พจนานุกรม ไทย – ไทย ม

【 ม 】แปลว่า: พยัญชนะตัวที่ ๓๓ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กม.
【 มก 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ปลากระบอก. /(ดู กระบอก ๒)./
【 มกร, มกร- 】แปลว่า: [มะกอน, มะกอระ-, มะกะระ-] น. มังกร, ชื่อดาวราศีที่ ๑๐. (ป., ส.).
【 มกรกุณฑล 】แปลว่า: [มะกอระ-] น. เครื่องประดับหูมีรูปคล้ายมังกร
【 มกราคม 】แปลว่า: [มะกะรา-, มกกะรา-] น. ชื่อเดือนที่ ๑ ตามสุริยคติ มี ๓๑ วัน; (เลิก)
ชื่อเดือนที่ ๑๐ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน. (ป. มกร + อาคม).
【 มกราคม 】แปลว่า: /ดู มกร, มกร-/.
【 มกสะ 】แปลว่า: [มะกะสะ] น. ยุง. (ป.; ส. มศก).
【 มกุฎ 】แปลว่า: [มะกุด] น. มงกุฎ. ว. สูงสุด, ยอดเยี่ยม. (ป., ส.).
【 มกุฎราชกุมาร 】แปลว่า: [มะกุดราดชะ-] น. อิสริยยศที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่
ผู้ที่จะสืบราชสันตติวงศ์ต่อไป.
【 มกุละ 】แปลว่า: น. กลุ่ม, พวง. ว. ตูม. (ป., ส.).
【 มคธ 】แปลว่า: [มะคด] น. ชื่อแคว้นใหญ่ในอินเดียครั้งพุทธกาล ในบัดนี้เรียกว่า
พิหาร. (ป., ส.).
【 มฆวัน, มัฆวา, มัฆวาน 】แปลว่า: [มะคะ-, มักคะ-] น. พระอินทร์. (ส. มฆวนฺ; ป. มฆวา).
【 มฆะ, มฆา, มาฆะ 】แปลว่า: [มะคะ, มะคา, มาคะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๐ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปโคมูตร วานร
หรือ งอนไถ, ดาวโคมูตร ดาววานร ดาวงอนไถ หรือ ดาวงูผู้ ก็เรียก. (ป., ส.).
【 ม่ง ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของปลาทะเลในกลุ่มปลาหางแข็ง หางกิ่ว หรือสีกุน โดยเฉพาะที่มีขนาด
กลางหรือขนาดใหญ่ในวงศ์ Carangidae มีลําตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย
หน้าครีบก้นมีหนามแข็ง ๒ อันพับได้ คอดหางแคบ เกล็ดบนเส้นข้างตัวใหญ่
เป็นเหลี่ยมแข็งโดยเฉพาะที่บริเวณคอดหาง ไม่มีสีฉูดฉาด อยู่รวมกันเป็นฝูง เช่น
ชนิด /Caranx sexfasciatus, C. melampygus, C. ignobilis, Carangoides/
/gymnostethoides, C. fulvoguttatus/ และ /Alectis ciliaris/
【 ปลาเหล่านี้บางชนิดอาจ 】แปลว่า:
โตยาวได้ถึง ๑.๔ เมตร, กะมง หรือ กะม่ง ก็เรียก.
【 ม่ง ๒ 】แปลว่า: (กลอน) ก. มุ่ง.
【 มงกุฎ 】แปลว่า: น. เครื่องสวมพระเศียรโดยเฉพาะพระเจ้าแผ่นดิน มียอดสูง, เครื่อง
สวมศีรษะ มีลักษณะต่าง ๆ กัน มักใช้สวมเป็นเครื่องหมายแห่งความ
เป็นผู้ชนะเลิศในการประกวดความงาม เช่น มงกุฎนางงามจักรวาล
มงกุฎนางสาวไทย. ว. สูงสุด, ยอดเยี่ยม.
【 มงกุฎไทย 】แปลว่า: น. ชื่อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลหนึ่ง สร้างขึ้นครั้งแรก
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.
【 มงโกรย 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อปลาทะเลและนํ้ากร่อยชนิด /Hilsa kelee/ ในวงศ์ Clupeidae
ลําตัวป้อม แบนข้าง ปากเชิดขึ้น ไม่มีฟัน ท้องเป็นสันแหลม เกล็ดใน
แนวสันท้องเป็นเหลี่ยมคม เรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ซี่เหงือกมีจํานวน
มากเรียงชิดกันและงอโค้งออกเสมอกันโดยตลอด ลําตัวสีเงิน หลัง
สีนํ้าเงินคลํ้า แนวกลางและข้างตัวมีจุดสีดํา ๓-๘ จุดเรียงกัน ๑ แถว
จุดแรกที่ใกล้มุมแผ่นปิดเหงือกเด่นชัดที่สุด ขนาดยาวได้ถึง ๒๕
เซนติเมตร, ขมงโกรย หรือ ลินโกรย ก็เรียก. (๒) ชื่อปลานํ้าจืดชนิด
/Tenualosa thibaudeaui/ ในวงศ์ Clupeidae ซึ่งพบเฉพาะในแม่นํ้าโขง
ลักษณะภายนอกคล้ายกับปลามงโกรย (๑) มาก แต่ลําตัวยาวได้ถึง ๓๐
เซนติเมตร, หมากผาง ก็เรียก.
【 มงคล, มงคล- 】แปลว่า: [มงคน, มงคนละ-] น. เหตุที่นํามาซึ่งความเจริญ เช่น มงคล ๓๘, สิ่ง
ซึ่งถือว่าจะนำสิริและความเจริญมาสู่และป้องกันไม่ให้สิ่งที่เลวร้าย
มากล้ำกราย, เรียกงานที่จัดให้มีขึ้นเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุข เช่น งาน
ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานทำบุญวันเกิด ว่า งานมงคล; เรียกเครื่องราง
ของขลังที่เชื่อว่าจะนำความสุขความเจริญเป็นต้นมาให้ หรือป้องกัน
ภัยอันตรายต่าง ๆ ว่า วัตถุมงคล; สิ่งที่ทำเป็นวงด้วยด้ายเป็นต้น
สำหรับสวมศีรษะเพื่อเป็นสิริมงคล นิยมใช้เฉพาะในเวลาชกมวยไทย
หรือตีกระบี่กระบอง. (ป., ส.).
【 มงคลจักร 】แปลว่า: [มงคนละจัก] น. ด้ายมงคลแฝดสําหรับบ่าวสาวสวมศีรษะ
ในพิธีรดนํ้า, มงคลแฝด ก็เรียก.
【 มงคลแฝด 】แปลว่า: มงคน- น. ด้ายมงคลแฝดสําหรับบ่าวสาวสวม
ศีรษะในพิธีรดนํ้า, มงคลจักร ก็เรียก.
【 มงคลวาท 】แปลว่า: [มงคนละวาด] น. คําให้พร, คําแสดงความยินดี.
【 มงคลวาร 】แปลว่า: [มงคนละวาน] น. วันดี, วันอังคาร.
【 มงคลสมรส 】แปลว่า: [มงคน-] น. งานแต่งงาน.
【 มงคลสูตร 】แปลว่า: [มงคนละสูด] น. ด้ายศักดิ์สิทธิ์ที่ล่ามจากหม้อนํ้ามนตร์;
ชื่อพระสูตรที่สำคัญบทหนึ่งในพระพุทธศาสนาว่าด้วยมงคล ๓๘ ประการ.
【 มงคลหัตถี 】แปลว่า: [มงคนละ-] น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีนิล
อัญชัน มีกิริยาท่าทางเดินงดงาม.
/(ดู กาฬาวก)./
【 มงคล่อ 】แปลว่า: /ดู มองคร่อ/.
【 มณฑ์ 】แปลว่า: น. ของมัน ๆ; นํ้าเมา, สุรา. (ป.; ส. มณฺฑา).
【 มณฑก ๑ 】แปลว่า: [-ทก] น. กบ (สัตว์), ใช้ว่า มัณฑุก หรือ มณฑุก ก็มี. (ป., ส. มณฺฑูก).
【 มณฑก ๒ 】แปลว่า: -ทก น. เรียกปืนเล็กยาวชนิดหนึ่งว่า ปืนมณฑก. (อ. bundook).
【 มณฑนะ 】แปลว่า: [มนทะนะ] น. เครื่องประดับ, อาภรณ์; การแต่ง. (ป., ส.).
【 มณฑป 】แปลว่า: [มนดบ] น. เรือนยอดขนาดใหญ่มีรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือเป็นรูปตัด มุม
หรือย่อไม้แปด ย่อไม้สิบสอง ยอดหลังคาเป็นทรงจอมแห, ใช้ว่า มรฑป ก็มี.
(ป., ส.); ขันนํ้าเย็นของพระเจ้าแผ่นดินที่มีฝาเป็นรูปอย่างมณฑป เรียกว่า
พระมณฑป.
【 มณฑล 】แปลว่า: [มนทน] น. วง เช่น สุริยมณฑล คือ วงรอบดวงอาทิตย์ จันทรมณฑล
คือ วงรอบดวงจันทร์, บริเวณ เช่น มณฑลพิธี, เขตปกครองที่แบ่ง
ออกเป็นส่วนใหญ่ ๆ; พระแท่นที่วงด้ายสายสิญจน์ เรียกว่า พระแท่น
มณฑล. (ป., ส.).
【 มณฑา 】แปลว่า: [มนทา] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Talauma candollei/ Blume ในวงศ์ Magnoliaceae
ใบใหญ่ ดอกสีเหลืองนวล กลิ่นหอม; มณฑารพ.
【 มณฑารพ 】แปลว่า: [มนทารบ] น. ชื่อต้นไม้ในเมืองสวรรค์, มณฑา ก็ใช้. (ป. มณฺฑารว).
【 มณฑิระ, มณเฑียร 】แปลว่า: มนทิระ, มนเทียน น. มนเทียร. (ป., ส. มนฺทิร).
【 มณเฑียรบาล 】แปลว่า: มนเทียนบาน น. มนเทียรบาล.
【 มณี 】แปลว่า: น. แก้วหินมีค่าสีแดง ในจําพวกนพรัตน์ มักหมายถึงทับทิม. (ป., ส. มณิ).
【 มณีการ 】แปลว่า: น. ช่างเจียระไนเพชรพลอย. (ส.).
【 มณีพืช 】แปลว่า: น. ต้นทับทิม. (ส. มณิพีช).
【 มณีรัตน์ 】แปลว่า: น. แก้วมณี. (ป. มณิรตน; ส. มณิรตฺน).
【 มณีราค 】แปลว่า: [-ราก] น. สีแดงเสน. (ส.).
【 มณีศิลา 】แปลว่า: น. หินแก้ว. (ส.).
【 มด ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อแมลงหลายชนิดในวงศ์ Formicidae ส่วนท้องปล้องที่ ๑ หรือ ปล้องที่ ๑
และปล้องที่ ๒ ซึ่งติดกับอกคอดกิ่ว ด้านหลังปล้องท้องดังกล่าวมีโหนกสูงขึ้น
ซึ่งอาจจะโค้งมนหรือเป็นแผ่นแบน ลักษณะนี้ทําให้มดแตกต่างไปจากต่อ แตน
และ ปลวก.
【 มดดำ 】แปลว่า: น. ชื่อมดหลายชนิดในวงศ์ Formicidae สีดําเป็นมันตลอดทั้งตัว ยาว
๕-๖ มิลลิเมตร ทํารังอยู่บนต้นไม้โดยเฉพาะตามซอกของต้นไม้และพวกผลไม้
ต่าง ๆ เมื่อถูกจับต้องจะส่งกลิ่นเหม็นฉุนออกมาป้องกันตัว ที่พบบ่อย เช่น ชนิด
/Dolichoderus bituberculatus, Cataulacus granulatus/.
【 มดแดง 】แปลว่า: น. ชื่อมดชนิด /Oecophylla smaragdina/ ในวงศ์ Formicidae
ลูกรังลําตัวยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร สีส้มหรือนํ้าตาลปนแดงตลอด
รวมทั้งหนวดและขา ตาเล็ก สีนํ้าตาลแก่ ทํารังอยู่ตามต้นไม้โดยใช้
ใบไม้มาห่อกันเข้า เวลาถูกรบกวนจะป้องกันตัวโดยปล่อยกรดออก
มาแล้วกัดให้เกิดแผลทําให้เกิดอาการแสบร้อน, มดส้ม ก็เรียก.
【 มดแดงเฝ้ามะม่วง 】แปลว่า: (สํา) น. ชายที่ปองรักหญิงบ้านใกล้หรือที่อยู่ใกล้
กัน และคอยกีดกันไม่ให้ชายอื่นมารัก, มดแดงแฝงพวงมะม่วง ก็ว่า
【 มด ๒ 】แปลว่า: น. หมอเวทมนตร์, หมอผี, ถ้าเป็นผู้ชาย เรียกว่า พ่อมด, ถ้าเป็นผู้หญิง เรียกว่า
แม่มด; ใช้เป็นคําประกอบกับคํา หมอ เป็น มดหมอ หมายความว่า หมอทั่ว ๆ ไป.
【 มดเท็จ 】แปลว่า: ว. โกหกหลอกลวง, มักใช้เข้าคู่กับคำ โป้ปด เป็น โป้ปดมดเท็จ.
【 มดยอบ 】แปลว่า: น. ยางหอมสีแดงอมเหลืองหรือนํ้าตาลอมแดงได้จากรอยแตกของเปลือก
หรือจากการกรีดเปลือกไม้ต้นหลายชนิดในสกุล /Commiphora/ วงศ์ Burseraceae
เช่น ชนิด /C. abyssinica/ (Berg) Engl., /C. molmol/ Engl. ใช้ทํายา แต่งกลิ่น
เครื่องสําอางและใช้ในพิธีทางศาสนา.
【 มดลูก 】แปลว่า: น. อวัยวะภายในอันเป็นที่ตั้งครรภ์.
【 มดส้ม 】แปลว่า: /ดู มดแดง ที่ มด ๑/.
【 มดสัง 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. อีเห็น. /(ดู อีเห็น)./
【 มดหมอ 】แปลว่า: (ปาก) น. หมอทั่วไป.
【 มดาย 】แปลว่า: [มะ-] น. แม่. (ข.).
【 มดี 】แปลว่า: [มะ-] คําเติมท้ายคําอื่นที่เป็นนามในคําที่มาจากบาลีและสันสกฤตเฉพาะที่มีสระ
อิ อุ อยู่ท้าย หมายความว่า มี เช่น สิริมดี พันธุมดี, ตามหลักไวยากรณ์ เป็นเพศหญิง.
(ป., ส. มตี).
【 มต-, มตะ 】แปลว่า: [มะตะ-] ก. ตายแล้ว. (ป.; ส. มฺฤต).
【 มตกภัต 】แปลว่า: [มะตะกะพัด] น. ข้าวที่ทําบุญอุทิศให้คนตาย. (ป. มตกภตฺต).
【 มตกะ 】แปลว่า: [มะตะกะ] น. คนตายแล้ว, ผู้ตายแล้ว. ว. ของผู้ตายแล้ว.
(ป.; ส. มฺฤตก).
【 มตกภัต 】แปลว่า: /ดู มต-, มตะ/.
【 มตกะ 】แปลว่า: /ดู มต-, มตะ/.
【 มติ 】แปลว่า: [มะติ] น. ความเห็น, ความคิดเห็น, เช่น ที่ประชุมลงมติ มติของข้าพเจ้า, ความรู้;
ข้อวินิจฉัยญัตติที่เสนอต่อที่ประชุม. (ป., ส.).
【 มติมหาชน 】แปลว่า: น. ความคิดเห็นหรือท่าทีของประชาชนกลุ่มใหญ่ที่เห็นพ้องต้องกันใน
เรื่องใดเรื่องหนึ่ง.
【 มทนะ 】แปลว่า: [มะทะ-] น. กามเทพ. (ส.).
【 มทนียะ 】แปลว่า: [มะทะ-] ว. เป็นที่ตั้งแห่งความเมา, ที่ควรเมา. (ป.).
【 มทะ 】แปลว่า: [มะทะ] น. ความเมา; นํ้ามันช้างที่ตกมัน; สภาพช้างที่ตกมัน. (ป., ส.).
【 มธุ 】แปลว่า: [มะ-] น. นํ้าหวาน, นํ้าผึ้ง. (ป., ส.).
【 มธุกร 】แปลว่า: [-กอน] น. ผู้ทํานํ้าหวาน คือ แมลงผึ้ง. (ป., ส.).
【 มธุกรี 】แปลว่า: [-กะรี] น. แมลงผึ้งตัวเมีย. (ป.; ส. มธุกรินฺ).
【 มธุการี 】แปลว่า: น. แมลงผึ้ง. (ป.; ส. มธุการินฺ).
【 มธุโกศ 】แปลว่า: น. รวงผึ้ง. (ส.).
【 มธุตฤณ 】แปลว่า: [-ตฺริน] น. อ้อย. (ส.).
【 มธุปะ 】แปลว่า: น. ผู้ดื่มนํ้าหวาน คือ แมลงผึ้ง. (ป., ส.).
【 มธุปฎล 】แปลว่า: [-ปะดน] น. รวงผึ้ง. (ป., ส. มธุปฏล).
【 มธุปายาส 】แปลว่า: น. ข้าวปายาสเจือนํ้าผึ้ง ใช้เป็นของหวานในงานรื่นเริง.
(ป.).
【 มธุพรต 】แปลว่า: [-พฺรด] น. แมลงผึ้ง. (ส. มธุวฺรต).
【 มธุมักขิกา 】แปลว่า: น. แมลงผึ้ง. (ป.; ส. มธุมกฺษิกา).
【 มธุมิศร 】แปลว่า: [-มิด] ว. เจือนํ้าหวาน. (ส.).
【 มธุรส 】แปลว่า: น. นํ้าผึ้ง, รสหวาน, อ้อย. ว. ไพเราะ เช่น มธุรสวาจา. (ป., ส.).
【 มธุลีห์ 】แปลว่า: น. แมลงผึ้ง. (ป.; ส. มธุลิห).
【 มธุเศษ 】แปลว่า: น. ขี้ผึ้ง. (ส.).
【 มธุสร 】แปลว่า: [-สอน] น. เสียงหวาน. (ป.; ส. มธุสฺวร).
【 มธุร-, มธุระ 】แปลว่า: [มะทุระ-] น. อ้อยแดง; ความหวาน, ความไพเราะ. ว. หวาน,
ไพเราะ. (ป., ส.).
【 มธุรตรัย 】แปลว่า: น. ของอร่อยทั้ง ๓ คือ นํ้าตาล นํ้าผึ้ง เนย. (ส. มธุรตฺรย).
【 มธุรพจน์ 】แปลว่า: น. ถ้อยคําไพเราะ; ผู้มีถ้อยคําไพเราะ. (ส. มธุรวจน).
【 มน ๑ 】แปลว่า: ก. อยู่กับที่ (ใช้แก่ดาวนพเคราะห์ ซึ่งปรากฏแก่ตาเป็น ๓ ทาง คือ
เสริด ว่า ไปข้างหน้า, พักร ว่า ถอยหลัง, มน ว่า อยู่กับที่).
【 มน ๒ 】แปลว่า: ว. กลม ๆ, โค้ง ๆ, ไม่เป็นเหลี่ยม, เช่น ทองหลางใบมน ขอบโต๊ะมน
ปกเสื้อมน.
【 มน ๓, มน- 】แปลว่า: [มะนะ, มน, มะนะ-] น. ใจ. (ป.).
【 มนินทรีย์ 】แปลว่า: น. ใจซึ่งเป็นใหญ่ในการรับรู้ธรรมารมณ์ คือ อารมณ์ที่เกิด
ทางใจ. (ป. มน+อินฺทฺริย).
【 ม่น 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) ก. ซุก, แทรก.
【 มนต์, มนตร์ 】แปลว่า: น. คําศักดิ์สิทธิ์, คําสําหรับสวดเพื่อเป็นสิริมงคล เช่น สวดมนต์,
คำเสกเป่าที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ เช่น ร่ายมนตร์ เวทมนตร์.
(ป. มนฺต; ส. มนฺตฺร).
【 มนตรี 】แปลว่า: น. ที่ปรึกษา, ผู้แนะนํา, ที่ปรึกษาราชการ, ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่, นิยม
ใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น องคมนตรี รัฐมนตรี เทศมนตรี.
(ส.; ป. มนฺตี).
【 มนท-, มนท์ 】แปลว่า: [มนทะ-] น. ดาวพระเสาร์. ว. เฉื่อย, ช้า; อ่อนแอ; โง่เขลา; ขี้เกียจ.
(ป., ส.).
【 มนทกานติ 】แปลว่า: น. “ผู้มีรัศมีอ่อน” คือ ดวงเดือน. (ส.).
【 มนทาทร 】แปลว่า: [-ทอน] ว. ไม่เอาใจใส่, ทอดธุระ. (ส.).
【 มนทาทร 】แปลว่า: /ดู มนท-, มนท์/.
【 มนทิระ, มนทิราลัย 】แปลว่า: มนทิระ น. เรือนหลวง. (ป., ส.).
【 มนเทียร 】แปลว่า: [มนเทียน] น. เรือนหลวง ใช้ว่า พระราชมนเทียร, โบราณใช้ว่า
พระราชมณเฑียร. (ป., ส. มนฺทิร).
【 มนเทียรบาล 】แปลว่า: [มนเทียนบาน] น. การปกครองภายในพระราชฐาน,
เรียกข้อบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับพระราชฐาน พระราชวงศ์ และระเบียบ
การปกครองในราชสำนัก ว่า กฎมนเทียรบาล; ผู้มีอํานาจหน้าที่
เกี่ยวกับการปกครองภายในพระราชฐาน, โบราณใช้ว่า มณเฑียรบาล.
【 มนสิการ 】แปลว่า: [มะนะสิกาน] น. การกําหนดไว้ในใจ. (ป., ส.).
【 มนัส, มนัส- 】แปลว่า: [มะนัด, มะนัดสะ-] น. ใจ (เมื่อเข้าสมาสกับศัพท์หลังมักเป็น มโน,
/ดู มโน/). (ส.).
【 มนัสดาป 】แปลว่า: [มะนัดสะดาบ] น. ความร้อนใจ. (ส.).
【 มนัสวี 】แปลว่า: [มะนัดสะ-] น. ผู้เป็นปราชญ์, ผู้มีใจเด็ดเดี่ยว, ผู้มีความคิดสูง. (ส.).
【 มนินทรีย์ 】แปลว่า: [มะนินซี] /ดู มน ๓, มน-/.
【 มนิมนา, มนีมนา 】แปลว่า: [มะนิมมะนา, มะนีมมะนา] ว. เร็ว, ด่วน, ขมีขมัน, เช่น
【 ก็มนิมนาการมาสู่สาลวัน. 】แปลว่า:
(ปฐมสมโพธิกถา). (ข. มฺนีมฺนา).
【 มนิลา 】แปลว่า: น. เรียกเชือกเกลียวสีขาว ๆ ค่อนข้างใหญ่ เหนียวมาก ว่า เชือกมนิลา,
มักเรียกว่า เชือกมลิลา; เรียกเรือนที่ทรงหลังคาตรงลงมาไม่หักหน้าจั่ว
เหมือนเรือนปั้นหยา แต่ไม่งอนช้อยเหมือนเรือนฝากระดาน ว่า เรือน
ทรงมนิลา, เรือนทรงมลิลา ก็เรียก.
【 มนุ 】แปลว่า: น. มนู. (ป., ส.).
【 มนุช 】แปลว่า: น. “ผู้เกิดจากมนู” คือ คน. (ส.).
【 มนุชาธิป 】แปลว่า: น. พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.).
【 มนุช 】แปลว่า: /ดู มนุ/.
【 มนุชาธิป 】แปลว่า: /ดู มนุ/.
【 มนุญ 】แปลว่า: ว. เป็นที่พอใจ, งาม. (ป. มนุญฺ?).
【 มนุษย-, มนุษย์ 】แปลว่า: [มะนุดสะยะ-, มะนุด] น. สัตว์ที่รู้จักใช้เหตุผล, สัตว์ที่มีจิตใจสูง, คน. (ส.;
【 ป. มนุสฺส). 】แปลว่า:
【 มนุษย์กบ 】แปลว่า: น. คนที่ฝึกดํานํ้าได้นาน ๆ จนชํานาญโดยอาศัยหน้ากาก รองเท้าคล้ายตีนกบ
และอุปกรณ์ช่วยการหายใจใต้นํ้า.
【 มนุษยชาติ 】แปลว่า: [มะนุดสะยะ-, มะนุดสะ-] น. จําพวกคน, หมู่มนุษย์. (ส.).
【 มนุษยเทพ 】แปลว่า: น. กษัตริย์. (ส.).
【 มนุษยธรรม 】แปลว่า: น. ธรรมของคน, ธรรมที่มนุษย์พึงมีต่อกัน มีเมตตากรุณาเป็นต้น.
【 มนุษย์มนา 】แปลว่า: (ปาก) น. ผู้คน เช่น ไม่เห็นมีมนุษย์มนาสักคน, คนทั่ว ๆ ไป เช่น
แต่งตัวไม่เป็นมนุษย์มนา. (ส.).
【 มนุษยโลก 】แปลว่า: > [มะนุดสะยะ-, มะนุดสะ-] น. โลกมนุษย์. (ส.).
【 มนุษยศาสตร์ 】แปลว่า: [มะนุดสะยะ-, มะนุดสาด] น. วิชาว่าด้วยคุณค่าทาง
จิตใจและงานของคนมีศิลปะ วรรณคดี ประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์
ศาสนา และปรัชญา. (ส. มนุษฺย+ศาสฺตฺร). (อ. humanities).
【 มนุษยสัมพันธ์ 】แปลว่า: [มะนุดสะยะ-, มะนุดสำพัน] น. ความสัมพันธ์ในทางสังคมระหว่าง
มนุษย์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน.
【 มนุษย์อวกาศ 】แปลว่า: น. คนที่ฝึกจนมีความชํานาญเพื่อเดินทางออกนอกบรรยากาศของโลก.
【 มนุสาร, มนูสาร, มโนสาร 】แปลว่า: น. ชื่อคัมภีร์กฎหมายมนูธรรมศาสตร์ฉบับย่อ.
【 มนู 】แปลว่า: น. ชื่อพระผู้สร้างมนุษยชาติและปกครองโลก มี ๑๔ องค์ เรียงกัน
เป็นยุค ๆ ไป, ยุคหนึ่งเรียกว่า มนวันดร นานกว่า ๔,๐๐๐,๐๐๐ ปี
องค์แรก คือ พระสวายมภูวะ พระมนูองค์นี้ถือกันว่าเป็นผู้ทรงออก
กฎหมายหรือธรรมศาสตร์ซึ่งยังมีอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้เรียกว่า
มนุสัมหิตา หรือ มนุสมฺฤติ, เพราะฉะนั้น คํา มนู จึงหมายถึงกฎหมาย
ก็ได้ เช่น มนูกิจ. (ส. มนุ).
【 มโน 】แปลว่า: น. ใจ. (ป.; ส. มนสฺ).
【 มโนกรรม 】แปลว่า: น. การกระทำทางใจ, การคิด, ความคิด. (ป. มโนกมฺม).
【 มโนคติ 】แปลว่า: น. ความคิด. (ส.).
【 มโนช 】แปลว่า: น. “เกิดแต่ใจ” คือ ความรัก. (ส.).
【 มโนชญ์ 】แปลว่า: ว. เป็นที่พอใจ, งาม. (ส.).
【 มโนทุจริต 】แปลว่า: [มะโนทุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชั่วทางใจ มี ๓ อย่าง
ได้แก่ ความโลภอยากได้ของของผู้อื่น ๑ ความพยาบาท ๑ ความเห็น
ผิดจากทำนองคลองธรรม ๑.
【 มโนธรรม 】แปลว่า: น. ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี, ความรู้สึกว่าอะไรควรทําอะไร
ไม่ควรทํา.
【 มโนนุกูล 】แปลว่า: ว. ซึ่งเกื้อกูลใจ, ชูใจ. (ส.).
【 มโนภาพ 】แปลว่า: น. ความคิดเห็นเป็นภาพขึ้นในใจ.
【 มโนภินิเวศ 】แปลว่า: น. ความมั่นใจ, ความหนักแน่น. (ส.).
【 มโนมัย 】แปลว่า: ว. สําเร็จด้วยใจ, ใช้ประกอบกับ ม้า หมายความว่า ม้าที่ใช้
ขับขี่รวดเร็วได้ดังใจ. (กลอน) น. ม้า เช่น ครั้นถึงจึงสั่งข้าไท เร่งผูก
มโนมัยที่เคยขี่. (บทละครสังข์ทอง). (ป., ส.).
【 มโนรถ 】แปลว่า: น. ความหวัง, ความประสงค์, ความใฝ่ฝัน. (ป., ส.).
【 มโนรม, มโนรมย์ 】แปลว่า: ว. เป็นที่ชอบใจ, งาม. (ส. มโนรม, มโนรมฺย;
ป. มโนรม, มโนรมฺม).
【 มโนศิลา 】แปลว่า: น. ศิลาอ่อนที่ย่อยให้ละเอียดประสมเป็นสีทาสิ่งอื่นได้,
อีกนัยหนึ่งว่าการหนูแดง, เรียกหินลายสีแดง ๆ เช่น รัตนผลึกเลื่อม
มโนศิลาลาย. (ม. ร่ายยาว มหาพน). (ส. มนสฺ + ศิลา; ทมิฬ มโนจิไล).
【 มโนสุจริต 】แปลว่า: [มะโนสุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชอบทางใจ มี ๓ อย่าง
ได้แก่ ความไม่โลภอยากได้ของของผู้อื่น ๑ ความไม่พยาบาท ๑
ความเห็นถูกตามทำนองคลองธรรม ๑.
【 มโนหระ 】แปลว่า: [มะโนหะระ] ว. เป็นที่จับใจ, น่ารักใคร่, สวย, งาม. (ส.).
【 มโนช 】แปลว่า: /ดู มโน/.
【 มโนชญ์ 】แปลว่า: /ดู มโน/.
【 มโนราห์ ๑ 】แปลว่า: น. ศิลปะการแสดงพื้นเมืองอย่างหนึ่งของภาคใต้ มีแม่บทท่ารํา
อย่างเดียวกับละครชาตรี, โนรา ก็ว่า, เขียนว่า มโนห์รา ก็มี.
【 มโนราห์ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 มโนสาเร่ 】แปลว่า: น. เรื่องเบ็ดเตล็ดหยุมหยิม เช่น เรื่องมโนสาเร่, เรียกคดีอันมีทุนทรัพย์หรือค่าเช่า
จำนวนเล็กน้อย ซึ่งไม่เกินจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่า คดีมโนสาเร่.
【 มโนห์รา 】แปลว่า: /ดู มโนราห์ ๑/.
【 มมังการ 】แปลว่า: [มะมังกาน] น. ความถือว่าเป็นของเรา. (ป.).
【 มมาก 】แปลว่า: [มะ-] น. แมลงหวี่. (เทียบ ข. มมาจ ว่า ตัวชีปะขาว).
【 มยุร-, มยุระ 】แปลว่า: [มะยุระ-] น. นกยูง, ใช้ว่า มยูร ก็มี. (ป., ส. มยูร).
【 มยุรคติ 】แปลว่า: [มะยุระคะติ] น. ท่าทางของนกยูง. (ส. มยูรคติ).
【 มยุรฉัตร 】แปลว่า: น. พนมหางนกยูง หรือเครื่องกั้นบังเป็นชั้น ๆ ทําด้วย
หางนกยูง เป็นเครื่องสูง ใช้ในงานพิธีโสกันต์.
【 มยุรอาสน์ 】แปลว่า: น. “พระผู้มีนกยูงเป็นอาสนะ” หมายถึง พระขันทกุมาร
หรือพระสกันทกุมาร เพราะพระขันทกุมารทรงมีนกยูงเป็นพาหนะ.
【 มยุรา, มยุเรศ 】แปลว่า: มะ- น. นกยูง.
【 มยุรี 】แปลว่า: [มะ-] น. นกยูงตัวเมีย. (ป.).
【 มยุรา, มยุเรศ 】แปลว่า: /ดู มยุร-, มยุระ/.
【 มยุรี 】แปลว่า: /ดู มยุร-, มยุระ/.
【 มยูขะ 】แปลว่า: น. รัศมี. (ป., ส.).
【 มยูร 】แปลว่า: [มะยูน] น. นกยูง. (ป., ส.).
【 มร- 】แปลว่า: [มะระ-, มอน-] น. ความตาย. (ป.).
【 มรกต 】แปลว่า: [มอระกด] น. ชื่อรัตนะอย่างหนึ่งในจำพวกนพรัตน์ มีสีเขียว.
【 มรคา 】แปลว่า: [มอระคา] น. ทาง, ช่อง, ถนน. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).
【 มรฑป 】แปลว่า: [มอระดบ] น. มณฑป เช่น โบสถ์ระเบียงมรฑปพื้น ไพหาร. (นิ. นรินทร์). (ป. มณฺฑป).
【 มรณ-, มรณ์, มรณะ 】แปลว่า: [มอระนะ-, มะระนะ-, มอน, มอระนะ] น. ความตาย, การตาย.
【 (ป., ส.). ก. ตาย. 】แปลว่า:
【 มรณกรรม 】แปลว่า: [มอระนะกํา] น. ความตาย.
【 มรณธรรม 】แปลว่า: [มะระนะทํา] ว. มีความตายเป็นธรรมดา. (ป.).
【 มรณบัตร 】แปลว่า: มอระนะบัด น. หนังสือสําคัญที่นายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตาย
ออกให้เป็นหลักฐานแสดงรายการคนตายแก่ผู้แจ้ง.
【 มรณภัย 】แปลว่า: [มะระนะไพ, มอระนะไพ] น. ความรู้สึกกลัวต่อความตาย, ภัยที่เป็นอันตรายถึงตาย. (ป.).
【 มรณภาพ 】แปลว่า: [มอระนะพาบ] น. ความตาย. ก. ตาย (ใช้แก่พระสงฆ์).
【 มรณันติก- 】แปลว่า: [มะระนันติกะ-] ว. มีความตายเป็นที่สุด. (ป. มรณ + อนฺติก).
【 มรณานต์ 】แปลว่า: [มะระนาน] ว. จนกว่าจะตาย. (ส.).
【 มรณันติก- 】แปลว่า: /ดู มรณ-, มรณ์, มรณะ/.
【 มรณานต์ 】แปลว่า: /ดู มรณ-, มรณ์, มรณะ/.
【 มรดก 】แปลว่า: [มอระ-] น. สิ่งที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษหรือที่สืบทอดมาแต่บรรพกาล; (กฎ) ทรัพย์สินทุกชนิด
ตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ตาย เว้นแต่ตามกฎหมายหรือโดยสภาพแล้ว
เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตาย เรียกรวม ๆ ว่า กองมรดก.
【 มรรค, มรรค-, มรรคา 】แปลว่า: [มัก, มักคะ-, มันคา] น. ทาง; เหตุ, ใช้คู่กับ ผล ว่า
【 เป็นมรรคเป็นผล; ในพระพุทธศาสนา 】แปลว่า:
เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับ ผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค
อรหัตมรรค, ทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็น ๑ ในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค
เรียกเต็มว่า มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ – ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ –
【 ความดำริชอบ ๑ 】แปลว่า:
สัมมาวาจา – การเจรจาชอบ ๑ สัมมากัมมันตะ – การงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ –
【 การเลี้ยงชีวิตชอบ ๑ 】แปลว่า:
สัมมาวายามะ – ความพยายามชอบ ๑ สัมมาสติ – ความระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ
【 -ความตั้งใจชอบ ๑ 】แปลว่า:
หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).
【 มรรคนายก 】แปลว่า: [มักคะนายก] น. “ผู้นําทาง” คือ ผู้จัดการทางกุศล หรือ ผู้ชี้แจงทางบุญทางกุศลและ
ป่าวประกาศให้ประชาชนมาทำบุญทำกุศลในวัด. (ส. มารฺค + นายก).
【 มรรคผล 】แปลว่า: (ปาก) น. ผล, มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ไม่เป็นมรรคผล ไม่ได้มรรคผลอะไร.
【 มรรตยะ, มรรตัย, มัตตัย, มัตยะ 】แปลว่า: [มันตะยะ, มันไต, มัดไต, มัดตะยะ] น. ผู้ที่ต้องตาย,
【 ได้แก่ พวกมนุษย์ และสัตว์ดิรัจฉาน, 】แปลว่า:
คู่กับ อมร ผู้ไม่ตาย คือ เทวดา. (ส. มรฺตฺย; ป. มจฺจ).
【 มรรทนะ 】แปลว่า: [มัดทะนะ] น. การบด, การถู; การทําให้เจ็บ, การยํ่ายี, การทําลาย. (ส. มรฺทน;
【 ป. มทฺทน). 】แปลว่า:
【 มรรยาท 】แปลว่า: [มันยาด] น. กิริยาวาจาที่ถือว่าสุภาพเรียบร้อยถูกกาลเทศะ, มารยาท ก็ว่า. (ส.
【 มรฺยาทา;ป. มริยาท). 】แปลว่า:
【 มรรษ, มรรษะ 】แปลว่า: [มัด, มัดสะ] น. ความเพียร, ความอดทน. ก. อดทน. (ส. มรฺษ).
【 มรสุม 】แปลว่า: [มอระสุม] น. คราว; คราวลม, คราวพายุ; ลมฝน;
【 ชื่อพายุใหญ่ที่มีลมแรงและมีฝนตกหนัก, โดยปริยาย 】แปลว่า:
หมายถึงความยุ่งยากเดือดร้อนที่เกิดในบางช่วงชีวิต เช่น มรสุมชีวิต. (เทียบอาหรับ mausim).
【 มรัมเทศ 】แปลว่า: [มะรํามะเทด] น. ประเทศพม่า. (ป. มรมฺมเทส).
【 มรานควาน 】แปลว่า: [มะรานคฺวาน] ก. รบกวน, ทําให้รําคาญ. (ข. เมฺรญคงฺวาล).
【 มริจ 】แปลว่า: [มะริด] น. พริกไทย. (ส. มริจ, มรีจ; ป. มริจฺจ).
【 มริยาท 】แปลว่า: (แบบ) น. มรรยาท. (ป.; ส. มรฺยาทา).
【 มรีจิ 】แปลว่า: น. พยับแดด, แสงแดด. (ป., ส.).
【 มรุ ๑ 】แปลว่า: น. ทะเลทราย, ที่กันดารนํ้า. (ป., ส.).
【 มรุ ๒ 】แปลว่า: น. เทวดาพวกหนึ่ง. (ป.; ส. มรุต).
【 มรุต 】แปลว่า: น. เจ้าแห่งพายุ, เจ้าแห่งลม; เทวดาพวกหนึ่ง. (ส.).
【 มฤค, มฤค- 】แปลว่า: [มะรึก, มะรึกคะ-] น. สัตว์ป่ามีกวาง อีเก้ง เป็นต้น, ถ้าเป็นตัวเมีย ใช้ว่า
【 มฤคี. (ส.; ป. มิค). 】แปลว่า:
【 มฤคชาติ 】แปลว่า: น. เนื้อ, หมู่เนื้อ.
【 มฤคทายวัน 】แปลว่า: [มะรึกคะทายะ-, มะรึกคะทายยะ-] น. ชื่อป่าที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา;
ป่าเป็นที่ให้อภัยแก่เนื้อ. (ป. มิคทายวน; ส. มฺฤค + ทาย + วน).
【 มฤคราช 】แปลว่า: น. ราชสีห์. (ส.).
【 มฤคศิระ, มฤคเศียร, มิคสิระ 】แปลว่า: [มะรึกคะสิระ, มะรึกคะเสียน, มิคะสิระ, มิกคะสิระ]
น. ดาวฤกษ์ที่ ๕ มี ๓ ดวง เห็นเป็นรูปหัวเต่า, ดาวหัวเต่า ดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะเนื้อ ดาวศีรษะโค
ดาวมฤคศิรัส หรือ ดาวอาครหายณี ก็เรียก. (ส. มฺฤคศิรสฺ; ป. มิคสิร).
ดาวมฤคศิรัส หรือ ดาวอาครหายณี ก็เรียก. (ส. มฺฤคศิรสฺ; ป. มิคสิร).
【 มฤคศิรมาส 】แปลว่า: น. เดือนอันมีพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์มฤคศิระ คือ เดือนอ้าย ตกในราวเดือนธันวาคม.
【 มฤคศิรัส 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์มฤคศิระ มี ๓ ดวง, ดาวหัวเต่า ดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะเนื้อ
【 ดาวศีรษะโค 】แปลว่า:
ดาวมฤคเศียร ดาวมิคสิระ หรือ ดาวอาครหายณี ก็เรียก.
【 มฤคินทร์, มฤเคนทร์ 】แปลว่า: [มะรึคิน, -เคน] น. ราชสีห์. (ส. มฺฤค + อินฺทฺร).
【 มฤคย์ 】แปลว่า: [มะรึก] ว. สิ่งที่ควรติดตาม, สิ่งที่ต้องการ. (ส.).
【 มฤคินทร์, มฤเคนทร์ 】แปลว่า: /ดู มฤค, มฤค-/.
【 มฤจฉา 】แปลว่า: [มะริดฉา] ว. มิจฉา, ผิด. (ป. มิจฺฉา; ส. มิถฺยา).
【 มฤจฉาชีพ 】แปลว่า: น. มิจฉาชีพ, การเลี้ยงชีวิตผิดทาง.
【 มฤจฉาทิฐิ 】แปลว่า: น. มิจฉาทิฐิ, ความเห็นผิดทางธรรม.
【 มฤดก 】แปลว่า: มะรึดก น. มรดก. (ส. มฺฤตก; ป. มตก).
【 มฤต 】แปลว่า: [มะริด, มะรึด] ว. ตายแล้ว. (ส. มฺฤต; ป. มต).
【 มฤตกะ 】แปลว่า: [มะรึตะกะ] น. ผู้ตาย, ซากศพ. (ส. มฺฤตก; ป. มตก).
【 มฤตยู 】แปลว่า: [มะรึดตะยู] น. ความตาย; ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๗ ในระบบสุริยะ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า
อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๒,๘๗๐ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๕๐,๘๐๐ กิโลเมตร,
ดาวยูเรนัส ก็เรียก. (ส. มฺฤตฺยู; ป. มจฺจุ).
【 มฤตยูราช 】แปลว่า: น. ยมราช, พญายม. (ส. มฺฤตฺยุราช; ป. มจฺจุราช).
【 มฤทิงค์ 】แปลว่า: [มะรึ-] น. ตะโพน, กลองสองหน้าชนิดหนึ่ง. (ส. มฺฤทงฺค; ป. มุทิงฺค).
【 มฤทุ 】แปลว่า: [มะรึ-] ว. นุ่ม, อ่อน, อ่อนโยน, สุภาพ; แช่มช้า. (ส. มฺฤทุ; ป. มุทุ).
【 มฤทุกะ 】แปลว่า: ว. อ่อนโยน, ละมุนละม่อม, มีใจอ่อนโยน. (ส. มฺฤทุก; ป. มุทุก).
【 มฤธุ 】แปลว่า: [มะรึทุ] น. มธุ, นํ้าผึ้ง, นํ้าหวาน. (ส. มฺฤธุ; ป. มธุ).
【 มฤษา 】แปลว่า: [มะรึสา] ว. มุสา, ไม่จริง, เท็จ. (ส. มฺฤษา; ป. มุสา).
【 มฤษาวาท 】แปลว่า: น. คําเท็จ. (ส.; ป. มุสาวาท).
【 มล, มล- 】แปลว่า: [มน, มนละ-] น. ความมัวหมอง, ความสกปรก, ความไม่บริสุทธิ์; สนิม,
【 เหงื่อไคล. ว. มัวหมอง, 】แปลว่า:
สกปรก, ไม่บริสุทธิ์. (ป., ส.).
【 มลพิษ 】แปลว่า: [มนละพิด] น. พิษเกิดจากความมัวหมองหรือความสกปรกของสิ่งแวดล้อม เช่น
ในอากาศหรือในน้ำเป็นต้น; (กฎ) ของเสีย วัตถุอันตราย และมลสารอื่น ๆ รวมทั้งกากตะกอน
หรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้นที่ถูกปล่อยทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษ หรือที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อม
ตามธรรมชาติ ซึ่งก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือภาวะที่เป็น
พิษภัยอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนได้ และหมายความรวมถึงรังสี ความร้อน แสง
เสียง กลิ่น ความสั่นสะเทือน หรือเหตุรำคาญอื่น ๆ ที่เกิดหรือถูกปล่อยออกจากแหล่งกำเนิด
มลพิษด้วย. (อ. pollution).
【 มลสาร 】แปลว่า: น. สารที่ทำให้เกิดมลพิษ, สารมลพิษ ก็ใช้. (อ. pollutant).
【 มลโค 】แปลว่า: มอละโค น. อุจจาระพอเหลว ๆ คล้ายมูลโค.
【 มลทิน 】แปลว่า: [มนทิน] น. ความมัวหมอง, ความด่างพร้อย, ความไม่บริสุทธิ์. (ข. มนฺทิล).
【 มลน, มล่น 】แปลว่า: มะลน, มะล่น ก. วิ่ง, รีบ.
【 มลนมลาน 】แปลว่า: -มะลาน ว. ลนลาน, ตะลีตะลาน.
【 มลวก 】แปลว่า: มะลวก ก. ลวก.
【 มล่อน 】แปลว่า: มะล่อน ว. สนุก, เพราะ, หวาน.
【 มล่อย 】แปลว่า: มะล่อย ก. ม่อย, เผลอ, เคลิ้ม.
【 มละ 】แปลว่า: [มะละ] ก. ละ, ทิ้ง.
【 มลัก 】แปลว่า: [มะลัก] ก. ลัก, ลอบ; มัก; รัก; เห็น. ว. มากเช่น รู้มลัก.
【 มลังเมลือง 】แปลว่า: [มะลังมะเลือง] ว. สุกใส, อร่ามเรือง.
【 มล้า 】แปลว่า: [มะล้า] ว. ล้า.
【 มลาก 】แปลว่า: [มะลาก] ก. ลาก. ว. มาก, ดี.
【 มล้าง 】แปลว่า: [มะล้าง] ก. ม้าง, ล้าง, ฆ่า, ผลาญ.
【 มลาน ๑ 】แปลว่า: [มะลาน] ว. เหี่ยว, แห้ง; อ่อน, อิดโรย; ตาย; โศกเศร้า, หมอง. (ส. มฺลาน).
【 มลาน ๒ 】แปลว่า: [มะลาน] ว. ลนลาน; ลานตา. (แผลงมาจาก ลาน).
【 มล่าน 】แปลว่า: [มะล่าน] ก. วิ่งอย่างรีบ, วิ่งพล่าน.
【 มลาย 】แปลว่า: [มะลาย] ก. แตก, ตาย, ทําลาย.
【 มลายู 】แปลว่า: [มะ-] น. ชื่อชนชาติหนึ่ง อยู่ในประเทศมาเลเซียและเกาะต่าง ๆ ตอนใต้ของแหลมมลายู.
【 มลาว 】แปลว่า: [มะลาว] น. ลาว.
【 มล่าวเมลา 】แปลว่า: มะล่าวมะเลา ว. งดงาม, สวย.
【 มลิน 】แปลว่า: [มะลิน] ว. ขุ่นมัว, มัวหมอง, ไม่บริสุทธิ์. (ป., ส.).
【 มลิ้น 】แปลว่า: มะลิ้น น. ลิ้น เช่น คือมลิ้นคนผู้ ทราบรู้รสแกง. (โลกนิติ).
【 มลื่น 】แปลว่า: [มะลื่น] ก. มื่น, ลื่น.
【 มวก 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด /Parameria laevigata/ (Juss.) Moldenke ในวงศ์ Apocynaceae
มียางเหนียวคล้ายกาว ใช้ทํายาได้, กระทั่งติด เครือเขามวก ตังติด หรือ เถามวก ก็เรียก.
【 มวกใหญ่ 】แปลว่า: /ดู โมกใหญ่ ที่ โมก./
【 มวกผา 】แปลว่า: น. ของอย่างหนึ่งเป็นยางคล้ายวุ้นอยู่ตามเขา.
【 มวกเหล็ก 】แปลว่า: น. ต้นไม้ชนิดหนึ่ง ใช้ทํายา. (พจน. ๒๔๙๓).
【 ม่วง ๑ 】แปลว่า: ว. สีน้ำเงินปนแดง, ถ้าออกครามเรียก สีม่วงคราม, ถ้าออกแดงเรียก สีม่วงชาด,
【 ถ้าเจือขาวเรียก 】แปลว่า:
สีม่วงอ่อน, เรียกผ้าไหมสําหรับผู้ชายนุ่งที่มีสีอย่างนั้นหรือสีอย่างอื่นว่า ผ้าม่วง.
【 ม่วง ๒ 】แปลว่า: น. มะม่วง.
【 ม่วง ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อเรือขุดรูปคล้ายเรือมาด แต่ยาวกว่า รูปร่างเพรียว หัวงอน ท้ายสั้น เป็นเรือที่คหบดีนิยม
ใช้กันในสมัยก่อน.
