขี้เถ้าที่เกรอะหรือแช่ไว้ มีรสกร่อย ๆ สําหรับทํายาและกัดสิ่งของ;
(วิทยา) สารประกอบจําพวกไฮดรอกไซด์ของโลหะแอลคาไล ซึ่งละลาย
นํ้าได้ดี มีรสฝาด ถูกมือลื่นคล้ายสบู่.
【 ด่างทับทิม 】แปลว่า: น. ของสิ่งหนึ่งเป็นเกล็ด สีม่วงแก่ เมื่อละลายนํ้าจะออกเป็นสีทับทิม;
(วิทยา) เกลือปรกติชนิดหนึ่ง ชื่อโพแทสเซียมเพอร์แมงกาเนต มีสูตร
KMnO4 เป็นของแข็ง ลักษณะเป็นผลึกสีม่วงแก่ ใช้ประโยชน์เป็นสาร
ฆ่าเชื้อโรค ใช้ทํายาดับกลิ่น.
【 ด่าง ๒ 】แปลว่า: ว. เป็นดวงหรือเป็นจุดขาว ๆ ผิดกับสีพื้น เช่น วัวด่าง มือด่าง, มีสี
จางกว่าสีเดิมเป็นแห่ง ๆ เช่น ผ้าด่าง.
【 ด่างพร้อย 】แปลว่า: ว. เป็นดวง ๆ จุด ๆ ทั่วไป, โดยปริยายหมายความว่า มีมลทิน,
มัวหมอง, ไม่บริสุทธิ์, เช่น มีศีลด่างพร้อย.
【 ด้าง 】แปลว่า: (โบ) น. ดั้ง เช่น แหลนไป่ติดด้าง. (ม. คําหลวง ชูชก).
【 ดาด ๑ 】แปลว่า: ก. เอาวัตถุเช่นผ้าเป็นต้นขึงหรือปิดบังให้ทั่วตอนเบื้องบน เช่น ดาดเพดาน
ดาดหลังคา, ถ้าปูตอนล่างเช่นพื้นเรือนเป็นต้น เรียกว่า ลาด เช่น ลาดเสื่อ
ลาดพรม. ว. ไม่ชัน เช่น หลังคาดาด.
【 ดาดฟ้า 】แปลว่า: น. พื้นราบตอนบนของเรือ, พื้นราบตอนบนสุดของอาคาร.
【 ดาด ๒, ดาด ๆ 】แปลว่า: ว. ธรรมดา ๆ, ไม่รัดกุม, เช่น สํานวนดาด ๆ.
【 ดาดตะกั่ว ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไข้ทรพิษที่ออกหนาเป็นพืดดํา.
【 ดาดตะกั่ว ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด/ Hemigraphis alternata/ T. Anders. ในวงศ์
Acanthaceae ใบสีเทา ด้านล่างสีแดง ดอกเล็ก สีม่วงอ่อน
ปลูกเป็นไม้ประดับ.
【 ดาน 】แปลว่า: ว. แข็ง, แน่น, เรียกดินที่จับตัวแข็งเป็นชั้น โดยมากเป็นประเภท
ดินเหนียวเนื้อแน่นที่นํ้าไหลผ่านไม่ได้ เกาะตัวแข็งอยู่ใต้ผิวดิน ว่า
ดินดาน, เรียกหินแข็งหรือหินผุที่รองรับดิน ทราย กรวด ซึ่งมีแร่เช่น
ดีบุก ทองคํา รวมอยู่ด้วย ว่า หินดาน, เรียกสิ่งที่มีลักษณะแข็งเป็น
ดานอยู่ในท้อง เช่น ดานเลือด ดานลม.
【 ด่าน 】แปลว่า: น. ทางผ่าน เช่น ด่านช้าง, ทางผ่านพรมแดนระหว่างประเทศ เช่น
ด่านเจดีย์สามองค์ ด่านสิงขร; ที่สําหรับกัก ตรวจ คอยระวังเหตุ
และป้องกันช่องทางที่จะผ่านเข้าออก เช่น ด่านตรวจคนเข้าเมือง
ด่านศุลกากร ด่านกักสัตว์.
【 ด้าน ๑ 】แปลว่า: น. ฝ่าย, ข้าง, ทาง, ส่วน, เช่น ด้านซ้าย ด้านขวา ด้านวิชาการ
ด้านศิลปกรรม ด้านวิทยาศาสตร์.
【 ด้านรี 】แปลว่า: น. ด้านข้างของเรือนฝากระดานหรือโบสถ์ วิหาร.
【 ด้านสกัด 】แปลว่า: น. ด้านหัวหรือด้านท้ายของเรือนฝากระดาน, ถ้าเป็นด้านหัวหรือ
ด้านท้ายของโบสถ์วิหาร เรียกว่า ด้านหุ้มกลอง.
【 ด้าน ๒ 】แปลว่า: ว. กระด้าง, ไม่นิ่ม, เช่น มือด้าน ข้อศอกด้าน; ไม่เป็นมัน, ไม่เป็นเงา,
เช่น สีด้าน กระดาษด้าน; จุดไม่ติดหรือไม่ระเบิด เช่น ประทัดด้าน
ชนวนด้าน ลูกระเบิดด้าน; โดยปริยายหมายความว่า ไม่รู้สึกเจ็บ,
ไม่รู้สึกอาย, เช่น หน้าด้าน.
【 ด้านไม้ 】แปลว่า: ก. ถูกตีมากจนชินเลยไม่รู้จักหลาบจํา.
【 ด้านหน้า 】แปลว่า: ก. ดื้อเข้าไปหาโดยไม่รู้สึกอาย.
【 ดาบ ๑ 】แปลว่า: น. มีดยาวปลายแหลมชนิดหนึ่ง สันแอ่นปลายงอนเล็กน้อย มักใช้
เป็นอาวุธสําหรับฟันแทง.
【 ดาบปลายปืน 】แปลว่า: น. ดาบสั้นตรงสําหรับติดปลายปืน.
【 ดาบสองคม 】แปลว่า: (สํา) ว. มีทั้งคุณและโทษ, อาจดีอาจเสียก็ได้.
【 ดาบ ๒ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อปลาทะเลที่มีลําตัวเรียวยาว แบนข้าง สีเทาเงิน เช่น ดาบเงิน
ดาบลาว. (๒) /ดู ท้องพลุ/.
【 ดาบเงิน 】แปลว่า: น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในวงศ์ Trichiuridae ได้แก่ ชนิด /Trichiurus/
/lepturus/ ซึ่งชุกชุมที่สุด ชนิด/ Tentoriceps cristatus, Eupleurogrammus/
/muticus/ และ/Lepturacanthus savala/ ทุกชนิดมีลักษณะคล้ายกันมาก
คือมีหัวแหลมลาดตํ่าไปข้างหน้า ปากล่างยื่นฟันคมแข็งแรง ตัว
ยาวมาก แบนข้าง เรียวแหลมเป็นเส้นไปทางหาง แต่ไม่มีครีบหาง
ครีบหลังยาวเกือบตลอดแนวสันหลังยกเว้นใกล้หัว ครีบก้นเป็น
เพียงแถวของหนามแข็งขนาดเล็กโผล่จากสันท้องไม่มี ครีบท้อง
หรือมีแต่เล็กมาก ไม่มีเกล็ด ผิวหนังสีเงินหรือเทา, ดาบ ก็เรียก.
【 ดาบลาว 】แปลว่า: น. ชื่อปลาทะเลชนิด /Chirocentrus dorab/ และ/ C. nudus/ ในวงศ์
Chirocentridae ปากเชิดขึ้น มีฟันแหลมคมมาก ลําตัวยาว แบนข้าง
ท้องเป็นสันแหลม แนวสันหลังและสันท้องตรงเกือบขนานกัน ครีบหลัง
และครีบก้นอยู่ค่อนไปทางหาง ครีบท้องมีขนาดเล็กมาก เกล็ดเล็กและ
บาง ด้านหลังลําตัวสีนํ้าเงิน ด้านข้างและท้องสีขาวเงิน, ฝักพร้า หรือ
ดาบ ก็เรียก.
【 ดาบส 】แปลว่า: [-บด] น. ผู้บําเพ็ญตบะคือการเผากิเลส, ฤษี. (ป., ส. ตาปส), เพศหญิง
ใช้ว่า ดาบสินี. (ป. ตาปสินี), ในบทกลอนใช้ว่า ดาวบส ก็มี เช่น ไปแต่ง
องค์ทรงไม้เท้าของดาวบส. (อภัย).
【 ดาม ๑ 】แปลว่า: ก. ทาบประกอบหรือประกับให้แข็ง เช่น ดามไม้คาน, ทาบหรือปะให้หนา
เพื่อให้คงทน เช่น ดามผ้า.
【 ดาม ๒ 】แปลว่า: ก. ด้อม, เดินประกับไป, มักใช้เข้าคู่กับคํา ด้อมว่า ดามด้อม เช่น มาอยู่ดาม
ด้อมหน. (ม. คําหลวง มัทรี), ใช้ว่า ด้าม ก็มี เช่น เสือสางด้ามด้อมทาง. (ลอ).
【 ด้าม 】แปลว่า: น. ส่วนของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ใช้ถือใช้จับ เช่น ด้ามมีด ด้ามขวาน, ลักษณนาม
เรียกของบางอย่างที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า ด้าม เช่น ปากกาด้ามหนึ่ง ปากกา
๒ ด้าม; ต้น, ทาง, เช่น โดยด้ามอาทิสวคนธ์. (ม. คําหลวง จุลพน), ผู้เผด็จ
ด้ามตัณหา. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์), โดยด้ามอาทิทศธรรมสนท้าว.
(ม. คําหลวง นครกัณฑ์), แลราชผู้มีอยู่ในด้ามมารคธรรม. (ม. คําหลวง
นครกัณฑ์).
【 ด้ามจิ้ว 】แปลว่า: น. ชื่อพัดชนิดหนึ่งที่คลี่ได้พับได้อย่างพัดจีน.
【 ดามพ-, ดามพ์ 】แปลว่า: [ดามพะ-, ดาม] น. ทองแดง, สิ่งที่ทําด้วยทองแดง. (ป. ตมฺพ; ส. ตามฺร).
【 ดามพวรรณ 】แปลว่า: ว. มีสีเหมือนทองแดง.
【 ดามระ 】แปลว่า: ดามมะระ, ดามะระ น. ทองแดง. (ส. ตามฺร; ป. ตมฺพ).
【 ดาย 】แปลว่า: ก. ใช้มีดหรือจอบเป็นต้นถากต้นหญ้าเพื่อให้เตียน. ว. ดะไป, ตะลุย,
เช่น กินดาย; เพิกเฉย, ไม่เอาใจใส่, เช่น ดูดาย; ทีเดียว, เท่านั้น, เช่น
เดียวดาย เปล่าดาย พู้นมาดาย. (จารึกสยาม); ง่าย เช่น สะดวกดาย;
โดด, เดี่ยว, เลย, ถ่ายเดียว, (มักใช้ในที่สุดประโยค).
【 ด้าย 】แปลว่า: น. สิ่งที่ทําด้วยใยเป็นต้นว่าใยฝ้าย ปั่นเป็นเส้นสําหรับเย็บ ถัก หรือ
ทอผ้าเป็นต้น.
【 ด้ายซัง 】แปลว่า: น. ด้ายทอที่ตัดจากผ้าทิ้งอยู่ในหูก.
【 ด้ายดิบ 】แปลว่า: น. ด้ายที่ยังไม่ได้ฟอก.
【 ดาร-, ดาระ 】แปลว่า: (แบบ) น. เสียง, เสียงดัง, เสียงสูง, เสียงแหลม. ก. ข้าม เช่น ฝ่ายคน
ผู้ข้าได้ดํารวจดารทาน. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป., ส. ตาร).
【 ดารกะ 】แปลว่า: -ระกะ น. ดาว, ดวงดาว. (ป., ส. ตารกา).
【 ดารณี 】แปลว่า: [-ระนี] น. เรือ. (ส. ตารณี).
【 ดารดาษ 】แปลว่า: [-ระดาด] ว. มากมาย, เกลื่อนกลาด, มีทั่วไป, ดาดาษ ดาษ หรือ
ดาษดา ก็ว่า.
【 ดารา 】แปลว่า: น. ดาว, ดวงดาว; เรียกบุคคลที่แสดงนําหรือมีชื่อเสียงในศิลปะ
การแสดงในทางใดทางหนึ่ง เช่น ดาราภาพยนตร์; เครื่องประกอบ
ราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นทวีติยาภรณ์ขึ้นไป มีลักษณะเป็นดาวรัศมี
๘ แฉกบ้าง ๑๖ แฉกบ้าง, ถ้าเป็นดาราจักรี ก็ทําเป็นรูปจักร ๑๐ กลีบ.
(ป., ส. ตารา).
【 ดาราบถ 】แปลว่า: น. ท้องฟ้า. (ส.).
【 ดาราศาสตร์ 】แปลว่า: น. วิชาว่าด้วยดาว. (อ. astronomy).
【 ดาล ๑ 】แปลว่า: น. กลอนประตูที่ทําด้วยไม้สําหรับขัดบานประตูอย่างประตูโบสถ์
เช่น ลงดาล ลั่นดาล ขัดดาล, เหล็กสําหรับไขดาล มีรูปเป็นมุมฉาก
๒ ทบอย่างคันฉัตรหลังพระพุทธรูป เรียกว่า ลูกดาล, ช่องสําหรับ
ไขดาล เรียกว่า ช่องดาล, (โบ) ใช้ว่า ดาฬ.
【 ดาลฉัตร 】แปลว่า: น. คันฉัตรตรงที่มีรูปเป็นมุมฉาก ๒ ทบอย่างลูกดาล เพื่อปักให้ฉัตร
อยู่เหนือพระเศียร เรียกว่า คันดาลฉัตร.
【 ดาล ๒ 】แปลว่า: ก. เกิดขึ้น, เป็นขึ้น, มีขึ้น. น. พื้น, ฝ่า (ใช้แก่มือหรือเท้า) เช่น ดาลได
ว่า ฝ่ามือ ดาลเชิง ว่า ฝ่าเท้า. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
【 ดาลเดือด 】แปลว่า: ก. บังเกิดความโกรธ, เคือง, เดือดดาล ก็ใช้.
【 ดาลโทสะ 】แปลว่า: ก. บังเกิดความโกรธถึงขนาด, ลุแก่โทสะ.
【 ดาลัด 】แปลว่า: น. แก้ว. (ช.).
【 ดาลุ 】แปลว่า: (แบบ) น. เพดานปาก. (ป., ส.).
【 ดาลุชะ 】แปลว่า: น. ตาลุชะ. (ป., ส.).
