พจนานุกรม ไทย – ไทย ธ

【 ธ ๑ 】แปลว่า: พยัญชนะตัวที่ ๒๔ เป็นพวกอักษรตํ่า และใช้เป็นตัวสะกดในแม่กด
ในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น สุเมธ มคธ.
【 ธ ๒ 】แปลว่า: ทะ ส. ท่าน, เธอ, เช่น ธ ประสงค์ใด จงสฤษดิ์ดัง หวังวรหฤทัย,
เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
【 ธง 】แปลว่า: น. ผืนผ้าโดยมากเป็นสีและบางอย่างมีลวดลายเป็นรูปต่าง ๆ ที่ทํา
ด้วยกระดาษและสิ่งอื่น ๆ ก็มี สําหรับ (๑) ใช้เป็นเครื่องหมายบอก
ชาติ ตําแหน่งในราชการ โดยมีกําหนดกฎเกณฑ์เป็นต้น เช่น ธงชาติ
ธงแม่ทัพนายกอง. (๒) ใช้เป็นเครื่องหมายตามแบบสากลนิยม เช่น
ธงกาชาด บอกที่ตั้งกองบรรเทาทุกข์, ธงขาว บอกความจํานนขอหย่า
ศึกหรือยอมแพ้, ธงเหลือง บอกเป็นเรือพยาบาลคนป่วยหรือเรือที่มี
โรคติดต่ออันตราย, ธงแดง บอกเหตุการณ์อันเป็นภัย. (๓) ใช้เป็น
เครื่องหมายเรือเดินทะเลคณะ สมาคม อาคารการค้า และอื่น ๆ. (๔)
ใช้เป็นอาณัติสัญญาณ. (๕) ใช้เป็นเครื่องตกแต่งสถานที่ในงานรื่นเริง
หรือถือเข้ากระบวนแห่เป็นต้น; ชื่อดาวหมู่หนึ่งตามที่กล่าวว่า โน่น
ดาวธงตรงหน้าอาชาไนย. (อภัย); ชื่อคันเบ็ดที่ปักประจําล่อปลา, กิริยา
ที่เอาเบ็ดนั้นไปปักเรียกว่าธง; ข้อความที่อธิบายนําไว้เป็นตัวอย่าง.
【 ธงกระบี่ธุช 】แปลว่า: /ดู กระบี่ธุช ที่ กระบี่ ๑./
【 ธงครุฑพ่าห์ 】แปลว่า: /ดู ครุฑพ่าห์ ที่ ครุฑ./
【 ธงจระเข้ 】แปลว่า: น. ธงผืนผ้ามีรูปจระเข้ตรงกลาง มักปักไว้ที่ท่านํ้าหน้าวัด แสดงว่า
ทอดกฐินแล้ว.
【 ธงฉาน 】แปลว่า: (กฎ) น. ธงที่มีลักษณะอย่างเดียวกับธงชาติ แต่ตรงกลางของผืนธง
มีรูปจักร ๘ แฉกแฉกของจักรเวียนไปทางซ้ายและมีสมอสอดวงจักร
ภายใต้พระมหามงกุฎ รูปเหล่านี้เป็นสีเหลือง เป็นธงที่ใช้ในเรือพระที่นั่ง
และเรือหลวง หรือเป็นธงสําหรับหน่วยทหารเรือที่ยกพลขึ้นบก ซึ่ง
หน่วยทหารนั้นไม่ได้รับพระราชทานธงชัยเฉลิมพล; (โบ) ธงนํากระบวน
กองชนะ มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม.
【 ธงชัย ๑ 】แปลว่า: น. ธงซึ่งเป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะ.
【 ธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อย 】แปลว่า: น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นผ้าสีเหลืองรูปสี่เหลี่ยม มีภาพครุฑที่กลางผืนธง
คันธงท่อนบนทำด้วยเหล็ก ยอดเรียวแหลมคร่ำทองท่อนล่างทำด้วย
ไม้ชัยพฤกษ์ติดกาบโลหะจำหลักเป็นภาพครุฑจับนาคจำนวน ๔ กาบ
มีหางนกยูงผูกเป็นแพนเสียบที่กาบ, ใช้เชิญนำกระบวนพยุหยาตรา
และอัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับ
ธงชัยราชกระบี่ธุชน้อย หรือ ธงชัยราชกระบี่ยุทธ โดยธงชัยพระครุฑพ่าห์
น้อยอยู่ทางด้านขวา และธงชัยราชกระบี่ธุชน้อยหรือธงชัยราชกระบี่ยุทธ
อยู่ทางด้านซ้าย.
【 ธงชัยราชกระบี่ธุช, ธงชัยราชกระบี่ธุชใหญ่ 】แปลว่า: /ดู กระบี่ธุช ที่ กระบี่ ๑./
【 ธงชัยราชกระบี่ธุชน้อย 】แปลว่า: น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นผ้าสีแดงรูปสี่เหลี่ยม มีภาพพระกระบี่คือหนุมาน
ที่กลางผืนธง คันธงท่อนบนทำด้วยเหล็ก ยอดเรียวแหลมคร่ำทอง ท่อน
ล่างทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ติดกาบโลหะจำหลักเป็นภาพหนุมานจำนวน
๔ กาบมีหางนกยูงเป็นแพนเสียบที่แผ่นกาบ มีอีกชื่อหนึ่งว่า ธงชัยราช
กระบี่ยุทธ, ใช้เชิญนำกระบวนพยุหยาตราและอัญเชิญประดิษฐานใน
พิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อย
โดยธงชัยราชกระบี่ธุชน้อยอยู่ทางด้านซ้ายและธงชัยพระครุฑพ่าห์
น้อยอยู่ทางด้านขวา.
【 ธงชัยราชกระบี่ยุทธ 】แปลว่า: /ดู ธงชัยราชกระบี่ธุชน้อย ที่ ธง./
【 ธงชาติ ๑ 】แปลว่า: น. ธงที่มีความหมายถึงประเทศและชาติใดชาติหนึ่ง.
【 ธงชาติ ๒, ธงชาติไทย 】แปลว่า: (กฎ) น. ธงที่มีความหมายถึงประเทศไทยและชาติไทย มีลักษณะ
เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๖ ส่วน ยาว ๙ ส่วนด้านกว้างแบ่งเป็น
๕ แถบตลอดความยาวของผืนธง ตรงกลางเป็นแถบสีนํ้าเงินแก่
กว้าง ๒ ส่วน ต่อจากแถบสีนํ้าเงินแก่ออกไปทั้ง ๒ ข้างเป็นแถบสีขาว
กว้างข้างละ ๑ ส่วน ต่อจากแถบสีขาวออกไปทั้ง ๒ ข้างเป็นแถบสี
แดงกว้างข้างละ ๑ ส่วน ธงชาตินี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ธงไตรรงค์”.
【 ธงชาย 】แปลว่า: น. ธงรูปสามเหลี่ยม ใช้ในกองทัพบก.
【 ธงตะขาบ 】แปลว่า: น. ธงชนิดหนึ่งทำด้วยแผ่นผ้าเป็นชิ้น ๆ เย็บติดกันไปเป็นพืด มีไม้
สอดระหว่างชิ้นทำให้มีลักษณะคล้ายตัวตะขาบ ขนาดกว้างยาว
ตามต้องการ มักแขวนไว้ยอดเสาหงส์ตามหน้าวัดเป็นพุทธบูชา.
(รูปภาพ ธงตะขาบ)
【 ธงไตรรงค์ 】แปลว่า: น. ธงชาติไทย.
【 ธงทิว, ธงเทียว 】แปลว่า: น. ธงที่มีรูปลักษณะคล้ายกระบอก.