【 มวน ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อแมลงหลายชนิดในหลายวงศ์ เมื่อโตเต็มที่มีปีก ๒ คู่ ปีกคู่หน้าค่อนข้างยาว แคบ
เนื้อปีกบริเวณโคนแข็ง ปลายเป็นแผ่นบางอ่อน ปีกคู่หลังอ่อนเป็นแผ่นบางตลอด
เมื่อพับปีกจะแบนราบไปตามสันหลัง แต่บางชนิดก็ไม่มีปีก ปากเป็นท่อยาวคล้ายเข็ม
โผล่ทางด้านล่างบริเวณปลายหัว หลายชนิดปล่อยกลิ่นเหม็นได้และเป็นศัตรูพืชพวกที่อยู่
ในวงศ์ Pentatomidae เช่น มวนเขียว (/Rhynchocoris humeralis/) ทําลายส้ม, แมงแกง
(/Tessaratoma javanica/) ทําลายลําไย, ที่อยู่ในวงศ์ Pyrrhocoridae เช่น
มวนแดงฝ้าย (/Dysdercus cingulatus/)ทําลายทุกส่วนของฝ้าย.
【 มวน ๒ 】แปลว่า: ก. ม้วนเส้นยาสูบด้วยใบตองหรือใบจากเป็นต้นให้เป็นบุหรี่. น. ลักษณนามของบุหรี่
เช่น บุหรี่ ๒ มวน.
【 มวน ๓ 】แปลว่า: ว. อาการที่ทำให้รู้สึกปั่นป่วนอยู่ในท้อง.
【 มวน ๔ 】แปลว่า: (กลอน) ว. ม่วน. /(ดู มอน)./
【 ม่วน 】แปลว่า: ว. ไพเราะ, เสนาะ, สนุก.
【 ม้วน 】แปลว่า: ก. หมุนพันเข้าไปให้มีลักษณะกลมอย่างรูปทรงกระบอก. น. ลักษณนามเรียกสิ่งของ
เช่นผ้าหรือกระดาษที่ขดหรือพันห่อตัวอยู่ เช่น ผ้าม้วนหนึ่ง กระดาษ ๒ ม้วน.
【 ม้วนต้วน 】แปลว่า: ว. อาการที่แสดงท่าทางเอียงอาย. ก. กลิ้งหมุนไปรอบตัว.
【 ม้วนเสื่อ 】แปลว่า: (ปาก) ก. เสียการพนันจนหมดตัว; เลิกกิจการเพราะขาดทุนจนไม่สามารถดําเนิน
กิจการนั้นต่อไปได้.
【 ม้วนหน้า 】แปลว่า: ก. ก้มหน้าเพราะความอาย.
【 มวย ๑ 】แปลว่า: น. การชกกันด้วยหมัดเป็นต้น.
【 มวยไทย 】แปลว่า: น. กีฬาชกมวยบนเวทีที่มีกติกายอมให้คู่ชกใช้เท้า ศอก และเข่าได้.
【 มวยปล้ำ 】แปลว่า: น. กีฬาต่อสู้ด้วยมือเปล่าอย่างหนึ่ง คู่ต่อสู้ต้องพยายามทําให้อีกฝ่ายล้มลงจนไหล่
ด้านหลังทั้ง ๒ ข้างแตะพื้นตลอดช่วงเวลาที่กำหนดจึงจะเป็นฝ่ายชนะ.
【 มวยล้ม 】แปลว่า: น. การชกมวยบนเวทีที่คู่ต่อสู้ฝ่ายหนึ่งแกล้งยอมเป็นฝ่ายแพ้ เพื่อหวังผลในการพนัน,
โดยปริยายหมายถึงการต่อสู้หรือเรื่องราวที่ดูเหมือนเอาจริงเอาจัง แต่กลับไม่จริงหรือเลิกล้มไป.
【 มวยวัด 】แปลว่า: น. การชกต่อยอย่างไม่มีกติกา.
【 มวยสากล 】แปลว่า: น. กีฬาชกมวยบนเวทีที่มีกติกาห้ามคู่ชกใช้อวัยวะอื่นใดนอกจากหมัด.
【 มวยหมู่ 】แปลว่า: น. การยกพวกเข้าชกต่อยกันอย่างชุลมุน.
【 มวย ๒ 】แปลว่า: น. ผมที่มุ่นขมวดให้เป็นกลุ่มเป็นกระจุกไว้ตรงท้ายทอยเป็นต้น เรียกว่า ผมมวย.
【 มวย ๓ 】แปลว่า: ว. หนึ่ง, เดียว. (ข.).
【 ม้วย 】แปลว่า: ก. ตาย, สิ้นสุด, วายวอด, มักใช้เข้าคู่กับคำ มอด เป็น ม้วยมอด หรือ มอดม้วย.
【 มวล 】แปลว่า: [มวน] ว. ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, ทั้งปวง, เช่น มวลชน มวลมนุษย์, ทั้งมวล ก็ว่า.
【 มวลสาร 】แปลว่า: น. เนื้อของเทหวัตถุที่รวมกันอยู่ในเทหวัตถุนั้น ๆ.
【 มวลอากาศ 】แปลว่า: (ภูมิ) น. อากาศในบริเวณกว้างที่มีสมบัติคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะอุณหภูมิและความชื้น.
【 มสาร, มสารกะ 】แปลว่า: [มะสาน, มะสาระกะ] น. แก้วมรกต. (ส.).
【 มสารคัล 】แปลว่า: [มะสาระคัน] น. แก้วลาย, เพชรตาแมว. (ป. มสารคลฺล; ส. มสารคลฺว).
【 มสิ 】แปลว่า: [มะสิ] น. เขม่า; หมึก. (ป., ส.).
【 มหกรรม 】แปลว่า: [มะหะกํา] น. การฉลอง, การบูชา. (ป. มหกมฺม).
【 มหรณพ, มหรรณพ, มหารณพ 】แปลว่า: [มะหอระนบ, มะหันนบ, มะหาระนบ] น. ทะเลใหญ่,
【 ห้วงนํ้าใหญ่. (ส. มหรฺณว; ป. มหณฺณว). 】แปลว่า:
【 มหรรฆ- 】แปลว่า: [มะหักคะ-] ว. มีค่ามาก, มักใช้เป็นส่วนหน้าของสมาส เช่น มหรรฆภัณฑ์ คือ
【 สิ่งของที่มีค่ามาก. 】แปลว่า:
(ส. มหารฺฆ; ป. มหคฺฆ).
【 มหรสพ 】แปลว่า: [มะหอระสบ] น. การเล่นรื่นเริงมีโขนละครเป็นต้น. (ป. มหุสฺสว; ส. มโหตฺสว).
【 มหัคฆ- 】แปลว่า: [มะหักคะ-] ว. มีค่ามาก, มักใช้เป็นส่วนหน้าของสมาส เช่น มหัคฆภัณฑ์ คือ
【 สิ่งของที่มีค่ามาก. 】แปลว่า:
(ป. มหคฺฆ; ส. มหารฺฆ).
【 มหัจฉริย-, มหัจฉริยะ 】แปลว่า: [มะหัดฉะริยะ-] ว. น่าอัศจรรย์มาก. (ป.; ส. มหาศฺจรฺย).
【 มหัณณพ 】แปลว่า: น. มหรรณพ. (ป. มหณฺณว; ส. มหรฺณว).
【 มหัต 】แปลว่า: ว. มหันต์, ใหญ่, มาก. (ส. มหตฺ; ป. มหนฺต).
【 มหัทธนะ 】แปลว่า: [มะหัดทะนะ] น. ผู้มั่งคั่ง, คนมั่งมี. ว. มีทรัพย์มาก, มั่งมี. (ป., ส.).
【 มหันต-, มหันต์ 】แปลว่า: [มะหันตะ-, มะหัน] ว. ใหญ่, มาก, เช่น โทษมหันต์.
【 (เมื่อเข้าสมาสกับศัพท์อื่น เป็น มห 】แปลว่า:
บ้าง มหา บ้าง เช่น มหัคฆภัณฑ์ คือ สิ่งของที่มีค่ามาก, มหาชน คือ ชนจำนวนมาก). (ป.).
【 มหันตโทษ 】แปลว่า: [มะหันตะโทด] น. โทษหนัก, คู่กับ ลหุโทษ = โทษเบา. (ป. มหนฺต + ส. โทษ).
【 มหัพภาค 】แปลว่า: [มะหับพาก] น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ .; ภาคใหญ่.
【 มหัล, มหัลกะ 】แปลว่า: [มะหัน, มะหันละกะ] น. ผู้ใหญ่, คนมีอายุมาก, คนแก่. ว. แก่, มีอายุมาก.
【 (ป. มหลฺล, มหลฺลก). 】แปลว่า:
【 มหัศจรรย์ 】แปลว่า: [มะหัดสะจัน] ว. แปลกประหลาดมาก, น่าพิศวงมาก, ผิดปรกติวิสัยของธรรมชาติ.
【 (ส. มหาศฺจรฺย; ป. มหจฺฉริย). 】แปลว่า:
【 มหา ๑ 】แปลว่า: ว. ใหญ่, ยิ่งใหญ่, มักใช้เป็นส่วนหน้าของสมาส บางทีก็ลดรูปเป็น มห เช่น มหรรณพ
【 มหัทธนะ มหัศจรรย์. 】แปลว่า:
【 มหา ๒ 】แปลว่า: น. สมณศักดิ์ที่ใช้นําหน้าชื่อภิกษุผู้ที่สอบไล่ได้ตั้งแต่เปรียญธรรม ๓ ประโยคขึ้นไป.
【 มหากฐิน 】แปลว่า: น. ชื่อพระชฎาเครื่องต้น.
【 มหากาฬ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อยาไทยชนิดหนึ่งสําหรับแก้โรคปากเปื่อย คอเปื่อย ลิ้นเปื่อย.
【 มหากาฬ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวชนิด /Gynura pseudochina/ (L.) DC. ในวงศ์ Compositae
ดอกสีเหลืองส้ม ใบใช้ทํายาพอก, ว่านมหากาฬ ก็เรียก.
【 มหาขันธกะ 】แปลว่า: [มะหาขันทะกะ] น. ชื่อคัมภีร์พระวินัยหมวดหนึ่ง. (ป.).
【 มหาจักร ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อยาไทยแก้ลมเพื่อซางโค.
【 มหาจักร ๒ 】แปลว่า: น. ระยะเวลา ๖๐ ปี คือ เวลาที่ดาวพฤหัสบดีเดินรอบดวงอาทิตย์ ๕ รอบ,
【 พฤหัสบดีจักร ก็ว่า. 】แปลว่า:
【 มหาจักร ๓ 】แปลว่า: น. ดาว ๘ ดวง มีอาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ เสาร์ และราหู
【 ซึ่งอยู่ในราศีนิยม 】แปลว่า:
เช่น จันทร์อยู่ราศีเมษ อาทิตย์อยู่ราศีกรกฎ ตามที่ท่านกำหนดไว้ย่อมทรงคุณทำให้เจ้าของ
ชะตาเด่นขึ้นหรือคุ้มโทษต่าง ๆ ได้.
【 มหาชน 】แปลว่า: น. คนจำนวนมาก, คนส่วนใหญ่, ชนจำนวนมาก เช่น มติมหาชน, ประชาชนทั่วไป,
เรียกกฎหมายที่เกี่ยวกับประชาชนทั่วไปว่า กฎหมายมหาชน. (ป., ส.).
【 มหาชัย 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง ใช้บรรเลงในงานเกี่ยวกับเกียรติยศของบุคคลที่มาเป็นประธาน
ในงานเช่นนายกรัฐมนตรี หรือเมื่อผู้เป็นประธานของงานกล่าวคําปราศรัยจบลงก็
บรรเลงเพลงมหาชัยเป็นพิเศษ หรือบรรเลงในงานรับรองบุคคลสําคัญ งานสโมสร
สันนิบาต เป็นต้น และในระหว่างงานดําเนิน ถ้าไม่มีดนตรีบรรเลงจะใช้เพลงมหาชัย
เป็นครั้งคราวด้วยก็ได้, ปัจจุบันสํานักพระราชวังและข้อบังคับกระทรวงกลาโหมกําหนด
ให้ดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาชัยรับและส่งเสด็จในพิธีการที่พระบรมวงศ์เสด็จเป็นประธาน
และบรรเลงรับและส่งประธานในพิธีการที่เป็นผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ และบรรเลง
เป็นเพลงเคารพธงราชวงศ์เวลาผ่านหรือขึ้นลง นายทหารที่มียศจอมพล จอมพลเรือ
จอมพลอากาศ หรือ นายกรัฐมนตรี.
【 มหาชาติ 】แปลว่า: น. เรียกเวสสันดรชาดกว่า มหาชาติ มี ๑๓ กัณฑ์, การมีเทศน์เรื่องมหาเวสสันดรชาดก
เรียกว่า มีเทศน์มหาชาติ. (ป.).
【 มหาโชตรัต 】แปลว่า: [มะหาโชตะรัด] น. ชื่อตําราแพทย์แผนโบราณว่าด้วยระดูสตรี.
【 มหาดไทย 】แปลว่า: น. ชื่อกรมที่ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือในสมัยโบราณ มีสมุหนายกเป็นประธาน,
ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองท้องที่ บําบัดทุกข์บํารุงสุข การพัฒนา
ชนบทและชุมชน การส่งเสริมการศึกษาและการประกอบอาชีพ การรักษาความสงบ
เรียบร้อยของประชาชน การป้องกันสาธารณภัย การผังเมือง การโยธา และการราชทัณฑ์.
【 มหาดเล็ก 】แปลว่า: น. ข้าราชการในพระราชสํานักมีหน้าที่รับใช้พระเจ้าแผ่นดิน, ผู้ที่รับใช้ประจําเจ้านาย
หรือผู้ที่ถวายตัวเป็นผู้รับใช้เจ้านาย, เรียกทหารที่มีหน้าที่รักษาพระองค์ในพระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมราชวงศ์ว่า ทหารมหาดเล็ก, เรียกเต็มว่า ทหารมหาดเล็ก
รักษาพระองค์.
【 มหาดเล็กรายงาน 】แปลว่า: (โบ) น. มหาดเล็กซึ่งมีหน้าที่รายงานการสร้างวัดหรือคนเจ็บป่วยเป็นต้น;
ชื่อตําแหน่งราชการชั้นฝึกหัดในหัวเมือง.
【 มหาดเล็กหลวง 】แปลว่า: น. ข้าราชการในราชสำนักมีหน้าที่รับใช้พระมหากษัตริย์.
【 มหาตมะ 】แปลว่า: [มะหาดตะมะ] ว. ผู้มีอิทธิฤทธิ์, ผู้มีใจสูง. (ส.).
【 มหาไถ่ 】แปลว่า: น. ผู้โปรดให้พ้นบาป หมายถึง พระเยซู.
【 มหาเทพ 】แปลว่า: น. เทวดาผู้เป็นใหญ่ (โดยมากใช้เรียกพระอิศวร). (ส.).
【 มหาเทพี, มหาเทวี 】แปลว่า: น. พระอุมา ชายาพระอิศวร เรียกว่า พระมหาเทพี หรือ พระมหาเทวี. (ส.).
【 มหาธาตุ 】แปลว่า: น. พระอัฐิธาตุของพระพุทธเจ้า, พระบรมธาตุ หรือ พระบรมสารีริกธาตุ
ก็เรียก; เรียกพระสถูปเจดีย์หรือพระปรางค์ที่บรรจุพระบรมธาตุ ว่า มหาธาตุ
เช่น เอาทั้งพืชพระศรีมหาโพธิอันพระพุทธเจ้าเราเสด็จอยู่ใต้ต้นและผจญพล
ขุนมาราธิราช ได้ปราบแก่สัพพัญญุตญาณเป็นพระพุทธมาปลูกเบื้องหลัง
พระมหาธาตุนี้. (ศิลาจารึกนครชุม), เรียกวัดที่มีพระสถูปเจดีย์หรือพระปรางค์
ที่บรรจุพระบรมธาตุว่า วัดมหาธาตุบ้าง วัดพระศรีมหาธาตุบ้าง วัดพระศรี
รัตนมหาธาตุบ้าง.
【 มหานสะ 】แปลว่า: [มะหานะสะ] น. ครัว, โรงครัว. (ป.).
【 มหานิกาย 】แปลว่า: น. ชื่อคณะสงฆ์นิกายหนึ่ง, คู่กับ ธรรมยุติกนิกาย.
【 มหานิล ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อยาไทยขนานหนึ่ง มีสีดํา ใช้เป็นยาสมานกวาดคอเด็ก แก้หละ ละออง ซาง.
【 มหานิล ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิดหนึ่งในสกุล /Hedychium/ วงศ์ Zingiberaceae, ว่านมหานิล
【 ก็เรียก. 】แปลว่า:
【 มหาบพิตร 】แปลว่า: [-บอพิด] น. เดิมเป็นคําพระสงฆ์ใช้สําหรับแทนพระนามพระเจ้าแผ่นดินหรือพระมเหสี,
ปัจจุบันใช้ว่า บรมบพิตร หรือ สมเด็จบรมบพิตร.
【 มหาบัณฑิต 】แปลว่า: น. ปริญญาโท; ผู้ได้รับปริญญาโท.
【 มหาพน 】แปลว่า: น. ชื่อกัณฑ์ที่ ๗ ของมหาชาติ ว่าด้วยเรื่องป่า.
【 มหาพรหม 】แปลว่า: [-พฺรม] น. ชื่อพรหมชั้นที่ ๓ ในรูปพรหม ๑๖ ชั้น.
【 มหาภารตะ 】แปลว่า: [มะหาพาระตะ] น. ชื่อบทประพันธ์มหากาพย์เรื่องใหญ่เรื่องหนึ่งของอินเดีย, คู่กับ
รามายณ คือ รามเกียรติ์. (ส.).
【 มหาภิเนษกรมณ์ 】แปลว่า: [มะหาพิเนดสะกฺรม] น. การเสด็จออกบรรพชาของพระพุทธเจ้า. (ส.
【 มหาภินิษฺกฺรมณ; ป. มหาภินิกฺขมน). 】แปลว่า:
【 มหาภูต 】แปลว่า: น. ธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม. (ป., ส.).
【 มหาเมฆ ๑ 】แปลว่า: น. ว่านมหาเมฆ. /(ดู ว่านมหาเมฆ ที่ว่าน)./
【 มหาเมฆ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อละอองหรือฝ้าในปากเด็กเล็ก ๆ เกิดเพราะเป็นโรคซางชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ซางโค.
【 มหายาน 】แปลว่า: น. ชื่อนิกายในพระพุทธศาสนาฝ่ายเหนือที่ถือกันในทิเบต จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และญวน
เป็นต้น, อาจริยวาท ก็ว่า.
【 มหายุค 】แปลว่า: น. ยุคใหญ่ คือ ยุคทั้ง ๔ รวมกัน, จตุรยุค ก็เรียก. /(ดู จตุรยุค)/, ๑,๐๐๐ มหายุค
หรือ ๔,๓๒๐,๐๐๐,๐๐๐ ปีมนุษย์ เป็น ๑ กัลป์ เท่ากับช่วงกลางวันของพระพรหม
เมื่อถึงเวลาค่ำ พระอิศวรจะล้างโลกด้วยเพลิงและปล่อยให้โลกอยู่ในความมืด
จนกว่าพระพรหมจะสร้างโลกขึ้นใหม่ในเช้าวันรุ่งขึ้น. (ส.).
【 มหาราช 】แปลว่า: น. คําซึ่งมหาชนถวายเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดิน;
【 ชื่อธงประจําพระองค์พระเจ้าแผ่นดิน 】แปลว่า:
เรียกว่า ธงมหาราช; ชื่อกัณฑ์ที่ ๑๑ ของมหาชาติ.
【 มหาราชลีลา 】แปลว่า: น. เรียกท่านั่งที่ห้อยเท้าขวาลงเท้าซ้ายงอพับขึ้นไปสอดไว้ใต้โคนขาขวา.
【 มหาฤกษ์ 】แปลว่า: [-เริก] น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง ใช้บรรเลงในเวลาได้ฤกษ์เปิดงานที่เป็นพิธีใหญ่ เช่น
พิธีเปิดสถานที่ทํางานรัฐบาล พิธีเปิดทางคมนาคมที่สําคัญ ๆ, ปัจจุบันข้อบังคับกระทรวง
กลาโหมกําหนดให้ดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาฤกษ์รับและส่งประธานในพิธีการที่เป็นบุคคลอื่น
นอกเหนือจากที่กล่าวไว้ในเพลงมหาชัย.
【 มหาละลวย 】แปลว่า: น. ชื่อมนตร์สําหรับเป่าให้คนหลงรัก.
【 มหาละลาย 】แปลว่า: น. ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งใช้ทํายาได้. (พจน. ๒๔๙๓).
【 มหาวงศ์ 】แปลว่า: น. ชื่อหนังสือพงศาวดารลังกา แต่งเป็นภาษาบาลีโดยพระมหานาม เพื่อเรียบเรียงตำนาน
พระพุทธศาสนาและเหตุการณ์บ้านเมืองของลังกาทวีปตั้งแต่สมัยแรกเริ่มจนถึงรัชสมัย
พระเจ้าคชพาหุ.
【 มหาวรรค 】แปลว่า: น. ชื่อคัมภีร์พระวินัยปิฎกคัมภีร์หนึ่ง; วิธีนับปักษ์อย่างหนึ่ง คือ ปักษ์ถ้วน ๔ ปักษ์
ปักษ์ขาด ๑ ปักษ์ รวมเป็น ๕ ปักษ์ เรียกว่า มหาวรรค.
【 มหาวิทยาลัย 】แปลว่า: [มะหาวิดทะยาไล] น. สถาบันอุดมศึกษาที่มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา
ในด้านวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงหลายสาขาวิชา หรือหลายกลุ่มสาขาวิชา
เพื่อให้ประกาศนียบัตร อนุปริญญา ปริญญา และประกาศนียบัตรบัณฑิตแก่
ผู้สําเร็จการศึกษา รวมทั้งดําเนินการวิจัยและให้บริการทางวิชาการแก่สังคม
และทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ.
【 มหาศักราช 】แปลว่า: น. ศักราชที่ไทยใช้ในสมัยสุโขทัย เริ่มตั้งภายหลังพุทธศักราช ๖๒๑ ปี
(พุทธศักราชลบด้วย ๖๒๑ เท่ากับ มหาศักราช).
【 มหาศาล 】แปลว่า: น. ผู้ยิ่งใหญ่ในวรรณะนั้น ๆ, ถ้าเป็นพราหมณ์ก็หมายความว่า มีศิษย์มาก,
ถ้าเป็นกษัตริย์ก็หมายความว่า มีอํานาจมาก, ถ้าเป็นแพศย์ก็หมายความว่า
มีทรัพย์มาก. ว. มีทรัพย์สมบัติมากมาย เช่น เศรษฐีมหาศาล, (ปาก) อย่างยิ่ง,
มากมาย, เช่น เขามีที่ดินมหาศาล. (ส.).
【 มหาสงกรานต์ 】แปลว่า: น. นักขัตฤกษ์ขึ้นปีใหม่อย่างเก่า เริ่มแต่พระอาทิตย์ย่างขึ้นสู่ราศีเมษ
คือ วันที่ ๑๓ เมษายน เรียกว่า วันมหาสงกรานต์.
【 มหาสดมภ์ 】แปลว่า: [มะหาสะดม] น. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่งตามตําราแพทย์แผนโบราณซึ่งอาจทําให้ขากรรไตรแข็ง.
【 มหาสดำ 】แปลว่า: [มะหาสะดํา] น. ชื่อเฟินต้นชนิด /Cyathea podophylla/ (Hook.) Copel.
【 ในวงศ์ Cyatheaceae ใช้ทํายาได้. 】แปลว่า:
【 มหาสมุทร 】แปลว่า: น. ทะเลใหญ่. (ส.; ป. มหาสมุทฺท).
【 มหาสาวก 】แปลว่า: น. พระสาวกชั้นผู้ใหญ่ของพระพุทธเจ้า ๘๐ องค์ ซึ่งรวมพระอัครสาวกทั้ง ๒ องค์
เข้าไว้ในจํานวนนั้นด้วย. (ป.; ส. มหาศฺราวก).
【 มหาหงส์ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Hedychium coronarium/ Koen. ในวงศ์ Zingiberaceae
ดอกใหญ่ สีขาวล้วนหรือมีสีเหลืองตอนกลาง กลิ่นหอม ชอบขึ้นในที่ลุ่มนํ้าขัง
มักปลูกตามบ้าน, กระทายเหิน ก็เรียก, จันทบุรีและระยองเรียก เลเป หรือ ลันเต.
【 มหาหิงคุ์ 】แปลว่า: น. ยางของไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล /Ferula/ วงศ์ Umbelliferae
【 มีกลิ่นร้อนฉุนและเหม็น 】แปลว่า:
นิยมใช้เป็นยาทาภายนอก เช่น ชนิด /F. assafoetida/ L. และชนิด /F. foetida/
【 (Bunge) Regel. 】แปลว่า:
(ป.; ส. หิงฺคุ).
【 มหาอำนาจ 】แปลว่า: ว. เรียกประเทศที่มีพลังทางด้านเศรษฐกิจหรือทางทหารสูงว่า ประเทศมหาอำนาจ.
【 มหาอุจ 】แปลว่า: (โหร) น. ดาวพระเคราะห์ที่ทรงคุณสูงเด่น ทําให้เจ้าดวงชะตามีความเจริญรุ่งเรือง.
【 มหาอุด 】แปลว่า: น. เครื่องรางของขลังที่ช่วยให้ผู้เป็นเจ้าของอยู่ยงคงกระพัน; โบสถ์หรือวิหาร
ที่มีผนังทึบตันรอบด้านมีช่องทางเข้าออกเฉพาะประตูด้านหน้าแห่งเดียว
เพื่อประโยชน์ในการทำพิธีที่เชื่อว่าจะทำให้ขลังยิ่งขึ้น.
【 มหาอุปรากร, อุปรากร 】แปลว่า: น. ละครประเภทหนึ่ง มีดนตรีเป็นส่วนประกอบสําคัญ
【 ดำเนินเรื่องด้วยการร้องเพลง 】แปลว่า:
ผสมวงดุริยางค์คล้ายอุปรากร ตัวละครทุกตัวจะร้องแทนพูด เนื้อเรื่องมีความจริงจัง
หนักหน่วง ถือเป็นละครชั้นสูงของชาวตะวันตก. (อ. grand opera).
【 มหาอุปราช 】แปลว่า: มะหาอุปะหฺราด, -อุบปะหฺราด น. ตำแหน่งรองพระเจ้าแผ่นดิน,
เรียกกันอย่างสามัญว่า วังหน้า; ตำแหน่งขุนนางทำหน้าที่มุขมนตรี.
【 มหิ 】แปลว่า: (แบบ) น. แผ่นดิน. (ป., ส.).
【 มหิดล 】แปลว่า: น. พื้นดิน, พื้นโลก. (ส. มหิตล, มหีตล).
【 มหิธร 】แปลว่า: น. ผู้ทรงแผ่นดิน คือ ภูเขา; ชื่อหนึ่งของพระนารายณ์; พระเจ้าแผ่นดิน.
(ส. มหีธร, มหีธฺร).
【 มหิบดี, มหิบาล, มหิป 】แปลว่า: น. พระเจ้าแผ่นดิน. (ป.).
【 มหิงส์ 】แปลว่า: น. ควาย. (ป. มหึส; ส. มหิษ).
【 มหิทธิ 】แปลว่า: [มะหิดทิ] ว. มีฤทธิ์มาก. (ป. มหา + อิทฺธิ).
【 มหินท์ 】แปลว่า: น. พระอินทร์. (ป.).
【 มหิมา 】แปลว่า: ว. ใหญ่, โต, ใช้ว่า มหึมา ก็มี.
【 มหิศร, มหิศวร 】แปลว่า: [มะหิด, มะหิดสอน, มะหิสวน] น. ผู้เป็นใหญ่ยิ่ง, เลือนมาจาก มเหศวร
【 หมายถึง พระศิวะ 】แปลว่า:
หรือ พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.).
【 มหิษ 】แปลว่า: น. ควาย. (ส.; ป. มหิส, มหีส, มหึส).
【 มหิษี 】แปลว่า: น. ชายาพระเจ้าแผ่นดิน. (ส.; ป. มเหสี).
【 มหึมา 】แปลว่า: ว. ใหญ่, โต, ใช้ว่า มหิมา ก็มี.
【 มหุดิฤกษ์ 】แปลว่า: น. ฤกษ์ดี, ยามดี.
【 มหุรดี 】แปลว่า: น. ครู่, ขณะ, ชั่วโมง. (ส. มุหูรฺต, มุหูรตฺต).
【 มหู 】แปลว่า: ก. ต้องการ. (ช.).
【 มเหนทร์ 】แปลว่า: น. พระอินทร์. (ส.).
【 มเหยงค์ 】แปลว่า: [มะเห-ยง] น. ภูเขา, เนินดิน. (ป. มหิยงฺคณ).
【 มเหศ, มเหศวร 】แปลว่า: [มะเหด, มะเหสวน] น. พระอิศวร, พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.).
【 มเหศักดิ์ 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. เจ้าผีซึ่งเดิมเป็นเจ้าเมืองในถิ่นนั้น.
【 มเหสักข์ 】แปลว่า: น. เทวดาผู้ใหญ่. (ป.).
【 มเหสิ, มเหสี ๑ 】แปลว่า: น. ผู้แสวงหาศีลาทิคุณอันยิ่งใหญ่, ฤษีใหญ่, พระพุทธเจ้า. (ป.; ส. มหรฺษิ).
【 มเหสี ๒ 】แปลว่า: น. ชายาพระเจ้าแผ่นดิน. (ป.; ส. มหิษี).
【 มเหาษธ ๑ 】แปลว่า: [มะเหาสด] น. ยาแรงชนิดหนึ่ง; การแก้ไข้อย่างชะงัด. (ส.).
【 มเหาษธ ๒ 】แปลว่า: [มะเหาสด] น. ชื่อพรรณไม้ที่มีกลิ่นฉุน เช่น ขิง กระเทียม. (ส.; ป. มโหสธ).
【 มเหาฬาร 】แปลว่า: ว. มโหฬาร, ยิ่งใหญ่, กว้างใหญ่. (ป., ส. มหา + อุฬาร).
【 มโหฆะ 】แปลว่า: น. ห้วงนํ้าใหญ่, ทะเลใหญ่; นํ้ามาก, นํ้าท่วมมาก. (ส., ป. มหา + โอฆ).
【 มโหรสพ 】แปลว่า: [มะโหระสบ] น. มหรสพ. (ป. มหสฺสว; ส. มโหตฺสว).
【 มโหระทึก 】แปลว่า: น. กลองโลหะชนิดหนึ่ง ใช้ตีเป็นสัญญาณและประโคม.
【 มโหรี ๑ 】แปลว่า: น. วงดนตรีที่มีเครื่องผสมทั้งเครื่องดีด เครื่องสี เครื่องตี เครื่องเป่า
【 และมีผู้ขับร้องร่วมด้วย. 】แปลว่า:
【 มโหรี ๒ 】แปลว่า: /ดู สีกรุด/.
【 มโหษธ 】แปลว่า: [มะโหสด] น. มเหาษธ. (ส. มเหาษธ; ป. มโหสธ).
【 มโหฬาร 】แปลว่า: [-ลาน] ว. ยิ่งใหญ่, กว้างใหญ่, เช่น ใหญ่โตมโหฬาร. (ป., ส.).
【 มไหศวรรย์ 】แปลว่า: [มะไหสะหฺวัน] น. อํานาจใหญ่; สมบัติใหญ่; ความเป็นใหญ่ในแผ่นดิน.
(ส. มไหศฺวรฺย, มไหศฺวรฺยฺย).
【 มอ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อเรือต่อเสริมกราบขนาดใหญ่มาก ส่วนใหญ่ใช้บรรทุกข้าวเปลือกและเกลือ.
【 มอ ๒ 】แปลว่า: น. เนินดินเล็ก ๆ อย่างภูเขา, เขาจําลองที่ทําไว้ดูเล่นในบ้าน เรียกว่า เขามอ.
【 มอ ๓ 】แปลว่า: น. วัวตัวผู้. ว. เสียงอย่างเสียงวัวร้อง.
【 มอ ๔ 】แปลว่า: ว. สีมัว ๆ อย่างสีดําเจือขาว.
【 มอคราม 】แปลว่า: ว. สีฟ้าคล้ำ.
【 มอซอ 】แปลว่า: ว. ดําคลํ้า, ไม่ผ่องใส, หม่น, เช่น แต่งตัวมอซอ.
【 มอหมึก 】แปลว่า: ว. สีขาวเจือดํา.
【 มอง ๑ 】แปลว่า: ก. มุ่งดู.
【 มองการณ์ไกล 】แปลว่า: ก. คาดคะเน เหตุการณ์ล่วงหน้าได้ถูกต้องหรือใกล้เคียงโดยอาศัยเหตุผล
หรือประสบการณ์เป็นต้น, เห็นการณ์ไกล ก็ว่า.
【 มองเมียง 】แปลว่า: ก. เลียบ ๆ เคียง ๆ ดู.
【 มองเสี้ยว 】แปลว่า: น. ท่าโขนท่าหนึ่ง.
【 มอง ๒ 】แปลว่า: น. เครื่องจับปลาชนิดหนึ่งจำพวกอวน แต่เล็กสั้น และตาถี่กว่าอวน ใช้ในแม่น้ำลำคลอง.
【 มอง ๓ 】แปลว่า: น. ฆ้องขนาดเล็ก เรียกว่า ฆ้องมอง.
【 มองโกลอยด์ 】แปลว่า: น. ชนชาติผิวเหลือง มีลักษณะผมดําเหยียด หน้ากว้าง จมูกเล็ก ตาเรียว เช่น ไทย จีน
ลาว เขมร เวียดนาม. (อ. Mongoloid).
【 มองโกเลีย 】แปลว่า: น. ชื่อประเทศอยู่ทางทิศเหนือและทิศตะวันออกของจีน มีเมืองหลวงชื่อ อูลานบาตอร์
เดิมเรียกว่า มองโกเลียนอก ส่วนมองโกเลียใน ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสาธารณรัฐ
ประชาชนจีน,เรียกประชาชนในประเทศนั้นว่า ชาวมองโกเลีย. (อ. Mongolia).
【 มองคร่อ 】แปลว่า: [-คฺร่อ] น. โรคหลอดลมโป่งพอง มีเสมหะแห้งอยู่ในช่องหลอดลม ทําให้มีอาการไอเรื้อรัง
ห้ามผู้ที่เป็นโรคนี้บวชเป็นภิกษุ. (อ. bronchiectasis); โรคทางเดินหายใจในสัตว์กีบเดียววงศ์
Equidae มีอาการไข้สูง เป็นฝีที่ต่อมน้ำเหลืองใต้คางและบริเวณคอหอยอาจติดต่อถึงคนได้,
เขียนเป็น มงคล่อ ก็มี. (อ. strangles).
【 มอญ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อชนชาติหนึ่ง เคยเป็นใหญ่อยู่ทางตอนใต้ของพม่า ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ
ประเทศพม่า มีภาษาพูดอยู่ในตระกูลมอญ-เขมร และมีอักษรของตนเองใช้.
【 มอญซ่อนผ้า 】แปลว่า: น. ชื่อการเล่นของเด็กอย่างหนึ่ง โดยผู้เล่นนั่งล้อมวง ผู้ซ่อนผ้าจะถือผ้าซึ่งมัก
ฟั่นให้เป็นเกลียวเดินวนอยู่นอกวง เมื่อเห็นผู้ใดเผลอก็ทิ้งผ้านั้นไว้ข้างหลังและทำเสมือนว่า
ยังไม่ได้ทิ้งผ้า แล้วเดินวนอีก ๑ รอบ ถ้าผู้ที่มีผ้าวางอยู่ข้างหลังยังไม่รู้สึกตัว ก็หยิบผ้านั้นขึ้นมาตี
ผู้ถูกตีจะต้องลุกขึ้นวิ่งหนีไป ๑ รอบ แล้วกลับไปนั่งที่เดิมผู้ซ่อนผ้าก็จะเดินวนต่อไปหาทางทิ้งผ้า
ให้ผู้อื่นใหม่ แต่ถ้าผู้นั้นรู้ตัวก่อนก็จะหยิบผ้าลุกขึ้นไล่ตีผู้ซ่อนผ้าให้วิ่งไป ๑ รอบ ผู้ซ่อนผ้าก็จะมานั่ง
แทนที่ผู้ที่ไล่ตีนั้นก็จะเป็นผู้ซ่อนผ้าต่อไป.
【 มอญตีดั้ง 】แปลว่า: น. ชื่อดอกไม้ไฟอย่างหนึ่งในพวกดอกไม้นํ้า.
【 มอญ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า มอญ เช่น มอญรำดาบ มอญชมจันทร์
มอญครวญ.
【 มอด ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดในหลายวงศ์ที่เจาะกินเข้าไปในวัสดุต่าง ๆ ทําให้เกิดเป็น
รูพรุนทั่วไปกับทั้งมีวัสดุผสมมูลขับถ่ายออกมาเป็นขุยเป็นเม็ดเล็ก ๆ เรียก ขี้มอด ส่วนใหญ่เป็น
แมลงปีกแข็ง เช่น มอดข้าวสาร (/Sitophilus oryzae/) ในวงศ์ Curculionidae
【 ทําลายข้าวสาร, 】แปลว่า:
มอดไม้ไผ่ (/Dinoderus minutus/) ในวงศ์ Bostrychidae
【 เจาะไม้ไผ่แห้งเป็นรูเท่ารูเข็มกระจายทั่วไป; 】แปลว่า:
เรียกหน้าที่เป็นรอย ๆ อย่างมอดเจาะเช่นหน้าคนที่เป็นฝีดาษว่า หน้ามอด.
【 มอด ๒ 】แปลว่า: ก. จวนจะดับ (ใช้แก่ไฟ); ตาย, มักใช้เข้าคู่กับคํา ม้วย เป็น มอดม้วย หรือ ม้วยมอด.
【 ม่อต้อ 】แปลว่า: ว. เตี้ยลํ่า (ใช้แก่รูปร่าง) เช่น รูปร่างม่อต้อ เตี้ยม่อต้อ.
【 มอเตอร์ 】แปลว่า: น. กลอุปกรณ์ที่ใช้สําหรับแปลงพลังงานรูปอื่นให้เป็นพลังงานกล โดยทั่วไปมักหมายถึง
กลอุปกรณ์ที่ใช้สําหรับแปลงพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานกล. (อ. motor).
【 มอเตอร์ไซค์ 】แปลว่า: (ปาก) น. จักรยานยนต์, รถที่มีล้อ ๒ ล้อเหมือนกับรถจักรยาน
【 ขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องยนต์, 】แปลว่า:
รถเครื่อง ก็ว่า.
【 มอน 】แปลว่า: น. ใจกลาง, ส่วนสําคัญ, เช่น มอนไข่ คือ ไข่แดง. ว. สนุก, เพราะ, หวาน, เช่น ใจมอน
ใจหวาน, ใจดี.
【 ม่อน ๑ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. เนินเขา, ยอดเขา.
【 ม่อน ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) ส. ข้าพเจ้า เช่น อกม่อนเมา บาบั้น บิ่นบ้าในทรวง. (หริภุญชัย).
【 มอนไข่ 】แปลว่า: น. ชื่อกล้วยไม้ชนิด /Dendrobium thyrsiflorum/ Rchb.f. ในวงศ์ Orchidaceae
ดอกขาว ปากเหลือง.
【 มอบ ๑ 】แปลว่า: ก. เวนให้ เช่น มอบราชสมบัติ, สละให้ เช่น มอบกายถวายชีวิต
มอบชีวิตเป็นราชพลี, ยกให้ เช่น มอบทรัพย์สมบัติ, ให้ไว้ เช่น
มอบเงินให้เป็นค่าอาหารกลางวันแก่เด็กนักเรียน.
【 มอบฉันทะ 】แปลว่า: ก. มอบธุระไว้ด้วยความไว้วางใจ, ยินยอมให้ทําแทนโดย
มีหลักฐาน.
【 มอบตัว 】แปลว่า: ก. นำเด็กนักเรียนไปมอบให้อยู่ในความปกครองของ
โรงเรียน เช่น มอบตัวนักเรียน, ยอมตัวให้อยู่ในความควบคุมของ
เจ้าหน้าที่เพื่อสู้คดี เช่น ผู้ร้ายเข้ามอบตัว.
【 มอบหมาย 】แปลว่า: ก. กำชับสั่งเสีย เช่น มอบหมายการงาน, กะให้,
กําหนดให้, เช่น มอบหมายหน้าที่ให้แต่ละคนรับผิดชอบ.
【 มอบอำนาจ 】แปลว่า: (กฎ) ก. มอบหมายให้มีอํานาจจัดการหรือทําการแทน.
【 มอบ ๒ 】แปลว่า: น. เครื่องสานสําหรับสวมปากวัวปากควายเพื่อกันไม่ให้กินต้นกล้าและสวมปากม้า
เพื่อกันม้ากัด.
【 มอบ ๓ 】แปลว่า: ก. ทําให้แน่นหรือให้เรียบด้วยการหุ้มหรือขลิบตามริม เช่น มอบปาก
กระทง. น. ไม้ที่ตีเป็นขอบตามแนวเพดานห้องทั้ง ๔ ด้านเพื่อให้ดู
เรียบร้อยหรือเพื่อทับรอยต่อตอนมุมที่ฝาเรือน ๒ ด้านมาบรรจบกัน
หรือไม้ที่ตีประกบด้านนอกของกราบเรือทั้ง ๒ ด้าน เรียกว่า ไม้มอบ.
【 มอม ๑ 】แปลว่า: ว. เปื้อนด้วยสีมัว ๆ ดํา ๆ เช่น หน้ามอม. ก. ทําให้เปื้อนด้วยสีมัว ๆ
ดํา ๆ เช่น มอมหน้า; ทําให้เสียชื่อเสียง, ทําให้มัวหมอง; ทําให้เสีย
สติด้วยของมึนเมามีเหล้าเป็นต้น เช่น มอมเหล้า มอมกัญชา.
【 มอมเมา 】แปลว่า: ก. ทําให้หลงผิด, ทําให้หมกมุ่นในทางที่ผิด.
【 มอมแมม 】แปลว่า: ว. เปื้อนเปรอะ, สกปรก, เช่น เนื้อตัวมอมแมม.
【 มอมหน้า, มอมหน้ามอมตา 】แปลว่า: ก. เอามินหม้อเป็นต้นละเลงบนหน้า
เพื่อไม่ให้คนอื่นจำหน้าได้.
【 มอมเหล้า 】แปลว่า: ก. ล่อให้กินเหล้าจนเมาครองสติไม่ได้.
【 มอม ๒ 】แปลว่า: น. เรียกรูปสัตว์ในนิยายที่มักสักตามร่างกาย ส่วนใหญ่เป็นรูปสิงห์.
【 ม่อย 】แปลว่า: ก. เคลิ้มหลับไปชั่วครู่ เช่น ม่อยไปหน่อยหนึ่ง. ว. เรียกอาการที่มีสีหน้าสลดแสดงว่า
เสียใจว่า หน้าม่อย.
【 ม่อยกระรอก 】แปลว่า: (ปาก) ก. หลับ; ตาย.
【 มอร์ฟีน 】แปลว่า: น. สารประกอบอินทรีย์ประเภทแอลคาลอยด์ มีสูตร C17H19O3N
ลักษณะเป็นผลึกสีขาว หลอมละลายที่ ๒๕๔ ? ซ. มีในฝิ่น เป็น
ยาเสพติดอย่างแรง ทางแพทย์ใช้เกลือไฮโดรคลอไรด์หรือเกลือ
แอซีเทต หรือเกลือซัลเฟตของมอร์ฟีนเป็นยาระงับความปวด.
(อ. morphine).
【 มอระกู่ 】แปลว่า: น. หม้อสูบยาของชาวอาหรับ. (ช.).
【 มอลโทส 】แปลว่า: (วิทยา) น. นํ้าตาลชนิดหนึ่งประเภทไดแซ็กคาไรด์ ลักษณะเป็น
ของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๑๖๐-๑๖๕ ? ซ. องค์ประกอบเป็น
กลูโคส ๒ โมเลกุลเชื่อมกัน เกิดขึ้นเนื่องจากเอนไซม์ไดแอสเทส ซึ่ง
นํ้ามีในข้าวมอลต์ ทําปฏิกิริยากับแป้ง มีรสหวานน้อยกว่าตาลทราย.
(อ. maltose).
【 ม่อลอกม่อแลก 】แปลว่า: ว. เปื้อน ๆ เปรอะ ๆ, เลอะ ๆ เทอะ ๆ, เช่น เนื้อตัวเปียกฝนม่อลอกม่อแลก,
【 มะลอกมะแลก ก็ว่า. 】แปลว่า:
【 ม่อห้อม, ม่อฮ่อม 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) /ดู หม้อห้อม/.
【 มะ ๑ 】แปลว่า: คํานําหน้าต้นไม้หรือผลไม้บางอย่าง กร่อนมาจากคํา “หมาก” โบราณแปลว่า
ลูกไม้, ผลไม้.
【 มะ ๒ 】แปลว่า: น. นาย (ใช้นําหน้าชื่อคน). (ต.).
【 มะกรูด 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Citrus hystrix/ DC. ในวงศ์ Rutaceae ผลขรุขระ รสเปรี้ยว
ผิวและใบมีกลิ่นหอมฉุน ใช้แต่งกลิ่นและรสอาหาร ใช้ทํายาได้.
【 มะกล่ำ 】แปลว่า: น. ชื่อพรรณไม้ ๓ ชนิดในวงศ์ Leguminosae คือ มะกลํ่าตาช้าง
หรือ มะกลํ่าต้น (/Adenanthera pavonina/ L.) เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่
ฝักแก่บิดเป็นวง เมล็ดแข็งสีแดงใช้ทํายาได้, พายัพเรียก กํ่าต้น;
มะกลํ่าตาหนู หรือ มะกลํ่าเครือ (/Abrus precatorius/ L.) เป็นไม้เถา
ฝักแก่ไม่บิด เมล็ดสีแดงจุดดํา มีพิษ รากและใบใช้ทํายาได้, พายัพเรียก
กํ่าเคือ; อีกชนิดหนึ่งคือ มะกล่ำเผือก (/A. fruticolosus/ wall. ex wight et
Arnu.) คล้ายมะกล่ำตาหนูแต่เมล็ดสีขาว.
【 มะกอก 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด /Spondias pinnata/ (L.f.) Kurz ในวงศ์
Anacardiaceae ใบอ่อนมีรสเปรี้ยว ใช้เป็นผักดิบ ผลขนาดลูกหมากดิบ
เมื่อสุกมีรสเปรี้ยวเจือฝาด ใช้ปรุงอาหาร รากและเมล็ดใช้ทํายาได้,
มะกอกบ้าน หรือ มะกอกป่า ก็เรียก.
【 มะกอกฝรั่ง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด /Spondias cytherea/ Sonn.
ในวงศ์ Anacardiaceae ผลใหญ่ เนื้อหนากรอบ กินดิบ ๆ ได้.
【 มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก 】แปลว่า: (สํา) ก. พูดจาตลบตะแลงพลิกแพลง
ไปมาจนจับคําพูดไม่ทัน. น. คนกลับกลอก.
【 มะกอกน้ำ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด /elaeocarpus hygrophilus/ Kurz ในวงศ์
Elaeocarpaceae มักขึ้นริมนํ้า ผลเล็กรี รสเปรี้ยวฝาด ใช้ดองเป็นอาหาร.
【 มะกอกบ้าน, มะกอกป่า 】แปลว่า: /ดู มะกอก/.
【 มะกอกพราน 】แปลว่า: /ดู กระเบียน (๒)/.
【 มะก่อง 】แปลว่า: /ดู ค้างคาว ๒ (๑)/.
【 มะกะโรนี 】แปลว่า: น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทําจากแป้งสาลีเป็นเส้นกลวงยาวหรือเป็นรูป
อื่น ๆ เวลาจะนํามาปรุงต้องต้มให้สุก มักใช้ผัดหรือทำแกงจืด,
มักกะโรนี ก็เรียก. (อ. macaroni).
【 มะกา 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด /Bridelia ovata/ Decne. ในวงศ์ Euphorbiaceae
【 ใบใช้ทํายาได้. 】แปลว่า:
【 มะเกลือ 】แปลว่า: [-เกฺลือ] น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด /Diospyros mollis/ Griff.
ในวงศ์ Ebenaceae แก่นดํา ผลดิบใช้ย้อมผ้าให้เป็นสีดําและใช้ทํายาได้.
【 มะเกี๋ยง 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด /Cleistocalyx operculatus/
【 (Roxb.) Merr. 】แปลว่า:
et L.M. Perry var. /paniala/ (Roxb.) P. Chantaranothai et J. Parn. ในวงศ์
Myrtaceae ผลสุกสีม่วงดํา กินได้.
【 มะข่วง 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นกําจัด. /(ดู กําจัด ๑)./
【 มะขวิด 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด /Feronia limonia/ (L.)
Swing. ในวงศ์ Rutaceae ต้นและกิ่งมีหนาม ผลกลม เปลือกแข็ง
กินได้ ยางใช้ทํายาได้.
【 มะขาม 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด /Tamarindus indica/ L. ในวงศ์ Leguminosae
【 ฝักมีรสเปรี้ยว 】แปลว่า:
ใช้ปรุงอาหารและทํายาได้, พันธุ์ฝักแบนใหญ่เรียก มะขามกระดาน, พันธุ์ฝักเล็กเรียก
มะขามขี้แมว, พันธุ์ฝักมีรสหวานเรียก มะขามหวาน.
【 มะขามคราบหมู 】แปลว่า: น. มะขามฝักที่จวนจะแก่.
【 มะขามเทศ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Pithecellobium dulce/ (Roxb.) Benth. ในวงศ์
【 Leguminosae 】แปลว่า:
ลําต้นและกิ่งมีหนาม ฝักกินได้.
