รูปแบบการสร้างอักษรจีนต่างๆ 汉字造字法

ตัวอักษรจีนนั้นแตกต่างกับตัวอักษรไทยและตัวอักษรภาษาอังกฤษที่เราคุ้นเคยไม่ใช่เพียงรูปร่างหน้าตา แต่รวมถึงระบบของตัวอักษร   ข้อแตกต่างสำคัญระหว่างตัวอักษรจีนที่เป็นระบบการเขียนด้วยคำ (logographic writing system) กับตัวอักษรภาษาไทยและภาษาอังกฤษซึ่งเป็นระบบการเขียนด้วยอักษร (alphabetic writing system) นั้นก็คือธรรมชาติของตัวอักษรจีนเป็นตัวอักษรที่มุ่งสื่อสาร  “ ความหมาย ”  ผ่านรูปตัวอักษร หาใช่ตัวอักษรที่เน้นสื่อสาร  “ เสียง ”  อย่างที่ระบบตัวเขียนในภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษเป็น  ธรรมชาติดั้งเดิมของตัวอักษรโครงสร้างสี่เหลี่ยมจตุรัส (方块字, Fāngkuàizì) อย่างตัว อักษรจีนนั้น หนึ่งตัวอักษรคือหนึ่งพยางค์  หนึ่งพยางค์คือหนึ่งคำ และตัวอักษรจีนทุกตัว ล้วนเกิดขึ้นจากเส้นขีด (笔画, Bǐhuà)  หลากหลายรูปแบบตั้งแต่ 1 เส้นขึ้นไปมาสัมพันธ์ ประกอบกันในหลากหลายลักษณะ ทั้ง  “ เว้นห่าง, เชื่อมต่อ, ซ้อนทับ ”

อาจน้อยที่สุดเพียง 1 เส้น เช่น ตัวอักษร 一 (Yī) หรือมากมายถึง 36 เส้น และ51 เส้น เช่น ตัวอักษร 齉 (Nàng)และ龘 (Dá)

ด้วยระบบตัวอักษรในภาษาไทยและภาษาจีนที่แตกต่างกันเป็นทุนเดิม ประกอบกับเส้นขีดจำนวนมากในตัวอักษรจีนที่ดูยุ่งเหยิงซับซ้อนจนกลายเป็นความเชื่อของผู้ไม่เคยสัมผัสถ่องแท้ว่าตัวอักษรจีนไร้ระบบกฎเกณฑ์แห่งการเขียนไปโดยปริยาย แท้ที่จริงแล้วภายใต้เส้นขีดที่ดูเหมือนยุ่งเหยิงและซับซ้อนเหล่านี้มีที่มาอย่างเป็นระบบแบบแผนมีกลวิธีการคิดประดิษฐ์ที่น่าทึ่ง ไม่เพียงแต่สะท้อนความเพียรพยายามในการดิ้นรนสร้างหนทางแห่งการสื่อสารระหว่างกันในอดีตของชนชาติจีน ทั้งยังเป็นเครื่องมือสำคัญที่ส่องสะท้อนถึงภูมิปัญญา พลังจินตนาการระบบความคิด และความสร้างสรรค์ตลอดช่วงระยะเวลา 3,000 กว่าปีของชนชาติจีนได้เป็นอย่างดีอักษรจีน กระบวนการสื่อสารและผสานความหมายผ่านอักษรเลียนธรรมชาติ

ภาษาจีนมีภาษาพูดและภาษาเขียนที่เป็นระบบแบบแผนชัดเจน มีระบบเสียงตัวอักษร คำประโยค หลักภาษาที่ล้วนแต่มีกฎเกณฑ์แน่ชัด ในแง่ของระบบเขียนตัวอักษรจีน จีนเป็นชนชาติที่มีทฤษฎีและหลักในการประดิษฐ์และวิเคราะห์ตัวอักษรของตนมาตั้งแต่ครั้งอดีตกว่า 3,000 ปี ที่ตัวอักษรจีนทำหน้าที่สะท้อนชีวิต บันทึกค่านิยมีความคิดความเชื่อบันทึกประวัติศาสตร์ความเป็นไปของทุกสรรพสิ่งไว้เป็นลายลักษณ์อักษร พร้อม ๆ กับการเปลี่ยนปรับรู้ปลักษณะการเขียนรวมทั้งกลวิธีการประดิษฐ์ตัวอักษรในรูปแบบต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอนมาอย่างยาวนานและต่อเนื่อง ที่สำคัญเป็นแบบแผนชัดเจน

ทฤษฎี 六书 (Liù shū)

ทฤษฎีการประดิษฐ์อักษรจีนโบราณ ได้จำแนกหมวดหมู่ของตัวอักษรจีนตามลักษณะการสร้างตัวอักษรไว้อย่างละเอียด โดยยกกลวิธีประดิษฐ์ตัวอักษรจีนไว้ 6 ประเภท ประกอบด้วย

象形 (Xiàngxíng) ลอกเลียนรูป

指事 (Zhǐshì) บ่งชี้ความ

会意 (Huìyì) ผสานความ

形声 (Xíngshēng) รูปเสียงประสาน

假借 (Jiǎjiè)

转注(Zhuǎnzhù)

 

หากแต่หลักที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ตัวอักษรใหม่นั้นมีเพียง 4 ประเภทแรกเท่านั้น (邵敬敏, 2007 : 72) เกิดเป็นตัว อักษรที่มีกลวิธีการประดิษฐ์ที่แตกต่าง โดยสามารถเรียกชื่อตัวอักษรแต่ละประเภทตาม

กลวิธีที่ประดิษฐ์ได้ดังต่อไปนี้ คือ象形字 (Xiàngxíng zì) ตัวอักษรลอกเลียนรูป, 指事字 (Zhǐshì zì) ตัวอักษรบ่งชี้ความ, 会意字(Huìyì zì) ตัวอักษรผสานความ, 形声字 (Xíngshēng zì) ตัวอักษรรูปเสียงประสาน

1.象形字(Xiàngxíng zì) ตัวอักษรลอกเลียนรูป หากแปลความจำกตัวอักษร 象(Xiàng) หมายถึง เหมือน ประหนึ่ง 形(Xíng) คือรูปร่าง เค้าโครง 象形(Xiàngxíng) จึงหมายถึงการประดิษฐ์ตัวอักษรจีนโดยลอกดึงเอาลักษณะเด่นที่เป็นรูปธรรมชัดเจนของสรรพสิ่งต่าง ๆ ตามที่ตาสัมผัสมองเห็นได้ออกมาเป็นรูปเสมือนจริง ดังนั้น จุดเด่นของตัวอักษรแบบ 象形(Xiàngxíng) นี้ นอกจากรูปลักษณะที่คล้ายภาพวาด มีความเสมือนจริงและเป็นรูปธรรมสูงแล้ว มักจะมีลักษณะเด่นภายนอกทางด้านโครงสร้างรูปร่างบางประการที่สามารถโยงให้ผู้รับสารสามารถ “ มองออก ” ว่าตัวอักษรนั้นสื่อถึงสิ่งใด แน่นอนที่สุดว่า ตัวอักษร 象形字 (Xiàngxíng zì) นี้

เป็นตัวอักษรในยุคแรกเริ่มบุกเบิกการประดิษฐ์ตัวอักษรของจีน เป็นพื้นฐานสำคัญในการต่อยอดการประดิษฐ์ตัวอักษรจีนในลักษณะอื่น ๆ ในยุคต่อมาภายหลัง นับว่า ตัวอักษร象形字(Xiàngxíng zì)เป็นประตูที่เปิดเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ของจีนอย่างแท้จริง ตัวอักษรที่ใช้วิธีประดิษฐ์แบบ 象形(Xiàngxíng) นี้ โดยมากมักมีความหมายเกี่ยวเนื่องกับร่างกายมนุษย์  สัตว์  และสรรพสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติ (王秀荣, 2013 : 59) หรือหยิบยก