【 ธงนำริ้ว 】แปลว่า: น. ธงรูปสามเหลี่ยม ใช้นําริ้วกระบวนต่าง ๆ; ชื่อกลบทอย่างหนึ่ง
มีตัวอย่างว่า กุ๋ยกุ๋ยหน้าไม่เก้อละเมอหึง ฟังฟังก็เหมือนแกล้งแพร่ง
ความอึงคิดคิดและให้ขึ้งขุ่นเคืองใจ.
【 ธงบรมราชวงศ์น้อย 】แปลว่า: (กฎ) น. ธงสําหรับองค์สมเด็จพระบรมราชชนนีแบ่งตามความยาว
ออกเป็น ๒ ตอน ตอนต้นมีลักษณะและสีอย่างเดียวกับตอนต้นของ
ธงบรมราชวงศ์ใหญ่แต่กว้างไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตรตอนปลายมี
ลักษณะเป็นชายต่อสีแดงแปลงเป็นรูปธงยาวเรียว โดยให้ปลายสุด
กว้างครึ่งหนึ่งของธงตอนต้น ปลายธงตัดเป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว
ลึก ๓ ใน ๘ ส่วนของความยาวของผืนธง ความยาวของผืนธงเป็น ๘
เท่าของความกว้างของตอนต้น ธงนี้ถ้าชักขึ้นแทนธงบรมราชวงศ์ใหญ่
หมายความว่า โปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุตถวายคํานับ.
【 ธงบรมราชวงศ์ใหญ่ 】แปลว่า: (กฎ) น. ธงสําหรับองค์สมเด็จพระบรมราชชนนี มีลักษณะเป็นรูป
สี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๒ ส่วน ยาว ๓ ส่วน พื้นธงสีเหลือง ปลายธง
ตัดเป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๑ ใน ๓ ส่วนของความยาวของ
ผืนธง ที่ตรงกลางตอนต้น ๒ ใน ๓ ส่วนของผืนธงเป็นรูปสี่เหลี่ยม
จัตุรัสสีขาบ มีขนาดกว้างยาวครึ่งหนึ่งของความกว้างของผืนธง
ภายในรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีขาบมีรูปมงกุฎขัตติยราชนารีประดิษฐาน
บนพานแว่นฟ้า ๒ ชั้นเหนือตั่ง และมีตั่งลดตั้งฉัตรกลีบบัว ๕ ชั้น
อยู่ ๒ ข้างรูปเหล่านี้เป็นสีเหลืองเข้ม.
【 ธงพระครุฑพ่าห์, ธงชัยพระครุฑพ่าห์, ธงชัยพระครุฑพ่าห์ใหญ่ 】แปลว่า: /ดู ครุฑพ่าห์ ที่ ครุฑ./
【 ธงมหาราชน้อย 】แปลว่า: (กฎ) น. ธงสําหรับองค์พระมหากษัตริย์ แบ่งตามความยาวออกเป็น
๒ ตอน ตอนต้นมีลักษณะและสีอย่างเดียวกับธงมหาราชใหญ่แต่
กว้างไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร ตอนปลายมีลักษณะเป็นชายต่อสีขาว
แปลงเป็นรูปธงยาวเรียวโดยให้ปลายสุดกว้างครึ่งหนึ่งของตอนต้น
ปลายธงตัดเป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๓ ใน ๘ ส่วนของความยาว
ของผืนธงความยาวของผืนธงเป็น ๘ เท่าของความกว้างของตอนต้น
ธงนี้ถ้าชักขึ้นแทนธงมหาราชใหญ่ หมายความว่า ทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุตถวายคํานับ.
【 ธงมหาราชใหญ่ 】แปลว่า: (กฎ) น. ธงสําหรับองค์พระมหากษัตริย์ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
พื้นธงสีเหลือง มีรูปพระครุฑพ่าห์สีแดงอยู่ตรงกลาง.
【 ธงเยาวราชน้อย 】แปลว่า: (กฎ) น. ธงสําหรับองค์สมเด็จพระยุพราช แบ่งความยาวออกเป็น
๒ ตอน ตอนต้นมีลักษณะและสีอย่างเดียวกับธงเยาวราชใหญ่ แต่
กว้างไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร ตอนปลายมีลักษณะเป็นชายต่อสีขาว
แปลงเป็นรูปธงยาวเรียวโดยให้ปลายสุดกว้างครึ่งหนึ่งของตอนต้น
ปลายธงตัดเป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๓ ใน ๘ ส่วนของความ
ยาวของผืนธง ความยาวของผืนธงเป็น ๘ เท่าของความกว้างของ
ตอนต้น ธงนี้ถ้าชักขึ้นแทนธงเยาวราชใหญ่ หมายความว่า โปรดเกล้าฯ
ให้งดการยิงสลุตถวายคํานับ.
【 ธงเยาวราชใหญ่ 】แปลว่า: (กฎ) น. ธงสําหรับองค์สมเด็จพระยุพราช มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม
จัตุรัส พื้นธงมี ๒ สี รอบนอกสีขาบ รอบในสีเหลืองกว้างยาวครึ่งหนึ่ง
ของรอบนอก มีรูปพระครุฑพ่าห์สีแดงอยู่ตรงกลาง.
【 ธงราชินีน้อย 】แปลว่า: (กฎ) น. ธงสําหรับองค์สมเด็จพระราชินี มีลักษณะและสีอย่างเดียวกับ
ธงมหาราชน้อย เว้นแต่ชายต่อเป็นสีแดง ธงนี้ถ้าชักขึ้นแทนธงราชินีใหญ่
หมายความว่าทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุตถวายคํานับ.
【 ธงราชินีใหญ่ 】แปลว่า: (กฎ) น. ธงสําหรับองค์สมเด็จพระราชินี มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม
ผืนผ้า กว้าง ๒ ส่วน ยาว ๓ ส่วน พื้นธงสีเหลือง ตอนต้น ๒ ใน ๓
ส่วนของความยาวของผืนธงเหมือนธงมหาราชใหญ่ ตอนปลายตัด
เป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๑ ใน ๓ ส่วนของความยาวของผืนธง.
【 ธงสามชาย 】แปลว่า: น. ธงรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ปลายธงมี ๓ แฉก เป็น ๓ ชายลดหลั่น
กัน มักใช้นำริ้วกระบวน ถ้าใช้เข้ากระบวนแห่ในพระราชพิธี ผืนธง
ทำด้วยผ้าสักหลาดสอดสีปักดิ้นหักทองขวางเป็นลวดลาย.
【 ธงสามเหลี่ยม 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์กฤติกา มี ๘ ดวง, ดาวกฤตติกา ดาวกัตติกา
หรือ ดาวลูกไก่ ก็เรียก.
【 ธงหางแซงแซว 】แปลว่า: น. เรียกสิ่งเช่นธงที่มีรูปเป็นแฉกเหมือนหางนกแซงแซว.
【 ธงก์ 】แปลว่า: (แบบ) น. กา (นก). (ป.).
【 ธงชัย ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ธง./
【 ธงชัย ๒ 】แปลว่า: น. กาลโยคอย่างหนึ่งในโหราศาสตร์ คือ เวลาประกอบด้วยโชคคราว
ชนะเข้าไปถึงที่ซึ่งศัตรูจะตั้งอยู่ไม่ได้.
【 ธชะ 】แปลว่า: (แบบ) น. ธง. (ป.).
【 ธชี 】แปลว่า: [ทะ] น. พราหมณ์, นักบวช. (ป.; ส. ธฺวชินฺ ว่า ผู้ถือธง, พราหมณ์).
【 ธตรฐ 】แปลว่า: [ทะตะรด] น. ชื่อท้าวจาตุมหาราชองค์หนึ่ง ประจําทิศบูรพา.
【 ธน, ธน- 】แปลว่า: [ทน, ทะนะ] น. ทรัพย์สิน. (ป., ส.).