【 มะขามเปียก 】แปลว่า: น. เนื้อมะขามเปรี้ยวที่แก่เกราะ นํามาปั้นเป็นก้อนเก็บไว้ใช้ปรุงอาหาร.
【 มะขามป้อม 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด /Phyllanthus emblica/ L. ในวงศ์
【 Euphorbiaceae ผลกลม 】แปลว่า:
รสเปรี้ยวฝาด เมล็ดแข็ง ผลใช้ทํายาได้.
【 มะเขือ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล /Solanum/ วงศ์ Solanaceae ที่ผลกินได้คือ ชนิด
/S. melongena/ L. ผลกลม ๆ มีหลายพันธุ์ เช่น มะเขือไข่เต่า มะเขือเจ้าพระยา มะเขือละโว้,
มะเขือยาว [/S. melongena/ L. var. /serpentinum/ (Desf.) Bailey] ผลยาว
【 มีหลายสี, 】แปลว่า:
ชนิดที่ผลกินไม่ได้ คือ มะเขือขื่น (/S. aculeatissimum/ Jacq.) รากใช้ทํายาได้.
【 มะเขือเทศ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Lycopersicum esculentum/ Miller ในวงศ์ Solanaceae
ผลกินได้.
【 มะเขือพวง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Solanum torvum/ Sw. ในวงศ์ Solanaceae ผลกินได้,
อีสานเรียก หมากแข้ง.
【 มะเขือทวาย, มะเขือมอญ 】แปลว่า: /ดู กระเจี๊ยบ/.
【 มะแข่น 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด /Zanthoxylum budrunga/
Wall. ex Hook.f. ในวงศ์ Rutaceae มีลักษณะทั่วไปคล้ายกําจัดหรือมะข่วง
[/Z. rhetsa/ (Roxb.) DC.] ต่างกันที่ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๓-๕ มิลลิเมตร
มีกลิ่นฉุนจัด เมล็ดกลม สีนํ้าตาลเข้ม ใช้ผลแห้งเป็นเครื่องเทศหรือตําผสมเป็น
เครื่องแกงเพื่อชูรส, พริกหอม ลูกระมาศ หรือ หมากมาศ ก็เรียก.
【 มะคะ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด /Cynometra ramiflora/ L. ในวงศ์ Leguminosae
ใบอ่อนสีขาว ใบแก่สีเขียวแก่ ผลแข็ง.
【 มะคังแดง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด /Gardenia erythroclada/ Kurz ในวงศ์ Rubiaceae
ลําต้นมีหนาม เปลือกสีแดง ใช้ทํายาได้.
【 มะค่า 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด /Afzelia xylocarpa/ Craib ในวงศ์
Leguminosae ใบคล้ายใบประดู่ ฝักแบน หนา แข็ง เนื้อไม้สีนํ้าตาล
อมแดง ใช้ในการก่อสร้าง, มะค่าโมง หรือ มะค่าใหญ่ ก็เรียก.
【 มะค่าแต้ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด /Sindora siamensis/ Teijsm.
ex Miq. ในวงศ์ Leguminosae ใบเป็นใบประกอบ ใบย่อยคู่ปลาย
ใหญ่กว่าคู่อื่น ฝักแบนค่อนข้างบาง มีหนามแหลมทั้ง ๒ ด้าน เนื้อไม้
สีนํ้าตาลเข้ม, มะค่าหนาม ก็เรียก, อีสานเรียก แต้.
【 มะค่าโมง, มะค่าใหญ่ 】แปลว่า: /ดู มะค่า/.
【 มะค่าหนาม 】แปลว่า: /ดู มะค่าแต้ ที่ มะค่า/.
【 มะคำไก่ 】แปลว่า: /ดู ประคําไก่/.
【 มะคำดีควาย 】แปลว่า: /ดู ประคําดีควาย/.
【 มะงัน 】แปลว่า: /ดู กะอวม/.
【 มะงั่ว 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด /Citrus ichangensis/ Swing. ในวงศ์ Rutaceae
ผลคล้ายส้มโอ รสเปรี้ยวจัด ใช้ประสมกับขมิ้นเพื่อย้อมผ้า.
【 มะงุมมะงาหรา 】แปลว่า: [-หฺรา] ก. เที่ยวป่า เช่น ก็จะพาดวงใจไคลคลา ไปมะงุมมะงาหรา
สำราญ. (อิเหนา). (ช.); (ปาก) ก. อาการที่ดั้นด้นไปโดยไม่รู้ทิศทาง,
โดยปริยายหมายถึงงุ่มง่าม.
【 มะซัก 】แปลว่า: /ดู ประคําดีควาย/.
【 มะซาง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Madhuca pierrei/ (Williams) Lam ในวงศ์ Sapotaceae
ผลขนาดหมากดิบ สีเขียว มียางมาก รสหวานเย็น.
【 มะซ่าน 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Dillenia aurea/ Smith ในวงศ์ Dilleniaceae ผลเป็นพู
มีเมือกมาก.
【 มะดะขี้นก 】แปลว่า: /ดู พะวา/.
【 มะดัน 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Garcinia schomburgkiana/ Pierre ในวงศ์ Guttiferae
ผลสีเขียว รสเปรี้ยวจัด กิ่งอ่อนใช้ทํายาได้เรียก รกมะดัน.
【 มะดา 】แปลว่า: น. ดวงตา. (ช. มะตา).
【 มะดีหวี 】แปลว่า: น. มะเดหวี.
【 มะดูก 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้ต้นชนิด /Beilschmiedia roxburghiana/ Nees ในวงศ์
Lauraceae ดอกสีขาวอมเขียว อับเรณูสีแดง. (๒) ชื่อไม้ต้นชนิด
/Siphonodon celastrineus/ Griff. ในวงศ์ Celastraceae ดอกสีเหลืองมี
ขีดหรือจุดประสีนํ้าตาลแดง ผลสุกกินได้ รสหวาน.
【 มะเดหวี 】แปลว่า: [-หฺวี] น. ตําแหน่งพระมเหสีที่ ๒ ของกษัตริย์ชวาในวงศ์อสัญแดหวา,
มะดีหวี ก็ว่า. (ช.; เทียบทมิฬ มาเทวี).
【 มะเดื่อ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล /Ficus/ วงศ์ Moraceae เช่น มะเดื่อปล้อง (/F.
【 hispida/ L.) 】แปลว่า:
ใบสากคาย, มะเดื่ออุทุมพร หรือ มะเดื่อชุมพร (/F. racemosa/ L.) ใบเกลี้ยง ผลกินได้,
มะเดื่อกวาง หรือ ลิ้นกระบือ (/F. callosa/ Willd.) ใบแข็งหนา.
【 มะเดื่อดิน 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด /Ficus chartacea/ Wall. var. /torulosa/ Wall.
ในวงศ์ Moraceae ใบออกสลับกัน ผลออกที่โคนต้นใกล้รากลักษณะ
คล้ายผลมะเดื่อ. (๒) ชื่อไม้เถาชนิด /Aganosma marginata/ G. Don
ในวงศ์ Apocynaceae ใบเป็นมัน ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ดอกสีขาว
ผลเป็นฝัก.
【 มะต้อง 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นกระท้อน. /(ดู กระท้อน ๑)/.
【 มะตะบะ 】แปลว่า: น. ชื่ออาหารอย่างมุสลิมชนิดหนึ่ง คล้ายโรตี แต่มีไส้ทําด้วย
เนื้อหรือไก่ผัดกับหอมหัวใหญ่ใส่เครื่องเทศ กินกับอาจาด.
【 มะตาด ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Dillenia indica/ L. ในวงศ์ Dilleniaceae ใบใหญ่
ผลกลม ๆ มียางเป็นเลือก ใช้เป็นผัก.
【 มะตาด ๒ 】แปลว่า: น. ดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง ทําด้วยกระบอกไม้บรรจุดินปืนจุดแล้วมีสีต่าง ๆ.
【 มะตาหะรี 】แปลว่า: น. ดวงอาทิตย์. (ช.).
【 มะตี 】แปลว่า: ก. ตาย. (ช.; ส. มฺฤติ).
【 มะตึ่ง 】แปลว่า: /ดู ตูมกา/.
【 มะตื๋น 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นกระท้อน. /(ดู กระท้อน ๑)./
【 มะตูม 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้ต้นชนิด /Aegle marmelos/ (L.) Corr?a ในวงศ์ Rutaceae
ต้นและกิ่งมีหนาม ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ นิยมใช้ในการ
มงคล ผลกลมทุย รสหวานเจือเผ็ด ใช้ทํายาได้. (๒) ชื่อมะม่วงพันธุ์
หนึ่งของชนิด /Mangifera indica/ L.
【 มะแตก 】แปลว่า: /ดู กระทงลาย/.
【 มะโต 】แปลว่า: น. ตำแหน่งพระมเหสีที่ ๓ ของกษัตริย์ชวาในวงศ์อสัญแดหวา.
【 มะนาว 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Citrus aurantifolia/ Swing. ในวงศ์ Rutaceae
ผลเล็ก ๆ รสเปรี้ยว ใช้ปรุงอาหาร.
【 มะนาวเทศ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Triphasia trifolia/ (Burm.f.) P. Wils.
ในวงศ์ Rutaceae ต้นมีหนาม ใบเล็ก ผลคล้ายตะขบฝรั่ง แต่ผิวคล้ายส้ม
เมื่อสุกเนื้อในเป็นยาง รสหวานเจือเผ็ด.
【 มะนาวไม่รู้โห่ 】แปลว่า: /ดู หนามแดง (๒)/.
【 มะปราง 】แปลว่า: [-ปฺราง] น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Bouea macrophylla/ Griff. ในวงศ์
Anacardiaceae ใบคล้ายใบมะม่วงแต่เล็กกว่า ปลายใบแหลม
ผลสุกสีเหลืองอมแดง พันธุ์รสเปรี้ยวจัดเรียก กาวาง, พันธุ์รสเปรี้ยว ๆ
หวาน ๆ เรียก มะยง, พันธุ์รสหวานแหลมเรียก มะยงชิด.
【 มะปริง 】แปลว่า: [-ปฺริง] น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Bouea oppositifolia/ (Roxb.) Meisn.
ในวงศ์ Anacardiaceae คล้ายมะปรางแต่ผลมีรสเปรี้ยว.
【 มะป่อง 】แปลว่า: /ดู พะวา/.
【 มะป่องต้น 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Garcinia succifolia/ Kurz ในวงศ์ Guttiferae
ผลและเนื้อคล้ายมังคุดแต่เล็กกว่า กินได้.
【 มะฝ่อ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้ต้นชนิด /Trewia nudiflora/ L. ในวงศ์ Euphorbiaceae
ผลกลม ๆ ใบคล้ายใบโพแต่บางและมีขน. (๒) ชื่อลําไยพันธุ์หนึ่ง.
【 มะพร้าว 】แปลว่า: [-พฺร้าว] น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Cocos nucifera/ L. ในวงศ์ Palmae ผลใช้ทํานํ้ามัน
และปรุงอาหารต่าง ๆ.
【 มะพร้าวแก้ว 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยมะพร้าวขูดเป็นเส้นหยาบ ๆ ฉาบนํ้าตาล.
【 มะพร้าวตื่นดก 】แปลว่า: (สํา) ก. เห่อหรือตื่นเต้นในสิ่งที่ตนไม่เคยมีไม่เคยได้จนเกินพอดี,
มักพูดเข้าคู่กับ ยาจกตื่นมี ว่า มะพร้าวตื่นดก ยาจกตื่นมี.
【 มะพร้าวทึนทึก, มะพร้าวทึมทึก 】แปลว่า: น. มะพร้าวจวนแก่.
【 มะพร้าวทุย 】แปลว่า: น. ผลมะพร้าวที่เจริญเติบโตตามปรกติจนเปลือกแห้ง รูปรี ๆ กะลาลีบ
นํ้าหนักเบา เพราะไม่มีเนื้อและนํ้า นิยมตัดครึ่งท่อนเพื่อทํากราดวงถูบ้านเป็นต้น.
【 มะพร้าวห้าว 】แปลว่า: น. ผลมะพร้าวที่แก่จัด.
【 มะพลับ 】แปลว่า: [-พฺลับ] /ดู พลับ/.
【 มะพูด ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Garcinia dulcis/ Kurz ในวงศ์ Guttiferae ใบใหญ่ หนาเป็นมัน
ผลกลมเป็นพู ๆ รสเปรี้ยวอมหวาน.
【 มะพูด ๒ 】แปลว่า: ว. ชื่อสีเขียวใบไม้แก่.
【 มะแพน 】แปลว่า: /ดู มะแฟน/.
【 มะแพร้ว 】แปลว่า: /ดู แพร้ว ๒/.
【 มะเฟือง ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Averrhoa carambola/ L. ในวงศ์ Oxalidaceae
【 ผลเป็นเฟือง ๆ 】แปลว่า:
รสเปรี้ยวบ้างหวานบ้าง.
【 มะเฟือง ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อเต่าทะเลชนิด /Dermochelys coriacea/ ในวงศ์ Dermochelyidae
【 กระดองหลัง 】แปลว่า:
เป็นสันคล้ายมะเฟือง เป็นเต่าที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน, เต่าเหลี่ยม ก็เรียก.
【 มะแฟน 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด /Protium serratum/ Engl. ในวงศ์
【 Burseraceae, 】แปลว่า:
มะแพน หรือ กะแทน ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก กะตีบ.
【 มะไฟ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Baccaurea ramiflora/ Lour. ในวงศ์ Euphorbiaceae
【 ผลกลมออกเป็นพวง 】แปลว่า:
รสเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ.
【 มะไฟเดือนห้า 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Excoecaria oppositifolia/ Griff. ในวงศ์
【 Euphorbiaceae 】แปลว่า:
ใช้ทํายาได้ ยางเป็นพิษ.
【 มะม่วง ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นในสกุล /Mangifera/ วงศ์ Anacardiaceae มีหลายชนิดและหลายพันธุ์
【 เช่น 】แปลว่า:
อกร่อง พิมเสน ซึ่งเป็นชนิด /M. indica/ L., กะล่อน หรือ ขี้ไต้ เป็นชนิด /M.
【 caloneura/ Kurz 】แปลว่า:
ใบอ่อนและผลใช้เป็นอาหาร.
【 มะม่วงหิมพานต์ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Anacardium occidentale/ L.ในวงศ์ Anacardiaceae
ผลรูปคล้ายไต เปลือกแข็ง มีเมล็ดอยู่ภายในคั่วแล้วกินได้ ยางเป็นพิษ ก้านผลอวบนํ้า
ลักษณะคล้ายผลชมพู่, คนทั่ว ๆ ไปมักเข้าใจว่าก้านผลนี้คือ ผล ส่วนผลรูปคล้ายไตคือ เมล็ด.
【 มะม่วง ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อฝีที่โคนขาหนีบ เกิดจากต่อมนํ้าเหลืองได้รับการติดเชื้อกามโรค
ชนิด /Lymphogranuloma venereum/ เรียกว่า ฝีมะม่วง.
【 มะม่าว 】แปลว่า: (กลอน) ก. เมื่อยล้า, อ่อนเพลีย. ว. เผือด, เศร้า.
【 มะมี่ 】แปลว่า: (กลอน) ก. มี่, อึงมี่, เอิกเกริก, แซ่, อึกทึก.
【 มะมื่น 】แปลว่า: /ดู กระบก/.
【 มะมุด 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Mangifera foetida/ Lour. ในวงศ์ Anacardiaceae
มีในภาคใต้ ต้นและใบคล้ายมะม่วง ผลดิบรสเปรี้ยวจัด สุกรสหวาน
อมเปรี้ยว, มุด ก็เรียก.
【 มะเมอ 】แปลว่า: ก. ละเมอ.
【 มะเมีย 】แปลว่า: น. ชื่อปีที่ ๗ ของรอบปีนักษัตร มีม้าเป็นเครื่องหมาย.
【 มะเมื่อย, มะเหมื่อย 】แปลว่า: (กลอน) ว. เรื่อย ๆ, มาเนือง ๆ, มาติด ๆ กัน, ใช้ เหมื่อย ๆ ก็ได้.
【 มะแม 】แปลว่า: น. ชื่อปีที่ ๘ ของรอบปีนักษัตร มีแพะเป็นเครื่องหมาย.
【 มะยง 】แปลว่า: น. ชื่อมะปรางพันธุ์หนึ่ง รสเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ.
【 มะยงชิด 】แปลว่า: น. ชื่อมะปรางพันธุ์หนึ่ง รสหวานแหลม.
【 มะยม 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Phyllanthus acidus/ (L.) Skeels ในวงศ์ Euphorbiaceae
ผลกลมเป็นเฟือง ๆ รสเปรี้ยว.
【 มะระ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด /Momordica charantia/ L. ในวงศ์ Cucurbitaceae
ผลขรุขระ รสขม กินได้, ผักไห่ ก็เรียก.
【 มะริด 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Diospyros philippensis/ (Desr.) G?rke. ในวงศ์
Ebenaceae แก่นดํา ใช้ทําสิ่งของต่าง ๆ เช่น หีบ.
【 มะรืน 】แปลว่า: น. วันถัดจากวันพรุ่งนี้ไปวันหนึ่ง.
【 มะรุม 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Moringa oleifera/ Lam. ในวงศ์ Moringaceae ฝักยาว กินได้.
(เทียบทมิฬ มุรุงไก).
【 มะรุมมะตุ้ม 】แปลว่า: ว. กลุ้มรุมทําให้เกิดรําคาญ เช่น เจ้าหนี้มามะรุมมะตุ้มทวงหนี้กัน, มารุมมาตุ้ม ก็ว่า.
【 มะเร็ง 】แปลว่า: น. เนื้องอกชนิดร้าย เกิดขึ้นเพราะเซลล์แบ่งตัวอย่างรวดเร็ว ควบคุมไม่ได้
แล้วแทรกไปตามเนื้อเยื่อข้างเคียง และสามารถหลุดจากแหล่งเริ่มต้นไปแบ่งตัว
เพิ่มจำนวนที่บริเวณอื่น ๆ ได้ รักษาไม่ค่อยหาย. (อ. cancer).
【 มะเร็งกรามช้าง 】แปลว่า: น. โรคมะเร็งชนิดหนึ่ง ขึ้นที่แถวกราม มีอาการเป็นเนื้อร้ายงอก
ขึ้นที่ต่อมแถวก้านคาง ทำให้ขากรรไตรพองโตใหญ่ออกมา.
【 มะเรื่อง 】แปลว่า: น. วันถัดจากวันมะรืนไปวันหนึ่ง.
【 มะโรง 】แปลว่า: น. ชื่อปีที่ ๕ ของรอบปีนักษัตร มีงูใหญ่เป็นเครื่องหมาย.
【 มะลอกมะแลก 】แปลว่า: ว. ม่อลอกม่อแลก.
【 มะละกอ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Carica papaya/ L. ในวงศ์ Caricaceae ใบหยักหยาบ ๆ
【 ก้านยาว ผลกินได้. 】แปลว่า:
【 มะลารอกัน 】แปลว่า: น. มะลิซ้อน. (ช.).
【 มะลำ, มาลำ 】แปลว่า: น. เวลาคํ่ามืด, กลางคืน. (ช.).
【 มะลิ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Jasminum sambac/ (L.) Ait. ในวงศ์ Oleaceae ดอกสีขาว
【 กลิ่นหอมเย็น, 】แปลว่า:
พันธุ์ดอกซ้อนเรียก มะลิซ้อน. (เทียบ ส. มลฺลิ).
【 มะลิซ่อม 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด /Jasminum multiflorum/ (Burm.f.) Andr.
ในวงศ์ Oleaceae ในวรรณคดีเรียก มะลุลี.
【 มะลิ ๒ 】แปลว่า: /ดู กล้วย ๒/.
【 มะลิน 】แปลว่า: (โบ) น. ต้นกระบก.
【 มะลิ่ม 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทย มีหลายชนิด.
【 มะลิลอย 】แปลว่า: /ดูใน กินสี่ถ้วย/.
【 มะลิเลื้อย 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 มะลิอ่อง 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. กล้วยนํ้าว้า. /(ดู นํ้าว้า)./
【 มะลื่น 】แปลว่า: /ดู กระบก/.
【 มะลืมดำ 】แปลว่า: /ดู กระไดลิง ๒/.
【 มะลุลี 】แปลว่า: /ดู มะลิซ่อม ที่ มะลิ ๑/.
【 มะวาร, มาวาร 】แปลว่า: น. กุหลาบ. (ช.).
【 มะแว้ง 】แปลว่า: น. ชื่อพรรณไม้หลายชนิดในสกุล /Solanum/ วงศ์ Solanaceae
ที่เป็นไม้พุ่มเรียก มะแว้งต้น เช่น ชนิด /S. sanitwongsei/ Craib, ที่เป็น
เถาเรียก มะแว้งเครือ (/S. trilobatum/ L.), ทั้ง ๒ ชนิดผลเล็กเป็นพวง
กินได้ และใช้ทํายาได้, อีสานเรียก หมากแข้ง.
【 มะสัง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Feroniella lucida/ (R. Scheffer) Swing. ในวงศ์
【 Rutaceae กิ่งมีหนาม 】แปลว่า:
ใบคล้ายใบมะขวิด แต่ผลเล็กกว่า รสเปรี้ยว, อีสานเรียก กะสัง หรือ สัง.
【 มะเส็ง 】แปลว่า: น. ชื่อปีที่ ๖ ของรอบปีนักษัตร มีงูเล็กเป็นเครื่องหมาย.
【 มะหลิ่ม 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง, บหลิ่ม ปลิม ปลิ่ม ประหลิ่ม ปะวะหลิ่ม หรือ ปะหลิ่ม ก็ว่า.
【 มะหวด 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมชนิด /Lepisanthes rubiginosa/ (Roxb.) Leenh.
ในวงศ์ Sapindaceae ผลออกเป็นช่อ สุกสีเหมือนลูกหว้า กินได้ รสหวานปะแล่ม ๆ,
ปักษ์ใต้เรียก กําชํา หรือ กําซํา.
【 มะหะหมัด 】แปลว่า: น. นามศาสดาของศาสนาอิสลาม, มุฮัมมัด ก็เรียก.
【 มะหัล 】แปลว่า: ว. แพง; หายาก. (ช.).
【 มะหาด 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล /Artocarpus/ วงศ์ Moraceae
เช่น ชนิด /A. lakoocha/ Roxb. ผลกลม ผิวขรุขระคล้ายขนุน แต่เล็กกว่ามาก
รสเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ แก่นใช้ทํายาได้.
【 มะหิ่ง, หมากหิ่ง 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) น. ลูกกระพรวน.
【 มะเหงก 】แปลว่า: [-เหฺงก] น. ด้านหลังของข้อนิ้วมือที่งอเข้าด้วยกัน ใช้สําหรับเขกหรือชูให้ประกอบ
คํากล่าวแสดงความโกรธเป็นต้น เช่น ใช้มะเหงกเขกหัว ให้มะเหงก.
【 มะอึก 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Solanum stramonifolium/ Jacq. ในวงศ์ Solanaceae ต้นมีหนาม
ใบและผลเป็นขน ผลกลม สุกสีเหลือง ใช้ผสมนํ้าพริกหรือแกงก็ได้.
【 มะฮอกกานี 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล /Swietenia/ วงศ์ Meliaceae คือ มะฮอกกานีใบใหญ่
(/S. macrophylla/ King) และ มะฮอกกานีใบเล็ก [/S. mahogani/ (L.) Jacq.],
ทั้ง ๒ ชนิดเนื้อไม้ใช้ทําเครื่องเรือนได้ดี.
【 มัก 】แปลว่า: ก. ชอบ, พอใจ, เช่น เลือกที่รักมักที่ชัง. ว. โดยมาก, ค่อนข้าง, เนือง ๆ, เช่น
มักมีอันเป็นไปต่าง ๆ มักเป็นคนขี้ลืม.
【 มักคุ้น, มักจี่ 】แปลว่า: ก. ชอบพอกัน, คุ้นเคยกัน, ใช้ว่า รู้จักมักคุ้น รู้จักมักจี่.
【 มักง่าย 】แปลว่า: ก. มีนิสัยชอบเอาแต่ความสะดวกเข้าว่า.
【 มักจะ 】แปลว่า: ว. โดยมาก, ค่อนข้าง, เช่น คนเกิดวันศุกร์มักจะปากหวาน.
【 มักได้ 】แปลว่า: ก. เห็นแก่ได้.
【 มักน้อย 】แปลว่า: ก. ปรารถนาน้อย, สันโดษ.
【 มักมาก 】แปลว่า: ก. โลภมาก, ปรารถนามาก (ใช้เฉพาะในทางกามคุณ).
【 มักใหญ่ 】แปลว่า: ก. ใฝ่สูง อยากเป็นใหญ่เป็นโต, มักใช้เข้าคู่กับคํา ใฝ่สูง เป็น มักใหญ่ใฝ่สูง.
【 มักกะโรนี 】แปลว่า: น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งสาลีเป็นเส้นกลวงยาวหรือเป็นรูป
อื่น ๆ เวลาจะนำมาปรุงต้องต้มให้สุก มักใช้ผัดหรือทำแกงจืด,
มะกะโรนี ก็เรียก. (อ. macaroni).
【 มักกะลีผล 】แปลว่า: (โบ) น. ชื่อต้นไม้ในนิยาย ว่ามีอยู่ที่ป่าหิมพานต์ ออกผลเป็นรูปหญิง
สาวงดงามห้อยย้อยเป็นระย้า ผลเมื่อครบ ๗ วันก็เน่า, นารีผล ก็เรียก.
【 มักกะสัน 】แปลว่า: น. ชื่อชนชาติชาวอินโดนีเซียในมากัสซาร์ตอนใต้เกาะเซเลบีส, โดยปริยายหมาย
ความว่า มีรูปร่างใหญ่โต ดุร้าย น่าเกลียดน่ากลัว เช่น รูปร่างอย่างกับยักษ์มักกะสัน.
【 มักขะ 】แปลว่า: น. ความลบหลู่คุณท่าน (เป็นประการหนึ่งในอุปกิเลส ๑๖). (ป.).
【 มั่กขั้ก 】แปลว่า: ว. ลํ่า (มักใช้แก่คำอ้วน).
【 มักขิกา, มักขิกาชาติ 】แปลว่า: น. แมลงวัน. (ป.).
【 มักฏกะ 】แปลว่า: มักกะตะกะ น. แมงมุม. (ป. มกฺกฏก; ส. มรฺกฏก).
【 มักฏะ 】แปลว่า: มักกะตะ น. ลิง. (ป. มกฺกฏ; ส. มรฺกฏ).
【 มัค-, มัคคะ 】แปลว่า: มักคะ- น. ทาง. (ดู มรรค). (ป. มคฺค; ส. มรฺค).
【 มัคนายก 】แปลว่า: น. “ผู้นําทาง” คือ ผู้จัดการทางกุศล หรือผู้ชี้แจงทางบุญ
【 มัคนายก 】แปลว่า: ทางกุศลและป่าวประกาศให้ประชาชนมาทำบุญทำกุศลในวัด.
(ป. มคฺค + นายก).
【 มัคคุเทศก์ 】แปลว่า: น. ผู้นําทาง, ผู้ชี้ทาง, ผู้บอกทาง; ผู้นําเที่ยว. (ป. มคฺค + อุทฺเทสก).
【 มัคสิระ 】แปลว่า: [-คะสิระ] น. ชื่อเดือนที่ ๑ แห่งจันทรคติ, เดือนอ้ายตกราวเดือนธันวาคม.
(ป. มคฺคสิร, มาคสิร; ส. มารฺคศิรสฺ).
【 มัฆวา, มัฆวาน 】แปลว่า: น. พระอินทร์. (ป. มฆวา, มฆวนฺตุ; ส. มฆวนฺ).
【 มั่ง 】แปลว่า: ก. มี, มีมาก. (ปาก) ว. บ้าง เช่น ขอมั่งซี.
【 มั่งคั่ง 】แปลว่า: ว. มีทรัพย์มากมาย, มีทรัพย์ล้นเหลือ, มีทรัพย์มาก.
【 มั่งมี 】แปลว่า: ว. มีเงินมาก.
【 มั่งมีในใจ แล่นใบบนบก 】แปลว่า: (สํา) ก. คิดฝันในเรื่องที่เป็นไปไม่ได้, คิดสมบัติบ้า,
สร้างวิมานในอากาศ.
【 มังกง 】แปลว่า: น. ชื่อปลาชนิด /Mystus gulio/ ในวงศ์ Bagridae ไม่มีเกล็ด มีหนวดยาว ๔ คู่
【 หัวแบนลง 】แปลว่า:
ปากอยู่ตํ่าที่ตอนปลายของหัว ครีบหลังตอนที่ ๒ ซึ่งเป็นแผ่นเนื้อมีขนาดเล็ก ลําตัวและ
ครีบมีเพียงพื้นสีนํ้าตาลคลํ้าหรือเทาดํามีชุกชุมทั่วไปตามแหล่งนํ้าจืดใกล้ทะเล บางครั้งจับได้
ในนํ้ากร่อยขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, แขยงหนู ก็เรียก.
【 มังกร ๑ 】แปลว่า: น. สัตว์ในนิยายจีน รูปร่างคล้ายงู แต่มีตีน มีเขา; ชื่อกลุ่มดาวรูปมังกร
เรียกว่า ราศีมังกร เป็นราศีที่ ๙ ในจักรราศี.
【 มังกร ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาไหลทะเลในสกุล /Muraenesox/ วงศ์ Muraenesocidae
ลําตัวยาวทรงกระบอก ส่วนหางแบนข้าง ไม่มีเกล็ด ปากกว้าง
จะงอยปากบนยาวลํ้ากรามล่าง ฟันคม แข็งแรง ครีบอกใหญ่
พื้นลําตัวและครีบสีนํ้าตาลอ่อนปนเหลืองหรือคลํ้า ด้านท้องสีขาว
ขอบครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางสีดํา ขนาดยาวได้ถึง ๑.๕ เมตร,
ยอดจาก เงี้ยว หลด หรือ ไหล ก็เรียก.
【 มังกร ๓ 】แปลว่า: น. กุ้งมังกร. /(ดู หัวโขน ๓)./
【 มังกุ ๑ 】แปลว่า: น. เรือที่มีกระดูกงูใหญ่ รูปเหมือนเรือโขมดยา หัวเป็น ๓ เส้า เช่น
เอาหัวเป็นมังกุ เอาท้ายเป็นมังกร, แต่มักใช้เพี้ยนไปเป็น มงกุฎ.
【 มังกุ ๒ 】แปลว่า: ว. เก้อ, กระดาก. (ป.).
【 มังคละ 】แปลว่า: (แบบ) น. มงคล. (ป., ส.).
【 มังค่า 】แปลว่า: ว. คําประกอบคํา ฝรั่ง ว่า ฝรั่งมังค่า เพี้ยนมาจาก พังคะ ซึ่งเป็นชื่อ
แคว้นเบงกอล.
【 มังคุด 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Garcinia mangostana/ L. ในวงศ์ Guttiferae ผลกลม
【 เมื่อแก่สีแดงคลํ้า 】แปลว่า:
เปลือกมีรสฝาดใช้ทํายาได้ เนื้อในขาว รสหวานอมเปรี้ยว.
【 มังตาน 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Schima wallichii/ (DC.) Korth. ในวงศ์ Theaceae
เปลือกชั้นในระคายผิวหนังทําให้เป็นเม็ดผื่นคัน ใช้เบื่อปลาได้,
ปักษ์ใต้เรียก พันตัน.
【 มังส-, มังสะ, มางสะ 】แปลว่า: น. เนื้อของคนและสัตว์. (ป.).
【 มังสวิรัติ 】แปลว่า: น. การงดเว้นกินเนื้อสัตว์, เรียกอาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์
มีแต่พืชผัก ว่า อาหารมังสวิรัติ.
【 มังสี ๑ 】แปลว่า: น. พานรูปรีใช้รองสังข์รดนํ้าเป็นต้น.
【 มังสี ๒ 】แปลว่า: (กลอน) ว. เนื้องาม, ผิวงาม, เช่น เฉกโฉมแม่มังสี เสาวภาคย์ กูเอย. (นิ. นรินทร์).
【 มังหงัน 】แปลว่า: น. ดอกมะพร้าว. (ช.).
【 มัจจะ 】แปลว่า: น. ผู้ที่ต้องตาย ได้แก่พวกมนุษย์ ดิรัจฉาน. (ป.).
【 มัจจุ 】แปลว่า: น. ความตาย. (ป.; ส. มฺฤตฺยุ).
【 มัจจุราช 】แปลว่า: น. “เจ้าแห่งความตาย” คือ พญายม. (ป.).
【 มัจฉระ 】แปลว่า: ว. ริษยา; ตระหนี่, เห็นแก่ตัว. (ป.; ส. มตฺสร).
【 มัจฉริยะ 】แปลว่า: น. ความตระหนี่. (ป.; ส. มาตฺสรฺย).
【 มัจฉรี 】แปลว่า: น. คนตระหนี่. (ป.; ส. มตฺสรินฺ).
【 มัจฉะ, มัจฉา 】แปลว่า: น. ปลา. (ป. มจฺฉ; ส. มตฺสฺย).
【 มัจฉาชาติ 】แปลว่า: น. พวกปลา.
【 มัช-, มัชชะ 】แปลว่า: [มัดชะ-] น. นํ้าเมา, ของเมา. (ป. มชฺช).
【 มัชวิรัติ 】แปลว่า: น. การงดเว้นของมึนเมา. (ป. มชฺชวิรติ).
【 มัชชาระ 】แปลว่า: [มัดชาระ] น. แมว. (ป.; ส. มารฺชาร).
【 มัชฌ- 】แปลว่า: [มัดชะ-] น. ท่ามกลาง. (ป.; ส. มธฺย).
【 มัชฌันติก- 】แปลว่า: [มัดชันติกะ-] น. เวลาเที่ยงวัน, คู่กับ วิมัชฌันติก ว่า เวลาเที่ยงคืน. (ป.).
【 มัชฌันติกสมัย 】แปลว่า: น. เวลาเที่ยงวัน. (ป.).
【 มัชฌิม- 】แปลว่า: [มัดชิมะ-, มัดชิมมะ-, มัดชิม-] ว. ปานกลาง. (ป. มชฺฌิม).
【 มัชฌิมชนบท 】แปลว่า: น. ในสมัยพุทธกาลหมายถึง ดินแดนส่วนกลางของ
ประเทศอินเดียอันเป็นที่อยู่ของพวกอริยกะ เป็นถิ่นที่อุดมสมบูรณ์
เป็นที่ตั้งนครใหญ่ ๆ เป็นศูนย์กลางการปกครอง และเป็นที่ประชุม
ของนักปราชญ์ คณาจารย์ เจ้าลัทธิต่าง ๆ.
【 มัชฌิมนิกาย 】แปลว่า: น. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๒ แห่งพระสุตตันตปิฎก แปลว่า
หมวดปานกลาง รวบรวมพระสูตรขนาดปานกลางไว้ในหมวดนี้. (ป.).
【 มัชฌิมบุรุษ 】แปลว่า: น. ชายที่มีวัยปานกลาง, ชายที่มีอายุและกำลังปานกลาง.
【 มัชฌิมประเทศ 】แปลว่า: [มัดชิมะ-, มัดชิม-] น. ประเทศอินเดีย, ตามแบบ
หมายถึงอินเดียตอนกลาง.
【 มัชฌิมภูมิ 】แปลว่า: [-พูม] น. ภูมิหรือชั้นของคนชั้นกลาง, ในคณะสงฆ์
หมายถึงภิกษุที่มีพรรษาตั้งแต่ ๕ ถึง ๙, ภิกษุจัดเป็น ๓ ชั้น ชั้นต้น
คือ นวกภูมิ (ชั้นใหม่) มีพรรษาตํ่ากว่า ๕, ชั้นกลาง คือ มัชฌิมภูมิ,
และชั้นสูง คือ เถรภูมิ (ชั้นพระเถระ) มีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป. (ป.).
【 มัชฌิมยาม 】แปลว่า: [มัดชิมะ-, มัดชิมมะ-] น. ยามกลาง, ในบาลีแบ่งคืนเป็น
๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม
ปัจฉิมยาม มัชฌิมยาม กำหนดเวลาตั้งแต่ ๔ ทุ่ม หรือ ๒๒ นาฬิกา
ถึงตี ๒ หรือ ๒ นาฬิกา. (ป.).
【 มัชฌิมวัย 】แปลว่า: [มัดชิมะ-, มัดชิมมะ-] น. วัยกลางคน.
【 มัชฌิมา 】แปลว่า: ว. ปานกลาง, ไม่ยิ่งไม่หย่อน, เช่น พอเป็นมัชฌิมา. (ราชา)
น. นิ้วกลาง เรียกว่า พระมัชฌิมา. (ป.; ส. มธฺยมา).
【 มัชฌิมาปฏิปทา 】แปลว่า: น. ทางสายกลาง. (ป.).
【 มัชฌิมา 】แปลว่า: /ดู มัชฌิม-/.
【 มัชฌิมาปฏิปทา 】แปลว่า: /ดู มัชฌิม-/.
【 มัญจกะ, มัญจา 】แปลว่า: [มันจะกะ, มันจา] น. เตียง, ที่นอน. (ป., ส. มญฺจ, มญฺจก).
【 มัญชิษฐะ, มัญชิษฐา 】แปลว่า: [มันชิดถะ, มันชิดถา] น. ฝาง. (ส.; ป. มญฺเชฏฺ?).
【 มัญชีร- 】แปลว่า: [มันชีระ-] น. กําไลเท้า. (ส.).
【 มัญชุ 】แปลว่า: ว. ไพเราะ. (ป., ส.).
【 มัญชุสา, มัญชูสา 】แปลว่า: น. ลุ้ง, หีบ. (ป.).
【 มัญเชฏฐะ ๑ 】แปลว่า: ว. สีฝาง, สีแสดแก่. (ป.; ส. มญฺชิษฺ?).
【 มัญเชฏฐะ ๒, มัญเชฏฐิกา 】แปลว่า: น. ฝาง. (ป., ส. มญฺชิษฺ?า).
【 มัญเชฏฐิกากร 】แปลว่า: น. ส่วยฝาง. (ป.).
【 มัญเชียร 】แปลว่า: น. กําไลเท้า. (ส. มญฺชีร).
【 มัฏฐะ 】แปลว่า: ว. เกลี้ยง. (ป. มฏฺ?; ส. มฺฤษฺฏ).
【 มัณฑ- 】แปลว่า: น. มณฑ์, ของที่เป็นมัน; นํ้าเมา, สุรา. (ป.; ส. มณฺฑา).
【 มัณฑน-, มัณฑนา 】แปลว่า: [มันทะนะ-] น. เครื่องประดับ; การแต่ง. (ป., ส.).
【 มัณฑนศิลป์ 】แปลว่า: น. ศิลปะการออกแบบและตกแต่งผลิตกรรมหรืองานช่างต่าง ๆ.
【 มัณฑุก- 】แปลว่า: [มันทุกะ-] น. กบ (สัตว์). (ป., ส. มณฺฑูก).
【 มัด 】แปลว่า: ก. ผูกรัดเข้าด้วยกัน, ผูกรัดให้แน่น. น. ลักษณนามเรียกของบางอย่าง
ที่ผูกรัดเข้าด้วยกัน เช่น ไต้มัดหนึ่ง ฟืน ๒ มัด.
【 มัดจำ 】แปลว่า: (กฎ) น. สิ่งที่ให้ไว้เพื่อเป็นพยานหลักฐานว่าได้มีการทําสัญญา
กันขึ้นแล้ว และเพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญานั้นด้วย.
【 มัดเชื้อเพลิง 】แปลว่า: น. คบไฟ, คบเพลิง.
【 มัดมือชก 】แปลว่า: (สํา) ก. บังคับหรือใช้วิธีการใด ๆ ให้อีกฝ่ายหนึ่งตกอยู่ใน
ภาวะจำยอมโดยไม่มีทางต่อสู้.
【 มัดหมี่ 】แปลว่า: น. กรรมวิธีในการทอผ้าอย่างหนึ่ง เอาเชือกมัดด้ายหรือไหม
เป็นเปลาะ ๆ ตามลาย แล้วย้อมสี เมื่อทอแล้วจะได้ลวดลายต่าง ๆ
ตามที่มัดไว้, เรียกผ้าที่ทอด้วยกรรมวิธีเช่นนั้นว่า ผ้ามัดหมี่, หมี่ ก็เรียก.
【 มัดหมู 】แปลว่า: น. ท่ากระโดดนํ้าอย่างหนึ่ง เวลากระโดดงอเข่าทั้ง ๒ ขึ้นมา แล้วเอา
มือทั้ง ๒ รวบเข่า ทิ้งก้นลงไป, ทิ้งมะพร้าวห้าว ก็ว่า.
【 มัดหวาย 】แปลว่า: น. เรียกลายนิ้วมือที่ไม่ขดวนเข้าหาศูนย์กลางอย่างก้นหอยว่า
ลายมัดหวาย.
【 มัตตะ ๑ 】แปลว่า: น. ประมาณ. (ป.; ส. มาตฺร).
【 มัตตัญญู 】แปลว่า: น. ผู้รู้ประมาณคือความพอเหมาะพอดี. (ป.).
【 มัตตะ ๒ 】แปลว่า: ก. เมา, มึนเมา. (ป.; ส. มาตฺร).
【 มัตตัญญู 】แปลว่า: /ดู มัตตะ ๑/.
【 มัตตา 】แปลว่า: น. มาตรา. (ป. มตฺต; ส. มาตฺรา).
【 มัตติกา 】แปลว่า: น. ดิน, ดินเหนียว. (ป. มตฺติกา; ส. มฺฤตฺติกา).
【 มัตถกะ 】แปลว่า: [มัดถะกะ] น. หัว, กระหม่อม; ยอด, ที่สุด. (ป. มตฺถก; ส. มสฺตก).
【 มัตถลุงค์ 】แปลว่า: [มัดถะลุง] น. มันสมอง. (ป.).
【 มัตสยะ, มัตสยา 】แปลว่า: [มัดสะยะ, มัดสะหฺยา] น. ปลา. (ส. มตฺสฺย; ป. มจฺฉ).
【 มัตสรรย์ 】แปลว่า: [มัดสัน] น. ความตระหนี่; ความริษยา. (ส. มาตฺสรฺย; ป. มจฺฉริย).
【 มัตสระ 】แปลว่า: [มัดสะระ] ว. ตระหนี่, เห็นแก่ตัว, ริษยา. (ส. มตฺสร; ป. มจฺฉร).
【 มัตสริน 】แปลว่า: [มัดสะริน] น. คนตระหนี่. (ส. มตฺสรินฺ; ป. มจฺฉรี).
【 มัตสริน 】แปลว่า: /ดู มัตสระ/.
【 มัททวะ 】แปลว่า: น. ความอ่อนโยน, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. /(ดู ทศพิธราชธรรม หรือ
【 ราชธรรม)./ 】แปลว่า:
【 มัทนะ ๑ 】แปลว่า: [มัดทะนะ] น. การยํ่ายี, การบด, การทําลาย. (ป. มทฺทน; ส. มรฺทน).
【 มัทนะ ๒ 】แปลว่า: [มัดทะนะ] น. กามเทพ. (ป., ส. มทน).
【 มัทนียะ 】แปลว่า: [มัดทะนียะ] ว. เป็นที่ตั้งแห่งความเมา, ที่ชวนให้เมา. (ป. มทนีย).
【 มัทยะ 】แปลว่า: [มัดทะยะ] น. นํ้าเมา, เหล้า. ว. ซึ่งทําให้เมา, ซึ่งทําให้รื่นเริงยินดี. (ส., ป. มชฺช).
【 มัธย- 】แปลว่า: [มัดทะยะ-] ว. กลาง, ปานกลาง, พอดี, เป็นกลาง, ระหว่างกลาง. (ส.; ป. มชฺฌิม).
【 มัธยฐาน 】แปลว่า: (คณิต) น. ชื่อเส้นตรงที่เชื่อมระหว่างจุดมุมของรูปสามเหลี่ยมกับจุดกึ่งกลาง
ของด้านที่ตรงข้ามกับมุมนั้น.
【 มัธยม, มัธยม- 】แปลว่า: [มัดทะยม, มัดทะยมมะ-] ว. กลาง, ปานกลาง. (ส.).
【 มัธยมกาล 】แปลว่า: น. เวลาของตําบลใดตําบลหนึ่งที่ทางการบัญญัติให้ใช้
เป็นเวลากลางสําหรับประเทศ.
【 มัธยมศึกษา 】แปลว่า: [มัดทะยมมะ-, มัดทะยม-] น. การศึกษาระหว่าง
ประถมศึกษากับอุดมศึกษา.
【 มัธยมา 】แปลว่า: [มัดทะยะมา] ว. มัชฌิมา, ปานกลาง. (ส.).
【 มัธยมา 】แปลว่า: /ดู มัธยม, มัธยม-/.
【 มัธยันห์ 】แปลว่า: [มัดทะยัน] น. เวลากลางวัน, เที่ยงวัน. (ส. มธฺยาหฺน).
【 มัธยัสถ์ 】แปลว่า: [มัดทะยัด] ก. ใช้จ่ายอย่างประหยัด. (ส. มธฺยสฺถ ว่า ปานกลาง, ตั้งอยู่ในท่ามกลาง).
【 มัน ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อเรียกไม้เถาหรือไม้ต้นหลายชนิดหลายสกุลในหลายวงศ์ที่หัวใช้
เป็นอาหารได้.
【 มันแกว 】แปลว่า: น. ชื่อมันชนิด /Pachyrhizus erosus/ (L.) Urban ในวงศ์
Leguminosae ใช้กินดิบ ๆ มีรสชืด ๆ หรือหวานน้อย ๆ เมล็ดเป็นพิษ,
พายัพเรียก มันแกวลาว.
【 มันขี้หนู 】แปลว่า: /ดู ขี้หนู ๑ (๒)/.
【 มันเทศ 】แปลว่า: น. ชื่อมันชนิด /Ipomoea batatas/ (L.) Lam. ในวงศ์
Convolvulaceae ยอดทําให้สุกแล้วกินได้, พายัพเรียก มันแกว.
【 มันนก 】แปลว่า: น. ชื่อมันหลายชนิดในสกุล /Dioscorea/ วงศ์ Dioscoreaceae
เช่น ชนิด /D. inopinata/ Prain et Burk. หัวกินได้.
【 มันฝรั่ง 】แปลว่า: น. ชื่อมันชนิด /Solanum tuberosum/ L. ในวงศ์ Solanaceae
ตาที่กําลังงอกจากหัวเป็นพิษ.
【 มันเสา 】แปลว่า: น. ชื่อมันชนิด /Dioscorea alata/ L. ในวงศ์ Dioscoreaceae
เถามีครีบ หัวมีขนาดและรูปร่างต่าง ๆ กัน ผิวเรียบ, มันจาวมะพร้าว ก็เรียก.
【 มัน ๒ 】แปลว่า: น. เนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดหนึ่งในคนและสัตว์ มีลักษณะนุ่ม ๆ หยุ่น ๆ มีไขมันอยู่ในตัว
เช่น มันหมู มันไก่.
【 มันแข็ง 】แปลว่า: น. มันของหมูที่ติดอยู่กับหนัง.
【 มันเปลว 】แปลว่า: น. มันที่ติดอยู่ที่พุงและลำไส้.
【 มันสมอง 】แปลว่า: น. เรียกส่วนที่อยู่ภายในกะโหลกศีรษะ มีลักษณะนุ่ม ๆ หยุ่น ๆ เป็นลูกคลื่น
เป็นที่รวมประสาทให้เกิดความรู้สึก.
【 มัน ๓ 】แปลว่า: ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง สําหรับผู้ใหญ่เรียกผู้น้อย มีเด็กเป็นต้น
ตามสถานะที่ควร สําหรับเรียกผู้อื่นอย่างไม่ยกย่อง และสําหรับเรียก
สัตว์หรือสิ่งอื่นทั่ว ๆ ไปตามที่ควร, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
【 มัน ๔ 】แปลว่า: ก. เพลิน, ถูกอกถูกใจ, ออกรสออกชาติ, เช่น เกาเสียมัน.
【 มันเขี้ยว 】แปลว่า: ก. อยากกัดอยากกินอยู่เรื่อย ๆ.
【 มันมือ 】แปลว่า: ก. อยากใช้มือเล่นหรือทำเป็นต้นอยู่เรื่อย ๆ.
【 มัน ๕ 】แปลว่า: ว. มีรสอย่างรสกะทิหรืออย่างถั่วลิสงคั่ว; เป็นเงา, ขึ้นเงา, เช่น เหงื่อออกหน้าเป็นมัน.
มันแปลบ ว. มันเป็นเงาวับ, มันปลาบ หรือ มันแผล็บ ก็ว่า.
【 มันย่อง 】แปลว่า: ว. มันจนมีน้ำมันเยิ้มหรือลอยเป็นฝาขึ้นมา.
【 มันเยิ้ม 】แปลว่า: ว. มันมากจนแทบจะหยด.
【 มั่น 】แปลว่า: ว. แน่, แน่นอน, เช่น ใจมั่น; แน่น เช่น จับให้มั่น.
【 มั่นคง 】แปลว่า: ว. แน่นหนาและทนทาน เช่น เก็บของไว้ในห้องนั้นมั่นคงดี;
ไม่กลับกลายเป็นอย่างอื่น เช่น ใจคอมั่นคง.
【 มั่นใจ 】แปลว่า: ก. แน่ใจ, เชื่อใจ, เช่น คราวนี้มั่นใจว่าจะต้องสอบได้.