【 ดาว ๑ 】แปลว่า: น. สิ่งที่เห็นเป็นดวงมีแสงระยิบระยับในท้องฟ้าเวลามืด นอกจาก
ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์, แต่ในตําราโหราศาสตร์ถือว่า ดวงอาทิตย์
และดวงจันทร์เป็นดาวในพวกดาวนพเคราะห์; เรียกกลุ่มดาว เช่น
ดาวลูกไก่ ดาวจระเข้ ดาวไถ; เรียกบุคคลที่เด่นในทางใดทางหนึ่ง;
เรียกสิ่งที่มีรูปเป็นแฉกคล้ายคลึงเช่น นั้น เช่น ดาวเครื่องหมายยศ
ทหารตํารวจ; ชื่อลายประดับเพดานเป็นดวง ๆ มีหลายชนิด เช่น
ดาวจงกล ดาวรังแตน ดาวกระจาย.
【 ดาวเคราะห์ 】แปลว่า: (ดารา) น. ดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง ต้องได้รับแสงสว่างจาก
ดวงอาทิตย์ และเป็นบริวารโคจรรอบดวงอาทิตย์ มี ๙ ดวง คือ พุธ
(Mercury) ศุกร์ (Venus) โลก (Earth) อังคาร (Mars) พฤหัสบดี
(Jupiter) เสาร์ (Saturn) มฤตยู (Uranus) สมุทร (Neptune) ยม
(Pluto) มองจากโลกจะเห็นได้ด้วยตาเปล่าเพียง ๕ ดวง คือ พุธ
ศุกร์ อังคาร พฤหัสบดี และเสาร์.
【 ดาวตก 】แปลว่า: น. เทหวัตถุแข็งจากอวกาศ เมื่อเกิดเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศ
จะแลดูสว่างพุ่งเป็นทางเข้าสู่ผิวโลก, ผีพุ่งไต้ ก็เรียก.
【 ดาวเทียม 】แปลว่า: น. วัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นเลียนแบบดาวบริวารของดาวเคราะห์
เพื่อให้โคจรรอบโลกหรือรอบเทห์ฟากฟ้าอื่น มีอุปกรณ์สําหรับเก็บ
รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอวกาศและถ่ายทอดข้อมูลนั้นมายังโลก,
วัตถุลักษณะดังกล่าวที่โคจรรอบโลก ใช้เป็นอุปกรณ์โทรคมนาคม
ด้วย เช่น ถ่ายทอดคลื่นวิทยุและโทรทัศน์ข้ามทวีป.
【 ดาวรุ่ง 】แปลว่า: น. ดาวประกายพรึก คือ ดาวพระศุกร์ที่เห็นในเวลาเช้ามืด.
【 ดาวฤกษ์ 】แปลว่า: น. ดาวที่มีลักษณะเป็นกลุ่มแก๊สทรงกลม สามารถแผ่รังสีออก
ได้รอบตัว.
【 ดาวล้อมเดือน 】แปลว่า: น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง. (สํา) ว. มีบริวารแวดล้อมมาก.
【 ดาวหาง 】แปลว่า: น. ชื่อดาวจรชนิดหนึ่งที่ส่วนท้ายมีแสงลักษณะเป็นทางยาวดุจหาง.
【 ดาวเหนือ 】แปลว่า: น. ดาวฤกษ์สุกใสดวงหนึ่งที่อยู่ใกล้ที่สุดกับขั้วท้องฟ้าเหนือ.
【 ดาว ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อเสือชนิด/ Panthera pardus/ ในวงศ์ Felidae ขนาดใหญ่รองลงมา
จากเสือโคร่ง ตัวสีนํ้าตาลแกมเหลือง มีจุดดําทั่วตัว ว่องไวและดุ ขึ้น
ต้นไม้เก่ง กินเนื้อ, บางตัวขนส่วนที่เป็นสีน้ำตาลแกมเหลืองเป็นสีดํา
เรียก เสือดําหรือเสือแมลงภู่ ซึ่งมีรอยจุดดําอยู่ทั่วตัวเหมือนกัน แต่จะ
เห็นได้ชัดเมื่อถูกแสง.
【 ดาว ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อกวางชนิด/ Axis axis/ ในวงศ์ Cervidae เป็นกวางขนาดกลาง ขนสี
นํ้าตาลหรือน้ำตาลอมเหลืองละเอียดอ่อนและนุ่มกว่ากวางป่า มีจุด
ขาวทั่วตัว อยู่รวมกันเป็นฝูง กินพืช มีถิ่นกําเนิดในอินเดียและศรีลังกา.
【 ด่าว 】แปลว่า: (กลอน) ว. อาการดิ้นอย่างดิ้นแด่ว ๆ ดิ้นยัน ๆ, เด่า หรือ เด่า ๆ ก็ว่า.
【 ด้าว 】แปลว่า: น. แดน, ประเทศ, เช่น คนต่างด้าว; ด้าน เช่น ด้าวท้าย ว่า ด้านท้าย.
【 ดาวกระจาย 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในสกุล /Cosmos/ วงศ์ Compositae คือ ชนิด/ C./
/caudatus/ H.B.K. ดอกสีม่วง ชมพู และขาว ใบเป็นจัก กินได้
และชนิด /C. sulphureus/ Cav. ดอกสีเหลือง.
【 ดาวดึงส์ 】แปลว่า: [ดาววะ-] น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๒ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือ
จาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และ
ปรนิมมิตวสวัตดี มีพระอินทร์เป็นผู้ครอง. (ป. ตาวต??ส; ส. ตฺรยสฺตฺร??ศตฺ).
【 ดาวทะเล 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังหลายชนิดในชั้น Asteroidea ตัวมี
๕ แฉกหรือมากกว่า คล้ายดาว หลังเป็นหนามขรุขระ, ปลาดาว ก็เรียก.
【 ดาวบส 】แปลว่า: ดาวบด น. ดาบส เช่น ไปแต่งองค์ทรงไม้เท้าของดาวบส. (อภัย).
【 ดาวเรือง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Tagetes erecta/ L. ในวงศ์ Compositae ใบเป็นจัก
ดอกเป็นกระจุก สีเหลือง.
【 ดาษ ๑ 】แปลว่า: น. โรคระบาด มักขึ้นตามตัว เป็นเม็ดเล็ก ๆ ทั่วไป เรียกว่า ฝีดาษ, ไข้ทรพิษ
ก็ว่า, โบราณเรียก ไข้หัว.
【 ดาษ ๒, ดาษดา 】แปลว่า: [ดาด, ดาดสะดา] ว. มากมาย, เกลื่อนกลาด, มีทั่วไป, ดาดาษ หรือ ดารดาษ
ก็ใช้.
【 ดาษดื่น 】แปลว่า: [ดาด-] ว. เกลื่อนกลาด, มากหลาย, ดื่นดาษ ก็ว่า.
【 ดาษเดียร 】แปลว่า: [ดาดสะเดียน] ว. เดียรดาษ, เกลื่อนกลาด.
【 ดาหงัน 】แปลว่า: -หฺงัน ก. ทําสงคราม, รบศึก. (ช.).
【 ดาฬ 】แปลว่า: ดาน น. กลอนประตู. /(ดู ดาล ๑)./
【 ดำ ๑ 】แปลว่า: ก. มุดลง ในคําว่า ดํานํ้า.
【 ดำดิน 】แปลว่า: ก. หลบหายไป, หายไปโดยไม่มีร่องรอย.
【 ดำหัว 】แปลว่า: น. ประเพณีทางภาคเหนือซึ่งกระทําในวันปีใหม่เพื่อเป็นการแสดง
ความเคารพนับถือและรักใคร่ วิธีดําหัว คือ เอาสิ่งของและนํ้าที่ใส่
เครื่องหอมเช่นนํ้าอบไทยไปให้แก่ผู้ที่เคารพ และขอให้ท่านรดนํ้าใส่
หัวของตนเพื่อให้อยู่เย็นเป็นสุข.
【 ดำ ๒ 】แปลว่า: ก. ปลูกข้าวกล้า, เรียกนาชนิดหนึ่งซึ่งใช้ถอนต้นกล้ามาปลูกว่า
นาดํา, คู่กับ นาหว่านซึ่งใช้หว่านเมล็ดข้าวลงในนา.
【 ดำนา 】แปลว่า: ก. ปลูกต้นข้าวลงในนา. (ข. ดํา ว่า ปลูก).
【 ดำ ๓ 】แปลว่า: ว. สีอย่างสีมินหม้อ, ใช้ประกอบสิ่งต่าง ๆ บางอย่างโดยอนุโลมตาม
ลักษณะสี เป็นชื่อเรียกเฉพาะ เช่น ผ้าดํา เต่าดํา มดดํา.
【 ดำแดง 】แปลว่า: ว. สีนํ้าตาล (ใช้แก่ผิวเนื้อ ๒ สี).
【 ดำปืน 】แปลว่า: ว. ดําสนิท.
【 ด่ำ 】แปลว่า: ก. ลึกลงไปจนถึงก้นบึ้ง.
【 ด้ำ ๑ 】แปลว่า: (โบ; กลอน) น. ด้าม.
【 ด้ำ ๒ 】แปลว่า: น. ผีเรือน.
【 ดำกล 】แปลว่า: ก. ก่อสร้าง, ตั้ง, ตั้งไว้, ในวรรณคดีหมายความว่า งาม เช่น ดํากลดาด
ด้วยดวงดาว. (ม. คําหลวงจุลพน). (แผลงมาจาก ถกล).
【 ดำเกิง 】แปลว่า: ก. ขึ้น. ว. รุ่งเรือง, สูง, สูงศักดิ์ เช่น รื่นเริงดําเกิงใจยะย้าว. (ม. คําหลวง
มหาพน). (แผลงมาจาก เถกิง).
【 ดำแก้มขาว 】แปลว่า: /ดู เต่าดำ ที่ เต่า ๑/.
【 ดำแคง 】แปลว่า: ก. เลื่องลือ, ระบือไป, ดังสนั่น. (ข. แถฺกง).
【 ดำดง 】แปลว่า: /ดู พญารากดํา/.
【 ดำ ๆ แดง ๆ 】แปลว่า: (สํา) น. เงินทองรูปพรรณ เช่น ต้องมีดํา ๆ แดง ๆ ติดตัวไว้บ้าง.
【 ดำนาณ 】แปลว่า: (แบบ) น. เครื่องห้าม, เครื่องป้องกัน, เครื่องต้านทาน, ที่พึ่ง, ที่อาศัย.
(ป. ตาณ; ส. ตฺราณ).
【 ดำนาน 】แปลว่า: (แบบ) น. เรื่องแสดงกิจการอันมีมาแล้วแต่ปางหลัง เช่น น้าวเอาดํานาน
พระมหาแพศ ยันดรธรรมเทศนา. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์). /(ดู ตํานาน)./
【 ดำนู 】แปลว่า: (แบบ; กลอน; แผลงมาจาก ดนู) ส. ฉัน, ข้าพเจ้า, เช่น กึ่งกายกามดํานู.
(ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
【 ดำเนิน ๑ 】แปลว่า: ก. เดิน, ราชาศัพท์ใช้ว่า ทรงพระดําเนิน; ให้เป็นไป เช่น ดําเนินงาน
ดําเนินชีวิต. (ข. ฎํเณีร).
【 ดำเนินคดี 】แปลว่า: ก. ฟ้องร้องต่อศาล; (กฎ) ร้องทุกข์หรือฟ้องคดีตามกฎหมายวิธี
พิจารณาความ.
【 ดำเนิน ๒ 】แปลว่า: ว. ห่ามจวนสุก, แก่ยังไม่จัด, ตําเนิน ก็ว่า. /(ดู ตําเนิน ๑)./
【 ดำเนียน 】แปลว่า: (แบบ) ก. ติเตียน. (ข. ฎํเนียล).
【 ดำเนียร 】แปลว่า: (แบบ) ว. ที่ผ่านมา เช่น อนี้จะชี้นิต- ติดําเนียรดํานานสาร. (สมุทรโฆษ).
【 ดำบล 】แปลว่า: (แบบ; กลอน) น. ตําบล, ถิ่น, หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ๆ.
【 ดำพอง, ดำโพง 】แปลว่า: (แบบ; กลอน; แผลงมาจาก ตะพอง) น. ส่วนที่นูนเป็น ๒ แง่อยู่เหนือ
หน้าผากช้าง เช่น พลอยผูกกระพัดรัดดําโพง. (ม. คําหลวง มหาราช).
【 ดำรง 】แปลว่า: ก. ทรงไว้, ชูไว้, ทําให้คงอยู่, เช่น ดํารงวงศ์ตระกูล. ว. ตรง, เที่ยง. (แผลง
มาจากตรง). (ข. ฎํรง่, ตมฺรง่).
【 ดำรวจ 】แปลว่า: [-หฺรวด] (แบบ; กลอน; แผลงมาจาก ตรวจ) ก. ตรวจตรา, พิจารณา,
เช่น ฝ่ายคนผู้ข้าได้ดํารวจดารทาน. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
【 ดำรัส 】แปลว่า: [-หฺรัด] น. คําพูดของเจ้านาย ใช้ว่า พระดํารัส, คําพูดของพระมหากษัตริย์
ใช้ว่า พระราชดํารัส. ก. พูด (ใช้แก่เจ้านาย). (แผลงมาจาก ตรัส).
【 ดำริ 】แปลว่า: [-หฺริ] ก. คิด, ไตร่ตรอง. (แผลงมาจาก ตริ).
【 ดำรี 】แปลว่า: น. ช้าง, ใช้ว่า ดําไร ก็มี. (ข. ฎํรี).
【 ดำรู ๑ 】แปลว่า: (กลอน; แผลงมาจาก ตรู) ว. งาม, น่ารัก.
【 ดำรู ๒ 】แปลว่า: (กลอน; แผลงมาจาก ตรุ) น. ต้นไม้.
【 ดำไร 】แปลว่า: น. ช้าง, ใช้ว่า ดํารี ก็มี.
【 ดำฤษณา 】แปลว่า: [ดําริดสะหฺนา] น. ความปรารถนา, ความดิ้นรน, ความอยาก, ความเสน่หา.
(ส. ตฺฤษฺณา; ป. ตณฺหา).
【 ดำเลิง 】แปลว่า: (แบบ; กลอน; แผลงมาจาก เถลิง) ก. ขึ้น, ทําให้เลื่องลือ, เช่น ควันดําเลิง
แลเห็นไกล. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
【 ดำแลง 】แปลว่า: (แบบ; กลอน; แผลงมาจาก แถลง) ว. ดัดแปลง; กล่าว, ชี้แจง; จําแลง
เช่น ก็ดําแลงเพศเป็นดาบส. (ม. คําหลวง ชูชก).
