พจนานุกรม ไทย – ไทย น

【 น ๑ 】แปลว่า: พยัญชนะตัวที่ ๒๕ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน.
【 น ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อคณะฉันท์ มีลหุล้วน เรียกว่า น คณะ, ย่อจากคําว่า นภ (ฟ้า).
【 นก ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์มีกระดูกสันหลังเลือดอุ่น มี ๒ เท้า ๒ ปีก และมีขนปกคลุม
ร่างกาย ออกลูกเป็นไข่ก่อนแล้วจึงฟักเป็นตัว.
【 นกกระจอก ๑ 】แปลว่า: น. ดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง จุดแล้วจะพุ่งออกจากรังไปได้ไกล เรียกเต็มว่า
นกกระจอกออกจากรัง; ชื่อไพ่จีนชนิดหนึ่งมี ๑๑๔ ตัว; เรียกปากที่มี
แผลเปื่อยที่มุมปากว่า ปากนกกระจอก.
【 นกกระจอกทอง 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. (บทดอกสร้อย).
【 นกกะปูด 】แปลว่า: (ปาก) น. คนที่ทนเก็บความลับไว้ไม่ได้, คนที่ชอบพูดเปิดเผยความลับ
ของผู้อื่น.
【 นกกางปีก 】แปลว่า: น. กลอักษรชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า แสนรักร้อน (ร้อนรัก) หนักอก
เอ๋ยฉันใดจะได้ชมชิด (ชิดชม) เชย ไม่ลืมเลย (เลยลืม) ปลื้มอาลัย.
【 นกเขา ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อเหยี่ยวในวงศ์ Accipitridae สีเทานํ้าตาลมีลายตลอดตัว อกสี
นํ้าตาลลายกระขาว มักเกาะซ่อนตัวบนต้นไม้เพื่อคอยโฉบล่าเหยื่อ
อยู่ตามลําพัง มีหลายชนิด เช่น เหยี่ยวนกเขาหงอน (/Accipiter trivirgatus/)
เหยี่ยวนกเขาชิครา (/A. badius/A. gularis/)./
【 นกจาก 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. (เงาะป่า; ดึกดําบรรพ์).
【 นกต่อ 】แปลว่า: (สํา) น. คนที่ทําหน้าที่ติดต่อหรือชักจูงหลอกล่อคนอื่นให้หลงเชื่อ
(ใช้ในทางไม่ดี).
【 นกยูง 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อนุราธา มี ๔ ดวง, ดาวประจําฉัตร ดาวอนุราธ
หรือ ดาวอนุราธะ ก็เรียก.
【 นกรู้ 】แปลว่า: (สํา) น. ผู้ที่มีไหวพริบรู้เท่าทันเหตุการณ์หรือภัยที่จะมาถึงตน.
【 นกสองหัว 】แปลว่า: (สํา) น. คนที่ทําตัวฝักใฝ่เข้าด้วยทั้ง ๒ ฝ่ายที่ไม่เป็นมิตรกันโดยหวัง
ประโยชน์เพื่อตน.
【 นกหก 】แปลว่า: น. นกต่าง ๆ.
【 นกหวีด 】แปลว่า: น. เครื่องสําหรับใช้เป่าให้มีเสียงดังหวีด.
【 นกอยู่ในปล่อง 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อาศเลษา มี ๕ ดวง, ดาวเรือน หรือ ดาวอสิเลสะ
ก็เรียก.
【 นก ๒ 】แปลว่า: น. เครื่องสับแก๊ปปืนให้ลั่น.
【 นกคุ่ม 】แปลว่า: น. ชื่อปืนชนิดหนึ่ง. (ตะเลงพ่าย).
【 นกกระจอก ๑ 】แปลว่า: /ดูใน นก ๑./
【 นกกระจอก ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาทะเลในสกุล/ Parexocoetus/ และ Cypselurus วงศ์ Exocoetidae
ลําตัวยาวเพรียว แต่เป็นเหลี่ยมเกือบกลม ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว
แต่เชิดขึ้นเล็กน้อย ตาโต ครีบหลังและครีบก้นอยู่ค่อนไปทางหางซึ่ง
เป็นแฉกลึกโดยแฉกล่างยาวกว่าแฉกบน ที่สําคัญคือ ครีบอกซึ่งขยาย
ใหญ่มากคล้ายปีกนกใช้ช่วยในการร่อนถลาไปเหนือผิวนํ้า ครีบบนของ
ลําตัวสีเขียว หรือนํ้าเงินหม่น ข้างท้องสีขาวเงิน อาศัยอยู่บริเวณผิวนํ้า
ห่างฝั่ง ขนาดยาวประมาณ ๓๐ เซนติเมตร, ปลาบิน ก็เรียก.
【 นกกระทุง 】แปลว่า: /ดู เหนียงนกกระทุง (๒)./
【 นกเขา ๑ 】แปลว่า: /ดูใน นก ๑./
【 นกเขา ๒ 】แปลว่า: /ดู ขี้ขม./
【 นกปล่อย 】แปลว่า: /ดูใน กินสี่ถ้วย./
【 นกุล 】แปลว่า: นะกุน น. พังพอน. (ป., ส.).
【 นข, นขะ 】แปลว่า: นะขะ น. เล็บ, เล็บมือ, เล็บเท้า. (ป., ส.).
【 นขทารณ์ 】แปลว่า: น. เหยี่ยว. (ส.).
【 นขลิขิต 】แปลว่า: น. เครื่องหมายวงเล็บ รูปดังนี้ ( ).
【 นขเลขา 】แปลว่า: น. การขีดด้วยเล็บ; การทาเล็บ. (ส.).
【 นขา 】แปลว่า: นะขา น. เล็บ.
【 นขา 】แปลว่า: /ดู นข, นขะ./
【 นค, นคะ 】แปลว่า: นะคะ น. ภูเขา. (ป., ส.).
【 นคินทร, นคินทร์ 】แปลว่า: (กลอน) น. เขาใหญ่ เช่น นคินทรราชวงกต. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
【 นเคนทร์, นเคศวร 】แปลว่า: น. เจ้าเขา, เขาหิมพานต์, เขาไกรลาส. (ส.).
【 นโคทร 】แปลว่า: น. เวิ้งเขา, หุบเขา. (ส.).
【 นคร, นคร 】แปลว่า: [นะคอน, นะคะระ] น. เมืองใหญ่, กรุง. (ป., ส.).
【 นครบาล 】แปลว่า: [นะคอนบาน] น. (เลิก) ผู้มีหน้าที่ในการปกครองนครหลวง; ชื่อทบวง
การเมืองระดับกระทรวงในสมัยก่อน คือ กระทรวงนครบาล ซึ่งมีหน้าที่
ปกครองเขตนครหลวง; เรียกตำรวจที่มีหน้าที่ระวังและระงับเหตุการณ์
ทางอาญาในกรุงเทพมหานครว่า ตำรวจนครบาล.
【 นครบาลจังหวัด 】แปลว่า: (เลิก) น. ผู้ว่าราชการจังหวัดในเขตนครหลวง.
【 นครรัฐ 】แปลว่า: [นะคอนรัด] น. เมืองที่ปกครองตนเองเป็นอิสระ. (อ. city state).
【 นครวาสี 】แปลว่า: [นะคะระ] น. ชาวนคร. (ป.).
【 นครโสภิณี, หญิงนครโสภิณี 】แปลว่า: นะคอน, หฺยิงนะคอน /ดู นครโสเภณี, หญิงนครโสเภณี.
【 /(ป.). 】แปลว่า:
【 นครโสเภณี, หญิงนครโสเภณี 】แปลว่า: [นะคอน, หฺยิงนะคอน] น. หญิงที่หาเลี้ยงชีพด้วยการค้าประเวณี,
โสเภณี หญิงโสเภณี หญิงงามเมือง หรือ หญิงหากิน ก็ว่า, (แบบ)
นครโสภิณี, หญิงนครโสภิณี.
【 นคราทร 】แปลว่า: นะคะราทอน น. ชื่อกรมมีหน้าที่ทําความสะอาดให้แก่พระนคร.
【 นครินทร์ 】แปลว่า: [นะคะ] น. จอมนคร, เจ้าเมือง, เมืองใหญ่. (ส. นคร + อินฺทฺร).
【 นคเรศ 】แปลว่า: นะคะเรด น. เมือง.
【 นคราทร 】แปลว่า: /ดู นคร, นคร./
【 นครินทร์ 】แปลว่า: /ดู นคร, นคร./
【 นคเรศ 】แปลว่า: /ดู นคร, นคร./
【 นคินทร, นคินทร์ 】แปลว่า: /ดู นค, นคะ./
【 นเคนทร์, นเคศวร 】แปลว่า: /ดู นค, นคะ./
【 นโคทร 】แปลว่า: /ดู นค, นคะ./
【 นง 】แปลว่า: น. นาง (ใช้นําหน้าคําอื่น).
【 นงคราญ 】แปลว่า: น. นางงาม, นางสาว.
【 นงนุช 】แปลว่า: น. นางน้อง.
【 นงพะงา 】แปลว่า: น. นางงาม.
【 นงพาล 】แปลว่า: น. นางรุ่นสาว, นางสาวเด็ก.
【 นงพุธ, นงโพธ 】แปลว่า: น. นางงามเมื่อแรกรุ่น.
【 นงเยาว์ 】แปลว่า: น. นางสาว.
【 นงราม 】แปลว่า: น. นางงาม.
【 นงลักษณ์ 】แปลว่า: น. นางผู้มีลักษณะดี, นางผู้มีขวัญดี.
【 นงคุฐ 】แปลว่า: (แบบ) น. หาง. (ป. นงฺคุฏฺ?).
【 นท 】แปลว่า: นด น. ผู้บันลือ, ผู้ร้อง, ผู้ลั่น; แม่นํ้า, ลํานํ้า, เช่น ชมพูนท
(แปลว่าเกิดในแม่น้ำชมพูนที คือ ทองคำบริสุทธิ์). (ป., ส.).
【 นที 】แปลว่า: นะ น. แม่นํ้า. (ป.).
【 นทีรัย 】แปลว่า: น. กระแสนํ้า. (ส.).
【 นนตรา 】แปลว่า: [นนตฺรา] น. ต้นกระถิน. (ช.).
【 นนท์, นันทน์ 】แปลว่า: (แบบ) น. ความสนุก, ความยินดี, ความรื่นเริง. (ป., ส.).
【 นนทรี ๑ 】แปลว่า: [นนซี] น. ชื่อไม้ต้นชนิด/ Peltophorum pterocarpum/ Backer ex Heyne
ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีเหลืองออกเป็นช่อตรงปลายกิ่ง ฝักแบน
สีนํ้าตาลแกมแดง.
【 นนทรี ๒ 】แปลว่า: [นนซี] น. ชื่อปลานํ้าเค็มชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓).
【 นนทลี 】แปลว่า: [นนทะลี] น. แม่ เช่น สี่ไทธิเบศร์วรดิลก ชนกแลนนทลี. (สมุทรโฆษ).
【 นนทิ 】แปลว่า: [นนทิ] น. ผู้มีความยินดี, มักใช้ประกอบหน้าศัพท์อื่น เช่น นนทิกร
นนทิการ; วัว. (ส.).
【 นบ 】แปลว่า: (กลอน) ก. ไหว้, นอบน้อม.
【 นบนอบ 】แปลว่า: ก. น้อมกายลงไหว้, นอบนบ ก็ว่า.
【 นปุงสกลิงค์, นปุงสกลึงค์ 】แปลว่า: นะปุงสะกะ น. เพศของคําที่ไม่เป็นเพศชายและเพศหญิง เช่น
ภูเขา บ้าน โต๊ะ เก้าอี้ ดิน นํ้า. (ป., ส. นปุ?สก = กะเทย + ลิงฺค = เพศ).
【 นพ, นพ 】แปลว่า: [นบ, นบพะ] ว. เก้า (ใช้ประกอบหน้าศัพท์อื่น). (ป. นว; ส. นวนฺ).
【 นพเก้า 】แปลว่า: [นบพะ] น. ชื่อแหวนฝังพลอย ๙ อย่าง ทําเป็นยอดก็มี ฝังรอบวงแหวน
ก็มี สําหรับสวมในการมงคล; ชื่อแกงชนิดหนึ่งมีลักษณะคล้ายแกงส้ม
ปรุงด้วยผักหลายชนิด เช่น ผักกระเฉด ผักบุ้ง ประสมปลาร้า, แกงซั้ว
ก็เรียก.
【 นพคุณ 】แปลว่า: [นบพะ] น. ทองคําเนื้อเก้า เป็นทองบริสุทธิ์ โบราณกําหนดราคา
ตามคุณภาพของเนื้อ หนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๙ บาท เรียกว่า
ทองเนื้อเก้า หรือ ทองนพคุณเก้านํ้า, เรียกสั้น ๆ ว่า ทองนพคุณ.
【 นพเคราะห์ 】แปลว่า: นบพะเคฺราะ น. ดาวพระเคราะห์ทั้ง ๙ คือ อาทิตย์ จันทร์
อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ราหู ศุกร์ เกตุ.
【 นพปฎล 】แปลว่า: [นบพะปะดน] ว. มีเพดาน ๙ ชั้น หมายถึง เศวตฉัตร. (ป. นว + ปฏล).
【 นพพล, นพพวง, นพพัน 】แปลว่า: [นบพน, นบพวง, นบพัน] น. วิธีฝึกหัดเลขโบราณอย่างหนึ่ง.
【 นพรัตน์ 】แปลว่า: [นบพะ] น. แก้ว ๙ อย่าง คือ เพชร ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน
นิล มุกดา เพทาย ไพฑูรย์, นวรัตน์ หรือ เนาวรัตน์ ก็ว่า. (ส.).
【 นพศก 】แปลว่า: [นบพะ] น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๙ เช่น ปีเถาะ นพศก
จุลศักราช ๑๓๔๙.
【 นพศูล, นภศูล 】แปลว่า: [นบพะสูน] น. เครื่องประดับยอดปรางค์ ทําเป็นรูปหอก มีกิ่งเป็น
รูปดาบแตกสาขาออกไป ๔ ทิศ, แง่งขิง ฝักเพกาลําภุขัน หรือ
สลัดได ก็เรียก.
【 นพกะ 】แปลว่า: [นบพะ] น. ผู้ใหม่. (ป. นวก).
【 นพนิต 】แปลว่า: [นบพะนิด] น. เนยข้นชนิดหนึ่ง. (ป. นวนีต).
【 นภ 】แปลว่า: [นะพะ, นบพะ] น. ฟ้า, หาว, อากาศ. (ป., ส. นภ, นภสฺ).
【 นภจร 】แปลว่า: [นบพะจอน] น. ผู้ไปในฟ้า. (ส. นภสฺจร).
【 นภดล 】แปลว่า: [นบพะดน] น. พื้นฟ้า. (ส. นภสฺตล).
【 นภมณฑล 】แปลว่า: [นบพะมนทน] น. ท้องฟ้า. (ส. นโภมณฺฑล).
【 นภวิถี 】แปลว่า: [นะพะ] น. ทางฟ้า คือ วิถีโคจรแห่งตะวัน. (ส. นโภวิถี).
【 นภศูล, นพศูล 】แปลว่า: [นบพะสูน] น. เครื่องประดับยอดปรางค์ ทําเป็นรูปหอก มีกิ่งเป็นรูป
ดาบแตกสาขาออกไป ๔ ทิศ, แง่งขิง ฝักเพกา ลําภุขัน หรือ สลัดได
ก็เรียก.
【 นภสินธุ์ 】แปลว่า: [นบพะ] น. แม่นํ้าคงคา, แม่นํ้าในฟ้า คือ ทางช้างเผือกในตําราดาว.
(ส. นภสินฺธุ).
【 นภา 】แปลว่า: (กลอน) น. ฟ้า.
【 นภาลัย 】แปลว่า: น. ฟากฟ้า, กลางหาว. (ป.).
【 นภา 】แปลว่า: /ดู นภ./
【 นภาลัย 】แปลว่า: /ดู นภ/
【 นม ๑ 】แปลว่า: น. ส่วนของร่างกาย อยู่บริเวณหน้าอก มี ๒ เต้า, ของผู้หญิงมีต่อม
สำหรับผลิตน้ำนมเป็นอาหารสำหรับลูกอ่อน ส่วนของผู้ชายมีขนาด
เล็กและไม่มีน้ำนม, นมของสัตว์บางชนิด เช่น ลิง ค่าง ก็มี ๒ เต้า
เช่นเดียวกับคน ส่วนของสัตว์บางชนิด เช่น สุนัข วัว ควาย มีหลาย
เต้าเรียงอยู่ที่ท้องเป็น ๒ แถว; แม่นม, ราชาศัพท์ว่า พระนม; น้ำนม
เช่น เลี้ยงลูกด้วยนม; ชื่อสิ่งที่เป็นเต้าเป็นปุ่มคล้ายนม เช่น นมทอง
หลาง นมจะเข้; เรียกสิ่งที่มีลักษณะเป็นปุยขาวห่อหุ้มต้นผักกระเฉด
ว่า นมผักกระเฉด,เรียกสิ่งที่มีลักษณะเป็นปุยขาวห้อยติดอยู่ตามข้อ
พังพวยว่า นมพังพวย.
【 นมข้น 】แปลว่า: น. นมที่มีลักษณะข้นและมีรสหวานจัด ได้จากการทําให้นํ้าบางส่วน
ในนํ้านมวัวระเหยไปแล้วเติมนํ้าตาล.
【 นมตาบอด, นมบอด 】แปลว่า: น. นมที่หัวบุ๋มเข้าไป.
【 นมตาสะแก 】แปลว่า: น. นมที่หัวยื่นออกมาเหมือนตาไม้สะแก.
【 นมนาง ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องหมายวิสรรชนีย์รูปดังนี้ ะ.
【 นมบกอกพร่อง 】แปลว่า: (กฎ; โบ) น. ลักษณะของหญิงที่ชายทําให้เสียความบริสุทธิ์แล้ว
ทอดทิ้งไป เช่น แลมันทําชู้แล้วมันทอดหญิงนั้นเสีย ท่านว่ามันทํา
ให้ลูกหลานท่านนมบกอกพร่อง ให้ไหมชายผู้เลมิดพ่อแม่ผู้เถ้าผู้แก่
นั้นโดยขนาฎ. (สามดวง), มักใช้เพี้ยนไปเป็น นมตกอกพร่อง.
【 นมผง 】แปลว่า: น. สิ่งที่มีลักษณะเป็นผง ได้จากการนํานํ้านมวัวไปผ่านกรรมวิธีซึ่ง
ทําให้ส่วนที่เป็นนํ้าระเหยออกไปหมด อาจเติมสารเคมีที่มีประโยชน์
ต่อร่างกายลงไปด้วยก็ได้.
【 นมผา 】แปลว่า: น. หินงอกหรือหินย้อยซึ่งเกิดจากคราบหินปูนที่ย้อยลงมาจากเพดาน
ถํ้า มีสีนวลอ่อนคล้ายนํ้านม เมื่อต้องแสงจะมีประกายแวววาว.
【 นมพวง 】แปลว่า: น. ชื่อนมที่มีฐานใหญ่ตั้งชิดกันทั้งคู่ ไม่ยานไม่งอน.
【 นมไม้ 】แปลว่า: น. ไม้ทําเป็นรูปนม ๒ เต้า สําหรับหนุนหลังแก้เมื่อยเป็นต้น.
【 นมสาว ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่งทําด้วยแป้งถั่วหรือแป้งเท้ายายม่อมกวนจนใส
ไส้ทําด้วยถั่วเขียวกวนปั้นเป็นก้อนกลม ห่อด้วยใบตองสด รูปอย่าง
ขนมเทียน เรียกว่า ขนมเทียนนมสาว.
【 นมหนู 】แปลว่า: น. ส่วนของปืนที่สวมแก๊ปเพื่อให้ประกายเข้าไปเผาดินปืนข้างใน; ส่วน
ของเครื่องใช้เป็นปุ่มมีรูเพื่อให้ฉีดนํ้ามันออกมา เช่น นมหนูตะเกียง
นมหนูเครื่องยนต์.
【 นม– ๒, นมะ 】แปลว่า: [นะมะ–] น. การนอบน้อม, การเคารพ, การไหว้. (ป.; ส. นมสฺ).
【 นมักการ, นมัสการ 】แปลว่า: นะมักกาน, [นะมัดสะกาน] น. การแสดงความอ่อนน้อมด้วย
การกราบไหว้; คําที่ใช้ขึ้นต้นและลงท้ายจดหมายที่มีไปถึงพระภิกษุ
สามเณร. (ป. นมกฺการ; ส. นมสฺการ).
【 นมกระแชง 】แปลว่า: น. ต้นไม้เถาชนิดหนึ่ง ใช้ทํายาได้. (พจน. ๒๔๙๓).
【 นมควาย 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด /Uvaria hahnii/ J. Sinclair ในวงศ์ Annonaceae
ดอกสีแดงเข้ม.
【 นมชะนี 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด /Artabotrys burmanicus/ A. DC. ในวงศ์ Annonaceae
ดอกสีเขียวอมขาว.
【 นมช้าง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด /Uvaria cordata/ Alston ในวงศ์ Annonaceae ดอกสี
แดงเข้ม.
【 นมตำเรีย, นมตำเลีย 】แปลว่า: /ดู นมพิจิตร (๑)./
【 นมนาง ๑ 】แปลว่า: /ดูใน นม ๑./
【 นมนาง ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวชนิด /Trochus niloticus/ ในวงศ์ Trochidae
ขนาดใหญ่กว่าหอยนมสาว เปลือกเป็นรูปกรวยแหลม พื้นผิวขรุขระ
และเวียนเป็นวงขึ้นไปยังปลายยอด อาศัยอยู่ตามโขดหินและแนว
ปะการัง เมื่อขัดผิวเปลือกออกจะเห็นเป็นมุก ใช้ทำเป็นเครื่องประดับ.
【 นมนาง ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Pouteria cambodiana/ Baehni ในวงศ์ Sapotaceae
ลําต้นมีหนามแข็ง.
【 นมนาน 】แปลว่า: ว. นานมาก, นานนม ก็ว่า.
【 นมพิจิตร 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อพืชอิงอาศัยชนิด/ Hoya parasitica/ Wall. ในวงศ์ Asclepiadaceae
ใบรี หนา ดอกสีขาวกลางดอกสีม่วง กลิ่นหอม ทุกส่วนมียางขาวคล้าย
น้ำนม, นมตำเรีย หรือ นมตำเลีย ก็เรียก. (๒) ชื่อไม้เถาชนิด /Trichosanthes/
/cucumerina/ L. ในวงศ์ Cucurbitaceae ผลมีรสขมใช้ทํายาได้, บวบขม
ก็เรียก.
【 นมแมว 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด/ Rauwenhoffia siamensis/ Scheff. ในวงศ์
Annonaceae ดอกสีนํ้าตาลอ่อนเกือบนวล ออกเดี่ยว ๆ ตามง่ามใบ
บานเวลาเย็น กลิ่นหอม ผลสุกกินได้.
【 นมวัว 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Anomianthus dulcis/ J. Sinclair ในวงศ์ Annonaceae
ผลสุกสีแดงอมส้ม รสเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ.
【 นมสวรรค์ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด /Clerodendrum paniculatum/ L. ในวงศ์
Labiatae ขึ้นตามที่ชุ่มชื้น ที่โคนใบมีต่อมนูนหลายต่อม ดอกสีแดง
อมส้ม ออกเป็นช่อตามยอด ผลเล็กมี ๔ พู ใช้ทํายาได้, พนมสวรรค์
ก็เรียก.
【 นมสาว ๑ 】แปลว่า: /ดูใน นม ๑./
【 นมสาว ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวชนิด /Trochus maculatus/ ในวงศ์ Trochidae
เปลือกม้วนเป็นวง ฐานเปลือกใหญ่ ปลายแหลม ขนาดเล็กกว่าหอย
นมนาง เมื่อขัดผิวเปลือกออกจะเห็นเป็นมุก ใช้ทําเป็นเครื่องประดับ.
【 นมักการ, นมัสการ 】แปลว่า: /ดู นม ๒, นมะ./
【 นมาซ 】แปลว่า: น. พิธีกรรมเกี่ยวกับการนมัสการในศาสนาอิสลาม เพื่อชำระจิตใจ
ให้บริสุทธิ์ ปฏิบัติวันละ ๕ เวลา, ละหมาด ก็เรียก.
【 นย, นยะ 】แปลว่า: [นะยะ] น. เค้าความที่ส่อให้เข้าใจเอาเอง. (ป., ส.).
【 นโยบาย 】แปลว่า: น. หลักและวิธีปฏิบัติซึ่งถือเป็นแนวดําเนินการ. (ป. นย + อุปาย).
【 นยนะ, นยนา 】แปลว่า: [นะยะ] น. ดวงตา. (ป., ส.).
【 นยักษ์ 】แปลว่า: นะยัก ว. ตํ่าต้อย, เลว. (ส.).
【 นโยบาย 】แปลว่า: /ดู นย, นยะ./
【 นร 】แปลว่า: [นอระ] น. คน, ชาย, เพศหญิงใช้ว่า นรี หรือ นารี, นิยมใช้เป็นคําหน้า
สมาส เช่น นรเทพ นรสิงห์. (ป., ส.).
【 นรชาติ 】แปลว่า: น. คน, หมู่คน.
【 นรเทพ, นรนาถ, นรนายก, นรบดี, นรบาล, นรราช 】แปลว่า: [นอระ] น. พระราชา. (ป., ส.).
【 นรพยัคฆ์ 】แปลว่า: [นอระ] น. สมิงมิ่งชาย คือ คนเก่งกาจราวกับเสือ. (ป.).
【 นรเศรษฐ์ 】แปลว่า: [นอระ] น. คนประเสริฐ; พระราชา. (ส.).
【 นรสิงห์, นรสีห์ 】แปลว่า: [นอระ] น. คนปานสิงห์, นักรบผู้มหาโยธิน. (ส., ป.).
【 นรา 】แปลว่า: (กลอน) น. คน.
【 นรากร 】แปลว่า: น. คน, หมู่คน.
【 นราธิเบนทร์, นราธิเบศร์ 】แปลว่า: น. พระมหากษัตริย์. (ส. นร + อธิป + อินฺทฺร; ป. นร + อธิป +
【 อิสฺสร). 】แปลว่า:
【 นราธิป 】แปลว่า: นะราทิบ น. พระราชา. (นร + อธิป).
【 นรินทร์, นริศ, นริศร, นริศวร 】แปลว่า: นะริน, นะริด, นะริดสวน น. พระราชา. (ส. นร
【 + อินฺทฺร, 】แปลว่า:
นร + อีศ, นร + อีศฺร, นร + อีศฺวร).
【 นเรนทรสูร, นเรศ, นเรศวร, นเรศูร 】แปลว่า: [นะเรนทฺระสูน, นะเรด, นะเรสวน, นะเรสูน]
【 (แบบ) น. พระราชา. 】แปลว่า:
(ส. นร + อินฺทฺร + สูร, นร + อีศ, นร + อีศฺวร).
【 นโรดม 】แปลว่า: (แบบ) น. พระราชา. (ส. นโรตฺตม; ป. นรุตฺตม).
【 นรก 】แปลว่า: [นะ] น. แดนหรือภูมิที่เชื่อกันว่าผู้ทําบาปจะต้องไปเกิดและถูกลงโทษ,
โดยปริยายหมายถึงแดนที่มีแต่ความทุกข์ทรมาน. (ป., ส.).
【 นรกานต์ 】แปลว่า: [นะระ] น. นรก. (ป. นรก + อนฺต).
【 นรกจกเปรต 】แปลว่า: น. คนที่เหี้ยมโหด คล้ายกับเปรตมาจากนรก.
【 นรกานต์ 】แปลว่า: /ดู นรก./
【 นรการ 】แปลว่า: [นอระกาน, นะระกาน] น. ช้างสีดอ, ช้างตัวผู้ มีงาสั้น.
【 นรา 】แปลว่า: /ดู นร./
【 นรากร 】แปลว่า: /ดู นร./
【 นราธิเบนทร์, นราธิเบศร์ 】แปลว่า: /ดู นร./
【 นราธิป 】แปลว่า: /ดู นร./
นิล มุกดา เพทาย ไพฑูรย์, เนาวรัตน์ ก็ว่า. (ส.).
【 นวโลหะ 】แปลว่า: น. โลหะ ๙ ชนิด คือ เหล็ก ๑ ปรอท ๑ ทองแดง ๑ เงิน ๑ และทองคํา
๑ เพียงนี้เรียกว่า เบญจโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ เจ้า ๑ (เป็นคํา
ตัดมาจาก “เจ้านํ้าเงินว่า เป็นแร่ชนิดหนึ่ง สีเขียวเป็นสีนํ้าเงิน) และ
สังกะสี ๑ เรียกว่า สัตโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ ชิน ๑ และบริสุทธิ์
๑ (คือทองแดงบริสุทธิ์) เรียกว่า นวโลหะ. (ตําราสร้างพระพุทธรูป).
【 นววิธ 】แปลว่า: [วิด] ว. ๙ ประการ, ๙ อย่าง. (ป.).
【 นวอรหาทิคุณ, นวารหาทิคุณ 】แปลว่า: [นะวะอะระหาทิคุน, นะวาระหาทิคุน] น. คุณพระพุทธเจ้า
๙ ประการ มีบท อรหํ เป็นต้น. (พูดเลือนมาเป็น นวหรคุณ).
【 นวังคสัตถุศาสน์ 】แปลว่า: [นะวังคะสัดถุสาด] น. คําสอนของพระศาสดา คือ พระพุทธเจ้ามี
องค์ ๙ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ
ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ. (ป.).
【 นวก ๑, นวกะ 】แปลว่า: [นะวะกะ] น. ผู้ใหม่, ผู้อ่อน. (ป.). ว. ใหม่, อ่อน, เช่น พระนวกะ
นวกภูมิ.
【 นวกภูมิ 】แปลว่า: [นะวะกะพูม] น. ขั้นหรือชั้นแห่งผู้ใหม่, ในคณะสงฆ์หมายถึงภิกษุที่มี
พรรษาต่ำกว่า ๕, ภิกษุจัดเป็น ๓ ชั้น ชั้นต้น คือ นวกภูมิ (ชั้นใหม่),
ชั้นกลาง คือ มัชฌิมภูมิมีพรรษาตั้งแต่ ๕ ถึง ๙, และ ชั้นสูง คือ เถรภูมิ
(ชั้นพระเถระ) มีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป. (ป.).
【 นวโกวาท 】แปลว่า: [นะวะโกวาด] น. โอวาทเพื่อผู้บวชใหม่. (ป.).
【 นวก ๒ 】แปลว่า: [นะวะกะ] น. หมวด ๙ หมายความว่า วัตถุอันมีจํานวน ๙ ทุกอย่าง
เช่น รัตนะ ๙ คําสอนของพระศาสดา ๙ พุทธคุณ ๙ เอามารวมไว้ใน
หมวดนั้น เรียกว่า นวก เช่น นวกนิบาต. (ป.).
【 นวโกวาท 】แปลว่า: /ดู นวก ๑, นวกะ./
【 นวด 】แปลว่า: ก. ใช้มือบีบหรือกดเพื่อให้คลายจากความปวดเมื่อยหรือเมื่อยขบ.
【 นวดข้าว 】แปลว่า: ก. ใช้วัวควายหรือคนยํ่ารวงข้าวให้เมล็ดหลุดจากรวง.
【 นวดแป้ง 】แปลว่า: ก. ขยําแป้งให้เข้ากัน.
【 นวดฟั้น 】แปลว่า: ก. บีบขยําให้หายปวดเมื่อยหรือเมื่อยขบ.
【 นวม ๑ 】แปลว่า: น. สิ่งที่มีของอ่อนนุ่มอยู่ข้างใน เพื่อให้ความอบอุ่นหรือเพื่อป้องกันการ
เสียดสี การกดดัน การกระทบกระทั่งเป็นต้น เช่น เสื้อนวม เกราะนวม
นวมคอ, เรียกผ้าห่มนอนที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า ผ้านวม, เรียกกานํ้าที่มี
นวมหุ้มเพื่อเก็บความร้อนไว้ได้นานว่า กานวม, เรียกปี่พาทย์ที่ตีด้วย
ไม้พันด้วยนวมว่า ปี่พาทย์ไม้นวม.
【 นวม ๒ 】แปลว่า: นะวะมะ ว. ที่ ๙ เช่น นวมสุรทิน = วันที่ ๙. (ป.).
【 นวมี 】แปลว่า: นะวะมี ว. ที่ ๙ เช่น นวมีดิถี = วัน ๙ คํ่า. (ป.).
【 น่วม 】แปลว่า: ว. อ่อนนุ่มจนเกือบเหลว เช่น บีบเสียจนน่วม.
【 นวมี 】แปลว่า: /ดู นวม ๒./
【 นวย 】แปลว่า: ก. เยื้องกราย, กรีดกราย; น้อม เช่น คิดคิ้วคํานวณนวย คือธนูอันก่งยง.
(สมุทรโฆษ).
【 นวยนาด 】แปลว่า: ก. เยื้องกราย, กรีดกราย; ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. (เงาะป่า).
【 นวล 】แปลว่า: ว. สีขาวปนเหลืองเล็กน้อย; ผ่องเป็นยองใย, งามผุดผ่อง, เช่น ผิวนวล.
น. ผงแป้งที่โรยบนก้อนแป้งเวลานวดหรือปั้นเพื่อไม่ให้ติดมือติดภาชนะ
เป็นต้น; ละอองสีขาวบนผิวผลไม้หรือใบไม้บางชนิดแสดงว่าแก่จัด
เช่น นวลมะม่วง นวลแตง นวลใบตอง.
【 นวลระหง 】แปลว่า: ว. มีรูปทรงงาม.
【 นวลลออ 】แปลว่า: ว. ผุดผ่อง, งามดี.