【 มั่นหมาย 】แปลว่า: ก. มุ่งหมายอย่างแน่วแน่ เช่น เขามั่นหมายว่าจะได้งานทำ, หมายมั่น ก็ว่า.
【 มั่นเหมาะ 】แปลว่า: ว. แน่นอนไม่เปลี่ยนแปลง เช่น พูดไว้เป็นมั่นเหมาะว่าวันนี้จะต้องพบกัน.
【 มันดี 】แปลว่า: น. ที่อาบนํ้า. ก. อาบนํ้า. (ช.).
【 มันตา 】แปลว่า: น. ความรู้, ปัญญา. (ป.).
【 มันถะ 】แปลว่า: น. ข้าวตูก้อน. (ป.).
【 มันทิระ, มันทิราลัย 】แปลว่า: น. มนเทียร, เรือนหลวง. (ป., ส.).
【 มันปลา 】แปลว่า: /ดู กันเกรา/.
【 มันปู 】แปลว่า: ว. สีแดงเจือเหลืองกับดํา เช่น พระเครื่องเนื้อสีมันปู โลหะที่เก็บไว้
นาน ๆ จะออกสีมันปู. น. เรียกข้าวเจ้าที่มีสีแดงคลํ้าว่า ข้าวมันปู.
【 มันไส้ 】แปลว่า: ก. ชังนํ้าหน้า เช่น ยิ่งโกรธาหุนหันมันไส้. (ไชยเชฐ), หมั่นไส้ ก็ว่า.
【 มับ 】แปลว่า: ว. คําสําหรับประกอบกริยาที่เอาอะไร ๆ ไปอย่างฉับไวไม่รีรอ เช่น
คว้ามับ ฉวยมับ หยิบมับ, หมับ ก็ว่า.
【 มับ ๆ 】แปลว่า: ว. อาการของปากที่หุบเข้าแล้วอ้าออกอย่างเร็ว, หมับ ๆ ก็ว่า.
【 มั้ม 】แปลว่า: น. ปลาร้าญวน ทําด้วยปลาดิบหมักเกลือใส่ข้าวคั่ว เรียกว่า ปลามั้ม.
【 มัมมี่ 】แปลว่า: น. ศพอาบนํ้ายากันเน่าเปื่อยของชาวอียิปต์โบราณ. (อ. mummy).
【 มัย ๑ 】แปลว่า: น. ม้า, ลา, อูฐ. (ป., ส. มย).
【 มัย ๒ 】แปลว่า: ว. สําเร็จด้วย, แล้วด้วย, ประกอบด้วย, (ใช้ประกอบท้ายสมาส เช่น
มโนมัย ว่า สำเร็จด้วยใจ, กุศลมัย ว่า แล้วด้วยกุศล, ตฤณมัย ว่า
ประกอบด้วยหญ้า). (ป., ส. มย).
【 มัลกะ 】แปลว่า: [มันละกะ] น. ถ้วย, ขันนํ้า. (ป. มลฺลก).
【 มัลละ 】แปลว่า: [มันละ] น. นักมวย, มวยปลํ้า. (ป., ส.).
【 มัลลิกา 】แปลว่า: น. ดอกมะลิ. (ป., ส.).
【 มัว, มัว ๆ 】แปลว่า: ว. ไม่แจ่ม เช่น พระจันทร์มัว, ไม่กระจ่าง เช่น ข้อความมัว, ฝ้า
เช่น กระจกมัว, ฟาง เช่น นัยน์ตามัว, ขมุกขมัว เช่น มืดมัว, ไม่มืด
ไม่สว่าง เช่น แสงมัว ๆ, หม่น เช่น สีมัว ๆ, ขุ่น, ไม่ผ่อง, เช่น ใจมัว;
อาการที่ทำติดพันอยู่ ไม่ละไปได้ เช่น มัวพูด มัวคิด, มัวแต่ ก็ว่า.
【 มัวซัว 】แปลว่า: ว. ไม่ผ่องใส, ไม่แจ่มใส, ไม่เบิกบาน, ไม่สดชื่น, เช่น
หูตามัวซัว ผ้าสีตกมัวซัว.
【 มัวแต่ 】แปลว่า: ว. อาการที่ทำติดพันอยู่ ไม่ละไปได้ เช่น มัวแต่พูด มัวแต่คิด, มัว ก็ว่า.
【 มัวพะวง 】แปลว่า: ว. มัวเป็นห่วงกังวล.
【 มัวมอม 】แปลว่า: ว. แปดเปื้อนด้วยสีดํา ๆ ตามร่างกาย.
【 มัวเมา 】แปลว่า: ว. หลงละเลิง, เมามัว ก็ว่า.
【 มัวเมีย 】แปลว่า: ก. งัวเงีย.
【 มัวหมอง 】แปลว่า: ว. มีมลทิน, ไม่บริสุทธิ์.
【 มั่ว 】แปลว่า: ก. สุมกัน, รวมกัน, ออกัน, ประชุม; ปะปนกันจนแยกไม่ออก เช่น วางของมั่วไปหมด.
【 มั่วมูล 】แปลว่า: ก. มีมาก, ประชุมกันมาก.
【 มั่วสุม 】แปลว่า: ก. ชุมนุมกันเพื่อกระทําการในทางไม่ดี เช่น มั่วสุมเล่นการพนัน.
【 มัศยา 】แปลว่า: [มัดสะหฺยา] น. ปลา. (ส. มตฺสฺย, มตฺสฺยา; ป. มจฺฉ, มจฺฉา).
【 มัสดก 】แปลว่า: [มัดสะดก] น. หัว, กระหม่อม; ยอด, ที่สุด. (ส. มสฺตก; ป. มตฺถก).
【 มัสดุ, มัสตุ 】แปลว่า: [มัดสะดุ, -ตุ] น. มัน, เปลวมัน; เนยเหลว. (ส. มสฺตุ; ป. มตฺถุ).
【 มัสตาร์ด ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องปรุงรสชนิดหนึ่ง ทําจากเมล็ดของพืชล้มลุกหลายชนิดในสกุล /Brassica/
วงศ์ Cruciferae สีเหลือง รสเผ็ด. (อ. mustard).
【 มัสตาร์ด ๒ 】แปลว่า: น. สารพิษร้ายแรงชนิดหนึ่ง มีชื่อทางเคมีว่า ไดคลอโรไดเอทิลซัลไฟด์
(/dichloro diethylsulphide/) มีสูตร (CH2CH2Cl)2 S ลักษณะเป็นของเหลว
คล้ายนํ้ามัน เคยใช้ในสงครามโลกครั้งที่ ๑ และเรียกกันว่า แก๊สมัสตาร์ด.
【 มัสมั่น 】แปลว่า: [มัดสะหฺมั่น] น. ชื่อแกงชนิดหนึ่ง นํ้าแกงข้น เป็นแกงอย่างมุสลิม
ใช้เนื้อหรือไก่เป็นต้นชิ้นโต ๆ ปรุงด้วยเครื่องเทศ มีรสเค็ม หวาน
และออกเปรี้ยวเล็กน้อย.
【 มัสยิด 】แปลว่า: [มัดสะ-] น. สถานที่ซึ่งอิสลามิกชนใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทาง
ศาสนาอิสลาม, สุเหร่า ก็เรียก.
【 มัสรู่ ๑ 】แปลว่า: [มัดสะหฺรู่] น. ชื่อผ้าไหมมีริ้วเป็นสีต่าง ๆ, เข้มขาบไหม ก็เรียก. (ฮ. มัศรู; ม. มิสรู).
【 มัสรู่ ๒ 】แปลว่า: [มัดสะหฺรู่] น. แกงเผ็ดอย่างมุสลิม.
【 มัสลิน 】แปลว่า: [มัดสะลิน] น. ผ้าฝ้ายเนื้อละเอียดและบาง. (อ. muslin).
【 มัสสุ 】แปลว่า: น. หนวด, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระมัสสุ. (ป.).
【 มา ๑ 】แปลว่า: น. พระจันทร์. (ป.; ส. มาสฺ).
【 มา ๒ 】แปลว่า: ก. เคลื่อนออกจากที่เข้าหาตัวผู้พูด เช่น มานี่ มาหาฉันหน่อย,
ตรงกันข้ามกับ ไป. ว. ใช้ประกอบคํากริยาแสดงอดีต เช่น นาน
มาแล้ว ดังกล่าวมาแล้ว ไปมาแล้ว หรือ แสดงทิศทางเข้าหาตัวผู้พูด
เช่น หันมาทางนี้ เอามานี่ หรือแสดงอาการที่ต่อเนื่องเรื่อยมาถึง
ปัจจุบัน เช่น ความเป็นมา อยู่มาวันหนึ่ง ส่งจดหมายบอกข่าวมา.
【 มาแขก 】แปลว่า: ก. แปลก, ประหลาด; จรมา, มาสู่.
【 มาเหนือเมฆ 】แปลว่า: (สํา) ก. มีความคิดหรือชั้นเชิงเหนือผู้อื่น; มาหรือ
ปรากฏขึ้นโดยไม่คาดหมาย.
【 ม้า ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด /Equus caballus/ ในวงศ์ Equidae เป็น
สัตว์กีบเดี่ยว รูปร่างสูงใหญ่ ขายาว หางเป็นพู่ มีแผงคอยาว ใช้เป็น
พาหนะขับขี่และเทียมรถ; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อัศวินี มี ๗ ดวง,
ดาวคอม้า ดาวคู่ม้า ดาวอัศวยุช หรือ ดาวอัสสนี ก็เรียก; เครื่องรองนั่ง
และรองสิ่งของ มีขาเป็นรูปต่าง ๆ; เรียกตัวหมากรุกที่แกะเป็นรูปม้า.
【 ม้าใช้ 】แปลว่า: น. คนขี่ม้าสําหรับรับใช้, คนเร็วสําหรับส่งข่าวสาร, คนรับใช้ติดต่อ.
【 ม้าดีดกะโหลก 】แปลว่า: (สํา) ก. มีกิริยากระโดกกระเดกลุกลนหรือไม่เรียบร้อย
(มักใช้แก่ผู้หญิง).
【 ม้าต้น 】แปลว่า: น. ม้าพระที่นั่งโดยเฉพาะ.
【 ม้าเทศ 】แปลว่า: น. ม้าขนาดใหญ่ที่มาจากต่างประเทศ.
【 ม้าน้ำ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์ในวรรณคดี ท่อนบนเป็นม้า ท่อนล่างเป็นปลา.
【 ม้ามืด 】แปลว่า: น. ม้าแข่งที่ชนะโดยไม่มีใครนึกคาดไว้, โดยปริยายหมายถึง
เรื่องอื่นในอาการเช่นนั้น.
【 ม้าเร็ว 】แปลว่า: น. คนขี่ม้าซึ่งกองทัพจัดไว้สําหรับสืบเหตุการณ์ข่าวคราวของข้าศึก
แล้วต้องรีบมาแจ้งแก่เจ้าหน้าที่ผู้ใหญ่ในกองทัพของตน.
【 ม้าลาย 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในสกุล /Equus/ วงศ์ Equidae
รูปร่างเหมือนม้าแต่มีลายสีดําขาวพาดขวางลําตัวตัดกันสะดุดตา
เห็นได้ชัดเจน จมูกดํา ขนแผงคอสั้น ใบหูและตาโต กีบเท้ากลมเล็ก
ขนหางยาวเป็นพวงเฉพาะตอนครึ่งปลายของหาง ส่วนโคนหาง
ไม่มีขนยาว ดูคล้ายครึ่งหางม้าครึ่งหางวัว อาศัยอยู่ตามทุ่งหญ้า
ราบโล่ง อยู่รวมกันเป็นฝูง กินหญ้า ถิ่นกําเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา
มีหลายชนิด เช่น ชนิด /E. grevyi/ ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่
ที่สุด ชนิด /E. burchelli/ เป็นชนิดที่นิยมนํามาเลี้ยงตามสวนสัตว์
ทั่ว ๆ ไป.
【 ม้า ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อปูทะเลชนิด /Portunus pelagicus/ ในวงศ์ Portunidae
กระดองสาก ตัวผู้สีออกนํ้าเงิน ตัวเมียสีออกนํ้าตาล.
【 ม้า ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาชนิด /Boesemania microlepis/ ในวงศ์ Sciaenidae ลําตัว
กว้างมากในแนวอกและท้อง ลาดแอ่นลงไปสุดปลายหัว และเรียวเล็ก
ลงมากที่คอดหาง ก้านครีบแข็งของครีบก้นใหญ่มาก ครีบหางมีปลาย
แหลม ครีบท้องมีปลายยาวเป็นเส้น เกล็ดในแนวเส้นข้างตัวเด่น
ชัดเจนและเรียงต่อเลยไปจนสุดปลายแหลมของครีบหาง ลําตัวและ
หัวมีสีเงินหรือเทาอ่อน ด้านหลังมีลายสีเทาเอียงอยู่ตามแถวของเกล็ด
พบทุกลุ่มนํ้า ขนาดยาวได้ถึง ๙๐ เซนติเมตร, เขตลุ่มแม่นํ้าโขงเรียก
กวาง เขตลุ่มแม่นํ้าบางปะกงเรียก หางกิ่ว.
【 มาก 】แปลว่า: ว. หลาย, ตรงกันข้ามกับ น้อย, เช่น คนมาก น้ำมาก กินมาก.
มากขี้ควายหลายขี้ช้าง (สํา) ว. มากมายเสียเปล่า ใช้ประโยชน์ไม่ได้.
【 มากมาย, มากมายก่ายกอง 】แปลว่า: ว. มากเหลือหลาย เช่น มีเงินมากมาย
ก่ายกอง, ล้นหลาม เช่น มีคนมาร่วมงานมากมาย.
【 มากหน้าหลายตา 】แปลว่า: ว. มากมาย (ใช้แก่คน) เช่น ผู้คนมากหน้าหลายตา.
【 มากหมอมากความ 】แปลว่า: (สํา) ว. หลายคนก็มีความเห็นแตกต่างกัน
เป็นหลายอย่างจนตกลงกันไม่ได้.
【 มาคสิร-, มาคสิระ 】แปลว่า: [-คะสิระ] น. ชื่อดาวฤกษ์ที่ ๕; ชื่อเดือนที่ ๑ แห่งจันทรคติ,
เดือนอ้าย ตกราวเดือนธันวาคม. (ป.).
【 มาฆ-, มาฆะ ๑ 】แปลว่า: [-คะ-] น. ชื่อเดือนที่ ๓ แห่งจันทรคติ ตกราวเดือนกุมภาพันธ์. (ป., ส.).
【 มาฆบูชา 】แปลว่า: น. การทําบุญพิเศษทางพระพุทธศาสนาในวันเพ็ญ
เดือน ๓ เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สําคัญซึ่งประกอบด้วยองค์ ๔
ประการ คือ ๑. วันเพ็ญดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์
เดินมาถึงดาวฤกษ์ชื่อ มฆะ) ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูปประชุมกัน
โดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมนั้นล้วนได้รับ
เอหิภิกขุอุปสัมปทา ๔. ท่านเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น,
(วันจาตุรงคสันนิบาต ก็เรียก. ป. มาฆปูชา).
【 มาฆะ ๒, มฆะ, มฆา 】แปลว่า: [-, มะคะ, มะคา] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๐ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปโคมูตร
【 วานร หรืองอนไถ, 】แปลว่า:
ดาวโคมูตร ดาววานร ดาวงอนไถ หรือ ดาวงูผู้ ก็เรียก. (ป., ส.).
【 ม้าง 】แปลว่า: ก. ล้าง, ทําลาย, รื้อ.
【 มางสะ 】แปลว่า: น. เนื้อของคนและสัตว์. (ส. มําส; ป. มํส).
【 มาณพ 】แปลว่า: [-นบ] น. ชายหนุ่ม, ชายรุ่น. (ป., ส.).
【 มาณวิกา 】แปลว่า: [มานะ-] น. หญิงสาว, หญิงรุ่น. (ป., ส.).
【 มาด ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อเรือขุดชนิดหนึ่ง ยาวประมาณ ๔ วา, ถ้าเพียงแต่ขุดไว้ แต่ยัง
ไม่ได้เบิก เรียกว่า มาดเรือโกลน หรือ ลูกมาด, ถ้ามีประทุน เรียกว่า
เรือมาดประทุน, ถ้ามีเก๋ง เรียกว่า เรือมาดเก๋ง.
【 มาด ๒ 】แปลว่า: (ปาก) น. ท่าทาง เช่น มาดเขาดี วางมาด.
【 มาด ๓ 】แปลว่า: ก. มุ่ง, หมายไว้, คาดไว้, มักใช้เข้าคู่กับคํา มุ่ง เป็น มุ่งมาด.
【 มาดา 】แปลว่า: น. แม่. (ป. มาตา; ส. มาตฺฤ).
【 มาตงค์ 】แปลว่า: น. ช้าง. (ป. มาตงฺค).
【 มาตร ๑, มาตร- ๑ 】แปลว่า: [มาด, มาดตฺระ-] น. เครื่องสำหรับวัดขนาด จำนวน เวลา และมุม
เช่น มาตรน้ำ มาตรไฟฟ้า, มิเตอร์ ก็ว่า. (ส. มาตฺร; ป. มตฺต).
【 มาตรการ 】แปลว่า: [มาดตฺระ-] น. วิธีการที่ตั้งเป็นกฎ ข้อกำหนด ระเบียบ
หรือกฎหมายเป็นต้น เช่น ใช้มาตรการเด็ดขาด วางมาตรการในการ
ปราบโจรผู้ร้าย; วิธีการที่จะปรับเข้าไปสู่ผลสําเร็จ เช่น วางมาตรการ
ในการดําเนินงาน.
【 มาตรฐาน 】แปลว่า: [มาดตฺระ-] น. สิ่งที่ถือเอาเป็นเกณฑ์ที่รับรองกันทั่วไป
เช่น เวลามาตรฐานกรีนิช, สิ่งที่ถือเอาเป็นเกณฑ์สำหรับเทียบกำหนด
ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ เช่น มาตรฐานอุตสาหกรรม หนังสือนี้
ยังไม่เข้ามาตรฐาน.
【 มาตร ๒, มาตร- ๒ 】แปลว่า: [มาด] ว. สักว่า. สัน. สักว่า, แม้ว่า. (ส. มาตฺร; ป. มตฺต).
【 มาตรแม้น 】แปลว่า: [มาด-] สัน. หากว่า, แม้ว่า, เช่น มาตรแม้นดวงใจอยากได้คู่.
【 มาตรว่า 】แปลว่า: [มาด-] สัน. หากว่า, ถ้าว่า.
【 มาตรา 】แปลว่า: [มาดตฺรา] น. หลักกําหนดการวัดขนาด จํานวน เวลา และมุม เช่น
มาตราชั่ง ตวง วัด มาตราเมตริก; แม่บทแจกลูกพยัญชนะต้นกับสระ
โดยไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา หรือ มาตรา ก กา, หลักเกณฑ์ที่
วางไว้เพื่อให้กำหนดได้ว่าคำที่มีพยัญชนะตัวใดบ้างเป็นตัวสะกด
อยู่ในมาตราใดหรือแม่ใด คือ ถ้ามีตัว ก ข ค ฆ สะกด จัดอยู่ใน
มาตรากกหรือแม่กก, ถ้ามีตัว ง สะกด จัดอยู่ในมาตรากงหรือ
แม่กง, ถ้ามีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด
จัดอยู่ในมาตรากดหรือแม่กด, ถ้ามีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด
จัดอยู่ในมาตรากนหรือแม่กน, ถ้ามีตัว บ ป พ ฟ ภ สะกด จัดอยู่
ในมาตรากบหรือแม่กบ, ถ้ามีตัว ม สะกด จัดอยู่ในมาตรากม
หรือแม่กม, ถ้ามีตัว ย สะกด จัดอยู่ในมาตราเกยหรือแม่เกย,
ถ้ามีตัว ว สะกด จัดอยู่ในแม่เกอว; (กฎ) บทบัญญัติใน
กฎหมายที่แบ่งออกเป็นข้อ ๆ โดยมีเลขกํากับเรียงตามลําดับ;
(ฉันทลักษณ์) ระยะเวลาการออกเสียงสระสั้นยาว สระสั้น
๑ มาตรา สระยาว ๒ มาตรา.
【 มาตราพฤติ 】แปลว่า: น. ฉันท์ที่กําหนดด้วยมาตรา คือ กําหนดคําในฉันท์
แต่ละคําเป็นมาตราส่วน เช่น คําครุ กําหนดเป็นความยาวของเสียง
๒ มาตรา คําลหุ กําหนดเป็นความยาวของเสียง ๑ มาตรา.
【 มาตราส่วน 】แปลว่า: น. อัตราส่วนระหว่างระยะห่างในแผนที่หรือภาพเป็นต้น
กับระยะห่างจริงหรือกับระยะห่างบนแผนที่หรือภาพอื่น.
【 มาตฤ 】แปลว่า: [-ตฺริ] น. มารดา, แม่. (ส. มาตฺฤ; ป. มาตา).
【 มาตฤกะ 】แปลว่า: [-ตฺริกะ] ว. มาจากแม่หรือเกี่ยวกับแม่, ข้างแม่, ฝ่ายแม่. (ส.).
【 มาตสรรย์ 】แปลว่า: [มาดสัน] น. ความตระหนี่; ความริษยา; ใช้ว่า มัตสรรย์ ก็มี. (ส. มาตฺสรฺย; ป.
【 มจฺฉริย). 】แปลว่า:
【 มาตังคะ 】แปลว่า: [-ตังคะ] น. มาตงค์, ช้าง. (ป.).
【 มาตา 】แปลว่า: น. แม่. (ป.; ส. มาตฺฤ).
【 มาตามหะ 】แปลว่า: มาตามะหะ น. ตา คือ พ่อของแม่. (ป., ส.).
【 มาตามหัยกะ 】แปลว่า: -มะไหยะกะ น. ตาทวด, พ่อของยาย. (ป. มาตา + มหยฺยก).
【 มาตามหัยกา, มาตามหัยยิกา 】แปลว่า: -มะไหยะกา, -มะไหยิกา น. ย่าทวด, ยายทวด.
【 (ป. มาตา + มหยฺยิกา). 】แปลว่า:
【 มาตามหา 】แปลว่า: มาตามะหา น. ยาย. (ป.).
【 มาติกะ 】แปลว่า: ว. ฝ่ายมารดา, ของมารดา. (ป.).
【 มาติกา 】แปลว่า: [มาดติกา] น. บาลีที่เป็นแม่บท เช่น สวดมาติกา, แม่บท; เหมือง, ทางนํ้าไหล. (ป.;
【 ส. มาตฺฤกา). 】แปลว่า:
【 มาตี 】แปลว่า: น. เหมือง, ทางนํ้าไหล. (ป.).
【 มาตุ 】แปลว่า: น. แม่. (ป.).
【 มาตุคาม 】แปลว่า: น. ผู้หญิง, เพศหญิง, (เป็นคำที่พระใช้เรียกผู้หญิง). (ป.).
【 มาตุฆาต 】แปลว่า: น. การฆ่าแม่. (ป.).
【 มาตุภูมิ 】แปลว่า: น. บ้านเกิดเมืองนอน.
【 มาตุจฉา 】แปลว่า: น. ป้า (ญาติฝ่ายแม่), น้าผู้หญิง. (ป.).
【 มาตุรงค์, มาตุเรศ 】แปลว่า: (กลอน) น. แม่.
【 มาตุละ 】แปลว่า: น. ลุง (ญาติฝ่ายแม่), น้าชาย, ใช้ มาตุลา ก็มี. (ป., ส.).
【 มาตุลา 】แปลว่า: น. มาตุละ.
【 มาตุลานี 】แปลว่า: น. ป้าสะใภ้, น้าสะใภ้. (ป., ส.).
【 มาตุลุงค์ 】แปลว่า: น. มะงั่ว. (ป.).
【 มาทนะ, มาทะ 】แปลว่า: [มาทะนะ] น. เครื่องทําให้เมา, เครื่องทําให้รื่นเริง. (ส.).
【 ม้าทลายโรง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด /Neuropeltis racemosa/ Wall. ในวงศ์
【 Convolvulaceae 】แปลว่า:
ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ ผลเล็ก มีปีกบางล้อมรอบเป็นแผ่นกลม.
【 มาธยมิกะ 】แปลว่า: [มาทะยะ-] น. ทางสายกลาง; ศูนยวาท. (ส. มาธฺยมิก).
【 มาธุระ, มาธูระ 】แปลว่า: (แบบ) ว. มธุระ, หวาน, ไพเราะ.
【 มาธุสร 】แปลว่า: [มาทุสอน] น. มธุสร, เสียงหวาน.
【 มาน ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อโรคจำพวกหนึ่ง เกิดได้หลายสาเหตุ เช่น มีถุงน้ำเกิดที่เยื่อบุ
ช่องท้อง การอุดกั้นหลอดเลือดดำหรือทางเดินของน้ำเหลือง ตับแข็ง
ลิ้นหัวใจพิการ ไตอักเสบเรื้อรัง ทำให้มีน้ำสีเหลืองใสอยู่ในช่องท้อง
อาจมีเพียงเล็กน้อยหรือมากถึง ๑๕-๒๐ ลิตร เป็นเหตุให้หน้าท้องโป่ง
พองจนเห็นได้ชัด น้ำหนักเพิ่ม แน่นท้อง ท้องผูก เบื่ออาหาร หายใจ
ลำบาก เท้าบวม เป็นต้น.
【 มานทะลุน 】แปลว่า: น. โรคที่มีอาการบวมคล้ายโรคมาน แต่บวมทั่วทั้งตัว.
【 มาน ๒ 】แปลว่า: น. ความถือตัว; ใจ, ดวงใจ, เช่น ดวงมาน. (ป., ส.).
【 มาน ๓ 】แปลว่า: ก. มี เช่น มานพระบัณฑูร. (ข.).
【 มาน ๔ 】แปลว่า: (ถิ่น) ก. ตั้งท้อง เช่น มานลูก ข้าวมาน.
【 ม่าน ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องกั้นบัง โดยปรกติทําด้วยผ้า ใช้ห้อยกั้นห้องหรือประตูหน้าต่างเป็นต้น,
โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ม่านควัน.
【 ม่านตา 】แปลว่า: น. เยื่อผิวลูกตาสําหรับบังคับแสงให้เข้าตามากหรือน้อย.
【 ม่านบังตา 】แปลว่า: น. เครื่องบังหน้าต่างในระดับตา มักทำด้วยผ้า.
【 ม่านบังเพลิง 】แปลว่า: น. ฉากพับได้ติดกับเสาเมรุทั้ง ๔ ด้าน.
【 ม่านเมรุ 】แปลว่า: น. ม่านที่แขวนห้อยไว้ที่เสาเมรุทั้ง ๔ ด้าน.
【 ม่านสองไข 】แปลว่า: น. ม่าน ๒ ชายที่แหวกกลางรวบชายไปผูกไว้ที่
ด้านข้างทั้ง ๒ ด้าน สําหรับประดับช่องทางประตูหน้าต่างเป็นต้น.
【 ม่าน ๒ 】แปลว่า: น. ชนชาติพม่า.
【 ม้าน 】แปลว่า: ก. เหี่ยวแห้ง; เผือดเพราะความอาย. น. เรียกข้าวที่ยืนต้นแห้งตาย
เพราะขาดน้ำเนื่องจากฝนแล้งว่า ข้าวม้าน; เรียกหน้าที่เผือดด้วย
ความละอายจนไม่กล้าสบตาคนว่า หน้าม้าน.
【 มานพ 】แปลว่า: [-นบ] น. คน. (ป.). (มาจากศัพท์ มนุ).
【 ม่านลาย 】แปลว่า: น. ชื่อตะพาบชนิด /Chitra chitra/ ในวงศ์ Trionychidae เป็นเต่า
กระดองอ่อนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เคยพบที่แม่นํ้าแควใหญ่
จังหวัดกาญจนบุรี มีนํ้าหนักถึง ๑๔๘ กิโลกรัม ทั้งตัวและหัวสีนํ้าตาล
มีลายสีนํ้าตาลอ่อน, กริวลาย หรือ กราวด่าง ก็เรียก.
【 ม่านอินทนิล 】แปลว่า: /ดู สร้อยอินทนิล/.
【 มานะ ๑ 】แปลว่า: น. การวัด, การนับ, อัตราวัด. (ป., ส. มาน).
【 มานะ ๒ 】แปลว่า: น. ความพยายาม, ความตั้งใจจริง, ความพากเพียร, เช่น มีมานะอดทน
มีมานะในการทำงาน; ความถือตัว. (ป.).
【 มานัต 】แปลว่า: น. วินัยกรรมที่สงฆ์ทําแก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสให้เป็นภิกษุ
ที่นับเข้าในหมู่สงฆ์ได้ เช่น สวดมานัต. (ป. มานตฺต).
【 มานัส 】แปลว่า: น. ใจ. ว. เกี่ยวกับใจ. (ป., ส. มานส).
【 ม้าน้ำ ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ม้า ๑/.
【 ม้าน้ำ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในสกุล /Hippocampus/ วงศ์ Syngnathidae
ลําตัวอ้วน หัวพับเข้าหาลําตัว ปากเป็นท่อยาวรวมกัน ทําให้ส่วนหัว
ดูคล้ายม้า ส่วนท้ายของลําตัวเรียวยาว มีครีบหลังขนาดใหญ่ที่
โคนหาง ผิวหนังเป็นแผ่นแข็งเรียงต่อกันเป็นเหลี่ยมเป็นปล้อง
ตลอดทั้งตัวสีนํ้าตาล บางชนิดคาดด้วยแถบสีเข้มกว่าหรือมีจุดสีดํา
บางส่วนของลําตัว พบอาศัยตามแนวหินปะการัง ลําตัวตั้ง ใช้ส่วน
หางพันเกาะวัตถุใต้นํ้า ตัวผู้ทําหน้าที่ฟักไข่ซึ่งเก็บไว้ในถุงหน้าท้อง
ขนาดยาวได้ถึง ๑๕ เซนติเมตร.
【 มานิต 】แปลว่า: [-นิด] ว. ผู้ที่คนนับถือ, ผู้ที่คนยกย่อง. (ป., ส.).
【 มานี 】แปลว่า: น. คนมีมานะ. (ป., ส.).
【 มานุษ, มานุษย- 】แปลว่า: [มานุด, มานุดสะยะ-] น. คน, เพศคน. ว. เกี่ยวกับคน, ของคน. (ส.).
【 มานุษยวิทยา 】แปลว่า: [มานุดสะยะ-, มานุด-] น. วิชาว่าด้วยเรื่องตัวคน และสิ่งที่คนสร้างขึ้น.
(อ. anthropology).
【 มาโนชญ์ 】แปลว่า: [-โนด] ว. มโนชญ์, เป็นที่พอใจ, งาม. (ส.).
【 มาบ 】แปลว่า: น. บริเวณที่ลุ่มกว้างใหญ่ซึ่งอาจมีน้ำขังหรือไม่มีก็ได้.
【 มาปกะ 】แปลว่า: [-ปะกะ] น. ผู้ก่อสร้าง. (ป.).
【 มาภา 】แปลว่า: (แบบ) น. แสงจันทร์ เช่น มาพ่างมาภาเป็น ปิ่นแก้ว. (ยวนพ่าย).
(ป. มา ว่า พระจันทร์ + อาภา ว่า แสงสว่าง).
【 ม้าม 】แปลว่า: น. อวัยวะภายในร่างกายริมกระเพาะอาหารข้างซ้าย มีหน้าที่ทําลาย
เม็ดเลือดแดง สร้างเม็ดนํ้าเหลืองและสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย.
【 มาย 】แปลว่า: ก. ตวง, นับ. (ป.).
【 ม่าย 】แปลว่า: ก. มองผ่านเลยไป. ว. ไร้คู่ครองเพราะผัวหรือเมียตายจากไปและยัง
ไม่ได้แต่งงานใหม่ และหมายรวมถึงเพราะหย่าขาดจากกันด้วย,
ถ้าเป็นชายเรียกว่า พ่อม่าย, ถ้าเป็นหญิงเรียกว่า แม่ม่าย, โดยปริยาย
เรียกหญิงที่เลิกกับผัวว่า แม่ม่ายผัวร้าง หรือ แม่ร้าง, (โบ) ไร้คู่ผัวเมีย
เช่น อนึ่งหญิงใดหาผัวมิได้เปนม่ายถือกำนัลอยู่ในวัง. (สามดวง),
เขียนเป็น หม้าย ก็มี.
【 ม่ายขันหมาก 】แปลว่า: ว. เรียกหญิงที่คู่หมั้นตายหรือถอนหมั้นก่อนแต่งงาน.
【 ม่ายทรงเครื่อง 】แปลว่า: ว. เรียกแม่ม่ายที่มั่งมีว่า แม่ม่ายทรงเครื่อง.
【 ม่ายเมียง 】แปลว่า: ก. ทําอาการเมิน ๆ เมียง ๆ.
【 ม้าย่อง 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 มายัง 】แปลว่า: น. ดอกหมาก. (ช.).
【 มายา 】แปลว่า: น. มารยา, การลวง, การแสร้งทํา, เล่ห์กล. (ป., ส.).
【 มายากร 】แปลว่า: น. คนเล่นกล, คนแสดงกล.
【 มายากล 】แปลว่า: น. การเล่นกล, การแสดงกล.
【 มายาการ 】แปลว่า: น. ความเชื่อถือและการปฏิบัติที่มุ่งให้เกิดผลด้วยการใช้
พลังหรืออํานาจเหนือธรรมชาติ เช่นของขลัง พิธีกรรม หรือหลักลี้ลับ
บังคับให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ.
【 มายาวี 】แปลว่า: น. ผู้มีมารยา, ผู้มีเล่ห์เหลี่ยมทําให้ลุ่มหลง, เจ้าเล่ห์. (ป., ส.).
【 มายาประสาน 】แปลว่า: /ดู กําแพงขาว/.
【 มาร, มาร- 】แปลว่า: [มาน, มาระ-, มานระ-] น. เทวดาจําพวกหนึ่ง มีใจบาปหยาบช้าคอย
กีดกันไม่ให้ทําบุญ; ยักษ์; ผู้ฆ่า, ผู้ทำลาย, ในพระพุทธศาสนา
หมายถึงผู้กีดกันบุญกุศล มี ๕ อย่าง เรียกว่า เบญจพิธมาร คือ
ขันธมาร กิเลสมาร อภิสังขารมาร มัจจุมาร เทวบุตรมาร, โดยปริยาย
หมายถึงผู้ที่เป็นอุปสรรคขัดขวาง. (ป., ส.).
【 มารคอหอย 】แปลว่า: มาน- น. ผู้ที่ขัดผลประโยชน์ที่ผู้อื่นจะพึงมีพึงได้.
【 มารชิ, มารชิต 】แปลว่า: [มาระชิ, มาระชิด] น. “ผู้ชนะมาร” คือ พระพุทธเจ้า.
(ป. มารชิ; ส. มารชิตฺ).
【 มารผจญ 】แปลว่า: [มาน-] ก. มารยกทัพมารบ, มารที่ยกทัพมาขัดขวางการ
บำเพ็ญเพียรของพระพุทธเจ้า; โดยปริยายหมายความว่า ขัดขวาง
ไม่ให้สําเร็จประโยชน์.
【 มารวิชัย 】แปลว่า: [มาระ-, มาน-] น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระ
อิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์
ขวาวางควํ่าลงที่พระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงที่พื้นธรณีในคราวที่
พระองค์ทรงเอาชนะมารได้ ว่า พระปางมารวิชัย, พระปางชนะมาร
หรือ พระปางสะดุ้งมาร ก็เรียก. (ป.).
【 มารสังคม 】แปลว่า: [มาน-] น. ผู้ที่เป็นภัยต่อสังคม.
【 มารหัวขน 】แปลว่า: มาน- น. ลูกที่อยู่ในท้องซึ่งยังไม่ปรากฏว่าใคร
เป็นพ่อ หรือไม่มีใครรับว่าเป็นพ่อ.
【 มาราธิราช 】แปลว่า: น. พญามาร. (ป.).
【 มารค 】แปลว่า: [มาก] น. ทาง เช่น ชลมารค สถลมารค. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).
【 มารดร, มารดา 】แปลว่า: [มานดอน, มานดา] น. แม่. (ป. มาตา; ส. มาตฺฤ).
【 มารยา 】แปลว่า: [มานยา] น. การลวง, การแสร้งทํา, เล่ห์กล, เช่น เจ้ามารยา
มารยามาก ทำมารยา. (แผลงมาจากมายา).
【 มารยาสาไถย 】แปลว่า: น. การทำให้เขาหลงผิดหรือเข้าใจผิด เช่น เขาทำมารยาสาไถย.
【 มารยาท 】แปลว่า: [-ระยาด] น. มรรยาท, กิริยาวาจาที่ถือว่าสุภาพเรียบร้อยถูกกาลเทศะ.
(ส. มรฺยาทา; ป. มริยาท).
【 มารศรี 】แปลว่า: มาระสี น. นาง, นางงาม.
【 มารษา 】แปลว่า: [มานสา] น. คําปด, คําเท็จ, คําไม่จริง. (ส. แผลงมาจาก มฺฤษา).
【 มาระ 】แปลว่า: ก. โกรธ. (ช.).
【 มาราธิราช 】แปลว่า: /ดู มาร, มาร-/.
【 ม้ารำ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 มาริ 】แปลว่า: ก. มา. (ช.).
【 มาริต 】แปลว่า: ว. ถูกฆ่าแล้ว. (ป., ส.).
【 มารุต 】แปลว่า: น. ลม. ว. เกี่ยวแก่ลม, เนื่องจากลม. (ส.; ป. มารุต, มาลุต).
【 มารุมมาตุ้ม 】แปลว่า: ว. มะรุมมะตุ้ม, กลุ้มรุมทําให้เกิดรําคาญ, เช่น เจ้าหนี้มามารุมมาตุ้ม
ทวงหนี้กันใหญ่.
【 มาลย์ 】แปลว่า: (แบบ) น. ดอกไม้, ดอกไม้ที่ร้อยเป็นพวง. (ป., ส. มาลฺย).
【 ม้าล่อ 】แปลว่า: น. แผ่นโลหะสัมฤทธิ์ รูปคล้ายถาด ตีให้มีเสียงดัง เป็นของจีนใช้.
【 มาลัย 】แปลว่า: น. ดอกไม้ประดิษฐ์แบบไทยลักษณะหนึ่ง โดยการนำดอกไม้
กลีบดอกไม้ และใบไม้มาร้อยด้วยเข็มแล้วรูดออกมาใส่ด้ายผูก
เป็นพวง มีลักษณะต่าง ๆ กัน, พวงมาลัย ก็เรียก. (เทียบทมิฬ มาไล).
【 มาลัยชายเดียว 】แปลว่า: น. มาลัยที่มีอุบะห้อยชายเพียงพวงเดียว, มาลัยมือ
มาลัยข้อมือ หรือ มาลัยเปีย ก็เรียก.
【 มาลัยชำร่วย 】แปลว่า: น. มาลัยพวงเล็ก ๆ สำหรับให้เป็นของชำร่วย
มีหลายแบบ เช่น มาลัยตุ้ม มาลัยตัวด้วง.
【 มาลัยสองชาย 】แปลว่า: น. มาลัยที่มี ๒ ชาย มีอุบะห้อยข้างละ ๑ พวง.
【 มาลา 】แปลว่า: น. ดอกไม้, ดอกไม้ที่จัดแต่งขึ้นตามโครงรูปต่าง ๆ เช่น วงกลม
วงรี มักมีใบไม้เป็นส่วนประกอบด้วย สำหรับวางที่อนุสาวรีย์
พระบรมรูป หรือศพ เป็นต้น เพื่อเป็นเกียรติหรือแสดงความเคารพ
เรียกว่า พวงมาลา; หมวก (ราชาศัพท์ใช้ว่า พระมาลา); สร้อยคอ;
สาย, แถว. (ป., ส.).
【 มาลากรรม 】แปลว่า: น. การช่างดอกไม้.
【 มาลาการ 】แปลว่า: น. ช่างทําดอกไม้. (ป., ส.).
【 มาลาตี 】แปลว่า: น. มะลิชนิดหนึ่ง. (ช.).
【 มาลาเรีย 】แปลว่า: น. ไข้จับสั่น.
【 มาลินี 】แปลว่า: น. ชื่อฉันท์ชนิดหนึ่ง บาทหนึ่งมี ๑๕ พยางค์; ผู้แต่งด้วยพวงดอกไม้
(เฉพาะเพศหญิง). (ป., ส.).
【 มาลี ๑ 】แปลว่า: น. ผู้แต่งด้วยพวงดอกไม้, เพศหญิงใช้ว่า มาลินี. (ป.; ส. มาลินฺ).
【 มาลี ๒ 】แปลว่า: (กลอน) น. ดอกไม้ทั่วไป.
【 มาลุต 】แปลว่า: [-ลุด] น. ลม. (ป.; ส. มารุต).
【 มาศ 】แปลว่า: น. ทอง; กํามะถัน.
【 มาส ๑ 】แปลว่า: น. พระจันทร์, เดือน. (ป., ส.).
【 มาส ๒ 】แปลว่า: /ดู ราชมาษ, ราชมาส/.
【 มาสก 】แปลว่า: [มา-สก] น. ชื่อมาตราเงินในครั้งโบราณ ๕ มาสก เป็น ๑ บาท. (ป.; ส. มาษก).
【 ม้าสะบัดกีบ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 มาห์, ม่าห์ 】แปลว่า: น. ผี, ยักษ์, ผู้ไม่ใช่มนุษย์และดิรัจฉาน. (เทียบญวน หม่า).
【 มาหิส 】แปลว่า: ว. เกี่ยวกับควาย, เนื่องจากควาย. (ป.; ส. มาหิษ).
【 ม่าเหมี่ยว ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อด้วงปีกแข็งชนิด /Martinus dermestoides/ ยาวประมาณ
๗ มิลลิเมตร กว้างประมาณ ๓ มิลลิเมตร สีนํ้าตาลเกือบดําตลอดทั้ง
ลําตัว ขา และปีก กินเมล็ดบัวแห้ง ข้าวเย็นเหนือ ข้าวเย็นใต้
เชื่อกันว่าเป็นยากระตุ้นทางเพศ, กระดิ่งทอง ก็เรียก.
【 ม่าเหมี่ยว ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อชมพู่สาแหรกที่ผลสีแดงเข้ม.
【 มาฬก 】แปลว่า: [มา-ลก] น. พลับพลา, ปะรํา, โรงพิธี. (ป.).
【 ม้าอ้วน 】แปลว่า: น. ชื่อกับข้าวชนิดหนึ่งทําด้วยไข่นึ่งเป็นชิ้น ๆ.
【 มำเลือง 】แปลว่า: (กลอน) ว. เมลือง, งาม, รุ่งเรือง, เปล่งปลั่ง, สุกใส.
【 มิ ๑ 】แปลว่า: ว. ไม่ เช่น มิทราบ มิควร มิบังอาจ.
【 มิดีมิร้าย 】แปลว่า: ว. ชั่วร้าย, ไม่สมควร; อาการที่ล่วงเกินในเชิงชู้สาว.
【 มิได้ 】แปลว่า: ว. ไม่ได้, ไม่ใช่.
【 มิอย่ารา 】แปลว่า: ว. ไม่เลิก, ไม่หยุด.
【 มิอย่าเลย 】แปลว่า: ว. ไม่เลิกเลย, ไม่เป็นอย่างอื่นเลย.
【 มิหนำซ้ำ 】แปลว่า: ว. เท่านี้ยังไม่เพียงพอ, หนักยิ่งไปกว่านั้นอีก, เช่น
ตัดเท้าตัดกรแล้วมิหนำ ซ้ำฆ่าสุริย์วงศ์ยักษี. (รามเกียรติ์).
【 มิ ๒ 】แปลว่า: ก. เฉย, ไม่ค่อยพูดจา, เช่น รามสูรได้ยินสิ้นสติลงนั่งมิจะทำกระไรได้.
(บทระบำตลก พระราชนิพนธ์ ร.๕).
【 มิค, มิค-, มิคะ 】แปลว่า: [มิคะ, มิกคะ-] น. สัตว์ป่ามีกวางอีเก้งเป็นต้น. (ป.).
【 มิคชาติ 】แปลว่า: น. เนื้อ, หมู่เนื้อ.
【 มิคลุท, มิคลุทกะ 】แปลว่า: [-ลุด, -ลุดทะกะ] น. พรานเนื้อ, คนที่
เที่ยวฆ่าสัตว์ในป่าเป็นอาชีพ. (ป. มิคลุทฺท, มิคลุทฺทก).
【 มิคเศียร, มิคสิร-, มิคสิระ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อเดือนที่ ๑ แห่งจันทรคติ,
เดือนอ้ายตกราวเดือนธันวาคม. (ป.).
【 มิคสัญญี 】แปลว่า: น. ชื่อยุคหนึ่งที่มีแต่รบราฆ่าฟันเบียดเบียนกัน. (ป.).
【 มิคสิระ ๒, มฤคศิระ, มฤคเศียร 】แปลว่า: [-, มะรึกคะสิระ, มะรึกคะเสียน]
น. ดาวฤกษ์ที่ ๕ มี ๓ ดวง เห็นเป็นรูปหัวเต่า, ดาวหัวเต่า ดาวหัวเนื้อ
ดาวศีรษะเนื้อ ดาวศีรษะโค ดาวมฤคศิรัส หรือ ดาวอาครหายณี
ก็เรียก. (ป. มิคสิร; ส. มฺฤคศิรสฺ).
【 มิคี 】แปลว่า: น. แม่เนื้อ, นางเนื้อ. (ป.).
【 มิคี 】แปลว่า: /ดู มิค, มิค-, มิคะ/.
【 มิ่ง 】แปลว่า: น. สิ่งเป็นสิริมงคล เช่น มิ่งเมือง เมียมิ่ง.
【 มิ่งขวัญ 】แปลว่า: น. สิ่งหรือผู้เป็นที่รักหรือเคารพนับถือ.
【 มิ่งมงคล 】แปลว่า: น. สิ่งที่ถือว่าเป็นสิริมงคลอันจะนำความสุขความเจริญมาสู่.
【 มิ่งมิตร 】แปลว่า: น. เพื่อนรัก, เมียรัก.
【 มิ่งเมีย 】แปลว่า: น. เมียที่ถือว่านำสิ่งมงคลมาสู่สามีและครอบครัว.
【 มิงโค 】แปลว่า: น. รอบ ๗ วัน, สัปดาห์หนึ่ง. (ช.).
【 มิจฉา 】แปลว่า: [มิดฉา] ว. ผิด, แผลงใช้ว่า มฤจฉา ก็มี. (ป. มิจฺฉา; ส. มถฺยา).
【 มิจฉากัมมันตะ 】แปลว่า: น. “การงานอันผิด” คือ ประพฤติกายทุจริต. (ป.).
【 มิจฉาจริยา 】แปลว่า: น. การประพฤติผิด.
【 มิจฉาจาร 】แปลว่า: น. การประพฤติผิด. (ป. มิจฺฉา + อาจาร).
【 มิจฉาชีพ 】แปลว่า: น. การหาเลี้ยงชีวิตในทางผิด, อาชีพที่ผิดกฎหมาย, เช่น
เขาประกอบมิจฉาชีพ. ว. ที่หาเลี้ยงชีวิตในทางผิด, ที่ประกอบอาชีพ
ผิดกฎหมาย, เช่น พวกมิจฉาชีพ. (ป. มิจฺฉา + อาชีว).
【 มิจฉาทิฐิ 】แปลว่า: น. ความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม. (ป.).
【 มิจฉาบถ 】แปลว่า: น. ทางดําเนินผิด. (ป.).
【 มิจฉาวาจา 】แปลว่า: น. “การเจรจาถ้อยคําผิด” คือ ประพฤติวจีทุจริต. (ป.).
【 มิจฉาวายามะ 】แปลว่า: น. ความพยายามผิด. (ป.).
【 มิจฉาสติ 】แปลว่า: น. ความระลึกในทางผิด. (ป.).
【 มิจฉาสมาธิ 】แปลว่า: น. สมาธิผิด, ความตั้งใจผิด. (ป.).
【 มิจฉาสังกัปปะ 】แปลว่า: น. ความดําริในทางที่ผิด. (ป.).
【 มิจฉาอาชีวะ 】แปลว่า: น. การเลี้ยงชีพในทางผิด.
【 มิญช- 】แปลว่า: [มินชะ-] น. เยื่อ, แก่นหรือเมล็ด. (ป.).
【 มิด 】แปลว่า: ว. อาการที่ลับหายไปหรือทำให้ลับหายไปจนหมดสิ้นอย่างปิดมิด
จมมิด บังมิดเป็นต้น, สนิท เช่น ปิดประตูให้มิด; ใช้เป็นกริยาหมายถึง
อาการอย่างนั้น เช่น มิดนํ้า มิดหัว.
【 มิดชิด 】แปลว่า: ว. ลับตา, ไม่ให้ใครเห็น, เช่น ซ่อนให้มิดชิด, สนิทแนบเนียน
เช่น ปิดประตูให้มิดชิด, เรียบร้อย เช่น ห่อให้มิดชิด.
【 มิดด้าม 】แปลว่า: ว. อาการที่ใช้มีดหรือของมีคมแทงเข้าไปจนจมถึงด้าม,
สุดก้น สุดด้าม หรือ สุดลิ่ม ก็ว่า.
【 มิดน้ำ 】แปลว่า: ว. อาการที่น้ำท่วมหัวเรือจนมิด เช่น หัวเรือมิดน้ำ.
【 มิดเม้น 】แปลว่า: ก. ซ่อนของเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้ลับตา.
【 มิดเมี้ยน 】แปลว่า: ว. ลับจนมองไม่เห็น; แสดงอาการซ่อนอายลับ ๆ ล่อ ๆ,
กระมิดกระเมี้ยน ก็ว่า.