【 ดำหนัก 】แปลว่า: (แบบ) น. ตําหนัก เช่น ผิธยลเยื้องไพรพระดําหนัก. (ม. คําหลวง ชูชก).
【 ดำหนิ 】แปลว่า: -หฺนิ ก. ติทัก, ติเตียน. (แผลงมาจาก ติ).
【 ดำอวด 】แปลว่า: (แบบ; กลอน) ก. จําอวด.
【 ดิก 】แปลว่า: ว. ติด ๆ ไป ในคําว่า ตามดิก; จริง ๆ ในคําว่า กลมดิก ตรงดิก.
【 ดิก ๆ 】แปลว่า: ว. ระรัว ในคําว่า ไหวดิก ๆ สั่นดิก ๆ.
【 ดิง, ดึง 】แปลว่า: ก. ดีดทําเสียงดิง ๆ เช่น ดีดพิณ ใช้ว่า ดิงพิณ หรือ ดึงพิณ. (ไทยใหญ่ ดิง
ว่า พิณ).
【 ดิ่ง 】แปลว่า: ว. แน่ว เช่น เสาต้นนี้ตั้งตรงดิ่ง ทางตรงดิ่ง จมดิ่ง; เรียกโลหะรูปทรง
กรวยติดที่ปลายสายเชือกใช้วัดความลึกของน้ำ ตรวจสอบเสาหรือ
กำแพงเป็นต้นว่าอยู่ในแนวดิ่งหรือไม่ว่า ลูกดิ่ง; เรียกตะกั่วหรือเหล็ก
เป็นต้นที่ผูกกับสายเชือกเป็นคู่สกัดหัวท้ายดอกจำปาของว่าวจุฬาว่า
ลูกดิ่ง; วัตถุมงคลมีลักษณะคล้ายลูกดิ่งหรือเม็ดมะยมซ้อนกันเป็นต้น
สำหรับห้อยสายลูกประคำ พระมหากษัตริย์ทรงใช้ เรียกว่า พระดิ่ง
และอาจพระราชทานแก่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มีความดีความชอบเพื่อ
ใช้เป็นเครื่องเตือนสติ เมื่อเกิดปัญหาจะได้พิจารณาให้รอบคอบด้วยวิธี
บริกรรมนับลูกประคำ ทำให้มีสติเพื่อก่อให้เกิดสมาธิและปัญญา
สามารถแก้ไขปัญหาได้.
【 ดิ่งพสุธา 】แปลว่า: น. เรียกการกระโดดร่มจากที่สูงโดยให้ตัวลอยอยู่ในอากาศก่อน
เมื่อใกล้พื้นดินประมาณ ๑,๐๐๐ เมตร จึงกระตุกสายร่มให้กางออก
ว่า กระโดดร่มแบบดิ่งพสุธา.
【 ดิฉัน 】แปลว่า: ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศหญิง เป็นคําสุภาพ, ดีฉัน ก็ว่า, ตามแบบผู้ชาย
ใช้ว่า ดีฉัน ผู้หญิงใช้ว่า อีฉัน, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
【 ดิฐ ๑ 】แปลว่า: ก. ตั้งอยู่, คงอยู่, เหลืออยู่, พักอยู่, หยุดอยู่. (ป. ติฏฺ?).
【 ดิฐ ๒, ดิตถ์ 】แปลว่า: (แบบ) น. ท่านํ้า, เขียนเป็น ดิษฐ์ ก็มี. (ป. ติตฺถ; ส. ตีรฺถ).
【 ดิถี 】แปลว่า: น. วันตามจันทรคติ เช่น ขึ้นคํ่าหนึ่ง แรม ๒ คํ่า, ใช้ว่า ดฤถี ก็มี.
(ป., ส. ติถิ).
【 ดิน ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อธาตุอย่างหนึ่งในธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, วัตถุธาตุของ
พื้นโลกที่ใช้สําหรับปลูกพืชผลหรือปั้นสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น; แผ่นดิน
เช่น เทวดาเดินดิน.
【 ดินกรด 】แปลว่า: น. ดินที่มีปฏิกิริยาเป็นกรด, ดินเปรี้ยว ก็เรียก.
【 ดินขาว 】แปลว่า: น. ดินเหนียวบริสุทธิ์ที่มีไฮเดรเตดอะลูมิเนียมซิลิเกตเป็น
องค์ประกอบสําคัญ ปรกติมีสีขาว ใช้ทําเครื่องเคลือบดินเผา.
【 ดินเค็ม 】แปลว่า: น. ดินที่มีปฏิกิริยาเป็นด่าง, ตรงข้ามกับ ดินกรดหรือดินเปรี้ยว.
【 ดินดอนสามเหลี่ยม 】แปลว่า: น. พื้นดินตรงบริเวณปากนํ้า ซึ่งมีรูปร่างคล้ายพัดด้ามจิ้ว เกิดขึ้น
เพราะแม่นํ้าพาตะกอนมาทับถมอยู่ตลอดเวลา. (อ. delta).
【 ดินดาน 】แปลว่า: น. ดินที่จับตัวแข็งเป็นชั้น โดยมากเป็นประเภทดินเหนียวเนื้อแน่น
ที่น้ำไหลผ่านไม่ได้ เกาะตัวแข็งอยู่ใต้ผิวดิน.
【 ดินดำ 】แปลว่า: น. ผงถ่านประสมกํามะถันกับดินประสิวเป็นต้น ใช้เป็นวัตถุระเบิด,
ดินปืน ก็เรียก.
【 ดินแดง 】แปลว่า: น. สารผสมละเอียดสีแดง ใช้ขัดเงินและทองแดง; ชื่อดินชนิดหนึ่ง
สีแดง ใช้ทาและย้อม.
【 ดินนวล 】แปลว่า: น. ดินประสมอย่างหนึ่ง ใช้ในการหล่อ; ผงขาว ๆ ที่ใช้ในการเคลือบ
สิ่งของเช่นกระเบื้องมุงหลังคา.
【 ดินประสิว 】แปลว่า: น. ชื่อวัตถุเคมีชนิดหนึ่งมักเกิดจากมูลค้างคาว สําหรับทําดินปืน.
【 ดินปืน 】แปลว่า: น. ดินดํา.
【 ดินเปรี้ยว 】แปลว่า: น. ดินกรด.
【 ดินพอกหางหมู 】แปลว่า: (สํา) ที่คั่งค้างพอกพูนขึ้นเรื่อย ๆ.
【 ดินร่วน 】แปลว่า: น. ดินที่มีเนื้อดินเป็นดินเหนียวปนทรายกับขุยอินทรีย์ประกอบกัน
มีสภาพซุย.
【 ดินระเบิด 】แปลว่า: น. ดินปืนอย่างแรงใช้สําหรับระเบิดให้แตกทําลายไป.
【 ดินส้ม 】แปลว่า: น. วัตถุชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายดิน สีเหลืองนวล ใช้ขัดโลหะ.
【 ดินสอ 】แปลว่า: น. เครื่องเขียนอย่างหนึ่ง ทําด้วยวัตถุต่าง ๆ ชนิดที่ไส้ทําด้วยแกรไฟต์
ผสมดินเหนียว มีไม้หุ้ม เรียกว่า ดินสอ หรือ ดินสอดํา, ถ้าทําจากหิน
ชนวน เรียกว่า ดินสอหิน, ถ้าไส้มีสีต่าง ๆ เรียกว่า ดินสอสี.
【 ดินสอพอง 】แปลว่า: น. ดินอย่างหนึ่งสีขาว ใช้ทาตัวอย่างแป้ง.
【 ดินสำลี 】แปลว่า: น. ชื่อดินระเบิดชนิดหนึ่ง.
【 ดินหู 】แปลว่า: น. ดินปืนอย่างแรง ใช้โรยที่รางชนวนในการยิงปืนคาบศิลาสมัย
โบราณ.
【 ดินอีหรอบ 】แปลว่า: น. ดินปืนทํามาจากต่างประเทศ ใช้ต่างดินหู.
【 ดิน ๒ 】แปลว่า: น. ชื่องูในวงศ์ Typhlopidae ขนาดเล็กมากประมาณเท่าไส้ดินสอดํา
ตัวสีดําหรือนํ้าตาลเข้มเกล็ดเรียบเป็นมัน อาศัยตามดินร่วนที่มีความ
ชื้น ไม่มีพิษ ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น งูดินโคราช /(Typhlops/
/khoratensis)/ งูดินตรัง (T. /trangensis/).
【 ดิ้น ๑ 】แปลว่า: ก. อาการที่สะบัดหรือฟาดตัวไปมาอย่างแรง เช่น ดิ้นให้หลุด นอนดิ้น
ชักดิ้นชักงอ, สั่นไหวกระดุกกระดิก เช่น หางจิ้งจกขาดยังดิ้นได้,
ไม่ตายตัว เช่น คําพูดดิ้นได้; โดยปริยายหมายความว่า แก้ข้อหา,
ปลดเปลื้องข้อหา, ในคําว่า ดิ้นไม่หลุด.
【 ดิ้นรน 】แปลว่า: ก. กระตือรือร้นขวนขวายเพื่อให้พ้นจากความยากลําบาก ความทุกข์
ทรมาน หรือเพื่อให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป เช่น ดิ้นรนจะให้พ้นทุกข์ ดิ้นรนอยาก
เป็นนั่นเป็นนี่.
【 ดิ้น ๒ 】แปลว่า: น. เส้นเงิน ทอง หรือทองแดง สําหรับปักลวดลายบนผ้าหรือแพรเป็นต้น.
【 ดิบ 】แปลว่า: ว. ยังไม่สุก เช่น มะม่วงดิบ, ยังไม่สุกด้วยไฟ เช่น เนื้อดิบ ข้าวดิบ; เรียก
สิ่งที่ยังไม่ได้ทําให้สําเร็จรูปหรือยังไม่ได้เปลี่ยนรูปและลักษณะเดิมว่า
วัตถุดิบ, เรียกด้ายที่ยังไม่ได้ฟอกว่า ด้ายดิบ, เรียกผ้าที่ทอด้วยด้ายดิบ
ว่า ผ้าดิบ; โดยปริยายเรียกชายที่ยังไม่ได้บวชเป็นพระภิกษุว่า คนดิบ,
เรียกศพที่ไม่ได้เผาว่า ผีดิบ, เรียกดงที่มีต้นไม้หนาแน่นเขียวชอุ่มอยู่ทั้งปี
ว่า ดงดิบ.
【 ดิบดี 】แปลว่า: [ดิบ-] ว. ดี, เรียบร้อย, เช่น เก็บไว้ดิบดี, บางทีใช้แยกกัน หมายความว่า
ดี เช่น ได้ดิบได้ดี.
【 ดิรัจฉาน 】แปลว่า: [-รัดฉาน] น. สัตว์เว้นจากมนุษย์ เช่นหมู หมา วัว ควาย (มักใช้เป็นคําด่า),
ใช้ว่า เดรัจฉาน หรือ เดียรัจฉาน ก็มี. (ป. ติรจฺฉาน ว่า ขวาง, ติรจฺฉานคต
ว่า สัตว์มีร่างกายเจริญโดยขวาง).
【 ดิเรกคุณาภรณ์ 】แปลว่า: น. ชื่อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลหนึ่ง สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาท
สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช.
【 ดิลก 】แปลว่า: [ดิหฺลก] น. รอยแต้มหรือเจิมที่หน้าผากเพื่อเป็นมงคล, เลิศ, ยอด, เฉลิม.
(ป., ส. ติลก ว่า ไฝ, รอยตกกระที่ผิวหนัง).
【 ดิ่ว 】แปลว่า: ว. แน่ว, ใช้ประกอบคํา ตรง ว่า ตรงดิ่ว เช่น ถนนสายนี้ตรงดิ่วสุดลูกหู
ลูกตา.
【 ดิ้ว 】แปลว่า: น. หวายหรือไม้วงกลมสําหรับเสียบซี่กรงนก; ชื่อไม้อันเล็กประมาณเท่า
นิ้วมือ สําหรับเอาหวายผูกตรึงเข้ากับเซ็นฝาไม้ไผ่; ไม้ถือมีลักษณะแบน
หนา ยาวราวศอกหนึ่ง ที่พวกนักเลงถือ.
【 ดิ้วเดี้ยว 】แปลว่า: ก. อ่อนหิวนัก.
【 ดิษฐ์ 】แปลว่า: (โบ) น. ดิตถ์, ท่านํ้า, เขียนเป็น ดิฐ ก็มี. (ดู ดิฐ ๒ และ เดียรถ์).
【 ดิสโพรเซียม 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๖๖ สัญลักษณ์ Dy เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง
หลอมละลายที่ ๑๔๐๗๐ซ. (อ. dysprosium).
【 ดี ๑ 】แปลว่า: น. อวัยวะภายในของคนและสัตว์ที่บรรจุนํ้าข้นสีเขียว มีรสขม ซึ่งออก
จากตับ สําหรับช่วยย่อยอาหาร, เรียกนํ้าข้นสีเขียว มีรสขม ออกจาก
ตับ สําหรับช่วยย่อยอาหารว่า นํ้าดี.
【 ดีเกลือ 】แปลว่า: น. เกลือชนิดหนึ่ง เม็ดละเอียดสีขาว มีรสเค็มจัดจนขม เกิดอยู่ใต้
เกลือในนาเกลือ ใช้เป็นยาระบายหรือยาถ่าย.
【 ดีเกลือฝรั่ง 】แปลว่า: น. เกลือปรกติชนิดหนึ่ง ชื่อแมกนีเซียมซัลเฟต มีสูตร MgSO4•7H2O
ลักษณะเป็นผลึกสีขาว ละลายนํ้าได้ มีสมบัติเป็นยาระบาย.
(อ. epsom salts).
【 ดีซ่าน 】แปลว่า: น. ชื่อโรคซึ่งเกิดกับผู้ป่วยที่มีสารสีชนิดหนึ่งในนํ้าดี ซึ่งเรียกว่า
บิลิรูบิน ไปปรากฏในเลือดสูงกว่าระดับปรกติในคนธรรมดา ทํา
ให้ผู้ป่วยมีอาการตัวเหลือง.
【 ดีเดือด 】แปลว่า: ว. มีอาการคลุ้มคลั่งมุทะลุดุดันเป็นคราว ๆ ในคําว่า บ้าดีเดือด.
【 ดีบัว 】แปลว่า: น. ต้นอ่อนซึ่งอยู่ในเม็ดบัว มีรสขม.
