พจนานุกรม ไทย – ไทย ป

【 ป 】แปลว่า: พยัญชนะตัวที่ ๒๗ เป็นพวกอักษรกลาง เป็นตัวสะกดในแม่กบ
ในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น บาป เนปจูน,
ตัว ป ตัว ป ที่ขึ้นต้นของคําหรือพยางค์ในภาษาบาลีและสันสกฤต
มักแผลงมาเป็นตัว บ ในภาษาไทย เช่น ปท ปิตา เป็น บท บิดา.
【 ปก ๑ 】แปลว่า: ก. แผ่ออกคลุมเบื้องบน เช่น ตะไคร้ใบปกดิน. น. กระดาษหรือผ้า
หรือหนังเป็นต้นที่หุ้มอยู่ภายนอกสมุดหรือหนังสือเป็นต้น, ใบปก
ก็เรียก; แผ่นผ้าที่ติดปากกระเป๋าเสื้อ, แผ่นผ้าที่ติดกับคอเสื้อพับ
ตลบลงมาหรือแบะออกทั้ง ๒ ข้าง เช่น ปกเชิ้ต ปกเสื้อนอก.
【 ปกกระพอง 】แปลว่า: น. เครื่องปกส่วนที่นูนเป็นปุ่ม ๒ ข้างหัวช้าง.
【 ปกเกศ 】แปลว่า: ก. ปกเกล้า, คุ้มครอง.
【 ปกครอง 】แปลว่า: ก. ดูแล, คุ้มครอง, ระวังรักษา; บริหาร.
【 ปกคลุม 】แปลว่า: ก. แผ่คลุมอยู่เบื้องบน.
【 ปกป้อง 】แปลว่า: ก. คุ้มครองป้องกัน.
【 ปกปักรักษา 】แปลว่า: ก. ดูแลรักษา.
【 ปกปิด 】แปลว่า: ก. ปิดไม่ให้รู้หรือไม่ให้เห็น, ปิดไว้เป็นความลับ.
【 ปก ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ปลาแก้มชํ้า. /(ดู แก้มชํ้า)./
【 ปกติ 】แปลว่า: [ปะกะติ, ปกกะติ] ว. ธรรมดา, เป็นไปตามเคย, ไม่แปลกไปจาก
ธรรมดา, ปรกติ ก็ว่า. (ป.; ส. ปฺรกฺฤติ).
【 ปกรณ์ 】แปลว่า: [ปะกอน] น. คัมภีร์, ตํารา, หนังสือ. (ป. ปกรณ; ส. ปฺรกรณ).
【 ปกรณัม 】แปลว่า: [ปะกะระนำ] น. ปกรณ์, เรื่อง, เช่น ปักษีปกรณัม. (ส. ปฺรกรณ;
ป. ปกรณ).
【 ปการ 】แปลว่า: [ปะกาน] น. อย่าง, ชนิด. (ป.; ส. ปฺรการ).
【 ปกิณกะ 】แปลว่า: [ปะกินนะกะ] ว. เรี่ยราย, เบ็ดเตล็ด, กระจาย, ระคนกัน, คละกัน,
(มักใช้ประกอบหน้าศัพท์) เช่น ปกิณกคดี. (ป. ปกิณฺณก; ส. ปฺรกีรฺณก).
【 ปกีรณัม 】แปลว่า: [ปะกีระนํา] ก. จําแนกหรือกระจายออกไป. (ส. ปฺรกีรณมฺ).
【 ปโกฏิ 】แปลว่า: [ปะโกด] น. ชื่อสังขยาจํานวนสูง = ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐
(เท่ากับสิบล้านโกฏิ). (ป.).
【 ปง ๑, ปงปัง 】แปลว่า: ว. เสียงดังเช่นนั้น.
【 ปง ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ที่ริมฝั่งน้ำ, ที่ลุ่มน้ำขัง, ป่ง หรือ โป่ง ก็ว่า.
【 ป่ง 】แปลว่า: น. พื้นดินที่มีเกลือสินเธาว์ผุดเกรอะกรังอยู่, ป่าหรือดินที่มีป่ง
เรียกว่า ป่าป่ง ดินป่ง, เรียกผีที่มีอยู่ในที่เช่นนั้นว่า ผีป่ง, เรียก
ลักษณะที่นั่งห้างคอยยิงสัตว์ที่มากินดินป่งว่า นั่งป่ง; (ถิ่น-พายัพ)
ที่ริมฝั่งน้ำ, ที่ลุ่มน้ำขัง, ปง หรือ โป่ง ก็ว่า.
【 ปงช้าง 】แปลว่า: /ดู หนอนตายหยาก (๑)./
【 ปฎล 】แปลว่า: ปะดน น. หลังคา, เพดาน, ชั้น. (ป. ปฏล).
【 ปฏัก 】แปลว่า: (แบบ) น. ประตัก.
【 ปฏิ- 】แปลว่า: คําอุปสรรคในภาษาบาลีใช้นําหน้าศัพท์อื่น แปลว่า เฉพาะ, ตอบ,
ทวน, กลับ. (ป.; ส. ปฺรติ).
【 ปฏิกรณ์ 】แปลว่า: (ฟิสิกส์) น. เครื่องที่ใช้สําหรับก่อให้เกิดปฏิกิริยาแตกสลายทาง
นิวเคลียร์อย่างสมํ่าเสมอและควบคุมได้เพื่อผลิตพลังงาน สาร
กัมมันตรังสี เครื่องชนิดนี้มีหลายแบบ และใช้เชื้อเพลิงนิวเคลียร์
ซึ่งมักเป็นแท่งยูเรเนียม, มักเรียกว่า เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู.
(อ. reactor).
【 ปฏิกรรมสงคราม 】แปลว่า: น. การชดใช้ค่าเสียหายที่ฝ่ายชนะสงครามเรียกร้องเอาจากฝ่าย
พ่ายแพ้. (อ. reparation).
【 ปฏิการ-, ปฏิการะ 】แปลว่า: [ปะติการะ-] น. การสนองคุณ, การตอบแทนคุณ, คู่กับ อุปการะ;
การซ่อมแซม. (ป.).
【 ปฏิกิริยา 】แปลว่า: น. การกระทําตอบสนอง; การกระทําต่อต้าน; ผลของการกระทํา
ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดกิริยาสะท้อนมาเป็นอีกอย่างหนึ่ง; (เคมี) การเกิด
การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสาร. (ป. ปฏิ ว่า ตอบ, ทวน, กลับ +
กิริยา ว่า การกระทํา). (อ. reaction).
【 ปฏิกูล 】แปลว่า: [-กูน] ว. สกปรกน่ารังเกียจ เช่น สิ่งปฏิกูล. (ป. ปฏิกฺกูล).
【 ปฏิคคหิต, ปฏิคหิต- 】แปลว่า: ปะติกคะหิด, ปะติกคะหิตะ- ก. รับเอา เช่น เราก็ปฏิคคหิต
ด้วยศรัทธา. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). ว. อันรับเอาแล้ว. (ป. ปฏิคฺ-
คหิต).
【 ปฏิคม 】แปลว่า: น. ผู้ต้อนรับ, ผู้รับแขก, ผู้ดูแลต้อนรับ.
【 ปฏิคาหก 】แปลว่า: น. ผู้รับทาน. (ป. ปฏิคฺคาหก).
【 ปฏิฆะ 】แปลว่า: (แบบ) น. ความคับแค้น, ความกระทบกระทั่ง, ความขึ้งเคียด
(โทสะ). (ป.).
【 ปฏิชีวนะ 】แปลว่า: [-ชีวะนะ] น. เรียกยาประเภทที่มีสารที่สกัดจากผลผลิตของเชื้อ
จุลินทรีย์ ใช้ฆ่าหรือยับยั้งการแพร่พันธุ์ของแบคทีเรีย ว่า ยาปฏิชีวนะ.
(อ. antibiotics).
【 ปฏิญญา 】แปลว่า: [ปะตินยา] น. การให้คํามั่นสัญญาหรือการแสดงยืนยันโดยถือเอา
สิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือความสุจริตใจเป็นที่ตั้ง. (ป.).
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน น. การให้คํามั่นสัญญาหรือการ
แสดงยืนยันถึงสิทธิหรืออํานาจอันชอบธรรมของมนุษย์ซึ่งเป็นที่ยอมรับ
กันทั่วไป.
【 ปฏิญาณ 】แปลว่า: [ปะติยาน] ก. ให้คํามั่นสัญญา โดยมากมักเป็นไปตามแบบพิธี.
【 ปฏิทิน 】แปลว่า: น. แบบสําหรับดูวัน เดือน ปี. (ป.; ส. ปฺรติทิน ว่า เฉพาะวัน,
สําหรับวัน).
【 ปฏิทินโหราศาสตร์ 】แปลว่า: น. ตาตารางแผนที่แสดงการเคลื่อนไหวของดาวพระเคราะห์
ประจำวัน, ปูม ก็เรียก.
【 ปฏิบถ 】แปลว่า: ว. ทวนทาง, สวนทาง. (ป. ปฏิปถ).
【 ปฏิบัติ 】แปลว่า: ก. ดําเนินการไปตามระเบียบแบบแผน เช่น ปฏิบัติราชการ, กระทํา
เพื่อให้เกิดความชํานาญ เช่น ภาคปฏิบัติ; กระทําตาม เช่น ปฏิบัติ
ตามสัญญา; ประพฤติ เช่น ปฏิบัติสมณธรรม ปฏิบัติต่อกัน; ปรนนิบัติ
รับใช้ เช่น ปฏิบัติบิดามารดา ปฏิบัติครูบาอาจารย์. (ป. ปฏิปตฺติ).
【 ปฏิบัติการ 】แปลว่า: ก. ทํางานตามหน้าที่. ว. ที่ทดลองเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามทฤษฎี
หรือฝึกงานเพื่อให้เกิดความชํานาญเป็นต้น เช่น ห้องปฏิบัติการ.
【 ปฏิบัติธรรม 】แปลว่า: ก. ประพฤติตามธรรม; เจริญภาวนา.
【 ปฏิบัติบูชา 】แปลว่า: น. การบูชาด้วยการปฏิบัติตามคำสั่งสอน, คู่กับ อามิสบูชา
ซึ่งเป็นการบูชาด้วยสิ่งของ.
【 ปฏิปทา 】แปลว่า: [-ปะทา] น. ทางดําเนิน; ความประพฤติ. (ป.).
【 ปฏิปักษ์ 】แปลว่า: น. ฝ่ายตรงกันข้าม, ข้าศึก, ศัตรู. ว. ที่ตรงกันข้าม เช่น ฝ่ายปฏิปักษ์.
(ส. ปรฺติปกฺษ; ป. ปฏิปกฺข).
【 ปฏิปัน 】แปลว่า: (แบบ) น. ผู้ดําเนินไปแล้ว, ผู้บรรลุแล้ว, ผู้ตรัสรู้แล้ว. (ป. ปฏิปนฺน).
【 ปฏิปุจฉาพยากรณ์ 】แปลว่า: น. การจําแนกธรรมหรือพยากรณ์ปัญหาธรรมด้วยวิธีย้อนถาม. (ป.).
【 ปฏิปุจฉาวาที 】แปลว่า: น. ผู้จําแนกธรรมหรือพยากรณ์ปัญหาธรรมด้วยวิธีย้อนถาม. (ป.).
【 ปฏิพัทธ์ 】แปลว่า: ก. เนื่องกัน, ผูกพัน, รักใคร่. (ป. ปฏิพทฺธ; ส. ปฺรติพทฺธ).
【 ปฏิพากย์ 】แปลว่า: น. การกล่าวตอบ, การพูดโต้ตอบ. (ป. ปฏิวากฺย).
【 ปฏิภาค, ปฏิภาค- 】แปลว่า: [ปะติพาก, ปะติพากคะ-] น. ส่วนเปรียบ. ว. เทียบเคียง, เหมือน.
(ป. ปฏิภาค; ส. ปฺรติภาค).
【 ปฏิภาคนิมิต 】แปลว่า: น. “อารมณ์เทียบเคียง” คือ เมื่อพบเห็นสิ่งใดจนติดตาหลับตาเห็น
แล้วอาจนึกทายส่วนหรือแบ่งส่วนแห่งสิ่งนั้นให้สมรูปสมสัณฐาน
เรียกว่า ปฏิภาคนิมิต. (ป. ปฏิภาคนิมิตฺต; ส. ปฺริตภาค + นิมิตฺต).
【 ปฏิภาณ, ปฏิภาณ- 】แปลว่า: [ปะติพาน, ปะติพานะ-, ปะติพานนะ-] น. เชาวน์ไวในการกล่าว
แก้หรือโต้ตอบเป็นต้นได้ฉับพลันทันทีและแยบคาย. (ป.).
【 ปฏิภาณกวี 】แปลว่า: [ปะติพานนะกะวี, ปะติพานกะวี] น. กวีผู้มีความสามารถในการ
ใช้ปฏิภาณแต่งกลอนสด.
【 ปฏิภาณปฏิสัมภิทา 】แปลว่า: [ปะติพานะ-] น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา
๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในปฏิภาณ คือ ความเข้าใจทำให้
สามารถแก้ไขเหตุการณ์ได้ในเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือกล่าวโต้ตอบ
ได้ทันท่วงที. (ป.).
【 ปฏิภาณโวหาร 】แปลว่า: [ปะติพานนะ-, ปะติพาน-] น. การกล่าวเหมาะด้วยเหตุผลในทันที.
【 ปฏิมา, ปฏิมากร 】แปลว่า: น. รูปเปรียบหรือรูปแทนองค์พระพุทธเจ้า คือ พระพุทธรูป, เรียก
ย่อมาจาก พุทธปฏิมา หรือ พุทธปฏิมากร. (ป. ปฏิมา).
【 ปฏิยุทธ์ 】แปลว่า: ก. รบตอบ, สู้รบ. (ป.).
【 ปฏิรพ 】แปลว่า: -รบ ก. ส่งเสียงเอาชัย, ร้องดัง, ร้องขู่. (ป. ปฏิรว).
【 ปฏิรูป, ปฏิรูป- 】แปลว่า: [-รูบ, -รูปะ-] ว. สมควร, เหมาะสม, เช่น ปฏิรูปเทส คือ ถิ่นที่สมควร
หรือ ถิ่นที่เหมาะสม; เทียม, ไม่แท้, เช่น มิตรปฏิรูป. ก. ปรับปรุงให้
สมควร เช่น ปฏิรูปบ้านเมือง. (ป.).
【 ปฏิโลม 】แปลว่า: ว. ทวนกลับ. (ป. ปฏิโลม ว่า ทวนขน คู่กับ อนุโลม ว่า ตามขน).
【 ปฏิวัติ 】แปลว่า: น. การหมุนกลับ, การผันแปรเปลี่ยนหลักมูล; การเปลี่ยนแปลง
ระบบ เช่น ปฏิวัติอุตสาหกรรม, การเปลี่ยนแปลงระบอบการ
บริหารบ้านเมือง เช่น ปฏิวัติการปกครอง. (ป. ปฏิวตฺติ).
【 ปฏิวาต 】แปลว่า: [-วาด] ว. ทวนลม. (ป.).
【 ปฏิวาท 】แปลว่า: [-วาด] น. คําโต้, คําคัดค้าน. (ป.).
【 ปฏิเวธ 】แปลว่า: [-เวด] ก. เข้าใจตลอด, ตรัสรู้, ลุล่วงผลปฏิบัติ. (ป.).
【 ปฏิสนธิ 】แปลว่า: (แบบ) ก. เกิดในท้อง, ถือกําเนิด. (ป. ปฏิสนฺธิ).
【 ปฏิสวะ 】แปลว่า: ปะติดสะวะ น. การฝืนคํารับ, การรับแล้วไม่ทําตามรับ.
(ป. ปฏิสฺสว).
【 ปฏิสังขรณ์ 】แปลว่า: ก. ซ่อมแซมทําให้กลับคืนดีเหมือนเดิม (มักใช้เฉพาะวัดวาอาราม)
เช่น ปฏิสังขรณ์วัด. (ป.).
【 ปฏิสันถาร 】แปลว่า: น. การทักทายปราศรัยแขกผู้มาหา (มักใช้แก่ผู้น้อย);
การต้อนรับแขก. (ป. ปฏิสนฺถาร).
【 ปฏิสัมภิทา 】แปลว่า: (แบบ) น. ความแตกฉาน, ปัญญาอันแตกฉาน, มี ๔ อย่าง คือ
อรรถปฏิสัมภิทา ธรรมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา ปฏิภาณ
ปฏิสัมภิทา. (ป.).
【 ปฏิเสธ 】แปลว่า: ก. ไม่รับ, ไม่ยอมรับ, เช่น ปฏิเสธการเชิญ, ไม่ยอมรับข้อเท็จจริง
เช่น ปฏิเสธข้อกล่าวหา; (ไว) แสดงความหมายตรงกันข้ามกับ
ยืนยัน รับ หรือ ยอมรับ. (ป.).
【 ปฏิเสธข่าว 】แปลว่า: ก. แสดงยืนยันว่าไม่เป็นไปตามนั้น.
【 ปฐพี 】แปลว่า: [ปะถะ-, ปัดถะ-] น. แผ่นดิน. (ป. ป?วี).
【 ปฐพีวิทยา 】แปลว่า: [ปะถะพีวิดทะยา, ปัดถะพีวิดทะยา] น. วิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง
ที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องดิน. (อ. pedology).
【 ปฐม, ปฐม- 】แปลว่า: [ปะถม, ปะถมมะ-] ว. ประถม, ลำดับแรก, ลำดับเบื้องต้น; ชั้นที่ ๑,
เรียกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นที่ ๑ ในตระกูลจุลจอมเกล้าว่า
ปฐมจุลจอมเกล้า ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ. (ป.).
【 ปฐมกรรม 】แปลว่า: [ปะถมมะกํา] น. กฎเบื้องต้นหรือข้อสําคัญ; ชื่อพิธีแบบหนึ่งที่กษัตริย์
ในครั้งโบราณกระทําแก่ผู้เป็นปรปักษ์.
【 ปฐมฌาน 】แปลว่า: [ปะถมมะ-] น. ฌานเบื้องต้น ได้แก่ ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ วิตก
วิจาร ปีติ สุข เอกัคตา. (ป.).
【 ปฐมทัศน์ 】แปลว่า: [ปะถมมะ-] น. การแสดงครั้งแรก, เรียกการแสดงละครหรือ
การฉายภาพยนตร์รอบแรกว่า รอบปฐมทัศน์.
【 ปฐมเทศนา 】แปลว่า: [ปะถมมะเทสะนา, ปะถมมะเทดสะหฺนา, ปะถมเทดสะหฺนา] น. เทศนา
ครั้งแรกในพระพุทธศาสนา หมายถึง ธัมมจักกัปปวัตนสูตร; ชื่อ
พระพุทธรูปปางหนึ่ง เป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิบ้าง นั่งห้อย
พระบาทอย่างนั่งเก้าอี้บ้าง เครื่องหมายสําคัญอยู่ที่พระหัตถ์ขวา
ทํานิ้วพระหัตถ์กรีดเป็นวงกลม ส่วนพระหัตถ์ซ้ายวางหงายอยู่
บนพระเพลาบ้าง ถือชายจีวรบ้าง ทําท่าทางประคองพระหัตถ์
ขวาบ้าง.
【 ปฐมนิเทศ 】แปลว่า: [ปะถมมะ-, ปะถม-] น. การแนะนําชี้แนวเพื่อการศึกษาและการ
ทํางานในเบื้องต้น.
【 ปฐมบุรุษ 】แปลว่า: [ปะถมมะ-, ปะถม-] น. บุรุษที่ ๑, ตามไวยากรณ์ ได้แก่ สรรพนาม
พวกที่ใช้แทนชื่อผู้พูด เช่น ข้า เรา แต่ตามไวยากรณ์บาลีหมายถึง
พวกที่เราพูดถึง เช่น เขา.
【 ปฐมพยาบาล 】แปลว่า: [ปะถมพะยาบาน] น. การปฏิบัติขั้นต้นยามฉุกเฉินตามวิธีแพทย์
ก่อนลงมือรักษาพยาบาล.
【 ปฐมโพธิกาล 】แปลว่า: [ปะถมมะโพทิกาน] น. กาลแรกตรัสรู้ คือ ระยะเวลานับตั้งแต่
พระพุทธเจ้าตรัสรู้จนถึงทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาใน
แคว้นมคธ. (ป.).
【 ปฐมยาม 】แปลว่า: [ปะถมมะ-] น. ยามต้น, ในบาลีแบ่งคืนออกเป็น ๓ ยาม กำหนด
ยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม
ปฐมยามกำหนดเวลาตั้งแต่ย่ำค่ำ หรือ ๑๘ นาฬิกา ถึง ๔ ทุ่ม หรือ
๒๒ นาฬิกา. (ป.).
【 ปฐมฤกษ์ 】แปลว่า: [ปะถมมะ-] น. ช่วงเวลาแรกของฤกษ์. ว. เริ่มแรก เช่น ฉบับปฐมฤกษ์.
【 ปฐมวัย 】แปลว่า: [ปะถมมะไว] น. วัยต้น. (ป.).
【 ปฐมสมโพธิ 】แปลว่า: [ปะถมมะสมโพด, ปะถมสมโพด] น. ชื่อคัมภีร์ว่าด้วยประวัติ
ของพระพุทธเจ้า. (ป.).
【 ปฐมสุรทิน 】แปลว่า: [ปะถมมะสุระทิน] น. วันที่ ๑ แห่งเดือนทางสุริยคติ.
【 ปฐมาษาฒ 】แปลว่า: [ปะถะมาสาด] น. เดือน ๘ แรก, (โบ) เขียนเป็น ปฐมาสาฒ
ก็มี. (ป. ป?มาสาฬฺห; ส. ปูรฺวาษาฒ).
【 ปฐมดุสิต 】แปลว่า: [ปะถมดุสิด] น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 ปฐมาษาฒ 】แปลว่า: /ดู ปฐม, ปฐม-./
【 ปฐวี 】แปลว่า: ปะถะวี น. แผ่นดิน. (ป.).
【 ปณต 】แปลว่า: [ปะนด] ก. ประณต. (ป.; ส. ปฺรณต).
【 ปณาม 】แปลว่า: [ปะนาม] ก. ประณาม. (ป.; ส. ปฺรณาม).
【 ปณิธาน 】แปลว่า: [ปะ-] น. ประณิธาน. (ป.; ส. ปฺรณิธาน).
【 ปณิธิ 】แปลว่า: [ปะ-] น. ประณิธิ. (ป.; ส. ปฺรณิธิ).
【 ปณีต 】แปลว่า: [ปะ-] ว. ประณีต. (ป.; ส. ปฺรณีต).
【 ปด, ปดโป้ 】แปลว่า: ก. โกหก, พูดเท็จ, จงใจกล่าวคําที่ไม่จริง.
【 ปดิวรัดา 】แปลว่า: [ปะดิวะรัดดา] น. ภริยาที่ซื่อสัตย์และภักดีต่อสามี. (ส. ปติวรฺตา).
【 ปติ 】แปลว่า: น. เจ้า, ผัว. (ป.).
【 ปติวัตร 】แปลว่า: น. ความประพฤติต่อผัว, ความจงรักในผัว.
【 ปติยัต 】แปลว่า: ก. ตระเตรียม, ทําให้เสร็จ, ตกแต่ง. (ป. ปติยตฺต).
【 ปถพี 】แปลว่า: [ปะถะ-] น. แผ่นดิน. (ส. ปฺฤถวี; ป. ป?วี).
【 ปถมัง 】แปลว่า: [ปะถะหฺมัง] น. วิธีทําผงด้วยเวทมนตร์คาถาเพื่อความศักดิ์สิทธิ์.
【 ปถวี ๑ 】แปลว่า: ปะถะวี น. ดิน เช่น ปถวีธาตุ. (ส. ปฺฤถวี; ป. ป?วี).
【 ปถวี ๒ 】แปลว่า: [ปะถะหฺวี] น. ท้ายเรือพิธี (เรียกเฉพาะเรือหลวง).
【 ปทัฏฐาน 】แปลว่า: น. แบบแผนสําหรับยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ; เหตุที่ตั้งเป็นเครื่องถึง,
เหตุอันใกล้ที่สุด; บรรทัดฐาน หรือ ปทัสถาน ก็ว่า. (ป.; ส. ปทสฺถาน).
【 ปทัสถาน 】แปลว่า: น. แบบแผนสําหรับยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ; เหตุที่ตั้งเป็นเครื่องถึง,
เหตุอันใกล้ที่สุด; บรรทัดฐาน หรือ ปทัฏฐาน ก็ว่า. (ส.; ป. ปทฏฺ?าน).
【 ปทานุกรม 】แปลว่า: น. หนังสือสําหรับค้นคว้าความหมายของคําที่เรียงตามลําดับบท.
【 ปทีป 】แปลว่า: น. ประทีป. (ป.; ส. ปฺรทีป).
【 ปทุม 】แปลว่า: น. บัวหลวง, บัวก้าน. (ป.; ส. ปทฺม).
【 ปน 】แปลว่า: ก. ประสมกัน เช่น ข้าวเจ้าปนข้าวเหนียว, แกมกัน เช่น พูดไทย
ปนฝรั่ง, รวมกัน เช่น อย่าเอาผ้านุ่งกับเสื้อซักปนกัน, ถ้าเอาส่วน
น้อยประสมลงในส่วนมากเพื่อให้ระคนปนเป็นอันเดียวกัน เรียกว่า
เจือปน, ถ้าเป็นในลักษณะที่ปนกันทั้งเล็กและใหญ่ ทั้งดีและชั่ว
เรียกว่า คละปน.
【 ปนเป 】แปลว่า: ว. ปนกันยุ่งจนไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร.
【 ป่น 】แปลว่า: น. เครื่องจิ้มอย่างหนึ่ง ปรุงด้วยนํ้าปลาร้า. ก. ทําให้แหลกละเอียด
ด้วยการตําเป็นต้น เช่น ป่นเกลือ ป่นปลา ป่นพริก. ว. ที่แหลกละเอียด
เช่น พริกป่น ปลาป่น เกลือป่น.
【 ปนัดดา 】แปลว่า: (แบบ) น. เหลน (คือ ลูกของหลานปู่). (ป.).
【 ปบ 】แปลว่า: ก. วิ่งไล่ตะครุบ, ตบตะครุบ, ตะปบ ก็ว่า.
【 ปปัญจ-, ปปัญจะ 】แปลว่า: ปะปันจะ- น. ความเนิ่นช้า, ความนาน. ว. เนิ่นช้า. (ป.).
【 ปปัญจธรรม 】แปลว่า: (แบบ) น. ธรรมที่ทําให้เนิ่นช้า คือ ตัณหา มานะ ทิฐิ. (ป.).
【 ปม 】แปลว่า: น. เนื้อที่เป็นปุ่มขึ้นตามตัว, ขอดของผ้าหรือเชือก, ข้อยุ่งที่แก้ยาก.
【 ปมเขื่อง, ปมเด่น 】แปลว่า: น. ลักษณะอารมณ์และความต้องการที่แสดงออกในทางที่เหนือ
กว่าบุคคลอื่น. (อ. superiority complex).
【 ปมจิต 】แปลว่า: น. อารมณ์และความรู้สึกของบุคคลที่เก็บกดสะสมไว้ในจิตใต้สํานึก
มาตั้งแต่ในวัยเด็ก ปมจิตนี้จะทําให้บุคคลผู้นั้นแสดงออกในด้าน
ความคิดความรู้สึก และการกระทําในลักษณะที่ซํ้ากันจนเกิดเป็น
อุปนิสัยประจําตัว.
【 ปมด้อย 】แปลว่า: น. ลักษณะความคิด ความรู้สึก อารมณ์ หรือการกระทําของบุคคล
ที่แสดงออกถึงความตํ่าต้อยกว่าผู้อื่น. (อ. inferiority complex).
【 ปมประสาท 】แปลว่า: น. ตําแหน่งที่อยู่ของเซลล์ประสาท.
【 ปมเปา 】แปลว่า: ว. ปุ่มที่เกิดตามเนื้อตามตัว.
【 ปโย- 】แปลว่า: น. นํ้านม, นํ้า. (ป., ส. ปย), ที่เป็น ปโย เพราะเข้าสมาสกับศัพท์ที่มี
พยัญชนะตัวหน้าเป็นอักษรตํ่าหรือตัว ห ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ปโยชนม์ [ปะโยชน] น. “ผู้มีนํ้าเป็นที่เกิด” คือ เมฆ. (ส. ปโยชนฺมนฺ).
ปโยธร น. “ผู้ทรงไว้ซึ่งนํ้า” คือ เมฆ, “ผู้ทรงไว้ซึ่งนํ้านม” คือ ถัน.
(ป., ส.). ปโยธรา น. “ที่ทรงนํ้านมไว้” คือ ทรวงอกหรือนมหญิง. (ส.).
ปโยนิธิ น. “ที่รับนํ้า” คือ ทะเล. (ส.). ปโยราศิ น. “กองนํ้า”
คือ ทะเล. (ส.).
【 ปร- 】แปลว่า: [ปะระ-, ปอระ-] ว. อื่น, ใช้เป็นบทหน้าสมาส เช่น ปรปักษ์ ปรโลก. (ป.).
【 ปรนัย 】แปลว่า: [ปะระ-, ปอระ-] ว. วัตถุวิสัย; เรียกการสอบแบบที่ผู้สอบมักไม่มี
โอกาสแสดงความคิดเห็นส่วนตัว เป็นคําถามที่ต้องการคําตอบ
ตายตัว ว่า การสอบแบบปรนัย, คู่กับ อัตนัย.
【 ปร-ปักษ์ 】แปลว่า: [ปอระ-] น. ข้าศึก, ศัตรู, ฝ่ายตรงข้าม.
【 ปรโลก 】แปลว่า: [ปะระ-, ปอระ-] น. โลกหน้า.
【 ปรวาที 】แปลว่า: [ปะระ-] น. ผู้กล่าวถ้อยคําฝ่ายตอบหรือฝ่ายค้าน, คู่กับ สกวาที.
【 ปรหิตะ 】แปลว่า: [ปะระหิตะ, ปอระหิตะ] น. ประโยชน์ผู้อื่น, มักใช้ควบกับ ประโยชน์
เป็น ปรหิตประโยชน์ ว่า ประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น. (ป. ปรหิต).
【 ปรก ๑ 】แปลว่า: [ปฺรก] น. ซุ้มเล็ก ๆ ที่พระสงฆ์อาศัยในเวลาอยู่ปริวาส. ก. ปก, ปิด,
คลุม, เช่น พระนาคปรก ผมปรกหน้า.
【 ปรก ๒ 】แปลว่า: [ปฺรก] น. เรียกผู้นั่งภาวนาในพิธีปลุกเสก เช่น ในพิธีพุทธาภิเษก
ว่า คณะปรก.
【 ปรกติ 】แปลว่า: [ปฺรกกะติ] ว. ธรรมดา เช่น ตามปรกติ, เป็นไปตามเคย เช่น
เหตุการณ์ปรกติ, ไม่แปลกไปจากธรรมดา เช่น อาการปรกติ,
ปกติ ก็ว่า. (ส. ปฺรกฺฤติ; ป. ปกติ).
【 ปรง 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อเฟิน ๒ ชนิดในสกุล/ Acrostichum /วงศ์ Pteridaceae
ต้นเป็นกอขึ้นริมนํ้า ใบยาวเป็นทาง ใบอ่อนสีแดง กินได้ คือ
ปรงทะเล (/A. aureum/ L.) และ ปรงหนู (/A. speciosum /Willd.).
(๒) ชื่อพรรณไม้ในกลุ่มพืชเมล็ดเปลือยหลายชนิดในสกุล
Cycas วงศ์ Cycadaceae เป็นไม้ต้น ลําต้นกลม สีดําขรุขระ
ใบเล็กยาวเรียงถี่ ๆ บนแกนกลาง เช่น ปรงญี่ปุ่น (/C. revoluta/
Thunb.) ใบใช้ทําพวงหรีด ปรงเขา (/C. pectinata/ Griff.).
【 ปรตยักษ์ 】แปลว่า: ปฺรดตะยัก ก. ประจักษ์. (ส. ปฺรตฺยกฺษ; ป. ปจฺจกฺข).
【 ปรตยาค 】แปลว่า: ปฺรดตะยาก ก. ประจาค, บริจาค. (ส. ปฺรตฺยาค;
ป. ปริจฺจาค).
【 ปรตเยก 】แปลว่า: ปฺรดตะเยก ว. ปัจเจก. (ส. ปฺรเตฺยก; ป. ปจฺเจก).
【 ปรน 】แปลว่า: [ปฺรน] ก. บํารุงเลี้ยงดูให้สมบูรณ์.
【 ปรนปรือ 】แปลว่า: [ปฺรนปฺรือ] ก. บํารุงเลี้ยงดูให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น.
【 ปรนเปรอ 】แปลว่า: [ปฺรนเปฺรอ] ก. บํารุงบําเรอเลี้ยงดู, เลี้ยงดูด้วยการเอาอกเอาใจ.
【 ปรนนิบัติ 】แปลว่า: [ปฺรนนิบัด] ก. เอาใจใส่คอยปฏิบัติรับใช้, ปรนนิบัติวัตถาก ก็ว่า.
【 ปรนิมมิตวสวัตดี 】แปลว่า: [ปะระนิมมิตตะวะสะวัดดี, ปอระ-] น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๖ แห่งสวรรค์
๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา
ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี, มีท้าววสวัตดี
มารเป็นผู้ครอง.
【 ปรบ 】แปลว่า: [ปฺรบ] ก. เอาฝ่ามือตบกันหลาย ๆ ครั้งให้เกิดเสียงเพื่อแสดง
ความยินดีเป็นต้น ในคําว่า ปรบมือ, ตบมือ ก็ว่า; ตี เช่น ไก่
ปรบปีก ช้างปรบหู.
【 ปรบไก่ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงพื้นเมืองอย่างหนึ่ง ใช้ตบมือเป็นจังหวะ และว่าแก้กัน
อย่างเพลงฉ่อย, ชื่อหน้าทับประกอบเพลงดนตรีแบบหนึ่ง.
【 ปรบมือให้ 】แปลว่า: (สํา) ก. ยกย่อง, สรรเสริญ.
【 ปรม- 】แปลว่า: [ปะระมะ-, ปอระมะ-] ว. อย่างยิ่ง (ใช้นําหน้าคําอื่นโดยมาก). (ป.).
【 ปรมัตถ์ 】แปลว่า: [ปะระมัด, ปอระมัด] น. ประโยชน์อย่างยิ่ง, เนื้อความอย่างยิ่ง,
ความจริงอันเป็นที่สุด; ชื่อพระอภิธรรมปิฎก. ว. ลึกซึ้งยากที่
ปุถุชนจะเข้าใจได้ เช่น นี่เป็นเรื่องปรมัตถ์. (ป.).
【 ปรมาจารย์ 】แปลว่า: [ปะระมาจาน, ปอระมาจาน] น. อาจารย์ผู้เป็นเอกหรือยอดเยี่ยม
ในทางวิชาใดวิชาหนึ่ง.
【 ปรมาณู 】แปลว่า: [ปะระ-, ปอระ-] น. ส่วนของสารที่มีขนาดเล็กที่สุดจนไม่สามารถ
จะแยกย่อยได้อีกด้วยวิธีเคมี. (ป., ส. ปรมาณุ).
【 ปรมาตมัน 】แปลว่า: ปะระมาดตะมัน น. อาตมันสูงสุด เป็นต้นกําเนิด
และที่รวมของทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาล. (ส. ปรม + อาตฺมนฺ).
【 ปรมาภิไธย 】แปลว่า: [ปะระมาพิไท, ปอระมาพิไท] น. ชื่อ (ใช้เฉพาะพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว) เช่น ในพระปรมาภิไธย ทรงลงพระปรมาภิไธย.
(ป. ปรมาภิเธยฺย).
【 ปรมาภิเษก 】แปลว่า: [ปะระ-, ปอระ-] น. อภิเษกอย่างยิ่ง คือ การตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า. (ส.).
【 ปรมินทร์, ปรเมนทร์ 】แปลว่า: [ปะระมิน, ปอระมิน, ปะระเมน, ปอระเมน] น. ผู้เป็นใหญ่ยิ่ง. (ส.).
【 ปรเมศวร์ 】แปลว่า: [ปะระเมด] น. ผู้เป็นใหญ่ยิ่ง คือ พระอิศวร. (ส.).
【 ปรเมษฐ์ 】แปลว่า: [ปะระเมด, ปอระเมด] น. ผู้สูงสุด คือ พระพรหม. (ส.).
【 ปรมัตถ์ 】แปลว่า: /ดู ปรม-./
【 ปรมาจารย์ 】แปลว่า: /ดู ปรม-./
【 ปรมาณู 】แปลว่า: /ดู ปรม-./
【 ปรมาตมัน 】แปลว่า: /ดู ปรม-./
【 ปรมาภิไธย 】แปลว่า: ดู ปรม-.
【 ปรมาภิเษก 】แปลว่า: /ดู ปรม-./
【 ปรมินทร์, ปรเมนทร์ 】แปลว่า: /ดู ปรม-./
【 ปรเมศวร์ 】แปลว่า: /ดู ปรม-./
【 ปรเมษฐ์ 】แปลว่า: /ดู ปรม-./
【 ปรเมหะ 】แปลว่า: [ปะระ-] น. ชื่อคัมภีร์หมอว่าด้วยโรคเกิดแต่นํ้าเบา (น้ำปัสสาวะ).
【 ปรวด ๑ 】แปลว่า: [ปะหฺรวด] น. เนื้อที่เป็นโรค มีลักษณะเป็นก้อนแข็งอยู่ใต้ผิวหนัง;
ชื่อหมอช้าง.
【 ปรวด ๒ 】แปลว่า: ปะหฺรวด ก. โปรด.
【 ปรวนแปร 】แปลว่า: [ปฺรวนแปฺร] ก. เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาไม่อยู่ที่เป็นปรกติ เช่น อากาศ
ปรวนแปร, รวนเร เช่น ใจปรวนแปร, แปรปรวน ก็ว่า.
【 ปรศุ 】แปลว่า: [ปะระสุ] น. ขวาน. (ส.; ป. ผรสุ).
【 ปรสิต, ปรสิต- 】แปลว่า: [ปะระสิด, ปะระสิดตะ-] น. (แพทย์) สัตว์พวกพยาธิที่อาศัยอยู่ใน
มนุษย์และสัตว์; (เกษตร) ตัวเบียน เช่น กาฝาก. (อ. parasite).
【 ปรสิตวิทยา 】แปลว่า: ปะระสิดตะวิดทะยา, ปะระสิดวิดทะยา น. วิชาที่ว่าด้วยพยาธิ.
【 ปร๋อ 】แปลว่า: [ปฺร๋อ] ว. อาการที่นกบินเร็ว, โดยปริยายหมายความว่า เร็ว,
แคล่วคล่อง, ว่องไว, ไม่ติดขัด, เช่น วิ่งปร๋อ พูดไทยได้ปร๋อ.
【 ปรองดอง 】แปลว่า: [ปฺรอง-] ก. ออมชอม, ประนีประนอม, ยอมกัน, ไม่แก่งแย่งกัน,
ตกลงกันด้วยความไกล่เกลี่ย, ตกลงกันด้วยไมตรีจิต.
【 ปรอด 】แปลว่า: [ปะหฺรอด] น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Pycnonotidae สีเหลืองหม่น
กินผลไม้และแมลง มีหลายชนิด เช่น ปรอดสวน (/Pycnonotus/
/blanfordi/) ปรอดหน้านวล (/P. goiavier/), กรอด ก็เรียก, บางที
เขียนเป็น กระหรอด หรือ กะหรอด.
【 ปรอด ๆ 】แปลว่า: [ปฺรอด] ว. เสียงดังเช่นนั้น เช่น ขี้ปรอด ๆ.
【 ปรอท 】แปลว่า: [ปะหฺรอด] น. ธาตุลําดับที่ ๘๐ สัญลักษณ์ Hg เป็นโลหะ ลักษณะ
เป็นของเหลว สีเงิน แข็งตัวที่ -๓๘.๓๖?ซ. เดือดที่ ๓๕๗?ซ. ใช้ประโยชน์
นําไปทําเทอร์โมมิเตอร์ บารอมิเตอร์ โลหะเจือซึ่งเรียกว่า อะมัลกัม
(amalgam) ใช้ในงานทันตกรรมและทําเครื่องมือวิทยาศาสตร์อื่น ๆ
สารประกอบของปรอทเป็นพิษ แต่บางอย่างใช้เป็นยาได้. (อ. mercury);
(ปาก) เครื่องวัดอุณหภูมิ; โดยปริยายหมายถึงอาการที่เป็นไปอย่าง
รวดเร็วว่องไว เช่น ไวเป็นปรอท. (ป., ส. ปารท).
【 ปรอย, ปรอย ๆ ๑ 】แปลว่า: [ปฺรอย] ว. ที่แสดงอาการเศร้า (ใช้แก่ตา) เช่น ทําตาปรอย.
【 ปรอย ๆ ๒ 】แปลว่า: [ปฺรอย] ว. ที่ตกเป็นระยะ ๆ ไม่หนาเม็ด (ใช้แก่ฝนตก) เช่น ฝนตก
ปรอย ๆ.
【 ประ- ๑ 】แปลว่า: [ปฺระ] ใช้เติมหน้าคําอื่นเพื่อให้คําหนักแน่นขึ้น เช่น ชิด เป็น
ประชิด, ท้วง เป็น ประท้วง; คําที่แผลงมาจาก ผ เช่น ผทม เป็น
ประทม แล้วแผลง ประ เป็น บรร เช่น ประทม เป็น บรรทม.
【 ประ ๒ 】แปลว่า: [ปฺระ] ก. ปะทะ เช่น ประหมัด, กระทบ, ระ, เช่น ผมประบ่า.
【 ประคารม 】แปลว่า: ก. ตีฝีปากกัน.
【 ประ ๓ 】แปลว่า: [ปฺระ] ก. ทำให้เป็นจุด ๆ เช่น ประไข่ปลา, ทำให้เป็นจุด ๆ หรือ
เม็ด ๆ ทั่วไปอย่างประแป้ง.
【 ประแป้ง 】แปลว่า: ก. แตะหน้าหรือตัวให้เป็นจุด ๆ ด้วยแป้งนวลผสมนํ้า.
【 ประโปรย 】แปลว่า: [-โปฺรย] ก. ทำน้ำให้กระจายเป็นเม็ดเล็ก ๆ เช่น ประโปรยน้ำจาก
พระสุหร่าย.
【 ประพรม 】แปลว่า: [-พฺรม] ก. ประโปรยด้วยสิ่งที่มีลักษณะเป็นน้ำ เช่น ประพรมน้ำมนต์
เอาน้ำอบประพรมอัฐิ.
【 ประวิสรรชนีย์ 】แปลว่า: [ปฺระวิสันชะนี] ก. ใส่เครื่องหมายวิสรรชนีย์.
【 ประ ๔ 】แปลว่า: [ปฺระ] (ถิ่น-ปักษ์ใต้, มลายู) น. ลูกกระ. /(ดู กระ ๒)./
【 ประ ๕ 】แปลว่า: [ปฺระ] /ดู กระ ๓./
【 ประกบ 】แปลว่า: ก. แนบชิดกัน, ทาบกัน, เช่น ขนมครก ๒ ฝาประกบกัน ไม้ไผ่
๒ ซีกประกบกัน.
【 ประกบตัว 】แปลว่า: ก. ติดตามอย่างใกล้ชิด เช่น ตํารวจประกบตัวผู้ร้าย, คุมตัวอย่าง
ใกล้ชิด เช่น ประกบตัวผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามในการเล่นฟุตบอลเป็นต้น.
【 ประกฤต 】แปลว่า: -กฺริด ก. ทํา, ทํามาก. (ส. ปฺรกฺฤต; ป. ปกต).
【 ประกฤติ 】แปลว่า: -กฺริด, -กฺริติ น. มูลเดิม, ที่เกิด, รากเหง้า; ความเป็นไป
ตามธรรมดา, ความเป็นไปตามปรกติ, ลักษณะ; กฎ, เกณฑ์,
แบบเดิม. (ส. ปฺรกฺฤติ; ป. ปกติ).
【 ประกล 】แปลว่า: น. ประการ. ว. ต่าง.
【 ประกวด 】แปลว่า: ก. แข่งขันเพื่อเลือกเฟ้นเอาดี โดยมีการตัดสิน เช่น ประกวดนางงาม
ประกวดบทความ.
【 ประกวดประขัน 】แปลว่า: ก. แข่งสู้อวดกัน เช่น แต่งตัวประกวดประขันกัน.
【 ประกวดราคา 】แปลว่า: ก. เสนอราคาแข่งขันกัน.
【 ประกอบ 】แปลว่า: ก. เอาชิ้นส่วนต่าง ๆ มารวมหรือคุมกันเข้าเป็นรูปร่างตามที่ต้องการ
เช่น ประกอบรถยนต์; ทํา เช่น ประกอบอาชีพ ประกอบธุรกิจ; ประสม
หรือปรุงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น ประกอบยา; เสริม, เพิ่มเติม, เช่น
อธิบายประกอบ.
【 ประกอบด้วย 】แปลว่า: ก. มี, มีมาก, เช่น ประกอบด้วยเมตตา, กอบด้วย ก็ว่า.
【 ประกอบอาหาร 】แปลว่า: ก. ทําหรือปรุงแต่งอาหารต่าง ๆ.
【 ประกัน 】แปลว่า: ก. รับรองว่าจะรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น, รับรองว่าจะมีหรือ
ไม่มีเหตุการณ์นั้น ๆ. น. หลักทรัพย์ที่ให้ไว้เป็นเครื่องรับรอง.
【 ประกันชีวิต 】แปลว่า: (กฎ) น. ชื่อสัญญาประกันภัยชนิดหนึ่ง ซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า
ผู้รับประกันภัย ตกลงจะใช้เงินจํานวนหนึ่งให้แก่ผู้รับประโยชน์
โดยอาศัยความทรงชีพ หรือมรณะของบุคคลคนหนึ่ง และในการ
นี้ผู้เอาประกันภัยตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่า เบี้ยประกันภัย ให้แก่
ผู้รับประกันภัย, สัญญาประกันชีวิต ก็เรียก. (ปาก) ก. ทําสัญญา
ประกันชีวิต.
【 ประกันเชิงลา 】แปลว่า: (โบ) ก. ประกันตัวออกมาจากที่คุมขังได้เป็นคราว ๆ คราวละ
๓ วัน หรือ ๗ วัน.
【 ประกันภัย 】แปลว่า: (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับประกันภัย ตกลง
จะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจํานวนหนึ่งให้ในกรณีที่หากมี
วินาศภัยขึ้น หรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดังได้ระบุไว้ในสัญญา
และการนี้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้เอาประกันภัย ตกลงจะส่ง
เงินซึ่งเรียกว่า เบี้ยประกันภัย, สัญญาประกันภัย ก็เรียก.
【 ประกับ ๑ 】แปลว่า: ก. ประกอบเข้าทั้ง ๒ ข้างเพื่อให้แน่น.
【 ประกับ ๒ 】แปลว่า: (โบ) น. วัตถุใช้แทนเงินปลีก ขนาดเท่าเหรียญมีเส้นผ่าศูนย์กลาง
ประมาณ ๑ นิ้ว ทําด้วยดินเผาตีตราต่าง ๆ.
【 ประกาย 】แปลว่า: น. แสงที่เห็นกระเด็นกระจายออกจากวัตถุที่ลุกเป็นไฟ เช่น
ประกายลูกไฟ, แสงที่เห็นกระเด็นกระจายออกจากของแข็ง
บางอย่างที่กระทบกันอย่างแรง เช่น ดาบกระทบกันเป็น
ประกาย ตีเหล็กไฟเป็นประกาย, ความแวววาวที่เหลี่ยม
เพชรเป็นต้นกระทบแสง, แสงแปลบปลาบอย่างแสงฟ้าแลบ,
โดยปริยายหมายถึงแสงที่มีลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น
ตาเป็นประกาย, แสงสะท้อนจากสิ่งที่เป็นมันเป็นเงา เช่น
ประกายแสงจากกระเบื้องหลังคาโบสถ์. (แผลงมาจาก ผกาย).
【 ประกายพรึก 】แปลว่า: [ปฺระกายพฺรึก] น. ดาวรุ่ง คือ ดาวพระศุกร์ที่เห็นในเวลาเช้ามืด,
ถ้าเห็นในเวลาหัวคํ่า เรียกว่า ดาวประจําเมือง. (ข. ผกาย ว่า
ดาว + พรึก ว่า รุ่ง).
【 ประการ 】แปลว่า: น. อย่าง เช่น จะทําประการไร, ชนิด เช่น หลายประการ; ทํานอง,
แบบ, เช่น ด้วยประการฉะนี้. (ส. ปฺรการ; ป. ปการ).
【 ประกาศ 】แปลว่า: ก. ป่าวร้อง, แจ้งให้ทราบ, เช่น ประกาศงานบุญงานกุศล. น.
ข้อความที่แจ้งให้ทราบทั่วกัน เช่น ประกาศของวัด ประกาศของ
บริษัท; (กฎ) ข้อความที่ทางราชการแจ้งให้ประชาชนทราบหรือ
วางแนวทางให้ปฏิบัติ เช่น ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศ
กระทรวง ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี. (ส. ปฺรกาศ; ป. ปกาส).
【 ประกาศก 】แปลว่า: ปฺระกาสก น. ผู้ประกาศ. (ส. ปฺรกาศก).
【 ประกาศนียบัตร 】แปลว่า: [ปฺระกาสะนียะบัด, ปฺระกาดสะนียะบัด] น. เอกสารแสดงคุณวุฒิ
ตามปรกติตํ่ากว่าระดับอุดมศึกษา.
【 ประกาศิต 】แปลว่า: น. คําสั่งเด็ดขาด, คําพูดที่ศักดิ์สิทธิ์.
【 ประกำ 】แปลว่า: ก. รัด, ตรึงให้แน่น, เช่น ประกําตรึงด้วยเพชรแน่นหนา.
(ม. ร่ายยาว กุมาร).
【 ประกิด 】แปลว่า: ก. ประกอบ, ประกับ, ประดับ.
【 ประกิต 】แปลว่า: (แบบ) ก. แจ้งความ, ประกาศ, แสดง. (ส.).
【 ประกีรณกะ, ประเกียรณกะ 】แปลว่า: [ปฺระกีระนะกะ, ปฺระเกียนระนะกะ] ว. เรี่ยราย, เบ็ดเตล็ด,
【 กระจาย, 】แปลว่า:
ระคนกัน, คละกัน. (ส. ปฺรกีรฺณก; ป. ปกิณฺณก).
【 ประแกก 】แปลว่า: ก. แตกร้าวกัน, วิวาทกัน. (ข. ปฺรแกก ว่า เถียงกัน).
【 ประคด 】แปลว่า: น. เครื่องคาดเอวหรืออกของพระภิกษุสามเณร, ถ้าเป็นสายถักเป็น
แผ่นสําหรับคาดเอว เรียกว่า ประคดเอว, ถ้าเป็นผืนผ้าสําหรับคาด
อก เรียกว่า ประคดอก, รัดประคด ก็เรียก; ผ้าสําหรับคาดเอวทับ
เครื่องแบบขุนนางสมัยโบราณ.
【 ประคนธรรพ, ประคนธรรพ์ 】แปลว่า: [ปฺระคนทับ, ปฺระคนทัน] ดู ประโคนธรรพ, ประโคนธรรพ์.
【 ประคบ 】แปลว่า: ว. เรียกผ้าที่ห่อเครื่องยาผูกเป็นลูกกลม ๆ อังไฟแล้วนาบหรือคลึง
บริเวณที่ปวดว่า ลูกประคบ. ก. นาบหรือกดคลึงด้วยลูกประคบ.
【 ประคบประหงม 】แปลว่า: ก. ทะนุถนอม, ฟูมฟักรักษา.
【 ประคอง 】แปลว่า: ก. พยุงให้ทรงตัวอยู่ เช่น ประคองตัวเอง, ช่วยพยุงไม่ให้เซไม่ให้ล้ม
เป็นต้น เช่น ประคองคนเจ็บให้ลุก ประคองคนแก่เดิน, ระมัดระวัง
ไม่ให้หกหรือพลั้งพลาด เช่น ประคองชามแกงให้ดี, โอบรัดเบา ๆ
เช่น หนุ่มสาวเดินประคองกันไป; โดยปริยายหมายถึงอาการที่
คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ประคองสถานการณ์บ้านเมืองไว้ให้ดี.
【 ประคับประคอง 】แปลว่า: ก. คอยระมัดระวังพยุงไว้, คอยบํารุงรักษา, ทะนุถนอมอย่างดี.
【 ประคัลภ์ 】แปลว่า: (แบบ) น. ความกล้า, ความสามารถ, ความคะนอง. ว. คล่องแคล่ว,
ประเปรียว. (ส.).
【 ประคำ 】แปลว่า: น. ลูกกลม ๆ ที่ร้อยเป็นพวงสําหรับเป็นเครื่องหมายการนับในเวลา
บริกรรมภาวนาหรือสําหรับใช้เป็นเครื่องราง, เรียกเครื่องประดับที่
ทําด้วยทองคําเป็นต้นมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น.
【 ประคำร้อย 】แปลว่า: น. ชื่อฝีชนิดหนึ่งเกิดขึ้นบริเวณลําคอ เป็นเม็ดเรียงกันรอบคอ.
【 ประคำไก่ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด/ Drypetes roxburghii/ Wall. ในวงศ์ Euphorbiaceae
ลําต้นและกิ่งก้านสีขาวนวล ใบหนาเป็นมัน ผลกลมรีสีขาวอมเทา
ใช้ทํายาได้, มะคําไก่ ก็เรียก.
【 ประคำดีควาย 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล /Sapindus/ วงศ์ Sapindaceae
คือ ชนิด/ S. trifoliatus/ L. ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๔-๖ ใบ
และชนิด/ S. rarak/ A. DC. มีใบย่อย ๑๔-๓๐ ใบ ทั้ง ๒ ชนิด
ผลกลมขนาดผลพุทรา ใช้ทํายาได้ เมื่อชงกับนํ้าร้อน ใช้ซักผ้าไหม
หรือล้างเครื่องเพชรแทนสบู่ได้, มะคําดีควาย หรือ มะซัก ก็เรียก.
【 ประคิ่น, ประคิ่นวินชา 】แปลว่า: ก. ประจง, ค่อย ๆ ทําให้เรียบร้อย, ประคอง.
【 ประคุณ 】แปลว่า: (แบบ) ก. คล่องแคล่ว, ชํานาญ. (ส. ปฺรคุณ ว่า ตรง, สัตย์ซื่อ,
ซื่อตรง; ป. ปคุณ).
【 ประเคน 】แปลว่า: ก. ถวายของพระโดยวิธียกส่งให้ตามพิธีการที่กําหนดไว้ เช่น
ประเคนอาหาร; ส่งให้ถึงมือ (ใช้ในความแดกดัน) เช่น ต้องเอา
ไปประเคนให้จนถึงที่; (ปาก) ตี เช่น ประเคนกระบาล ๓ ที.
【 ประเคราะห์ 】แปลว่า: (แบบ) น. ความเพียรที่แก่กล้า; การยกย่อง, การเชิดชู, ตรงข้ามกับ
นิเคราะห์ ซึ่งแปลว่า การกําราบ, การลงโทษ, การข่มขี่. ก. ยกย่อง,
ประคับประคอง. (ส. ปฺรคฺรห; ป. ปคฺคห).
【 ประโคน ๑ 】แปลว่า: น. เรียกเสาใหญ่ที่ปักหมายเขตแดนระหว่างประเทศหรือเมือง
เป็นต้นว่า เสาประโคน.
【 ประโคน ๒ 】แปลว่า: น. สายรัดจากใต้สัปคับไปที่อกช้าง หลังขาหน้า แล้วลอดมาบรรจบ
กันโยงใต้ท้องช้างและหน้าขาหน้าไปจากสายชนักที่คอช้าง, (กลอน)
กระคน ก็ว่า.
【 ประโคนธรรพ, ประโคนธรรพ์ 】แปลว่า: [ปฺระโคนทับ, ปฺระโคนทัน] น. หัวหน้าคนธรรพ์ผู้เป็นเจ้าแห่ง
การดนตรี ถือว่าเป็นครูปี่พาทย์, เขียนเป็น ประคนธรรพ หรือ
ประคนธรรพ์ ก็มี.
【 ประโคม 】แปลว่า: ก. บรรเลงดนตรีเพื่อเป็นสัญญาณในพิธีบางอย่างเพื่อสักการบูชา
หรือยกย่องเป็นต้น.
【 ประโคมข่าว 】แปลว่า: ก. ป่าวประกาศให้ครึกโครม.
【 ประจง 】แปลว่า: ก. บรรจง, ทําให้ดี.
【 ประจญ 】แปลว่า: [ปฺระจน] ก. ต่อสู้, สู้รบ, ต้านทาน, ผจญ ก็ว่า.
【 ประจบ ๑ 】แปลว่า: ก. บรรจบ, เพิ่มให้ครบจํานวน, เช่น มีสลึงพึงประจบให้ครบบาท;
จดกัน, ใกล้ชิดติดต่อกัน, เช่น ปูกระดานให้ประจบกัน ทาง ๒ สาย
มาประจบกัน, ทําให้เข้ากันสนิท เช่น ติดกรอบหน้าต่างให้มุม
ประจบกัน.
【 ประจบ ๒, ประจบประแจง 】แปลว่า: ก. พูดหรือทําให้เขารักเขาชอบ.
【 ประจบสอพลอ 】แปลว่า: ก. ประจบประแจงผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีฐานะสูงกว่าด้วยการ
กล่าวร้ายป้ายสีผู้อื่นเป็นต้นเพื่อประโยชน์ของตน.
【 ประจวบ 】แปลว่า: ก. จําเพาะพอดี, สบเหมาะ, บังเอิญพบ, เช่น นํ้าเหนือหลากมา
ประจวบกับนํ้าทะเลหนุน นํ้าเลยท่วม.
【 ประจ๋อประแจ๋ 】แปลว่า: ว. กะหนอกะแหน, ฉอเลาะ, อาการที่พูดเอาอกเอาใจหรือ
ประจบประแจง.
【 ประจักษ-, ประจักษ์ 】แปลว่า: ว. ปรากฏชัด อาจเป็นทางตาหรือใจก็ได้ เช่น ประจักษ์แก่ตา
ประจักษ์แก่ใจ. (ส. ปฺรตฺยกฺษ; ป. ปจฺจกฺข).
【 ประจักษนิยม 】แปลว่า: [ปฺระจักสะ-] น. ประสบการณ์นิยม.
【 ประจักษ์พยาน 】แปลว่า: (กฎ) น. พยานบุคคลที่เป็นผู้ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยว
ในเรื่องที่ให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรง.
【 ประจัญ 】แปลว่า: [ปฺระจัน] ก. ปะทะต่อสู้, ผจัญ ก็ว่า.
【 ประจัญบาน 】แปลว่า: ก. รบอย่างตะลุมบอน.
【 ประจัน 】แปลว่า: ก. กั้นเป็นส่วนสัด เช่น ฝาประจันห้อง; ประชัน, ประเชิญ, เผชิญ,
เช่น หันหน้าประจันกัน; เรียกไม้ที่ใช้คํ้าแคมเรือที่เบิกได้ที่แล้วเพื่อ
ไม่ให้หุบว่า ไม้ประจัน.
【 ประจันหน้า 】แปลว่า: ก. เผชิญหน้ากัน, อยู่ต่อหน้ากัน.
【 ประจาก 】แปลว่า: ก. พรากไป, จากไป.
【 ประจาค 】แปลว่า: ก. สละ, ให้. (ป. ปริจฺจาค; ส. ปฺรตฺยาค).
【 ประจาน 】แปลว่า: ก. ประกาศเปิดเผยความชั่วให้รู้ทั่วกันด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น
พูดประจาน ตัดหัวเสียบประจาน พาตระเวนประจานทั่ว
เมือง. (ข. ผจาล ว่า ทําให้เข็ดหลาบ).
【 ประจำ 】แปลว่า: ว. เป็นปรกติ, เสมอ, เช่น มาเป็นประจํา นั่งประจํา; เฉพาะ เช่น
ตราประจํากระทรวง ตราประจําตําแหน่ง; ที่กําหนดให้มีเป็น
ปรกติ เช่น งานประจําปี, เรียกรถโดยสารที่วิ่งอยู่บนเส้นทางใด
เส้นทางหนึ่งเป็นปรกติว่า รถประจําทาง, เรียกครูหรืออาจารย์
ที่สอนและดูแลรับผิดชอบนักเรียนชั้นใดชั้นหนึ่งเป็นปรกติว่า
ครูหรืออาจารย์ประจําชั้น, เรียกบัตรที่ออกให้ไว้เฉพาะบุคคล
และจะต้องเก็บไว้กับตัวเป็นปรกติว่า บัตรประจําตัว, เรียก
ลูกจ้างที่จ้างไว้เป็นปรกติ ไม่ใช่ชั่วคราวว่า ลูกจ้างประจํา,
เรียกผู้ที่มาติดต่อหรือไปมาหาสู่กันเสมอเป็นปรกติ เช่น ลูกค้า
ประจํา ขาประจํา, ลักษณะการฝากเงินไว้กับธนาคารโดยจะ
ได้รับดอกเบี้ยเมื่อฝากครบตามเวลาที่กำหนดไว้ เรียกว่า
ฝากประจำ. น. เงินที่มอบไว้แก่คู่สัญญา โดยตกลงว่า ถ้า
ตนไม่ทําตามสัญญา ให้ริบเงินนั้นเสีย เรียกว่า เงินวางประจํา,
มัดจํา ก็ว่า.
【 ประจำการ 】แปลว่า: ว. อยู่ในตําแหน่งหน้าที่ประจํา, ยังอยู่ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่,
เช่น ทหารประจําการ.
【 ประจำครั่ง, ประจำตรา 】แปลว่า: ก. เอาครั่งผนึกแล้วประทับเครื่องหมายเป็นสําคัญ.
【 ประจำฉัตร 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อนุราธา มี ๔ ดวง, ดาวนกยูง ดาวอนุราธ
หรือ ดาวอนุราธะ ก็เรียก.
【 ประจำซอง 】แปลว่า: ก. เข้าประจํารักษาหน้าที่เมื่อมีเหตุฉุกเฉิน.
【 ประจำเดือน 】แปลว่า: น. ระดู.
【 ประจำเมือง 】แปลว่า: น. ชื่อดาวพระศุกร์ที่เห็นในเวลาหัวคํ่า, ถ้าเห็นในเวลาเช้ามืด เรียกว่า
ดาวรุ่ง หรือ ดาวประกายพรึก.
【 ประจำยาม 】แปลว่า: น. ชื่อลายอย่างหนึ่ง มีรูปเป็นดอก ๔ กลีบ วางเป็นระยะ ๆ คั่นลายอื่น.
【 ประจิม 】แปลว่า: น. ทิศตะวันตก.
【 ประจิ้มประจ่อง 】แปลว่า: ก. หยิบหย่ง, ดัดจริตกรีดกราย.
【 ประจิ้มประเจ๋อ 】แปลว่า: ว. พูดจาและแสดงกิริยาเสนอหน้าอย่างเด็ก.
【 ประจุ 】แปลว่า: ก. บรรจุ, ใส่; ใส่เข้าที่ให้แน่น เช่น ประจุดินปืน; เข้าประจําที่,
เข้าประจําตําแหน่ง. น. เรียกยาที่ขับพิษถ่ายพิษว่า ยาประจุ.
