เครื่องแต่งกายสมัยเว่ย จิ้น ราชวงศ์เหนือใต้ 魏晋南北朝的服饰

魏晋南北朝的服饰

เครื่องแต่งกายสมัยเว่ย จิ้น ราชวงศ์เหนือใต้ (หนานเป่ย)

ปี 220 ถึง ปี 581

 

image096 image097

 

 

 

 

 

 

 

image098
戴梁冠、穿衫子的文吏(顾恺之《洛神赋图》局部)

 

汉代立国400年后,皇室衰微,中国内部分崩离析,出现了以魏为首的三国鼎立,两晋争权,周边的许多游牧民族也乘虚而入,先后在中原地区建立了十多个小王朝。这使得公元3世纪至6世纪的中国处于空前混乱的魏晋南北朝时期。战争和民族大迁徙使不同民族和不同地域的文化相互碰撞、交流,传统服饰的机能性在这一时期得到加强,在美学风格上则是追求“仙风道骨”的飘逸和脱俗。

 

๔๐๐ ปีหลังจากสถาปนาราชวงศ์ฮั่น พระราชวงศ์ก็เริ่มเสื่อมโทรมและแตกออกเป็น ๓ แคว้น (สามก๊ก) ซึ่งแคว้นวุ่ย (เว่ย) เป็นแคว้นที่มีอำนาจที่สุดจากสามแคว้นที่คานอำนาจกันอยู่เหมือนหม้อติ่งสามขา   แต่ผู้ที่มีอำนาจภายหลังกลับเป็นแคว้นจิ้น   ต่อมาชนเผ่าเร่ร่อนรอบๆจึงฉวยโอกาสบุกเข้าไปในพื้นที่ที่ยังไม่มีการป้องกันและมีการตั้งแคว้นเล็กๆต่างๆนับสิบแคว้นในพื้นที่จงง้วน (ที่ราบภาคกลางลุ่มแม่น้ำฮวงโห) ซึ่งทำให้จีนในศตวรรษที่ ๓ ถึง ๖ แตกเป็น แคว้น วุ่ย จิ้น และราชวงศ์เหนือใต้ที่สับสนวุ่นวายเป็นอย่างยิ่ง  การสู้รบระหว่างชาติพันธุ์ทำให้วัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่ได้ผสมสานรวมกัน และแลกเปลี่ยนกัน  ลักษณะการใช้ของเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายต่างๆก็ได้พัฒนาให้ดีขึ้นในสมัยนี้  ในทางสุนทรียศาสตร์มันก็คือการค้นหา  “ความงามซึ่งเป็นอมตะ”  อันหรูหราและละเมียดละไม

image098
穿杂裾垂髾服的妇女(传顾恺之《列女图》局部)

漆纱笼冠是魏晋南北朝时期极具特色的主要冠式。当时的男子和女子都可以佩戴。因为它是使用黑漆细纱制成的,所以得名“漆纱笼冠”。冠的特点是平顶,两侧有耳垂下,下边用丝带系结。

เกี้ยวผ้าตาข่าย

เกี้ยวผ้าตาข่ายเป็นหมวกกวานที่มีความเป็นเอกลักษณ์ในยุคราชวงศ์ เว่ย จิ้น และราชวงศ์เหนือใต้   ชายหญิงสมัยนั้น   ต่างก็สวมเกี้ยวประเภทนี้ได้ เนื่องจากทำด้วยไหมพรมสีดำ จึงได้ชื่อว่าเกี้ยวผ้าตาข่าย      ความโดดเด่นของหมวกกวานประเภทนี้คือ ส่วนบนจะเรียบแบน มีส่วนปิดใบหูทั้งสอง ด้านข้างล่างของส่วนที่ปิดใบหูนั้นจะมีเชือกผูกอยู่