【 ธนธานี 】แปลว่า: [ทะนะ] น. สถานที่เก็บพัสดุมีค่า, คลัง, ที่เก็บสินค้า. (ป., ส.).
【 ธนบดี 】แปลว่า: [ทะนะบอ] น. เจ้าของทรัพย์, เศรษฐีผู้มีทรัพย์เป็นทุน, นายทุน.
(ส. ธนปติ ว่า เจ้าแห่งทรัพย์ คือ พระอินทร์, ท้าวกุเวร).
【 ธนบัตร 】แปลว่า: ทะนะบัด น. บัตรที่ออกใช้เป็นเงินตรา ซึ่งใช้ชําระหนี้ได้ตาม
กฎหมายโดยไม่จํากัดจํานวน. (ส. ธน + ปตฺร).
【 ธนบัตรย่อย 】แปลว่า: น. ธนบัตรที่ราคาน้อยกว่าฉบับที่มีราคามากกว่า, แบงก์ย่อย ก็ว่า.
【 ธนสมบัติ 】แปลว่า: [ทะนะสมบัด] น. การถึงพร้อมแห่งทรัพย์, ทรัพย์สมบัติ. (ป.).
【 ธนสาร 】แปลว่า: [ทะนะสาน] น. ทรัพย์สมบัติที่เป็นแก่นสาร, ทรัพย์สมบัติ. (ป.).
【 ธนัง 】แปลว่า: (แบบ; กลอน) น. ทรัพย์สิน เช่น มันก็ไม่รู้มั่งที่จะให้เกิดทุนธนัง.
(ม. ร่ายยาว ชูชก).
【 ธนาคาร 】แปลว่า: น. นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย บริษัทจํากัด หรือ บริษัทมหาชนจํากัด
ที่ใช้ชื่อหรือคําแสดงชื่อว่า ธนาคาร ซึ่งประกอบธุรกิจเกี่ยวกับเงินและ
ธุรกิจหลักทรัพย์. (ป. ธน + อคาร).
【 ธนาคารพาณิชย์ 】แปลว่า: (กฎ) น. ธนาคารที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงิน
ที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามหรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกําหนดไว้ และใช้
ประโยชน์เงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทาง เช่น ให้สินเชื่อ ซื้อขายตั๋ว
แลกเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด ซื้อขายเงินปริวรรตต่างประเทศ
และหมายความรวมถึงสาขาของธนาคารต่างประเทศที่ได้รับอนุญาต
ให้ประกอบธุรกิจดังกล่าวด้วย.
【 ธนาคารเลือด 】แปลว่า: น. สถานที่เก็บรักษาเลือดไว้ เพื่อบริการแก่ผู้ป่วย.
【 ธนาคารโลก 】แปลว่า: น. คําสามัญเรียกธนาคารระหว่างประเทศเพื่อบูรณะและวิวัฒนาการ
ซึ่งทําหน้าที่ให้กู้ยืมเงินแก่ประเทศที่เป็นสมาชิกของธนาคารเพื่อพัฒนา
เศรษฐกิจในประเทศของตนและให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ ธนาคาร
นี้ไม่รับฝากเงิน.
【 ธนาคารออมสิน 】แปลว่า: (กฎ) น. ธนาคารที่ตั้งขึ้นเพื่อรับฝากเงินออมสิน ออกพันธบัตรออมสิน
และสลากออมสิน รับฝากเงินออมสินเพื่อสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัว
ทําการรับจ่ายและโอนเงิน ซื้อหรือขายพันธบัตรรัฐบาลไทย ลงทุนเพื่อ
แสวงหาผลประโยชน์ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอนุญาต
การออมสินอื่น ๆ หรือกิจการอันเป็นงานธนาคารตามที่พระราชกฤษฎีกา
กําหนดไว้ และให้ประกอบได้ตามข้อกําหนดและเงื่อนไขที่กําหนดไว้ใน
กฎกระทรวง.
【 ธนาณัติ 】แปลว่า: น. การส่งเงินทางไปรษณีย์ โดยวิธีผู้ส่งมอบเงินไว้ยังที่ทําการไปรษณีย์
แห่งหนึ่งแล้วเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ออกตราสารสั่งให้ที่ทําการไปรษณีย์อีก
แห่งหนึ่งจ่ายเงินให้แก่ผู้รับ; (กฎ) ตราสารซึ่งที่ทําการไปรษณีย์แห่งหนึ่ง
สั่งให้ที่ทําการไปรษณีย์อีกแห่งหนึ่งจ่ายเงิน. (ป. ธน + อาณตฺติ).
【 ธเนศ, ธเนศวร 】แปลว่า: ทะเนด, ทะเนสวน น. เจ้าแห่งทรัพย์, คนมั่งมี; ท้าวกุเวร. (ส.).
【 ธโนปจัย 】แปลว่า: ทะโนปะไจ น. การสะสมทรัพย์. (ส.).
【 ธไนศวรรย์ 】แปลว่า: ทะไนสะหฺวัน น. อิสรภาพเหนือทรัพย์. (ส. ธน + ไอศฺวรฺย).
【 ธนัง 】แปลว่า: /ดู ธน, ธน-./
【 ธนาคม 】แปลว่า: (แบบ; กลอน) น. การมาแห่งกําไร, กําไร. (ส.).
【 ธนาคาร 】แปลว่า: /ดู ธน, ธน-./
【 ธนาคารพาณิชย์ 】แปลว่า: /ดู ธน, ธน-./
【 ธนาคารโลก 】แปลว่า: /ดู ธน, ธน-./
【 ธนาคารออมสิน 】แปลว่า: /ดู ธน, ธน-./
【 ธนาณัติ 】แปลว่า: /ดู ธน, ธน-./
【 ธนิต 】แปลว่า: ว. หนัก, เสียงพยัญชนะบางประเภทที่เปล่งเสียงพร้อมกับมีกลุ่มลมออกมา
ในภาษาไทยได้แก่เสียง พ ท ค ช ฮ, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและ
สันสกฤตที่มีเสียงหนักว่า พยัญชนะธนิต ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๒ และ ๔
ของวรรค. (ป.).
【 ธนิษฐะ, ธนิษฐา 】แปลว่า: น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๓ มี ๔ ดวง เห็นเป็นรูปกา, ดาวศรวิษฐา ดาวเศรษฐี หรือ
ดาวไซ ก็เรียก.
【 ธนุ, ธนุรญ 】แปลว่า: (แบบ) น. ธนู. (ป.).
【 ธนุรมารค 】แปลว่า: [ทะนุระมาก] น. ทางโค้งเหมือนธนู. (ส.).
【 ธนุรวิทยา, ธนุรเวท 】แปลว่า: [ทะนุระ] น. วิชายิงธนูและการใช้อาวุธอื่น ๆ. (ส.). /(ดู
【 อุปเวทประกอบ)./ 】แปลว่า:
【 ธนู 】แปลว่า: ชื่ออาวุธชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยคันธนูซึ่งมีสายธนูสำหรับน้าวยิง
และลูกธนูที่มีปลายแหลม; ชื่อกลุ่มดาวรูปธนู เรียกว่า ราศีธนู
เป็นราศีที่ ๘ ในจักรราศี; ชื่อดาวฤกษ์อนุราธา. (ป. ธนุ).
【 ธนูศิลป์ 】แปลว่า: น. ฝีมือยิงธนู, การฝึกหัดยิงธนู. (ส.).
【 ธเนศ, ธเนศวร 】แปลว่า: /ดู ธน, ธน-./
【 ธโนปจัย 】แปลว่า: /ดู ธน, ธน-./
【 ธไนศวรรย์ 】แปลว่า: /ดู ธน, ธน-./
【 ธม 】แปลว่า: ว. ใหญ่, หลวง, เช่น นครธม. (ข. ธม).