【 ประจุไฟฟ้า 】แปลว่า: น. อนุภาคที่แสดงอํานาจไฟฟ้าซึ่งได้แก่ โปรตอน และอิเล็กตรอน
วัตถุใดที่มีจํานวนโปรตอนมากกว่าจํานวนอิเล็กตรอน ก็กําหนด
ว่าวัตถุนั้นมีประจุไฟฟ้าบวก แต่ถ้ามีจํานวนอิเล็กตรอนมากกว่า
จํานวนโปรตอน ก็กําหนดว่าวัตถุนั้นมีประจุไฟฟ้าลบ.
【 ประจุโลหิต 】แปลว่า: ก. ฟอกเลือด.
【 ประจุขาด 】แปลว่า: น. เรียกวิธีกล่าวคําลาสึกจากพระ.
【 ประจุคมน์ 】แปลว่า: ก. ลุกขึ้นต้อนรับ. (ป. ปจฺจุคฺคมน).
【 ประจุบัน 】แปลว่า: น. ปัจจุบัน. (ป. ปจฺจุปฺปนฺน; ส. ปฺรตฺยุตฺปนฺน).
【 ประเจก 】แปลว่า: ว. ปัจเจก, เฉพาะตัว, เฉพาะผู้เดียว. (ป. ปจฺเจก; ส. ปฺรเตฺยก).
【 ประเจิด 】แปลว่า: ก. บรรเจิด, เชิดขึ้นสูง, สูงเด่น, เฉิดฉาย. ว. งาม.
【 ประเจิดประเจ้อ 】แปลว่า: ว. อาการกระทําที่ถือกันว่าน่าละอายหรือไม่บังควรให้คนอื่นเห็น.
【 ประเจียด 】แปลว่า: น. ผ้าลงเลขยันต์ถือกันว่าเป็นเครื่องป้องกันอันตรายได้ ใช้เป็น
ผ้าผูกคอหรือผูกต้นแขนเป็นต้น.
【 ประแจ 】แปลว่า: น. กุญแจ.
【 ประแจจีน 】แปลว่า: น. ชื่อลายแบบจีนชนิดหนึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมหักมุมไขว้กัน.
【 ประชด 】แปลว่า: ก. แกล้งทําให้เกินควรหรือพูดแดกดันเพราะความไม่พอใจ เช่น
หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว พูดประชด, ประชดประชัน
ก็ว่า, ในกลอนใช้ว่า ประทยด หรือ ประเทียด ก็มี.
【 ประชดประชัน 】แปลว่า: ก. พูดหรือทําเป็นเชิงกระทบกระแทกแดกดัน.
【 ประชน 】แปลว่า: ก. ประชัน, มักใช้เข้าคู่กับคํา ประชัน เป็น ประชนประชัน.
【 ประชวม 】แปลว่า: (กลอน) ก. ประชุม.
【 ประชวร 】แปลว่า: ปฺระชวน ก. เจ็บป่วย. (ใช้แก่เจ้านาย). (ส. ปฺรชวร).
【 ประชัน 】แปลว่า: ว. อาการที่แข่งขันเพื่อให้รู้ว่าใครจะแสดงได้ดีกว่าหรือเก่งกว่ากัน
เช่น งิ้ว ๒ โรงประชันกัน อย่าเอาเป็ดขันประชันไก่, โดยปริยาย
หมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เด็กร้องไห้ประชันกัน.
【 ประชา 】แปลว่า: น. หมู่คน เช่น ปวงประชา. (ส.; ป. ปชา).
【 ประชากร 】แปลว่า: น. หมู่คน, หมู่พลเมือง (เกี่ยวกับจํานวน).
【 ประชากรศาสตร์ 】แปลว่า: น. การศึกษาทางสถิติเกี่ยวกับประชากรในแง่อัตราการเกิด
การตาย การย้ายถิ่น และการกระจาย เป็นต้น รวมทั้ง
ผลกระทบที่มีต่อสภาวะทางสังคมและเศรษฐกิจ.
【 ประชาคม 】แปลว่า: น. ชุมชน, กลุ่มชนซึ่งอยู่รวมกันและมีการติดต่อสัมพันธ์กัน.
【 ประชาชน, ประชาราษฎร์ 】แปลว่า: น. พลเมือง, สามัญชนทั่ว ๆ ไปที่ไม่ใช่ข้าราชการ พ่อค้า หรือนักบวช
ในความว่า ข้าราชการ พ่อค้า และประชาชน.
【 ประชาชาติ 】แปลว่า: น. ประเทศ, ประชาชนที่เป็นพลเมืองของประเทศ, ชาติ ก็ว่า.
【 ประชาชี 】แปลว่า: (ปาก) น. ประชาชน.
【 ประชาทัณฑ์ 】แปลว่า: น. การที่ฝูงชนกลุ้มรุมทําร้าย เป็นการลงโทษบุคคลที่ตนเข้าใจ
หรือนึกว่ามีความผิด โดยไม่ดําเนินการตามกระบวนการยุติธรรม.
【 ประชาธิปไตย 】แปลว่า: [ปฺระชาทิปะไต, ปฺระชาทิบปะไต] น. ระบอบการปกครองที่ถือ
มติปวงชนเป็นใหญ่, การถือเสียงข้างมากเป็นใหญ่. (ส. ปฺรชา +
ป. อธิปเตยฺย).
【 ประชานาถ 】แปลว่า: น. พระพรหม. (ส.).
【 ประชาบดี 】แปลว่า: น. เจ้าแห่งสรรพสัตว์. (ส. ปฺรชาปติ).
【 ประชาบาล 】แปลว่า: น. การศึกษาของท้องถิ่น มีราชการบริหารส่วนท้องถิ่นเป็น
ผู้ดําเนินการ, เรียกโรงเรียนประเภทนี้ว่า โรงเรียนประชาบาล;
(เลิก) การปกครองพลเมืองในท้องถิ่น.
【 ประชาพิจารณ์ 】แปลว่า: น. การฟังความคิดเห็นของประชาชนส่วนใหญ่. (อ. public hearing).
【 ประชาภิบาล 】แปลว่า: น. ผู้ปกครองพลเมือง; การปกครองชาวเมือง. (ส.).
【 ประชามติ 】แปลว่า: น. มติของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศที่แสดงออกในเรื่องใด
เรื่องหนึ่งหรือที่ใดที่หนึ่ง. (อ. plebiscite); มติของประชาชนที่รัฐ
ให้สิทธิออกเสียงลงคะแนนรับรองร่างกฎหมายสําคัญที่ได้ผ่าน
สภานิติบัญญัติแล้ว หรือให้ตัดสินในปัญหาสําคัญในการบริหาร
ประเทศ. (อ. referendum).
【 ประชาสงเคราะห์ 】แปลว่า: น. การช่วยเหลือในด้านสวัสดิการ เช่นการบรรเทาทุกข์
ผู้ประสบสาธารณภัยที่รัฐให้แก่ประชาชนที่ตกทุกข์ได้ยาก.
【 ประชาสัมพันธ์ 】แปลว่า: ก. ติดต่อสื่อสารเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันถูกต้องต่อกัน.
น. เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการนี้.
【 ประชิด 】แปลว่า: ก. เข้าถึงตัว, เข้าชิดตัว, เช่น ผู้ร้ายมาประชิดตัว.
【 ประชี 】แปลว่า: ก. ทำสิ่งที่เป็นปุยอย่างสำลีหรือที่เป็นเส้นอย่างกลุ่มยาเส้นให้กระจาย
ตัวออก.
【 ประชุม 】แปลว่า: ก. มารวมกันหรือเรียกให้มารวมกันเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง,
มาร่วมพบกันเพื่อปรึกษาหารือ, เช่น ประชุมกรรมการ, โดยปริยาย
ใช้หมายถึงเอาสิ่งที่เป็นประเภทเดียวกันมารวมกัน เช่น ประชุม
พงศาวดาร ประชุมปาฐกถา, บางทีใช้หมายความอย่างเดียวกับ
ชุมนุม เช่น ประชุมพระบรมราชาธิบาย ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔.
【 ประชุมเพลิง 】แปลว่า: [-เพฺลิง] ก. เผาศพ.
【 ประชุมสุดยอด 】แปลว่า: น. การประชุมระหว่างประเทศของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารระดับสูง
ของรัฐบาล.
【 ประเชิญ 】แปลว่า: ก. ชนกัน, ปะทะกัน, เจอหน้ากัน; เอาผ้านุ่ง ผ้าขาวม้าเป็นต้นที่ขาด
กลางผืนมาตัดตรงขาดออก แล้วเอาชายมาต่อกันเข้าใหม่ เรียกว่า
ประเชิญผ้า.
【 ประณต 】แปลว่า: ก. น้อมไหว้. (ส.).
【 ประณม 】แปลว่า: น. การน้อมไหว้. (ส.).
【 ประณาม ๑ 】แปลว่า: ก. น้อมไหว้ เช่น ขอประณามบาทบงสุ์พระทรงศรี. (ส. ปฺรณาม;
ป. ปณาม).
【 ประณาม ๒ 】แปลว่า: ก. กล่าวร้ายให้เขาเสียหาย เช่น ถูกประณามว่าเป็นคนโกง;
ขับไล่. (ส. ปฺรณาม; ป. ปณาม).
【 ประณิธาน 】แปลว่า: น. การตั้งความปรารถนา. (ส. ปฺรณิธาน; ป. ปณิธาน).
【 ประณิธิ 】แปลว่า: น. การตั้งความปรารถนา. (ส. ปฺรณิธิ; ป. ปณิธิ).
【 ประณีต 】แปลว่า: ว. ละเอียดลออ, เรียบร้อยงดงาม, เช่น ฝีมือประณีต ทําอย่าง
ประณีต, ที่ปรุงอย่างสุดฝีมือด้วยของดี ๆ เช่น ปรุงอาหารอัน
ประณีต. (ส. ปฺรณีต; ป. ปณีต).
【 ประณุท 】แปลว่า: [ปฺระนุด] ก. บรรเทา, ระงับ. (ส. ปฺรณุท; ป. ปนุท).
【 ประดง 】แปลว่า: น. ชื่อโรคผิวหนังจําพวกหนึ่ง ทําให้คันเป็นต้น ตามตําราแพทย์
แผนโบราณว่ามีหลายชนิด เช่น ประดงเลือด ประดงลม.
【 ประดงแดง 】แปลว่า: /ดู กระโดงแดง./
【 ประดน ๑ 】แปลว่า: ว. เก่า. (ส. ปฺรตน).
【 ประดนธรรม 】แปลว่า: น. ธรรมของเก่า.
【 ประดน ๒ 】แปลว่า: ก. เพิ่มให้, เติมให้, แถมให้, ให้ทดแทนที่ขาดอยู่.
【 ประดวน 】แปลว่า: ก. ยอน, แยง.
【 ประดอน 】แปลว่า: ก. อุดหรือยัดปิดรูไว้.
【 ประดอย 】แปลว่า: ก. ทําให้งดงามและละเอียดลออยิ่งขึ้น, มักใช้เข้าคู่กับคํา
ประดิด เป็น ประดิดประดอย.
【 ประดัก ๆ 】แปลว่า: ว. อาการแห่งคนที่ตกนํ้าแล้วสําลักนํ้า เรียกว่า สําลักประดัก ๆ,
อาการที่ชักหงับ ๆ ใกล้จะตาย.
【 ประดักประเดิด 】แปลว่า: ว. รี ๆ รอ ๆ, ที่ทําให้รู้สึกลําบากยุ่งยากกายหรือใจ.
【 ประดัง 】แปลว่า: ว. ยัดเยียดกันเข้ามา เช่น คนประดังกันเข้ามา, มาติด ๆ พร้อม ๆ
กัน เช่น งานประดังเข้ามา; ดังขึ้นพร้อมกัน, แซ่ซ้อง, (หมายเอาเสียง).
【 ประดับ 】แปลว่า: ก. ตกแต่งให้งามด้วยสิ่งต่าง ๆ มีสร้อย แหวน เป็นต้น เช่น ประดับ
เหรียญตรา ประดับอาคารสถานที่ ประดับโคมไฟ, โดยปริยายหมาย
ความว่า ประกอบ, เพิ่ม, เช่น ประดับบารมี.
【 ประดับประดา 】แปลว่า: (ปาก) ก. ประดับ.
【 ประดา ๑ 】แปลว่า: ว. บรรดา, ทั้งหมด, ถ้าใช้เข้าคู่กับคํา เต็ม เป็น เต็มประดา
หมายความว่า เต็มที. ก. เรียงหน้ากันเข้าไป.
【 ประดาตาย 】แปลว่า: ว. แทบตาย ในความว่า แทบล้มประดาตาย.
【 ประดาทัพ 】แปลว่า: ก. ตั้งกองทัพเรียงหน้ากระดานเข้าไป.
【 ประดาพล 】แปลว่า: ก. ยกพลเรียงหน้าเข้าไป.
【 ประดามี 】แปลว่า: (ปาก) ว. ที่มีอยู่ทั้งหมด, บรรดามี ก็ว่า.
【 ประดาเสีย 】แปลว่า: ว. ล้วนแต่เสียทั้งนั้น, เสียมาก, เลวเต็มที.
【 ประดา ๒ 】แปลว่า: ก. ดําทน เช่น ประดานํ้า ประดาดิน.
【 ประดาน้ำ 】แปลว่า: น. ผู้ชํานาญดํานํ้า.
【 ประดาก 】แปลว่า: น. ธงผืนผ้า. (ส. ปตาก; ป. ปฏาก).
【 ประดาป 】แปลว่า: น. ความร้อน, ความร้อนใจ, ความร้อนรน; อํานาจ, ความเป็นใหญ่,
เกียรติยศ. (ส. ปฺรตาป; ป. ปตาป).
【 ประดาษ 】แปลว่า: ว. ตกต่ำ เช่น โอ้ครั้งนี้มิได้เห็นเช่นฉลอง เพราะตัวต้องตกประดาษ
วาสนา. (นิ. ภูเขาทอง). (ข. ผฺฎาส ว่า ผิดระเบียบ นอกรีตนอกรอย).
【 ประดิ- 】แปลว่า: ศัพท์นี้ใช้แทนคําว่า ปฏิ หรือ ประติ. /(ดูคําที่มี ปฏิ หรือ ประติ นําหน้า)./
【 ประดิชญา 】แปลว่า: ปฺระดิดยา, ปฺระดิดชะยา น. ปฏิญญา. (ส. ปฺรติชฺ?า).
【 ประดิดประดอย 】แปลว่า: ก. บรรจงทําให้งดงามและละเอียดลออยิ่งขึ้น, ใช้ว่า ประดอย ก็ได้.
【 ประดิทิน 】แปลว่า: ว. ประจําวัน, ทุกวัน, เสมอไป, เช่น อนึ่งผู้อยู่ในราชการอัน
บรรดาจําบําเรอประดิทิน. (กฎ. ราชบุรี).
【 ประดิรพ 】แปลว่า: [ปฺระดิรบ] ก. ประติรพ.
【 ประดิษฐ-, ประดิษฐ์ 】แปลว่า: [ปฺระดิดถะ-, ปฺระดิด] ก. ตั้งขึ้น, จัดทําขึ้น, คิดทําขึ้น, สร้างขึ้น,
แต่งขึ้น. ว. ที่จัดทําขึ้นให้เหมือนของจริง เช่น ดอกไม้ประดิษฐ์,
ที่คิดทำขึ้นไม่เหมือนธรรมชาติ เช่น ลายประดิษฐ์. (ส. ปฺรติษฺ?;
ป. ปติฏฺ?).
【 ประดิษฐกรรม 】แปลว่า: น. การทําสิ่งของขึ้นจากวัตถุดิบ.
【 ประดิษฐาน 】แปลว่า: [ปฺระดิดสะถาน] ก. ตั้งไว้ (ใช้แก่สิ่งที่เคารพนับถือ) เช่น นําพระพุทธรูป
ไปประดิษฐานไว้ในโบสถ์ ประดิษฐานพระพุทธศาสนา, แต่งตั้งไว้ใน
ตําแหน่งสูง เช่น ประดิษฐานไว้ในตําแหน่งอัครมเหสี. (ส. ปฺรติษฺ?าน;
ป. ปติฏฺ?าน).
【 ประดุง 】แปลว่า: ก. ผดุง.
【 ประดุจ 】แปลว่า: ว. เช่น, คล้าย, เหมือน, ดัง.
【 ประดู่ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ ๒ ชนิดในสกุล/ Pterocarpus /วงศ์ Leguminosae
ดอกสีเหลือง กลิ่นหอม ชนิด /P. indicus/ Willd. กิ่งมักทอดย้อย เปลือก
สีเทา มีนํ้ายางน้อย ปลูกเป็นไม้ให้ร่มตามถนน, ชนิด /P. macrocarpus/
Kurz กิ่งชูขึ้นเล็กน้อย เปลือกสีนํ้าตาลเข้ม มีนํ้ายางมาก ขึ้นตามป่า
เบญจพรรณทั่วไป เนื้อไม้สีแดงนิยมใช้ทําดุมเกวียน.
【 ประดู่แขก 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Dalbergia sissoo/ Roxb. ex DC. ในวงศ์
Leguminosae.
【 ประดู่ชิงชัน 】แปลว่า: /ดู ชิงชัน./
【 ประดู่แดง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Phyllocarpus septentrionalis J.D. Sm.
ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีแดงออกเป็นช่อใหญ่.
【 ประดู่ลาย 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด/ Dalbergia errans/ Craib ในวงศ์ Leguminosae
ดอกสีม่วงอ่อน เนื้อไม้ใช้ทําเครื่องเรือน.
【 ประเด 】แปลว่า: ก. มอบให้หมด เช่น ประเดงานเข้ามาจนทําไม่ไหว, ทุ่มเทให้ เช่น
ประเดให้จนเกินต้องการ.
【 ประเด็น 】แปลว่า: น. ข้อความสําคัญของเรื่องที่แยกหยิบยกขึ้นพิจารณา; (กฎ)
ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายอันเป็นสาระสําคัญที่คู่ความยกขึ้น
เป็นข้ออ้างในคดี.
【 ประเดยก 】แปลว่า: ปฺระดะเหฺยก ว. ปัจเจก เช่น เพราะกูเป็นประเดยก.
(ม. คําหลวง วนปเวสน์). (ส. ปฺรเตฺยก; ป. ปจฺเจก).
【 ประเดิม 】แปลว่า: ก. เริ่มต้นหรือเริ่มแรกในการซื้อหรือขายเป็นต้น เช่น ประเดิมซื้อ
ประเดิมขาย ประเดิมฝาก (มักใช้ในลักษณะที่เกี่ยวกับพิธีการ
หรือโชคลาง).
【 ประเดียง 】แปลว่า: ก. เผดียง.
【 ประเดี๋ยว 】แปลว่า: น. ชั่วระยะเวลาหนึ่ง, ชั่วขณะหนึ่ง, ชั่วครู่หนึ่ง, เช่น รอประเดี๋ยวนะ,
เดี๋ยว ก็ว่า.
【 ประเดี๋ยวก่อน 】แปลว่า: คําขอผัดไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง, เดี๋ยวก่อน ก็ว่า.
【 ประเดี๋ยวเดียว 】แปลว่า: ว. ชั่วระยะเวลานิดเดียว, เดี๋ยวเดียว ก็ว่า.
【 ประเดี๋ยวนี้ 】แปลว่า: ว. เวลานี้, ในเวลานี้, ทันที, เดี๋ยวนี้ ก็ว่า.
【 ประเดี๋ยวประด๋าว 】แปลว่า: ว. ชั่วครู่ชั่วยาม.
【 ประแดง 】แปลว่า: (โบ) น. คนเดินหมาย, คนนําข่าวสาร, ผู้สื่อข่าว, นักการ; พนักงาน
ตามคน, ตําแหน่งข้าราชการในสํานักพระราชวัง, บาแดง ก็ใช้.
【 ประแดะ 】แปลว่า: น. เครื่องมือของช่างทอง สําหรับเคาะสิ่วสลัก มีรูปคล้ายค้อน แต่แบน
ทําด้วยเขาสัตว์; เรียกมีดพกปลายแหลมชนิดหนึ่งที่มีด้ามงอเฉียงลงว่า
มีดประแดะ, คอม้า ก็เรียก.(รูปภาพ ประแดะ)
【 ประโดง 】แปลว่า: น. ลำน้ำขนาดเล็กที่ขุดจากลำน้ำขนาดใหญ่เพื่อชักน้ำเข้านาเข้าสวน
เรียกว่า ลำประโดง, ลำกระโดง ก็ว่า.
【 ประโดย 】แปลว่า: ก. พลอยตาม, ยอมตาม.
【 ประตง 】แปลว่า: น. โจร. (ช.).
【 ประตยาค 】แปลว่า: [ปฺระตะยาก] ก. ประจาค. (ส. ปฺรตฺยาค).
【 ประตัก 】แปลว่า: น. ไม้ที่ฝังเหล็กแหลมข้างปลายใช้แทงสัตว์พาหนะเช่นวัว.
【 ประตาป 】แปลว่า: น. ประดาป.
【 ประติ- 】แปลว่า: เป็นคําสันสกฤตใช้เหมือน ปฏิ. (ดูคําที่มี ปฏิ หรือ ประติ นําหน้า).
【 ประติชญา 】แปลว่า: [ปฺระติดชะยา] น. ปฏิญญา. (ส. ปฺรติชฺ?า; ป. ปฏิญฺ?า).
【 ประติญาณ 】แปลว่า: น. ปฏิญาณ. (ส. ปฺรติชฺ?าน).
【 ประติทิน 】แปลว่า: น. ปฏิทิน. (ส. ปฺรติ + ทิน; ป. ปฏิ + ทิน).
【 ประติมากร 】แปลว่า: [ปฺระติมากอน] น. ช่างปั้น, ช่างแกะสลัก.
【 ประติมากรรม 】แปลว่า: [ปฺระติมากํา] น. ศิลปะสาขาหนึ่งในจําพวกวิจิตรศิลป์เกี่ยวกับการ
แกะสลักไม้ หินอ่อน โลหะ เป็นต้น ให้เป็นรูปหรือลวดลายต่าง ๆ.
(ส. ปฺรติมา + กรฺม; ป. ปฏิมา + กมฺม).
【 ประติศรัพ 】แปลว่า: [ปฺระติสับ] น. ปฏิสวะ. (ส.; ป. ปฏิสฺสว).
【 ประตู 】แปลว่า: น. ช่องทางเข้าออกของบ้านเรือนเป็นต้น มีบานเปิดปิดได้ เช่น
ประตูบ้าน ประตูเมือง, ช่อง, ทาง, เช่น ไม่มีประตูสู้, โดยปริยาย
หมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ประตูฟุตบอล
ประตูรักบี้, ช่องหรือโอกาสที่จะได้หรือเสียในการเล่นการพนัน
บางชนิด เช่น ถั่ว โป ไฮโล นํ้าเต้า; ลักษณนามเรียกจํานวนครั้ง
ที่เตะลูกบอลเข้าไปในประตู เช่น ได้ ๒ ประตู เสีย ๓ ประตู, เรียก
ช่องหรือโอกาสที่จะได้หรือเสียในการพนันบางชนิด เช่น ถูกประตู
เดียวกิน ๓ ประตู.
【 ประตูชัย 】แปลว่า: น. ประตูที่มีลักษณะเป็นซุ้ม อาจสร้างเป็นการถาวรหรือชั่วคราว
สําหรับผู้ชนะสงครามจะเดินลอดในพิธีเพื่อประกาศชัยชนะ.
【 ประตูโตงเตง 】แปลว่า: น. ประตูเพนียดที่มีเสาโตงเตง.
【 ประตูน้ำ 】แปลว่า: น. ประตูสําหรับควบคุมระดับนํ้าที่ไหลเข้าออก; (กฎ) สิ่งที่สร้างขึ้น
ในทางนํ้าเพื่อให้เรือแพผ่านทางนํ้าที่มีระดับนํ้าต่างกันได้.
【 ประตูป่า 】แปลว่า: น. ปากทางที่จะเข้าสู่ป่า, ประตูที่สะด้วยใบไม้กิ่งไม้สําหรับพิธีเทศน์
มหาชาติ, ประตูเรือนที่ปักกิ่งไม้ไว้เวลานําศพออกจากบ้าน.
【 ประตูผี 】แปลว่า: (โบ) น. ประตูที่เป็นทางนําศพออกจากภายในเขตกําแพงเมือง.
【 ประตูฟุตบอล 】แปลว่า: น. ประตู ๒ เสา มีคานและมีตาข่ายรอรับลูกฟุตบอลที่เตะผ่าน
เข้าไป.
【 ประตูระบาย 】แปลว่า: น. สิ่งที่สร้างขึ้นในคลองส่งนํ้าเพื่อควบคุมนํ้าในคลองให้มีระดับ
หรือปริมาณตามที่ต้องการ; (กฎ) สิ่งที่สร้างขึ้นในทางนํ้าเพื่อทด
กัก กั้น หรือระบายนํ้า ณ ที่อื่นอันมิใช่ที่มาแห่งนํ้าซึ่งจะส่งเข้าสู่
เขตชลประทาน โดยมีช่องปิดเปิดได้.
【 ประตูรับน้ำ 】แปลว่า: น. อาคารที่สร้างขึ้นตรงบริเวณคันคลองส่งนํ้า เพื่อรับนํ้าจาก
ทางนํ้าอื่นที่อยู่ตามระยะทางของคลองส่งนํ้า.
【 ประตูลม 】แปลว่า: น. เรียกอวัยวะส่วนที่อยู่ระหว่างนิ้วมือนิ้วเท้า.
【 ประถม 】แปลว่า: ว. ปฐม, ลําดับแรก, ลําดับเบื้องต้น, เช่น ประถมศึกษา ชั้นประถม;
ชั้นที่ ๑, เรียกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นที่ ๑ ในตระกูลช้างเผือกและ
มงกุฎไทยว่า ประถมาภรณ์ช้างเผือก ประถมาภรณ์มงกุฎไทย. (ส.).
【 ประถมจินดา 】แปลว่า: [ปฺระถมมะ-] น. ชื่อคัมภีร์แพทย์แผนโบราณ.
【 ประทบ 】แปลว่า: (กลอน) ก. กระทบ เช่น ประทบประทะอลวน. (ตะเลงพ่าย).
【 ประทม 】แปลว่า: ก. บรรทม, ผทม ก็ว่า.
【 ประทยด 】แปลว่า: [ปฺระเทียด] ก. ประชด เช่น จึงจะรุมโรมโซรมประทยด สยดตัดพ้อ.
(ม. คําหลวง ชูชก); ว่าร้ายในเชิงเปรียบเทียบ.
【 ประท้วง 】แปลว่า: ก. กระทําการหรือแสดงกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการคัดค้าน
เพราะไม่เห็นด้วยหรือไม่พอใจอย่างยิ่ง เช่น อดข้าวประท้วง
เขียนหนังสือประท้วง.
【 ประทวน 】แปลว่า: น. ฐานันดรที่ตํ่ากว่าชั้นสัญญาบัตร เช่น นายทหารชั้นประทวน;
สมณศักดิ์ชั้นตํ่ากว่าพระครูสัญญาบัตร; (โบ) หนังสือแทนสาร
กรมธรรม์.
【 ประทวนสินค้า 】แปลว่า: (กฎ) น. เอกสารซึ่งนายคลังสินค้าออกโดยระบุชื่อผู้ฝากสินค้า
ซึ่งให้สิทธิแก่ผู้ฝากที่จะสลักหลังจํานําสินค้าที่จดแจ้งไว้ใน
ประทวน โดยไม่ต้องส่งมอบสินค้านั้นแก่ผู้รับสลักหลัง.
【 ประทักษ์ 】แปลว่า: ว. ขยัน, ฉลาด, คล่องแคล่ว, สามารถ.
【 ประทักษิณ 】แปลว่า: น. การเวียนขวา โดยให้สิ่งที่เรานับถือหรือผู้ที่เรานับถือเป็นต้น
อยู่ทางขวาของผู้เวียน. (ส.).
【 ประทัง 】แปลว่า: ก. ทําให้ทรงอยู่ได้, ทําให้ดํารงอยู่ได้, เช่น กินพอประทังชีวิต
เรือนโย้เอาเสาไปคํ้าพอประทังไว้ก่อน.
【 ประทัด ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องดอกไม้ไฟของจีน ทําด้วยกระดาษสีแดงอัดแน่นห่อดินปืน
รูปร่างคล้ายบุหรี่ มีชนวนสําหรับจุด มีเสียงดัง, ลักษณนามว่า ดอก
เช่น ประทัด ๒ ดอก.
【 ประทัดลม 】แปลว่า: น. เครื่องดอกไม้ไฟ ทําด้วยกระดาษห่อเม็ดกรวดคลุกสารเคมี
บางชนิด ใช้ขว้างให้ไปกระทบของแข็งจะแตกระเบิดดังปัง.
【 ประทัด ๒ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด /Quassia amara /L. ในวงศ์ Simaroubaceae
ใบเป็นใบประกอบ ดอกสีแดง กลีบดอกแยกจากกัน เปลือกใช้
ทํายาได้, ประทัดใหญ่ ประทัดจีน หรือ ประทัดทอง ก็เรียก. (๒)
ชื่อไม้พุ่มชนิด /Russelia equisetiformis/ Schltr. et Cham. ในวงศ์
Scrophulariaceae ลําต้นเป็นเหลี่ยม แตกกิ่งก้านสาขามาก
ใบเป็นฝอยคล้ายใบสน ดอกมีหลายสี กลีบดอกเป็นหลอด
แคบ ๆ, ประทัดเล็ก หรือ ประทัดฝรั่ง ก็เรียก.
【 ประทัดจีน, ประทัดทอง, ประทัดใหญ่ 】แปลว่า: /ดู ประทัด ๒ (๑)./
【 ประทัดฝรั่ง, ประทัดเล็ก 】แปลว่า: /ดู ประทัด ๒ (๒)./
【 ประทับ 】แปลว่า: ก. (ราชา) อยู่ที่, อยู่กับที่, เช่น ประทับที่พระตําหนักจิตรลดารโหฐาน,
(ราชา) นั่ง เช่น ประทับบนพระราชอาสน์; แนบอยู่, แนบชิด, แนบลง,
เช่น กอดประทับอก เอาปืนประทับบ่า.
【 ประทับใจ 】แปลว่า: ก. ติดอกติดใจ, ฝังอยู่ในใจ.
【 ประทับตรา 】แปลว่า: ก. กดตราลงบนเอกสาร.
【 ประทับฟ้อง 】แปลว่า: (กฎ) ก. รับฟ้องไว้พิจารณาต่อไป.
【 ประทับราบ 】แปลว่า: (ราชา) ก. นั่งกับพื้น.
【 ประทับแรม 】แปลว่า: (ราชา) ก. พักค้างคืนในที่อื่น.
【 ประท่า 】แปลว่า: (โบ) น. ฟากโน้น, ฝั่งโน้น.
【 ประทากล้อง 】แปลว่า: [ปฺระทากฺล้อง] น. ทองคําเปลวอย่างหนาและเนื้อดี เหมือนทอง
ของหลวง, ใช้ว่า ประทาศี ก็มี, เรียกให้เต็มว่า ทองประทากล้อง
ทองประทาศี.
【 ประทาน 】แปลว่า: (ราชา) ก. ให้ (ใช้แก่เจ้านาย). (ส.).
【 ประทานบัตร 】แปลว่า: ปฺระทานนะบัด, ปฺระทานบัด น. หนังสือสําคัญที่ออกให้
ตามกฎหมายว่าด้วยแร่ เพื่อให้มีสิทธิทําเหมืองแร่ภายในเขต
ที่กําหนดในหนังสือสําคัญนั้น; ใบอนุญาตซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัด
ออกให้แก่บุคคลผู้ประมูลได้ ให้มีสิทธิทําการประมงในที่ว่าประมูล.
【 ประทาย 】แปลว่า: น. ค่าย, ป้อม. (ข.).
【 ประทาศี 】แปลว่า: น. ทองประทากล้อง.
【 ประทิน 】แปลว่า: ก. ทําให้สะอาดหมดจด เช่น ประทินผิว.
【 ประทิ่น 】แปลว่า: น. เครื่องหอม.
【 ประทีป 】แปลว่า: น. ไฟที่มีเปลวสว่าง (หมายเอาตะเกียง ไฟเทียน เป็นต้น), ตะเกียง,
โคม. (ส. ปฺรทีป; ป. ปทีป).
【 ประทุก 】แปลว่า: ก. บรรทุก.
【 ประทุฐ 】แปลว่า: [ปฺระทุด] ว. ชั่ว, ร้าย. (ป. ปทุฏฺ?).
【 ประทุฐจิต 】แปลว่า: [ปฺระทุดถะจิด] น. จิตร้าย, จิตโกรธ.
【 ประทุน 】แปลว่า: น. หลังคาเรือ รถ หรือเกวียนที่มีรูปโค้งคุ่มตามรูปเรือ รถ หรือเกวียน,
เรียกมุ้งครอบที่หุบและกางได้คล้ายร่มว่า มุ้งประทุน.
【 ประทุมราค 】แปลว่า: [ปฺระทุมมะราก] น. ปัทมราค, พลอยสีแดง, ทับทิม, เช่น แขกเต้าตาก
ปีกปาก ประทุมราคแดงฉัน. (เสือโค). (ป. ปทุมราค; ส. ปทฺมราค).
【 ประทุษ 】แปลว่า: [ปฺระทุด] ก. ทําร้าย, ทําชั่ว, ทําเลวทราม, ทําผิด, เบียดเบียน. (ส.).
【 ประทุษร้าย 】แปลว่า: [ปฺระทุดสะ-] ก. ทําให้บาดเจ็บ เช่น ประทุษร้ายร่างกาย, ทําให้
เสียหาย เช่น ประทุษร้ายทรัพย์สิน; (กฎ) ทําร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุ
ให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ.
【 ประทุษฏ์, ประทุษฐ์ 】แปลว่า: ว. ชั่ว, ร้าย. (ส. ปฺรทุษฺฏ, ปฺรทุษฺ?).
【 ประทุษฏจิต, ประทุษฐจิต 】แปลว่า: [ปฺระทุดตะจิด, ปฺระทุดถะจิด] น. จิตร้าย, จิตโกรธ.
【 ประเทศ 】แปลว่า: น. บ้านเมือง, แว่นแคว้น; คำเพิ่มข้างหลังของคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้ว
ความหมายคงเดิม เช่น อุรประเทศ หทัยประเทศ. (ส.; ป. ปเทส);
(กฎ) ชุมนุมแห่งมนุษย์ซึ่งตั้งมั่นอยู่ในดินแดนอันมีอาณาเขตแน่นอน
มีอํานาจอธิปไตยที่จะใช้ได้อย่างอิสระ และมีการปกครองอย่างเป็น
ระเบียบเพื่อประโยชน์ของบรรดามนุษย์ที่อยู่ร่วมกันนั้น, รัฐ ก็เรียก.
【 ประเทศกันชน 】แปลว่า: น. รัฐหรือประเทศเล็กที่เป็นเอกราชตั้งอยู่ระหว่างประเทศมหาอํานาจ
มีฐานะสําคัญทางการเมืองที่ช่วยไม่ให้ประเทศมหาอํานาจเกิดบาดหมาง
ทําสงครามต่อกันได้โดยง่าย, รัฐกันชน ก็เรียก. (อ. buffer state).
【 ประเทศชาติ 】แปลว่า: น. บ้านเกิดเมืองนอน.
【 ประเทศราช 】แปลว่า: [ปฺระเทดสะราด] น. เมืองที่มีเจ้าผู้ครองเมืองของตนเอง แต่อยู่
ภายใต้อํานาจควบคุมดูแลและคุ้มครองของพระมหากษัตริย์
ของอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งเจ้าเมืองประเทศราชนั้นมีหน้าที่ส่งเครื่อง
ราชบรรณาการถวายเป็นประจํา และในเวลาเกิดศึกสงคราม
ต้องเกณฑ์กําลังทหารเข้าร่วมกองทัพหลวงด้วย.
【 ประเทา 】แปลว่า: ก. บรรเทา, ทุเลา, คลาย, เบาลง, ให้สงบ, ทําให้เบาบางลง.
【 ประเท้า 】แปลว่า: ก. กิริยาที่ผู้รำใช้ส่วนหน้าของฝ่าเท้าแตะพื้นและยกขึ้นทันที,
เป็นท่ารำท่าหนึ่ง.
【 ประเทียด 】แปลว่า: ก. ประชด; ว่าร้ายในเชิงเปรียบเทียบ.
【 ประเทียบ ๑ 】แปลว่า: ก. เทียบ.
【 ประเทียบ ๒ 】แปลว่า: น. พระสนม; เรียกรถฝ่ายในว่า รถพระประเทียบ, เรียกเรือฝ่ายใน
ว่า เรือพระประเทียบ, โดยอนุโลมเรียกรถประจําตําแหน่งสมเด็จ
พระสังฆราชว่า รถพระประเทียบ.
【 ประเทือง 】แปลว่า: ก. ทําให้ดีขึ้น เช่น ประเทืองผิว, ทําให้รุ่งเรืองขึ้น เช่น ประเทืองปัญญา.
【 ประธาน ๑ 】แปลว่า: น. ตําแหน่งผู้ที่เป็นหัวหน้าหรือเป็นใหญ่ในที่ประชุม เช่น ตําแหน่ง
ประธานรัฐสภา ตําแหน่งประธานกรรมการ, เรียกผู้ที่เป็นหัวหน้า
หรือเป็นใหญ่ในที่ประชุม เช่น ประธานรัฐสภา ประธานกรรมการ.
ว. ที่เป็นหลักสําคัญในที่นั้น ๆ เช่น พระประธาน.
【 ประธาน ๒ 】แปลว่า: (ไว) น. ผู้กระทำ เช่น เด็กวิ่ง เด็ก เป็นประธานของกริยา วิ่ง คนกินข้าว
คน เป็นประธานของกริยา กิน.
【 ประธาน ๓ 】แปลว่า: น. ความเพียร มี ๔ อย่าง คือ ๑. สังวรประธาน เพียรระวังไม่ให้บาป
เกิดขึ้นในสันดาน ๒. ปหานประธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. ภาวนาประธาน เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน ๔. อนุรักขนา
ประธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม. (ส. ปฺรธาน;
ป. ปธาน).
【 ประธานาธิบดี 】แปลว่า: [ปฺระทานาทิบอดี, ปฺระทานาทิบบอดี] น. ประมุขของประเทศ
ที่ปกครองโดยระบอบสาธารณรัฐ.
【 ประนม 】แปลว่า: ก. ยกกระพุ่มมือ, ยกมือขึ้นกระพุ่ม.
【 ประนมมือ 】แปลว่า: ก. กระพุ่มมือ, พนมมือ ก็ว่า.
【 ประนอ 】แปลว่า: ก. พะนอ, เอาใจ, ถนอมใจ.
【 ประนอม 】แปลว่า: ก. อะลุ้มอล่วย, ทําการปรองดอง.
【 ประนอมหนี้ 】แปลว่า: (กฎ) ก. การที่ลูกหนี้ขอทําความตกลงในเรื่องหนี้สิน โดยวิธีขอ
ชําระหนี้แต่เพียงบางส่วน หรือโดยวิธีอื่น.
【 ประนัง 】แปลว่า: ก. ประชุม, รวม, เช่น ประนังศัพท์ ว่า ประชุมเสียง, ประนังพล
ว่า รวมพล. ว. พร้อม.
【 ประนัปดา 】แปลว่า: [ปฺระนับดา] น. เหลน (คือ ลูกของหลานปู่). (ส. ปฺรนปฺตฺฤ; ป. ปนตฺตา).
【 ประนี้ 】แปลว่า: (โบ) ว. อย่างนี้.
【 ประนีประนอม 】แปลว่า: ก. ผ่อนหนักผ่อนเบาให้แก่กัน, ปรองดองกัน, อะลุ้มอล่วยกัน.
【 ประนีประนอมยอมความ 】แปลว่า: (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้ง ๒ ฝ่าย ระงับข้อพิพาทอันใด
อันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน.
【 ประบัด 】แปลว่า: (โบ) ก. ฉ้อโกง, กระบัด ตระบัด หรือ สะบัด ก็ใช้.
【 ประบาต 】แปลว่า: น. เหว. ก. ตกลงไป, ตกไป. (ส. ปฺรปตน; ปปตน).
【 ประปราน 】แปลว่า: ก. ข้อนอก, ตีอก, ร้องไห้.
【 ประปราย 】แปลว่า: ว. มีกระจายอยู่ห่าง ๆ เช่น ผมหงอกประปราย ผลไม้ติดประปราย,
มีห่าง ๆ เป็นระยะ ๆ, เรี่ยราย, เล็กน้อย, เช่น ยิงกันประปราย.
【 ประปา 】แปลว่า: น. นํ้าที่เกรอะกรองให้สะอาดปราศจากเชื้อโรคแล้วจ่ายไปให้
ประชาชนบริโภคใช้สอย เรียกว่า นํ้าประปา, เรียกรัฐวิสาหกิจ
ซึ่งมีหน้าที่จัดทําและจําหน่ายนํ้าประปาว่า การประปา, เรียกสิ่ง
อื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการนี้ เช่น ก๊อกประปา ท่อประปา. (ส. ปฺรปา;
ป. ปปา).
【 ประเปรี้ยง 】แปลว่า: ว. เสียงอย่างเสียงฟ้าผ่า.
【 ประเปรียว 】แปลว่า: ว. มีรูปร่างหรือท่าทางปราดเปรียว, มีลักษณะแคล่วคล่องว่องไว.
【 ประแปร้น 】แปลว่า: [ปฺระแปฺร้น] ว. เสียงอย่างเสียงช้างร้อง, เสียงที่แผดออก.
【 ประพจน์ 】แปลว่า: น. ข้อเสนอ, ข้อความที่กล่าว. (ส.); (คณิต) ประโยคบอกเล่าหรือ
ประโยคปฏิเสธซึ่งเป็นข้อความจริงหรือเท็จอย่างใดอย่างหนึ่ง
เท่านั้น จะมีความหมายกํากวมไม่ได้. (อ. proposition). (ส. ปฺรวจน).
【 ประพนธ์ 】แปลว่า: น. คําร้อยกรอง เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน. ก. ประพันธ์,
ร้อยกรอง, ผูก, แต่ง, เรียบเรียง; เกี่ยวเนื่อง. (ส. ปฺรพนฺธ; ป. ปพนฺธ).
【 ประพฤติ 】แปลว่า: [ปฺระพฺรึด] น. ความเป็นไปอันเกี่ยวด้วยการกระทําหรือปฏิบัติตน,
การทําตาม, เหตุต้นเค้า. ก. ทําตาม, ปฏิบัติ, เช่น ประพฤติธรรม;
กระทํา, ดําเนินตน, ปฏิบัติตน, เช่น ประพฤติดี ประพฤติชั่ว.
(ส. ปฺรวฺฤตฺติ; ป. ปวุตฺติ).
【 ประพฤทธิ์ 】แปลว่า: [ปฺระพฺรึด] ว. เจริญ, โต, ใหญ่, รุ่งเรือง, งอกงาม. (ส. ปฺรวฺฤทฺธิ;
ป. ปวุฑฺฒิ).
【 ประพัด 】แปลว่า: น. กระพัด, สายรัดกูบบนหลังช้าง.
【 ประพันธ์ 】แปลว่า: ก. แต่ง, เรียบเรียง, ร้อยกรอง, ผูกถ้อยคําเป็นข้อความเชิงวรรณคดี.
(ส. ปฺรพนฺธ; ป. ปพนฺธ).
【 ประพาต 】แปลว่า: [ปฺระพาด] ก. พัด, กระพือ. (ส. ปฺรวาต).
【 ประพาส 】แปลว่า: ปฺระพาด ก. ไปต่างถิ่นหรือต่างแดน เช่น ประพาสหัวเมือง
ประพาสยุโรป, ไปเที่ยว เช่น ประพาสป่า. (ส.).
【 ประพาสต้น 】แปลว่า: (ราชา) ก. เที่ยวไปเป็นการส่วนพระองค์, เที่ยวไปอย่างไม่เป็นทางการ,
ใช้ว่า เสด็จประพาสต้น.
【 ประพาสมหรณพ 】แปลว่า: [ปฺระพาดมะหอระนบ] น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 ประพาฬ 】แปลว่า: [ปฺระพาน] น. รัตนะ (แก้ว) ชนิดหนึ่ง สีแดงอ่อน เกิดจากหินปะการัง
ใต้ทะเล. (ป. ปวาฬ).
【 ประพิณ 】แปลว่า: [ปฺระพิน] ว. ฉลาด, มีฝีมือดี. (ส. ปฺรวีณ).
【 ประพิมพ์ประพาย 】แปลว่า: น. รูปพรรณสัณฐาน โดยเฉพาะหมายถึงลักษณะหรือส่วนที่
คล้ายคลึงกัน เช่น เด็กคนนี้มีประพิมพ์ประพายคล้ายพ่อ.
【 ประพุทธ์ 】แปลว่า: ก. ตื่นจากหลับ คือมีสติ; รู้ทั่ว. (ป. ปพุทฺธ).
【 ประเพณี 】แปลว่า: น. สิ่งที่นิยมถือประพฤติปฏิบัติสืบ ๆ กันมาจนเป็นแบบแผน
ขนบธรรมเนียม หรือจารีตประเพณี. (ส. ปฺรเวณิ; ป. ปเวณิ).
【 ประเพณีนิยม 】แปลว่า: น. ประเพณีของสังคมที่ถือปฏิบัติสืบทอดกันมา.
【 ประเพ้อ 】แปลว่า: (กลอน) ก. เพ้อ.
【 ประแพร่งประแพรว 】แปลว่า: [ปฺระแพฺร่งปฺระแพฺรว] ว. งามแพรวพราย.
【 ประโพธ 】แปลว่า: [ปฺระโพด] น. การตื่นจากหลับ คือมีสติ; การรู้ทั่ว. (ป. ปโพธ;
ส. ปฺรโพธ).
【 ประไพ 】แปลว่า: ว. งาม.
【 ประภพ 】แปลว่า: น. การเกิดก่อน; แดน, ที่เกิด. (ส. ปฺรภว).
【 ประภัสสร 】แปลว่า: [ปฺระพัดสอน] น. เลื่อม ๆ พราย ๆ, มีแสงพราว ๆ เหมือนแสงพระอาทิตย์
แรกขึ้น; ผ่องใส, บริสุทธิ์ เช่น จิตประภัสสร, เขียนเป็น ประภัสร์ ก็มี เช่น
ธรรมรสเรืองรองผ่องประภัสร์ เป็นมิ่งฉัตรสุขสันต์นิรันดร. (ชีวิตและงาน
ของสุนทรภู่). (ป. ปภสฺสร).
【 ประภา 】แปลว่า: น. แสง, แสงสว่าง, แสงไฟ. (ส. ปฺรภา; ป. ปภา).
【 ประภากร 】แปลว่า: น. ผู้ทําแสงสว่าง คือพระอาทิตย์. (ส.).
【 ประภาคาร 】แปลว่า: น. กระโจมไฟ, เรือนตะเกียง ก็เรียก. /(ดู กระโจมไฟ ที่ กระโจม)./ (ส.).
【 ประภามณฑล 】แปลว่า: น. รัศมีที่พวยพุ่งขึ้นจากศีรษะของผู้ศักดิ์สิทธิ์และพระพุทธรูป.
【 ประภาพ 】แปลว่า: [ปฺระพาบ] น. อํานาจ, ฤทธิ์. (ส.).
【 ประภาษ 】แปลว่า: [ปฺระพาด] ก. ตรัส, บอก, พูด. (ส. ปฺรภาษ; ป. ปภาส).
【 ประภาส 】แปลว่า: [ปฺระพาด] น. แสงสว่าง. (ส. ปฺรภาส; ป. ปภาส).
【 ประเภท 】แปลว่า: [ปฺระเพด] น. ส่วนที่แบ่งย่อยออกไปเป็นพวก จําพวก ชนิด
หมู่ เหล่า อย่าง แผนก เป็นต้น. (ส. ปฺรเภท; ป. ปเภท).
【 ประมง 】แปลว่า: น. การจับสัตว์นํ้า เช่น ทําประมง; คนเลี้ยงชีพในทางจับสัตว์นํ้า
เรียกว่า ชาวประมง พวกประมง; ประโมง ก็ใช้. ก. ดํานํ้าหาปลา
เช่น กานํ้าดํานํ้าคือประมง, ตระบัดประมงลงทัน. (สมุทรโฆษ).
【 ประมวญ 】แปลว่า: ปฺระมวน ก. ประมวล.
【 ประมวล 】แปลว่า: ปฺระมวน] ก. รวบรวมให้เข้าระเบียบเป็นหมวดหมู่, โบราณเขียนเป็น
ประมวญ ก็มี. น. หนังสือที่รวบรวมสิ่งซึ่งเป็นประเภทเดียวกัน เช่น
ประมวลกฎหมาย ประมวลภาพ.
【 ประมวลกฎหมาย 】แปลว่า: (กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่รวบรวมกฎหมายในลักษณะ
เดียวกันไว้เป็นระบบตามหลักวิชาการ เช่น ประมวลกฎหมาย
อาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลรัษฎากร.
【 ประมวลการสอน 】แปลว่า: น. หนังสือหรือเอกสารที่แสดงเนื้อหาของหลักสูตร และการ
จัดการเรียนการสอน.
【 ประมัตตะ 】แปลว่า: ว. เลินเล่อ, มัวเมา, ประมาท, มักง่าย, เหลวไหล, เพิกเฉย, ทอดทิ้ง.
(ส. ปฺรมตฺต; ป. ปมตฺต).
【 ประมาณ 】แปลว่า: ก. กะหรือคะเนให้ใกล้เคียงจํานวนจริงหรือให้พอเหมาะพอควร
เช่น ประมาณราคาไม่ถูก. ว. ราว ๆ เช่น ประมาณ ๓-๔ เดือน.
(ส. ปฺรมาณ; ป. ปมาณ).
【 ประมาณการ 】แปลว่า: น. ปริมาณงานหรือค่าใช้จ่ายที่กะหรือกําหนดไว้อย่างคร่าว ๆ.
ก. กะหรือกําหนดปริมาณงานหรือค่าใช้จ่ายไว้อย่างคร่าว ๆ
เช่น ประมาณการในการก่อสร้าง.
【 ประมาณตน, ประมาณตัว 】แปลว่า: ก. สํานึกในฐานะของตน. ว. เจียมตัว, ไม่ทําอะไรเกินฐานะของตน.
【 ประมาท 】แปลว่า: [ปฺระหฺมาด] ก. ขาดความรอบคอบ, ขาดความระมัดระวังเพราะ
ทะนงตัว, เช่น เวลาขับรถอย่าประมาท; ดูหมิ่น เช่น ประมาทฝีมือ.
น. ความเลินเล่อ, การขาดความระมัดระวัง, เช่น ขับรถโดยประมาท;
(กฎ) กระทําโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้น
จักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทําอาจใช้ความระมัดระวัง
เช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่. (ส. ปฺรมาท; ป. ปมาท).
【 ประมาทเลินเล่อ 】แปลว่า: ก. กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังหรือละเลยในสิ่ง
ที่ควรกระทำ.
【 ประมาทหน้า 】แปลว่า: ก. ดูถูกว่าทําไม่ได้หรือไม่มีทางที่จะทําได้, หยามนํ้าหน้า,
สบประมาท.
【 ประมุข 】แปลว่า: [ปฺระมุก] น. ผู้เป็นใหญ่เป็นหัวหน้าของประเทศหรือศาสนาเป็นต้น.
(ส. ปฺรมุข; ป. ปมุข).
【 ประมุท 】แปลว่า: [ปฺระมุด] ก. บันเทิง, ยินดี. (ส.).
【 ประมูล 】แปลว่า: [ปฺระมูน] ก. เสนอราคาแข่งขันกันในการซื้อหรือขายทรัพย์สิน
เป็นต้น.
【 ประเมิน 】แปลว่า: ก. กะประมาณค่าหรือราคาเท่าที่ควรจะเป็น เช่น ประเมินราคา.
【 ประเมินผล 】แปลว่า: ก. พิจารณาและวัดคุณค่าของกิจการใด ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่
ตั้งไว้ เช่น ประเมินผลการสัมมนา ประเมินผลการปฏิบัติงานใน
รอบปีของบริษัท; (การศึกษา) วัดคุณค่าหรือผลความก้าวหน้า
การศึกษา เช่น การสอบไล่เป็นวิธีประเมินผลการศึกษาวิธีหนึ่ง.
【 ประเมินภาษี 】แปลว่า: ก. กําหนดจํานวนเงินที่จะต้องเสียเป็นภาษี, กําหนดจํานวนเงิน
ที่เจ้าพนักงานเรียกเก็บเป็นภาษีจากผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีตาม
ที่ได้ประเมินไว้แล้ว ซึ่งอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้.
【 ประโมง 】แปลว่า: น. การจับสัตว์นํ้า; คนเลี้ยงชีพในทางจับสัตว์นํ้า; โดยทั่วไปใช้ ประมง.
【 ประโมทย์ 】แปลว่า: [ปฺระโมด] น. ความบันเทิงใจ, ความปลื้มใจ, โดยมากใช้ ปราโมทย์.
【 ประยงค์ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด/ Aglaia odorata/ Lour. ในวงศ์ Meliaceae
ดอกกลมเล็ก ๆ สีเหลือง ลักษณะคล้ายไข่ปลาดุก ออกเป็นช่อ
ตามง่ามใบ กลิ่นหอม. (ส. ปฺริยงฺคุ; ป. ปิยงฺคุ).
【 ประยุกต์ 】แปลว่า: ก. นําความรู้ในวิทยาการต่าง ๆ มาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์. ว. ที่นํา
ความรู้มาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ เช่น วิทยาศาสตร์ประยุกต์ จิตวิทยา
ประยุกต์. (ส. ปฺรยุกฺต; ป. ปยุตฺต).
【 ประยุทธ์ 】แปลว่า: ก. รบ, ต่อสู้. (ส. ปฺรยุทฺธ).
【 ประยุร, ประยูร 】แปลว่า: [ปฺระยุน, ปฺระยูน] น. เผ่าพันธุ์, เชื้อสาย, ตระกูล.
【 ประโยค 】แปลว่า: ปฺระโหฺยก น. คําพูดหรือข้อความที่ได้ความบริบูรณ์ตอน
หนึ่ง ๆ เช่น ประโยคบอกเล่า ประโยคปฏิเสธ ประโยคคําถาม;
ชั้นแห่งความรู้ภาษาบาลี เช่น เปรียญ ๓ ประโยค สอบได้ประโยค
๓; ความเพียรเครื่องประกอบ, ความเพียร เช่น ประโยคสัมปทา
หมายถึง การถึงพร้อมด้วยความเพียร. (ส. ปฺรโยค; ป. ปโยค).
【 ประโยคประธาน 】แปลว่า: [-โหฺยก-] น. หลักไวยากรณ์, หลัก.
【 ประโยชน์ 】แปลว่า: [ปฺระโหฺยด] น. สิ่งที่มีผลใช้ได้ดีสมกับที่คิดมุ่งหมายไว้, ผลที่ได้ตาม
ต้องการ, สิ่งที่เป็นผลดีหรือเป็นคุณ, เช่น ประโยชน์ของการศึกษา
ประโยชน์ของโรงเรียน. (ส. ปฺรโยชน; ป. ปโยชน).
【 ประโรหิต 】แปลว่า: น. ปุโรหิต, พราหมณ์ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของกษัตริย์. (ส., ป. ปุโรหิต).
【 ประลมพ์ 】แปลว่า: [ปฺระลม] น. กิ่งไม้เลื้อย, ช่อดอกไม้, พวงมาลัย. ก. ห้อยย้อย.
(ส. ปฺรลมฺพ).
【 ประลอง 】แปลว่า: ก. ทดสอบความรู้ความสามารถด้วยการต่อสู้หรือแข่งขันกัน
เช่น ประลองฝีมือ ประลองกําลัง ประลองความเร็ว.
【 ประลองยุทธ์ 】แปลว่า: ก. ซ้อมรบ.
【 ประลัย 】แปลว่า: น. ความตาย, ความฉิบหาย, ความป่นปี้, ความย่อยยับไป.
(ส. ปฺรลย; ป. ปลย).
【 ประลัยกัลป์ 】แปลว่า: น. บรรลัยกัลป์.
【 ประลัยวาต 】แปลว่า: น. ชื่อศรที่แผลงให้เกิดลม.
【 ประลาต 】แปลว่า: [ปฺระลาด] ก. หนีไป. (ป. ปลาต).
【 ประลาย 】แปลว่า: (กลอน) แผลงมาจาก ปลาย.
【 ประลึง 】แปลว่า: (กลอน) ก. จับต้อง, ลูบคลํา.
【 ประลุ 】แปลว่า: ก. บรรลุ.
【 ประลุง 】แปลว่า: (กลอน) ก. ปลาบปลื้ม, ยินดี.
【 ประเล่ห์ 】แปลว่า: ว. ประหนึ่ง, ประดุจ, เช่น, กล. (ส. ปฺรเหลิ).
【 ประเล้าประโลม 】แปลว่า: ก. เล้าโลม, ปลอบโยนเอาอกเอาใจ.
【 ประโลประเล 】แปลว่า: (ปาก) ก. พูดหรือทำพอให้เสร็จ ๆไปโดยไม่ต้องการรายละเอียด, ปุโลปุเล ก็ว่า.
【 ประโลม 】แปลว่า: ก. ทําให้เป็นที่เบิกบานพึงอกพึงใจ.
【 ประโลมโลก 】แปลว่า: ว. เกี่ยวกับเรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ เช่น หนังสือประโลมโลก นิยายประโลมโลก.
【 ประวรรต 】แปลว่า: [ปฺระวัด] ก. เป็นไป. (ส. ปฺรวรฺต; ป. ปวตฺต).
【 ประวรรตน์ 】แปลว่า: [ปฺระวัด] น. ความเป็นไป. (ส. ปฺรวรฺตน; ป. ปวตฺตน).
【 ประวัติ, ประวัติ- 】แปลว่า: [ปฺระหฺวัด, ปฺระหฺวัดติ-] น. เรื่องราวว่าด้วยความเป็นไปของคน
สถานที่ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ประวัติศรีปราชญ์ ประวัติวัด
มหาธาตุ. (ป. ปวตฺติ).
【 ประวัติการ 】แปลว่า: [ปฺระหฺวัดติกาน, ปฺระหฺวัดกาน] น. เรื่องราวที่เป็นมาแล้วแต่ก่อน
ตามลําดับสมัย.
【 ประวัติการณ์ 】แปลว่า: [ปฺระหฺวัดติกาน, ปฺระหฺวัดกาน] น. เหตุการณ์ที่มีค่าควรบันทึกหรือ
จดจําไว้.
【 ประวัติกาล 】แปลว่า: [ปฺระหฺวัดติกาน, ปฺระหฺวัดกาน] น. สมัยที่มีบันทึกเหตุการณ์.
【 ประวัติศาสตร์ 】แปลว่า: [ปฺระหฺวัดติสาด, ปฺระหฺวัดสาด] น. วิชาว่าด้วยเหตุการณ์ที่
เป็นมาหรือเรื่องราวของประเทศชาติเป็นต้นตามที่บันทึกไว้
เป็นหลักฐาน.
【 ประวาต 】แปลว่า: [ปฺระวาด] ก. พัด, กระพือ. (ส.).
【 ประวาล 】แปลว่า: [ปฺระวาน] น. หน่อหรือแขนงต้นไม้ที่แตกออก. (ส.).
【 ประวาลปัทม์ 】แปลว่า: [ปฺระวาละปัด] น. ดอกบัวแดง. (ส. ปฺรวาลปทฺม).
【 ประวาลผล 】แปลว่า: [ปฺระวาละผน] น. ไม้จันทน์แดง. (ส.).
【 ประวาลวรรณ 】แปลว่า: [ปฺระวาละวัน] ว. สีแดง. (ส.).
【 ประวาส 】แปลว่า: [ปฺระวาด] ก. ประพาส. (ส.; ป. ปวาส).
【 ประวิง 】แปลว่า: ก. หน่วงไว้ให้เนิ่นช้า, ถ่วงเวลา, เช่น ประวิงเวลา ประวิงเรื่อง.
【 ประวิช 】แปลว่า: [ปฺระวิด] น. แหวน.
【 ประวิตร 】แปลว่า: [ปฺระวิด] ว. บพิตร; บริสุทธิ์, สะอาด.
【 ประวิน 】แปลว่า: น. ห่วงที่เกี่ยวกันสำหรับโยงสัปคับช้าง, ห่วงติดกับบังเหียนหรือ
เหล็กผ่าปากม้า, กระวิน ก็ว่า.
【 ประวีณ 】แปลว่า: ว. ฉลาด, มีฝีมือ. (ส. ปฺรวีณ; ป. ปวีณ).
【 ประเวณี 】แปลว่า: น. การเสพสังวาส, การร่วมรส, ในคําว่า ร่วมประเวณี; ประเพณี
เช่น ประเวณีตีงูให้หลังหัก มันก็มักทําร้ายเมื่อภายหลัง. (อภัย).
ก. ประพฤติผิดเมียผู้อื่น เรียกว่า ล่วงประเวณี. (ส. ปฺรเวณิ; ป. ปเวณิ).
【 ประเวประวิง 】แปลว่า: ก. พะว้าพะวัง, อิดเอื้อน, โอ้เอ้.
【 ประเวศ, ประเวศน์ 】แปลว่า: [ปฺระเวด] น. การเข้ามา, การเข้าถึง, การเข้าสู่. (ส. ปฺรเวศ,
【 ปฺรเวศน; 】แปลว่า:
ป. ปเวส, ปเวสน).
【 ประศม 】แปลว่า: ก. สงบ. (ส.).
【 ประศาสน์ 】แปลว่า: [ปฺระสาด] น. การแนะนํา, การสั่งสอน; การปกครอง, การงําเมือง,
การสั่ง. (ส. ปฺรศาสน; ป. ปสาสน).
【 ประศุ 】แปลว่า: น. ปศุ, สัตว์เลี้ยง. (ส. ปศุ; ป. ปสุ).
【 ประสก 】แปลว่า: (ปาก) น. ชายผู้แสดงตนเป็นคนถือพระพุทธศาสนา, คําที่บรรพชิต
เรียกคฤหัสถ์ผู้ชาย, คู่กับ สีกา. (ตัดมาจาก อุบาสก).
【 ประสงค์ 】แปลว่า: ก. ต้องการ, อยากได้; มุ่งหมาย, มุ่ง. (ส. ปฺรสงฺค).
【 ประสงค์ร้าย 】แปลว่า: ก. มุ่งร้าย, หมายจะทําร้าย.
【 ประสบ 】แปลว่า: ก. พบ, พบปะ, พบเห็น.
【 ประสบการณ์ 】แปลว่า: [ปฺระสบกาน] น. ความจัดเจนที่เกิดจากการกระทําหรือได้พบเห็นมา.
【 ประสบการณ์นิยม 】แปลว่า: [ปฺระสบกาน-] น. ลัทธิทางปรัชญาที่ถือว่าประสบการณ์เป็น
บ่อเกิดของความรู้ทุกอย่าง; การปฏิบัติที่เน้นประสบการณ์;
การแสวงหาความรู้โดยอาศัยการสังเกต การทดลอง และวิธี
อุปนัย, ประจักษนิยม ก็ว่า. (อ. empiricism).
【 ประสพ 】แปลว่า: [ปฺระสบ] น. การเกิดผล. (ส. ปฺรสว; ป. ปสว).
【 ประสม 】แปลว่า: ก. รวมกันเข้า (เป็นคําใช้ได้ทั่ว ๆ ไป).
【 ประสมประสาน 】แปลว่า: ก. ผสมผสาน, เก็บรวมไว้ทีละเล็กละน้อย, เก็บเล็กผสมน้อย.
【 ประสมประเส 】แปลว่า: ก. พลอยเข้าด้วย, เก็บเล็กผสมน้อย.
【 ประสมพันธุ์ 】แปลว่า: ก. ผสมพันธุ์.