จากสิ่งที่สัมผัสมองเห็นได้ง่าย มีความเป็นรูปธรรมสูง ดังตัวอย่างในตาราง ต่อไปนี้

ทั้งนี้ การสร้าง  “ รูปเสมือน ”  ให้ปรากฏชัดในตัวอักษรนั้น สะท้อนระบบความคิด ความเข้าใจ และมุมมองที่มีต่อสรรพสิ่งต่าง ๆ ของคนในยุคโบราณกาลได้อย่างเด่นชัดดังที่严文明 (2006 : 325) ได้กล่าวว่า การเฟ้นหา คัดสรรภาพจำ และเลือกหยิบจุดเด่นที่ชัดเจนที่สุดของสิ่งที่ตาเห็นแล้วมุ่งสื่อสารถ่ายทอดสารนั้นออกมาเป็นตัวอักษรที่เสมือนภาพไปสู่ผู้รับสารให้เข้าใจอย่างถ้วนทั่วตรงกันนั้น เป็นเสมือนกระบวนการขัดเกลาวัตถุดิบระหว่างผู้คนในสังคมที่อยู่ในช่วงเวลานั้น ต้องอาศัยประสบการณ์ตรงและพื้นฐานในชีวิต

กลั่นกรองและผนวกเข้ากับจินตนาการของผู้ประดิษฐ์ตัวอักษร ด้วยเหตุนี้จึงพบตัวอักษรตัวเดียวกันแต่มีหลากหลายรูปแบบไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับว่าผู้ส่งสารแต่ละคนจะพิจารณาเค้นกลั่น  “ วัตถุดิบ ”  นั้นอย่างไร ด้วยเหตุนี้ความเป็นมาตรฐานที่สามารถยึดเป็นรูปแบบเดียวกันได้ของตัวอักษรประเภทนี้จึงน้อย เช่น ตัวอักษร 鹿 ((Lù) ที่แปลว่า กวาง จากหลักฐานที่ขุดพบ พบว่ามีลักษณะการเขียนหลายรูปแบบ ดังนี้   หรือตัวอักษร

鸟 (Niǎo) ที่หมายถึง นก หรือ鱼 (Yú) ที่หมายถึง ปลา ก็มีลักษณะการหยิบยกและนำเสนอที่แตกต่างกันหลายรูปแบบ คือและหากสังเกตให้ดีจะพบว่ารูปแบบมุมมองการนำเสนอตัวอักษร 象形字 แต่ละตัวมีจุดเน้นและ

วิธีการนำเสนอที่หลากหลายแตกต่าง ทั้งนำเสนอรูปทรงโครงสร้างเต็มตัวทั้งหมด นำเสนอเฉพาะส่วนสำคัญเฉพาะจุด หรือนำเสนอแบบเชื่อมโยงความสัมพันธ์เข้าหาจุดเน้นและในขณะเดียวกันก็มีมุมมองหรือทิศทางในการมองที่แตกต่างกันด้วย เช่น มุมหน้าตรงมุมข้าง มุมบน มุมล่าง มุมตัดขวาง   เป็นต้น (王秀荣, 2013 : 60 - 61) เช่น

 

ถึงแม้ตัวอักษร 象形字 (Xiàngxíng zì) จะเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการกำเนิดตัวอักษรจีนที่ทรงพลังเพียงใด แต่ก็ยังไม่สามารถตอบสนองต่อการเป็นเครื่องมือสื่อสารที่สมบูรณ์ได้《说文解字》คัมภีร์ตัวอักษรจีนโบราณสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก(东汉,Dōnghàn) ระบุว่า ตัวอักษรจีนที่สร้างด้วยกลวิธี 象形 (Xiàngxíng) นั้นมีอยู่เพียง 364 ตัวจาก 9,353 ตัวที่นำมาจำแนกประเภท หรือคิดเป็นร้อยละ 3.89 เท่านั้น (马景仑, 2002 :

23 ; 严文明, 2006 : 327) ซึ่งนับว่าเป็นจำนวนที่น้อยเป็นอันดับ 2 ในบรรดาวิธีการประดิษฐ์ตัวอักษรจีนทั้ง 4 ประเภท สาเหตุอยู่ที่จุดเด่น เหตุเพราะ 象形字 (Xiàngxíng zì)คืออักษรเลียนธรรมชาติ โดดเด่นในการถ่ายทอดสิ่งที่เป็นรูปธรรม รูปร่าง โครงสร้างที่มองเห็นผ่านสายตา โดยึดงจุดเด่นออกมาประดิษฐ์เป็นตัวอักษรที่เหมือนภาพวาด แต่น่าเสียดายเหลือเกินที่สิ่งที่มนุษย์สามารถมองเห็นผ่านตาหรืออาศัยการสำรวจด้วยประสบการณ์ตรงจนสามารถบรรยายถ่ายทอดออกมาอย่างเป็นรูปธรรมเช่นนี้นนมีจำนวนจำกัด ที่มีอยู่มากนั้นกลับเป็นสิ่งที่ไม่สามารถสัมผัสัจบต้องหรือมองเห็นได้ด้วยสายตาโดยตรง สิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดนั้นยากที่จะบรรยายถ่ายทอดออกมาเป็นภาพวาดเล็ก ๆ และหากแม้จะสามารถรังสีรรค์ให้กลายเป็นตัวอักษรภาพหนึ่งตัวได้ ก็คงประกอบด้วยเส้นขีดที่มากและซับซ้อน ไม่สะดวกในการสร้างและใช้งานเมื่อยุคสมัยเปลี่ยน สังคมพัฒนาตามความรู้วดเร็วและความสะดวกในการสื่อสารเป็นสิ่งที่มนุษย์ปรารถนำ ตัวอักษรแบบ 象形字 (Xiàngxíng zì) ที่แต่เดิมประกอบด้วยเส้นขีดที่มากและซับซ้อนเนื่องด้วยเหตุปัจจัยในการสร้างที่ต้องการถ่ายทอด  “ ความเหมือน ” จากต้นแบบให้“ มองออก ”ง่ายที่สุด จึงถูกปรับลดตัดทอนจำนวนเส้นวาดที่มากมาย

และซับซ้อนนั้นให้ลดน้อยเพื่อง่ายและสะดวกต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น และนั่นจึงนำไปสู่การสูญเสียความเป็น  “ รูปภาพ ”  ที่ถ่ายทอดความเสมือนจริงของบรรดาสรรพสิ่งต่าง ๆ อันเป็นจุดเด่นสำคัญในตัวอักษรแบบ 象形字(Xiàngxíng zì) ไป (张静贤. 2004 ; 19 ; 邵敬敏"2007 : 72) ในท้ายที่สุดความหมายที่ถ่ายทอดูและผูกติดกับตัวอักษรที่ลอกเลียนแบบความเสมือนจริงจึงกลายเป็นรูปสัญลักษณ์ที่ยากจะตีความความหมายจากรูปตัวอักษรได้อีกต่อไป

  1. 指事字(Zhǐshì zì) ตัวอักษรบ่งชี้ความ เมื่อเวลาเปลี่ยนผ่าน การประดิษฐ์ตัวอักษรจีนก็มีการเปลี่ยนปรับและพัฒนาขึ้นตามลำดับเช่นกัน บนพื้นฐานของการถ่ายทอดข้อมูลผ่านตัวอักษรแบบลอกเลียนรูป