【 มิดหัว 】แปลว่า: ว. อาการที่หัวจมหายลงไปในน้ำ เช่น ดำน้ำจนมิดหัว.
【 มิดหมี 】แปลว่า: ว. มาก, สนิท, ใช้ประกอบหลังคํา ดํา เป็น ดํามิดหมี.
【 มิต- 】แปลว่า: [-ตะ-] ว. พอประมาณ, น้อย. (ป.).
【 มิตภาณี 】แปลว่า: น. คนพูดพอประมาณ. (ป.).
【 มิตร, มิตร- 】แปลว่า: [มิด, มิดตฺระ-] น. เพื่อนรักใคร่คุ้นเคย เช่น มิตรแท้ มิตรเทียม
ฉันมิตร. (ส.; ป. มิตฺต).
【 มิตรจิต 】แปลว่า: น. ความมีนํ้าใจเอื้อเฟื้อเสมือนเพื่อนรัก, ความรักใคร่
ประนีประนอมฐานเพื่อนรัก, เช่น มีมิตรจิตต่อกัน.
【 มิตรจิตมิตรใจ 】แปลว่า: (สํา) น. ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน เช่น ต่างก็มีมิตรจิต
มิตรใจต่อกัน.
【 มิตรภาพ 】แปลว่า: น. ความเป็นเพื่อน เช่น มิตรภาพระหว่างเขาทั้งสอง. (ส.).
【 มิตรสหาย 】แปลว่า: [มิด-] น. เพื่อนฝูง.
【 มิติ ๑ 】แปลว่า: น. การวัด (มักใช้ประกอบหลังศัพท์อื่น) เช่น ตรีโกณมิติ สังคมมิติ,
ขนาดซึ่งวัดไปตามทิศทางใดทิศทางหนึ่ง โดยถือขนาดยาวเป็น
มิติที่ ๑ ขนาดกว้างเป็นมิติที่ ๒ ขนาดหนาหรือสูงเป็นมิติที่ ๓ และ
ถือว่าเวลาเป็นมิติที่ ๔, ในทางศิลปะอาจใช้ หนาหรือลึก แทน
กว้างหรือยาว ก็ได้. (ส.).
【 มิติ ๒ 】แปลว่า: น. ด้าน, มุมมอง, เช่น เปิดมิติใหม่ของวงการภาพยนตร์.
【 มิเตอร์ 】แปลว่า: น. เครื่องสำหรับวัดขนาด จำนวน เวลา และ มุม เช่น มิเตอร์น้ำ
มิเตอร์ไฟฟ้า, มาตร ก็ว่า. (อ. meter).
【 มิถยา 】แปลว่า: [มิดถะหฺยา] ว. มิจฉา. (ส. มิถฺยา; ป. มิจฺฉา).
【 มิถุน 】แปลว่า: น. ชื่อกลุ่มดาวราศีที่ ๒. (ป., ส. มิถุน ว่า คนคู่).
【 มิถุนายน 】แปลว่า: น. ชื่อเดือนที่ ๖ ตามสุริยคติ ซึ่งขึ้นต้นด้วยเดือนมกราคม
มี ๓๐ วัน; (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๓ ตามสุริยคติ ซึ่งขึ้นต้นด้วยเดือน
เมษายน. (ป., ส. มิถุน + อายน).
【 มิถุนายน 】แปลว่า: /ดู มิถุน/.
【 มิทธะ 】แปลว่า: [มิด-] น. ความท้อแท้, ความเชื่อมซึม. (ป., ส.).
【 มิทธี 】แปลว่า: [มิด-] ว. ท้อแท้, เชื่อมซึม. (ป.).
【 มินตรา 】แปลว่า: [-ตฺรา] น. ต้นกระถิน. (ช.).
【 มินตา 】แปลว่า: ก. ขอโทษ. (ช.).
【 มินหม้อ 】แปลว่า: น. เขม่าดําที่ติดก้นหม้อ, มักพูดเพี้ยนเป็น ดินหม้อ ก็มี.
【 มิน่า, มิน่าล่ะ, มิน่าเล่า 】แปลว่า: คําแสดงว่า รู้สาเหตุ.
【 มิ่ม 】แปลว่า: /ดู มิ้ม ๒/.
【 มิ้ม ๑ 】แปลว่า: ก. เม้ม, ปิดริม, พับริม.
【 มิ้ม ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อผึ้งขนาดเล็กชนิด /Apis florea/ ผึ้งงานยาวประมาณ ๘ มิลลิเมตร
อกกว้างประมาณ ๒.๕ มิลลิเมตร อาศัยอยู่รวมเป็นกลุ่ม ทํารังในที่
โล่งแจ้งเป็นแผ่นเดี่ยว ๆ มีขนาดตั้งแต่ฝ่ามือไปจนถึง ๓๐ เซนติเมตร
เมื่อเลี้ยงลูกโตแล้วจะทิ้งรังไปหาที่ใหม่ต่อไป, มิ่ม นิ่ม หรือ นิ้ม ก็เรียก.
【 มิยา 】แปลว่า: น. โต๊ะวางของ. (ช.).
【 มิไย 】แปลว่า: สัน. ถึงแม้, ถึงแม้ว่า, เช่น มิไยจะด่า หมายความว่า ถึงแม้จะด่า.
【 มิรันตี 】แปลว่า: น. ต้นดาวเรือง. (ช.).
【 มิลลิกรัม 】แปลว่า: น. ชื่อมาตราชั่งตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑ ใน ๑,๐๐๐ ของ ๑ กรัม,
อักษรย่อว่า มก. (ฝ. milligramme).
【 มิลลิบาร์ 】แปลว่า: (อุตุ) น. หน่วยวัดความกดอากาศ ๑ มิลลิบาร์มีค่าเท่ากับ ๑,๐๐๐ ดายน์
ต่อตารางเซนติเมตร หรือ ๑๐๐ นิวตันต่อตารางเมตร. (อ. millibar).
【 มิลลิเมตร 】แปลว่า: น. ชื่อมาตราวัดตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑ ใน ๑,๐๐๐
ของ ๑ เมตร, อักษรย่อว่า มม. (ฝ. millim?tre).
【 มิลลิลิตร 】แปลว่า: น. ชื่อมาตราตวงตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑ ใน ๑,๐๐๐
ของ ๑ ลิตร, อักษรย่อว่า มล. (ฝ. millilitre).
【 มิลักขะ, มิลักขู 】แปลว่า: น. คนป่าเถื่อน. (ป.).
【 มิลาต 】แปลว่า: ว. เหี่ยว, โรย; อิดโรย, เมื่อย. (ป.).
【 มิศร-, มิศรก- 】แปลว่า: [มิดสะระ-, มิดสะระกะ-] ว. เจือ, ปน, คละ; ประสมขึ้น. (ส.; ป. มิสฺส,
【 มิสฺสก). 】แปลว่า:
【 มิส-, มิสก- 】แปลว่า: [มิดสะ-, มิดสะกะ-] ว. เจือ, ปน, คละ. (ป. มิสฺส, มิสฺสก; ส. มิศฺร, มิศฺรก).
【 มิสกวัน 】แปลว่า: น. ชื่อสวนของพระอินทร์ ๑ ใน ๔ แห่ง ได้แก่ นันทวัน
ปารุสกวัน จิตรลดาวัน และมิสกวัน. (ป. มิสฺสกวน; ส. มิศฺรกวน);
ป่าที่มีไม้ต่าง ๆ ระคนกัน.
【 มิสกรี 】แปลว่า: [มิดสะกฺรี] น. เสื้อที่ใช้ผ้าค่อนข้างบาง ลักษณะเป็นเสื้อคอกลม
ผ่าหน้าลึกพอให้สวมได้ แขนเสื้อต่อเป็นเส้นตรง.
【 มิสซา 】แปลว่า: น. พิธีกรรมในศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก เพื่อระลึกถึง
พระเยซูที่ทรงสั่งเสียสาวกขณะที่รับประทานอาหารมื้อสุดท้าย
โดยสัญญาว่า เมื่อประกอบพิธีแบ่งขนมปังดังที่พระองค์กระทํา
พระองค์จะเสด็จมาประทับร่วมด้วยทุกครั้ง. (ล. missa; อ. mass).
【 มี 】แปลว่า: ว. รวย เช่น เขาเป็นคนมี ไม่ใช่คนจน, ไม่เปล่า, ไม่ว่าง, เช่น ในหม้อ
มีข้าว ในห้องน้ำมีคน. ก. ถือเป็นเจ้าของ, อยู่ในครอบครอง, เช่น
มีเงิน มีลูก, ประกอบด้วย เช่น อริยสัจ ๔ มี ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค,
ปรากฏ เช่น มีดาวหางขึ้นในท้องฟ้า, เกิด เช่น มีโรคระบาด, คงอยู่
เช่น มีคนอยู่ไหม.
【 มีแก่ใจ 】แปลว่า: ก. เอาใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่, มีนํ้าใจ, มักกร่อนเป็น มีกะใจ.
【 มีครรภ์ 】แปลว่า: ก. มีลูกอยู่ในท้อง, มีท้อง ก็ว่า.
【 มีชีวิตชีวา 】แปลว่า: ว. มีความสดชื่นคึกคัก.
【 มีชื่อ, มีชื่อเสียง 】แปลว่า: ว. มีเกียรติยศชื่อเสียง.
【 มีชู้ 】แปลว่า: ก. ล่วงประเวณีกับชายอื่นที่มิใช่สามีของตน.
【 มีตระกูล 】แปลว่า: ว. ที่สืบเชื้อสายมาจากตระกูลสูง เช่น เขาเป็นลูกผู้ดีมีตระกูล.
【 มีตาแต่หามีแววไม่ 】แปลว่า: (สำ) ก. ดูแต่ไม่ลึกซึ้ง, เซ่อ.
【 มีทองเท่าหนวดกุ้ง นอนสะดุ้งจนเรือนไหว 】แปลว่า: (สํา) ก. มีสมบัติเพียงเล็กน้อย
แต่กังวลจนนอนไม่หลับ.
【 มีท้อง 】แปลว่า: ก. มีลูกอยู่ในท้อง, มีครรภ์ ก็ว่า.
【 มีท้องมีไส้ 】แปลว่า: (ปาก) ก. มีท้อง.
【 มีน้ำมีนวล 】แปลว่า: ว. มีสง่าราศี, มีผิวพรรณผ่องใส.
【 มีปากมีเสียง 】แปลว่า: ก. ทะเลาะกัน, ทุ่มเถียงกัน.
【 มีเฟื้องมีสลึง 】แปลว่า: (สํา) ก. มีเงินเล็กน้อย.
【 มีภาษีกว่า 】แปลว่า: (สํา) ว. ได้เปรียบ.
【 มีมือมีเท้า 】แปลว่า: ก. มีผู้คอยช่วยเหลือเปรียบเสมือนมือและเท้า.
【 มีเรือน 】แปลว่า: ว. มีครอบครัว, แต่งงานแล้ว, (ตามปรกติใช้แก่ผู้หญิง),
มีเหย้ามีเรือน ก็ว่า
【 มีเสียง 】แปลว่า: ก. เถียง, มักใช้ในความปฏิเสธว่า อย่ามีเสียงนะ.
【 มีหน้า 】แปลว่า: ว. ไม่รู้สึกอาย (ใช้ในความแดกดัน รังเกียจ หรือดูหมิ่น),
มักใช้กับคํา ยัง เช่น โกรธกันแล้วยังมีหน้ามาพูด เก่าไม่ใช้ ยังมีหน้ามายืมใหม่อีก.
【 มีหน้ามีตา 】แปลว่า: ว. มีคนนับถือ, มีเกียรติ, ได้รับความยกย่อง.
【 มีหวัง 】แปลว่า: ก. มีโอกาสที่จะได้ดังที่หวัง.
【 มีอันจะกิน 】แปลว่า: ว. ค่อนข้างมั่งมี.
【 มีอันเป็น 】แปลว่า: ก. เกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝัน (มักใช้ในทางร้ายมีภัยพิบัติเป็นต้น)
เช่น ขอให้มีอันเป็นไปเถิด มีอันเป็นให้ป่วยไข้เวลามีนัด.
【 มีอายุ 】แปลว่า: ว. สูงอายุ, ย่างเข้าปัจฉิมวัย.
【 มี่ 】แปลว่า: ว. อึกทึก, เสียงแซ่.
【 มี่ฉาว 】แปลว่า: ว. อึกทึก, เอิกเกริก, เกรียวกราว.
【 มีด 】แปลว่า: น. เครื่องใช้สำหรับฟัน ผ่า จัก เหลา เป็นต้น ทำด้วยโลหะมีเหล็ก
เป็นต้น ใบมีดมีลักษณะเป็นแผ่น รูปยาวรี มีคมด้านหนึ่ง มีสันอยู่อีก
ด้านหนึ่ง หรือมีคมทั้ง ๒ ด้าน ปลายมีดรูปร่างแหลมก็มี ป้านก็มี
โคนมีดเป็นกั่นรูปเดือยเรียวแหลม หรือเป็นแผ่นสอดติดอยู่ในด้าม
ซึ่งมักทำด้วยไม้หรือเขาสัตว์ มีชื่อเรียกต่าง ๆ ตามลักษณะและ
วัตถุประสงค์ที่ใช้.
【 มีดกราย 】แปลว่า: น. มีดขนาดใหญ่ รูปเพรียวยาว หัวตัด ใช้ถือกรีดกราย,
พร้ากราย พร้าโอ หรือ มีดโอ ก็เรียก.
【 มีดกรีดกล้วย 】แปลว่า: น. มีดขนาดเล็ก ใบมีดรูปยาวรี ปลายแหลมโค้งงอ
ด้ามทำด้วยไม้ ใช้กรีดหรือผ่าเปลือกกล้วยปิ้ง.
【 มีดกรีดยาง 】แปลว่า: น. มีดขนาดกลาง ใบมีดรูปงอเป็นขอคล้ายเคียวเกี่ยวข้าว
ใช้กรีดเปลือกต้นยางพารา.
【 มีดแกะ 】แปลว่า: น. มีดขนาดเล็ก ใบมีดแบนยาวปลายตัดเฉียงและแหลม
คมมีดอยู่ตรงปลายเฉียง มีด้าม ใช้ในงานแกะไม้.
【 มีดโกน 】แปลว่า: น. มีดสำหรับโกนผมหรือหนวดเคราเป็นต้น มีดโกนอย่าง
เก่ารูปร่างคล้ายมีดโต้ สันหนา คมบาง ปรกติมีฝักหุ้มส่วนคม
มีดโกนอย่างใหม่ใบมีดยาวรี สันหนา คมบาง มีฝักหุ้มคมเช่นกัน
มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มีดโกนโมกุล.
【 มีดขอ 】แปลว่า: น. มีดขนาดใหญ่ ใบมีดยาว ปลายงอเป็นรูปขอ ด้ามยาว
๑-๒ ศอก ใช้สำหรับเกี่ยว ตัด ลิด หรือราน, พร้าขอ ก็เรียก.
【 มีดควั่นอ้อย 】แปลว่า: น. มีดขนาดกลาง ใบมีดรูปยาวรี ปลายมน มีด้าม เจาะรู
ที่ปลายใบมีดสำหรับสอดปลายเข้ากับหลักควั่นอ้อย ใช้ควั่นอ้อย.
【 มีดคว้าน 】แปลว่า: น. มีดขนาดเล็ก ใบมีดรูปยาวรีคล้ายใบหญ้า มักทำด้วย
ทองเหลือง ปลายแหลมโค้งเล็กน้อย ด้ามมักทำด้วยไม้หรือเขาสัตว์
ใช้ปอก จัก คว้านผลไม้.
【 มีดเจียนหนัง 】แปลว่า: น. มีดขนาดย่อม ใบมีดเป็นแผ่นแบนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
มีคมอยู่ตรงปลายมีดที่ตัดเผล้ ส่วนโคนมีกั่นโค้งงอคล้ายคอห่านสอด
ติดกับด้ามขนาดพอกำได้สะดวก ใช้ตัดเจียนหนังสัตว์.
【 มีดเจียนหมาก 】แปลว่า: น. มีดบางขนาดเล็ก ใบมีดรูปยาวรี ปลายเสี้ยว
ด้ามมักทำด้วยไม้หรือเขาสัตว์ ใช้เจียนหมาก.
【 มีดชายธง 】แปลว่า: น. มีดขนาดย่อม ใบมีดเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายแหลม
ยาวประมาณ ๑ คืบ ด้ามสั้น ใช้พกเป็นอาวุธ.
【 มีดซุย 】แปลว่า: น. มีดขนาดย่อม ใบมีดรูปร่างคล้ายปลาลิ้นหมา ปลายแหลม
สันหนา คมบาง ยาวประมาณ ๑ คืบ ด้ามสั้น ใช้พกเป็นอาวุธ.
【 มีดดาบ 】แปลว่า: น. มีดขนาดใหญ่ ใบมีดรูปยาวรีประมาณ ๑ ศอก ปลายงอน
ขึ้นเล็กน้อย ด้ามทำด้วยไม้ยาว ๑ คืบ ดาบของหลวงปรกติสอดไว้ในฝัก
ดาบเชลยศักดิ์ไม่นิยมทำฝักสำหรับสอดดาบ ใช้เป็นอาวุธ มีชื่อเรียก
ต่างกันออกไปตามลักษณะปลายดาบ, ถ้าปลายแหลม หัวงอน เรียกว่า
มีดดาบหัวปลาซิว, ถ้าปลายมนแหลมเรียกว่า มีดดาบหัวปลาหลด,
ถ้าปลายตัดขวางเรียกว่า มีดดาบหัวตัด, ถ้าปลายแหลมตัดปลายสันเฉียง
ปัดไปทางปลายดาบเรียกว่า มีดดาบหัวเผล้.
【 มีดตอก 】แปลว่า: น. มีดขนาดกลาง ใบมีดรูปร่างป้าน ๆ สันหนา คมบาง ด้ามยาว
และมีปลายงอนขึ้นคล้ายคันธนู ใช้จักตอก เหลาไม้หรือหวาย.
【 มีดต้องสู้ 】แปลว่า: น. มีดขนาดใหญ่ มีลักษณะคล้ายดาบ ปลายตัดเป็นหยัก
ด้ามทำด้วยโลหะหรือไม้หุ้มโลหะ ปรกติสอดใบมีดไว้ในฝัก เป็นมีด
ที่นิยมใช้กันในหมู่ชาวต้องสู้.
【 มีดตัดกระดาษ 】แปลว่า: น. มีดขนาดเล็กหรือโลหะแบน ๆ อย่างมีด ใช้ตัดกระดาษ
หรือซองจดหมายเป็นต้น.
【 มีดโต้ 】แปลว่า: น. มีดขนาดใหญ่ กลาง และเล็ก ใบมีดมีรูปร่างคล้ายน้ำเต้าผ่าเสี้ยว
หัวโต สันหนา โคนมีดแคบ ด้ามทำด้วยไม้เป็นบ้องต่อออกไปจากตัวมีด
ขนาดสั้นพอมือกำ มีดโต้ขนาดใหญ่และกลาง ใช้ฟันหรือผ่าทั่วไป
ขนาดเล็กใช้กรีดหรือผ่าทุเรียนเป็นต้น, พร้าโต้ หรือ อีโต้ ก็เรียก.
【 มีดโต๊ะ 】แปลว่า: น. มีดขนาดกลางและเล็ก ใช้ตัดหรือเฉือนอาหาร เช่น เนื้อ
ปลา ในเวลารับประทานอาหารแบบฝรั่ง.
【 มีดทอง 】แปลว่า: น. มีดขนาดกลางและเล็ก ทำด้วยทองเหลืองหรือทองม้าล่อ
ใบมีดรูปยาวรี มีทั้งชนิดปลายมนและปลายเสี้ยว ด้ามมักทำด้วยเขาสัตว์
ใช้ปอกผลไม้.
【 มีดแทงหยวก 】แปลว่า: น. มีดขนาดเล็ก ใบมีดแบนเรียว ปลายแหลมคล้ายใบข้าว
มีคม ๒ ด้าน ด้ามสั้นพอกำ ใช้แทงหรือฉลุหยวกกล้วยทำเป็นลวดลายใน
งานเครื่องสด.
【 มีดบังตอ 】แปลว่า: น. มีดขนาดใหญ่ ใบมีดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สันหนาและแอ่นโค้ง
ด้ามทำด้วยไม้ขนาดสั้นพอมือกำ ใช้สับเนื้อและกระดูกหมูเป็นต้น.
【 มีดบาง 】แปลว่า: น. มีดขนาดกลาง ใบมีดแบนยาว มีทั้งชนิดปลายมนและ
ปลายเสี้ยว ด้ามทำด้วยไม้หรือเขาสัตว์ ใช้หั่น เฉือน หรือซอยผัก
หรือเนื้อเป็นต้น.
【 มีดปาดตาล 】แปลว่า: น. มีดขนาดกลาง ใบมีดรูปร่างคล้ายปลากราย ปลายแหลม
สันหนา ด้ามทำด้วยไม้ยาวประมาณ ๑ คืบ ใช้ปาดงวงตาลหรืองวงมะพร้าว.
【 มีดแป๊ะกั๊ก 】แปลว่า: น. มีดขนาดใหญ่ ใบมีดรูปแบนยาวประมาณ ๑ ศอก สันหนา
ด้ามทำด้วยไม้ไผ่ยาวประมาณ ๓ ศอก ใช้เป็นอาวุธสำหรับทหารเดินเท้า
ในกองทัพสมัยโบราณ.
【 มีดพก 】แปลว่า: น. มีดขนาดเล็ก ใบมีดหนายาวเรียว ปลายแหลม มีคมด้านหนึ่ง
หรือทั้ง ๒ ด้าน ยาวประมาณ ๑ ฝ่ามือ ด้ามสั้นทำด้วยไม้ เขาสัตว์ หรืองา
ใช้พกเป็นอาวุธ.
【 มีดพับ 】แปลว่า: น. มีดขนาดเล็ก ใบมีดพับกลับเข้าไปซ่อนอยู่ในฝักซึ่งทำ
หน้าที่เป็นด้ามมีดอยู่ในตัวได้.
【 มีดพับสปริง 】แปลว่า: น. มีดพับที่มีสปริง มี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งเมื่อกดปุ่ม
หรือคานสปริงแล้วจึงจะง้างใบมีดออกหรือพับใบมีดเข้าร่องได้ กับ
อีกชนิดหนึ่ง เมื่อกดปุ่มหรือคานสปริงใบมีดจะดีดออกจากร่องหรือ
พับเข้าร่องได้.
【 มีดสปริง 】แปลว่า: น. มีดที่มีปุ่มสำหรับกดให้ใบมีดพุ่งออกมาหรือถอยกลับ
เข้าที่เดิมได้.
【 มีดสองคม 】แปลว่า: น. มีดขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายมีดพก แต่มีคมทั้ง ๒ ด้าน.
【 มีดสั้น 】แปลว่า: น. มีดขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายมีดพก แต่สันบางกว่า.
【 มีดสับหมู 】แปลว่า: น. มีดขนาดกลาง ใบมีดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าค่อนข้างหนา
ยาวประมาณ ๑ คืบด้ามเป็นบ้องต่อออกไปจากตัวมีดขนาดพอมือกำ
ถ้าเป็นแบบที่ใช้ในครัวมักทำสันงอนขึ้น และด้ามทำด้วยไม้.
【 มีดเสียม 】แปลว่า: น. มีดหัวเสียม.
【 มีดเสือซ่อนเล็บ 】แปลว่า: น. มีดขนาดเล็ก ใบมีดแบนเรียวปลายแหลม
ยาวประมาณครึ่งฝ่ามือ ชุดหนึ่งมี ๒ เล่ม ด้ามมีดทำเป็นท่อน
สี่เหลี่ยมยาว มีช่องสำหรับสอดใบมีดอีกเล่มหนึ่งสวนเข้าไปเก็บไว้
ได้มิดชิด มีดทั้ง ๒ เล่มเมื่อสอดใบมีดเข้าไปในด้ามของกันและกัน
แล้ว แลดูเหมือนไม้สี่เหลี่ยมท่อนสั้น ๆ ใช้พกเป็นอาวุธ.
【 มีดหมอ 】แปลว่า: น. มีดขนาดกลาง ใบมีดรูปร่างคล้ายมีดเหน็บ แต่โคนมีดมี
ชายแหลมโค้งออจากคมเล็กน้อย ใช้สำหรับประกอบในพิธีทาง
ไสยศาสตร์.
【 มีดหมู 】แปลว่า: น. มีดขนาดใหญ่ ใบมีดรูปสามเหลี่ยมชายธง ปลายแหลม
สันตรงและหนา คมโค้งขึ้นไปจดปลาย ด้ามทำด้วยไม้สั้นขนาดพอกำ
ใช้แล่เนื้อหมูตามเขียงหมู.
【 มีดหวด 】แปลว่า: น. มีดขนาดใหญ่ รูปเพรียวยาว ด้ามงอ ๆ สำหรับหวดหญ้า,
พร้าหวด ก็เรียก.
【 มีดหั่นยา 】แปลว่า: น. มีดขนาดกลาง ใบมีดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวประมาณ ๑ คืบ
ด้ามทำด้วยไม้ขนาดพอกำ ใช้หั่นใบยาสูบ.
【 มีดหัวเสียม 】แปลว่า: น. มีดขนาดกลาง ใบมีดปลายแบนป้าน โคนแคบ
ยาวประมาณ ๑ ศอก ด้ามทำด้วยไม้ยาว ๑ คืบ ใช้ถากหญ้าหรือขุด
ดินแทนเสียมได้, มีดเสียม หรือ พร้าเสียม ก็เรียก.
【 มีดเหน็บ 】แปลว่า: น. มีดขนาดกลาง ใบมีดรูปร่างปลายแหลม กลางป่อง
โคนแคบ สันค่อนข้างหนา ด้ามทำเป็นกั่นสอดติดกับด้ามไม้หรือทำ
เป็นบ้องติดอยู่ในตัวก็มี ปรกติสอดใบมีดไว้ในฝักซึ่งทำด้วยไม้หรือ
หวายสาน ไว้ขัดเอว ในเวลาออกนอกบ้าน ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง,
มีดอีเหน็บ ก็เรียก.
【 มีดเหลียน 】แปลว่า: น. มีดขนาดใหญ่ ใบมีดแบน ปลายกว้างโคนแคบ สันหนา
และโค้งดุ้งขึ้น โคนมีดทำเป็นบ้องหรือกั่นสอดติดกับด้ามไม้ยาว ใช้ถางป่า
ตัดอ้อย หรือรานกิ่งไม้เป็นต้น, มีดอีเหลียน ก็เรียก.
【 มีดอีเหน็บ 】แปลว่า: น. มีดเหน็บ.
【 มีดอีเหลียน 】แปลว่า: น. มีดเหลียน.
【 มีดโอ 】แปลว่า: น. มีดกราย.
【 มีดยับ 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน, พายัพ) น. ว่านหางช้าง. /[ดู หางช้าง (๑)]./
【 มีเทน 】แปลว่า: น. สารประกอบอินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นแก๊ส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น
ไวไฟ มีสูตร CH4 มีปรากฏในที่ซึ่งมีสารอินทรีย์ผุพังเน่าเปื่อย
ในบ่อถ่านหิน ในแก๊สธรรมชาติ ใช้ประโยชน์เป็นแก๊สเชื้อเพลิง
และใช้ในอุตสาหกรรมสังเคราะห์โปรตีนเป็นต้น. (อ. methane).
【 มีน 】แปลว่า: น. ปลา; ชื่อกลุ่มดาวรูปปลา เรียกว่า ราศีมีน เป็นราศีที่ ๑๑ ในจักรราศี. (ป., ส.).
【 มีนาคม 】แปลว่า: น. ชื่อเดือนที่ ๓ ตามสุริยคติ ซึ่งขึ้นต้นด้วยเดือนมกราคม มี ๓๑ วัน;
(เลิก) ชื่อเดือนที่ ๑๒ ตามสุริยคติ ซึ่งขึ้นต้นด้วยเดือนเมษายน. (ป. มีน + อาคม).
【 มีนาคม 】แปลว่า: /ดู มีน/.
【 มี่สั้ว 】แปลว่า: น. เส้นหมี่ขนาดเล็ก ๆ ทําด้วยแป้งสาลี ตากแห้งเก็บไว้ได้นาน. (จ.).
【 มีฬห- 】แปลว่า: [มีนหะ-] น. อุจจาระ. (ป.).
【 มึก 】แปลว่า: ก. กิริยาที่ดื่มเหล้าจนเมา; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ดื่มอย่างกระหาย.
【 มึกมวย 】แปลว่า: ก. เมามาย.
【 มึง 】แปลว่า: ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย, มักถือกันว่าไม่สุภาพหรือหยาบคาย,
เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
【 มึงวาพาโวย 】แปลว่า: ก. พูดจาเอะอะโวยวาย.
【 มึน 】แปลว่า: ก. เมาอ่อน ๆ, รู้สึกวิงเวียน เช่น มึนศีรษะ, รู้สึกตื้อในสมอง เช่น
อ่านหนังสือมากชักมึน, มึนหัว ก็ว่า.
【 มึนงง 】แปลว่า: ก. งงจนทําอะไรไม่ถูกหรือคิดอะไรไม่ออก.
【 มึนชา 】แปลว่า: ก. แสดงอาการเฉยเมยไม่ใยดี.
【 มึนซึม 】แปลว่า: ก. แสดงอาการเชื่อมซึมคล้ายเป็นไข้.
【 มึนตึง 】แปลว่า: ก. แสดงอาการออกจะโกรธ ๆ ไม่พูดด้วย ไม่มองหน้า.
【 มึนเมา 】แปลว่า: ก. เมาจนรู้สึกมึนหัว.
【 มึนหัว 】แปลว่า: ก. รู้สึกตื้อในสมอง, มึน ก็ว่า.
【 มืด 】แปลว่า: ว. ขาดแสงสว่าง เช่น เดือนมืด, มีแสงสว่างน้อย เช่น ไม่ควรอ่าน
หนังสือในที่มืด เพราะจะทำให้เสียสายตา, โดยปริยายหมายความว่า
เหลือรู้เหลือเห็น เช่น มือมืด. น. เวลาใกล้ฟ้าสาง เช่น ตื่นแต่มืด;
ค่ำ เช่น มืดแล้วทำไมไม่เปิดไฟ.
【 มืดครึ้ม 】แปลว่า: ว. มีแสงสว่างน้อยเพราะมีเมฆมากคล้ายจะมีฝนตก
เช่น ท้องฟ้ามืดครึ้ม.
【 มืดค่ำ 】แปลว่า: น. เวลาพลบคํ่าขมุกขมัว เช่น มืดค่ำแล้วเข้าบ้านเสียที.
【 มืดตึดตื๋อ, มืดตึ๊ดตื๋อ 】แปลว่า: ว. มืดมากจนมองไม่เห็นแสงสว่าง เช่น
ในถ้ำมืดตึ๊ดตื๋อ, มืดตื้อ หรือ มืดตื๋อ ก็ว่า.
【 มืดตื้อ, มืดตื๋อ 】แปลว่า: ว. มืดมากจนมองไม่เห็นแสงสว่าง เช่น ในห้องนี้
มืดตื้ออย่างกับเข้าถ้ำ.
【 มืดแปดด้าน 】แปลว่า: ก. นึกไม่เห็น, คิดไม่ออก, จนปัญญาไม่รู้จะหาทางออก
ได้อย่างไร, เช่น ตอนนี้รู้สึกมืดแปดด้านไปหมด.
【 มืดฟ้ามัวดิน 】แปลว่า: ว. มีจำนวนมากมาย เช่น มีประชาชนมาร่วมงานมืดฟ้ามัวดิน.
【 มืดมน 】แปลว่า: ว. มืดมัว, มืดมาก, มืดจนมองไม่เห็นทาง, มักใช้เข้าคู่กับคํา อนธการ
เป็น มืดมนอนธการ.
【 มืดมัว 】แปลว่า: ว. มีแสงสว่างน้อย เช่น อากาศมืดมัว, ไม่แจ่มใส เช่น หูตามืดมัว.
มากจนรู้สึกมืดหน้า.
【 มืดหน้า 】แปลว่า: ว. มีอาการเวียนหัวเห็นอะไรพร่าไปหมด เช่น อากาศร้อน
【 มืน 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) ก. ลืม, เปิด, แย้ม, (ใช้แก่ตา) เช่น มืนตา ว่า ลืมตา.
【 มื่น ๑ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) ก. ลื่น.
【 มื่น ๒ 】แปลว่า: ก. ชื่นบาน เช่น ชื่นมื่น.
【 มือ ๑ 】แปลว่า: น. อวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายอยู่ต่อจากปลายแขนประกอบด้วย
ฝ่ามือและนิ้วมือ สําหรับจับเป็นต้น, เรียกสิ่งหรืออุปกรณ์บางชนิด
ที่มีรูปร่างอย่างมือและใช้จับแทนมือได้ เช่น มือกล มือหุ่นยนต์;
เรียกผู้ร่วมเล่นการพนันบางอย่างหรือแชร์เป็นต้นว่า มือ เช่น
คนหนึ่งจะเล่นกี่มือก็ได้; หนวดของไม้เลื้อยบางชนิดใช้เกาะ
สิ่งอื่นอย่างมือ เช่น มือตําลึง มือบวบ; ลักษณนามบอกจำนวน
นับ ๕ ลูก เป็น ๑ มือ (ใช้ในเวลานับผลไม้บางชนิด เช่น มะปราง
มังคุด เงาะ).
【 มือกาว 】แปลว่า: ว. ขี้ขโมย. น. ผู้ที่เก่งหรือชำนาญในทางล้วงกระเป๋า,
ผู้ชำนาญในการหยิบฉวยสิ่งของของผู้อื่นติดมือไปเมื่อเจ้าของ
เผลอ, เรียกผู้รักษาประตูฟุตบอลที่รับลูกบอลได้แม่นยำโดยลูก
ไม่หลุดจากมืออย่างกับมือทากาวว่า ประตูมือกาว.
【 มือเก่า 】แปลว่า: ว. มีความชํานาญหรือชํ่าชองมาก เช่น อย่าประมาท
มือเก่านะเจ้าเอ๋ย. (อภัย).
【 มือขวา 】แปลว่า: น. ความสันทัด เช่น การรบพุ่งชิงชัยมันเป็นมือขวา
ของเขานี่ครับ. (ชิงนาง ร. ๖). ว. ที่ใกล้ชิด, ที่เก่งกล้าสามารถ,
ที่ไว้วางใจได้, เช่น สมุนมือขวา.
【 มือขึ้น 】แปลว่า: ว. เจริญก้าวหน้าทางธุรกิจการค้า เช่น เขากำลังมือขึ้นใน
ทางการค้า; มีโชคดีในการพนัน เช่น เขากำลังมือขึ้นในการเล่นไพ่.
【 มือแข็ง 】แปลว่า: ว. ไม่ค่อยไหว้คนง่าย ๆ (เป็นคำที่ผู้ใหญ่ว่าผู้น้อย); เก่ง
เช่น เขาเป็นนักเทนนิสมือแข็ง; เล่นการพนันไม่ค่อยเสีย เช่น
เขามือแข็งในการเล่นโป, ตรงข้ามกับ มืออ่อน.
【 มือจับ 】แปลว่า: น. ส่วนที่ทำไว้สำหรับจับเวลาเปิดปิดประตูหรือในการ
ใช้งานอื่น ๆ เป็นต้น เช่น มือจับประตูรถยนต์ มือจับกบไสไม้
มือจับลิ้นชัก.
【 มือดี 】แปลว่า: ว. มีความชำนาญ, มีความสามารถสูง, เช่น เขาเป็นคน
มือดีของกองปราบ.
【 มือตก 】แปลว่า: ว. เสื่อมความสามารถลง เช่น หมู่นี้เล่นบิลเลียดมือตกไป,
เสื่อมความนิยม เช่น เขียนหนังสือมือตกไป, เสียมากกว่าได้
ในการเล่นการพนัน เช่น ตอนนี้เขาเล่นไพ่กำลังมือตก.
【 มือต้น 】แปลว่า: (ศิลปะ) น. ผู้ที่ลงมือทำงานเพียงคร่าว ๆ เป็นคนแรก.
【 มือเติบ 】แปลว่า: ก. ใช้หรือจ่ายมากเกินสมควรหรือเกินจำเป็น.
【 มือถือสาก ปากถือศีล 】แปลว่า: (สํา) ว. มักแสดงตัวว่าเป็นคนมีศีลมีธรรม
แต่กลับประพฤติชั่ว.
【 มือที่สาม 】แปลว่า: น. บุคคลฝ่ายที่ ๓ ซึ่งมิใช่คู่กรณี แต่สอดเข้ามาเกี่ยวข้อง
ในกิจกรรมหรือชีวิตของผู้อื่น มักจะเข้ามายุแหย่ให้เกิดความแตกแยก
หรือชอบเด็ดดอกไม้ใบไม้เป็นต้น.
【 มือเที่ยง 】แปลว่า: ว. แน่, แม่นยำ, เช่น เขายิงปืนมือเที่ยง; มีความสามารถ
ในการบังคับมือให้เขียนเส้นตรง เส้นโค้ง หรือลวดลายต่าง ๆ
เป็นต้น ได้ตามที่ต้องการ เช่นในการเขียนเส้นตรงได้ตรงเหมือน
ไม้บรรทัดหรือเขียนวงกลมได้กลมดิกเป็นต้น.
【 มือบน 】แปลว่า: ว. ผู้ทิ้งไพ่ให้มือต่อไป.
【 มือบอน 】แปลว่า: ว. อาการที่มืออยู่ไม่สุข ชอบขีดเขียนตามกําแพง
【 มือเบา 】แปลว่า: ว. อาการที่ใช้มือทําอะไรอย่างละมุนละไมหรือ
ประณีตบรรจง, ตรงข้ามกับ มือหนัก.
【 มือปลาย 】แปลว่า: (ศิลปะ) น. ผู้ที่ลงมือตกแต่งงานเป็นคนสุดท้าย.
【 มือปืน 】แปลว่า: น. ผู้ที่พกพาอาวุธปืนคอยคุ้มกันผู้มีอิทธิพลหรือ
ได้เสียด้วย.
【 มือเปล่า 】แปลว่า: น. มือที่ไม่ได้ถืออาวุธ เช่น สู้มือเปล่า, มือที่ไม่ได้ถือ
ของติดไปด้วย เช่น มามือเปล่า, ไม่ได้ลงทุน เช่น จับเสือมือเปล่า.
【 มือเป็นระวิง 】แปลว่า: (สำ) ว. อาการที่ใช้มือทำงานไม่ได้หยุด ในความว่า
ทำงานมือเป็นระวิง.
【 มือผี 】แปลว่า: น. ขาไพ่ตองที่เข้าเล่นพอให้ครบขาหรือครบวงไม่ต้อง
【 มือมืด 】แปลว่า: แล้วยังขัดขวางการทํางานของผู้อื่น.
เหลือเห็นว่าเป็นใคร.
【 มือโม่ 】แปลว่า: น. ไม้ที่ยื่นออกมาจากตัวโม่ มีเดือยสำหรับจับหมุน.
【 มือไม่ถึง 】แปลว่า: ว. มีความสามารถยังไม่ถึงระดับ.
【 มือไม่พาย เอาตีนราน้ำ, มือไม่พาย เอาเท้าราน้ำ 】แปลว่า: คนที่ลงมือทำเป็นคนที่ ๒ รองจากมือต้น.
【 มือเย็น 】แปลว่า: ว. เรียกคนที่มักปลูกต้นไม้ได้งอกงามดีว่า คนมือเย็น,
ตรงข้ามกับ มือร้อน.
【 มือรอง 】แปลว่า: น. ผู้มีความสำคัญเป็นคนที่ ๒ รองจากมือแรก,
【 มือร้อน 】แปลว่า: ว. เรียกคนที่มักปลูกต้นไม้ไม่ขึ้นหรือไม่งอกงามว่า คนมือร้อน,
ตรงข้ามกับ มือเย็น.
【 มือล่าง 】แปลว่า: น. ผู้รับไพ่ที่มือบนทิ้งให้.
【 มือลิง 】แปลว่า: น. ไม้สําหรับติดข้างเรือ อยู่ในระหว่างกงหรือต่อจากกง,
เรียกเรือต่อเช่นเรือสำปั้นที่มีมือลิง ๓ คู่ หรือ ๕ คู่ เป็นต้นอันแสดงถึง
ขนาดความยาวของเรือว่า เรือ ๓ มือลิง เรือ ๕ มือลิง.
【 มือไว 】แปลว่า: หรือฉ้อราษฎร์บังหลวง.
【 มือสอง 】แปลว่า: น. เพชฌฆาตที่ลงดาบประหารชีวิตนักโทษเป็นคนที่ ๒.
【 มือสะอาด 】แปลว่า: (สํา) ว. มีความประพฤติดี, มีความซื่อสัตย์สุจริตไม่คดโกง
【 มือสั้นตีนสั้น 】แปลว่า: (สํา) ก. ขาดกําลังที่จะช่วยให้กิจการสําเร็จด้วยดี.
【 มือสาม 】แปลว่า: น. เพชฌฆาตที่ลงดาบประหารชีวิตนักโทษเป็นคนที่ ๓.
【 มือสี 】แปลว่า: มักทำด้วยไม้ไผ่ สำหรับตะกุยสิ่งต่าง ๆ เช่น ถ่าน.
【 มือเสือ ๑ 】แปลว่า: น. ไม้รูปร่างคล้ายมือ มีซี่ ๖-๗ ซี่คล้ายนิ้ว ปลายงอ
【 มือหนัก 】แปลว่า: ว. อาการที่ใช้มือทําอะไรอย่างรุนแรงหรือไม่ประณีต
บรรจง, ตรงข้ามกับ มือเบา; มากผิดปรกติ (มักใช้ในการเล่น
การพนันหรือตกรางวัลเป็นต้น) เช่น เขาแทงโปมือหนัก
เขาตกรางวัลนักร้องมือหนักไป.
【 มือหนึ่ง 】แปลว่า: ผู้มีความสามารถยอดเยี่ยมในทางใดทางหนึ่ง เช่น เขาเป็นมือหนึ่ง
ทางประวัติศาสตร์.
【 มือห่างตีนห่าง 】แปลว่า: (สํา) ว. สุรุ่ยสุร่าย; เลินเล่อ, สะเพร่า, ไม่ระมัดระวัง.
【 มือใหม่ 】แปลว่า: ว. ยังไม่มีความชํานาญ.
【 มืออ่อน 】แปลว่า: ว. นอบน้อม, ไหว้คนง่าย (เป็นคำที่ผู้ใหญ่ชมผู้น้อย);
มีความสามารถน้อย เช่น เขายังมืออ่อนในการทำงาน, ตรงข้ามกับ มือแข็ง.
【 มืออ่อนตีนอ่อน 】แปลว่า: ว. มีอาการหมดแรงเพราะรู้สึกตกใจ เสียใจ
【 มือ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อส้มชนิด /Citrus medica/ L. var. /sarcodactylis/ Swing.
ในวงศ์ Rutaceae ซึ่งส่วนล่างของผลมีลักษณะคล้ายนิ้วมือ
ใช้ทํายาดมได้ เรียกว่า ส้มมือ.
【 มื้อ 】แปลว่า: น. เวลา, คราว, (ใช้เกี่ยวกับการกินอาหาร) เช่น อาหารมื้อเช้า
อาหารมื้อกลางวัน อาหารมื้อเย็น กินอาหารให้เป็นมื้อเป็นคราว,
ลักษณนามหมายถึง คราว, ครั้ง, หน, เช่น กินอาหารวันละ ๓ มื้อ.
【 มือเสือ ๑ 】แปลว่า: /ดูใน มือ ๑/.
【 มือเสือ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อมันชนิด /Dioscorea esculenta/ Burk. ในวงศ์ Dioscoreaceae
หัวเป็นแง่งมีรากติดอยู่โดยรอบ.
【 มุ 】แปลว่า: ก. ตั้งใจเอาจริงเอาจัง เช่น มุดูหนังสือ มุสู้ มุจะเอาชนะให้ได้,
มักใช้เข้าคู่กับคำ มานะ เป็น มุมานะ เช่น เขามุมานะทำงาน.
【 มุก 】แปลว่า: น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ในสกุล /Pinctada/ วงศ์ Pteriidae
อาศัยอยู่ตามแนวปะการัง ให้ไข่มุกและมุกซีก เปลือก
ใช้ทําเป็นเครื่องประดับได้.
【 มุกดา, มุกดาหาร 】แปลว่า: น. ไข่มุก; ชื่อรัตนะอย่างหนึ่งในพวกนพรัตน์ สีหมอกอ่อน ๆ.
(ส. มุกฺตา, มุกฺตาหาร; ป. มุตฺตา, มุตฺตาหาร, ว่า สร้อยไข่มุก).
【 มุกตลก 】แปลว่า: [-ตะหฺลก] น. วิธีทำให้ขบขัน.
【 มุกุระ 】แปลว่า: (แบบ) น. กระจกเงา. (ป., ส.).
【 มุกุละ 】แปลว่า: (แบบ) น. ดอกไม้ตูม. (ป., ส.).
【 มุข, มุข- 】แปลว่า: [มุก, มุกขะ-] น. หน้า, ปาก; ทาง; หัวหน้า; ส่วนของตึก
หรือเรือนที่ยื่นออกมาจากส่วนใหญ่ มักอยู่ด้านหน้า. (ป., ส.).
【 มุขกระสัน 】แปลว่า: น. มุขที่เชื่อมระหว่างพระที่นั่งองค์หนึ่งกับอีกองค์หนึ่ง.
【 มุขเด็จ 】แปลว่า: น. มุขโถงที่ยื่นออกมาจากหน้าอาคาร เป็นที่เสด็จออก.
【 มุขโถง 】แปลว่า: น. มุขที่ยื่นออกมาจากตัวอาคาร ไม่มีฝากั้น.
【 มุขบาฐ, มุขปาฐะ 】แปลว่า: [มุกขะบาด, มุกขะ-] น. การต่อปากกันมา,
การบอกเล่าต่อ ๆ กันมาโดยมิได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร,
เช่น เรื่องนี้สืบมาโดยมุขบาฐ เรื่องนี้เป็นมุขปาฐะ.
【 มุขมนตรี 】แปลว่า: [มุกขะมนตฺรี] น. ที่ปรึกษาราชการชั้นผู้ใหญ่.
【 มุขลด 】แปลว่า: น. พื้นอาคารลดระดับต่ำกว่าพื้นส่วนกลางอาคาร
อยู่ต่อออกมาทางหัวและท้ายอาคาร เช่น มุขลดศาลา
มุขลดพระที่นั่งต่าง ๆ.
【 มุขย- 】แปลว่า: [มุกขะยะ-] ว. สําคัญ, เป็นใหญ่. (ส.).
【 มุขยประโยค 】แปลว่า: น. ชื่อประโยคในตําราไวยากรณ์ได้แก่ ประโยคที่มี
【 มุโขโลกนะ 】แปลว่า: [-โลกะนะ] ว. เห็นแก่หน้า, เห็นแก่พวก, เช่น เขาเป็นคนมุโขโลกนะ. (ป.).
【 มุคคะ 】แปลว่า: [มุกคะ] น. ถั่วเขียว. (ป. มุคฺค).
【 มุคธ์ 】แปลว่า: [มุก] ว. เขลา, ไม่รู้เดียงสา. (ส. มุคฺธ).
【 มุคระ 】แปลว่า: [มุกคะระ] น. ไม้ค้อน. (ป. มุคฺคร; ส. มุทฺคร).
【 มุง 】แปลว่า: ก. เอาวัตถุมีกระเบื้องหรือจากเป็นต้น ขึ้นปิดส่วนบนของเรือนหรือหลังคา
เพื่อกันแดดกันฝน เช่น เอากระเบื้องมุงหลังคา; รุมกันเข้าไปดูอย่างไม่มี
ระเบียบ เช่น มีคนมุงดูคนเป็นลมเต็มไปหมด.
【 มุ่ง 】แปลว่า: ก. ตั้งใจ เช่น มุ่งทำความดี, ตั้งหน้า เช่น มุ่งศึกษาหาความรู้, ในบทกลอนใช้ว่า ม่ง ก็มี.
【 มุ่งแต่จะ 】แปลว่า: ก. มุ่งเฉพาะจะ เช่น เขามุ่งแต่จะทำงาน.
【 มุ่งมั่น 】แปลว่า: ก. ตั้งใจอย่างแน่วแน่ เช่น เขามุ่งมั่นในการทำความดี.
【 มุ่งมาด 】แปลว่า: ก. ปรารถนา, มักใช้เข้าคู่กันเป็น มุ่งมาดปรารถนา.
【 มุ่งร้ายหมายขวัญ 】แปลว่า: ก. คิดปองร้าย.
【 มุ่งหน้า 】แปลว่า: ก. ตรงไปสู่จุดหมาย เช่น เขามุ่งหน้าไปโรงเรียน.
【 มุ่งหมาย 】แปลว่า: ก. ตั้งใจที่จะให้บรรลุถึงจุดที่หมายไว้.
【 มุ่งหวัง 】แปลว่า: ก. ตั้งใจ, หวังจะเอาให้ได้.
【 มุ้ง 】แปลว่า: น. ผ้าหรือสิ่งอื่นที่ทําขึ้นสําหรับกางกันยุงหรือป้องกันยุง, ลักษณนามว่า หลัง.
【 มุ้งกระโจม 】แปลว่า: น. มุ้งที่มีรูปร่างอย่างจอมแห ใช้แขวนจากเพดานให้ชายด้านล่าง
คลุมเตียงหรือที่นอนจนถึงพื้นโดยรอบ.