【 ดีฝ่อ 】แปลว่า: ว. ตกใจกลัวมาก, มักใช้เข้าคู่กับคํา ขวัญหนี เป็น ขวัญหนีดีฝ่อ.
【 ดี ๒ 】แปลว่า: ว. มีลักษณะที่เป็นไปในทางที่ต้องการ น่าปรารถนา น่าพอใจ ใช้ใน
ความหมายที่ตรงข้ามกับลักษณะบางอย่างแล้วแต่กรณี คือ ตรงข้าม
กับชั่ว เช่น คนดี ความดี, ตรงข้ามกับร้าย เช่น โชคดี เคราะห์ดี; สวย,
งาม, เช่น หน้าตาดี, เรียบร้อย เช่น มรรยาทดี, เพราะ เช่น เสียงดี, จัด
เช่น แดดดี, เก่ง เช่น ดีแต่พูด, ชอบ เช่น ดีแล้ว, อยู่ในสภาพปรกติ เช่น
สุขภาพดี คืนดี.
【 ดี ๆ 】แปลว่า: ว. ปรกติ, เฉย ๆ, เช่น อยู่ดี ๆ ก็มีคนเอาเงินมาให้; โดยดี, ไม่ขัดขืน,
เช่น มาเสียดี ๆ.
【 ดีใจ 】แปลว่า: ก. ยินดี, ชอบใจ, พอใจ.
【 ดีแตก 】แปลว่า: ว. เคยดีมาแล้วแต่กลับเสียในภายหลัง, ดีเกินไปจนเสีย.
【 ดีเนื้อดีใจ 】แปลว่า: ก. ยินดี, ชอบใจ, ปลาบปลื้มใจ, ดีใจมาก, ดีอกดีใจ ก็ว่า.
【 ดีไม่ดี 】แปลว่า: คําแสดงความไม่แน่นอน, อาจได้อาจเสีย, เสี่ยงได้เสี่ยงเสีย, เช่น
ดีไม่ดีเขาอาจได้เป็นอธิบดี, ดีมิดี ก็ว่า.
【 ดีร้าย 】แปลว่า: ว. ชะรอย, บางที, เช่น ดีร้ายของนี้จะขโมยเขามา.
【 ดีละ, ดีแล้ว 】แปลว่า: ว. คําแสดงความพอใจก็ได้ คําแสดงความไม่พอใจเป็นเชิงประชด
หรือแดกดันก็ได้.
【 ดีอกดีใจ 】แปลว่า: ก. ยินดี, ชอบใจ, ปลาบปลื้มใจ, ดีใจมาก, ดีเนื้อดีใจ ก็ว่า.
【 ดีงู 】แปลว่า: น. สมอดีงู. /(ดู สมอ ๒)./
【 ดีฉัน 】แปลว่า: ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศหญิง เป็นคําสุภาพ, ดิฉัน ก็ว่า, ตามแบบ
ผู้ชายใช้ว่า ดีฉัน ผู้หญิงใช้ว่า อีฉัน, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
【 ดีฉาน 】แปลว่า: (โบ) ส. ดิฉัน, ดีฉัน, เป็นคําที่เจ้านายผู้ชายมักใช้กับพระสงฆ์ผู้ทรง
สมณศักดิ์, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
【 ดีเซล 】แปลว่า: น. เครื่องยนต์ชนิดเผาไหม้ภายในที่มีระบบจุดระเบิดนํ้ามันเชื้อเพลิง
ด้วยการอัดอากาศภายในเครื่องยนต์จนได้ความร้อนสูงมากพอ แล้ว
จึงฉีดนํ้ามันเชื้อเพลิงให้เป็นฝอยผสมเข้ากับอากาศซึ่งมีอุณหภูมิสูงนั้น
เป็นผลให้เกิดการจุดระเบิดนํ้ามันเชื้อเพลิงขึ้น, นํ้ามันที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง
ในเครื่องยนต์ชนิดนี้ เรียกว่า นํ้ามันดีเซล. (อ. diesel).
【 ดีด ๑ 】แปลว่า: ก. สลัดออกไปโดยแรง เช่น ดีดนิ้ว, สลัดตัวออกไปโดยเร็ว เช่น กุ้งดีด;
ยกขึ้นด้วยแม่แรงเป็นต้น เช่น ดีดเรือน; เอานิ้วมือหรือไม้สะกิดให้ดัง เช่น
ดีดจะเข้, เอานิ้วมือแตะแล้วเขี่ยให้เลื่อนไป เช่น ดีดลูกคิด, เอานิ้วกดแล้ว
ปล่อยทันที เช่น ดีดพิมพ์ ดีดเปียโน, เอานิ้วหัวแม่มือกดกับนิ้วอื่นให้แน่น
แล้วสลัดให้ออกจากกันเป็นเสียงดัง เรียกว่า ดีดนิ้ว, โดยปริยายหมายถึง
อาการที่ทําห่างเหินผู้ใหญ่ ไม่เข้าหน้า เช่น หมู่นี้ชักดีดไปไม่เข้าหน้า.
【 ดีดดิ้น 】แปลว่า: ก. เล่นตัว, ตั้งแง่ไม่ยอมทำหรือไม่ยอมให้ทำง่าย ๆ.
【 ดีดฝ้าย 】แปลว่า: ก. อาการที่เอาฝ้ายใส่กระชุแล้วเอาไม้กงดีดฝ้ายดีดสายให้กระทบฝ้าย
เพื่อให้ฝ้ายแตกเป็นปุย.
【 ดีดพิมพ์ 】แปลว่า: ก. พิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ดีด.
【 ดีดลูกคิด 】แปลว่า: (สํา) ก. คํานวณผลได้ผลเสียหรือกําไรขาดทุนอย่างละเอียด;
ทําตอบแทนให้สาสม.
【 ดีดลูกคิดรางแก้ว 】แปลว่า: (สํา) ก. คิดถึงผลที่จะได้ทางเดียว.
【 ดีด ๒, ดีดขัน ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อแมลงพวกด้วงปีกแข็งหลายชนิดในวงศ์ Elateridae ลําตัวยาว
แบนเล็กน้อย และเรียวไปทางหาง สีดํา นํ้าตาล หรือเทาปลอด บางชนิด
มีจุดเป็นลาย แผ่นแข็งด้านล่างของอกปล้องแรกมีแกนยาวเป็นเครื่องดีด
ซึ่งยึดโดยร่องของแผ่นแข็งด้านล่างของอกปล้องที่ ๒ ทําให้สามารถดีดตัว
กลับได้เมื่อถูกจับให้หงายท้อง มีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น ดีดกะลา คอลั่น.
【 ดีด ๓ 】แปลว่า: น. กุ้งดีด. /(ดู กุ้งดีด, กุ้งดีดขัน ที่ กุ้ง ๑)./
【 ดีดขัน ๒ 】แปลว่า: น. กุ้งดีดขัน. /(ดู กุ้งดีด, กุ้งดีดขัน ที่ กุ้ง ๑)./
ใช้เข้าคู่กับคํา หลายปี เป็น หลายปีดีดัก หมายความว่า นานมาแล้ว.
【 ดีดีที 】แปลว่า: น. ชื่อสารประกอบเคมี มีชื่อเต็มว่า Dichloro Diphenyl Trichloroethane
มีสูตร (C6H4Cl)2•CH•CCl3 ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว ใช้ประโยชน์เป็น
สารอย่างแรงในการฆ่าแมลง.
【 ดีนาคราช 】แปลว่า: [-นากคะ-] น. ต้นไม้ชนิดหนึ่งเป็นเถามีเกล็ดคล้ายกับเกล็ดงู สําหรับใช้
ทํายา. (พจน. ๒๔๙๓).
【 ดีบุก 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๕๐ สัญลักษณ์ Sn เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว
คล้ายโลหะเงิน เนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๒๓๑.๙๐ซ. มี ๓ อัญรูป คือ ดีบุก
สีเทา ดีบุกสีขาว และดีบุกรอมบิก ใช้ประโยชน์ฉาบผิวเหล็กเพื่อกันไม่ให้
เป็นสนิม ใช้ทําโลหะเจือ แผ่นดีบุกบาง ๆ ใช้สําหรับห่อของเพื่อกันชื้น.
(ป. ติปุ; ส. ตฺรปุ; อ. tin).
【 ดีปลี 】แปลว่า: [-ปฺลี] น. ชื่อไม้เถา ๓ ชนิดในสกุล/ Piper/ วงศ์ Piperaceae คือ ชนิด
/P. longum/ L.,/ P. peepuloides/ Roxb. และ/ P. retrofractum/ Vahl มีราก
ตามข้อของลําต้นเพื่อยึดเกาะ ผลอัดแน่นเป็นช่อ ทุกส่วนมีกลิ่น
โดยเฉพาะผลกลิ่นหอมฉุน รสเผ็ดร้อนใช้เป็นเครื่องเทศและทํายาได้.
【 ดีเปรสชัน 】แปลว่า: น. ชื่อพายุหมุนที่มีกําลังอ่อน ทําให้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนัก เกิดขึ้น
ในละติจูดกลางหรือละติจูดสูง มีความเร็วลมสูงสุดใกล้บริเวณศูนย์กลาง
ไม่เกิน ๓๓ นอต หรือ ๖๑ กิโลเมตรต่อชั่วโมง. (อ. depression).
【 ดีผา 】แปลว่า: น. หินสีดําเลื่อมคล้ายถ่านหิน ใช้ทํายาไทย.
【 ดีพร 】แปลว่า: ดีบ ว. กล้า, แข็ง, มาก, เช่น ม่ายเดือดดีพรในโลกย. (ม. คําหลวง
ทานกัณฑ์). (ส. ตีวฺร; ป. ติพฺพ).
【 ดียา, ดีหิน 】แปลว่า: น. เส้นดําของหินลายหรือหินอื่น ๆ.
【 ดีหมี 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดหลายสกุลในหลายวงศ์ เช่น ชนิด/ Cleidion/
/spiciflorum/ Merr. ในวงศ์ Euphorbiaceae ขึ้นในป่า มีรสขม ใบ
คล้ายมะไฟ ใช้ทํายาได้.
【 ดีหลี 】แปลว่า: (ถิ่น) ว. แน่, แท้, แท้จริง, เช่น ธก็แจ้งจริงแท้ดีหลี. (ม. คําหลวง
ทานกัณฑ์), อีหลี ก็ว่า.
【 ดึก 】แปลว่า: น. เวลามืดนานแล้ว, เวลาคํ่ามากแล้ว, (ใช้แทนคําว่า สาย ในเวลา
กลางคืน). ว. ลึก เช่น ดงดึก.
【 ดึกดำบรรพ์ 】แปลว่า: ว. ลึกลํ้านมนานมาแล้ว.
【 ดึกดื่น 】แปลว่า: ก. ดึกมาก, ดื่นดึก ก็ว่า.
【 ดึกสงัด 】แปลว่า: น. เวลาดึกมากบรรยากาศเงียบเชียบทำให้รู้สึกวังเวง.
【 ดึง 】แปลว่า: ก. เหนี่ยวมา, ฉุดมา, รั้งมา; ดีด เช่น ดึงพิณ ว่า ดีดพิณ.
【 ดึงดัน 】แปลว่า: ก. ดื้อรั้น, ดื้อ.
【 ดึงดื้อ 】แปลว่า: ว. ดื้อไม่ยอมฟังเหตุผล ดึงไม่ไป, ดื้อดึง ก็ว่า.
【 ดึงดูด 】แปลว่า: ก. เหนี่ยวเข้ามาด้วยกําลังอย่างหนึ่งอย่างแม่เหล็ก.
【 ดึ่ง 】แปลว่า: ก. ดิ่ง, ตรงลงไป.
【 ดึงสะ 】แปลว่า: ว. สามสิบ. (ป. ต??ส).
【 ดึ่ม 】แปลว่า: ว. ลึก.
【 ดื่น 】แปลว่า: ก. มากทั่วไปจนเป็นปรกติธรรมดา.
【 ดื่นดาษ 】แปลว่า: ว. เกลื่อนกลาด, มากหลาย, ดาษดื่น ก็ว่า.
【 ดื่นดึก 】แปลว่า: ก. ดึกมาก, ดึกดื่น ก็ว่า.
【 ดื่ม 】แปลว่า: ก. กินของเหลวเช่นนํ้า.
ดื่มด่ำ ว. ซาบซึ้ง.
【 ดือ 】แปลว่า: (กลอน) น. สะดือ เช่น ขุนช้างฉุดผ้าคว้าจิ้มดือ. (ขุนช้างขุนแผน).
【 ดื้อ 】แปลว่า: ว. ไม่ยอมเชื่อฟังหรือทําตาม. ก. ทื่อ, ไม่คม, (ใช้แก่มีด).
【 ดื้อดัน 】แปลว่า: ว. ดื้ออย่างขัดขืนจะเอาชนะ.
【 ดื้อด้าน 】แปลว่า: ว. ดื้อเสียจนเคยชิน.
【 ดื้อดึง 】แปลว่า: ว. ดื้อไม่ยอมฟังเหตุผล ดึงไม่ไป, ดึงดื้อ ก็ว่า.
【 ดื้อแพ่ง 】แปลว่า: ก. ขัดขืนไม่ยอมปฏิบัติตาม, ขัดขืนไม่ยอมให้ความร่วมมือ.
【 ดื้อยา 】แปลว่า: ก. ต้านทานฤทธิ์ยา (ใช้แก่เชื้อโรค เช่น แบคทีเรีย ไวรัส).
【 ดื้อรั้น 】แปลว่า: ว. ดื้อดันทุรัง.
【 ดุ 】แปลว่า: ก. ว่ากล่าวหรือทักท้วงด้วยความโกรธหรือไม่พอใจเพราะมีความผิด
หรือไม่อยู่ในโอวาทเป็นต้น, โดยปริยายหมายความว่า มีอันตรายมาก,
มีคนเสียชีวิตมาก, เช่น นํ้าปีนี้ดุ ที่ตรงนี้ดุ. ว. มีลักษณะทําให้ดูน่ากลัว
หรือน่าเกรงขาม เช่น หน้าดุ ตาดุ; ร้าย, ร้ายกาจ, เหี้ยมโหด, เช่น หมาดุ
เสือดุ.
【 ดุดัน 】แปลว่า: ว. ดุอย่างไม่ลดละ.
【 ดุเดือด 】แปลว่า: ว. ร้ายแรง, รุนแรง.
【 ดุร้าย 】แปลว่า: ว. เหี้ยมโหด.