象形字 (Xiàngxíng zì) มนุษย์เริ่มเรียนรู้ว่าสิ่งที่สามารถลอกเลียนและถ่ายทอดออกมาเป็นภาพที่แสดงความเป็นรูปธรรมชัดเจนได้นั้นมีจำนวนน้อยกว่าสิ่งที่พวกเขาต้องการสื่อสาร มนุษย์เริ่มเรียนรู้เมื่อพบทางตันว่าหลายสิ่งไม่อาจ  “ วาด ”  ออกมาเป็นรูปภาพหรือหากทำได้  “ ตัวอักษร ”  ของพวกเขาก็จะมีความซับซ้อนหรือประกอบด้วยเส้นขีดจำนวนมาก เมื่อสรรพสิ่งบนโลกนี้ไม่ได้เป็นรูปธรรมไปเสียทุกอย่างและสิ่งที่เป็นนามธรรม

ก็ดูเหมือนจะมีอยู่เป็นจำนวนมากกว่า มนุษย์เริ่มทำความรู้จักกับการใช้สิ่งหนึ่งแทนสิ่งหนึ่งเพื่อถ่ายทอดความหมายตามที่ตนต้องการเริ่มเรียนรู้ที่จะใช้สัญลักษณ์ถ่ายทอดความเป็นนามธรรม เกิดเป็นรูปแบบกลวิธีการประดิษฐ์ตัวอักษรที่เรียกว่า 指事(Zhǐshì) หรือการใช้สิ่งหนึ่งสิ่งใดชี้บ่งความหมายของอีกสิ่งหนึ่งให้ชัดเจนขึ้นนั่นเอง ตัวอักษรแบบ 指事字 (Zhǐshì zì) นั้น เป็นรูปแบบการประดิษฐ์ตัวอักษรโดยใช้สัญลักษณ์นามธรรมมาระบุ บ่งชี้ แสดงจุดสังเกตเพื่อแสดงความหมายให้แก่ตัวอักษรทั้งนี้ แม้ลักษณะโดยรวมยังไม่หลุดพ้นจากความเป็นรูปเสมือนจริงไปเสียทั้งหมด แต่ทว่าก็มิใช่การถ่ายทอดสิ่งที่เป็นรูปธรรมไปเสียทั้งหมดอีกต่อไปแล้วเช่นกัน รูปแบบการประดิษฐ์ตัวอักษรแบบบ่งชี้ความหรือ指事(Zhǐshì) นั้น แบ่งเป็น 2 ลักษณะ อธิบาย

ให้เห็นภาพโดยง่ายก็คือลักษณะแรกเป็นการกำหนดสัญลักษณ์ใหม่เพื่อใช้แทนความหมายนามธรรมที่สมบูรณ์  และอีกลักษณะหนึ่งเป็นการเพิ่มเติมสัญลักษณ์บางอย่างลงบนตัวอักษรเดิมที่มีอยู่เพื่อชี้นำเชื่อมโยงให้มองเห็นความหมายที่ลึกลงไปจากพื้นฐานความหมายเดิม (张静贤, 2004 : 19 - 20 ; 邵敬敏, 2007 : 72 - 73)

2.1 การกำหนดสัญลักษณ์ใหม่เพื่อใช้แทนความหมายนามธรรมที่สมบูรณ์

การใช้เส้นตรงลักษณะต่าง ๆ ในตารางข้างต้นไม่ได้สื่อถึงสิ่งที่เป็นรูปธรรมอย่างท่อนไม้ หรือของแข็ง ยาว ที่สามารถจับต้องได้แต่อย่างใด หากแต่แสดงถึงความหมายเชิงนามธรรม อันได้แก่ จำนวนตัวเลขหรือตำแหน่ง เช่น “ 一 ” 、 “ 二 ” 、 “ 三 ”  แสดงถึงจำนวน 1, 2 และ3 ตามลำดับ ส่วนการใช้เส้นตรงแนวนอนที่สั้นกว่าวางอยู่บนเส้นตรงแนวนอนอีกเส้นหนึ่งก็เพื่อระบุถึงตำแหน่ง  “ บน ”  กลับกัน การใช้เส้นตรงแนวนอนที่สั้นกว่าวางอยู่ด้านล่างเส้นตรงแนวนอนอีกเส้นหนึ่ง ระบุถึงตำแหน่ง  “ ล่าง ”  ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนสัมผัสจบต้องไม่ได้ หรือเป็นความหมายเชิงนามธรรมั่นนเอง

 

2.2 การเพิ่มเติมสัญลักษณ์บางอย่างลงบนตัวอักษรเดิมที่มีอยู่เพื่อชี้นำเชื่อมโยงให้มองเห็นความหมายที่ลึกลงไปจากพื้นฐานความหมายเดิม ลักษณะตัวอักษรบ่งชี้ความหรือ指事字(Zhǐshì zì)ในรูปแบบที่สองนี้จะ

เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับตัวอักษรแบบลอกเลียนรูปหรือ象形字(Xiàngxíng zì)โดยตรงกล่าวคือเป็นการปรากฏร่วมของสัญลักษณ์นามธรรมกับตัวอักษรเสมือนจริงที่มีอยู่แต่เดิมแล้ว ซึ่งการนำสัญลักษณ์นามธรรมเข้าไปวางประกอบในตัวอักษร 象形字(Xiàngxíngzì)ในบริเวณใดบริเวณหนึ่งก็เพื่อเป็นจุดอ้างอิงเชื่อมโยงและบ่งชี้ความหมายที่ต้องการสื่อันั้นเข้าสู่จุดเน้นในอักษรเสมือน ทั้งนี้ การใช้  “ สิ่งใหม่ ”  เติมเข้าไปใน  “ สิ่งเดิม ”  แบบที่ตัวอักษร 指事字 (Zhǐshì zì) ท่านั้น ก็เพื่อยืมความหมายจากอักษรเสมือนจริงที่มีอยู่และเชื่อมโยงบ่งชี้ความหมายที่ต้องการสื่อจากจุดเฉพาะบางจุดนั้นให้ชัดเจน เพื่อให้เป็นจุดสังเกตและโยงเข้าสู่จุดเน้นให้ชัดเจนขึ้น หรือดึงเอาความหมายนามธรรมที่แฝงอยู่ในตำแหน่งต่าง ๆ ที่ผู้ประดิษฐ์ตัวอักษรต้องการออกมา

 

 

 

 

 

ตัวอักษรที่ใช้วิธีประดิษฐ์แบบ 指事(Zhǐ shì) นี้ มีจำนวนน้อยกว่าตัวอักษร象形 กว่าครึ่ง กล่าวคือปรากฏใน《说文解字》เพียง 125 ตัว จาก 9,353 ตัวเท่านั้น หรือคิดเป็นร้อยละ 1.34 เท่านั้น(马景仑, 2002 : 23 ; 严文明, 2006 : 327)

3.会意字 (Huìyì zì) ตัวอักษรผสานความ ธรรมชาติดั้งเดิมของระบบเขียนในภาษาจีน เป็นระบบการเขียนที่ตั้งต้นด้วยการเป็นตัวอักษรสื่อความไม่ใช่สื่อเสียง และตัวอักษรแต่ละตัวในระบบภาษาเขียนของจีนนั้นมีความหมายประจำตัวอักษร นับจากตัวอักษร 象形字 (Xiàngxíng zì) และตัวอักษร 指事字(Zhǐshì zì) รวมทั้งวิธีการประดิษฐ์ตัวอักษรจีนในลักษณะที่ 3 ที่เรียกว่า 会意 (Huìyì) นี้ ก็ยังคงสืบทอดลักษณะเด่นข้างต้นของตัวอักษรจีนเอาไว้ 会(Huì) แปลว่า รวมผสาน 意 (Yì) คือความหมาย หากแปลตรงตัว 会意字 (Huìyì zì) คือตัวอักษรแบบผสานความซึ่งเกิดจากการนำตัวอักษรที่มีอยู่เดิมตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปมารวมกัน เกิดเป็นตัว