 

image099
伦敦大英博物馆东晋顾恺之《女史箴图》之一,男穿曲领大袖长襦,女倭堕髻垂臂,右衽衫,长裙拂地,腰束细绅带。

image100
漆纱笼冠图(根据传世帛画、壁画及出土陶俑复原绘制)

  image101

戴梁冠、穿衫子的文吏(顾恺之《洛神赋图》局部

大袖宽衫

魏晋时期的人们崇尚道教和玄学,因为祈望长生不老,所以炼制丹药服用的情况较为普遍。服食丹药后常使身体发热,不适合穿紧身的衣服,加之当时的人们大多追求“仙风道骨”的风度,所以这一时期的人们喜欢穿宽松肥大的衣服,世称“大袖宽衫”。

เสื้อใหญ่แขนกว้าง

ผู้คนในยุคเว่ย จิ้น มีความเชื่อในลัทธิเต๋าและอภิปรัชญา(เล่าจื๊อ/จวงจื๊อ/โจวอี้)กันมาก เนื่องจากหวังว่าจะมีชีวิตเป็นอมตะ ดังนั้นความคิดเรื่องยาอมตะจึงแพร่หลายมากในยุคนั้น หลังจากกินยาอมตะเข้าไป     มักทำให้ร่างกายเกิดความร้อนรุ่ม จึงไม่เหมาะกับการแต่งกายในชุดที่รัดแน่นเกินไป และการที่ผู้คนส่วนมากที่ต่างเสาะแสวงซึ่ง  “ความอมตะแบบเซียน”ดังนั้นผู้คนจึงนิยมใส่เสื้อผ้าที่หลวมโพรกกัน ซึ่งเรียกว่า  เสื้อใหญ่แขนกว้าง

 image102

穿大袖衫、间色条纹裙的贵妇及其侍从
(敦煌莫高窟288窟壁画)

image103

穿大袖宽衫的贵族及侍从(顾恺之《洛神赋图》局部)

裤褶

裤褶是实际上一种上衣下裤的组合,它的基本款式是上身穿大袖衣,下身穿肥腿裤。裤褶原来是北方游牧民族的传统服装,到了南北朝时期,这种服装开始在汉族地区广为流行,裤口也越来越大, 为了行动方便,人们用1米左右的锦带将裤腿缚住,称为“ 缚裤” 。后来衣袖和裤口愈加宽大,时称“广袖褶衣”、“大口裤”,一时之间成为南北朝时期盛行的服饰。

ชุดเสื้อและกางเกงขาจีบ  (ชุดคู่เจ่อ)

คือชุดที่เป็นเสื้อและกางเกง   รูปแบบพื้นฐานของมันก็คือ ด้านบนสวมใส่เสื้อแขนกว้าง ส่วนด้านล่างสวมใส่กางเกงที่มีขากางเกงกว้าง  ชุดคู่เจ่อมีที่มาจากเสื้อผ้าดั้งเดิมของชนเผ่าเร่ร่อนทางตอนเหนือ เมื่อถึงยุคราชวงศ์เหนือใต้ เสื้อผ้าชนิดนี้เริ่มเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในหมู่ชาวฮั่น ส่วนขาของกางเกงยิ่งนานไปยิ่งมีขนาดใหญ่ขึ้น และเพื่อความสะดวกในการเดิน  จึงใช้ผ้าที่ยาวประมาณ ๑ เมตรผูกไว้ที่ขากางเกง เรียกว่า “ฟู่คู่” ภายหลังแขนเสื้อและขากางเกงได้มีขนาดใหญ่ขึ้นมาก จึงถูกเรียกว่า “เสื้อแขนกว้าง” และ “กางเกงขาบาน” ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นเครื่องแต่งกายที่นิยมกันมากในสมัยราชวงศ์เหนือใต้

 image104

 加拿大多伦多皇家博物馆藏北魏彩绘陶文武士俑

image105image106
穿裤褶的男子和女子

(北朝陶俑,传世实物)

 