【 ประสมโรง 】แปลว่า: ก. เอาคนที่เป็นลิเกหรือละครเป็นต้นต่างโรงมาเล่นรวมกัน;
พลอยเข้าด้วย.
【 ประสะ 】แปลว่า: ก. ฟอกหรือชําระสิ่งต่าง ๆ เช่นเครื่องยาเพื่อให้สะอาดหรือให้รส
อ่อนลง; ใช้เรียกยาที่เข้าเครื่องยาสิ่งหนึ่งเท่ากับเครื่องยาอื่น ๆ
เช่น ประสะขิง ก็คือเข้าขิงเท่ากับยาอื่นเป็นต้น.
【 ประสัก 】แปลว่า: น. ไม้หมุดสําหรับตรึงกงเรือต่างตะปู, ลูกประสัก ก็เรียก.
【 ประสันนาการ 】แปลว่า: น. อาการเลื่อมใส. (ป. ปสนฺนาการ).
【 ประสัยห-, ประสัยห์ 】แปลว่า: ปฺระไสหะ-, ปฺระไส ก. ข่มขี่, ข่มเหง. (ส. ปฺรสหฺย; ป. ปสยฺห).
【 ประสัยหาการ 】แปลว่า: [ปฺระไสหากาน] น. การข่มเหง.
【 ประสัยหาวหาร 】แปลว่า: [ปฺระไสหาวะหาน] น. การโจรกรรมด้วยใช้อํานาจกดขี่หรือกรรโชก
ให้กลัว.
【 ประสัยหาการ 】แปลว่า: /ดู ประสัยห-, ประสัยห์./
【 ประสัยหาวหาร 】แปลว่า: /ดู ประสัยห-, ประสัยห์./
【 ประสา 】แปลว่า: น. วิสัยที่เป็นไป เช่น ตามประสาจน ตามประสาเด็ก ตามประสาใจ.
【 ประสาท ๑, ประสาท- ๑ 】แปลว่า: [ปฺระสาด, ปฺระสาทะ-] น. ส่วนของร่างกาย มีลักษณะคล้าย
เส้นใย มีหน้าที่นําคําสั่งและความรู้สึกไปสู่หรือออกจากสมอง
หรืออวัยวะส่วนอื่นของร่างกาย, โดยปริยายหมายความว่า
จิตใจ, ความรู้สึก. (ส. ปฺรสาท; ป. ปสาท).
【 ประสาทรูป 】แปลว่า: [ปฺระสาทะ-] น. เส้นประสาท.
【 ประสาทหลอน 】แปลว่า: น. ความผิดปรกติของการรับรู้ เช่น เห็นภาพหลอน ได้ยินเสียง
คนพูดโดยไม่มีคนพูดจริง ได้กลิ่นที่ไม่มีอยู่จริง. (อ. hallucination).
【 ประสาท ๒, ประสาท- ๒ 】แปลว่า: [ปฺระสาด, ปฺระสาทะ-] น. ความเลื่อมใส. (ส.; ป. ปสาท).
【 ประสาทการ 】แปลว่า: [ปฺระสาทะ-] น. การเลื่อมใส.
【 ประสาท ๓ 】แปลว่า: [ปฺระสาด] น. ยินดีให้, โปรดให้, เช่น ประสาทปริญญา ประสาทพร.
(ส. ปฺรสาท; ป. ปสาท).
【 ประสาธน์ 】แปลว่า: ปฺระสาด ก. ทําให้สําเร็จ. น. เครื่องประดับ. (ส. ปฺรสาธน;
ป. ปสาธน).
【 ประสาน 】แปลว่า: ก. ทําให้เข้ากันสนิท, เชื่อม.
【 ประสานงา 】แปลว่า: ก. ใช้งาสวนแทงกันในการยุทธหัตถี; ขัดแย้งกันอย่างรุนแรง,
โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่รถหรือเรือแล่นเข้าชนกันอย่างแรง.
【 ประสานเสียง 】แปลว่า: ก. ร้องเพลงหรือเล่นดนตรีเป็นหมู่ให้มีเสียงกลมกลืนกัน.
【 ประสานเนรมิต 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 ประสาร 】แปลว่า: (แบบ) ก. คลี่ออก, เหยียดออก, แผ่ออก, ขยาย. (ส. ปฺรสาร ว่า
เที่ยวไป; ป. ปสาร).
【 ประสิทธิ-, ประสิทธิ์ 】แปลว่า: [ปฺระสิดทิ-, ปฺระสิด] น. ความสําเร็จ. ก. ทําให้สําเร็จ. (ส. ปฺรสิทฺธิ).
【 ประสิทธิ์ประสาท 】แปลว่า: [ปฺระสิดปฺระสาด] ก. อํานวยความสําเร็จให้เกิดมีขึ้น.
【 ประสิทธิผล 】แปลว่า: [ปฺระสิดทิผน] น. ผลสําเร็จ, ผลที่เกิดขึ้น.
【 ประสิทธิภาพ 】แปลว่า: [ปฺระสิดทิพาบ] น. ความสามารถที่ทําให้เกิดผลในการงาน.
【 ประสิทธิเม 】แปลว่า: [ปฺระสิดทิ-] น. คํากล่าวเพื่อความศักดิ์สิทธิ์ หมายความว่า
ขอให้สําเร็จแก่เรา.
【 ประสีประสา 】แปลว่า: น. วิสัย, เรื่องราว, ความเป็นไป, ความหมาย, (มักใช้ในประโยค
ปฏิเสธ) เช่น ไม่รู้ประสีประสา.
【 ประสูต 】แปลว่า: ปฺระสูด ก. ขวนขวาย. (ส. ปฺรสูต; ป. ปสุต).
【 ประสูติ, ประสูติ- 】แปลว่า: ปฺระสูด, ปฺระสูติ- น. การเกิด; การคลอด. ก. เกิด; คลอด.
(ส. ปฺรสูติ; ป. ปสูติ).
【 ประสูติการ 】แปลว่า: น. การเกิด, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระประสูติการ.
【 ประสูติกาล 】แปลว่า: น. เวลาเกิด, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระประสูติกาล.
【 ประเสบัน, ประเสบันอากง ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. (ช.)
【 ประเสบันอากง ๒ 】แปลว่า: น. วังลูกหลวง, วังหลานหลวง. (ช.).
【 ประเสริฐ 】แปลว่า: [ปฺระเสิด] ว. วิเศษ, ดีเลิศ, ดีที่สุด.
【 ประหนึ่ง 】แปลว่า: สัน. เช่น, ดัง, เหมือน.
【 ประหม่า 】แปลว่า: ก. สะทกสะท้าน, พรั่นใจ.
【 ประหยัด 】แปลว่า: ก. ยับยั้ง, ระมัดระวัง, เช่น ประหยัดปาก ประหยัดคํา; ใช้จ่ายแต่
พอควรแก่ฐานะ.
【 ประหรณ์ 】แปลว่า: (แบบ) น. การตี, การฟัน, การทําร้ายด้วยอาวุธ; อาวุธ. (ส. ปฺรหรณ).
【 ประหลาด 】แปลว่า: ว. แปลกผิดปรกติหรือมิได้คิดคาดหมายว่าจะเป็นไปได้, น่าพิศวง.
【 ประหล่ำ 】แปลว่า: น. เครื่องประดับสําหรับผูกข้อมือ ทําเป็นรูปกลม ๆ สลักเป็นลวดลาย.
【 ประหลิ่ม 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง, บหลิ่ม ปลิม ปลิ่ม ปะวะหลิ่ม ปะหลิ่ม
หรือ มะหลิ่ม ก็ว่า.
【 ประหวัด 】แปลว่า: ก. หวนคิดเพราะผูกใจอยู่.
【 ประหวั่น 】แปลว่า: ก. พรั่นใจ.
【 ประหว่า 】แปลว่า: ก. เปล่าเปลี่ยว, ว้าเหว่, เช่น มือประหว่าคว้าหมอน. (สมุทรโฆษ).
【 ประหัต 】แปลว่า: [ปฺระหัด] ก. ประหาร เช่น ประหัตศัตรูออก. (สมุทรโฆษ).
(ส. ปฺรหฺฤต; ป. ปหต).
【 ประหัตประหาร 】แปลว่า: [ปฺระหัดปฺระหาน] ก. ประหาร, เอาถึงเป็นถึงตาย.
【 ประหาณ 】แปลว่า: น. การละ, การทิ้ง, เช่น สมุจเฉทประหาณ. (ส. ปฺรหาณ; ป. ปหาน).
【 ประหาร 】แปลว่า: น. การตี, การฟัน, การล้าง, การผลาญ. ก. ฆ่า, ทําลาย.
(ส. ปฺรหาร; ป. ปหาร).
【 ประหารชีวิต 】แปลว่า: ก. ลงโทษฆ่า. (กฎ) น. โทษทางอาญาขั้นสูงสุดที่ลงแก่ผู้กระทํา
ความผิดอาญาอุกฉกรรจ์ วิธีประหารชีวิตตามประมวลกฎหมาย
อาญา คือ การเอาตัวผู้ต้องโทษประหารชีวิตไปยิงเสียให้ตาย.
【 ประหาส 】แปลว่า: น. การรื่นเริง, การสนุก, การเล่นตลก. (ส. ปฺรหาส; ป. ปหาส).
【 ประเหล 】แปลว่า: [ปฺระเหน] ว. ประหนึ่ง, ประดุจ, มักใช้เลือนเป็น ประเล่ห์.
(ส. ปฺรเหลิ ว่า ปริศนา, กล).
【 ประเหส 】แปลว่า: [ปฺระเหด] ก. ประมาท. (ข. ปฺรแหส).
【 ประเหียล 】แปลว่า: [ปฺระเหียน] (โบ; กลอน) ว. ประเหล.
【 ประไหมสุหรี 】แปลว่า: น. ตำแหน่งพระมเหสีที่ ๑ หรืออัครมเหสีของกษัตริย์ชวาในวงศ์
อสัญแดหวา.
【 ประอบ 】แปลว่า: (กลอน) น. ผอบ.
【 ประอร 】แปลว่า: (กลอน) ว. งาม.
【 ประอรประเอียง 】แปลว่า: ว. งามกรีดกราย, เคล้าพิงอิงเอียง.
【 ประอึง 】แปลว่า: (กลอน) ก. อึง, ดัง, เอ็ด, อึกทึก. (บุณโณวาท).
【 ประอุก 】แปลว่า: ก. ระอุ; ร้อนรน เช่น หนึ่งอัคนีมีในเชองกราน บมีเป่าพัดพาน
ประอุกแลลุกลามเลือน, ผิโคเคียงเกวียนเดิรหน ไป่ทันแก้ปรน
ประอุกแลขุกวอดวาย. (จารึกวัดโพธิ์; อภิไธยโพทิบาทว์),
ใช้เป็น กระอุ หรือ กระอุก ก็มี.
【 ประเอียง 】แปลว่า: ว. งาม.
【 ประแอก ๑ 】แปลว่า: ก. พิง. (ข.).
【 ประแอก ๒ 】แปลว่า: น. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ปลายสายทั้ง ๒ ข้าง
ผูกกับสายสำอางคร่อมอยู่ทางท้ายสันหลังช้าง สำหรับควาญช้าง
จับเมื่อเวลาคับขัน, กระแซง หรือ กระแอก ก็เรียก.
【 ประฮาม 】แปลว่า: น. แสงเงินแสงทอง, รุ่งสว่าง. (ข. พฺรหาม).
【 ปรัก ๑ 】แปลว่า: [ปฺรัก] ว. เงิน. (ข.).
【 ปรัก ๒ 】แปลว่า: [ปะหฺรัก] ก. หัก.
【 ปรักหักพัง 】แปลว่า: [ปะหฺรัก-] ก. ชํารุด, ทรุดโทรม, (ใช้แก่สิ่งก่อสร้าง).
【 ปรักปรำ 】แปลว่า: [ปฺรักปฺรํา] ก. กล่าวโทษหรือให้การใส่ร้ายเกินความเป็นจริง.
【 ปรักมะ 】แปลว่า: [ปะรักกะ-] น. ความเพียร, ความบากบั่น. (ป. ปรกฺกม).
【 ปรัง 】แปลว่า: [ปฺรัง] น. เรียกนาที่ต้องทําในฤดูแล้งว่า นาปรัง. (ข. ปฺรัง ว่า ฤดูแล้ง).
ว. เกินเวลา, เกินกําหนด, เช่น จมปรัง ว่า อยู่เกินเวลา.
【 ปรัชญา 】แปลว่า: [ปฺรัดยา, ปฺรัดชะยา] น. วิชาว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง. (ส.).
【 ปรัด 】แปลว่า: ปะหฺรัด ก. แต่ง.
【 ปรัตถจริยา 】แปลว่า: [ปะรัดถะจะ-] น. ความประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น. (ป.).
【 ปรัตยนต์ 】แปลว่า: [ปฺรัดตะยน] (โบ; กลอน) ว. ปัจจันต์. (ส. ปฺรตฺยนฺต; ป. ปจฺจนฺต).
【 ปรัตยักษ์ 】แปลว่า: [ปฺรัดตะยัก] (โบ; กลอน) ว. ประจักษ์. (ส. ปฺรตฺยกฺษ; ป. ปจฺจกฺข).
【 ปรัตยันต์ 】แปลว่า: [ปฺรัดตะยัน] (โบ; กลอน) ว. ปัจจันต์. (ส.; ป. ปจฺจนฺต).
【 ปรัตยัย 】แปลว่า: [ปฺรัดตะไย] (โบ; กลอน) น. ปัจจัย. (ส. ปฺรตฺยย; ป. ปจฺจย).
【 ปรัตยุตบัน, ปรัตยุบัน 】แปลว่า: [ปฺรัดตะยุดบัน, ปฺรัดตะยุบัน] น. ปัจจุบัน. (ส. ปฺรตฺยุตฺปนฺน;
ป. ปจฺจุปฺปนฺน).
【 ปรัตยูษ 】แปลว่า: [ปฺรัดตะยูด] (โบ; กลอน) ว. ปัจจูส, เช้ามืด, ใกล้รุ่ง.
(ส. ปฺรตฺยูษ; ป. ปจฺจูส).
【 ปรัตยูห์ 】แปลว่า: [ปฺรัดตะยู] (โบ; กลอน) น. อันตราย, ความขัดข้อง.
(ส. ปฺรตฺยูห; ป. ปจฺจูห).
【 ปรัตเยก 】แปลว่า: [ปฺรัดตะเยก] (โบ; กลอน) ว. ปัจเจก. (ส. ปฺรเตฺยก; ป. ปจฺเจก).
【 ปรัน 】แปลว่า: [ปฺรัน] ก. เอาของใหญ่กระแทกหรือดันเข้าไปในของเล็ก
(มักใช้เป็นคําด่า).
【 ปรั่น, ปรั้น 】แปลว่า: [ปฺรั่น, ปฺรั้น] ว. เสียงแปร้น เช่น ร้องก้องปรั่นประดิรพยทั่วแล.
(ม. คําหลวง สักบรรพ).
【 ปรับ ๑ 】แปลว่า: [ปฺรับ] ก. บอก, เล่า. (ข. บฺราป่).
【 ปรับทุกข์ 】แปลว่า: ก. บอกเล่าความทุกข์, พรรณนาถึงความทุกข์.
【 ปรับ ๒ 】แปลว่า: [ปฺรับ] ก. เปรียบ, เทียบ; ทําให้อยู่ในสภาพที่เหมาะหรือดีขึ้น,
ทําให้เรียบ, ทําให้เสมอ; ลงโทษให้ใช้เงินเพราะทําผิด, ลงโทษ
ให้เป็นแพ้; (กฎ) น. โทษทางอาญาสถานหนึ่ง ซึ่งผู้ต้องโทษ
ต้องชําระเงินตามจํานวนที่กําหนดไว้ในคําพิพากษาต่อศาล
หรือตามที่เจ้าพนักงานเปรียบเทียบ เรียกว่า โทษปรับ.
【 ปรับโทษ 】แปลว่า: (กฎ) ก. กําหนดโทษที่จะลง.
【 ปรับปรุง 】แปลว่า: ก. แก้ไขให้เรียบร้อยยิ่งขึ้น.
【 ปรับไหม 】แปลว่า: (กฎ; โบ) ก. ให้ผู้กระทําผิดหรือกระทําละเมิดชําระเงินค่าสินไหม
ทดแทนหรือค่าปรับ.
【 ปรับอากาศ 】แปลว่า: ว. ที่ปรับอุณหภูมิและความชื้นของอากาศด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า
เครื่องปรับอากาศ.
【 ปรับอาบัติ 】แปลว่า: ก. เอาโทษเป็นผิดตามพระวินัย (ใช้แก่พระภิกษุ).
【 ปรัมปรา 】แปลว่า: [ปะรําปะรา] ว. สืบ ๆ กันมา, เก่าก่อน. (ป., ส.).
【 ปรัศจิม 】แปลว่า: ปฺรัดสะจิม น. ปัจฉิม. (ส. ปศฺจิม; ป. ปจฺฉิม).
【 ปรัศนา 】แปลว่า: ปฺรัดสะ- น. ปัญหา. (ส. ปฺรศฺน; ป. ปญฺห).
【 ปรัศนี 】แปลว่า: [ปฺรัดสะ-] น. เครื่องหมายรูปดังนี้ ?, เครื่องหมายคําถาม ก็เรียก;
สิ่งที่เป็นเงื่อนงำต้องหาคำตอบ. (ส.)
【 ปรัศว์ 】แปลว่า: [ปะหฺรัด] น. ข้าง, สีข้าง; เรียกเรือนหลวงซึ่งอยู่ขนานทั้ง ๒ ข้าง
ของเรือนหลวงหรือพระที่นั่งที่เป็นประธาน. (ส. ปารฺศฺว; ป. ปสฺส).
【 ปรัสสบท 】แปลว่า: [ปะรัดสะบด] น. “บทเพื่อผู้อื่น”, ในตำราไวยากรณ์บาลีและ
สันสกฤตใช้เป็นเครื่องหมายให้ทราบว่าเป็นกริยากัตตุวาจก
เช่น สูโท โอทนํ ปจติ = พ่อครัวหุงอยู่ซึ่งข้าวสุก ปจติ เป็นกริยา
ปรัสสบท, ตรงข้ามกับ อัตตโนบท.
【 ปร่า 】แปลว่า: [ปฺร่า] ว. ลักษณะของรสที่ไม่กลมกล่อมไม่แน่ชัดว่าเป็นรสอะไร
เช่นรสแกงที่มีเครื่องปรุงไม่เหมาะส่วน.
【 ปรากฏ 】แปลว่า: [ปฺรากด] ก. สําแดงออกมาให้เห็น. (ส. ปฺรกฏ; ป. ปากฏ).
【 ปรากฏการณ์ 】แปลว่า: [ปฺรากดกาน, ปฺรากดตะกาน] น. การสําแดงออกมาให้เห็น.
【 ปรากรม 】แปลว่า: [ปะรากฺรม] น. ความเพียร, ความบากบั่น. (ส.).
【 ปรากฤต 】แปลว่า: [ปฺรากฺริด] น. ภาษาพื้นเมืองในอินเดียสมัยโบราณซึ่งสืบเนื่อง
มาจากภาษาตระกูลอริยกะ. (ส.).
【 ปราการ 】แปลว่า: [ปฺรากาน] น. กําแพงสําหรับป้องกันการรุกราน. (ส. ปฺราการ;
ป. ปาการ).
【 ปราคภาร 】แปลว่า: [ปฺรากพาน] น. เงื้อมภูเขา. (ส. ปฺราคฺภาร; ป. ปพฺภาร).
【 ปราคาร 】แปลว่า: [ปฺราคาน] น. ตึกใหญ่. (ส.).
【 ปราง 】แปลว่า: [ปฺราง] น. แก้ม; มะปราง.
【 ปรางค์ 】แปลว่า: [ปฺราง] น. สิ่งก่อสร้างมียอดสูงขึ้นไปมีรูปทรงคล้ายฝักข้าวโพด
และมีฝักเพกาปักอยู่ข้างบน, ถ้าเป็นเจดีย์มียอดเช่นนั้น เรียกว่า
เจดีย์ยอดปรางค์.
【 ปรางค์ปรา 】แปลว่า: ปฺรางปฺรา ตัดมาจาก ปรางค์ปราสาท.
【 ปรางคณะ 】แปลว่า: [ปฺรางคะนะ] น. คณะ, สํานัก; สนาม; พื้นอย่างพื้นเรือน. (ส.).
【 ปราจีน 】แปลว่า: [ปฺราจีน] น. ทิศตะวันออก. (ส. ปฺราจีน; ป. ปาจีน).
【 ปราชญ์ 】แปลว่า: [ปฺราด] น. ผู้มีปัญญารอบรู้. (ส. ปฺราชฺ?).
【 ปราชญา 】แปลว่า: [ปฺราดยา] น. ปัญญา. (ส. ปฺรชฺ?า; ป. ป?ฺ?า).
【 ปราชัย 】แปลว่า: [ปะราไช] น. ความพ่ายแพ้. ก. พ่ายแพ้. (ป.).
【 ปราชาปัตยวิวาหะ 】แปลว่า: [ปฺราชาปัดตะยะ-] น. การสมรสวิธีหนึ่งที่บิดายกลูกสาวให้เจ้าบ่าว
โดยปราศจากการเรียกร้องอย่างใดอย่างหนึ่งจากเจ้าบ่าว. (ส.).
【 ปราชิต 】แปลว่า: [ปะราชิด] ก. แพ้. (ป.).
【 ปราณ 】แปลว่า: [ปฺราน] น. ลมหายใจ; สัตว์มีชีวิต, ชีวิต, ใจ. (ส. ปฺราณ; ป. ปาณ).
【 ปราณี 】แปลว่า: [ปฺรานี] น. ผู้มีชีวิต, สัตว์, คน. (ส. ปฺราณิ, ปฺราณินฺ; ป. ปาณี).
【 ปราด 】แปลว่า: [ปฺราด] ก. แล่นอย่างฉับไว เช่น ปราดเข้าใส่. ว. อาการที่เป็นไป
อย่างฉับไว เช่น วิ่งปราด.
【 ปราดเปรียว 】แปลว่า: ว. ว่องไว, คล่องแคล่ว.
【 ปราดเปรื่อง 】แปลว่า: ว. มีความคิดแคล่วคล่องว่องไว, เปรื่องปราด ก็ว่า.
【 ปราติหารย์ 】แปลว่า: ปฺราติหาน น. ปาฏิหาริย์. (ส. ปฺราติหารฺย; ป. ปาฏิหาริย).
【 ปราทุกรา 】แปลว่า: ปฺราทุกฺรา น. ปาทุกา, รองเท้า. (ป., ส. ปาทุกา).
【 ปราน 】แปลว่า: [ปฺราน] น. โคตร, วงศ์.
【 ปรานี 】แปลว่า: [ปฺรา-] ก. เอ็นดูด้วยความสงสาร.
【 ปรานีตีเอาเรือ 】แปลว่า: (สํา) ก. เอ็นดูหรือเผื่อแผ่เขา แต่กลับถูกประทุษร้ายตอบ เช่น
มุทะลุดุดันขันเหลือ ปรานีตีเอาเรือเสียอีกเล่า. (สังข์ทอง).
【 ปรานีปราศรัย 】แปลว่า: [ปฺรานีปฺราไส] ก. ปรานี (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ใช้อย่าง
ไม่ปรานีปราศรัย.
【 ปราบ 】แปลว่า: [ปฺราบ] ก. ทําให้ราบ, ทําให้อยู่ในอํานาจ.
【 ปราบปราม 】แปลว่า: ก. ทําให้สงบราบคาบ.
【 ปราบดาภิเษก 】แปลว่า: [ปฺราบดาพิเสก] ว. มีอภิเษกอันถึงแล้ว. น. พระราชพิธีอภิเษก
ของพระเจ้าแผ่นดินซึ่งได้ราชสมบัติมาด้วยการรบชนะข้าศึก.
(ส. ปฺราปฺต + อภิเษก).
【 ปราปต์ 】แปลว่า: [ปฺราบ] ก. ถึงแล้ว, ได้แล้ว. (ส. ปฺราปฺต; ป. ปตฺต).
【 ปราภพ 】แปลว่า: [ปะราพบ] น. ความฉิบหาย. (ป. ปราภว).
【 ปราม 】แปลว่า: [ปฺราม] ก. ว่ากล่าวตักเตือนให้เกรงกลัว.
【 ปรามาส ๑ 】แปลว่า: [ปฺรามาด] ก. ดูถูก.
【 ปรามาส ๒ 】แปลว่า: [ปะรามาด] น. การจับต้อง, การลูบคลํา. (ป.).
【 ปราโมช 】แปลว่า: [ปฺราโมด] น. ความบันเทิงใจ, ความปลื้มใจ, ปราโมทย์ ก็ใช้.
(ป. ปาโมชฺช; ส. ปฺรโมทฺย)
【 ปราโมทย์ 】แปลว่า: [ปฺราโมด] น. ความบันเทิงใจ, ความปลื้มใจ, ปราโมช ก็ใช้.
(ส. ปฺรโมทฺย; ป. ปาโมชฺช).
【 ปราย 】แปลว่า: [ปฺราย] ก. ซัด, หว่าน, สาดให้กระจายไป, เช่น ปรายข้าวตอกดอกไม้,
มักใช้เข้าคู่กับคำ โปรย เป็น โปรยปราย.
【 ปรารถนา 】แปลว่า: [ปฺราดถะหฺนา] ก. มุ่งหมาย, อยากได้, ต้องการ. (ส. ปฺรารฺถนา;
ป. ปตฺถนา).
【 ปรารภ 】แปลว่า: [ปฺรารบ] ก. กล่าวถึง; ตั้งต้น; ดําริ. (ส.).
【 ปรารมภ์ 】แปลว่า: [ปฺรารม] ก. เริ่มแรก; วิตก, รําพึง, ครุ่นคิด. (ส. ปฺรารมฺภ ว่า เริ่มแรก,
เริ่มต้น).
【 ปราศ, ปราศจาก 】แปลว่า: [ปฺราด, ปฺราดสะจาก] ก. พ้นไป, ไม่มี.
【 ปราศรัย 】แปลว่า: [ปฺราไส] น. การพูดด้วยไมตรีจิต, การแสดงอัชฌาสัยในระหว่าง
ผู้ใหญ่ต่อผู้น้อยหรือผู้ที่เสมอกัน; คําปรารภ. ก. พูดด้วยไมตรีจิต,
พูดแสดงอัชฌาสัยระหว่างผู้ใหญ่ต่อผู้น้อยหรือผู้ที่เสมอกัน; ปรารภ.
(ส. ปฺรศฺรย).
【 ปราษณี 】แปลว่า: [ปฺราดสะนี] น. ส้นเท้า. (ส. ปารฺษฺณี; ป. ปณฺหิ).
【 ปราษาณ 】แปลว่า: [ปฺราสาน] น. หิน. (ส. ปาษาณ; ป. ปาสาณ).
【 ปราสัย 】แปลว่า: [ปฺราไส] ก. ปราศรัย.
【 ปราสาท 】แปลว่า: [ปฺราสาด] น. เรือนมียอดเป็นชั้น ๆ สําหรับเป็นที่ประทับของ
พระเจ้าแผ่นดินหรือเป็นที่ประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์. (ส. ปฺราสาท;
ป. ปาสาท).
【 ปรำ 】แปลว่า: [ปฺรํา] ก. ทําอาการดุจกระทุ้ง; เจาะจง; เทลงไปเร็ว ๆ ให้ปนกับ
ของอื่น; รุมกล่าวโทษ.
【 ปริ- ๑ 】แปลว่า: [ปะริ-] เป็นอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต, ใช้นําหน้าศัพท์อื่น
แปลว่า รอบ เช่น ปริมณฑล.
【 ปริ ๒ 】แปลว่า: [ปฺริ] ก. แย้ม, ผลิ, แตกแต่น้อย.
【 ปริปาก 】แปลว่า: ก. แย้มปากพูดออกมา (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น อย่าปริปาก
บอกใครนะ.
【 ปริก ๑ 】แปลว่า: [ปฺริก] น. ส่วนยอดของฝาโถหรือผอบที่ทำด้วยทองอย่าง
หัวแหวนนพเก้า สำหรับสวมบนฝาโถหรือผอบ.
【 ปริก ๒ 】แปลว่า: [ปฺริก] น. ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวใต้ดินชนิด /Asparagus sprengeri /Regel
ในวงศ์ Asparagaceae ดอกสีขาว กลิ่นหอม ใช้ทํายาได้.
【 ปริกขาร 】แปลว่า: [ปะริกขาน] น. บริขาร. (ป.).
【 ปริกรรม, ปริกรรม- 】แปลว่า: [ปะริกํา, ปะริกำมะ-] น. บริกรรม. (ส. ปริกรฺมนฺ; ป. ปริกมฺม).
【 ปริกรรมนิมิต 】แปลว่า: [ปะริกำมะนิมิด] น. “อารมณ์ในบริกรรม” คือ สิ่งที่ใช้เพ่งหรือนึกเป็น
อารมณ์ในเวลาบริกรรม. (ป. ปริกมฺมนิมิตฺต; ส. ปริกรฺม + นิมิตฺต).
【 ปริกัป 】แปลว่า: [ปะริกับ] ก. กําหนด. (ป. ปริกปฺป; ส. ปริกลฺป).
【 ปริกัลป- 】แปลว่า: [ปะริกันละปะ-] น. ความตรึก, ความดําริ, ความกําหนดในใจ.
(ส. ปริกลฺป; ป. ปริกปฺป).
【 ปริกัลปมาลา 】แปลว่า: น. ระเบียบกริยาในไวยากรณ์ที่บอกความคาดหมาย ความกําหนด. (ส.).
【 ปริขา 】แปลว่า: [ปะ-] น. คู; สนามเพลาะ. (ป., ส.).
【 ปริคณห์ 】แปลว่า: [ปะริคน] น. บริคณห์. (ป. ปริคหณ).
【 ปริจาค 】แปลว่า: [ปะริจาก] น. บริจาค. (ป. ปริจฺจาค).
【 ปริจาริกา 】แปลว่า: [ปะ-] น. บริจาริกา. (ป.).
【 ปริเฉท 】แปลว่า: [ปะริเฉด] น. บริเฉท. (ป. ปริจฺเฉท).
【 ปริชน 】แปลว่า: [ปะ-] น. บริชน. (ป.).
【 ปริซึม 】แปลว่า: ปฺริ- น. แท่งตันชนิดหนึ่ง ปลายทั้ง ๒ เป็นรูปหลายเหลี่ยม
ซึ่งมีพื้นที่เท่ากัน เป็นรูปแบบเดียวกันและขนานกันด้วย ส่วนด้าน
ข้างทุกด้านของแท่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน; (ฟิสิกส์) แท่งตันทํา
ด้วยวัตถุโปร่งใสเช่นแก้ว เป็นรูปแบบเดียวกันและขนานกันด้วย
ส่วนด้านข้างทุกด้านของแท่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ใช้ประโยชน์
สําหรับหักเหแนวทางเคลื่อนที่ของแสง. (อ. prism).
【 ปริญญา 】แปลว่า: [ปะรินยา] น. ความกําหนดรู้, ความหยั่งรู้, ความรู้รอบ; ชั้นความรู้ขั้น
มหาวิทยาลัยซึ่งประสาทให้แก่ผู้ที่สอบไล่ได้ตามที่กําหนดไว้, ถ้า
ประสาทแก่ผู้ทรงวิทยาคุณหรือผู้มีเกียรติตามที่เห็นสมควร เรียกว่า
ปริญญากิตติมศักดิ์. (ป.; ส. ปริชฺ?า).
【 ปริญญาบัตร 】แปลว่า: น. บัตรที่แสดงวิทยฐานะของผู้สําเร็จการศึกษาว่ามีศักดิ์และ
สิทธิ์ระดับปริญญา.
【 ปริณาม 】แปลว่า: [ปะ-] น. การผันแปร, การเปลี่ยนแปลง, การย่อยไป. (ป.).
【 ปริณามัคคิ 】แปลว่า: น. ไฟธาตุที่ย่อยอาหาร. (ป.).
【 ปริณามัคคิ 】แปลว่า: /ดู ปริณาม./
【 ปริณายก 】แปลว่า: [ปะ-] น. ผู้นําบริวาร, หัวหน้า, ผู้เป็นใหญ่. (ส.; ป. ปรินายก).
【 ปริต, ปริต-, ปริตตะ 】แปลว่า: [ปะริด, ปะริดตะ-] ว. น้อย. (ป. ปริตฺต; ส. ปรีตฺต).
【 ปริตทวีป 】แปลว่า: น. ทวีปน้อย, คู่กับ มหาทวีป. (ป. ปริตฺต + ส. ทฺวีป).
【 ปริตโตทก 】แปลว่า: [ปะริดโตทก] น. นํ้าพระปริตร, นํ้าพระพุทธมนต์. (ป.).
【 ปริตยาค 】แปลว่า: ปะริดตะยาก ก. บริจาค. (ส. ปริตฺยาค; ป. ปริจฺจาค).
【 ปริตร 】แปลว่า: [ปะหฺริด] น. ความต้านทาน, เครื่องป้องกัน; พระพุทธมนต์ใน
เจ็ดตํานานที่เรียกว่า สัตปริตร และสิบสองตํานานที่เรียกว่า
ทวาทศปริตร, ตํานานหนึ่ง เรียกว่า ปริตรหนึ่ง. ว. น้อย.
(ส.; ป. ปริตฺต).
【 ปริทรรศน์ 】แปลว่า: [ปะริทัด] น. ชื่อกล้องชนิดหนึ่งที่ใช้มองดูสิ่งต่าง ๆ ซึ่งมีที่กําบัง
ขวางกั้น หรือใช้มองดูสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่เหนือระดับสายตาผู้มอง
เช่น กล้องเรือดํานํ้า, กล้องตาเรือ ก็เรียก. (อ. periscope).
【 ปริทัยหัคคี 】แปลว่า: [ปะริไทหักคี] น. ไฟธาตุที่ทํากายให้กระสับกระส่าย. (ป. ปริฑยฺหคฺคิ).
【 ปริทัศน์ 】แปลว่า: [ปะริทัด] น. การวิจารณ์; หนังสือประเภทวารสารที่วิจารณ์ข่าว
หรือเรื่องราวต่าง ๆ. (ส. ปริ + ทรฺศน).
【 ปริเทพ, ปริเทพน์ 】แปลว่า: [ปะริเทบ] น. ปริเทวะ.
【 ปริเทวนะ, ปริเทวะ 】แปลว่า: [ปะริเทวะ-] น. ความครํ่าครวญ, ความรําพันด้วยเสียใจ,
ความบ่นเพ้อ. (ป.).
【 ปรินิพพาน 】แปลว่า: [ปะรินิบพาน] น. การดับรอบ, การดับสนิท, การดับโดยไม่เหลือ;
เรียกอาการตายของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์. (ป.; ส. ปรินิรฺวาณ).
【 ปริบ 】แปลว่า: [ปฺริบ] ว. อาการกะพริบบ่อย ๆ, อาการของหยาดนํ้าฝนที่หยดลงน้อย ๆ.
【 ปริบท 】แปลว่า: [ปะริ-] น. บริบท.
【 ปริปันถ์ 】แปลว่า: [ปะริ-] น. อันตราย, อันตรายในทางเปลี่ยว. (ป., ส.).
【 ปริพนธ์ 】แปลว่า: [ปะริ-] ก. ผูก, แต่ง, ร้อยกรอง. (ป. ปริพนฺธ).
【 ปริพัตร 】แปลว่า: [ปะริพัด] ก. บริพัตร. (ป. ปริวตฺต; ส. ปริวรฺต).
【 ปริพันธ์ 】แปลว่า: [ปะริ-] ก. บริพันธ์. (ป.).
【 ปริพาชก 】แปลว่า: [ปะริ-] น. นักบวชผู้ชายในอินเดีย นอกพระพุทธศาสนา, เพศหญิง
ใช้ว่า ปริพาชิกา หรือ ปริพาชี. (ป. ปริพฺพาชก).
【 ปริภัณฑ์ 】แปลว่า: [ปะริพัน] น. บริภัณฑ์.
【 ปริภาษ, ปริภาษณ์ 】แปลว่า: [ปะริพาด] ก. บริภาษ. (ส.; ป. ปริภาส).
【 ปริภุญช์ 】แปลว่า: [ปะริพุน] ก. กิน. (ป., ส.).
【 ปริภูมิ 】แปลว่า: ปะริพูม น. เซตที่มีโครงสร้างบางอย่าง อาจเป็นโครงสร้าง
แบบเรขาคณิตหรือโครงสร้างแบบอื่นก็ได้. (อ. space).
【 ปริโภค 】แปลว่า: [ปะริโพก] ก. บริโภค. (ป.).
【 ปริ่ม 】แปลว่า: [ปฺริ่ม] ว. เสมอขอบ, เสมอพื้น, (ในลักษณะอย่างนํ้าที่ขึ้นเสมอขอบ
ตลิ่งหรือดอกบัวที่โผล่ขึ้นเสมอพื้นนํ้าเป็นต้น); อาการที่มีความยินดี
ปลื้มใจ เช่น ปริ่มใจ ปริ่มยิ้ม ปริ่มเปรม.
【 ปริมณฑล 】แปลว่า: [ปะริมนทน] น. วงรอบ; ความเรียบร้อย เช่น นุ่งห่มให้เป็นปริมณฑล.
(ป.).
【 ปริมัท 】แปลว่า: [ปะริมัด] ก. นวด, บีบ, ขยํา. (ป.; ส. ปริมรฺทน, ปริมรฺท).
【 ปริมาณ 】แปลว่า: [ปะริมาน] น. กําหนดความมากน้อยของจํานวน.
【 ปริมาตร 】แปลว่า: [ปะริมาด] น. ขนาดของสิ่งใด ๆ ที่มีรูปทรง ๓ มิติ และระบุ
ปริมาณเป็นหน่วยลูกบาศก์ เช่น ลูกบาศก์เมตร ลูกบาศก์ฟุต.
【 ปริย- 】แปลว่า: [ปฺริยะ-] ว. ที่รัก. (ส. ปฺริย; ป. ปิย).
【 ปริยรณ 】แปลว่า: [ปฺริยะรน] น. ผู้ชอบรบ. (ส.).
【 ปริยวาท 】แปลว่า: [ปฺริยะวาด] น. คําพูดเป็นที่รัก. (ส.).
【 ปริยวาที 】แปลว่า: [ปฺริยะ-] น. ผู้มีถ้อยคําอ่อนหวาน. (ส. ปฺริยวาทินฺ).
【 ปริยานุช 】แปลว่า: [ปฺริยานุด] น. น้องที่รัก. (ส.).
【 ปริยัติ 】แปลว่า: [ปะริยัด] น. การเล่าเรียนพระไตรปิฎก. (ป. ปริยตฺติ).
【 ปริยัติธรรม 】แปลว่า: [ปะริยัดติทํา] น. ธรรมที่จะต้องเล่าเรียนได้แก่พระไตรปิฎก.
【 ปริยานุช 】แปลว่า: /ดู ปริย-./
【 ปริยาย 】แปลว่า: [ปะริ-] น. อย่าง, ทาง, หนทาง; การกล่าวอ้อมค้อม, นัยทางอ้อม,
ตรงข้ามกับ นิปริยาย คือ อย่างตรง; การสอน, การเล่าเรื่อง.
ว. อ้อม; (กฎ) หมายความถึงกรณีที่เจตนาในการกระทำมิได้
แสดงออกอย่างชัดแจ้ง เป็นคำที่มีความหมายตรงกันข้ามกับ
คำว่าชัดแจ้ง. (ป.).
【 ปริเยศ 】แปลว่า: ปฺริเยด ว. ที่รัก.
【 ปริโยสาน 】แปลว่า: [ปะริ-] น. ที่สุดลงโดยรอบ (หมายความว่า ที่สุดหรือจบลงอย่าง
บริบูรณ์แล้ว), จบ. (ป.).
【 ปริวรรต, ปริวรรต- 】แปลว่า: [ปะริวัด, ปะริวัดตะ-] ก. หมุนเวียน เช่น ปริวรรตเงินตรา;
เปลี่ยนแปลง, เปลี่ยนไป, แปรไป. (ส. ปริวรฺต; ป. ปริวตฺต).
【 ปริวรรตกรรม 】แปลว่า: ปะริวัดตะกํา น. การหมุนเวียน.
【 ปริวัตร 】แปลว่า: ปะริวัด ก. ปริวรรต เช่น จะเชื้อเชิญพระดาบสให้ปริวัตร
เป็นบรมกษัตริย์. (ม. กาพย์ สักบรรพ).
【 ปริวาร 】แปลว่า: [ปะริวาน] น. บริวาร. (ป.).
【 ปริวาส 】แปลว่า: [ปะริวาด] น. การอยู่ค้างคืน, การอยู่แรมคืน; ชื่อกรรมที่ภิกษุต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสต้องประพฤติ. (ป.).
【 ปริวิตก 】แปลว่า: [ปะริ-] ก. นึกเป็นทุกข์หนักใจ. (ป. ปริวิตกฺก ว่า การตรึกตรอง).
【 ปริเวณ 】แปลว่า: [ปะริ-] น. บริเวณ. (ป.).
【 ปริศนา 】แปลว่า: [ปฺริดสะหฺนา] น. สิ่งหรือถ้อยคําที่ผูกขึ้นเป็นเงื่อนงําเพื่อให้แก้
ให้ทาย. (ส. ปฺรศฺน).
【 ปริศนาธรรม 】แปลว่า: น. ปริศนาในทางธรรม.
【 ปริศนาลายแทง 】แปลว่า: น. ข้อความที่เป็นปริศนาเป็นเครื่องแสดงขุมทรัพย์ที่ฝังอยู่
ในดินเป็นต้น.
【 ปริศนาอักษรไขว้ 】แปลว่า: น. ปริศนาที่จะต้องตอบโดยการเติมคําลงในตารางสี่เหลี่ยม
ที่กําหนดให้ช่องละ ๑ อักษร แล้วให้อ่านได้ใจความทั้งในแนว
ยืนและแนวนอน.
【 ปริษการ 】แปลว่า: [ปะริดสะกาน] น. บริขาร. (ส. ปริษฺการ; ป. ปริกฺขาร).
【 ปริษัท 】แปลว่า: [ปะริสัด] น. บริษัท. (ส. ปริษทฺ; ป. ปริส).
【 ปริสัญญู 】แปลว่า: [ปะริสันยู] น. ผู้รู้จักประชุมชนและกิริยาที่จะต้องประพฤติต่อประชุมชน
นั้น ๆ ว่า หมู่นี้เมื่อเข้าไปหาจะต้องทํากิริยาอย่างนี้ จะต้องพูดอย่างนี้
เป็นต้น. (ป.).
【 ปริสุทธิ 】แปลว่า: [ปะริสุดทิ] ก. บริสุทธิ์. (ป.).
【 ปริหาน 】แปลว่า: [ปะริ-] น. ความเสื่อมรอบ, ความเสื่อมทั่วไป. (ป.).
【 ปริหาร 】แปลว่า: [ปะริหาน] น. บริหาร. (ป.).
【 ปริหาส 】แปลว่า: [ปะริหาด] ก. บริหาส. (ป.).
【 ปรี่ 】แปลว่า: [ปฺรี่] ก. รี่ เช่น ปรี่เข้าใส่. ว. เกือบล้น ในลักษณะเช่นนํ้าเต็มจนเกือบล้น
มิล้นแหล่, ริน ๆ เช่น ไหลปรี่.
【 ปรีชญา 】แปลว่า: ปฺรีดยา น. ปรีชา เช่น อันประกอบด้วยจักษุคือปรีชญา.
(นันโท). (ส. ปฺริชฺ?า).
【 ปรีชา 】แปลว่า: [ปฺรี-] น. ปัญญาสามารถ, ความรอบรู้จัดเจน. (ส. ปริชฺ?า; ป. ปริญฺ?า).
【 ปรี๊ด 】แปลว่า: [ปฺรี๊ด] ว. อาการที่นํ้าหรือของเหลวพุ่งออกมาโดยแรงจากช่องแคบ ๆ
มีเสียงดังเช่นนั้น เช่น น้ำพุ่งปรี๊ด บ้วนนํ้าลายปรี๊ด; มาก เช่น สูงปรี๊ด,
จัด (ใช้แก่รสเปรี้ยว); เสียงอย่างเสียงเป่านกหวีดยาว ๆ.
【 ปรีดา 】แปลว่า: [ปฺรี-] ก. อิ่มใจ, ปลื้มใจ, ยินดี. (ส.).
【 ปรีดิ, ปรีดิ์, ปรีดี 】แปลว่า: [ปฺรี-, ปฺรี] น. ความอิ่มใจ, ความปลื้มใจ, ความยินดี. (ส. ปฺรีติ; ป. ปีติ).
【 ปรีติ 】แปลว่า: [ปฺรี-] น. ปีติ, ความปลาบปลื้มใจ, ความอิ่มใจ. (ส.; ป. ปีติ).
【 ปรียะ, ปรียา 】แปลว่า: [ปฺรี-] ว. ที่รัก. (ส. ปฺริย; ป. ปิย).
【 ปรึก 】แปลว่า: [ปฺรึก] น. ชื่อนํ้ามันชนิดหนึ่ง โดยเอานํ้ามันยางมาปรุงหุงสําหรับ
ทาไม้ต่าง ๆ.
【 ปรึกษา 】แปลว่า: [ปฺรึกสา] ก. หารือ, ขอความเห็นแนะนํา, พิจารณาหารือกัน, พิจารณา
อภิปรายกัน เช่น ประชุมปรึกษา, พิจารณาร่างคําพิพากษา เช่น ผู้ปรึกษา
(ในทางศาล). น. เรียกความเห็นแนะนําที่ให้เนื่องด้วยการหารือว่า
คําปรึกษา, เรียกผู้มีหน้าที่ให้ความเห็นแนะนําว่า ที่ปรึกษา, เรียกผู้รับ
หารือเพื่อให้ความเห็นแนะนําว่า ผู้รับปรึกษา. (ส. ปรีกฺษา).
【 ปรึง 】แปลว่า: [ปฺรึง] ว. อย่างเร่งรีบ, เต็มที่, เช่น บ้างควบปรึงตะบึงไปไม่รอรั้ง.
(อิเหนา). (ข. บฺรึง).
【 ปรือ ๑ 】แปลว่า: [ปฺรือ] น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Scleria poaeformis/ Retz. ในวงศ์
Cyperaceae ขึ้นในนํ้า ใบยาว ๆ ใช้มุงหลังคาและสานเสื่อเป็นต้น,
อีสานเรียก แวง. (๒) /ดู กกช้าง./
【 ปรือ ๒ 】แปลว่า: [ปฺรือ] ว. ลักษณะอาการของนัยน์ตาที่หรี่เพราะง่วงแต่ฝืนไว้,
ลักษณะของนัยน์ตาที่มีอาการเช่นนั้น. ก. ฝึกหัด ในคําว่า
ฝึกปรือ; เลี้ยงดูในคําว่า ปรนปรือ.
【 ปรื๋อ 】แปลว่า: [ปฺรื๋อ] ว. อาการที่นกบินพุ่งไปอย่างเร็ว, โดยปริยายหมายความว่า
มีอาการรวดเร็วเช่นนั้น เช่น แล่นปรื๋อ วิ่งปรื๋อ.
【 ปรุ 】แปลว่า: [ปฺรุ] ก. ทําให้เป็นรู ๆ, สลักให้เป็นรู ๆ มีลวดลายต่าง ๆ. ว. เป็นรูเล็ก ๆ
เช่น หน้าปรุ; ทะลุ, ตลอด, เช่น เที่ยวเสียปรุ.
【 ปรุโปร่ง 】แปลว่า: ว. โล่งตลอด.
【 ปรุง 】แปลว่า: [ปฺรุง] ก. ประสมหรือประกอบให้เหมาะส่วน.
【 ปรู ๑ 】แปลว่า: [ปฺรู] น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด/ Alangium/
/salviifolium/ Wang. ในวงศ์ Alangiaceae ดอกสีขาว ออก
เป็นกระจุกตามง่ามใบ กลิ่นหอม เนื้อไม้สีนํ้าตาลคลํ้า ใช้ทํา
ด้ามปืน พานท้ายปืน เปลือกรากใช้ทํายาได้.
【 ปรู ๒ 】แปลว่า: [ปฺรู] ว. พรู.
【 ปรู๋ 】แปลว่า: [ปฺรู๋] ว. ปรื๋อ.
【 ปรูด, ปรู๊ด 】แปลว่า: [ปฺรูด, ปฺรู๊ด] ว. อาการที่นํ้าหรือของเหลวเป็นต้นพุ่งออกจาก
ช่องแคบโดยเร็วแรง, โดยปริยายหมายความว่า ฉับไว.
【 ปรูดปราด, ปรู๊ดปร๊าด 】แปลว่า: ว. อาการที่เคลื่อนไหวอย่างว่องไว รวดเร็ว.
【 ปรู๊ฟ 】แปลว่า: [ปฺรู๊บ] น. เรียกกระดาษที่ใช้พิมพ์หนังสือ มีคุณภาพตํ่ากว่ากระดาษ
ปอนด์และกระดาษอาร์ต ว่า กระดาษปรู๊ฟ; งานพิมพ์เป็นต้นเพื่อ
ตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อย. (ปาก) ก. พิสูจน์อักษร.
【 ปฤงคพ 】แปลว่า: ปฺริงคบ น. ปุงคพ, โคผู้, หมายความว่า ผู้เลิศ, ผู้ประเสริฐ,
หัวหน้า. (ป., ส. ปุงฺคว).
【 ปฤจฉา 】แปลว่า: [ปฺริด-] น. คําถาม. (ส.; ป. ปุจฺฉา).
【 ปฤจฉาคุณศัพท์ 】แปลว่า: (ไว) น. คําคุณศัพท์ที่เป็นคําถาม เช่นคํา “อะไร” ฯลฯ.
【 ฤจฉาสรรพนาม 】แปลว่า: (ไว) น. คําแทนชื่อที่เป็นคําถาม เช่นคํา “ใคร” ฯลฯ.
【 ปฤษฎ์ 】แปลว่า: [ปฺริด] น. หลัง, เบื้องหลัง. (ส. ปฺฤษฺ?; ป. ปิฏฺ?).
【 ปฤษฎางค์ 】แปลว่า: [ปฺริดสะดาง] น. อวัยวะเบื้องหลัง, ส่วนหลัง, ราชาศัพท์ใช้ว่า
พระปฤษฎางค์, พระขนอง ก็ว่า.
【 ปฤษฐ 】แปลว่า: [ปฺริดสะถะ] น. หลัง, เบื้องหลัง; พื้นบน; ยอด. (ส.; ป. ปิฏฺ?).
【 ปลก 】แปลว่า: [ปะหฺลก] ว. อาการที่ยกมือไหว้ถี่ผงก ๆ (ใช้แก่กริยาไหว้ ว่า
ไหว้ปลก ๆ).
【 ปลกเปลี้ย 】แปลว่า: [ปฺลกเปฺลี้ย] ก. กะปลกกะเปลี้ย.
【 ปลง 】แปลว่า: [ปฺลง] ก. เอาลง เช่น ปลงหม้อข้าว, ปล่อยหรือเปลื้องให้พ้นไป
(ในลักษณะที่รู้สึกว่าหนักอยู่) เช่น ปลงหาบ; เมื่อใช้ประกอบ
กับคําอื่น มีความหมายต่าง ๆ.
【 ปลงกรรมฐาน 】แปลว่า: [ปฺลงกํามะถาน] ก. พิจารณากรรมฐาน.
【 ปลงใจ 】แปลว่า: ก. ตกลงใจ.
【 ปลงช้าง 】แปลว่า: ก. ปลดเปลื้องของหนักบนหลังช้างแล้วปล่อยให้พัก.
【 ปลงชีวิต 】แปลว่า: ก. ฆ่า.
【 ปลงตก 】แปลว่า: ก. พิจารณาจนเห็นจริงแล้วปล่อยไปตามสภาพ.
【 ปลงธรรมสังเวช 】แปลว่า: [ปฺลงทํามะสังเวด] ก. เกิดความสังเวชโดยธรรมเมื่อเห็นความ
แตกดับของสังขาร (ใช้แก่พระอริยบุคคล).
【 ปลงธุระ 】แปลว่า: ก. ทอดธุระ, วางธุระ.
【 ปลงบริขาร 】แปลว่า: ก. มอบบริขารให้แก่ผู้อื่นในเวลาใกล้จะตาย (ใช้แก่บรรพชิต).
【 ปลงผม 】แปลว่า: ก. โกนผม (ใช้แก่บรรพชิต).
【 ปลงศพ 】แปลว่า: ก. เผาผี, จัดการเผาหรือฝังศพให้เสร็จสิ้นไป.
【 ปลงสังขาร 】แปลว่า: ก. พิจารณาเห็นว่าเราจะต้องตายเป็นแน่แท้.
【 ปลงสังเวช 】แปลว่า: ก. พิจารณาเห็นเป็นเรื่องน่าสลดใจหรือน่าสมเพช.
【 ปลงอนิจจัง 】แปลว่า: ก. รู้สึกสังเวชใจว่าไม่น่าจะเป็นถึงเช่นนั้น.
【 ปลงอาบัติ 】แปลว่า: ก. แสดงความผิดของตนเพื่อเปลื้องโทษทางวินัย (ใช้แก่พระภิกษุ).
【 ปลงอายุสังขาร 】แปลว่า: ก. บอกกําหนดวันสิ้นสุดแห่งอายุ (ใช้แก่พระพุทธเจ้า).
【 ปล่ง 】แปลว่า: [ปฺล่ง] ว. ปลอด, ตลอด, จะแจ้ง, เป็นทางไป, กระจ่าง, โปร่ง.
【 ปลด 】แปลว่า: [ปฺลด] ก. เอาออก (ใช้แก่สิ่งที่เกี่ยวอยู่ แขวนอยู่ คล้องอยู่ หรือขัดอยู่
เป็นต้น) เช่น ปลดม่านที่แขวนอยู่ ปลดห่วงที่เกี่ยวอยู่ ปลดลูกดุมที่
ขัดอยู่; โดยปริยายหมายความว่า ทําให้พ้นจากข้อผูกพันหรือพ้น
จากตําแหน่งหน้าที่ เช่น ปลดหนี้ ปลดออกจากราชการ.
【 ปลดเกษียณ, ปลดเกษียณอายุ 】แปลว่า: (ปาก) ก. ให้ออกจากราชการหรืองานเพราะเหตุสูงอายุ.
【 ปลดทุกข์ 】แปลว่า: ก. ทําให้หมดทุกข์; (ปาก) เยี่ยว, ขี้.
【 ปลดปลง 】แปลว่า: (กลอน) ก. ตาย.
【 ปลดปล่อย 】แปลว่า: ก. ปล่อยจากที่คุมขังหรือการผูกมัด, ให้เสรีภาพ.
【 ปลดเปลื้อง 】แปลว่า: ก. ทําให้หลุดพ้นเพื่อแบ่งเบาหรือให้หมดไป, เปลื้อง ก็ว่า.
【 ปลดระวาง 】แปลว่า: ก. ปลดจากตําแหน่ง, ปลดจากทําเนียบ, ปลดจากประจําการ;
โดยปริยายหมายความว่า หมดหน้าที่.
【 ปลดหนี้ 】แปลว่า: (กฎ) ก. การที่เจ้าหนี้ยกหนี้ให้แก่ลูกหนี้ อันเป็นเหตุให้หนี้
นั้นเป็นอันระงับสิ้นไป.
【 ปลดออก 】แปลว่า: (กฎ) น. โทษทางวินัยสถานหนึ่ง ที่ใช้ลงแก่ข้าราชการผู้กระทํา
ผิดวินัยอย่างร้ายแรง โดยสั่งให้ออกจากราชการ ผู้ถูกลงโทษ
ปลดออกมีสิทธิได้รับบําเหน็จบํานาญเสมือนว่าผู้นั้นลาออก.
【 ปลดอาวุธ 】แปลว่า: ก. บังคับให้วางศัสตราวุธเพื่อไม่ให้ใช้ต่อสู้.
【 ปลดแอก 】แปลว่า: ก. ทําให้พ้นจากอํานาจหรือการกดขี่, ทําให้เป็นอิสระ.
【 ปล้น 】แปลว่า: [ปฺล้น] ก. ใช้กําลังลอบมาหักโหมแย่งชิงเอาโดยไม่รู้ตัว.
【 ปล้นทรัพย์ 】แปลว่า: (กฎ) ก. ชื่อความผิดอาญาสถานหนึ่ง ซึ่งผู้ชิงทรัพย์ร่วมกระทําความผิด
ด้วยกันตั้งแต่ ๓ คนขึ้นไป เรียกว่า ความผิดฐานปล้นทรัพย์.
【 ปล้นบ้านปล้นเมือง 】แปลว่า: (สำ) ก. โกงกินทรัพย์สมบัติของชาติ.
【 ปล้นสวาท 】แปลว่า: (ปาก) ก. ข่มขืนกระทำชำเรา.
【 ปล้นสะดม 】แปลว่า: (โบ) ก. ปล้นโดยใช้วิธีรมยาให้เจ้าของทรัพย์หลับสนิทไม่รู้สึกตัว.
【 ปลวก 】แปลว่า: [ปฺลวก] น. ชื่อแมลงในอันดับ Isoptera รูปร่างคล้ายมด แต่ส่วนท้อง
กับอกมีขนาดไล่เลี่ยกัน หนวดมีลักษณะเป็นปล้องกลมคล้ายลูกปัด
ไม่หักงอเป็นข้อศอกเหมือนมด ส่วนใหญ่ตัวสีขาวหรือครีม ไม่ชอบ
แสง อาศัยทํารังรวมกันอยู่เป็นกลุ่มใหญ่บนพื้นหรือใต้ดิน มักจะเอา
ดินมาสร้างคลุมทางเดิน บางชนิดทําลายไม้ ต้นไม้ ฯลฯ.
【 ปลวังค- 】แปลว่า: ปะละวังคะ- น. ลิง เช่น ปลวังคสังวัจฉร. (ส. ปฺลวงฺค).
【 ปลอก 】แปลว่า: [ปฺลอก] น. สิ่งที่ทําเป็นวงสําหรับสวมหรือรัดของต่าง ๆ, เครื่องที่ทํา
สําหรับสวมสิ่งของต่าง ๆ เช่น ปลอกมีด ปลอกหมอน.
【 ปลอกกระสุน 】แปลว่า: น. ส่วนของกระสุนปืนที่บรรจุดินปืนและลูกตะกั่ว.
【 ปลอกคอ 】แปลว่า: น. สายรัดรอบคอ (มักใช้แก่หมา); โดยปริยายหมายถึงผู้มีอํานาจ
ที่คอยให้ความคุ้มครองหรือช่วยเหลือ.
【 ปลอกนิ้ว 】แปลว่า: น. สนับนิ้วมือ, ปลอกมือ ก็ว่า.
【 ปลอกมีด 】แปลว่า: น. เรียกแหวนทองเกลี้ยง ๆ มีลักษณะคล้ายปลอกมีดว่า
แหวนปลอกมีด.
【 ปล่อง 】แปลว่า: [ปฺล่อง] น. ช่องหรือรูที่ทะลุขึ้นจากพื้นดิน เช่น ปล่องงู ปล่องหนู,
สิ่งที่เป็นช่องกลวงคล้ายท่อตั้งตรงขึ้นไปสําหรับควันขึ้นหรือรับลม,
ช่องที่ทะลุขึ้นจากถํ้า.
【 ปล้อง ๑ 】แปลว่า: [ปฺล้อง] น. ช่วงระยะระหว่างข้อของไม้ไผ่หรืออ้อย ฯลฯ, โดยปริยาย
ใช้เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คอปล้อง คือ คอที่มี
ริ้วรอยเห็นเป็นปล้อง ๆ.
【 ปล้องไฉน 】แปลว่า: น. ส่วนหนึ่งของพระเจดีย์ต่อบัวกลุ่มขึ้นไป.
【 ปล้อง ๒ 】แปลว่า: [ปฺล้อง] น. (๑) ชื่อหญ้าชนิด /Hymenachne pseudointerrupta/
C. Muell. ในวงศ์ Gramineae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ต้นเป็นข้อ ๆ
มีไส้ในระหว่างข้อเป็นปุยขาว. (๒) มะเดื่อปล้อง. /(ดู มะเดื่อ)./
【 ปล้องขน 】แปลว่า: น. หญ้าปล้องขน. /(ดู ขน ๓)./
【 ปล้องฉนวน 】แปลว่า: น. ชื่องูบกขนาดเล็กในวงศ์ Colubridae ตัวเล็กเรียว ยาว ๔๐-๖๐
เซนติเมตร มักมีลายเป็นปล้องสีนํ้าตาลหรือดําสลับขาว ไม่มีพิษ
มีหลายชนิด เช่น ปล้องฉนวนหลังเหลือง (/Lycodon laoensis/)
ปล้องฉนวนบ้าน (/Dryocalamus davisonii/)
【 ปล้องทอง 】แปลว่า: น. ชื่องูชนิด /Boiga dendrophila/ ในวงศ์ Colubridae ตัวโต
ยาวประมาณ ๑.๗ เมตร สีดํามีลายสีเหลืองพาดขวางเป็นปล้อง ๆ
ตลอดตัวอาศัยตามป่าโกงกางในภาคใต้ของประเทศไทย มีพิษอ่อน.
【 ปล้องอ้อย 】แปลว่า: น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กชนิด/ Acanthophthalmus kuhlii/ ในวงศ์
Cobitidae ตัวยาว แบนข้าง ท้องมน คอดหางกว้าง หัวเล็กปลายทู่
ปากเล็กอยู่ตํ่า ตาเล็ก มีกระดูกเป็นหนามอยู่ใต้ตา เกล็ดเล็กมาก
ครีบหลังและครีบก้นอยู่ค่อนไปทางหาง พื้นลําตัวสีเหลืองอ่อน
หรือส้ม มีแถบกว้างสีดําหรือนํ้าตาลเข้มพาดขวางเป็นปล้อง ๆ
โดยตลอด พบอาศัยอยู่ตามท้องน้ำที่เป็นกรวดเป็นทรายตามลําธาร
เขตภูเขา เคลื่อนไหวรวดเร็วคล้ายงูเลื้อย ขนาดยาวเพียงไม่เกิน ๘
เซนติเมตร, ปลางู ก็เรียก.
【 ปลอด 】แปลว่า: [ปฺลอด] ก. พ้นจาก, ปราศจาก, เช่น ปลอดคน ปลอดภัย; ล้วน, แท้ ๆ,
เช่น ขาวปลอด ดําปลอด.
【 ปลอดทหาร 】แปลว่า: น. เรียกดินแดนหรือเขตที่ไม่มีที่ตั้งกองทหารตามสนธิสัญญา
หรือข้อตกลงว่า เขตปลอดทหาร.
【 ปลอดโปร่ง 】แปลว่า: ว. ผ่องใสปราศจากความขุ่นมัว.
【 ปลอดภัย 】แปลว่า: ก. พ้นภัย.
【 ปล้อน 】แปลว่า: [ปฺล้อน] ก. ปลิ้นเปลือกหรือเมล็ดในผลไม้ออกจากปาก เช่น ปล้อน
เมล็ดลําไย ปล้อนเมล็ดน้อยหน่า, ลอกเปลือกผลไม้ออก เช่น ปล้อน
มะพร้าว, มักใช้เข้าคู่กับคำ ปลิ้น เป็น ปล้อนปลิ้น หรือ ปลิ้นปล้อน
มีความหมายอย่างปล้อน; โดยปริยายหมายความว่า ใช้อุบาย
ล่อลวงเพื่อให้สำเร็จประโยชน์ตน.
【 ปลอบ, ปลอบโยน 】แปลว่า: [ปฺลอบ] ก. พูดเอาอกเอาใจให้คลายอารมณ์ขุ่นหมอง.
【 ปลอบขวัญ 】แปลว่า: ก. ปลอบโยนหรือบํารุงขวัญให้มีกําลังใจ.