【 นวลละออง 】แปลว่า: ว. ผุดผ่องเป็นยองใย.
【 นวลหง 】แปลว่า: [นวนละหง] ว. มีสีเนื้อนวลงาม.
【 นวลจันทร์ 】แปลว่า: น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด /Cirrhinus microlepis/ ในวงศ์ Cyprinidae ลําตัว
ยาวเรียว แบนข้างเล็กน้อย ตาเล็ก ปากเล็กอยู่ตํ่าที่ปลายหัว ไม่มีหนวด
เกล็ดเล็ก เฉพาะในแนวเส้นข้างตัวมีประมาณ ๖๐ เกล็ด ลําตัวด้านหลัง
สีนํ้าตาลเทา ข้างท้องสีขาว ปลายครีบหลังและครีบท้องสีชมพู อาศัย
ตามลํานํ้าในเขตที่ลุ่มภาคกลางไปจนถึงแม่นํ้าโขง ขนาดยาวได้ถึง ๖๕
เซนติเมตร.
【 นวลจันทร์ทะเล 】แปลว่า: น. ชื่อปลาทะเลหรือน้ำกร่อยชนิด /Chanos chanos/ ในวงศ์ Chanidae
ลำตัวยาวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย หัวหลิม ตาโต ครีบหลังมีครีบเดียว
ตั้งอยู่ในแนวกลางตัว ครีบหางเป็นแฉกลึก เกล็ดทั่วตัวมีสีเงิน ขนาด
ยาวได้ถึง ๑.๕ เมตร อยู่ในน้ำจืดได้, ชะลิน หรือทูน้ำจืด ก็เรียก.
【 นวลน้อย 】แปลว่า: น. ชื่อหญ้าชนิด /Zoysia matrella/ (L.) Merr. ในวงศ์ Gramineae
ใช้เป็นหญ้าสนาม.
【 นวังคสัตถุศาสน์ 】แปลว่า: /ดู นว ๒./
【 นวัตกรรม 】แปลว่า: น. สิ่งที่ทำขึ้นใหม่หรือแปลกจากเดิมซึ่งอาจจะเป็นความคิด วิธีการ
หรืออุปกรณ์ เป็นต้น. (ป. นวต + ส. กรฺม; อ. innovation).
【 นวาระ 】แปลว่า: [นะวาระ] น. กุหลาบ. (ช.).
【 นหาดก 】แปลว่า: [นะหาดก] น. ผู้อาบแล้ว, ผู้ล้างแล้ว, คําบัญญัติในลัทธิพราหมณ์สําหรับ
เรียกผู้ใหญ่ในวรรณะ เช่น พราหมณ์ผู้ได้กระทําพิธีอาบนํ้า ซึ่งจําต้อง
กระทําเมื่อเสร็จกิจศึกษาจากสํานักอาจารย์ และตั้งต้นเป็น ผู้ครองเรือน
คฤหัสถ์ คือ ผู้มีภรรยาและครอบครัว), ในพระพุทธศาสนา หมายเอา
ท่านที่ชําระกิเลสมลทินสิ้นแล้ว. (ป. นหาตก; ส. สฺนาตก).
【 นหานะ 】แปลว่า: น. การอาบนํ้า. (ป.; ส. สฺนาน).
【 นหารุ 】แปลว่า: นะหารุ น. เส้น, เอ็น. (ป.; ส. สฺนายุ).
【 นหุต ๑ 】แปลว่า: [นะหุด] ว. หมื่น. (ป.).
【 นหุต ๒ 】แปลว่า: [นะหุด] น. ชื่อสังขยา = ๑๐,๐๐๐,๐๐๐๔ หรือ เลข ๑ มีเลข ๐ ตามหลัง
๒๘ ตัว. (ป.).
【 นฬ, นฬะ 】แปลว่า: [นะละ] น. ไม้อ้อ, ไม้รวก, ไม้ไผ่. (ป.).
นฬการ น. ช่างจักสาน. (ป.).
【 นฬป 】แปลว่า: นะลบ น. ปลาช่อน. (ป.).
【 นอ ๑ 】แปลว่า: น. สิ่งที่งอกขึ้นเหนือจมูกแรด ยาวประมาณ ๑๒-๑๕ เซนติเมตร แข็ง
เหมือนเขาสัตว์;ปมที่นูนขึ้นตามอวัยวะเช่นที่ข้อศอกที่ศีรษะ. (กลอน)
ก. โน เช่น แม้นมีไม้ใกล้ตัวหัวจะนอ. (คาวี).
【 นอ ๒ 】แปลว่า: น. เครื่องดุริยางค์ของชาวมูเซอ.
【 นอก 】แปลว่า: บ. ตรงข้ามกับใน, ไม่ใช่ใน. ว. พ้นออกไปจากภายในหรือร่วมใน เช่น
นอกเรือนนอกประเทศ นอกกาย นอกตําแหน่ง, ต่างประเทศ เช่น ของ
นอก ไปนอก, เรียกเขตที่พ้นจากเมืองหลวงออกไปว่า บ้านนอก, เรียก
ประเทศในทวีปยุโรปและอเมริกาว่า เมืองนอก, เรียกผลไม้ที่เอามาจาก
นอกกรุง เช่น เงาะนอก ทุเรียนนอก, คู่กับ ผลไม้ในกรุง เช่น เงาะสวน
ทุเรียนสวน.
【 นอกกฎหมาย 】แปลว่า: ว. ไม่ถูกกฎหมาย เช่น บุตรนอกกฎหมาย.
【 นอกครู 】แปลว่า: ก. ประพฤติไม่ตรงตามคําสั่งสอนของครูบาอาจารย์, ประพฤติ
ไม่ตรงตามแบบฉบับที่นิยมกันมา.
【 นอกคอก 】แปลว่า: ว. ประพฤติไม่ตรงตามแบบตามธรรมเนียมประเพณีของบรรพบุรุษ.
【 นอกคัมภีร์ 】แปลว่า: ว. นอกตำรา.
【 นอกจาก 】แปลว่า: บ. เว้นเสียแต่.
【 นอกใจ 】แปลว่า: ว. ไม่ซื่อตรงต่อสามีหรือภรรยาด้วยการคบชู้สู่สาว.
【 นอกชาน 】แปลว่า: น. พื้นเรือนที่ยื่นพ้นชายคาระเบียงออกมา.
【 นอกตำรา 】แปลว่า: ว. ผิดจากตํารา, ไม่มีในตํารา, นอกคัมภีร์ ก็ว่า.
【 นอกถนน 】แปลว่า: น. ที่ท้องถนน.
【 นอกบาลี 】แปลว่า: ก. พูดหรือทํานอกแบบฉบับ.
【 นอกรีต, นอกรีตนอกรอย 】แปลว่า: ว. ไม่ประพฤติตามจารีตประเพณี.
【 นอกลู่นอกทาง 】แปลว่า: ว. ไม่ประพฤติตามแนวทางที่พ่อแม่ครูอาจารย์ได้เคยดําเนินมา.
【 นอกสังเวียน 】แปลว่า: ว. นอกวงการ, นอกเวที, เช่น เขาก็ดีแต่เก่งนอกสังเวียน.
【 นอกเหนือ 】แปลว่า: ว. ยิ่งกว่านี้, มากกว่านี้, ใช่แต่เท่านี้.
【 นอง 】แปลว่า: ก. ค้างขังอยู่บนพื้น (ใช้แก่นํ้า) เช่น นํ้านองถนน นํ้านองบ้าน.
【 นองเนือง 】แปลว่า: ว. เนืองนอง.
【 นองเลือด 】แปลว่า: ว. อย่างดุเดือดและต้องเสียเลือดเนื้อหรือล้มตายกันเป็นจํานวนมาก
เช่น รบกันนองเลือด.
【 นองหน้า 】แปลว่า: ว. อาบหน้า (ใช้แก่นํ้าตา).
【 น่อง ๑ 】แปลว่า: น. กล้ามเนื้อที่อยู่ด้านหลังหน้าแข้ง.
【 น่องสิงห์ 】แปลว่า: น. ชื่อลายชนิดหนึ่งมักประดับที่ส่วนหลังของขาโต๊ะ ตั่ง หรือตู้แบบ
ขาสิงห์ หรือประดับริมหรือขอบ เช่นริมโต๊ะหรือกรอบรูป.
【 น่อง ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Antiaris toxicaria /Leschen. ในวงศ์ Moraceae
ยางมีพิษ ใช้ทำยางน่อง.
【 น้อง 】แปลว่า: น. ผู้ร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกันและเกิดทีหลัง, ลูกของอาหรือของน้า,
เรียกคนที่มีอายุคราวน้อง เช่น น้องแดง น้องเขียว; ออกทีหลัง, มาทีหลัง,
เช่น หมากทะลายน้อง มะพร้าวทะลายน้อง, คู่กับ ทะลายพี่; ลักษณนาม
ใช้นับอายุไม้จําพวกไม้ไผ่ เช่น ไม้น้องเดียว คือ ไม้ที่มีอายุ ๒ ปี ไม้ ๒
น้อง คือ ไม้ที่มีอายุ ๓ ปี.
【 น้อง ๆ 】แปลว่า: ว. จวนจะเป็น, ใกล้จะเป็น, เกือบจะเป็น, เช่น น้อง ๆ อธิบดีเข้าไปแล้ว.
【 น้องเพล 】แปลว่า: น. เรียกเวลาก่อนเพล ระหว่าง ๑๐ นาฬิกา ถึง ๑๑ นาฬิกา.
【 น่องแน่ง 】แปลว่า: ว. ติดกันนุงนัง, เกี่ยวเนื่องกันยุ่ง.
【 นอต ๑ 】แปลว่า: น. หน่วยแสดงความเร็วของสิ่งใดสิ่งหนึ่งตามระบบการเดินเรือ มีค่า
เท่ากับ ๑ ไมล์ทะเลต่อชั่วโมง หรือ ๑.๘๕๒ กิโลเมตรต่อชั่วโมง เช่น
เรือแล่นได้เร็ว ๘ ไมล์ทะเลต่อชั่วโมง เรียกว่า เรือมีความเร็ว ๘ นอต
ลมมีความเร็ว ๕๐ ไมล์ทะเลต่อชั่วโมง เรียกว่า ลมมีความเร็ว ๕๐ นอต.
(อ. knot).
【 นอต ๒ 】แปลว่า: น. เครื่องตรึงหรือขันสิ่งอื่นให้แน่น ประกอบด้วยแท่งและแป้นโลหะ,
ตัวที่เป็นแท่งมีปลายข้างหนึ่งเป็นปุ่ม อีกข้างหนึ่งมีเกลียวด้านนอก
เรียกว่า นอตตัวผู้ และตัวที่เป็นแป้นมีลักษณะเป็นเหลี่ยมมีรูตรง
กลางและมีเกลียวด้านใน เรียกว่า นอตตัวเมีย. (อ. nut).
【 นอน 】แปลว่า: ก. เอนตัวลงกับพื้นหรือที่ใด ๆ, อาการที่สัตว์เอนตัวลงกับพื้นเพื่อพักผ่อน
เป็นต้นหรือยืนหลับอยู่กับที่, อาการที่ทําให้ของสูง ๆ ทอดลง เช่น เอาเสา
นอนลง, อาการที่พรรณไม้บางชนิด เช่น จามจุรี ผักกระเฉด ไมยราบ หลุบ
ใบในเวลาใกล้จะสิ้นแสงตะวัน. ว. ลักษณะที่ตรงข้ามกับ ยืน หรือ ตั้ง
เช่น แนวนอน แปนอน.
【 นอนก้น 】แปลว่า: ก. อาการที่ผงหรือตะกอนเป็นต้นในของเหลวตกลงไปอยู่ก้นที่รองรับ
ของเหลวนั้น เช่น ตะกอนนอนก้น.
【 นอนกิน 】แปลว่า: ก. ไม่ต้องทํางานก็มีกิน โดยมีผลประโยชน์เป็นรายได้ เช่น
นอนกินดอกเบี้ย.
【 นอนกินบ้านกินเมือง 】แปลว่า: (สำ) ก. นอนตื่นสายด้วยความเกียจคร้าน (ใช้เป็นคำประชด).
【 นอนใจ 】แปลว่า: ก. มั่นใจ, วางใจ, ไม่รีบร้อน.
【 นอนตาไม่หลับ 】แปลว่า: ก. นอนหวาดต่อภัยหรือเป็นทุกข์หรือห่วงใย.
【 นอนตีพุง 】แปลว่า: (ปาก) ก. ได้ผลประโยชน์โดยไม่ต้องทําอะไร; สบายใจ, หมดกังวล.
【 นอนนก 】แปลว่า: ก. นั่งหลับ.
【 นอนแบ็บ 】แปลว่า: ก. นอนอย่างอ่อนเพลีย, นอนซม. /(ดู แบ็บ)./
【 นอนโรง 】แปลว่า: ก. นอนค้างคืนล่วงหน้าที่โรงก่อนกําหนดงาน (ใช้แก่โขนเป็นต้น)
เช่น โขนนอนโรง.
【 นอนเล่น 】แปลว่า: ก. นอนพักผ่อนโดยไม่คิดว่าจะหลับ.
【 นอนวัน 】แปลว่า: ก. หมุนเร็วเที่ยงตรง (ใช้เรียกลูกข่างเป็นต้นที่หมุนเรียบอยู่กับที่).
【 นอนเวร 】แปลว่า: ก. ผลัดเปลี่ยนกันมานอนรักษาการณ์นอกเวลาทํางาน.
【 นอนหลับทับสิทธิ์ 】แปลว่า: ก. ไม่ใช้สิทธิ์ที่ตนมีอยู่เมื่อถึงคราวจะใช้, ทับสิทธิ์ ก็ว่า.
【 นอนหลับไม่รู้ นอนคู้ไม่เห็น 】แปลว่า: (สํา) ก. ไม่รู้เรื่องราวที่เกิดขึ้น, ไม่รู้อีโหน่อีเหน่.
【 นอนเอือก 】แปลว่า: ก. นอนอืดอย่างเกียจคร้าน.
【 นอบ 】แปลว่า: ก. น้อม, หมอบย่อลง, มักใช้ประกอบคําอื่น เช่น นบนอบ นอบน้อม.
【 นอบนบ 】แปลว่า: ก. น้อมกายลงไหว้, นบนอบ ก็ว่า.
【 นอบน้อม 】แปลว่า: ก. อาการแสดงความเคารพอย่างสูง เช่น นอบน้อม พระรัตนตรัย,
อาการที่ยอบตัวลงแสดงความเคารพอยู่ในที.
【 น้อม 】แปลว่า: ก. โน้ม เช่น น้อมลาภมาเพื่อตน, ค้อม เช่น กิ่งไม้น้อมลง, โอนลงเป็น
การแสดงความเคารพ เช่น น้อมกาย น้อมใจ, โอนอ่อนตาม เช่น
น้อมใจเชื่อ.
【 น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย 】แปลว่า: (ราชา) ก. ถวาย
【 (ใช้แก่ของที่ยกไม่ได้หรือนับไม่ได้ที่ถวายแด่พระบาทสมเด็จ 】แปลว่า:
พระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินีสมเด็จพระ
บรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และสมเด็จพระ
บรมราชกุมารี), ในการเขียนใช้ น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย หรือ น้อมเกล้าฯ
ถวาย ก็ได้.
【 น้อมนำ 】แปลว่า: ก. นําไปโดยกิริยาอ่อนน้อม.
【 น้อย ๑ 】แปลว่า: ว. ตรงข้ามกับ มาก, ไม่มาก, เช่น ฝนน้อย น้ำน้อย มีเงินน้อย พูดน้อย,
ตรงข้ามกับ ใหญ่, ไม่ใหญ่, เช่น ข้าราชการชั้นผู้น้อย; โดยปริยายหมาย
ถึงลักษณะที่ไม่สําคัญ เช่น ครูน้อยผู้น้อย เณรน้อย, เกี่ยวกับความรู้สึก
เป็นไปในทางน่ารักน่าเอ็นดู เช่น เด็กน้อย น้องน้อย สาวน้อย หนูน้อย.
【 น้อยแง่ 】แปลว่า: ก. น้อยหน้า; ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม.
【 น้อยใจ, น้อยเนื้อต่ำใจ, น้อยอกน้อยใจ 】แปลว่า: ก. รู้สึกเสียใจที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมเป็นต้น.
【 น้อยหน้า 】แปลว่า: ก. ไม่เทียมหน้าเขา.
【 น้อยหรือ 】แปลว่า: ว. คําแสดงความหมายว่า มาก; คําเปล่งแสดงความไม่พอใจ เช่น
น้อยหรือทําได้, ตัดพ้อต่อว่าด้วยความเอ็นดู เช่น น้อยหรือช่างว่า.
【 น้อย ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น–พายัพ) น. คําเติมหน้าชื่อแห่งผู้ที่ได้บวชเป็นสามเณรแล้ว, ถ้าได้
บวชเป็นภิกษุเติมหน้าชื่อว่า หนาน. (พงศ. ร. ๒).
【 น้อยหน่า 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด /Annona squamosa/ L. ในวงศ์ Annonaceae
ดอกสีเหลืองแกมเขียว กลีบดอกหนา มี ๓ กลีบ ผลสีเขียว ผิวนูนเป็น
ตา ๆ เนื้อในผลหนาขาว รสหวาน มีเมล็ดมาก.
【 น้อยโหน่ง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลางชนิด/ Annona reticulata/ L.
ในวงศ์ Annonaceae ดอกคล้ายดอกน้อยหน่า แต่ผลโตกว่า
เปลือกบางแต่เหนียว ค่อนข้างเรียบ ไม่นูนเป็นตา ๆ สีเขียวจาง ๆ
ปนสีแดงเรื่อ ๆ เนื้อในผลหนาขาว รสหวานไม่สนิทเหมือนน้อยหน่า
มีเมล็ดมาก.
【 นะ ๑ 】แปลว่า: ว. คําประกอบท้ายคําอื่น บอกความเป็นเชิงอ้อนวอน บังคับตกลง
หรือเน้นให้หนักแน่น เป็นต้น เช่น อยู่นะ ไปละนะ.
【 นะ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อตัวตั้งธาตุน้ำของเวทมนตร์คาถาทางเมตตามหานิยม เช่น
เขาคงมีนะดี ใคร ๆ เห็นก็เมตตา.
【 นะแน่ง 】แปลว่า: (กลอน) ว. แน่งน้อย, ร่างน้อยงามกะทัดรัด.
【 นัก ๑ 】แปลว่า: น. ใช้ประกอบหน้าคําอื่นหมายความว่า ผู้ เช่น นักเรียน, ผู้ชอบ เช่น
นักดื่ม นักท่องเที่ยว, ผู้ชํานาญ เช่น นักเทศน์ นักดนตรี นักคํานวณ
นักสืบ, ผู้มีอาชีพในทางนั้น ๆ เช่น นักกฎหมาย นักแสดง นักเขียน.
(ข.).
【 นักการ 】แปลว่า: น. พนักงานชั้นผู้น้อยตํ่ากว่าเสมียน ทําหน้าที่เดินหนังสือ.
【 นักการเมือง 】แปลว่า: น. ผู้ฝักใฝ่ในทางการเมือง, ผู้ที่ทําหน้าที่ทางการเมือง เช่น รัฐมนตรี
สมาชิกรัฐสภา.
【 นักกีฬา 】แปลว่า: น. ผู้ชอบเล่นกีฬา, ผู้เข้าแข่งขันกีฬา; โดยปริยายหมายความว่า
ผู้มีนํ้าใจไม่เอาเปรียบผู้อื่น.
【 นักข่าว 】แปลว่า: น. ผู้สื่อข่าว, ผู้รายงานข่าว, ผู้เขียนข่าว, ผู้บอกข่าว, (ใช้เฉพาะทาง
สื่อสารมวลชน), ผู้ส่งข่าว ก็เรียก.
【 นักท่องเที่ยว 】แปลว่า: (กฎ) น. บุคคลที่เดินทางจากท้องที่อันเป็นถิ่นที่อยู่โดยปรกติของ
ตนไปยังท้องที่อื่นเป็นการชั่วคราวด้วยความสมัครใจ และด้วย
วัตถุประสงค์อันมิใช่เพื่อไปประกอบอาชีพหรือหารายได้.
【 นักเทศ 】แปลว่า: น. คนต่างประเทศที่สําหรับใช้ในราชสํานัก เช่น นักเทศจงไปสั่งการ
พนักงานของใครให้ขวายขวน. (สังข์ทอง).
【 นักเทศน์ 】แปลว่า: น. ผู้ชํานาญในการเทศน์.
【 นักโทษ 】แปลว่า: น. บุคคลซึ่งถูกลงโทษจําคุก.
【 นักโทษเด็ดขาด 】แปลว่า: (กฎ) น. บุคคลซึ่งถูกขังไว้ตามหมายจําคุกภายหลังคําพิพากษาถึง
ที่สุด และหมายความรวมถึงบุคคลซึ่งถูกขังไว้ตามคําสั่งที่ชอบด้วย
กฎหมายให้ลงโทษด้วย.
【 นักธรรม 】แปลว่า: น. ผู้รู้ธรรม, ผู้สอบความรู้ธรรมได้ตามหลักสูตรที่กําหนดไว้ มี ๓ ชั้น
คือ ชั้นตรี ชั้นโท ชั้นเอก; ฤษี.
【 นักบวช 】แปลว่า: น. ผู้ถือบวช.
【 นักบิน 】แปลว่า: น. ผู้ขับขี่เครื่องบิน.
【 นักบุญ 】แปลว่า: น. ผู้อ้างตัวว่าเป็นผู้วิเศษ, ผู้ที่ทําความดีไว้มากเมื่อตายแล้ว ได้รับ
ยกย่องว่าเป็นผู้สําเร็จในทางศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก,
ผู้ยินดีในการบุญ.
【 นักปราชญ์ 】แปลว่า: น. ผู้รู้, ผู้มีปัญญา.
【 นักพรต 】แปลว่า: น. ผู้ประพฤติพรต, ลักษณนามว่า รูป.
【 นักรบ 】แปลว่า: น. ผู้ชํานาญในการรบ, ทหาร.
【 นักเรียน 】แปลว่า: น. ผู้ศึกษาเล่าเรียน; ผู้รับการศึกษาจากโรงเรียน.
【 นักเรียนนอก 】แปลว่า: น. ผู้ที่ไปศึกษามาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะหมายถึงประเทศ
ในยุโรปและสหรัฐอเมริกา.
【 นักเลง 】แปลว่า: น. ผู้ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น ๆ เช่น นักเลงหนังสือ นักเลงการพนัน; ผู้เกะกะระราน
เช่น เป็นนักเลง, นักเลงโต ก็ว่า. ว. มีใจกว้าง กล้าได้กล้าเสีย เช่น ใจนักเลง.
【 นักเลงโต 】แปลว่า: น. ผู้เกะกะระราน เช่น น้องชายเขาเป็นนักเลงโต ทำให้เพื่อนบ้าน
เดือดร้อนเสมอ ๆ, นักเลง ก็ว่า.
【 นักวิชาการ 】แปลว่า: น. ผู้เชี่ยวชาญในวิชาความรู้สาขาใดสาขาหนึ่งหรือหลายสาขา.
【 นักศึกษา 】แปลว่า: น. ผู้มีความรู้สอบไล่ได้ไม่ตํ่ากว่ามัธยมศึกษาตอนปลายตามหลักสูตร
ของกระทรวงศึกษาธิการหรือมีความรู้ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ
เทียบเท่า ซึ่งเข้ารับการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา.
【 นักสนม 】แปลว่า: น. หญิงคนใช้ในพระราชวัง.
【 นักสวด 】แปลว่า: น. ผู้ชํานาญในการสวด.
【 นักสิทธิ์ 】แปลว่า: น. ผู้สําเร็จ, ฤษี, ลักษณนามว่า ตน.
【 นักสืบ 】แปลว่า: น. ผู้ชํานาญในการสืบสวน.
【 นัก ๒ 】แปลว่า: ว. อย่างยิ่ง, มากหรือหนักไปในทางใดทางหนึ่ง, เช่น หนาวนัก ร้อนนัก.
【 นักหนา 】แปลว่า: ว. มากยิ่ง, ยิ่งนัก, หนักหนา ก็ใช้.
【 นักกะ 】แปลว่า: (แบบ) น. จระเข้, เต่า. (ป.; ส. นกฺร).
【 นักขัต, นักขัต 】แปลว่า: [นักขัด, นักขัดตะ] น. ดาว, ดาวฤกษ์. (ดู นักษัตร). (ป. นกฺขตฺต;
ส. นกฺษตฺร).
【 นักขัตฤกษ์ 】แปลว่า: น. ฤกษ์ที่ขึ้นกับการโคจรของดวงจันทร์ว่าผ่านดาวนักษัตรหมู่ใดหมู่หนึ่ง
ใน ๒๗ หมู่ รวมถึงฤกษ์ที่ขึ้นกับการโคจรของดวงดาวในสุริยจักรวาลว่า
ผ่านดาวนักษัตรหมู่ใดหมู่หนึ่งใน ๒๗ หมู่, เรียกงานที่จัดขึ้นตามนักขัตฤกษ์
ว่า งานนักขัตฤกษ์, เรียกวันที่มีงานนักขัตฤกษ์ว่า วันนักขัตฤกษ์.
【 นักงาน 】แปลว่า: (กลอน; ตัดมาจาก พนักงาน) น. หน้าที่ เช่น อันการสงครามครั้งนี้
ไว้นักงานพี่จะช่วยหัก. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
【 นักตะ 】แปลว่า: (แบบ) น. กลางคืน. (ส.).
【 นักนิ่น 】แปลว่า: ว. นิ่ม, อ่อน, โดยปริยายหมายถึงผู้หญิง เช่น จากมานักนิ่นเนื้อ
นอนหนาว. (กำสรวล).
【 นักระ 】แปลว่า: นักกฺระ น. จระเข้. (ส.; ป. นกฺก).
【 นักษัตร ๑, นักษัตร 】แปลว่า: [นักสัด, นักสัดตฺระ] น. ดาว, ดาวฤกษ์, มี ๒๗ หมู่ คือ ๑. อัศวินี, อัสสนี
(ดาวม้า ดาวคู่ม้า หรือ ดาวอัศวยุช) มี ๗ ดวง ๒. ภรณี (ดาวก้อนเส้า) มี
๓ ดวง ๓. กฤติกา, กฤตติกา, กัตติกา (ดาวธงสามเหลี่ยม หรือ ดาวลูกไก่)
มี ๘ ดวง ๔. โรหิณี (ดาวพราหมีดาว ปลาตะเพียน หรือ ดาวคางหมู) มี
๗ ดวง ๕. มฤคศิร, มฤคเศียร, มิคสิระ (ดาวหัวเต่าดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะ
เนื้อ ดาวศีรษะโค ดาวมฤคศิรัส หรือ ดาวอาครหายณี) มี ๓ ดวง ๖.
อารทรา, อทระ (ดาวอัททา ดาวตัวโค หรือ ดาวตาสําเภา) มี ๑ ดวง
๗. ปุนัพสุ, ปุนัพพสู (ดาวหัวสําเภา ดาวสําเภาทอง ดาวสะเภา ดาวยามเกา
หรือ ดาวตาเรือชัย) มี ๓ ดวง ๘. บุษยะ, บุษย์, ปุษยะ, ปุสสะ (ดาวปุยฝ้าย
ดาวพวงดอกไม้ ดาวดอกบัว ดาวโลง ดาวปู ดาวสมอสําเภา หรือ ดาวสิธยะ)
มี ๕ ดวง ๙. อาศเลษา, อสิเลสะ (ดาวเรือน หรือ ดาวนกอยู่ในปล่อง) มี ๕
ดวง ๑๐. มฆ, มฆา, มาฆะ (ดาวโคมูตร ดาววานร ดาวงอนไถ หรือ ดาวงูผู้)
มี ๕ ดวง ๑๑. บุรพผลคุนี, ปุรพผลคุนี, ปุพพผลคุนี (ดาววัวตัวผู้ หรือ ดาว
งูเมีย) มี ๒ ดวง ๑๒. อุตรผลคุนี, อุตตรผลคุนี (ดาวเพดาน หรือ ดาววัว
ตัวเมีย) มี ๒ ดวง ๑๓. หัสต, หัสตะ, หัฏฐะ (ดาวศอกคู้ หรือ ดาวศีรษะช้าง)
มี ๕ ดวง ๑๔. จิตระ, จิตรา (ดาวต่อมนํ้า ดาวไต้ไฟ ดาวตาจระเข้ หรือ
ดาวเสือ) มี ๑ ดวง ๑๕. สวาดิ, สวาตี, สวัสติ (ดาวช้างพัง หรือ ดาวงูเหลือม)
มี ๕ ดวง ๑๖. วิศาขา, วิสาขะ (ดาวคันฉัตร หรือ ดาวศีรษะกระบือ) มี ๕
ดวง ๑๗. อนุราธ, อนุราธะ, อนุราธา (ดาวประจําฉัตร หรือ ดาวนกยูง) มี
๔ ดวง ๑๘. เชฏฐะ, เชษฐา (ดาวงาช้าง ดาวช้างใหญ่ ดาวคอนาค หรือ
ดาวแพะ) มี ๑๔ ดวง ๑๙. มูล, มูละ, มูลา (ดาวช้างน้อย หรือ ดาวแมว) มี ๙
ดวง ๒๐. ปุรพษาฒ, บุรพอาษาฒ,บุพพาสาฬหะ (ดาวสัปคับช้าง หรือ ดาว
ราชสีห์ตัวผู้) มี ๓ ดวง ๒๑. อุตราษาฒ, อุตตรอาษาฒ, อุตตราสาฬหะ
(ดาวแตรงอน หรือ ดาวราชสีห์ตัวเมีย) มี ๕ ดวง ๒๒. ศรวณะ, ศระวณ,
สาวนะ (ดาวหลักชัย หรือ ดาวพระฤๅษี) มี ๓ ดวง ๒๓. ธนิษฐะ, ธนิษฐา
(ดาวศรวิษฐา ดาวเศรษฐี หรือ ดาวไซ) มี ๔ ดวง ๒๔. ศตภิษัช, สตภิสชะ
(ดาวพิมพ์ทอง หรือ ดาวยักษ์) มี ๔ ดวง ๒๕. บุรพภัทรบท, ปุพพภัททะ
(ดาวโปฐบท ดาวแรดตัวผู้ หรือ ดาวหัวเนื้อทราย) มี ๒ ดวง ๒๖.
อุตรภัทรบท, อุตตรภัทรบท, อุตตรภัททะ (ดาวแรดตัวเมีย หรือ ดาวไม้เท้า)
มี ๒ดวง ๒๗. เรวดี (ดาวปลาตะเพียน หรือ ดาวนาง) มี ๑๖ ดวง. (ส.; ป.
นกฺขตฺต).
【 นักษัตรจักร 】แปลว่า: น. แผนที่หมู่ดาวที่ไม่เคลื่อนฐาน. (ส.).
【 นักษัตรเนมี 】แปลว่า: น. ดาวเหนือ. (ส.).
【 นักษัตรบดี 】แปลว่า: น. ดาวพระพุธ. (ส.).
【 นักษัตรบถ 】แปลว่า: น. ฟากฟ้า. (ส.).
【 นักษัตรปาฐก 】แปลว่า: น. นักดาราศาสตร์. (ส.).
【 นักษัตรมณฑล 】แปลว่า: น. ดาวหมู่หนึ่ง ๆ เช่น ดาวจระเข้ ดาวลูกไก่. (ส.).
【 นักษัตรมาลา 】แปลว่า: น. จักรราศีที่ดาวเวียน. (ส.).
【 นักษัตรโยค 】แปลว่า: น. การประจวบแห่ง (พระจันทร์กับ) ดาว. (ส.).
【 นักษัตรวิทยา 】แปลว่า: น. วิชาดาว, โหราศาสตร์. (ส.).
【 นักษัตร ๒ 】แปลว่า: [นักสัด] น. ชื่อรอบเวลา กําหนด ๑๒ ปี เป็น ๑ รอบ เรียกว่า ๑๒ นักษัตร
โดยกําหนดให้สัตว์เป็นเครื่องหมายในปีนั้น ๆ คือ ชวด-หนู ฉลู-วัว
ขาล-เสือ เถาะ-กระต่าย มะโรง-งูใหญ่ มะเส็ง-งูเล็ก มะเมีย-ม้า
มะแม-แพะ วอก-ลิง ระกา-ไก่ จอ-หมา กุน-หมู.
【 นักสราช 】แปลว่า: [นักสะราด] น. ตําแหน่งคนถือธงท้ายเรือพระที่นั่งพาย. (วชิรญาณ).
【 นัข 】แปลว่า: (กลอน) น. เล็บ, นิ้วมือ เช่น ทศนัข. (ป., ส. นข).
【 นัค ๑ 】แปลว่า: (แบบ) น. ภูเขา. (ป., ส. นค).
【 นัค ๒, นัคคะ 】แปลว่า: นักคะ ว. เปลือยกาย เช่น นัคสมณะ ว่า ชีเปลือย. (ป. นคฺค).
【 นั่ง 】แปลว่า: ก. อาการที่หย่อนก้นให้ติดกับพื้นหรือที่รองเช่นเก้าอี้.
【 นั่งกินนอนกิน 】แปลว่า: ว. มีความสุขสบายมากโดยไม่ต้องทํามาหากินอะไร.
【 นั่งขัดตะหมาด 】แปลว่า: (ปาก) ก. นั่งขัดสมาธิ.
【 นั่งขัดสมาธิ 】แปลว่า: [สะหฺมาด] ก. นั่งคู้เข่าทั้ง ๒ ข้างให้แบะลงที่พื้น แล้วเอาขาไขว้กัน
ทับฝ่าเท้า, (ปาก) นั่งขัดตะหมาด.