杂裾垂

魏晋时期的女子在深衣的下摆部分要接上重重叠叠的三角形装饰布,又在腰上系围裳,从围裳下面再伸出许多长长的飘带。由于使用了轻柔飘逸的丝绸材料,所以这两种装饰使女子在走动的时候,更加富有动感和韵律感。后来,这两种装饰逐渐合二为一,这就是杂裾垂髾服的造型。杂裾垂髾服使魏晋的女子充满灵动、飘逸的气质。

ชุดแพรแถบไหมระย้า

ส่วนที่ห้อยลงมาจากชุดเซินอีของผู้หญิงในสมัยเว่ยจิ้นเป็นแถบผ้ารูปสามเหลี่ยมที่ซ้อนทับกันอยู่   นอกจากนั้นยังมีแบบที่ห้อยแถบผ้าผืนใหญ่ไว้ด้านหน้า  ใต้แถบผ้านั้นก็มีแถบผ้าแพรอีกหลายชิ้นห้อยลอดออกมา  และเนื่องจากการใช้ผ้าไหมผ้าแพรที่มีลักษณะอ่อนนุ่มเบาบาง ดังนั้นเวลาที่บรรดาหญิงสาวเหล่านี้กำลังย่างก้าว  จึงทำให้แพรพรรณพวกนั้นโบกสะบัดตามแรงลม  ดูเป็นการเคลื่อนไหวที่ไม่หยุดนิ่งเหมือนสายน้ำไหล    ภายหลังได้มีการเพิ่มแถบผ้าประดับ   ชุดทั้งสองรูปแบบจึงได้รวมอยู่ในชุดเดียวกัน  ซึ่งก็คือชุดแพรแถบไหมระย้านี้เอง  ซึ่งการแต่งกายลักษณะนี้ทำให้สาวสมัยเว่ยจิ้นดูเด่นเป็นสง่า  เต็มไปด้วยความหรูหรา

image107
穿杂裾垂髾服的妇女(顾恺之《洛神赋图》局部)陕西西安草厂坡北魏墓出土梳十字大髻、穿窄袖衫裙的彩绘女俑

image108
陕西西安草厂坡北魏墓出土梳十字大髻、穿窄袖衫裙的彩绘女俑

衫裙

衫裙是魏晋女子的常服,上衣的衫紧身合体,袖子宽肥;下边的裙子多折裥,裙长拖地,宽松舒展。这种上俭下丰的造型,加上丰盛的配饰,能够展现出魏晋女子潇洒俊美的风度。这也是中国传统女装的经典造型。

ชุดกระโปรงซานฉวิน

ชุดกระโปรงซานฉวินเป็นเครื่องแต่งกายที่ผู้หญิงในยุคเว่ยและจิ้นส่วมใส่อยู่เป็นประจำ ตัวเสื้อส่วนบนมีความพอดีกับร่างกาย (รัดรูป) แขนเสื้อกว้าง ส่วนล่างเป็นกระโปรงจีบ  ชายกระโปรงยาวลากพื้น ซึ่งหลวม สวมใส่สบาย  เป็นเสื้อผ้าที่ด้านบนเรียบง่ายแต่ด้านล่างหรูหรา และเมื่อประดับเครื่องประดับที่โอ่อ่าเข้าไป ก็ยิ่งเผยถึงความสวยสะโอดสะองในกายสาวชาวเว่ยและจิ้นออกมา ซึ่งก็คือสไตล์การแต่งกายดั่งเดิมของสาวจีนนั่นเอง

 image109 

 

女子发髻

魏晋的女子流行使用假发梳妆发髻。有的在头顶梳十字形发髻,余发下垂,称“十字髻”;有的将头发反复盘桓,然后做髻,称“盘桓髻”;还有的将头发梳理成凌空摇摆的发环,称“飞天髻”。魏晋女子使用假发是为了增加发髻的高度。她们常常在发髻上再饰以鲜花、簪子等,更增添了女性的魅力。