【 ธมกรก 】แปลว่า: [ทะมะกะหฺรก] น. กระบอกกรองนํ้าของพระสงฆ์ เป็นเครื่องใช้สอย ๑
อย่างในอัฐบริขาร; เครื่องกรองนํ้าด้วยลมเป่า; กระบอกก้นหุ้มผ้า. (ป.).
【 ธร 】แปลว่า: [ทอน] น. การยึดไว้, การถือไว้, การทรงไว้, การมีไว้; ผู้รักษาไว้,
ผู้ทรงไว้, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น วิชาธร วินัยธร.
(ป.; ส. ธฺฤ).
【 ธรง 】แปลว่า: [ทฺรง] (โบ; เลิก) ก. ทรง. (สามดวง).
【 ธรณ, ธรณะ 】แปลว่า: ทอน, ทอระนะ น. การถือไว้, การทรงไว้, การยึดไว้. (ป., ส.).
【 ธรณิน 】แปลว่า: ทอระ น. ธรณี, แผ่นดิน, เช่น กึกก้องสะเทือนธรณิน. (ลอ).
【 ธรณินทร์ 】แปลว่า: ทอระนิน น. ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน, พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.).
【 ธรณิศ, ธรณิศร, ธรณิศวร์ 】แปลว่า: ทอระนิด น. ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน, พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.).
【 ธรณี 】แปลว่า: [ทอระนี] น. แผ่นดิน เช่น ธรณีสูบ, พื้นแผ่นดิน เช่น ธรณีวิทยา, โลก
เช่น นางในธรณีไม่มีเหมือน. (ป., ส.).
【 ธรณีกันแสง 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง, ธรณีร้องไห้ หรือ พสุธากันแสง ก็ว่า.
【 ธรณีประตู 】แปลว่า: น. ไม้รองรับกรอบล่างของประตู มีรูครกสําหรับรับเดือยบานประตู
และมีรูสําหรับลงลิ่มหรือลงกลอน เช่น ธรณีประตูโบสถ์, ปัจจุบัน
เรียกไม้กรอบล่างประตูว่า ธรณีประตู.
【 ธรณีมณฑล 】แปลว่า: น. ลูกโลก. (ส.).
【 ธรณีร้องไห้ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง, ธรณีกันแสง หรือ พสุธากันแสง ก็ว่า.
【 ธรณีวิทยา 】แปลว่า: น. วิชาว่าด้วยความรู้เกี่ยวกับประวัติ โครงสร้าง และสภาพของโลก.
【 ธรณีศวร 】แปลว่า: น. ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน, พระเจ้าแผ่นดิน. (ส. ธรณี + อิศฺวร).
【 ธรณีสงฆ์ 】แปลว่า: น. ที่ซึ่งเป็นสมบัติของวัด.
【 ธรณีสาร ๑ 】แปลว่า: น. เสนียดจัญไร, เรียกคนที่มีลักษณะซึมเซาง่วงเหงาหาวนอน
อยู่เสมอว่า คนต้องธรณีสาร.
【 ธรณีสูบ 】แปลว่า: ก. อาการที่แผ่นดินแยกออกทำให้คนที่ทำบาปกรรมอย่างยิ่งตกลง
หายไป แล้วแผ่นดินก็กลับเป็นอย่างเดิม เป็นความเชื่อทางพระพุทธ-
ศาสนาว่า ธรรมชาติจะลงโทษคนที่ทำบาปหนักนั้นเอง โดยผู้อื่น
ไม่ต้องลงโทษ.
【 ธรณีสาร ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ธรณี./
【 ธรณีสาร ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด /Phyllanthus pulcher /Wall. ex Muell. Arg.
ในวงศ์ Euphorbiaceae ลําต้นตรง ใช้ทํายาได้, ว่านธรณีสาร ก็เรียก.
【 ธรมาน 】แปลว่า: ทอระมาน ว. ยังดํารงชีวิตอยู่. (ป.).
【 ธรรม ๑, ธรรม, ธรรมะ 】แปลว่า: [ทํา, ทํามะ] น. คุณความดี เช่น เป็นคนมีธรรมะ เป็นคนมีศีลมีธรรม;
คําสั่งสอนในศาสนา เช่น แสดงธรรม ฟังธรรม ธรรมะของพระพุทธเจ้า;
หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา เช่น ปฏิบัติธรรม ประพฤติธรรม; ความ
ความจริง เช่น ได้ดวงตาเห็นธรรม; ความยุติธรรม, ความถูกต้อง, เช่น
เป็นธรรมในสังคม; กฎ, กฎเกณฑ์, เช่น ธรรมะแห่งหมู่คณะ; กฎหมาย
เช่น ธรรมะระหว่างประเทศ; สิ่งทั้งหลาย, สิ่งของ, เช่น เครื่องไทยธรรม.
(ส. ธรฺม; ป. ธมฺม).
【 ธรรมกถา 】แปลว่า: น. การกล่าวธรรม, ถ้อยคําที่เป็นธรรม. (ส.; ป. ธมฺมกถา).
【 ธรรมกถึก 】แปลว่า: น. เรียกพระที่เป็นนักเทศน์ผู้แสดงธรรมว่า พระธรรมกถึก.
(ป. ธมฺมกถิก).
【 ธรรมกาม 】แปลว่า: น. ผู้ใคร่ธรรม, ผู้นิยมในยุติธรรม. (ส.; ป. ธมฺมกาม).
【 ธรรมกาย 】แปลว่า: น. กายคือธรรม ได้แก่ พระมหากรุณาธิคุณ พระปัญญาธิคุณและ
พระบริสุทธิคุณ; พระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้า ตามคติมหายาน
เชื่อว่า ได้แก่พระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้า. (ส.; ป. ธมฺมกาย).
【 ธรรมการ 】แปลว่า: น. กิจการทางศาสนา.
【 ธรรมการย์ 】แปลว่า: น. กิจอันเป็นธรรม, การกุศล, หน้าที่อันสมควร.
【 ธรรมเกษตร 】แปลว่า: น. แดนธรรม; คนมีใจกรุณา. (ส.).
【 ธรรมขันธ์ 】แปลว่า: น. หมวดธรรม, กองธรรม, ข้อธรรม, (กําหนดข้อธรรมในพระไตรปิฎก
ว่ามี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์). (ส. ธรฺม + ป. ขนฺธ).
【 ธรรมคุณ 】แปลว่า: น. ชื่อบทแสดงคุณของพระธรรม มีบาลีขึ้นต้นว่า สฺวากฺขาโตและ
ลงท้ายว่า ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ. (ส.; ป. ธมฺมคุณ).
【 ธรรมจรณะ, ธรรมจรรยา 】แปลว่า: น. การประพฤติถูกธรรม. (ส.).
【 ธรรมจริยา 】แปลว่า: น. การประพฤติเป็นธรรม, การประพฤติถูกธรรม. (ส. ธรฺม + ป. จริยา).
【 ธรรมจักร 】แปลว่า: น. ชื่อปฐมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระเบญจวัคคีย์ เรียกเต็ม
ว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร; แดนธรรม; เครื่องหมายทางพระพุทธศาสนา
เป็นรูปวงล้อมี ๘ ซี่บ้าง ๑๒ ซี่บ้าง. (ส.).
【 ธรรมจักษุ 】แปลว่า: น. ดวงตาคือปัญญาที่รู้เห็นธรรม. (ส.).
【 ธรรมจาคะ 】แปลว่า: น. การละธรรม, การละเมิดศาสนา, การทิ้งศาสนา. (ส. ธรฺม + ป. จาค).
【 ธรรมจารี 】แปลว่า: น. ผู้ประพฤติธรรม. (ป. ธมฺมจารี; ส. ธรฺมจารินฺ).
【 ธรรมจินดา 】แปลว่า: น. การพิจารณาธรรม.