【 นั่งคุกเข่า 】แปลว่า: ก. นั่งโดยวิธีย่อเข่าลงให้ติดพื้น แล้วหย่อนก้นลงบนส้นเท้า.
【 นั่งซัง 】แปลว่า: ก. เข้าอยู่ในที่ซึ่งไม่มีใครจะทําอันตรายได้แล้ว, ขึ้นซัง ก็ว่า.
【 นั่งทาง 】แปลว่า: ก. ดักคอยทําร้ายกลางทาง, นั่งคอยระวังเหตุ.
【 นั่งทางใน 】แปลว่า: ก. นั่งเข้าสมาธิเพื่อหยั่งรู้ด้วยพลังจิต.
【 นั่งเทียน 】แปลว่า: น. เรียกวิธีทํานายอย่างหนึ่งโดยจุดเทียนติดไว้ที่ขอบปากบาตรเป็นต้น
แล้วนั่งเพ่งดูนํ้าในบาตร แล้วทํานายไปตามลักษณะของรูปที่ปรากฏ
ในนํ้านั้น.
【 นั่งแท่น 】แปลว่า: ก. ดำรงตำแหน่งที่มีอำนาจวาสนา.
【 นั่งในหัวใจ 】แปลว่า: (สํา) ก. รู้ใจ, ทําถูกต้องตรงตามที่ผู้อื่นคิดไว้.
【 นั่งปรก 】แปลว่า: [ปฺรก] ก. นั่งทําใจให้เป็นสมาธิกํากับพระสงฆ์ด้วยกันอีก ๔ รูปซึ่งสวด
ในพิธีที่มีสวดภาณวาร, นั่งเข้าสมาธิส่งกระแสจิตเข้าไปยังวัตถุมงคล
ในพิธีต่าง ๆ.
【 นั่งโป่ง 】แปลว่า: ก. นั่งบนห้างที่ผูกขึ้นบนต้นไม้คอยยิงสัตว์ที่มากินดินโป่ง.
【 นั่งพับเพียบ 】แปลว่า: ก. นั่งพับขาทั้ง ๒ ข้าง ให้ปลายเท้าไปทางเดียวกัน.
【 นั่งเมือง 】แปลว่า: ก. ครองเมือง.
【 นั่งยอง ๆ 】แปลว่า: ก. นั่งโดยวิธีชันเข่าทั้ง ๒ ข้าง ไม่ให้ก้นถึงพื้น.
【 นั่งร้าน 】แปลว่า: น. โครงร่างที่ทําด้วยไม้หรือโลหะ สําหรับนั่งหรือปีนป่ายในการก่อสร้าง
สิ่งสูง ๆ เช่นพระเจดีย์หรือตึก, ร่างร้าน ก็เรียก.
【 นั่งราว 】แปลว่า: ว. เรียกอาการที่ตัวโขนแสดงบทของตนแล้วไปนั่งประจําที่บนราว
ที่พาดไปตามส่วนยาวของโรงตรงหน้าฉากแทนนั่งเตียงว่า โขนนั่งราว
หรือ โขนโรงนอก.
【 นั่งเล่น 】แปลว่า: ก. นั่งพักผ่อน.
【 นั่งห้าง 】แปลว่า: ก. นั่งบนห้างที่ผูกขึ้นบนต้นไม้คอยยิงสัตว์.
【 นังคัล 】แปลว่า: (แบบ) น. ไถ. (ป.).
【 นัจ 】แปลว่า: (แบบ) น. การฟ้อนรํา. (ป. นจฺจ).
【 นัฏ, นัฏกะ 】แปลว่า: นัด, นัดตะกะ น. ผู้ฟ้อนรํา. (ป., ส. นฏฺฏ, นฏฺฏก).
【 นัฑ 】แปลว่า: (แบบ) น. ไม้อ้อ. (ส.; ป. นฬ).
【 นัด ๑ 】แปลว่า: ก. ตกลงกันเพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่งตามแต่จะกําหนด. น. การกําหนด
ตกลงว่าจะพบปะกันเป็นต้น เช่น มีนัด ผิดนัด; ลักษณนามเรียกการ
กําหนดประชุมครั้งหนึ่ง ๆ เช่น ขาดประชุม ๓ นัด.
【 นัดแนะ 】แปลว่า: ก. นัดและชี้แจงให้กันทราบ.
【 นัดหมาย 】แปลว่า: ก. กําหนดและกะกันไว้.
【 นัด ๒ 】แปลว่า: ก. เป่าหรือสูดให้วัตถุที่เป็นผงอย่างยานัตถุ์เข้าในจมูก เช่น นัดยานัตถุ์.
【 นัด ๓ 】แปลว่า: ลักษณนามเรียกกระสุนปืนทั้งที่ยังมิได้ยิงและที่ได้ยิงออกไปแล้ว เช่น
กระสุน ๓ นัด ยิงสลุต ๒๑ นัด.
【 นัดดา 】แปลว่า: น. หลานปู่, หลานตา. (ป. นตฺตุ).
【 นัตถุ์ 】แปลว่า: [นัด] น. จมูก. (ป.; ส. นสฺตุ).
【 นั่น 】แปลว่า: ส. คําใช้แทนนามที่อยู่ไกลกว่า นี่ เช่น นั่นอะไร, คําใช้แทนนามที่หมายถึง
บุคคลสิ่งของ หรือเรื่องที่อ้างถึง เช่น เอานี่ผสมนั่น. ว. ที่อยู่ไกลกว่า นี่
เช่น โต๊ะนั่น ที่นั่น.
【 นั่นซี, นั่นนะซี 】แปลว่า: คําแสดงการเห็นพ้องด้วย.
【 นั่นแน่ 】แปลว่า: คําแสดงการยืนยันการพบเห็นเป็นต้น เช่น นั่นแน่มาอยู่ที่นี่เอง
นั่นแน่ ว่าแล้วอย่างไรล่ะ.
【 นั่นปะไร, นั่นเป็นไร 】แปลว่า: คํากล่าวแสดงว่าเหตุการณ์เป็นอย่างที่พูดไว้, (ปาก) คำแสดงการ
ซ้ำเติม เช่น นั่นปะไร ว่าแล้วไม่เชื่อ.
【 นั่นแหละ 】แปลว่า: [แหฺละ] คําแสดงการเน้นให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น นั่นแหละ ใช่แล้ว
คุณนั่นแหละ.
【 นั่นเอง 】แปลว่า: คําประกอบคําอื่นแสดงการเน้นให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น เขานั่นเอง.
【 นั้น 】แปลว่า: ว. ใช้ประกอบนามหรือข้อความที่กล่าวอ้างมาแล้ว เช่น ในจดหมาย
ฉบับนั้น ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น, ใช้ประกอบนามที่อยู่ไกล
กว่า นี้ เช่น คนนั้น สิ่งนั้น, ใช้ประกอบคําอื่นคู่กับคํา ใด แสดงความ
แน่นอน เช่น คนใดคนนั้น เมื่อใดเมื่อนั้น.
【 นั้นแล 】แปลว่า: คําลงท้ายบอกว่าจบเรื่อง.
【 นันท 】แปลว่า: [นันทะ] น. ความสนุก, ความยินดี, ความรื่นเริง. (ป.).
【 นันทปักษี 】แปลว่า: น. ชื่อโรคเด็กอย่างหนึ่ง.
【 นันททายี 】แปลว่า: [นันทะ] น. ชื่อโคลงโบราณอย่างหนึ่ง, คู่กับ มหานันททายี.
【 นันทนาการ 】แปลว่า: [นันทะ] น. กิจกรรมที่ทําตามสมัครใจในยามว่าง เพื่อให้เกิดความ
สนุกสนานเพลิดเพลินและผ่อนคลายความตึงเครียด, การสราญใจ.
(อ. recreation).
【 นันทวัน 】แปลว่า: [นันทะ] น. ชื่อสวนของพระอินทร์ ๑ ใน ๔ แห่ง ได้แก่ นันทวัน
ปารุสกวัน จิตรลดาวัน และมิสกวัน. (ป. นนฺทวน).
【 นันทิ 】แปลว่า: น. ผู้มีความยินดี. (ส.).
【 นับ 】แปลว่า: ก. ตรวจหรือบอกให้รู้จํานวน; ถือเอาว่า เช่น มีเงินนับเป็นน้อง มีทอง
นับเป็นพี่.
【 นับถือ 】แปลว่า: ก. เชื่อถือยึดมั่น เช่น นับถือศาสนา, เคารพ เช่น นับถือผู้หลักผู้ใหญ่,
ยกย่อง เช่น นับถือว่าเป็นครูบาอาจารย์, ใช้เป็นคําลงท้ายจดหมาย
แสดงความสุภาพว่า ด้วยความนับถือ หรือ ขอแสดงความนับถือ.
【 นับหน้าถือตา 】แปลว่า: ว. เป็นที่เคารพยกย่อง เช่น เขาเป็นที่นับหน้าถือตาของคนทั่วไป.
【 นับประสา 】แปลว่า: ว. สํามะหา, จะเสียเวลาพูดไปทําไม, มักใช้ว่า นับประสาอะไร.
【 นัย 】แปลว่า: [ไน, ไนยะ] น. ข้อสําคัญ เช่น นัยแห่งเรื่องนี้; ความ, ความหมาย, เช่น
หลายนัย; แนว, ทาง, เช่น ตีความได้หลายนัย; แง่ เช่น อีกนัยหนึ่ง.
(ป. นย).
【 นัยว่า 】แปลว่า: [ไน] ว. มีเค้าว่า.
【 นัยน์ 】แปลว่า: น. ดวงตา. (ป., ส. นยน).
【 นัยน์ตา, นัยน์เนตร 】แปลว่า: น. ดวงตา.
【 นัยนามพุ 】แปลว่า: [ไนยะนามพุ] น. นํ้าตา. (ป. นยน + อมฺพุ).
【 นัยนา 】แปลว่า: ไนยะ น. ดวงตา. (ป., ส. นยน).
【 นัว 】แปลว่า: ว. ยุ่ง, นุง; (ถิ่นอีสาน) อร่อย.
【 นัวเนีย 】แปลว่า: ว. ปัวเปีย, พัลวัน, เกี่ยวพันกันยุ่ง.
【 นา ๑ 】แปลว่า: น. พื้นที่ราบทําเป็นคันกั้นนํ้าเป็นแปลง ๆ สําหรับปลูกข้าวเป็นต้น,
พื้นที่มีลักษณะคล้ายนาสําหรับทําประโยชน์อื่น ๆ เรียกตามสิ่งที่ทํา
เช่น นาเกลือ นากุ้ง นาผักกระเฉด, ใช้ประกอบกับคําอื่นที่เกิดหรือ
เกี่ยวข้องกับนา เช่น เต่านา ปูนา.
【 นาขอบเหล็ก 】แปลว่า: น. นาชนิดที่ไม่มีทางจะบุกเบิกออกไปได้อีก, นาเชิงทรง ก็ว่า.
【 นาคู่โค 】แปลว่า: น. นาที่ได้ทํามาแล้วนาน เป็นนาดี ทําแล้วไม่ใคร่เสีย.
【 นาเชิงทรง 】แปลว่า: น. นาชนิดที่ไม่มีทางจะบุกเบิกออกไปได้อีก, นาขอบเหล็ก ก็ว่า.
【 นาดำ 】แปลว่า: น. นาชนิดที่ใช้ถอนต้นกล้ามาปลูก.
【 นาปรัง 】แปลว่า: น. นาที่ทำในฤดูแล้งนอกฤดูทํานา.
【 นาปี 】แปลว่า: น. นาที่ทำในฤดูฝนซึ่งเป็นฤดูทํานา.
【 นาฟางลอย 】แปลว่า: น. นาที่ปลูกข้าวชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “ข้าวขึ้นน้ำ” เนื่องจากมีรากยาว
สามารถหนีน้ำที่บ่ามาท่วมได้รวดเร็ว สามารถแตกแขนงตามข้อและที่
ข้อจะมีรากงอกออกมาสำหรับดูดหาอาหาร นิยมปลูกในท้องที่ซึ่งมีระดับ
น้ำสูงตั้งแต่ ๑-๔ เมตร,นาเมือง ก็เรียก.
【 นาเมือง 】แปลว่า: น. นาฟางลอย; เรียกข้าวเปลือกที่มีเมล็ดสั้นเนื้อฟ่ามว่า ข้าวนาเมือง.
【 นาสวน 】แปลว่า: น. นาข้าวที่ปลูกในพื้นที่ซึ่งมีระดับน้ำลึกตั้งแต่ ๑ เมตรลงมา; เรียก
ข้าวเปลือกที่มีเมล็ดแข็งเป็นมันว่า ข้าวนาสวน.
【 นาหว่าน 】แปลว่า: น. นาชนิดที่หว่านเมล็ดข้าวลงในนา.
【 นา ๒ 】แปลว่า: (แบบ) คําบทบูรณ์ มักใช้ประกอบท้ายคําบทร้อยกรองให้มีความกระชับ
หรือสละสลวยขึ้น เช่น แลนา.
【 นา ๓ 】แปลว่า: (โบ; เลิก) น. ตำแหน่งเจ้ากระทรวงปกครองครั้งโบราณ มีหน้าที่ดูแล
รักษานาหลวงจัดหาและรักษาเสบียงอาหารสำหรับพระนคร ดูแล
ทุกข์สุขของชาวไร่ชาวนา.
【 น่า ๑ 】แปลว่า: ว. คําประกอบหน้ากริยา หมายความว่า ควร เช่น น่าจะทําอย่างนั้น
น่าจะเป็นอย่างนี้; ชวนให้, ทําให้อยากจะ, เช่น น่ากิน น่ารัก.
【 น่าเกลียดน่าชัง 】แปลว่า: (สํา) ว. น่ารักน่าเอ็นดู (ใช้แก่เด็กเล็ก ๆ).
【 น่า ๒ 】แปลว่า: ว. คําประกอบท้ายความ หมายความไปในทางชักชวนหรือให้ทําตาม
เช่น กินเถิดน่า ไปเถิดน่า.
【 น้า 】แปลว่า: น. น้องของแม่, เรียกผู้ที่มีวัยอ่อนกว่าแม่.
【 นาก ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Mustelidae ขนลําตัวสีนํ้าตาลอมเทา
มี ๒ ชั้น ชั้นในละเอียด ชั้นนอกหยาบ หัวกว้างและแบน ระหว่างนิ้วมี
แผ่นพังผืดขึงอยู่คล้ายตีนเป็ดหางแบน ขาหลังใหญ่และแข็งแรงกว่า
ขาหน้า ใช้ว่ายนํ้าร่วมกับหาง ไล่จับปลาและสัตว์นํ้าเล็ก ๆ ในประเทศ
ไทย มี ๔ ชนิด ที่มีจํานวนมากและรู้จักกันทั่วไป คือ นากใหญ่ขนเรียบ
(/Lutra perspicillata/) และนากเล็กเล็บสั้น (/Aonyx cinerea/).
【 นาก ๒ 】แปลว่า: น. โลหะผสมชนิดหนึ่ง โดยเอาทองคํา เงิน กับทองแดงผสมเข้าด้วยกัน
นิยมใช้ทํารูปพรรณต่าง ๆ. ว. เรียกสีอย่างสีทองปนแดง เช่น ชมพู่สีนาก.
【 นากสวาด 】แปลว่า: [สะหวาด] ว. เรียกสีสวาดชนิดที่มีสีนากเจือ, เรียกสีเนื้อโลหะ พระพุทธรูป
ที่มีสีแดงอมส้ม.
【 นากบุด 】แปลว่า: (ถิ่นปักษ์ใต้) น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด/ Mesua nervosa/ Planch.
et Triana ในวงศ์ Guttiferae กลีบดอกสีขาว มีเกสรเพศผู้สีเหลือง
จำนวนมาก.
【 นากาสาหรี 】แปลว่า: [หฺรี] น. ดอกสารภี. (ช.).
【 นาค ๑, นาค 】แปลว่า: [นาก, นากคะ] น. งูใหญ่มีหงอน เป็นสัตว์ในนิยาย. (ป., ส.).
【 นาคเกี่ยว, นาคเกี้ยว, นาคเกี่ยวพระสุเมรุ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 นาคเกี้ยวกระหวัด, นาคบริพันธ์ 】แปลว่า: [นากคะบอริพัน] น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง.
【 นาคบาศ 】แปลว่า: [นากคะบาด] น. บ่วงที่เป็นงู เป็นชื่อศรของอินทรชิตที่แผลงไปเป็นงู. (ส.).
【 นาคปรก 】แปลว่า: [นากปฺรก] น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ
หงายพระหัตถ์ทั้ง ๒ วางซ้อนกันบนพระเพลา มีพญานาคแผ่พังพาน
ปกคลุมเบื้องบนพระเศียร ที่สร้างเป็นแบบขัดสมาธิเพชรก็มี มี ๒ แบบ
แบบหนึ่งประทับนั่งสมาธิบนขนดพญานาคอีกแบบหนึ่งประทับนั่ง
สมาธิภายในวงขนดพญานาค คือพญานาคขดตัวล้อมพระกายไว้ถึง
พระอังสา เพื่อป้องกันลมฝน.
【 นาคปัก 】แปลว่า: [นากปัก] น. รูปหัวนาคที่ปักกับบันแถลงที่หลังคาปราสาทหรือบุษบก.
【 นาคพันธ์ 】แปลว่า: [นากคะ] น. ชื่อโคลงโบราณชนิดหนึ่ง, สนธิอลงกต ก็ว่า.
【 นาครวย 】แปลว่า: [นากรวย] น. ตัวไม้ที่ทำอย่างตัวนาค ทอดตรงลงมาจากอกไก่ถึง
แปหาญทั้ง ๒ ข้างของหน้าบัน.
【 นาคราช ๑ 】แปลว่า: [นากคะ] น. พญางู; ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 นาคราชแผลงฤทธิ์ 】แปลว่า: น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง.
【 นาคลดา 】แปลว่า: [นากคะ] น. เถาวัลย์งู, เถาพลู.
【 นาคเล่นน้ำ 】แปลว่า: น. นํ้าที่พุ่งเป็นลําขึ้นไปในอากาศเนื่องจากลมงวง, พวยนํ้า ก็ว่า.
【 นาควิถี 】แปลว่า: [นากคะ] น. ทางที่พระจันทร์เดินไปในระหว่างดาวสวาดิ (หรือ อัศวินี)
ภรณี และกฤติกา. (ส.).
【 นาคสะดุ้ง 】แปลว่า: น. ตัวไม้ที่ทำอย่างตัวนาค ทอดต่อลงมาจากแปหาญถึงหางหงส์
ทั้ง ๒ ข้างของหน้าบัน โบราณเรียกว่า เครื่องสะดุ้ง.
【 นาคสังวัจฉระ 】แปลว่า: [นากคะสังวัดฉะระ] น. ปีมะโรง. (ป.).
【 นาค ๒, นาคา ๑ 】แปลว่า: [นาก] น. ชื่อชนเผ่าหนึ่งอยู่ในบริเวณเทือกเขานาค ทางตะวันออกเฉียง
เหนือของประเทศอินเดีย และทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศพม่า
มีหลายสาขา เช่น อาโอนาค กูกินาค.
【 นาค ๓, นาค 】แปลว่า: นาก, นากคะ น. ช้าง. (ป.).
【 นาคทนต์ 】แปลว่า: [นากคะ] น. งาช้าง. (ป., ส.).
【 นาค ๔ 】แปลว่า: นาก น. ไม้กากะทิง. (ป.).
【 นาค ๕ 】แปลว่า: นาก น. ผู้ประเสริฐ, ผู้ไม่ทําบาป; เรียกคนที่ไปอยู่วัดเตรียมตัว
จะบวชหรือกําลังจะบวช. (ป., ส.).
【 นาคร 】แปลว่า: [นาคอน] น. ชาวนคร, ชาวกรุง. (ป., ส.).
【 นาคราช ๑ 】แปลว่า: /ดูใน นาค ๑, นาค./
【 นาคราช ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อเฟินหลายชนิดในสกุล /Davallia/ วงศ์ Davalliaceae ลําต้นสีนํ้าตาล
แซมดําเป็นเกล็ดคล้ายเกล็ดงู ใช้ทํายาได้ เช่น ชนิด/ D. denticulata/ Mett.
【 นาคา ๒ 】แปลว่า: (กลอน) น. งู.
【 นาคาวโลก 】แปลว่า: [คาวะ] น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์
ซ้ายห้อยเยื้องมาข้างหน้าประทับไว้ที่พระเพลาข้างซ้าย พระหัตถ์ขวา
ห้อยลงข้างพระองค์ตามปรกติเอี้ยวพระกายผินพระพักตร์เหลียวไป
ข้างหลัง เป็นกิริยาทอดพระเนตรพระนครไพศาลีผิดปรกติคล้ายดูอย่าง
ไว้อาลัย ด้วยจะเป็นการเห็นครั้งสุดท้าย จะไม่ได้เสด็จมาเห็นอีกต่อไป.
【 นาคินทร์, นาเคนทร์, นาเคศ, นาเคศวร 】แปลว่า: [นาคิน, เคน, เคด, เคสวน] น. พญาช้าง, พญางู.
【 นาคี ๑ 】แปลว่า: (กลอน) น. งู เช่น นาคีมีพิษเพี้ยง สุริโย. (โลกนิติ).
【 นาคี ๒ 】แปลว่า: (กลอน) น. ช้าง เช่น ขี่ยาตรานาคี. (ตะเลงพ่าย).
【 นาโครคินทระ 】แปลว่า: นาโคระคินทฺระ น. พญานาค เช่น อันว่าพระญานาโครคินทรก
คํานึง. (นันโท). (ส. นาค + อุรค + อินฺทฺร).
【 นาง ๑ 】แปลว่า: น. คําประกอบหน้าคําเพื่อแสดงว่าเป็นเพศหญิง เช่น นางฟ้า นางบําเรอ
นางละคร นางพระกํานัล; คําแทนชื่อหญิง เช่น นางก็ร้อยพวงมาลัย;
(กฎ) คํานําหน้าชื่อหญิงผู้มีสามีแล้ว, คํานําหน้าชื่อภรรยาที่เรียกตามราช
ทินนามของสามีที่มีบรรดาศักดิ์ตํ่ากว่าพระยาลงมา; คำเรียกสัตว์ตัวเมีย
โดยสุภาพ เช่น นางช้าง นางม้า; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์เรวดี มี ๑๖ ดวง,
ดาวปลาตะเพียน ก็เรียก.
【 นางกราย 】แปลว่า: น. ท่ารําชนิดหนึ่งที่หมอช้างรําเมื่อนําช้างบํารูงาเสร็จครั้งแรกแล้ว.
【 นางกวัก ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ทําด้วยจะงอยงวงช้างหรือสิ่งอื่น โดยเชื่อว่าเป็น
เครื่องเรียกเอาโชคลาภมาให้.
【 นางกำนัล 】แปลว่า: น. นางอยู่งานที่ทรงใช้สอยในพระราชมนเทียร และได้รับพระราชทาน
หีบหมากกาไหล่ แต่ยังไม่นับว่าเป็นเจ้าจอม.
【 นางงาม 】แปลว่า: น. หญิงสาวที่ชนะการประกวดความงาม.
【 นางจรัล 】แปลว่า: น. เสาที่ปักรายเป็นแถว ไว้ระยะแต่ละต้นห่างกันพอสมควร สำหรับ
แสดงแนวถนนหรือกั้นเขต, นางเรียง ก็ว่า.
【 นางตานี 】แปลว่า: น. ผีผู้หญิงที่เชื่อว่าสิงอยู่ที่ต้นกล้วยตานี.
【 นางแต่งตัวสะ 】แปลว่า: น. หญิงสาววัยรุ่นแต่งตัวใส่เกี้ยว นุ่งผ้าลายพื้นเขียว ห่มผ้าแพร
พื้นแดงเดินประนมมือตามกระบวนแห่เต็มยศขนาบ พระราชยาน
ในพระราชพิธีโสกันต์, นางสะ หรือ สาวสะ ก็เรียก.
【 นางท้าว 】แปลว่า: น. หญิงซึ่งรับบรรดาศักดิ์และมีหน้าที่ระวังรักษาราชการฝ่ายใน
ในพระบรมมหาราชวัง; นางพญา.
【 นางแนบ 】แปลว่า: น. เสาหินคู่หนึ่ง สลักลวดลายตั้งแนบกรอบเช็ดหน้า สำหรับประดับ
ตกแต่ง ๒ ข้างประตูปราสาทหินให้ดูงดงาม และมีส่วนช่วยค้ำจุน
ทับหลังด้วย, บังอวด ก็ว่า.
【 นางใน 】แปลว่า: น. นางพนักงานฝ่ายใน.
【 นางบำเรอ 】แปลว่า: น. หญิงที่ปรนเปรอเฉพาะชายคนใดคนหนึ่งในทางกามารมณ์
โดยมิได้อยู่ในฐานะภรรยา.
【 นางแบบ 】แปลว่า: น. ผู้หญิงที่แสดงแบบเสื้อหรือเครื่องประดับเป็นต้น.
【 นางพญา 】แปลว่า: น. พระราชินี, นางผู้เป็นใหญ่.
【 นางพระกำนัล 】แปลว่า: น. คุณพนักงานหญิงที่ยังมิได้แต่งงาน มีหน้าที่ปฏิบัติรับใช้
พระราชินีในการเสด็จไปในพระราชพิธีต่าง ๆ.
【 นางฟ้า 】แปลว่า: น. นางในเทพนิยายที่ถือว่าอยู่บนสวรรค์.
【 นางเมือง 】แปลว่า: (โบ) น. มเหสี, พระชายา.
【 นางไม้ 】แปลว่า: น. ผีผู้หญิงที่เชื่อว่าสิงอยู่ตามต้นไม้ใหญ่มีต้นตะเคียนเป็นต้น.
【 นางรอง 】แปลว่า: น. ตัวรองฝ่ายหญิงในการแสดงละครหรือภาพยนตร์เป็นต้น.
【 นางร้องไห้ 】แปลว่า: น. หญิงที่ทําหน้าที่หรือรับจ้างร้องไห้ครํ่าครวญถึงคุณความดี
ของผู้ตาย.
【 นางเรียง 】แปลว่า: น. เสาที่ปักรายเป็นแถว ไว้ระยะแต่ละต้นห่างกันพอสมควร สำหรับ
แสดงแนวถนนหรือกั้นเขต, นางจรัล ก็ว่า.
【 นางโลม 】แปลว่า: (ปาก) น. หญิงโสเภณี.
【 นางสนองพระโอษฐ์ 】แปลว่า: น. คุณพนักงานหญิงที่แต่งงานแล้ว มีหน้าที่รับพระราชเสาวนีย์
ไปปฏิบัติหรือเชิญพระราชเสาวนีย์ไปติดต่อข้อราชการตาม
พระราชประสงค์ของพระราชินี.
【 นางสะ 】แปลว่า: น. หญิงสาววัยรุ่นแต่งตัวใส่เกี้ยว นุ่งผ้าลายพื้นเขียว ห่มผ้าแพร
พื้นแดง เดินประนมมือตามกระบวนแห่เต็มยศขนาบพระราชยาน
ในพระราชพิธีโสกันต์, นางแต่งตัวสะ หรือ สาวสะ ก็เรียก.
【 นางสาว 】แปลว่า: (กฎ) น. คํานําหน้าชื่อหญิงที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
และยังไม่มีสามี.
【 นางห้าม 】แปลว่า: น. หญิงสามัญที่เป็นภรรยาของเจ้านายที่ไม่ใช่สะใภ้หลวง.
【 นางอ้อม 】แปลว่า: น. คร่าวเสาเพนียด.
【 นางเอก 】แปลว่า: น. ตัวเอกฝ่ายหญิงในการแสดงละครหรือภาพยนตร์เป็นต้น.
【 นาง ๒ 】แปลว่า: ใช้แทนคําว่า อี ที่เป็นพยางค์ต้นของบางคําเพื่อความสุภาพ เช่น นางรม
นางแอ่น. /(ดู อี)./ น. คําเรียกหญิง มักกล่าวเป็นเชิงเหยียดหยามเป็นต้น,
พูดเป็นเสียงสั้นว่า นัง ก็มี.
【 นาง ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองต่าง ๆ ที่มีคําว่า นาง ขึ้นต้น เช่น นางครวญ
นางนาค นางนก. (รามเกียรติ์ ร. ๒).
【 นาง ๔ 】แปลว่า: /ดู ชะโอน และ เนื้ออ่อน./
【 นางกวัก ๑ 】แปลว่า: /ดูใน นาง ๑./
【 นางกวัก ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวใต้ดินชนิด/ Eucharis grandiflora /Planch. et Link.
ในวงศ์ Amaryllidaceae ดอกสีขาว กลิ่นหอมในตอนเย็น นิยมปลูกไว้
ในบ้านโดยเชื่อว่านําโชคลาภมาให้, ว่านนางกวัก ก็เรียก.
【 นางเกล็ด 】แปลว่า: น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด /Thynnichthys thynnoides/ ในวงศ์ Cyprinidae ลําตัว
เพรียวแบนข้างเล็กน้อย ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด เกล็ดเล็ก
เฉพาะบนเส้นข้างตัวมี ๕๘-๖๕ เกล็ด พื้นลําตัวสีเงินเป็นประกาย พบ
ทั่วไปแต่มีชุกชุมในเขตภาคกลางของประเทศไทย ขนาดยาวได้ถึง ๒๕
เซนติเมตร, เกล็ดถี่ พรม หรือ ลิง ก็เรียก.
【 นางจุม, นางชม 】แปลว่า: /ดู กะทกรก (๑)./
【 นางดำ 】แปลว่า: (ถิ่นอีสาน) น. ต้นหยี. /(ดู หยี ๒)./
【 นางนวล 】แปลว่า: น. ชื่อนกนํ้าในวงศ์ Laridae มี ๒ วงศ์ย่อย คือ นางนวลใหญ่ ใน
วงศ์ย่อย Larinae ตัวใหญ่แข็งแรง ปากงองุ้มเล็กน้อย ปีกกว้าง
ปลายหางกลม กินปลาโดยโฉบกินตามผิวนํ้าหรือรวมฝูงกันจับ
ปลาขณะว่ายนํ้าในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น นางนวลธรรมดา (/Larus/
/brunnicephalus/) นางนวลขอบปีกขาว (/L. ridibundus/), และนางนวล
แกลบในวงศ์ย่อย Sterninae ตัวเล็กเพรียวลม ปลายปากแหลม
ปลายหางมี ๒ แฉก กินปลาและสัตว์นํ้าขนาดเล็กโดยดําลงไปจับ
เหยื่อหรือโฉบกินตามผิวนํ้า แต่มักไม่ชอบว่ายนํ้าเหมือนนางนวล
ใหญ่ มีหลายชนิด เช่น นางนวลแกลบธรรมดา (/Sterna hirundo/)
นางนวลแกลบท้ายทอยดํา (/S. sumatrana/) นางนวลแกลบเล็ก
(/S. albifrons/).
【 นางนูน 】แปลว่า: /ดู อีนูน./
【 นางแย้ม 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด /Clerodendrum chinense/ (Osbeck) Mabb.
ในวงศ์ Labiatae ใบออกตรงข้ามกัน โคนใบเว้าแบบหัวใจ ขอบใบหยัก
มีขนเล็กน้อย ดอกเป็นช่อสั้น ๆเบียดกันแน่น กลีบดอกมักซ้อน สีขาว
หรือแดงเรื่อ ๆ กลิ่นหอม.
【 นางรม ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่หลายชนิดในวงศ์ Ostreidae รูปร่างค่อนข้างกลม
หรือยาวรี มีสีต่าง ๆ กัน ส่วนใหญ่เป็นสีเทา เปลือกด้านล่างโค้งเล็กน้อย
ยึดติดกับวัสดุที่เกาะ นิยมใช้เป็นอาหาร เช่น ชนิด /Saccostrea forskali,/
อีรม ก็เรียก.
【 นางรม ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อเห็ดชนิด /Pleurotus ostreatus /(Fr.) Qu?l. ในวงศ์ Polyporaceae
ขึ้นเป็นกลุ่มบนขอนไม้ โคนก้านดอกติดกัน มีหลายพันธุ์ ดอกเห็ด
สีขาวหรือขาวอมเทา เนื้อนุ่มกินได้, ชื่อที่ถูกต้องคือ เห็ดหอยนางรม.
【 นางรมใหญ่ 】แปลว่า: /ดู ตะโกรม./
【 นางรำ 】แปลว่า: /ดู กระช้อยนางรํา./
【 นางล้อม 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวใต้ดินชนิด /Proiphys amboiensis/ (L.) Hebert
ในวงศ์ Amaryllidaceae เชื่อว่าป้องกันขโมยได้, ว่านนางล้อม ก็เรียก.
(๒) ชื่อกกชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓).
【 นางเล็ด 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยข้าวเหนียวนึ่งแผ่เป็นแผ่นกลม ตากแห้ง
ทอดนํ้ามันให้พองแล้วโรยนํ้าตาลเคี่ยว.
【 นางเลิ้ง 】แปลว่า: น. หม้อขนาดใหญ่สําหรับใส่นํ้า. (ปรัดเล), ตุ่ม.
【 นางหงส์ 】แปลว่า: น. ชื่อวงปี่พาทย์ไทยที่ผสมวงอีกแบบหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยปี่ชวา
และกลองมลายูสําหรับบรรเลงในงานศพ; ชื่อเพลงไทยชุดหนึ่ง
ใช้ประโคมศพ.
【 นางอาย 】แปลว่า: /ดู ลิงลม./
【 นางแอ่น 】แปลว่า: น. นกอีแอ่น. /(ดู อีแอ่น)./
【 นาฏ, นาฏ 】แปลว่า: [นาด, นาตะ, นาดตะ] น. นางละคร, นางฟ้อนรํา, ใช้ประกอบกับ
คําอื่น หมายความว่า หญิงสาวสวย เช่น นางนาฏ นุชนาฏ. (ป., ส.).