【 ปลอม 】แปลว่า: [ปฺลอม] ก. ทําให้เหมือนคนอื่นหรือสิ่งอื่น เพื่อให้หลงผิดว่าเป็น
คนนั้นหรือสิ่งนั้น เช่น ปลอมตัว. ว. ไม่แท้หรือไม่จริงตามสภาพ
ของสิ่งนั้น เช่น ฟันปลอม ผมปลอม.
【 ปลอมปน 】แปลว่า: ก. เอาของเลวไปผสมกับของดีเพื่อให้เข้าใจว่าเป็นของดี.
【 ปลอมแปลง 】แปลว่า: [-แปฺลง] ก. ทําเลียนแบบให้ดูเหมือนของจริง.
【 ปล่อย 】แปลว่า: [ปฺล่อย] ก. ทําให้ออกจากสิ่งที่ติดอยู่ ผูกอยู่ หรือข้องอยู่ เป็นต้น เช่น
ปล่อยนักโทษ ปล่อยนก; ยอมให้ เช่น ปล่อยให้เข้ามา; ละเลย เช่น
ปล่อยให้บ้านรกรุงรัง ปล่อยให้นํ้าล้น; (ปาก) โดยปริยายหมายถึง
ขาย เช่น ที่ที่ซื้อไว้ปล่อยไปแล้วราคา ๕ ล้านบาท
【 ปล่อยเกาะ 】แปลว่า: ก. เนรเทศให้ไปอยู่เกาะ; โดยปริยายหมายความว่า ไม่เอาเป็นธุระ.
【 ปล่อยแก่ 】แปลว่า: ก. ถือว่าแก่แล้วไม่เอาธุระในการแต่งตัว; ทําเป็นหนุ่ม.
【 ปล่อยไก่ 】แปลว่า: (ปาก) ก. แสดงความโง่ออกมา.
【 ปล่อยของ 】แปลว่า: ก. ทําพิธีทางไสยศาสตร์ให้ของไปทําร้ายผู้อื่น เช่น เสกหนัง
ควายเข้าท้องศัตรู.
【 ปล่อยใจ 】แปลว่า: ก. เคลิบเคลิ้ม, คิดฝันไป, เช่น ปล่อยใจไปตามอารมณ์.
【 ปล่อยชั่วคราว 】แปลว่า: (กฎ) ก. ปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยจากการควบคุมหรือขัง
ชั่วระยะเวลาหนึ่งในระหว่างการสอบสวนหรือระหว่างการ
พิจารณาของศาล.
【 ปล่อยตัว 】แปลว่า: ก. ไม่เอาธุระในการแต่งตัว; ไม่สงวนตัว; ปล่อยเนื้อปล่อยตัว
ก็ว่า; ให้ตัวละครออกแสดงตามวาระ.
【 ปล่อยตัวปล่อยใจ 】แปลว่า: ว. ใจแตก.
【 ปล่อยนกปล่อยกา 】แปลว่า: (สํา) ก. ปล่อยให้เป็นอิสระ, ไม่เอาผิด, ปล่อยให้พ้นจากความผูกพัน,
ปล่อยลูกนกลูกกา ก็ว่า.
【 ปล่อยเนื้อปล่อยตัว 】แปลว่า: ก. ไม่เอาธุระในการแต่งตัว; ไม่สงวนตัว; ปล่อยตัว ก็ว่า.
【 ปล่อยปละละเลย 】แปลว่า: ก. ไม่เอาใจใส่, ทอดทิ้ง.
【 ปล่อยปลาลงน้ำ 】แปลว่า: (สํา) ก. ปล่อยศัตรูไปแล้วเขาจะไม่นึกถึงบุญคุณ, มักใช้เข้าคู่กับ
ปล่อยเสือเข้าป่า เป็น ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงนํ้า.
【 ปล่อยปลิง 】แปลว่า: ก. เอาปลิงมาวางไว้ตรงที่ที่ต้องการให้ดูดเลือดเสียออก.
【 ปล่อยมือ 】แปลว่า: ก. วางมือ, ไม่เอาเป็นธุระ.
【 ปล่อยเสือเข้าป่า 】แปลว่า: (สํา) ก. ปล่อยศัตรูไปอาจกลับมาทําร้ายภายหลังอีก, มักใช้เข้าคู่
กับ ปล่อยปลาลงนํ้า เป็น ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงนํ้า.
【 ปละ ๑ 】แปลว่า: [ปะละ] น. ชื่อมาตรานํ้าหนักมคธ ๑๐๐ ปละ เป็น ๑ ตุลา, ๒๐ ตุลา
เป็น ๑ ภาระ. (ป., ส.).
【 ปละ ๒ 】แปลว่า: [ปฺละ] ก. ปล่อย, ละทิ้ง, ละเลย, มักใช้เข้าคู่กับคำ ปล่อย เป็น
ปล่อยปละ. ว. เรียกควายที่เจ้าของปล่อยให้เที่ยวไปตามลําพัง
ว่า ควายปละ.
【 ปลัก 】แปลว่า: [ปฺลัก] น. แอ่งที่เป็นโคลนเลน เช่น ปลักควาย.
【 ปลั๊ก, ปลั๊กไฟ 】แปลว่า: [ปฺลั๊ก] น. อุปกรณ์ไฟฟ้ามีขาโลหะ ๒ ขา (บางแบบมี ๓ ขา) ปลาย
ข้างหนึ่งของแต่ละขาตรึงอยู่กับวัตถุหุ้ม ซึ่งเป็นฉนวนไฟฟ้า ใช้เสียบ
เข้ากับเต้ารับเพื่อให้กระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ผ่านเข้าสู่เครื่องใช้ไฟฟ้า
ได้ครบวงจร, เต้าเสียบ ก็เรียก. (อ. plug).
【 ปลัง 】แปลว่า: [ปฺลัง] น. ชื่อไม้เถาชนิด/ Basella alba/ L. ในวงศ์ Basellaceae
ใบอวบนํ้า เถาและใบสีเขียวอ่อนหรือแดง มียางเป็นเมือก ผลสุก
สีม่วงดํา ยอดและดอกอ่อนกินได้และใช้ทํายาได้, ผักปลัง ก็เรียก,
พายัพเรียก ปั๋ง.
【 ปลั่ง 】แปลว่า: [ปฺลั่ง] ว. ผ่องใส, มีนํ้านวล, มักใช้เข้าคู่กับคำ เปล่ง เป็น เปล่งปลั่ง.
【 ปลัด 】แปลว่า: [ปะหฺลัด] น. ผู้มีตำแหน่งหน้าที่รองจากผู้ที่มีตําแหน่งหน้าที่เหนือตน
โดยตรง เช่น ปลัดกระทรวง ปลัดจังหวัด; ตําแหน่งพระฐานานุกรม
เหนือสมุห์.
【 ปลัดขิก 】แปลว่า: [ปะหฺลัด-] น. รูปจำลองอวัยวะเพศชาย มักทำด้วยไม้ ใช้เป็น
เครื่องรางของขลัง, อ้ายขิก ไอ้ขิก หรือ ขุนเพ็ด ก็เรียก.
【 ปลา ๑ 】แปลว่า: [ปฺลา] น. ชื่อสัตว์น้ำเลือดเย็นมีกระดูกสันหลัง ร่างกายแบ่งเป็นส่วน
หัว ลําตัว และหาง ส่วนใหญ่หายใจทางเหงือกยกเว้นปลาปอด มี
ครีบใช้ช่วยในการเคลื่อนไหว บางชนิดมีเกล็ด บางชนิดไม่มี รูปร่าง
ลักษณะ ขนาดและพฤติกรรมแตกต่างกันมากมาย พบในแหล่งนํ้าทั่วไป.
【 ปลากริม 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งต้ม ใส่กะทิและนํ้าตาล.
【 ปลาเกลือ 】แปลว่า: น. ปลาเคล้าเกลือแล้วตากแห้ง, ปลาเค็ม ก็ว่า.
【 ปลาข้องเดียวกัน 】แปลว่า: (สํา) น. คนที่อยู่ร่วมกันหรือเป็นพวกเดียวกัน.
【 ปลาเค็ม 】แปลว่า: น. ปลาเกลือ.
【 ปลาเงินปลาทอง 】แปลว่า: น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด /Carassius auratus/ ในวงศ์ Cyprinidae
ซึ่งมีประวัติการคัดเลือกพันธุ์ในต่างประเทศกันมานานนับ
พันปีจนมีลักษณะรูปร่างแปลกเพื่อเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
หรือปลาปล่อย เกล็ดทั่วลําตัวมักมีสีเงินหรือทอง แต่ก็อาจ
เป็นสีดําหรือด่าง ตัวที่มีสีเหลืองหรือแดงส้ม เรียก ปลาทอง.
【 ปลาจ่อม 】แปลว่า: น. ปลาเล็ก ๆ ที่หมักด้วยเกลือและข้าวคั่วเป็นต้น ใช้เป็นเครื่องจิ้ม.
【 ปลาจีน 】แปลว่า: น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดใหญ่หลายชนิดในวงศ์ Cyprinidae โดยเฉพาะ
ที่ชาวจีนจากประเทศจีนได้นําเข้ามาเลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหาร เช่น
ปลาเฉาฮื้อ (/Ctenopharyngodon idellus/) ปลาซ่งฮื้อ (/Aristichthys/
/nobilis/) ปลาเล่งฮื้อ (/Hypophthalmichthys molitrix/) ทั้งยังอาจ
หมายถึงปลาหลีฮื้อ หรือ ปลาไน (/Cyprinus carpio/) ด้วย.
【 ปลาเจ่า 】แปลว่า: น. ปลาที่หมักด้วยเกลือและข้าวหมากเป็นต้น ใช้เป็นเครื่องจิ้ม.
【 ปลาชา 】แปลว่า: น. ปลาที่จวนจะตายอยู่แล้ว.
【 ปลาแดก 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. ปลาร้า.
【 ปลาแดง 】แปลว่า: น. ชื่อปลานํ้าจืดไม่มีเกล็ด มีหนวด ในสกุล /Kryptopterus/
วงศ์ Cyprinidae เป็นพวกปลาเนื้ออ่อนที่ไม่มีครีบหลัง ลําตัว
ยาวเรียว แบนข้าง ปากกว้างเชิดขึ้นเล็กน้อย ฟันแหลม ลําตัว
ด้านหลังสีนํ้าตาลแดง ด้านข้างสีอ่อนกว่าจนเป็นสีขาวที่ท้อง
เช่น ชนิด /K. apogon /ชะโอน เนื้ออ่อน นํ้าเงิน หรือ นาง ก็เรียก,
ชนิด /K. bleekeri/ นาง หรือ สะงั่ว ก็เรียก.
【 ปลาตกน้ำตัวโต 】แปลว่า: (สํา) น. สิ่งที่เสียหรือสูญหายไปมักดูมีค่ามากเกินความเป็นจริง.
【 ปลาตะเพียน 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์โรหิณี มี ๗ ดวง, ดาวพราหมี หรือ
ดาวคางหมู ก็เรียก; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์เรวดี มี ๑๖ ดวง,
ดาวนาง ก็เรียก; เครื่องแขวนเหนือเปลให้เด็กดูทําด้วยใบ
ตาลเป็นต้น.
【 ปลาติดหลังแห 】แปลว่า: (สํา) น. คนที่พลอยได้รับเคราะห์กรรมร่วมกับผู้อื่น ทั้ง ๆ ที่
ไม่ได้มีส่วนพัวพันด้วย, ปลาติดร่างแห ก็ว่า.ปลาตู้ น. ปลา
ที่เลี้ยงไว้ดูเล่นในตู้กระจก มักเป็นปลาที่มีรูปร่างสวยงาม
มีสีสันต่าง ๆ.
【 ปลาทอง ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 ปลาทอง ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด /Carassius auratus/ ในวงศ์ Cyprinidae
เลี้ยงเป็นปลาสวยงาม มีเกล็ดสีเหลืองหรือสีส้ม, ปลาเงินปลาทอง
ก็เรียก.
【 ปลาแนม 】แปลว่า: น. ชื่อของกินอย่างหนึ่ง ปรุงด้วยข้าวตากคั่วป่น เนื้อปลา
หนังหมู เป็นต้น.
【 ปลาม้ำ 】แปลว่า: น. ปลาร้าญวน ทําด้วยปลาดิบหมักเกลือ ใส่ข้าวคั่ว ใช้เป็นเครื่องจิ้ม.
【 ปลาร้า 】แปลว่า: น. ปลาหมักเกลือใส่ข้าวคั่วใช้เป็นเครื่องจิ้ม.
【 ปลาส้ม 】แปลว่า: น. ปลาหมักด้วยเกลือ ข้าวสุก พริกไทย กระเทียม.
【 ปลาหน้าดิน 】แปลว่า: น. ปลาที่อาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเล เช่น ปลาเห็ดโคน ปลาเก๋า.
【 ปลาหมอตายเพราะปาก 】แปลว่า: (สํา) น. คนที่พูดพล่อยจนได้รับอันตราย.
【 ปลาหมอแถกเหงือก 】แปลว่า: (สำ) ก. กระเสือกกระสนดิ้นรน.
【 ปลาหาง 】แปลว่า: (ราชา) น. ปลาช่อน.
【 ปลาเห็ด 】แปลว่า: น. ทอดมันปลา.
【 ปลาใหญ่กินปลาเล็ก 】แปลว่า: (สํา) น. ประเทศหรือคนที่มีอํานาจหรือผู้ใหญ่ที่กดขี่ข่มเหง
ผู้อ่อนแอหรือผู้น้อย.
【 ปลา ๒ 】แปลว่า: น. ชื่องูในสกุล /Enhydris/ และ/ Homalopsis /วงศ์
Colubridae กินปลา ที่รู้จักกันดี คือ งูสายรุ้ง (E. enhydris).
【 ปลาก 】แปลว่า: ปฺลาก น. ที่, ฝ่าย, ข้าง.
【 ปลาดาว 】แปลว่า: /ดู ดาวทะเล./
【 ปลาดำปลาแดง 】แปลว่า: น. เครื่องเล่นการพนันอย่างหนึ่ง ใช้ไม้ ๓ อัน ทาสีดำ สีแดง และ
สีขาว เจ้ามือกำไม้ทั้ง ๓ อันไว้ แล้วใช้ความไวปัดไม้อันหนึ่งลง
ในกล่อง ให้ลูกค้าแทงสี ถ้าแทงผิดเจ้ามือกิน, ไม้ดำไม้แดง หรือ
อีดำอีแดง ก็เรียก.
【 ปลาต 】แปลว่า: [ปะลาด] ก. หนีไป. (ป.).
【 ปลาบ ๑ 】แปลว่า: [ปฺลาบ] ว. อาการที่รู้สึกแล่นวาบเข้าหัวใจ เช่น เจ็บปลาบ เสียวปลาบ,
โดยปริยายใช้เรียกโรคที่มีอาการเช่นนั้น.
【 ปลาบปลื้ม 】แปลว่า: ก. มีความรู้สึกยินดีแล่นวาบเข้าในใจ.
【 ปลาบ ๒ 】แปลว่า: [ปฺลาบ] น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Commelinaceae
เช่น ชนิด /Commelina benghalensis/ L. ดอกสีนํ้าเงิน, ชนิด /Cyanotis/
/axillaris/ Roem. et Schult. ดอกสีม่วง, ชนิด /Murdannia nudiflora/
Brenan ดอกสีม่วงอ่อน.
【 ปลาบิน 】แปลว่า: /ดู นกกระจอก ๒./
【 ปลาฝา 】แปลว่า: ดู ตะพาบ, ตะพาบนํ้า.
【 ปลาย 】แปลว่า: [ปฺลาย] น. ตอนยอด, ตอนที่สุด.
【 ปลายข้าว 】แปลว่า: น. ข้าวสารที่เมล็ดแตกหรือแหลก.
【 ปลายตีน 】แปลว่า: น. ด้านปลายเท้าของผู้นอน, ตรงข้ามกับ หัวนอน.
【 ปลายแถว 】แปลว่า: น. คนที่อยู่ท้ายแถว, โดยปริยายหมายถึงผู้น้อย, ผู้ที่มี
ความสำคัญน้อย, หางแถว ก็ว่า.
【 ปลายทาง 】แปลว่า: น. สุดทาง.
【 ปลายน้ำ 】แปลว่า: น. สุดลํานํ้า.
【 ปลายมือ 】แปลว่า: น. บั้นปลายของชีวิต. ว. ในที่สุด.
【 ปลายนาการ 】แปลว่า: [ปะลายะนากาน] ก. หนีไป. (ป.).
【 ปลาโลมา 】แปลว่า: /ดู โลมา./
【 ปลาวาฬ 】แปลว่า: /ดู วาฬ./
【 ปลาสเตอร์ 】แปลว่า: น. ผ้ายางปิดแผล; ผงสีขาวคล้ายปูนขาวได้จากการเผายิปซัม
ให้ร้อนถึง ๑๒๐? – ๑๓๐?ซ. เมื่อนําไปผสมกับนํ้าแล้วทิ้งไว้จะ
แข็งตัวได้เร็วมาก ใช้ประโยชน์ในการนําไปทําแม่พิมพ์ รูปปั้น
เป็นต้น หรือพอกอวัยวะไม่ให้เคลื่อนไหวในการรักษากระดูก
หัก. (อ. plaster).
【 ปลาสนาการ 】แปลว่า: [ปะลาดสะนากาน] ก. หนีไป. (ป.).
【 ปลาหมึก 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีขาซึ่งเรียกว่าหนวดอยู่บริเวณหัว
อาศัยอยู่ในทะเล มีถุงบรรจุนํ้าสีดําอย่างหมึกสําหรับพ่นเพื่อพราง
ตัว มีหลายสกุล เช่น ปลาหมึกกระดอง สกุล/ Sepia/ ในวงศ์ Sepiidae,
ปลาหมึกกล้วย สกุล /Loligo /และปลาหมึกหอม (/Sepioteutis/
/lessoniana/) ในวงศ์ Loliginidae, ปลาหมึกสาย สกุล /Octopus /
ในวงศ์ Octopodidae, หมึก ก็เรียก.
【 ปลาไหลเผือก 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด/ Eurycoma longifolia/ Jack
ในวงศ์ Simaroubaceae รากใช้ทํายาได้.
【 ปล้ำ, ปล้ำปลุก 】แปลว่า: [ปฺลํ้า, -ปฺลุก] ก. ใช้แขนกอดรัดจับกุมเพื่อจะให้อีกฝ่ายหนึ่งล้ม หรือ
ให้อยู่ในอํานาจที่จะทําได้ตามใจตน, โดยปริยายหมายความว่า
พยายามทํากิจการอย่างเต็มกําลัง, ปลุกปลํ้า ก็ว่า.
【 ปล้ำผีลุกปลุกผีนั่ง 】แปลว่า: (สํา) ก. พยายามทําให้มีเรื่องมีราวขึ้นมา.
【 ปลิง ๑ 】แปลว่า: [ปฺลิง] น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในวงศ์ Hirudinidae ตัวยืดหด
ได้คล้ายทาก เกาะคนหรือสัตว์เลือดอุ่นเพื่อดูดกินเลือด อาศัยอยู่ใน
น้ำจืด มีหลายชนิด เช่น ชนิด /Hirudo medicinalis,/ /Hirudinaria/
/manillensis;/ เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งสำหรับตอกเพลาะ
กระดานยึดให้แน่นสนิท, เขี้ยวตะขาบ ตะปลิง หรือ ตัวปลิง ก็เรียก.
【 ปลิง ๒ 】แปลว่า: น. ชื่องูนํ้าชนิด /Enhydris plumbea/ ในวงศ์ Colubridae ตัวยาว
ประมาณ ๔๐ เซนติเมตร สีเขียวอมเทา ท้องขาว สามารถดีดตัว
ไปได้ในระยะสั้น ๆ แทนการเลื้อย มีพิษอ่อนมาก.
【 ปลิง ๓ 】แปลว่า: น. ขั้วผลไม้ติดต่อกับก้าน โดยมากเป็นขั้วทุเรียนที่หลุดจากกันได้,
ปากปลิง ก็เรียก.
【 ปลิงทะเล 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในชั้น Holothuroidea ลำตัวยาว
อ่อนนุ่ม รูปร่างทรงกระบอกยืดหดได้ หัวท้ายยาวรี อาศัยอยู่ใน
ทะเล บางชนิดรับประทานได้ เช่น ปลิงขาว (/Holothuria scabra/)
ปลิงดํา (/H. atra/) ในวงศ์ Holothuriidae.
【 ปลิด 】แปลว่า: [ปฺลิด] ก. เอามือบิดให้ลูกไม้หลุดจากขั้ว, ทําให้หลุดจากที่.
【 ปลิ้น 】แปลว่า: [ปฺลิ้น] ก. กลับข้างในบางส่วนให้โผล่ออกมา เช่น ปลิ้นตา, โผล่ยื่น
หรือทําให้โผล่ยื่นออกมาจากสิ่งที่มีอะไรห่อหุ้มอยู่ เช่น พุงปลิ้น
ตาปลิ้น; (ปาก) ลักลอบหรือหลอกลวงเอาไปซึ่งหน้า เช่น
ปลิ้นเอาเงินไป.
【 ปลิ้นปลอก, ปลิ้นปล้อน 】แปลว่า: ก. ใช้อุบายล่อลวงเพื่อให้สําเร็จประโยชน์ตน.
【 ปลิโพธ 】แปลว่า: [ปะลิโพด] น. ความกังวล, ความห่วงใย. (ป.).
【 ปลิม, ปลิ่ม 】แปลว่า: [ปะลิม, ปะหฺลิ่ม] น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง, บหลิ่ม ประหลิ่ม
ปะวะหลิ่ม ปะหลิ่ม หรือ มะหลิ่ม ก็ว่า.
【 ปลิว 】แปลว่า: [ปฺลิว] ก. ลอยตามลม, ถูกลมพัด, (ใช้แก่สิ่งที่มีลักษณะเบา), โดย
ปริยายใช้เป็นคําเปรียบเทียบ มีความหมายคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น
เดินตัวปลิว.
【 ปลี 】แปลว่า: [ปฺลี] น. ช่อดอกของกล้วยที่ยังมีกาบหุ้มอยู่; กล้ามเนื้อที่มีรูปลักษณะ
อย่างหัวปลี เช่น ปลีน่อง; ยอดเจดีย์หรือยอดมณฑปเหนือปล้องไฉน
หรือบัวกลุ่มขึ้นไป.
【 ปลีแข้ง 】แปลว่า: น. ลําแข้ง.
【 ปลีก 】แปลว่า: [ปฺลีก] ก. แยกหรือหลีกออกจากหมู่จากพวกไป, ย่อยออกไปจาก
ส่วนใหญ่ เช่น ขายปลีก เงินปลีก.
【 ปลีกตัว 】แปลว่า: ก. แยกตัวออกมา.
【 ปลีกย่อย 】แปลว่า: ว. เบ็ดเตล็ด, เล็กน้อย.
【 ปลีกเวลา 】แปลว่า: ก. เจียดเวลาเพื่อมาทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งนอกเหนือจากงานที่ทําอยู่.
【 ปลื้ม 】แปลว่า: [ปฺลื้ม] ก. เบิกบานยินดีมาก.
【 ปลุก 】แปลว่า: [ปฺลุก] ก. ทําให้ตื่นจากหลับ, ทําให้ได้สติรู้สึกตัว, กระตุ้นให้เกิด
แรงกําลัง ความขลัง และความกล้าแข็ง เป็นต้น.
【 ปลุกใจ 】แปลว่า: ก. เร้าใจให้กล้าหาญหรือกระตือรือร้น.
【 ปลุกตัว 】แปลว่า: ก. นั่งเข้าสมาธิแล้วบริกรรมคาถา เพื่อให้อยู่คงกระพันชาตรี.
【 ปลุกปล้ำ 】แปลว่า: ก. ปลํ้า, ปลํ้าปลุก.
【 ปลุกปั่น 】แปลว่า: ก. ยุยงให้แตกแยกกัน.
【 ปลุกผี 】แปลว่า: ก. นั่งบริกรรมคาถาจนกระทั่งผีลุกขึ้นมาหรือปรากฏกาย เพื่อใช้
ให้ไปทําประโยชน์ตามที่ตนปรารถนา หรือเพื่อลนเอานํ้ามันจาก
คางผีตายทั้งกลม ที่เรียกกันว่า น้ำมันพราย สำหรับดีดให้หญิง
หลงรัก; รื้อฟื้นเรื่องที่ยุติไปแล้วขึ้นมาใหม่ เช่น ปลุกผีคอมมิวนิสต์.
【 ปลุกพระ 】แปลว่า: ก. บริกรรมคาถาเสกพระเครื่องเพื่อให้เกิดความขลัง.
【 ปลุกระดม 】แปลว่า: ก. เร้าใจและยุยงให้ประชาชนลุกฮือขึ้น.
【 ปลุกเสก 】แปลว่า: ก. เสกให้ขลัง.
【 ปลูก 】แปลว่า: [ปฺลูก] ก. เอาต้นไม้หรือเมล็ด หน่อ หัว เป็นต้น ใส่ลงในดินหรือ
สิ่งอื่นเพื่อให้งอกหรือให้เจริญเติบโต, ทําให้เจริญเติบโต, ทําให้
งอกงาม เช่น ปลูกไมตรี เช่น ปลูกไมตรี; เอาสิ่งต่าง ๆ มาปรุงกัน
เข้าเพื่อทําเป็นที่อยู่หรือที่พักอาศัย โดยวิธีฝังเสาลงในดิน เช่น
ปลูกบ้าน ปลูกเรือน, ปลูกสร้าง ก็ว่า, โดยปริยายหมายถึงการ
กระทําที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปลูกพลับพลายก.
【 ปลูกฝัง 】แปลว่า: ก. ตกแต่งให้มีเหย้ามีเรือน; บํารุงให้เจริญมั่นคง.
【 ปลูกฝี 】แปลว่า: ก. นําวัคซีนเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังตรงรอยที่กรีดไว้ เพื่อ
ให้มีภูมิคุ้มกันโรคฝีดาษ.
【 ปลูกเรือนคร่อมตอ 】แปลว่า: (สํา) ก. กระทําสิ่งซึ่งล่วงลํ้า ก้าวก่าย หรือทับสิทธิของผู้อื่น
จะโดยรู้เท่าถึงการณ์หรือไม่ก็ตาม.
【 ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ 】แปลว่า: (สํา) ก. ทําตามความพอใจของผู้ที่จะได้รับผลโดยตรง, มักพูด
เข้าคู่กับ ผูกอู่ตามใจผู้นอน เป็น ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่
ตามใจผู้นอน.
【 ปลูกเรือนพอตัว หวีหัวพอเกล้า 】แปลว่า: (สํา) ก. ทําสิ่งใด ๆ ให้พอสมควรกับฐานะของตน, ปลูกเรือน
แต่พอตัว หวีหัวแต่พอเกล้า ก็ว่า.
【 ปลูกสร้าง 】แปลว่า: ก. เอาสิ่งต่าง ๆ มาปรุงกันเข้าเพื่อทำเป็นที่อยู่หรือที่พักอาศัยโดย
วิธีฝังเสาลงในดิน เช่น ปลูกสร้างบ้าน ปลูกสร้างเรือน, ปลูก ก็ว่า.
【 ปวกเปียก 】แปลว่า: ว. อ่อนกําลังจนแทบไม่อาจจะทรงตัวได้ตามลําพัง, กะปวกกะเปียก
ก็ว่า.
【 ปวง 】แปลว่า: ว. ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, เช่น ปวงชน, มักใช้เข้าคู่กับคํา ทั้ง เป็น ทั้งปวง
เช่น ชนทั้งปวง.
【 ป่วง 】แปลว่า: น. โรคลงราก, โรคระบาดมีอาการให้ท้องร่วงและอาเจียน.
【 ปวด 】แปลว่า: ก. รู้สึกเจ็บต่อเนื่องอยู่ในร่างกาย เช่น ปวดหัว ปวดท้องเยี่ยว ปวดฟัน.
【 ปวดถ่วง 】แปลว่า: ก. ปวดหน่วง ๆ บริเวณท้องน้อยคล้ายต้องการถ่ายอุจจาระ.
【 ปวดท้องทุ่ง 】แปลว่า: ก. ต้องการถ่ายอุจจาระ.
【 ปวดท้องเบา, ปวดท้องเยี่ยว 】แปลว่า: ก. ต้องการถ่ายปัสสาวะ.
【 ปวดมวน 】แปลว่า: ก. รู้สึกปวดป่วนปั่นอยู่ในท้อง.
【 ปวดร้าว 】แปลว่า: ก. เจ็บปวดไปทั่ว, เจ็บชํ้านํ้าใจ.
【 ปวดเศียรเวียนเกล้า 】แปลว่า: (สํา) ก. เดือดร้อนรําคาญใจเพราะมีเรื่องยุ่งยากมากจนแก้ไม่ทัน.
【 ปวดแสบปวดร้อน 】แปลว่า: ก. รู้สึกเจ็บเช่นเมื่อถูกไฟหรือนํ้าร้อนลวก.
【 ป่วน 】แปลว่า: ก. มวน, อลวน, อาการที่ปวดมวนอยู่ในท้องเพราะอาหารเป็นเหตุ.
【 ป่วนปั่น 】แปลว่า: ก. เคลื่อนไหวไปมาอย่างรุนแรงผิดปรกติ เช่น ทะเลป่วนปั่น,
สับสนวุ่นวายผิดปรกติ เช่น ใจคอป่วนปั่น ท้องป่วนปั่น บ้านเมือง
ป่วนปั่น, ปั่นป่วน ก็ว่า.
【 ป้วน, ป้วนเปี้ยน 】แปลว่า: ว. วนเวียนกลับไปกลับมา.
【 ป่วย 】แปลว่า: ก. รู้สึกไม่สบายเพราะโรคหรือความไข้หรือเหตุอื่นที่ทําให้รู้สึก
เช่นนั้น.
【 ป่วยกล่าว 】แปลว่า: ก. เสียเวลาพูด เช่น จะป่วยกล่าวไปไย.
【 ป่วยการ 】แปลว่า: ก. เสียงานเสียการ, ไร้ประโยชน์, เช่น ป่วยการพูด. ว. เรียกค่า
ชดเชยการงานหรือเวลาที่เสียไปว่า ค่าป่วยการ.
【 ปวัตน-, ปวัตน์ 】แปลว่า: [ปะวัดตะนะ-, ปะวัด] น. ความเป็นไป. (ป.).
【 ปวัตนาการ 】แปลว่า: น. อาการที่เป็นไป.
【 ปวัตนาการ 】แปลว่า: /ดู ปวัตน-, ปวัตน์./
【 ปวารณา 】แปลว่า: [ปะวาระนา] ก. ยอมให้ภิกษุสามเณรขอหรือเรียกร้องเอาได้ เช่น
ขอของจากผู้ปวารณา ใบปวารณา; บอกยอมให้ใช้ได้ด้วยความ
เต็มใจ เช่น ขอปวารณาจะใช้อะไรก็บอก; พิธีกรรมทางศาสนา
ยอมให้สงฆ์ว่ากล่าวตักเตือนได้ ทําในวันขึ้น ๑๕ คํ่า เดือน ๑๑
ซึ่งเป็นวันออกพรรษา, เรียกวันออกพรรษาว่า วันปวารณา หรือ
วันมหาปวารณา. (ป.).
【 ปวาล 】แปลว่า: [ปะวาน] น. ประวาล. (ป.; ส. ปฺรวาล).
【 ปวาส 】แปลว่า: [ปะวาด] ก. ประพาส. (ป.; ส. ปฺรวาส).
【 ปวาฬ 】แปลว่า: [ปะวาน] น. ประพาฬ. (ป.; ส. ปฺรวาฑ).
【 ปวิช 】แปลว่า: [ปะวิด] น. ประวิช.
【 ปวิตร 】แปลว่า: [ปะวิด] น. บพิตร.
【 ปวิธ 】แปลว่า: [ปะวิด] ก. บพิธ. (ป. ป + วิ + ธา).
【 ปวิเวก 】แปลว่า: [ปะวิเวก] น. ที่สงัดเงียบ. (ป.).
【 ปวีณ 】แปลว่า: [ปะวีน] ว. ฉลาด, มีฝีมือดี. (ป.).
【 ปวุติ 】แปลว่า: [ปะวุดติ] น. ความเป็นไป, เรื่องราว. (ป. ปวุตฺติ).
【 ปเวณี 】แปลว่า: [ปะ-] น. ขนบธรรมเนียม, แบบแผน; เชื้อสาย, การเป็นสามีภรรยากัน
ตามธรรมเนียม. (ป.; ส. ปฺรเวณิ).
【 ปเวส, ปเวสน์ 】แปลว่า: [ปะเวด] น. ประเวศ, ประเวศน์. (ป.; ส. ปฺรเวศ, ปฺรเวศน).
【 ปศุ 】แปลว่า: [ปะสุ] น. สัตว์เลี้ยงสําหรับใช้แรงงาน เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย
บางทีก็รวมถึงสัตว์เลี้ยงที่ใช้เป็นอาหารด้วย เช่น แพะ แกะ หมู,
มักใช้ประกอบคํา สัตว์ เป็น ปศุสัตว์. (ส.; ป. ปสุ).
【 ปสพ 】แปลว่า: ปะสบ น. สัตว์เลี้ยง; ของที่เกิดขึ้น, ของที่มีขึ้น; ดอกไม้,
ลูกไม้. (ป. ปสุ, ปสว).
【 ปสันน-, ปสันนะ 】แปลว่า: ปะสันนะ ก. เลื่อมใส. (ป.).
【 ปสันนาการ 】แปลว่า: น. อาการเลื่อมใส. (ป.).
【 ปสัยห-, ปสัยหะ 】แปลว่า: ปะไสหะ ก. ข่มขี่, ข่มเหง. (ป.).
【 ปสัยหาการ 】แปลว่า: น. การข่มเหง. (ป.).
【 ปสัยหาวหาร 】แปลว่า: [-หาวะหาน] น. การโจรกรรมด้วยใช้อํานาจกดขี่หรือกรรโชกให้กลัว.
【 ปสัยหาการ 】แปลว่า: /ดู ปสัยห-, ปสัยหะ./
【 ปสัยหาวหาร 】แปลว่า: /ดู ปสัยห-, ปสัยหะ./
【 ปสาท 】แปลว่า: [ปะ-] น. ประสาท. (ป.; ส. ปฺรสาท).
【 ปสาน 】แปลว่า: [ปะ-] น. ตลาดของแห้ง, ที่ขายของแห้ง.
【 ปสาสน์ 】แปลว่า: [ปะ-] น. ประศาสน์. (ป.; ส. ปฺรศาสน).
【 ปสุ 】แปลว่า: [ปะสุ] น. ปศุ. (ป.; ส. ปศุ).
【 ปสุต 】แปลว่า: [ปะ-] ก. ประสูต. (ป.; ส. ปฺรสูต).
【 ปสูติ 】แปลว่า: [ปะสูด] น. ประสูติ. (ป.; ส. ปฺรสูติ).
【 ปหังสนะ, ปหังสะ 】แปลว่า: [ปะหังสะนะ, -สะ] น. การรื่นเริง. (ป.).
【 ปหาน 】แปลว่า: [ปะ-] ก. ละทิ้ง. (ป.; ส. ปฺรหาณ).
【 ปหาร 】แปลว่า: [ปะ-] น. ประหาร. (ป.; ส. ปฺรหาร).
【 ปหาส 】แปลว่า: [ปะ-] น. ประหาส. (ป.; ส. ปฺรหาส).
【 ปอ ๑ 】แปลว่า: น. เส้นใยที่ทําจากเปลือกไม้บางชนิด เช่น ปอแก้ว ปอกระเจา.
【 ปอ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ที่เปลือกใช้ทําปอ
เช่น ปอกระเจา (/Corchorus capsularis/ L. และ /C. olitorius/ L.)
ในวงศ์ Tiliaceae, ปอกระสา [/Broussonetia papyrifera/ (L.)
Vent.] ในวงศ์ Moraceae, ปอแก้ว (/Hibiscus cannabinus/ L.)
ในวงศ์ Malvaceae, ปอสําโรง (/Sterculia foetida/ L.) ในวงศ์
Sterculiaceae.
【 ปอ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อแมลงหลายชนิดและหลายวงศ์ในอันดับ Odonata หัวและอก
สั้นป้อม ส่วนท้องแคบและยาว หนวดสั้นเล็กมองคล้ายขน ตาโต
ใหญ่ ๒ ข้างดูเต็มหัว ปีก ๒ คู่ ขนาดเท่า ๆ กันหรือโตกว่ากันเล็กน้อย
ลักษณะยาว บางใส มีเส้นปีกมากมาย อาจมีสีต่าง ๆ เช่น ส้ม เหลือง
หรือนํ้าเงิน, แมลงปอ ก็เรียก.
【 ป้อ 】แปลว่า: ว. อาการของไก่ที่คึกกรีดปีกไปมา, มีอาการกรีดกราย หยิบหย่ง;
อ่อน เช่น ไข่ป้อ; ป๋อ.
【 ป๋อ 】แปลว่า: ก. แสดงอาการโดยจงใจหรือไม่จงใจให้เห็นเด่น ผึ่งผาย องอาจ
หรือคล้ายคลึงเช่นนั้น.
【 ปอก 】แปลว่า: ก. เอาเปลือกหรือสิ่งที่ห่อหุ้มออก, ถ้าเป็นผิวนอก ใช้ว่า ถลอก ก็ได้
เช่น หัวปอก พูดว่า หัวถลอก.
【 ปอกกล้วยเข้าปาก 】แปลว่า: (สํา) ว. ง่าย, สะดวก.
【 ปอกลอก 】แปลว่า: ว. ทําให้เขาหลงเชื่อแล้วล่อลวงเอาทรัพย์เขาไป.
【 ปอง ๑ 】แปลว่า: ก. มุ่งปรารถนา.
【 ปอง ๒ 】แปลว่า: น. เสาเตี้ย ๆ สําหรับผูกเท้าหลังของช้าง เช่น ผูกช้างยืนโรง
ผูกช้างในการเล่นผัดช้าง เรียกว่า เสาปอง.
【 ป่อง ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อแมงหลายชนิดและหลายวงศ์ในอันดับ Scorpionida หัวติด
กับอกเป็นส่วนเดียวกัน รูปร่างค่อนไปทางสี่เหลี่ยมยาว ส่วนท้อง
เป็นปล้อง ๆ ขนาดไล่เลี่ยกับอก ๗-๘ ปล้อง ส่วนที่เหลือเล็กลงต่อ
กันยาวคล้ายหาง ที่ปลายมีเหล็กในสามารถต่อยให้เจ็บปวดได้ มีขา
๔ คู่ ด้านหน้ามีส่วนของปากขยายใหญ่โตกว่าขา ลักษณะเหมือน
ก้ามปูใช้สําหรับจับเหยื่อ.
【 ป่อง ๒ 】แปลว่า: ว. ตุงเป็นกระพุ้งออกมา เช่น พุงป่อง.
【 ป่อง ๓, ป่อง ๆ 】แปลว่า: ว. อาการของคนโกรธแกมงอน ในคําว่า โกรธป่อง ๆ.
【 ป่องร่า 】แปลว่า: (โบ) น. อาการของคนคะนองไม่กลัวใคร ชวนวิวาทกับผู้อื่น.
(ปรัดเล).
【 ป่อง ๔ 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. ปล่อง, ช่อง, ล่อง.
【 ป้อง 】แปลว่า: ก. บังเพื่อกักหรือกั้นไว้.
【 ป้องกัน 】แปลว่า: ก. กั้นไว้เพื่อต้านทานหรือคุ้มครอง.
【 ปอด ๑ 】แปลว่า: (สรีร) น. อวัยวะทําหน้าที่เกี่ยวกับการหายใจอยู่ภายในร่างกาย
ของคนหรือสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังเป็นส่วนมาก; ตัวสกาที่ข้าม
เขตไปไม่ได้. ว. กลัวจนไม่กล้าทำอะไร.
【 ปอดชื้น 】แปลว่า: น. การอักเสบของหลอดลมที่มีเสมหะอยู่ด้วย ทางแพทย์หมายถึง
การคั่งของเลือดในปอดเนื่องจากการอักเสบ เป็นช่องทางให้เกิด
ปอดบวมได้.
【 ปอดบวม 】แปลว่า: น. ปอดอักเสบเนื่องจากเชื้อโรค.
【 ปอดแปด 】แปลว่า: ว. อ่อนน่วมอยู่ภายใน, มักใช้ประกอบกับคํา เหลว เป็น เหลว
ปอดแปด; อาการที่บ่นไม่รู้จักจบ, กระปอดกระแปด ก็ว่า.
【 ปอดลอย 】แปลว่า: (ปาก) ก. ใจไม่สู้ดีชักจะหวาด ๆ, ใช้ว่า ปอด ก็มี.
【 ปอดเหล็ก 】แปลว่า: น. เครื่องกลไกสร้างด้วยโลหะ ใช้ทําให้เกิดการบีบและขยาย
ของทรวงอกในการหายใจแทนการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติ
ในเมื่อมีอัมพาตของกล้ามเนื้อ เช่นในโรคโปลิโอ. (ปาก) ก. อดทน
แข็งแรง (ใช้แก่นักกีฬาประเภทวิ่ง).
【 ปอด ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Sphenoclea zeylanica/ Gaertn. ในวงศ์
Sphenocleaceae ขึ้นตามที่ลุ่มนํ้าขัง ลําต้นอ่อน ดอกสีเขียว ๆ
ขาว ๆ ใช้ทํายาได้, ผักปุ่มปลา ก็เรียก.
【 ปอด ๓ 】แปลว่า: ว. ลักษณะก้นที่สอบและแฟบ เรียกว่า ก้นปอด, โดยปริยายใช้เรียก
สิ่งอื่นที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น มะม่วงก้นปอด.
【 ปอน, ปอน ๆ 】แปลว่า: ว. ซอมซ่อ, มีลักษณะประหนึ่งว่าอัตคัด ขัดสน เช่น แต่งตัวปอน;
เรียกของเลว ๆ ว่า ของปอน ๆ.
【 ป้อน 】แปลว่า: ก. เอาอาหารส่งให้ถึงปากหรือใส่ปากให้กิน, โดยปริยายหมายถึง
กิริยาอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอาเงินป้อน; ส่งวัตถุดิบแก่
โรงงานเพื่อให้เครื่องจักรผลิตเป็นสิ่งสําเร็จรูปหรือทําให้เครื่องจักร
เกิดพลังงาน.
【 ปอนด์ 】แปลว่า: น. ชื่อหน่วยเงินตราของอังกฤษเท่ากับ ๑๐๐ เพนซ์, ปอนด์สเตอร์ลิง
ก็เรียก; ชื่อหน่วยมาตราชั่งของอังกฤษ เท่ากับ ๔๕๔ กรัม หรือ ๑๖
ออนซ์; เรียกกระดาษฟอกเนื้อดี สีขาว ที่ใช้พิมพ์หนังสือ มีคุณภาพ
ดีกว่ากระดาษปรู๊ฟ ว่า กระดาษปอนด์. (อ. pound).
【 ปอเนาะ 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. โรงเรียนที่สอนหนังสือและอบรมศาสนาอิสลาม.
【 ปอบ 】แปลว่า: น. ผีชนิดหนึ่งเชื่อกันว่าสิงอยู่ในตัวคน กินตับไตไส้พุงจนหมด
แล้วออกไป คนนั้นก็ตาย.
【 ป้อแป้ 】แปลว่า: ว. อาการที่อ่อนแรงลง, มีกำลังน้อย.
【 ปอม 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. กิ้งก่า. /(ดู กิ้งก่า)./
【 ปอมข่าง 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. ชื่อกิ้งก่าขนาดใหญ่ชนิด /Calotes mystaceus/
ในวงศ์ Agamidae หัวสีนํ้าเงิน แต่บางครั้งเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาลได้,
ปอมขาง หรือ กะปอมขาง ก็เรียก.
* *
【 ป้อม ๑ 】แปลว่า: น. หอรบ; ที่อยู่หรือที่พักซึ่งทำขึ้นใช้กันแดดกันฝน เช่น ป้อมตำรวจ.
【 ป้อมบังคับการ 】แปลว่า: (โบ) น. ที่ซึ่งมีที่กําบังแข็งแรงสําหรับใช้ในการควบคุมการใช้
อาวุธและสั่งการเดินเรือในยามสงคราม.
【 ป้อม ๒, ป้อม ๆ 】แปลว่า: ว. กลม ๆ.
【 ป๋อม 】แปลว่า: ว. เสียงดังอย่างของมีนํ้าหนักตกนํ้า, โดยปริยายหมายถึงอาการที่
สูญหายไปอย่างของตกนํ้า เช่น หายป๋อมไปเลย.
【 ปอมขาง 】แปลว่า: /ดู ปอมข่าง ที่ ปอม./
【 ปอย ๑ 】แปลว่า: น. กลุ่มก้อนหรือกระจุกเล็ก ๆ ของสิ่งที่เป็นเส้นเป็นฝอยอย่างเส้นด้าย
หญ้า ผม หรือขน เช่น ปอยผม, ลักษณนามเรียกกระจุกหรือกลุ่มก้อน
ของสิ่งเช่นนั้น เช่น ผมปอยหนึ่ง ผม ๒ ปอย.
【 ปอย ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. งานพิธีต่าง ๆ, ถ้างานใหญ่ เช่นประเพณีฉลองการ
สร้างถาวรวัตถุของวัด เรียกว่า ปอยหลวง, ถ้างานเล็ก เช่นงานบวช
เรียกว่า ปอยน้อย.
【 ป้อย ๑ 】แปลว่า: (ถิ่น) ก. แช่ง, ด่า.
【 ป้อย ๒ 】แปลว่า: ว. แล้ว ๆ เล่า ๆ, มักใช้เข้าคู่กับคำ คลํา เมื่อรู้สึกเจ็บ ว่า คลําป้อย,
ป้อย ๆ ก็ว่า.
【 ป้อยอ 】แปลว่า: ก. ตามใจหรือเอาใจจนเกินไป, ยกย่องเยินยอจนเกินพอดี,
บํารุงบําเรอจนเกินไป.
【 ปอเลียงฝ้าย 】แปลว่า: /ดู เลียงฝ้าย./
【 ปะ 】แปลว่า: ก. มาเจอกัน, มาประเชิญหน้ากัน; เอาวัตถุเช่นผ้าหรือไม้เป็นต้นปิดทับ
ส่วนที่ชํารุดเป็นช่องเป็นรู เช่น ปะผ้า ปะว่าว, ปิดทับ เช่น ปะหน้า.
ปะว่า สัน. ถ้าว่าเจอ.
【 ปะกน 】แปลว่า: น. ไม้ลูกสกัดฝาเรือนสําหรับเอากระดานกรุ, ลูกปะกน ก็เรียก.
【 ปะกัง 】แปลว่า: น. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง ตามตําราแพทย์แผนโบราณว่า ทําให้มีอาการ
ปวดหัวเวลาเช้า ๆ ปวดกระบอกตา เมื่อเห็นแดดจะลืมตาไม่ขึ้น
เรียกว่า ลมปะกัง, ตะกัง ก็ว่า.
【 ปะกาปะกัง 】แปลว่า: ว. เก้ ๆ กัง ๆ, งก ๆ เงิ่น ๆ.
【 ปะการัง 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง จําพวกเดียวกับดอกไม้ทะเล
แต่ละตัวมีรูปร่างทรงกระบอก ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กอยู่รวมกันเป็น
กระจุก สร้างหินปูนออกมาพอกทับถมกันเป็นโครงรูปร่างต่าง ๆ
อาศัยและเจริญเติบโตในทะเลตื้นเขตร้อน ที่พบมากในน่านนํ้าไทย
คือ ชนิด /Porites lutea /และ ปะการังเขากวาง ในสกุล/ Acropora,/
โครงสร้างของตัวปะการังที่เกาะติดอยู่กับที่และมีซากปะการังตาย
ทับถมเพิ่มพูนขึ้นตามลําดับ เรียกว่า หินปะการัง, ถ้ามากจนเป็นโขด
เกาะ หรือ เทือก ก็เรียกว่า โขดปะการัง เกาะปะการัง หรือ เทือก
ปะการัง, บางทีเรียกเป็น กะรัง.
【 ปะกำ 】แปลว่า: น. ไม้ที่ทําเป็น ๒ ขาสําหรับคาบไม้อื่น, ลูกตั้งฝาที่คาบพรึง.
【 ปะขาว 】แปลว่า: น. ชายผู้จําศีลนุ่งห่มผ้าขาว, ลักษณนามว่า คน; (โบ) ตําแหน่ง
ข้าราชการชั้นขุนหมื่นพวกหนึ่ง, คู่กับ ประแดง.
【 ปะงับปะง่อน 】แปลว่า: ว. ปะหงับปะง่อน.
【 ปะงาบ, ปะงาบ ๆ 】แปลว่า: ว. อาการที่อ้าปากแล้วหุบปาก, อาการที่หายใจทางปาก (เป็นอาการ
ของคนและสัตว์ที่เหนื่อยหอบหรือใกล้จะตาย), งาบ ๆ พะงาบ หรือ
พะงาบ ๆ ก็ว่า.
【 ปะตาปา 】แปลว่า: น. นักบวช. (ช.).
【 ปะตาระกาหลา 】แปลว่า: [-หฺลา] น. เทวดาผู้ใหญ่. (ช.).
【 ปะติดปะต่อ 】แปลว่า: ก. เอาสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ มาติดมาต่อกัน.
【 ปะติยาน 】แปลว่า: น. กระจัง ๒ ข้างพระราชยาน.
【 ปะเตะ 】แปลว่า: ก. เตะ, ฟาดด้วยหลังเท้า.
【 ปะทะ 】แปลว่า: ก. โดนกัน, กระทบกัน, เช่น เรือปะทะกัน ข้างเรือปะทะกัน, ประจัญกัน
เช่น กองทัพปะทะกัน, ต้านไว้ เช่น ยกทัพไปปะทะข้าศึก.
【 ปะทะปะทัง 】แปลว่า: ก. พยุงไว้, ทานไว้, ประคองไว้.
【 ปะทุ 】แปลว่า: ก. แตกหรือผุดออกมาด้วยแรงเบ่งดัน เช่น ภูเขาไฟปะทุ ถ่านปะทุ;
โดยปริยายหมายถึงกิริยาที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เพ่งจนตาจะปะทุ.
【 ปะทุน 】แปลว่า: ดู กะทุน.
【 ปะบุก 】แปลว่า: น. เรียกงูกะปะที่มีสีคลํ้าว่า งูปะบุก.
【 ปะปน 】แปลว่า: ก. ปนกัน (มักใช้ในลักษณะที่สิ่งต่างชนิดต่างประเภทระคนปนกัน),
บางทีก็ใช้หมายความอย่างเดียวกับ ปน.
【 ปะราลี 】แปลว่า: น. บราลี.
【 ปะรำ 】แปลว่า: น. สิ่งปลูกสร้างขึ้นชั่วคราว มีเสา หลังคาแบนดาดด้วยผ้าหรือใบไม้.
【 ปะไร 】แปลว่า: ตัดจากคำว่า เป็นไร. /(ดูที่ เป็นไร ในคำ เป็น)./
【 ปะลอม 】แปลว่า: ก. กิน, กินมูมมาม, กินโดยตะกละตะกลาม.
【 ปะเลง 】แปลว่า: น. การรำเบิกโรงอย่างโบราณ ผู้แสดงแต่งเครื่องละครตัวพระคู่หนึ่ง
สวมหน้าเทพบุตรศีรษะโล้น มือทั้ง ๒ ถือหางนกยูงข้างละกำ รำออก
ท่าประกอบดนตรี.
【 ปะแล่ม, ปะแล่ม ๆ 】แปลว่า: ว. อ่อน ๆ น้อย ๆ (ส่วนมากใช้แก่สิ่งที่มีรสหวาน) เช่น หวาน
ปะแล่ม ๆ.
【 ปะโลง 】แปลว่า: น. ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง ใช้ทํายาได้. (พจน. ๒๔๙๓).
【 ปะวะหล่ำ 】แปลว่า: น. ประหลํ่า.
【 ปะวะหลิ่ม 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง, บหลิ่ม ปลิม ปลิ่ม ประหลิ่ม ปะหลิ่ม
หรือ มะหลิ่ม ก็ว่า.
【 ปะเสหรันอากง 】แปลว่า: [-หฺรันอากง] น. วังลูกหลวง. (ช.).
【 ปะหงับ, ปะหงับ ๆ 】แปลว่า: ว. อาการที่ปากอ้าและหุบลงเหมือนอยากจะพูดแต่ไม่มีเสียง,
อาการที่ทำปากหงับ ๆ อย่างอาการของผู้ป่วยใกล้จะตาย เช่น
นอนเจ็บปะหงับ ๆ.
【 ปะหงับปะง่อน 】แปลว่า: ว. อาการที่โงนเงนทรงตัวไม่อยู่เพราะเจ็บป่วยเป็นต้น, ปะงับปะง่อน
ก็ว่า.
【 ปะหนัน 】แปลว่า: [-หฺนัน] น. ดอกลําเจียก. (ช.).
【 ปะหมันอาหยี 】แปลว่า: [-หฺมัน-หฺยี] น. น้า. (ช.).
【 ปะหลิ่ม 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง, บหลิ่ม ปลิม ปลิ่ม ประหลิ่ม ปะวะหลิ่ม
หรือ มะหลิ่ม ก็ว่า.
【 ปะหัง 】แปลว่า: น. เครื่องใช้ทําด้วยไม้ไผ่ผ่าซีกขัดเป็นวงสําหรับใส่หญ้าให้
วัวควายกิน.
【 ปะเหลาะ, ปะเหลาะปะแหละ 】แปลว่า: ก. พูดจาหว่านล้อมเอาอกเอาใจ เช่น ผู้ใหญ่ปะเหลาะเด็ก,
ภาพ หรือ เครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทําให้ปรากฏ
ด้วยวิธีอื่น เพื่อแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบ
การค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ หรือโฆษณาการค้า
หรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้.
【 ป้าย ๒ 】แปลว่า: ก. ทําให้ติดเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง, ทาอย่างหยาบ ๆ ไม่ต้องการประณีต
บรรจง, ทําให้เปรอะเปื้อนด้วยอาการคล้ายเช่นนั้น, โดยปริยาย
หมายถึงลักษณะอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ป้ายความผิดให้ผู้อื่น.
【 ป้ายสี 】แปลว่า: ก. ใส่ความผู้อื่นโดยไม่มีมูลความจริง, ให้ร้ายป้ายสี ก็ว่า.
【 ปายาส 】แปลว่า: [ปายาด] น. ข้าวชนิดหนึ่งที่หุงเจือด้วยนํ้านมและนํ้าตาล,
ข้าวเปียกเจือนม. (ป.).
【 ปาร- 】แปลว่า: [ปาระ-] น. ฝั่ง, ฝั่งตรงข้าม; ที่สุด; นิพพาน. (ป., ส.).
【 ปารคู 】แปลว่า: น. ผู้ถึงฝั่ง คือผู้เรียนวิชาจบ ได้แก่ พราหมณ์ผู้เรียนจบไตรเพท
หรือพระขีณาสพผู้อยู่จบพรหมจรรย์. (ป.).
【 ปาร์เกต์ 】แปลว่า: น. แผ่นไม้เล็ก ๆ ที่ใช้ปูพื้นห้องสลับกันเป็นลายต่าง ๆ. (ฝ. parquet).
【 ปารมี 】แปลว่า: ปาระ- น. บารมี. (ป.).
【 ปารเมศ 】แปลว่า: (กลอน) น. บารมี.
【 ปารเมศ 】แปลว่า: /ดู ปารมี./
【 ปารษณี 】แปลว่า: ปาดสะนี น. ส้นเท้า. (ส. ปารฺษฺณิ; ป. ปาสณิ, ปณฺหิ).
【 ปาราชิก 】แปลว่า: น. ชื่ออาบัติหนักที่สุดในพระวินัย เมื่อภิกษุล่วงละเมิดแม้เพียงข้อใด
ข้อหนึ่งต้องขาดจากความเป็นภิกษุทันที บวชเป็นภิกษุอีกไม่ได้
มี ๔ ข้อ คือ ๑. เสพเมถุน ๒. ลักทรัพย์ ๓. ฆ่ามนุษย์ ๔. อวด
อุตริมนุสธรรม. ว. ผู้ละเมิดอาบัติปาราชิก เช่น พระปาราชิก. (ป.).
【 ปาริฉัตร, ปาริชาต 】แปลว่า: น. ต้นไม้สวรรค์ในสวนพระอินทร์, ต้นทองหลาง. (ป. ปาริจฺฉตฺต,
ปาริชาต; ส. ปาริชาต).
【 ปารุปนะ 】แปลว่า: [-รุปะนะ] น. ผ้าห่ม. (ป.).
【 ปารุสกวัน 】แปลว่า: [ปารุดสะกะ-] น. ชื่อสวนของพระอินทร์ ๑ ใน ๔ แห่ง ได้แก่
นันทวัน ปารุสกวัน จิตรลดาวัน และมิสกวัน. (ป. ปารุสกวน).
【 ปาล 】แปลว่า: (แบบ) ก. บาล, เลี้ยง, รักษา, ปกครอง. (ป., ส.).
【 ปาล์ม 】แปลว่า: น. ชื่อเรียกไม้ต้นหรือไม้พุ่มในวงศ์ Palmae ชนิดที่นําเข้ามาจาก
ต่างประเทศ เช่น ปาล์มขวด [/Roystonea regia/ (Kunth) Cook]
ปลูกเป็นไม้ประดับ, ปาล์มนํ้ามัน (/Elaeis guineensis/ Jacq.)
ปลูกใช้ผลและเมล็ดทํานํ้ามัน.
【 ปาลิไลยก์ 】แปลว่า: น. ชื่อป่าแห่งหนึ่งที่พระพุทธเจ้าเสด็จอาศัยอยู่ และเป็นชื่อช้าง
ซึ่งอยู่ในที่นั้นด้วย; พระพุทธรูปปางหนึ่ง มีรูปช้างและลิงอยู่ด้วย
เรียกว่า ปางพระปาลิไลยก์. (ป.).
【 ปาลี ๑ 】แปลว่า: น. ผู้ปกครอง, ผู้เลี้ยง, ผู้รักษา. (ป., ส.).
【 ปาลี ๒ 】แปลว่า: น. บาลี. (ป., ส. ปาลิ).
【 ปาว ๆ 】แปลว่า: ว. อาการที่พูดดัง ๆ ซ้ำ ๆ ซาก ๆ แต่ไม่มีใครสนใจฟัง เช่น
ครูสอนอยู่ปาว ๆ มีคนมาตะโกนเรียกอยู่ปาว ๆ.
【 ป่าว 】แปลว่า: ก. บอกให้รู้ทั่วกัน.
【 ป่าวข่าว 】แปลว่า: ก. กระพือข่าวให้รู้ทั่วกัน.
【 ป่าวประกาศ 】แปลว่า: ก. ประกาศให้รู้ทั่วกัน.
【 ป่าวร้อง 】แปลว่า: ก. ร้องบอกให้รู้ทั่วกัน.
【 ป๊าว 】แปลว่า: ว. เสียงอย่างเสียงแมวร้อง.
【 ปาวกะ 】แปลว่า: -วะกะ น. ไฟ. (ป., ส.).
【 ปาวจนะ 】แปลว่า: ปาวะจะนะ น. ปาพจน์. (ป.).
【 ปาวาร 】แปลว่า: ปาวาน น. ผ้าห่มใหญ่. (ป.; ส. ปฺราวาร).
【 ปาษาณ 】แปลว่า: ปาสาน, ปาสานะ น. หิน. (ส.; ป. ปาสาณ).
【 ปาส 】แปลว่า: ปาสะ, ปาด น. บาศ, บ่วง. (ป.; ส. ปาศ).
【 ปาสาณ 】แปลว่า: ปาสาน, ปาสานะ น. หิน. (ป.; ส. ปาษาณ).
【 ปาสาทิกะ 】แปลว่า: (แบบ) ว. นํามาซึ่งความเลื่อมใส; น่ารัก, น่าชม. (ป.).
【 ปาหนัน 】แปลว่า: /ดู ลําเจียก./
【 ปาหี่ 】แปลว่า: น. การแสดงกลหรือกายกรรมของนักแสดงเร่ร่อนตามที่ต่าง ๆ. (จ.).
【 ปาหุณ 】แปลว่า: ปาหุน, ปาหุนะ น. ผู้มาหา, แขก. (ป., ส.).
【 ปาหุไณย- 】แปลว่า: -ไนยะ- ว. ที่ควรได้รับของต้อนรับแขก. (ป. ปาหุเณยฺย).
【 ปาหุไณยบุคคล 】แปลว่า: น. คนผู้ควรได้รับของต้อนรับแขก. (ป.).
【 ปำ 】แปลว่า: ก. พุ่งลง, ปักลง, มักใช้ประกอบกับ หัว เช่น หัวปํา.
【 ป้ำ 】แปลว่า: ว. กล้าได้กล้าเสีย ในคําว่า ใจปํ้า.
【 ป้ำป้อ 】แปลว่า: ว. มีรูปร่างเทอะทะ.
【 ป้ำเป๋อ, ป้ำ ๆ เป๋อ ๆ 】แปลว่า: ว. หลง ๆ ลืม ๆ, ขี้หลงขี้ลืม, กะปํ้ากะเป๋อ ก็ว่า.
【 ปิกนิก 】แปลว่า: น. การพากันไปเที่ยวชั่วระยะเวลาสั้น ๆ และมีของกินไป
เลี้ยงกันด้วย. (อ. picnic).
【 ปิ้ง 】แปลว่า: ก. ทําให้สุกด้วยการวางไว้เหนือไฟ มักใช้แก่ของแห้ง โดยปรกติ

【 ปัก 】แปลว่า: ก. ตั้งฝังลง เช่น ปักเสา, เอาหัวดิ่งลง เช่น นกปักหัวลง เครื่องบิน
ปักหัวลง; เสียบ เช่น ปักปิ่น ปักดอกไม้, ใช้เข็มร้อยด้าย ไหม หรือ
ดิ้นเป็นต้นแล้วแทงแล้วแทงลงไปบนผืนผ้าให้เป็นลวดลายต่าง ๆ
เช่น ปักลวดลาย ปักด้าย ปักไหม.
【 ปักจักร 】แปลว่า: ก. เย็บให้เป็นลวดลายด้วยจักรเย็บผ้า.
【 ปักใจ 】แปลว่า: ก. ตั้งใจแน่วแน่ไม่เปลี่ยนแปลง เช่น ปักใจเชื่อ.
【 ปักดำ 】แปลว่า: ก. ถอนต้นกล้ามาปลูกในนา.
【 ปักปันเขตแดน 】แปลว่า: ก. กำหนดเขตแดนระหว่างประเทศเมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับ
พรมแดนเป็นต้น.
【 ปักหลัก ๑ 】แปลว่า: ก. ตั้งมั่นอยู่กับที่ไม่ยอมถอยหรือไม่ยอมโยกย้าย ในคำว่า
ปักหลักสู้ ปักหลักอยู่.
【 ปักข-, ปักข์ 】แปลว่า: [ปักขะ-, ปัก] น. ปักษ์. (ป.; ส. ปกฺษ).
【 ปักขคณนา 】แปลว่า: [ปักขะคะนะ-] น. ปักษคณนา, วิธีคำนวณดิถีตามปักษ์.
【 ปักขพิฬาร 】แปลว่า: [-ลาน] น. บ่าง; นกเค้าแมว.
【 ปักขันดร 】แปลว่า: [-ดอน] น. ปักษานดร, ฝ่ายอื่น, อีกฝ่ายหนึ่ง.