อักษรใหม่หนึ่งตัวที่ความหมายประจำตัวอักษรใหม่นั้นมาจากการประสานความหมายจากตัวอักษรดั้งเดิมแต่ละตัวที่นำมาประกอบกัน หากเปรียบให้เห็นภาพชัดเจนโดยง่ายก็เปรียบเสมือนการนำเหล็กรูปร่างต่าง ๆ หลอมรวมให้เป็นเนื้อเดียวกันและหล่อขึ้นมาในรูปทรงใหม่ โดยที่ส่วนประกอบหรือเนื้อในนั้นยังคงเป็นเหล็กเดิมอยู่นั่นเอง ดังนั้นตัวอักษรผสานความหรือ会意字(Huìyì zì) จึงเป็นการต่อยอดความหมายจากความหมายเดิมไปสู่ความหมายใหม่แต่ยังคงเค้าความหมายเดิมหรือจุดเด่นเฉพาะจากพื้นตัวอักษรเดิมอยู่ ดังตัวอย่างในตารางต่อไปนี้

 

ตัวอักษรผสานความหรือ会意字 (Huìyì zì) นี้ขยายขอบเขตการสื่อสารที่เคยมีมาแต่เดิมให้กว้างขวางขึ้นมาก ไม่เพียงแต่จำนวนคำที่มากกว่าตัวอักษร 象形字(Xiàngxíng zì)และ指事字(Zhǐshì zì)เท่านั้น 11 แต่วง

ความหมายที่ใช้สื่อความเช่น อากัปกิริยา อาการลักษณะ สภาพการณ์ของสิ่งต่าง ๆที่เคยเป็นทางตันในการสื่อความก็เริ่มคลี่คลายและมีหนทางในการสื่อสารมากขึ้น เรียกได้ว่า会意字(Huìyì zì) สามารถถ่ายทอดสิ่งที่เป็นนามธรรมได้อย่างมากมาย ถ่ายทอดความหมายที่หลุดพ้นจากความเป็นรูปธรรมซึ่งเคยมีในอดีตการผสานความหมายจากรูปตัวอักษรดั้งเดิมที่เด่นชัดในเรื่องสื่อความและแตกช่องความหมายใหม่ที่เกี่ยวข้องกับพื้น

ความหมายเดิม รูปอักษรที่มีความหมายประสานเข้ากับอีกหนึ่งรูปที่ก็มีความหมายจึงเพิ่มพูนขยายความให้ซึ่งกันและกัน ตัวอักษร 会意字 (Huìyì zì) นี้ฉายภาพความสามารถในการสังเกต วิเคราะห์  สังเคราะห์  รวมถึงพลังจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ในการเชื่อมโยงเรื่องราวของมนุษย์ยุคบุกเบิกตัวอักษรได้อย่างชัดเจน ดังตัวอย่างเช่น (休,Xiū)ที่แปลว่าพักผ่อนนั้น ความหมายดั้งเดิมคือัน่งคลายร้อนใต้ร่มไม้ หากสังเกตตัวอักษรที่นำมาสร้างจะเห็นว่าประกอบขึ้นจากตัวอักษรลอกเลียนรูป 象形字(Xiàngxíng zì) 2 ตัวมารวมกัน ได้แก่ คน (人,Rén) และต้นไม้ (木,Mù) ความหมายจากตัวอักษรทั้งสองเมื่อหลอมรวมกันจึงเกิดเป็นความหมายใหม่ที่สื่อถึงการพักกายหลบร้อนใต้เงาไม้ของต้นไม้ที่แผ่กิ่งก้านสาขา จนมีความหมายในปัจจุบันว่า  “ พัก, พักผ่อน ”  ในที่สุด หรือ (明,Míng) ที่มีความหมายเชิงนามธรรมบ่งถึง  “ แสงสว่าง, ความสว่างไสว ”  จะเห็นว่าผู้ประดิษฐ์ตัวอักษรต้องคัดเลือกตัวอักษรที่ตนเห็นว่าพอจะสามารถดึงจุดเด่นที่ผู้รับสารเคยมีประสบการณ์ร่วมสื่อความให้คนเข้าใจได้ จนในท้ายที่สุดหยิบเอาดวงอาทิตย์  (日,Rì) และดวงจันทร์  (月,Yuè)  มาใช้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการเชื่อมโยงความหมาย ไม่ว่าจะเป็นความหมายเชิงนามธรรมอย่าง“ แสงสว่าง, การแบ่ง ”  หรือจะเป็นความหมายที่แสดงถึงอากัปกิริยา อาการสภาพ เช่น  “ นั่ง, พัก, มอง ”  หรือเป็นความหมายที่ยังคงความเป็นรูปธรรมแต่แฝงไว้ด้วยเรื่องราวอย่าง“ บ้าน, ป่า ”  เหล่านี้ล้วนสะท้อนระบบการรับรู้ การประมวลผล การเชื่อมโยงความหมาย รวมทั้งการถ่ายทอดูและสื่อสารความหมายที่มีต่อสรรพสิ่งทั้งปวงของคนในอดีตกาลได้เป็นอย่างดี

ข้อแตกต่างที่เด่นชัดของระบบตัวอักษรจีนทั้ง 3 ประเภท อันได้แก่อักษรลอกเลียนรูป 象形字 (Xiàngxíng zì) อักษรบ่งชี้ความ指事字 (Zhǐshì zì)และอักษรผสานความ会意字 (Huìyì zì) ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นกับตัวอักษรไทยนั้น คือการเป็นตัวอักษรสื่อความหมายโดยสมบูรณ์  นับตั้งแต่ตัวอักษร 象形字(Xiàngxíng zì)

ที่สื่อความหมายเชิงรูปธรรม และพัฒนาเป็นตัวอักษรสื่อความหมายเชิงนามธรรมอย่างตัวอักษร 指事字 (Zhǐ shì zì) จนกระทั่งถึงตัวอักษร 会意字 (Huìyì zì) ที่ประสานความเพื่อขยายความให้กว้างขวางขึ้น กล่าวอีกันยหนึ่ง ความสัมพันธ์ระหว่างรูปและความหมายที่สอดคล้องกันของตัวอักษรทั้ง 3 ประเภทนี้เป็นข้อเด่นและเป็นหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่สุดที่สะท้อนถึงจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ในการสรรค์ สร้างออกแบบตัวอักษรอันล้ำลึก ในขณะที่เราพบข้อสังเกตที่น่าทึ่งหลายประการและการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของตัวอักษรทั้ง 3 แบบ แต่เมื่อสังเกตให้ดีจะพบว่า ตัวอักษรที่ได้กล่าวมาแล้วทั้ง 3 ประเภทข้างต้น รวมกันแล้วยังมีจำนวนเพียง 1,656 ตัวอักษรจาก 9,353 ตัวอักษร หรือคิดเป็นร้อยละ 17.70 เท่านั้น (马景仑, 2002 : 23 ; 严文明,2006 : 327) คำถามที่น่าสนใจคืออีก 7,697 ตัวอักษร หรือร้อยละ 82.3 ที่เหลือเป็นตัวอักษรลักษณะใด มีวิธีประดิษฐ์อย่างไร และเพราะเหตุใดจึงไม่ใช้วิธีลอกเลียนรูป 象形(Xiàngxíng) บ่งชี้ความ指事(Zhǐshì) หรือผสานความ会意(Huìyì)ในการประดิษฐ์