【 มุ้งประทุน 】แปลว่า: น. มุ้งรูปโค้งคล้ายประทุน มีโครงเป็นลวดเหล็ก หุบเก็บและกางได้.
【 มุ้งลวด 】แปลว่า: น. มุ้งที่ทําด้วยตาข่ายลวดตาละเอียด, โดยอนุโลมเรียกห้องที่ใช้ตาข่าย
ลวดตาละเอียดกรุประตู หน้าต่าง และช่องลมเพื่อกันยุงหรือแมลงว่า ห้องมุ้งลวด.
【 มุ้งสายบัว 】แปลว่า: (ปาก) น. ห้องขังผู้ต้องหา.
【 มุ้งกระต่าย 】แปลว่า: /ดู ซุ้มกระต่าย/.
【 มุจฉา 】แปลว่า: [มุด-] น. การสลบ. (ป.; ส. มูรฺฉา).
【 มุจนะ 】แปลว่า: [มุดจะนะ] น. ความพ้นไป, ความรอด, ความหลุด, ความแคล้ว. (ป. มุจฺจน).
【 มุจลินท์ 】แปลว่า: [มุดจะ-] น. ต้นจิก; ชื่อสระใหญ่ในป่าหิมพานต์ ซึ่งขอบสระประกอบ
ด้วยต้นจิก. (ป.; ส. มุจิลินฺท).
【 มุญจนะ 】แปลว่า: [มุนจะนะ] น. การแก้, การเปลื้อง, การปลด, การปล่อย, การสละ. (ป. มุญฺจน).
【 มุญชะ 】แปลว่า: [มุนชะ] น. พืชจําพวกหญ้าปล้อง; ปลาค้าว. (ป., ส.).
【 มุฐิ 】แปลว่า: [มุดถิ] น. กํามือ. (ป. มุฏฺฺ?ิฺฺิ).
【 มุณฑกะ, มุณฑะ 】แปลว่า: [มุนดะกะ, มุนดะ] ว. เกลี้ยง, โล้น, (ใช้แก่หัว). (ป., ส.).
【 มุด ๑ 】แปลว่า: ก. เอาหัวลอดเข้าไป เช่น มุดรั้ว มุดใต้ถุน, เอาหัวดําลงในนํ้า ในคําว่า มุดนํ้า.
【 มุดหัว 】แปลว่า: (ปาก) ก. หลบ, ซ่อน, เช่น ไปมุดหัวอยู่ที่ไหน.
【 มุด ๒ 】แปลว่า: /ดู มะมุด/.
【 มุต-, มุตตะ ๑ 】แปลว่า: [มุดตะ-] น. นํ้าปัสสาวะ, นํ้าเบา, เยี่ยว. (ป. มุตฺต; ส. มูตฺร).
มุตกิด [มุดตะ-] น. โรคระดูขาว, ตกขาว ก็เรียก.
มุตฆาต [มุดตะ-] น. โรคขัดปัสสาวะชํ้าเลือดชํ้าหนอง.
【 มุตตะ ๒ 】แปลว่า: [มุด-] ว. ซึ่งพ้นแล้ว. (ป.; ส. มุกฺต).
【 มุตตา 】แปลว่า: [มุด-] น. ไข่มุก, โบราณหมายถึงแก้วชนิดหนึ่ง สีหมอกอ่อน ๆ
คล้ายสีไข่มุก. (ป.; ส. มุกฺตา).
【 มุตติ 】แปลว่า: [มุด-] น. ความพ้น. (ป.; ส. มุกฺติ).
【 มุตะ 】แปลว่า: [มุ-ตะ] ก. รู้แล้ว. (ป.).
【 มุติ 】แปลว่า: [มุ-ติ] น. ความรู้สึก, ความเห็น, ความเข้าใจ. (ป.).
【 มุติงค์ 】แปลว่า: น. กลองสองหน้า, ตะโพน. (ป. มุติงฺค; ส. มฺฤทงฺค).
【 มุทคะ 】แปลว่า: [มุดคะ] น. ถั่วเขียว. (ส. มุทฺค; ป. มุคฺค).
【 มุทคระ 】แปลว่า: [มุดคะระ] น. ไม้ค้อน. (ส. มุทฺคร; ป. มุคฺคร).
【 มุททา 】แปลว่า: [มุด-] น. ตรา, พิมพ์, เครื่องสําหรับตีตรา, เครื่องหมาย; แหวน, แหวนตรา.
(ป. มุทฺทา; ส. มุทฺรา, มุทฺริกา).
【 มุทธชะ 】แปลว่า: มุดทะ- น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจากการ
ม้วนลิ้นไปสู่เพดานแข็งตอนหลัง ได้แก่ พยัญชนะวรรค ฏ คือ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ
และอักษร ร รวมทั้งอักษร ฬ ในภาษาบาลี และ ษ กับ ฤ ฤๅ ในภาษาสันสกฤต.
(ป.; ส. มูรฺธนฺย).
【 มุทธา 】แปลว่า: [มุด-] น. หัว, ยอด, ที่สุด. (ป. มุทฺธา; ส. มูรฺธา).
【 มุทธาภิเษก 】แปลว่า: น. มูรธาภิเษก, นํ้ารดพระเศียรในงานราชาภิเษกหรือ
พระราชพิธีอื่น ๆ. (ป. มุทฺธา + ส. อภิเษก).
【 มุทรา, มุทริกา 】แปลว่า: [มุดทฺรา, มุดทฺริ-] น. มุททา. (ส. มุทฺรา, มุทฺริกา; ป. มุทฺทา).
【 มุทะลุ 】แปลว่า: ก. หุนหันพลันแล่น, โกรธแล้วทําลงไปอย่างไม่คํานึงถึงเหตุผลหรือ
ไม่ยับยั้ง. ว. มีนิสัยดุดัน ชอบทำอะไรอย่างหุนหันพลันแล่นหรือ
โดยขาดสติปราศจากความยั้งคิด.
【 มุทา 】แปลว่า: น. ความยินดี, ความสุขใจ. (ป.).
【 มุทิกา 】แปลว่า: น. คนขับเสภา. (ป.).
【 มุทิงค์ 】แปลว่า: น. กลองสองหน้า, ตะโพน. (ป. มุทิงฺค; ส. มฺฤทงฺค).
【 มุทิตา 】แปลว่า: น. ความมีจิตพลอยยินดีในลาภยศสรรเสริญสุขของผู้อื่น เป็นข้อ ๑
ในพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา. (ป.).
【 มุทิน 】แปลว่า: (โบ) น. มลทิน.
【 มุทุ 】แปลว่า: ว. อ่อน. (ป.).
มุทุตา น. ความเป็นผู้มีใจอ่อน, ความอ่อนหวาน, ความละมุนละม่อม. (ป.).
【 มุ่น 】แปลว่า: ก. ขมวด (ใช้แก่มวยผม) เช่น มุ่นมวยผม มุ่นพระเมาลี; กังวลอยู่; (กลอน)
เกลี้ยงเกลา, อ่อนนุ่ม. น. เรียกเงินแท่งชนิดหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นเงินเนื้อดีว่า
เงินมุ่น.
【 มุ่นใจ 】แปลว่า: ก. ยุ่งใจ.
【 มุ่นหมก 】แปลว่า: ก. กังวลรักใคร่อยู่, ลุ่มหลงอยู่, หมกมุ่น ก็ว่า.
【 มุนิ, มุนี 】แปลว่า: น. นักปราชญ์, ฤษี, พระสงฆ์. (ป., ส.).
【 มุนิกุญชร 】แปลว่า: น. นามพระพุทธเจ้า. (ป.).
【 มุนินทร์ 】แปลว่า: น. จอมนักปราชญ์, พระพุทธเจ้า. (ส. มุนินฺทฺร; ป. มุนินฺท).
【 มุนินทร์ 】แปลว่า: /ดู มุนิ, มุนี/.
【 มุบ 】แปลว่า: ก. ยุบลง. ว. อาการที่ยอบตัวลงโดยเร็ว เช่น มุบหัวลง, อาการที่ของด้านใด
ด้านหนึ่งจมลงจากระดับเดิม เช่น พอปลากินเบ็ด ทุ่นเบ็ดก็มุบลง แพด้าน
หนึ่งมุบลง, อาการที่คว้าสิ่งของโดยเร็ว เช่น พอของตกก็เอามือคว้ามุบ,
อาการที่สัตว์งับสิ่งของโดยเร็ว เช่น ปลาฮุบเหยื่อมุบ พอโยนขนมให้หมา
ก็เอาปากรับมุบ.
【 มุบมิบ 】แปลว่า: ว. ปิดบังไม่ให้คนอื่นรู้, อาการที่เถียงหรือบ่นโดยอ้าปากขึ้นลงเล็กน้อย
ไม่ให้ได้ยิน.
【 มุบ ๆ 】แปลว่า: ว. อาการของปากที่เผยอขึ้นลงอย่างเร็ว, อาการที่คนไม่มีฟันเคี้ยวอาหาร
เช่น คนแก่เคี้ยวข้าวทำปากมุบ ๆ.
【 มุม 】แปลว่า: น. จุดที่เส้น ๒ เส้นมาบรรจบกัน เช่น เดินชนมุมโต๊ะ, เนื้อที่ตรงด้านยาว
กับด้านสกัดมาบรรจบกัน เช่น วางตู้ไว้ที่มุมห้อง, ที่ว่างซึ่งเกิดจาก
เส้นตรง ๒ เส้น แยกออกจากกัน โดยปลายข้างหนึ่งของแต่ละเส้นอยู่ร่วม
จุดเดียวกัน เช่น มุมฉาก มุมแหลม, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะ
คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ถูกต้อนเข้ามุม จนมุม.
【 มุมกดลง 】แปลว่า: น. มุมระหว่างเส้นตรงที่ลากจากจุดเล็งไปยังวัตถุกับเส้นตรงแนว
ระดับที่ลากผ่านจุดเล็งในเมื่อวัตถุนั้นอยู่ตํ่ากว่าจุดเล็ง, มุมก้ม ก็เรียก.
【 มุมก้ม 】แปลว่า: น. มุมกดลง.
【 มุมกลับ 】แปลว่า: น. มุมที่มีขนาดอยู่ระหว่าง ๑๘๐ องศา กับ ๓๖๐ องศา; (ปาก)
แง่คิดหรือทัศนะนัยหนึ่ง, แง่ตรงกันข้าม เช่น มองในมุมกลับ.
【 มุมเงย 】แปลว่า: น. มุมยกขึ้น.
【 มุมฉาก 】แปลว่า: น. มุมที่มีขนาด ๙๐ องศา.
【 มุมตกกระทบ 】แปลว่า: (แสง) น. มุมระหว่างรังสีตกกระทบกับเส้นปรกติที่ลากผ่าน
【 มุมตรง 】แปลว่า: น. มุมที่มีขนาด ๑๘๐ องศา หรือ ๒ มุมฉาก.
【 มุมเท 】แปลว่า: (แม่เหล็ก) น. มุมระหว่างแนวทิศของสนามแท้ของแม่เหล็กโลก
กับแนวระดับ.
【 มุมบ่ายเบน 】แปลว่า: (แม่เหล็ก) น. มุมระหว่างแนวเมริเดียนแม่เหล็กโลกกับ
แนวเมริเดียนภูมิศาสตร์, มุมเห ก็เรียก.
【 มุมประชิด 】แปลว่า: น. มุม ๑ ใน ๒ มุมที่มีแขนข้างหนึ่งร่วมกัน.
【 มุมป้าน 】แปลว่า: น. มุมที่มีขนาดอยู่ระหว่าง ๙๐ องศา กับ ๑๘๐ องศา.
【 มุมมืด 】แปลว่า: น. ที่เร้นลับ, ซอกที่มืด, เช่น เขายืนอยู่ในมุมมืด.
【 มุมยกขึ้น 】แปลว่า: น. มุมระหว่างเส้นตรงที่ลากจากจุดเล็งไปยังวัตถุกับเส้นตรงแนว
ระดับที่ลากผ่านจุดเล็งในเมื่อวัตถุนั้นอยู่สูงกว่าจุดเล็ง, มุมเงย ก็เรียก.
【 มุมแย้ง 】แปลว่า: น. มุมที่เกิดจากเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นขนานคู่หนึ่ง อยู่เยื้องกัน
คนละข้างของเส้นตัดภายในเส้นขนานคู่นั้น รวมกันแล้วได้ ๑๘๐ องศา
หรือ ๒ มุมฉาก.
【 มุมสะท้อน 】แปลว่า: (แสง) น. มุมระหว่างรังสีสะท้อนกับเส้นปรกติที่ลากผ่านจุด
ตกกระทบบนผิววัตถุ.
【 มุมหักเห 】แปลว่า: (แสง) น. มุมระหว่างรังสีหักเหกับเส้นปรกติที่ลากผ่านจุดตกกระทบ
บนผิววัตถุ.
【 มุมเห 】แปลว่า: น. มุมบ่ายเบน.
【 มุมแหลม 】แปลว่า: น. มุมที่มีขนาดอยู่ระหว่าง ๐ องศา กับ ๙๐ องศา.
【 มุ่ม 】แปลว่า: ว. ทู่ ๆ, ปุ้ม ๆ, เช่น งูเขียวปากมุ่ม. (ปรัดเล).
【 มุ้ม 】แปลว่า: ว. งุ้ม.
【 มุย 】แปลว่า: ว. เสียงอย่างเสียงฆ้อง, หมุ่ย ก็ว่า.
【 มุ่ย 】แปลว่า: ว. อาการที่ยิ้มไม่ออกเพราะไม่พอใจ (ใช้แก่หน้า) เช่น เขาถูกดุเลยทำหน้ามุ่ย.
【 มุรชะ 】แปลว่า: [มุระชะ] น. ตะโพน, กลองชนิดหนึ่ง. (ป., ส.).
【 มุรธา 】แปลว่า: [มุระ-] น. หัว, ยอด. /(ดู มูรธ-, มูรธา)./
【 มุรธาภิเษก 】แปลว่า: น. นํ้ารดพระเศียรในงานราชาภิเษกหรือพระราชพิธีอื่น ๆ,
มูรธาภิเษก ก็ว่า. (ส.; ป. มุทฺธาภิเสก).
【 มุลุต 】แปลว่า: [-ลุด] น. ปาก. (ช.).
【 มุลู 】แปลว่า: น. พล. (ช.).
【 มุสละ 】แปลว่า: [-สะละ] น. สากตําข้าว. (ป., ส.).
【 มุสลิม 】แปลว่า: [มุดสะลิม] น. ผู้นับถือศาสนาอิสลาม.
【 มุสะ 】แปลว่า: น. มุ้ง. (ช.).
【 มุสา 】แปลว่า: ว. เท็จ, ปด. (ป.).
【 มุสาวาท 】แปลว่า: น. การพูดเท็จ, การพูดปด; คําเท็จ. (ป.).
【 มุสิก 】แปลว่า: น. หนู. (ป. มูสิก).
【 มุหงิด 】แปลว่า: [-หฺงิด] น. ชื่อชนชาติชวามลายูในเกาะเซลีเบส, เรียกเพี้ยนเสียงเป็น ยุหงิด ก็มี.
【 มุหน่าย 】แปลว่า: น. นํ้ามันตานี หรือนํ้ามันเหนียว เป็นเครื่องหอมสําหรับใส่ผม,
นํ้ามันตานีที่ผสมกับเขม่าและปูน, นํ้ามันหอมเป็นเครื่องเจิม.
【 มุหุต 】แปลว่า: [-หุด] น. เวลาครู่หนึ่ง, ขณะหนึ่ง. (ป. มุหุตฺต).
【 มุฮัมมัด 】แปลว่า: น. นามศาสดาของศาสนาอิสลาม, มะหะหมัด ก็เรียก.
【 มูก, มูกะ 】แปลว่า: ว. ใบ้, เงียบ, ไม่มีเสียง. (ส.; ป. มูค).
【 มูก ๒ 】แปลว่า: น. นํ้าเมือกที่ไหลออกจากจมูก เรียกว่า นํ้ามูก, นํ้าเมือกที่ไหลออก
ทางทวารหนักพร้อมกับอุจจาระ.
【 มูกเลือด 】แปลว่า: น. โรคที่มีมูกและเลือดในลําไส้ติดออกมากับอุจจาระ.
【 มูกมัน 】แปลว่า: /ดู โมกมัน ที่ โมก/.
【 มูกหลวง 】แปลว่า: /ดู โมกใหญ่ ที่ โมก/.
【 มูคะ 】แปลว่า: ว. ใบ้, เงียบ, ไม่มีเสียง. (ป.; ส. มูก).
【 มูเซอ 】แปลว่า: น. ชนชาวเขาพวกหนึ่ง ตระกูลทิเบต-พม่า อยู่ทางแถบเหนือของ
ประเทศไทยและพม่า.
【 มูตร 】แปลว่า: [มูด] น. นํ้าปัสสาวะ, นํ้าเบา, เยี่ยว. (ส. มูตฺร; ป. มุตฺต).
【 มู่ทู่ 】แปลว่า: ว. ป้าน, ไม่แหลม, สั้น อ้วน ใหญ่ (ใช้แก่หน้า) เช่น หมาบูลด๊อกหน้ามู่ทู่.
【 มูน ๑ 】แปลว่า: น. เนิน, โคก, จอม, เช่น มูนดิน. ก. พอกพูน, พูนขึ้น, มักใช้ว่า
เกิดมูนพูนผล. ว. มาก, มักใช้เข้าคู่กันเป็น มากมูน.
【 มูนดิน 】แปลว่า: น. เนินดิน. ก. พูนให้เป็นเนินเป็นโคก เช่น มูนดินขึ้นกันน้ำท่วม.
【 มูนมอง 】แปลว่า: ว. มากมาย.
【 มูน ๒ 】แปลว่า: ก. เอากะทิเคล้ากับข้าวเหนียวเพื่อให้มัน.
【 มูมมาม 】แปลว่า: ว. อาการที่กินอาหารอย่างตะกรุมตะกราม, อาการที่กินอาหารอย่างเปื้อนเปรอะ
เลอะเทอะไม่เรียบร้อย, เช่น กินมูมมาม.
【 มูรดี, มูรติ 】แปลว่า: [มูระ-] น. ร่างกาย, รูป. (ส. มูรฺติ).
【 มูรธ-, มูรธา 】แปลว่า: [มูระธะ-] น. หัว, ยอด. (ส.; ป. มุทฺธา).
【 มูรธาภิเษก 】แปลว่า: น. นํ้ารดพระเศียรในงานราชาภิเษกหรือพระราชพิธีอื่น ๆ,
มุรธาภิเษก ก็ว่า. (ส.; ป. มุทฺธาภิเสก).
【 มูรธาภิเษก 】แปลว่า: /ดู มูรธ-, มูรธา/.
【 มูล ๑, มูล- 】แปลว่า: [มูน, มูนละ-] น. โคน เช่น รุกขมูล; ราก, รากเหง้า, เช่น มีโทสะเป็นมูล,
เค้า เช่น คดีมีมูล, ต้น เช่น ชั้นมูล. (ป. มูล; ส. มูลฺย).
【 มูลคดี 】แปลว่า: (กฎ) น. เหตุแห่งคดี; เหตุที่ทำให้คดีเกิดขึ้น.
【 มูลความ 】แปลว่า: [มูนละ-] น. ความเดิม.
【 มูลจิต 】แปลว่า: [มูนละ-] น. ชื่อยาแก้ลมซางชนิดหนึ่ง.
【 มูลฐาน 】แปลว่า: [มูนละ-, มูน-] น. พื้นฐาน, รากฐาน, เค้ามูล.
【 มูลนาย 】แปลว่า: [มูน-] น. นายใหญ่, นายเดิมที่ตนสังกัดอยู่.
【 มูลนิธิ 】แปลว่า: มูนละ-, มูน- น. ทรัพย์สินที่จัดสรรไว้โดยเฉพาะสําหรับ
วัตถุประสงค์ เพื่อการกุศลสาธารณะการศาสนา ศิลปะวิทยาศาสตร์
วรรณคดี การศึกษา หรือเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างอื่น โดยมิได้มุ่งหา
ผลประโยชน์มาแบ่งปันกัน และได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์แล้ว. (ป. มูล + นิธิ).
【 มูลประกันภัย 】แปลว่า: (กฎ) น. ราคาทรัพย์ที่กำหนดในการเอาประกันภัย.
【 มูลภัณฑ์กันชน 】แปลว่า: [มูนละ-] น. ของที่ซื้อสะสมไว้เมื่อมีราคาตํ่า และนําออกขาย
เมื่อของนั้นมีราคาสูงเกินควร เพื่อรักษาระดับราคาของนั้นให้มีเสถียรภาพ.
(อ. buffer stock).
【 มูลหนี้ 】แปลว่า: น. เหตุที่ทำให้เกิดหนี้.
【 มูลเหตุ 】แปลว่า: [มูนละ-, มูน-] น. ต้นเหตุ.
【 มูล ๒, มูล- 】แปลว่า: [มูน, มูนละ-] ว. มวล, ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, เช่น จัดข้าวของไว้ให้โดยพร้อมมูล
เตรียมเอกสารหลักฐานไว้ให้พร้อมมูล. (ป. มูล; ส. มูลฺย).
【 มูลค่า 】แปลว่า: [มูนละ-, มูน-] น. ค่าของสิ่งของ, ราคาของสิ่งของ, เช่น
ถวายจตุปัจจัยมีมูลค่า ๓๐ บาท.
【 มูล ๓ 】แปลว่า: [มูน] น. อุจจาระสัตว์, ขี้หรือเศษของสิ่งต่าง ๆ เช่น มูลไถ = ขี้ไถ.
【 มูลโค 】แปลว่า: น. อุจจาระเหลว แต่ไม่เหลวถึงเป็นนํ้า, มักพูดว่า มลโค.
【 มูลนกการเวก 】แปลว่า: ว. สีเขียวฟ้า.
【 มูลฝอย 】แปลว่า: น. เศษสิ่งของที่ทิ้งแล้ว, หยากเยื่อ, กุมฝอย หรือ คุมฝอย ก็ว่า;
(กฎ) เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร
เถ้า มูลสัตว์ หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด
ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น.
【 มูล ๔, มูละ, มูลา ๑ 】แปลว่า: [มูน] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๙ มี ๙ ดวง เห็นเป็นรูปสะดือนาค, ดาวช้างน้อย
【 หรือ ดาวแมว ก็เรียก. 】แปลว่า:
【 มูลไถ 】แปลว่า: น. ชื่อนกชนิดหนึ่งตัวขนาดนกกระจาบฝน โตกว่านิดหน่อย เรียกสามัญว่า นกขี้ไถ. (พจน.
【 ๒๔๙๓). 】แปลว่า:
【 มูลา ๑ 】แปลว่า: /ดู มูล ๔, มูละ/.
【 มูลา ๒ 】แปลว่า: ว. ที่หนึ่ง, ทีแรก. (ช.).
【 มูลิกากร 】แปลว่า: น. ข้าทูลละอองธุลีพระบาท, เรียกให้เต็มว่า บาทมูลิกากร.
【 มู่ลี่ 】แปลว่า: น. เครื่องบังประตูหน้าต่างเป็นทํานองม่าน ทําด้วยซี่ไม้เล็ก ๆ ถักด้วยเชือก
เป็นช่องโปร่ง มีรอกและเชือกสำหรับชักให้ม้วนและคลี่ได้.
【 มู่เล่ 】แปลว่า: (ปาก) น. ล้อหนักสําหรับหมุนถ่วงให้เครื่องยนต์เดินเรียบ.
【 มูสัง 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. อีเห็น. /(ดู อีเห็น)./
【 มูสิก-, มูสิกะ 】แปลว่า: [-สิกะ-] น. หนู. (ป.).
【 มูสิกทันต์ 】แปลว่า: น. ชื่อเครื่องหมาย ๒ ขีด รูปดังนี้ ” สำหรับเขียนบนสระ ิ ให้เป็นสระ ื, ฟันหนู ก็ว่า.
【 มูฬห- 】แปลว่า: [มูนหะ-] ว. เขลา, หลง. (ป.).
【 เม 】แปลว่า: น. แม่. (ข.).
【 เม็ก 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Syzygium gratum/ (Wight) S.N. Mitra var. /gratum/
【 ในวงศ์ Myrtaceae 】แปลว่า:
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบหนา ใบอ่อนสีชมพูอมแดง กินเป็นผักได้ ดอกสีขาว ออกเป็นช่อ.
【 เมกะเฮิรตซ์ 】แปลว่า: (ฟิสิกส์) น. หน่วยวัดความถี่ ใช้สัญลักษณ์ MHz ๑ เมกะเฮิรตซ์ มีค่าเท่ากับ ๑
【 ล้านเฮิรตซ์ 】แปลว่า:
หรือ เท่ากับ ๑ ล้านไซเกิลต่อวินาที. (อ. megahertz).
【 เมขลา 】แปลว่า: [เมกขะหฺลา] น. ชื่อนางเทพธิดาประจําสมุทร. (ป.; ส. เมขลา ว่า สายรัดเอว,
【 เข็มขัดสตรี). 】แปลว่า:
【 เมฆ 】แปลว่า: [เมก] น. ไอนํ้าที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนลอยอยู่ในอากาศ. (ป., ส.).
เมฆคลุ้ม, เมฆมาก (อุตุ) น. ปริมาณเมฆมากกว่า ๗ ใน ๘ ในท้องฟ้า
ซึ่งสามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า ใช้ในการพยากรณ์อากาศ.
เมฆา, เมฆินทร์, เมฆี (กลอน) น. เมฆ.
【 เมฆฉาย 】แปลว่า: [เมก-] น. เงาเมฆ, เมฆที่ปรากฏให้เห็นเป็นรูปต่าง ๆ เนื่องจากการยกเมฆ
เป็นนิมิตให้สามารถพยากรณ์ได้ว่าร้ายหรือดี เช่น ภาวนาเขม้นเห็นเมฆฉาย
นิมิตเป็นรูปนารายณ์เรืองศรี. (ขุนช้างขุนแผน); การอธิษฐานโดยบริกรรม
ด้วยมนตร์เชื่อกันว่าจะทําให้เงาของคนเจ็บลอยขึ้นไปในอากาศ แล้วพิจารณาดูว่า
คนเจ็บนั้นเป็นโรคอะไร.
【 เมฆพัด 】แปลว่า: [เมกคะ-] น. ชื่อโลหะที่เกิดจากการเอาแร่มาหุงเข้าด้วยกัน แล้วซัดด้วย
กํามะถัน มีสีดําเป็นมัน แววเป็นสีคราม, เรียกพระเครื่องที่ทําด้วยโลหะ
ชนิดนี้ว่าพระเมฆพัด หรือ พระเนื้อเมฆพัด.
【 เมฆา, เมฆินทร์, เมฆี 】แปลว่า: /ดู เมฆ/.
【 เม็ง 】แปลว่า: น. ชื่อชนชาติโบราณอยู่ทางเหนือแหลมอินโดจีน นัยว่าเป็นบรรพบุรุษของมอญ.
【 เมงอะปา 】แปลว่า: ว. ทําไม. (ช.).
【 เม็ด ๑ 】แปลว่า: น. ส่วนภายในของผลไม้ที่เพาะเป็นต้นขึ้นได้ เช่น เม็ดมะม่วง เม็ดมะปราง, เมล็ด ก็ว่า;
ของที่เป็นก้อนกลม ๆ ขนาดเล็ก เช่น เม็ดกรวด เม็ดทราย, ลักษณนามเรียกของที่เป็น
ก้อนเป็นตุ่มเล็ก ๆ เช่น กรวดเม็ดหนึ่ง ถั่ว ๒ เม็ด; ปลายเสาที่มักกลึงเป็นรูปกลมและมี
ยอดคล้ายตัวเม็ดของหมากรุก, ที่ปลายเป็นรูปเหลี่ยมก็มี, เรียกว่า หัวเม็ด; ตัวหมากรุก
ที่เวลาตั้งกระดานใหม่วางอยู่ข้างขวาขุน.
【 เม็ดเงิน 】แปลว่า: (ปาก) น. ตัวเงิน เช่น ขณะนี้มีเม็ดเงินอยู่ในคลัง ๔๐๐ ล้านบาท.
【 เม็ดดี 】แปลว่า: (ปาก) น. เล่ห์เหลี่ยมดี.
【 เม็ดน้ำค้าง 】แปลว่า: น. ส่วนที่มีลักษณะกลม ๆ คล้ายเม็ดน้ำค้างอยู่ตรงปลายยอดเจดีย์ ยอดปราสาท
เป็นต้น, หยาดน้ำค้าง ก็เรียก.
【 เม็ดพระศก 】แปลว่า: น. ปุ่มนูนของขมวดผมบนเศียรพระพุทธรูป.
【 เม็ดพราย 】แปลว่า: น. กลเม็ดเด็ดพราย, วิธีที่แยบคายหรือพลิกแพลงในการพูดหรือร้องเพลงเป็นต้น.
【 เม็ดมะยม 】แปลว่า: น. ปุ่มสําหรับตั้งเวลาหรือบางทีก็ใช้ไขลานนาฬิกาข้อมือหรือนาฬิกาพกด้วย;
ปุ่มมีลักษณะเป็นพู ๆ โดยรอบคล้ายลูกมะยม สำหรับมือจับปิดเปิดประตูตู้หรือลิ้นชัก.
【 เม็ดละมุด 】แปลว่า: (ปาก) น. แตด.
【 เม็ดเลือด, เม็ดโลหิต 】แปลว่า: น. เซลล์ซึ่งอยู่ในกระแสเลือด มี ๒ ชนิด คือ เม็ดเลือดแดง
ซึ่งมีหน้าที่นําออกซิเจนไปสู่เซลล์ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและเม็ดเลือดขาวซึ่ง
มีหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและทําลายเชื้อโรคในร่างกาย.
【 เม็ด ๒ 】แปลว่า: (โบ) น. ปีมะแม.
【 เมตตา 】แปลว่า: น. ความรักและเอ็นดู, ความปรารถนาจะให้ผู้อื่นได้สุข, เป็นข้อ ๑ในพรหมวิหาร ๔
คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา. (ป.).
【 เมตไตรย 】แปลว่า: [เมดไตฺร] น. พระนามของพระพุทธเจ้าที่จะมาตรัสรู้ข้างหน้า. (ป. เมตฺเตยฺย; ส.
【 เมไตฺรย). 】แปลว่า:
【 เมตร 】แปลว่า: [เมด] น. หน่วยวัดความยาวอย่างหนึ่งตามวิธีเมตริก กําหนดเทียบเท่ากับ ๑๐๐ เซนติเมตร
หรือ ๒ ศอก. (ฝ. m?tre).
【 เมตริก 】แปลว่า: [เมดตฺริก] น. ระบบการใช้หน่วยสําหรับวัดปริมาณต่าง ๆ โดยกําหนดใช้
กรัมเป็นหน่วยของมวลสาร ใช้เซนติเมตร เป็นหน่วยของระยะห่าง
และใช้วินาทีเป็นหน่วยของเวลา. (อ. metric).
【 เมตริกตัน 】แปลว่า: น. ชื่อมาตราชั่งตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑,๐๐๐ กิโลกรัม หรือ ๖๐ หาบ,
อักษรย่อว่า ต. (อ. metric ton).
【 เมถุน ๑ 】แปลว่า: น. การร่วมสังวาส. (ป.).
【 เมถุน ๒ 】แปลว่า: น. คนคู่; ชื่อกลุ่มดาวรูปคนคู่ เรียกว่า ราศีเมถุน เป็นราศีที่ ๒ ในจักรราศี.
【 เมท, เมโท 】แปลว่า: น. มันข้น. (ป.).
【 เมทนี, เมทินี 】แปลว่า: [เมทะ-] น. แผ่นดิน. (ป. เมทนี, เมทินี; ส. เมทินี).
【 เมทนีดล 】แปลว่า: น. พื้นแผ่นดิน. (ป.).
【 เมทานอล 】แปลว่า: น. เมทิลแอลกอฮอล์. (อ. methanol).
【 เมทิลแอลกอฮอล์ 】แปลว่า: น. แอลกอฮอล์ชนิดหนึ่ง มีสูตร CH3OH ลักษณะเป็นของเหลวใส ไม่มีสี
มีขีดเดือด ๖๔.๖?ซ. จุดไฟติด เป็นพิษ เมื่อดื่มเข้าไปจะทําให้ตาบอดได้
ใช้ประโยชน์เป็นตัวทําละลาย เชื้อเพลิง และใช้สังเคราะห์สารเคมีบางอย่าง
เช่น ฟอร์มาลดีไฮด์, เมทานอล ก็เรียก. (อ. methyl alcohol).
【 เมธ 】แปลว่า: [เมด] น. การเซ่นสรวง, การบูชายัญ, มักใช้เป็นส่วนหลังสมาส เช่น อัศวเมธ. (ป., ส.).
【 เมธา 】แปลว่า: น. ปัญญา, ความรู้, ความฉลาดรอบคอบ. (ป., ส.).
【 เมธาวี, เมธี 】แปลว่า: น. นักปราชญ์. (ป., ส.).
【 เมน 】แปลว่า: ก. เล่น. (ช.).
【 เม่น 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Hystricidae มีฟันแทะขนาดใหญ่
ลําตัวมีขนแหลมแข็ง ขนครึ่งท้ายลำตัวยาวกว่าด้านหน้า ขาสั้น ขาหน้ามีเล็บ
แข็งแรงใช้ขุดดิน กินพืช ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ เม่นใหญ่แผงคอยาว
(/Hystrix brachyura/) เม่นใหญ่แผงคอสั้น (/H. hodgsoni/) และเม่นหางพวง
(/Atherurus macrourus/).
【 เม้น 】แปลว่า: ก. ปิดริม, พับริม, เม้ม ก็ว่า.
【 เมนเดลีเวียม 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๑๐๑ สัญลักษณ์ Md เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์
สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ. (อ. mendelevium).
【 เมนทอล 】แปลว่า: น. สารประกอบอินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีสูตร C10H20O ลักษณะเป็นผลึกสีขาว
หลอมละลายที่ ๔๒?ซ. มีกลิ่นหอมเย็น มีอยู่ในนํ้ามันหอมระเหยที่ได้จาก
พืชบางชนิด เช่น นํ้ามันมินต์ซึ่งสกัดจากใบมินต์ ใช้ประโยชน์ในทางยา
ปรุงกลิ่นและปรุงรส. (อ. menthol).
【 เม่นทะเล 】แปลว่า: /ดู หอยเม่น/.
【 เม้ม ๑ 】แปลว่า: ก. ปิดริม, พับริม, เช่น เม้มชายเสื้อ เม้มกระดาษ, เม้น ก็ว่า.
【 เม้มปาก 】แปลว่า: ก. ม้วนริมฝีปากเข้าข้างในแล้วกดกันไว้.
【 เม้ม ๒ 】แปลว่า: (ปาก) ก. ยักเอาไว้ เช่น เม้มสตางค์.
【 เมรย-, เมรัย 】แปลว่า: [เมระยะ-] น. นํ้าเมาที่เกิดจากการหมักหรือแช่, นํ้าเมาที่ไม่ได้กลั่น. (ป.).
【 เมริเดียน 】แปลว่า: (ภูมิ) น. ขอบของครึ่งวงกลมใหญ่ที่ผ่านขั้วเหนือและขั้วใต้ของโลก
ใช้เป็นเครื่องกำหนดแนวเหนือ-ใต้ของโลกซึ่งเรียกว่า เหนือจริง ใต้จริง
หรือเหนือภูมิศาสตร์ใต้ภูมิศาสตร์ ตำแหน่งเส้นเมริเดียนบนผิวโลก
แต่ละเส้นกำหนดได้ด้วยค่าลองจิจูดของเมริเดียนนั้น.
【 เมริเดียนแรก 】แปลว่า: (ภูมิ) น. เมริเดียนที่ลากผ่านหอตรวจดาว เมืองกรีนิช
เป็นเมริเดียนที่ใช้กำหนดเวลามาตรฐานกรีนิชและใช้เป็นเมริเดียนแรก
หรือเมริเดียน ๐ องศาเพื่อกำหนดเมริเดียนอื่น ๆ โดยใช้วัดจากเมริเดียนกรีนิช
เป็นหลัก.
【 เมรุ, เมรุ- 】แปลว่า: [เมน, เม-รุ-] น. ชื่อภูเขากลางจักรวาล มียอดเป็นที่ตั้งแห่งเมืองสวรรค์ชั้น
ดาวดึงส์ซึ่งพระอินทร์อยู่; ที่เผาศพ เดิมผูกหุ่นทำเป็นภูเขาตั้งที่เผาขึ้นบนนั้น
ของหลวงทำเป็นเรือนโถง เครื่องยอดหรือมณฑปครอบที่เผา เรียกว่า พระเมรุ,
ต่อมาเรียกที่เผาศพทั่วไปทั้งมียอดและไม่มียอดว่า เมรุ. (ป.).
【 เมรุมาศ 】แปลว่า: [เมรุมาด] น. เมรุทอง, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระเมรุมาศ.
【 เมรุราช 】แปลว่า: [เมรุราด] น. เขาพระสุเมรุ. (ป.).
【 เมล์ ๑ 】แปลว่า: น. เรียกยานพาหนะประจำทางที่ออกตามกำหนดเวลา เช่น รถเมล์ เรือเมล์. (อ. mail).
【 เมล์ ๒ 】แปลว่า: น. ของที่ส่งทางไปรษณีย์; เรียกถุงที่ใส่หนังสือส่งทางไปรษณีย์ว่า ถุงเมล์. (อ. mail).
【 เมล์อากาศ 】แปลว่า: น. การส่งหนังสือหรือสิ่งของทางเครื่องบิน.
【 เมลกะ 】แปลว่า: [เมละกะ] น. หมู่, ประชุม. (ป., ส.).
【 เมล็ด 】แปลว่า: [มะเล็ด] น. ส่วนภายในของผลไม้ที่เพาะเป็นต้นขึ้นได้ เช่น เมล็ดมะม่วง
เมล็ดมะปราง, เม็ด ก็ว่า. (แผลงมาจาก เม็ด).
【 เมลือง 】แปลว่า: [มะ-] ว. งาม, รุ่งเรือง, เปล่งปลั่ง, สุกใส, ใช้ว่า มําเลือง ก็มี.
【 เมลื่อย 】แปลว่า: [มะ-] ว. เมื่อย.
【 เมลื่อยมล้า 】แปลว่า: ว. เมื่อยล้า.
【 เมลื้อย 】แปลว่า: [มะ-] ก. เลื้อย.
【 เมษ 】แปลว่า: [เมด] น. แกะ; ชื่อกลุ่มดาวรูปแกะ เรียกว่า ราศีเมษ เป็นราศีที่ ๐ ในจักรราศี. (ส.).
【 เมษายน 】แปลว่า: น. ชื่อเดือนที่ ๔ ตามสุริยคติ ซึ่งตั้งต้นด้วยเดือนมกราคม มี ๓๐ วัน;
(เลิก) ชื่อเดือนที่ ๑ ตามสุริยคติ. (ส. เมษ + อายน).
【 เมษายน 】แปลว่า: /ดู เมษ/.
【 เมห์, เมหะ 】แปลว่า: [เมหะ] น. นํ้ามูตร. (ป., ส.).
【 เมหนะ 】แปลว่า: [เมหะนะ] น. ของลับชายหญิง. (ป., ส.).
【 เมะ 】แปลว่า: ก. เอาไปวางสุมไว้.
【 เมา 】แปลว่า: ก. อาการที่มึนจนลืมตัวขาดสติเพราะฤทธิ์เหล้าฤทธิ์ยาเป็นต้น เช่น เมาเหล้า
เมากัญชา, มีอาการวิงเวียนคลื่นเหียนอาเจียนเพราะโดยสารเรือ รถ เครื่องบิน
เป็นต้น เช่น เมาเรือ เมารถ เมาเครื่องบิน, ลุ่มหลงจนลืมตัวเพราะมียศมีอำนาจ
เป็นต้น เช่น เมายศ เมาอำนาจ.
【 เมาคลื่น 】แปลว่า: ก. มีอาการวิงเวียนคลื่นเหียนอาเจียนในเวลาที่เรือโดยสารถูกคลื่นในทะเล.
【 เมาดิบ 】แปลว่า: (ปาก) ก. ทําอาการเหมือนคนเมาเหล้า.
【 เมามัน 】แปลว่า: ก. บ้าคลั่ง.
【 เมามัว 】แปลว่า: ว. หลงละเลิง, มัวเมา ก็ว่า.
【 เมามาย 】แปลว่า: ก. เมามาก.
【 เมายศ 】แปลว่า: ก. ถือตัวว่ามียศ.
【 เมาหมัด 】แปลว่า: ก. มีอาการมึนงงเพราะเคยถูกชกหนัก ๆ มาแล้ว.
【 เมาอำนาจ 】แปลว่า: ก. ถือตัวว่ามีอํานาจ.
【 เม่า ๑ 】แปลว่า: น. เรียกข้าวเปลือกข้าวเหนียวที่ยังไม่แก่จัดเอามาคั่วแล้วตําให้แบนว่า ข้าวเม่า,
ข้าวเม่าที่เอามาคั่วให้กรอบ เรียกว่า ข้าวเม่าราง นิยมกินกับน้ำกะทิ, ข้าวเม่า
รางทอดแล้วใส่เครื่องปรุง มีกุ้งแห้งทอด ถั่วลิสงทอด เต้าหู้ทอด กระเทียมเจียว
น้ำตาล เกลือ เรียกว่า ข้าวเม่าหมี่, ข้าวเม่าที่พรมน้ำเกลือให้นุ่มคลุกกับมะพร้าว
ขูดแล้วโรยน้ำตาลทราย เรียกว่า ข้าวเม่าคลุก นิยมกินกับกล้วยไข่, ข้าวเม่าผสม
น้ำตาล มะพร้าวขูด พอกกล้วยไข่ ชุบแป้งทอดน้ำมันให้ติดกันเป็นแพแล้วโรย
ด้วยแป้งทอด เรียกว่า ข้าวเม่าทอด.
【 เม่า ๒ 】แปลว่า: น. เรียกปลวกในระยะที่มีปีก ซึ่งบินออกผสมพันธุ์กัน ลําตัวขนาดต่างกัน
ยาวตั้งแต่ ๕ มิลลิเมตร ถึง ๒.๗ เซนติเมตร มีปีก ๒ คู่ยาวกว่าลําตัว ลักษณะ
เหมือนกันทั้งรูปทรงและเส้นปีก เมื่อหุบปีก ปีกจะแบนราบไปบนหลัง
สลัดปีกได้ง่าย ลําตัวสีนํ้าตาล ว่า แมลงเม่า.
【 เม้า 】แปลว่า: (โบ) น. ปีเถาะ, เขียนเป็น เหมา ก็มี เช่น ปีโถะหนไทกดดเหมา. (จารึกสยาม).
【 เม้าเค้า 】แปลว่า: ว. ลักษณะหน้าที่งอกหัก.
【 เมารี 】แปลว่า: น. นกยูงตัวเมีย. (ป. โมรี).
【 เมาลี 】แปลว่า: น. จอม, ยอด, ผมจุก, เขียนเป็น เมาฬี ก็มี. (ส.; ป. โมลิ).
【 เมาห์ 】แปลว่า: น. โมหะ.
【 เมาฬี 】แปลว่า: (โบ) น. เมาลี.
【 เมาะ ๑ 】แปลว่า: น. ที่นอนทําคล้ายฟูก แต่ยัดนุ่นหลวม ๆ สําหรับเด็ก.
【 เมาะ ๒ 】แปลว่า: สัน. คือ.
【 เมาะว่า 】แปลว่า: สัน. คือว่า.
【 เมาะ ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Alocasia odora/ C. Koch ในวงศ์ Araceae ลําต้นอวบ
ใบใหญ่ ก้านใบกินได้ มีมากทางภาคใต้.
【 เมาะตาโยกัก 】แปลว่า: ว. มีชื่อเสียงโด่งดัง, เลื่องลือไม่มีใครเสมอ. (ช.).
【 เมิง 】แปลว่า: (โบ) น. คํากํากับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยเหนือ ตรงกับเลข ๔.
【 เมิน 】แปลว่า: ก. เบือนหน้าหนี, ไม่ยอมดู, ไม่ยอมแล.
【 เมินเฉย 】แปลว่า: ก. ไม่สนใจใยดี.
【 เมินเสียเถอะ, เมินเสียเถิด 】แปลว่า: (สำ) คำกล่าวอย่างตัดเยื่อใยไมตรี ไม่ให้มีความหวัง
อยู่เลย.
【 เมิล 】แปลว่า: ก. ดู. (ข.).
【 เมีย 】แปลว่า: น. ภรรยา, หญิงที่เป็นคู่ครองของชาย, คู่กับ ผัว. ว. คําบอกเพศ หมายความว่า
ตัวเมีย เช่น ไก่เมีย ม้าเมีย.
【 เมียน้อย 】แปลว่า: (ปาก) น. หญิงที่ชายเลี้ยงดูอย่างภรรยา แต่ไม่มีศักดิ์ศรีเท่าเมียหลวง
หรือไม่ได้จดทะเบียน.
【 เมียหลวง 】แปลว่า: น. เมียที่ยกย่องว่าเป็นใหญ่.
【 เมียง 】แปลว่า: ก. เลียบเคียงเข้าไป, ชายตาดู.
【 เมียงมอง 】แปลว่า: ก. ชายตาดู.
【 เมียงม่าย 】แปลว่า: ก. ทําอาการประเดี๋ยวชําเลืองประเดี๋ยวเมิน.
【 เมี่ยง ๑ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นชา. /[ดู ชา ๑ (๑)]./
【 เมี่ยง ๒ 】แปลว่า: น. ของกินเล่นที่ใช้ใบไม้บางชนิด เช่น ใบชาหมัก ใบชะพลู ใบทองหลาง
ห่อเครื่อง มีถั่วลิสง มะพร้าว กุ้งแห้ง หัวหอม ขิง เป็นต้น มีหลายชนิด
เรียกชื่อต่าง ๆ กัน เช่น เมี่ยงคำ เมี่ยงลาว เมี่ยงส้ม.
【 เมี่ยงลาว 】แปลว่า: น. ของกินอย่างหนึ่ง ใช้ใบผักกาดดองห่อไส้เป็นคำ ๆ ไส้ทำด้วย
หมูสับผัดเคล้ากับกุ้งแห้งป่น ถั่วลิสงตำ ขิง น้ำส้มมะขาม น้ำตาล น้ำปลา
ปรุงให้มีรสหวานนำ เค็มตามและเปรี้ยวนิดหน่อย แล้วตักขึ้นเคล้าด้วยหอมเจียว
กระเทียมเจียว กินกับข้าวตังทอดหรือข้าวเกรียบกุ้งทอด.
【 เมี่ยงส้ม 】แปลว่า: น. ของกินอย่างหนึ่ง ทำด้วยมะพร้าวขูดคั่ว กวนกับน้ำตาลปึกผสม
ถั่วลิสงตำพร้อมด้วยหอมแดง ปรุงให้มีรสเค็มหวาน เมื่อได้ที่โรยใบมะกรูด
หั่นฝอย กินแกมกับผักกาดหอมหรือใบทองหลาง และผลไม้มีรสเปรี้ยว เช่น
ส้มโอ มะม่วงดิบ มะปรางดิบ.
【 เมี้ยน 】แปลว่า: ว. มิด, ลับลี้, ซ่อน.
【 เมือ, เมื้อ 】แปลว่า: ก. ไป, กลับ.
【 เมื่อ 】แปลว่า: น. ครั้ง, คราว, เช่น เรื่องนี้เกิดเมื่อเขาไปต่างจังหวัด, โอกาส เช่น พบได้ทุกเมื่อ,
ขณะที่ เช่น เมื่อเขาออกจากบ้าน ฝนก็ตก, คำนำหน้าคำบอกเวลาที่ล่วงไปแล้ว
เช่น เมื่อคืนนี้ เมื่อเช้านี้ เมื่อวานซืน. สัน. ในขณะที่ เช่น เขามาเมื่อฉันเห็น.
【 เมื่อกี้, เมื่อตะกี้ 】แปลว่า: ว. เพิ่งล่วงไป, เพิ่งผ่านไป, (ใช้แก่เวลา).
【 เมื่อใด, เมื่อไร, เมื่อไหร่ 】แปลว่า: คำที่ใช้ถามเกี่ยวกับเวลา จะเป็นอดีตหรืออนาคตก็ได้
เช่น เมื่อไรเขาจะมา.
【 เมื่อนั้น 】แปลว่า: ว. คําขึ้นต้นข้อความของบทละคร (ใช้แก่ตัวละครที่เป็นตัวเจ้าหรือ
เป็นตัวเอกในตอนนั้น ๆ).
【 เมื่อพีเนื้อหอม เมื่อผอมเนื้อเหม็น 】แปลว่า: (สํา) น. เวลารวยคนมาห้อมล้อม
ประจบประแจง เวลาจนคนพากันหน่ายหนี.
【 เมื่อเอยก็เมื่อนั้น 】แปลว่า: ว. เมื่อไรก็ได้, พร้อมทุกเมื่อ.
【 เมื่อเอยเมื่อนั้น 】แปลว่า: (สํา) ว. ชักช้า, อืดอาด, ยืดยาด.
【 เมือก 】แปลว่า: น. สิ่งที่มีลักษณะเป็นเลือก ๆ คือ เหนียว ๆ ลื่น ๆ อย่างเมือกปลา.