【 ดุก 】แปลว่า: น. ชื่อปลานํ้าจืดทุกชนิดในสกุล /Clarias/ และ/ Prophagorus/ วงศ์
Clariidae ไม่มีเกล็ด มีเงี่ยงเฉพาะที่ครีบอก ส่วนครีบหลังและ
ครีบก้นยาวแต่ไม่ติดต่อกับครีบหาง เช่น ดุกอุย (/C. macrocephalus/)
ดุกด้าน (/C. batrachus/) ดุกลําพัน (/P. nieuhofii/).
【 ดุกลำพัน 】แปลว่า: น. ชื่อปลาชนิด /Prophagorus nieuhofii/ ในวงศ์ Clariidae ครึ่งบนของ
ลําตัวมีจุดสีขาวเรียงอยู่ในแนวตั้ง ๑๓-๒๐ แถว พบทางภาคใต้ของ
ประเทศไทย ขนาดยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร.
【 ดุกดิก 】แปลว่า: ก. อาการที่ขยับไปขยับมาไม่อยู่นิ่ง ๆ, ยักไปยักมา, กระดุกกระดิก
ก็ว่า.
【 ดุกทะเล 】แปลว่า: น. ชื่อปลาทะเลหรือนํ้ากร่อยชนิด/ Plotosus lineatus/ และ/ P. canius/
ในวงศ์ Plotosidae มีเงี่ยงที่ครีบอกและครีบหลังตอนแรก ส่วน
ครีบหลังตอนที่ ๒ ครีบก้น และครีบหางยาวติดต่อกันโดยตลอด,
สามแก้ว หรือ เป็ดแก้ว ก็เรียก.
【 ดุ้ง 】แปลว่า: ว. โค้งหรือนูนหรือแอ่นจากแนวหรือระดับ เช่น พื้นกระดานดุ้ง.
【 ดุ้งดิ้ง 】แปลว่า: ว. กระตุ้งกระติ้ง, ตุ้งติ้ง ก็ว่า.
【 ดุจ 】แปลว่า: [ดุด, ดุดจะ] ว. เหมือน, คล้าย, เช่น, เพียงดัง, ราวกะ, บางทีในกลอน
ใช้ว่า ดวจ ก็มี.
【 ดุจดัง, ดุจหนึ่ง 】แปลว่า: [ดุด-] ว. เหมือน, คล้าย, เช่น, เพียงดัง, ราวกะ.
【 ดุด 】แปลว่า: ก. กิริยาที่หมูเอาจมูกดุนดิน.
【 ดุน 】แปลว่า: ก. รุน, ทําให้เคลื่อนไปเรื่อย ๆ ด้วยแรงดัน; ทําให้ลวดลายบางอย่างนูน
ขึ้น เช่น ดุนลาย. ว. เรียกลวดลายที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า ลายดุน.
【 ดุ้น 】แปลว่า: น. ท่อน เช่น กลืนเข้าไปทั้งดุ้น, ท่อนไม้ขนาดเล็ก เช่น ดุ้นฟืน, ลักษณนาม
เรียกท่อนไม้ขนาดเล็กว่า ดุ้น เช่น ฟืนดุ้นหนึ่ง ฟืน ๒ ดุ้น.
【 ดุบ ๆ 】แปลว่า: ว. เต้นตุบ ๆ, กระดุบ ๆ ก็ว่า.
【 ดุม 】แปลว่า: น. ส่วนกลางของล้อเกวียนหรือล้อรถที่มีรูสําหรับสอดเพลา; เครื่องกลัด
ส่วนต่าง ๆ ของเสื้อผ้าไม่ให้แยกออกจากกัน ทําเป็นรูปต่าง ๆ มักมีรังดุม
สําหรับขัดหรือบางทีก็ติดเป็นเครื่องประดับ, กระดุม ลูกกระดุม หรือ
ลูกดุม ก็เรียก.
【 ดุ่ม, ดุ่ม ๆ 】แปลว่า: ว. อาการก้มหน้าก้มตาเดินไปเรื่อย ๆ โดยไม่ดูอะไรหรือแวะเวียน.
【 ดุ่ย 】แปลว่า: ว. เรื่อย ๆ ไปโดยไม่มีจุดหมาย.
【 ดุรค, ดุรคะ 】แปลว่า: ดุรก, ดุระคะ น. ม้า. (ป., ส. ตุรค ว่า สัตว์ไปเร็ว).
【 ดุรงค์ 】แปลว่า: น. ม้า เช่น เทียมดุรงค์รวดเรี่ยว. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป., ส. ตุรงฺค,
ตุรค).
【 ดุรงคี 】แปลว่า: น. ม้าตัวเมีย; คนขี่ม้า, ทหารม้า. (ป. ตุรงฺคี; ส. ตุรงฺคินฺ).
【 ดุริย-, ดุริยะ 】แปลว่า: น. เครื่องดีดสีตีเป่า. (ป. ตุริย).
【 ดุริยางค-, ดุริยางค์ 】แปลว่า: น. เครื่องดีดสีตีเป่า. (ป. ตุริย + องฺค).
【 ดุริยางค์จำเรียง 】แปลว่า: น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง.
【 ดุริยางคศาสตร์ 】แปลว่า: [ดุริยางคะ-] น. วิชาว่าด้วยการบรรเลงเครื่องดุริยางค์.
【 ดุริยางคศิลป์ 】แปลว่า: [ดุริยางคะ-] น. ศิลปะของการบรรเลงเครื่องดุริยางค์.
【 ดุล, ดุล- 】แปลว่า: [ดุน, ดุนละ-] น. ตราชู, คันชั่ง, มาตราชั่งนํ้าหนักโบราณ เช่น ทองคํา
หนัก ๒๐ ชั่งเรียกว่า ดุลหนึ่ง; ความเท่ากัน, ความเสมอกัน, เช่น
รายรับรายจ่ายเท่ากัน เรียกว่า งบประมาณสู่ดุล; ชื่อกลุ่มดาวรูปคันชั่ง
เรียกว่า ราศีดุล เป็นราศีที่ ๖ ในจักรราศี, ราศีตุล ก็ว่า. ว. เท่ากัน,
เสมอกัน, ทัดเทียมกัน. (ป., ส.).
【 ดุลการค้า 】แปลว่า: [ดุน-] น. ความต่างกันระหว่างมูลค่าของสินค้าที่ส่งออกนอกประเทศ
กับสินค้าที่นําเข้ามาในประเทศ, ถ้ามูลค่าของสินค้าที่ส่งออกสูงกว่า
มูลค่าของที่สินค้านําเข้ามาในประเทศ เรียกว่า ดุลการค้าได้เปรียบ,
ถ้ามูลค่าของสินค้าที่นําเข้าสูงกว่ามูลค่าของสินค้าที่ส่งออก เรียกว่า
ดุลการค้าเสียเปรียบ.
【 ดุลการชำระเงิน 】แปลว่า: [ดุน-] น. ความต่างกันระหว่างปริมาณเงินที่ส่งออกนอกประเทศ
กับปริมาณเงินที่นําเข้ามาในประเทศ, ถ้าปริมาณเงินที่นําเข้ามา
ในประเทศสูงกว่าปริมาณเงินที่ส่งออกนอกประเทศ เรียกว่า ดุล
การชําระเงินเกินดุล, ถ้าปริมาณเงินที่ส่งออกนอกประเทศสูงกว่า
ปริมาณเงินที่นําเข้าในประเทศ เรียกว่า ดุลการชําระเงินขาดดุล.
【 ดุลชำระหนี้ 】แปลว่า: [ดุน-] น. ความต่างกันระหว่างปริมาณเงินที่ส่งออกนอกประเทศ
กับปริมาณเงินที่นําเข้ามาในประเทศ.
【 ดุลพินิจ 】แปลว่า: [ดุนละ-] น. การวินิจฉัยที่เห็นสมควร, ดุลยพินิจ ก็ใช้.
【 ดุลภาค 】แปลว่า: [ดุนละ-] น. ภาวะที่เสมอกัน.
【 ดุลอำนาจ 】แปลว่า: [ดุน-] น. การถ่วงอํานาจระหว่างประเทศให้มีพลังทางเศรษฐกิจ
หรือทางทหารทัดเทียมกัน.
【 ดุลย- 】แปลว่า: [ดุนละยะ-, ดุนยะ-] ว. เท่ากัน, เสมอกัน, ทัดเทียมกัน. (ป., ส.).
【 ดุลยพินิจ 】แปลว่า: น. การวินิจฉัยที่เห็นสมควร, ดุลพินิจ ก็ใช้.
【 ดุลยภาพ 】แปลว่า: น. ความเท่ากัน, ความเสมอกัน.
【 ดุษฎี 】แปลว่า: [ดุดสะดี] น. ความยินดี, ความชื่นชม. (ส.).
【 ดุษฎีนิพนธ์ 】แปลว่า: น. วิทยานิพนธ์ชั้นปริญญาเอก.
【 ดุษฎีบัณฑิต 】แปลว่า: น. ปริญญาเอก; ผู้ได้รับปริญญาเอก.
【 ดุษฎีมาลา 】แปลว่า: น. ชื่อเหรียญที่พระราชทานเฉพาะแก่ผู้ได้ใช้ศิลปวิทยาให้เป็น
คุณประโยชน์แก่บ้านเมืองถึงขนาด ทั้งอาจได้รับพระราชทาน
เงินพิเศษประจําเดือนไปตลอดชีวิต เดิมกําหนดให้มีเข็มพระราชทาน
ประกอบกับเหรียญรวม ๕ ชนิด คือ เข็มราชการในพระองค์ เข็ม
ราชการแผ่นดิน เข็มศิลปวิทยา เข็มความกรุณา และเข็มกล้าหาญ
ต่อมาคงเหลือแต่เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เพียงอย่างเดียว.
【 ดุษฎีสังเวย 】แปลว่า: น. บทร้อยกรองที่แต่งเป็นฉันท์สําหรับกล่อมช้าง.
【 ดุษณี, ดุษณีภาพ 】แปลว่า: [ดุดสะนี-] น. อาการนิ่งซึ่งแสดงถึงการยอมรับ. (ส. ตุษฺณีมฺ; ป. ตุณฺหี).
【 ดุษิต, ดุสิต 】แปลว่า: น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๔ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิก
หรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี,
มีท้าวสันดุสิตเป็นผู้ครอง. (ส. ตุษิต; ป. ตุสิต).
【 ดุเหว่า 】แปลว่า: [-เหฺว่า] น. ชื่อนกชนิด/ Eudynamys scolopacea/ ในวงศ์ Cuculidae ตัวเล็ก
กว่ากาเล็กน้อย ตาแดง หางยาว ตัวผู้สีดํา ตัวเมียสีนํ้าตาล มีลายและ
จุดสีขาวพาดตลอดตัว วางไข่ให้นกชนิดอื่นฟัก มักหากินตามลําพัง
กินแมลงและผลไม้, กาเหว่า ก็เรียก.
【 ดู 】แปลว่า: ก. ใช้สายตาเพื่อให้เห็น เช่น ดูภาพ ดูละคร, ระวังรักษา เช่น ดูบ้านให้ด้วย
ไม่มีคนดูเด็ก, พินิจพิจารณา เช่น ดูให้ดี, ศึกษาเล่าเรียน เช่น ดูหนังสือ,
เห็นจะ เช่น ดูจะเกินไปละ, ทํานาย เช่น ดูโชคชะตาราศี, ใช้ประกอบกริยา
เพื่อให้รู้ให้เห็นประจักษ์แจ้ง เช่น คิดดูให้ดี ลองกินดู.
【 ดูแคลน, ดูถูก, ดูถูกดูแคลน 】แปลว่า: ก. แสดงอาการเป็นเชิงดูหมิ่นหรือเหยียดหยามเขา.
【 ดูใจ 】แปลว่า: ก. ลองดูนํ้าใจ; ดูหน้าไว้อาลัยขณะจะสิ้นใจ.
【 ดูชา 】แปลว่า: ก. ดูแคลน, ดูถูก, เช่น ตูจะให้สูทั้งหลายฆ่า ว่าผู้ดูชาดูแคลน แหนความ
เราจงมิด. (ลอ.)
【 ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่ 】แปลว่า: (สํา) ก. ให้รู้จักพิจารณาลักษณะบุคคลหรือผู้หญิงที่จะเลือกเป็นคู่ครอง,
ดูวัวให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่ ก็ว่า.
【 ดูดอมดูดาย 】แปลว่า: ก. ละทิ้ง เช่น บมิควรดูดอมดูดาย. (สมุทรโฆษ).
【 ดูดาย 】แปลว่า: ก. เพิกเฉย, ไม่เอาใจใส่.
【 ดูดำ 】แปลว่า: (โบ) ก. ดูหมิ่น เช่น เปนม่ายชายดูดำ กุมเกษ กำแก้ผม ผลักล้มจมดิน
ทราย แสร้งอวยอายอยดยศ. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์).
【 ดูดำดูดี 】แปลว่า: ก. เอาใจใส่ดูแลทั้งในเวลามีทุกข์และมีสุข เช่น จะหวังอะไรให้เขามา
ดูดำดูดีกับคนอย่างเรา, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เขาไม่ดูดำดูดี
เด็กคนนี้เลย.
【 ดูดู๋, ดูหรู 】แปลว่า: (กลอน) อ. เสียงที่เปล่งออกมาแสดงความแค้นใจ.
【 ดูตาม้าตาเรือ 】แปลว่า: (สํา) ก. พิจารณาให้รอบคอบ (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ไม่ดูตาม้าตาเรือ.
【 ดูเถอะ, ดูเถิด 】แปลว่า: คําบอกกล่าวให้รับรู้ไว้.
【 ดูเบา 】แปลว่า: ก. เห็นเป็นการเล็กน้อย, เห็นไม่เป็นสําคัญ, (มักใช้ในความปฏิเสธ)
เช่น อย่าดูเบา.
【 ดูไปก่อน 】แปลว่า: ก. รอไว้ก่อน.
【 ดูร้าย 】แปลว่า: น. ตาร้าย. /(ดู ตาร้าย ที่ ตา ๒)./
【 ดูรึ 】แปลว่า: อ. เสียงที่เปล่งออกมาแสดงความแปลกใจ.
【 ดูแล 】แปลว่า: ก. เอาใจใส่, ปกปักรักษา, ปกครอง.
【 ดูหมิ่น ๑ 】แปลว่า: (กฎ) ก. ดูถูกเหยียดหยามผู้อื่น.
【 ดูหมิ่น ๒, ดูหมิ่นถิ่นแคลน 】แปลว่า: ก. แสดงกิริยาท่าทาง พูดจา หรือเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรเป็น
เชิงดูถูกว่ามีฐานะตํ่าต้อย หรือไม่ดีจริงไม่เก่งจริงเป็นต้น, หมิ่น ก็ว่า.
【 ดูหรือ 】แปลว่า: อ. เสียงที่เปล่งออกมาแสดงความแปลกใจ เช่น ดูหรือมาเป็นไปได้.