4.形声字 (Xíngshēng zì) ตัวอักษรรูปเสียงประสาน เป็นที่ทราบกันดีว่ายุคแรกเริ่มในการประดิษฐ์ตัวอักษรจีน ตัวอักษรสามารถถ่ายทอดความหมายเชิงรูปธรรมเป็นหลัก หรือหากถ่ายทอดความหมายเชิงนามธรรมก็ยังคงถูกจำกัดในวงความหมายแคบ ๆ ความหมายเชิงนามธรรมที่ลึกซึ้งไม่สามารถถ่ายทอดผ่านอักษรลอกเลียนรูป 象形字(Xiàngxíng zì),อักษรบ่งชี้ความ指事字(Zhǐ shì zì)และอักษรผสานความ会意字(Huìyì zì)ได้เลย สาเหตุสืบเนื่องมาจากรูปแบบการประดิษฐ์ตัวอักษรที่มุ่งสื่อสารผ่านตัวอักษรภาพนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ เมื่อกลวิธีการประดิษฐ์ ตัวอักษรดั้งเดิมที่เคยมีมาทั้ง 3 วิธีไม่สามารถตอบสนองการสื่อสารความหมายได้อย่างที่ตั้งใจ มนุษย์จึงแก้ปัญหาเฉพาะหน้านี้ด้วยการ “ หยิบยืม ” บรรดาตัวอักษรเดิม ๆ ที่ใช้กันอยู่นั้น มาระบุความหมายที่ต้องการเพิ่มเติมเข้าไป โดยที่เสียงของตัวอักษรยังคงเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง กลวิธีการใช้ตัวอักษรหนึ่งมาเพิ่มความหมายเข้าไปเป็นความหมายที่สอง สาม สี่ ต่อไป ในลักษณะเช่นนี้เรียกว่า กลวิธี 假借 (Jiǎjiè)12 (赵学清、张喆,2011: 87) เช่น ตัวอักษร ความหมายแรกเริ่มเดิมที่แปลว่า อาวุธที่มีฟันแหลมคม ต่อมาได้มีการยืมรูปและเสียงของตัวอักษรเดิมมาเพื่อใช้ในการสื่อความหมายถึงสรรพนามบุรุษที่ 1 หรือฉัน(我)แน่นอนว่า 假借字 (Jiǎjiè zì) สามารถแก้ปัญหาการสื่อความหมายที่ลึกซึ้งอย่างความหมายเชิงนามธรรมได้เป็นอย่างดีอย่างที่象形字 (Xiàngxíng zì),指事字(Zhǐ shì zì) และ会意字 (Huìyì zì)ไม่สามารถทำได้มาก่อน แต่ยิ่งปรากฏการณ์ การใช้อักษร 假借字 (Jiǎjiè zì) ทวีจำนวนมากขึ้นเท่าใดก็ยิ่งทำให้สถานการณ์ “ หนึ่งตัวอักษรหลายความหมาย ”  มากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งนั่นเป็นอุปสรรคที่ส่งผลต่อการสื่อสารความหมายโดยเฉพาะการรับสารจากการอ่านเป็นอย่างมาก เกิดความหมายที่ไม่ชัดเจนกำกวม และต้องพึ่งพาบริบทของความโดยรอบตัวอักษรนั้น (王秀荣,2013 : 94) ลักษณะ  “ ร่างทรง ”  ของ 假借字 (Jiǎjiè zì) ที่หนึ่งตัวอักษรรับภาระถ่ายทอดความหมายหลากหลาย ก่อให้เกิดความกำกวมในการตีความตามไปด้วย ปัญหาและข้อจำกัดเหล่านี้ เป็นแรงผลักที่ทำให้กลวิธีประดิษฐ์ตัวอักษรในรูปแบบใหม่เกิดขึ้น เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์  เสมือนการค้นพบเหมืองทองคำล้ำค่าระหว่างทางที่มุ่งไปสู่การพัฒนาตัวอักษรจีน ตัวอักษรที่ใช้กลวิธีการประดิษฐ์รูปแบบใหม่นี้คือ形声字(Xíngshēng zì)หรือตัวอักษรรูปเสียงประสาน形 (Xíng) หมายถึง รูปร่าง ลักษณะ 声 (Shēng) หมายถึง เสียง ตัวอักษรที่ประดิษฐ์ด้วยกลวิธี 形声(Xíngshēng) หรือตัวอักษร 形声字 (Xíngshēng zì) นี้เกิดจากการประสานส่วนประกอบสองส่วนเข้าด้วยกัน ส่วนหนึ่งบ่งชี้ความหมาย อีกส่วนหนึ่งระบุเสียง ส่วนประกอบทั้งสองส่วนนี้รวมเรียกว่า 偏旁(Piānpáng) หรือส่วนประกอบด้านข้าง 13 โดยส่วนประกอบด้านข้างที่กำหนดเสียงอ่านเรียกว่า 声旁 (Shēng páng)ส่วนที่กำหนดความหมายเรียกว่า 形旁 (Xíng páng) ดังนั้น กลวิธีการประดิษฐ์ตัวอักษรที่นำ形旁(Xíng páng) และ声旁 (Shēng páng) มาประกอบเข้าด้วยกันลักษณะนี้จึงเรียกว่า形声(Xíngshēng)และตัวอักษรที่ประดิษฐ์ขึ้นด้วยกลวิธีนี้ก็คือ形声字 (Xíngshēng zì)

หรือตัวอักษรรูปเสียงประสานั่นนเอง กลวิธีการประดิษฐ์ตัวอักษรในลักษณะนี้ เป็นการสร้างตัวอักษรใหม่โดยการนำตัวอักษรที่มีใช้อยู่เดิมแล้ว เติมเครื่องหมายสัญลักษณ์หรือตัวอักษรเพิ่มเข้าไปอีกส่วน ส่วนที่เป็นตัวอักษรพื้นฐานเดิมจะเป็นส่วนบอกเสียง ส่วนที่เติมเข้าไปใหม่จะระบุความหมาย เสียงของตัวอักษรใหม่เกิดจากการยืมเสียงของตัวอักษรเดิมความหมายของตัวอักษรใหม่เกิดจากการยืมความหมายหรือจุดเด่นของส่วนที่เติมใหม่เข้าไปเพื่อกำหนดความหมายของตัวอักษรใหม่ที่เกิดขึ้น เกิดเป็นตัวอักษรใหม่หนึ่งตัวที่มีเค้าโครงเสียงและความหมายเหมือนหรือใกล้เคียงส่วนที่ประกอบกันขึ้น มีจุดเด่นที่พอจะอนุมานได้จากส่วนที่ประกอบเข้าด้วยกัน (赵学清、张喆,2011 : 97 ; 严文明, 2006 : 326)แต่การสื่อความหมายและเสียงที่ว่านี้อาจไม่ตรงตามเสียงและรูปของส่วนประกอบเดิมทั้งสองเสียทีเดียว หากแต่สามารถเชื่อมโยงอนุมานหรือตีความได้ เช่นเดียวกับส่วนประกอบที่สื่อเสียงก็จะมีส่วนที่คล้ายคลึงกับเสียงดั้งเดิมของตัวอักษรที่นำมาประกอบอาจคล้ายคลึงในหน่วยเสียงพยัญชนะ สระ หรือวรรณยุกต์  ส่วนใดส่วนหนึ่ง หรืออาจคล้ายคลึงในหลายส่วนก็เป็นได้ ดังนั้นตัวอักษรที่ใช้วิธีประดิษฐ์แบบ 形声字 (Xíngshēng zì)การคาดเดาเสียงอ่านและความหมายของตัวอักษรก็เป็นไปได้โดยง่าย การจัดระบบการจดจำก็ง่ายดายและเป็นแบบแผนมากยิ่งขึ้น เช่น ตัวอักษร 彩、菜、踩 มีส่วนประกอบบอกเสียงหรือ声旁 (Shēng páng) 采   “  Cǎi  ”  เป็นพื้นเสียง เมื่อประกอบกับ 形旁 (Xíngpáng)หรือส่วนประกอบบ่งความแล้วทำให้มีเสียงอ่านที่ใกล้เคียงตัวอักษรพื้นเสียงเดิมโดยตัวอักษรทั้งสามตัวข้างต้นมีเสียงอ่านตามลำดับดังต่อไปนี้  “  Cǎi,Cài,Cǎi  ”  เช่นเดียวกับตัวอักษร  “ 巴 ”  (ba) เมื่อประกอบเข้ากับส่วนประกอบข้างอีกส่วนเพื่อทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบบอกเสียง จะทำให้ตัวอักษรใหม่ที่ได้มีเสียงอ่านที่คล้ายคลึงกับเสียงอักษรเดิมเช่น  “ 把 ”  (Bǎ)、 “ 爸 ”  (Bà)、 “ 芭 ”  (bā)、 “ 吧 ”  (Ba)、 “ 笆 ”  (Ba) ในขณะที่ส่วนประกอบบอกความหมายหรือ形旁 (Xíng páng) นั้น เมื่อประกอบเข้ากับส่วนประกอบบอกเสียงอีกส่วนหนึ่ง จะได้ตัวอักษรใหม่ที่มีความหมายสอดคล้องใกล้เคียงกับความหมายประจำตัวของ 形旁 (Xíng páng)  นั้น ๆ เช่น  “ 疒 ” มาจากตัวอักษร  “ 病 ”  ซึ่งมีความหมายว่า  “ เจ็บป่วย ”  เมื่อ 形旁 (Xíng páng)  “ 疒 ”  ปรากฏร่วมกับ 声旁 (Shēng páng) บอกเสียง ความหมายของตัวอักษรใหม่ที่เกิดขึ้นนั้นมักจะเกี่ยวข้องกับความหมายของ 形旁 (Xíng páng) นั้น ๆ ตามไปด้วย เช่น 疼 เจ็บ、痛 ปวด、病 ไม่สบาย、疗 รักษา   เป็นต้นดังตัวอย่างในตารางข้างล่างนี้