【 ปักเป้า ๑ 】แปลว่า: [ปักกะ-] น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในวงศ์ Tetrodontidae และ
Diodontidae ลําตัวป้อมหรือกลมมากน้อยแล้วแต่ชนิด ขนาด
ยาวตั้งแต่ ๖-๖๐ เซนติเมตร เฉพาะบางสกุล เช่น สกุล /Canthigaster,/
/Chonerhinus /และ /Tetrodon/ ในวงศ์ Tetrodontidae สกุล /Diodon/
และ /Chilomycterus/ ในวงศ์ Diodontidae มีลักษณะแบนข้าง
ทุกชนิดสามารถพองตัวได้ ผิวหนังมีหนาม ฟันมีลักษณะเป็น
กระดูกแข็ง ไม่มีครีบท้อง บางชนิดพบในนํ้าจืด เช่น ชนิด
/Chonerhinus modestus/ ทุกชนิดมีพิษ ไม่ควรนํามารับประทาน.
【 ปักเป้า ๒ 】แปลว่า: [ปัก-] น. ชื่อว่าวชนิดหนึ่งมีหางยาว, คู่กับ ว่าวจุฬา, อีเป้า ก็เรียก.
【 ปักษ-, ปักษ์ 】แปลว่า: [ปักสะ-, ปัก] น. ฝ่าย, ข้าง, เช่น ปักษ์ใต้, กึ่งของเดือนจันทรคติ
คือ เดือนหนึ่งมี ๒ ปักษ์ ข้างขึ้นเรียก ศุกลปักษ์ (แปลว่า ฝ่ายขาว
หมายเอาแสงเดือนสว่าง) ข้างแรมเรียก กาฬปักษ์ (แปลว่า ฝ่ายดํา
หมายเอาเดือนมืด), ครึ่งเดือน เช่น หนังสือรายปักษ์. (ส.; ป. ปกฺข).
【 ปักษกษัย 】แปลว่า: [ปักสะกะไส] น. การสิ้นปักษ์.
【 ปักษคณนา 】แปลว่า: [ปักสะคะนะนา] น. วิธีคํานวณดิถีตามปักษ์.
【 ปักษคม 】แปลว่า: [ปักสะคม] น. นก.
【 ปักษธร 】แปลว่า: [ปักสะทอน] น. นก; พระจันทร์.
【 ปักษเภท 】แปลว่า: [ปักสะเพด] น. ความแตกต่างระหว่าง ๒ ฝ่ายที่โต้เถียงกัน.
【 ปักษวาหน 】แปลว่า: [ปักสะวาหน] น. นก.
【 ปักษานดร 】แปลว่า: [ปักสานดอน] น. ฝ่ายอื่น, อีกฝ่ายหนึ่ง.
【 ปักษาวสาน 】แปลว่า: [ปักสาวะสาน] น. วันสิ้นปักษ์, วันเพ็ญหรือวันสิ้นเดือน.
【 ปักษา 】แปลว่า: น. นก. (ส.).
【 ปักษานดร 】แปลว่า: /ดู ปักษ-, ปักษ์./
【 ปักษาวสาน 】แปลว่า: /ดู ปักษ-, ปักษ์./
【 ปักษาสวรรค์ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกมีเหง้าชนิด /Strelitzia reginae/ Banks ex Dryand.
ในวงศ์ Musaceae ใบเรียงสลับซ้อนกันเป็นแผง ดอกสีนํ้าเงิน
มีกาบสีส้ม รูปคล้ายปีกนกหุ้มอยู่.
【 ปักษิน, ปักษี 】แปลว่า: น. สัตว์มีปีก คือ นก. (ส.).
【 ปักหลัก ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ปัก./
【 ปักหลัก ๒ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อนกกระเต็นชนิด /Ceryle rudis/ ในวงศ์ Alcedinidae
ตัวสีขาวลายดํา ปากหนาแหลมตรงสีดํา มักเกาะตามหัวเสาหรือ
ตอไม้ที่ปักอยู่ในนํ้าเพื่อจ้องโฉบปลากิน, กระเต็นปักหลัก ก็เรียก.
(๒) ชื่อเหยี่ยวชนิด /Elanus caeruleus/ ในวงศ์ Accipitridae อก
สีขาว หลังสีเทา โคนปีกสีดํา อาศัยอยู่ตามท้องทุ่ง กินสัตว์เล็ก ๆ,
เหยี่ยวขาว ก็เรียก, นกทั้ง ๒ ชนิดมักบินอยู่กับที่ จึงเรียกว่า ปักหลัก.
【 ปัคหะ 】แปลว่า: ปักคะ- น. ประเคราะห์, การยกย่อง. (ป. ปคฺคห).
【 ปัง ๑ 】แปลว่า: น. อาหารชนิดหนึ่งทําด้วยแป้งผสมเชื้อ เรียกว่า ขนมปัง.
(โปรตุเกส p?o, เทียบฝรั่งเศส ว่า pain).
【 ปัง ๒ 】แปลว่า: ว. เสียงดังเช่นนั้น; โดยปริยายหมายความว่า ถูกตรงที่หมาย.
【 ปั๋ง ๑ 】แปลว่า: ว. มาก, มักใช้แก่แข็งหรือแน่น ว่า แข็งปั๋ง ท้องแน่นปั๋ง.
【 ปั๋ง ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นปลัง. (ดู ปลัง).
【 ปังสุ์ 】แปลว่า: (แบบ) น. บงสุ์. (ป.).
【 ปังสุกุล 】แปลว่า: (แบบ) น. บังสุกุล. (ป.).
【 ปัจจัตตะ 】แปลว่า: (แบบ) ว. เฉพาะตน. (ป.).
【 ปัจจัตถรณ์ 】แปลว่า: -ถอน น. บรรจถรณ์. (ป.).
【 ปัจจันต-, ปัจจันต์ 】แปลว่า: ปัดจันตะ-, ปัดจัน ว. ที่สุดแดน, ปลายเขตแดน. (ป.).
【 ปัจจันตคาม 】แปลว่า: น. บ้านปลายเขตแดน. (ป.).
【 ปัจจันตชนบท 】แปลว่า: น. ตําบลปลายเขตแดน.
【 ปัจจันตประเทศ 】แปลว่า: น. ประเทศปลายเขตแดน, ในวินัยหมายถึงที่อยู่นอกออกไป
จากมัชฌิมประเทศ. (ป.).
【 ปัจจัย 】แปลว่า: น. เหตุอันเป็นทางให้เกิดผล, หนทาง, เช่น การศึกษาเป็นปัจจัย
ให้เกิดความรู้ความสามารถ, องค์ประกอบ, ส่วนประกอบ, เช่น
ปัจจัยในการผลิต, คำ “ปัจจัย” กับ คํา “เหตุ” มักใช้แทนกันได้;
เครื่องอาศัยยังชีพ, เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตใน
พระพุทธศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร)
เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา) รวมเรียกว่า จตุปัจจัย คือ
ปัจจัย ๔, คือ ปัจจัย ๔, โดยปริยายหมายถึงเงินตราก็ได้ (มักใช้
แก่ภิกษุสามเณร); (ไว)ส่วนเติมท้ายธาตุหรือศัพท์เพื่อแสดง
ความหมายเป็นต้น. (ป.).
【 ปัจจามิตร 】แปลว่า: น. ข้าศึก, ศัตรู. (ส. ปจฺจามิตฺร; ป. ปจฺจามิตฺต).
【 ปัจจุคมน์ 】แปลว่า: น. การลุกขึ้นรับ, การต้อนรับ, (สําหรับผู้น้อยแสดงต่อผู้ใหญ่).
(ป. ปจฺจุคฺคมน).
【 ปัจจุทธรณ์ 】แปลว่า: ปัดจุดทอน น. การถอนคืน. ก. ถอนคืน (ในวินัยใช้คู่กับ
อธิษฐาน ซึ่งแปลว่า ตั้งใจ เช่น อธิษฐานสบง คือตั้งใจให้เป็นสบง
ครอง ภายหลังไม่อยากให้เป็นสบงครองก็ถอนคืนสบงนั้น เรียกว่า
ปัจจุทธรณ์สบง). (ป.).
【 ปัจจุบัน 】แปลว่า: น. เวลาเดี๋ยวนี้, ทันที, เวลาไม่ใช่อดีต ไม่ใช่อนาคต เช่น เวลาปัจจุบัน,
สมัยใหม่ เช่น แพทย์แผนปัจจุบัน; เรียกโรคภัยที่เกิดขึ้นในทันทีทันใด
ว่า โรคปัจจุบัน เช่น โรคลมปัจจุบัน. (ป. ปจฺจุปฺปนฺน).
【 ปัจจุบันทันด่วน 】แปลว่า: ว. กะทันหัน.
【 ปัจจุส-, ปัจจูสะ 】แปลว่า: ปัดจุดสะ-, ปัดจูสะ น. เช้ามืด, ใกล้รุ่ง. (ป.).
【 ปัจจุสกาล, ปัจโจสกาล 】แปลว่า: [ปัดจุดสะกาน, ปัดโจสะ-] น. เวลาเช้ามืด. (ป.).
【 ปัจจุสมัย 】แปลว่า: [ปัดจุดสะไหฺม] น. เวลาเช้ามืด. (ป. ปจฺจูสสมย).
【 ปัจจูหะ 】แปลว่า: (แบบ) น. ปรัตยูห์, อันตราย, ความขัดข้อง. (ป.).
【 ปัจเจก, ปัจเจก- 】แปลว่า: ปัดเจก, ปัดเจกะ-, ปัดเจกกะ- ว. เฉพาะตัว, เฉพาะบุคคล,
เช่น ปัจเจกชน. (ป.).
【 ปัจเจกบุคคล 】แปลว่า: [ปัดเจกกะ-] น. บุคคลแต่ละคน.
【 ปัจเจกพุทธะ 】แปลว่า: [ปัดเจกกะ-] น. ชื่อพระพุทธเจ้าพวกหนึ่งที่ตรัสรู้เฉพาะตัว
มิได้สั่งสอนผู้อื่น. (ป.).
【 ปัจเจกโพธิ 】แปลว่า: [ปัดเจกกะโพด] น. ความตรัสรู้เฉพาะตัว คือ ความตรัสรู้ของ
พระปัจเจกพุทธเจ้า. (ป.).
【 ปัจเจกสมาทาน 】แปลว่า: [ปัดเจกะสะมาทาน] น. การสมาทานศีลทีละสิกขาบท เรียกว่า
ปัจเจกสมาทาน, ถ้าสมาทานรวบท้าย เช่นว่า พุทฺธปญฺ?ตฺตํ อุโปสถํ
สมาทิยามิ หรือ อฏฺ? สีลานิ สมาทิยามิ เรียกว่า เอกัชฌสมาทาน.
(ป.).
【 ปัจโจปการกิจ 】แปลว่า: (แบบ) น. การที่บุคคลทําตอบแทนอุปการะของผู้อื่น.
(ป. ปจฺโจปการ + กิจฺจ).
【 ปัจฉา 】แปลว่า: (แบบ) ว. ภายหลัง, เบื้องหลัง, ข้างหลัง. (ป.).
【 ปัจฉาภัต 】แปลว่า: น. เวลาภายหลังบริโภคอาหาร คือ ตั้งแต่เที่ยงแล้วไป. (ป.).
【 ปัจฉาสมณะ 】แปลว่า: น. สมณะผู้ตามหลัง คือ พระผู้น้อยมีหน้าที่เดินตามหลัง
พระผู้ใหญ่. (ป.).
【 ปัจฉิม, ปัจฉิม- 】แปลว่า: [ปัดฉิม, ปัดฉิมมะ-] ว. ตะวันตก; ภายหลัง, ทีหลัง, ข้างหลังสุด.
(ป. ปจฺฉิม).
【 ปัจฉิมชน 】แปลว่า: [ปัดฉิมมะ-] น. ชนที่เกิดภายหลัง.
【 ปัจฉิมทิศ 】แปลว่า: [ปัดฉิมมะทิด] น. ทิศตะวันตก.
【 ปัจฉิมพรรษา 】แปลว่า: [ปัดฉิมมะพันสา, ปัดฉิมพันสา] น. “พรรษาหลัง”, ช่วงระยะเวลา
ที่ภิกษุเข้าอยู่จำพรรษาหลัง คือตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ ถึงขึ้น
๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒, คู่กับ บุริมพรรษา หรือ ปุริมพรรษา. (ป. ปจฺฉิม +
ส. วรฺษ).
【 ปัจฉิมภาค 】แปลว่า: [ปัดฉิมมะพาก] น. ส่วนเบื้องปลาย.
【 ปัจฉิมยาม 】แปลว่า: [ปัดฉิมมะ-] น. ยามหลัง, ยามสุดท้าย, ในบาลีแบ่งคืนออกเป็น
๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม
และปัจฉิมยาม ปัจฉิมยามกำหนดเวลาตั้งแต่ตี ๒ หรือ ๒ นาฬิกา
ถึงย่ำรุ่ง หรือ ๖ นาฬิกา.
【 ปัจฉิมลิขิต 】แปลว่า: [ปัดฉิม-] น. “เขียนภายหลัง” คือหนังสือที่เขียนเพิ่มเติมลงท้าย
เมื่อเซ็นชื่อแล้ว, ใช้อักษรย่อว่า ป.ล.
【 ปัจฉิมวัย 】แปลว่า: [ปัดฉิมมะ-] น. วัยตอนปลาย, วัยชรา. (ป.).
【 ปัจฉิมวาจา 】แปลว่า: [ปัดฉิมมะ-] น. วาจาครั้งสุดท้าย. (ป.).
【 ปัจถรณ์ 】แปลว่า: ปัดจะถอน น. บรรจถรณ์. (ป. ปจฺจตฺถรณ).
【 ปัจนึก 】แปลว่า: ปัดจะหฺนึก, ปัดจะนึก น. ข้าศึก, ศัตรู. (ป. ปจฺจนีก).
【 ปัจยาการ 】แปลว่า: ปัดจะยา- น. อาการที่เป็นเหตุต่อเนื่องกัน คือ
ปฏิจจสมุปบาท. (ป. ปจฺจยาการ).
【 ปัจเวกขณ์ 】แปลว่า: ปัดจะเวก น. การเห็นลงจําเพาะ, การพิจารณา.
(ป. ปจฺจเวกฺขณ).
【 ปัชชร 】แปลว่า: ปัดชอน ก. ประชวร. (ป.).
【 ปัชชุน 】แปลว่า: (แบบ) น. เมฆ. (ป.).
【 ปัญจ- 】แปลว่า: ปันจะ- ว. เบญจ. (ป.).
【 ปัญจนที 】แปลว่า: น. แม่นํ้า ๕ สาย คือ ๑. คงคา ๒. ยมนา ๓. อจิรวดี ๔. สรภู ๕. มหี.
【 ปัญจวัคคีย์ 】แปลว่า: น. พวก ๕ คน เป็นคําเรียกพระสงฆ์ ๕ รูป มีพระอัญญาโกณฑัญญะ
เป็นต้น ที่ตามพระพุทธเจ้าออกบวช และได้เป็นพระอรหันต์ก่อนพวกอื่น. (ป.).
【 ปัญจสาขา 】แปลว่า: น. กิ่งทั้ง ๕ คือ หัว ๑ แขน ๒ ขา ๒ ของลูกที่อยู่ในท้อง. (ป.).
【 ปัญจก, ปัญจกะ 】แปลว่า: ปันจก, -จะกะ น. เบญจก, หมวด ๕. (ป.).
【 ปัญจม- 】แปลว่า: ปันจะมะ- ว. เบญจม, ที่ ๕. (ป.).
【 ปัญจมี 】แปลว่า: ว. ที่ ๕.
【 ปัญจมีดิถี 】แปลว่า: น. วัน ๕ คํ่า.
【 ปัญจมี 】แปลว่า: /ดู ปัญจม-./
【 ปัญจมีดิถี 】แปลว่า: /ดู ปัญจม-./
【 ปัญจวีสติ 】แปลว่า: -วีสะติ ว. ยี่สิบห้า. (ป.).
【 บัญญัติ 】แปลว่า: ปันหฺยัด ก. บัญญัติ. (ป.).
【 ปัญญา 】แปลว่า: น. ความรอบรู้, ความรู้ทั่ว, ความฉลาดเกิดแต่เรียนและคิด, เช่น
คนมีปัญญา หมดปัญญา. (ป.).
【 ปัญญาแค่หางอึ่ง 】แปลว่า: (สํา) ว. มีความรู้น้อย, โง่.
【 ปัญญาชน 】แปลว่า: น. คนที่มีความรู้หรือความฉลาดอันเกิดแต่การเรียนมามาก.
【 ปัญญาวิมุติ 】แปลว่า: -วิมุด น. ความหลุดพ้นด้วยปัญญา เป็นโลกุตรธรรม
ประการหนึ่ง, คู่กับ เจโตวิมุติ. (ป. ป?ฺ?าวิมุตฺติ).
【 ปัญญาอ่อน 】แปลว่า: น. ภาวะที่มีระดับสติปัญญาด้อยหรือตํ่ากว่าปรกติ มักมีสาเหตุ
เกิดขึ้นในระหว่างพัฒนาการ ทําให้เด็กมีความสามารถจํากัดใน
ด้านการเรียนรู้และมีพฤติกรรมปรับตัวไม่อยู่ในระดับที่ควรเป็น.
ว. มีระดับสติปัญญาด้อยหรือต่ำกว่าปรกติ.
【 ปัญญาส- 】แปลว่า: ปันยาสะ- ว. ห้าสิบ. (ป.).
【 ปัญหา 】แปลว่า: น. ข้อสงสัย, ข้อขัดข้อง, เช่น ทําได้โดยไม่มีปัญหา, คําถาม,
ข้อที่ควรถาม, เช่น ตอบปัญหา, ข้อที่ต้องพิจารณาแก้ไข เช่น
ปัญหาเฉพาะหน้า ปัญหาทางการเมือง. (ป.).
【 ปัญหาโลกแตก 】แปลว่า: (ปาก) น. ปัญหาที่หาข้อยุติไม่ได้.
【 ปัฏ 】แปลว่า: ปัด น. ผืนผ้า, แผ่นผ้า. (ป. ปฏ).
【 ปัฏนะ 】แปลว่า: ปัดตะนะ น. ท่าเรือ. (ป., ส. ปฏฺฏน).
【 ปัฐยาวัต 】แปลว่า: ปัดถะหฺยาวัด น. ชื่อฉันท์ชนิดหนึ่ง ซึ่งกําหนดด้วยอักษร
๓๒ คํา มี ๔ บาท บาทละ ๘ คํา, บัฐยาพฤต หรือ อัษฎกฉันท์ ก็เรียก.
(ป. ปฐฺยาวตฺต).
【 ปัณฑรหัตถี 】แปลว่า: [ปันดะระ-] น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีขาว
ดังเขาไกรลาส. /(ดู กาฬาวก)./
【 ปัณณะ 】แปลว่า: (แบบ) น. บรรณ. (ป.).
【 ปัณณาส 】แปลว่า: ว. ห้าสิบ. (ป.).
【 ปัณณาสก์ 】แปลว่า: ว. หมวด ๕๐. (ป.).
【 ปัณรส- 】แปลว่า: [ปันนะระสะ-] ว. สิบห้า. (ป. ปณฺณรส).
【 ปัณรสม- 】แปลว่า: [ปันนะระสะมะ-] ว. ที่ ๑๕. (ป.).
【 ปัณรสมสุรทิน 】แปลว่า: น. วันที่ ๑๕.
【 ปัณรสี 】แปลว่า: [ปันนะระสี] ว. ที่ ๑๕. (ป. ปณฺณรสี).
【 ปัณรสีดิถี 】แปลว่า: น. วัน ๑๕ คํ่า.
【 ปัณหิ 】แปลว่า: น. ส้นเท้า. (ป.; ส. ปารฺษณิ).
【 ปัด ๑ 】แปลว่า: ก. ทําให้หมดไปพ้นไปด้วยการพัดหรือโบกเป็นต้น เช่น ปัดฝุ่น
ปัดแมลงวัน ปัดพิษ; เบนไป, เฉไป, เช่น พระอาทิตย์ปัดเหนือปัดใต้
ท้ายรถปัดไปทางหนึ่ง เดินขาปัด; กระทบเสียดไป เช่น กิ่งไม้ปัด
หลังคา เดินเอามือปัดศีรษะ.
【 ปัดเกล้า 】แปลว่า: น. ท่ารําชนิดหนึ่งแห่งหมอช้าง รําเมื่อนําช้างบํารูงาเสร็จ.
【 ปัดขา 】แปลว่า: ก. ทําให้ล้มหรือเสียหลัก.ครั้งแรกแล้ว.
【 ปัดแข้งปัดขา 】แปลว่า: ก. ทําอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้เขาหลุดพ้นตําแหน่งหน้าที่
หรือไม่ให้ได้เลื่อนฐานะตำแหน่งที่ควรจะได้.
【 ปัดซาง 】แปลว่า: ก. เสกเป่าให้ซางหาย.
【 ปัดตลอด 】แปลว่า: ว. มีขนขาวหรือดําเป็นแนวยาวไปตามสันหลังตั้งแต่หัวตลอดหาง
เช่น แมวปัดตลอด; เรียก “นะ” ที่เขียนเป็นอักษรขอม สําหรับลงและ
ปลุกเสกให้แคล้วคลาดตลอดปลอดภัยว่า “นะปัดตลอด”.
【 ปัดเป่า 】แปลว่า: ก. ทําพิธีเสกเป่าเพื่อให้ความเจ็บไข้หาย, แก้ความลําบากขัดข้อง
ให้หมดไป.
【 ปัดพิษ 】แปลว่า: ก. เสกเป่าเพื่อให้พิษหมดไป.
【 ปัดรังควาน 】แปลว่า: ก. ทําพิธีขับไล่ผี, โดยปริยายหมายถึงขับไล่อัปรีย์จัญไรให้พ้นไป.
【 ปัดเศษ 】แปลว่า: ก. ทิ้งเศษเสียหรือเพิ่มเศษให้เข้าจํานวนเต็ม.
【 ปัดสวะ 】แปลว่า: -สะหฺวะ ก. ทําอย่างขอไปที, ผลักให้พ้นหน้าที่ความรับผิดชอบ
ของตนไป.
【 ปัด ๒ 】แปลว่า: น. เม็ดแก้วเป็นต้นมีรูตรงกลางสําหรับร้อยเป็นเครื่องประดับต่าง ๆ
เรียกว่า ลูกปัด.
【 ปัด ๆ 】แปลว่า: ว. อาการที่โกรธกระฟัดกระเฟียด, อาการที่ดิ้นพราด ๆ อย่างปลาที่ถูกตี.
【 ปัดไถม 】แปลว่า: -ถะไหฺม น. ฝ้าบาง ๆ ที่เกิดขึ้นทําให้เป็นมลทินหรือคลํ้ามัว.
【 ปัตคาด 】แปลว่า: [ปัดตะคาด] น. ชื่อเส้นในร่างกายของคน ในตําราหมอนวดว่า
ตั้งแต่ท้องน้อยถึงโคนขาทั้งด้านหน้าและด้านหลัง.
【 ปัตตะ 】แปลว่า: น. บัตร; บาตร. (ป.).
【 ปัตตานีกะ, ปัตตานึก 】แปลว่า: น. กองทัพเหล่าราบ, กองทัพทหารเดินเท้า, เป็นส่วนหนึ่งแห่งกระบวนทัพ
โบราณ ซึ่งเรียกว่า จตุรงคพล จตุรงคโยธา จตุรงคเสนา หรือ จตุรงคินีเสนา
มี ๔ เหล่า ได้แก่ ๑. หัตถานึก (กองทัพช้าง, เหล่าทหารช้าง) อัศวานึก
(กองทัพม้า, เหล่าทหารม้า) ๓. รถานึก (กองทัพเหล่ารถ) ๔. ปัตตานึก
หรือ ปัตตานีกะ (กองทัพเหล่าราบ, กองทัพทหารเดินเท้า). (ป.).
【 ปัตตานุโมทนา 】แปลว่า: น. การอนุโมทนาส่วนบุญที่ผู้อื่นให้. (ป.).
【 ปัตตาเวีย ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อเมืองในเกาะชวาสมัยโบราณ เดิมเรียกว่าเมืองกะหลาป๋า
ปัจจุบัน คือ จาการ์ตา.
【 ปัตตาเวีย ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Jatropha integerrima/ Jacq. ในวงศ์
Euphorbiaceae ต้นสูงเป็นพุ่มโปร่ง ๆ ดอกสีแดงและชมพู.
【 ปัตติ 】แปลว่า: (แบบ) น. ส่วนบุญ. (ป.).
【 ปัตติทาน 】แปลว่า: น. การให้ส่วนบุญ. (ป.).
【 ปัตติก 】แปลว่า: (แบบ) น. พลเดินเท้า, ทหารราบ. (ป., ส.).
【 ปัตถร 】แปลว่า: -ถอน น. บรรถร, ที่นอน, เครื่องปูลาด. (ป.).
【 ปัตถะ 】แปลว่า: ปัดถะ น. ชื่อมาตราตวงในภาษาบาลี แปลว่า แล่ง, กอบ,
คือ ๒ ปัตถะ เป็น ๑ นาฬี (ทะนาน). (ป.).
【 ปัตนิ, ปัตนี 】แปลว่า: [ปัดตะหฺนิ, -นี] น. หญิงแม่เรือน, เมีย. (ในตําราหมอดูว่า เนื้อคู่).
(ส.; ป. ปตานี).
【 ปัตยัย 】แปลว่า: ปัดตะไย น. ปัจจัย. (ส. ปฺรตฺยย; ป. ปจฺจย).
【 ปัตหล่า 】แปลว่า: [ปัดตะหฺล่า] น. ผ้าริ้วทอด้วยไหมกับทองแล่งมีเนื้อบาง โดยมาก
ทําเป็นเสื้อครุย.
【 ปัถพี, ปัถวี ๑ 】แปลว่า: [ปัดถะ-] น. ปถพี, ปถวี.
【 ปัถวี ๑ 】แปลว่า: [ปัดถะ-] น. ท้ายเรือพิธี เช่น หางตาเรือก็กลับไปข้างปัถวี. (พงศ. เลขา).
【 ปัทม-, ปัทม์ 】แปลว่า: [ปัดทะมะ-, ปัด] น. ชื่อบัวหลวงพันธุ์หนึ่ง. /(ดู บัว)./
【 ปัทมปาณี 】แปลว่า: น. ผู้มีดอกบัวในมือ คือ พระพรหม พระวิษณุ, ชื่อหนึ่งหรือปางหนึ่ง
ของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ พระหัตถ์ทรงดอกบัว.
【 ปัทมราค, ปัทมราช 】แปลว่า: น. พลอยสีแดง, ทับทิม.
【 ปัทมาสน์ 】แปลว่า: [ปัดทะมาด] น. ฐานบัว (เช่นฐานพระพุทธรูปมีลายบัวควํ่าบัวหงาย).
【 ปัทมะ 】แปลว่า: [ปัดทะมะ] น. ชื่อสังขยาจํานวนสูง = ๑๐๐ โกฏิ. (ส.).
【 ปัทมาสน์ 】แปลว่า: /ดู ปัทม-, ปัทม์./
【 ปัน 】แปลว่า: ก. แบ่ง เช่น ปันเป็นส่วน ๆ, แบ่งซื้อ ในคำว่า ขอปัน, แบ่งขาย
ในคำว่า ปันให้.
【 ปันส่วน 】แปลว่า: ก. แบ่งเฉลี่ยตามส่วน. ว. ที่แบ่งเฉลี่ยตามส่วน เช่น ข้าวปันส่วน.
【 ปั่น 】แปลว่า: ก. ทําให้หมุน, ทําให้เวียน, เช่น ปั่นแปะ ปั่นโป; หมุน เช่น หัวปั่น.
【 ปั่นด้าย 】แปลว่า: ก. เอาเส้นใยที่ทำให้ฟูตัวแล้วมาดึงให้ยืดเป็นเส้นพร้อมกับบิดเกลียว
เพื่อให้เส้นใยเกาะตัวเป็นเส้นยาวติดต่อกัน.
【 ปั่นป่วน 】แปลว่า: ก. เคลื่อนไหวไปมาอย่างรุนแรงผิดปรกติ เช่น ทะเลปั่นป่วน; สับสน
วุ่นวายผิดปรกติ เช่น ใจคอปั่นป่วน ท้องปั่นป่วน บ้านเมืองปั่นป่วน,
ป่วนปั่น ก็ว่า.
【 ปั่นแปะ 】แปลว่า: น. ชื่อการพนันอย่างหนึ่ง เดิมใช้อีแปะ ปัจจุบันใช้สตางค์หรือเงินเหรียญ
ปั่นให้หมุน แล้วใช้ฝ่ามือปิดไว้ ให้ทายว่าจะออกหัวหรือก้อย, อีกอย่างหนึ่ง
ใช้อีแปะ สตางค์ หรือเงินเหรียญ ๒ อันอันหนึ่งใส่ไว้ในอุ้งมือ แล้วปั่นอีกอัน
หนึ่งให้หมุน แล้วเอาฝ่ามือที่มีอีแปะ สตางค์ หรือเงินเหรียญตบลงไปบนอัน
ที่กำลังหมุน ให้ทายว่า ออกหัว ก้อย หรือกลาง ถ้าออกหัว ๒ อัน เรียกว่า
ออกหัว ถ้าออกก้อย ๒ อัน เรียกว่า ออกก้อย ถ้าออกหัวอันหนึ่งก้อยอันหนึ่ง
เรียกว่า ออกกลาง.
【 ปั่นฝ้าย 】แปลว่า: ก. เอาฝ้ายเข้าเครื่องหมุน (ไน) เพื่อทําเป็นเส้นด้าย, ถ้าเป็นวัตถุ
อย่างอื่นเช่นไหมและปอ เรียกตามวัตถุนั้น ๆ ว่า ปั่นไหม ปั่นปอ.
【 ปั่นไฟ 】แปลว่า: ก. ผลิตไฟฟ้าด้วยเครื่องกําเนิดไฟฟ้า, เดินเครื่องกําเนิดไฟฟ้า.
น. เรียกเครื่องกําเนิดไฟฟ้าว่า เครื่องปั่นไฟ.
【 ปั่นหัว 】แปลว่า: ก. ทำให้งง (มาจากการกัดจิ้งหรีด โดยจับตัวที่แพ้มาปั่นหัวให้งง
เพื่อจะได้สู้ต่อไป) เช่น ปั่นหัวจิ้งหรีด; (ปาก) ยุให้ผิดใจกัน.
【 ปั้น ๑ 】แปลว่า: ก. เอาสิ่งอ่อน ๆ เช่นขี้ผึ้งดินเหนียวเป็นต้นมาทําให้เป็นรูปตาม
ที่ต้องการ เช่น ปั้นข้าวเหนียว ปั้นตุ๊กตา; สร้างขึ้น, เสกสรรขึ้น,
เช่น ปั้นพยาน ปั้นเรื่อง; ชุบเลี้ยงและอบรมสั่งสอนให้เป็นคนดี
เช่น ฉันปั้นเขามาจนได้ดี. น. ลักษณนามเรียกสิ่งที่ปั้นเป็นก้อน ๆ
เช่น ข้าวเหนียว ๓ ปั้น.
【 ปั้นจิ้มปั้นเจ๋อ 】แปลว่า: ว. แสดงอาการกินหมากจัดเอาอย่างเขา; เจ้าหน้าเจ้าตา,
ดัดจริตเสนอหน้าหรือแสดงตัวผิดกาลเทศะ.
【 ปั้นเจ๋อ 】แปลว่า: ว. เจ้าหน้าเจ้าตา.
【 ปั้นน้ำเป็นตัว 】แปลว่า: ก. สร้างเรื่องเท็จให้เห็นเป็นจริงเป็นจังขึ้นมา.
【 ปั้นปึ่ง 】แปลว่า: ว. ทำท่าเย่อหยิ่งไม่พูดจากับใคร.
【 ปั้นยศ 】แปลว่า: ก. ทำเจ้ายศเจ้าอย่าง.
【 ปั้นล่ำ 】แปลว่า: น. ชื่อขนมทําด้วยแป้งเกลือกงา. ก. อวดดี.
【 ปั้นสิบ 】แปลว่า: น. ของกินอย่างหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้า ใช้แป้งห่อไส้แล้ว
ม้วนบิดริมแป้งตรงที่ประกบกันให้เป็นลายเกลียว นึ่งหรือ
ทอด, แป้งสิบ ก็เรียก.
【 ปั้นสีหน้า 】แปลว่า: ก. แกล้งแสดงหน้าตาให้ผิดปรกติเพื่อลวงให้เขาหลงเชื่อ เช่น
ไม่เจ็บแต่ปั้นสีหน้าให้เหมือนคนเจ็บ.
【 ปั้น ๒ 】แปลว่า: น. ภาชนะดินสําหรับชงนํ้าชา มีพวยเหมือนกา, ป้าน ก็ใช้.
【 ปั้นจั่น 】แปลว่า: น. เครื่องยกของหนักประกอบด้วยเสาและรอกเป็นต้น,
เครื่องจักร สําหรับยกของหนัก.
【 ปันจุเหร็จ 】แปลว่า: น. เครื่องรัดเกล้าที่ไม่มียอด; โจรป่า. (ช.).
【 ปั้นลม 】แปลว่า: น. ชื่อไม้แผ่นที่พาดบนหัวแป ใช้ปิดริมหลังคาด้านหัวและท้ายเรือน
กันลมตีเครื่องมุง, ป้านลม ก็ว่า.
【 ปั้นหยา 】แปลว่า: [-หฺยา] น. สิ่งปลูกสร้างซึ่งมีหลังคาเอนเข้าหาอกไก่ทั้ง ๔ ด้าน
ไม่มีหน้าจั่ว เรียกว่า เรือนปั้นหยา. (เปอร์เซีย ปั้นหย่า ว่า วัตถุที่
ทําเป็นหัตถ์ของเจ้าเซ็นประดิษฐานอยู่ในกะดีซึ่งมีลักษณะ
หลังคาเช่นนั้น).
【 ปั้นเหน่ง 】แปลว่า: [-เหฺน่ง] น. เข็มขัด. (ช.).
【 ปับ 】แปลว่า: ว. เสียงดังอย่างเสียงถูกชกหรือต่อย; อาการที่เป็นไปอย่างฉับไว,
ทันทีทันใด, เช่น วางปับ หยิบปับ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ปุบ เป็น ปุบปับ.
【 ปั๊บ 】แปลว่า: ว. อาการที่เป็นไปอย่างฉับไว, ทันทีทันใด, เช่น วางปั๊บ หยิบปั๊บ,
มักใช้เข้าคู่กับคำ ปุ๊บ เป็น ปุ๊บปั๊บ.
【 ปัปผาสะ 】แปลว่า: (แบบ) น. ปอด. (ป.).
【 ปัพพาชนะ 】แปลว่า: ปับพาชะ- น. การขับไล่. (ป.).
【 ปัพพาชนียกรรม 】แปลว่า: [-ชะนียะ-] น. กิจของสงฆ์ทําในการขับไล่ภิกษุ; การขับไล่ออก
จากหมู่. (ส. ปฺรวฺราชนียกรฺม; ป. ปพฺพาชนียกมฺม).
【 ปัพภาระ 】แปลว่า: น. เงื้อมเขา. (ป.).
【 ปั๊ม 】แปลว่า: ก. ใช้เครื่องที่เป็นแบบพิมพ์ตอกลงหรือกดลงบนกระดาษหรือโลหะ
เป็นต้นให้มีรูปหรือลวดลายตามแบบพิมพ์นั้น เช่น ปั๊มตรา ปั๊มกระดุม,
โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปั๊มแบงก์ ปั๊มเงิน;
ใช้เครื่องสูบหรือดูดของเหลวหรือแก๊ส เช่น ปั๊มน้ำ ปั๊มลม, ใช้เครื่อง
ช่วยทำให้หัวใจกลับเต้นเป็นปรกติ เรียกว่า ปั๊มหัวใจ. น. เรียก
เครื่องยนต์สำหรับสูบน้ำว่า เครื่องปั๊มน้ำ, เรียกเครื่องยนต์สำหรับ
สูบลมหรือแก๊สว่า เครื่องปั๊มลม, เรียกเครื่องอุปกรณ์ที่ช่วยทำให้
หัวใจกลับเต้นเป็นปรกติว่า เครื่องปั๊มหัวใจ; (ปาก) สถานีบริการ
น้ำมันเชื้อเพลิง, เรียกเต็มว่า ปั๊มน้ำมัน.
【 ปั๊มน้ำมัน 】แปลว่า: (ปาก) น. สถานีบริการนํ้ามันเชื้อเพลิง, เรียกสั้น ๆ ว่า ปั๊ม.
【 ปัยกะ, ปัยกา 】แปลว่า: [ไปยะ-] น. ปู่ทวด, ตาทวด. (ป. ปยฺยก, ปยฺยกา; ส. ปฺรารฺยก).
【 ปัยยิกา 】แปลว่า: น. ย่าทวด, ยายทวด. (ป. ปยฺยิกา; ส. ปฺรารฺยกา).
【 ปั่ว 】แปลว่า: (โบ) น. พลเมือง; ผู้ชาย.
【 ปัวเปีย 】แปลว่า: ก. นัวเนีย, ปะปน, เกี่ยวข้อง, คลุกคลี.
【 ปั้วเปี้ย 】แปลว่า: ว. อ่อนกําลังจนแทบจะทรงตัวไม่ได้.
【 ปัศจิม 】แปลว่า: [ปัดจิม] ว. ตะวันตก; เบื้องหลัง เช่น ฝ่ายปัศจิม. (ส.; ป. ปจฺฉิม).
【 ปัศตัน 】แปลว่า: [ปัดสะ-] น. ลูกปืนที่บรรจุดินและแก๊ปในตัว; เรียกปืนที่ใช้ลูก
ชนิดนี้ว่า ปืนปัศตัน.
【 ปัศตู 】แปลว่า: ปัดสะ- น. ผ้าขนสัตว์เนื้อฟุ.
【 ปัสสาวะ 】แปลว่า: น. เยี่ยว. (ป.; ส. ปฺรศฺราว).
【 ปัสสาสะ 】แปลว่า: น. ลมหายใจออก. (ป.; ส. ปฺรศฺวาส).
【 ปา 】แปลว่า: ก. ซัดไปด้วยอาการยกแขนขึ้นสูงแล้วเอี้ยวตัว; (ปาก) คําใช้แทน
กิริยาได้หลายอย่างแล้วแต่คําประกอบที่ทําให้รู้ว่าเกินกว่าที่คาดคิด,
มักใช้ว่า ปาขึ้นไป หรือ ปาเข้าไป, เช่น ค่าโดยสารปาขึ้นไปตั้ง ๑๐
บาท กว่าจะทำงานเสร็จก็ปาเข้าไปตั้ง ๒ ทุ่ม.
【 ป่า 】แปลว่า: น. ที่ที่มีต้นไม้ต่าง ๆ ขึ้นมา, ถ้าเป็นต้นสัก เรียกว่า ป่าสัก, ถ้าเป็น
ต้นรัง เรียกว่า ป่ารัง, ถ้ามีพรรณไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งขึ้นอยู่มาก
ก็เรียกตามพรรณไม้นั้นเช่น ป่าไผ่ ป่าคา ป่าหญ้า; (กฎ) ที่ดินที่ยัง
มิได้มีบุคคลได้มาตามประมวลกฎหมายที่ดิน; เรียกปลากัดหรือ
ปลาเข็มที่เป็นพันธุ์เดิมตามธรรมชาติว่า ลูกป่า; (โบ) เรียกตําบล
ที่มีของขายอย่างเดียวกันมาก ๆ เช่น ป่าถ่าน ป่าตะกั่ว. ว. ที่ได้มา
จากป่าหรืออยู่ในป่า เช่น ของป่า ช้างป่า สัตว์ป่า คนป่า, ที่ห่างไกล
ความเจริญ เช่น บ้านป่า เมืองป่า. ก. ตีดะไป ในคําว่า ตีป่า.
【 ป่าแคระ 】แปลว่า: น. ป่าที่มีต้นไม้เตี้ย ๆ เป็นส่วนใหญ่ มักมีในบริเวณที่มีอากาศแห้งแล้ง.
【 ป่าชัฏ 】แปลว่า: น. ป่าที่มีต้นไม้ขึ้นอยู่หนาแน่น โดยมากเป็นไม้เลื้อยและไม้หนาม.
【 ป่าช้า 】แปลว่า: น. ป่าหรือที่ซึ่งจัดไว้เป็นที่ฝังหรือเผาศพ.
【 ป่าชายเลน, ป่าเลน 】แปลว่า: น. ป่าที่อยู่ตามชายทะเลที่มีเลนและนํ้าทะเลขึ้นถึง ต้นไม้ในป่า
ประเภทนี้มักมีรากงอกอยู่เหนือพื้นดินเพื่อคํ้ายันลําต้น โดยมาก
เป็นไม้โกงกาง แสม และลําพู.
【 ป่าดง 】แปลว่า: น. ป่าที่มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นทึบ.
【 ป่าดงดิบ, ป่าดิบ 】แปลว่า: น. ป่าไม้ที่มีอยู่ทั่วไปในเขตร้อน ฝนชุก เป็นป่าไม้สีเขียวไม่ผลัดใบ.
【 ป่าดงพงไพร 】แปลว่า: (ปาก) น. ป่า.
【 ป่าแดง 】แปลว่า: น. ป่าที่มีใบไม้ร่วงตามฤดูกาล เช่น ป่าเต็ง ป่ารัง.
【 ป่าเถื่อน 】แปลว่า: ว. ห่างไกลจากที่อยู่ของคน, ยังไม่เจริญ; ทารุณโหดร้าย.
【 ป่าทึบ 】แปลว่า: น. ป่าที่มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่น.
【 ป่าเบญจพรรณ 】แปลว่า: น. ป่าที่มีไม้หลายพรรณคละกัน.
【 ป่าโปร่ง 】แปลว่า: น. ป่าที่มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นไม่หนาแน่นนัก.
【 ป่าผลัดใบ 】แปลว่า: น. ป่าไม้ที่ผลัดใบหรือสลัดใบในบางฤดู.
【 ป่าแพะ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ป่าละเมาะ.
【 ป่าไม้พุ่ม 】แปลว่า: น. ป่าที่มีต้นไม้พุ่มขึ้นทึบ และยังไม่มีการบุกเบิก.
【 ป่าระนาม 】แปลว่า: น. ป่าที่มีนํ้าฉําแฉะ.
【 ป่าละเมาะ 】แปลว่า: น. ที่โล่งมีพุ่มไม้เล็ก ๆ เป็นหย่อม ๆ.
【 ป่าสงวนแห่งชาติ 】แปลว่า: (กฎ) น. ป่าที่กำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติตามกฎหมาย
ว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อรักษาสภาพป่า ไม้ ของป่า หรือ
ทรัพยากรธรรมชาติอื่น.
【 ป่าสูง 】แปลว่า: น. ป่าที่อยู่ในที่สูงขึ้นไป.
【 ป่าเส็งเคร็ง 】แปลว่า: น. ป่าไม้เล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งไม่ใช่ป่าสําคัญ.
【 ป่าใส 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ป่าไม้อ่อน, ป่าซึ่งได้ถางทําไร่มาแล้ว และมีไม้
รุ่นใหม่เกิดขึ้น ซึ่งโดยมากมักเป็นไม้ชนิดขึ้นเร็ว เนื้อไม่ใคร่แข็ง.
【 ป้า 】แปลว่า: น. พี่สาวของพ่อหรือแม่ หรือหญิงที่มีวัยไล่เลี่ยแต่แก่กว่าพ่อ
หรือแม่, คําเรียกหญิงที่ไม่รู้จักแต่มักมีอายุแก่กว่าพ่อหรือแม่.
【 ปาก 】แปลว่า: น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ อยู่ที่บริเวณใบหน้า มีลักษณะ
เป็นช่องสําหรับกินอาหารและใช้สําหรับเปล่งเสียงได้ด้วย; โดย
ปริยายหมายถึงส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ในบริเวณปาก เช่น ปากเปื่อย; ขอบ
ช่องแห่งสิ่งต่าง ๆ เช่น ปากหม้อ ปากไห; ต้นทางสําหรับเข้าออก เช่น
ปากช่อง ปากตรอก; กลีบดอกกล้วยไม้คล้ายรูปกรวยหรือหลอดที่อยู่
ตรงกลางเป็นที่อยู่ของเกสร, กระเป๋า ก็เรียก; ใช้เป็นลักษณนามของสิ่ง
บางอย่างเช่นแหอวนหรือพยานบุคคล เช่น แหปากหนึ่ง อวน ๒ ปาก
พยาน ๓ ปาก. ก. พูด เช่น ดีแต่ปาก.
【 ปากกบ 】แปลว่า: น. รอยมุมของสิ่งที่มีรูปสี่เหลี่ยมประกบกันเป็นรอยแบ่งมุมฉาก
ออกเป็น ๒ มุม เช่น รอยมุมสบง จีวร กรอบรูป กรอบหน้าต่าง.
【 ปากกระจับ 】แปลว่า: น. ชื่อพานขนาดเล็ก ปากเป็นรูปวงรีทำเป็นรูปกลีบบัวคลี่ออก
คล้ายฝักกระจับ.
【 ปากกริว 】แปลว่า: น. รอยปากไม้คล้ายปากกบ แต่มีรอยผ่ามุมฉากไม่ตลอดเหมือน
ปากกบ ผ่าแค่หมดลวดเท่านั้น.
【 ปากกล้า 】แปลว่า: ว. พูดไม่เกรงกลัวใคร.
【 ปากกา ๑, ปากไก่ 】แปลว่า: น. เครื่องสําหรับขีดเขียนชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยตัวปากและด้าม
ตัวปากมักทำด้วยโลหะ เช่น ปากกาคอแร้ง ปากกาเบอร์ ๕ ใช้เสียบ
ที่ด้ามจุ้มหมึกหรือน้ำสีอื่นเขียน.
【 ปากกา ๒ 】แปลว่า: น. เครื่องสําหรับหนีบของใช้ ทําด้วยไม้หรือเหล็กก็มี.
【 ปากกาลูกลื่น 】แปลว่า: น. ปากกาที่ใช้ไส้บรรจุหมึกสําเร็จรูป ปลายไส้มักทําด้วยโลหะ
กลมเล็ก ๆ, ปากกาหมึกแห้ง ก็เรียก.
【 ปากกาหมึกซึม 】แปลว่า: น. ปากกาที่มีไส้สําหรับใส่นํ้าหมึกหรือหลอดบรรจุหมึก น้ำหมึก
จะค่อย ๆ ไหลซึมออกมาที่ปลายปากกาเองโดยไม่ต้องจุ้ม.
【 ปากกาหมึกแห้ง 】แปลว่า: น. ปากกาลูกลื่น.
【 ปากขม 】แปลว่า: ว. อาการที่รู้สึกขมในปากเมื่อเวลาเป็นไข้.
【 ปากแข็ง 】แปลว่า: ว. พูดยืนยันหรือเถียงอย่างดื้อดันไม่ยอมจํานนข้อเท็จจริง.
【 ปากคม 】แปลว่า: ว. พูดจาเหน็บแนมด้วยคารมคมคาย.
【 ปากคอ 】แปลว่า: น. ปาก เช่น ปากคออยู่ไม่สุข.
【 ปากคอเราะราย 】แปลว่า: ว. ชอบพูดจาชวนหาเรื่องไม่เลือกหน้า, ปากเปราะเราะราย ก็ว่า.
【 ปากคัน 】แปลว่า: ว. อาการที่ปากอยู่ไม่สุข ชอบพูด ชอบฟ้อง, ปากตําแย หรือ
ปากบอน ก็ว่า.
【 ปากคำ 】แปลว่า: น. คําให้การ เช่น ให้ปากคำแก่เจ้าหน้าที่สอบปากคำจำเลย.
【 ปากคีบ 】แปลว่า: น. เครื่องคีบเป็นเหล็ก ๒ ขา ส่วนมากมีปลายแหลม สำหรับ
คีบสิ่งของ.
【 ปากจะขาบ 】แปลว่า: /ดู ปากตะขาบ./
【 ปากจัด 】แปลว่า: ว. ชอบพูดจาหรือโต้เถียงด้วยถ้อยคําแข็งกร้าวไม่สุภาพ, ด่าเก่ง,
ชอบพูดจาหยาบคาย.
【 ปากจั่น 】แปลว่า: น. ประตูน้ำอย่างโบราณที่ใช้ไม้ซุงขวาง.
【 ปากจิ้งจก ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อคีมชนิดหนึ่ง ปากแหลมคล้ายปากจิ้งจก ใช้คีบของเล็ก ๆ
ที่อยู่ในที่แคบ ๆ เรียกว่า คีมปากจิ้งจก.
【 ปากจู๋ 】แปลว่า: น. ปากที่ห่อยื่นออกมา.
【 ปากฉลาม, ปากช้าง 】แปลว่า: น. รูปบาดแผลหรือรอยผ้าขาดเป็นรูปสามเหลี่ยมแบะออก
อย่างปากปลาฉลามหรือปากช้าง.
【 ปากตลาด 】แปลว่า: น. ถ้อยคําที่โจษหรือเล่าลือกัน เช่น ปากตลาดเขาว่ากันมา
อย่างนี้. ว. ปากจัด.
【 ปากต่อปาก 】แปลว่า: ก. เล่าโดยการบอกต่อ ๆ กัน; เรียนโดยการบอกด้วยปากเปล่า
(มักใช้แก่ผู้ไม่รู้หนังสือ).
【 ปากตะกร้อ 】แปลว่า: น. เรียกมะม่วงบางชนิด เช่น มะม่วงพิมเสน มะม่วงน้ำดอกไม้
ที่แก่จัดจนหัวเหลืองอยู่บนต้นว่า มะม่วงปากตะกร้อ.
【 ปากตะไกร 】แปลว่า: ว. ปากจัด, ชอบพูดจาเหน็บแนม.
【 ปากตะขาบ 】แปลว่า: น. รูปเป็นง่ามอย่างเขี้ยวตะขาบ; ชื่อกบไสไม้มีคมเป็นง่ามสําหรับ
ไสไม้ให้เป็นลวดลาย, ปากจะขาบ ก็เรียก.
【 ปากตำแย 】แปลว่า: ว. อาการที่ปากอยู่ไม่สุข ชอบพูด ชอบฟ้อง, ปากคัน หรือ ปากบอน ก็ว่า.
【 ปากแตร ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อกระโถนชนิดหนึ่ง ปากบานอย่างปากแตรหรือดอกลําโพง.
【 ปากใต้ 】แปลว่า: น. ปักษ์ใต้, ฝ่ายใต้.
【 ปากนก 】แปลว่า: น. ชื่อดาวฤกษ์บูรพาษาฒ; ชื่อหินสําหรับใช้นกสับให้เป็นประกาย.
【 ปากนกกระจอก 】แปลว่า: น. เรียกปากที่เป็นแผลเปื่อยขาว ๆ เหลือง ๆ ที่มุมปากว่า
ปากนกกระจอก.
【 ปากนกแก้ว 】แปลว่า: น. ชื่อคีมชนิดหนึ่ง ปากมีลักษณะโค้งเข้าหากันคล้ายปากนกแก้ว
ใช้ถอนตะปู เรียกว่า คีมปากนกแก้ว.
【 ปากน้ำ 】แปลว่า: น. บริเวณที่แควไหลลงมาบรรจบลำน้ำใหญ่ เช่น ปากน้ำโพ หรือ
บริเวณที่ลำน้ำใหญ่ไหลลงสู่ทะเลหรือทะเลสาบ เช่น ปากน้ำเจ้า
พระยา ปากน้ำบางปะกง, บางทีก็ใช้เรียกทางเข้าอ่าวจากมหาสมุทร
หรือทะเลสู่ฝั่งด้วย.
【 ปากบอน 】แปลว่า: ว. อาการที่ปากอยู่ไม่สุข ชอบพูด ชอบฟ้อง, ปากคัน หรือ ปากตําแย
ก็ว่า.
【 ปากบาตร 】แปลว่า: น. เรียกของที่ใส่ฝาบาตรถวายพระเวลาตักบาตรว่า ของปากบาตร.
【 ปากเบา 】แปลว่า: ก. พูดได้เร็ว (ใช้แก่เด็กที่สอนพูด); พูดโดยไม่ยั้งคิด. น. เรียกยุง
ที่กัดไม่ค่อยจะรู้สึกเจ็บว่า ยุงปากเบา.
【 ปากแบะ 】แปลว่า: น. ปากที่มีริมฝีปากล่างยื่นห้อยออกมามาก.
【 ปากปราศรัยใจเชือดคอ 】แปลว่า: (สํา) ก. พูดดีแต่ใจคิดร้าย.
【 ปากปลา 】แปลว่า: น. ส่วนหัวของสําเภาที่ว่างอยู่ ไม่ได้อุดกระดาน.
【 ปากปลาร้า 】แปลว่า: (สํา) ว. ชอบพูดคําหยาบ.
【 ปากปลิง 】แปลว่า: น. ขั้วผลไม้ติดต่อกับก้าน โดยมากเป็นขั้วทุเรียนที่หลุดจากกัน
ได้, ปลิง ก็เรียก.
【 ปากเป็ด ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อปี่ชนิดหนึ่ง มีปากแบนคล้ายปากเป็ด เรียกว่า ปี่ปากเป็ด.
【 ปากเป็นชักยนต์ 】แปลว่า: (สํา) ก. ว่ากล่าวสั่งสอนไม่รู้จักหยุด.
【 ปากเปราะ 】แปลว่า: ก. พูดจาทักทายเก่ง, พูดจาว่าคนง่าย ๆ; เห่าเก่ง (ใช้แก่สุนัข).
【 ปากเปราะเราะราย 】แปลว่า: ว. ชอบพูดจาชวนหาเรื่องไม่เลือกหน้า, ปากคอเราะราย ก็ว่า.
【 ปากเปล่า 】แปลว่า: ก. ว่าโดยไม่ดูตัวหนังสือ เช่น เทศน์ปากเปล่า, เรียกวิธีสอบโดยใช้
วาจาแทนการเขียนคำตอบว่า สอบปากเปล่า.
【 ปากเปียก, ปากเปียกปากแฉะ 】แปลว่า: น. เรียกการว่ากล่าวตักเตือนซํ้าแล้วซํ้าเล่าก็ยังไม่ได้ผลตามที่มุ่งหมาย.
【 ปากโป้ง 】แปลว่า: ก. ชอบพูดเปิดเผยสิ่งที่ไม่สมควรออกมาโดยไม่คํานึงถึงความ
ผิดพลาดเสียหาย.
【 ปากไปล่ 】แปลว่า: น. ชื่อชามชนิดหนึ่ง ก้นเล็กปากบานอย่างรูปงอบหงาย.
【 ปากพล่อย 】แปลว่า: ก. พูดโดยไม่คำนึงว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่จริง.
【 ปากม้า 】แปลว่า: ว. ปากร้าย, ชอบพูดหยาบคาย.
【 ปากมาก 】แปลว่า: ว. ชอบพูดว่าคนอื่นซํ้า ๆ ซาก ๆ, พูดมาก, (ในทางช่างว่า ช่างติ),
พูดขยายเรื่องเล็กน้อยให้มากออกไป.
【 ปากไม้ 】แปลว่า: น. รอยบากหรือรอยเจาะที่ตัวไม้สําหรับเอาตัวไม้นั้นประกบกัน.
【 ปากไม่มีหูรูด 】แปลว่า: ว. ที่พูดพล่าม พูดพล่อย หรือพูดโดยไม่ยั้งคิดเสียก่อนว่าอะไร
ควรพูดหรือไม่ควรพูด.
【 ปากไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม 】แปลว่า: (สํา) ว. ยังเป็นเด็ก.
【 ปากร้าย 】แปลว่า: ว. มักดุด่าว่าร้าย.
【 ปากร้ายใจดี 】แปลว่า: ก. พูดจาดุด่าแต่น้ำใจดี.
【 ปากเรือ 】แปลว่า: น. ดาดฟ้าเรือ.
【 ปากลำโพง 】แปลว่า: ว. ชอบโพนทะนาหรือเปิดเผยเรื่องราวต่าง ๆ ที่ตนรู้มา.
【 ปากว่าตาขยิบ 】แปลว่า: (สํา) ก. พูดอย่างหนึ่งแต่ทําอีกอย่างหนึ่ง. ว. ปากกับใจไม่ตรงกัน.
【 ปากว่ามือถึง 】แปลว่า: (สํา) ก. พอพูดก็ทําเลย.
【 ปากสว่าง 】แปลว่า: ว. ชอบเปิดเผยเรื่องของผู้อื่น.
【 ปากเสียง 】แปลว่า: ก. โต้เถียง, ทะเลาะ, ในคำว่า เป็นปากเสียง มีปากเสียง. น. ผู้พูด
หรือโต้เถียงแทน เช่น ผู้แทนราษฎรเป็นปากเสียงของประชาชน.
【 ปากหนัก 】แปลว่า: ว. ไม่ใคร่พูดขอร้องต่อใคร ๆ, ไม่ใคร่ทักทายใคร. ก. พูดได้ช้า
(ใช้แก่เด็กที่สอนพูด). น. เรียกยุงที่กัดเจ็บมาก ว่า ยุงปากหนัก.
【 ปากหมา 】แปลว่า: ว. ชอบพูดจาว่าร้ายคนอื่น.
【 ปากหมู 】แปลว่า: น. ปากที่มีลักษณะยื่นบานเหมือนปากหมู.
【 ปากหวาน 】แปลว่า: ว. พูดจาไพเราะ (มักใช้ในทางที่ล่อใจหรือไม่จริงใจ); อาการที่
รู้สึกหวานในปากเมื่อเวลาเป็นไข้.
【 ปากหวานก้นเปรี้ยว 】แปลว่า: (สํา) ก. พูดจาอ่อนหวานแต่ไม่จริงใจ.
【 ปากหอยปากปู 】แปลว่า: ว. ชอบนินทาเล็กนินทาน้อย; ไม่กล้าพูด, พูดไม่ขึ้นหรือพูด
ไม่มีใครสนใจฟัง (ใช้แก่ผู้น้อย).
【 ปากเหยี่ยวปากกา 】แปลว่า: น. ภัยอันตราย.
【 ปากกระบะ 】แปลว่า: น. ชื่องูพิษร้ายชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓).
【 ปากกว้าง 】แปลว่า: น. ชื่องูนํ้าชนิด/ Homalopsis buccata/ ในวงศ์ Colubridae
กินปลาเป็นอาหาร มีพิษอ่อนมาก.
【 ปากขอ 】แปลว่า: น. ชื่อพยาธิตัวกลมขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Ancylostomatidae
มีส่วนหัวโค้งงอคล้ายตาขอ ในช่องปากมีฟันแหลมหรือเป็นแผ่น
ใช้เกาะเกี่ยวผนังลำไส้ อาศัยดูดกินเลือดมนุษย์และสัตว์ ขนาดเล็ก
ที่สุดยาวประมาณ ๕ มิลลิเมตร ขนาดใหญ่ที่สุดยาวประมาณ ๓๐
มิลลิเมตร เช่น ชนิด /Necator americanus, Ancylostoma duodenale/
อยู่ในลำไส้เล็กของมนุษย์ ชนิด /A. braziliense, A. ceylanicum /อยู่ใน
ลำไส้เล็กของสุนัขและแมว.
【 ปากคอก 】แปลว่า: น. หญ้าปากคอก. /(ดู ตีนกา ๓)./
【 ปากจอบ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานชนิด /Isopachys gyldenstolpei/ ในวงศ์
Scincidae ตัวกลมเป็นมัน สีนํ้าตาลเหลืองลายดํา หางสั้น
ปลายตัดอาศัยตามดินร่วนหรือดินปนทราย, จิ้งเหลนด้วง ก็เรียก.
【 ปากจิ้งจก ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ปาก./
【 ปากจิ้งจก ๒ 】แปลว่า: น. ชื่องูชนิด /Ahaetulla prasina/ ในวงศ์ Colubridae หัวและตัว
เรียวยาว ส่วนมากตัวสีเขียวปลายหางสีนํ้าตาลแดง ยาวประมาณ
๑.๓ เมตร ตัวสีส้มเรียก งูง่วงกลางดง ตัวสีเทาเรียก งูกล่อมนางนอน
มีพิษอ่อนมาก.
【 ปากซ่อม 】แปลว่า: น. ชื่อนกในวงศ์ Scolopacidae ลําตัวป้อม ลายนํ้าตาลและขาว
ปากยาวแหลมเล็ก ขาสั้น หากินในเวลาพลบคํ่าและเวลากลางคืน
ใช้ปากแทงหาอาหารจําพวกหนอนและไส้เดือนในดิน มักอยู่ตาม
ลําพัง มีหลายชนิด เช่น ปากซ่อมหางเข็ม (/Gallinago stenura/)
ปากซ่อมหางพัด (/G. gallinago/) ปากซ่อมดง (/Scolopax/
/rusticola/).
【 ปากแตร ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ปาก./
【 ปากแตร ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาทะเลในสกุล/ Fistularia/ วงศ์ Fistulariidae หัวและ
ลําตัวแบนลงแต่แคบและยาวมาก ตาโต ปากเป็นท่อยาว มีช่อง
ปากขนาดเล็กอยู่ปลายสุดเชิดขึ้นดูคล้ายแตร ลําตัวไม่มีเกล็ด
ครีบหลังและครีบก้นอยู่ค่อนไปทางหาง ครีบหางเป็นแฉกมี
เส้นยาวคล้ายแส้ยื่นออกจากกึ่งกลางครีบ ลําตัวทั่วไปรวมทั้งหัว
และครีบสีนํ้าตาลแดง ขนาดยาวได้ถึง ๑ เมตร, สามรส ก็เรียก.
【 ปากเป็ด ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ปาก./
【 ปากเป็ด ๒ 】แปลว่า: น. ชื่องูหลามชนิด /Python curtus/ ในวงศ์ Pythonidae ตัวอ้วนสั้น
สีแดงหรือส้ม มีลายดําและเทา อาศัยตามโพรงไม้โพรงดิน หากิน
ตามพื้นดิน ตามปรกติไม่ขึ้นต้นไม้ พบทางภาคใต้ของประเทศไทย
และมาเลเซีย ไม่มีพิษ.
【 ปากราก 】แปลว่า: [ปากราก] น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓).
【 ปากห่าง 】แปลว่า: น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด /Anastomus oscitans /ในวงศ์ Ciconiidae
ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกกาบบัวแต่ตัวเล็กกว่า ลําตัวสีเทาอมขาว แต่
จะเป็นสีเทาเข้มในฤดูผสมพันธุ์ ปากหนาแหลมตรง เมื่อจะงอยปาก
สบกัน ส่วนกลางของปากบนและปากล่างแยกห่างจากกัน ทั้งนี้เพื่อ
สะดวกในการคาบเหยื่อ กินหอยเป็นอาหารหลักโดยเฉพาะหอยโข่ง
มีที่วัดไผ่ล้อม จังหวัดปทุมธานี เป็นจํานวนมาก.
【 ปาง ๑ 】แปลว่า: น. ครั้ง, คราว, เมื่อ, เช่น ปางก่อน ปางหลัง, ยุค, สมัย, เช่น
นารายณ์ ๑๐ ปาง; ท่าของพระพุทธรูปที่แสดงถึงอิริยาบถต่าง ๆ
เช่น พระพุทธรูปปางห้ามญาติ; ที่พักกลางป่าชั่วคราว เช่น ตั้งปาง.
【 ปาง ๒ 】แปลว่า: ว. แทบ, เกือบ, จวน, เช่น ปางตาย ว่า จวนตาย.
【 ป่าง 】แปลว่า: (โบ) น. ปาง, ครั้ง, คราว, เมื่อ.
【 ป้าง 】แปลว่า: น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง มีตับและม้ามโต มีไข้คลุมเครือเรื้อรัง คือ
ไข้จับสั่นเรื้อรัง, จุกผาม ก็เรียก.