【 ดูเหมือน 】แปลว่า: ว. เข้าใจว่า, คะเนว่า, เห็นจะ.
【 ดูกไก่ดำ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด/ Prismatomeris malayana/ Ridl. ในวงศ์ Rubiaceae สูง
ได้ถึง ๓ เมตร ใบรี ออกตรงข้ามกัน ปลายและโคนใบแหลม ดอกสีขาว
กลิ่นหอม.
【 ดูกค่าง 】แปลว่า: /ดู กระดูกค่าง/.
【 ดูกร 】แปลว่า: [ดูกะระ, ดูกอน], ดูก่อน, ดูรา คำกล่าวขึ้นต้นข้อความกับผู้ที่จะพูดด้วย
ให้สนใจฟัง.
【 ดูด 】แปลว่า: ก. สูบด้วยปาก เช่น ดูดนม, สูบด้วยกําลัง เช่น นํ้าดูด ไฟฟ้าดูด.
【 ดูดดึง 】แปลว่า: ก. เหนี่ยวเข้ามาด้วยกําลังอย่างหนึ่งเช่นแม่เหล็ก.
【 ดูดดื่ม 】แปลว่า: ก. ซาบซึ้ง.
【 เด 】แปลว่า: ว. มาก ๆ, มักใช้ประกอบกับคํา เหลือ ว่า เหลือเด คือ เหลือมาก ๆ.
【 เด่ 】แปลว่า: ว. ใช้ประกอบคํากริยาบางคําเพื่อเน้นความหมายว่า ตรง เช่น ชี้เด่ ตั้งเด่.
【 เดก 】แปลว่า: ว. กระเดก, โยก, โคลง.
【 เด็ก 】แปลว่า: น. คนที่มีอายุยังน้อย; (กฎ) ผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์;
ผู้ซึ่งอายุไม่ครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์ และยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส;
บุคคลอายุเกิน ๗ ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่เกิน ๑๔ ปีบริบูรณ์; บุคคลที่มีอายุแต่
๑๕ ปีลงมา; บุคคลผู้มีอายุไม่เกิน ๑๘ ปีบริบูรณ์. ว. ยังเล็ก; อ่อนวัยกว่า
ในคําว่า เด็กกว่า.
【 เด็กชา 】แปลว่า: น. ข้าราชการชั้นผู้น้อยจําพวกรับใช้ในกรมมหาดเล็ก.
【 เด็กชาย 】แปลว่า: (กฎ) น. คํานําหน้าชื่อเด็กผู้ชายที่มีอายุไม่ถึง ๑๕ ปีบริบูรณ์.
【 เด็กแดง 】แปลว่า: น. เด็กที่ออกใหม่ ๆ.
【 เด็กเมื่อวานซืน 】แปลว่า: (สํา) น. คํากล่าวเชิงดูหมิ่นหรือเชิงสั่งสอนว่า มีความรู้หรือมี
ประสบการณ์น้อย.
【 เด็กหญิง 】แปลว่า: (กฎ) น. คํานําหน้าชื่อเด็กผู้หญิงที่มีอายุไม่ถึง ๑๕ ปีบริบูรณ์.
【 เด็กอมมือ 】แปลว่า: (สํา) น. ผู้ไม่รู้ประสีประสา.
【 เดกซ์โทรส 】แปลว่า: [-โทฺรด] น. กลูโคส. (อ. dextrose).
【 เดคากรัม 】แปลว่า: [-กฺรํา] น. ชื่อมาตราชั่งตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑๐ กรัม, อักษรย่อว่า
ดคก. (อ. decagramme).
【 เดคาเมตร 】แปลว่า: น. ชื่อมาตราวัดตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑๐ เมตร, อักษรย่อว่า ดคม.
(อ. decametre).
【 เดคาลิตร 】แปลว่า: น. ชื่อมาตราตวงตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑๐ ลิตร, อักษรย่อว่า ดคล.
(อ. decalitre).
【 เด้ง 】แปลว่า: ก. ดีดหรือดันขึ้นเมื่อถูกกดหรือถูกบีบเป็นต้น, กระดอนขึ้น, กระเด้ง ก็ว่า.
【 เด็จ 】แปลว่า: ก. ขาด. (ข. ฎาจ่).
【 เดช, เดชะ 】แปลว่า: เดด น. อํานาจ; ความร้อน, ไฟ. (ป. เตช; ส. เตชสฺ).
【 เดชน์, เดชนะ 】แปลว่า: เดด, เดชะนะ น. ลูกศร. (ป., ส.).
【 เดโช 】แปลว่า: น. อํานาจ; ความร้อน, ไฟ. (ป. เตช; ส. เตชสฺ).
【 เดโชชัย 】แปลว่า: น. ความชนะด้วยอํานาจ. (ป., ส.).
【 เดโชพล 】แปลว่า: น. กําลังแห่งอํานาจ. (ป., ส.).
【 เดซิกรัม 】แปลว่า: [-กฺรํา] น. ชื่อมาตราชั่งตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของกรัม,
อักษรย่อว่า ดก. (อ. decigramme).
【 เดซิเมตร 】แปลว่า: น. ชื่อมาตราวัดตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของเมตร, อักษร
ย่อว่า ดม. (อ. decimetre).
【 เดซิลิตร 】แปลว่า: น. ชื่อมาตราตวงตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของลิตร, อักษร
ย่อว่า ดล. (อ. decilitre).
【 เด็ด 】แปลว่า: ก. ทําให้ขาดด้วยเล็บหรือนิ้ว เช่น เด็ดดอกไม้. ว. ทีเดียว, เป็นอันขาด,
เช่น ดีเด็ด ไม่เอาเด็ด.
【 เด็ดขาด 】แปลว่า: ว. เฉียบขาด, ไม่เปลี่ยนแปลง, ว่าอย่างใดทําอย่างนั้น, ถึงที่สุด.
【 เด็ดดวง 】แปลว่า: (ปาก) ว. ดีเด่นทีเดียว เช่น สวยเด็ดดวง.
【 เด็ดดอกไม้ร่วมต้น 】แปลว่า: (สํา) ก. เคยทําบุญกุศลร่วมกันมาแต่ชาติก่อน จึงมาอยู่ร่วมกัน
ในชาตินี้, เก็บดอกไม้ร่วมต้น ก็ว่า.
【 เด็ดดอกไม่ไว้ขั้ว 】แปลว่า: (สํา) ก. ตัดขาด, ตัดญาติขาดมิตรกันเด็ดขาด, มักใช้เข้าคู่กับ เด็ดบัว
ไม่ไว้ใย ว่า เด็ดดอกไม่ไว้ขั้ว เด็ดบัวไม่ไว้ใย.
【 เด็ดเดี่ยว 】แปลว่า: ว. ตัดสินใจทําอย่างแน่วแน่ไม่ย่อท้อ.
【 เด็ดบัวไม่ไว้ใย 】แปลว่า: (สํา) ก. ตัดขาด, ตัดญาติขาดมิตรกันเด็ดขาด, มักใช้เข้าคู่กับ เด็ดดอกไม่ไว้ขั้ว
ว่า เด็ดดอกไม่ไว้ขั้ว เด็ดบัวไม่ไว้ใย.
【 เด็ดปลีไม่มีใย 】แปลว่า: (สํา) ก. ตัดขาด, ตัดญาติขาดมิตรกันเด็ดขาด, เด็ดบัวไม่ไว้ใย ก็ว่า.
【 เดน 】แปลว่า: น. ของเหลือที่ไม่ต้องการแล้ว เช่น คนกินเดน, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่
เหลือเลือกแล้ว ทิ้งแล้ว ไม่ต้องการแล้วเป็นต้น เช่น ผลไม้เดนเลือก.
【 เดนตาย 】แปลว่า: (ปาก) ว. ที่รอดตายมาได้ทั้ง ๆ ที่น่าจะตาย.
【 เด่น 】แปลว่า: ว. ที่ปรากฏเห็นได้ชัดจะแจ้งเพราะนูนขึ้นมา ยื่นลํ้าออกมา หรือสูงใหญ่
กว่าธรรมดา, โดยปริยายหมายความว่า มีคุณสมบัติหรือความสามารถ
เยี่ยม เช่น สวยเด่น ดีเด่น.
【 เดนมาร์ก 】แปลว่า: [-หฺมาก] น. ชื่อประเทศและชนชาติหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ
ทวีปยุโรป. (อ. Denmark).
【 เดรัจฉาน 】แปลว่า: [-รัดฉาน] น. สัตว์เว้นจากมนุษย์ เช่นหมู หมา วัว ควาย (มักใช้เป็นคําด่า),
ใช้ว่า ดิรัจฉาน หรือ เดียรัจฉาน ก็มี.
【 เด๋อ, เด๋อด๋า 】แปลว่า: ว. เปิ่น, เร่อร่า.
【 เดา 】แปลว่า: ก. คิดคาดเอาเองโดยไม่มีหลักหรือเหตุผล.
【 เดาสวด 】แปลว่า: ก. เดาไปอย่างไม่รู้อะไรเลย.
【 เดาสุ่ม 】แปลว่า: ก. เดาโดยนึกเอาเองอย่างสุ่มปลา.
【 เด่า, เด่า ๆ 】แปลว่า: ว. หรบ ๆ, เร่า ๆ, (ใช้แก่กริยาดิ้น), ด่าว ก็ว่า.
【 เด้า 】แปลว่า: ก. กระเด้า, ทําก้นขึ้น ๆ ลง ๆ.
【 เด้าดิน 】แปลว่า: น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Motacillidae ลําตัวสีนํ้าตาลลายดํา ปากแหลม
ขาเรียวยาว หางยาว กินแมลง มีหลายชนิด เช่น เด้าดินสวน (/Anthus hodgsoni/)
เด้าดินทุ่ง (/A. novaeseelandiae/) เด้าดินอกแดง (/A. cervinus/) เด้าดินอกสีชมพู
(/A. roseatus), กระเด้าดิน ก็เรียก./
【 เด้าลม 】แปลว่า: น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Motacillidae ตัวเรียวเล็ก หางยาว มักยกหาง
ขึ้น ๆ ลง ๆ พร้อมกับโคลงหัวไปมาเวลาเดิน กินแมลง มีหลายชนิด เช่น
เด้าลมหลังเทา (/Motacilla cinerea/) เด้าลมเหลือง (/M. flava/) เด้าลมดง
(/Dendronanthus indicus/), กระเด้าลม ก็เรียก.
【 เดาะ ๑ 】แปลว่า: ก. โยนสิ่งของขึ้นแล้วเอาไม้หรือมือตีรับให้กระท้อนขึ้น. ว. ร้าวจวนจะหัก
เช่น ไม้คานเดาะ แขนเดาะ; เติมลงนิดหน่อยเพื่อให้คุณภาพเด่นขึ้น เช่น จืด
ไปเดาะเกลือลงไปหน่อย; (ปาก) โดยปริยายใช้เรียกผู้ที่กําลังจะดี แต่กลับมี
ข้อบกพร่องเสียกลางคัน, ใช้เป็นคําแทนกริยาหมายความว่า ทําแปลกกว่า
ธรรมดาสามัญ เช่น ร้อนจะตายเดาะเสื้อสักหลาดเข้าให้.
【 เดาะ ๒ 】แปลว่า: น. นม. (ข.).
【 เดาะ ๓ 】แปลว่า: ว. อาการเดินอย่างกระปรี้กระเปร่า เช่น เดินเดาะเลาะทางมา.
【 เดิน 】แปลว่า: ก. ยกเท้าก้าวไป; โดยปริยายหมายความว่า เคลื่อนไปด้วยกําลังต่าง ๆ เช่น
นาฬิกาเดิน รถเดิน, ทําให้เคลื่อนไหว เช่น เดินเครื่อง, ทําให้เคลื่อนไป เช่น
เดินหมากรุก, คล่องไม่ติดขัด เช่น รับประทานอาหารเดิน สมองเดินดี, นําไป
ส่ง เช่น เดินข่าว เดินหนังสือ เดินหมาย, ประกอบกิจการขนส่ง เช่น เดินรถ
เดินเรือ เดินอากาศ. (ข. เฎีร).
【 เดินขบวน 】แปลว่า: ก. ยกกันไปเป็นหมู่เป็นพวกเพื่อร้องเรียนเป็นต้น.
【 เดินคาถา 】แปลว่า: ก. ว่าคาถาในเทศน์มหาชาติเรื่อยไป.
【 เดินจักร 】แปลว่า: ก. เย็บด้วยจักร.
【 เดินตลาด 】แปลว่า: ก. วิ่งเต้นจําหน่ายสินค้า, เที่ยวเสาะแสวงหาแหล่งจําหน่ายสินค้า.
【 เดินตามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด 】แปลว่า: (สํา) ก. ประพฤติตามอย่างผู้ใหญ่ย่อมปลอดภัย.
【 เดินแต้ม 】แปลว่า: ก. ใช้ชั้นเชิง.
【 เดินโต๊ะ 】แปลว่า: ก. ยกอาหารและเครื่องดื่มมาให้ผู้นั่งโต๊ะกิน.
【 เดินทอง 】แปลว่า: ก. ลงทองไปตามเส้นลวดลายหรือตัวหนังสือเป็นต้น เช่น ทําปก
แข็งเดินทอง.
【 เดินทัพ 】แปลว่า: ก. ยกทัพ, เคลื่อนกองทัพ.
【 เดินทาง 】แปลว่า: ก. ไปสู่จุดที่หมายอีกแห่งหนึ่งที่ไกลออกไป.
【 เดินทุ่ง 】แปลว่า: ก. ตะลุยไป (ใช้ในการอ่าน แต่ง หรือแปลหนังสือ).
【 เดินเทียน 】แปลว่า: ก. เวียนเทียน.
【 เดินธุระให้ 】แปลว่า: ก. ไปประกอบการงานแทน.
【 เดินนา 】แปลว่า: ก. สํารวจนาเพื่อเรียกเก็บภาษีอากร.
【 เดินป้าย 】แปลว่า: ก. ส่งหนังสือ.
【 เดินรถ 】แปลว่า: ก. ประกอบกิจการขนส่งทางรถ.
【 เดินเรือ 】แปลว่า: ก. ประกอบกิจการขนส่งทางเรือ.
【 เดินเรื่อง 】แปลว่า: ก. เริ่มกล่าวเนื้อเรื่องเรื่อยไป; ติดต่อวิ่งเต้นให้เรื่องราวสําเร็จลุล่วงไป.
【 เดินสวน 】แปลว่า: ก. สํารวจสวนเพื่อเรียกเก็บภาษีอากร.