 

หากจะกล่าวว่า ตัวอักษรรูปเสียงประสานหรือ形声字 (Xíngshēng zì)เกิดขึ้นมาเพราะพบทางตันในการสื่อสารก็คงไม่ผิดนัก เพราะไม่ว่าจะเป็นตัวอักษรลอกเลียนรูป象形字(Xiàngxíng zì) ตัวอักษรบ่งชี้ความ指事字(Zhǐshì zì) หรือตัวอักษรผสานความ会意字(Huìyìizì) ต่างก็ล้วนเป็นอักษรสื่อความหมายผ่านรูปตัวอักษรทั้งสิ้นตัวอักษรทั้ง 3 ประเภทนั้น ไม่ได้บ่งบอกข้อมูลใด ๆเกี่ยวกับเสียงอ่านของตัวอักษรเลยแม้แต่น้อย กล่าวอีกนัยหนึ่งคือระบบการสร้างตัวอักษรทั้ง 3 ประเภทข้างต้นนั้นไม่ได้พิจารณาถึงระบบเสียงหรือนำระบบเสียงมาเป็นส่วนประกอบในการประดิษฐ์ตัวอักษรเลยแม้แต่น้อย หากแต่พิจารณาเพียงลักษณะเด่นของรูปอักษร บริเวณแวดล้อมรูปอักษรหรือจุดอ้างอิงในรูปอักษรดังที่ได้กล่าวมาเท่านั้น เรียกได้ว่าสามารถหาความเชื่อมโยงได้เพียงแค่ระหว่างรูปอักษรและความหมาย แต่ไม่อาจเชื่อมโยงไปยังเสียงของตัวอักษรเลย

 

แม้แต่น้อย เสียงที่ถูกบรรจุลงในตัวอักษรทั้งสามประเภทก็เป็นไปอย่างไม่มีกฎเกณฑ์  ไม่มีระบบหลักเชื่อมโยงใด ๆ ที่จะโยงให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันระหว่างรูปอักษรความหมาย และเสียงเลย (严文明, 2006 : 326) เหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการคิดประดิษฐ์ ตัวอักษรด้วยวิธี 形声(Xíngshēng) นั้นก็เพราะตระหนักในปัญหาดังกล่าวนี้ทั้งสิ้น 14 ด้วยเหตุนี้ ถึงแม้ว่า อักษรลอกเลียนรูป 象形字i(Xiàngxíng zì) อักษรบ่งชี้ความ指事字

(Zhǐshì zì)และอักษรผสานความ会意字i(Huìyì zì) จะสะท้อนภูมิปัญญาแห่งพลังจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์รวมทั้งมีคุณค่าความงามทางศิลปะมากเพียงใดหากแต่ยังไม่สามารถสื่อสารความหมายดังใจคิดและไม่สามารถบันทึกภาษาพูดให้ครอบคลุมครบถ้วนได้โดยสมบูรณ์  ดังที่严文明 (2006 : 326) ได้กล่าวว่า ประโยชน์ที่แท้จริงของตัวอักษรนั้นทำหน้าที่บันทึกภาษาพูด ตัวอักษรที่สมบูรณ์จึงต้องทำหน้าที่บันทึกเสียง

พูดได้อย่างสมบูรณ์ด้วยเช่นกัน ตัวอักษรที่ไม่ตอบสนองความต้องการแก่นแท้พื้นฐานในข้อนี้จึงไม่อาจเรียกได้ว่าทำหน้าที่เป็นตัวอักษรที่สมบูรณ์ได้ จะเป็นก็แต่เพียงเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์  หาใช่  “ ตัวอักษร ”  ที่บันทึกภาษาที่แท้จริงไม่ ด้วยเหตุนี้ ตัวอักษรจึงต้องเชื่อมโยงทั้งรูปตัวอักษร ความหมาย และเสียงพูดเข้าไว้ด้วยกัน หากละเลยส่วนที่สำคัญที่สุดในภาษาคือเสียงไป ก็ไม่อาจตอบสนองต่อความต้องการของภาษาได้ สถานการณ์ของตัวอักษรไม่สื่อ  “ เสียง ”  ที่เป็นจุดบอดูและทางตันของการสื่อสารด้วยลายลักษณ์ในภาษาจีน กลายเป็นจุดพลิกผันที่ทำให้ตัวอักษรจีนเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในรูปแบบและกลวิธีการประดิษฐ์ตัวอักษร จีนคิดประดิษฐ์ ตัวอักษร 形声字(Xíngshēng zì) ขึ้นจากกลวิธี 形声(Xíngshēng) ซึ่งนำรูปและเสียงของตัวอักษรประสานเป็นหนึ่งเดียว สร้างคูณปการในการประดิษฐ์ตัวอักษรจีนอย่างใหญ่หลวง เปลี่ยนแปลง  “ ขนบ ”  กลวิธีการประดิษฐ์ตัวอักษรจีนแบบเก่าโดยสิ้นเชิง ข้อด้อยที่เคยมี แต่เดิมกลับกลายเป็นจุดแข็งของตัวอักษรจีนและเปิดทางสายใหม่ของการสื่อสารผ่านตัวอักษรอย่างไม่น่าเชื่ออักษรรูปเสียงประสาน 形声字 (Xíngshēng zì) กลายเป็นตัวอักษรที่มีเสถียรภาพมากที่สุดของจีน โดยมีทั้งรูป เสียง และความหมายครบสมบูรณ์ ในขณะที่形声(Xíngshēng) กลายเป็นกลวิธีการประดิษฐ์ตัวอักษรที่นิยมใช้มากที่สุด