【 ธรรมเจดีย์ 】แปลว่า: น. เจดีย์ที่บรรจุพระธรรมที่มักจารลงบนใบลาน, คัมภีร์ที่จารึกพระธรรม
เช่น พระไตรปิฎก.
【 ธรรมชาติ 】แปลว่า: น. สิ่งที่เกิดมีและเป็นอยู่ตามธรรมดาของสิ่งนั้น ๆ, ภาพภูมิประเทศ.
ว. ที่เป็นไปเองโดยมิได้ปรุงแต่ง เช่น สีธรรมชาติ.
【 ธรรมฐิติ 】แปลว่า: น. การตั้งอยู่แห่งสิ่งที่เป็นเอง. (ป. ธมฺม??ติ).
【 ธรรมดา 】แปลว่า: น. อาการหรือความเป็นไปแห่งธรรมชาติ เช่น การกิน การถ่ายเท
การสืบพันธุ์ และการเสื่อมสลาย. ว. สามัญ, พื้น ๆ, ปรกติ, เช่น
เป็นเรื่องธรรมดา. (ส. ธรฺมตา; ป. ธมฺมตา).
【 ธรรมทรรศนะ 】แปลว่า: น. ความเห็นชัดเจนในธรรม. (ส.).
【 ธรรมธาดา 】แปลว่า: น. ผู้ทรงธรรม เช่น สมเด็จพระบรมธรรมธาดามหาสัตว์. (ม. ร่ายยาว
วนปเวสน์).
【 ธรรมธาตุ 】แปลว่า: น. ธรรมารมณ์. (ส.; ป. ธมฺมธาตุ).
【 ธรรมนาถ 】แปลว่า: น. ผู้รักษากฎหมาย. (ส.).
【 ธรรมนิตย์ 】แปลว่า: น. ผู้เที่ยงธรรม. (ส.).
【 ธรรมนิยม 】แปลว่า: น. ความประพฤติที่มีธรรมเป็นที่ตั้ง.
【 ธรรมนิยาม 】แปลว่า: น. ความแน่นอนแห่งธรรมดา คือ พระไตรลักษณ์. (ส.; ป. ธมฺมนิยาม).
【 ธรรมนิเวศ 】แปลว่า: น. การเข้าประพฤติธรรม, การเข้าศาสนา.
【 ธรรมนูญ 】แปลว่า: (กฎ) น. กฎหมายที่จัดระเบียบองค์กร เช่น ธรรมนูญศาลทหาร
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม.
【 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร 】แปลว่า: (กฎ) น. กฎหมายที่จัดระเบียบการปกครองประเทศในระหว่าง
ที่ยังไม่มีรัฐธรรมนูญ.
【 ธรรมเนียม 】แปลว่า: [ทํา–] น. ประเพณี, แบบแผน, แบบอย่าง.
【 ธรรมเนียมประเพณี 】แปลว่า: น. ประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาสามัญ ถ้าฝ่าฝืนก็ไม่ถือว่าผิดหรือชั่ว.
【 ธรรมบท 】แปลว่า: น. ข้อแห่งธรรม, ชื่อคาถาบาลีคัมภีร์หนึ่งในขุทกนิกาย.
【 ธรรมบาล 】แปลว่า: น. ผู้รักษาธรรม, ผู้ป้องกันพระศาสนา. (ส.; ป. ธมฺมปาล).
【 ธรรมบิฐ 】แปลว่า: น. ธรรมาสน์. (ป. ธมฺม + ปี?).
【 ธรรมปฏิรูป, ธรรมประติรูป 】แปลว่า: น. ธรรมเทียม, สิ่งที่ไม่ใช่ธรรมแท้.
【 ธรรมปฏิสัมภิทา 】แปลว่า: น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึงปัญญาอันแตกฉาน
ในธรรม คือ ความเข้าใจสาวหาเหตุในหนหลัง, ความเข้าใจถือเอาใจความ
แห่งอธิบายนั้น ๆ ตั้งเป็นกระทู้หรือหัวข้อขึ้นได้. (ป.).
【 ธรรมยุต 】แปลว่า: น. ชื่อพระสงฆ์นิกายหนึ่ง, คู่กับมหานิกาย, ธรรมยุติกนิกาย ก็เรียก.
【 ธรรมยุทธ์ 】แปลว่า: น. การรบกันในทางธรรม คือ รบกันในทางแข่งขันสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ถ้าใครสร้างได้แล้วก่อนก็ชนะ. (ส.).
【 ธรรมรัตน์ 】แปลว่า: น. แก้วคือธรรม. (ส.; ป. ธมฺมรตน).
【 ธรรมราชา 】แปลว่า: น. พระราชาแห่งธรรม คือ พระพุทธเจ้า, พระราชาผู้ทรงธรรม, พญายม.
【 ธรรมวัตร 】แปลว่า: น. ลักษณะเทศน์ทํานองธรรมดาอย่างหนึ่งที่แสดงอยู่ทั่วไปไม่ใช่
ทํานองแบบเทศน์มหาชาติ.
【 ธรรมศาสตร์ 】แปลว่า: (โบ) น. ความรู้เกี่ยวกับวิชากฎหมายโดยทั่วไป; คัมภีร์กฎหมายเก่า
ของอินเดีย, คัมภีร์อันเป็นต้นกําเนิดแห่งกฎหมาย, พระธรรมศาสตร์
ก็เรียก.
【 ธรรมสถิติ 】แปลว่า: น. ความตั้งอยู่โดยธรรมดา, ความตั้งอยู่แห่งกฎ, ความตั้งอยู่แห่ง
ยุติธรรม. (ส.; ป. ธมฺม??ติ).
【 ธรรมสภา 】แปลว่า: น. ที่ประชุมฟังธรรม. (ส.; ป. ธมฺมสภา).
【 ธรรมสรีระ 】แปลว่า: น. ร่างหรือที่บรรจุธรรม, เจดีย์ศักดิ์สิทธิ์.
【 ธรรมสังคีติ 】แปลว่า: น. การสังคายนาธรรม, การร้อยกรองธรรม. (ส. ธรฺม + สํคีติ;
ป. ธมฺมสงฺคีติ).
【 ธรรมสังเวช 】แปลว่า: น. ความสังเวชโดยธรรม เมื่อเห็นความแตกดับของสังขาร (เป็น
อารมณ์ของพระอรหันต์). (ป. ธมฺมสํเวค).
【 ธรรมสากัจฉา 】แปลว่า: น. การสนทนาธรรม. (ป. ธมฺมสากจฺฉา).
【 ธรรมสามิสร 】แปลว่า: [สามิด] น. ผู้เป็นใหญ่ด้วยความเป็นเจ้าของธรรม, พระพุทธเจ้า.
【 ธรรมสามี 】แปลว่า: น. ผู้เป็นเจ้าของธรรม, พระพุทธเจ้า. (ป. ธมฺมสามิ).
【 ธรรมสาร 】แปลว่า: น. สาระแห่งธรรม, แก่นธรรม.
【 ธรรมะธัมโม 】แปลว่า: ว. เรียกคนที่เคร่งครัดในศาสนาว่า คนธรรมะธัมโม.
【 ธรรมันเตวาสิก 】แปลว่า: [ทํามัน] น. อันเตวาสิก (ศิษย์) ผู้เรียนธรรมวินัย. (ส.; ป.
ธมฺมนฺเตวาสิก).
【 ธรรมาทิตย์ 】แปลว่า: [ทํามา] น. อาทิตย์แห่งธรรม คือพระพุทธเจ้า. (ส.).
【 ธรรมาธรรม 】แปลว่า: [ทํามา] น. ธรรมและอธรรม, ความถูกและความผิด, ยุติธรรม
และอยุติธรรม. (ส.; ป. ธมฺมาธมฺม).