นาฏกรรม [นาดตะกํา] น. การละครหรือการฟ้อนรํา; (กฎ) งาน
เกี่ยวกับการรํา การเต้น การทําท่า หรือการแสดงที่ประกอบขึ้น
เป็นเรื่องราว และหมายความรวมถึงการแสดงโดยวิธีใบ้ด้วย. (ส.).
【 นาฏดนตรี 】แปลว่า: [นาตะดนตฺรี] น. ลิเก.
【 นาฏศิลป์ 】แปลว่า: [นาดตะสิน] น. ศิลปะแห่งการละครหรือการฟ้อนรํา. (ส.).
【 นาฏกะ 】แปลว่า: นาตะกะ, นาดตะกะ น. ผู้ฟ้อนรํา. (ป., ส.).
【 นาฏย 】แปลว่า: นาดตะยะ ว. เกี่ยวกับการฟ้อนรํา, เกี่ยวกับการแสดงละคร,
เช่น นาฏยศาลา. (ส. นาฏฺย).
【 นาด 】แปลว่า: ก. ทอดแขนให้อ่อนงาม.
【 นาถ 】แปลว่า: นาด, นาถะ น. ที่พึ่ง, ผู้เป็นที่พึ่ง. (ป., ส.).
【 นาท 】แปลว่า: น. ความบันลือ; เสียงบันลือ, เสียงร้อง. (ป., ส.).
【 นาที 】แปลว่า: น. ชื่อหน่วยเวลา เท่ากับ ๑ ใน ๖๐ ของชั่วโมง. (เทียบ ส. นาฑี).
【 นาน 】แปลว่า: ว. ยาว, ช้า, (ใช้แก่เวลา) เช่น กินเวลานาน.
【 นานนม 】แปลว่า: ว. นานมาก, นมนาน ก็ว่า.
【 นานสองนาน 】แปลว่า: ว. นานมาก.
【 นานแสนนาน 】แปลว่า: ว. นานเหลือเกิน.
【 น่าน 】แปลว่า: น. ย่าน, เขต, เช่น น่านนํ้า.
【 น่านน้ำ 】แปลว่า: น. พื้นที่ทางนํ้า, เขตทางนํ้า.
【 น่านน้ำอาณาเขต 】แปลว่า: น. น่านนํ้าต่าง ๆ รวมทั้งทะเลอาณาเขตและน่านนํ้าที่อยู่ภายใน
แผ่นดิน ซึ่งอยู่ภายใต้อธิปไตยของรัฐใดรัฐหนึ่ง.
【 น่านฟ้า 】แปลว่า: น. พื้นที่ทางอากาศ, เขตทางอากาศ.
【 นานัครส 】แปลว่า: [นานักคะรด] น. รสเลิศต่าง ๆ เช่น นานัครสโภชชาหาร. (ม. ร่ายยาว
วนปเวสน์). (ป. นานา + อคฺค + รส).
【 นานัตว 】แปลว่า: นานัด น. ความเป็นต่าง ๆ. (ส.).
【 นานัปการ 】แปลว่า: [นานับปะกาน] ว. มีหลายอย่าง, นานาประการ ก็ว่า. (ป. นานปฺปการ).
【 นานา 】แปลว่า: ว. ต่าง ๆ. (ป.).
【 นานาจิตตัง 】แปลว่า: ว. ต่างจิตต่างใจ, ต่างคนก็ต่างความคิดเช่นคนหนึ่งถูกกับอากาศเย็น
แต่อีกคนหนึ่งถูกกับอากาศร้อน.
【 นานาเนก 】แปลว่า: ว. ต่าง ๆ กันมากมาย, ใช้ย่อว่า นาเนก ก็มี. (ป. นานา + อเนก).
【 นานาประการ 】แปลว่า: ว. มีหลายอย่าง, นานัปการ ก็ว่า. (ส.).
【 นานาสังวาส 】แปลว่า: น. การอยู่ร่วมต่างกัน (ใช้แก่พระสงฆ์ที่มีศีลไม่เสมอกัน ทำอุโบสถ
หรือสังฆกรรมร่วมกันไม่ได้).
【 นาเนก 】แปลว่า: ว. ต่าง ๆ กันมากมาย. (ย่อมาจาก นานาเนก).
【 นาบ 】แปลว่า: ก. เอาสิ่งที่มีความร้อนรีดหรือกดลงไป เช่น นาบพลู นาบใบตอง
เอาเหล็กร้อนนาบเท้า, เรียกพลูที่นาบแล้วว่า พลูนาบ.
【 นาบข้าว 】แปลว่า: ก. เอาไม้ยาวกดต้นข้าวให้ราบลงเพื่อเกี่ยว.
【 นาภิ, นาภี ๑ 】แปลว่า: น. สะดือ, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนาภี, เช่น พระพุทธรูปส่วนสูงวัดจาก
พระบาทถึงพระนาภี, ท้อง เช่น ประชวรพระนาภี; ดุมเกวียน, ดุมรถ;
ศูนย์กลาง. (ป., ส.).
【 นาภี ๒ 】แปลว่า: น. ชะมด เช่น มฤคนาภี ว่า ตัวชะมด. (ป., ส.).
【 นาม, นาม 】แปลว่า: [นามมะ] น. ชื่อ, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนาม; คําชนิดหนึ่งในไวยากรณ์
สําหรับเรียกคน สัตว์ และสิ่งของต่าง ๆ; สิ่งที่ไม่ใช่รูป คือ จิตใจ, คู่กับ
รูป. (ป.).
【 นามกร 】แปลว่า: นามมะกอน น. ชื่อ, นาม.
【 นามธรรม 】แปลว่า: [นามมะทํา] น. สิ่งที่ไม่มีรูป คือ รู้ไม่ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย รู้ได้
เฉพาะทางใจเท่านั้น, คู่กับ รูปธรรม. (ส.; ป. นามธมฺม).
【 นามไธย 】แปลว่า: [นามมะไท] น. ชื่อตั้ง, ทินนาม (เช่นนามบรรดาศักดิ์). (ป. นามเธยฺย).
【 นามบัตร 】แปลว่า: [นามบัด] น. แผ่นกระดาษค่อนข้างแข็งและเล็กเป็นต้นที่พิมพ์
บอกชื่อตัว นามสกุล หรือที่อยู่ที่ทํางานไว้เพื่อแนะนําตัวเป็นต้น.
【 นามปากกา 】แปลว่า: น. ชื่อแฝงที่นักเขียนหรือนักประพันธ์ใช้แทนชื่อจริงของตน.
【 นามแฝง 】แปลว่า: น. ชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อพรางหรือแทนชื่อจริง.
【 นามสกุล 】แปลว่า: น. ชื่อสกุล.
【 นามสงเคราะห์ 】แปลว่า: [นามมะสง] น. หนังสือที่รวบรวมคําพูดไว้, อภิธาน; สมุดรายชื่อ
พร้อมทั้งที่อยู่หรือที่ทํางานของบุคคล. (ส.).
【 นามสมญา 】แปลว่า: [นามสมยา] น. สมญา.
【 นามานุกรม 】แปลว่า: [นุกฺรม] น. พจนานุกรมคําวิสามานยนาม.
【 นามานุศาสตร์ 】แปลว่า: น. อภิธานคําชื่อ. (ส.).
【 นามาภิไธย 】แปลว่า: น. ชื่อ (ใช้เฉพาะสมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี
สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
และสมเด็จพระบรมราชกุมารี), ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนามาภิไธย
เช่น ทรงลงพระนามาภิไธย.
【 นามานุกรม 】แปลว่า: /ดู นาม, นาม./
【 นามานุศาสตร์ 】แปลว่า: /ดู นาม, นาม./
【 นามาภิไธย 】แปลว่า: /ดู นาม, นาม–./
【 นาย 】แปลว่า: น. (กฎ) คํานําหน้าชื่อชายที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป; ผู้เป็นใหญ่,
ผู้เป็นหัวหน้า, ผู้จ้าง, เช่น เขาเป็นนาย นายไม่อยู่; ผู้เป็นใหญ่เป็นหัวหน้า
ในกิจการนั้น ๆ เช่น นายตรวจ นายทะเบียน, ผู้ควบคุม เช่น นายหมู่
นายหมวด, ผู้ชํานาญในกิจการนั้น ๆ เช่น นายไปรษณีย์ นายช่าง; (ปาก)
ใช้นําหน้ายศทหารตํารวจ เช่น นายพล นายพัน นายร้อย นายสิบ, คำนำ
หน้าตำแหน่ง เช่น นายม้าต้น; เมื่อใช้เป็นคํานําราชทินนามเป็นบรรดาศักดิ์
ของข้าราชการในราชสํานักในสมัยก่อนเลิกบรรดาศักดิ์ เช่น นายนรินทร์ธิเบศ
นายมหานุภาพ นายสุจินดา นายวรการบัญชา. (ปาก) ส. คําใช้แทนผู้ที่เรา
พูดด้วย ใช้สําหรับเพื่อนฝูงในลักษณะที่เป็นกันเอง เช่น เย็นนี้นายจะไป
ด้วยไหม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
【 นายคลังสินค้า 】แปลว่า: (กฎ) น. บุคคลผู้รับทำการเก็บรักษาสินค้าเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้า
ปรกติของตน.
【 นายงาน 】แปลว่า: น. หัวหน้างาน.
【 นายเงิน 】แปลว่า: (โบ) น. ผู้เป็นเจ้าของเงินไปช่วยไถ่ทาสเอามาใช้.
【 นายจ้าง 】แปลว่า: น. ผู้จ้างทําการงาน, คู่กับ ลูกจ้าง; (กฎ) บุคคลซึ่งตกลงว่าจ้างบุคคล
อีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่า ลูกจ้าง ให้ทำงานให้และจะให้สินจ้างตลอดเวลา
ที่ทำงานให้นั้น.
【 นายตรวจ 】แปลว่า: น. ชื่อตําแหน่งในราชการ เช่น นายตรวจสรรพสามิต นายตรวจสรรพากร;
ผู้ตรวจตั๋วบนรถเมล์หรือรถไฟเป็นต้น.
【 นายทะเบียน 】แปลว่า: น. พนักงานซึ่งมีหน้าที่จัดทำและรักษาทะเบียน.
【 นายท่า 】แปลว่า: น. ผู้มีหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการที่ท่าเรือท่ารถ เช่นในการปล่อยเรือ
ปล่อยรถตามกําหนดเวลาเป็นต้น.
【 นายท้าย 】แปลว่า: น. ผู้ถือท้ายเรือ มีหน้าที่ควบคุมเรือให้แล่นไปตามทิศทาง โดยเฉพาะ
ตามแม่นํ้าลําคลอง.
【 นายทุน 】แปลว่า: น. ผู้ที่เป็นเจ้าของทุนที่ใช้ในการผลิตสินค้า, ผู้ลงทุนประกอบกิจการหรือ
ออกทุนให้ผู้อื่นประกอบกิจการ.
【 นายธง 】แปลว่า: น. นายทหารเรือคนสนิทของผู้บัญชาการทหารเรือหรือแม่ทัพเรือ เป็นต้น.
【 นายประกัน 】แปลว่า: น. ผู้รับประกันหรือคํ้าประกัน, ผู้รับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายแทน.
【 นายประเพณี 】แปลว่า: (โบ) น. หัวหน้ารักษาประโยชน์ของวัดและบํารุงวัดได้บังคับว่ากล่าว
ทั่วไป (ทํานองมรรคนายก). (ประชุมพงศ.).
【 นายโรง 】แปลว่า: น. พระเอกลิเก, เจ้าของคณะลิเก; หัวหน้าคณะหนังตะลุงหรือมโนราห์.
【 นายว่าขี้ข้าพลอย 】แปลว่า: (สํา) ก. พลอยพูดผสมโรงติเตียนผู้อื่นตามนายไปด้วย.
【 นายเวร 】แปลว่า: น. นายตํารวจชั้นสัญญาบัตร มีหน้าที่เป็นเลขานุการของผู้ที่มีตําแหน่ง
สูงกว่าตน เช่น นายเวรผู้บังคับการ นายเวรผู้บัญชาการ นายเวรอธิบดี
หรือเป็นหัวหน้าปกครองเจ้าหน้าที่เสมียนพนักงานในบังคับบัญชาเป็นต้น;
เจ้าหน้าที่การทูตชั้นผู้น้อยในสถานกงสุล.
【 นายหน้า 】แปลว่า: (กฎ) น. บุคคลผู้ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคล ๒ ฝ่ายได้เข้าทําสัญญากัน.
【 นายอากร 】แปลว่า: น. ผู้รับผูกขาดภาษีอากร.
【 นายอำเภอ 】แปลว่า: (กฎ) น. ตําแหน่งเจ้าพนักงานผู้ปกครองท้องที่ ซึ่งเป็นหัวหน้าปกครอง
บังคับบัญชาข้าราชการในอําเภอ และรับผิดชอบในการบริหารราชการ
ของอําเภอ.
【 น่าย 】แปลว่า: ว. อาการที่ของเหนียวของแข็งหรือของแห้งที่แช่นํ้าไว้แล้วเปื่อยหรือ
อ่อนตัว เช่น แช่ข้าวไว้ให้น่ายแล้วจึงโม่.
【 นายก 】แปลว่า: [นายก] น. ผู้นํา, ผู้เป็นหัวหน้า, เช่น นายกราชบัณฑิตยสถาน นายก
สมาคม นายกสโมสร. (ป., ส.).
【 นายกเทศมนตรี 】แปลว่า: (กฎ) น. ตําแหน่งหัวหน้าคณะเทศมนตรี.
【 นายกรัฐมนตรี 】แปลว่า: (กฎ) น. ตําแหน่งหัวหน้าคณะรัฐมนตรี.
【 นายิกา 】แปลว่า: น. หญิงผู้เป็นหัวหน้า. (ป.).
【 นารา 】แปลว่า: (แบบ) น. รัศมี. (ป.).
【 นารายณ์ 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของพระวิษณุซึ่งเป็นพระเจ้าองค์หนึ่งของศาสนาพราหมณ์.
(ส.).
【 นารายณ์ทรงเครื่อง, นารายณ์ประลองศิลป์ 】แปลว่า: น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง.
【 นารายณ์หัตถ์ 】แปลว่า: (ราชา) น. ไม้เกาหลัง.
【 นารี 】แปลว่า: (แบบ) น. ผู้หญิง, นาง. (ป., ส.).
【 นารีบูร 】แปลว่า: (แบบ) น. เกสรเพศเมีย. (ส.).
【 นารีผล 】แปลว่า: น. ต้นมักกะลีผล.
【 นารีสูร 】แปลว่า: (กลอน) น. นางพญา.
【 นาเรศ 】แปลว่า: (กลอน) น. นาง, ผู้หญิง.
【 นาลิวัน 】แปลว่า: น. พราหมณ์พวกหนึ่งผู้โล้ชิงช้าและรําเขนงในพระราชพิธีตรียัมปวาย.
【 นาลี 】แปลว่า: (แบบ) น. หลอด, ก้าน, ลํา, ช่อง; ทะนาน, เป็นชื่อมาตราตวง. (ป. นาฬี,
นาลี).
【 นาว 】แปลว่า: (โบ) น. มะนาว.
【 น้าว 】แปลว่า: ก. เหนี่ยวลง เช่น น้าวกิ่ง, ดึงจนโค้ง เช่น น้าวศร.
【 นาวา ๑ 】แปลว่า: น. ยศทหารเรือหรือทหารอากาศชั้นสัญญาบัตร สูงกว่าเรือเอกหรือ
เรืออากาศเอก ตํ่ากว่าพลเรือตรีหรือพลอากาศตรี.
【 นาวา ๒ 】แปลว่า: (แบบ) น. เรือ. (ป.).
【 นาวิก, นาวิก 】แปลว่า: [นาวิก, นาวิกกะ] น. คนเรือ. ว. เกี่ยวกับเรือ. (ป., ส.).
【 นาวิกโยธิน 】แปลว่า: [นาวิกกะ] น. ทหารเรือฝ่ายบก.
【 นาวิน 】แปลว่า: น. คนเรือ, ทหารเรือที่ประจําการพลรบในกองทัพเรือ. (ส.).
【 นาวี 】แปลว่า: น. เรือ, กองทัพเรือ.
【 นาเวศ 】แปลว่า: (กลอน) น. เรือ.
【 นาศ 】แปลว่า: (แบบ) น. ความเสื่อม, การทําลาย, ความป่นปี้, เช่น บุญแห่งเจ้าจักนาศ
จากอาวาศเวียงอินทร์. (ม. คําหลวง ทศพร). (ส.; ป. นาส).
【 นาสา 】แปลว่า: (แบบ) น. จมูก. (ป., ส.).
【 นาสิก 】แปลว่า: (แบบ) น. จมูก. (ป., ส. นาสิกา).
【 นาฬิกา 】แปลว่า: น. เครื่องบอกเวลา มีหลายชนิด เช่น นาฬิกาปลุก นาฬิกาพก นาฬิกา
ข้อมือ, ลักษณนามว่า เรือน; ช่วงเวลาคิดตามชั่วโมง เช่น ๑ ชั่วนาฬิกา
= ๑ ชั่วโมง, ใช้เป็นมาตราบอกเวลา เช่น ๑ นาฬิกา ๒ นาฬิกา … ๒๔
นาฬิกา, เขียนย่อเป็น น. (เทียบ ส. นาฑิกา ว่า เครื่องกําหนดเวลา).
【 นาฬิกาแดด 】แปลว่า: น. นาฬิกาชนิดหนึ่ง อาศัยเงาไม้หรือเงาแผ่นโลหะเป็นต้นที่ปรากฏ
บนหน้าปัด.
【 นาฬิกาทราย 】แปลว่า: น. อุปกรณ์ที่ใช้สําหรับวัดเวลา ประกอบด้วย กระเปาะแก้ว ๒ กระเปาะ
ที่มีรูเล็ก ๆ ทะลุถึงกัน ข้างในบรรจุทรายที่จะไหลจากกระเปาะหนึ่งไปยัง
อีกกระเปาะหนึ่งได้หมดพอดีในเวลาที่กําหนดไว้.
【 นาฬิกาน้ำ 】แปลว่า: น. อุปกรณ์ที่ใช้สําหรับวัดเวลาโดยอาศัยการหยดหรือการไหลของนํ้า
ที่มีปริมาณตามที่กําหนดไว้.
【 นาฬิเก 】แปลว่า: น. ชื่อมะพร้าวพันธุ์หนึ่ง ผลเล็ก สีเหลืองหรือส้ม นํ้าหอมหวาน.
(ป. นาฬิเกร; ส. นาริเกร, นาริเกล, นาลิเกล, ว่า มะพร้าวทั่วไป).
【 นาฬี 】แปลว่า: (แบบ) น. นาลี, หลอด, ก้าน, ลํา, ช่อง; ทะนาน, เป็นชื่อมาตราตวง. (ป.).
【 นำ 】แปลว่า: ก. ไปข้างหน้า เช่น นําขบวน นําเสด็จ, ออกหน้า เช่น วิ่งนํา, เริ่มต้น
โดยมีผู้อื่นหรือสิ่งอื่นตามหรือทําตาม เช่น นําสวด นําวิ่ง, พา เช่น
นําเที่ยว นําไป นํามา. ว. อาการที่ซักหรือถามเป็นเชิงแนะไปในตัว
ในคําว่า ซักนํา ถามนํา.
【 นำจับ 】แปลว่า: (กฎ) ก. นําความมาแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ทําการจับกุม
ผู้กระทําความผิด.
【 นำทาง 】แปลว่า: ก. พาไปสู่ที่หมาย, นําไปให้ถูกทาง.
【 นำเที่ยว 】แปลว่า: ก. พาเที่ยวชมบ้านชมเมือง.
【 นำพา 】แปลว่า: ก. เอาใจใส่, เอื้อเฟื้อ, ช่วยธุระ, ใช้ในประโยคปฏิเสธว่า ไม่นําพา.
【 นำร่อง 】แปลว่า: ก. นําเรือกําปั่นหรือเรือใหญ่และกินนํ้าลึก เช่นเรือสินค้า เข้าหรือออก
จากท่าเรือตามร่องน้ำในระยะซึ่งอาจมีอันตรายแก่การเดินเรือ, เรียก
เจ้าพนักงานผู้ทําหน้าที่เช่นนั้นว่า พนักงานนําร่อง หรือเรียกสั้น ๆ ว่า
นําร่อง, เรียกเรือเล็กที่ใช้ในการนําร่องว่า เรือนําร่อง; โดยปริยาย
หมายถึงการริเริ่มหรือทดลองทำไปก่อน เช่น โครงการนำร่อง.
【 นำสมัย 】แปลว่า: ว. มีความคิดริเริ่มในการแต่งกายเป็นต้นก่อนสมัยนิยม.
【 นำสืบ 】แปลว่า: (กฎ) ก. นําพยานหลักฐานมาแสดงต่อศาลเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง
ที่กล่าวอ้าง.
【 นำแสดง 】แปลว่า: ก. แสดงบทบาทสําคัญในภาพยนตร์หรือละคร, มีบทบาทนําในการ
แสดงภาพยนตร์หรือละคร.
【 น้ำ 】แปลว่า: น. สารประกอบซึ่งมีองค์ประกอบเป็นธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจน
ในอัตราส่วน ๑ : ๘โดยนํ้าหนัก เมื่อบริสุทธิ์มีลักษณะเป็นของเหลว
ใส ไม่มีสี กลิ่น รส มีประโยชน์มากเช่นใช้ดื่ม ชําระล้างสิ่งสกปรก,
โบราณถือว่าเป็น ธาตุ ๑ ในธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, ใช้เรียกสิ่งอื่น
ที่มีลักษณะเป็นนํ้าหรือเหลวเหมือนนํ้า เช่น นํ้าตา นํ้าปลา นํ้าพริก
นํ้าส้ม; โดยปริยายหมายถึงคุณสมบัติที่ถือว่าเป็นสาระของสิ่งที่
กล่าวถึง เช่น นํ้าคํา นํ้าใจ นํ้าพัก นํ้าแรง นํ้ามือ; ความแวววาว
(ใช้แก่รัตนชาติ); ลักษณนามเรียกเรือที่ใช้มาแล้ว ๒ ปี ๓ ปี ว่า เรือ
๒ นํ้า เรือ ๓ นํ้า, และที่ใช้เกี่ยวกับนํ้าหมายความว่า ครั้ง เช่น ล้าง
๓ นํ้าต้ม ๓ นํ้า. ว. มีแสงแวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ) เช่น เพชรนํ้าหนึ่ง
ทับทิมนํ้างาม.
【 น้ำกรด 】แปลว่า: น. สารละลายของกรดซึ่งใช้นํ้าเป็นตัวทําละลาย.
【 น้ำกระด้าง 】แปลว่า: น. นํ้าซึ่งเมื่อฟอกกับสบู่แล้วเกิดตะกอนขึ้น ซึ่งเรียกว่า ไคลสบู่ และ
ไม่มีฟองสบู่เกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นน้อย ทั้งนี้เพราะมีเกลือของแคลเซียม
และแมกนีเซียมละลายอยู่.
【 น้ำกระสาย 】แปลว่า: น. นํ้าใช้เป็นเครื่องแทรกยาไทย เช่น นํ้าเหล้า นํ้าซาวข้าว.
【 น้ำกะทิ 】แปลว่า: น. นํ้าที่คั้นออกจากมะพร้าวขูด, นํ้าที่คั้นจากมะพร้าวขูดที่ผสมนํ้าตาลปึก
กินกับข้าวเหนียวหรือลอดช่องเป็นต้น เช่น ข้าวเหนียวนํ้ากะทิ ลอดช่อง
นํ้ากะทิ.
【 น้ำกาม 】แปลว่า: น. นํ้าเชื้อที่เกิดจากความกําหนัด แล้วเคลื่อนออกมาจากอวัยวะสืบพันธุ์
ของเพศชาย.
【 น้ำเกลือ 】แปลว่า: น. นํ้าที่มีเกลือโซเดียมคลอไรด์ละลายอยู่ สําหรับฉีดเข้าหลอดเลือดดํา.
【 น้ำเกิด 】แปลว่า: น. นํ้าในทะเลและแม่นํ้าลําคลองที่มีทางติดต่อโดยตรงกับทะเลหรือ
ได้รับอิทธิพลจากนํ้าทะเลเป็นต้น มีระดับนํ้าขึ้นสูงมากและลงตํ่ามาก
เนื่องจากอิทธิพลของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ในช่วงเวลาที่ดวงจันทร์
และดวงอาทิตย์อยู่ในวงโคจรเกือบเป็นแนวเดียวกันกับโลก นํ้าเกิดจะมี
๒ ช่วง คือ ช่วงวันเดือนเพ็ญ ตั้งแต่วันขึ้น ๑๓ คํ่าถึงวันแรม ๒ คํ่า และ
ช่วงวันเดือนดับ ตั้งแต่วันแรม ๑๓ คํ่า ถึงวันขึ้น ๒ คํ่า.
【 น้ำขาว 】แปลว่า: น. นํ้าเมาชนิดหนึ่งทําด้วยข้าวเหนียวนึ่งคลุกกับแป้งเหล้าซึ่งเป็นเชื้อหมัก
ไว้จนมีนํ้าขุ่นขาว.
【 น้ำข้าว ๑ 】แปลว่า: น. นํ้าที่ได้จากข้าวเมื่อหุงแล้วเช็ดนํ้าหรือตักนํ้าออก.
【 น้ำขึ้น 】แปลว่า: น. นํ้าในทะเลและแม่นํ้าลําคลองที่มีทางติดต่อโดยตรงกับทะเลหรือได้รับ
อิทธิพลจากนํ้าทะเลเป็นต้น ที่มีระดับนํ้าสูงขึ้น ในวันหนึ่ง ๆ ตามปรกตินํ้า
จะขึ้น ๒ ครั้ง และนํ้าขึ้นครั้งแรกจะมีระดับสูงกว่าขึ้นครั้งที่ ๒.
【 น้ำขึ้นให้รีบตัก 】แปลว่า: (สํา) มีโอกาสดีควรรีบทํา.
【 น้ำขุ่นไว้ใน น้ำใสไว้นอก 】แปลว่า: (สํา) แม้จะไม่พอใจก็ยังแสดงสีหน้ายิ้มแย้ม.
【 น้ำแข็ง 】แปลว่า: น. นํ้าที่ถูกความเย็นจัดจนแข็งตัวเป็นก้อน.
【 น้ำแข็งกด 】แปลว่า: น. น้ำแข็งไสที่ใส่กระบอกหรือแก้วอย่างหนา กดให้เป็นแท่ง.
【 น้ำแข็งเปล่า 】แปลว่า: น. น้ำแข็งก้อนเล็ก ๆ ใส่แก้วเป็นต้น ใส่น้ำหรือน้ำชา.
【 น้ำแข็งไส 】แปลว่า: น. น้ำแข็งที่ได้จากการไสก้อนน้ำแข็งไปบนเครื่องไส มีลักษณะ
เป็นเกล็ดฝอย.
【 น้ำแข็งแห้ง 】แปลว่า: น. คาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งอยู่ในสภาพเป็นของแข็ง เย็นจัด ลักษณะ
คล้ายนํ้าแข็ง ใช้ประโยชน์เป็นตัวทําความเย็น; น้ำแข็งก้อนเล็ก ๆ
ใส่แก้วเป็นต้น ไม่ใส่น้ำ.
【 น้ำครำ 】แปลว่า: น. นํ้าเสียที่ขังอยู่ในพื้นดินที่เป็นแอ่งเช่นใต้ถุนครัว ในท่อระบายน้ำเสีย,
ไขเสนียด ก็เรียก.
【 น้ำคร่ำ 】แปลว่า: น. ของเหลวในถุงเยื่อหุ้มลูกในมดลูกของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
ทำหน้าที่ลดผลการกระทบกระแทก และช่วยหล่อลื่นในตอนคลอด
เป็นต้น เรียกถุงเยื่อหุ้มที่บรรจุน้ำคร่ำว่า ถุงน้ำคร่ำ.
【 น้ำคัน 】แปลว่า: น. นํ้าที่ถูกเข้าแล้วเป็นโรคที่ง่ามเท้า.
【 น้ำค้าง 】แปลว่า: น. ไอนํ้าในอากาศที่ถูกความเย็นแล้วหยาดลงมาค้างบนใบไม้ใบหญ้า
เป็นต้นในเวลากลางคืนหรือเช้ามืด; ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 น้ำค้างแข็ง 】แปลว่า: น. นํ้าค้างที่แข็งตัวอยู่ตามต้นไม้ซึ่งอยู่ใกล้พื้นดิน เมื่ออุณหภูมิผิวหน้า
ของพื้นดินตํ่ากว่า ๐?ซ.
【 น้ำคาวปลา 】แปลว่า: น. นํ้าล้างปลาที่มีเมือกและเลือดติด ใช้รดต้นไม้ให้งาม, นํ้าล้างปลา
ก็เรียก; นํ้าที่ขับถ่ายจากช่องคลอดภายหลังคลอดลูกแล้วประมาณ
๓–๔ วัน ปรกติมีกลิ่นคาวเล็กน้อย.
【 น้ำคำ 】แปลว่า: น. ถ้อยคําสํานวน.
【 น้ำเค็ม 】แปลว่า: น. นํ้าทะเล เช่น สัตว์นํ้าเค็ม, นํ้าที่มีรสเค็ม. ว. ที่เกิดหรือโตอยู่ในแถบ
ชายทะเล เช่น ลูกนํ้าเค็ม.
【 น้ำเคย 】แปลว่า: น. นํ้าที่ได้จากเยื่อเคย (กะปิ) มีรสเค็ม ใช้ปรุงอาหาร.
【 น้ำเงิน ๑ 】แปลว่า: ว. สีอย่างสีคราม; (โบ) น. ค่าป่วยการที่ชักออกจากจํานวนเงินที่ส่งไป
เรียกว่าค่านํ้าเงิน, เรียกทาสที่ขายตัวแก่นายเงิน หรือที่นายเงินไถ่ค่าตัว
มาว่า ทาสนํ้าเงิน.
【 น้ำเงี้ยว 】แปลว่า: (ถิ่น–พายัพ) น. ชื่อแกงชนิดหนึ่ง ใช้หมูสับผัดกับเครื่องแกง มีหอม
กระเทียม ตะไคร้ พริกแห้ง ถั่วเน่า เป็นต้น ต้มกับน้ำต้มกระดูก
หมู ใส่ดอกงิ้ว มะเขือเทศ เลือดหมู น้ำแกงมีรสเค็ม เผ็ดน้อย กินกับ
ขนมจีน.
【 น้ำจัณฑ์ 】แปลว่า: (ราชา) น. เหล้า.
【 น้ำจิ้ม 】แปลว่า: น. นํ้าผสมเครื่องเทศบางอย่าง โดยมากมีรสเปรี้ยวเค็มหวาน เช่น
นํ้าจิ้มทอดมัน.
【 น้ำใจ 】แปลว่า: น. ใจแท้ ๆ, ใจจริง, ความจริงใจ, เช่น เห็นนํ้าใจ, นิสัยใจคอ เช่น นํ้าใจพ่อ
นํ้าใจแม่ นํ้าใจชาย นํ้าใจหญิง, ความเอื้อเฟื้อ เช่น เขาไม่มีนํ้าใจ แล้งนํ้าใจ.
【 น้ำชน 】แปลว่า: น. ลักษณะที่กระแสนํ้าขึ้นกับนํ้าลงหรือนํ้าจืดกับนํ้าเค็มมาบรรจบกัน.
【 น้ำชุบ 】แปลว่า: น. นํ้าที่เจือด้วยธาตุเงิน ธาตุทองแดง หรือธาตุทองคํา สําหรับชุบของ
ต่าง ๆ มีทองเหลืองเป็นต้นให้เป็นสีเงินหรือสีทอง, นํ้าที่เอาเหล็กเผาไฟ
ให้แดงแล้วชุบลงเพื่อให้เหล็กกล้า; (ถิ่น–ปักษ์ใต้) นํ้าพริก.
【 น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ 】แปลว่า: (สํา) อย่าขัดขวางผู้ที่มีอํานาจ, เป็นคําพูดเชิงเตือนสติ.
【 น้ำเชื้อ 】แปลว่า: น. นํ้าที่ต้มเคี่ยวกระดูกหมูหรือไก่เป็นต้น เพื่อใช้เป็นนํ้าแกงจืดให้มี
รสอร่อย; หัวนํ้าหอมหรือนํ้าหวานเป็นต้น.
【 น้ำเชื่อม 】แปลว่า: น. นํ้าตาลทรายผสมนํ้าตั้งไฟจนละลาย ใช้ใส่ขนม เช่นวุ้นนํ้าเชื่อม
หรือใช้ผสมกับแป้งทําขนมชั้นหรือขนมนํ้าดอกไม้เป็นต้น.
【 น้ำซับ 】แปลว่า: น. เรียกที่ซึ่งมีนํ้าซึมซาบอยู่ภายใต้ว่า ที่นํ้าซับ, ทางภาคอีสาน
เรียกว่า ซํา.
【 น้ำซาวข้าว 】แปลว่า: น. นํ้าที่ล้างข้าวสารให้สะอาดเมื่อก่อนหุง.
【 น้ำซึม 】แปลว่า: น. เรียกที่ซึ่งมีนํ้าไหลซึมอยู่เรื่อยว่า ที่นํ้าซึม, บางถิ่นเรียกว่า นํ้างึม.
【 น้ำซึมบ่อทราย 】แปลว่า: (สํา) หาได้มาเรื่อย ๆ.
【 น้ำดอกไม้ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้าผสมแป้งมัน ละลายกับนํ้าเชื่อม
ใส่ถ้วยตะไลนึ่ง เมื่อสุกหน้าจะบุ๋ม, ขนมชักหน้า ก็เรียก.
【 น้ำดอกไม้เทศ 】แปลว่า: น. หัวนํ้าหอมทําจากดอกกุหลาบชนิดหนึ่ง.