【 เดินสะพัด 】แปลว่า: ก. หมุนเวียน, เรียกบัญชีกระแสรายวันว่า บัญชีเดินสะพัด.
【 เดินสาย 】แปลว่า: ก. ติดสายไฟฟ้าหรือสายโทรเลขโทรศัพท์เป็นต้น, โดยปริยายหมายถึง
อาการที่นักร้องหรือนักแสดงเป็นต้นไปแสดงตามจังหวัดต่าง ๆ.
【 เดินเส้น 】แปลว่า: น. วิธีปักแบบหนึ่ง โดยมากใช้ตัดเส้นที่ขอบใบหรือดอก.
【 เดินหน 】แปลว่า: ก. เดินทางเรื่อยไป เช่น เทวดาเดินหน. น. ชื่อเทวดาที่อยู่ระหว่างสวรรค์
กับพื้นดิน; ชื่อชฎาชนิดหนึ่ง เรียกว่า ชฎาเดินหน.
【 เดินเหิน 】แปลว่า: ก. วิ่งเต้นเพื่อขอความช่วยเหลือ; (ปาก) เดิน.
【 เดินไหม 】แปลว่า: ก. เย็บจักรด้วยไหมให้เป็นแนวหรือเป็นขอบ.
【 เดินอากาศ 】แปลว่า: ก. ประกอบกิจการขนส่งทางอากาศ.
【 เดิ่น 】แปลว่า: น. เนิน, เทิน, ที่สูง.
【 เดิม 】แปลว่า: ว. แรก เช่น แต่เดิม, เก่า เช่น บ้านเดิม พระราชวังเดิม, ก่อน เช่น เหมือนเดิม.
(ข. เฎีม ว่า ต้น).
【 เดิมที 】แปลว่า: ว. แต่แรกเริ่ม.
【 เดิมพัน 】แปลว่า: น. จํานวนเงินหรือทรัพย์สินอื่น ๆ ที่วางไว้เป็นประกันในการได้เสียหรือ
แพ้ชนะก่อนเล่นการพนัน เช่น วางเดิมพัน เอาชีวิตเป็นเดิมพัน.
【 เดี้ย 】แปลว่า: ว. ตํ่า, สั้น.
【 เดียง ๑ 】แปลว่า: ก. รู้ เช่น มากูจะไปให้ดลเดียงถนัด. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ข. ฎึง).
【 เดียงสา 】แปลว่า: ว. รู้ผิดรู้ชอบตามปรกติสามัญ (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เด็กยังไม่รู้เดียงสา.
【 เดียง ๒ 】แปลว่า: (โบ) ก. ตีลง, ทุบลง, ฟาดลง.
【 เดียด 】แปลว่า: ก. เกลียด, ริษยา.
【 เดียดฉันท์ 】แปลว่า: ก. ไม่พอใจด้วย, รังเกียจ, ลําเอียง.
【 เดียร, เดียระ 】แปลว่า: เดียน, เดียระ น. ฝั่ง. (ป., ส. ตีร).
【 เดียรดาษ 】แปลว่า: [เดียระดาด] ว. เกลื่อนกลาด, เกลื่อน, ดื่นดาษ, ดาษเดียร ก็ใช้.
【 เดียรถ์ 】แปลว่า: เดียน น. ท่านํ้า. (ส. ตีรฺถ; ป. ติตฺถ).
【 เดียรถีย์ 】แปลว่า: [-ระถี] น. นักบวชภายนอกพระพุทธศาสนาในอินเดียสมัยพุทธกาล.
(ส. ตีรฺถิย; ป. ติตฺถิย).
【 เดียรัจฉาน 】แปลว่า: [-รัดฉาน] น. สัตว์เว้นจากมนุษย์ เช่นหมู หมา วัว ควาย (มักใช้เป็นคําด่า),
ใช้ว่า ดิรัจฉาน หรือ เดรัจฉาน ก็มี. (ป. ติรจฺฉาน ว่า ขวาง, ติรจฺฉานคต ว่า
สัตว์มีร่างกายเจริญโดยขวาง).
【 เดียว 】แปลว่า: ว. หนึ่งเท่านั้นไม่มีอื่นอีก เช่น คนเดียว พันเดียว นิดเดียว.
【 เดียวกัน 】แปลว่า: ว. รวมเป็นหนึ่ง ไม่แบ่งแยกกัน เช่น เป็นอันเดียวกัน, เหมือนกัน เช่น
หัวอกเดียวกัน ใจเดียวกัน.
【 เดียวดาย 】แปลว่า: ว. คนเดียวเท่านั้น, แต่ลําพังผู้เดียว, เช่น อยู่เดียวดาย.
【 เดี่ยว 】แปลว่า: ว. แต่ลําพังตัวโดยไม่มีใครหรืออะไรร่วมด้วย เช่น มาเดี่ยว ทําเดี่ยว
ไล่เดี่ยวเทียมเดี่ยว, เรียกการเล่นกีฬาบางชนิดซึ่งมีผู้เล่นข้างละคน
เช่น เทนนิสประเภทเดี่ยว แบดมินตันประเภทเดี่ยว. ก. แสดงฝีมือ
การเล่นดนตรีคนเดียว เช่น เดี่ยวปี่ เดี่ยวซอ เดี่ยวระนาด. น. ส่วนสูง
ของเรือนตั้งแต่พื้นถึงเพดาน, โดยปริยายหมายถึงบางสิ่งที่มีลักษณะ
สูงเช่นนั้น.
【 เดี๋ยว 】แปลว่า: ว. ชั่วระยะเวลาหนึ่ง, ชั่วขณะหนึ่ง, ชั่วครู่หนึ่ง, เช่น คอยเดี๋ยว; อาจจะทํา
หรืออาจจะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เดี๋ยวไม่ให้เลย เดี๋ยวตกนํ้านะ,
ประเดี๋ยวก็ว่า.
【 เดี๋ยวก่อน 】แปลว่า: คําขอผัดไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง, ประเดี๋ยวก่อน ก็ว่า.
【 เดี๋ยวเดียว 】แปลว่า: ว. ชั่วเวลานิดเดียว, ประเดี๋ยวเดียว ก็ว่า.
【 เดี๋ยวนี้ 】แปลว่า: ว. เวลานี้, ในเวลานี้, ทันที, ประเดี๋ยวนี้ ก็ว่า.
【 เดียะ 】แปลว่า: ว. คล่องแคล่ว เช่น ว่าเดียะ ว่าวปักเป้าส่ายเดียะ, อย่างกระชั้นชิดไม่ให้
คลาดสายตา เช่น ตามเดียะ.
【 เดื่อ 】แปลว่า: น. มะเดื่อ.
【 bเดือก 】แปลว่า: ก. กระเดือก, ดิ้นกระเสือก.
【 เดื่อง 】แปลว่า: (แบบ) ก. กระเดื่อง เช่น แผ่นดินดื่นเดื่องไหว. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
【 เดือด 】แปลว่า: ก. อาการที่ของเหลวพลุ่งขึ้นเพราะความร้อนจัด เช่น นํ้าเดือด, โดยปริยาย
หมายความว่า บันดาลโทสะ.
【 เดือดดาล 】แปลว่า: ก. โกรธมาก, โกรธพลุ่งพล่าน, ดาลเดือด ก็ใช้.
【 เดือดร้อน 】แปลว่า: ก. เป็นทุกข์กังวลไม่เป็นสุข.
【 เดือน 】แปลว่า: น. ดวงจันทร์; ส่วนของปี โดยปรกติมี ๓๐ วัน.
【 เดือนขาด 】แปลว่า: น. เดือนทางจันทรคติที่มี ๒๙ วัน วันสิ้นเดือนตรงกับวันแรม ๑๔ คํ่า คือ
เดือนอ้าย เดือน ๓ เดือน ๕ เดือน ๗ เดือน ๙ เดือน ๑๑, คู่กับ เดือนเต็ม.
【 เดือนค้างฟ้า 】แปลว่า: น. ดวงจันทร์ที่ยังมองเห็นได้ในท้องฟ้าเวลากลางวัน.
【 เดือนคี่ 】แปลว่า: (ปาก) น. เดือนที่มีจํานวนคี่ คือ เดือนอ้าย เดือน ๓ เดือน ๕ เดือน ๗
เดือน ๙ เดือน ๑๑, คู่กับ เดือนคู่.
【 เดือนคู่ 】แปลว่า: (ปาก) น. เดือนที่มีจํานวนคู่ คือ เดือนยี่ เดือน ๔ เดือน ๖ เดือน ๘ เดือน ๑๐
เดือน ๑๒, คู่กับ เดือนคี่.
【 เดือนจันทรคติ 】แปลว่า: [-จันทฺระคะติ] น. การนับเดือนโดยถือเอาดวงจันทร์เดินรอบโลกเป็นเกณฑ์
โดยนับจากวันเดือนดับไปถึงวันเดือนดับที่ถัดไป มีระยะเวลาประมาณ ๒๙
วัน ๑๒ ชั่วโมง ๔๔ นาที แบ่งเป็น ข้างขึ้น ข้างแรม.
【 เดือนเต็ม 】แปลว่า: น. เดือนทางจันทรคติที่มี ๓๐ วัน วันสิ้นเดือนตรงกับวันแรม ๑๕ คํ่า คือ
เดือนยี่ เดือน ๔ เดือน ๖ เดือน ๘ เดือน ๑๐ เดือน ๑๒, คู่กับ เดือนขาด.
【 เดือนมืด 】แปลว่า: น. เรียกคืนที่ไม่มีดวงจันทร์ส่องแสงว่า คืนเดือนมืด.
【 เดือนเย็น 】แปลว่า: น. หน้าหนาว.
【 เดือนร้อน 】แปลว่า: น. หน้าร้อน.
【 เดือนสุริยคติ 】แปลว่า: [-สุริยะคะติ] น. การนับเดือนโดยถือเอาดวงอาทิตย์เป็นเกณฑ์.
【 เดือนหงาย 】แปลว่า: น. เรียกคืนที่มีดวงจันทร์ส่องแสงสว่าง ว่า คืนเดือนหงาย.
【 เดือย ๑ 】แปลว่า: น. อวัยวะของไก่ตัวผู้และนกบางชนิด มีรูปเรียวแหลม งอกขึ้นที่เหนือ
ข้อตีนเบื้องหลัง; แกนที่ยื่นออกมาสําหรับเอาของอื่นสวม เช่น เดือยโม่
เดือยหัวเสา, โดยปริยายเรียกสิ่งอื่นที่ยื่นออกมามีลักษณะคล้ายคลึง
เช่นนั้น.
【 เดือยไก่ ๑ 】แปลว่า: น. โรคริดสีดวงทวารชนิดหนึ่งที่งอกออกมาคล้ายเดือยไก่.
【 เดือย ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Coix lachryma-jobi/ L. ในวงศ์ Gramineae ลําต้นและ
ใบคล้ายต้นข้าวโพด แต่ใบสั้นกว่า ผลกลมหรือยาวรี สีขาว เหลือง หรือ
นํ้าเงิน พันธุ์ที่เปลือกหุ้มอ่อนใช้ทําเป็นอาหารและเหล้า พันธุ์ที่เปลือกหุ้ม
แข็ง เรียก เดือยหิน ใช้ทําเครื่องประดับ.
【 เดือยไก่ ๑ 】แปลว่า: /ดูใน เดือย ๑/.
【 เดือยไก่ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อพริกพันธุ์หนึ่งของชนิด /Capsicum annuum/ L. ผลคล้ายเดือยไก่ แก่
แล้วสีเหลือง, พริกเหลือง ก็เรียก.
【 แด 】แปลว่า: (กลอน) น. ใจ.
【 แดดาล 】แปลว่า: ก. ถึงใจ, ดลใจ, เกิดขึ้นในใจ.
【 แดดิ้น 】แปลว่า: ก. ใจกระสับกระส่าย, ใจทุรนทุราย.
【 แดยัน 】แปลว่า: ก. แทบขาดใจ.
【 แด่ 】แปลว่า: บ. แก่ (ใช้ในที่เคารพ).
【 แดก ๑ 】แปลว่า: ก. อาการที่ลมในท้องดันขึ้นมา เรียกว่า ลมแดกขึ้น; (ปาก) กิน, กินอย่าง
เกินขนาด, (ใช้ในลักษณะที่ถือว่าไม่สุภาพ), โดยปริยายใช้แทนกริยา
อย่างอื่นที่มีอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น; พูดกระทบให้โกรธ โดยยกเอาสิ่ง
ที่อีกฝ่ายหนึ่งชอบขึ้นมาย้อนเปรียบเทียบ.
【 แดกดัน 】แปลว่า: ก. กล่าวกระทบกระแทกหรือประชดเพราะความไม่พอใจ.
【 แดก ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. เรียกปลาที่หมักใส่เกลือโขลกปนกับรําแล้วยัดใส่ไหว่า
ปลาแดก, ปลาร้า.
【 แด็ก ๆ 】แปลว่า: ว. อาการที่ดิ้นอยู่กับที่ เช่น ดิ้นแด็ก ๆ ชักแด็ก ๆ ติดแด็ก ๆ, กระแด็ก ๆ ก็ว่า.
【 แดกงา 】แปลว่า: น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ทําด้วยข้าวเหนียวนึ่งแล้วเอามาตําคลุกกับงา.
【 แดกแด้, แด็กแด้ 】แปลว่า: /ดู ดักแด้/.
【 แดง ๑ 】แปลว่า: ว. สีอย่างสีเลือดหรือสีชาด, ใช้ประกอบสิ่งต่าง ๆ บางอย่างโดยอนุโลม
ตามลักษณะสี เป็นชื่อเรียกเฉพาะ เช่น มดแดง ผ้าแดง. ก. ลักษณะที่
ความลับซึ่งปกปิดไว้ได้ปรากฏออกมา เช่น เรื่องนี้แดงออกมาแล้ว. (ปาก)
น. สตางค์ เช่น ไม่มีสักแดงเดียว. (ตัดมาจาก สตางค์แดง).
【 แดง ๒ 】แปลว่า: น. (๑) ไม้แดง. (๒) เทียนแดง. /(ดู เทียนแดง ที่ เทียน ๓)./
【 แดง ๓ 】แปลว่า: /ดู ชะโอน และ เนื้ออ่อน/.
【 แดงน้ำ 】แปลว่า: /ดู กางขี้มอด ที่ กาง ๒/.
【 แดด 】แปลว่า: น. แสงที่พุ่งจากดวงอาทิตย์ตรงมายังโลก, แสงตะวัน, แสงตะวันที่สว่าง
และร้อน.