【 ป้างป่า 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Chlorophytum orchidastrum/ Lindl. ในวงศ์
Anthericaceae โคนต้นเมื่อลอกเอาใบออกจะเห็นด้านในมีเนื้อ
สีขาว ๆ กินได้.
【 ปาจนะ 】แปลว่า: ปาจะ-] (แบบ) น. ประตัก. (ป.; ส. ปฺราชน).
【 ปาจรีย์, ปาจารย์ 】แปลว่า: [ปาจะรี, ปาจาน] น. อาจารย์ของอาจารย์. (ป.; ส. ปฺราจารฺย =
ปฺราคต + อาจารฺย).
【 ปาจิตตีย์ 】แปลว่า: น. ชื่ออาบัติหมวดหนึ่ง จัดไว้ในพวกอาบัติเบาที่เปรียบด้วย
ลหุโทษ. (ป.).
【 ปาจีน 】แปลว่า: น. ปราจีน. (ป.).
【 ปาฏลิ 】แปลว่า: -ตะ น. ไม้แคฝอย. (ป.).
【 ปาฏิบท 】แปลว่า: (แบบ) น. วันขึ้นคํ่าหนึ่ง หรือแรมคํ่าหนึ่ง. (ป.).
【 ปาฏิบุคลิก 】แปลว่า: -บุกคะลิก ว. เฉพาะบุคคล, ไม่ทั่วไป. (ป. ปาฏิปุคฺคลิก).
【 ปาฏิโภค 】แปลว่า: (แบบ) น. ผู้รับประกัน, นายประกัน. (ป.).
【 ปาฏิหาริย์ 】แปลว่า: [-ติหาน] น. สิ่งที่น่าอัศจรรย์, ความอัศจรรย์, มี ๓ อย่าง คือ
๑. อิทธิปาฏิหาริย์ = ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ หมายถึง การแสดงฤทธิ์
ที่พ้นวิสัยของสามัญมนุษย์ได้อย่างน่าอัศจรรย์ ๒. อาเทสนา
ปาฏิหาริย์ = การดักใจเป็นอัศจรรย์ หมายถึง การดักใจทายใจ
คนได้อย่างน่าอัศจรรย์ ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ = การสอนเป็น
อัศจรรย์ หมายถึง คำสั่งสอนอันอาจจูงใจคนให้นิยมเชื่อถือไป
ตามได้อย่างน่าอัศจรรย์. (ปาก) ก. กระทำสิ่งที่ตามปรกติทำ
ไม่ได้ เช่น ปาฏิหาริย์ขึ้นไปอยู่บนหลังคา. (ป.).
【 ปาฐ-, ปาฐะ 】แปลว่า: -ถะ น. เรื่องราว, บาลี, คัมภีร์, วิธีสาธยายคัมภีร์พระเวท.
(ป., ส.).
【 ปาฐก 】แปลว่า: [-ถก] น. ผู้แสดงปาฐกถา. (ป., ส.).
【 ปาฐกถา 】แปลว่า: [-ถะกะถา] น. ถ้อยคําหรือเรื่องราวที่บรรยายในที่ชุมนุมชนเป็นต้น.
ก. บรรยายเรื่องราวในที่ชุมนุมชนเป็นต้น. (ป.).
【 ปาณ-, ปาณะ 】แปลว่า: [-นะ] น. ลมหายใจ; สัตว์มีชีวิต, ชีวิต. (ป.; ส. ปฺราณ).
【 ปาณทัณฑ์ 】แปลว่า: น. โทษถึงชีวิต. (ป.; ส. ปฺราณทณฺฑ).
【 ปาณนาศ 】แปลว่า: น. ความตาย. (ส. ปฺราณนาศ).
【 ปาณภูต 】แปลว่า: น. สัตว์เป็น. ว. มีลมหายใจ. (ป.; ส. ปฺราณภูต).
【 ปาณวินาศ 】แปลว่า: น. ความตาย. (ส. ปฺราณวินาศ).
【 ปาณสาร 】แปลว่า: น. กําลังอันว่องไวหรือประเปรียว. (ป.; ส. ปฺราณสาร).
【 ปาณาติบาต 】แปลว่า: น. การทําลายชีวิตมนุษย์และสัตว์อื่น ๆ, การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เช่น
ทําปาณาติบาต หากินทางปาณาติบาต. (ป.).
【 ปาณก- 】แปลว่า: [-นะกะ-] น. หนอน, สัตว์มีชีวิต. (ป.).
【 ปาณกชาติ 】แปลว่า: [-นะกะชาด] น. หนอน. (ป.).
【 ปาณาติบาต 】แปลว่า: /ดู ปาณ-, ปาณะ./
【 ปาณิ, ปาณี ๑ 】แปลว่า: น. มือ, ฝ่ามือ. (ป., ส.).
【 ปาณิเคราะห์ 】แปลว่า: น. การจับเจ้าสาวด้วยมือ คือ การแต่งงาน. (ส. ปาณิคฺรห;
ป. ปาณิคฺคห).
【 ปาณิดล 】แปลว่า: น. ฝ่ามือ. (ป., ส. ปาณิตล).
【 ปาณิธรรม 】แปลว่า: น. พิธีแต่งงาน. (ส. ปาณิธรฺม).
【 ปาณิมุกต์ 】แปลว่า: น. ศัสตราที่พุ่งด้วยมือ เช่น หอก หลาว. (ส.).
【 ปาณิมูล 】แปลว่า: น. ข้อมือ. (ส.).
【 ปาณี ๒ 】แปลว่า: น. สัตว์, คน. ว. มีลมหายใจอยู่, ยังเป็นอยู่. (ป.; ส. ปฺราณินฺ).
【 ปาด ๑ 】แปลว่า: ก. เอาส่วนที่ไม่ต้องการออกโดยวิธีฝานบาง ๆ หรือกวาดออก
เช่น ปาดผลไม้ส่วนที่เสียออก ปาดปากถังปากสัดปากทะนาน,
โดยปริยายหมายความว่า เอาของมีคมฟันแฉลบ ๆ เช่น
เอามีดปาดหน้า.
【 ปาดหน้า 】แปลว่า: ก. แซงตัดหน้า ในคำว่า ขับรถปาดหน้า.
【 ปาด ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบก ในวงศ์ Rhacophoridae
รูปร่างคล้ายเขียดแต่อาศัยอยู่ตามต้นไม้ ปลายนิ้วแบนช่วยใน
การเกาะ ทํากองฟองวางไข่ตามกิ่งไม้ชายนํ้า มีหลายชนิด เช่น
ชนิด/ Rhacophorus leucomystax/ ซึ่งพบทั่วไป, ปาดบิน
(/R. nigropalmatus/), เขียดตะปาด ก็เรียก.
【 ปาดหาว 】แปลว่า: น. ลมที่พาใบเรือตลบขึ้นปลายเสา.
【 ปาติโมกข์ 】แปลว่า: น. คัมภีร์ว่าด้วยวินัยของสงฆ์ ๒๒๗ ข้อ, ชื่อบาลีที่ประมวล
พุทธบัญญัติอันทรงตั้งขึ้นเป็นพุทธอาณา ได้แก่ อาทิพรหม
จริยกาสิกขา มีพระพุทธานุญาตให้สวดในที่ประชุมสงฆ์ทุกวัน
อุโบสถ. (ป.).
【 ปาตี 】แปลว่า: น. ผู้เป็นใหญ่. (ช.).
【 ปาเต๊ะ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อตําแหน่งขุนนาง. (ช.).
【 ปาเต๊ะ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อผ้าโสร่งชนิดหนึ่ง ใช้เคลือบด้วยขี้ผึ้งเหลวบางตอน
ที่ไม่ต้องการให้มีสีสันหรือลวดลาย. (ม. batik).
【 ปาทป 】แปลว่า: น. บาทบ, ต้นไม้. (ป., ส.).
【 ปาท่องโก๋ 】แปลว่า: น. ของกินชนิดหนึ่งของจีน ทําด้วยแป้งข้าวเจ้ากับนํ้าตาลทราย
รูปสี่เหลี่ยม เนื้อคล้ายขนมถ้วยฟู; ของกินชนิดหนึ่งของจีน
ทําด้วยแป้งสาลีตัดเป็นท่อน ๆ แล้วจับเป็นคู่ติดกัน ทอดนํ้ามัน
ให้พอง, คนจีนเรียกว่า อิ้วจาก๊วย.
【 ปาทะ 】แปลว่า: น. บาท, ตีน. (ป.).
【 ปาทังกา 】แปลว่า: น. ชื่อตั๊กแตนชนิด /Patanga succincta/ ในวงศ์ Acrididae
ตัวยาว ๖-๗ เซนติเมตร กว้าง ๗-๘ มิลลิเมตร สีแตกต่างกันไป
เป็นสีนํ้าตาล นํ้าตาลแก่ แดงอมเขียว มีแถบสีครีมทอดจากหน้า
ไปสันหลังปล้องอกจนถึงปีก ใต้ตามีแถบสีครีมยาวเรียวรูปดาบ
ปีกมีรอยจุดและรอยด่างกระจายทั่วไป อาจพบอยู่เดี่ยว ๆ
หรือเป็นฝูง ทําลายพืชต่าง ๆ.
【 ปาทาน 】แปลว่า: น. เรียกแขกเผ่าหนึ่งส่วนใหญ่อยู่ในอัฟกานิสถาน ว่า
แขกปาทาน. (ฮ. ปฐาน).
【 ปาทุกา 】แปลว่า: (แบบ) น. รองเท้า, เขียงเท้า, เขียนเป็น บราทุกรา หรือ
ปราทุกรา ก็มี. (ป., ส.).
【 ปาน ๑, ปานะ 】แปลว่า: ปานะ น. เครื่องดื่ม, นํ้าสําหรับดื่ม. (ป.).
【 ปาน ๒ 】แปลว่า: น. รอยสีแดงหรือสีดําเป็นต้นที่เกิดเป็นเองตามร่างกาย
บางแห่งแต่กําเนิด.
【 ปาน ๓ 】แปลว่า: ว. เหมือน, คล้าย, เช่น เก่งปานกัน; เช่น, เพียง, ดัง, เช่น ดีถึงปานนี้
เก่งอะไรปานฉะนี้.
【 ปานกลาง 】แปลว่า: ว. ขนาดกลาง, ไม่มากไม่น้อย, พอสมควร, อยู่ระหว่างที่สุด ๒
ฝ่าย เช่นระหว่างสูงกับต่ำ ใหญ่กับเล็ก มากกับน้อย ฉลาดกับโง่.
【 ปานฉะนี้, ปานนี้ 】แปลว่า: ว. เช่นนี้, เพียงนี้.
【 ป่าน 】แปลว่า: น. ชื่อพรรณไม้หลายชนิดหลายสกุลในหลายวงศ์ เปลือกเป็น
ใยเหนียว ใช้ทอผ้าและทําเชือก เช่น ป่านรามี [/Boehmeria nivea/
(L.) Gaudich.] ในวงศ์ Urticaceae, ป่านมนิลา (/Musa textilis/ L.)
ในวงศ์ Musaceae; เชือกที่ทําด้วยป่าน, ถ้าใช้ชักว่าวเรียกว่า
ป่านว่าว, ถ้าเป็นเส้นเล็กเรียกว่า ป่านแลบ, ถ้ายังเป็นกาบอยู่
ยังไม่ได้ฟั่นเชือกเรียกว่า ป่านกลีบ; ชื่อผ้าเนื้อละเอียดและบาง
โปร่งที่ทอจากเส้นใยพืชบางชนิด เรียกว่า ผ้าป่าน.
【 ป่านคม 】แปลว่า: น. เส้นด้ายชักว่าวที่เอาผงแก้วผสมกาวหรือแป้งเปียกเป็นต้น
ทาเพื่อให้คม.
【 ป้าน ๑ 】แปลว่า: น. ภาชนะดินสําหรับชงนํ้าชา มีพวยเหมือนกา, ใช้ว่า ปั้น ก็มี.
【 ป้าน ๒, ป้าน ๆ 】แปลว่า: ว. ทู่, ไม่แหลม, เช่น เสื้อคอป้าน ถากเสาเข็มให้ป้าน ๆ.
【 ปานดง 】แปลว่า: น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง ตามตําราแพทย์แผนโบราณว่ามีอาการ
เจ็บปวดแล่นไปตามผิวหนัง.
【 ป่านนี้ 】แปลว่า: น. เวลาจนกระทั่งบัดนี้ เช่น ป่านนี้ยังไม่มาเลย ป่านนี้เขาไป
ถึงไหนแล้ว.
【 ป้านลม 】แปลว่า: น. ชื่อไม้แผ่นที่พาดบนหัวแป ใช้ปิดริมหลังคาด้านหัวและ
ท้ายเรือนกันลมตีเครื่องมุง, ปั้นลม ก็ว่า.
【 ปานิเยน 】แปลว่า: น. กระดังงาจีน. (ช.).
【 ปานีย-, ปานียะ 】แปลว่า: [ปานียะ-] ว. ควรดื่ม, น่าดื่ม, ดื่มได้. (ป., ส.).
【 ปานีโยทก 】แปลว่า: น. นํ้าควรดื่ม. (ป., ส. ปานีย + อุทก).
【 ปานีโยทก 】แปลว่า: /ดู ปานีย-, ปานียะ./
【 ป้าบ, ป๊าบ 】แปลว่า: ว. เสียงอย่างเสียงตีด้วยไม้แบน ๆ.
【 ปาป- 】แปลว่า: [ปาปะ-] น. บาป. (ป., ส.).
【 ปาปมุต 】แปลว่า: ว. ไม่มีใครถือโทษ.
【 ปาปอหยีสังฆาตา 】แปลว่า: [-ปอหฺยี-] น. บิดา, พ่อ. (ช.).
【 ปาพจน์ 】แปลว่า: น. คําเป็นประธาน, พุทธวจนะ, คําบาลี. (ป. ปาวจน).
【 ปาม 】แปลว่า: ก. ขยุ้มด้วยมือ, ซุ่มซ่ามเข้าไป, กินอย่างตะกละ.
【 ปามปึงมา 】แปลว่า: ก. พรวดพราดเข้ามา เช่น มีมือถือดาบกล้าอวดค้า ๆ คำราม
คำรนปามปึงมาด้วยด่วนแล. (ม. คำหลวง กุมาร).
【 ปาโมกข์ 】แปลว่า: น. ผู้เป็นหัวหน้า, ผู้เป็นประธาน. (ป.).
【 ป่าย ๑ 】แปลว่า: ว. ปีนขึ้นไปด้วยความยากลําบาก, มักใช้เข้าคู่กับคํา ปีน เป็น ป่ายปีน
หรือ ปีนป่าย.
【 ป่ายปีน 】แปลว่า: ก. ปีนหรือตะกายขึ้นไปด้วยความยากลำบาก, ปีนป่าย ก็ว่า.
【 ป่าย ๑ 】แปลว่า: ก. เหวี่ยงพาดไป เช่น เหวี่ยงซ้ายป่ายขวา.
【 ป้าย ๑ 】แปลว่า: น. แผ่นหนังสือหรือแผ่นเครื่องหมายที่บอกให้รู้ เช่น ป้ายชื่อ
ห้างร้าน ป้ายจราจร; (กฎ) วัตถุที่แสดงหรือโฆษณาด้วยอักษร
ใช้เวลาน้อยกว่าย่าง เช่น ปิ้งข้าวเกรียบ ปิ้งเนื้อเค็ม ปิ้งปลาแห้ง.
ว. ที่ทําให้สุกด้วยวิธีเช่นนั้น เช่น ข้าวเหนียวปิ้ง กล้วยปิ้ง หมูปิ้ง.
【 ปิ้งปลาประชดแมว 】แปลว่า: (สํา) ก. ทําประชดหรือแดกดัน ซึ่งรังแต่จะเสียประโยชน์, มักพูดเข้าคู่
กับ หุงข้าวประชดหมา ว่า หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว.
【 ปิงคล-, ปิงคละ 】แปลว่า: [-คะละ] น. ชื่อตระกูลช้างสีแสด. ว. สีแสด, สีนํ้าตาล. (ป., ส.).
【 ปิงคลหัตถี 】แปลว่า: [ปิงคะละ-] น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีทองอ่อน
ดั่งสีตาแมว. /(ดู กาฬาวก)./
【 ปิงปอง 】แปลว่า: น. ชื่อกีฬาชนิดหนึ่ง ผู้เล่นใช้ไม้แบนตีลูกกลม ๆ ซึ่งทําด้วย
เซลลูลอยด์ข้ามตาข่ายที่ขึงอยู่บนโต๊ะสี่เหลี่ยมโต้กันไปมา
ทํานองเทนนิส, เรียกลูกกลม ๆ ซึ่งทําด้วยเซลลูลอยด์ที่ใช้
เล่นปิงปองว่า ลูกปิงปอง. (อ. pingpong).
【 ปิฎก 】แปลว่า: น. ตะกร้า; หมวดแห่งคําสอนในพระพุทธศาสนา. (ป., ส. ปิฏก).
/(ดู ไตรปิฎก ที่ ไตร)./
【 ปิฏฐะ 】แปลว่า: ปิดถะ น. แป้ง. (ป.).
【 ปิฐิ 】แปลว่า: ปิดถิ น. หลัง. (ป. ปิฏฺ??; ส. ปฺฤษฺ?).
【 ปิณฑะ 】แปลว่า: ปินดะ น. ก้อนข้าว. (ป., ส.).
【 ปิด 】แปลว่า: ก. กันหรือกั้นไว้ไม่ให้เผยออก เช่น ปิดฝาหม้อ, กันหรือกั้นไว้ให้
เข้าออกไม่ได้ เช่น ปิดถนน; ติด เช่น ปิดประกาศ ปิดทอง; โดย
ปริยายหมายความว่า หยุด เช่น โรงเรียนปิด, ทําให้หยุด เช่น
ปิดพัดลม ปิดวิทยุ, ไม่เปิดเผย เช่น ปิดวิชา ปิดความ.
【 ปิดกล้อง 】แปลว่า: (ปาก) ก. เสร็จการถ่ายภาพยนตร์ครั้งสุดท้ายของแต่ละเรื่อง.
【 ปิดคดี 】แปลว่า: (กฎ) ก. การที่โจทก์และจําเลยแถลงด้วยปาก หรือหนังสือ หรือทั้ง
๒ อย่างเมื่อสืบพยานจําเลยเสร็จแล้ว เพื่อสรุปประเด็นข้อเท็จจริง
หรือข้อกฎหมายต่อศาลก่อนมีคําพิพากษา.
【 ปิดควันไฟไม่มิด 】แปลว่า: (สํา) ก. ปิดเรื่องที่อื้อฉาวไปทั่วแล้วไม่สําเร็จ.
【 ปิดฉาก 】แปลว่า: (ปาก) ก. เลิก, หยุด, ยุติ, เช่น เรื่องนี้ปิดฉากแล้ว.
【 ปิดตาย 】แปลว่า: ก. ปิดตลอดไป.
【 ปิดทองหลังพระ 】แปลว่า: (สํา) ก. ทําความดีแต่ไม่ได้รับการยกย่อง เพราะไม่มีใครห็นคุณค่า.
【 ปิดบัง 】แปลว่า: ก. ไม่เปิดเผย เช่น ปิดบังความรู้ ปิดบังความจริง.
【 ปิดบัญชี 】แปลว่า: ก. บันทึกสรุปผลการดําเนินกิจการเมื่อสิ้นงวดหรือครบปีบัญชี
เพื่อแสดงให้รู้ว่าได้กําไรหรือขาดทุนเท่าไร.
【 ปิดเบา 】แปลว่า: ก. ถ่ายปัสสาวะไม่ออก.
【 ปิดประตูค้า 】แปลว่า: ก. ถืออํานาจค้าแต่ผู้เดียว.
【 ปิดประตูตีแมว 】แปลว่า: (สํา) ก. รังแกคนไม่มีทางสู้และไม่มีทางหนีรอดไปได้.
【 ปิดปาก 】แปลว่า: ก. ไม่พูด หรือไม่ให้พูด เช่น ปิดปากเงียบ พยานถูกฆ่าปิดปาก.
【 ปิดสำนวน 】แปลว่า: (ปาก) ก. ยุติการสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดี.
【 ปิดหนักปิดเบา 】แปลว่า: ก. ถ่ายอุจจาระปัสสาวะไม่ออก.
【 ปิดหีบไม่ลง 】แปลว่า: (ปาก) ว. มีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ (มักใช้แก่งบประมาณแผ่นดิน
ที่ไม่สู่ดุล).
【 ปิดหูปิดตา 】แปลว่า: ก. ไม่ยอมรับรู้รับฟัง, ไม่ยอมให้รู้ให้เห็น.
【 ปิดอ่าว 】แปลว่า: ก. ใช้เรือรบหรือทุ่นระเบิดเป็นต้นปิดที่ปากอ่าวของฝ่ายตรงข้าม
ไม่ให้เรือเข้าออก.
【 ปิดเต๊าะ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นพุงดอ. /(ดู พุงดอ)./
【 ปิตตะ 】แปลว่า: น. นํ้าดี, นํ้าจากต่อมตับ. (ป. ปิตฺต).
【 ปิตา 】แปลว่า: (แบบ) น. บิดา, พ่อ. (ป.; ส. ปิตฺฤ).
【 ปิตามหะ 】แปลว่า: [-มะหะ] น. ปู่; นามพระพรหม. (ป.).
【 ปิตามหัยกา, ปิตามหัยยิกา 】แปลว่า: -มะไหยะกา, -มะไหยิกา น. ปู่ทวด, ตาทวด.
【 ปิตุ 】แปลว่า: (แบบ) น. พ่อ. (ป.).
【 ปิตุฆาต 】แปลว่า: [ปิตุคาด] น. การฆ่าพ่อ. (ป.).
【 ปิตุภูมิ 】แปลว่า: [-พูม] น. บ้านเกิด, เมืองเกิด.
【 ปิตุจฉาส 】แปลว่า: [-ตุด-] น. อา (ผู้หญิง), ป้า (ญาติฝ่ายพ่อ). (ป.).
【 ปิตุละ, ปิตุลา 】แปลว่า: น. ลุง, อา, (พี่น้องผู้ชายข้างพ่อ). (ป.).
【 ปิตุลานี 】แปลว่า: น. อา (ผู้หญิง), ป้า (ญาติฝ่ายพ่อ). (ป.).
【 ปิโตรเลียม 】แปลว่า: น. นํ้ามันดิบ ประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนและสารอินทรีย์
อื่น ๆ อีกมาก องค์ประกอบไม่แน่นอนแล้วแต่แหล่งที่พบ.
(อ. petroleum).
【 ปิ่น 】แปลว่า: น. เครื่องประดับสําหรับปักผมที่มุ่นเป็นจุก; จอม, ยอด, เช่น
ปิ่นพิภพ.
【 ปิ่นซ่น 】แปลว่า: น. ปิ่นที่มีคันมีจงกลและปริกทําด้วยทองคําประดับพลอย. (ปรัดเล).
【 ปิ่นแก้ว 】แปลว่า: น. ชื่อข้าวเจ้าพันธุ์ดีพันธุ์หนึ่ง.
【 ปิ่นตอ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิดหนึ่งในสกุล/ Commelina/ วงศ์ Commelinaceae
ใช้ทํายาได้, หญ้าปีนตอ ก็เรียก.
【 ปิ่นโต 】แปลว่า: น. ภาชนะสําหรับใส่ของกิน ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ มีหูร้อยหิ้วได้,
ลักษณนามว่า เถา เช่น ปิ่นโต ๒ เถา.
【 ปิปผลี 】แปลว่า: [ปิบผะลี] น. ดีปลี. (ป.; ส. ปิปฺปลี).
【 ปิ่ม, ปิ้ม 】แปลว่า: ว. เกือบ, จวน, แทบ.
【 ปิย- 】แปลว่า: [ปิยะ-] ว. ที่รัก, สําหรับประกอบหน้าศัพท์ต่าง ๆ เช่น ปิยบุตร
หรือ ปิโยรส = ลูกที่รัก. (ป.).
【 ปิยังคุ 】แปลว่า: น. ประยงค์. (ป.).
【 ปิโยรส 】แปลว่า: น. ลูกที่รัก. (ป., ส. ปิย + โอรส).
【 ปิลันธน์ 】แปลว่า: [ปิลัน] น. เครื่องประดับ. (ป.).
【 ปิ๋ว ๑ 】แปลว่า: ก. ชักไว้เสีย, เป็นคําใช้ในวิธีเล่นโยนหลุม เมื่อโยนกันจนเหลือ
๑ สตางค์ ก็ชักเอาเสียไม่ต้องโยนอีก เรียกว่า ปิ๋ว; ชวด, พลาด
จากที่หวัง เช่น เขาปิ๋วเงินรางวัลก้อนใหญ่. (ปาก) ว. ริบ เช่น
ถูกปิ๋วเงินประกัน.
【 ปิ๋ว ๒ 】แปลว่า: ว. มักใช้ประกอบคํา เล็ก หมายความว่า เล็กมาก.
【 ปิศาจ 】แปลว่า: น. ผี, ลักษณนามว่า ตน, ปีศาจ ก็ว่า. (ส.; ป. ปิสาจ).
【 ปิศาจบดี 】แปลว่า: [ปิสาจะบอดี] น. นายผี คือ พระศิวะ.
【 ปิสัง 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) ว. อะไร, พิสัง ก็ว่า.
【 ปิไส 】แปลว่า: น. โล่หวาย.
【 ปิหกะ 】แปลว่า: [-หะกะ] น. ม้าม. (โบราณนิยมแปลว่า ไต).
【 ปิหลั่น 】แปลว่า: [-หฺลั่น] น. ค่ายที่ทําให้ขยับรุกเข้าไปหาข้าศึกทีละน้อย ๆ,
วิหลั่น ก็ว่า.
【 ปี 】แปลว่า: น. เวลาชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว ๓๖๕ วัน; เวลา
๑๒ เดือนตามสุริยคติ.
【 ปีกลาย 】แปลว่า: น. ปีที่แล้ว.
【 ปีการศึกษา 】แปลว่า: น. ช่วงเวลาที่สถานศึกษาทําการสอนในรอบ ๑ ปี.
【 ปีงบประมาณ 】แปลว่า: (กฎ) น. ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคมของปีหนึ่งถึงวันที่ ๓๐
กันยายนของปีถัดไป โดยให้ปี พ.ศ. ที่ถัดไปนั้นเป็นชื่อสําหรับ
ปีงบประมาณนั้น.
【 ปีปฏิทิน 】แปลว่า: น. ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคมถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม; (กฎ)
กําหนดระยะเวลา ๑๒ เดือน เริ่มแต่วันที่ ๑ มกราคม และสิ้นสุด
ในวันที่ ๓๑ ธันวาคม.
【 ปีมะโว้ 】แปลว่า: (ปาก) น. เวลานานมาแล้วจนไม่รู้ว่าตั้งแต่เมื่อใด.
【 ปีแสง 】แปลว่า: น. หน่วยวัดระยะซึ่งใช้ในวิชาดาราศาสตร์ โดยกําหนดว่าระยะ
๑ ปีแสง คือ ระยะที่แสงเคลื่อนที่ไปได้ในเวลา ๑ ปี ซึ่งเป็นระยะ
๕.๘๗๘๔๘ x ๑๐๑๒ ไมล์ หรือ ๙.๔๖๐๕ x ๑๐๑๒ กิโลเมตร.
【 ปีหน้าฟ้าใหม่ 】แปลว่า: น. ปีหน้า, เวลาข้างหน้า.
【 ปี่ 】แปลว่า: น. เครื่องดนตรีประเภทเป่าลมอย่างหนึ่งที่ใช้ลิ้น ตัวปี่หรือเลาปี่
มักทำด้วยไม้แก่น เช่น ไม้ชิงชัน ไม้พะยูง มีลักษณะค่อนข้างยาว
ป่องตรงกลาง หัวท้ายบานออกเล็กน้อย ภายในเลาปี่เจาะรูกลวง
ตลอดตั้งแต่หัวจดท้าย มีหลายชนิด เช่น ปี่นอก ปี่ใน ปี่ไฉน ปี่ชวา,
ลักษณนามว่า เลา เช่น ปี่ ๒ เลา.
【 ปี่กลาง 】แปลว่า: น. ปี่ชนิดหนึ่งที่ใช้ในวงปี่พาทย์ รูปร่างคล้ายปี่นอก ยาวราว
๓๗ เซนติเมตร กว้างราว ๔ เซนติเมตร.
【 ปี่แก้ว ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง ที่แยกเป็นปี่แก้วน้อย.
【 ปี่ไฉน 】แปลว่า: [-ฉะไหฺน] น. ชื่อปี่ชนิดหนึ่งขนาดเล็กมาก ยาวราว ๑๙ เซนติเมตร
นิยมทำด้วยไม้หรืองา แบ่งออกเป็น ๒ ท่อน ถอดออกจากกันได้
ท่อนบนเรียกว่า เลาปี่ ท่อนล่างเรียกว่า ลำโพง มีลิ้นทำด้วยใบตาล
ผูกติดกับปลายท่อลมเล็กที่เรียกว่า กำพวด.
【 ปี่ชวา 】แปลว่า: [-ชะวา] น. ชื่อปี่ชนิดหนึ่งที่ได้แบบมาจากชวา รูปร่างลักษณะ
ทุกอย่างคล้ายปี่ไฉน แต่มีขนาดยาวกว่า.
【 ปี่นอก 】แปลว่า: น. ปี่ที่เล็กที่สุดในบรรดาปี่ ๔ ชนิดที่ใช้ในวงปี่พาทย์ คือ ปี่นอก
ปี่นอกต่ำ ปี่กลาง และปี่ใน ยาวราว ๓๑ เซนติเมตร หัวท้าย
กว้าง ๓.๕ เซนติเมตร.
【 ปี่นอกต่ำ 】แปลว่า: น. ปี่ชนิดหนึ่งที่ใช้ในวงปี่พาทย์ มีรูปร่างคล้ายปี่นอก ยาวราว
๓๔ เซนติเมตร กว้างราว ๓.๕ เซนติเมตร.
【 ปี่ใน 】แปลว่า: น. ปี่ชนิดหนึ่งที่ใช้ในวงปี่พาทย์ รูปร่างคล้ายปี่นอก เป็นปี่ขนาด
ใหญ่ที่สุด ยาวราว ๔๑-๔๒ เซนติเมตร กว้างราว ๔.๕ เซนติเมตร
เป็นปี่ที่ใช้กันมากที่สุด.
【 ปี่พาทย์ 】แปลว่า: น. ชื่อเรียกวงดนตรีไทยที่มีปี่ ฆ้อง กลอง ตะโพน ผสมกัน มีขนาด
วงอยู่ ๓ ขนาด คือ ปี่พาทย์เครื่อง ๕ ปี่พาทย์เครื่องคู่ ปี่พาทย์
เครื่องใหญ่, พิณพาทย์ ก็เรียก.
【 ปี่พาทย์เครื่องคู่ 】แปลว่า: น. วงปี่พาทย์ที่ประกอบด้วยปี่ใน ปี่นอก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม
ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง, พิณพาทย์
เครื่องคู่ ก็เรียก.
【 ปี่พาทย์เครื่องห้า 】แปลว่า: น. วงปี่พาทย์ที่ประกอบด้วยปี่ใน ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน
กลองทัด และฉิ่ง, พิณพาทย์เครื่องห้า ก็เรียก.
【 ปี่พาทย์เครื่องใหญ่ 】แปลว่า: น. วงปี่พาทย์ที่ประกอบด้วยปี่ใน ปี่นอก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม
ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก กลองทัด
และฉิ่ง, แต่บางทีก็มีฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ และฆ้องโหม่งผสมด้วย,
พิณพาทย์เครื่องใหญ่ ก็เรียก.
【 ปี่อ้อ 】แปลว่า: น. ปี่ที่ลำตัวหรือเลาทำด้วยไม้รวกปล้องเดียวไม่มีข้อ ยาวราว
๒๔ เซนติเมตร ตามลำตัวนิยมใช้ไฟหรือตะกั่วร้อน ๆ ลนให้เป็น
ลวดลายต่าง ๆ ตอนหัวและท้ายของเลาปี่มักใช้ทองเหลืองหรือ
เงินเลี่ยมไว้เพื่อกันแตกและให้ดูงาม.
【 ปี้ ๑ 】แปลว่า: (โบ) น. กระเบื้องถ้วยหรือทองเหลืองหรือแก้วทําเป็นเครื่องหมาย
สําหรับใช้แทนเงินในบ่อนเบี้ย; ครั่งประทับตราที่ผูกข้อมือจีนครั้ง
ก่อนเป็นสําคัญว่าได้เสียเงินค่าราชการแล้ว; โดยปริยาย
หมายความว่า ความดี ความชอบ.
【 ปี้ ๒ 】แปลว่า: ก. ร่วมเพศเพื่อสืบพันธุ์ (ใช้แก่ นก เป็ด ไก่ เป็นต้น).
【 ปี๋ ๑ 】แปลว่า: น. การเล่นพนันงวดหนึ่ง คือ เฉ่งเงินกันเมื่อหมดเบี้ยครั้งหนึ่ง
(มักใช้แก่การเล่นไพ่ไทย).
【 ปี๋ ๒ 】แปลว่า: ว. มักใช้ประกอบคําอื่น หมายความว่า ยิ่งกว่าปรกติ เช่น ดําปี๋
เค็มปี๋ แน่นปี๋.
【 ปีก 】แปลว่า: น. อวัยวะสําหรับบินของนกหรือแมลงเป็นต้น, อวัยวะเช่นนั้น
ของสัตว์บางชนิด แต่ใช้บินไม่ได้, ส่วนของสิ่งต่าง ๆ ที่มีลักษณะ
เช่นนั้น เช่น ปีกตะไล ปีกเครื่องบิน; โดยปริยายหมายถึงต้นแขน
ทั้ง ๒ ข้างในบางลักษณะ เช่น เข้าปีก ตีปีก พยุงปีก หิ้วปีก; ข้าง
เช่น ปีกซ้าย ปีกขวา.
【 ปีกกล้าขาแข็ง 】แปลว่า: ก. พึ่งตัวเองได้, เป็นคําที่ผู้ใหญ่มักใช้กล่าวเชิงตําหนิติเตียน
ผู้น้อย.
【 ปีกกา 】แปลว่า: น. รูปกองทัพที่ตั้งมีกองขวากองซ้ายคล้ายปีกกา; เครื่องหมาย
รูปดังนี้ { } สําหรับควงข้อความเข้าด้วยกัน เรียกว่า วงเล็บปีกกา.
【 ปีกค้างคาว 】แปลว่า: น. ชื่อร่มผ้าชนิดหนึ่งซี่เป็นเหล็ก.
【 ปีกตะไล 】แปลว่า: น. แผ่นไม้ไผ่บาง ๆ ที่ขดปิดหัวท้ายกระบอกตะไลเป็นรูปวงกลม.
【 ปีกนก 】แปลว่า: น. ส่วนของหลังคาที่อยู่ใต้จั่ว.
【 ปีกไม้ 】แปลว่า: น. ปีกทั้ง ๔ ข้างของซุงที่เลื่อยเปิดออก.
【 ปีกหมวก 】แปลว่า: น. ส่วนที่ยื่นออกมาโดยรอบของหมวกบางชนิด ดัดขึ้นลงได้.
【 ปีกหัก 】แปลว่า: (ปาก) ว. ที่ประสบความผิดหวังหรือพลาดพลั้งอย่างรุนแรง
จนหมดกําลัง.
【 ปีกไก่ 】แปลว่า: /ดู เนื้ออ่อน./
【 ปี่แก้ว ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ปี่./
【 ปี่แก้ว ๒ 】แปลว่า: น. ชื่องูขนาดเล็กในสกุล /Oligodon/ วงศ์ Colubridae หัวหลิมเล็ก
คอโต หางสั้น อาศัยอยู่ตามซอกหินซอกดิน หากินตามพื้นดิน ไม่ขึ้น
ต้นไม้มีหลายชนิด เช่น ปี่แก้วใหญ่ (/O. joysoni/) งอด
(/O. taeniatus/) ไม่มีพิษ.
【 ปีฐะ, ปีฐกะ 】แปลว่า: [-ถะกะ] น. ตั่ง, ที่นั่ง, เก้าอี้, ม้า. (ป., ส.).
【 ปี๊ด 】แปลว่า: ว. เสียงดังเช่นนั้น.
【 ปีติ 】แปลว่า: น. ความปลาบปลื้มใจ, ความอิ่มใจ. (ป.; ส. ปฺรีติ).
【 ปีน ๑ 】แปลว่า: ก. ไต่โดยใช้มือและเท้าเกาะยึดขึ้นไป เช่น ปีนต้นไม้ ปีนเขา, ใช้ใน
อาการที่ไต่ลงก็มี เช่น ปีนลงทางหน้าต่าง; โดยปริยายหมายความว่า
ออกนอกที่นอกทาง เช่น ปีนทาง.
【 ปีนเกลียว 】แปลว่า: ว. มีความเห็นไม่ลงรอยกัน, ขัดแย้งกัน, แตกพวกหรือไม่ถูกกัน.
【 ปีนป่าย 】แปลว่า: ก. ปีนหรือตะกายขึ้นไปด้วยความยากลำบาก, ป่ายปีน ก็ว่า.
【 ปีน ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงที่ขึ้นต้นด้วยคํา ปีน เช่น ปีนตลิ่งนอก ปีนตลิ่งใน.
【 ปีบ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Millingtonia hortensis/ L.f. ในวงศ์ Bignoniaceae
ใบเป็นใบประกอบ ดอกยาว สีขาว กลิ่นหอม ดอกแห้งใช้ประสม
ยาสูบ, พายัพเรียก กาซะลอง, อีสานเรียก กางของ.
【 ปีบ ๒ 】แปลว่า: น. ภาชนะทําด้วยสังกะสีเป็นต้น รูปสี่เหลี่ยม สําหรับบรรจุสิ่งของ,
ปี๊บ ก็ว่า.
【 ปี๊บ ๑ 】แปลว่า: น. ปีบ. /(ดู ปีบ ๒);/ ชื่อลูกโป่งที่ทําด้วยยาง.
【 ปี๊บ ๒ 】แปลว่า: ว. เสียงอย่างเสียงเสือร้อง.
【 ปีศาจ 】แปลว่า: น. ผี, ลักษณนามว่า ตน, ปิศาจ ก็ว่า. (ส.; ป. ปิสาจ).
【 ปีฬกะ 】แปลว่า: [-ละกะ] น. ฝี, ต่อม, ไฝ. (ป. ปีฬกา; ส. ปีฑกา).
【 ปีฬะ, ปีฬา 】แปลว่า: ก. บีฑา. (ป.; ส. ปีฑา).
【 ปึก 】แปลว่า: น. สิ่งที่จับเกาะรวมกันแน่น, ลักษณนามเรียกสิ่งที่จับเกาะรวมกัน
แน่นเช่นนั้นว่า ปึก เช่น นํ้าตาล ๓ ปึก. ว. แน่นทึบ เช่น เนื้อแน่นปึก.
【 ปึกแผ่น 】แปลว่า: ว. ที่ตั้งอยู่ด้วยความมั่นคง, มีหลักฐานมั่นคง.
【 ปึง 】แปลว่า: ว. เสียงดังเช่นนั้น.
【 ปึงปัง 】แปลว่า: ว. เสียงดังเอ็ดอึง.
【 ปึ่ง ๑ 】แปลว่า: ว. ทําท่าไว้ยศไม่อยากพูดจาด้วย; ทําทีเฉยแสดงอาการคล้าย
กับโกรธ, ปึ่งชา ก็ว่า.
【 ปึ่งชา 】แปลว่า: ว. ทําทีเฉยแสดงอาการคล้ายกับโกรธ, ปึ่ง ก็ว่า; วางท่าเฉยเมย
อย่างไว้ยศ เช่น เมียเจ้ารูปทองสิบสองหนัก ยศศักดิ์ปึ่งชาหาน้อย
ไม่. (สังข์ทอง).
【 ปึ่ง ๒ 】แปลว่า: /ดู บึ่ง ๑./
【 ปึ๋ง 】แปลว่า: ว. เสียงดังเช่นนั้น.
【 ปึ้ด 】แปลว่า: ว. ใช้ประกอบคํา ดํา ว่า ดําปึ้ด หมายความว่า ดํามาก.
【 ปึมปื้อ 】แปลว่า: /ดู กระดาดดํา ที่ กระดาด, กระดาดขาว./
【 ปืดปึง 】แปลว่า: ว. เสียงตีตะโพน.
【 ปืน 】แปลว่า: น. อาวุธสําหรับยิงให้ลูกออกจากลํากล้องด้วยกําลังดินระเบิดหรือ
แรงอัดดันด้วยลมเป็นต้น. (ศร หน้าไม้ เกาทัณฑ์ โบราณเรียกว่า
ปืน; ปืนที่ใช้กําลังไฟ เรียกว่า ปืนไฟ).
【 ปืนกล 】แปลว่า: น. ปืนที่มีกลไกยิงได้เร็วมาก.
【 ปืนครก 】แปลว่า: น. ปืนใหญ่ที่มีลำกล้องสั้นลักษณะคล้ายครก.
【 ปืนพก 】แปลว่า: น. ปืนขนาดเล็ก สำหรับพกพาติดตัวไปได้.
【 ปืนยา 】แปลว่า: น. ศรหรือหน้าไม้ที่มีลูกอาบด้วยยาพิษ.
【 ปืนยาว 】แปลว่า: น. ชื่อปืนชนิดหนึ่ง ลำกล้องยาวตั้งแต่ ๒๐ นิ้วขึ้นไป มีแหนบ
สำหรับบรรจุกระสุน มักใช้ล่าสัตว์.
【 ปืนลม 】แปลว่า: น. ชื่อปืนชนิดหนึ่ง ใช้แรงอัดดันด้วยลม.
【 ปืนเล็ก 】แปลว่า: น. ปืนที่มีปากลำกล้องกว้างต่ำกว่า ๒๐ มิลลิเมตร ลงมา.
【 ปืนเล็กยาว 】แปลว่า: น. ปืนเล็กที่มีลำกล้องยาวติดดาบปลายปืนได้.
【 ปืนสั้น 】แปลว่า: น. ชื่อปืนชนิดหนึ่ง ลำกล้องยาว ๒-๖ นิ้ว มีแหนบหรือลูกโม่สำหรับ
บรรจุกระสุน.
【 ปืนใหญ่ 】แปลว่า: น. ปืนที่มีปากลำกล้องกว้างตั้งแต่ ๒๐ มิลลิเมตร ขึ้นไป.
【 ปื้น 】แปลว่า: ว. อาการที่ผิวหนังเห่อขึ้นเป็นแผ่นหรือเป็นผื่นเป็นแนวหนา เช่น
ลมพิษขึ้นเป็นปื้น, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น
คอเสื้อดําเป็นปื้น. น. ลักษณนามใช้กับเลื่อย เช่น เลื่อยปื้นหนึ่ง
เลื่อย ๒ ปื้น.
【 ปือ 】แปลว่า: ว. เต็ม, มาก.
【 ปื้อ 】แปลว่า: ว. ดํามืด, มักใช้ประกอบคํา ปึ้ด เป็น ปึ้ดปื้อ.
【 ปื๋อ 】แปลว่า: ว. จัด, มักใช้ประกอบสีดําสีเขียวว่า ดําปื๋อ เขียวปื๋อ.
【 ปุ ๑ 】แปลว่า: ว. เสียงดังเช่นนั้น.
【 ปุ ๒ 】แปลว่า: ก. ปะ เช่น เอาไม้ไปปุฝาเรือน.
【 ปุ๊ 】แปลว่า: ว. เสียงดังเช่นนั้น.
【 ปุก ๑ 】แปลว่า: ว. เรียกเท้าที่พิการมีรูปดังกําปั้นว่า เท้าปุก.
【 ปุก ๒ 】แปลว่า: ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงตําข้าว.
【 ปุกปุย 】แปลว่า: ว. มีขนหรือใยฟูรุงรัง.
【 ปุคละ 】แปลว่า: ปุกคะ- น. บุคคล. (ป. ปุคฺคล).
【 ปุ้งกี๋ 】แปลว่า: น. เครื่องสานรูปคล้ายเปลือกหอยแครง สําหรับใช้โกยดินเป็นต้น,
บุ้งกี๋ ก็ว่า. (จ.).
【 ปุงคพ, ปุงควะ 】แปลว่า: [ปุงคบ, ปุงคะ-] น. โคผู้, หมายความว่า ผู้เลิศ, ผู้ประเสริฐ, หัวหน้า,
เช่น ศากยปุงควะ ว่า ผู้ประเสริฐในศากยตระกูล. (ป. ปุงฺคว).
【 ปุงลิงค์, ปุงลึงค์ 】แปลว่า: (ไว) น. เพศของคําที่เป็นเพศชาย เช่น ปู่ ตา พ่อ ภิกษุ, ปุลลิงค์
หรือ ปุลลึงค์ ก็ว่า. (ป. ปุํลิงฺค).
【 ปุจฉา 】แปลว่า: [ปุดฉา] ก. ถาม เช่น ขอปุจฉาพระคุณเจ้า. (ป.).
【 ปุฏะ 】แปลว่า: (แบบ) น. ห่อ; หม้อ, ขวด, โอ่ง, ไห; กระจาด. (ป.).
【 ปุณฑริก 】แปลว่า: ปุนดะริก, ปุนทะริก น. บุณฑริก. (ป., ส. ปุณฺฑรีก).
【 ปุด ๑ 】แปลว่า: น. เรียกการเย็บผ้าทีหนึ่งว่าปุดหนึ่ง. ก. อาการที่นํ้าหรือของเหลว
ผุดขึ้นน้อย ๆ. ว. เสียงดังเช่นนั้น.
【 ปุด ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกมีเหง้าชนิด /Etlingera megalocheilos/ Griff.
ในวงศ์ Zingiberaceae ลําต้นกินได้.
【 ปุดกะลา 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นกะลา. /(ดู กะลา ๒)./
【 ปุตตะ 】แปลว่า: (แบบ) น. บุตร. (ป.; ส. ปุตฺร).
【 ปุถุชน 】แปลว่า: น. คนที่ยังมีกิเลสหนา, สามัญชน, ผู้ที่มิได้เป็นพระอริยบุคคล.
(ป. ปุถุชฺชน; ส. ปฺฤถคฺชน).
【 ปุนนาค 】แปลว่า: น. ต้นบุนนาค. (ป.).
【 ปุนภพ 】แปลว่า: [ปุนะพบ] น. ภพใหม่, การเกิดใหม่. (ป. ปุนพฺภว); สมัยเกิดใหม่
ได้แก่ตอนเริ่มต้นยุคปัจจุบันหลังยุคกลาง.
【 ปุนัพพสู, ปุนัพสุ 】แปลว่า: [ปุนับพะสู, ปุนับพะสุ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๗ มี ๓ ดวง เห็นเป็นรูปเรือชัย
หรือหัวสําเภา, ดาวหัวสําเภา ดาวสําเภาทอง ดาวสะเภา ดาวยามเกา
หรือ ดาวตาเรือชัย ก็เรียก. (ป. ปุนพฺพสุ).
【 ปุบ 】แปลว่า: ว. อาการที่เป็นไปอย่างฉับไว, ทันทีทันใด, เช่น ฉวยปุบ,
มักใช้เข้าคู่กับคำ ปับ เป็น ปุบปับ.
【 ปุ๊บ 】แปลว่า: ว. อาการที่เป็นไปอย่างฉับไว, ทันทีทันใด, เช่น วางปุ๊บ เปิดปุ๊บ,
มักใช้เข้าคู่กับคำ ปั๊บ เป็น ปุ๊บปั๊บ.
【 ปุบปับ, ปุ๊บปั๊บ 】แปลว่า: ว. เสียงซึ่งเกิดจากอาการรีบร้อนลุกลนหรือเสียงที่แสดงอาการเช่นนั้น;
อาการที่ทำโดยรีบร้อนทันทีทันใด, อาการที่เป็นไปโดยกะทันหัน เช่น
ปุบปับก็ตาย.
【 ปุปผะ 】แปลว่า: [ปุบผะ] น. บุปผะ, ดอกไม้. (ป.; ส. บุษฺป).
【 ปุปะ 】แปลว่า: ก. ปะหลายแห่ง.
【 ปุพพ-, ปุพพะ 】แปลว่า: [ปุบพะ] ว. บุพ, บุพพะ. (ป.).
【 ปุพพผลคุนี, ปุรพผลคุนี, บุรพผลคุนี 】แปลว่า: [-, ปุระพะ-, บุบพะ-, บุระพะ-] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๑ มี ๒
【 ดวง เห็นเป็น 】แปลว่า:
รูปแรดตัวผู้หรือเพดานตอนหน้า, ดาววัวตัวผู้ หรือ ดาวงูเมีย ก็เรียก.
【 ปุพพะภัททะ, บุรพภัทรบท 】แปลว่า: [-พัดทะ, บุบพะพัดทฺระบด, บุระพะพัดทฺระบด] น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๕
มี ๒ ดวง เห็นเป็นรูปราชสีห์ตัวผู้หรือเพดานตอนหน้า, ดาวโปฐบท
ดาวแรดตัวผู้ หรือ ดาวหัวเนื้อทราย ก็เรียก.
【 ปุม-, ปุมา 】แปลว่า: [ปุมะ-] ว. เพศชาย. (ป.).
【 ปุ่ม 】แปลว่า: น. ปม, ของที่นูนขึ้นจากพื้นเดิม เช่น ปุ่มฆ้อง.
【 ปุ่มป่ำ 】แปลว่า: ว. นูนขึ้นเป็นปม ๆ, เป็นปุ่มเป็นปมขรุขระอย่างผิวมะกรูด,
ตะปุ่มตะป่ำ ก็ว่า.
【 ปุ้ม 】แปลว่า: น. ยอดที่นูนกลม.
【 ปุ๋ม 】แปลว่า: ว. เสียงดังเช่นนั้น.
【 ปุ่มปลา 】แปลว่า: น. ผักปุ่มปลา. /(ดู ปอด ๒)./
【 ปุ้มเป้ง 】แปลว่า: /ดู เป้ง ๑./
【 ปุ่มเปือก, ปุ้มเปือก 】แปลว่า: น. ต่อมนํ้าที่เกิดในเลนในตม.
【 ปุย ๑ 】แปลว่า: น. ของที่เป็นใยฟูอย่างสําลีหรือขนสัตว์บางชนิด เช่น ปุยฝ้าย
ปุยสำลี สุนัขขนเป็นปุย.
【 ปุยฝ้าย 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์บุษยะ มี ๕ ดวง, ดาวพวงดอกไม้ ดาวดอกบัว
ดาวโลง ดาวปู ดาวสมอสําเภา ดาวสิธยะ ดาวบุษย์ ดาวปุษยะ หรือ
ดาวปุสสะ ก็เรียก; ชื่อขนมชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายขนมถ้วยฟู แต่เนื้อ
ละเอียดและนุ่มกว่า.
【 ปุย ๒, ปุยกระโดน, ปุยขาว 】แปลว่า: /ดู กระโดน./
【 ปุ้ย 】แปลว่า: น. ลักษณะแก้มที่ตุ่ยออกมาเช่นในเวลากินอาหาร; (ถิ่น-ปักษ์ใต้)
ของลับหญิง.
【 ปุ๋ย ๑ 】แปลว่า: น. สิ่งที่ใส่ลงไปในดินหรือให้ธาตุอาหารพืชหนึ่งหรือหลายธาตุ.
【 ปุ๋ยคอก 】แปลว่า: น. ปุ๋ยที่ได้จากมูลสัตว์และเศษซากพืชรองคอก.
【 ปุ๋ยเคมี 】แปลว่า: น. ปุ๋ยที่ผลิตขึ้นโดยกระบวนการทางเคมีให้มีธาตุอาหารหลัก
เพียงธาตุเดียวหรือหลายธาตุ; (ปาก) ปุ๋ยวิทยาศาสตร์.
【 ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ 】แปลว่า: (ปาก) น. ปุ๋ยเคมี.
【 ปุ๋ยหมัก 】แปลว่า: น. ปุ๋ยที่ได้จากนำเศษอินทรียวัสดุมากองสุมไว้ รดน้ำให้ชื้น
และทิ้งไว้ให้เกิดการสลายตัวโดยการกระทำของจุลินทรีย์
อาจผสมสารเคมีเข้าไปด้วยเพื่อให้มีธาตุอาหารเพิ่มขึ้นหรือ
ให้อินทรียวัสดุสลายตัวเร็วขึ้น.
【 ปุ๋ยอินทรีย์ 】แปลว่า: [-อินซี] น. ปุ๋ยที่ได้จากพืชและซากสัตว์.
【 ปุ๋ย ๒ 】แปลว่า: ว. อาการที่เชือกขาดไปโดยง่ายดาย เช่น ขาดปุ๋ย; อาการที่
หลับง่ายดายอย่างสบาย เช่น หลับปุ๋ย.
【 ปุรณะ 】แปลว่า: [ปุระนะ] ก. บูรณะ. (ส. ปูรณ).
【 ปุรพ- 】แปลว่า: [ปุระพะ-] ว. บุพ, บุพพะ. (ส. ปูรฺว).
【 ปุรพผลคุนี, ปุพพผลคุนี, บุรพผลคุนี 】แปลว่า: [-, ปุบพะ-, บุบพะ-, บุระพะ-] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๑ มี ๒
【 ดวง เห็นเป็น 】แปลว่า:
รูปแรดตัวผู้หรือเพดานตอนหน้า, ดาววัวตัวผู้ หรือ ดาวงูเมีย ก็เรียก.
【 ปุรพษาฒ, บุรพอาษาฒ, บุพพาสาฬหะ 】แปลว่า: [-สาด, บุบพะอาสาด, บุระพะอาสาด, บุบพาสานหะ] น.
【 ดาวฤกษ์ 】แปลว่า:
ที่ ๒๐ มี ๓ ดวง เห็นเป็นรูปปากนกหรือช้างพลาย, ดาวสัปคับช้าง
หรือ ดาวราชสีห์ตัวผู้ ก็เรียก.
【 ปุระ 】แปลว่า: น. บุระ. (ป.).
【 ปุราณ 】แปลว่า: ว. บุราณ, โบราณ. (ป., ส.).
【 ปุราณะ 】แปลว่า: น. ชื่อคัมภีร์ในศาสนาฮินดู.
【 ปุริมพรรษา 】แปลว่า: [ปุริมมะพันสา, ปุริมพันสา] /ดู บุริมพรรษา./
【 ปุเรจาริก 】แปลว่า: ว. เป็นเครื่องนําหน้า, เป็นอารมณ์, เป็นหัวหน้า. (ป., ส.).
【 ปุโรหิต 】แปลว่า: น. พราหมณ์ที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์ในทางนิติ คือ
ขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี. (ป., ส.).
【 ปุลลิงค์, ปุลลึงค์ 】แปลว่า: /ดู ปุงลิงค์, ปุงลึงค์./
【 ปุลินท์ 】แปลว่า: น. ชาวป่าชาวเขา. (ส.).
【 ปุลู 】แปลว่า: น. ขวานปูลู, ขวานโยน.
【 ปุโลปุเล 】แปลว่า: (ปาก) ก. พูดหรือทําพอให้เสร็จ ๆ ไปโดยไม่ต้องการรายละเอียด,
ประโลประเล ก็ว่า.
【 ปุษยะ, ปุสสะ, บุษย์, บุษยะ 】แปลว่า: [ปุดสะยะ, ปุดสะ, บุด, บุดสะยะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๘ มี ๕ ดวง เห็น
เป็นรูปปุยฝ้าย พวงดอกไม้ ดอกบัว หรือโลง, ดาวปุยฝ้าย ดาว
พวงดอกไม้ ดาวดอกบัว ดาวโลง ดาวปู ดาวสมอสําเภา หรือ
ดาวสิธยะ ก็เรียก. (ส. ปุษฺย; ป. ปุสฺส).
【 ปุฬวะ 】แปลว่า: [-ละวะ] น. หนอน. (ป.).
【 ปู ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในชั้น Crustacea มีรยางค์ขา ๕ คู่
คู่แรกเป็นก้าม รยางค์ที่ปล้องท้องไม่ใช้ในการว่ายนํ้า มีหลายวงศ์
เช่น ปูดําหรือปูทะเล ปูม้า ปูแสม; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์บุษยะ มี
๕ ดวง, ดาวปุยฝ้าย ดาวพวงดอกไม้ ดาวดอกบัว ดาวโลง ดาว
สิธยะดาวสมอสําเภา ดาวบุษย์ ดาวปุษยะ หรือ ดาวปุสสะ ก็เรียก.
【 ปูจ๋า 】แปลว่า: น. ชื่อกับข้าวอย่างหนึ่ง เอาเนื้อปูผสมเครื่องกับไข่แล้วใส่กระดอง
ปูนึ่งหรือทอด.
【 ปู ๒ 】แปลว่า: ก. วางทอดลงเป็นพื้น เช่น ปูกระดาน ปูหินอ่อน, วางแผ่ลงกับพื้น
เช่น ปูเสื่อ ปูผ้า.
【 ปู่ 】แปลว่า: น. พ่อของพ่อ, ผัวของย่า, ญาติผู้ชายหรือชายที่นับถือชั้นปู่.
【 ปู่ครู 】แปลว่า: น. ตําแหน่งสมณศักดิ์ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี.
【 ปู่เจ้า 】แปลว่า: น. ผู้เฒ่าที่คนเคารพนับถือ, เจ้าปู่ ก็ว่า; เทพารักษ์ เช่น เขาใส่
สมญาเรา ปู่เจ้า. (ลอ).
【 ปู่ทวด 】แปลว่า: น. พ่อของปู่หรือของย่า.
【 ปู่น้อย 】แปลว่า: น. น้องชายของปู่.
【 ปูชกะ 】แปลว่า: [-ชะกะ] น. ผู้บูชา. (ป., ส.).
【 ปูชนีย-, ปูชนียะ 】แปลว่า: [-ชะนียะ] ว. น่านับถือ, น่าบูชา, เช่น ปูชนียวัตถุ ปูชนียบุคคล. (ป.).
【 ปูชา 】แปลว่า: น. บูชา. (ป.).
【 ปูชิต 】แปลว่า: ก. บูชิต. (ป.).
【 ปูด ๑ 】แปลว่า: /ดู กะปูด./
【 ปูด ๒ 】แปลว่า: ว. นูนเบ่งขึ้นมาในลักษณะอย่างดินปูด หน้าปูด; เสียงดังเช่นนั้น.
【 ปูด ๓ 】แปลว่า: (ปาก) ก. พูดหรือเผยความลับเพราะทนเก็บไว้ไม่ได้.
【 ปูดกกส้มมอ 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. โกฐพุงปลา. (ดู โกฐพุงปลา ที่ โกฐ).
【 ปูติ 】แปลว่า: (แบบ) ว. บูด, เน่า. (ป.).
【 ปูติลดา 】แปลว่า: น. กระพังโหม. (ป. ปูติลตา).
【 ปูน ๑ 】แปลว่า: น. หินปูนหรือเปลือกหอยเมื่อถูกเผาจนสลายตัว, ปูนกินกับหมาก
หรือปูนแดง ในคําเช่น ป้ายปูน ปูนกัดปาก, ปูนขาว ในคําว่า ฉาบ
นํ้าปูน; ปูนซีเมนต์ ในคําเช่น เทปูน โบกปูน.
【 ปูนขาว 】แปลว่า: น. ปูนสุก ใช้ผสมกับปูนซีเมนต์ ทราย และนํ้า สําหรับฉาบทาฝาผนัง.
【 ปูนซีเมนต์ 】แปลว่า: น. วัสดุใช้ในการก่อสร้างชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นผง เมื่อผสมคลุกกับ
นํ้าแล้วทิ้งไว้จะเกิดปฏิกิริยาเคมีเป็นผลให้เกิดการก่อตัวและแข็งตัว
ได้ องค์ประกอบเคมีที่สําคัญคือ แคลเซียมซิลิเกตแคลเซียมอะลูมิเนต
และแคลเซียมอะลูมิโนเฟอร์ไรต์ ใช้ประโยชน์เพื่อทําคอนกรีต ปูนฉาบ
หรือ ปูนก่อ.
【 ปูนดิบ 】แปลว่า: น. ปูนที่ได้จากการเผาหินปูนหรือเปลือกหอยจนสลายตัว,
ปูนไฟ ก็เรียก.
【 ปูนแดง 】แปลว่า: น. ปูนสุกที่เมื่อผสมกับผงขมิ้นและนํ้าจะเป็นสีแดงสําหรับ
ป้ายพลูกินกับหมาก.
【 ปูนปลาสเตอร์ 】แปลว่า: น. แคลเซียมซัลเฟต (CaSO4?12 H2O) ที่มีลักษณะเป็นผง
สีขาวคล้ายปูนขาว ได้จากการเผายิปซัม (CaSO4o2H2O)
ให้ร้อนถึง ๑๒๐? – ๑๓๐?ซ. เมื่อนําไปผสมกับนํ้าแล้วทิ้งไว้จะ
แข็งตัวได้เร็วมาก ใช้ประโยชน์ในการนําไปทําแม่พิมพ์ รูปปั้น
เป็นต้น หรือพอกอวัยวะไม่ให้เคลื่อนไหวในการรักษากระดูกหัก.
(อ. plaster of Paris).
【 ปูนปั้น 】แปลว่า: น. เรียกลวดลายประดับตามอาคารหรือสิ่งก่อสร้างที่ทําจากปูน
ว่าลายปูนปั้น.
【 ปูนเปียก 】แปลว่า: น. เรียกภาพเขียนผนังอาคารหรือสิ่งก่อสร้างที่เขียนขณะผนัง
ยังชื้นอยู่ว่า ภาพปูนเปียก.
【 ปูนผิว 】แปลว่า: น. ปูนขาวอย่างละเอียดใช้ฉาบทาพื้นนอกให้ขาวเป็นนวล.
【 ปูนเพชร 】แปลว่า: น. ปูนชนิดหนึ่ง ทําด้วยปูนขาวผสมทรายละเอียด นํ้ากาวหนัง
และนํ้าเชื้อนํ้าตาล ใช้ปั้นรูปต่าง ๆ เช่น หน้าบัน ลายกระหนก
หัวนาค.
【 ปูนไฟ 】แปลว่า: น. ปูนที่ได้จากการเผาหินปูนหรือเปลือกหอยจนสลายตัว, ปูนดิบ
ก็เรียก.
【 ปูนสอ 】แปลว่า: น. ปูนขาวที่ผสมกับทรายและนํ้ากาวหนังหรือนํ้าอ้อยเป็นต้น
สําหรับเชื่อมอิฐหรือหิน, ปูนขาวหรือปูนซีเมนต์ผสมกับทราย
และนํ้า สําหรับเชื่อมอิฐหรือหิน.
【 ปูนสุก 】แปลว่า: น. ปูนดิบที่ถูกความชื้นในอากาศหรือพรมนํ้าแล้วแตกละเอียด
เป็นผงขาว, ปูนขาว ก็เรียก.
【 ปูนแห้ง 】แปลว่า: น. เรียกสีชมพูอย่างหนึ่งคล้ายสีปูนกินกับหมากเมื่อแห้งว่า
สีปูนแห้ง.
【 ปูน ๒ 】แปลว่า: น. คราว, รุ่น, เช่น คนมีอายุปูนพ่อปูนแม่. ว. เทียบ, เทียม, ปาน,
เปรียบ, เพียง.
【 ปูน ๓ 】แปลว่า: ก. แจก, ปัน, ให้, เช่น ปูนบําเหน็จ.
【 ปูน ๔ 】แปลว่า: น. เถาวัลย์ปูน.
【 ปูม 】แปลว่า: น. ตาตารางแผนที่แสดงการเคลื่อนไหวของดาวพระเคราะห์
ประจําวัน, ปฏิทินโหราศาสตร์ ก็เรียก, จดหมายเหตุของโหร,
เรียกสมุดบันทึกรายการต่าง ๆ เกี่ยวกับการเดินเรือหรือการ
เดินอากาศ เช่น เดินทางจากไหนถึงไหน วันที่เดินทาง จํานวน
ชั่วโมง ฯลฯ ว่า สมุดปูมเดินทาง; ผ้าไหมชนิดหนึ่งมีดอกเป็นตา ๆ.