【 น้ำดอกไม้สด 】แปลว่า: น. นํ้าที่ลอยดอกมะลิ มีกลิ่นหอม.
【 น้ำดิบ 】แปลว่า: น. นํ้าที่ยังไม่ได้ต้ม.
【 น้ำดี 】แปลว่า: น. นํ้าย่อยชนิดหนึ่งเกิดในตับแล้วไหลไปอยู่ในถุงนํ้าดี.
【 น้ำตก 】แปลว่า: น. นํ้าที่ขังอยู่บนเขาตกลงมาที่หน้าผา, เรียกนํ้าที่ทําให้ตกลงมาในลักษณะ
คล้ายคลึงเช่นนั้น; อาหารอย่างหนึ่งใช้เนื้อสัตว์เช่นเนื้อหมู หรือเนื้อวัว ย่าง
พอสุกเล็กน้อยหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ แล้วปรุงด้วย พริกป่น หอมแดงซอย ข้าวคั่ว
น้ำมะนาว น้ำปลา เป็นต้น; ก๋วยเตี๋ยวเนื้อสดที่ใส่เลือดวัวสด.
【 น้ำต้อย 】แปลว่า: น. นํ้าหวานที่หล่ออยู่ในดอกไม้ เกิดจากต่อมนํ้าหวานซึ่งมักปรากฏอยู่
ที่โคนของกลีบดอก.
【 น้ำตะไคร้ 】แปลว่า: น. นํ้าหอมชนิดหนึ่งมีลักษณะใสสีเหลืองอ่อนหรือสีนํ้าตาลแกมแดง
สกัดจากต้นและใบตะไคร้.
【 น้ำตับ 】แปลว่า: (ถิ่น–อีสาน) น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ใช้ตับวัวหรือควายสับให้ละเอียด
คลุกข้าวหรือทาขนมปัง.
【 น้ำพักน้ำแรง 】แปลว่า: น. แรงที่เกิดจากความมานะพยายามของตนเอง.
【 น้ำพี้ 】แปลว่า: น. ธาตุเหล็กที่ได้จากตำบลน้ำพี้ในจังหวัดอุตรดิตถ์ ถือกันว่าเป็นเหล็ก
ที่มีคุณภาพดี มักใช้ทำอาวุธเป็นต้น.
【 น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า 】แปลว่า: (สํา) น. การพึ่งพาอาศัยกัน.
【 น้ำพุ 】แปลว่า: น. นํ้าใต้ดินที่ผุดพุ่งขึ้นมาเหนือพื้น มีอุณหภูมิตํ่ากว่าอุณหภูมิของร่างกาย
มนุษย์, ถ้ามีอุณหภูมิสูงกว่า ซึ่งมีตั้งแต่อุ่น ๆ จนถึงเดือดพล่าน เรียกว่า
นํ้าพุร้อน, นํ้าที่ผุดขึ้นมาในลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น.
【 น้ำมนต์, น้ำมนตร์ 】แปลว่า: น. นํ้าที่เสกเพื่ออาบ กิน หรือ ประพรมเป็นต้น ถือกันว่าเป็นมงคล.
【 น้ำมัน 】แปลว่า: น. ของเหลวที่มีลักษณะเป็นมันลื่น ไม่ละลายน้ำ สกัดจากพืช สัตว์
แร่บางชนิด เช่น ถ่านหิน, หรือที่สูบขึ้นมาจากแหล่งกำเนิด, โดยปริยาย
หมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น น้ำมันใส่ผม. (อ. oil).
【 น้ำมันก๊าด 】แปลว่า: น. นํ้ามันชนิดหนึ่งที่ใช้ตามตะเกียง.
【 น้ำมันขี้โล้ 】แปลว่า: น. น้ำมันที่เป็นขี้ตะกอน.
【 น้ำมันเขียว 】แปลว่า: น. นํ้ามันชนิดหนึ่ง สีเขียวแกมนํ้าเงิน มีกลิ่นหอมฉุนคล้ายการบูร
กลั่นได้จากใบของต้นเสม็ด ใช้สําหรับทา นวด แก้เคล็ดบวมได้.
【 น้ำมันเครื่อง 】แปลว่า: น. นํ้ามันประเภทหนึ่ง มีลักษณะค่อนข้างข้น ใช้สําหรับหล่อลื่น
เพื่อลดความเสียดทานระหว่างผิวโลหะ, ใช้ผสมกับนํ้ามันเบนซิน
เป็นนํ้ามันเชื้อเพลิงสําหรับเครื่องยนต์เบนซินชนิด ๒ จังหวะก็ได้,
นํ้ามันหล่อลื่น ก็เรียก.
【 น้ำมันจันทน์ 】แปลว่า: น. นํ้ามันที่กลั่นจากไม้จันทน์ มีกลิ่นหอม.
【 น้ำมันโซลา 】แปลว่า: น. นํ้ามันดีเซล.
【 น้ำมันดิน 】แปลว่า: น. ของเหลวลักษณะข้น สีเข้มจนดํา ได้จากการกลั่นทําลายไม้หรือ
ถ่านหิน ใช้ทารักษาเนื้อไม้หรือกันปลวกและแมลงเป็นต้น เมื่อนําไป
กลั่นโดยใช้อุณหภูมิให้เหมาะสม จะได้สารอื่น ๆ ที่มีประโยชน์อีกมาก.
【 น้ำมันดิบ 】แปลว่า: น. นํ้ามันที่สกัดหรือสูบขึ้นมาจากแหล่งกําเนิด และยังมิได้ทําให้บริสุทธิ์
หรือยังมิได้นําไปกลั่นแยกออกเป็นส่วน ๆ.
【 น้ำมันดีเซล 】แปลว่า: น. นํ้ามันที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ดีเซลชนิดหมุนเร็ว, นํ้ามันโซลา
ก็เรียก.
【 น้ำมันตานี 】แปลว่า: น. นํ้ามันชนิดหนึ่ง ข้น ๆ ใช้ใส่ผม.
【 น้ำมันเตา 】แปลว่า: น. นํ้ามันเชื้อเพลิงชนิดหนึ่ง ใช้พ่นเข้าไปจุดเผาในเตาเพื่อให้ความร้อน
แก่หม้อนํ้าเครื่องจักร.
【 น้ำมันเบนซิน 】แปลว่า: น. นํ้ามันเชื้อเพลิงชนิดหนึ่ง นําไปใช้โดยทําให้ไอของนํ้ามันผสมกับ
อากาศเข้าไปจุดระเบิดด้วยประกายไฟฟ้าจากหัวเทียนในเครื่อง
จักรกลชนิดเผาไหม้ภายใน.
【 น้ำมันพราย 】แปลว่า: น. นํ้ามันที่ได้จากการลนปลายคางศพหญิงที่ตายทั้งกลม เชื่อว่า
ดีดใส่ผู้หญิง ทําให้ผู้หญิงหลงรัก.
【 น้ำมันมนตร์ 】แปลว่า: น. นํ้ามันมะพร้าวที่เสกเป่าด้วยเวทมนตร์คาถา เชื่อกันว่าทาแก้
เมื่อยขบเป็นต้น.
【 น้ำมันยาง 】แปลว่า: น. นํ้ามันที่ได้จากต้นยาง ใช้ทาเรือ ทาบ้าน หรือผสมกับชันใช้ยา
เรือได้.
【 น้ำมันระกำ 】แปลว่า: น. นํ้ามันระเหยง่ายชนิดหนึ่ง กลิ่นหอมฉุน กลั่นได้จากนวดไม้ล้มลุก
ชนิด /Gaultheria procumbens/ L. ในวงศ์ Ericaceae ใช้ทาแก้เคล็ด
บวม และใช้เป็นสารแต่งกลิ่นได้.
【 น้ำมันลินสีด 】แปลว่า: น. น้ำมันที่ได้จากเมล็ดของต้นแฟลกซ์.
【 น้ำมันสลัด 】แปลว่า: น. นํ้ามันที่ได้จากพืชบางชนิดเช่นมะกอก ใช้คลุกกับส่วนผสมอื่น ๆ
เพื่อปรุงรสและกลิ่นในการทำสลัด.
【 น้ำมันหม่อง 】แปลว่า: น. ยาที่ใช้ทาบรรเทาอาการขัดยอก หรือความเจ็บปวดเนื่องจาก
แมลงกัดต่อยเป็นต้น, ยาหม่อง ก็เรียก.
【 น้ำมันหล่อลื่น 】แปลว่า: น. นํ้ามันเครื่อง.
【 น้ำมาปลากินมด น้ำลดมดกินปลา 】แปลว่า: (สํา) ทีใครทีมัน.
【 น้ำมือ 】แปลว่า: น. มือของตัวแท้ ๆ; รสมือ; ความสามารถในการทํา เช่น บํารุงสินค้า
ให้เกิดมีขึ้นในประเทศโดยนํ้ามือของคนไทยเรา.
【 น้ำมูก 】แปลว่า: น. นํ้าเมือกที่ออกจากจมูก.
【 น้ำเมา 】แปลว่า: น. นํ้าที่ดื่มแล้วทําให้มึนเมา ได้แก่สุราและเมรัยเป็นต้น.
【 น้ำย่อย 】แปลว่า: น. ของเหลวที่มีสารอินทรีย์บางชนิดสําหรับย่อยอาหาร เกิดในปาก
กระเพาะ ลําไส้ ตับ และตับอ่อน.
【 น้ำยา ๑ 】แปลว่า: น. อาหารคาวอย่างหนึ่ง ลักษณะอย่างแกง ทําด้วยปลาโขลกกับ
เครื่องปรุง กินกับผักบางอย่าง เช่น ถั่วงอก ใบแมงลัก ใช้คลุกกิน
กับขนมจีน, คู่กับ นํ้าพริก; สิ่งที่ประสมเป็นนํ้าสําหรับจิตรกรรมหรือ
ระบายภาพ; นํ้าที่ผสมสารเคมีเพื่อใช้ในกิจการบางอย่าง เช่น นํ้ายา
ล้างรูป.
【 น้ำยา ๒ 】แปลว่า: (ปาก) น. ความสามารถในทางใดทางหนึ่ง (มักใช้ในทางตําหนิ) เช่น
ไม่มีนํ้ายา หรือ หมดนํ้ายา หมายความว่า ไม่มีสติปัญญาความสามารถ
หรือ หมดความสามารถ.
【 น้ำยาเคมี 】แปลว่า: น. ของเหลวซึ่งมีสารเคมีละลายอยู่.
【 น้ำเย็นปลาตาย 】แปลว่า: (สํา) น. คําพูดที่ไพเราะอ่อนหวานทำให้ตายใจ อาจเป็นโทษเป็น
ภัยได้,มักพูดเข้าคู่กับ นํ้าร้อนปลาเป็น.
【 น้ำร้อนปลาเป็น 】แปลว่า: (สํา) น. คําพูดที่ตรงไปตรงมาฟังไม่ไพเราะ เป็นการเตือนให้
ระวังตัวแต่ไม่เป็นพิษเป็นภัย, มักพูดเข้าคู่กับ นํ้าเย็นปลาตาย.
【 น้ำรัก 】แปลว่า: น. ยางที่ได้จากไม้ต้นในสกุล /Melanorrhoea/ และไม้พุ่มในสกุล
/Rhus/ วงศ์ Anacardiaceae ทําให้มีสีดําแล้วใช้ทาลงพื้นให้เหนียวเพื่อ
ปิดทอง.
【 น้ำแร่ 】แปลว่า: น. นํ้าที่มีสารบางอย่างละลายอยู่เป็นพิเศษ บางอย่างมีสมบัติทาง
ยารักษาโรค.
【 น้ำลง 】แปลว่า: น. นํ้าในทะเลและแม่นํ้าลําคลองที่มีทางติดต่อโดยตรงกับทะเลหรือ
ได้รับอิทธิพลจากนํ้าทะเลเป็นต้นที่มีระดับนํ้าตํ่าลง ในวันหนึ่ง ๆ ตาม
ปรกตินํ้าจะลง ๒ ครั้ง และนํ้าลงครั้งแรกจะมีระดับตํ่ากว่าลงครั้งที่ ๒.
【 น้ำลดตอผุด 】แปลว่า: (สํา) เมื่อหมดอํานาจความชั่วที่ทําไว้ก็ปรากฏ.
【 น้ำลาย 】แปลว่า: น. นํ้าที่หลั่งออกมาจากต่อมนํ้าลายและต่อมเมือกในปากช่วยย่อย
อาหารจําพวกแป้ง.
【 น้ำลายสอ 】แปลว่า: (ปาก) ว. อาการที่อยากมาก ในความเช่น อยากกินจนนํ้าลายสอ.
【 น้ำลายหก, น้ำลายไหล 】แปลว่า: (ปาก) ว. อาการที่อยากมาก ในความเช่น อยากได้จนนํ้าลายหก.
【 น้ำเลี้ยง 】แปลว่า: น. ของเหลวที่หล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต เช่น นํ้าเลี้ยงลูกตา
นํ้าเลี้ยงลําต้น.
【 น้ำวน 】แปลว่า: (ภูมิ) น. กระแสนํ้าไหลวนเป็นวงในทะเลหรือแม่นํ้า เกิดจากรูปร่าง
ลักษณะของร่องนํ้าหรือเนื่องจากกระแสนํ้า ๒ สายไหลมาปะทะกัน.
【 น้ำไว 】แปลว่า: น. แสงของเพชรหรือพลอยที่พุ่งออกมาเร็วเมื่อเวลาถูกแสงไฟหรือ
แสงอาทิตย์.
【 น้ำสต๊อก 】แปลว่า: น. น้ำต้มกระดูกไก่ กระดูกหมู หรือเนื้อสัตว์ เป็นต้น ใส่เกลือเล็กน้อย
เคี่ยวไฟอ่อน ๆ จนได้ที่ เคี่ยวครั้งหนึ่งเก็บไว้ได้หลายวัน ใช้ผสมในการ
ปรุงอาหาร เช่น แกงจืด ซุป สตู หรืออาหารประเภทผัดผักต่าง ๆ เพื่อ
เพิ่มรสชาติให้ดียิ่งขึ้น.
【 น้ำส้ม 】แปลว่า: น. นํ้าคั้นจากผลส้ม ใช้เป็นเครื่องดื่ม; นํ้าส้มสายชู.
【 น้ำส้มสายชู 】แปลว่า: น. ของเหลวซึ่งมีกรดแอซีติกละลายอยู่ไม่เกินร้อยละ ๖ มีรสเปรี้ยว
ใช้ปรุงอาหาร, นํ้าส้ม ก็เรียก.
【 น้ำสังข์ 】แปลว่า: น. นํ้าพระพุทธมนต์ที่หลั่งจากสังข์ในงานพิธีมงคล เช่น งานแต่งงาน.
【 น้ำสั่งฟ้า ปลาสั่งฝน 】แปลว่า: (สํา) สั่งเสียเป็นครั้งสุดท้าย, ทําการอันใดที่เป็นสิ่งสําคัญเพื่อ
ไว้อาลัยก่อนจากไป, ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งหนอง ก็ว่า.
【 น้ำสาบาน 】แปลว่า: น. น้ำศักดิ์สิทธิ์ เช่นน้ำพระพุทธมนต์ น้ำเทพมนตร์ หรือสุราผสม
เลือดที่ผู้ร่วมสาบานกรีดให้หยดลงแล้วดื่มประกอบกับคำปฏิญาณ
เช่น พี่น้องร่วมน้ำสาบาน เพื่อนร่วมน้ำสาบาน.
【 น้ำสุก 】แปลว่า: น. นํ้าที่ต้มแล้ว.
【 น้ำเสียง 】แปลว่า: น. กระแสเสียง, คําพูด; โดยปริยายหมายถึงคําพูดที่ส่อให้รู้อารมณ์
ที่มีอยู่ในใจ.
【 น้ำใสใจคอ 】แปลว่า: น. น้ำใจที่แท้จริง (มักใช้ในทางดี) เช่น เขาเป็นคนมีน้ำใสใจคอ
โอบอ้อมอารี.
【 น้ำหนวก 】แปลว่า: น. นํ้าที่อยู่ในช่องหูซึ่งมีอาการอักเสบ มีกลิ่นเหม็น อาจมีลักษณะใส
เป็นมูกข้นหรือเป็นหนอง.
【 น้ำหนอง 】แปลว่า: น. น้ำเลือดเสียกลายเป็นสีขาวข้นที่กลัดอยู่ตามแผลและฝี,
หนอง ก็ว่า.
【 น้ำหนัก 】แปลว่า: น. ความหนักของสิ่งต่าง ๆ, ความสําคัญ เหตุผล หรือพยานหลักฐาน
เป็นต้น ที่ควรแก่การเชื่อถือ หรือที่จูงใจให้เชื่อถือ.
【 น้ำหน้า 】แปลว่า: น. หน้า (ใช้ในความแดกดัน รังเกียจ หรือดูหมิ่น เป็นต้น) เช่น นํ้าหน้า
อย่างนี้ทําไม่สําเร็จดอก เกลียดนํ้าหน้า ชังนํ้าหน้า; (โบ; กลอน) นํ้าตา
เช่น นํ้าหน้าไล้กําลูน. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
【 น้ำหนึ่ง 】แปลว่า: ว. มีคุณสมบัติสูงสุดและมีแสงแวววาวบริสุทธิ์ (ใช้แก่เพชร) เรียกว่า
เพชรนํ้าหนึ่ง.
【 น้ำหนึ่งใจเดียวกัน 】แปลว่า: (สํา) ว. มีความคิดเห็นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
【 น้ำหมาก 】แปลว่า: น. นํ้าลายของผู้ที่กําลังเคี้ยวหมาก มีสีแดง.
【 น้ำหมึก 】แปลว่า: น. น้ำที่ใช้ในการขีดเขียน ตามปรกติมีสีดำจัด จึงใช้เปรียบกับของดำ
ว่า ดำเป็นน้ำหมึก, หมึก ก็ว่า.
【 น้ำหอม 】แปลว่า: น. นํ้าที่กลั่นจากเครื่องหอม, นํ้าอบฝรั่ง ก็เรียก.
【 น้ำเหลือง 】แปลว่า: น. ของเหลวที่ไหลมาจากเนื้อเยื่อของร่างกาย เข้าสู่หลอดนํ้าเหลือง,
ของเหลวสีเหลืองใสที่ไหลออกมาทางแผล.
【 น้ำเหลืองน้ำตาล 】แปลว่า: น. กากนํ้าตาล.
【 น้ำไหลไฟดับ 】แปลว่า: (ปาก) ว. เร็วและคล่อง (ใช้แก่กริยาพูด).
【 น้ำอดน้ำทน 】แปลว่า: น. ความอดทน.
【 น้ำอบ 】แปลว่า: น. นํ้าที่อบด้วยควันกํายานหรือเทียนอบ และปรุงด้วยเครื่องหอม.
【 น้ำอบฝรั่ง 】แปลว่า: น. นํ้าหอม.
【 น้ำอ่อน 】แปลว่า: น. นํ้าที่ละลายสบู่ได้ดี ให้ฟองได้ง่าย และไม่มีไคลสบู่เกิดขึ้น.
【 น้ำอ้อย 】แปลว่า: น. นํ้าหวานที่ได้จากต้นอ้อย, ถ้าทําเป็นแผ่นกลม ๆ เรียกว่า นํ้าอ้อยงบ,
ถ้าทําเป็นผงละเอียดหรือจับกันเป็นก้อน ๆ สีนํ้าตาล เรียกว่า นํ้าตาล
ทรายแดง, หางนํ้าอ้อยที่ใช้เป็นเครื่องผสมสําหรับต้มกลั่นสุราหรือใช้
ผสมปูนสอสําหรับการก่อสร้าง.
【 น้ำอัดลม 】แปลว่า: น. นํ้าที่มีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ละลายอยู่โดยใช้ความดัน อาจผสม
นํ้าตาลหรือนํ้าผลไม้ ใช้เป็นเครื่องดื่ม.
【 น้ำอาบงัว 】แปลว่า: น. นํ้าฝนที่ตกชะดินไหลลงมา มีสีเหลืองเข้ม.
【 น้ำข้าว ๑ 】แปลว่า: /ดูใน นํ้า./
【 น้ำข้าว ๒ 】แปลว่า: /ดู เขยตาย./
【 น้ำเงิน ๑ 】แปลว่า: /ดูใน น้ำ./
【 น้ำเงิน ๒ 】แปลว่า: /ดู ชะโอน./
【 น้ำใจใคร่ 】แปลว่า: /ดู กะทกรก (๑)./
【 น้ำดอกไม้ ๑ 】แปลว่า: /ดูใน นํ้า./
【 น้ำดอกไม้ ๒ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อชมพู่ชนิด/ Syzygium jambos/ (L.) Alston ในวงศ์ Myrtaceae
ผลสุกสีเขียวอ่อนหรือเขียวอมเหลือง เนื้อบาง กลิ่นหอมเหมือนกุหลาบ.
(๒) ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด /Mangifera indica/ L. ; ผลยาว ดิบรส
เปรี้ยวจัด สุกรสหวานหอม เมล็ดแบนมาก.
【 น้ำดอกไม้ ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในสกุล /Sphyraena/ วงศ์ Sphyraenidae
ลําตัวค่อนข้างกลมยาว หัวแหลม คางล่างยื่น ปากกว้าง มีฟันคม
แข็งแรงตาโต เกล็ดเล็กบาง ขอบเรียบ มีครีบหลัง ๒ ตอน พื้นลําตัว
มีสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด แต่มักเป็นสีฟ้าเทา เช่น ชนิด /S. forsteri/
หรือนํ้าตาลอมเหลือง เช่น ชนิด /S. obtusata/ บ้างมีบั้งทอด
ขวางลําตัวเป็นระยะ ๆ เช่น ชนิด /S. jello/ และ /S. putnamiae/
บ้างก็มีจุดหรือแต้มดํา เช่น ชนิด /S. barracuda/ ขนาดแตกต่างกันตั้งแต่
๓๐–๑๕๐ เซนติเมตร, สาก ก็เรียก.
【 น้ำดับไฟ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถา ๒ ชนิดในสกุล/ Gouania/ วงศ์ Rhamnaceae คือ ชนิด
/G. javanica /Miq. ใบมีขนสีน้ำตาลแดง ดอกสีเขียวอ่อน และชนิด
/G. leptostachya/ DC. ใบเกลี้ยง ดอกสีขาวอมเขียว.
【 น้ำตะกู, น้ำตะโก 】แปลว่า: น. กระดาษที่มีสีเหลืองอย่างสีทองคํา นิยมนํามาใช้สลักปรุเป็นลวดลาย
หรือใช้ทั้งแผ่นปิดตกแต่งสิ่งปลูกสร้างหรือครุภัณฑ์บางอย่างเป็นการ
ชั่วคราว เรียกว่า กระดาษนํ้าตะกูหรือ กระดาษนํ้าตะโก.
【 น้ำตาลจีน 】แปลว่า: น. ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด/ Mangifera indica/ L. เดิมเรียก
นํ้าตาลทรายจีน.
【 น้ำเต้า 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้เถาล้มลุกชนิด/ Lagenaria siceraria/ Standl. ในวงศ์
Cucurbitaceae อยู่ในจําพวกฟักแฟง ดอกสีขาว ผลกินได้ เมื่อแก่แห้ง
ใช้เป็นภาชนะได้; อวัยวะส่วนที่อยู่โคนงวงช้าง มีรูปโป่งคล้ายลูกนํ้าเต้า;
ชื่อการพนันชนิดหนึ่ง เล่นโดยเจ้ามือจะเป็นผู้ซัดหรือ ฝัดลูกบาศก์ซึ่งมี
๖ หน้า เขียนเป็นรูป นํ้าเต้า ปู ปลา เสือ ไก่ และกุ้ง ให้ลูกค้าแทง. (๒) โกฐ
นํ้าเต้า./ (ดู โกฐนํ้าเต้า ที่ โกฐ)./
【 น้ำไทย 】แปลว่า: น. ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่งของชนิด/ Musa acuminata /Colla ผลรูปรี
เนื้อสีเหลืองส้ม รสหวาน.
【 น้ำนมราชสีห์ 】แปลว่า: น. (๑) กล้วยชนิดหนึ่ง ผลคล้ายกล้วยกรัน สุกรสหวานเย็น มีกลิ่น
หอม. (พจน. ๒๔๙๓). (๒) ชื่อไม้ล้มลุกขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล
/Euphorbia/ วงศ์ Euphorbiaceae ใบออกตรงข้ามกัน ทุกส่วนมี
ยางขาวคล้ายนํ้านม ใช้ทํายาได้ เช่น ชนิด /E. hirta/ L. ต้นและใบมีขน.
【 น้ำนอง ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อปลวกหลายชนิดในหลายวงศ์ สีดําหรือนํ้าตาลแก่ อาศัยอยู่ใต้ดิน
เมื่อมีนํ้านองเกิดตะไคร่ขึ้น พอนํ้าลดจะเดินแถวมาเก็บตะไคร่ไปเลี้ยง
ลูกซึ่งบางครั้งอาจจะทํางานกันทั้งคืน จึงเห็นตัวเฉพาะในเวลานํ้านอง
เช่น ชนิด /Hospitalitermes monoceros,H. asahinai, H. birmanicus/
ในวงศ์ Termitidae.
【 น้ำนอง ๒ 】แปลว่า: (๑) /ดู กลึงกล่อม. /(๒)/ ดู กําแพงเจ็ดชั้น ๒ (๒)./
【 น้ำผึ้ง ๑ 】แปลว่า: /ดูใน นํ้า./
【 น้ำผึ้ง ๒ 】แปลว่า: /ดู รวงผึ้ง ๒./
【 น้ำผึ้ง ๓ 】แปลว่า: /ดู รากกล้วย./
【 น้ำมันสน 】แปลว่า: น. นํ้ามันระเหยง่ายที่ได้จากการกลั่นยางสนเขา.
【 น้ำละว้า 】แปลว่า: /ดู นํ้าว้า./
【 น้ำว้า 】แปลว่า: น. ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่งซึ่งพัฒนามาจากลูกผสมระหว่างกล้วยป่ากับ
กล้วยตานี, นํ้าละว้า ก็เรียก, พายัพเรียก กะลิอ่อง หรือ มะลิอ่อง,
เชียงใหม่เรียก กล้วยใต้.
【 นิ 】แปลว่า: (โบ) ใช้เสริมคําให้พยางค์สละสลวยขึ้น เช่น สนุกนิ สํานักนิ.
【 นิกเกิล 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๒๘ สัญลักษณ์ Ni เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง
สีเงิน หลอมละลายที่ ๑๔๕๓?ซ. ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะ
อื่นให้เป็นโลหะเจือ ชุบฉาบผิวโลหะอื่นเป็นต้น. (อ. nickel).
【 นิกขะ 】แปลว่า: (แบบ) น. ลิ่ม, แท่ง; ชื่อมาตรานํ้าหนักของเงินอินเดีย ๕ สุวัณณะ เป็น
๑ นิกขะ. (ป.).
【 นิกขันต์ 】แปลว่า: (แบบ) ก. ออกไป, พ้นไป, จากไป. (ป.).
【 นิกร 】แปลว่า: [กอน] น. หมู่, พวก. (ป.).
【 นิกรอยด์ 】แปลว่า: [กฺรอย] น. ชนชาติผิวดํา มีลักษณะผิวดํา ผมหยิก ปากหนา.
(อ. Negroid).
【 นิกาย 】แปลว่า: น. หมู่, พวก, หมวด, ใช้เกี่ยวกับศาสนา ในกรณีเช่นคณะนักบวช
ในศาสนาเดียวกันที่แยกออกไปเป็นพวก ๆ เช่น มหานิกาย
ธรรมยุติกนิกาย นิกายโรมันคาทอลิก นิกายโปรเตสแตนต์; เรียก
คัมภีร์พระสุตตันตปิฎกที่แยกออกเป็น ๕ หมวดใหญ่ คือ ทีฆนิกาย
มัชฌิมนิกาย “;สังยุตนิกาย อังคุตรนิกาย ขุทกนิกาย. (ป., ส.).
【 นิคม ๑ 】แปลว่า: น. หมู่บ้านขนาดใหญ่, ถิ่นฐานหรือชุมชนที่เกิดขึ้นจากการตั้งหลักแหล่ง,
หมู่บ้านใหญ่หรือตำบลที่ประชาชนเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่เพื่อประกอบอาชีพ
เป็นหลักฐาน เช่น นิคมสร้างตนเอง นิคมอุตสาหกรรม. (ป.; อ. settlement).
【 นิคมที่ดิน 】แปลว่า: น. ที่ดินที่รัฐจัดสรรให้ประชากรอพยพครอบครัวเข้าไปตั้งถิ่นฐานเพื่อ
ประกอบอาชีพและอยู่อาศัยอย่างเป็นระเบียบ โดยมีการวางแผนเพื่อ
พัฒนาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคม และวิชาชีพ รวมทั้งบริการ
สาธารณูปโภคต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้า.
【 นิคมสร้างตนเอง 】แปลว่า: (กฎ) น. บริเวณที่ดินของรัฐที่มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเป็นนิคม
สร้างตนเอง เพื่อให้ราษฎรได้มีที่ตั้งเคหสถานและประกอบอาชีพ
เป็นหลักแหล่งในที่ดินนั้น.
【 นิคมสหกรณ์ 】แปลว่า: (กฎ) น. บริเวณที่ดินที่รัฐนํามาจัดสรรให้ราษฎรที่ประกอบอาชีพ
ทางการเกษตร แต่ขาดแคลนที่ดินทํากิน ได้มีที่ดินทํากินในขนาด
ที่เหมาะสม โดยให้ราษฎรเหล่านั้นรวมตัวกันจัดตั้งสหกรณ์ขึ้น.
【 นิคมอุตสาหกรรม 】แปลว่า: (กฎ) น. เขตอุตสาหกรรมทั่วไปหรือเขตอุตสาหกรรมส่งออก.
【 นิคม ๒ 】แปลว่า: น. คําประพันธ์ที่กล่าวย่อและซํ้าความเดิมเพื่อให้ผู้ฟังจําง่าย.
【 นิครนถ์ 】แปลว่า: [คฺรน] น. นักบวชนอกพระพุทธศาสนา. (ส. นิรฺคฺรนฺถ; ป. นิคณฺ?
ว่า ผู้ปราศจากเครื่องผูกหรือเครื่องร้อยรัดทั้งมวล).
【 นิคห, นิคหะ 】แปลว่า: นิกคะหะ, นิกคะหะ น. การข่ม, การปราบปราม. (ป. นิคฺคห).
【 นิคหกรรม 】แปลว่า: น. ชื่อกรรมที่สงฆ์ทําแก่ภิกษุที่ควรปราบเพื่อให้เข็ดหลาบ. (ป. นิคฺคหกมฺม).
【 นิคหิต 】แปลว่า: นิกคะหิด น. ชื่อเครื่องหมายรูปดังนี้ ? ในภาษาบาลีและสันสกฤต
มีเสียงอ่านเหมือนตัว ง และ ม สะกด ในภาษาไทยก็อนุโลมใช้ตาม เช่น
จํหัน อ่านว่า จังหัน ชุํนุํ อ่านว่า ชุมนุม, นฤคหิต หรือ หยาดนํ้าค้าง ก็เรียก.
(ป. นิคฺคหีต; ส. นิคฺฤหีต).
【 นิคาลัย 】แปลว่า: (กลอน) ก. ตาย เช่น ทราบว่าพี่กับบิดานิคาลัย. (อภัย).
【 นิคาหก, นิคาหก 】แปลว่า: [หก, หะกะ] ว. ผู้ใช้วาจาหยาบ เช่น ผู้เป็นยาจกทลิทเชษฐชาติเชื้อ
นิคาหกพราหมณ์. (ม. ร่ายยาว ชูชก). (ป. นิคฺคาหก ว่า ผู้ข่มขู่).
【 นิเคราะห์ 】แปลว่า: น. นิคหะ, การข่ม, การปราบปราม. (ส. นิคฺรห; ป. นิคฺคห).
【 นิโคติน 】แปลว่า: น. สารประกอบอินทรีย์ประเภทแอลคาลอยด์ มีสูตร C10H14N2
ลักษณะเป็นของเหลวข้น มีขีดเดือด ๒๔๗?ซ. เป็นพิษอย่างแรง
มีปรากฏอยู่ในใบยาสูบ. (อ. nicotine).
【 นิโครธ 】แปลว่า: [โคฺรด] น. ต้นไทร. (ป.).
【 นิโครม 】แปลว่า: [โคฺรม] น. โลหะเจือชนิดหนึ่งซึ่งประกอบด้วยโครเมียมและนิกเกิล
ใช้ประโยชน์นําไปทําเป็นเส้นลวดในอุปกรณ์ไฟฟ้าเพราะมีความ
ต้านทานสูง และทนทานต่อความร้อนได้ดีมาก. (อ. nichrome).
【 นิง 】แปลว่า: (โบ) น. ลูกชายคนที่ ๑๑, นึง ก็ว่า.
【 นิ่ง, นิ่ง ๆ 】แปลว่า: ก. เฉย, ไม่กระดุกกระดิก, ไม่เคลื่อนไหว, เช่น นอนนิ่ง นํ้านิ่ง นั่งนิ่ง ๆ,
เงียบ, ไม่ส่งเสียง, เช่น นิ่งเสีย อย่าร้อง, ไม่พูดจา เช่น ถามแล้วนิ่ง,
ไม่แพร่งพราย เช่น รู้แล้วนิ่งเสีย.
【 นิ่งเงียบ 】แปลว่า: ว. นิ่งอยู่ไม่พูดอะไร.
【 นิ่งเฉย 】แปลว่า: ว. เฉยอยู่ไม่พูดไม่ทําอะไร.
【 นิ่งแน่ 】แปลว่า: ว. อาการที่ไม่ไหวติงไปชั่วระยะหนึ่งเพราะเป็นลมเป็นต้น, แน่นิ่ง
ก็ว่า.