ทรงผมสตรีเว่ยจิ้น

ผู้หญิงชาวเว่ยและจิ้นนิยมใช้ผมปลอมสำหรับประดับทรงผม  มีทรงที่หวีเป็นตัวอักษร 十 อยู่บนศีรษะ ส่วนผมที่เหลือก็ปล่อยให้ห้อยไว้ด้านหลัง    เรียกทรงนี้ว่า   “ทรงไม้กางเขน”   บ้างก็นำผมขดเป็นมวยวนอยู่บนศีรษะ แล้วจัดเป็นทรง  เรียกว่า  “ทรงก้นหอย”    บ้างก็ทำผมเป็นวงๆปล่อยให้ไหวไปมา เรียกว่า  ทรงเหิรโพยม  และยังใช้ผมปลอมสำหรับเพิ่มความสูงของผม  พวกนางมักจะนำดอกไม้สดหรือกิ๊บประดับผมไว้   ซึ่งเพิ่มความเสน่ห์แบบผู้หญิงให้กับพวกนาง

   image110

戴小冠、穿襦裙的乐人
(北朝陶俑,传世实物)

 image111

穿对襟衫子、长裙穿戴展示图

(根据出土陶俑复原绘制)

 

文士服饰

玄学、道教和佛教在魏晋时期广泛流行,互相影响,成为一时的风气。文人士大夫阶层在这种时代思潮的影响下,崇尚虚无,不拘礼法,更有甚者放浪不羁,追求仙风道骨,在服饰上就表现为喜好穿宽松的衫子,袒胸露怀,无拘无束。

image112

เครื่องแต่งกายเหล่าบัณฑิต

ในยุคเว่ยจิ้น อภิปรัชญา ลัทธิเต๋า และพุทธศาสนา เป็นที่นิยมกันอย่างขว้างขวาง ทั้งยังส่งผลซึ่งกันและกัน  อันเป็นกระอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง  ซึ่งเหล่านักพรต บัณฑิตทั้งหลายต่างก็ตกอยู่ใต้แนวความคิดเช่นนี้ทั้งสิ้น คือ ปลีกวิเวก  ไม่ใส่ใจกับกฎเกณฑ์ต่างๆ  คือไม่สนอะไรเลยสักนิด  มุ่งเพียงบำเพ็ญตบะเพื่อหาหนทางเป็นเซียน  ทางด้านเครื่องแต่งกายก็ชอบสวมเสื้อผ้าที่หลวมเบาสบาย  มักเปลือยหน้าอกรับหยาดน้ำค้าง  ไม่สนใจอะไรอะไรทั้งหมดทั้งมวล

 image113

戴巾子、穿宽衫的士人

(孙位《高逸图》局部)

image114

梳丫髻或裹巾子、穿翻领袍服的士人(《北齐校书图》局部)

 

   

百姓服饰

魏晋时期的百姓服饰十分丰富,绘画中的采桑、屯垦、狩猎、畜牧宴饮等现实生活中的各种场景中,留下了大量平民百姓的服饰形态,如女子的裙裳、农民的袍服、猎人的巾帽、牧者的绑腿等。

เครื่องแต่งกายของสามัญชน

เครื่องแต่งกายของสามัญชนในยุคเว่ยจิ้นมีความหลากหลายเป็นอย่างมาก  ซึ่งส่งผลมาจากกิจกรรมในชีวิตประจำวัน  เช่นมีภาพวาดลูกหม่อน  ภาพวาดการสร้างบ้านเรือน  ภาพวาดการล่าสัตว์ ภาพวาดการเลี้ยงสัตว์ ภาพวาดงานฉลองต่างๆ   สิ่งต่างๆรอบกายเหล่านี้ส่งผลต่อการแต่งกายทั้งสิ้น  ทั้งกระโปรงของสตรี  ชุดคลุมของชาวนา  หมวกผ้าของนายพราน  กางเกงหุ้มขาของคนเลี้ยงแกะ  เป็นต้น   ล้วนมาจากกิจกรรมหรืออาชีพทั้งนั้น

