เกริ่นนำ

 ในบทแรกชื่อว่าบท 《学而》 โดยที่มาของชื่อบทก็มักจะเป็นคำแรกของบทนั่นเอง  บทแรกนี้มีทั้งหมด 16 การสนทนา เนื้อหาค่อนข้างกว้าง โดยบทที่มีความสำคัญเช่น “吾日三省吾身”;“节用而爱人,使民以时”;“礼之用,和为贵” และเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับ เมตตา (仁) กตัญญุตา  (孝) สัจจา (信)

━━━━━━━━━

ภาษาจีน

1-1  

子曰①:“学②而时习③之,不亦说④乎?有朋⑤自远方来,不亦乐⑥乎?人不知⑦,而不愠⑧,不亦君子⑨乎?”

Zǐ yuē:“Xué ér shí xí zhī, bù yì yuè hū? Yǒupéng zì yuǎnfāng lái, bù yì lè hū? Rén bùzhī ér bù yùn, bù yì jūnzǐ hū?”

 คำแปล

ขงจื่อกล่าวว่า “เรียนแล้วก็หมั่นฝึกฝนและทบทวนอยู่บ่อย ๆ มิใช่เรื่องที่น่าสนุกหรอกหรือ ได้รู้จักกัลญาณมิตรที่มาจากแดนไกล มิใช่เรื่องที่น่ายินดีหรอกหรือ? คืนอื่นไม่เข้าใจว่าเราเป็นเช่นไร (อาจจะเข้าใจเราผิด) แต่เรากลับไม่เคืองโกรธ ไม่โมโห นี่มิใช่วิถีของวิญญูชนหรอกหรือ?

หมายเหตุ

①子:ใช้เป็นคำเรียกผู้ที่มีตำแหน่ง ผู้ที่มีคุณธรรม หรือมีความรู้ในสมัยโบราณ ใช้เรียกเพศชายหรือเรียกครูบาอาจารย์  ใน《论语》 คำว่า 子曰 จะหมายถึง ขงจื่อกล่าวว่า

②学:学 การเรียน ที่ขงจื่อพูดในที่นี้นั้น หมายถึง การเรียนจารีต(礼) ดนตรี (乐) กาพย์กลอน (诗)และการอ่านตำราสำคัญในสมัยโจวตะวันตก (书) 

③时习:ในสมัยโจวและสมัยฉิน 时 ใช้เป็นคำวิเศษณ์ (คำขยายคำกริยา) แสดงความหมายว่า ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือช่วงเวล่ที่เหมาะสม แต่ 朱熹 ได้อธิบายไว้ใน《论语集注》 ว่า  时 หมายถึง 时常 คือบ่อย ๆ ส่วน 习 ก็คือการทบทวน ฝึกฝน ( ความหมายแฝง 温习、实习、练习 )   

④说:ออกเสียงว่า yuè  เหมือนกับ 悦 มีความหมายว่า ยินดี มีความสุข  (愉快、高兴)

⑤有朋:แปลว่าเพื่อน  ซึ่งเพื่อนในที่นี้คือคนที่เป็นศิษฐ์ร่วมครูหรือได้เรียนสำนักเดียวกันมา จึงเรียกว่า  朋 หรือหมายถึงคนที่มีปณิธานเห็นชอบไปในทางเดียวกัน 

⑥乐:มีความหมายแตกต่างจาก  说 โดยที่ 说 คือความสุขหรือการปิติที่เกิดขึ้นในใจ ส่วน  乐 คือความสุขที่แสดงออกมาจากสีหน้าแววตา ท่าทาง

⑦人不知:ประโยคนี้ไม่ครบถ้วน ขาดบทกรรม โดยไม่ได้กล่าวว่า คนไม่รู้ แต่ไม่ได้บอกว่าไม่รู้อะไร  โดยในปกติ 知 จะแปลว่าเข้าใจ โดยบริบทนี้อาจจะเข้าใจได้ว่า คนอื่นไม่เข้าใจตัวเรา

⑧愠:ออกเสียงว่า yùn  แปลว่า โกรธ โมโห (恼怒,怨恨)

⑨君子:君子 ที่ปรากฎอยู่ใน《论语》บางครั้งหมายถึงผู้ที่มีคุณธรรมดีงาม  บางครั้งหมายถึงผู้ที่ตำแหน่งหน้าที่ ในที่นี้ขงจื่อหมายถึงผู้ที่คุณธรรมจรรยาสูงส่ง ก็คือวิญญูชน