【 เมือง 】แปลว่า: น. แดน เช่น เมืองมนุษย์ เมืองสวรรค์ เมืองบาดาล, ประเทศ เช่น เมืองไทย
เมืองจีน เมืองลาว; (โบ) จังหวัด เช่น เมืองเชียงใหม่ เมืองนครศรีธรรมราช
เมืองตราด; เขตซึ่งเคยเป็นเมืองสำคัญในระดับจังหวัดต่อมาถูกลดฐานะเป็น
อำเภอ เช่น เมืองไชยา เมืองมีนบุรี เมืองขุขัน์; เขตซึ่งเป็นที่ชุมนุมและเป็น
ที่ตั้งศาลากลางจังหวัด ซึ่งในครั้งก่อน ถ้าเป็นเมืองใหญ่ หมายถึงเขตภายใน
กําแพงเมือง.
【 เมืองขึ้น 】แปลว่า: น. เมืองที่เป็นข้าขอบขัณฑสีมา, ประเทศที่อยู่ในปกครองของประเทศอื่น.
【 เมืองท่า 】แปลว่า: น. เมืองสำคัญที่ตั้งอยู่ริมทะเลหรือแม่น้ำซึ่งใช้เป็นที่ให้ความสะดวกต่าง ๆ
ในการขนถ่ายสินค้าและผู้โดยสารขึ้นหรือลงเรือเดินทะเล; (กฎ) ทําเลหรือถิ่นที่
จอดเรือเพื่อขนถ่ายคนโดยสารหรือของ.
【 เมืองท่าปลอดภาษี 】แปลว่า: น. เมืองท่าหรือบริเวณใดบริเวณหนึ่งในเขตเมืองท่าที่
การขนถ่ายสินค้าเข้าและสินค้าออกไม่ต้องเสียภาษี.
【 เมืองนอก 】แปลว่า: (ปาก) น. ประเทศอื่น ๆ, ต่างประเทศ มักหมายถึงประเทศใน
ทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกา.
【 เมืองผี 】แปลว่า: น. โลกของคนตาย, แดนของคนที่ตายแล้ว.
【 เมืองลับแล 】แปลว่า: น. เมืองที่เร้นลับ ถือกันว่าจะพบได้ก็แต่โดยบังเอิญ ถ้าตั้งใจ
ไปไม่พบ, บางทีก็เรียกว่า เมืองแม่ม่าย เพราะเชื่อกันว่าผู้หญิงที่อยู่ในเมืองนี้
ล้วนเป็นแม่ม่ายทั้งสิ้น.
【 เมืองหลวง 】แปลว่า: น. เมืองเป็นที่ตั้งรัฐบาล.
【 เมืองออก 】แปลว่า: น. เมืองที่สวามิภักดิ์ถวายดอกไม้เงินดอกไม้ทอง.
【 เมือบ 】แปลว่า: ว. มาก, เต็ม.
【 เมื่อย 】แปลว่า: ก. อาการเพลียของกล้ามเนื้อเมื่อทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งซ้ำ ๆ อยู่เป็นเวลานาน เช่น
เดินอยู่นานจนเมื่อย เมื่อยมือเพราะเขียนหนังสือนาน.
【 เมื่อยขบ 】แปลว่า: ก. อาการที่เมื่อยปวดเหมือนมีอะไรขบบีบ หรือกดอยู่ที่ตรงนั้น.
【 เมื่อยปาก 】แปลว่า: ก. อาการที่พูดซ้ำ ๆ มาหลายครั้งหรือนานจนไม่อยากพูดอีก.
【 เมื่อยล้า 】แปลว่า: ก. อาการที่เมื่อยมากทำให้เดินเคลื่อนไหวได้ช้าลง.
【 แม่ 】แปลว่า: น. หญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูลูก, คําที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูตน;
คําที่ผู้ใหญ่เรียกผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนมหรือรักใคร่เป็นต้นว่า
แม่นั่น แม่นี่; คําใช้นําหน้านามเพศหญิง แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น แม่บ้าน;
ผู้หญิงที่กระทํากิจการหรืองานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า แม่ค้า
ทําครัว เรียกว่า แม่ครัว; เรียกสัตว์ตัวเมียที่มีลูก เช่น แม่ม้า แม่วัว; เรียกคน
ผู้เป็นหัวหน้าหรือเป็นนายโดยไม่จํากัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง;
คํายกย่องเทวดาผู้หญิงบางพวก เช่น แม่คงคา แม่ธรณี แม่โพสพ, บางทีก็ใช้ว่า
เจ้าแม่ เช่น เจ้าแม่กาลี; เรียกสิ่งที่เป็นประธานของสิ่งต่าง ๆ ในพวกเดียวกัน
เช่น แม่กระได แม่แคร่ แม่แบบ; เรียกชิ้นใหญ่กว่าในจําพวกสิ่งที่สําหรับกัน
เช่น แม่กุญแจ คู่กับ ลูกกุญแจ; แม่นํ้า เช่น แม่ปิง แม่วัง; คําหรือพยางค์ที่มีแต่สระ
ไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ก ข ค ฆ สะกด เรียกว่า
แม่กก, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ง สะกด เรียกว่า แม่กง, คําหรือพยางค์ที่มีตัว
จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เรียกว่า แม่กด, คําหรือพยางค์
ที่มีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด เรียกว่า แม่กน, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ม สะกด เรียกว่า
แม่กม, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ย สะกด เรียกว่า แม่เกย แต่ในมูลบทบรรพกิจมี ย ว อ
สะกด, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ว สะกด เรียกว่า แม่เกอว.
【 แม่กระชังหน้าใหญ่ 】แปลว่า: (สํา) น. ผู้ที่ชอบแสดงตัวออกหน้าเป็นหัวเรือใหญ่,
มักพูดเข้าคู่กับ แม่หญิงแม่หญัง เป็น แม่หญิงแม่หญัง แม่กระชังหน้าใหญ่.
【 แม่กระแชง 】แปลว่า: น. ปลาสลิดแห้งชนิดใหญ่.
【 แม่กระได 】แปลว่า: น. แม่บันได.
【 แม่กอง 】แปลว่า: น. ผู้เป็นนายกอง, หัวหน้างาน, เช่น แม่กองทำปราสาทพระเทพบิดร
แม่กองทำประตูประดับมุก.
【 แม่กองธรรมสนามหลวง 】แปลว่า: น. พระเถระผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการสอบไล่
พระปริยัติธรรม แผนกนักธรรมและธรรมศึกษาของคณะสงฆ์.
【 แม่กองบาลีสนามหลวง 】แปลว่า: น. พระเถระผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการสอบไล่
พระปริยัติธรรม แผนกบาลีของคณะสงฆ์.
【 แม่กุญแจ 】แปลว่า: น. ลูกกุญแจที่ไขตัวกุญแจชนิดเดียวกันได้ทั่วไป. (อ. master key);
ตัวกุญแจ คือ เครื่องลั่นประตูหรือหีบ มีลูกกุญแจสำหรับไข.
【 แม่คุณ 】แปลว่า: น. คําพูดเอาใจหญิงหรือแสดงความเอ็นดูรักใคร่เด็กหญิง.
【 แม่คู่ 】แปลว่า: น. นักสวดผู้ขึ้นต้นบท.
【 แม่แคร่ 】แปลว่า: น. กรอบไม้หรือไม้ไผ่ประกับแคร่ทั้ง ๔ ด้าน.
【 แม่งาน 】แปลว่า: น. หัวหน้าผู้รับผิดชอบในงานบางอย่าง เช่น เขาเป็นแม่งาน
ในการจัดเลี้ยงแขกที่มาในงาน.
【 แม่เจ้า 】แปลว่า: ส. คําเรียกเมียพ่อเมืองหรือเจ้าผู้ครองนคร, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
แม่เจ้าประคุณ คำเรียกแสดงความรักใคร่หรือประชดประชัน แล้วแต่น้ำเสียง
(ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น แม่เจ้าประคุณของยายสบายดีหรือ ดึกแล้วแม่เจ้าประคุณ
ยังไม่กลับบ้านเลย.
【 แม่เจ้าเรือน 】แปลว่า: น. หญิงผู้ปกครองบ้านเรือน, แม่เรือน หรือ แม่เหย้าแม่เรือน ก็ว่า.
【 แม่เจ้าโว้ย 】แปลว่า: อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความประหลาดใจ.
【 แม่ชี 】แปลว่า: /ดู ชี ๑/.
【 แม่ซื้อ 】แปลว่า: น. เทวดาหรือผีที่เชื่อกันว่าเป็นผู้ดูแลรักษาทารก, แม่วี ก็เรียก.
【 แม่เตาไฟ 】แปลว่า: น. ไม้สี่เหลี่ยมที่เป็นกรอบกรุดินสําหรับวางก้อนเส้า เกียง หรือเตาวง.
【 แม่ทัพ 】แปลว่า: น. นายทัพ, ผู้ทำหน้าที่คุมกองทัพ, เช่น แม่ทัพบก แม่ทัพเรือ แม่ทัพอากาศ
แม่ทัพภาค.
【 แม่ท่า 】แปลว่า: น. แม่บท ท่าที่เป็นหลักของการรำ.
【 แม่นม 】แปลว่า: น. หญิงที่ให้นมเด็กอื่นกินนมของตนแทนแม่, เรียกสั้น ๆ ว่า นม,
(ราชา) พระนม.
【 แม่น้ำ 】แปลว่า: น. ลํานํ้าใหญ่ซึ่งเป็นที่รวมของลําธารทั้งปวง.
【 แม่บท 】แปลว่า: น. หัวข้อใหญ่ เช่น ยกบาลีขึ้นมาเป็นแม่บท, หลัก เช่น โครงการแม่บท;
ท่าที่เป็นหลักของการรํา, แม่ท่า ก็เรียก.
【 แม่บันได 】แปลว่า: น. ไม้ยาว ๒ อันที่ขนาบสำหรับสอดใส่หรือตีลูกบันได,
แม่กระได ก็เรียก.
【 แม่บ้าน 】แปลว่า: น. ภรรยาของพ่อบ้าน, หญิงผู้จัดการงานในบ้านเป็นต้น,
หญิงผู้จัดการงานธุรการในสถานที่เช่นโรงพยาบาลเป็นต้น, คู่กับ พ่อบ้าน.
【 แม่เบี้ย 】แปลว่า: น. พังพานงู (ใช้แก่งูเห่าและงูจงอาง) เช่น งูเห่าแผ่แม่เบี้ย.
【 แม่ปะ 】แปลว่า: น. ชื่อเรือขุดชนิดหนึ่งคล้ายเรือชะล่า แต่มีขนาดใหญ่และยาวกว่า
ท้ายต่อไม้ยกงอนสูงขึ้นคล้ายหางแมงป่อง มักใช้ถ่อ, หางแมงป่อง ก็เรียก.
【 แม่แปรก 】แปลว่า: [-ปะแหฺรก] น. ช้างพังที่เป็นหัวหน้าโขลง, (ราชา) แม่หนัก;
หญิงสาวแก่ที่จัดจ้านซึ่งเป็นหัวหน้าของหญิงสาวในหมู่.
【 แม่ฝา 】แปลว่า: น. ไม้กรอบประกับฝาเรือนฝากระดานทั้ง ๔ ด้าน.
【 แม่พระ 】แปลว่า: น. คำเรียกพระมารดาของพระเยซู; เรียกผู้หญิงที่มีจิตใจเมตตาปรานี
ชอบช่วยเหลือผู้อื่นเป็นนิจ.
【 แม่พระคงคา 】แปลว่า: น. เทพธิดาประจำน้ำ, เจ้าแม่แห่งน้ำ.
【 แม่พระธรณี 】แปลว่า: น. เทพธิดาประจำแผ่นดิน, เจ้าแม่แห่งแผ่นดิน.
【 แม่พิมพ์ 】แปลว่า: น. สิ่งที่เป็นต้นแบบ เช่น แม่พิมพ์ตัวหนังสือ, โดยปริยายหมายถึง
ครูอาจารย์ซึ่งถือว่าเป็นแบบอย่างความประพฤติของศิษย์.
【 แม่เพลง 】แปลว่า: น. หญิงที่เป็นต้นบทหรือหัวหน้าวงเพลงพื้นบ้าน เช่น เพลงฉ่อย
เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเรือ.
【 แม่โพสพ 】แปลว่า: น. เทพธิดาประจำข้าว, เจ้าแม่แห่งข้าว.
【 แม่มด 】แปลว่า: น. หญิงหมอผี, หญิงที่ใช้อํานาจเวทมนตร์บังคับภูตผีให้ช่วยทําอะไร
บางอย่างที่ผิดปรกติธรรมดาได้, หญิงที่ทรงเจ้าเข้าผี.
【 แม่ม่าย 】แปลว่า: น. หญิงที่มีผัวแล้ว แต่ผัวตายหรือหย่าร้างกันไป.
【 แม่ม่ายทรงเครื่อง 】แปลว่า: น. แม่ม่ายที่มั่งมี.
【 แม่ม่ายผัวร้าง 】แปลว่า: น. แม่ร้าง.
【 แม่ไม้ 】แปลว่า: น. ท่ารำและท่าต่อสู้ที่เป็นหลักในวิชากระบี่กระบองหรือมวย.
【 แม่ยก 】แปลว่า: น. หญิงที่เป็นผู้อุปถัมภ์พระเอกลิเกหรือนายวงดนตรีลูกทุ่ง.
【 แม่ยั่วเมือง 】แปลว่า: (โบ) น. คําเรียกพระสนมเอกครั้งโบราณ, เขียนว่า แม่หยั่วเมือง
หรือ แม่อยั่วเมือง ก็มี.
【 แม่ย่านาง 】แปลว่า: น. ผีผู้หญิงประจำรักษาเรือ.
【 แม่ยาย 】แปลว่า: น. แม่ของเมีย.
【 แม่ย้าว 】แปลว่า: น. แม่เรือน.
【 แม่ร้า 】แปลว่า: น. เรียกหญิงจัดจ้านว่า แม่ร้า.
【 แม่ร้าง 】แปลว่า: น. หญิงที่เลิกกับผัว, บางทีเรียกว่า แม่ม่ายผัวร้าง.
【 แม่รีแม่แรด 】แปลว่า: ว. ทําเจ้าหน้าเจ้าตา.
【 แม่เรือน 】แปลว่า: น. หญิงผู้ปกครองบ้านเรือน, แม่เจ้าเรือน หรือ แม่เหย้าแม่เรือน ก็ว่า.
【 แม่แรง 】แปลว่า: น. เครื่องสําหรับดีดงัดหรือยกของหนัก, โดยปริยายหมายถึงคนที่เป็นกําลัง
สําคัญในการงาน.
【 แม่ลาย 】แปลว่า: น. ลายตอนที่เป็นประธานมีซํ้า ๆ กันเป็นแถวไป.
【 แม่เล้า 】แปลว่า: (ปาก) น. หญิงผู้เป็นหัวหน้าซ่องโสเภณี, ผู้หญิงผู้เป็นหัวหน้าควบคุม
ดูแลเลี้ยงหญิงสาวไว้บําเรอชาย.
【 แม่เลี้ยง 】แปลว่า: น. เมียของพ่อที่ไม่ใช่แม่ตัว.
【 แม่วี 】แปลว่า: น. คอกจับช้างขนาดเล็ก; แม่ซื้อ.
【 แม่ศรี 】แปลว่า: น. ชื่อการละเล่นสมัยโบราณอย่างหนึ่ง โดยเชิญผีแม่ศรีมาเข้าทรงหญิงสาว
หญิงสาวที่ถูกผีเข้าทรงจะรำได้อย่างสวยงาม นิยมเล่นในเทศกาลสงกรานต์.
【 แม่สายบัวแต่งตัวค้าง 】แปลว่า: (สํา) น. ผู้หญิงที่แต่งตัวคอยผู้มารับออกนอกบ้าน
แต่เขาไม่มาตามนัด.
【 แม่สี 】แปลว่า: น. กลุ่มสีซึ่งสามารถผสมออกมาเป็นสีอื่น ๆ ได้ทุกสี มี ๕ สี คือ แดง เขียว
(คราม) เหลือง ดำ ขาว เรียกว่า เบญจรงค์.
【 แม่สื่อ 】แปลว่า: น. หญิงที่ทำหน้าที่ชักนำเพื่อให้ชายหญิงได้แต่งงานกัน, บางทีเรียกว่า
แม่สื่อแม่ชัก.
【 แม่สื่อแม่ชัก 】แปลว่า: น. แม่สื่อ.
【 แม่สื่อแม่ชัก ไม่ได้เจ้าตัว เอาวัวพันหลัก 】แปลว่า: (สำ) น. หญิงที่ไปติดต่อระหว่างชายหญิง
แต่ไม่สำเร็จในที่สุดก็ตกเป็นภรรยาของชายนั้นแทน.
【 แม่หนัก 】แปลว่า: (ราชา) น. ช้างพังที่เป็นหัวหน้าโขลง.
【 แม่หยั่วเมือง 】แปลว่า: (โบ) น. คําเรียกพระสนมเอกครั้งโบราณ, เขียนว่า แม่ยั่วเมือง
หรือ แม่อยั่วเมือง ก็มี.
【 แม่หินบด 】แปลว่า: น. แท่งหินสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีร่องด้านข้างโดยรอบ สำหรับบดยา,
คู่กับ ลูกหินบด.
【 แม่เหย้าแม่เรือน 】แปลว่า: น. หญิงผู้ปกครองบ้านเรือน, แม่เจ้าเรือน หรือ แม่เรือน ก็ว่า.
【 แม่เหล็ก 】แปลว่า: น. แร่หรือโลหะที่มีสมบัติดูดเหล็กได้.
【 แม่อยั่วเมือง 】แปลว่า: (โบ) น. คำเรียกพระสนมเอกครั้งโบราณ, เขียนว่า แม่ยั่วเมือง หรือ
แม่หยั่วเมือง ก็มี.
【 แม่อยู่หัว 】แปลว่า: น. คําเรียกพระมเหสี.
【 แม้ 】แปลว่า: สัน. ผิ, หาก, เช่น แม้ฝนตก ฉันก็จะมา, ใช้ว่า แม้น ก็มี; คําสนับสนุนข้ออ้าง
ให้เห็นเด่นขึ้นโดยอาศัยการเปรียบเทียบ เช่น อย่าว่าแต่ผู้ใหญ่เลย แม้เด็กก็เข้าใจ.
【 แม้แต่ 】แปลว่า: สัน. เพียงแต่ เช่น แม้แต่จะกินเข้าไป ก็ยังไม่มี.
【 แม้ว่า 】แปลว่า: สัน. ผิว่า, หากว่า, เช่น แม้ว่าจะไปด้วย ก็ตามใจ.
【 แมก 】แปลว่า: น. ไม้, กิ่งไม้, ค่าคบไม้, เช่น นกหกจับแมกไม้.
【 แมกนีเซียม 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๑๒ สัญลักษณ์ Mg เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเงิน
หลอมละลายที่ ๖๕๐?ซ. เมื่อจุดให้ติดไฟในอากาศจะได้เปลวสีขาว สว่างจัด
ใช้ประโยชน์ในการถ่ายรูป ทําระเบิดเพลิง นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะ
เจือชนิดนํ้าหนักเบา เป็นต้น. (อ. magnesium).
【 แมง 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่มีร่างกายแบ่งเป็น ๒ ส่วน
คือ ส่วนหัวกับอกรวมเป็นส่วนเดียวกันส่วนหนึ่ง และส่วนท้องอีกส่วนหนึ่ง
มีขา ๘ หรือ ๑๐ ขา ไม่มีหนวด ไม่มีปีก เช่น แมงมุม แมงดาทะเล แมงป่อง
มักเรียกสับกับคําว่า แมลง.
【 แมงดาทะเล 】แปลว่า: /ดู แมงดา/.
【 แมงมุม 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์พวกแมง ที่ปากมีเขี้ยวรูปร่างคล้ายปากคีบและมีอวัยวะ
รูปทรงคล้ายขายื่นออกมา ๑ คู่ ไม่มีหนวด มีหลายชนิด ทุกชนิดที่ขามีโครงสร้าง
พิเศษซึ่งสามารถถักใยที่ออกมาจากรูเปิดตรงส่วนท้องได้ มีทั้งชนิดถักใยดักสัตว์
เช่นแมงมุมขี้เถ้า (/Pholcus/ spp.) ในวงศ์ Pholcidae และชนิดกระโดดจับสัตว์กิน
เช่น บึ้ง.
【 แมงกวาง 】แปลว่า: /ดู กว่าง/.
【 แมงกว่าง 】แปลว่า: /ดู กว่าง/.
【 แมงกะพรุน 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์นํ้าไม่มีกระดูกสันหลัง ใสคล้ายวุ้น ด้านบนเป็นวงโค้งคล้ายร่ม
ด้านล่างตอนกลางเป็นอวัยวะทําหน้าที่กินและย่อยอาหาร มีหลายชนิด
เช่น แมงกะพรุนจาน หรือ แมงกะพรุนหนัง ซึ่งกินได้ ส่วนแมงกะพรุนถ้วย
แมงกะพรุนไฟ และแมงกะพรุนลาย มีพิษ.
【 แมงกานิน 】แปลว่า: น. โลหะเจือชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยทองแดงร้อยละ ๘๓ แมงกานีสร้อยละ
๑๓ นิกเกิล ร้อยละ ๔ ใช้ประโยชน์นําไปทําอุปกรณ์ไฟฟ้า. (อ. manganin).
【 แมงกานีส 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๒๕ สัญลักษณ์ Mn เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเงิน
แข็งแต่เปราะ หลอมละลายที่ ๑๒๔๕ ?ซ. ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่น
ให้เป็นโลหะเจือ. (อ. manganese).
【 แมงกาย 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ผีเสื้อกลางคืน. /(ดู ผีเสื้อ ๑)./
【 แมงคา 】แปลว่า: /ดู แมงคาเรือง/.
【 แมงคาเรือง 】แปลว่า: น. ชื่อตะเข็บชนิดที่ตัวเรืองแสงเมื่ออยู่ในที่มืด ส่วนใหญ่อยู่ในสกุล /Geophilus/
วงศ์ Geophilidae เช่น ชนิด /G. phosphoreus, G. electricus/ ขนาดเล็กเท่าก้านไม้ขีด
ยาว ๓.๕-๔.๕ เซนติเมตร มีจํานวนปล้อง ๓๐-๖๖ ปล้องหรือมากกว่า ขายาวกว่า
ความยาวของปล้องมาก อาศัยอยู่ตามที่รกรุงรัง กองขยะมูลฝอย ฯลฯ, แมงคา ก็เรียก.
【 แมงช้าง 】แปลว่า: /ดู แมลงช้าง ที่ แมลง/.
【 แมงดา 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์ทะเลในวงศ์ Xiphosuridae รูปร่างคล้ายจานควํ่า หางยาวเป็นแท่ง
ในน่านนํ้าไทยพบ ๒ ชนิด คือ แมงดาจาน (/Tachypleus gigas/) ความยาวลําตัว
ถึงปลายหางยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร มีสันหางเป็นหนามคล้ายฟันเลื่อย หน้าตัด
ของหางมีรูปคล้ายสามเหลี่ยม และ แมงดาทะเลหางกลม แมงดาถ้วย เหรา
หรือ แมงดาไฟ (/Carcinoscorpius rotundicauda/) ความยาวลําตัวถึงปลายหางยาว
ได้ถึง ๓๕ เซนติเมตร สันหางเรียบมน หน้าตัดของหางค่อนข้างกลม ในบางท้องถิ่น
และบางฤดูกาล ถ้านํามากินอาจเกิดอาการอาหารเป็นพิษได้ทั้ง ๒ ชนิด, แมงดาทะเล
ก็เรียก; ชื่อตะเกียงอย่างโบราณ รูปคล้ายแมงดาทะเล ใช้แขวนจุดตามโรงหนัง
โรงโขน; ชื่อนาฬิกาแขวนมีรูปเป็น ๒ ตอนคล้ายกับรูปแมงดาทะเล; (ปาก)
ชายที่อาศัยนํ้าพักนํ้าแรงของผู้หญิงโสเภณีดํารงชีวิต.
【 แมงดาถ้วย 】แปลว่า: /ดู เหรา ๑/.
【 แมงดาทะเล 】แปลว่า: /ดู แมงดา/.
【 แมงดาทะเลหางกลม 】แปลว่า: /ดู เหรา ๑/.
【 แมงดาไฟ 】แปลว่า: /ดู เหรา ๑/.
【 แมงไฟเดือนห้า 】แปลว่า: /ดู เต่าบ้า/.
【 แม่งม้าง 】แปลว่า: (กลอน) ก. เริดร้าง เช่น สมุทโฆษว้างพินทู แม่งม้าง. (หริภุญชัย).
【 แมงลัก 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Ocimum americanum/ L. ในวงศ์ Labiatae
【 ใบคล้ายใบโหระพาแต่มีขน 】แปลว่า:
ใบและเมล็ดกินได้และใช้ทํายาได้.
【 แม่ตะงาว 】แปลว่า: น. ชื่องูขนาดเล็กชนิด /Boiga multomaculata/ ในวงศ์ Colubridae หัวโต ตาโต
ตัวยาวเรียว สีนํ้าตาล ลายสีนํ้าตาลเข้ม ออกหากินในเวลากลางคืน มีพิษอ่อนมาก.
【 แม่ตาย 】แปลว่า: น. ถั่วแม่ตาย. /(ดู ถั่วเหลือง ที่ ถั่ว ๑)./
【 แมน 】แปลว่า: (โบ) น. เทวดา เช่น เมืองแมน.
【 แม่น 】แปลว่า: ว. เที่ยง, แน่วแน่, เช่น ยิงปืนแม่น, ไม่ผิด, ถูกต้อง, เช่น จำแม่น.
【 แม่นยำ 】แปลว่า: ก. จําได้อย่างถูกต้อง.
【 แม้น ๑ 】แปลว่า: สัน. แม้ เช่น แม้นมิไปช่วยจะม้วยมอด ด้วยสังข์ทองไม่ถอดรูปเงาะป่า. (สังข์ทอง).
【 แม้น ๒ 】แปลว่า: ว. เหมือน, เช่น, คล้าย, เช่น แม้นวาด.
【 แม้นเขียน 】แปลว่า: /ดู กระหนกนารี/.
【 แม่ม่ายลองไน 】แปลว่า: น. ชื่อจักจั่นขนาดใหญ่ที่มีลําตัวและปีกสีฉูดฉาด เช่น ดํา ขาว เหลือง หรือส้ม
สีเหล่านี้เป็นลายหรือเป็นแถบพาดตามหัว ลําตัว หรือปีก มีอวัยวะทําเสียงซึ่ง
เสียงจะเป็นเสียงห้าว ก้องกังวานได้ยินไปไกล ๆ มีหลายชนิด ชนิดที่โตที่สุดใน
ประเทศไทย คือ ชนิด /Tosena melanoptera/, ลองไน ก็เรียก.
【 แมร 】แปลว่า: [แม, แมน] น. เงิน. (ช.).
【 แมลง 】แปลว่า: [มะแลง] น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เมื่อร่างกายเจริญเติบโตเต็มที่
แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน เห็นได้ชัดเจน ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง
มี ๖ ขา เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังพวกเดียวที่มีปีก ซึ่งอาจมี ๑ หรือ ๒ คู่
แต่อาจพบพวกที่ไม่มีปีกก็ได้ เป็นสัตว์ที่มีมากชนิดที่สุดในโลก มักเรียกสับ
กับคําว่า แมง.
【 แมลงช้าง 】แปลว่า: น. ชื่อตัวอ่อนของแมลงหลายชนิด ส่วนใหญ่อยู่ในวงศ์ Myrmeleontidae
รูปร่างอ้วน ป้อม มีขนเป็นกระจุกตามลําตัว ขากรรไกรหน้ายาวยื่นและโค้งเหมือน
งาช้าง ฝังตัวอยู่ในหลุมทรายซึ่งขุดเป็นรูปกรวย เพื่อล่อให้มดหรือสัตว์เล็ก ๆ ตกลง
ไปในหลุมแล้วขึ้นไม่ได้ จะได้จับกินเป็นอาหาร, ตุ้ม ตุ๊ดตู่ หรือ แมงช้าง ก็เรียก.
【 แมลงดา 】แปลว่า: /ดู ดา ๑/.
【 แมลงดำ 】แปลว่า: น. ชื่อแมลงพวกด้วงปีกแข็งที่กัดกินผิวใบข้าวและธัญพืชอื่น ๆ เห็นเป็น
ทางขาวไปตามรอยที่กัดกิน ลําตัวยาว ๓-๔ มิลลิเมตร สีดําเป็นมันตลอด ยกเว้นที่
ปีกอ่อน ทั้งอกและปีกแข็งมีหนามแข็งคลุม เช่น ชนิด /Dicladispa armigera/
และ ชนิด /Monochirus minor/ ในวงศ์ Chrysomelidae, แมลงดําหนาม ก็เรียก.
【 แมลงทับเล็ก 】แปลว่า: /ดู ค่อม ๒/.
【 แมลงวัน 】แปลว่า: น. ชื่อแมลงประเภทหนึ่งซึ่งมีปีก ๑ คู่ ลักษณะบางใสเกิดที่อกปล้องกลาง
มีอวัยวะเป็นติ่งยื่นออกมาแทนปีกคู่ที่ ๒ ทําหน้าที่เป็นหางเสือ ปากเป็นชนิดซับดูด
หนวดมี ๓ ปล้อง ปล้องปลายใหญ่สุดและมีขน ๑ เส้น มีหลายวงศ์ ที่พบทั่วไป คือ
ชนิด /Musca domestica/ ในวงศ์ Muscidae.
【 แมลงวันทอง 】แปลว่า: น. ชื่อแมลงหลายชนิดในวงศ์ Trypetidae หรือ Tephritidae
รูปร่างคล้ายแมลงวันและมีขนาดลําตัวไล่เลี่ยกัน แต่ที่อกและท้องพื้นสีนํ้าตาลแก่
นั้นมีรอยแต้มสีเหลืองหรือเหลืองปนส้มเป็นดวงหรือเป็นแถบ ทําให้มองดู
คล้ายสีทอง ที่มีเป็นสามัญ คือ ชนิด /Dacus dorsalis/ ซึ่งในระยะที่เป็นตัวหนอน
จะทําลายผลไม้.
【 แมลงวันสเปน 】แปลว่า: น. ชื่อด้วงปีกแข็งชนิด /Lytta vesicatoria/ ในวงศ์ Meloidae
เกิดขึ้นมากในฤดูร้อนในสเปนและส่วนอื่นของยุโรป ตัวยาว ๑.๕-๒ เซนติเมตร
ลักษณะทั่วไปคล้ายเต่าบ้า แต่สีเขียวปนทองหรือค่อนไปทางนํ้าเงินตลอดตัว
มีสารแคนทาริดินอยู่ในตัวเช่นเดียวกับเต่าบ้า. (อ. Spanish fly).
【 แมลงวันหัวเขียว 】แปลว่า: น. ชื่อแมลงหลายชนิดที่มีลักษณะทั่วไปเหมือนแมลงวัน
แต่ตัวโตกว่า อกและท้องโดยทั่วไปสีเขียว เขียวอมนํ้าเงิน หรือ นํ้าเงินเป็นมันวาว
ส่วนใหญ่อยู่ในวงศ์ Calliphoridae ที่พบบ่อยตามบ้านเรือน คือ ชนิด /Chrysomyia/
/megacephala/.
【 แมลงดำหนาม 】แปลว่า: /ดู แมลงดํา ที่ แมลง/.
【 แมลงปอ ๑ 】แปลว่า: /ดู ใบโพ ๒/.
【 แมลงปอ ๒ 】แปลว่า: /ดู ปอ ๓/.
【 แมลงภู่ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ชนิด /Perna viridis/ ในวงศ์ Mytilidae เปลือกยาวรี
สีเขียวคล้ายปีกของแมลงทับ.
【 แมลงภู่ ๒ 】แปลว่า: /ดู ชะโด/.
【 แมลงภู่ ๓ 】แปลว่า: /ดู ภู่/.
【 แมลงภู่ ๔ 】แปลว่า: น. เสือแมลงภู่. /(ดู ดาว ๒)./
【 แมลงเม่า 】แปลว่า: /ดู เม่า ๒/.
【 แมลบ 】แปลว่า: [มะแลบ] ก. แลบ.
【 แมว ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด /Felis catus/ ในวงศ์ Felidae ซึ่งเป็นวงศ์
เดียวกับเสือ ขนยาวนุ่ม มีหลายสี เช่น ดํา ขาว นํ้าตาล ส่วนใหญ่เลี้ยงไว้
เพื่อความสวยงามและใช้จับหนู แมววิเชียรมาศ และแมวสีสวาด
เป็นแมวไทยที่สวยงามและมีชื่อเสียงมาก; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์มูลา
มี ๙ ดวง, ดาวช้างน้อย ดาวมูล หรือ ดาวมูละ ก็เรียก.
【 แมวคราว 】แปลว่า: [-คฺราว] น. แมวตัวผู้ที่แก่ รูปร่างใหญ่ หน้าตาดุน่ากลัว และมีหนวดยาว.
【 แมวเซา ๑ 】แปลว่า: น. แมวมอง.
【 แมวดาว 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด /Felis bengalensis/ ในวงศ์ Felidae ขนาด
โตกว่าแมวบ้านเล็กน้อย ขนสั้นสีเหลือง มีจุดดําทั่วตัว ใต้ท้องสีขาว.
【 แมวป่า 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด /Felis chaus/ ในวงศ์ Felidae ขนาดใหญ่
กว่าแมวบ้าน สีนํ้าตาลอมเทาหรือนํ้าตาลอมเหลือง หูตั้งชัน มีพู่ขนสีดําที่ปลายหู,
เสือกระต่าย หรือ เสือบอง ก็เรียก.
【 แมวมอง 】แปลว่า: น. กองทหารที่มีหน้าที่คอยเหตุ, แมวเซา ก็เรียก; ผู้ที่คอยสังเกตหรือซุ่มดู
ว่ามีใครสวยหรือเล่นกีฬาเก่ง แล้วแนะนำให้วงการที่เกี่ยวข้องชักชวนมาเป็นดารา
ประกวดความงาม หรือร่วมแข่งขันกีฬา เป็นต้น.
【 แมว ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาทุกชนิดในสกุล /Thryssa, Setipinna/ และชนิด /Lycothrissa
【 crocodilus/ 】แปลว่า:
ในวงศ์ Engraulidae ลําตัวยาว แบนข้าง ปากกว้าง เชิดขึ้นมากน้อยแล้วแต่ชนิด
ฟันแหลมคม ตาอยู่ค่อนไปทางปลายด้านหน้าของหัว ท้องเป็นสันแหลมมีเกล็ดเรียง
ต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ก้านครีบอกมักยื่นยาวเป็นเส้นคล้ายหนวดแมว ครีบก้น
เป็นแผ่นยาว มีทั้งที่อยู่ในนํ้ากร่อย นํ้าทะเล และนํ้าจืด ขนาดยาวได้ถึง ๑๕-๓๐
เซนติเมตร.
【 แม้ว 】แปลว่า: น. ชนชาวเขาพวกหนึ่งอยู่ทางเหนือของประเทศไทย เรียกตัวเองว่า ม้ง.
【 แมวเซา ๑ 】แปลว่า: /ดูใน แมว ๑/.
【 แมวเซา ๒ 】แปลว่า: น. ชื่องูพิษชนิด /Daboia russellii/ ในวงศ์ Viperidae หัวสามเหลี่ยม
ตัวอ้วนสั้นสีนํ้าตาลอมเทา ลายสีนํ้าตาลเข้ม เขี้ยวพิษยาว เมื่อถูกรบกวน
มักทําเสียงขู่ฟู่ยาวคล้ายเสียงยางรถรั่ว.
【 แมวน้ำ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ในวงศ์ Phocidae ซึ่งไม่มีใบหู และวงศ์ Otaliidae
ซึ่งมีใบหู รูปร่างอ้วนใหญ่ มีหนวดคล้ายแมว ขาคล้ายพาย คู่หน้าสั้น คู่หลังลู่ไปตามลําตัว
อาศัยอยู่ตามชายฝั่ง หากินในนํ้าเขตอบอุ่นหรือเขตหนาว ที่พบทั่วไป คือ ชนิด /Phoca vitulina/.
【 แม้วะ 】แปลว่า: สัน. แม้ว่า.
【 แมะ 】แปลว่า: ก. นั่งหรือวางของทิ้งไว้ชั่วคราว เช่น เอาไปแมะไว้, แหมะ ก็ว่า. ว. อาการที่นั่ง
หรือวางของทิ้งไว้ชั่วคราว เช่น พอเหนื่อยก็นั่งแมะตรงนี้เอง, แหมะ ก็ว่า.
【 โม 】แปลว่า: น. แตงโม. /(ดู แตง)./
【 โม่ 】แปลว่า: น. เครื่องบดชนิดหนึ่งทําด้วยหิน รูปร่างคล้ายสีสีข้าว มี ๒ ส่วน ส่วนบนซึ่งเรียกว่า
ลูกโม่นั้น มีมือถือสำหรับหมุน และมีรูสำหรับกรอกเมล็ดพืช เมื่อหมุนลูกโม่จะบด
เมล็ดพืชให้ละเอียดและไหลลงสู่ส่วนล่างซึ่งมีลักษณะเป็นรางสำหรับรองรับอยู่เกือบ
รอบลูกโม่ ด้านหนึ่งของส่วนล่างมีช่องเปิดให้สิ่งที่โม่แล้วไหลลงสู่ภาชนะ
ที่รองรับได้. ก. บดให้ละเอียดด้วยโม่.
【 โม้ 】แปลว่า: (ปาก) ว. โว, พูดเกินความจริง.
【 โม้ ๆ, โม่ะ 】แปลว่า: ว. เสียงอย่างเสียงเรียกสุนัขมากินข้าว.
【 โมก 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Wrightia religiosa/ Benth. ex Kurz ในวงศ์ Apocynaceae
ดอกสีขาวห้อยเป็นช่อสั้น ๆ กลิ่นหอม ปลูกเป็นไม้ประดับ.
【 โมกมัน 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Wrightia arborea/ (Dennst.) Mabb. ในวงศ์
Apocynaceae เนื้อไม้สีขาวละเอียด ใช้ฝังประดับในเนื้อไม้อื่นเป็นลวดลาย
และทําสิ่งอื่น ๆ เช่น พาย, มูกมัน ก็เรียก.
【 โมกใหญ่ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Holarrhena pubescens/ Wall. ex G. Don ในวงศ์
Apocynaceae ดอกสีขาว กลิ่นหอม เปลือกใช้ทํายาได้, มวกใหญ่ หรือ มูกหลวง
ก็เรียก.
【 โมกข-, โมกข์ ๑ 】แปลว่า: [โมกขะ-] น. ความหลุดพ้น, นิพพาน. (ป.; ส. โมกฺษ).
【 โมกขบริสุทธิ์ 】แปลว่า: น. การที่พระจันทร์พ้นจากเงาโลกโดยสิ้นเชิง เมื่อมีจันทรุปราคา.
【 โมกข์ ๒ 】แปลว่า: ว. หัวหน้า, ประธาน. (ป.; ส. มุขฺย).
【 โมกโคก 】แปลว่า: (ปาก) ว. มีสัณฐานใหญ่และนูน (มักใช้แก่หน้าผาก).
【 โมกษ-, โมกษะ 】แปลว่า: [โมกสะ-] น. ความหลุดพ้น, นิพพาน. (ส.; ป. โมกฺข).
【 โมกษะพยาน 】แปลว่า: (กฎ) น. พยานที่พ้นแล้ว ได้แก่ พระภิกษุหรือสามเณรใน
พระพุทธศาสนาซึ่งไม่จําต้องไปศาลตามหมายเรียก และแม้มาเป็นพยาน
ก็ไม่ต้องสาบานตนก่อนเบิกความและจะไม่ยอมเบิกความหรือตอบ
คําถามใด ๆ ก็ได้.
【 โมฆ-, โมฆะ 】แปลว่า: [โมคะ-] ว. เปล่า, ว่าง; ไม่มีประโยชน์, ไม่มีผล, เช่น สัญญาเป็นโมฆะ; (กฎ)
เสียเปล่า ไม่มีผลบังคับหรือผูกพันตามกฎหมาย. (ป., ส.).
โมฆกรรม (กฎ) น. นิติกรรมที่เสียเปล่า ไม่มีผลบังคับหรือผูกพันตามกฎหมาย
ไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้ และผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใด จะยกความเสียเปล่า
ขึ้นกล่าวอ้างก็ได้, กฎหมายเขียนเป็น โมฆะกรรม.
โมฆสัญญา น. สัญญาที่ไม่มีผลบังคับ.
【 โมฆีย-, โมฆียะ 】แปลว่า: โมคียะ- ว. ที่อาจเป็นโมฆะได้เมื่อมีการบอกล้าง หรือมีผลสมบูรณ์เมื่อมี
การให้สัตยาบัน. (ป.).
【 โมฆียกรรม 】แปลว่า: (กฎ) น. นิติกรรมซึ่งอาจบอกล้าง เพิกถอน หรือให้สัตยาบันได้
ถ้าบอกล้างก็เป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ถ้าให้สัตยาบันก็มีผลสมบูรณ์มาแต่
เริ่มแรก, กฎหมายเขียนเป็น โมฆียะกรรม.
【 โมง ๑ 】แปลว่า: น. วิธีนับเวลาตามประเพณีในเวลากลางวัน, ถ้าเป็นเวลาก่อนเที่ยงวัน ตั้งแต่
๗ นาฬิกา ถึง ๑๑ นาฬิกา เรียกว่า โมงเช้า ถึง ๕ โมงเช้า, ถ้าเป็น ๑๒ นาฬิกา
นิยมเรียกว่า เที่ยงวัน, ถ้าหลังเที่ยงวัน ตั้งแต่ ๑๓ นาฬิกา ถึง ๑๗ นาฬิกา
เรียกว่า บ่ายโมง ถึง บ่าย ๕ โมง, ถ้า ๑๘ นาฬิกา นิยมเรียกว่า ๖ โมงเย็น หรือ ยํ่าคํ่า.
【 โมง ๒ 】แปลว่า: น. ต้นไม้ชนิดหนึ่งอยู่ตามป่า ใช้นํ้าเปลือกแช่ปูนขาวทําให้ปูนแข็ง. (พจน. ๒๔๙๓).
【 โม่ง 】แปลว่า: ว. หัวหรือท้ายโตผิดส่วน, ใหญ่โตผิดธรรมดา, เช่น ปลาหัวโม่ง, เรียกผู้ที่เอา
ผ้าคลุมหัวในการเล่นของเด็กว่า อ้ายโม่ง, โดยปริยายหมายถึงคนที่คลุมหัวปิดหน้า
เพื่อไม่ให้คนจำหน้าได้.
【 โม่งโค่ง 】แปลว่า: ว. ใหญ่โตเกะกะ, ใหญ่โตไม่สมรูป, เช่น รูปร่างโม่งโค่ง.
【 โมงครุ่ม 】แปลว่า: น. การเล่นมหรสพอย่างหนึ่ง มีในงานหลวง เช่น ในพระราชพิธีโสกันต์เป็นต้น.
【 โมจน- 】แปลว่า: [โมจะนะ-] น. การเปลื้อง, การปลด, การปล่อย. (ป., ส.).
【 โมทนา ๑ 】แปลว่า: [โมทะนา] ก. บันเทิง, ยินดี, พลอยยินดี. (ช.).
【 โมทนา ๒ 】แปลว่า: [โมทะนา] ก. พลอยบันเทิง, พลอยยินดี. (ตัดมาจาก อนุโมทนา). (ป., ส. โมทน).
【 โมนะ 】แปลว่า: น. ความนิ่ง, ความสงบ. (ป.; ส. เมาน).
【 โมโนแซ็กคาไรด์ 】แปลว่า: (วิทยา) น. สารประกอบคาร์โบไฮเดรตจําพวกนํ้าตาล ส่วนมากเป็นพวกที่มี
สูตรโมเลกุล C6H12O6 (hexoses)หรือ C5H10O5 (pentoses), มอโนแซ็กคาไรด์
ก็ว่า. (อ. monosaccharide).
【 โมไนย 】แปลว่า: [-ไน] น. ความเป็นปราชญ์, คุณธรรมของนักปราชญ์. (ป. โมเนยฺย; ส. เมาเนย).
【 โมมูห์, โมมูหะ 】แปลว่า: ว. หลงใหล, โง่เขลา. (ป.; ส. โมมุฆ).
【 โมเม 】แปลว่า: ก. ทึกทักเอา เช่น โมเมว่าเขาชอบตน, รวบรัดตัดความ เช่น โมเมสรุป. ว.
【 ไม่สมเหตุสมผล. 】แปลว่า:
【 โมเมนต์ 】แปลว่า: น. เรียกอาการที่วัตถุหมุนรอบจุดหนึ่งที่ตรึงอยู่กับที่ว่าเกิดโมเมนต์ขึ้นที่วัตถุนั้น,
ทางวิทยาศาสตร์กําหนดว่า โมเมนต์ของแรงใดแรงหนึ่งรอบจุดใดจุดหนึ่งซึ่งตรึง
อยู่กับที่ ก็คือผลคูณระหว่างแรงนั้นกับระยะทางที่ลากจากจุดนั้นไปตั้งฉาก
กับแนวทิศของแรงนั้น. (อ. moment).
【 โมเย 】แปลว่า: (ปาก) ว. ขี้เมา.
【 โมร- 】แปลว่า: [-ระ-] น. นกยูง. (ป., ส.).
【 โมรกลาป 】แปลว่า: [-กะหฺลาบ] น. แพนหางนกยูง. (ป.).
【 โมรา 】แปลว่า: น. หินลายชนิดหนึ่ง นับเข้าในพวกหินมีค่า.
【 โมรี ๑ 】แปลว่า: น. นกยูงตัวเมีย. (ป.).
【 โมรี ๒ 】แปลว่า: น. ผ้าชนิดหนึ่ง เช่น ผ้าแดงโมรีสิบพับ. (ราชาธิราช). (ฮินดูสตานี morii ว่า
ผ้าเขียวชนิดหนึ่ง, มลายู moiri ว่า แพรมีลาย).
【 โมเรส 】แปลว่า: (กลอน) น. นกยูง.
【 โมลิบดีนัม 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๔๒ สัญลักษณ์ Mo เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว
หลอมละลายที่ ๒๖๑๐ ?ซ. ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ
และใช้ทําเหล็กกล้า. (อ. molybdenum).
【 โมลี 】แปลว่า: น. เมาลี. (ป. โมลิ).
【 โมเลกุล 】แปลว่า: น. ส่วนที่เล็กที่สุดของสารซึ่งสามารถดํารงอยู่ได้ตามลําพัง และทั้งยังคงรักษา
สมบัติต่าง ๆ ของสารนั้นไว้ได้ด้วย โมเลกุลประกอบด้วยอะตอมของธาตุ,
เดิมเรียกว่า อณู. (อ. molecule).
【 โมษกะ, โมษะ 】แปลว่า: [-สะ-] น. โจร, ขโมย. (ส.; ป. โมส, โมสก).
【 โมษณะ 】แปลว่า: [-สะ-] น. การปล้น, การขโมย. (ส.).
【 โมเสก 】แปลว่า: น. เรียกเครื่องเคลือบดินเผาแผ่นเล็ก ๆ มีสีต่าง ๆ สําหรับปูพื้นหรือบุผนัง. (อ. mosaic).
【 โมเสส 】แปลว่า: น. ชื่อศาสดาแห่งศาสนายิวหรือยูดาย.
【 โมห-, โมหะ 】แปลว่า: [-หะ-] น. ความหลง, ความเขลา, ความโง่, ที่ใช้ว่า โม่ห์ หรือ เมาห์ ก็มี.
【 (ป., ส.). 】แปลว่า:
【 โมหันธ์ 】แปลว่า: น. ความมืดมนด้วยความหลง. (ป. โมห + อนฺธ).
【 โมหาคติ 】แปลว่า: น. ความลําเอียงเพราะความเขลา เป็นอคติ ๑ ในอคติ ๔ ได้แก่ ฉันทาคติ
โทสาคติ ภยาคติ และโมหาคติ. (ป. โมห + อคติ).
【 โม่ห์ 】แปลว่า: น. โมหะ.
【 โมหันธ์ 】แปลว่า: /ดู โมห-, โมหะ/.
【 โมหาคติ 】แปลว่า: /ดู โมห-, โมหะ/.
【 โมโห 】แปลว่า: ก. โกรธ.
【 ไม่ 】แปลว่า: ว. มิ, คําปฏิเสธความหมายของคําที่อยู่ถัดไป เช่น ไม่กิน ไม่ดี, ถ้าอยู่ท้ายคํา
ต้องมีคํา หา อยู่หน้า เช่น หากินไม่.
【 ไม่กี่น้ำ 】แปลว่า: (ปาก) ว. ไม่ช้า, ไม่นาน, ไม่เท่าไร, เช่น เก่งไปได้ไม่กี่น้ำหรอก.
【 ไม่กี่อัฐ, ไม่กี่อัฐฬส 】แปลว่า: (สํา) น. ราคาถูก เช่น ของนี้ราคาไม่กี่อัฐ.
【 ไม่ใกล้ไม่ไกล 】แปลว่า: ว. ใกล้ เช่น บ้านฉันอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากที่นี่; กันเอง เช่น คนไม่ใกล้ไม่ไกล.
【 ไม่เข้าการ 】แปลว่า: ว. ไม่เป็นประโยชน์, ไม่มีสาระ.
【 ไม่เข้าแก๊ป, ไม่เข้าท่า 】แปลว่า: ว. ไม่แนบเนียน, ไม่รัดกุม.
【 ไม่เข้าใครออกใคร 】แปลว่า: ก. ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง, เป็นกลาง, คงความเป็นตัว
ของตัวเอง, ไม่เห็นแก่หน้าใคร, เช่น เขาตัดสินไม่เข้าใครออกใคร ปืนไม่เข้าใครออกใคร.