【 นิจ ๑, นิจ 】แปลว่า: [นิด, นิดจะ] ว. เสมอไป, สมํ่าเสมอ, มักใช้ว่า เป็นนิจ. (ป. นิจฺจ;
ส. นิตฺย).
【 นิจศีล 】แปลว่า: [นิดจะสีน] น. ศีลที่ควรรักษาเป็นนิจ ได้แก่ ศีล ๕. ว. เป็นปรกติ
เสมอไป, มักใช้ว่า เป็นนิจศีล. (ป. นิจฺจสีล).
【 นิจ ๒ 】แปลว่า: ว. ตํ่า (คู่กับ อุจ ว่า สูง) ใช้แก่ดาวนพเคราะห์ เช่นว่า พระอาทิตย์ขึ้นอุจ
ในเดือนเมษายน และตกนิจในเดือนตุลาคม. (ป. นีจ).
【 นิด 】แปลว่า: ว. เล็ก, น้อย.
【 นิดเดียว 】แปลว่า: ว. เล็กเหลือเกิน, น้อยเหลือเกิน.
【 นิดหน่อย 】แปลว่า: ว. ไม่มาก, เล็กน้อย.
【 นิดหนึ่ง 】แปลว่า: ว. หน่อยหนึ่ง.
【 นิตย ๑, นิตย์ 】แปลว่า: [นิดตะยะ, นิด] ว. เสมอไป, สมํ่าเสมอ, มักใช้ว่า เป็นนิตย์.
(ส.; ป. นิจฺจ).
【 นิตยทาน 】แปลว่า: น. การให้ทานทุกวัน. (ส.).
【 นิตยภัต 】แปลว่า: น. อาหารหรือค่าอาหารที่ถวายภิกษุสามเณรเป็นนิตย์. (ส. นิตฺย
+ ป. ภตฺต).
【 นิตยสาร 】แปลว่า: น. หนังสือพิมพ์ที่ออกเป็นรายคาบ เช่น นิตยสารรายสัปดาห์
นิตยสารรายเดือน. (ส.).
【 นิตย ๒ 】แปลว่า: [นิดตะยะ] น. นิติ เช่น ผู้ชํานินิตยสาตรไสย. (ตะเลงพ่าย).
(แผลงมาจาก นิติ).
【 นิติ 】แปลว่า: [นิติ, นิด] น. นีติ, กฎหมาย, กฎปฏิบัติ, แบบแผน, เยี่ยงอย่าง,
ขนบธรรมเนียม, ประเพณี, วิธีปกครอง, เครื่องแนะนํา, อุบาย
อันดี. (ป., ส. นีติ).
【 นิติกร 】แปลว่า: น. ชื่อตําแหน่งผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับกฎหมาย.
【 นิติกรณ์ 】แปลว่า: (กฎ) น. การรับรองของเจ้าพนักงานว่าเป็นตราสารที่ถูกต้องตาม
กฎหมาย. (อ. legalization).
【 นิติกรรม 】แปลว่า: (กฎ) น. การใด ๆ อันทําลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร
มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ
เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ.
【 นิติกรรมอำพราง 】แปลว่า: (กฎ) น. นิติกรรมอันหนึ่งที่ทำขึ้นด้วยเจตนาลวง เพื่อปิดบังนิติกรรม
อีกอันหนึ่งที่ทำขึ้นด้วยเจตนาอันแท้จริง ซึ่งกฎหมายให้บังคับตาม
กฎหมายเกี่ยวกับนิติกรรมที่ถูกอำพรางนั้น.
【 นิติการ 】แปลว่า: น. สายงานที่มีหน้าที่ปฏิบัติงานทางกฎหมาย.
【 นิติการณ์ 】แปลว่า: (กฎ; โบ) น. เหตุการณ์หรือการเป็นไป ซึ่งมีผลตามกฎหมาย, ปัจจุบัน
ใช้ว่า นิติเหตุ.
【 นิติธรรม 】แปลว่า: น. หลักพื้นฐานแห่งกฎหมาย.
【 นิตินัย 】แปลว่า: (กฎ) น. ความหมายตามกฎหมาย (ล. de jure), ต่างกับ พฤตินัย
คือ ความหมายตามข้อเท็จจริง (ล. de facto).
【 นิติบัญญัติ 】แปลว่า: (กฎ) น. การบัญญัติกฎหมาย.
【 นิติบุคคล 】แปลว่า: (กฎ) น. กลุ่มบุคคล องค์กร หรือทรัพย์สินที่จัดสรรไว้เป็นกองทุน
เพื่อดําเนินกิจการอันใดอันหนึ่ง ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เป็นบุคคล
อีกประเภทหนึ่งที่มิใช่บุคคลธรรมดา นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วย
อาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมาย
อื่น นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ ตามบทบัญญัติแห่งประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น ภายในขอบแห่งอำนาจ
หน้าที่หรือวัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติหรือกำหนดไว้ในกฎหมาย
ข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้ง นอกจากนั้น นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและ
หน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งโดย
สภาพจะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น เช่น กระทรวง
ทบวง กรม องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วน
ตำบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา บริษัทจํากัด สมาคม มูลนิธิ.
【 นิติภาวะ 】แปลว่า: (กฎ) น. ความเป็นผู้มีความสามารถที่จะใช้สิทธิตามกฎหมายได้ด้วย
ตนเอง.
【 นิติวิทยาศาสตร์ 】แปลว่า: น. วิชาที่ว่าด้วยการนําหลักวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ มาประยุกต์เพื่อ
แก้ปัญหาทางกฎหมาย และการพิสูจน์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีความ.
(อ. forensic science).
【 นิติเวชศาสตร์ 】แปลว่า: น. วิชาที่ว่าด้วยการใช้หลักทางการแพทย์ช่วยแก้ปัญหาทางกฎหมาย
และการพิสูจน์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีความ. (อ. forensic medicine).
【 นิติศาสตร์ 】แปลว่า: น. วิชากฎหมาย. (ส.).
【 นิติสมมติ 】แปลว่า: (กฎ) น. ความที่สมมุติขึ้นในกฎหมาย.
【 นิติสัมพันธ์ 】แปลว่า: (กฎ) น. ความเกี่ยวพันตามกฎหมาย.
【 นิติเหตุ 】แปลว่า: (กฎ) น. เหตุการณ์หรือการเป็นไป ซึ่งมีผลตามกฎหมาย เช่น
การละเมิด, โบราณใช้ว่า นิติการณ์.
【 นิทร 】แปลว่า: นิด ก. นิทรา, นอน.
【 นิทรรศการ 】แปลว่า: [นิทัดสะกาน] น. การแสดงผลงาน สินค้า ผลิตภัณฑ์ หรือกิจกรรม
ให้คนทั่วไปชม. (อ. exhibition).
【 นิทรา 】แปลว่า: [นิดทฺรา] น. การหลับ, การนอนหลับ. ก. หลับ, นอน, เช่น ให้หาว
นิทราเป็นพ้นไป. (อิเหนา). (ส.; ป. นิทฺทา).
【 นิทรารมณ์ 】แปลว่า: น. การหลับ.
【 นิทัศน์ 】แปลว่า: น. ตัวอย่างที่นํามาแสดงให้เห็น, อุทาหรณ์. (ส. นิทรฺศน; ป. นิทสฺสน).
【 นิทาฆะ 】แปลว่า: (แบบ) น. ความร้อน, ความอบอ้าว; หน้าร้อน (ระหว่างเดือนพฤษภาคม
ถึงมิถุนายน). (ป.).
【 นิทาน 】แปลว่า: น. เรื่องที่เล่ากันมา เช่น นิทานชาดก นิทานอีสป; เหตุ เช่น โรคนิทาน;
เรื่องเดิม เช่นวัตถุนิทาน. (ป.).
【 นิทานวจนะ 】แปลว่า: [นิทานนะวะจะนะ] น. คําแถลงเรื่องเดิม, ข้อความเบื้องต้น. (ป.).
【 นิเทศ 】แปลว่า: (แบบ) น. คําแสดง, คําจําแนกออก. ก. ชี้แจง, แสดง, จําแนก.
(ป. นิทฺเทส; ส. นิรฺเทศ).
【 นิเทศศาสตร์ 】แปลว่า: [นิเทดสาด] น. วิชาว่าด้วยการสื่อสารมวลชน และการประชาสัมพันธ์.
【 นิธาน 】แปลว่า: (แบบ) น. การฝังไว้, การบรรจุไว้; ที่ฝัง, ที่บรรจุ. (ป.).
【 นิธิ 】แปลว่า: (แบบ) น. ขุมทรัพย์. (ป., ส.).
【 นินทา 】แปลว่า: น. คําติเตียนลับหลัง. ก. ติเตียนลับหลัง. (ป., ส. นินฺทา ว่า การติเตียน).
【 นินนะ 】แปลว่า: [นิน] น. ที่ลุ่ม. (ป.; ส. นิมฺน).
【 นินนาท, นินาท 】แปลว่า: นินนาด, นินาด น. ความกึกก้อง, การบันลือ. (ป. นินฺนาท;
ส. นินาท).
【 นินหุต 】แปลว่า: นินนะหุด น. ชื่อสังขยา คือ ๑ มี ๐ ตามหลัง ๓๕ ตัว.
(ป. นินฺนหุต).
【 นิบาต 】แปลว่า: [บาด] น. เรียกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาประเภทหนึ่งที่รวบรวม
พระสูตรเบ็ดเตล็ดหรือชาดกต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน เช่น สุตตนิบาต =
คัมภีร์ที่รวบรวมพระสูตรเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน นิบาตชาดก
= คัมภีร์ที่รวบรวมชาดกต่าง ๆ ในพระไตรปิฎกไว้ด้วยกัน โดยแบ่ง
ย่อยเป็นหมวดต่าง ๆ; หมวดธรรม, ชุมนุมหลักธรรม, เช่น เอกนิบาต
= หมวดหรือชุมนุมหลักธรรมที่มี ๑ ข้อ ทุกนิบาต = หมวดหรือชุมนุม
หลักธรรมที่มี ๒ ข้อ; (ไว)ศัพท์ประเภทหนึ่ง สำหรับใช้เติมลงข้างหน้า
หรือข้างหลังคำหรือข้อความเพื่อเน้นความไขความ ยอมความอย่าง
ไม่เต็มใจเป็นต้น เช่น ก็ดี ก็ตาม หรือใช้เป็นคำขึ้นต้นข้อความใหม่ต่อ
จากข้อความเดิม เช่น ก็แหละ. (ป., ส. นิปาต).
【 นิบาตชาดก 】แปลว่า: น. คัมภีร์ที่รวบรวมชาดกต่าง ๆ ในพระไตรปิฎกไว้ด้วยกัน โดยแบ่งย่อย
เป็นหมวดต่าง ๆ เช่น เอกกนิบาตชาดก ทุกนิบาตชาดก.
【 นิปริยาย 】แปลว่า: นิปะริยาย น. ความไม่อ้อมค้อม, ความตรง. (ตรงกันข้ามกับ
ปริยาย = อย่างอ้อม). ว. สิ้นเชิง. (ป. นิปฺปริยาย).
【 นิปัจการ 】แปลว่า: [นิปัดจะกาน] น. การเคารพ. (ป. นิปจฺจการ).
【 นิพจน์ 】แปลว่า: (คณิต) น. สัญลักษณ์ที่แทนหลาย ๆ พจน์บวกหรือลบกัน.
(อ. expression).
【 นิพนธ์ 】แปลว่า: น. เรื่องที่แต่งขึ้น, (ราชา) พระนิพนธ์, พระราชนิพนธ์. ก. ร้อยกรอง
ถ้อยคํา, แต่งหนังสือ, (ราชา) ทรงนิพนธ์, ทรงพระนิพนธ์, ทรงพระราช
นิพนธ์. (ป., ส. นิพนฺธ).
【 นิพพาน 】แปลว่า: [นิบพาน] น. ความดับสนิทแห่งกิเลสและกองทุกข์. ก. ดับกิเลสและ
กองทุกข์, ตาย (ใช้แก่พระอรหันต์). (ป.; ส. นิรฺวาณ), โบราณใช้ว่า
นิรพาณ ก็มี. (จารึกสยาม).
【 นิพพิทา 】แปลว่า: [นิบพิทา] น. ความเบื่อหน่ายในกองทุกข์. (ป.).
【 นิพพิทาญาณ 】แปลว่า: น. ความรู้ที่ทําให้เบื่อหน่ายในกองทุกข์. (ป.).
【 นิพัทธ, นิพัทธ์ 】แปลว่า: นิพัดทะ, นิพัด ว. เนือง ๆ, เสมอ, เนื่องกัน. (ป.).
【 นิพัทธกุศล 】แปลว่า: [นิพัดทะ] น. กุศลที่ทําเป็นนิจ.
【 นิพันธ์ 】แปลว่า: น. นิพนธ์, เรื่องที่แต่งขึ้น. ก. ร้อยกรองถ้อยคํา, แต่งหนังสือ. (ป., ส.).
【 นิพิท, นิเพท 】แปลว่า: นิพิด, นิเพด ก. ให้รู้ชัด, บอก. (ป. นิ + วิท).
【 นิภา 】แปลว่า: น. แสง, แสงสว่าง. (ป., ส.). (แบบ) ก. เทียม, เสมอ, เทียบ. (ป., ส. นิภ).
【 นิ่ม ๑ 】แปลว่า: ว. อ่อนนุ่ม เช่น เนื้อนิ่ม มะตูมนิ่ม, ละเอียดอ่อน เช่น ผ้านี้เนื้อนิ่ม.
【 นิ่มนวล 】แปลว่า: ว. อ่อนโยน, ละมุนละม่อม, ไม่กระด้าง.
【 นิ่ม ๒ 】แปลว่า: /ดู ลิ่น./
【 นิ่ม ๓ 】แปลว่า: /ดู มิ้ม ๒./
【 นิ้ม 】แปลว่า: /ดู มิ้ม ๒./
【 นิมนต์ 】แปลว่า: ก. เชิญ, เชื้อเชิญ, (ใช้แก่พระภิกษุและสามเณร). (ป. นิมนฺต; ส. นิมนฺตฺร).
【 นิมมาน 】แปลว่า: น. การสร้าง, การแปลง, การทํา, การวัดส่วน. (ป.; ส. นิรฺมาณ).
【 นิมมานรดี 】แปลว่า: [นิมมานะระดี, นิมมานอระดี] น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๕ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น
ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์
ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี, มีท้าวสุนิมมิตเป็นผู้ครอง,
ในบทกลอนใช้ว่า นิมมานรดีต ก็มี เช่น ช่อชั้นนิมมานรดีต. (อิเหนา).
(ป.; ส. นิรฺมาณ + รติ).
【 นิมิต ๑ 】แปลว่า: ก. นิรมิต, สร้าง, แปลง, ทํา. (ป. นิมฺมิต; ส. นิรฺมิต).
【 นิมิต ๒ 】แปลว่า: น. เครื่องหมาย, ลาง, เหตุ, เค้ามูล; (แบบ) อวัยวะสืบพันธุ์. (ป., ส. นิมิตฺต).
【 นิยต, นิยต 】แปลว่า: ยด, ยะตะ ก. กําหนด เช่น พระพเนจรจรหลํ่า ได้หลายคํ่า
หลายวัน ถึงแดนอันจะนิยต. (ลอ). (แบบ) ว. เที่ยง, แท้, แน่. (ป., ส.);
(การศึกษา) ตระหนักแน่, เป็นที่ยอมรับ, เชิงสร้างสรรค์, ทางบวก.
(อ. positive).
【 นิยม 】แปลว่า: (แบบ) น. การกําหนด. (ป., ส.). ก. ชมชอบ, ยอมรับนับถือ, ชื่นชมยินดี,
ถ้าใช้ประกอบท้ายคําสมาสบางคํามีความหมายว่า ลัทธิ เช่น ชาตินิยม
สังคมนิยม.
【 นิยมนิยาย 】แปลว่า: (ปาก) น. ความแน่นอน, ใช้ในความปฏิเสธว่า เอานิยมนิยายไม่ได้
หมายความว่า หาความแน่นอนจริงจังอะไรไม่ได้.
【 นิยยานะ 】แปลว่า: นิยะ น. การนําออกไป, การออกไป. (ป.; ส. นิรฺยาณ).
【 นิยยานิก 】แปลว่า: นิยะยานิกะ ว. ที่นําออกไปจากทุกข์ เช่น นิยยานิกธรรม คือ
ธรรมที่นําสัตว์ออกจากทุกข์. (ป., ส. นิรฺยาณิก).
【 นิยัตินิยม 】แปลว่า: [นิยัดติ] น. ลัทธิความเชื่อที่ว่า การกระทําทุกอย่างของมนุษย์หรือ
เหตุการณ์ทั้งหลายได้ถูกกําหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว. (อ. determinism).
【 นิยาม 】แปลว่า: ยาม น. การกําหนด, ทาง, อย่าง, วิธี. ก. กําหนดหรือจํากัด
ความหมายที่แน่นอน. (ป., ส.).
【 นิยาย 】แปลว่า: น. เรื่องที่เล่ากันมา.
【 นิยุต ๑ 】แปลว่า: (แบบ) น. สังขยาจํานวนสูงเท่ากับล้าน. (ป.).
【 นิยุต ๒ 】แปลว่า: (แบบ) ก. ประกอบ, เทียม, ทําให้แน่น. (ป. นิยุตฺต).
【 นิร 】แปลว่า: [ระ] ว. คําประกอบหน้าคําอื่น แปลว่า ไม่, ไม่มี, ออก.
【 นิรคุณ 】แปลว่า: [ระ] ว. ไม่มีลักษณะดี, ไม่มีคุณ, เลว, ชั่วร้าย; เนรคุณ, ไม่รู้คุณ. (ส.).
【 นิรโฆษ 】แปลว่า: ระโคด น. เสียงดัง, เสียงกึกก้อง. ว. ไม่มีเสียง, เงียบ,
สงบ, สงัด. (ส.).
【 นิรชร 】แปลว่า: ระชอน น. เทวดา. (ส.).
【 นิรชรา 】แปลว่า: ระชะรา น. นางอัปสร. (ส.).
【 นิรทุกข์ 】แปลว่า: [ระ] ว. ไม่มีทุกข์.
【 นิรเทศ 】แปลว่า: ระ ก. เนรเทศ, ขับไล่ออกจากที่เดิม. (ส. นิรฺ + เทศ).
【 นิรโทษ 】แปลว่า: [ระโทด] ว. ไม่มีโทษ.
【 นิรโทษกรรม 】แปลว่า: นิระโทดสะกํา น. ตามกฎหมายแพ่ง หมายถึง การกระทํา
ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ซึ่งกฎหมายบัญญัติว่า ไม่ต้อง
ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เช่น การกระทำการป้องกันโดยชอบด้วย
กฎหมาย การกระทำตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย; ตามกฎหมาย
อาญา หมายถึง การลบล้างการกระทําความผิดอาญาที่บุคคลได้
กระทํามาแล้ว โดยมีกฎหมายที่ออกภายหลังการกระทำผิดกำหนด
ให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิด และให้ผู้ที่ได้กระทําการนั้นพ้น
จากการเป็นผู้กระทำความผิด.
【 นิรนัย 】แปลว่า: [–ระไน] น. วิธีการใช้เหตุผลที่ดําเนินจากส่วนรวมไปหาส่วนย่อย,
คู่กับอุปนัย. (อ. deduction).
【 นิรนาม 】แปลว่า: [ระนาม] ว. ไม่รู้ว่าชื่ออะไร.
【 นิรภัย 】แปลว่า: [ระไพ] ว. ไม่มีภัย, แคล้วคลาดจากภัยอันตราย. (ส.).
【 นิรมล 】แปลว่า: [ระมน] ว. ไม่มีมลทิน, ไม่มัวหมอง, ผ่องใส; โดยปริยายหมายความว่า
หญิงสวย, หญิงงาม. (ส.).
【 นิรมาน 】แปลว่า: ระมาน ว. ปราศจากการถือรั้น, ไม่มีความดื้อดึง, ไม่ถือตัว.
【 นิรัติศัย 】แปลว่า: รัดติไส ว. พิเศษยิ่ง, ประเสริฐยิ่ง. (ส. นิรฺ + อติศย).
【 นิรันดร, นิรันตร 】แปลว่า: [รันดอน, รันตะระ] ว. ตลอดไปไม่เว้นว่าง, ติดต่อกันตลอดไป. (ป.).
【 นิรันตราย 】แปลว่า: รันตะราย ว. ปราศจากอันตราย. (ป.).
【 นิรา 】แปลว่า: (กลอน) ก. ไปจาก. ว. ไม่มี. (ส. นิรฺ).
【 นิราพาธ 】แปลว่า: พาด ว. ไม่มีความเจ็บไข้. (ป., ส.).
【 นิรามัย 】แปลว่า: ไม ว. ไม่มีโรค, สบาย, เป็นสุข. (ป., ส.).
【 นิรามิษ 】แปลว่า: มิด ว. ไม่มีเหยื่อ, ไม่มีเครื่องล่อใจ, ไม่รับสินบน; ปราศจาก
ความยินดีอันเป็นเครื่องล่อใจ. (ส.).
【 นิราลัย 】แปลว่า: ไล ว. ไม่มีที่อยู่, ไม่มีที่ห่วงใย. (ป.).
【 นิราศรพ 】แปลว่า: สบ ว. ไม่มีเครื่องหมักหมมในสันดาน, หมดมลทิน,
หมายถึงพระอรหันต์. (ส. นิราศรฺว).
【 นิราศรัย 】แปลว่า: ไส ว. ไม่อยู่เป็นที่, ไม่ติดอยู่กับที่. (ส.).
【 นิรินธน์ 】แปลว่า: ริน ว. ไม่มีเชื้อ (ใช้แก่ไฟ). (ป.).
【 นิรินธนพินาศ 】แปลว่า: [รินทะนะ] น. ความหมดสิ้นอย่างไฟขาดเชื้อ คือ ไม่ลุกลามได้อีก
(มักใช้เปรียบถึงความดับกิเลสของพระอรหันต์).
【 นิรุทกะ 】แปลว่า: รุทะกะ ว. ไม่มีนํ้า. (ป.).
【 นิโรช 】แปลว่า: นิโรด ว. ไม่มีรส, ไม่อร่อย, จืด. (ป.).
【 นิรมาณ 】แปลว่า: ระมาน น. การสร้าง, การแปลง, การทํา, การวัดส่วน. (ส.).
【 นิรมาณกาย 】แปลว่า: [ระมานนะกาย] น. กายที่ประกอบด้วยขันธ์ ๕ ของพระพุทธเจ้า ซึ่งมีอัน
เปลี่ยนแปลงไปเหมือนสิ่งที่ประกอบด้วยขันธ์ ๕ อื่น ๆ, ตามคติมหายาน
เชื่อว่าเป็นรูปปรากฏของพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้า คือ
ธรรมกาย.
【 นิรมิต 】แปลว่า: [ระมิด] ก. นิมิต, เนรมิต, สร้าง, แปลง, ทํา, บันดาลให้เป็นขึ้นมีขึ้น.
(ส. นิรฺมิต; ป. นิมฺมิต).
【 นิรย 】แปลว่า: ระยะ น. นรก. (ป.).
【 นิรยบาล 】แปลว่า: น. ผู้คุมนรก. (ป.).
【 นิระ 】แปลว่า: (แบบ) น. นํ้า. (ป., ส. นีร).
【 นิรัติศัย 】แปลว่า: /ดู นิร./
【 นิรันดร, นิรันตร 】แปลว่า: /ดู นิร./
【 นิรันตราย 】แปลว่า: /ดู นิร./
【 นิรัพพุท 】แปลว่า: [รับพุด] น. สังขยาจํานวนสูง เท่ากับ ๑ มี ๐ ตามหลัง ๖๓ ตัว บ้างว่า
๑๐๐ ล้าน. (ป.).
【 นิรา 】แปลว่า: /ดู นิร./
【 นิราพาธ 】แปลว่า: /ดู นิร./
【 นิรามัย 】แปลว่า: /ดู นิร./
【 นิรามิษ 】แปลว่า: /ดู นิร./
【 นิราลัย 】แปลว่า: /ดู นิร./
【 นิราศ ๑ 】แปลว่า: [ราด] ก. ไปจาก, ระเหระหน, ปราศจาก. น. เรื่องราวที่พรรณนาถึง
การจากกันหรือจากที่อยู่ไปในที่ต่าง ๆ เป็นต้น มักแต่งเป็นกลอนหรือ
โคลง เช่น นิราศนรินทร์ นิราศเมืองแกลง. (ส.).
【 นิราศ ๒ 】แปลว่า: [ราด] ก. ปราศจากความหวัง, ไม่มีความต้องการ, หมดอยาก, เฉยอยู่.
(ส.; ป. นิราสา).
【 นิราศรพ 】แปลว่า: /ดู นิร./
【 นิราศรัย 】แปลว่า: /ดู นิร./
【 นิรินธน์ 】แปลว่า: /ดู นิร./
【 นิรินธนพินาศ 】แปลว่า: /ดู นิร./
【 นิรุกติ 】แปลว่า: น. ภาษา, คําพูด. (ส.; ป. นิรุตฺติ).
【 นิรุกติศาสตร์ 】แปลว่า: น. วิชาว่าด้วยที่มาและความหมายของคํา. (ส.).
【 นิรุตติ 】แปลว่า: น. ภาษา, คําพูด. (ป.; ส. นิรุกฺติ).
【 นิรุตติปฏิสัมภิทา 】แปลว่า: น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉาน
ในนิรุตติ คือ ความเข้าใจในภาษา รู้จักใช้ถ้อยคำพูดอธิบายให้คนเข้าใจ
ตลอดจนรู้ภาษาต่าง ๆ อาจชักนำคนให้เชื่อถือหรือนิยมตามคำพูด,
กล่าวสั้น ๆ ว่า เข้าใจพูด. (ป.).
【 นิรุทกะ 】แปลว่า: /ดู นิร./
【 นิรุทธ์ 】แปลว่า: (แบบ) ก. ดับแล้ว. (ป.).
【 นิโรช 】แปลว่า: /ดู นิร./
【 นิโรธ, นิโรธ 】แปลว่า: นิโรด, นิโรดทะ น. ความดับ; นิพพาน. (ป.).
【 นิโรธสมาบัติ 】แปลว่า: นิโรดทะสะมาบัด, นิโรดสะมาบัด น. การเข้าสู่นิโรธ เป็นวิธี
พักผ่อนของพระอรหันต์. (ป. นิโรธสมาปตฺติ).
【 นิล ๑, นิล 】แปลว่า: [นิน, นินละ] น. พลอยชนิดหนึ่ง มีสีดํา ถ้าสีนํ้าเงินแก่ เรียก นิลสีดอก
ผักตบ. ว. สีอย่างนิล เรียกว่า สีนิล เช่น ตาสีนิล. (ป., ส. นีล).
【 นิลบัตร 】แปลว่า: [นินละ] น. พิษซางอย่างหนึ่งมีสีดําที่โคนแขนเป็นแผ่นเดียว.
【 นิลปัทม์ 】แปลว่า: [นินละ] น. บัวเขียว. (ส.).
【 นิลรัตน์ 】แปลว่า: [นินละ] น. แก้วสีขาบ, นิล. (ส.).
【 นิลุบล, นิโลตบล 】แปลว่า: [บน, โลดบน] น. บัวขาบ. (ป. นีลุปฺปล; ส. นีโลตฺปล).
【 นิโลบล 】แปลว่า: [บน] น. บัวขาบ. (ส. นีโลตฺปล); หินสีขาบ, แก้วมีค่าสีครามอ่อน.
(ส. นีโลปล).
【 นิล ๒ 】แปลว่า: [นิน] น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด /Tilapia nilotica /ในวงศ์ Cichlidae ลําตัว
สีเขียวอมนํ้าตาลหรือเหลือง มีจุดดําด่างทั่วตัว ปลาขนาดเล็กจะมี
ลายเข้มพาด ขวางลําตัว ครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางมีลายหรือ
แนวจุดสีคลํ้าหรือขาวพาดขวางหรือทแยงอยู่โดยตลอด ขนาดยาว
ได้ถึง ๔๖ เซนติเมตร ทํารังเป็นแอ่งดินและปกป้องดูแลลูกอ่อนไว้ใน
โพรงปาก นํามาจากต่างประเทศเพื่อเลี้ยงเป็นอาหาร.
【 นิลุบล, นิโลตบล 】แปลว่า: /ดู นิล ๑, นิล./
【 นิโลบล 】แปลว่า: /ดู นิล ๑, นิล./
【 นิ่ว ๑ 】แปลว่า: น. เกลือเคมีหรือสารเคมีอื่น เช่นคอเลสเทอรอลที่เกิดเป็นก้อนแข็งในไต
กระเพาะปัสสาวะ ถุงนํ้าดี หรือท่อของต่อมบางชนิดในร่างกาย เช่นต่อม
นํ้าลาย ตับอ่อน.
【 นิ่ว ๒ 】แปลว่า: ก. ทําหน้าย่นขมวดคิ้วแสดงความโกรธหรือเจ็บปวดเป็นต้น. ว. มีสีหน้า
เช่นนั้น ในคําว่า หน้านิ่ว.
【 นิ้ว 】แปลว่า: น. ส่วนสุดของมือหรือเท้า แยกออกเป็น ๕ กิ่ง คือ นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้
นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย, ราชาศัพท์ว่า พระอังคุฐ พระดัชนี พระ
มัชฌิมา พระอนามิกา พระกนิษฐา โดยลําดับ, ถ้าเป็นนิ้วเท้านิ้วต้น
เรียกว่า นิ้วหัวแม่เท้า นอกนั้นอนุโลมเรียกตามนิ้วมือ; มาตราวัดตาม
วิธีประเพณี ๑ นิ้ว เท่ากับ ๔ กระเบียด, และ ๑๒ นิ้ว เป็น ๑ คืบ; มาตรา
วัดของอังกฤษ ๑ นิ้ว เท่ากับ ๒.๕ เซนติเมตร, และ ๑๒ นิ้ว เป็น ๑ ฟุต.
นิ้วไหนร้ายก็ตัดนิ้วนั้น (สํา) น. คนใดไม่ดี ก็ตัดออกไปจากหมู่คณะ.
【 นิวคลิอิก 】แปลว่า: น. ชื่อกรดชนิดหนึ่ง ซึ่งมีโมเลกุลใหญ่มากและมีโครงสร้างซับซ้อน มี
๒ ชนิด คือ กรดดีออกซีไรโบนิวคลิอิก (Deoxyribonucleic acid) ซึ่ง
เรียกย่อว่า DNA และกรดไรโบนิวคลิอิก (Ribonucleic acid) ซึ่งเรียก
ย่อว่า RNA มีปรากฏอยู่ในสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ทําหน้าที่เก็บรวบรวมและ
ถ่ายทอดพันธุกรรม. (อ. nucleic acid).
【 นิวเคลียร์ 】แปลว่า: ว. ที่ใช้พลังงานอะตอม, เกี่ยวกับนิวเคลียสของอะตอม. (อ. nuclear).
【 นิวเคลียส 】แปลว่า: น. ส่วนใจกลางของอะตอมของธาตุทุกชนิด ส่วนนี้ประกอบด้วย
อนุภาคมูลฐานที่สําคัญ ๒ ชนิด คือ โปรตอน และ นิวตรอน (สําหรับ
อะตอม ของไฮโดรเจนธรรมดา นิวเคลียสมีแต่โปรตอนเท่านั้น ไม่มี
นิวตรอน), ส่วนที่สําคัญยิ่งของเซลล์ ลักษณะเหนียวข้นเป็นก้อน
ประกอบด้วยส่วนย่อย ๆ อีกหลายชนิด มักอยู่ตอนกลางของเซลล์
ที่ยังอ่อนอยู่ และอาจร่นไปอยู่ริมเซลล์เมื่อแก่เข้า. (อ. nucleus).
【 นิวตรอน 】แปลว่า: น. อนุภาคมูลฐานชนิดหนึ่งซึ่งเป็นองค์ประกอบของนิวเคลียสของ
อะตอมของธาตุทุกชนิดยกเว้นไฮโดรเจนธรรมดา อนุภาคนี้ไม่มี
ประจุไฟฟ้าและมีมวล ๑.๖๗๔๘๒ x ๑๐ x ๒๗ กิโลกรัม. (อ. neutron).
【 นิวรณ์ 】แปลว่า: น. สิ่งห้ามกันจิตไว้มิให้บรรลุความดี มี ๕ ประการ คือ ความพอใจ
รักใคร่ ๑ ความพยาบาท ๑ ความง่วงเหงาหาวนอน ๑ ความฟุ้งซ่าน
รําคาญ ๑ ความลังเลใจ ๑. (ป.).
【 นิวัต, นิวัตน์ 】แปลว่า: วัด ก. กลับ. (ป. นิวตฺต, นิวตฺตน).
【 นิวาต 】แปลว่า: วาด ว. สงัดลม, สงัด; เสงี่ยม, เจียมตัว, สุภาพ. (ป.).
【 นิวาส 】แปลว่า: วาด น. ที่อยู่อาศัย, ที่พัก. (ป.).
【 นิเวศ, นิเวศ, นิเวศน์ 】แปลว่า: นิเวด, นิเวดสะ น. ที่อยู่, บ้าน, วัง. (ส.; ป. นิเวสน).
【 นิเวศวิทยา 】แปลว่า: [นิเวดสะวิดทะยา, นิเวดวิดทะยา] น. วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์
ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับถิ่นที่อยู่และสิ่งแวดล้อม; (มานุษย) การศึกษาเกี่ยวกับ
การดัดแปลงวัฒนธรรมของมนุษย์ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม. (อ. ecology).
【 นิศา 】แปลว่า: (แบบ) น. กลางคืน. (ส.).