【 ปู่ย่า 】แปลว่า: /ดู ช้าเลือด./
【 ปู้ยี่ปู้ยำ 】แปลว่า: ว. ชอกชํ้า, ยับเยิน.
【 ปูระ 】แปลว่า: ก. บุรณะ.
【 ปูลู ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อขวานชนิดหนึ่ง มีบ้องที่หัวบิดได้ สําหรับตัดและถาก,
ขวานโยน ก็เรียก.
【 ปูลู ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อเต่านํ้าจืดชนิด/ Platysternon megacephalum/ ในวงศ์
Platysternidae หัวโตมาก หางยาวกว่ากระดอง อาศัยอยู่ตาม
ลําธารบนภูเขา พบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
และภาคตะวันตกของประเทศไทย.
【 ปูเล ๑ 】แปลว่า: น. เรียกส่วนล่างของทางใบที่หุ้มรอบลําต้นหมากเมื่อแก่จัดแล้ว
หลุดลงมาว่า กาบปูเล.
【 ปูเล ๒ 】แปลว่า: น. วิธีการจับสัตว์น้ำอย่างหนึ่ง โดยใช้ผ้าหนา ๆ ห่อทรายม้วนเป็น
ลำยาวแล้วใช้คนประมาณ ๑๐ คนดันผ้าไปตามหาดทรายหรือชาย
ตลิ่งตื้น ๆ เพื่อต้อนปลาขึ้นไปบนฝั่ง.
【 ปูวา 】แปลว่า: (กลอน) น. ขนม เช่น ปูวาต้มแดงต้มขาว. (กฎหมายเก่า). (ป. ปูว).
【 ปูเสฉวน 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์ทะเลจําพวกปู ส่วนท้องอ่อนนิ่ม พบตามชายฝั่งหรือ
นํ้าลึก ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเปลือกหอยกาบเดี่ยวที่ว่างเปล่า
เช่น สกุล /Clibanarius /ในวงศ์ Paguridae อยู่ตามโขดหิน
ชายทะเล, สกุล /Coenobita/ ในวงศ์ Coenobitidae อยู่บน
บกริมทะเล, สกุล /Parapagurus/ ในวงศ์ Parapaguridae
อยู่ในนํ้าลึกระหว่าง ๘๐-๒๐๐ เมตร.
【 เป้ 】แปลว่า: ว. เอน, ตะแคง, เบี้ยว, ไม่ตรงที่. น. เครื่องหลังของทหาร
ตำรวจเป็นต้น.
【 เป๋ 】แปลว่า: ว. บิดไป, เฉไป, ไถลไป, เช่น ขาเป๋ ผมเป๋, มักใช้เข้าคู่กับคํา ไป๋
ว่า เป๋ไป๋ หรือ ไป๋เป๋.
【 เปก ๑, เป๊ก ๑ 】แปลว่า: ว. เสียงดังอย่างเสียงเคาะไม้.
【 เปก ๒ 】แปลว่า: น. คํากํากับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยทางเหนือ ตรงกับ
เลข ๕, เขียนเป็น เบิก ก็มี.
【 เป๊ก ๒ 】แปลว่า: น. หมุดสําหรับตรึงสิ่งต่าง ๆ มีกระดาษเป็นต้น. (อ. peg).
【 เป๊ก ๓ 】แปลว่า: ว. ใช้ประกอบคํา แข็ง ว่า แข็งเป๊ก หมายความว่า แข็งมาก.
【 เป๊ก ๔ 】แปลว่า: น. ภาชนะสําหรับตวงเหล้า ทําด้วยแก้วหรือโลหะ ขนาดถ้วย
นํ้าชาเล็ก ๆ ประมาณ ๑๘ ซีซี.
น. ผู้เพ่ง, ผู้มุ่ง, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส เช่น อุปสัมปทาเปกข์
คือ ผู้เพ่งอุปสมบท ผู้มุ่งอุปสมบท. (ป.).
【 เป่ง 】แปลว่า: ว. พองขึ้นหรือนูนขึ้นเต็มที่ เช่น บวมเป่ง ท้องเป่ง.
【 เป้ง ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่ม ๓ ชนิดในสกุล/ Phoenix/ วงศ์ Palmae ก้านใบมีหนาม
คือ เป้งทะเล (/P. paludosa/ Roxb.) ขึ้นตามชายทะเล, เป้งดอย
(/P. humilis/ Royle) ขึ้นตามป่าดอน, และ เป้งบก หรือ ปุ้มเป้ง
(/P. acaulis/ Ham.) ขึ้นในป่าเต็งรัง.
【 เป้ง ๒ 】แปลว่า: ว. โต เช่น มดเป้ง; ถูกอย่างจัง เช่น ชนเป้ง; เสียงดังอย่างเสียง
ตีด้วยไม้แรง ๆ.
【 เป๋ง 】แปลว่า: ว. ใช้ประกอบคําอื่นหมายความว่า ยิ่งกว่าปรกติ เช่น ตรงเป๋ง
ตึงเป๋ง; เสียงดังเช่นนั้น.
【 เป็ด ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์ปีกในวงศ์ Anatidae ปากแบน ตีนแบน ระหว่างนิ้ว
มีพังผืดยึดติดกันเพื่อสะดวกในการว่ายนํ้า ตัวมีหลายสี เช่น
นํ้าตาล ขาว เขียว ขนาดเล็กกว่าห่าน ว่ายนํ้าเก่ง กินปลา พืชนํ้า
และสัตว์เล็ก ๆ มีต้นตระกูลมาจากเป็ดหัวเขียว (/Anas/
/platyrhynchos/).
【 เป็ดก่า 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. ชื่อนกเป็ดนํ้าชนิด/ Cairina scutulata/ ในวงศ์
Anatidae หัวและคอสีขาวประดํา อกสีเขียวเกือบดํา ทํารังใน
โพรงไม้ริมลําธาร มักเกาะนอนบนต้นไม้สูง ๆ เวลาบินจะเห็น
แถบสีขาวที่ปีกได้ชัดเจน เป็นนกเป็ดนํ้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย.
【 เป็ดขันประชันไก่ 】แปลว่า: (สํา) น. ผู้ที่มีความรู้ความสามารถน้อยแต่อวดแสดงแข่งกับ
ผู้ที่มีความรู้ความสามารถสูง.
【 เป็ดถบ 】แปลว่า: น. เป็ดกายสิทธิ์.
【 เป็ดเทศ 】แปลว่า: น. ชื่อเป็ดชนิด /Cairina moschata/ ในวงศ์ Anatidae ขนาด
โตกว่าเป็ดธรรมดา เหนือปากมีติ่งเนื้อสีแดงคล้ายเนื้องอก
ติดอยู่ มีถิ่นกําเนิดในอเมริกากลาง.
【 เป็ดน้ำ 】แปลว่า: น. ชื่อนกในวงศ์ Anatidae ซึ่งมีปากแบน ปลายมน ตีนเป็นพังผืด
ว่ายนํ้าเก่ง กินพืชและสัตว์นํ้า บินได้เร็วมาก ตัวผู้มักจะมีขนสี
สวยกว่าตัวเมีย มักอยู่เป็นฝูง มีหลายชนิด เช่น เป็ดหอม หรือ
เป็ดหางแหลม (/Anas acuta/) เป็ดลาย (/A. querquedula/) เป็ดแดง
(/Dendrocygna javanica/).
【 เป็ดไฟแดง 】แปลว่า: น. เป็ดย่างชนิดหนึ่ง ย่างให้หนังพองแล้วกินหนัง.
【 เป็ดหงส์ 】แปลว่า: น. ชื่อนกเป็ดนํ้าขนาดใหญ่ชนิด /Sarkidiornis melanotos/ ในวงศ์
Anatidae หัว คอ หน้าอก และท้องสีขาวประดํา ปีกสีเขียวเป็นมัน
ตัวผู้มีตุ่มคล้ายหงอนอยู่เหนือโคนปากบนและจะโตขึ้นในช่วงฤดู
ผสมพันธุ์ ตัวเมียขนาดเล็กกว่าตัวผู้และสีหม่นกว่า อาศัยอยู่ใน
ป่าทึบ โดยทำรังในโพรงไม้ มักเกาะตามต้นไม้สูง ๆ.
【 เป็ด ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในสกุล /Alternanthera/ วงศ์ Amaranthaceae
เรียกว่า ผักเป็ด คือ ผักเป็ดขาว [/A. sessilis/ (L.) DC.] ใบสีเขียว
กินได้และใช้ทํายาได้, ผักเป็ดแดง [/A. ficoidea/ (L.) Pal.] ใบสีแดง
ปลูกเป็นไม้ประดับ.
【 เป็ด ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อเรือต่อหรือเรือขุดต่อกระดานเสริมกราบชนิดหนึ่ง หัวท้าย
แบน ๆ ก็มี หัวท้ายแหลมก็มี กลางป่องดูรูปร่างคล้ายเป็ด, อีเป็ด
ก็เรียก.
【 เป็ดแก้ว 】แปลว่า: /ดู ดุกทะเล./
【 เป็ดผี ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อตั๊กแตนหนวดยาวพวกหนึ่งในวงศ์ Tettigoniidae ทําเสียงดัง
หวีดหวิวในเวลากลางคืนโดยใช้ปีกกรีดกัน มีทั้งชนิดที่มีปีกยาว
คลุมลําตัว ลักษณะปีกเหมือนใบไม้ เวลาเกาะเหมือนเอาใบไม้
๒ ใบมาประกบกัน เช่น ชนิด/ Holochlora siamensis/ และชนิด
ปีกสั้นซึ่งไม่สามารถหุ้มลําตัวได้ เช่น ชนิด/ Eleandrus titan./
【 เป็ดผี ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อนกชนิด /Tachybaptus ruficollis/ ในวงศ์ Podicipedidae
ปากแหลม นิ้วตีนแผ่ออกเป็นแผ่นแบนเป็นช่วง ๆ จากโคนถึง
ปลายนิ้ว แต่ละนิ้วแยกกัน ไม่ติดเหมือนตีนเป็ด บินได้ในระยะ
ทางสั้น ๆ มักลอยอยู่ในนํ้า หากินตามบึงหรือบริเวณที่มีพืชนํ้า
จํานวนมาก ดํานํ้าได้เหมือนเป็ด เป็นนกซึ่งคล้ายเป็ด.
【 เปต 】แปลว่า: [เปตะ, เปดตะ] น. สัตว์พวกหนึ่งเกิดในอบายภูมิ คือ แดนทุกข์;
ผู้ตายไปแล้ว, เปรต ก็ว่า. (ป.; ส. เปฺรต).
【 เปตพลี 】แปลว่า: [เปตะพะลี, เปดตะพะลี] น. เครื่องเซ่นสรวงที่กระทําให้แก่ผู้ตาย
ไปแล้ว. (ป.).
【 เปตวิสัย 】แปลว่า: [เปตะวิไส, เปดตะวิไส] น. เปรตวิสัย.
【 เปตา 】แปลว่า: (กลอน) น. สัตว์เกิดในอบายภูมิพวกหนึ่ง; ผู้ตายไปแล้ว.
【 เปตอง 】แปลว่า: น. ชื่อกีฬากลางแจ้งชนิดหนึ่ง มักเล่นในสนามที่เป็นดินแข็ง มีผู้เล่น
ฝ่ายละไม่เกิน ๓ คน โยนลูกโลหะกลมซึ่งข้างในกลวงจํานวน ๑๒
ลูก ให้เข้าใกล้ลูกเป้าซึ่งเป็นลูกทรงกลมทําด้วยไม้เนื้อแข็งให้มาก
ที่สุด ฝ่ายที่ทําคะแนนถึงเกม คือ ๑๓ คะแนนได้ก่อนเป็นฝ่ายชนะ.
(ฝ. p?tanque).
【 เปตา 】แปลว่า: /ดู เปต-./
【 เป็น ๑ 】แปลว่า: ก. คํากริยาสําหรับแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคํากับคําเพื่อ
ให้เห็นว่าคําหน้าและคําหลังมีภาวะ คือ ความมี ความเป็น
เกี่ยวข้องกันอย่างไร เช่น ท่านเป็นเจ้า เขาเป็นนาย.
【 เป็น ๒ 】แปลว่า: ก. สามารถ, ได้, เช่น เต้นเป็น รําเป็น. ว. ยังมีชีวิตอยู่, ยังไม่ตาย,
เช่น ปลาเป็น; ประหนึ่ง เช่น ทําเป็นบ้า.
【 เป็นกลาง 】แปลว่า: ว. ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เช่น วางตัวเป็นกลาง.
【 เป็นกลุ่มเป็นก้อน 】แปลว่า: ว. ที่รวมกันเป็นหมู่เป็นพวก.
【 เป็นกอง, เป็นก่ายเป็นกอง 】แปลว่า: ว. มาก, มากมาย, เช่น โตขึ้นเป็นกอง ซื้อมาเป็นก่ายเป็นกอง.
【 เป็นกอบเป็นกำ 】แปลว่า: (สํา) ว. เป็นผลดี, เป็นชิ้นเป็นอัน เช่น ทำให้เป็นกอบเป็นกำ, เป็น
ก้อนใหญ่ ทําประโยชน์ต่อไปได้ดี เช่น ได้เงินมาเป็นกอบเป็นกำ.
【 เป็นกันเอง 】แปลว่า: ว. มีความสนิทสนมคุ้นเคยกัน.
【 เป็นการ 】แปลว่า: ก. ได้ผล, สําเร็จ, เช่น เป็นการหรือไม่เป็นการ, มักใช้ในความ
ปฏิเสธ เช่น เห็นจะไม่เป็นการ.
【 เป็นการเป็นงาน, เป็นงานเป็นการ 】แปลว่า: ว. เอาจริงเอาจัง, เป็นพิธีรีตอง, เช่น
【 เขาทำอะไรเป็นการเป็นงาน. 】แปลว่า:
【 เป็นการใหญ่ 】แปลว่า: ว. เป็นการเอิกเกริก, เป็นงานใหญ่, เช่น จัดงานสมโภชเป็นการใหญ่,
เกินปรกติ เช่น เลี้ยงดูเป็นการใหญ่ จัดบ้านเป็นการใหญ่.
【 เป็นควัน 】แปลว่า: ว. อาการที่ปฏิเสธข้อกล่าวหาอุตลุดเป็นพัลวัน.
【 เป็นความ 】แปลว่า: ว. มีคดีพิพาทหรือฟ้องร้องกันในโรงศาล. (ปาก) ก. สู้คดี,
สู้ความ.
【 เป็นคุ้งเป็นแคว 】แปลว่า: ว. อาการที่เล่าเป็นเรื่องเป็นราวยืดยาวติดต่อกันเหมือนกับ
รู้เห็นมาด้วยตนเอง.
【 เป็นงาน 】แปลว่า: ว. มีความชำนาญ.
【 เป็นเงาตามตัว 】แปลว่า: (สํา) ว. คอยติดตามอยู่ตลอดเวลา; เพิ่มขึ้นหรือลดลงตามส่วน.
【 เป็นเงินเป็นทอง 】แปลว่า: ว. มีค่า, มีราคา, เช่น เวลาเป็นเงินเป็นทอง.
【 เป็นจริงเป็นจัง 】แปลว่า: ว. เป็นหลักฐานมั่นคง, เป็นชิ้นเป็นอัน, เป็นลํ่าเป็นสัน.
【 เป็นใจ 】แปลว่า: ก. รู้กัน, สมรู้ร่วมคิด.
【 เป็นชิ้นเป็นอัน 】แปลว่า: ว. เป็นสาระ, เป็นเรื่องเป็นราว, มักใช้ในความปฏิเสธว่า
ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน.
【 เป็นชู้ 】แปลว่า: ก. ร่วมประเวณีกับเมียผู้อื่น.
【 เป็นดั้งหน้า 】แปลว่า: (สํา) คอยออกหน้าป้องกัน เช่น รับเป็นดั้งหน้าเข้ามาแก้.
(ไชยเชฐ).
【 เป็นแดน 】แปลว่า: ว. เป็นไปเสมอ, เป็นประจํา, เช่น นั่งที่ไหนนินทาเขาเป็นแดน.
(สุภาษิตสอนหญิง).
【 เป็นใด 】แปลว่า: (กลอน) ว. เป็นอะไร, อะไร.
【 เป็นได้ 】แปลว่า: ก. อาจ.
【 เป็นต้น ๑ 】แปลว่า: ว. เริ่มแรก, เป็นอันดับแรก, เป็นส่วนเบื้องต้น, เช่น อริยสัจ ๔
มีทุกข์เป็นต้น.
【 เป็นต่อ 】แปลว่า: ก. ได้เปรียบ, ถ้าเสียเปรียบใช้ว่า เป็นรอง.
【 เป็นตัว 】แปลว่า: ว. เรียกข้าวสารเมล็ดงามไม่ค่อยหักว่า ข้าวเป็นตัว, เรียกข้าวสวย
หรือข้าวต้มที่ยังคงรูปเป็นเมล็ดอยู่ว่า ข้าวสวยเป็นตัว ข้าวต้มเป็นตัว;
ข้าวสารหรือเมล็ดถั่วเป็นต้นที่เก็บไว้นาน ๆ จนมีตัวมอดว่า ข้าวเป็นตัว
ถั่วเป็นตัว. ก. มีชีวิตอยู่ เช่น จะจากเจ้าเหมือนดังว่าวขาดลมลอย
อย่าหมายคอยเลยว่าเมียจะเป็นตัว. (ขุนช้างขุนแผน).
【 เป็นตัวเป็นตน 】แปลว่า: ว. จริงจัง, แน่นอน, ปรากฏชัด, เช่น มีผัวเป็นตัวเป็นตน,
เป็นหลักฐาน.
【 เป็นตายเท่ากัน 】แปลว่า: ว. มีอาการปางตาย, ไม่แน่ว่าจะเป็นหรือจะตาย.
【 เป็นตุเป็นตะ 】แปลว่า: ว. อาการที่เล่าเป็นจริงเป็นจังเหมือนกับรู้เห็นมาด้วยตนเอง
เช่น พูดเป็นตุเป็นตะ.
【 เป็นที่ ๑, เป็นที่เป็นทาง 】แปลว่า: ว. มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอน เช่น เขาอยู่ไม่เป็นที่เป็นทาง; อาการ
ที่เก็บของไว้ตามที่อย่างเป็นระเบียบเช่น เก็บของไม่เป็นที่ เก็บของ
เป็นที่เป็นทาง.
【 เป็นที่ ๒ 】แปลว่า: ว. ใช้นำหน้ากริยาหรือวิเศษณ์เพื่อเสริมความให้แจ่มชัดยิ่งขึ้น
เช่น เป็นที่เข้าใจกันว่า เป็นที่น่ากลัว เป็นที่น่าพอใจ.
【 เป็นที่ตั้ง 】แปลว่า: ว. เป็นสำคัญ.
【 เป็นทุกข์, เป็นทุกข์เป็นร้อน 】แปลว่า: ก. วิตกกังวล, เดือดเนื้อร้อนใจไม่เป็นสุข.
【 เป็นธรรม 】แปลว่า: ว. ถูกต้อง.
【 เป็นธุระ 】แปลว่า: ว. ถือเป็นเรื่องที่ตนควรทำให้, เอาเป็นธุระ ก็ว่า.
【 เป็นน้ำ 】แปลว่า: ว. คล่อง เช่น พูดเป็นนํ้า.
【 เป็นน้ำเป็นนวล 】แปลว่า: ว. มีผิวพรรณผุดผ่องสวยงาม.
【 เป็นน้ำยาเย็น 】แปลว่า: ว. จืดชืด.
【 เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน 】แปลว่า: ว. พร้อมเพรียงกัน, พร้อมใจกัน.
【 เป็นนิตย์ 】แปลว่า: ว. เสมอ ๆ, เนือง ๆ.
【 เป็นเนื้อเป็นตัว 】แปลว่า: ว. เป็นหลักเป็นฐาน, สามารถตั้งหลักฐานขึ้นมาได้.
【 เป็นเนื้อเป็นหนัง 】แปลว่า: ว. เป็นชิ้นเป็นอัน, เป็นกอบเป็นกํา.
【 เป็นบ้า 】แปลว่า: (ปาก) ว. อย่างยิ่ง เช่น สวยเป็นบ้า เก่งเป็นบ้า.
【 เป็นบ้าเป็นหลัง 】แปลว่า: ว. เอาจริงเอาจังเกินไป เช่น ทํางานเป็นบ้าเป็นหลัง.
【 เป็นเบือ 】แปลว่า: ว. มากมาย เช่น ตายเป็นเบือ.
【 เป็นเบื้อ 】แปลว่า: ว. อาการที่นั่งนิ่งเฉย.
【 เป็นปากเป็นเสียงกัน 】แปลว่า: ก. ทะเลาะกัน.
【 เป็นปากเสียง 】แปลว่า: ก. โต้เถียง เช่น เป็นปากเสียงกัน, พูดหรือโต้เถียงแทนเช่น หนังสือพิมพ์
เป็นปากเสียงของประชาชน, เป็นปากเป็นเสียง ก็ว่า.
【 เป็นปี่เป็นขลุ่ย 】แปลว่า: ว. ถูกคอกัน, เข้ากันได้ดี, เช่น พูดเข้ากันเป็นปี่เป็นขลุ่ย.
【 เป็นไป 】แปลว่า: ก. ดำเนินไป.
【 เป็นผู้เป็นคน 】แปลว่า: ว. เป็นคนปรกติ, กลับเนื้อกลับตัวเป็นคนดีได้, มักใช้ในทาง
ปฏิเสธ เช่น ไม่เป็นผู้เป็นคน.
【 เป็นฝั่งเป็นฝา 】แปลว่า: ก. มีหลักฐานมั่นคง.
【 เป็นพัก ๆ 】แปลว่า: ว. เป็นระยะ ๆ เช่น ทำงานเป็นพัก ๆ หยุดเป็นพัก ๆ.
【 เป็นเพื่อน 】แปลว่า: ว. อาการที่อยู่ด้วยหรือไปด้วยเพื่อให้มีความอุ่นใจ.
【 เป็นฟืนเป็นไฟ 】แปลว่า: ว. รุนแรง, เต็มที่, (ใช้แก่กริยาโกรธ) เช่น โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ.
【 เป็นไฟ 】แปลว่า: ว. คล่อง เช่น พูดฝรั่งเป็นไฟ.
【 เป็นมัน 】แปลว่า: ว. อาการที่มองดูด้วยความอยากได้หรือพออกพอใจ เช่น
เห็นผู้หญิงสาวสวยดูตาเป็นมัน เห็นเงินตาเป็นมัน.
【 เป็นมั่นเป็นเหมาะ 】แปลว่า: ว. มั่นคง, แข็งขัน, หนักแน่น.
【 เป็นรอง 】แปลว่า: ก. เสียเปรียบ, ถ้าได้เปรียบใช้ว่า เป็นต่อ.
【 เป็นระนาว 】แปลว่า: ว. มากมายเป็นแถว เช่น บาดเจ็บเป็นระนาว.
【 เป็นรัง 】แปลว่า: ว. เรียกข้าวสารที่เก็บไว้นานจนมีลักษณะคล้ายรังก่อน
จะกลายเป็นตัวหนอนว่า ข้าวเป็นรัง.
【 เป็นราย 】แปลว่า: ว. แต่ละ เช่น เป็นรายหัว เป็นรายคน เป็นรายวัน.
【 เป็นไร 】แปลว่า: ว. ใช้ในความหมายที่ยืนยัน หมายความว่า เป็นอย่างนั้น เช่น
นั่นเป็นไรล่ะ, ใช้ในความหมายที่เป็นคําถาม หมายความว่า
เป็นอย่างไรไป เช่น นั่นเป็นไรหรือ.
【 เป็นไรเป็นกัน 】แปลว่า: ก. ถึงเป็นอะไรก็ยอม, สู้จนถึงที่สุด.
【 เป็นไรไป 】แปลว่า: (ปาก) ก. ไม่เป็นไร เช่น เรื่องเท่านี้ช่วยได้ เป็นไรไป.
【 เป็นลม, เป็นลมเป็นแล้ง 】แปลว่า: ก. มีอาการวิงเวียนหน้ามืด บางคราวถึงกับหมดสติ.
【 เป็นลม ๆ 】แปลว่า: ว. เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย.
【 เป็นล่ำเป็นสัน 】แปลว่า: ว. เป็นหลักฐานมั่นคง, เป็นชิ้นเป็นอัน, เป็นจริงเป็นจัง.
【 เป็นโล้เป็นพาย 】แปลว่า: ว. เอาการเอางาน, แข็งขัน, จริงจัง, ได้เรื่องได้ราว, เข้าท่าเข้าทางดี,
(มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ทําไม่เป็นโล้เป็นพายเลย.
【 เป็นวรรคเป็นเวร, เป็นวักเป็นเวน 】แปลว่า: ว. ไม่รู้จักจบจักสิ้น เช่น ร้องไห้เป็นวรรคเป็นเวร.
【 เป็นวัน ๆ 】แปลว่า: ว. ตลอดทั้งวัน, หลาย ๆ วัน, เช่น เดินเป็นวัน ๆ กว่าจะถึง, บางวัน,
เฉพาะวัน, แต่ละวัน, เช่น ทำงานเป็นวัน ๆ ได้ค่าจ้างเป็นวัน ๆ.
【 เป็นว่าเล่น 】แปลว่า: ว. ง่าย, สะดวกสบาย, เช่น เขาใช้เงินเป็นว่าเล่น.
【 เป็นสัด 】แปลว่า: ก. อาการกระหายใคร่สืบพันธุ์ของสัตว์ที่เป็นไปตามฤดูกาล.
【 เป็นสัดเป็นส่วน 】แปลว่า: ก. แยกไว้เฉพาะเป็นหมู่เป็นพวก เช่น ของทำบุญจัดให้เป็นสัด
เป็นส่วน.
【 เป็นสาวเป็นนาง 】แปลว่า: ว. เป็นหญิงสาวแบบที่เป็นลูกผู้หญิง เช่น เป็นสาวเป็นนาง
ต้องอยู่ในขนบประเพณี.
【 เป็นสาวเป็นแส้ 】แปลว่า: ว. เป็นสาววัยรุ่น เช่น เป็นสาวเป็นแส้แล้วไม่ควรเล่นซุกซน
เหมือนเด็ก ๆ.
【 เป็นสุข 】แปลว่า: ก. มีความสบายกายสบายใจ เช่น เขาถูกลอตเตอรี่รางวัลที่ ๑
เวลานี้จึงเป็นสุขมาก ประชาชนในประเทศนี้อยู่เย็นเป็นสุข
เสมอหน้ากัน, โดยปริยายหมายความว่า ตาย เช่น ไหน ๆ เขา
ก็เป็นสุขไปแล้ว อโหสิให้เขาเถิด.
【 เป็นเสียเอง 】แปลว่า: ก. ทำเรื่องเสียหายเอง, เป็นเอง ก็ว่า.
【 เป็นหน้าเป็นตา 】แปลว่า: ว. เป็นที่เชิดหน้าชูตา เช่น บ้านนี้มีลูกชายเก่งและขยัน เป็นหน้า
เป็นตาของวงศ์ตระกูล.
【 เป็นหนี้, เป็นหนี้เป็นสิน 】แปลว่า: ก. ติดค้างเงินผู้อื่น.
【 เป็นหมวดหมู่, เป็นหมวดเป็นหมู่ 】แปลว่า: ว. เป็นประเภท, เป็นชนิด, เช่น จัดหนังสือให้เป็นหมวดหมู่.
【 เป็นหลักเป็นฐาน 】แปลว่า: ว. มีฐานะมั่นคง เช่น เขาตั้งตัวเป็นหลักเป็นฐานแล้ว.
【 เป็นหลักเป็นแหล่ง 】แปลว่า: ว. อยู่เป็นที่เป็นทางไม่โยกย้ายไปมา เช่น เขามีที่อยู่เป็นหลัก
เป็นแหล่ง.
【 เป็นห่วง 】แปลว่า: ก. กังวลถึง.
【 เป็นหุ่นให้เชิด 】แปลว่า: (สํา) ก. อยู่ในฐานะหรือตําแหน่งที่ต้องทําตามที่เขาสั่ง.
【 เป็นหูเป็นตา 】แปลว่า: (สํา) ก. ช่วยสดับตรับฟังและดูแลรักษาแทน.
【 เป็นไหน ๆ 】แปลว่า: ว. มากมายจนประมาณไม่ได้ เช่น ดีกว่าเป็นไหน ๆ.
【 เป็นอยู่ 】แปลว่า: ว. สภาพความเป็นไป ในคำว่า ความเป็นอยู่.
【 เป็นอัตรา 】แปลว่า: (ปาก) ว. เป็นปรกติ, เป็นประจำ, เช่น ขยันเป็นอัตรา ขี้เกียจ
เป็นอัตรา.
【 เป็นอัน 】แปลว่า: ก. รวมความว่า, แสดงว่า, เช่น เป็นอันยุติ, เป็นอันว่า ก็ใช้; ถ้าใช้
ในความปฏิเสธว่า ไม่เป็นอัน หมายความว่า ทําได้ไม่เต็มที่ เช่น
ไม่เป็นอันกิน ไม่เป็นอันนอน.
【 เป็นอันขาด 】แปลว่า: ว. ใช้ในประโยคปฏิเสธ หมายความว่า แน่นอน, แน่แท้.
【 เป็นอันมาก 】แปลว่า: ว. มากหลาย, ถมไป.
【 เป็นอันว่า 】แปลว่า: ก. รวมความว่า, แสดงว่า, เช่น เป็นอันว่ายุติ, เป็นอัน ก็ใช้.
【 เป็นเอง 】แปลว่า: ก. ทําเรื่องเสียหายเอง, เป็นเสียเอง ก็ว่า.
【 เป็นต้น ๑ 】แปลว่า: /ดูใน เป็น ๒./
【 เป็นต้น ๒ 】แปลว่า: (ไว) คําที่ใช้แทนเครื่องหมาย ฯลฯ เพื่อละคําหรือข้อความตอน
ปลายซึ่งอยู่ในประเภทเดียวกันกับคําหรือข้อความที่ยกขึ้นกล่าว
เป็นตัวอย่างตอนต้น เช่น อริยสัจ ๔ มีทุกข์เป็นต้น.
【 เปยยาล 】แปลว่า: น. ไปยาล.
【 เปร 】แปลว่า: [เปฺร] ก. เบนไป, เซไป, เอนไป, หลีกไป.
【 เปร็ง 】แปลว่า: [เปฺร็ง] น. ชื่อไผ่ชนิดหนึ่ง ต้นเล็ก ชาวบ้านใช้ปล้องทําเป็น
กล้องยาสูบ.
【 เปรต, เปรต- 】แปลว่า: [เปฺรด, เปฺรดตะ-] น. สัตว์พวกหนึ่งเกิดในอบายภูมิ คือ แดนทุกข์,
ผีเลวจําพวกหนึ่ง มีหลายชนิด ชนิดหนึ่งตามที่ว่ากันว่ามีรูปร่าง
สูงโย่งเย่งเท่าต้นตาล ผมยาวหยอกหยอย คอยาว ผอมโซ มีปาก
เท่ารูเข็ม มือเท่าใบตาล กินแต่เลือดและหนองเป็นอาหาร มักร้อง
เสียงดังวี้ด ๆ ในตอนกลางคืน; คําเรียกเป็นเชิงด่าหรือปรามาส
คนที่อดอยากผอมโซ เที่ยวรบกวนขอเขากิน หรือเมื่อมีใครได้โชค
ลาภก็เข้ามาขอแบ่งปันเป็นอย่างขอแบ่งส่วนบุญหรือในทํานอง
เช่นนั้น ว่า เปรต หรือ อ้ายเปรต. (ส.; ป. เปต).
【 เปรตวิษัย, เปรตวิสัย 】แปลว่า: [เปฺรดตะ-] น. ภูมิหรือกําเนิดแห่งเปรต, เปตวิสัย ก็ใช้.
(ส. ไปตฺรฺย + วิษย; ป. เปตฺติวิสย).
【 เปรม 】แปลว่า: [เปฺรม] ก. สบาย, รื่นเริง, อิ่มใจ. น. ความรัก, ความชอบใจ. (ส.).
【 เปรมปรา 】แปลว่า: -ปฺรา ตัดมาจาก เปรมปราโมทย์.
【 เปรมปรีดิ์ 】แปลว่า: [-ปฺรี] ว. อิ่มอกอิ่มใจ, ปลาบปลื้มใจ.
【 เปรย, เปรย ๆ 】แปลว่า: [เปฺรย] ก. กล่าวขึ้นมาลอย ๆ เพื่อให้ผู้อื่นได้ยิน. ว. อาการที่กล่าว
ขึ้นมาลอย ๆ เพื่อให้ผู้อื่นได้ยิน เช่น เคยพูดเปรยไว้ พูดเปรย ๆ.
【 เปรยปราย 】แปลว่า: ก. พูดทักทายทั่วไปไม่จําเพาะใคร.
【 เปรอ 】แปลว่า: [เปฺรอ] ก. บําเรอ. (ข. เปฺรี ว่า ใช้).
【 เปรอะ 】แปลว่า: [เปฺรอะ] ว. เลอะ เช่น ผ้าเปรอะ, เกรอะกรัง เช่น สนิมเปรอะ,
หมักหมม เช่น ขี้ไคลเปรอะ; (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า
สับสน, ยุ่งเหยิง, เช่น ลวดลายเปรอะ วางของเปรอะไปหมด.
【 เปรอะเปื้อน 】แปลว่า: ว. เลอะเทอะ, เปื้อนเปรอะ ก็ว่า.
【 เปรา 】แปลว่า: เปฺรา น. ชื่อปีนักษัตรของไทยเหนือ ตรงกับ ปีฉลู,
คําเดียวกับ เป๊า.
【 เปราะ ๑ 】แปลว่า: [เปฺราะ] น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวชนิด/ Kaempferia galanga /L.
ในวงศ์ Zingiberaceae หัวและใบมีกลิ่นหอม ใช้เป็นอาหารและ
ทํายาได้, เปราะหอม ก็เรียก. (๒) ชื่อมะเขือพันธุ์หนึ่ง.
【 เปราะ ๒ 】แปลว่า: [เปฺราะ] ว. หักง่าย, แตกง่าย, เช่น ไส้ดินสอเปราะ.
【 เปราะแประ 】แปลว่า: [-แปฺระ] ว. อาการที่ฝนตกมีเม็ดห่าง ๆ แต่เล็กน้อย, เปาะแปะ ก็ว่า.
【 เปราะหอม 】แปลว่า: /ดู เปราะ ๑ (๑)./
【 เปรียง ๑ 】แปลว่า: [เปฺรียง] น. นมส้มผสมนํ้าแล้วเจียวให้แตกมัน จัดเป็นโครส
อย่างหนึ่งในจํานวน ๕ อย่าง.
【 เปรียง ๒ 】แปลว่า: [เปฺรียง] น. นํ้ามัน โดยเฉพาะใช้สําหรับนํ้ามันไขข้อของวัว. (ข. เปฺรง).
【 เปรียง ๓ 】แปลว่า: [เปฺรียง] น. เถาวัลย์เปรียง.
【 เปรี้ยง 】แปลว่า: [เปฺรี้ยง] ว. เสียงดังลั่นอย่างเสียงฟ้าผ่า; จัด, กล้า, (ใช้แก่แดด)
ในคําว่า แดดเปรี้ยง.
【 เปรี้ยงปร้าง 】แปลว่า: ว. โผงผาง.
【 เปรียญ 】แปลว่า: [ปะเรียน] น. ผู้สอบความรู้พระปริยัติธรรมสายบาลีได้ตาม
หลักสูตรตั้งแต่ ๓ ประโยคขึ้นไป.
【 เปรียบ 】แปลว่า: [เปฺรียบ] ก. เอาสิ่งหนึ่งเข้ามาเทียบกับอีกสิ่งหนึ่งเพื่อให้เห็นว่าใกล้กัน
เสมอกัน หรือผิดกัน, ถ้าเอามาเทียบกันดูแล้ว ฝ่ายที่มีภาษีกว่า เรียกว่า
ได้เปรียบฝ่ายที่เป็นรอง เรียกว่า เสียเปรียบ, ถ้าจะเอาฝ่ายตนให้มีภาษี
ข้างเดียว เรียกว่า เอาเปรียบ.
【 เปรียบเทียบ 】แปลว่า: ก. พิจารณาเทียบเคียงให้เห็นลักษณะที่เหมือนกันและต่างกัน.
(กฎ) น. การที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม
กฎหมายกําหนดค่าปรับผู้กระทําผิดในคดีอาญา ซึ่งกฎหมาย
กําหนดให้เปรียบเทียบปรับได้ เมื่อผู้กระทําผิดยินยอมเสียค่า
ปรับแล้ว คดีอาญาเป็นอันเลิกกัน; การที่นายอําเภอเรียกผู้ถูก
ร้องมาไกล่เกลี่ยให้เลิกแล้วต่อกันในคดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์ที่
พิพาทไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท ซึ่งมูลคดีเกิดในอําเภอนั้น หรือ
ผู้ถูกร้องมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอนั้น ตามกฎหมายว่าด้วย
ลักษณะปกครองท้องที่.
【 เปรียบประดุจดัง, เปรียบเหมือน, เปรียบเสมือน 】แปลว่า: ก. ประดุจดัง, เหมือน, เสมือน, ราวกะ,
【 เพียงดัง. 】แปลว่า:
【 เปรียบปราย, เปรียบเปรย 】แปลว่า: ว. อาการที่พูดว่ากระทบกระเทียบไม่เจาะจง.
【 เปรี่ยม 】แปลว่า: [เปฺรี่ยม] ว. ปริ่ม.
【 เปรียว 】แปลว่า: [เปฺรียว] ว. ไม่เชื่อง, ว่องไว, (ใช้แก่สัตว์บางชนิดเช่นนกหรือไก่
เป็นต้นที่ไม่คุ้นคน), โดยปริยายใช้แก่สิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึง
เช่นนั้น; เพรียว.
【 เปรี้ยว 】แปลว่า: [เปฺรี้ยว] ว. มีรสอย่างหนึ่งอย่างรสมะนาวเป็นต้น, มีกลิ่นหรือรส
ออย่างาหารบูดหรืออาหารเสีย; (ปาก) มีลักษณะปราดเปรียว
ทันสมัย อิสระ มั่นใจ ชอบการคบหาสมาคม (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น
ผู้หญิงคนนี้เปรี้ยว, เรียกลักษณะการแต่งกายของผู้หญิงที่แต่งตัว
สีฉูดฉาด รัดรูป เป็นต้นว่า แต่งตัวเปรี้ยว.
【 เปรี้ยวปาก 】แปลว่า: ก. รู้สึกคล้ายเปรี้ยวในปากเมื่ออยากกินสิ่งที่เคยกินมีหมาก
เป็นต้น.
【 เปรี้ยวหวาน 】แปลว่า: น. ชื่ออาหารคาวชนิดหนึ่ง ใช้ผัก เช่น แตงกวา มะเขือเทศ
หอมใหญ่ ผัดกับเนื้อสัตว์ ปรุงให้มีรสออกเปรี้ยวและหวาน.
【 เปรียะ, เปรี๊ยะ 】แปลว่า: [เปฺรียะ, เปฺรี๊ยะ] ว. เสียงที่เกิดจากสิ่งของที่แตกหรือขาดเป็นต้น
ซึ่งมีเสียงดังเช่นนั้นอย่างแก้วแตก; อาการที่แก้วหูลั่นเพราะขึ้นไป
บนที่สูง ๆ เป็นต้น; โดยปริยายหมายความว่า คล่องไม่ติดขัด เช่น
พูดเปรี๊ยะ, มากเกินไป เช่น ตึงเปรี๊ยะ.
【 เปรื่อง 】แปลว่า: [เปฺรื่อง] ก. เชี่ยวชาญ, ปรุโปร่ง, แตกฉาน, เช่น ปัญญาเปรื่อง
สมองเปรื่อง. ว. เสียงดังอย่างเสียงถ้วยชามกระทบกันหรือตกแตก.
【 เปรื่องปราด 】แปลว่า: ว. มีความคิดแคล่วคล่องว่องไว, ปราดเปรื่อง ก็ว่า.
【 เปรื้อย 】แปลว่า: [เปฺรื้อย] ว. คล่อง เช่น พูดเปรื้อย ว่า พูดคล่อง.
【 เปล 】แปลว่า: [เปฺล] น. เครื่องสําหรับนอน ใช้ไกวหรือโยก, เครื่องสําหรับ
นอนเล่นแกว่งไกวไปมาได้, เครื่องสําหรับหามคนเจ็บ; เรียก
ภาชนะบางอย่างที่มีรูปลักษณะอย่างเปล เช่น ชามเปล.
【 เปลญวน 】แปลว่า: น. เปลที่ถักด้วยป่านเป็นตาโปร่ง.
【 เปล่ง 】แปลว่า: [เปฺล่ง] ก. ฉายออก, แผ่ออก, เช่น เปล่งรัศมี, ออกเสียง เช่น เปล่งเสียง.
ว. แจ่มใส, สุกใส.
【 เปล่งปลั่ง 】แปลว่า: ว. สดใส, แจ่มใส.
【 เปลว 】แปลว่า: [เปฺลว] น. เรียกไฟที่ลุกแลบออกมาหรือพวยพุ่งขึ้นว่า เปลวไฟ,
เรียกควันที่พลุ่ง ๆ ขึ้นไปว่า เปลวควัน, เรียกช่องอยู่เหนือถํ้าที่แลบ
ทะลุขึ้นไปเบื้องบนว่า ช่องเปลว หรือ เปลวปล่อง, เรียกสิ่งที่เป็น
แผ่นบางอันมีลักษณะคล้ายเปลวไฟ เช่น ทองคําเปลว, เรียกมัน
ของสัตว์ที่ไม่ได้ติดอยู่กับหนัง ว่า มันเปลว, คู่กับ มันแข็ง; ชื่อลาย
จําพวกหนึ่งมีปลายสะบัดอ่อนไหวคล้ายเปลวไฟ เช่น กระหนกเปลว.
【 เปลา 】แปลว่า: [เปฺลา] ว. สูงชะลูดไม่มีกิ่งที่ลําต้น (ใช้แก่ต้นไม้).
【 เปล่า 】แปลว่า: [เปฺล่า] ว. ไม่มีอะไรนอกจากตัวของมันเองที่อ้างถึง เช่น ขวดเปล่า
มือเปล่า, ว่าง ๆ; เป็นคําปฏิเสธ แปลว่า ไม่มี ไม่เป็นอย่างนั้น; ไม่มี
ข้อผูกพัน เช่น ให้เปล่า ได้เปล่า. ว. อ้างว้าง, ว้าเหว่, เช่น เปล่าอก
เปล่าใจ เปล่าเปลี่ยว.
【 เปล่าดาย 】แปลว่า: ว. เปล่าทีเดียว.
【 เปล่า ๆ ปลี้ ๆ 】แปลว่า: ว. ไม่มีหลักฐาน เช่น มาโทษกันเปล่า ๆ ปลี้ ๆ.
【 เปล่าเปลี่ยว 】แปลว่า: ว. อ้างว้าง, ว้าเหว่.
【 เปล้า ๑ 】แปลว่า: [เปฺล้า] น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล /Croton /วงศ์
Euphorbiaceae เช่น เปล้าใหญ่ (/C. oblongifolius/ Roxb.)
เป็นไม้ต้น, เปล้าน้อย (/C. joufra /Roxb. และ /C. sublyratus/ Kurz)
เป็นไม้พุ่ม ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ทั้ง ๓ ชนิดใบใช้ทํายาได้.
【 เปล้า ๒ 】แปลว่า: [เปฺล้า] น. ชื่อนกในวงศ์ Columbidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกเขา
และนกพิราบ ลําตัวสีเขียวเห็นได้ชัด แต่ละชนิดแตกต่างกันตรงสี
ที่หน้าอกและไหล่ซึ่งอาจมีสีม่วงหรือนํ้าตาล กินผลไม้ หากินเป็นฝูง
มีหลายชนิด เช่น ชนิด /Treron curvirostra/ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไป
เปล้าขาเหลือง (/T. phoenicoptera/) เปล้าคอสีม่วง (/T. vernans/)
เปล้าใหญ่ปักษ์ใต้ (/T. capellei/), เขาเปล้า ก็เรียก, พายัพเรียก เป้า.
【 เปล้าขลิบทอง 】แปลว่า: /ดู กะอวม./
【 เปลาะ, เปลาะ ๆ 】แปลว่า: [เปฺลาะ] น. ระยะที่มัดหรือขอดไว้เป็นตอน ๆ, ลักษณะที่มัดหรือ
ขอดไว้เป็นตอน ๆ, เช่น ผูกเป็นเปลาะ แก้ปัญหาเป็นเปลาะ ๆ,
ลักษณนามเรียกสิ่งที่มัดหรือผูกให้เป็นตอน ๆ เช่น มัดไต้ ๓ เปลาะ
หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปัญหามี ๔ เปลาะ.
【 เปลี้ย 】แปลว่า: [เปฺลี้ย] ว. ขาดกําลังที่จะเคลื่อนไหวได้ตามปรกติ เช่น แขนขาเปลี้ย
ไปหมด; เพียบ เช่น เรือเปลี้ยนํ้า.
【 เปลี่ยน 】แปลว่า: [เปฺลี่ยน] ก. แปรหรือกลายไปจากลักษณะหรือภาวะเดิม, เอาสิ่งหนึ่ง
เข้าแทนอีกสิ่งหนึ่งโดยกรรมวิธีต่าง ๆ เช่น แลกเปลี่ยน ผลัดเปลี่ยน
สับเปลี่ยน เปลี่ยนแปลง, ย้าย เช่น เปลี่ยนที่อยู่ เปลี่ยนพรรค เปลี่ยน
คลื่นวิทยุ.
【 เปลี่ยนใจ 】แปลว่า: ก. เลิกล้มความตั้งใจเดิม, เปลี่ยนความตั้งใจเดิมไปเป็นอย่างอื่น.
【 เปลี่ยนตัว 】แปลว่า: ก. เอาคนหนึ่งเข้าแทนอีกคนหนึ่ง เช่น เปลี่ยนตัวผู้ต้องหา.
【 เปลี่ยนแปลง 】แปลว่า: [-แปฺลง] ก. ทําให้ลักษณะต่างไป.
【 เปลี่ยนแผ่นดิน 】แปลว่า: ก. เปลี่ยนพระเจ้าแผ่นดิน คือ พระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่ขึ้นครอง
ราชสมบัติ, ผลัดแผ่นดิน ก็ว่า.
【 เปลี่ยนมือ 】แปลว่า: ก. เปลี่ยนเจ้าของ, เปลี่ยนผู้ครอบครอง.
【 เปลี่ยนหน้า 】แปลว่า: ว. ไม่ซํ้าคนเดิม.
【 เปลี่ยม 】แปลว่า: เปฺลี่ยม ก. เปี่ยม.
【 เปลี่ยว ๑ 】แปลว่า: [เปฺลี่ยว] น. เรียกเนื้อที่นูนขึ้นที่คอวัวควายและสัตว์มีกีบเมื่อ
เวลาหนุ่ม, ความหนุ่มของวัวควาย. ว. หนุ่ม (ใช้แก่วัวควาย).
【 เปลี่ยว ๒ 】แปลว่า: ว. ว้าเหว่ เช่น เปลี่ยวใจ; ห่างไกลผู้คน เช่น ทางเปลี่ยว, ไม่มีผู้คน
ไปมา เช่น เวลากลางคืนถนนสายนี้เปลี่ยว.
【 เปลี่ยวดำ 】แปลว่า: น. ชื่อโรคอย่างหนึ่ง ตามตําราแพทย์แผนโบราณว่าเกิดจากความ
เย็นมาก, เกลี่ยวดํา ก็ว่า.
【 เปลือก 】แปลว่า: [เปฺลือก] น. ส่วนที่หุ้มนอกของสิ่งต่าง ๆ เช่น ต้นไม้ ผลไม้ หรือสัตว์
บางอย่างมีหอยหรือฟองสัตว์เป็นต้น; (ปาก) โดยปริยายหมายถึง
ลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น พูดไม่หมดเปลือก คือ พูดไม่แจ่มแจ้ง
งามแต่เปลือก คือ งามแต่ภายนอก.
【 เปลือกข้าวโพด 】แปลว่า: ว. สีอย่างสีเปลือกข้าวโพดแห้ง เรียกว่า สีเปลือกข้าวโพด.
【 เปลือกตา 】แปลว่า: น. หนังเป็นชั้น ๆ ที่หุ้มนัยน์ตา, กลีบตา.
【 เปลือกมังคุด 】แปลว่า: ว. สีม่วงแดงแก่ เรียกว่า สีเปลือกมังคุด.
【 เปลือกโลก 】แปลว่า: น. ส่วนของโลกที่เป็นของแข็งหุ้มห่ออยู่รอบนอกสุด ประกอบด้วย
หิน ดิน และแร่ธาตุต่าง ๆ.
【 เปลือกกระเทียม 】แปลว่า: น. ชื่อผ้าขาวเนื้อบางละเอียดชนิดหนึ่ง.
【 เปลือง 】แปลว่า: [เปฺลือง] ก. ใช้หมดไปสิ้นไปเกินควร, หมดไป สิ้นไปโดยใช่เหตุ,
เช่น เปลืองเงิน เปลืองเวลา เปลืองที่. ว. ลักษณะที่หมดไปสิ้นไป
เกินควร เช่น ใช้เงินเปลือง.
【 เปลืองใจ 】แปลว่า: ก. เสียกําลังใจ.
【 เปลื้อง 】แปลว่า: [เปฺลื้อง] ก. เอาออก (ใช้แก่เครื่องแต่งตัวที่นุ่งห่มหรือคลุมอยู่),
ทําให้หลุดพ้นเพื่อแบ่งเบาหรือให้หมดไป เช่น เปลื้องทุกข์
เปลื้องหนี้, ปลดเปลื้อง ก็ว่า.
【 เปลื้องเครื่องสุกำศพ 】แปลว่า: ก. เปลื้องผ้าขาวที่ห่อศพออกแล้วนําผ้าขาวนั้นและสิ่งปฏิกูล
ภายในโกศ เช่น กระดาษฟางไปเผาพร้อมบุพโพ แล้วเอา
ผ้าขาวอีกผืนหนึ่งห่อศพให้ใหม่.
【 เปลือย 】แปลว่า: [เปฺลือย] ว. ไม่มีอะไรปกปิดร่างกาย เช่น เปลือยหลัง เปลือยไหล่;
โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สาย
เปลือย คือ สายไฟฟ้าที่ไม่มีผ้าหรือยางหุ้ม.
【 เปลือยกาย 】แปลว่า: ว. กายเปล่า, ไม่นุ่งผ้า.
【 เปศะ 】แปลว่า: เปสะ น. สถาปนิก, ช่างออกแบบ, ช่างไม้. (ส.).
【 เปศละ 】แปลว่า: [เปสะละ] ว. ซึ่งประดับตกแต่งโดยฝีมือช่าง; งาม, สวย, น่ารัก,
น่าชอบใจ, อ่อน, น่วม, ละมุนละม่อม; เก่ง, ชํานาญ, เชี่ยวชาญ,
มีเล่ห์กล, มีอุบาย. (ส.).
【 เปศลมัธย์ 】แปลว่า: [-สะละมัด] ว. มีเอวอ่อน. (ส.).
【 เปศัส, เปศัส- 】แปลว่า: เปสัด, เปสัดสะ- น. รูป, ทรง, สี; รูปงาม; เครื่องประดับ;
ลายพร้อย, ผ้ามีลายดอกดวงต่าง ๆ. (ส.).
【 เปศัสการิน, เปศัสการี 】แปลว่า: น. ต่อแตน; หญิงผู้ปักลายเสื้อผ้า. (ส.).
【 เปสการ 】แปลว่า: เปสะกาน น. ช่างหูก, ช่างทอ. (ป.).
【 เปสละ 】แปลว่า: [เปสะละ] ว. ที่มีศีลเป็นที่รัก. (ป.).
【 เปสุญ, เปสุญ-, เปสุไณย 】แปลว่า: [-สุน, -สุนยะ-, -ไน] น. ความส่อเสียด. (ป. เปสุ?ฺ?; ส. ไปศุนฺย).
【 เปสุญวาท 】แปลว่า: [-วาด] น. คําส่อเสียด. (ป. เปสุ?ฺ?วาท).
【 เป๋อ 】แปลว่า: ว. เหม่อ, เผลอ, เซ่อ ๆ.
【 เป๋อเหลอ 】แปลว่า: [-เหฺลอ] ว. เซ่อ, มีสีหน้าไม่รู้เรื่อง (ใช้แก่หน้า).
【 เป้อเย้อ 】แปลว่า: ว. (โบ) อวด, โอ้อวด; เยิ่นเย้อ, ยืดยาด, มักใช้แก่การพูด เช่น
พูดเป้อเย้อ.
【 เปอร์เซ็นต์ 】แปลว่า: น. จํานวนที่เทียบเป็นส่วนร้อยหรือร้อยละ, การคิดเทียบเป็น
ส่วนร้อย เรียกว่า ร้อยละ หรือ ต่อร้อย ใช้เครื่องหมาย % แทน
เช่น นักเรียนโรงเรียนนี้สอบได้ ๗๐ % คือ สอบได้ ๗๐ คน จาก
จำนวนนักเรียนทั้งหมด ๑๐๐ คน เด็กคนนี้สอบได้ ๘๐ % คือ ได้
คะแนน ๘๐ คะแนน จากคะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน; (ปาก) ค่า
นายหน้า, ค่าตอบแทนในการติดต่อซื้อขายเป็นต้น, เช่น ได้
เปอร์เซ็นต์ ให้เปอร์เซ็นต์.
【 เปะ 】แปลว่า: ก. เอาสิ่งที่มีลักษณะข้นเหลวเป็นต้นซัดลงไป เช่น เอาโคลนมาเปะ
ที่กำแพง, โดยปริยายหมายถึงทิ้งไว้ให้เป็นภาระของผู้อื่น เช่น เอา
ลูกมาเปะให้พี่สาวเลี้ยง.
【 เปะปะ 】แปลว่า: ว. ไม่ตรงเป้า เช่น ชกเปะปะ, ไม่ตรงประเด็น เช่น พูดเปะปะ
ให้การเปะปะ, ไม่ตรงทาง เช่น เมาเหล้าเดินเปะปะ, ไม่เป็น
ระเบียบ เช่น นอนมือเท้าเปะปะ, บางทีใช้ว่า สะเปะสะปะ.
【 เปา 】แปลว่า: น. ปม, ปุ่ม, มักใช้เข้าคู่กับคํา ปม เป็น ปมเปา.
【 เป่า 】แปลว่า: ก. พ่นลมออกมาทางปาก, อาการที่ลมพุ่งเข้ามาหรือออกไปเช่นนั้น
เช่น ตรงหน้าต่างลมเป่าดี, ทําให้เครื่องดนตรีหรือสิ่งอื่นเกิดเสียง
โดยใช้ลมปากเช่น เป่าขลุ่ย, ทําให้สิ่งที่อยู่ในลํากล้องเช่นกล้องเป่า
เป็นต้น ออกจากลํากล้องโดยวิธีเป่า เช่น เป่ายานัตถุ์ เป่าลูกดอก.
【 เป่ากบ 】แปลว่า: น. การเล่นของเด็กชนิดหนึ่ง โดยมีผู้เล่น ๒ คน ผลัดกันเป่า
ยางรัดของวงเล็ก ๆ ให้เกยทับยางของฝ่ายตรงข้าม.
【 เป่ากระหม่อม 】แปลว่า: ก. ร่ายมนตร์คาถาแล้วเป่าลงกลางศีรษะเพื่อให้เกิดเมตตา
มหานิยมเป็นต้น.
【 เป่าคอ 】แปลว่า: ก. เป่ายาเข้าไปในคอ; อาการที่แก๊สในท้องพุ่งขึ้นมาทางลำคอ
เนื่องจากร้อนใน เรียกว่า ลมเป่าคอ.
【 เป่าแตร 】แปลว่า: (ปาก) ก. ป่าวประกาศ, ประชาสัมพันธ์.
【 เป่าใบไม้ 】แปลว่า: ก. เอาใบไม้บางชนิด เช่น ใบฝรั่ง ใบมะยม มาเป่าให้เป็นเพลง.
【 เป่าปาก 】แปลว่า: ก. เอานิ้วมือใส่ปากแล้วเป่าให้เกิดเสียง; หายใจทางปาก
เพราะเหนื่อยมาก.
【 เป่าปี่ 】แปลว่า: (ปาก) ก. สูบฝิ่น; ร้องไห้.
【 เป่าผม 】แปลว่า: ก. ใช้เครื่องพ่นลมร้อนทำให้ผมแห้ง.
【 เป่าฝุ่น 】แปลว่า: (ปาก) ก. หกล้มไม่มีท่า, พลาดพลั้งอย่างไม่เป็นท่า.
【 เป่าไฟ 】แปลว่า: ก. เอาปากหรือหลอดเป่าลมให้ไฟติดหรือให้ลุก.
【 เป่ามนตร์ 】แปลว่า: ก. เสกคาถาแล้วเป่าลงไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง
ของร่างกายมีกระหม่อมเป็นต้น.
【 เป่าแล่น 】แปลว่า: ก. เอาหลอดเป่าไฟเพื่อเชื่อมโลหะเช่นทอง นาก เงินให้ติดกัน.
น. หลอดเป่าไฟสําหรับเชื่อมโลหะให้ติดกัน.
【 เป่าหลอด 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 เป่าหวูด 】แปลว่า: ก. ดึงสายเชือกเพื่อเปิดหวูดเรือกลไฟเป็นสัญญาณในการเดินเรือ.
【 เป่าหู 】แปลว่า: ก. พูดให้เข้าหูบ่อย ๆ เพื่อให้เชื่อ.
【 เป้า ๑ 】แปลว่า: น. สิ่งที่กําหนดไว้เป็นจุดหมาย เช่น นักยิงปืนยิงถูกตรงเป้าทุกนัด
เอาต้นไม้เป็นเป้า; โดยปริยายหมายความว่า เป็นที่เพ่งเล็ง เช่น
เป็นเป้าสายตา.
【 เป้านิ่ง 】แปลว่า: น. เป้าที่อยู่กับที่, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึง
เช่นนั้น เช่น ยืนเป็นเป้านิ่งให้เขาชกข้างเดียว.
【 เป้าบิน 】แปลว่า: น. เป้าที่โยนขึ้นไปในอากาศแล้วยิง.
【 เป้าประสงค์ 】แปลว่า: น. วัตถุประสงค์หรือจุดหมายปลายทางที่บุคคลพยายามบรรลุถึง
เช่น เป้าประสงค์ของวิชานี้เพื่อฝึกทักษะของผู้เรียน.
【 เป้าสายตา 】แปลว่า: น. บุคคลหรือสิ่งที่เป็นที่เพ่งเล็งหรือสนใจของผู้อื่น เช่น คนงามย่อม
เป็นเป้าสายตาของใคร ๆ.
【 เป้าหมาย 】แปลว่า: น. บุคคลหรือสิ่งที่ใช้เป็นเป้าแห่งการโจมตี หรือเป็นศูนย์กลาง
แห่งความใส่ใจหรือสังเกต; ความมุ่งหมายเจาะจงให้ได้ตาม
เจตนา เช่น การขายข้าวในปีนี้มีเป้าหมายให้ได้เกินหกแสนตัน.
【 เป้า ๒ 】แปลว่า: น. ชิ้นผ้าที่เย็บแทรกตะเข็บตรงรักแร้เสื้อหรือรอยต่อขากางเกงผ้า
หรือกางเกงแพรเพื่อให้เคลื่อนไหวได้สะดวก; ส่วนของเสื้อที่อยู่ใต้
รักแร้หรือส่วนของกางเกงที่อยู่ใต้หว่างขา.
【 เป้า ๓ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. นกเปล้า. /(ดู เปล้า ๒)./
【 เป๊า 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ปีฉลู, เขียนเป็น เปรา ก็มี.
【 เป๋า 】แปลว่า: น. กระเป๋า; ชื่อการนับแต้มลูกเต๋าที่ขึ้น ๓ หน้าเหมือนกัน.
【 เป๋าฮื้อ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวในสกุล /Haliotis/ วงศ์ Haliotidae เปลือก
เป็นมุกรูปเหมือนใบหู ด้านข้างมีรูทะลุจํานวน ๖-๗ ช่องเรียงเป็น
แถว เกาะอยู่ตามโขดหินในทะเล เนื้อกินได้ เปลือกทําเป็นเครื่อง
ประดับและของใช้ เช่น กระดุม ด้ามมีดพับ พบจํานวนน้อยใน
น่านนํ้าของประเทศไทย, โข่งทะเล ก็เรียก.
【 เป๋าฮื้อ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อเห็ดชนิด /Pleurotus abalonus/ Han ในวงศ์ Polyporaceae
ขึ้นเป็นกลุ่มโคนก้านดอกติดกัน ดอกเห็ดเนื้อหนา มี ๒ พันธุ์ คือ
พันธุ์สีเทาดํา และ พันธุ์สีนํ้าตาลอ่อน กินได้.
【 เปาะ 】แปลว่า: ว. ไม่หยุดปาก (ใช้แก่กริยาชม); เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงเคาะไม้.
【 เป๊าะ 】แปลว่า: ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงหักนิ้วหรือกิ่งไม้เล็ก ๆ หัก.
【 เปาะเปี๊ยะ 】แปลว่า: น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง โดยนําแป้งสาลีมาทําให้สุกเป็นแผ่นกลม
บาง ๆ เรียกว่า แผ่นเปาะเปี๊ยะ แล้วห่อถั่วงอกลวก หมูตั้งหรือ
กุนเชียง ชิ้นเต้าหู้ต้มเค็ม และแตงกวา ราดด้วยน้ำปรุงรสข้น ๆ
รสหวานเค็ม โรยหน้าด้วยเนื้อปูและไข่หั่นฝอย หรือห่อรวมไว้ใน
แผ่นเปาะเปี๊ยะก็ได้ กินกับต้นหอมและพริกสด เรียกว่า เปาะเปี๊ยะ
สด, ชนิดที่ใช้แผ่นเปาะเปี๊ยะห่อไส้ที่ประกอบด้วยวุ้นเส้น ถั่วงอก
เนื้อไก่หรือหมูสับ เป็นต้นที่ลวกสุก แล้วนำไปทอด กินกับผักสด
ต่าง ๆ เช่น ใบโหระพา สะระแหน่ และน้ำจิ้มใสรสหวานอมเปรี้ยว
เรียกว่า เปาะเปี๊ยะทอด. (จ.).
【 เปาะแปะ 】แปลว่า: ว. อาการที่ฝนตกมีเม็ดห่าง ๆ แต่เล็กน้อย, เปราะแประ ก็ว่า.
【 เปาะเหลาะ 】แปลว่า: ว. มีสัณฐานกลมป้อม, กระเปาะเหลาะ ก็ว่า. ก. ประจบประแจง.
【 เปิก 】แปลว่า: ว. ปอกหรือเลิกออก เช่น เล็บเปิก หนังเปิก.
【 เปิง 】แปลว่า: ว. ยับเยิน, พัง, ทลาย, เช่น หลังคาเปิง ด่าเสียเปิง.
【 เปิง ๆ 】แปลว่า: ว. ดังเต็มที่ เช่น เสียงร้องเปิง ๆ, เตลิดไป เช่น วิ่งเปิง ๆ.