【 ไม่เข้ายา 】แปลว่า: (สํา) ว. ไม่ได้เรื่อง, ไม่ได้ความ.
【 ไม่ค่อย, ไม่ใคร่ 】แปลว่า: ว. ไม่ถึงกับ, ไม่ถึงขนาดนั้น, เช่น ไม่ค่อยดํา.
【 ไม่คิดไม่ฝัน 】แปลว่า: ก. นึกไม่ถึง, เกินคาด, เช่น ไม่คิดไม่ฝันว่าจะถูกสลากกินแบ่งรางวัลที่ ๑.
【 ไม่ชอบมาพากล 】แปลว่า: ว. ไม่น่าไว้วางใจ, ไม่เข้าที.
【 ไม่เชิง 】แปลว่า: ว. ไม่เป็นอย่างใดอย่างหนึ่งโดยแน่นอน เช่น จะว่าขี้เกียจก็ไม่เชิง.
【 ไม่ใช่ขี้ไก่ 】แปลว่า: (สํา) ว. ไม่เลว, มีอะไรดีเหมือนกัน ดูหมิ่นไม่ได้.
【 ไม่ใช่เล่น 】แปลว่า: ว. เก่ง, พิเศษกว่าธรรมดา, เช่น ฝีปากไม่ใช่เล่น เด็กคนนี้ซนไม่ใช่เล่น.
【 ไม่ดูเงาหัว 】แปลว่า: (สำ) ก. ไม่รู้จักประมาณตน.
【 ไม่ดูตาม้าตาเรือ 】แปลว่า: (สํา) ก. ไม่พิจารณาให้รอบคอบ.
【 ไม่เดียงสา 】แปลว่า: ว. ไม่รู้ประสา, ไม่รู้ผิดรู้ชอบตามปรกติสามัญ, เช่น เด็กยังไม่เดียงสา.
【 ไม่ได้ความ 】แปลว่า: ว. ไม่ได้เรื่อง, ไม่ได้การ, เช่น พูดไม่ได้ความ, ไม่ดี, ใช้การไม่ได้, เช่น
【 ของไม่ได้ความ. 】แปลว่า:
【 ไม่ได้เบี้ยออกข้าว 】แปลว่า: (สํา) ว. ไม่มีส่วนได้อะไรด้วยเลย, ไม่มีส่วนได้อะไรด้วยแล้ว
ยังต้องเสียผลประโยชน์ไปอีก.
【 ไม่ได้เบี้ยเอาข้าว 】แปลว่า: (สํา) ว. ไม่ได้อย่างหนึ่งก็ต้องเอาอีกอย่างหนึ่ง, ไม่ยอมกลับมือเปล่า.
【 ไม่ได้ไม่เสีย 】แปลว่า: ว. เสมอตัว, เท่าทุน.
【 ไม่ได้เรื่อง, ไม่ได้เรื่องได้ราว 】แปลว่า: ว. ถือเป็นเรื่องเป็นราวไม่ได้, ถือเป็นสาระไม่ได้.
【 ไม่ได้ศัพท์ 】แปลว่า: (กลอน) ว. ไม่ได้เรื่อง, ไม่ได้ความ, เลอะเทอะเอาเป็นหลักไม่ได้,
เช่น พูดเลอะหลงไหลไม่ได้ศัพท์. (สังข์ทอง).
【 ไม่ได้สิบ 】แปลว่า: (กลอน) ก. งงจนคิดอะไรไม่ออกหรือทําอะไรไม่ถูก เช่น ท้าวสามนต์
เสียใจไม่ได้สิบ. (สังข์ทอง).
【 ไม่เต็มเต็ง, ไม่เต็มบาท 】แปลว่า: (ปาก) ว. บ้า ๆ บอ ๆ สติไม่สมบูรณ์, มีจิตใจใกล้ไปทาง
บ้า ๆ บอ ๆ, สองสลึงเฟื้อง หรือ สามสลึงเฟื้อง ก็ว่า.
【 ไม่เต็มหุน 】แปลว่า: (ปาก) ว. มีสติไม่สมบูรณ์, บ้า ๆ บอ ๆ.
【 ไม่ถูกโรคกัน 】แปลว่า: (ปาก) ก. เข้ากันไม่ได้, ไม่ถูกนิสัยกัน.
【 ไม่ทัน 】แปลว่า: ว. ใช้ประกอบหน้ากริยาหมายความว่า ยังมิได้ตั้งตัวตั้งใจ ทําให้
พลาดไป เช่น ไม่ทันฟัง ไม่ทันคิด, ใช้ประกอบหลังกริยาหมายความว่า
ไม่มีความสามารถที่จะติดตามเรื่องได้ทัน เช่น ฟังไม่ทัน พูดไม่ทัน คิดไม่ทัน.
【 ไม่เป็นการ 】แปลว่า: ก. ไม่ได้ผล, ไม่สำเร็จ, เช่น เห็นจะไม่เป็นการ.
【 ไม่เป็นท่า 】แปลว่า: ก. หมดรูป, ไม่เข้าท่า, ไม่ได้ความ, เช่น แพ้ไม่เป็นท่า.
【 ไม่เป็นเรื่อง, ไม่เป็นเรื่องเป็นราว 】แปลว่า: ว. ไม่มีสาระ เช่น เรื่องไม่เป็นเรื่อง.
【 ไม่เป็นโล้เป็นพาย 】แปลว่า: ก. ไม่ได้เรื่องได้ราว, จับจด, ไม่จริงจัง, เช่น ทำงานไม่เป็นโล้เป็นพาย.
【 ไม่เป็นสุข 】แปลว่า: ว. ไม่มีความสุข.
【 ไม่เป็นอัน 】แปลว่า: ว. ใช้นำหน้ากริยามีความหมายไปในลักษณะที่ไม่สะดวก เช่น
ไม่เป็นอันกิน ไม่เป็นอันนอน.
【 ไม่พูดพร่ำทำเพลง 】แปลว่า: (สํา) ว. ไม่รอให้ชักช้า, ทันทีทันใด.
【 ไม่ฟังเสียง 】แปลว่า: ก. ดื้อดึง, ไม่ยอมเชื่อฟัง.
【 ไม่มีเงาหัว 】แปลว่า: (สำ) ก. เป็นลางว่าจะตายร้าย.
【 ไม่มีปี่มีกลอง, ไม่มีปี่มีขลุ่ย 】แปลว่า: (สํา) ก. ไม่มีเค้า เช่น การที่เจ็บนั้นก็ไม่มีปี่มีกลอง.
(พระราชหัตถเลขา ร. ๗).
【 ไม่มีมูลฝอยหมาไม่ขี้ 】แปลว่า: (สํา) ก. ไม่มีเหตุย่อมไม่มีผล.
【 ไม่มีวันเสียละ 】แปลว่า: (ปาก) ว. ไม่มีทางจะเป็นไปได้.
【 ไม่ยี่หระ 】แปลว่า: ก. ไม่สะทกสะท้าน, ไม่ใยดี, เช่น ใครจะด่าว่าอย่างไร เขาก็ไม่ยี่หระ.
【 ไม่แยแส 】แปลว่า: ก. ไม่เป็นธุระ, ไม่เกี่ยวข้อง.
ไม่รู้จักเสือเอาเรือเข้ามาจอด ไม่รู้จักมอดเอาไม้เข้ามาวาง (สํา)
ก. ทําสิ่งที่ไม่รู้ว่าจะมีภัยแก่ตัว.
【 ไม่รู้จักหัวนอนปลายตีน 】แปลว่า: (สํา) ก. ไม่รู้ความเป็นมาหรือพื้นเพ.
【 ไม่รู้ไม่ชี้ 】แปลว่า: ว. ไม่รับรู้, ไม่รับผิดชอบ, เช่น ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้.
【 ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ 】แปลว่า: (สํา) ก. ไม่รู้เรื่องราวที่เกิดขึ้น, นอนหลับไม่รู้ นอนคู้ไม่เห็น.
【 ไม่ลงโบสถ์กัน 】แปลว่า: (ปาก) ก. ไม่ถูกกัน, ไม่ลงรอยกัน, เข้ากันไม่ได้.
【 ไม่ลดราวาศอก 】แปลว่า: ก. ไม่ยอมผ่อนปรน เช่น เถียงไม่ลดราวาศอก.
【 ไม่ลืมหูลืมตา 】แปลว่า: ว. งมงาย เช่น หลงจนไม่ลืมหูลืมตา.
【 ไม่เล่นด้วย 】แปลว่า: ก. ไม่ร่วมด้วย, ไม่เอาด้วย, เช่น เรื่องนี้ไม่เล่นด้วย.
【 ไม่สู้ 】แปลว่า: ว. ไม่ค่อย เช่น ไม่สู้ดี คือ ไม่ค่อยดี.
【 ไม่หยุดหย่อน 】แปลว่า: ว. อาการที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง, ไม่เว้นระยะ, เช่น ทำงานไม่หยุดหย่อน.
【 ไม่หวาดไม่ไหว 】แปลว่า: ว. ไม่รู้จักหมด เช่น กินไม่หวาดไม่ไหว.
【 ไม่หือไม่อือ 】แปลว่า: (ปาก) ว. ไม่ตอบ, ไม่ขานรับ, เช่น เรียกแล้วก็ยังไม่หือไม่อือ.
【 ไม่เห็นจะ 】แปลว่า: ว. ใช้ประกอบแสดงความเห็นหรือความรู้สึกในลักษณะที่ว่าไม่
สมควรที่จะ ไม่น่าจะ รู้สึกว่าไม่ เช่น ไม่เห็นจะน่ารักเลย ไม่เห็นจะน่ากลัวเลย.
【 ไม่เห็นน้ำตัดกระบอก ไม่เห็นกระรอกก่งหน้าไม้ 】แปลว่า: (สํา) ว. ด่วนทําไปทั้ง ๆ
ที่ยังไม่ถึงเวลาอันสมควร.
【 ไม่เหลือบ่ากว่าแรง 】แปลว่า: (สํา) ว. ไม่เกินความสามารถที่จะทําได้.
【 ไม่อินังขังขอบ 】แปลว่า: ก. ไม่เอาใจใส่, ไม่ดูแล, ไม่นำพา.
【 ไม่เออออห่อหมก 】แปลว่า: (สํา) ก. ไม่ตกลงด้วย, ไม่ยินยอม.
【 ไม่เอาการเอางาน, ไม่เอางานเอาการ 】แปลว่า: ก. ไม่ตั้งใจทำการงานด้วยความขยันขันแข็ง.
【 ไม่เอาความ 】แปลว่า: ก. ไม่ฟ้องร้องเอาความผิดตามกฎหมาย.
【 ไม่เอาถ่าน 】แปลว่า: ก. ไม่รักดี.
【 ไม่เอาธุระ 】แปลว่า: ก. ปล่อยปละละเลย, ไม่เอาใจใส่.
【 ไม่เอาพี่เอาน้อง 】แปลว่า: ก. ไม่เอื้อเฟื้อจุนเจือญาติพี่น้อง.
【 ไม้ ๑ 】แปลว่า: น. คํารวมเรียกพืชทั่วไป โดยปรกติมีราก ลําต้น กิ่ง ก้าน และใบ, เรียกเนื้อของ
ต้นไม้ที่ใช้ทําสิ่งของต่าง ๆ มีลักษณะเป็นท่อน แผ่น หรือดุ้น เป็นต้น, คําประกอบ
หน้าสิ่งของบางอย่างที่มีลักษณะยาวซึ่งทําด้วยไม้หรือเดิมทําด้วยไม้ เช่น ไม้กวาด
ไม้พาย ไม้เท้า ไม้จิ้มฟัน, คํานําหน้าบอกประเภทต้นไม้ เช่น ไม้ยาง ไม้ดํา ไม้แดง,
ท่ารําและท่าตีกระบี่กระบองท่าหนึ่ง ๆ เรียกว่า ไม้หนึ่ง ๆ, โดยปริยายหมายความว่า
ท่าที เช่น เขาจะมาไม้ไหน, ลักษณนามเรียกของเช่นปลาย่างที่เสียบไม้เรียงเป็น
ตับว่า ปลาไม้หนึ่ง ปลา ๒ ไม้, เรียกผ้าที่ม้วนโดยมีไม้อยู่ข้างในว่า ผ้าไม้หนึ่ง
ผ้า ๒ ไม้; เรียกลักษณะของสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมไทยที่ย่อตรงมุมของฐาน
แท่น เสา หรือเครื่องยอดเป็นมุมเล็ก ๆ มุมละ ๓ มุม รวม ๔ มุมใหญ่ ได้ ๑๒ มุมเล็ก
ว่า ย่อไม้สิบสอง หรือ ย่อมุมไม้สิบสอง แม้ย่อมากกว่ามุมละ ๓ ก็ยังเรียกว่า
ย่อไม้สิบสอง หรือ ย่อมุมไม้สิบสอง.
【 ไม้กง 】แปลว่า: น. ไม้สำหรับดีดฝ้าย มีรูปเหมือนคันธนู, กง หรือ ไม้กงดีดฝ้าย ก็ว่า.
【 ไม้กระดาน 】แปลว่า: น. ไม้ซุงที่เลื่อยออกเป็นแผ่น ๆ สำหรับปูพื้นหรือทำฝาเรือนเป็นต้น,
ถ้าใช้ปูพื้น เรียกว่า กระดานพื้น, ถ้าใช้ทำฝา เรียกว่า ไม้ฝา, เรียกเรือนไม้จริงที่ฝา
ทำด้วยไม้กระดานว่า เรือนฝากระดาน.
เพลิงชนิดต่าง ๆ เช่น จู้จี้ นกบิน ฝอยทอง ล่ามชนวนให้ต่อกัน เวลาจุดจะแตกเป็นระยะ ๆ;
ดอกไม้กระถางเล็ก ๆ ใช้ไม้โสนทำ สำหรับถวายพระในเวลาเข้าพรรษา.
【 ไม้กระถาง 】แปลว่า: น. ดอกไม้เพลิงชนิดหนึ่ง ใส่ในกระถาง ลำต้นเป็นต้นไม้แห้งผูกดอกไม้
【 ไม้กระบอง 】แปลว่า: น. ไม้สั้นสำหรับใช้ตี มีรูปกลมบ้าง เหลี่ยมบ้าง คล้ายพลองแต่สั้นกว่า.
【 ไม้กลัด 】แปลว่า: น. สิ่งที่มีปลายแหลม ๒ ข้าง โดยมากทำด้วยไม้ไผ่เหลาเล็ก ๆ หรือ
ก้านมะพร้าวตัดเป็นท่อนสั้น ๆ สำหรับใช้แทงขัดกระทงหรือใบตองที่ห่อขนม
เป็นต้น; ไม้ไผ่เหลาเป็นอันเล็ก ๆ ปลายเรียวโคนใหญ่ ใช้ขัดมุ่นผมจุกเด็ก.
【 ไม้กวาด 】แปลว่า: น. สิ่งที่ใช้กวาด ทำด้วยทางมะพร้าวเป็นต้น มัดเป็นกำ ๆ.
【 ไม้กางเขน 】แปลว่า: น. วัตถุเป็นรูปเหมือนคนยืนกางแขน (?)ทำด้วยไม้หรือโลหะ
เป็นต้นเป็นเครื่องหมายคริสต์ศาสนา.
【 ไม้กำมะลอ 】แปลว่า: น. ไม้เนื้ออ่อนที่ไม่ใช่ไม้แก่น เช่น ไม้ฉำฉา ไม้จามจุรี;
ไม้ดัดแบบหนึ่งที่มีหุ่นวนเวียนลงพื้นดินโดยไม่กลับหุ่นขึ้น.
【 ไม้เกาหลัง 】แปลว่า: น. ไม้ด้ามยาว ปลายด้านหนึ่งมักทำเป็นรูปมือ สำหรับใช้เกาหลัง,
ราชาศัพท์ ใช้ว่า ฉลองได.
【 ไม้ใกล้ฝั่ง 】แปลว่า: (สำ) ว. แก่ใกล้จะตาย.
【 ไม้ขบวน 】แปลว่า: น. ไม้ดัดแบบหนึ่งที่มีหุ่นตรง แล้วดัดวนเวียนอย่างใดก็ได้ แต่เมื่อวน
ถึงยอดแล้ว ยอดต้องชี้ตรงกับลำต้นพอดี.
【 ไม้ขัดหม้อ 】แปลว่า: น. ไม้ทำเป็นชิ้นบาง ๆ ยาวประมาณ ๑ ศอก ใช้สอดขัดที่หูและ
ฝาหม้ออะลูมิเนียมในเวลาเช็ดน้ำข้าว.
【 ไม้ขาเขียด 】แปลว่า: น. ไม้เรียวที่ปลายแตกแยกออกเป็น ๒ แฉก.
【 ไม้ข้างควาย 】แปลว่า: น. ไม้ขนาบสันหลังคา ๒ ข้างจากหลบมีไม้เสียบหนูกลัดยึดให้แน่น.
【 ไม้ขี้ฉ้อ 】แปลว่า: น. ไม้เรียวที่ปลายแตกแยกเป็น ๒ แฉก ที่เรียกว่า ไม้ขี้ฉ้อ เพราะตี
ครั้งเดียวได้ ๒ แนวเท่ากับตี ๒ ครั้ง.
【 ไม้ขีดไฟ 】แปลว่า: น. เครื่องขีดไฟชนิดหนึ่งซึ่งใช้ก้านไม้หรือก้านกระดาษชุบปลาย
ข้างหนึ่งด้วยสารเคมีบางอย่างให้เป็นตุ่ม เรียกว่า หัวไม้ขีด มี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่ง
ใช้ขีดกับผิวที่ฉาบด้วยสารเคมีซึ่งมีฟอสฟอรัสแดงเป็นองค์ประกอบสําคัญทํา
【 ไม้ที 】แปลว่า: น. ไม้บรรทัดขนาดยาว.
【 ไม้เท้า 】แปลว่า: น. ไม้หรือสิ่งอื่น ๆ สําหรับถือยันตัวหรือเดิน, ไม้สักกะเท้า ก็เรียก;
ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อุตรภัทรบท มี ๒ ดวง, ดาวแรดตัวเมีย ดาวอุตตรภัทรบท
หรือ ดาวอุตตรภัททะ ก็เรียก.
【 ไม้นวม 】แปลว่า: น. ไม้ตีระนาดที่พันด้วยนวมทำให้มีเสียงทุ้ม, โดยปริยายหมายความว่า
วิธีการนิ่มนวล, ความอ่อนโยน, เช่น นักเรียนชั้นนี้ต้องใช้ไม้นวมจึงยอมเข้าเรียน.
【 ไม้นอกกอ 】แปลว่า: (สํา) น. คนที่ประพฤตินอกแบบแผนของวงศ์ตระกูล (มักใช้ในทางไม่ดี).
【 ไม้นิ้ว 】แปลว่า: น. ไม้เหลี่ยมท่อนยาว ๆ หน้า ๑ นิ้ว ใช้ทำระแนง เรียกว่า ไม้นิ้ว.
【 ไม้บรรทัด 】แปลว่า: น. อุปกรณ์การเขียนชนิดหนึ่งทําด้วยไม้เป็นต้น สําหรับทาบเป็นแนว
เพื่อขีดเส้นให้ตรง, (ปาก) เรียกสั้น ๆ ว่า บรรทัด.
【 ไม้เบื่อไม้เมา 】แปลว่า: ว. ไม่ลงรอยกัน, ขัดแย้งกันเป็นประจำ.
【 ไม้ใบ 】แปลว่า: น. ไม้ที่ปลูกไว้ดูใบ.
【 ไม้ประกับคัมภีร์ 】แปลว่า: น. ไม้แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างยาวเท่าใบลาน ริมลอกบัว
ข้างหน้ามักเขียนลายปิดทองรดน้ำหรือประดับมุก ชุดหนึ่งมี ๒ แผ่น สำหรับประกับ
ด้านหน้าด้านหลังคัมภีร์ใบลาน.
【 ไม้ประดับ 】แปลว่า: น. ไม้ที่ปลูกไว้สำหรับประดับบ้านเรือนหรือสถานที่.
【 ไม้ป่าค่อม 】แปลว่า: น. ไม้ดัดแบบหนึ่ง ต้นเตี้ย มีกิ่งรอบต้นเป็นพุ่มกลม.
【 ไม้ป่าเดียวกัน 】แปลว่า: (สํา) น. พวกเดียวกัน.
【 ไม้เปิดปีก 】แปลว่า: น. ซุงที่เลื่อยเปิดปีกแล้วทั้ง ๔ ด้าน.
【 ไม้เป็น 】แปลว่า: น. ท่าสําคัญของกระบี่กระบองหรือมวยในการป้องกันตัวโดยใช้ปฏิภาณ
ไหวพริบแก้ไขให้พ้นภัยจากปรปักษ์เมื่อคราวเข้าที่คับขัน, ตรงข้ามกับ ไม้เด็ด
หรือ ไม้ตาย.
【 ไม้แปรรูป 】แปลว่า: น. ไม้ซุงที่เลื่อยเปิดปีกแล้วทำเป็นแผ่นกระดานเป็นต้น.
【 ไม้ผัดน้ำตาล 】แปลว่า: น. ไม้ที่ใช้หมุนผัดน้ำตาลโตนดให้ขาว.
【 ไม้ฝ้า, ไม้เพดาน 】แปลว่า: น. ไม้กระดานแผ่นบาง ๆ ใช้สำหรับตีทำฝ้าหรือเพดาน.
【 ไม้พุ่ม 】แปลว่า: น. ต้นไม้ที่มีกิ่งก้านรวมกันเป็นรูปคล้ายกระพุ่มมือ.
【 ไม้มอบ 】แปลว่า: น. ไม้ที่ตีเป็นขอบตามแนวเพดานห้องทั้ง ๔ ด้านเพื่อให้ดูเรียบร้อย
หรือเพื่อทับรอยต่อตอนมุมที่ฝาเรือน ๒ ด้านมาบรรจบกันหรือไม้ที่ตีประกบ
ด้านนอกของกราบเรือทั้ง ๒ ด้าน.
【 ไม้มืด 】แปลว่า: น. การลอบทําร้าย เช่น ถูกไม้มืดเล่นงาน.
【 ไม้มือ 】แปลว่า: น. คําเข้าคู่กัน หมายความว่า มือที่เคลื่อนไหว เช่น ไม้มืออยู่ไม่สุข
ทําไม้ทํามือ, ใช้ว่า มือไม้ ก็มี.
【 ไม้เมตร 】แปลว่า: น. เครื่องมือวัดความยาวทําด้วยไม้เป็นต้น ยาว ๑ เมตร.
【 ไม้แม่กำพอง 】แปลว่า: น. ไม้ที่ทับอยู่บนลูกกรงเรือนหรือเกวียน.
【 ไม้ยาว 】แปลว่า: น. ไม้พลองเป็นเครื่องต่อสู้ป้องกันตัวในการเล่น กระบี่กระบอง,
คู่กับ ไม้สั้น. /(ดู ไม้สั้น)./
【 ไม้ยืนต้น 】แปลว่า: น. ต้นไม้ใหญ่ที่มีผลและมีอายุยืนนาน, ไม้ต้น ก็เรียก.
【 ไม้ร่มนกจับ 】แปลว่า: (สํา) น. ผู้มีวาสนาย่อมมีคนมาพึ่งบารมี.
【 ไม้ระแนง 】แปลว่า: น. ไม้สี่เหลี่ยม หน้า ๑ นิ้ว ใช้ตีข้างบนกลอนหรือจันทัน สำหรับมุงหลังคา.
【 ไม้เรียว 】แปลว่า: น. ไม้ปลายเรียวเล็กคล้ายไม้แส้สําหรับตีเด็ก.
【 ไม้ล้มขอนนอนไพร 】แปลว่า: น. ไม้ในป่าที่ล้มตายเอง.
【 ไม้ล้มเงาหาย 】แปลว่า: (สํา) น. คนที่เคยมีวาสนาเมื่อตกตํ่าลงผู้ที่มาพึ่งบารมีก็หายหน้าไป.
【 ไม้ล้มลุก ๑ 】แปลว่า: น. ไม้ ๒ ขาสำหรับกว้านของหนักขึ้นไปไว้บนที่สูง เช่น เอาไม้ล้มลุกกว้าน
พระบรมโกศขึ้นบนเกริน.
【 ไม้ลอย 】แปลว่า: น. ชื่อการเล่นมีหกคะเมนบนปลายไม้ในงานพิธีใหญ่.
【 ไม้ลื่น 】แปลว่า: น. กระดานที่ตั้งสูงทอดต่ำลงไปด้านหนึ่ง ให้เด็กเล่นโดยนั่งไถลตัวลง,
กระดานลื่น ก็เรียก.
【 ไม้วา 】แปลว่า: น. ไม้เครื่องวัดความยาวมีกําหนด ๔ ศอก.
【 ไม้สอย 】แปลว่า: น. ไม้เหลาแหลมคล้ายขนเม่นสําหรับสอยผมทําเป็นไรผม, ไม้สําหรับสอย
ของสูง ๆ; ไม้สําหรับใช้, ใช้ประกอบกับคํา เครื่องใช้ เป็น เครื่องใช้ไม้สอย.
【 ไม้สะดึง 】แปลว่า: น. กรอบไม้หรือไม้แบบสำหรับขึงผ้าในการเย็บปักถักร้อย.
【 ไม้สักกะเท้า 】แปลว่า: น. ไม้เท้า.
【 ไม้สั้น 】แปลว่า: น. เครื่องต่อสู้ป้องกันตัวในการเล่นกระบี่กระบอง เป็นท่อนไม้ขนาดสั้น ๆ
ปลายด้านหนึ่งมีห่วงสำหรับสอดแขนเข้าไปถึงข้อศอก ปลายอีกด้านหนึ่งมี
ไม้หลัก ๒ อัน อันในสำหรับมือจับ อันนอกเป็นเครื่องป้องกันในเวลาต่อสู้,
ตรงข้าม กับ ไม้ยาว ซึ่งได้แก่พลองเป็นต้น.
【 ไม้สั้นไม้ยาว 】แปลว่า: น. เรียกวิธีเสี่ยงทายแบบหนึ่งว่าจับไม้สั้นไม้ยาว คือ ใช้ไม้เล็ก ๆ
ขนาดสั้นยาวลดหลั่นกันไป จํานวนเท่าคนที่จะจับ กําปลายไม้ให้โผล่เสมอกัน
มักตกลงกันว่า ผู้จับได้ไม้สั้นที่สุดเป็นผู้แพ้.
【 ไม้สามอัน 】แปลว่า: น. ชื่อเครื่องมือเล่นการพนันชนิดหนึ่งใช้ไม้กลม ๆ ๓ อัน ผูกเชือกไว้
อันหนึ่ง เจ้ามือกําไม้ ๓ อันไว้ให้ผู้เล่นจับ ถ้าจับได้อันที่ผูกเชือกไว้ เจ้ามือแพ้.
【 ไม้ส้าว 】แปลว่า: น. ไม้เส้า.
【 ไม้สีฟัน 】แปลว่า: น. ไม้ที่ทุบปลายแล้วใช้สีฟันแทนแปรงสีฟัน โดยมากจะเป็นกิ่งข่อย
หรือกิ่งไม้สีฟันคนทา.
【 ไม้สูง 】แปลว่า: น. งานช่างไม้ที่ต้องใช้ศิลปะชั้นสูง ทำสิ่งเกี่ยวกับเครื่องยอดเครื่องสูง เช่น
ยอดปราสาท ยอดเจดีย์ ยอดบุษบก, เรียกช่างที่ทำงานในลักษณะเช่นนี้ว่า ช่างไม้สูง,
เรียกการละเล่นที่ผู้เล่นจะต้องต่อขาให้สูงขึ้นด้วยไม้คู่หนึ่ง ส่วนมากเป็นไม้กระบอก
มีลูกทอยสำหรับเหยียบว่า เล่นเดินไม้สูง, เรียกการละเล่นไต่ลวดตีลังกาว่า เล่นไม้สูง;
เรียกเพลงกระบี่กระบองซึ่งเป็นเพลงชั้นสูง; โดยปริยายหมายความว่า ใช้เล่ห์เหลี่ยม
ฉลาดเกินตัว เช่น เขามาไม้สูง.
【 ไม้เส้า 】แปลว่า: น. ไม้ยาวสำหรับยื่นไปช่วยคนตกน้ำในเวลาเรือพระประเทียบล่ม,
ไม้กระทุ้งให้จังหวะในเรือดั้งในกระบวนพยุหยาตรา; ไม้ยาวสำหรับสอยหรือค้ำ;
ไม้ยาวสำหรับชูเพนียดนกต่อขึ้นบนต้นไม้; ไม้ส้าว ก็ว่า.
【 ไม้เสียบหนู ๑ 】แปลว่า: น. ไม้ที่เสียบขัดกับไม้ข้างควายที่ขนาบจากหลบหลังคาเรือน.
【 ไม้หกเหียน 】แปลว่า: น. ไม้ดัดแบบหนึ่งที่มีหุ่นหักลงดิน แล้ววกกลับขึ้นมา.
【 ไม้หมอน 】แปลว่า: น. ไม้กลมยาวสำหรับรองรับของเวลาเคลื่อนย้าย; ท่อนไม้สี่เหลี่ยม
สําหรับหนุนหรือรองรับรางรถไฟ.
【 ไม้หมุน 】แปลว่า: น. ชื่อการพนันชนิดหนึ่งทําเป็นไม้แป้นกลม ๆ เขียนแบ่งเป็นช่อง
มีเข็มชี้วางตามแบน ใช้หมุน เมื่อเข็มชี้ไปหยุดตรงช่องที่แทง ก็ถูก; เรียก
ไม้กลม ๆ สําหรับปาดปากสัดข้าวว่า ไม้หมุน.
【 ไม้หลักปักขี้ควาย, ไม้หลักปักเลน 】แปลว่า: (สํา) ว. โลเล, ไม่แน่นอน, เช่น เหมือน
ไม้หลักปักเลนเอนไปมา. (สังข์ทอง).
【 ไม้หัวต้าย 】แปลว่า: น. ไม้หลักสำหรับปักกำกับหัวและท้ายเรือพระที่นั่งเวลาเทียบท่า.
【 ไม้หึ่ง 】แปลว่า: น. ชื่อการเล่นซึ่งประกอบด้วยไม้แม่หึ่งยาวประมาณศอกคืบ ๑ อัน
และลูกหึ่งยาวประมาณ ๑ คืบ ๑ อัน โดยแบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายละ ๓-๕ คน
ฝ่ายหนึ่งจะเอาลูกหึ่งวางขวางบนหลุมซึ่งขุดเป็นรางยาวประมาณ ๑ คืบ เรียกว่า
รางไม้หึ่ง แล้วใช้ไม้แม่หึ่งปักปลายลงในราง งัดลูกหึ่งออกไปให้อีกฝ่ายหนึ่งรับ
เมื่อฝ่ายรับรับลูกหึ่งได้ก็จะมาเป็นฝ่ายส่งบ้าง แต่ถ้าฝ่ายรับรับลูกไม่ได้ก็จะต้อง
วิ่งร้องหึ่งมาที่หลุม ในแต่ละถิ่นมีวิธีการเล่นต่าง ๆ กัน.
【 ไม้เหลี่ยม 】แปลว่า: น. ไม้ท่อนที่เลื่อยด้านข้างออกทั้ง ๔ ด้าน เป็นรูปสี่เหลี่ยม.
【 ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก 】แปลว่า: (สํา) อบรมสั่งสอนเด็กให้ประพฤติดีได้ง่ายกว่า
อบรมสั่งสอนผู้ใหญ่.
【 ไม้อัด 】แปลว่า: น. ไม้ที่ทําขึ้นโดยเอาไม้แผ่นบาง ๆ หลายแผ่นมาผนึกเข้าด้วยกัน.
【 ไม้เอนชาย 】แปลว่า: น. ไม้ดัดแบบหนึ่งที่มีต้นเอนไปข้างใดข้างหนึ่ง เหมือนไม้ที่อยู่ริมน้ำ.
【 ไม้ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อเครื่องหมายกํากับตัวอักษร เพื่อบอกระดับเสียง เช่น ? เรียกว่า ไม้จัตวา,
เพื่อบอกชนิดสระ เช่น ไ เรียกว่า ไม้มลาย, เพื่อให้อ่านซํ้า คือ ๆ เรียกว่า ไม้ยมก,
หรือเพื่อไม่ให้ออกเสียงอ่าน คือ ?เรียกว่า ไม้ทัณฑฆาต.
【 ไม้กากบาท 】แปลว่า: น. เครื่องหมายรูปดังนี้ + หรือดังนี้ x.
【 ไม้จัตวา 】แปลว่า: น. เครื่องหมายวรรณยุกต์ รูปดังนี้ ? บอกเสียงสูงสุดใน ๕ เสียง.
【 ไม้ตรี 】แปลว่า: น. เครื่องหมายวรรณยุกต์ รูปดังนี้ ?
【 ไม้ไต่คู้ 】แปลว่า: น. เครื่องหมายรูปดังนี้ ?.
【 ไม้ทัณฑฆาต 】แปลว่า: น. เครื่องหมายสําหรับฆ่าอักษรตัวที่ไม่ต้องออกเสียง รูปดังนี้ ?.
【 ไม้โท 】แปลว่า: น. เครื่องหมายวรรณยุกต์ รูปดังนี้ ?.
【 ไม้ผัด 】แปลว่า: น. เครื่องหมายสระ รูปดังนี้ ?, ไม้หันอากาศ ก็เรียก.
【 ไม้ฝนทอง 】แปลว่า: น. เครื่องหมายสระ รูปดังนี้ ?สำหรับเขียนบนพินทุ อิ เป็น สระอี,
ไม้เสียบหนู ก็เรียก.
【 ไม้มลาย 】แปลว่า: น. เครื่องหมายสระ รูปดังนี้ ไ.
【 ไม้ม้วน 】แปลว่า: น. เครื่องหมายสระ รูปดังนี้ ใ.
【 ไม้ยมก 】แปลว่า: น. เครื่องหมายรูปดังนี้ ๆ สําหรับอ่านซํ้าความหรือซํ้าคําข้างท้าย ๒ หน.
【 ไม้ยามักการ 】แปลว่า: น. เครื่องหมายบังคับให้อ่านพยัญชนะควบรูปดังนี้ ๎.
【 ไม้เสียบหนู ๒ 】แปลว่า: น. เครื่องหมายสระ รูปดังนี้ ‘ สำหรับเขียนบนพินทุ อิ เป็น สระอี,
ไม้ฝนทอง ก็เรียก.
【 ไม้หน้า 】แปลว่า: น. เครื่องหมายสระ รูปดังนี้ เ, แ.
【 ไม้หันอากาศ 】แปลว่า: น. ไม้ผัด.
【 ไม้เอก 】แปลว่า: น. เครื่องหมายวรรณยุกต์ รูปดังนี้ ?.
【 ไม้โอ 】แปลว่า: น. เครื่องหมายสระ รูปดังนี้ โ.
【 ไมกา 】แปลว่า: น. แร่ประเภทซิลิเกต มีหลายชนิด ชนิดที่สําคัญที่สุด ได้แก่ แร่มัสโคไวต์
มีสูตร KAl3Si3O10(OH)2 และแร่โฟลโกไพต์ มีสูตร KMg3AlSi3O10(OH)2
ลักษณะผิวเป็นมันวาว ลอกออกได้เป็นแผ่นบางโปร่งแสง ทนความร้อนได้ดี
ใช้ประโยชน์เป็นฉนวนความร้อนทําอุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นต้น, แร่กลีบหิน ก็เรียก.
(อ. mica).
【 ไมครอน 】แปลว่า: [-คฺรอน] น. หน่วยวัดความยาว ๑ ไมครอนมีค่าเท่ากับ ๑ ใน ๑,๐๐๐,๐๐๐ ของ
๑ เมตรหรือเท่ากับ ๑๐,๐๐๐ อังสตรอม ใช้สัญลักษณ์ mm, ไมโครเมตร ก็เรียก.
(อ. micron).
【 ไมโครกรัม 】แปลว่า: [-โคฺร-] น. หน่วยวัดนํ้าหนัก ๑ ไมโครกรัม มีค่าเท่ากับ ๑ ใน ๑,๐๐๐,๐๐๐
ของ ๑ กรัม ใช้สัญลักษณ์ mg. (อ. microgramme).
【 ไมโครฟิล์ม 】แปลว่า: [-โคฺรฟิม] น. ฟิล์มถ่ายรูปขนาดเล็กมากใช้สําหรับถ่ายบันทึกภาพของสิ่งต่าง ๆ
ให้มีขนาดย่อส่วนลงมาก ๆ เพื่อสะดวกแก่การเก็บรักษาไว้ และสามารถนํามาฉาย
เป็นภาพนิ่งขนาดขยายบนจอได้. (อ. microfilm).
【 ไมโครโฟน 】แปลว่า: [-โคฺร-] น. เครื่องที่ใช้สําหรับขยายเสียงให้ดังขึ้น, เครื่องที่ใช้สําหรับเปลี่ยน
คลื่นเสียงให้เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่นในการส่งวิทยุ โทรศัพท์, มักเรียกกันสั้น ๆ
ว่า ไมค์. (อ. microphone).
【 ไมโครมิเตอร์ 】แปลว่า: [-โคฺร-] น. เครื่องมือที่ใช้สําหรับวัดระยะที่สั้นมาก และวัดมุมขนาดเล็ก
ให้ได้ผลอย่างละเอียด. (อ. micrometer).
【 ไมโครเมตร 】แปลว่า: [-โคฺร-] น. ไมครอน. (อ. micrometre).
【 ไมโครลิตร 】แปลว่า: [-โคฺร-] น. หน่วยวัดปริมาตร ๑ ไมโครลิตร มีค่าเท่ากับ ๑ ใน ๑,๐๐๐,๐๐๐
ของ ๑ ลิตร. (อ. microlitre).
【 ไมโครเวฟ 】แปลว่า: [-โคฺร-] น. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวช่วงคลื่นสั้นมาก, เรียกเตาอบที่ใช้
ไมโครเวฟทำให้ร้อนว่า เตาไมโครเวฟ. (อ. microwave).
【 ไม้ดำ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Diospyros brandisiana/ Kurz ในวงศ์ Ebenaceae
เนื้อไม้แข็ง สีดํา ใช้ทําเครื่องเรือน.
【 ไม้แดง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Xylia xylocarpa/ (Roxb.) Taub. var. /kerrii/ (Craib
【 et Hutch.) 】แปลว่า:
Nielsen ในวงศ์ Leguminosae เนื้อไม้แข็ง สีแดง ใช้ในการก่อสร้าง.
【 ไมตรี 】แปลว่า: [-ตฺรี] น. ความเป็นเพื่อน, ความหวังดีต่อกัน. (ส.; ป. เมตฺติ).
【 ไม้เท้ายายม่อม 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Clerodendrum petasites/ S. Moore ในวงศ์
【 Labitae ดอกสีขาว 】แปลว่า:
ใบใช้สูบแทนกัญชา รากใช้ทํายาได้, พญารากเดียว ก็เรียก.
【 ไม้โพ 】แปลว่า: /ดู ทุมราชา ที่ ทุม, ทุม-/.
【 ไมยราบ 】แปลว่า: [ไมยะราบ] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Mimosa pudica/ L. ในวงศ์ Leguminosae
ใบคล้ายใบกระเฉด เมื่อถูกกระเทือนก็หุบราบไป.
【 ไมล์ 】แปลว่า: น. ชื่อมาตราวัดของอังกฤษ มีกําหนด ๑ ไมล์ เท่ากับ ๔๐ เส้น หรือ
๑.๖๐๙ กิโลเมตร. (อ. mile).
【 ไม้ล้มลุก ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ไม้ ๑/.
【 ไม้ล้มลุก ๒ 】แปลว่า: น. พืชที่มีอายุชั่วคราว.
【 ไม้เลี้ยง 】แปลว่า: น. ชื่อไผ่ชนิด /Bambusa nana/ Roxb. ในวงศ์ Gramineae ลําเล็ก ไม่มีหนาม.
【 ไม้ไล่ 】แปลว่า: น. ชื่อไผ่ชนิด /Gigantochloa albociliata/ Munro ในวงศ์ Gramineae ลําแตกแขนง
ไม่มีหนาม; ไม้ต่าง ๆ.

【 ไม้เขน 】แปลว่า: น. ไม้ดัดแบบหนึ่งที่มีกิ่งชี้ไปในทิศทางต่าง ๆ กัน ๓ ทาง.
【 ไม้แข็ง 】แปลว่า: น. ไม้ตีระนาดที่ไม่ได้พันด้วยนวม ทำให้มีเสียงกร้าว, โดยปริยาย
หมายความว่า วิธีการเฉียบขาด, อำนาจเด็ดขาด, เช่น เด็กคนนี้ต้องใช้ไม้แข็ง
จึงจะปราบอยู่.
【 ไม้คมแฝก 】แปลว่า: น. อาวุธชนิดหนึ่ง ทําด้วยไม้เนื้อแข็ง ลักษณะเป็นท่อนยาวประมาณ
๑ ศอก ปลายหน้าตัดมีลักษณะเป็นเหลี่ยมอย่างขนมเปียกปูน ด้านมือจับจะลบ
เหลี่ยมออกและมีเชือกร้อยสำหรับคล้องข้อมือจับ.
【 ไม้ควักปูน 】แปลว่า: น. ไม้หรือโลหะที่ทำรูปร่างคล้ายพายแต่เล็กมาก สำหรับควักปูน
ในเต้ามาป้ายพลู.
【 ไม้ค้อน 】แปลว่า: น. ไม้ที่ทำจากเหง้าไม้ไผ่ ใช้ตีระฆังเป็นต้น; เครื่องมือโลหะรูปร่าง
คล้ายตะลุมพุก แต่เล็กกว่ามาก สำหรับตีทองคำให้เป็นแผ่นทองคำเปลว, เครื่องมือ
ทำด้วยไม้รูปร่างคล้ายตะลุมพุก สำหรับเคาะกระดาษสาเป็นต้นให้เป็นแผ่นเพื่อใช้
เป็นใบซับทองคำเปลว.
(รูปภาพ ไม้ค้อน)
【 ไม้คอสอง 】แปลว่า: น. ไม้กำกับปลายเสาเรือนอยู่ถัดจากอเสลงมา.
【 ไม้คาน 】แปลว่า: น. ไม้สำหรับหาบหรือหามสิ่งของต่าง ๆ.
【 ไม้คาบ 】แปลว่า: น. ไม้สำหรับบีบนวดงวงตาล.
【 ไม้ค้ำโพธิ์ 】แปลว่า: น. ไม้สำหรับค้ำกิ่งโพธิ์ ทำด้วยไม้จริงหรือไม้ไผ่ ปลายมีง่าม
นิยมหุ้มผ้าแดงและผ้าขาว.
【 ไม้คิว 】แปลว่า: น. ไม้ที่ใช้แทงลูกกลมสีต่าง ๆ ในกีฬาบิลเลียดหรือสนุกเกอร์. (อ. cue).
【 ไม้แคะหู, ไม้ควักหู 】แปลว่า: น. เครื่องมือชนิดหนึ่งทำด้วยโลหะหรืองาเป็นต้น ปลายโค้ง
หรืองอคล้ายจวัก สำหรับแคะและควักขี้หู.
【 ไม้งก 】แปลว่า: น. ไม้รูปคล้ายตะลุมพุกสำหรับควาญท้ายตีช้างเมื่อต้องการให้ช้างไปเร็ว.
【 ไม้งามกระรอกเจาะ 】แปลว่า: (สํา) น. หญิงสวยที่ไม่บริสุทธิ์.
【 ไม้จริง 】แปลว่า: น. คำรวมเรียกไม้ต่าง ๆ ที่มีเนื้อแข็ง เว้นไม้ไผ่.
【 ไม้จั่วไพ่ 】แปลว่า: น. ไม้ที่ใช้ช่วยในการเปิดไพ่หรือลากไพ่เล่นไพ่ตองจากในกอง
ออกมาจั่วในการเล่นไพ่ตอง.
【 ไม้จำปา 】แปลว่า: น. ลำไม้ไผ่ที่จักปลายด้านหนึ่งเป็น ๔-๕ แฉก แล้วใส่กะลาลงไปเพื่อให้
ปลายบาน, ใช้สอยผลไม้, ถ้าเอามะพร้าวลูกเล็ก ๆ ใส่ลงไปแล้วมีชิ้นไม้ขัดทแยง
สกัดลูกมะพร้าวไว้ใช้สำหรับขุดดินจากหลุมที่ขุดไว้ลึกประมาณ ๑ แขน.
【 ไม้จิ้มฟัน 】แปลว่า: น. ไม้ชิ้นเล็ก ๆ ปลายแหลม ใช้แคะเศษอาหารในซอกฟัน.
【 ไม้ฉาก 】แปลว่า: น. เครื่องมือเขียนแบบก่อสร้าง ชุดหนึ่งมี ๓ อัน อันหนึ่งมีรูปอย่าง
พยัญชนะรูป T อันหนึ่งเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ที่มุมหนึ่งมี ๙๐? อีก
๒ มุม มุมละ ๔๕ ? และอันหนึ่งเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ที่มุมหนึ่งมี ๙๐?
อีก ๒ มุม มุมหนึ่งมี ๖๐? กับอีกมุมหนึ่ง ๓๐?; ไม้ดัดแบบหนึ่งซึ่งดัดลำต้น
และกิ่งให้เป็นมุมฉาก.
【 ไม้ซาง 】แปลว่า: น. ไม้ไผ่ลำเล็ก ๆ เนื้อบาง ลำปล้องโต เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ
๐.๕-๑ เซนติเมตร มีช่วงลำปล้องยาวประมาณ ๗๐-๙๐ เซนติเมตร ใช้ทำเป็น
ลำกล้องเป่าลูกดอกหรือลูกดินเหนียวปั้นกลมเป็นต้น.
【 ไม้ซุง 】แปลว่า: น. ต้นไม้ขนาดใหญ่ที่ตัดเป็นท่อน ๆ ก่อนแปรรูป.
【 ไม้ญี่ปุ่น 】แปลว่า: น. ไม้ดัดแบบหนึ่งที่มีหุ่นย่อมาจากธรรมชาติของต้นไม้ในป่า
ไม่มีการแต่งช่อหรือพุ่มใบ.
【 ไม้ดอก 】แปลว่า: น. ไม้ที่ปลูกไว้ดูดอก.
【 ไม้ดัด 】แปลว่า: น. พรรณไม้ใหญ่ นิยมปลูกในกระถางและดัดกิ่งให้เป็นรูปต่าง ๆ
ตามที่ต้องการ.
【 ไม้ดำไม้แดง 】แปลว่า: น. เครื่องเล่นการพนันอย่างหนึ่ง ใช้ไม้ ๓ อัน ทาสีดำ สีแดง
และสีขาว เจ้ามือกำไม้ ทั้ง ๓ อันไว้ แล้วใช้ความไวปัดไม้อันหนึ่งลงในกล่อง
ให้ลูกค้าแทงสี ถ้าแทงผิดเจ้ามือกิน, ปลาดำปลาแดง หรือ อีดำอีแดง ก็เรียก.
【 ไม้เด็ด, ไม้ตาย 】แปลว่า: น. ท่าสําคัญในการต่อสู้กระบี่กระบองหรือมวยซึ่งทําให้ฝ่ายปรปักษ์
ไม่สามารถจะสู้ได้อีก, ตรงข้ามกับ ไม้เป็น, โดยปริยายหมายถึงวิธีการที่จะเอาชนะ
ศัตรูได้ เช่น เขาใช้ไม้ตาย เขามีไม้ตาย.
【 ไม้ต้น 】แปลว่า: น. ไม้ยืนต้น.
【 ไม้ตลก 】แปลว่า: น. ไม้ดัดแบบหนึ่งที่มีหัวโต เอารากมาทำเป็นต้นไม้ดัด มีรูปทรงคดงอไม่
เข้ารูปใด ๆ มีรากโผล่มาให้เห็น.
【 ไม้ตะพด 】แปลว่า: น. ไม้ถืออย่างหนึ่งทำด้วยไม้รวกเป็นต้น ยาวประมาณ ๑ เมตร.
【 ไม้ตับ 】แปลว่า: น. ไม้สำหรับหนีบปลาปิ้งไฟ ทำด้วยไม้ไผ่; ไม้ที่ใช้เป็นแกนสอดในเวลา
กรองจากแฝก หรือ คา เรียกว่า ไม้ตับจาก ไม้ตับแฝก.
【 ไม้ตาขอ 】แปลว่า: น. ไม้หรือเหล็กที่งอ ๆ สำหรับชัก เกี่ยว แขวนหรือสับ, ไม้ขอ หรือ
ไม้ตะขอ ก็ว่า.
【 ไม้ตายขาน 】แปลว่า: น. ไม้ที่ยืนต้นตายเองเป็นแถว ๆ.
【 ไม้ติ้ว 】แปลว่า: น. ไม้ซี่เล็ก ๆ ใช้สำหรับเป็นคะแนน เช่น ปักติ้ว นับติ้ว สำหรับเสี่ยงทาย
แล้วนำไปขึ้นใบเซียมซี เช่น สั่นติ้ว.
【 ไม้ตีพริก 】แปลว่า: น. สากไม้ตํานํ้าพริก ใช้ตํากับครกดิน, สากกะเบือ ก็เรียก.
【 ไม้ถ่อ 】แปลว่า: น. ไม้สำหรับยันแล้วดันให้เรือหรือแพเดินหรือหยุด.
【 ไม้ท่อน 】แปลว่า: น. ไม้ที่ตัดเป็นท่อน ๆ.
แนะนำ.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

error: Content is protected !!