เรื่อยมา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในแง่นี้ทำให้ตัวอักษรจีนทันสมัย มีความเป็นสากลมากยิ่งขึ้นตอบสนองต่อการใช้งาน อีกทั้งยังสามารถสร้างตัวอักษรได้เป็นจำนวนมากโดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนรูปตัวอักษรเดิม เพิ่มประสิทธิภาพในการประดิษฐ์ตัวอักษร การสร้างตัวอักษรแบบ 形声(Xíngshēng) นี้ นับเป็นช่วงสุกงอมของการพัฒนาตัวอักษรจีนและภาษาจีนจนทำให้ตัวอักษรที่ประดิษฐ์ด้วยวิธี 形声(Xíngshēng) นี้ มีจำนวนมากถึง 7,697 ตัวอักษรจาก 9,353 ตัว คิดเป็นร้อยละ 82.315(马景仑, 2002 : 23 ; 严文明, 2006 : 327) ด้วยเหตุนี้อาจกล่าวได้ว่า กลวิธีประดิษฐ์ตัวอักษรแบบ 形声(Xíngshēng) หรือรูปเสียงประสานนี้ ทำให้ตัวอักษรจีนเพิ่มมากขึ้นจนเพียงพอที่จะใช้สื่อสารความหมายทั้งรูปธรรมและนามธรรม

อักษรจีน  :  การเปลี่ยนแปลงหรือการหนีตาย

แบบแผนหลักการที่แสดงผ่านกลวิธีการประดิษฐ์ตัวอักษรจีนทั้ง 4 ประเภทดังที่ได้กล่าวในข้างต้นนั้นสะท้อนให้เห็นความวิริยะอุตสาหะในการเพียรพยายามสร้างสรรค์ อักษรเขียนให้บังเกิดขึ้นเพื่อสนองความต้องการในการสื่อสารของมนุษย์ยุคบุกเบิกตัวอักษรได้เป็นอย่างดี ด้วยวิธีการประดิษฐ์ตัวอักษรทั้ง 4 ประเภท อันได้แก่ ลอกเลียนรูป(象形,Xiàngxíng), บ่งชี้ความ(指事.Zhǐshì), ผสานความ(会意,Huìyì)  และรูปเสียงประสาน (形声,Xíngshēng) นั้น ทำให้จีนมีตัวอักษรเพียงพอต่อการถ่ายทอดทุกความรู้สึกนึกคิดและทุกเรื่องราวในชีวิตที่ปรารถน่าจะสื่อความ(严文明, 2006 : 326) ตัวอักษรทั้ง 4 ประเภท เป็นจุดตั้งต้นต่อเนื่องในการสร้างสรรค์ตัวอักษรรูปแบบใหม่ ๆ ในแต่ละช่วงเวลา กว่าจะสัมฤทธิ์ผลเป็นที่ประจักษ์และใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพจนทุกวันนี้ต้องผ่านการสั่งสมเก็บเกี่ยวประสบการณ์เพื่อแก้ไขเปลี่ยนปรับเพิ่มเติมลดทอนให้ได้ตัวอักษรที่สมบูรณ์เหมาะสมกับผู้ใช้ เวลาอันยาวนาน ขั้นตอนที่หลากหลายกับตัวอักษรที่เป็นผลมาจากกลวิธีการประดิษฐ์ตัวอักษรทั้ง 4 แบบ ภายใต้กระบวนการสื่อสารและผสานความหมายผ่านอักษรที่ตั้งต้นด้วยการเลียนธรรมชาติเหล่านั้น มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลงไปบ้าง และการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นเป็นไปอย่างมีระบบระเบียบ มีแบบแผนและเป้าหมายที่ชัดเจน หรือเป็นเพียงแค่การเปลี่ยนแปลงเพื่อหาทางรอดเฉพาะหน้าเฉกเช่นเดียวกับการ “ หนีตาย ”  เท่านั้นภายใต้กระบวนการสื่อสารและผสานความหมายผ่านอักษรที่ตั้งต้นด้วยการเลียนธรรมชาติจนกลายเป็นตัวอักษรเขียนที่มีเสถียรภาพในปัจจุบันนี้ ตัวอักษรจีนแต่ละตัวมีวิวัฒนาการรูปวิธีเขียนหลายต่อหลายครั้งตามยุคสมัยที่เปลี่ยนผ่าน รูปแบบการเขียนที่พัฒนาแตกต่างกันไปตามช่วงเวลานี้ทำให้ตัวอักษรจีนปรากฏรูปลักษณะที่แตกต่างกันหลากหลาย เกิดเป็นตัวอักษรจีน 7 แบบ(汉字七体, Hànzì qī tǐ)ที่สะท้อนความเป็นไปของตัวอักษรจีนในแต่ละช่วงเวลาอย่างเป็นรูปธรรม รูปลักษณะตัวอักษรจีน 7 แบบ

ที่กล่าวถึงนี้ ประกอบด้วย 甲骨文(Jiǎgǔwén), 金文(Jīn wén) ,小篆(Xiǎozhuàn),隶书(Lìshū), 楷书(Kǎishū), 草书(Cǎoshū)และ行书(Xíngshū)

 

 

 

ตารางข้างต้นนั้น แม้มองเพียงผิวเผินก็คงสังเกตเห็นว่า มีรูปแบบตัวอักษรที่แตกต่างกันใน 2 ลักษณะชัดเจน คือลักษณะที่เสมือนภาพวาดูและลักษณะที่เป็นเส้นขีดสัญลักษณ์  และนั่นสอดคล้องกับการแบ่งรูปลักษณะของตัวอักษรจีนออกเป็น 2 ยุคตามการพัฒนารูปร่างการเขียนตัวอักษรจีน อันได้แก่ ยุคโบราณและยุคปัจจุบัน โดย 甲骨文(Jiǎgǔwén), 金文(Jīn wén) และ小篆 (Xiǎozhuàn)เป็นรูปแบบตัวอักษรในช่วงยุคโบราณ ส่วน 隶书(Lìshū), 楷书(Kǎishū), 草书(Cǎoshū) และ行书 (Xíngshū) นั้นจัดเป็นตัวอักษรในช่วงยุคปัจจุบัน (王秀荣,2013 : 100 - 112) ฉะนั้น 隶书(Lìshū)จึงเปรียบเสมือนประตูบานสำคัญที่แง้มเปิดเข้าสู่ยุคตัวอักษรเขียนปัจจุบัน เป็นจุดพลิกเปลี่ยนลักษณะรูปร่างของตัวอักษรจากรูปวาดมาสู่เส้นขีดสัญลักษณ์  ซึ่งวิวัฒนาการตลอดเส้นทางในด้านรูปแบบการเขียนและรูปลักษณะของตัวอักษรจีนนั้น สอดคล้องกับที่邵敬敏(2007 : 75) ได้ให้ความเห็นไว้ว่า เป็นไปในลักษณะที่เปลี่ยนจากยากเป็นง่าย เปลี่ยนจากซับซ้อนมากเป็นซับซ้อนน้อย เปลี่ยนจากรูปธรรมเป็นนามธรรม เปลี่ยนจากเส้นโค้งคดงอเป็นเส้นตรงหักมุม และเปลี่ยนจากการวาดภาพเป็นการใช้สัญลักษณ์เส้นขีด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เกิดขึ้นก็เพื่อตอบสนองต่อการเขียนที่สะดวกรวดเร็วในการใช้งานจริงตอบสนองต่อเทคโนโลยีการพิมพ์  และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้เขียนนั่นเอง