【 เปิงมาง 】แปลว่า: น. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง มีหนังขึง ๒ หน้า ตรงกลางป่องเล็กน้อย
ยาวประมาณ ๕๔ เซนติเมตร ใช้บรรเลงร่วมกับตะโพนในวง
ปี่พาทย์ก็ได้ ใช้ตีนำกลองชนะในกระบวนเสด็จพยุหยาตรา หรือ
ตีประโคมประจำพระบรมศพเป็นต้น, คนตีเปิงมางนำกลองชนะ
เรียกว่า จ่ากลอง คู่กับคนเป่าปี่ซึ่งเรียกว่า จ่าปี่.
【 เปิด 】แปลว่า: ก. ทําให้สิ่งที่ปิดอยู่เผยออก เช่น เปิดประตู, ทำให้เครื่องยนต์
กลไกทำงาน เช่น เปิดวิทยุ เปิดพัดลม, ตรงข้ามกับ ปิด; ทําพิธี
เป็นประเดิมเพื่อดําเนินกิจการงานหรือให้ใช้ได้เป็นต้น เช่น
เปิดร้านใหม่ เปิดถนน เปิดสมาคม; (ปาก) หนี เช่น ผู้ร้ายเปิด
ไปไกลแล้ว.
【 เปิดกล้อง 】แปลว่า: (ปาก) ก. เริ่มการถ่ายภาพยนตร์เป็นปฐมฤกษ์ของแต่ละเรื่อง.
【 เปิดคดี 】แปลว่า: (กฎ) ก. การที่โจทก์หรือจําเลยแถลงต่อศาลถึงข้อเท็จจริงหรือ
ข้อกฎหมาย อีกทั้งพยานหลักฐานที่จะอ้างอิงก่อนที่จะนําพยาน
เข้าสืบ.
【 เปิดฉาก 】แปลว่า: ก. เริ่มต้นทํา เช่น เปิดฉากหาเสียง เปิดฉากตะลุมบอน, เริ่มต้น
แสดง เช่น ละครเปิดฉาก.
【 เปิดบริสุทธิ์ 】แปลว่า: ก. ร่วมประเวณีกับหญิงที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์ในการร่วมเพศ
มาก่อน เดิมเป็นประเพณีของชาวเขาบางเผ่า เช่น อีก้อ เมื่อเด็กหญิง
มีอายุย่างเข้าสู่วัยสาวต้องไปศึกษาเรื่องกามกิจโดยร่วมประเวณี
เป็นครั้งแรกกับผู้ที่ชุมชนในเผ่านั้นคัดเลือกให้ทำหน้าที่นี้.
【 เปิดบัญชี 】แปลว่า: ก. บันทึกรายการทรัพย์สิน หนี้สิน และทุนไว้ในสมุดเมื่อเริ่มเปิด
ดําเนินกิจการ; ยกยอดสรุปที่ได้จากการปิดบัญชีมาเริ่มต้นใหม่;
(ปาก) เปิดบัญชีเงินฝากที่ธนาคาร.
【 เปิดปีก 】แปลว่า: ก. เลื่อยเปิดข้างไม้ซุงแผ่นแรกของทั้ง ๔ ด้านให้เป็นสี่เหลี่ยม.
【 เปิดเปิง 】แปลว่า: ว. อาการที่ไปอย่างไม่มีที่หมาย ไม่มีทิศทาง, มักใช้เข้าคู่กับคำ
เตลิด เป็น เตลิดเปิดเปิง เช่น วิ่งเตลิดเปิดเปิง.
【 เปิดโปง 】แปลว่า: ก. เปิดเผยความลับที่เขาปิดไว้.
【 เปิดผนึก 】แปลว่า: ว. เรียกจดหมายที่ส่งถึงบุคคลหนึ่งเพื่อให้นำออกเผยแพร่ว่า
จดหมายเปิดผนึก.
【 เปิดเผย 】แปลว่า: ก. ทำสิ่งที่ปิดบังอยู่ให้เผยออก, เผยให้รู้, เช่น เปิดเผยความจริง
เปิดเผยความลับ. ว. ตรงไปตรงมา, ไม่ปิดบัง, เช่น เป็นคนเปิดเผย.
【 เปิดโลก 】แปลว่า: ก. เผยโลกทั้ง ๓ ให้เห็นกันในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์.
น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง เรียกว่า ปางพระเจ้าเปิดโลก.
【 เปิดสมอง 】แปลว่า: ก. พักผ่อนหย่อนใจให้สมองปลอดโปร่ง, เปิดหัว ก็ว่า.
【 เปิดหมวกลา 】แปลว่า: ก. เลิกรา, ไม่ทําต่อไปอีกแล้ว.
【 เปิดหมวกให้ 】แปลว่า: ก. ยกย่อง, สรรเสริญ, ชมเชย.
【 เปิดหัว ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อเรือยกพลขึ้นบกซึ่งทางด้านหัวเปิดได้ เรียกว่า เรือเปิดหัว.
【 เปิดหัว ๒ 】แปลว่า: ก. เปิดสมอง.
【 เปิดหูเปิดตา 】แปลว่า: ก. ให้ได้ฟังและให้ได้เห็นมาก (มักใช้เกี่ยวกับการไปพักผ่อน
หย่อนใจและหาความรู้ไปในตัว).
【 เปิดอก 】แปลว่า: ก. บอกความในใจอย่างไม่ปิดบัง, พูดความจริงอย่างตรงไปตรงมา
โดยไม่มีลับลมคมใน.
【 เปิ่น 】แปลว่า: (ปาก) ว. แสดงกิริยาอาการหรือกระทําการใด ๆ ผิดแปลกไปจาก
ปรกติที่เป็นอยู่ในหมู่พวกหรือที่นิยมกันตามประเพณี เช่น แต่งตัว
เปิ่น ทำท่าเปิ่น.
【 เปิบ, เปิบข้าว 】แปลว่า: ก. ใช้ปลายนิ้วขยุ้มข้าวใส่ปากตนเอง.
【 เปิ๊บ 】แปลว่า: ว. เสียงร้องเช่นนั้นอย่างเสียงอีเก้งร้อง.
【 เปีย ๑ 】แปลว่า: น. ผมที่ไว้ยาวบริเวณท้ายทอย, ผมที่ถักห้อยยาวลงมา, ผมเปีย
หรือ หางเปีย ก็เรียก, เรียกลายที่ถักตอก ๓ ขาไขว้กันว่า ลายเปีย
หรือ ลายผมเปีย; พวงมาลัยที่มีอุบะห้อยลงมาเหมือนผมเปีย. (จ.).
【 เปีย ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ทําด้วยแป้งเป็นชั้น ๆ มีไส้ใน, ขนมเปียะ
หรือ ขนมเปี๊ยะ ก็ว่า. (จ.).
【 เปีย ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อนกยางชนิดหนึ่ง./ (ดู ยาง ๑)./
【 เปียก ๑ 】แปลว่า: ก. มีนํ้าชุ่มปนผสมอยู่หรือติดอยู่ เช่น เปียกเหงื่อ เปียกฝน เปียกน้ำ. ว. ที่
ชุ่มน้ำ เช่น ผมเปียก ผ้าเปียก เหงื่อเปียก, อ่อนเกือบเละอย่างข้าวเปียก.
【 เปียกแฉะ 】แปลว่า: ก. มีน้ำชุ่มอยู่มาก เช่น ถนนเปียกแฉะ.
【 เปียกชื้น 】แปลว่า: ก. เปียกพอหมาด ๆ เช่น ผ้าเปียกชื้น.
【 เปียกโชก 】แปลว่า: ก. เปียกชุ่มทั่วตัว เช่น น้ำเปียกโชก เหงื่อเปียกโชก.
【 เปียกปอน 】แปลว่า: ก. เปียกมาก เช่น ถูกสาดน้ำจนเปียกปอน.
【 เปียก ๒ 】แปลว่า: ก. กวนสิ่งเช่นข้าวหรือแป้งเป็นต้นบนไฟให้สุก เช่น เปียก
ข้าวเหนียว เปียกสาคู. ว. เรียกข้าวที่ต้มและกวนให้เละ
หรือข้าวที่ต้มกับน้ำกะทิเจือเกลือเล็กน้อย กวนให้สุกจนข้น
หรือเละ มีรสเค็ม ๆ มัน ๆ ว่า ข้าวเปียก, เรียกสิ่งที่มีลักษณะ
คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น แป้งเปียก สาคูเปียก, เรียกขนมชนิดหนึ่ง
ทำจากแป้งข้าวเจ้าตั้งไฟกวนกับน้ำตาลหม้อและกะทิ หยอด
ให้มีขนาดพอคำแล้วโรยถั่วทองคั่ว ว่า ขนมเปียก.
【 เปียกปูน 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้าผสมกาบมะพร้าวเผา
ให้เป็นถ่านบดละเอียด ตั้งไฟกวนกับน้ำตาล กะทิ และน้ำปูนใส
เมื่อสุกเทลงใส่ถาด ตัดเป็นชิ้น ๆ ให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
ที่มีด้านทั้ง ๔ ยาวเท่ากัน แต่ไม่มีมุมภายในเป็นมุมฉาก โรยด้วย
มะพร้าวขูด.
【 เปี๊ยก 】แปลว่า: ว. เล็กมากเมื่อเปรียบเทียบกับคนอื่นหรือสิ่งอื่น.
【 เปียแชร์ 】แปลว่า: ก. ประมูลแชร์ว่าจะให้ดอกเบี้ยเท่าใด ผู้ลงหุ้นที่ให้ดอกเบี้ยสูงสุด
จะได้รับเงินก่อน เวียนไปจนครบจำนวนผู้เล่น.
【 เปี๊ยบ 】แปลว่า: (ปาก) ว. ที่สุด เช่น แหลมเปี๊ยบ เหมือนเปี๊ยบ.
【 เปี่ยม 】แปลว่า: ก. เต็มถึงขอบ, เกือบจะล้น, เช่น แกงเปี่ยมหม้อ น้ำเปี่ยมฝั่ง, เต็มที่,
บริบูรณ์, เช่น เปี่ยมด้วยคุณธรรม เปี่ยมด้วยความเมตตากรุณา.
【 เปียว 】แปลว่า: (โบ) ก. เป่า เช่น เปียวปี่แก้วเคนผสาร. (ม. คําหลวง มหาราช).
【 เปี้ยว 】แปลว่า: น. ชื่อปูขนาดเล็กชนิด /Uca dussumerii/ ในวงศ์ Ocypodidae
ตัวผู้มีก้ามข้างหนึ่งใหญ่เท่าลําตัว และอีกข้างหนึ่งเล็กมาก
ส่วนตัวเมียมีก้ามเท่ากันทั้ง ๒ ข้าง, ก้ามดาบ ก็เรียก.
【 เปี้ยว ๒ 】แปลว่า: น. ไม้ค้างพลูเล็ก ๆ.
【 เปี๊ยว 】แปลว่า: ว. เสียงเป่าปากแสดงความพอใจเป็นต้น.
【 เปียะ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิดหนึ่งในสกุล/ Freycinetia/ วงศ์ Pandanaceae,
ปักษ์ใต้เรียก เตยเลื้อย.
【 เปียะ ๒, เปี๊ยะ 】แปลว่า: น. ขนมเปีย. /(ดู เปีย ๒)./
【 เปือก 】แปลว่า: น. ฟองหรือสิ่งที่เกิดเป็นฝ้าขึ้นจากโคลนตม.
【 เปือกตม 】แปลว่า: น. เลนตมที่ละเอียด.
【 เปื้อน 】แปลว่า: ก. ติดสิ่งที่ทําให้เกิดสกปรก น่ารังเกียจ หรือไม่ต้องการ เช่น
เปื้อนโคลน เปื้อนแกง เปื้อนเลือด. ว. มีสิ่งสกปรก น่ารังเกียจ
หรือไม่ต้องการติดอยู่ เช่น มือเปื้อน ผ้าเปื้อน.
【 เปื้อนเปรอะ 】แปลว่า: [-เปฺรอะ] ว. เลอะเทอะ, เปรอะเปื้อน ก็ว่า.
【 เปื่อย 】แปลว่า: ว. ที่ขาดง่าย เช่น ด้ายเปื่อย, ที่หลุดจากกันง่าย เช่น ผ้าเปื่อย, ยุ่ยง่าย
เช่น เนื้อเปื่อย, ที่มีน้ำเหลืองเยิ้ม เช่น แผลเปื่อย.
【 แป 】แปลว่า: น. ส่วนหนึ่งของโครงสร้างหลังคา วางอยู่บนโครงสร้างอื่น ๆ
ได้แก่ จันทัน ปลายเต้า เสาตุ๊กตา ปลายขื่อ และปลายขื่อ
ประธาน ทำหน้าที่รับกลอนหรือรับเครื่องมุงโดยตรง. ว. เรียก
ด้านเรือนตามยาวว่า ด้านแป; เรียกมือที่พิการ นิ้วกําเข้าไม่ได้
ว่า มือแป, เรียกตีนที่พิการ นิ้วงอเข้าไม่ได้ ต้องเดินตะแคง ๆ ว่า
ตีนแป; ย่อย, แบน, ในคำว่า เงินแป คือ เงินเหรียญที่เป็นเงินย่อย.
(แป ไทยขาวว่า ย่อย, แตกออก). /(ดู เงินแป ที่ เงิน)./
【 แปงวง 】แปลว่า: [แป-งวง] น. แปซึ่งยื่นออกมารับงวงไอยราของลำยอง.
【 แปปลายเต้า 】แปลว่า: น. แปซึ่งอยู่ที่ปลายเต้า มีหน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส.
【 แปลาน 】แปลว่า: น. แปซึ่งอยู่เหนือแปงวงขึ้นไปหรืออยู่ระหว่างแปหัวเสาจนถึง
อกไก่ มีหน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือสี่เหลี่ยมจัตุรัสขึ้นอยู่
กับระบบของโครงสร้างหลังคา.
【 แปวง 】แปลว่า: น. แปที่วางอยู่บนจันทันกันสาดหรือจันทันระเบียงของเรือนไทย
โบสถ์ วิหาร หรือวางอยู่บนจันทันสำหรับอาคารที่มีหลังคาทรง
ปั้นหยา.
【 แปหัวเสา 】แปลว่า: น. แปซึ่งพาดบนหัวเสาประธาน มักมีรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส.
【 แปหาญ 】แปลว่า: น. แปที่รับนาคสะดุ้งที่โบสถ์ วิหาร หรือปราสาท.
【 แปเหลี่ยม 】แปลว่า: น. แปซึ่งอยู่ระหว่างอกไก่กับแปงวง หรือระหว่างแปงวง
กับแปหัวเสา มีหน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส.
【 แป้ง 】แปลว่า: น. สิ่งที่เป็นผงละเอียดได้จากเมล็ดพืช ผลไม้ และรากไม้ เป็นต้น
ใช้เป็นอาหาร, ผงขาว ๆ ที่ทําด้วยหินเป็นต้น สําหรับผัดหน้า.
【 แป้งกระแจะ 】แปลว่า: น. แป้งที่ผสมผงกระแจะ ใช้ละลายน้ำ สำหรับทาหรือเจิม.
【 แป้งข้าวสาลี, แป้งสาลี 】แปลว่า: น. แป้งที่ได้จากการบดเมล็ดข้าวสาลี ใช้ทําขนมปังเป็นต้น,
แป้งมี่ หรือ แป้งหมี่ ก็เรียก.
【 แป้งข้าวหมาก 】แปลว่า: น. แป้งที่เป็นเชื้อสําหรับทําข้าวหมาก.
【 แป้งแข็ง 】แปลว่า: น. แป้งผัดหน้าที่อัดเป็นก้อนแน่นหรือเป็นแผ่น มักบรรจุในตลับ.
【 แป้งจี่ 】แปลว่า: น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง มักทําด้วยแป้งข้าวเหนียวดํา ผสมกับ
มะพร้าว เกลือ นํ้าตาล แล้วทอดเป็นแผ่นเล็ก ๆ แบน ๆ ลง
บนกระทะแบนที่ทานํ้ามันน้อย ๆ; แป้งขนมจีนที่ทําเป็นแผ่น
แล้วเผาไฟ.
【 แป้งญวน 】แปลว่า: (โบ) น. แป้งข้าวเจ้า.
【 แป้งเท้ายายม่อม 】แปลว่า: น. แป้งที่ทำจากหัวของต้นเท้ายายม่อม.
【 แป้งนวล 】แปลว่า: น. ผงสีขาวที่ทําด้วยหินปูนเป็นต้น แล้วทําเป็นเม็ด ๆ สําหรับ
ผัดหน้า.
【 แป้งเปียก 】แปลว่า: น. แป้งเจือเกลือเล็กน้อยตั้งไฟกวนให้ข้น ใช้เป็นอาหาร,
แป้งที่ตั้งไฟกวนให้ข้นเหนียว ใช้แทนกาว.
【 แป้งฝุ่น 】แปลว่า: น. แป้งเป็นผงละเอียด ใช้ผัดหน้าหรือทาตัว.
【 แป้งมัน 】แปลว่า: น. แป้งที่ทําจากมันสําปะหลัง, แป้งสิงคโปร์ ก็เรียก.
【 แป้งมี่ 】แปลว่า: น. แป้งข้าวสาลี, แป้งสาลี หรือ แป้งหมี่ ก็เรียก.
【 แป้งร่ำ 】แปลว่า: น. แป้งที่ปรุงด้วยเครื่องหอม.
【 แป้งสด 】แปลว่า: น. นํ้าอบกับแป้งรํ่านํ้าดอกไม้เทศใช้ชุบผ้าห่อใบตองสําหรับ
แจก; แป้งที่ทําขึ้นใช้ได้ทันที ไม่ต้องหมักหรือตากแห้ง เช่น
ขนมจีนแป้งสด ขนมบัวลอยแป้งสด, ตรงข้ามกับ แป้งหมัก.
【 แป้งสารภี 】แปลว่า: [-สาระพี] น. แป้งที่เอาเกสรสารภีตําปนกับแป้งสําหรับทาตัว.
【 แป้งสิงคโปร์ 】แปลว่า: น. แป้งมันสําปะหลัง, แป้งมัน ก็เรียก.
【 แป้งสิบ 】แปลว่า: น. ปั้นสิบ.
【 แป้งหมัก 】แปลว่า: น. แป้งขนมจีนที่ทำจากข้าวที่หมักไว้ก่อน, ตรงข้ามกับ แป้งสด.
【 แป้งหมี่ 】แปลว่า: น. แป้งข้าวสาลี, แป้งสาลี หรือ แป้งมี่ ก็เรียก.
【 แป้งเหล้า 】แปลว่า: [-เล่า] น. แป้งที่เป็นเชื้อสําหรับทําเหล้า.
【 แป๋ง 】แปลว่า: ว. เสียงดังเช่นนั้น.
【 แป้งแช่ 】แปลว่า: (ถิ่น) น. ปลาทุงงะ. /(ดู ทุงงะ)./
【 แปด ๑ 】แปลว่า: น. จํานวนเจ็ดบวกหนึ่ง; ชื่อเดือนจันทรคติ เรียกว่าเดือน ๘ ตก
ในราวเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม, ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน
๘ สองหน เรียกว่า เดือน ๘ แรก และ ๘ หลัง.
【 แปดบท 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 แปดสาแหรก 】แปลว่า: [-แหฺรก] น. คําเรียกต้นวงศ์สกุล คือ บิดามารดาของปู่และย่า
๔ ของตาและยาย ๔ รวมเป็น ๘ ที่เป็นผู้ดีทั้งฝ่ายบิดาและ
มารดา เรียกว่า ผู้ดีแปดสาแหรก (เทียบสาแหรกที่มีข้างละ
๔ ขา ๒ ข้างเป็น ๘ ขา). /(ดู ผู้ดีแปดสาแหรก ที่ ผู้)./
【 แปดเหลี่ยมแปดคม, แปดเหลี่ยมสิบสองคม 】แปลว่า: (สํา) ว. มีเล่ห์เหลี่ยมมาก.
【 แปด ๒ 】แปลว่า: ก. เปื้อน, มักพูดเข้าคู่กันเป็น แปดเปื้อน; ปน, ระคน, มักพูดเข้าคู่
กันเป็น แปดปน.
【 แปดปน 】แปลว่า: ก. ปน, ระคน.
【 แปดเปื้อน 】แปลว่า: ก. เปื้อน.
【 แป๊ด 】แปลว่า: ว. เสียงดังอย่างเสียงบีบแตร, แป๊น ก็ว่า.
【 แป๊ดแป๋ 】แปลว่า: ว. มีลักษณะแบนราบเพราะถูกกดถูกเหยียบเป็นต้น ในคำ
แบนแป๊ดแป๋, แต๊ดแต๋ ก็ว่า.
【 แปทู 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. อกไก่.
【 แป้น ๑ 】แปลว่า: น. กระดานที่มักมีรูปกลมแบน, ไม้ฐานสําหรับปั้นหม้อ, ไม้กระดาน
ที่ติดไว้บนหัวเสา; ไม้สําหรับสอยผลไม้ชนิดหนึ่ง; เหล็กที่เจาะเป็น
รูสําหรับชักลวด.
【 แป้น ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาทะเลหรือปลานํ้ากร่อยในสกุล /Leiognathus, Secutor/
และ /Gazza /วงศ์ Leiognathidae เป็นปลาขนาดเล็ก ลําตัวป้อม
แบนข้างมาก มักมีสีเงินหรือสีเนื้อ และเป็นอีกชื่อหนึ่งของ
ปลาดอกหมากทุกชนิดในสกุล /Gerres /และ/ Pentaprion/ วงศ์
Gerreidae โดยเฉพาะ แป้นแก้ว คือ/ Pentaprion longimanus/
และยังอาจพบเป็นชื่อเรียกปลาข้าวเม่าในสกุล/ Ambassis /วงศ์
Ambassidae ด้วย.
【 แป้น ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อส้มพันธุ์หนึ่งของชนิด/ Citrus reticulata/ Blanco ผลแป้น ๆ.
【 แป้น ๔ 】แปลว่า: ว. กลมแบนอย่างลูกจัน.
【 แป๊น 】แปลว่า: ว. เสียงดังอย่างเสียงบีบแตร, แป๊ด ก็ว่า.
【 แปบ ๑ 】แปลว่า: น. ถั่วแปบ. /(ดู ถั่วแปบ ที่ ถั่ว ๑)./
【 แปบ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อปลานํ้าจืดทุกชนิดในสกุล /Paralaubuca /และ /Oxygaster/
วงศ์ Cyprinidae ลําตัวแบนข้างมาก สันท้องคม ไม่มีหนวด ขนาด
ยาวไม่เกิน ๑๐ เซนติเมตร เช่น ชนิด /P. riveroi,/ แปบขาว
(/O. oxygastroides/) ทั้งยังหมายถึงปลาท้องพลุ (/Cultrops/
/siamensis/) ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกันด้วย.
【 แปบ ๓ 】แปลว่า: ว. แบน.
【 แป๊บ ๑ 】แปลว่า: น. ท่อนํ้า, ท่อไอเสีย. (อ. pipe).
【 แป๊บ ๒ 】แปลว่า: น. สิ่งสําหรับติดแทนลูกดุมมี ๒ อันประกบกัน.
【 แป๊บ ๓ 】แปลว่า: ว. ประเดี๋ยวเดียว ในคําว่า แป๊บเดียว.
【 แปม 】แปลว่า: ก. เปื้อน, กลั้ว, ระคน, มักพูดเข้าคู่กับคํา ปน เป็น แปมปน หรือ
ปนแปม.
【 แปร 】แปลว่า: [แปฺร] ก. เปลี่ยนกลายไปจากลักษณะหรือภาวะเดิม.
【 แปรขบวน 】แปลว่า: ก. กระจายแถวเพื่อเปลี่ยนเป็นรูปลักษณะต่าง ๆ.
【 แปรไข้ 】แปลว่า: น. วิธีรักษาโดยวางยาตามแบบแพทย์แผนโบราณ เพื่อบรรเทา
โรคหนักให้เบาลง.
【 แปรญัตติ 】แปลว่า: ก. แก้ถ้อยคําหรือเนื้อความในร่างกฎหมายที่สภารับหลักการแล้ว.
【 แปรธาตุ 】แปลว่า: ก. ทําให้ธาตุหนึ่งกลายเป็นอีกธาตุหนึ่ง. น. แปรรูป, แจงรูป.
【 แปรปรวน 】แปลว่า: ก. เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาไม่อยู่ที่เป็นปรกติ เช่น อากาศแปรปรวน,
รวนเร เช่น ใจแปรปรวน, ปรวนแปร ก็ว่า.
【 แปรปากหลากคำ 】แปลว่า: ก. พูดกลับกลอกไม่ยั่งยืนคํา.
【 แปรผัน 】แปลว่า: ก. เปลี่ยนแปลงไป, กลับกลายไป, ผันแปร ก็ว่า; (คณิต) เพิ่มขึ้น
หรือลดลงโดยสัดส่วนที่เท่า ๆ กัน มี ๒ กรณี คือ แปรผันโดยตรง
และ แปรผันแบบผกผัน.
【 แปรผันโดยตรง 】แปลว่า: (คณิต) ก. ลักษณะที่จํานวนที่ ๑ เพิ่มขึ้นหรือลดลงจากเดิมกี่เท่า
ก็ตาม เป็นเหตุให้จํานวนที่ ๒ เพิ่มขึ้นหรือลดลงจากเดิมโดย
สัดส่วนเท่า ๆ กัน.
【 แปรผันแบบผกผัน 】แปลว่า: (คณิต) ก. ลักษณะที่จํานวนที่ ๑ เพิ่มขึ้นจากเดิมกี่เท่าก็ตาม
เป็นเหตุให้จํานวนที่ ๒ ลดลงจากเดิมโดยสัดส่วนเท่า ๆ กัน
หรือเมื่อจำนวนที่ ๑ ลดลงจากเดิมกี่เท่าก็ตาม เป็นเหตุให้
จํานวนที่ ๒ เพิ่มขึ้นจากเดิมโดยสัดส่วนเท่า ๆ กัน.
【 แปรพระราชฐาน 】แปลว่า: -พฺระราดชะถาน ก. เปลี่ยนสถานที่ประทับไปอยู่ที่อื่น
เป็นการชั่วคราว.
【 แปรพักตร์ 】แปลว่า: ก. เอาใจออกหาก, ไม่ซื่อตรง.
【 แปรรูป 】แปลว่า: น. วิธีเอาเถ้าถ่านและกระดูกศพที่เผาเสร็จแล้วบนกองฟอน
มาเรียงลําดับเป็นอย่างรูปคน ให้หัวอยู่ทางทิศตะวันตกแล้ว
หันกลับมาทางทิศตะวันออก, แจงรูป หรือ แปรธาตุ ก็ว่า; เรียก
ไม้ซุงที่เลื่อยเปิดปีกแล้วทําเป็นแผ่นกระดานเป็นต้นว่า ไม้แปรรูป.
【 แปรอักษร 】แปลว่า: ก. ทำให้มีตัวอักษรหรือภาพปรากฏขึ้น โดยใช้คนจำนวนมาก
ที่อยู่บนอัฒจันทร์ ยกกระดาษ ผ้า หรือวัสดุอื่น ๆ ขึ้นมาพร้อม ๆ
กัน ให้เห็นเป็นตัวหนังสือหรือภาพ (มักใช้ประกอบในการเชียร์
กีฬา การแสดงกลางแจ้งหรือกิจกรรมสำคัญ ๆ).
【 แปร๋, แปร๋แปร้น 】แปลว่า: ว. เสียงดังแหลมอย่างเสียงช้างร้องเมื่อโกรธหรือตกใจ,
แปร้นแปร๋ ก็ว่า.
【 แปรก, แปรกบัง 】แปลว่า: [ปะแหฺรก, ปะแหฺรก-] น. ไม้ยาวสำหรับประกับหัวเพลาทั้ง ๒ ข้าง
ของเกวียนหรือราชรถ กันไม่ให้ลูกล้อเลื่อนหลุด โดยมีไม้ขวางทาง
หรือแปรกขวางทางยึดหัวท้ายทั้ง ๒ ด้าน.
【 แปรกขวางทาง 】แปลว่า: น. ไม้ขวางทางที่ยึดหัวท้ายทั้ง ๒ ด้านของแปรกบัง.
【 แปรง 】แปลว่า: [แปฺรง] น. สิ่งของอย่างหนึ่งทําด้วยขนสัตว์ ลวด ฯลฯ สําหรับใช้ปัด
หวี สีฟัน หรือขัดถูสิ่งของอื่น ๆ, ลักษณนามว่า อัน; ขนเส้นแข็งที่ขึ้น
บนคอหมูเป็นแถว ๆ. ก. ปัด เช็ด หรือถูด้วยแปรง.
【 แปร่ง 】แปลว่า: [แปฺร่ง] ว. มีเสียงพูดผิดเพี้ยนไปจากเสียงที่พูดกันเป็นปรกติในถิ่น
นั้น ๆ, ไม่สนิท.
【 แปร่งหู 】แปลว่า: ว. ผิดเพี้ยนไปจากที่เคยตกลงกันไว้, มีเสียงพูดที่ผิดเพี้ยนไปจาก
ปรกติ เนื่องจากมีอารมณ์ไม่พอใจแฝงอยู่.
【 แปรงล้างขวด 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด/ Callistemon viminalis/ (Sol. ex Gaertn.)
G. Don ex Loud. ในวงศ์ Myrtaceae ก้านชูอับเรณูสีแดง
เป็นฝอยเหมือนแปรง.
【 แปรงหูหนู 】แปลว่า: /ดู กระดูกอึ่ง./
【 แปร๊ด 】แปลว่า: [แปฺร๊ด] ว. จัด, มาก, (ใช้แก่รสบางรสหรือสีบางสี) เช่น
เปรี้ยวแปร๊ด แดงแปร๊ด.
【 แปร้น 】แปลว่า: [แปฺร้น] ว. เสียงตะเบ็งเอ็ดอึงอย่างคนขึ้นเสียงทะเลาะกัน, แปร๋น
หรือ แปร๋น ๆ ก็ว่า.
【 แปร้นแปร๋ 】แปลว่า: ว. เสียงดังแหลมอย่างเสียงช้างร้องเมื่อโกรธหรือตกใจ, แปร๋
หรือ แปร๋แปร้น ก็ว่า.
【 แปร๋น, แปร๋น ๆ 】แปลว่า: [แปฺร๋น] ว. แปร้น.
【 แประ 】แปลว่า: [แปฺระ] ว. อาการที่เพียบจวนจะจม (ใช้แก่เรือ) ในคำว่า เพียบแประ,
เต็มที่ เช่น เมาแประ.
【 แปล 】แปลว่า: [แปฺล] ก. ถ่ายความหมายจากภาษาหนึ่งมาเป็นอีกภาษาหนึ่ง,
ทําให้เข้าใจความหมาย.
【 แปลโดยอรรถ 】แปลว่า: ก. แปลตามเนื้อความ, แปลตามอรรถ ก็ว่า.
【 แปลตามตัว 】แปลว่า: ก. แปลตามตัวอักษรหรือคำพูดเป็นคำ ๆ ไป.
【 แปลตามเนื้อความ 】แปลว่า: ก. แปลเอาความ, แปลตามอรรถ หรือ แปลโดยอรรถ ก็ว่า.
【 แปลตามพยัญชนะ 】แปลว่า: ก. แปลตามตัวอักษร, แปลความหมายของคําอย่างตรงไปตรงมา
คําต่อคํา.
【 แปลตามอรรถ 】แปลว่า: ก. แปลตามเนื้อความ.
【 แปลยกศัพท์ 】แปลว่า: ก. ยกคําบาลีขึ้นมาแปลเป็นไทยไปทีละคํา.
【 แปลร้อย 】แปลว่า: ก. แปลเอาความโดยยกศัพท์บาลีมาคั่นไว้.
【 แปลเอาความ 】แปลว่า: ก. แปลภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่งโดยถือความหมาย
เป็นสำคัญ.
【 แปล้ 】แปลว่า: [แปฺล้] ว. แบนราบ เช่น หวีผมแปล้, เพียบ, เต็มที่ เช่น อิ่มแปล้
หนักแปล้; เตี้ยลง.
【 แปล้น้ำ 】แปลว่า: ก. ปริ่มน้ำ เช่น เรือแปล้น้ำ.
【 แปลก, แปลก ๆ 】แปลว่า: [แปฺลก] ว. แตกต่างไปจากที่เคยคิด เคยรู้ เคยเห็น เป็นต้น เช่น
แปลกตา แปลกใจ; ต่าง, เพี้ยนไป, ผิดปรกติ เช่น เป็นคนแปลก.
【 แปลกปลอม 】แปลว่า: ว. มีสิ่งอื่นหรือพวกอื่นปนเข้ามา.
【 แปลง ๑ 】แปลว่า: [แปฺลง] น. ที่โล่งแห่งหนึ่ง ๆ เช่น คล้องช้างกลางแปลง, พื้นที่ที่กําหนด
ไว้แห่งหนึ่ง ๆ เช่น นาแปลงหนึ่ง, ที่เป็นแอ่งมีโคลนเลนซึ่งคนหรือสัตว์
ทําขึ้น เช่น แปลงหมู แปลงควาย.
【 แปลง ๒ 】แปลว่า: [แปฺลง] ก. เปลี่ยนสิ่งเดิมให้ผิดแปลกออกไป, เปลี่ยนรูปทั้งหมด
ให้กลายเป็นอีกรูปหนึ่ง เช่น ยักษ์แปลงเป็นมนุษย์, จําแลง ก็ว่า,
เปลี่ยนจากรูปเดิมแต่บางส่วน เช่น คนดีแปลงเป็นคนง่อย, เปลี่ยน
จากรูปเดิมโดยแก้ไขเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย เช่น เรือนชั้นเดียว
แปลงให้เป็น ๒ ชั้น, ดัดแปลง ก็ว่า; ทํา เช่น แปลงขวัญ.
【 แปลงชาติ 】แปลว่า: (โบ) ก. แปลงสัญชาติ.
【 แปลงผี 】แปลว่า: ก. เซ่นผีเป็นการคํานับ.
【 แปลงเพศ 】แปลว่า: ก. เปลี่ยนเพศชายให้เป็นเพศหญิงหรือเปลี่ยนเพศหญิงให้เป็น
เพศชาย.
【 แปลงสัญชาติ 】แปลว่า: (กฎ) ก. เปลี่ยนจากสัญชาติเดิมไปเป็นสัญชาติอื่น, โบราณใช้ว่า
แปลงชาติ.
【 แปลงสาร 】แปลว่า: ก. สั่งอย่างหนึ่งไปทำเสียอีกอย่างหนึ่ง, แก้สาระสำคัญหรือ
ข้อความในหนังสือจากอย่างหนึ่งไปเป็นอีกอย่างหนึ่ง.
【 แปลง ๓ 】แปลว่า: แปฺลง ก. แผลง เช่น แปลงศร ว่า แผลงศร.
【 แปลน ๑ 】แปลว่า: [แปฺลน] น. เรียกของที่มีเนื้อหรือเปลือกหุ้มไม่รอบ เช่น ทุเรียน
แปลน คือ ทุเรียนมีเนื้อหุ้มไม่รอบเม็ด. ก. ปรากฏ, โผล่, ผุด,
เช่น ทุเรียนเม็ดแปลน
【 แปลน ๒ 】แปลว่า: [แปฺลน] น. แบบที่กะกําหนดไว้. (อ. plan).
【 แปลน ๓ 】แปลว่า: [แปฺลน] ว. เปล่า, ว่าง, ไม่เต็มที่.
【 แปลบ, แปลบ ๆ, แปล๊บ, แปล๊บ ๆ 】แปลว่า: [แปฺลบ] ว. ปลาบ, แวบ, วาบ, (ใช้แก่แสงสว่าง) เช่น
【 ฟ้าแลบแปลบ; 】แปลว่า:
อาการที่รู้สึกเจ็บแวบแล่นเข้าไปในกาย, อาการที่รู้สึกวาบเข้าไป
ในหัวใจ, อาการที่สะดุ้งวับขึ้น.
【 แป้ว 】แปลว่า: ว. เบี้ยว, แฟบ, (มักใช้แก่ของที่มีลักษณะกลม ๆ) เช่น ขวดแป้ว
ผลไม้แป้ว; อาการที่ใจฝ่อหรือหดหู่ลง ในคำว่า ใจแป้ว.
【 แป๊ว 】แปลว่า: ว. เสียงอย่างเสียงแมวร้อง.
【 แปะ 】แปลว่า: ก. เอาของแบน ๆ บาง ๆ ทาบเข้าไป. ว. เสียงดังอย่างเสียงตบมือ.
【 แปะโป้ง 】แปลว่า: ก. พิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือเพื่อเป็นหลักฐานเมื่อนำของไปจำนำ,
(ปาก) โดยปริยายหมายถึง ซื้อเชื่อ.
【 แป๊ะ 】แปลว่า: (ปาก) น. ชายจีนแก่; ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 แป๊ะซะ 】แปลว่า: น. ชื่ออาหารใช้ปลานึ่งจิ้มนํ้าส้มกินกับผัก. (จ.).
【 โป ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องเล่นการพนันของจีน กลักทําด้วยทองเหลืองสี่เหลี่ยม
มีลูกแดงขาวข้างในใช้ปั่น, ชื่อการพนันอย่างหนึ่ง เล่นโดยเจ้ามือ
เอาลิ้นโปใส่ลงในฝาครอบโป ไม่ให้คนแทงเห็น ปิดฝาครอบโป
แล้วตั้งให้แทง โดยยอมให้คนแทงปั่นโปได้ตามใจชอบ เมื่อเปิด
ถ้าลิ้นชักโปซีกขาวตรงกับช่องแต้มไหน ก็นับว่าโปออกแต้มนั้น
โปมีประตูสำหรับแทงเพียง ๔ ประตูคือ หน่วย สอง สาม และครบ
มีวิธีแทง ๗ วิธี คือ เหม็ง กั๊ก เลี่ยม อ๋อ ชั้ว ถ่อ และอา, โปปั่น ก็เรียก.
【 โปกำ 】แปลว่า: น. ชื่อการพนันอย่างหนึ่ง ใช้ถ้วยครอบเบี้ย โดยมากใช้เบี้ยจั่น
เมล็ดมะขาม หรือเมล็ดละหุ่ง เป็นต้น แล้วแจงออกเป็นคะแนนทีละ
๔ ครั้งสุดท้ายถ้าเหลือ ๑ เรียกว่า ออกหน่วย ถ้าเหลือ ๒, ๓ เรียกว่า
ออก ๒ ออก ๓ ถ้าเหลือ ๔ เรียกว่า ออกครบ มีประตูแทง ๔ ประตู คือ
หน่วย สอง สาม และครบ ส่วนวิธีแทงได้นำวิธีแทงโปมาใช้ คือ เหม็ง
กั๊ก เลี่ยม อ๋อ ชั้ว ถ่อ และอา, ถั่ว ก็เรียก.
【 โปปั่น 】แปลว่า: น. ชื่อการพนันอย่างหนึ่ง เล่นโดยเจ้ามือเอาลิ้นโปใส่ลงในฝาครอบ
โปไม่ให้คนแทงเห็น ปิดฝาครอบโปแล้วตั้งให้แทง โดยยอมให้คน
แทงปั่นโปได้ตามใจชอบ เมื่อเปิด ถ้าลิ้นชักโปซีกขาวตรงกับช่อง
แต้มไหน ก็นับว่าโปออกแต้มนั้น โปมีประตูสำหรับแทงเพียง ๔
ประตู คือ หน่วย สอง สาม และครบ มีวิธีแทง ๗ วิธี คือ เหม็ง กั๊ก
เลี่ยม อ๋อ ชั้ว ถ่อ และอา, โป ก็เรียก.
【 โป ๒ 】แปลว่า: ว. โนหรือนูนขึ้นเพราะถูกกระทบกระแทก.
【 โป่ 】แปลว่า: ก. อยู่ข้างหลังที่สุด (ใช้พูดในการเล่นเช่นหยอดหลุม).
【 โป้ 】แปลว่า: ก. โว, พูดอวดดี, เช่น บ้านํ้าลายพูดโอ้ออกโป้ไป. (คาวี). ว. ใหญ่.
【 โป้ปด 】แปลว่า: ว. จงใจกล่าวคําที่ไม่จริง.
【 โป๊ 】แปลว่า: ก. ส่งเสริมสิ่งที่บกพร่อง เช่น ยาโป๊, ทําสิ่งยังบกพร่องอยู่ให้สมบูรณ์
เช่น เอาสีโป๊ตรงที่เป็นช่องเป็นรู ก่อนทาสีเอาปูนโป๊รอยที่ชํารุด.
(จ. โป้ว ว่า ปะชุนเสื้อผ้า, ซ่อมแซม, บำรุงร่างกาย). (ปาก) ว. เปลือย
หรือค่อนข้างเปลือย เช่น รูปโป๊, มีเจตนาเปิดเผยอวัยวะบางส่วนที่
ควรปกปิด เช่น แต่งตัวโป๊.
【 โปก, โป๊ก 】แปลว่า: ว. เสียงดังอย่างเอาค้อนเคาะกระดาน.
【 โป๊กเกอร์ 】แปลว่า: น. ชื่อการพนันชนิดหนึ่ง ใช้ไพ่ป๊อก มักเล่นเป็นกลุ่ม ๔ คน เจ้ามือ
แจกไพ่ควํ่าคนละ ๕ ใบ ทุกคนมีสิทธิ์ขอเปลี่ยนไพ่ครั้งเดียว ผู้ใด
ถือไพ่รวมได้แต้มหรือศักดิ์สูงกว่าตามกติกา ผู้นั้นชนะ. (อ. poker).
【 โปกขร- 】แปลว่า: [โปกขะระ-] น. โบกขร, ใบบัว. (ป.).
【 โปกขรพรรษ 】แปลว่า: [โปกขะระพัด] น. โบกขรพรรษ. (ป. โปกฺขรวสฺส).
【 โปกขรณี 】แปลว่า: [-ขะระนี] น. โบกขรณี, สระบัว. (ป.).
【 โปเก 】แปลว่า: (ปาก) ว. เก่าแก่จนใช้การไม่ได้ดี. (จ.).
【 โปง ๑ 】แปลว่า: น. เรียกลักษณะแห่งสิ่งของที่ข้างในเป็นโพรงโป่งออก.
【 โปง ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น) น. เครื่องโลหะหรือเครื่องไม้มักมีรูปคล้ายกระดิ่ง มีลูก
กระทบแขวนอยู่ภายในหรือห้อยกระหนาบอยู่ภายนอก มักใช้
แขวนคอสัตว์เช่นวัวควาย เพื่อให้เกิดเสียงดัง, กระดึง ก็ว่า.
【 โป่ง 】แปลว่า: น. ลักษณะของสิ่งที่พองด้วยลมหรือแก๊ส เช่น ลูกโป่ง; พื้นดินที่มี
เกลือสินเธาว์ผุดเกรอะกรังอยู่, ป่าหรือดินที่มีโป่ง เรียกว่า ป่าโป่ง
ดินโป่ง, เรียกผีที่มีอยู่ในที่เช่นนั้นว่า ผีโป่ง, เรียกลักษณะที่นั่งห้าง
คอยยิงสัตว์ที่มากินดินโป่งว่า นั่งโป่ง, ป่ง ก็ว่า; เรียกพื้นดินที่มีนํ้าผุด
พุขึ้นมาว่า โป่งน้ำ โป่งนํ้า และเรียกนํ้าที่ผุดพุขึ้นมานั้นว่า นํ้าโป่ง;
(ถิ่น-พายัพ) ที่ริมฝั่งน้ำ, ที่ลุ่มน้ำขัง, ปง หรือ ป่ง ก็ว่า.
【 โป่งค่าง 】แปลว่า: น. สัตว์ชนิดหนึ่งมีรูปร่างคล้ายค่างแต่ใหญ่กว่ามาก ชอบออกมา
ดูดเลือดที่หัวแม่เท้าของคนที่นอนหลับพักแรมในป่า เชื่อกันว่าเป็น
ผีโป่งชนิดหนึ่ง.
【 โป่งดิน 】แปลว่า: น. ดินที่มีเกลือ.
【 โป่งน้ำ 】แปลว่า: น. ช่องดินที่มีนํ้าพุขึ้นมา.
【 โป้ง 】แปลว่า: ว. อาการที่พูดโพล่งออกมาโดยไม่ระมัดระวังปาก หรือพูดเปิดเผย
สิ่งที่ไม่สมควรออกมาโดยไม่คํานึงถึงความผิดพลาดเสียหาย; ใหญ่
เช่น หัวโป้ง; เสียงดังอย่างเสียงปืนเป็นต้น.
【 โป้งเป้ง 】แปลว่า: ว. สูง ๆ ใหญ่ ๆ; เสียงดังเช่นนั้น.
【 โป้งโย้ง 】แปลว่า: ว. โป้งโล้ง.
【 โป้งโล้ง 】แปลว่า: ว. โตพองไม่สมส่วน, ไม่กะทัดรัด, โป้งโย้ง ก็ว่า.
【 โป่งข่าม 】แปลว่า: น. ชื่อเรียกแร่เขี้ยวหนุมาน ใช้ทําเครื่องประดับ.
【 โปงลาง 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นท่อนไม้กลม
ผูกร้อยเรียงกันตามลําดับขนาดและลําดับเสียงเช่นเดียวกับ
ระนาด แต่มีขนาดใหญ่กว่า.
【 โป่งวิด 】แปลว่า: น. ชื่อนกขนาดเล็กชนิด/ Rostratula benghalensis/ ในวงศ์
Rostratulidae ลักษณะทั่วไปคล้ายนกปากซ่อม ตัวสีนํ้าตาลลาย
ขอบและหางตาสีขาว ปากยาวแหลม ตัวเมียขนาดใหญ่และสีเข้ม
สวยกว่าตัวผู้ อาศัยอยู่ตามท้องทุ่งที่แฉะ ๆ.
【 โป้งโหยง 】แปลว่า: [-โหฺยง] ว. จองหอง, เย่อหยิ่ง.
【 โปฐบท 】แปลว่า: [โปดถะบด] น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์บุรพภัทรบท มี ๒ ดวง,
ดาวแรดตัวผู้ ดาวหัวเนื้อทราย ดาวปุพพภัททะ หรือ ดาว
บุรพภัทรบท ก็เรียก. (ป. โปฏฺ?ปท).
【 โปฐปทมาส 】แปลว่า: [โปดถะปะทะมาด] น. เดือนอันประกอบด้วยวันเพ็ญรวมนักษัตร
โปฐปทาคือ เดือนภัทรบท ได้แก่ เดือน ๑๐ หรือเดือนกันยายน.
(ป. โปฏฺ?ปทมาส).
【 โปดก 】แปลว่า: [-ดก] น. ลูกน้อย, ลูกสัตว์. (ป. โปตก).
【 โปตถกะ 】แปลว่า: [โปดถะกะ] น. หนังสือที่เขียนหรือจาร, คัมภีร์หนังสือ,
เล่มหนังสือ. (ป.).
【 โปน 】แปลว่า: ว. นูนยื่นออกนอกแนวที่อยู่ตามปรกติ.
【 โป๊ป 】แปลว่า: น. สันตะปาปา. (อ. Pope).
【 โป๊ยเซียน ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Euphorbia milii/ Des Moul. ในวงศ์
Euphorbiaceae ต้นเป็นเหลี่ยม มีหนามแหลมเรียงเวียน
รอบต้น มียางขาว ดอกเล็ก มีหลายสี เช่น สีแดง ชมพู
เหลืองอ่อน ออกเป็นกระจุก.
【 โป๊ยเซียน ๒ 】แปลว่า: น. ชื่ออาหารอย่างหนึ่ง ใช้ปลาหมึกสด เนื้อไก่ กุ้ง และเครื่องใน
หมูอีก ๕ อย่าง คือ หัวใจ เซ่งจี๊ ไส้ตัน ตับ และกระเพาะ ผัดรวม
กับถั่วงอก ใบขึ้นฉ่าย ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาวและน้ำมันหอย.
【 โปรแกรม 】แปลว่า: น. กำหนดการ; รายการแสดง. (อ. program).
【 โปรง 】แปลว่า: [โปฺรง] น. ชื่อไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล /Ceriops/ วงศ์ Rhizophoraceae
ใช้ทําฟืนและถ่านชนิดดี คือ โปรงขาว (/C. decandra/ Ding Hou)
และ โปรงแดง [/C. tagal/ (L.M. Perry) C.B. Robinson].
【 โปร่ง 】แปลว่า: [โปฺร่ง] ว. มีลักษณะว่างหรือเปิดเป็นช่อง, ไม่ทึบ, เช่น ใต้ถุนโปร่ง
ที่โปร่ง ป่าโปร่ง; แจ่มใสไม่อึดอัด เช่น สมองโปร่ง.
【 โปร่งเปร่ง 】แปลว่า: [-เปฺร่ง] ก. โหรงเหรง, ไม่เต็มที่.
【 โปร่งแสง 】แปลว่า: ว. มีสมบัติที่แสงผ่านได้. (อ. translucent).
【 โปร่งใส 】แปลว่า: ว. มีสมบัติที่แสงผ่านได้และมองเห็นได้ตลอด. (อ. transparent).
【 โปร่งฟ้า 】แปลว่า: [โปฺร่ง-] น. ชื่อไม้เถามีรากสะสมอาหารชนิด /Asparagus setaceus/
(Kunth) Jessop ในวงศ์ Asparagaceae กิ่งเป็นเส้นเล็กละเอียด
โปร่ง ออกเป็นแผงคล้ายใบ ใบเป็นเกล็ดเล็กสีน้ำตาลอ่อน ปลูกเป็น
ไม้ประดับ.
【 โปรด 】แปลว่า: [โปฺรด] ก. ถูกใจหรือพอใจมาก เช่น โปรดสิ่งสวยงาม, แสดงความ
เมตตากรุณาโดยปลดเปลื้องความเดือดร้อนเป็นต้น เช่น โปรด
ข้าพเจ้าสักครั้ง, ใช้ประกอบหน้ากริยา แสดงความขอร้องอย่าง
สุภาพ เช่น โปรดนั่งนิ่ง ๆ. ว. ที่ถูกใจหรือพอใจมาก เช่น คนโปรด
ของโปรด. (ข. โปฺรส).
【 โปรดปราน 】แปลว่า: ก. เอ็นดู, รักใคร่.
【 โปรดสัตว์ 】แปลว่า: ก. สงเคราะห์สัตว์, (ปาก) เรียกลักษณะที่พระออกรับบิณฑบาตว่า
พระไปโปรดสัตว์.
【 โปรดสัตว์ได้บาป 】แปลว่า: (สํา) ก. ทําดีแต่กลับได้ชั่ว, มักพูดเข้าคู่กับ ทําคุณบูชาโทษ ว่า
ทําคุณบูชาโทษ โปรดสัตว์ได้บาป.
【 โปรตอน 】แปลว่า: [โปฺร-] น. อนุภาคมูลฐานชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นองค์ประกอบของ
นิวเคลียสแห่งอะตอมของธาตุทุกชนิด อนุภาคนี้มีประจุไฟฟ้า
บวก มีมวล ๑.๖๗๒๕๒ x ๑๐-๒๗ กิโลกรัม. (อ. proton).
【 โปรตีน 】แปลว่า: [โปฺร-] น. สารประกอบอินทรีย์เชิงซ้อนของไนโตรเจน มีโมเลกุล
ขนาดใหญ่ประกอบด้วยกรดแอมิโนหลายชนิดเชื่อมโยงกัน เป็น
สารประกอบที่สำคัญยิ่งต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิดซึ่งจําเป็นต้องใช้เพื่อ
สร้างเนื้อเยื่อของร่างกาย. (อ. protein).
【 โปรเตสแตนต์ 】แปลว่า: [โปฺร-] น. ชื่อนิกายหนึ่งในคริสต์ศาสนา ไม่ยกย่องบูชาแม่พระ
และนักบุญ ถือว่าศาสนิกชนทุกคนเป็นพระและเป็นตัวแทนของ
พระเยซูเท่าเทียมกัน ไม่นิยมประดิษฐานรูปเคารพใด ๆ ไม่มีรูป
พระเยซูถูกตรึงไม้กางเขน มีเฉพาะไม้กางเขนเท่านั้นเป็น
สัญลักษณ์. (อ. Protestant).
【 โปรแทรกเตอร์ 】แปลว่า: [โปฺรแทฺรก-] น. เครื่องมือวัดมุม มักทำเป็นรูปครึ่งวงกลม, ถ้าเป็น
ไม้บรรทัด ใช้วัดมุมได้ เรียกว่า ไม้โปรแทรกเตอร์. (อ. protractor).
【 โปรย 】แปลว่า: [โปฺรย] ก. ตกลงมาเป็นเม็ด ๆ กระจายทั่วไป เช่น ฝนโปรย, ทําให้
ตกลงมาด้วยอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น โปรยข้าวตอกดอกไม้.
【 โปรยทาน 】แปลว่า: ก. ให้ทานโดยวิธีหว่านหรือโปรยสตางค์หรือเหรียญ, ทิ้งทาน ก็ว่า.
【 โปรยปราย 】แปลว่า: [-ปฺราย] ว. หว่านล้อม (ใช้แก่กริยาพูด); หว่านไปทั่ว ๆ.
【 โปรีสภา 】แปลว่า: โปรีสะพา น. เรียกศาลชั้นตํ่าในกรุงเทพมหานคร ปัจจุบัน
คือ ศาลแขวง.
【 โปล่ง 】แปลว่า: โปฺล่ง ก. โล่ง.
【 โปลิโอ 】แปลว่า: น. โรคกล้ามเนื้อลีบและอ่อนแรงหรือเป็นอัมพาต เพราะประสาท
ไขสันหลังอักเสบเนื่องจากเชื้อไวรัสประเภทหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า โปลิโอ
ไวรัส, โรคไขสันหลังอักเสบ ก็เรียก. (อ. poliomyelitis).
【 โปโล ๑ 】แปลว่า: น. การเล่นแข่งขันอย่างหนึ่ง โดยขี่ม้าตีลูกกลมด้วยไม้.
【 โปโลน้ำ 】แปลว่า: น. ชื่อกีฬาชนิดหนึ่งที่เล่นในน้ำ โดยมีผู้เล่นซึ่งเป็นนักว่ายน้ำ
ฝ่ายละ ๗ คน พาลูกบอลด้วยการโยนหรือขว้างลูกบอลให้
เข้าประตูของฝ่ายตรงข้าม.
【 โปโล ๒ 】แปลว่า: น. เสื้อคอเชิ้ต ผ่าอกลึกลงมาประมาณ ๒๐ เซนติเมตร.
【 โปส 】แปลว่า: น. บุรุษ. (ป.).
【 โปสก 】แปลว่า: [โป-สก] น. คนผู้เลี้ยงดู. (ป.).
【 โปสต์การ์ด 】แปลว่า: น. แผ่นกระดาษหนาพอประมาณด้านหนึ่งมักเป็นภาพ อีกด้านหนึ่ง
สำหรับเขียนข้อความ และติดไปรษณียากรเพื่อส่งทางไปรษณีย์
โดยไม่ต้องบรรจุซอง. ว. เรียกขนาดภาพถ่ายเป็นต้น ที่มีความ
กว้างยาวประมาณ ๓”x๕” ว่า ขนาดโปสต์การ์ด. (อ. postcard).
【 โปสาวนิกมูล 】แปลว่า: [-สาวะนิกะ-] น. ค่าเลี้ยงดู, ค่าข้าวป้อน. (ป.).
【 โปะ 】แปลว่า: ก. พอกเข้าไป เช่น เอาดินโปะ; เพิ่ม, ทุ่ม, เช่น โปะเงินลงไป.
【 โป๊ะ ๑ 】แปลว่า: น. ที่สำหรับดักปลาทะเล ทำด้วยเสาไม้จริงปักเป็นวง ใช้ไม้ไผ่ทำ
เป็นเฝือกกรุข้างใน มีประตูตรงกลาง ข้างประตูโป๊ะใช้เสาไม้จริง
ปักยาวเหยียดออกไปทั้ง ๒ ข้าง เพื่อกั้นปลาให้ว่ายเลียบเลาะมาเข้า
โป๊ะ เรียกว่า ปีกโป๊ะ, ลักษณนามว่า ปาก หรือ ลูก; เรียกเรือสำหรับ
จับปลาในโป๊ะว่า เรือโป๊ะ; ทุ่นสำหรับเทียบเรือเพื่อขนถ่ายสินค้า
หรือให้คนขึ้นลง; เครื่องครอบตะเกียงเพื่อบังลมหรือบังคับแสงไฟ.
【 โป๊ะ ๒ 】แปลว่า: น. เรือโป๊ะจ้าย.
【 โป๊ะจ้าย 】แปลว่า: น. เรือลําเลียงหรือบรรทุกของชนิดหนึ่ง เป็นเรือขนาดใหญ่ ต่อ
อย่างแบบตะวันตก แต่มีเสาเพลาใบเป็นอย่างสําเภา, เรือโป๊ะ ก็เรียก.
【 โป๊ะแตก 】แปลว่า: น. ชื่ออาหารอย่างหนึ่ง ใช้ของทะเล เช่น หอยแมลงภู่สด ปลากะพง
ปูม้า ปลาหมึก กุ้ง ต้มในน้ำเดือดซึ่งมีตะไคร้ ใบมะกรูด หัวหอม
รากผักชี ปรุงรสเปรี้ยวเค็มด้วยมะขามหรือมะนาว น้ำปลา พริกขี้หนู
พริกแห้งเผา.
【 ไป 】แปลว่า: ก. เคลื่อนออกจากที่, ใช้ตรงกันข้ามกับ มา, เป็นคําประกอบท้าย
กริยาหมายความว่า เรื่อยไป, ไม่หยุด, เช่น ทําไป กินไป, เป็นคํา
ประกอบท้ายคําวิเศษณ์เพื่อเน้นความหมายให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น
ขาวไป ช้าไป ดีเกินไป.
【 ไปค้าถ่าน 】แปลว่า: (ปาก) ก. ตาย.
【 ไปตายดาบหน้า, ไปตายเอาดาบหน้า 】แปลว่า: (สำ) ก. ยอมไปเผชิญกับความทุกข์”และความลำบากข้างหน้า.
【 ไปทุ่ง 】แปลว่า: ก. ไปถ่ายอุจจาระ, ไปขี้, ทุ่ง ก็ว่า.
【 ไป ๆ มา ๆ 】แปลว่า: ว. ในที่สุด, ผลสุดท้าย, เช่น ไป ๆ มา ๆ ก็ต้องมาขอเงินพ่อใช้.
【 ไปลาด 】แปลว่า: (โบ) ก. ไปตระเวน, ไปคอยตรวจเหตุการณ์.
【 ไปวัดไปวาได้ 】แปลว่า: (สํา) ว. มีรูปร่างหน้าตาดีพอจะอวดเขาได้.
【 ไปไหนมาสามวาสองศอก 】แปลว่า: (สํา) ก. ถามอย่างหนึ่งตอบไปอีกอย่างหนึ่ง.
【 ไปอย่างน้ำขุ่น ๆ 】แปลว่า: (สํา) ก. พูดแก้ตัวหลบเลี่ยงไปอย่างข้าง ๆ คู ๆ.
【 ไป่ 】แปลว่า: (กลอน) ว. ไม่.
【 ไป๋ 】แปลว่า: ว. ไถลไป, เฉไป, มักใช้เข้าคู่กับคํา เป๋ เป็น ไป๋เป๋ หรือ เป๋ไป๋.
【 ไปย- 】แปลว่า: [-ยะ-] น. เครื่องดื่ม. (ป. เปยฺย).
【 ไปยาล 】แปลว่า: น. เครื่องหมายละคํา รูปดังนี้ ฯ เรียกว่า ไปยาลน้อย สําหรับละคํา
ที่ประกอบคําหน้า เช่น กรุงเทพฯ โปรดเกล้าฯ, รูปดังนี้ ฯลฯ หรือ
ฯเปฯ เรียกว่า ไปยาลใหญ่ สําหรับละข้อความข้างท้าย เช่น ในป่า
มีช้าง เสือ ลิง ค่าง ฯลฯ อ่านว่า “ละ”, หรือละข้อความในระหว่าง
เช่น เพลงสรรเสริญพระบารมีว่า ข้าวรพุทธเจ้า ฯลฯ ดุจถวายชัย
ชโย อ่านว่า “ละถึง”, เปยยาล ก็เรียก. (ป. เปยฺยาล).
【 ไปรษณีย-, ไปรษณีย์ 】แปลว่า: [ไปฺรสะนียะ-, ไปฺรสะนี] น. วิธีการส่งหนังสือและหีบห่อสิ่งของ
เป็นต้นโดยมีองค์การที่ตั้งขึ้นเป็นเจ้าหน้าที่รับส่ง. (ส. เปฺรษณีย).
【 ไปรษณียนิเทศ 】แปลว่า: ไปฺรสะนียะนิเทด, ไปฺรสะนีนิเทด น. สมุดกฎข้อบังคับ
คําสั่ง หรือประกาศว่าด้วยการไปรษณีย์ทั่วไป.
【 ไปรษณียบรรณ 】แปลว่า: ไปฺรสะนียะบัน, ไปฺรสะนีบัน น. แผ่นกระดาษที่ผนึกสําหรับ
ใช้เขียนจดหมายส่งทางไปรษณีย์, ปัจจุบันใช้ ไปรษณีย์อากาศ.
【 ไปรษณียบัตร 】แปลว่า: [ไปฺรสะนียะบัด, ไปฺรสะนีบัด] น. แผ่นกระดาษที่ใช้ส่งข่าวสาร
โดยไม่ต้องบรรจุซองซึ่งองค์การที่มีหน้าที่จัดส่งเป็นผู้จัดทำขึ้น.
(อ. postal card).
【 ไปรษณียภัณฑ์ 】แปลว่า: [ไปฺรสะนียะพัน, ไปฺรสะนีพัน] น. ข่าวสารหรือสิ่งของที่ส่งทาง
ไปรษณีย์ มีขนาดเล็กและมีนํ้าหนักน้อยกว่าพัสดุไปรษณีย์;
(กฎ) จดหมาย ไปรษณียบัตร ไปรษณียบัตรตอบรับหนังสือ
กิติยคดี ตัวอย่างหรือแบบสินค้า ของตีพิมพ์ทุกชนิด หนังสือ
พิมพ์ลงทะเบียน ห่อจดหมาย ห่อพัสดุ ธนาณัติ เช็คไปรษณีย์
หรือวัตถุอย่างอื่นที่นํามาใช้ในการสื่อสารไปรษณีย์.
【 ไปรษณีย์รับรอง 】แปลว่า: น. ไปรษณีย์พิเศษอย่างหนึ่งซึ่งรับฝากและนําจ่ายไปรษณียภัณฑ์
โดยมีหลักฐานการรับฝากและนำจ่ายใช้เฉพาะกิจการไปรษณีย์
ในประเทศเท่านั้น.
【 ไปรษณียวัตถุ 】แปลว่า: [ไปฺรสะนียะวัดถุ, ไปฺรสะนีวัดถุ] น. (เลิก) พัสดุไปรษณีย์.
【 ไปรษณียากร 】แปลว่า: [ไปฺรสะนียากอน] น. ดวงตราไปรษณียากร, แสตมป์ ก็เรียก;
(กฎ) ค่าธรรมเนียมที่ต้องเสียสำหรับส่งไปรษณียภัณฑ์ทาง
ไปรษณีย์.
【 ไปรษณียากร 】แปลว่า: /ดู ไปรษณีย-, ไปรษณีย์./
【 ไปล่ 】แปลว่า: [ไปฺล่] ว. ผาย, แบะ, เช่น ชามปากไปล่, แปล้, เลยไป, เช่น ผมไปล่.
【 ไปล่ปลิว 】แปลว่า: ก. ขจรไป เช่น ทรงนํ้ามันกันไรไปล่ปลิว. (อิเหนา), เชิดขึ้นไป
คล้ายเส้นขอบนอกชามปากไปล่.
【 ไปศาจ 】แปลว่า: น. ปิศาจ เช่น ก็ยังไปศาจผีเสื้อเนื้อแลนก. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

error: Content is protected !!