【 ธรรมาธิปไตย 】แปลว่า: [ทํามาทิปะไต, ทํามาทิบปะไต] น. การถือธรรมเป็นใหญ่, การถือ
ความถูกต้องเป็นหลัก. (ป. ธมฺมาธิปเตยฺย; ส. ธรฺมาธิปตฺย).
【 ธรรมาธิษฐาน 】แปลว่า: [ทํามาทิดถาน, ทำมาทิดสะถาน] ว. มีธรรมเป็นที่ตั้ง ที่ยกหลักธรรม
หรือสิ่งที่เป็นนามธรรมล้วน ๆ ขึ้นมาอ้างหรืออธิบาย. (ส.; ป. ธมฺมาธิฏฺ?าน).
【 ธรรมานุธรรมปฏิบัติ 】แปลว่า: [ทํามา] น. การประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม, การประพฤติความดี
สมควรแก่ฐานะ.
【 ธรรมานุสาร 】แปลว่า: [ทํามา] น. ความถูกตามธรรม, ทางหรือวิธีแห่งความยุติธรรม,
ความระลึกตามธรรม. (ส.; ป. ธมฺมานุสาร).
【 ธรรมาภิมุข 】แปลว่า: [ทํามา] ว. หันหน้าเฉพาะธรรม, มุ่งแต่ยุติธรรม. (ส.; ป. ธมฺมาภิมุข).
【 ธรรมาภิสมัย 】แปลว่า: [ทํามา] น. การตรัสรู้ธรรม, การสําเร็จมรรคผล. (ส.; ป. ธมฺมาภิสมย).
【 ธรรมายตนะ 】แปลว่า: [ทํามายะตะนะ] น. แดนคือธรรมารมณ์, แดนแห่งมนัสคือใจได้แก่
อารมณ์ที่ใจรู้ หรือเรื่องที่ใจรู้. (ป. ธมฺมายตน).
【 ธรรมารมณ์ 】แปลว่า: [ทํามา] น. อารมณ์ที่ใจรู้, อารมณ์ที่เกิดทางใจ. (ป. ธมฺมารมฺมณ).
【 ธรรมาสน์ 】แปลว่า: [ทํามาด] น. ที่สําหรับพระภิกษุสามเณรนั่งแสดงธรรม. (ส.).
【 ธรรมิก, ธรรมิก 】แปลว่า: [ทํามิก, ทํามิกกะ] ว. ประกอบในธรรม, ประพฤติเป็นธรรม, ทรงธรรม,
เช่น ธรรมิกราช สหธรรมิก. (ส.; ป. ธมฺมิก).
【 ธรรม ๒ 】แปลว่า: คําประกอบท้ายคําที่เป็นนามธรรม เมื่อประกอบแล้วมีความหมาย
ไม่ต่างไปจากคําศัพท์เดิม เช่น วัฒนธรรม อารยธรรม.
【 ธรรม ๓ 】แปลว่า: น. สมณศักดิ์พระราชาคณะ สูงกว่าชั้นเทพ ตํ่ากว่าชั้นหิรัญบัฏ เรียกว่า
ชั้นธรรม เช่น พระธรรมโกศาจารย์ พระธรรมเจดีย์.
【 ธรรมันเตวาสิก 】แปลว่า: /ดู ธรรม ๑, ธรรม, ธรรมะ./
【 ธรรมาทิตย์ 】แปลว่า: /ดู ธรรม ๑, ธรรม, ธรรมะ./
【 ธรรมาธรรม 】แปลว่า: /ดู ธรรม ๑, ธรรม, ธรรมะ./
【 ธรรมาธิปไตย 】แปลว่า: /ดู ธรรม ๑, ธรรม, ธรรมะ./
【 ธรรมาธิษฐาน 】แปลว่า: /ดู ธรรม ๑, ธรรม, ธรรมะ./
【 ธรรมานุธรรมปฏิบัติ 】แปลว่า: /ดู ธรรม ๑, ธรรม, ธรรมะ./
【 ธรรมานุสาร 】แปลว่า: /ดู ธรรม ๑, ธรรม, ธรรมะ./
【 ธรรมาภิมุข 】แปลว่า: /ดู ธรรม ๑, ธรรม, ธรรมะ./
【 ธรรมาภิสมัย 】แปลว่า: /ดู ธรรม ๑, ธรรม, ธรรมะ./
【 ธรรมายตนะ 】แปลว่า: /ดู ธรรม ๑, ธรรม, ธรรมะ./
【 ธรรมารมณ์ 】แปลว่า: /ดู ธรรม ๑, ธรรม, ธรรมะ./
【 ธรรมาสน์ 】แปลว่า: /ดู ธรรม ๑, ธรรม, ธรรมะ./
【 ธรรมิก, ธรรมิก- 】แปลว่า: /ดู ธรรม ๑, ธรรม, ธรรมะ./
【 ธรา 】แปลว่า: ทะรา น. แผ่นดิน. (ป., ส.).
【 ธราดล 】แปลว่า: น. พื้นแผ่นดิน. (ป.).
【 ธราธร, ธราธาร 】แปลว่า: น. ผู้ทรงโลกไว้ คือ พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์. (ส.).
【 ธราธิบดี, ธราธิป 】แปลว่า: น. พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.).
【 ธริษตรี, ธเรษตรี 】แปลว่า: [ทะริดตฺรี, ทะเรดตฺรี] (แบบ; กลอน) น. โลก, แผ่นดิน, เช่น ผู้ทรงจักรคทา
ธริษตรี. (สมุทรโฆษ). (ส. ธริตฺรี).
【 ธเรษตรีศวร 】แปลว่า: [ทะเรดตฺรีสวน] (แบบ; กลอน) น. ผู้เป็นใหญ่ในโลก เช่น สายัณห์
หวั่นสวาทไท้ธเรศตรี ศวรแฮ. (ตะเลงพ่าย).
【 ธเรศ 】แปลว่า: [ทะเรด] น. ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน, พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.).
【 ธวัช 】แปลว่า: [ทะวัด] น. ธง. (ส. ธฺวช).
【 ธังกะ 】แปลว่า: (แบบ) น. กา, เหยี่ยว. (ป.).
【 ธัช 】แปลว่า: ทัด น. ธง. (ป. ธช).
【 ธัญ ๑ 】แปลว่า: ทัน ว. รุ่งเรือง, มั่งมี, มีโชค, ดี, เลิศ, เช่น ธัญลักษณ์ ว่า มี
ลักษณะดี. (ป. ธญฺ?; ส. ธนฺย).
【 ธัญ ๒, ธัญญ 】แปลว่า: [ทัน, ทันยะ] น. ข้าวเปลือก. (ป. ธญฺ?; ส. ธานฺย).
【 ธัญโกศ 】แปลว่า: น. ฉางข้าว, ยุ้งข้าว. (ป. ธญฺ? + ส. โกศ).
【 ธัญเขต 】แปลว่า: น. นา. (ป. ธ?ฺ?เขตฺต; ส. ธานฺยเกฺษตฺร).
【 ธัญชาติ 】แปลว่า: น. คํารวมเรียกข้าวต่าง ๆ เช่น ข้าวเปลือก ข้าวสาลี, ในคัมภีร์
อภิธานัปปทีปิกาว่ามี ๗ อย่าง คือ ๑. ข้าวไม่มีแกลบ ๒. ข้าวเปลือก
๓. หญ้ากับแก้ ๔. ข้าวละมาน ๕. ลูกเดือย ๖. ข้าวแดง ๗. ข้าวฟ่าง.
【 ธัญญาหาร 】แปลว่า: น. อาหารคือข้าว. (ป.).
【 ธัญดัจ 】แปลว่า: น. เปลือกข้าว, แกลบ. (ป. ธญฺ?ตจ; ส. ธานฺยตฺวจ).