 

 

image115

 

 

 

戴巾帻、穿袍服的信使         (甘肃嘉峪关出土砖画)

穿袍服、围裳的采桑妇女  (甘肃嘉峪关出土砖画)

穿袍服的农民及农妇      (甘肃嘉峪关出土砖画)

戴毡帽、穿袍服的猎人         (甘肃嘉峪关出土砖画)

 

 

 

 

裆铠

南北朝时的主要铠甲是裆铠,其材料大多采用坚硬的金属和皮革,甲片的形状分为长条形和鱼鳞形两种,在胸背处通常会采用精巧的鱼鳞纹小形甲片,以增强铠甲的机能性。将士一般会在裆甲内衬一件厚实的、布帛制作的裲裆衫,以防止坚硬的甲片擦伤肌肤。

ชุดเกราะเหลี่ยงตาง

ชุดเกราะที่สำคัญในยุคราชวงศ์เหนือใต้คือชุดเกราะเหลี่ยงตาง  วัสดุที่ใช้ทำชุดเกราะเหลี่ยงตางก็คือโลหะ หนังสัตว์ และกระดองสัตว์ เนื่องจากวัสดุเหล่านี้แข็งแรงทนทาน การประกอบลายแบ่งเป็นรูปแถบยาวๆและเป็นลายเกล็ดปลา   บริเวณหน้าอกและหลังมักใช้แผ่นรูปปลาประกอบขึ้นเป็นเกราะ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงทนทานให้ชุดเกราะ       เหล่านายพลมักสวมเสื้อหนาๆหนึ่งชั้นในชุดเกราะเพื่อป้องกันไม่ให้เสื้อเกราะสีกับผิวหนังเป็นแผล

image116

 戴兜鍪、穿裆铠甲的武士(甘肃敦煌莫高窟285窟壁画)

image117

戴兜鍪、穿裆铠的武士

(北魏加彩陶俑,传世实物,原件现在日本京都博物馆)

 image118

戴兜鍪、穿裆铠的武士

(北魏加彩陶俑,传世实物,

原件现在日本早稻田大学东洋美术陈列室)

 

 

纹样

外来的装饰题材大大补充了魏晋南北朝时期的装饰纹样。它们包括:具有古代阿拉伯国家装饰纹样特征的“圣树纹”;具有佛教色彩的“天王化生纹”;具有少数民族风格的圆圈与点;还有组合的中小型几何纹样和“忍冬纹”等。这些纹样的共同特征是对称排列,动势不大,装饰性强。

ลวดลาย

การประกอบลายที่มาจากต่างแดนได้เติมเต็มลวดลายในยุคสมัยเว่ยจิ้นและราชวงศ์เหนือใต้นี้  ซึ่งประกอบด้วย  ลวดลาย “ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์” ที่เป็นลักษณะเด่นของการประกอบลายในกลุ่มชาวอาหรับ   และลวดลาย “ธรรมจักร” แบบพุทธศาสนา       ลวดลายกลมและจุดของชนกลุ่มน้อย นอกจากนั้นยังมีการประกอบลายโดยใช้รูปทรงทางเรขาคณิตที่ไม่ใหญ่มาก เช่นกลุ่มลาย เหริ่นตง    จุดเด่นของลายทั้งหมดที่กล่าวมาก็คือ มักประกอบลายในแนวนอน  ไม่วิวิดสมารา แต่ทว่าให้ความรู้สึกที่เป็นการตกแต่งอย่างชัดเจน

image119

新疆吐鲁番出土北凉几何鸟兽纹锦,

新疆维吾尔自治区博物馆藏

image120

方格兽纹绵(新疆吐鲁番阿斯塔那出土实物)

image121
หนึ่งในกลุ่มลายเหริ่นตง

 

 

error: Content is protected !!