【 แดน 】แปลว่า: น. ที่ที่กําหนดไว้โดยตรงหรือโดยหมายรู้กัน เช่น ชายแดน ลํ้าแดน, ถิ่นที่
เช่น แดนเสือ แดนผู้ร้าย.
【 แดนไตร 】แปลว่า: น. โลกทั้ง ๓ ได้แก่ กามภพ คือภพของเทวดาลงมา, รูปภพ คือ ภพของพรหม
ที่มีรูป, อรูปภพ คือภพของพรหมที่ไม่มีรูป; หรือ สวรรค์ มนุษยโลกและบาดาล.
【 แดนสนธยา 】แปลว่า: น. แดนที่เสมือนมีบางสิ่งบางอย่างที่ลึกลับและมีปัญหาสลับซับซ้อน
แอบแฝงให้น่าสงสัยอยู่มาก.
【 แด่น ๑ 】แปลว่า: ว. มีขนด่างเป็นดวงที่หน้าของสัตว์บางชนิด เช่น ม้า หมา.
【 แด่น ๒ 】แปลว่า: ก. แล่น, ไปถึง เช่น ทัพถึงหมื่นถึงแสนแด่นถึงล้าน. (ม. คําหลวง มหาราช).
(เทียบอะหม ดัน ว่าถึง).
【 แด่ว ๆ 】แปลว่า: ว. อาการที่ดิ้นอย่างทุรนทุรายแต่หาทางไปไม่ได้ในคําว่า ดิ้นแด่ว ๆ,
กระแด่ว ๆ ก็ว่า.
【 แดะ 】แปลว่า: ก. แอ่นตัวหรือดีดตัวขึ้น. น. เรียกท่าหนึ่งของวิชาพลศึกษาที่แอ่นตัวขึ้น
ก่อนที่จะทิ้งตัวลงในการแข่งขันกระโดดไกล กระโดดสูง ราวเดี่ยว เป็นต้น.
【 แดะแด๋ 】แปลว่า: (ปาก) ว. ดัดจริตดีดดิ้น, กระแดะกระแด๋ ก็ว่า.
【 โด 】แปลว่า: /ดู ชะโด/.
【 โด่ 】แปลว่า: ว. ใช้ประกอบคํากริยาบางคําเพื่อเน้นความหมายว่า ตรงขึ้นไป หรือเด่น
ตําตาอยู่ เช่น นั่งหัวโด่ ตั้งโด่.
【 โด่เด่ 】แปลว่า: ว. อาการที่ตั้งตรงแล้วโย้ไปโย้มา.
【 โดกเดก 】แปลว่า: ว. โยกเยก, โอนไปโอนมา, กระโดกกระเดก ก็ว่า.
【 โด่ง 】แปลว่า: ว. อาการที่พุ่งขึ้นไป เช่น พลุขึ้นโด่ง ตะไลขึ้นโด่ง, สูง เช่น ตะวันโด่ง
หัวโด่ง ท้ายโด่ง; เรียกจมูกที่เป็นสันเด่นออกมาว่า จมูกโด่ง.
【 โด่งดัง 】แปลว่า: ว. แพร่สนั่นไป, เป็นที่เลื่องลือ.
【 โดด ๑ 】แปลว่า: ก. กระโดด, กระโจน.
【 โดดร่ม 】แปลว่า: ก. โดดออกจากอากาศยานในขณะอยู่ในอากาศเพื่อลงสู่พื้นดินโดยอาศัย
ร่มชูชีพ, กระโดดร่ม ก็ว่า; โดยปริยายหมายความว่า หนีงาน หนีโรงเรียน.
【 โดด ๒, โดด ๆ 】แปลว่า: ว. อันเดียวเด่น เช่น ตั้งอยู่โดด ๆ ลูกโดด.
【 โดดเดี่ยว 】แปลว่า: ว. เดียวเท่านั้น, อยู่ตามลําพังไม่เกี่ยวข้องกับใคร.
【 โดดแล่น 】แปลว่า: น. ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่ขับไล่ข้าศึก.
【 โดน ๑ 】แปลว่า: ก. กระทบกระทั่ง, กระทบกระแทก, สัมผัสถูกต้อง; ถูก เช่น โดนตี.
【 โดนดี 】แปลว่า: (ปาก) คําพูดเชิงประชดประชัน มีความหมายต่าง ๆ แล้วแต่ข้อความ
แวดล้อม (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น ระวังเถอะเดี๋ยวโดนดีดอก.
【 โดน ๒ 】แปลว่า: /ดู กระโดน/.
【 โดม ๑ 】แปลว่า: น. แนว, แถว, สายนํ้า. (ข. ฎง).
【 โดมไพร 】แปลว่า: น. แนวป่า. (ข. ฎงไพฺร).
【 โดม ๒ 】แปลว่า: ว. สูง. (ข. โฎม).
【 โดม ๓ 】แปลว่า: น. หลังคาส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารที่มีลักษณะโค้งกลมคล้ายผลส้มผ่า
ครึ่งควํ่า, ส่วนที่มีลักษณะโค้งกลมซึ่งครอบอยู่บนสิ่งก่อสร้าง. (ฝ. d๔me).
【 โดมร 】แปลว่า: [โดมอน] น. หอก, หอกซัด. (ป., ส. โตมร).
【 โด่ไม่รู้ล้ม 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด/ Elephantopus scaber/ L. ในวงศ์ Compositae ใบ
แนบอยู่กับพื้นดิน ดอกสีม่วงอ่อน ก้านช่อดอกตั้งตรงขึ้นไป ใช้ทํายาได้.
【 โดย ๑ 】แปลว่า: [โดย, โดยะ] น. นํ้า. (ป. โตย).
【 โดย ๒ 】แปลว่า: บ. ด้วย, ตาม, เช่น โดยจริง โดยธรรม. (ข. โฎย). (ถิ่น) ว. จ้ะ, ขอรับ.
【 โดยจริง 】แปลว่า: ว. ตามความมุ่งหวัง, ตามความประสงค์.
【 โดยเจตนา 】แปลว่า: (กฎ) /ดู กระทำโดยเจตนา/.
【 โดยที่ 】แปลว่า: สัน. เพราะเหตุว่า.
【 โดยทุจริต 】แปลว่า: (กฎ) ว. เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับ
ตนเองหรือผู้อื่น.
【 โดยปริยาย 】แปลว่า: ว. โดยอ้อม, โดยผิดเพี้ยนไปจากความหมายเดิม, เช่น โดดร่มความหมายตรง
ว่า โดดจากเครื่องบินโดยมีร่มชูชีพเป็นเครื่องพยุง ความหมายโดยปริยายว่า
หนีงาน, หนีโรงเรียน.
【 โดยพยัญชนะ 】แปลว่า: ว. ตามตัวหนังสือ.
【 โดยสังเขป 】แปลว่า: ว. โดยย่อ, โดยใจความย่อ, เช่น กล่าวโดยสังเขป.
【 โดยสาร 】แปลว่า: ก. อาศัยไปด้วย เช่น โดยสารเรือ, เดินทางไปโดยยานพาหนะโดย
เสียค่าโดยสาร, เรียกคนที่ใช้รถหรือเรือรับจ้างว่า คนโดยสาร. (ข.).
【 โดยสิ้นเชิง, อย่างสิ้นเชิง 】แปลว่า: ว. ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, เช่น เขาพ้นข้อหาโดยสิ้นเชิง โครงการนี้ล้มเหลว
อย่างสิ้นเชิง.
【 โดยสุจริต 】แปลว่า: (กฎ) ว. โดยซื่อสัตย์ เปิดเผย หรือโดยไม่รู้ถึงสิทธิของบุคคลอื่นที่ดีกว่า.
【 โดยเสด็จ 】แปลว่า: (ราชา) ก. ตามไปด้วย; ร่วม เช่น โดยเสด็จพระราชกุศล.
【 โดยอรรถ 】แปลว่า: ว. ตามเนื้อความ.
【 โดร 】แปลว่า: [โดน] (กลอน; ตัดมาจาก ข. พิโดร) ก. หอม, กลิ่นหอมที่ฟุ้งไป; โดยปริยาย
หมายถึง ดอกไม้ เช่น กระทึงทอง ลําดวนโดร รสอ่อน พี่แม่. (กําสรวล).
【 โดรณ, โดรณะ 】แปลว่า: โดน, โดระนะ น. ซุ้ม, ประตูซุ้ม, เสาต้าย, เสาค่าย, เสาระเนียด.
(ป., ส. โตรณ).
【 ใด 】แปลว่า: ว. ใช้ประกอบคําอื่นแสดงความไม่เจาะจงหรือเป็นคําถาม เช่น คนใด
เมื่อใด.
【 …ใด…หนึ่ง 】แปลว่า: ว. ใครก็ได้, อะไรก็ได้, เช่น คนใดคนหนึ่ง สิ่งใดสิ่งหนึ่ง.
【 ได 】แปลว่า: น. มือ. (ข.).
【 ได้ 】แปลว่า: ก. รับมาหรือตกมาเป็นของตัว เช่น ได้เงิน ได้ลูก ได้แผล; ใช้ประกอบท้าย
คํากริยามีความหมายต่าง ๆ แล้วแต่ความแวดล้อม คือ อาจ, สามารถ,
เช่น เดินได้ เขียนได้; สําเร็จผล เช่น สอบได้; อนุญาต เช่น ลงมือกินได้
ไปได้; (ไว) คําช่วยกริยาบอกอดีต เช่น ได้กิน ได้ไป; เรียกเงินหรือสิ่งที่ได้
มาว่า เงินได้ รายได้.
【 ได้กัน 】แปลว่า: ก. ได้เป็นผัวเมียกัน.
【 ได้การ 】แปลว่า: ว. ใช้ได้, ได้ผล.
【 ได้แก่ 】แปลว่า: สัน. คือ, เท่ากับ, เช่น หนังสือสําหรับค้นความหมายของคําที่เรียงลําดับ
ตามตัวอักษร ได้แก่พจนานุกรม.
【 ได้แกงเทน้ำพริก 】แปลว่า: (สํา) ก. ได้ใหม่ลืมเก่า.
【 ได้ความ 】แปลว่า: ก. ได้เรื่อง, ได้การ.
【 ได้คิด 】แปลว่า: ก. รู้สึกผิดชอบชั่วดี, กลับรู้สึกสํานึกตน, กลับคิดได้.
【 ได้คืบจะเอาศอก 】แปลว่า: (สำ) ต้องการได้มากกว่าที่ได้มาแล้ว.
【 ได้ใจ 】แปลว่า: ก. เหิมใจ, ย่ามใจ, ชะล่าใจ, กำเริบ.
【 ได้ช่อง, ได้ท่า 】แปลว่า: ก. ได้โอกาส.
【 ได้ชื่อ 】แปลว่า: ก. ขึ้นชื่อ, มีชื่อเสียง.
【 ได้ดิบได้ดี 】แปลว่า: (สำ) ได้ดี.
【 ได้ท้าย 】แปลว่า: ก. ได้ผู้หนุนหลัง.
【 ได้ที 】แปลว่า: ก. เป็นต่อ, ได้โอกาส, ได้ช่อง, ได้เปรียบ, เช่น ได้ทีขี่แพะไล่.
【 ได้ที่ 】แปลว่า: ก. ถึงที่เหมาะ, ถึงที่กะไว้, พอดี.
【 ได้ทีขี่แพะไล่ 】แปลว่า: (สํา) ก. ซํ้าเติมเมื่อผู้อื่นเพลี่ยงพลํ้าลง.
【 ได้ยิน 】แปลว่า: ก. รับรู้เสียงด้วยหู.
【 ได้ราคา 】แปลว่า: ก. ขายได้เงินมากกว่าที่คาดไว้.
【 ได้ฤกษ์ 】แปลว่า: ก. ถึงเวลาอันเป็นมงคล.
【 ได้สติ 】แปลว่า: ก. ได้คิด, กลับระลึกขึ้นได้, กลับรู้สึกตัวได้; ฟื้นคืนสติ; (ปาก) ใช้ในความ
ปฏิเสธหมายความว่า ไม่ดี ใช้การไม่ได้ ในคําว่า ไม่ได้สติ.
【 ได้ส่วน, ได้ส่วนสัด 】แปลว่า: ก. ได้ขนาดที่พอเหมาะพอดี.
【 ได้เสีย 】แปลว่า: ก. ร่วมประเวณี; ได้เงินเสียเงิน, ได้ผล.
【 ได้เสียกัน 】แปลว่า: ก. เป็นผัวเมียกันแล้ว.
【 ได้หน้า 】แปลว่า: ว. ได้เกียรติ, ได้ชื่อเสียง, ได้หน้าได้ตา ก็ว่า.
【 ได้หน้าลืมหลัง 】แปลว่า: ก. หลง ๆ ลืม ๆ.
【 ไดแซ็กคาไรด์ 】แปลว่า: (วิทยา) น. สารประกอบคาร์โบไฮเดรตจําพวกนํ้าตาลที่ประกอบด้วย
โมโนแซ็กคาไรด์ ๒ โมเลกุลเชื่อมกัน มีสูตรโมเลกุล C12H22O11.
(อ. disaccharide).
【 ไดนาโม 】แปลว่า: น. เครื่องกลที่ใช้สําหรับเปลี่ยนพลังงานกลให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดย
อาศัยหลักการคือ ให้ลวดตัวนําเคลื่อนที่ตัดเส้นแรงแม่เหล็ก เป็นเหตุ
ให้เกิดกระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ในลวดตัวนําได้, ใช้ว่า ไดนะโม ก็มี.
(อ. dynamo).
【 ไดนาไมต์ 】แปลว่า: น. ดินระเบิดอย่างร้ายแรงประเภทหนึ่ง ประกอบด้วยดินฟูชนิดหนึ่งซึ่ง
เรียกว่าดินเบา ชุบสารไนโทรกลีเซอรีนซึ่งเป็นวัตถุระเบิดแล้วอัดให้เป็น
ชิ้นเล็ก ๆ. (อ. dynamite).
【 ไดโนเสาร์ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานยุคก่อนประวัติศาสตร์พวกหนึ่ง รูปร่างคล้ายกิ้งก่า
ยักษ์ แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก มีหลายชนิด บางชนิดกินพืช บางชนิดกิน
เนื้อสัตว์. (อ.dinosaur).
【 ไดเรกตริกซ์ 】แปลว่า: (คณิต) น. เส้นตรงที่ตรึงอยู่กับที่ซึ่งคู่กับจุดโฟกัส ใช้กําหนดบังคับเซต
ของจุดชุดหนึ่งให้เรียงกันเป็นเส้นโค้งในระบบภาคตัดกรวย, ปัจจุบัน
ใช้ว่า เส้นบังคับ. (อ. directrix).

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

error: Content is protected !!