【 ธัญเบญจก 】แปลว่า: [ทันยะเบนจก] น. ธัญชาติทั้ง ๕ ได้แก่ ๑. ศาลิ ข้าวสาลี ๒. วฺรีหิ
ข้าวเปลือก ๓. ศูก ลูกเดือย ๔. ศิมฺพี ถั่ว ๕. กฺษุทฺร ข้าวกษุทร.
(ป. ปญฺจก).
【 ธัญพืช 】แปลว่า: น. พืชข้าวกล้า; พืชล้มลุกหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Gramineae
เช่น ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด ให้เมล็ดเป็นอาหารหลัก. (ป. ธญฺ?พีช;
ส. ธานฺยวีช).
【 ธัญมาส 】แปลว่า: (โบ) น. มาตราตวง เท่ากับ ๗ อูกา. (ป.).
【 ธัญญาหาร 】แปลว่า: /ดู ธัญ ๒, ธัญ./
【 ธันยา 】แปลว่า: ทันยา น. นางพี่เลี้ยง. (ส.).
【 ธันยาวาท 】แปลว่า: [ทันยาวาด] น. การทําพิธีบูชาขอบคุณเทพผู้ให้ความสมบูรณ์พูนผล. (ส.).
【 ธันวาคม 】แปลว่า: น. ชื่อเดือนที่ ๑๒ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนมกราคม มี ๓๑ วัน; (เลิก )
ชื่อเดือนที่ ๙ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน. (ส. ธนุ + อาคม =
เดือนที่อาทิตย์มาสู่ราศีธนู).
【 ธัมมะ 】แปลว่า: (แบบ) น. ธรรม. (ป.; ส. ธรฺม).
【 ธาดา 】แปลว่า: น. ผู้สร้าง, ผู้ทรงไว้, พระพรหมผู้สร้างตามหลักศาสนาพราหมณ์. (ป.).
【 ธาตรี 】แปลว่า: ทาตฺรี น. แผ่นดิน, โลก, ในบทกลอนใช้ว่า ธาษตรี ก็มี. (ส.).
【 ธาตวากร 】แปลว่า: ทาตะวากอน น. บ่อแร่. (ส.).
【 ธาตุ ๑, ธาตุ- 】แปลว่า: [ทาด, ทาตุ, ทาดตุ] น. สิ่งที่ถือว่าเป็นส่วนสําคัญที่คุมกันเป็นร่างของ
สิ่งทั้งหลาย โดยทั่ว ๆ ไปเชื่อว่ามี ๔ ธาตุ ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุนํ้า ธาตุไฟ
ธาตุลม แต่ก็อาจมีธาตุอื่น ๆ อีก เช่น อากาศธาตุวิญญาณธาตุ ธาตุไม้
ธาตุทอง ธาตุเหล็ก. (ป.).
【 ธาตุโขภ 】แปลว่า: [ทาตุโขบ] น. ความกําเริบของธาตุ ได้แก่ธาตุทั้ง ๔ ในร่างกายไม่ปรกติ
มีอาหารเสีย เป็นต้น. (ป.).
【 ธาตุเบา 】แปลว่า: [ทาด] ว. ที่กินยาระบายอ่อน ๆ ก็ถ่าย.
【 ธาตุหนัก 】แปลว่า: [ทาด] ว. ที่ต้องกินยาถ่ายมาก ๆ จึงจะถ่าย.
【 ธาตุ ๒ 】แปลว่า: [ทาด, ทาตุ] น. กระดูกของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และ
พระอรหันต์ โดยทั่ว ๆ ไปเรียกรวม ๆ ว่า พระธาตุ, ถ้าเป็นกระดูก
ของพระพุทธเจ้า เรียก พระบรมธาตุ หรือ พระบรมสารีริกธาตุ, ถ้า
เป็นกระดูกของพระอรหันต์ เรียกว่า พระธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกส่วนใด
ส่วนหนึ่งของพระพุทธเจ้า ก็เรียกตามความหมายของคํานั้น ๆ เช่น
พระอุรังคธาตุ พระทันตธาตุ, ถ้าเป็นผมของพระพุทธเจ้า เรียกว่า
พระเกศธาตุ; ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาซึ่งว่าด้วยธาตุ เช่น ธาตุกถา
ธาตุปาฐ. (ป., ส.); (ถิ่นอีสาน) เจดีย์ที่บรรจุกระดูกคนที่เผาแล้ว.
【 ธาตุครรภ 】แปลว่า: [ทาตุคับ] น. ส่วนสําคัญของพระสถูปหรือพระปรางค์ที่บรรจุพระบรม
สารีริกธาตุหรือพระธาตุไว้ภายใน, ครรภธาตุ หรือ เรือนธาตุ ก็ว่า.
【 ธาตุเจดีย์ 】แปลว่า: [ทาด] น. เจดีย์บรรจุพระธาตุ.
【 ธาตุสถูป 】แปลว่า: [ทาดสะถูบ] น. ธาตุเจดีย์.
【 ธาตุ ๓ 】แปลว่า: ทาด น. สารเนื้อเดียวล้วนซึ่งประกอบด้วยบรรดาอะตอมที่มี
โปรตอนจํานวนเดียวกันในนิวเคลียส.
【 ธาตุ ๔ 】แปลว่า: [ทาด] น. รากศัพท์ของคําบาลีสันสกฤตเป็นต้น เช่น ธาตุ มาจาก ธา
ธาตุ สาวก มาจาก สุ ธาตุ กริยา มาจาก กฺฤ ธาตุ.
【 ธาตุมมิสสา 】แปลว่า: [ทาตุมมิดสา] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กําหนดด้วย ๓ คณะ คือ ม ภ ต คณะ
กับลงท้ายเป็นครุอีก ๒ พยางค์ (ตามแบบว่า ธาตุมฺมิสฺสา ยติ สา มฺภา ตคา
โค) ตัวอย่างว่า จักสําแดงมิตร สุจริตจิตนามขนาน บัญญัติคือสมาน สุขทุข
เสมอประดุจกัน. (ชุมนุมตํารากลอน).
【 ธานิน 】แปลว่า: (กลอน) น. เมือง.
ธานินทร์ (กลอน) น. เมือง, เมืองใหญ่.
【 ธานี 】แปลว่า: น. เมือง. (ป., ส.).
【 ธาร ๑ 】แปลว่า: [ทาน] น. การทรงไว้, การรับไว้, การหนุน, มักใช้เป็นบทหลังสมาส เช่น
จุฑาธาร. (ป., ส.).
【 ธารพระกร 】แปลว่า: กอน น. ไม้เท้า.
【 ธารยักษ์ 】แปลว่า: น. ชื่อโรคลมอย่างหนึ่ง.
【 ธาร ๒ 】แปลว่า: [ทาน] น. นํ้า, ลําธาร, ห้วย, หยาดนํ้า, ท่อนํ้า. (ตัดมาจาก ธารา).
【 ธารกำนัล, ธารคำนัล 】แปลว่า: [ทาระกํานัน, คํานัน] น. ที่ชุมนุมชน, คนจํานวนมาก, เช่น
【 ต่อหน้าธารกํานัล, 】แปลว่า:
โบราณเขียนเป็น ทารกํานัน ก็มี.
【 ธารณะ ๑ 】แปลว่า: ทาระนะ น. การทรงไว้. (ป., ส.).
【 ธารณะ ๒ 】แปลว่า: [ทาระนะ] ว. ทั่วไป, ไม่เลือกหน้า. น. การตักบาตรที่ไม่เฉพาะเจาะจง
เรียกว่า ธารณะ. (ตัดมาจากคํา สาธารณะ).
【 ธารณา 】แปลว่า: ทาระนา น. การทรงไว้. (ส.).
【 ธารณามัย 】แปลว่า: (แบบ) ว. ซึ่งสําเร็จด้วยความทรงจํา. (ส.).