【 นิศากร 】แปลว่า: น. พระจันทร์. (ส.; ป. นิสากร).
【 นิศากาล 】แปลว่า: น. เวลามืด. (ส.).
【 นิศาคม 】แปลว่า: น. เวลาโพล้เพล้. (ส.).
【 นิศาชล 】แปลว่า: น. นํ้าค้าง. (ส.).
【 นิศาทิ 】แปลว่า: น. เวลาขมุกขมัว. (ส.).
【 นิศานาถ, นิศาบดี, นิศามณี, นิศารัตน์ 】แปลว่า: น. พระจันทร์. (ส.).
【 นิษกรม 】แปลว่า: [นิดสะกฺรม] (แบบ; กลอน) ก. เฉย, ปราศจากกิริยา, เช่น ใจเน่งนิษกรม.
(อนิรุทธ์). (ส.).
【 นิษาท 】แปลว่า: (แบบ) น. พรานป่า, เงาะป่า; ชาวประมง; โจร. (ส.; ป. เนสาท).
【 นิสภ– 】แปลว่า: –สะพะ– ว. ผู้ประเสริฐ เช่น นิสภขัตติยวราเรืองพระยศ.
(ม. ร่ายยาว ชูชก). (ป.).
【 นิสัช 】แปลว่า: (แบบ) น. การนั่ง. (ป. นิสชฺชา).
【 นิสัชชาการ 】แปลว่า: น. อาการนั่ง. (ป.), ในบทกลอนใช้ว่า นิสัชชนาการ ก็มี เช่น
จึงเสด็จนิสัชชนาการนั่งในร่มไม้. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์).
【 นิสัย 】แปลว่า: น. ความประพฤติที่เคยชิน เช่น ทําจนเป็นนิสัย; ที่พึ่ง, ที่พักพิง, ที่อาศัย,
เช่น ขอนิสัยในการอุปสมบท. (ป. นิสฺสย).
【 นิสัยใจคอ 】แปลว่า: น. อัธยาศัย, นิสัยที่เกิดจากใจจริง เช่น นิสัยใจคอมีเมตตากรุณา
นิสัยใจคอโหดเหี้ยมทารุณ.
【 นิสาท 】แปลว่า: (โหร) น. เวลาตั้งแต่ยํ่าคํ่าถึงเที่ยงคืน.
【 นิสิต 】แปลว่า: น. ผู้ที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยบางแห่ง เช่น นิสิตจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; ศิษย์ที่เล่าเรียน
อยู่ในสํานัก, ผู้อาศัย. (ป. นิสฺสิต).
【 นิสีทน, นิสีทนะ 】แปลว่า: นิสีทะนะ น. การนั่ง; ผ้ารองนั่งของภิกษุ. (ป.).
【 นิสีทนสันถัต 】แปลว่า: น. ผ้าปูสำหรับนั่ง (มักใช้แก่พระสงฆ์).
【 นิสีทนาการ 】แปลว่า: น. อาการนั่ง. (ป.).
【 นิสีทนาการ 】แปลว่า: /ดู นิสีทน, นิสีทนะ./
【 นิเสธ 】แปลว่า: ว. ไม่มีลักษณะเชิงนิยต, ปฏิเสธ, ทางลบ. (อ. negative).
【 นี่ 】แปลว่า: ส. คําใช้แทนนามที่อ้างถึงบุคคลหรือสิ่งที่อยู่ใกล้ เช่น นี่ใคร นี่อะไร.
ว. คําใช้ประกอบคํานามหรือกริยาให้รู้ว่าอยู่ใกล้หรือชี้เฉพาะ เช่น
หนังสือนี่แต่งดี ขนมนี่อร่อย อยู่นี่ มานี่; คําประกอบท้ายคําเพื่อเน้น
ความหมาย เช่น เดี๋ยวเฆี่ยนเสียนี่.
【 นี่แน่ะ 】แปลว่า: คําบอกให้ดูหรือเตือนให้รู้, นี่ ก็ว่า.
【 นี่แหละ 】แปลว่า: คําแสดงการเน้นให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น ฉันนี่แหละ นี่แหละโลก.
【 นี่เอง 】แปลว่า: คําประกอบคําอื่นแสดงการเน้นให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น เธอนี่เอง
เด็กคนนี้นี่เอง.
【 นี้ 】แปลว่า: ว. คําใช้ประกอบนามหรือข้อความที่อยู่ใกล้หรือชี้เฉพาะ เช่น ทุกวันนี้
ชายคนนี้.
【 นีติ 】แปลว่า: (แบบ; เลิก) น. นิติ, แบบแผน, เยี่ยงอย่าง, ขนบธรรมเนียม, ประเพณี,
กฎหมาย, วิธีปกครอง, เครื่องแนะนํา, อุบายอันดี. (ป., ส.).
【 นีติธรรม 】แปลว่า: (แบบ) น. วินัยบัญญัติ, หลักกฎหมาย, นิติธรรม. (ส.).
【 นีติศาสตร์ 】แปลว่า: (แบบ) น. วิชากฎหมาย. (ส.).
【 นี่นัน 】แปลว่า: ว. อึงมี่, อึกทึก.
【 นีร 】แปลว่า: นีระ น. นํ้า. (ป., ส.).
【 นีรจร 】แปลว่า: น. ปลาหรือสัตว์นํ้าอื่น ๆ. (ส.).
【 นีรช, นีรชะ 】แปลว่า: [รด, ระชะ] น. บัว. (ส.).
【 นีรนาท 】แปลว่า: (กลอน) ก. กึกก้อง เช่น ปฐพีนีรนาทหวาดไหว. (คําพากย์), เนียรนาท
ก็ใช้.
【 นีล 】แปลว่า: น. สีเขียว.
【 นีออน 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๑๐ สัญลักษณ์ Ne เป็นแก๊สเฉื่อย มีปรากฏเพียง ๑ ใน
๕๕,๐๐๐ ส่วนในบรรยากาศ. (อ. neon); (ปาก) เรียกหลอดไฟเรืองแสง
ที่ให้ความสว่างหรือโฆษณาว่า หลอดนีออน.
【 นีโอดิเมียม 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๖๐ สัญลักษณ์ Nd เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง
สีเหลืองอ่อน ๆ หลอมละลายที่ ๑๐๒๔?ซ. (อ. neodymium).
【 นึก 】แปลว่า: ก. คิด เช่น นึกถึงความหลัง นึกถึงอนาคต นึกไม่ถึง, คิดขึ้นมาในฉับพลัน
เช่น นึกขึ้นมาได้.
【 นึกคิด 】แปลว่า: ก. คิดใคร่ครวญ.
【 นึกดู 】แปลว่า: ก. ตรึกตรอง.
【 นึกถึง 】แปลว่า: ก. ระลึกถึง.
【 นึกไม่ถึง 】แปลว่า: ก. คาดไม่ถึง, ไม่คิดว่าจะเป็นไปได้เช่นนั้น, เช่น รู้ว่าเขาจะเข้า
มาทำงานด้วย แต่ก็นึกไม่ถึงว่าเขาจะมาเป็นสายให้โจร.
【 นึกเห็น 】แปลว่า: ก. นึกเอาเองเห็นไปต่าง ๆ นานา.
【 นึกออก 】แปลว่า: ก. กลับระลึกได้.
【 นึง 】แปลว่า: (โบ) น. ลูกชายคนที่ ๑๑, นิง ก็ว่า.
【 นึ่ง 】แปลว่า: ก. ทําให้สุกหรือร้อนด้วยไอนํ้าร้อนในหวดหรือลังถึงเป็นต้น เช่น
นึ่งข้าวเหนียว นึ่งขนม.
【 นึ่งหม้อเกลือ 】แปลว่า: ก. ใช้หม้อตาลใส่เกลืออังไฟให้ร้อน ห่อด้วยใบพลับพลึงแล้วใช้ผ้า
หุ้มอีกชั้นหนึ่ง นาบหรือประคบท้องหลังคลอดบุตรใหม่ ๆ.
【 นุ ๑ 】แปลว่า: (กลอน) ตัดมาจากอุปสรรค อนุ เช่น ทราบนุสนธิ์ทุกแห่ง. (ตะเลงพ่าย);
อเนกนุประการ. (พงศ. เลขา); โดยนุกรม. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
【 นุ ๒ 】แปลว่า: (โบ) ใช้เสริมแทรกเพื่อให้พยางค์สละสลวย เช่น พฤกษในนุพงไพร.
(สมุทรโฆษ).
【 นุง 】แปลว่า: ว. ยุ่ง, นุ่ง ก็ว่า.
【 นุงถุง 】แปลว่า: ว. ยุ่งเหยิง.
【 นุงนัง 】แปลว่า: ว. เกี่ยวพันกันยุ่ง เช่น ลูกหลานนุงนัง หนี้สินนุงนัง, พันกันยุ่ง เช่น
ด้ายยุ่งนุงนัง.
【 นุ่ง ๑ 】แปลว่า: ก. ใช้ผ้าปกปิดกายท่อนล่าง เช่น นุ่งผ้าถุง นุ่งกางเกง, แต่เดิม
หมายความว่า ปกปิดร่างกายท่อนบนก็ได้ เช่น นุ่งเสื้อ.
【 นุ่งกระโจมอก 】แปลว่า: ก. นุ่งผ้าถุงสูงปิดอก.
【 นุ่งเจียมห่มเจียม 】แปลว่า: ก. แต่งตัวพอสมกับฐานะ.
【 นุ่งผ้าโจงกระเบน 】แปลว่า: ก. นุ่งผ้าแล้วม้วนชายผ้านุ่งสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บขอบ
ผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว.
【 นุ่งห่ม 】แปลว่า: ก. แต่งตัว เช่น นุ่งห่มให้เรียบร้อย.
【 นุ่ง ๒ 】แปลว่า: ว. ยุ่ง, นุง ก็ว่า.
【 นุช 】แปลว่า: (กลอน; ตัดมาจาก อนุช) น. น้อง (โดยมากใช้แก่ผู้หญิง).
【 นุด 】แปลว่า: ก. อ้วนพีสดใส. (ไทยใหญ่).
【 นุต 】แปลว่า: (แบบ) ก. ชมเชย, สรรเสริญ. (ป. นุติ).
【 นุ่น 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด /Ceiba pentandra/ (L.) Gaertn. ในวงศ์
Bombacaceae ลําต้นและกิ่งก้านสีเขียว มีหนามสั้น ๆ ที่โคนต้น กิ่ง
ทอดขนานกับพื้น ทิ้งใบในฤดูแล้ง ดอกสีขาวนวล ผลรูปทรงกระสวย
ใช้ปุยในผลอย่างเดียวกับง้าวและงิ้ว.
【 นุ่ม 】แปลว่า: ว. อ่อนละมุน, อ่อนนิ่ม.
【 นุ่มนวล 】แปลว่า: ว. อ่อนหวาน, อ่อนโยน, ละมุนละไม, เพราะพริ้ง, เช่น พูดจานุ่มนวล
กิริยาท่าทางนุ่มนวล.
【 นุ่มนิ่ม 】แปลว่า: ว. กิริยามารยาทที่อ่อนโยนน่ารักน่าเอ็นดูอย่างเด็ก ๆ, อ่อนนุ่ม
อย่างไข่จะละเม็ด.
【 นุ้ย 】แปลว่า: ว. อ้วน, อวบ; (ถิ่นปักษ์ใต้) เล็ก.
【 นูน 】แปลว่า: ว. สูงขึ้นจากระดับพื้นเดิม ในลักษณะอย่างหนังสือตัวนูน ลวดลายนูน,
มีเส้นรูปนอกหรือพื้นราบโค้งออกไป.
【 นู่น 】แปลว่า: (ปาก) ส. คําใช้แทนนามที่อยู่ไกลออกไป.
【 นู้น 】แปลว่า: (ปาก) ว. ใช้ประกอบนามที่อยู่ไกลออกไป.
【 เนกขะ 】แปลว่า: (แบบ) น. นิกขะ, ลิ่ม, แท่ง. (ป. นิกฺข; ส. นิกฺษ).
【 เนกขัม 】แปลว่า: (แบบ) น. การออก, การออกจากกาม, การออกบวช. (ป. เนกฺขมฺม).
【 เน่ง 】แปลว่า: (โบ) ก. นิ่ง, แน่.
【 เนตบอล 】แปลว่า: น. กีฬาอย่างหนึ่ง คล้ายบาสเกตบอล มีผู้เล่นฝ่ายละ ๗ คน และส่ง
ลูกบอลโดยวิธีโยนหรือขว้างเท่านั้น ห้ามเตะหรือตบลูกบอลกับพื้น.
(อ. netball).
【 เนตร 】แปลว่า: เนด น. ตา, ดวงตา. (ส.; ป. เนตฺต); ผู้นําทาง เช่น เนตรนารี.
【 เนตรนารี 】แปลว่า: น. เด็กหญิงที่ได้รับการฝึกให้เป็นผู้นำในทางความประพฤติ, สมาชิก
แห่งองค์การที่มีวัตถุประสงค์ในการฝึกหัดอบรมบ่มนิสัยเด็กหญิงให้
เป็นพลเมืองดีตามจารีตประเพณี มีอุดมคติ และความรับผิดชอบตัวเอง
และต่อผู้อื่นเป็นต้น.
【 เนติ 】แปลว่า: เนติ น. นิติ, แบบแผน, เยี่ยงอย่าง, ขนบธรรมเนียม, ประเพณี,
กฎหมาย, วิธีปกครอง, เครื่องแนะนํา, อุบายอันดี. (ป., ส. นีติ).
【 เนติบัณฑิต 】แปลว่า: น. ผู้ได้รับประกาศนียบัตรทางวิชากฎหมายของโรงเรียนกฎหมาย
กระทรวงยุติธรรม, ผู้สอบได้ตามหลักสูตรของสํานักศึกษาอบรม
กฎหมายของเนติบัณฑิตยสภา.
【 เน้น 】แปลว่า: ก. ทําให้หนักแน่นเพื่อให้เห็นความสําคัญ (ใช้แก่กริยาพูด) เช่น เน้น
ถ้อยเน้นคํา, ลงเสียงหนัก เช่น เน้นเสียง, กดให้แน่น เช่น เน้นเหงือก
เน้นฟัน. ว. ให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น พูดเน้น.
【 เนบิวลา 】แปลว่า: น. บริเวณที่มีลักษณะเป็นฝ้าเรืองแสง ปรากฏเห็นได้บางแห่งบนท้องฟ้า
มีขนาดใหญ่มาก ประกอบด้วยกลุ่มแก๊ส กลุ่มดาวฤกษ์ และวัตถุต่าง ๆ
ที่จะก่อตัวรวมกันเป็นดาวฤกษ์. (อ. nebula).
【 เนปจูน 】แปลว่า: น. ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๘ ในระบบสุริยะ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เพราะ
อยู่ห่างโลกมาก อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๔,๕๒๙ ล้านกิโลเมตร
มีเส้นผ่านศูนย์กลางในแนวที่ผ่านเส้นศูนย์สูตร ๔๘,๔๐๐ กิโลเมตร
ในแนวที่ผ่านขั้ว ๔๗,๔๐๐ กิโลเมตร, ดาวสมุทร ก็เรียก. (อ. Neptune).
【 เนปทูเนียม 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๙๓ สัญลักษณ์ Np เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์
สร้างขึ้นไม่มีปรากฏในธรรมชาติ เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเงิน.
(อ. neptunium).
【 เนมิ 】แปลว่า: (แบบ) น. กงรถ, กงเกวียน. (ป.).
【 เนมิตก, เนมิตกะ 】แปลว่า: เนมิดตะกะ น. หมอดูทายลักษณะหรือโชคลาง. (ป. เนมิตฺตก).
【 เนมิตกนาม 】แปลว่า: น. ชื่อที่เกิดขึ้นตามเหตุ คือลักษณะและคุณสมบัติ เช่น พระสุคต
แปลว่า ผู้ดําเนินดีแล้ว.
【 เนมินธร 】แปลว่า: [มินทอน] น. ชื่อภูเขาชั้นที่ ๕ ในหมู่เขาสัตบริภัณฑ์ที่ล้อมเป็นวงกลม
รอบเขาพระสุเมรุ. (ป., ส.). (ดู สัตบริภัณฑ์, สัตภัณฑ์).
【 เนย 】แปลว่า: น. ไขมันหรือนํ้ามันที่ทําจากนํ้านมสัตว์มีทั้งเหลวและแข็ง.
【 เนยเทียม 】แปลว่า: น. สิ่งที่ทําจากไขมันหรือนํ้ามันที่ได้จากพืชและสัตว์ นํามาทําให้
บริสุทธิ์ ผสมวิตามินเอ วิตามินดี เติมนมและสีที่เหมาะสม แบคทีเรีย
ในนมจะทําให้เกิดกลิ่นและรสคล้ายเนย ใช้เป็นอาหารได้.
【 เนยใส 】แปลว่า: น. นํ้ามันที่เคี่ยวมาจากเนย.
【 เนรกัณฐี 】แปลว่า: [เนระกันถี] น. แก้วมณีชนิดหนึ่ง.
【 เนรคุณ 】แปลว่า: [ระคุน] ว. อกตัญญูไม่รู้คุณ, ไม่สํานึกถึงบุญคุณ. (แผลงมาจาก นิรคุณ).
【 เนรเทศ 】แปลว่า: [ระเทด] ก. บังคับให้ออกไปเสียจากประเทศหรือถิ่นที่อยู่ของตน; (กฎ)
ขับคนต่างด้าวให้ออกไปนอกราชอาณาจักร; (ปาก) โดยปริยายหมายถึง
การออกจากประเทศหรือถิ่นที่อยู่เดิมด้วยความสมัครใจ เช่น เนรเทศ
ตัวเอง. (แผลงมาจาก นิรเทศ).
【 เนรนาด 】แปลว่า: เนระ ก. เกลื่อนกล่น, เกลื่อนกลาด, เช่น เสมือนหนึ่ง
ราชกัญญาคณานางสนมล้มเนรนาดด้วยอาลัย. (ม. ร่ายยาว
ทานกัณฑ์). (อาจเพี้ยนมาจาก ระเนระนาด).
【 เนรนาถ 】แปลว่า: [เนระนาด] ก. ไม่มีที่พึ่ง, ซัดเซพเนจร, เช่น ก็เนรนาถประพาสพรต
ยังเขาสิงขรบวรวงกต. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
【 เนรมิต 】แปลว่า: [ระมิด] ก. นิรมิต, สร้างหรือบันดาลด้วยอํานาจ ฤทธิ์ หรืออภินิหาร
ให้บังเกิดเป็นขึ้นมีขึ้นโดยฉับพลัน. (ส. นิรฺมิต; ป. นิมฺมิต).
【 เนระพูสี 】แปลว่า: น. ชื่อเฟินชนิด /Microlepia speluncae/ (L.) Moore ในวงศ์
Dennstaedtiaceae ต้นเป็นกอใช้ทํายาได้.
【 เนษาท 】แปลว่า: (แบบ) น. นิษาท, พรานป่า, เงาะป่า; ชาวประมง; โจร. (ส. นิษาท;
ป. เนสาท).
【 เนอ 】แปลว่า: (กลอน) ว. นะ, แฮะ.
【 เน้อ 】แปลว่า: ว. คําทอดเสียงลงท้ายบอกให้รู้ เช่น ขนมเน้อ ไปก่อนเน้อ.
【 เนา ๑ 】แปลว่า: ก. เย็บห่าง ๆ พอให้อยู่เป็นแนวเพื่อเย็บให้เรียบร้อยต่อไป.
【 เนา ๒ 】แปลว่า: ก. อยู่. (ข.).
【 เนา ๓ 】แปลว่า: (แบบ) น. เรือ, สําเภา, เภตรา. (ส.).
【 เนา ๔ 】แปลว่า: น. วันที่อยู่ถัดจากวันมหาสงกรานต์ หน้าวันเถลิงศก ปรกติตรงกับ
วันที่ ๑๔ เมษายน เรียกว่า วันเนา.
【 เน่า 】แปลว่า: ว. เสียและมีกลิ่นเหม็น เช่น ปลาเน่า เนื้อเน่า.
【 เน่าไฟ 】แปลว่า: ว. อาการที่ของเสียเพราะต้มไม่ถูกวิธี เช่น ต้มข้าวต้มมัดไม่สุก.
【 เนาว ๑ 】แปลว่า: เนาวะ ว. ใหม่. (ป. นว).
【 เนาว ๒ 】แปลว่า: เนาวะ ว. เก้า, จํานวน ๙. (ป. นว).
【 เนาวรัตน์ 】แปลว่า: / ดู นวรัตน์ ที่ นว ๒./
【 เนาวนิต 】แปลว่า: [วะนิด] น. นพนิต, เนยข้นชนิดหนึ่ง. (ป., ส. นวนีต).
【 เนิน 】แปลว่า: น. โคกขนาดใหญ่ที่ค่อยลาดสูงขึ้นจากระดับเดิม เช่น เนินดิน เนินเขา;
เรียกเนื้อรอบฝ่ามือที่มีลักษณะนูนกว่าบริเวณอุ้งมือว่า เนิน เช่น เนิน
พระศุกร์ เนินพระพุธ.
【 เนิ่น, เนิ่น ๆ 】แปลว่า: ว. ก่อนหน้าหรือก่อนเวลานาน ๆ เช่น มาแต่เนิ่น มาแต่เนิ่น ๆ ทําแต่
เนิ่น ๆ.
【 เนิ่นนาน 】แปลว่า: ว. ช้านานมาแล้ว เช่น ในเวลาเนิ่นนานมาแล้ว, นานมาก เช่น
อย่าให้เนิ่นนานนะ.
【 เนิบ, เนิบ ๆ 】แปลว่า: ว. แช่มช้า, ช้า ๆ อย่างมีจังหวะ เช่น เดินเนิบ ๆ พูดเนิบ ๆ.
【 เนิบนาบ 】แปลว่า: ว. หย่อนยาน, เทิบทาบ, ไม่รัดกุม.
【 เนียง ๑ 】แปลว่า: น. นาง (ออกเสียงตามเขมรที่เขียนว่า นาง).
【 เนียง ๒ 】แปลว่า: (ถิ่นปักษ์ใต้) น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Archidendron jiringa/ Nielsen ในวงศ์
Leguminosae ฝักบิดเป็นวง เมล็ดค่อนข้างแบน กินได้, พะเนียง
ก็เรียก, จันทบุรีเรียก ชะเนียง.
【 เนียน ๑ 】แปลว่า: น. กาบหมากที่เจียนให้มนขนาดเท่าฝ่ามือสําหรับตักนํ้าพริกจากครก,
เปลือกจั่นมะพร้าวสําหรับแซะนํ้าตาลเมื่อเวลาเคี่ยว, โดยปริยาย
ใช้เรียกที่สําหรับแซะหรือตัดขนม.
【 เนียน ๒ 】แปลว่า: ว. มีเนื้อละเอียดนุ่มนวล เช่น เนื้อเนียน; เรียบสนิท เช่น เข้าไม้ได้เนียนดี.
【 เนียน ๓ 】แปลว่า: น. เครื่องมือสําหรับกวดลวดเลี่ยมภาชนะ เช่นปากป้านปากถ้วยให้เรียบ.
【 เนียม ๑ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด /Chloranthus spicatus/ (Thunb.) Makino
ในวงศ์ Chloranthaceae ดอกเล็ก สีขาว กลิ่นหอม, พายัพเรียก เนียมอ้ม.
(๒) ชื่อไม้พุ่มชนิด/ Strobilanthes nivea/ Craib ในวงศ์ Acanthaceae
ดอกเล็ก สีม่วงอ่อน ใบมีกลิ่นหอมใช้ประสมปูนกินกับหมาก, เนียมสวน
ก็เรียก, อีสานเรียก อ้ม.
【 เนียม ๒ 】แปลว่า: น. เรียกงาช้างที่ใหญ่แต่สั้นและมักจะชี้ตรงว่า งาเนียม, เรียกช้างที่มีงา
เช่นนั้นว่า ช้างงาเนียม.
【 เนียมสวน 】แปลว่า: /ดู เนียม ๑ (๒)./
【 เนียมอ้ม 】แปลว่า: (ถิ่นพายัพ) น. ต้นเนียม. /[ดู เนียม ๑ (๑)]./
【 เนียร 】แปลว่า: น. นํ้า. (ส. นีร).
【 เนียรทุกข์ 】แปลว่า: [เนียระทุก] ว. นิรทุกข์, ไม่มีทุกข์.
【 เนียรเทศ 】แปลว่า: [เนียระเทด] ก. เนรเทศ.
【 เนียรนาท 】แปลว่า: [เนียระนาด] ก. กึกก้อง เช่น เสียงฆ้องกลองประนังเนียรนาท
สะเทือนท้องวนาวาสหิมวันต์. (ม. ร่ายยาว นครกัณฑ์), นีรนาท
ก็ใช้.
【 เนื้อ ๑ 】แปลว่า: น. ส่วนของร่างกายคนและสัตว์อยู่ถัดหนังเข้าไป; เนื้อวัวหรือเนื้อควาย
ที่ใช้เป็นอาหาร เช่น แกงเนื้อ; สิ่งที่เป็นลักษณะประจําตัวของสิ่งต่าง ๆ
เช่น เนื้อไม้ เนื้อเงิน เนื้อทอง; ส่วนที่อยู่ถัดเปลือกของผลไม้ต่าง ๆ เช่น
เนื้อมะม่วง เนื้อทุเรียน; สิ่งที่ประกอบกันเป็นตัวอาหาร, คู่กับ นํ้า เช่น
แกงมีแต่นํ้าไม่มีเนื้อ เอาแต่เนื้อ ๆ; สาระสําคัญ เช่น เนื้อเรื่อง; คุณสมบัติ
ของเนื้อทองคําและเงินเป็นต้น เช่น ทองเนื้อเก้า เงินเนื้อบริสุทธิ์; (โบ)
ราคาทองคำเป็นเงินบาทตามคุณภาพของเนื้อทอง เช่น ทองคำหนัก
๑ บาท เป็นราคาเงิน ๘ บาท เรียกว่า ทองเนื้อแปด, ถ้าเป็นราคาเงิน
๙ บาท เรียกว่า ทองเนื้อเก้า หรือ ทองนพคุณเก้าน้ำ; โดยปริยาย
หมายความว่า ทุนเดิม, เงิน, ทรัพย์, เช่น เข้าเนื้อ ชักเนื้อควักเนื้อตัวเอง.
【 เนื้อกษัตริย์ 】แปลว่า: น. เนื้อโลหะ เช่น ทองคํา เงิน นาก ที่บริสุทธิ์, โดยปริยายหมายถึง
เนื้อแท้ของสิ่งนั้น ๆ.
【 เนื้อความ 】แปลว่า: น. ข้อความทั่ว ๆ ไป.
【 เนื้อคู่ 】แปลว่า: น. ชายหญิงที่ถือกันว่าเคยอยู่ร่วมกันมาแต่ปางก่อน, ชายหญิงที่สม
เป็นคู่ครองกัน, คู่สร้าง หรือ คู่สร้างคู่สม ก็ว่า.
【 เนื้อเค็ม 】แปลว่า: น. เนื้อวัวเนื้อควายเป็นต้นที่หมักเกลือตากแห้งไว้.
【 เนื้องอก 】แปลว่า: น. เนื้อเยื่อที่เจริญเติบโตผิดปรกติ อาจเป็นเนื้อร้าย หรือมะเร็ง หรือ
เป็นผลมาจากสาเหตุอื่นเช่นเชื้อโรค ก็ได้.
【 เนื้อตัว 】แปลว่า: น. ร่างกาย เช่น เนื้อตัวเหนอะหนะ.
【 เนื้อตาย 】แปลว่า: น. เนื้อเยื่อที่ขาดเลือดหรือถูกพิษอย่างอื่นจนเซลล์ตาย.
【 เนื้อเต่ายำเต่า 】แปลว่า: (สํา) ก. นําเอาทรัพย์สินส่วนที่เป็นกําไรหรือดอกเบี้ยกลับไปลงทุน
ต่อไปอีกโดยไม่ต้องใช้ทุนเดิม.
【 เนื้อถ้อยกระทงความ 】แปลว่า: น. ถ้อยคําที่ได้เรื่องได้ราวเข้าใจได้ชัดเจน, มักใช้ในความปฏิเสธว่า
ไม่ได้เนื้อถ้อยกระทงความ.
【 เนื้อที่ 】แปลว่า: น. ขนาดของพื้นที่.
【 เนื้อแท้ 】แปลว่า: น. ส่วนที่แท้, ส่วนที่จริง.
【 เนื้อนาบุญ 】แปลว่า: น. แหล่งที่ควรแก่การทำบุญ เช่น พระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญ.
【 เนื้อเปื่อย 】แปลว่า: น. เนื้อวัวที่ต้มจนเปื่อยใช้ประกอบอาหาร.
【 เนื้อผ้า 】แปลว่า: (สำ) น. ความจริง เช่น ว่าไปตามเนื้อผ้า.
【 เนื้อเพลง 】แปลว่า: น. ส่วนสําคัญของทํานองเพลงที่บอกให้รู้ว่าเป็นเพลงอะไร; ทํานองเพลง.
【 เนื้อไม้ 】แปลว่า: น. ส่วนของต้นไม้ที่อยู่ถัดเปลือกเข้าไป; แก่นไม้หอม โดยมากใช้ทําธูป,
ชนิดที่ดีมีสีดํา ใช้ทํายาไทย.
【 เนื้อร้อง 】แปลว่า: น. คําประพันธ์สําหรับขับร้อง, คำร้อง บทเพลง หรือ บทร้อง ก็ว่า.
【 เนื้อร้าย ๑ 】แปลว่า: น. สัตว์ป่าที่ดุร้าย เช่น หมี เสือ.
【 เนื้อร้าย ๒ 】แปลว่า: น. เนื้อเป็นโรค เกิดแก่ คน สัตว์ และต้นไม้ หรือแผลที่เป็นมะเร็ง
มีอาการต่าง ๆ.
【 เนื้อเรื่อง 】แปลว่า: น. เรื่องราว, สาระของเรื่อง.
【 เนื้อหา 】แปลว่า: น. ใจความสําคัญ, ข้อสําคัญ, สาระสําคัญ; วงเงินตามข้อตกลงที่จ้างหามา
รวมทั้งค่ารถค่าอาหาร เป็นต้น (มักใช้แก่การมหรสพ เช่น ลิเก ละคร).
【 เนื้อ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์ป่าประเภทกวาง.
【 เนื้อทราย 】แปลว่า: น. ชื่อกวางชนิด /Cervus porcinus/ ในวงศ์ Cervidae เป็นกวางขนาด
กลาง ตัวสีนํ้าตาลเข้มแต่ตอนล่างสีจางกว่า ตามลําตัวมีจุดขาวจาง ๆ
อยู่ทั่วไป ลูกที่เกิดใหม่จุดขาวนี้จะชัดเจนมากเช่นเดียวกับลูกกวางดาว
ตัวผู้มีเขาผลัดเขาปีละครั้ง อยู่เป็นฝูงตามทุ่งหญ้า กินหญ้าระบัด ใบไม้
และผลไม้ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองของไทย, กวางแขม กวางทรายหรือ
ตามะแน ก็เรียก.
【 เนื้อสมัน 】แปลว่า: /ดู สมัน./
【 เนือง, เนือง ๆ 】แปลว่า: ว. เสมอ ๆ, บ่อย ๆ, เช่น แสนเสนางค์เนืองบร. (ตะเลงพ่าย), ไปมาหาสู่
อยู่เนือง ๆ.
【 เนืองนอง 】แปลว่า: ก. หลั่งไหลไม่ขาดสาย, มีมากต่อเนื่องกันไม่ขาดสาย เช่น ทรัพย์สิน
เนืองนอง, นองเนือง ก็ว่า.
【 เนืองนิตย์ 】แปลว่า: ว. เสมอ ๆ เช่น ส่งข่าวถึงกันอยู่เนืองนิตย์.
【 เนืองแน่น 】แปลว่า: ว. แออัด, ยัดเยียด.
【 เนื่อง 】แปลว่า: ก. ติดต่อกัน, เกี่ยวข้องกัน, เช่น เรื่องนี้เนื่องกับเรื่องนั้น เรื่องมันเนื่อง
ถึงกัน. น. แหวนทองเกลี้ยงมีหลายวงไขว้ติดกันรวมเป็นวงเดียวกันได้,
เรียกวัตถุอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายกัน เช่น ถ้วยเนื่อง คือ ถ้วยที่มีหลาย
ชั้นติดกัน, เนื่องรอบวงในประดับเพชร, เนื่องเพชรลงยาราชาวดี.
(ตํานานเครื่องราชอิสริยาภรณ์).
【 เนื่องจาก, เนื่องด้วย, เนื่องแต่ 】แปลว่า: สัน. เพราะเหตุที่ เช่น โรงเรียนปิดเนื่องจากนํ้าท่วม
【 เนื่องด้วยเขาป่วย 】แปลว่า:
จึงมาไม่ได้ เนื่องแต่เหตุนั้นนั่นเอง.
【 เนือย, เนือย ๆ 】แปลว่า: ว. เฉื่อย, ช้าลง, อ่อนลง, เช่น ดูเนือยลงไป นํ้าไหลเนือย ๆ; ไม่กระปรี้
กระเปร่า เช่น ทํางานเนือย ๆ, ไม่ประเปรียว เช่น แก่แล้วชักเนือย.
【 เนื้อเยื่อ 】แปลว่า: น. กลุ่มของเซลล์ที่มักมีลักษณะเหมือนกัน ทําหน้าที่ร่วมกัน. (อ. tissue).
【 เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ 】แปลว่า: น. เนื้อเยื่อส่วนที่ช่วยให้อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายเคลื่อนไหวได้.
(อ. muscular tissue).