บทวิเคราะห์

จูสี่ (朱熹) นักศึกษาศาสตร์สมัยซ่งผู้โด่งดังได้วิจารณ์บทแรกของหลุ่นอวี่บทนี่ว่ามีคุณค่ามาก โดยกล่าวว่า “นี่คือประตูแห่งการศึกษา เป็นพื้นฐานของการสั่งสมคุณธรรม” โดยประโยคทั้งสามในบทนี้ ผู้คนล้วนคุ้นชินกันอย่างดี โดยที่ผ่านมาทุกคนเข้าใจว่า “เรียนแล้วก็หมั่นฝึกฝนและทบทวนอยู่บ่อย ๆ มิใช่เรื่องที่น่าสนุกหรอกหรือ …ฯ” โดยทั้ง 3 ประโยคมีความหมายค่อนข้างเป็นเอกเทศ ซึ่งไม่ค่อยมีความเชื่อมโยงกันอยู่เท่าใดนัก 

มีนักวิชาการบางกลุ่มที่เสนอความคิดเห็นว่าการแปลหรือทำความเข้าใจแบบนี้ผิดเพี้ยนไปจากความหมายที่ผู้เขียนจะสื่อมาก โดยเสนอว่า 

学 ไม่ใช่ 学习 ที่แปลว่าการเรียนรู้ แต่ 学 ในที่นี้คือ 学说/主张 คือแนวคิดหรือทฤษฎี 

时 ไม่ใช่ 时常 ที่แปลว่า บ่อย ๆ แต่ หมายความว่า 时代 /社会 ยุคสมัยหรือสังคม

习 ไม่ใช่ 温习 ที่แปลว่าทบทวน แต่ หมายความว่า 使用/采用 ใช้หรือถูกเลือกนำมาปฏิบัติตาม

ดังนั้นเมื่อตีความหมายออกมาออกมาแล้ว จะเห็นได้ว่าทั้งสามประโยคมีความหมายที่เชื่อมโยงกัน คือ

“ทฤษฏีของเรา ถ้าหากสังคมเห็นด้วยและปฏิบัติตาม นั่นเป็นเรื่องที่น่ายินดีมาก หากมิใช่ถูกใช้โดยคนในสังคมทั้งหมด แต่ก็ยังมีคนที่เห็นพ้องกับเราบางส่วนมาจากแดนไกลเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเรา นั่นก็พอทำให้เรามีความสุขได้ หากแต่คนในสังคมไม่ใช้ทฤษฎีของเรา แต่เราก็ไม่โกรธ ไม่โมโห ซึ่งการกระทำเช่นนี้นั้นถือเป็นวิถีของวิญญูชน” 

 การตีความแบบนี้อาจจะเป็นการตีความให้ความหมายดูสมบูรณ์ แต่ว่าก็ถือว่ามีเหตุผลพอสมควร พอให้ผู้ที่ศึกษาลองทำความเข้าใจมิติของความหมายแบบต่าง ๆ 

นอกจากนี้ในการตีความ วลีที่ว่า “人不知,而不愠” ก็มีคนมีความเป็นอย่างอื่นว่า “人不知” ไม่มีบทกรรมมาเติมเต็ม แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า คนไม่รู้ ไม่รู้อะไรล่ะ?? เอ๊า 

แต่เมื่อมองจากวิธีการพูดของขงจื่อก็เข้าใจได้บ้าง แม้ไม่พูดให้จบครบถ้วนกระบวนความ แต่คนอื่นก็อาจจะเดาได้ และถือว่าเป็นการแผงปริศนาไว้ให้คนรุ่นหลังงงเล่น 

มีบางท่านกล่าวว่า “人不知” นั้นเป็นวลีที่ขยายประโยคด้านหน้า คือ

“.......หากแต่มีคนที่เห็นพ้องกับเราบางส่วนมาจากแดนไกลเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเรา นั่นก็พอทำให้เรามีความสุขได้ แต่ถ้าหมู่มิตรเหล่านั้นฟังไม่เข้าใจว่าเราจะสื่ออะไร แต่เราก็ไม่โกรธ…..”

ดังนั้น “人不知” จึงแปลความหมายว่า คนอื่นไม่เข้าใจในสิ่งที่เราพยายามจะสื่อหรือไม่เข้าใจในทฤษฎีของเรา ซึ่งทำให้ความหมายของทั้ง 3 ประโยคชัดเจนขึ้นไปกว่าเดิมอีก

สรุปว่า 3 ประโยคนี้เสนอว่า การเรียนรู้เป็นเรื่องที่น่ายินดี แม้คนอื่นไม่เข้าใจเราก็ไม่โกรธเขา ซึ่งสะท้อนลักษณะส่วนตัวของขงจื่อที่เป็นคนใฝ่รู้ใฝ่เรียนมาก และมีความอดทนอดกลั้นในการสั่งสอนวิชาความรู้ ให้ความสำคำคัญกับการประพฤติปฏิบัติตามจริธรรม และมองว่าทฤษฎีที่ตัวเองเสนอก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งใน หลุ่นอวี่ เราจะพบประโยคที่สะท้อนเรื่องเหล่านี้อยู่มาก และบทนี้ก็เป็นการปูพื้นเข้าสู่บทสนทนาของขงจื่อ เข้าใจขงจื่อได้เป็นอย่างดี

error: Content is protected !!