【 ธารา ๑ 】แปลว่า: น. สายนํ้า, ลําธาร, ห้วย, หยาดนํ้า, ท่อนํ้า. (ป., ส.).
【 ธาราเคหะ 】แปลว่า: น. ห้องอาบนํ้าที่มีฝักบัว. (ป.; ส. ธาราคฺฤห).
【 ธาราธิคุณ 】แปลว่า: น. เกณฑ์นํ้าฝนซึ่งมากที่สุด (ของแต่ละปี).
【 ธารายนต์ 】แปลว่า: น. นํ้าพุ. (ป.).
【 ธารา ๒ 】แปลว่า: (แบบ) น. ชาย, ขอบ, คม (มีด). (ส.).
【 ธาษตรี 】แปลว่า: ทาดตฺรี น. แผ่นดิน, โลก. (ส. ธาตฺรี).
【 ธำมรงค์ 】แปลว่า: ทํามะรง น. แหวน. (เทียบ ข. ทํรง่).
【 ธำรง 】แปลว่า: ก. ทรงไว้, ชูไว้.
【 ธิดา 】แปลว่า: น. ลูกหญิง. (ป., ส. ธีตา).
【 ธิติ 】แปลว่า: (แบบ) น. ความทรงไว้, ความมั่นคง, ปัญญา. (ป.).
【 ธีร, ธีระ 】แปลว่า: [ทีระ] น. นักปราชญ์. ว. ฉลาด, ไหวพริบ, มีปัญญา, ชํานาญ. (ป.);
มั่นคง, แข็งแรง. (ส.).
【 ธีรภาพ 】แปลว่า: น. ความมั่นคง, ความแน่นหนา. (ส.).
【 ธีรราช 】แปลว่า: น. กษัตริย์ผู้เป็นปราชญ์.
【 ธุช 】แปลว่า: [ทุด] น. ธง. (แผลงจาก ธช).
【 ธุดงคญ, ธุดงค์ 】แปลว่า: น. องค์คุณเครื่องกําจัดกิเลส, ชื่อวัตรปฏิบัติอย่างเคร่งครัดของภิกษุ
มี ๑๓ อย่าง เช่น การอยู่ในป่า การอยู่โคนไม้. (ป. ธูตงฺค).
【 ธุดงควัตร 】แปลว่า: [ทุดงคะวัด] น. กิจอันภิกษุผู้ถือธุดงค์ควรทํา.
【 ธุดงคสมาทาน 】แปลว่า: [ทุดงคะสะมาทาน] น. การถือธุดงค์.
【 ธุต, ธุตตะ 】แปลว่า: ทุด, ทุด น. นักเลง. (ป. ธุตฺต).
【 ธุม, ธุม- 】แปลว่า: ทุม, ทุมะ น. ควัน. (ป., ส. ธูม).
【 ธุมเกตุ 】แปลว่า: [ทุมะเกด] น. ไฟ, ดาวหาง, ดาวตก, สิ่งที่เป็นหมอกเป็นควันเกิดขึ้น
ในอากาศผิดธรรมดา มีรูปคล้ายธงเป็นต้น. (ป., ส. ธูมเกตุ).
【 ธุมชาล 】แปลว่า: [ทุมะชาน] น. ควันพลุ่งขึ้น. (ป., ส. ธูมชาล).
【 ธุมเพลิง 】แปลว่า: [ทุมเพฺลิง] น. แสงสว่างที่เกิดขึ้นในอากาศผิดธรรมดา.
【 ธุมา 】แปลว่า: (กลอน) น. ควัน.
【 ธุมา 】แปลว่า: /ดู ธุม, ธุม./
【 ธุร-, ธุระ 】แปลว่า: [ทุระ] น. หน้าที่การงานที่พึงกระทํา, กิจในพระศาสนา มี ๒ อย่าง
คือ การเล่าเรียน เรียกว่า คันถธุระ และ การปฏิบัติทางใจ เรียกว่า
วิปัสสนาธุระ;(ปาก) เรื่องส่วนตัว เช่น ไม่ใช่ธุระของคุณ. (ป., ส.).
【 ธุรการ 】แปลว่า: น. การจัดกิจการงานโดยส่วนรวมของแต่ละหน่วย ซึ่งมิใช่งานวิชาการ.
【 ธุรกิจ 】แปลว่า: น. การงานประจําเกี่ยวกับอาชีพค้าขาย หรือกิจการอย่างอื่นที่สําคัญ
และที่ไม่ใช่ราชการ; (กฎ) การประกอบกิจการในทางเกษตรกรรม
อุตสาหกรรม หัตถกรรม พาณิชยกรรมการบริการ หรือกิจการอย่างอื่น
เป็นการค้า.
【 ธุรำ 】แปลว่า: น. สายเครื่องหมายวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ และแพศย์ สวมจากซ้าย
ไปขวา เรียกว่า สายธุรํา, ธุหรํ่ายัชโญปวีต หรือ สายมงคล ก็เรียก.
【 ธุลี 】แปลว่า: น. ละออง, ฝุ่น. (ป., ส. ธูลิ).
【 ธุว- 】แปลว่า: ทุวะ ว. มั่น, เที่ยง. (ป.).
【 ธุวดารา 】แปลว่า: น. ดาวเหนือ.
【 ธุวภาค 】แปลว่า: น. เส้นแวงอันไม่เปลี่ยนที่แห่งดาวซึ่งประจําที่อยู่.
【 ธุวมณฑล 】แปลว่า: น. แถบขั้วโลก.
【 ธุวยัษฎี 】แปลว่า: น. เพลา (หรือเส้น) แห่งขั้วโลกทั้ง ๒. (ส. ธฺรุวยษฺฏี).
【 ธูป, ธูป- 】แปลว่า: [ทูบ, ทูปะ] น. เครื่องหอมชนิดหนึ่งมีแกนทําด้วยก้านไม้ไผ่เล็ก ๆ เป็นต้น
ย้อมสีแดง พอกด้วยผงไม้หอม, มักใช้จุดคู่กับเทียน, ลักษณนามว่า ดอก.
(ป., ส.).
【 ธูปบาตร 】แปลว่า: [ทูปะบาด] น. ภาชนะสําหรับเผาเครื่องหอมบูชา. (ส. ธูปปาตฺร).
【 ธูปแพเทียนแพ 】แปลว่า: น. ธูปไม้ระกํากับเทียน ๔ คู่ วางเรียงกันเป็นแพ แล้วคาดด้วยริบบิ้นสี
ใช้เป็นเครื่องแสดงความเคารพอย่างสูง.
【 ธูปไม้ระกำ 】แปลว่า: น. ธูปที่ใช้ไม้ระกําเป็นแกน.
【 ธูปฤๅษี 】แปลว่า: /ดู กกช้าง./
【 เธนุ 】แปลว่า: (แบบ) น. แม่โคนม. (ป., ส.).
【 เธอ 】แปลว่า: ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย มักใช้ในระหว่างเพื่อนผู้หญิงด้วยกัน หรือ
ใช้กับผู้มีศักดิ์ตํ่ากว่า เช่นครูพูดกับศิษย์, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, คํา
ใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับผู้มีศักดิ์ตํ่ากว่าด้วยความยกย่องหรือเอ็นดู
เป็นต้น, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
【 เธียร 】แปลว่า: น. นักปราชญ์. ว. ฉลาด, มั่นคง. (ป. ธีร).
【 โธ่ 】แปลว่า: อ. คําที่เปล่งออกมาด้วยความสงสารหรือรําคาญใจเป็นต้น. (ตัดมาจาก
พุทโธ่).
【 โธวนะ 】แปลว่า: โทวะนะ น. การชําระล้าง, การซักฟอก. (ป.; ส. ธาวน).

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

error: Content is protected !!