【 เนื้อเยื่อบุผิว 】แปลว่า: น. เนื้อเยื่อที่ทําหน้าที่บุผิวนอก บุผิวใน บุโพรง บุท่อ บุต่อมของ
อวัยวะ. (อ. epithelial tissue).
【 เนื้อเยื่อประสาท 】แปลว่า: น. เนื้อเยื่อของระบบประสาท ทําหน้าที่ติดต่อประสานงานระหว่าง
อวัยวะภายใน และระหว่างร่างกายกับสิ่งแวดล้อมภายนอก.
(อ. nervous tissue).
【 เนื้อเยื่อยึดต่อ 】แปลว่า: น. เนื้อเยื่อที่ยึดเหนี่ยวภายในระหว่างอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย
และช่วยพยุงร่างกาย เช่น พังผืด ไขมัน เอ็น กระดูกอ่อน กระดูก.
(อ. connective tissue).
【 เนื้ออ่อน 】แปลว่า: น. ชื่อปลานํ้าจืดหลายชนิดในวงศ์ Siluridae ไม่มีเกล็ด มีฟัน
เล็กแต่แหลมคม ลําตัวแบนข้างมากบ้างน้อยบ้าง เช่น ชนิด
/Kryptopterus apogon, K. cryptopterus, K. bleekeri, K. limpok,/
/Ompok bimaculatus, Siluroides hypophthalmus, Ceratoglanis/
/scleronema/ ข้างท้องมักเป็นสีเงิน ขนาดแตกต่างกันตั้งแต่ ๒๐-๗๗
เซนติเมตร อาจมีหรือไม่มีครีบหลังก็ได้บางชนิดลําตัวด้าน
หลังสีเทาอมเขียวหรือสีนํ้าตาล, มีชื่อไทยที่เรียกแตกต่างกัน
หรือซํ้าซ้อนกันระหว่างชนิด ได้แก่ ชะโอน โอน แดง นาง เกด
ปีกไก่ นํ้าเงิน หน้าสั้น สยุมพร หรือ เซือม.
【 แน่ ๑ 】แปลว่า: ว. แท้, จริง, ไม่เป็นอื่น, เช่น ทําแน่ ไปแน่; เก่ง, มีฝีมือดี, เช่น คนนี้
มือแน่มาก.
【 แน่ใจ 】แปลว่า: ก. มั่นใจ.
【 แน่ชัด 】แปลว่า: ว. ชัดแจ้ง, ประจักษ์แจ้ง.
【 แน่แท้ 】แปลว่า: ว. จริงทีเดียว.
【 แน่นอน 】แปลว่า: ว. เที่ยงแท้, จริงแท้.
【 แน่แน่ว 】แปลว่า: ว. อาการที่ใจมุ่งมั่นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ตั้งใจแน่แน่ว, แน่วแน่
ก็ว่า.
【 แน่ ๒, แน่นิ่ง 】แปลว่า: ว. อาการที่ไม่ไหวติงไปชั่วระยะหนึ่งเพราะเป็นลมเป็นต้น, นิ่งแน่ ก็ว่า.
【 แน่ง 】แปลว่า: น. นาง.
แน่งน้อย ว. มีรูปทรงแบบบาง (มักใช้แก่หญิงสาว).
【 แน่น 】แปลว่า: ว. อาการที่แออัดยัดเยียดหรือเบียดเสียดจนแทบไม่มีที่ว่าง เช่น
คนแน่น ต้นไม้ขึ้นแน่น, อยู่กับที่หรือทําให้อยู่กับที่อย่างมั่นคงไม่ให้
หลุดไม่ให้คลอน เช่น เกาะแน่น ปักเสาแน่น, ลักษณะของเสียงดัง
แบบหนึ่งที่เนื่องมาจากมีการอัดแน่นเป็นพิเศษอย่างเสียงพลุเสียง
ระเบิด.
【 แน่นขนัด 】แปลว่า: ว. แออัด.
【 แน่นท้อง 】แปลว่า: ว. อึดอัดท้องเพราะกินอาหารมากเป็นต้น.
【 แน่นนันต์ 】แปลว่า: (กลอน) ว. มากมาย, อัดแอ, คับคั่ง, ยัดเยียด, เช่น กรุงกษัตริย์
มาพร้อมประชุมกัน แน่นนันต์ในพระลานชัยศรี. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
【 แน่นแฟ้น 】แปลว่า: ว. มั่นคง เช่น รักกันแน่นแฟ้น ผูกมัดแน่นแฟ้น.
【 แน่นหนา 】แปลว่า: ว. มั่นคง เช่น ใส่กุญแจแน่นหนา, แข็งแรง เช่น ประตูหน้าต่างแน่นหนา,
บางทีก็ใช้เข้าคู่กับ ปึกแผ่น เป็น เป็นปึกแผ่นแน่นหนา.
【 แน่นหน้าอก 】แปลว่า: ว. มีอาการจุกเสียดบริเวณทรวงอกทําให้หายใจไม่สะดวก.
【 แนบ 】แปลว่า: ก. แอบชิด, แอบเคียง, เช่น แนบข้าง แนบกาย แนบเนื้อ; ติดไปด้วย เช่น
ได้แนบสําเนาจดหมายมาด้วยแล้ว.
【 แนบเนียน 】แปลว่า: ว. อย่างสนิทและรัดกุม เช่น ทําได้อย่างแนบเนียน ปลอมตัวได้อย่าง
แนบเนียน.
【 แนบแน่น 】แปลว่า: ว. สนิทแน่น เช่น รักอย่างแนบแน่น.
【 แน่บ 】แปลว่า: ว. อาการที่วิ่งอย่างรวดเร็วไม่เหลียวหลัง เช่น โกยแน่บ.
【 แนม 】แปลว่า: ก. แกม เช่น ดอกแนมใบ, แนบ, ชิด, เช่น ผลผกาเกิดกับกิ่งก้านระกุแกม
แนมใบวิบูลระบัดบัง. (ม. ร่ายยาว มหาพน), โกมลไม่แย้มยังแนมใบ.
(อิเหนา); แทรกแซมหรือแซงเข้าไป เช่น เอาลิ่มแนมให้แน่น, เรือตะเข้
แนมทังสองข้าง. (สามดวง); แทรกเพิ่มเติม, ควบคู่กันไป, เช่น นํ้าพริก
มีปลาดุกแนม; เสียดสี ในคำว่า เหน็บแนม.
【 แนว 】แปลว่า: น. สิ่งที่มีลักษณะเป็นแถว เช่น แนวสน แนวรั้ว หรือเป็นเส้นเป็นทาง
ยาวไป เช่น ถูกเฆี่ยนเป็นแนว, โดยปริยายหมายถึงลักษณะเช่นนั้น
เช่น แนวความคิด แนวนโยบาย.
【 แนวคิด 】แปลว่า: น. ความคิดที่มีแนวทางปฏิบัติ เช่น แนวคิดในการปฏิรูปการศึกษา.
【 แนวทาง 】แปลว่า: น. ทางปฏิบัติที่วางไว้เป็นแนว.
【 แนวที่ห้า 】แปลว่า: น. ผู้เอาใจฝักใฝ่และช่วยเหลือศัตรู.
【 แนวโน้ม 】แปลว่า: น. แนวทางที่น่าจะเป็นไปในทางใดทางหนึ่ง.
【 แนวป่า 】แปลว่า: น. ชายป่าที่เห็นเป็นทิวยาวไป.
【 แนวรบ 】แปลว่า: น. แนวที่มีการสู้รบกัน.
【 แนวร่วม 】แปลว่า: น. ประชาชนที่มีแนวความคิดคล้อยตามและให้การสนับสนุนแก่พวก
ที่มีความคิดเห็นในแนวเดียวกัน.
【 แนวเรือ 】แปลว่า: น. รอยต่อของกระดานเรือที่เห็นเป็นทางยาวไป.
【 แนวหน้า 】แปลว่า: น. แนวหรือเขตแบ่งกําลังทัพทางบกส่วนหน้าซึ่งพร้อมที่จะปะทะกับ
ฝ่ายศัตรู.
【 แนวหลัง 】แปลว่า: น. ผู้ที่อยู่หลังแนวรบ.
【 แน่ว 】แปลว่า: ว. ตรงดิ่งไปยังที่หมายไม่แวะเวียน เช่น วิ่งแน่วกลับไป, ไม่วอกแวก
เช่น ใจแน่ว.
【 แน่วแน่ 】แปลว่า: ว. อาการที่ใจมุ่งมั่นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ตั้งใจแน่วแน่, แน่แน่ว ก็ว่า.
【 แนะ 】แปลว่า: ก. ชี้แนวทางหรือวิธีการให้รู้โดยตรงหรือโดยอ้อม เช่น แนะให้ไปหา
หมอ แนะให้รู้เป็นนัย ๆ.
【 แนะนัด 】แปลว่า: ก. นัดแนะ, นัดและชี้แจงให้กันทราบ.
【 แนะนำ 】แปลว่า: ก. ชี้แจงให้ทําหรือปฏิบัติ เช่น แนะนําให้ทําความดี แนะนําในการใช้ยา;
บอกให้รู้จักกันตามธรรมเนียม.
【 แนะแนว 】แปลว่า: ก. แนะนําแนวทางว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร.
【 แน่ะ 】แปลว่า: ว. คําทักหรือบอกให้รู้ตัว เช่น แน่ะอยู่นี่เอง แน่ะรถมาแล้ว; ใช้ประกอบ
คําลงท้ายเพื่อเน้นความ เช่น ราคาตั้ง ๕ บาทแน่ะ.
【 แนะแหน 】แปลว่า: [แหฺน] ก. แนะ, พูดเสนอให้ชอบใจ.
【 โน 】แปลว่า: ก. นูนขึ้นเพราะถูกกระทบกระแทกเป็นต้น (มักใช้แก่หัวหรือหน้า)
เช่น หัวโน หน้าโน.
【 โน้ต ๑, โน้ตเพลง 】แปลว่า: น. เครื่องหมายกําหนดเสียงดนตรี. (อ. note).
【 โน้ต ๒ 】แปลว่า: ก. บันทึก. น. จดหมายสั้น ๆ. (อ. note).
【 โนน ๑ 】แปลว่า: น. เนิน, ที่สูง.
【 โนน ๒ 】แปลว่า: (โบ) ก. นอน. (จารึกสยาม).
【 โน่น 】แปลว่า: ส. คําใช้แทนนามที่อยู่ไกลออกไป เช่น ที่โน่นมีอากาศดี.
【 โน้น 】แปลว่า: ว. ใช้ประกอบนามที่อยู่ไกลออกไป เช่น บ้านโน้นมีงานรื่นเริง.
【 โนเน 】แปลว่า: ว. อ่อนแอ, แบบบาง, เช่น โนเนหนุ่มเหน้าบัวบาน. (เสือโค; สุธน).
(ไทยใหญ่).
【 โนเบเลียม 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๑๐๒ สัญลักษณ์ No เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่
นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ. (อ. nobelium).
【 โน้ม 】แปลว่า: ว. เหนี่ยวให้โค้งตํ่าลงมา เช่น โน้มกิ่ง, น้อม หรือ ค้อมตํ่าลง เช่น
รวงข้าวโน้มลง.
【 โน้มน้าว 】แปลว่า: ก. ชักชวนให้เห็นดีเห็นงามหรือให้โอนอ่อนตาม.
【 โนมพรรณ 】แปลว่า: [โนมพัน] น. รูปลักษณะ เช่น เฉิดโฉมโนมพรรณ.
【 โนรา ๑ 】แปลว่า: /ดู กําลังช้างเผือก./
【 โนรา ๒ 】แปลว่า: (ปาก) น. มโนราห์.
【 โนรี ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อนกปากขอในวงศ์ Loriidae คล้ายนกแก้ว ตัวมีสีสันสวยงาม
เช่น สีแดงสดหรือเลือดหมู นํ้าเงิน ม่วง เขียว ปีกสีเขียวหรือเหลือง
หางสั้น มีถิ่นกําเนิดอยู่ในหมู่เกาะนิวกินี อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย
มีหลายชนิด เช่น ชนิด/ Lorius chlorocercus, L. tibialis, L. lory./
【 โนรี ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด /Hiptage lucida/ Pierre ในวงศ์ Malpighiaceae
ใบและดอกคล้ายโนราแต่เล็กกว่า ดอกสีชมพู กลิ่นหอม.
【 โนรี ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในสกุล /Heniochus/ วงศ์ Chaetodontidae ลําตัว
สั้นแต่กว้างมาก หัวแหลม ปากเล็กอยู่ที่ปลายสุด ก้านครีบหลังตอนแรก
ยื่นยาวเป็นเส้น ตัวมีสีสันสดสวยหัวและลําตัวมีพื้นสีขาวเงิน มีแถบสีดํา
เข้มพาดขวางรวม ๓ แถบ ที่พบเสมอได้แก่ชนิด /H. acuminatus/ ขนาด
ยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร อาศัยตามแนวหินปะการัง.
【 ใน 】แปลว่า: บ. ตรงกันข้ามกับ นอก, ไม่ใช่นอก, เช่น ในบ้าน ในเมือง; แห่ง, ของ,
เช่น พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.
(ข. ใน ว่า แห่ง, ของ).
【 ในกรม 】แปลว่า: (ปาก) น. เรียกเจ้านายที่ทรงกรม, ย่อมาจากคําว่า เสด็จในกรม.
【 ในที 】แปลว่า: ว. มีท่าทีจะเป็นเช่นนั้นแต่ไม่แสดงให้ปรากฏ เช่น ยิ้มในที รู้ในที,
อยู่ในที ก็ว่า.
【 ในไส้ 】แปลว่า: (ปาก) ว. เรียกลูกที่เกิดจากตนว่า ลูกในไส้.
【 ในหลวง 】แปลว่า: (ปาก) น. หมายถึงพระมหากษัตริย์.
【 ไน ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องปั่นด้ายด้วยมือ และใช้ถ่ายด้ายที่ทําเป็นไจหรือเข็ดแล้วเข้าหลอด.
【 ไน ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด /Cyprinus carpio/ ในวงศ์ Cyprinidae ตัวยาวรี
แบนข้าง คล้ายปลาตะเพียน แต่ครีบหลังใหญ่และยาวกว่า ปากเล็ก
ไม่มีฟัน มีหนวด ๒ คู่ เกล็ดใหญ่ ขอบเรียบ ในบางประเภทของปลา
อาจเป็นเพียงหย่อมเกล็ด มีสีแตกต่างกันตามสายพันธุ์ เช่น สีเขียว
อมเทา เงิน ทอง ส้ม เหลือง ดําคลํ้า หรือเป็นแต้มเป็นด่างดวงของสี
เหล่านี้ วางไข่ติดไว้กับพรรณไม้นํ้า ขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร,
หลีโก หรือ หลีฮื้อ ก็เรียก.
【 ไนต์คลับ 】แปลว่า: น. สถานเริงรมย์ที่เปิดเวลากลางคืน ขายอาหาร เครื่องดื่ม มีดนตรี
และมักจัดให้มีการแสดงด้วย. (อ. nightclub).
【 ไนโตรเจน 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๗ สัญลักษณ์ N เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นแก๊ส ไม่มีสี
ไม่มีกลิ่น ไม่ไวต่อปฏิกิริยาเคมี มีปรากฏอยู่ประมาณร้อยละ ๘๐ ใน
บรรยากาศ ธาตุนี้มีความสําคัญยิ่งต่อสิ่งมีชีวิต โดยเป็นองค์ประกอบ
สําคัญของโปรตีนและกรดนิวคลิอิก. (อ. nitrogen).
【 ไนลอน 】แปลว่า: น. สารประกอบอินทรีย์ซึ่งสังเคราะห์ขึ้น มีโมเลกุลขนาดใหญ่ มักผลิต
ให้เป็นเส้นใยเล็ก ๆ ซึ่งนําไปฟั่นเป็นเส้นด้ายหรือเส้นเชือกที่มีความ
เหนียวมาก หรือนําไปทอเป็นผ้าได้, เรียกสิ่งที่ทําจากเส้นใยนั้น เช่น
ผ้าไนลอน เชือกไนลอน. (อ. nylon).
【 ไนโอเบียม 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๔๑ สัญลักษณ์ Nb เป็นโลหะหายาก ลักษณะเป็นของ
แข็งสีเทา หลอมละลายที่ ๒๔๖๘?ซ. ใช้ประโยชน์นําไปเจือเหล็กกล้าไม่
เป็นสนิม เพื่อทําให้มีสมบัติคงทนต่อการผุกร่อน และทนต่ออุณหภูมิสูง ๆ
ได้ดี. (อ. niobium).

【 นรินทร์, นริศ, นริศร, นริศวร 】แปลว่า: /ดู นร./
【 นรี 】แปลว่า: นะรี น. นาง. (ส.).
【 นรีเวชวิทยา 】แปลว่า: [เวดวิดทะยา] น. วิชาว่าด้วยโรคเกี่ยวกับระบบการสืบพันธุ์ของสตรี.
【 นเรนทรสูร, นเรศ, นเรศวร, นเรศูร 】แปลว่า: /ดู นร./
【 นเรศวร์ชนช้าง 】แปลว่า: [นะเรด] น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 นโรดม 】แปลว่า: /ดู นร./
【 นฤ ๑ 】แปลว่า: [นะรึ] น. คน (ใช้นําหน้าคำอื่น). (ส.).
【 นฤดม 】แปลว่า: ว. เลิศชายหรือแข็งแรงที่สุด. (ส.).
【 นฤเทพ, นฤบดี 】แปลว่า: น. พระราชา. (ส.).
【 นฤบาล 】แปลว่า: น. พระราชา. (ส.).
【 นฤเบศ 】แปลว่า: น. พระราชา.
【 นฤปนีติ 】แปลว่า: [ปะนีติ] น. พระราโชบาย. (ส.).
【 นฤปเวศม์ 】แปลว่า: [ปะเวด] น. ราชสํานัก; ศาล. (ส.).
【 นฤปะ 】แปลว่า: น. ผู้ปกครอง, พระราชา.
【 นฤปัตนี 】แปลว่า: [ปัดตะนี] น. พระราชินี. (ส.).
【 นฤ ๒ 】แปลว่า: [นะรึ] ว. ไม่มี, ออก, มักใช้นําหน้าศัพท์อื่น เช่น นฤมล ว่า ไม่มีมลทิน,
นฤโฆษ ว่า ดังออก. (คํานี้เขียนแผลงมาจาก นิ ในบาลี ซึ่งสันสกฤต
เป็น นิสฺ).
【 นฤคหิต 】แปลว่า: นะรึคะหิด น. ชื่อเครื่องหมายรูปดังนี้ ?, นิคหิต หรือ หยาดนํ้าค้าง
ก็เรียก. (ส. นิคฺฤหีต; ป. นิคฺคหีต). /(ดู นิคหิต)./
【 นฤโฆษ 】แปลว่า: นะรึโคด ก. ดังออก, กึกก้อง. (ส.).
【 นฤนาท 】แปลว่า: นะรึนาด น. ความกึกก้อง; การบันลือ.
【 นฤมล 】แปลว่า: [นะรึมน] ว. ไม่มีมลทิน. น. นาง.
【 นฤตย, นฤตย์ 】แปลว่า: [นะริดตะยะ, นะริด] น. การระบํา, การฟ้อนรํา, การเต้นรํา. (ส.).
【 นฤตยศาลา 】แปลว่า: น. ห้องเต้นรํา. (ส.).
【 นฤตยศาสตร์ 】แปลว่า: น. วิทยาหรือศิลปะแห่งการระบํา. (ส.).
【 นฤตยสถาน 】แปลว่า: น. ที่สําหรับการระบํา. (ส.).
【 นฤพาน 】แปลว่า: [นะรึ] น. ความดับกิเลสและกองทุกข์. (โบ) ก. ตาย (ใช้แก่พระมหากษัตริย์)
เช่น ครั้งนั้นสมเด็จพระรามาธิบดีเจ้าเสด็จนฤพาน. (พงศ. กรุงเก่า).
(ส. นิรฺวาณ; ป. นิพฺพาน).
【 นฤมาณ 】แปลว่า: นะรึ น. การสร้าง, การแปลง, การทํา, การวัดส่วน.
(ส. นิรฺมาณ).
【 นฤมิต 】แปลว่า: [นะรึ] ก. สร้าง, แปลง, ทํา. (ส. นิรฺมิต; ป. นิมฺมิต).
【 นลาฏ 】แปลว่า: นะลาด น. หน้าผาก. (ป.; ส. ลลาฏ).
【 นลิน 】แปลว่า: นะลิน น. ดอกบัว. (ป., ส.).
【 นลินี 】แปลว่า: นะ น. หมู่บัว, สระบัว. (ป., ส.).
【 นลินี 】แปลว่า: ดู นลิน.
【 นว ๑ 】แปลว่า: [นะวะ] ว. ใหม่ (ใช้เป็นคําหน้าสมาส). (ป., ส.).
【 นวกรรม, นวการ, นวกิจ 】แปลว่า: น. การก่อสร้าง.
【 นวกรรมิก 】แปลว่า: น. ผู้ดูแลการก่อสร้าง. (ส.; ป. นวกมฺมิก).
【 นวชาต 】แปลว่า: ว. ใหม่. (ส.).
【 นวนิต 】แปลว่า: น. นพนิต, เนยข้นชนิดหนึ่ง. (ชาวอินเดียเรียกว่า ghee). (ป., ส.).
【 นวนิยาย 】แปลว่า: น. บันเทิงคดีร้อยแก้วขนาดยาวรูปแบบหนึ่ง มีตัวละคร โครงเรื่อง
เหตุการณ์ในเรื่อง และสถานที่ ที่ทำให้เนื้อเรื่องมีความสมจริง เช่น
เรื่องหญิงคนชั่ว ของ ก. สุรางคนางค์ เรื่องผู้ชนะสิบทิศ ของ ยาขอบ
เรื่องสี่แผ่นดิน ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เรื่องเรือมนุษย์ ของ
กฤษณา อโศกสิน, ถ้ามีขนาดสั้น เรียกว่า นวนิยายขนาดสั้น เช่น
เรื่องดรรชนีนาง.
【 นวพธู 】แปลว่า: น. ลูกสะใภ้. (ส.).
【 นว ๒ 】แปลว่า: [นะวะ] ว. เก้า, จํานวน ๙, (ใช้เป็นคําหน้าสมาส). (ป.; ส. นวนฺ).
【 นวครหะ, นวเคราะห์ 】แปลว่า: [คฺระหะ, เคฺราะ] น. นพเคราะห์, ดาวพระเคราะห์ทั้ง ๙ คือ อาทิตย์
จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ราหู ศุกร์ เกตุ. (ส.).
【 นวคุณ 】แปลว่า: น. นพคุณ. (ป.).
【 นวทวาร 】แปลว่า: น. ช่องทั้ง ๙ แห่งร่างกาย คือ ตา ๒ หู ๒ จมูก ๒ ปาก ๑ ทวารเบา ๑
ทวารหนัก ๑; ร่างกาย. (ส.).
【 นวปฎล 】แปลว่า: [นะวะปะดน] ว. นพปฎล, มีเพดาน ๙ ชั้น หมายความถึง เศวตฉัตร. (ป.).
【 นวมุข 】แปลว่า: น. นวทวาร. (ส.).
【 นวรัตน์ 】แปลว่า: น. นพรัตน์, แก้ว ๙ อย่าง คือ เพชร ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน
คลุกข้าวสุก เกลือ และเครื่องปรุง ขยําให้เข้ากันแล้วยัดในไส้หมู, หมํ้า
หรือ หมํ้าตับ ก็เรียก.
【 น้ำตา 】แปลว่า: น. นํ้าที่ไหลออกจากนัยน์ตา, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่ไหลเยิ้มอย่าง
นํ้าตาลที่ไหลซึมจากหม้อตาล.
【 น้ำตาเช็ดหัวเข่า 】แปลว่า: (สํา) เสียใจเพราะชํ้าใจหรือต้องผิดหวังอย่างหนัก.
【 น้ำตาตกใน 】แปลว่า: (สํา) เศร้าโศกเสียใจอย่างมาก แต่ไม่แสดงให้ปรากฏ.
【 น้ำตาเทียน 】แปลว่า: น. ขี้ผึ้งซึ่งไหลออกจากเทียนเวลาจุด.
【 น้ำตาย 】แปลว่า: น. นํ้าในทะเลและแม่นํ้าลําคลองที่มีทางติดต่อโดยตรงกับทะเล
หรือได้รับอิทธิพลจากนํ้าทะเลเป็นต้น มีระดับนํ้าขึ้นและลงน้อย
เนื่องจากอิทธิพลของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ในช่วงเวลาที่
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อยู่ในวงโคจรเกือบเป็นมุมฉากซึ่งกัน
และกันสัมพันธ์กับโลก นํ้าตายมี ๒ ช่วง คือ ช่วงกึ่งปักษ์แรก
ระหว่างวันขึ้น ๕–๙ คํ่า และช่วงกึ่งปักษ์หลัง ระหว่างวันแรม
๕–๙ คํ่า.
【 น้ำตาล 】แปลว่า: น. สารประกอบคาร์โบไฮเดรตประเภทโมโนแซ็กคาไรด์และ
ไดแซ็กคาไรด์ ซึ่งมีรสหวาน โดยมากได้จากตาล มะพร้าว อ้อย,
ถ้าเป็นความหมายเฉพาะอย่างและทําด้วยอะไร ก็เติมคํานั้น ๆ
ลงไป เช่น ทําจากตาล เรียกว่า นํ้าตาลโตนด, ทําจากมะพร้าว
เรียกว่า นํ้าตาลมะพร้าว, ทําเป็นงบ เรียกว่า นํ้าตาลงบ, ทําจาก
อ้อย แต่ยังไม่ได้ทําให้เป็นนํ้าตาลทรายเรียกว่า นํ้าตาลทรายดิบ,
ทําเป็นเม็ด ๆ เหมือนทราย เรียกว่านํ้าตาลทราย, ทําเป็นก้อนแข็ง
เหมือนกรวด เรียกว่า นํ้าตาลกรวด, เคี่ยวให้ข้น ๆ เรียกว่า นํ้าตาล
ตงุ่น, หยอดใส่ใบตาลหรือใบตองแห้งทําเป็นรูปปี่ เรียกว่า นํ้าตาลปี่,
หลอมเป็นปึก เรียกว่า นํ้าตาลปึก, หยอดใส่หม้อ เรียกว่า นํ้าตาลหม้อ,
บรรจุใส่ปีบ เรียกว่า น้ำตาลปีบ หรือ น้ำตาลปี๊บ, รองมาใหม่ ๆ ยัง
ไม่ได้เคี่ยว เรียกว่า นํ้าตาลสด, ถ้าต้มให้เดือด เรียกว่า นํ้าตาลลวก,
ถ้าใส่เปลือกตะเคียน มะเกลือ หรือเคี่ยม เป็นต้น หมักไว้ระยะหนึ่งจน
มีแอลกอฮอล์กินแล้วเมา เรียกว่า นํ้าตาลเมา. ว. สีคล้ายสีนํ้าตาลหม้อ
ที่เคี่ยวแก่ไฟ, ถ้าแก่ไฟจนไหม้ เรียกว่า สีนํ้าตาลไหม้.
【 น้ำตาลใกล้มด ใครจะอดได้ 】แปลว่า: (สํา) น. ชายหญิงที่ใกล้ชิดกันมากย่อมห้ามใจไม่ให้รักกันได้ยาก.
【 น้ำใต้ดิน 】แปลว่า: น. นํ้าฝนที่ตกลงมาสู่พื้นดินแล้วไหลซึมไปรวมอยู่ใต้ดิน.
【 น้ำทรง 】แปลว่า: น. นํ้าที่หยุดไหลชั่วขณะ, นํ้าที่คั่งค้างอยู่ในพื้นที่ที่เป็นแหล่งรับนํ้า,
นํ้ากําลังจะเปลี่ยนระดับจากนํ้าขึ้นเต็มที่มาเป็นนํ้าลง หรือจากนํ้า
ลงเต็มที่มาเป็นนํ้าขึ้น, ช่วงนํ้าหยุดไหลในทะเลและแม่นํ้าลําคลอง
อาจมีระยะเวลา ตั้งแต่ ๕ นาที หรือ นานถึง ๒ ชั่วโมง ก็ได้ แล้วแต่
ลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่ ความลาดชันของขอบฝั่งและลํานํ้า.
【 น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง 】แปลว่า: (สํา) ก. พูดมากแต่ได้เนื้อหาสาระน้อย.
【 น้ำท่วมปาก 】แปลว่า: (สํา) ก. พูดไม่ออกเพราะเกรงจะมีภัยแก่ตนหรือผู้อื่น.
【 น้ำท่า 】แปลว่า: น. นํ้าในแม่นํ้าลําคลอง.
【 น้ำทูนหัว 】แปลว่า: น. นํ้าที่อยู่ในถุงนํ้าครํ่าซึ่งอยู่รอบลูกในท้อง ช่วยหล่อลื่นในการคลอด.
【 น้ำนม 】แปลว่า: น. ของเหลวสีขาวออกมาจากนมคนและสัตว์ สําหรับเลี้ยงลูก.
【 น้ำนมแมว 】แปลว่า: น. ของเหลวชนิดหนึ่งประกอบด้วยเอทิลแอซีเทต (ethyl acetate)
มีกลิ่นหอมคล้ายดอกนมแมว ใช้ประโยชน์เป็นตัวปรุงกลิ่นขนมเป็นต้น.
【 น้ำนวล 】แปลว่า: ว. ผ่องใส, ผุดผ่อง, (มักใช้แก่ผิวพรรณและนิยมใช้คําอื่นแทรก) เช่น
เป็นนํ้าเป็นนวลมีนํ้ามีนวล.
【 น้ำนอนคลอง 】แปลว่า: น. นํ้าในคลองซึ่งไหลลงไม่หมด เหลือนํ้าอยู่มาก เพราะมีนํ้าหนุนขึ้นมา.
【 น้ำน้อยแพ้ไฟ 】แปลว่า: (สํา) น. ฝ่ายข้างน้อยย่อมแพ้ฝ่ายข้างมาก.
【 น้ำนิ่งไหลลึก 】แปลว่า: (สํา) น. คนที่มีท่าหงิม ๆ มักจะมีความคิดลึกซึ้ง.
【 น้ำบ่อน้อย 】แปลว่า: (สํา) น. นํ้าลาย.
【 น้ำบาดาล 】แปลว่า: น. น้ำที่สูบจากใต้ดินที่ลึกไม่ต่ำกว่า ๑๐ เมตร.
【 น้ำโบย 】แปลว่า: (ถิ่น–พายัพ) น. กระบวย. /(ดู กระบวย ๑)./
【 น้ำประสานทอง 】แปลว่า: น. เกลือเคมีชนิดหนึ่งใช้เป็นตัวประสานในการเชื่อมหรือบัดกรีโลหะ
เป็นต้น.
【 น้ำประปา 】แปลว่า: น. น้ำที่เกรอะกรองให้สะอาดปราศจากเชื้อโรค แล้วจ่ายไปให้ประชาชน
บริโภคใช้สอย.
【 น้ำปลา 】แปลว่า: น. นํ้าสําหรับปรุงอาหารให้มีรสเค็ม ทําจากปลาหรือสิ่งอื่นหมักกับเกลือ.
【 น้ำป่า 】แปลว่า: น. นํ้าที่เกิดท่วมในที่ตํ่าโดยฉับพลันทันทีและไหลลดลงอย่างรวดเร็ว.
【 น้ำผลึก 】แปลว่า: น. โมเลกุลของนํ้าที่ประกอบอยู่กับโมเลกุลของสารประกอบบางชนิด
เมื่ออยู่ในภาวะเป็นรูปผลึก.
【 น้ำผึ้ง ๑ 】แปลว่า: น. นํ้าหวานมีลักษณะข้นที่แมลงผึ้งเก็บสะสมเอามาจากดอกไม้ต่าง ๆ.
【 น้ำฝาด 】แปลว่า: น. น้ำที่มีรสฝาด เกิดจากการเอาเปลือกไม้แก่นไม้เป็นต้นของไม้บางชนิด
เช่นขนุนมาต้ม ใช้ย้อมสบงจีวร, ฝาด ก็ว่า เช่น ผ้าย้อมฝาด.
【 น้ำพระพิพัฒน์สัตยา 】แปลว่า: น. นํ้าที่ดื่มในเวลาถวายสัตย์ต่อพระเจ้าแผ่นดิน.
【 น้ำพริก 】แปลว่า: น. อาหารชนิดหนึ่ง ปรุงด้วย กะปิ กระเทียม พริกขี้หนู มะนาว เป็นต้น
ใช้เป็นเครื่องจิ้มหรือคลุกข้าวกิน ใช้นํ้าปลาหรือนํ้าปลาร้าแทนกะปิก็มี
ใช้ของเปรี้ยวอื่น ๆ เช่น มะขาม มะดัน มะม่วง แทนมะนาวก็มี เรียกชื่อ
ต่างกันไปตามเครื่องปรุง เช่น นํ้าพริกปลาร้า นํ้าพริกปลาย่าง นํ้าพริก
มะขาม นํ้าพริกมะดัน นํ้าพริกมะม่วง, เครื่องปรุงแกงเผ็ด แกงคั่ว หรือ
แกงส้ม, อาหารคาวอย่างหนึ่ง ลักษณะอย่างแกง มี ๓ รส แต่ค่อนข้าง
หวานทําด้วยถั่วเขียวโขลกกับเครื่องปรุง กินกับผักบางอย่างเป็นเหมือด
ใช้คลุกกินกับขนมจีน, คู่กับ นํ้ายา.
【 น้ำพริกเผา 】แปลว่า: น. นํ้าพริกชนิดหนึ่ง ใช้พริกแห้ง หอม กระเทียม กุ้งแห้ง เป็นต้น เผา
หรือทอด แล้วตําให้ละเอียด ปรุงด้วยนํ้าปลา นํ้าตาล ส้มมะขาม ใช้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

error: Content is protected !!