จากตารางแสดงรูปลักษณะตัวอักษรจีนทั้ง 7 แบบ แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดว่ารูปลักษณะตัวอักษรที่เรียกว่า 甲骨文 (Jiǎgǔwén) และ金文 (Jīn wén) นั้น มีลักษณะคล้ายจริงและมีความเป็นรูปภาพสูงมาก ตัวอักษรพยายามวาดลอกเลียนสิ่งที่ตาเห็นให้ออกมาเสมือนจริงมากที่สุด มักพบว่า 甲骨文i(Jiǎgǔwén) และ金文i(Jīn wén) นั้นมีความเป็นเอกภาพทางตัวอักษรน้อย ตัวอักษรอาจหันหัวไปคนละทาง ทิศทางมุมมอง การนำเสนออาจแตกต่าง จำนวน ลักษณะ รายละเอียดปลีกย่อยู่ในตัวอักษรไม่มีการกำหนดแบบแผนชัดเจน อาจต่างกันโดยสิ้นเชิง ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้เขียน(王秀荣,2013 : 104) เราจึงพบตัวอักษรเดียวกันที่มีวิธีการเขียนและรูปลักษณ์แตกต่างกันเป็นจำนวนมาก เช่น ตัวอักษร 象 (Xiàng) ที่แปลว่า ช้าง ขาของตัวหนึ่งอาจไปด้านซ้ายขาของอีกตัวหนึ่งไปด้านขวา เช่น หรือตัวอักษร 车 (Chē )ที่แปลว่า รถ อาจมีล้อ 2 ล้อหรือ 3 ล้อหรืออาจจะวาดที่นั่งหรือไม่ก็แล้วแต่เช่น บ้างก็มีมุมมองการนำเสนอต่อตัวอักษรที่แตกต่าง อาจนำเสนอ

จำกัดด้านข้าง หรือจำกัด้านบน เช่น ตัวอักษร 龟 (Guī) ที่แปลว่า เต่า ตัวอักษร果 (Guǒ) ที่แปลว่า ผล ลักษณะเหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องยืนยันได้ดีว่า ประสบการณ์ ที่แตกต่างจะส่งผลต่อมุมมองรวมทั้งการนำเสนอที่แตกต่างตามไปด้วย ดังที่严文明 (2006 : 324) ได้เคยกล่าวไว้ ดังนั้นเพื่อถ่ายทอดความเหมือน รูปลักษณะตัวอักษร 甲骨文 (Jiǎgǔwén)และ金文 (Jīn wén) นี้ จึงไม่คำนึงถึงความซับซ้อนของตัวอักษรว่าจะมากเพียงใด สำคัญเพียงแค่สามารถสื่อสารความหมายโดยลอกเลียนหรือดึงจุดเด่นที่ชัดเจนออกมาได้ก็เพียงพอแล้ว จากตัวอักษรที่มีลักษณะลอกเลียนเสมือนจริงอย่าง甲骨文 (Jiǎgǔwén) และ金文(Jīn wén) มีการพยายามทำให้ตัวอักษรรูปวาดนี้มีความเป็นตัวอักษรมากยิ่งขึ้นและซับซ้อนน้อยลงโดยใช้การวาดเส้นแทนการวาดรูป ตัวอักษรถูกพัฒนารูปร่างในการเขียนจนกลายมาเป็นรูปแบบตัวอักษรแบบ 小篆(Xiǎozhuàn) ซึ่งมีลักษณะเป็นการประกอบขึ้นของเส้นโค้งหลายเส้นมากกว่าที่จะเป็นรูปวาด ความเป็นภาพวาดที่แต่เดิมเคยมีใน 甲骨文(Jiǎgǔwén) และ金文(Jīn wén) จึงลดน้อยลงและมีความเป็นสัญลักษณ์มากยิ่งขึ้น หากเทียบกับตัวอักษร 甲骨文(Jiǎgǔwén) และ金文(Jīn wén) แล้ว ตัวอักษรแบบ 小篆(Xiǎozhuàn) นี้ จะมีขนาดูและโครงสร้างของตัวอักษรที่แน่นอน คือเป็นโครงสร้างแบบผอมสูง เป็นระเบียบสม่ำเสมอ และประกอบด้วยเส้นโค้งมนที่มีขนาดูและความหนาบางเท่า ๆ กันมากกว่า ความแตกต่างหรือการเขียนอย่างใจผู้เขียนก็ลดความหลากหลายลง มีความเป็นเอกภาพและมีแบบแผนของตัวอักษรเพิ่มสูงขึ้น (赵学清、张喆 , 2011 : 44) เช่นจากตัวอย่างดังกล่าว หากสังเกตให้ดีจะพบว่าจุดเด่นสำคัญของอักษร 小篆(Xiǎozhuàn) นี้ก็คือลักษณะเส้นที่โค้งมนและรูปแบบโครงสร้างที่ผอมสูงนั่นเอง เส้นที่โค้งมนนั้นให้ความรู้สึกอ่อนโยนไม่แข็งกระด้าง อ่อนช้อยและงดงาม แต่ในแง่การเขียนและการใช้งาน เส้นโค้งเหล่านี้ใช้เวลาในการเขียนมากกว่าเส้นตรง และสิ้นเปลืองเวลามากกว่าเส้นหักมุม แม้จะหลุดจากความเป็นรูปภาพเสมือนที่ซับซ้อน แต่เส้นโค้งที่เป็นองค์ประกอบหลักของตัวอักษรเหล่านี้ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้ตัวอักษร 小篆(Xiǎozhuàn) นั้นยังคงความยากในการเขียน (赵学清、张喆,2011 : 44) ตัวอักษร 隶书(Lìshū) จึงเกิดขึ้นจากการยืดเส้นโค้งมนในตัวอักษร 小篆(Xiǎozhuàn) ให้เป็นเส้นตรง ปรับส่วนโค้งของเส้นเป็นการหักมุม (王秀荣,2013 : 108 - 109) การเกิดขึ้นของตัวอักษร 隶书(Lìshū) จึงถือเป็นการเกิดเส้นตรงและการหักมุมขึ้นในตัวอักษรจีนด้วยเช่นกัน ทั้งนี้รวมถึงการเป็นจุดกำเนิดของเส้นขีดพื้นฐานต่าง ๆ อันเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาจนกระทั่งเป็นเส้นขีดที่สมบูรณ์ในตัวอักษรยุคปัจจุบันนี้ กล่าวได้ว่า การลดทอนปรับเปลี่ยนจำนวนและลักษณะเส้นขีดในตัวอักษรดั้งเดิมให้ลดจำนวนและความซับซ้อนลงนั้น ทำให้隶书(Lìshū) เป็นตัวอักษรที่เขียนง่ายและหลุดพ้นจากรูปแบบโครงสร้างดั้งเดิมของการเป็นอักษรเสมือนลอกเลียนรูปแบบ 象形字 (Xiàngxíng zì) อย่างสิ้นเชิง นับเป็นขั้นตอนสำคัญที่เปลี่ยนรูปลักษณะการเขียนไปอย่างไม่เหลือเค้าความเดิมที่แต่เดิมสามารถมองออกเดาได้ กลายเป็นสัญลักษณ์เครื่องหมายที่เป็นตัวอักษรอย่างแท้จริงและไม่ใช่รูปภาพอีกต่อไป นับเป็นการเปิดประตูเข้าสู่ยุคตัวอักษรปัจจุบันตั้งแต่นั้น  เป็นต้นมา แต่ถึงกระนั้นโครงสร้างแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้ารูปทรงเตี้ยป้านของ 隶书(Lìshū) ที่แม้จะสร้างระบบพื้นฐานแบบตัวอักษรปัจจุบันขึ้นมาแล้ว แต่การเน้นความประณีตบรรจงในการเขียนเส้นขีดตรงให้มีลักษณะเคลื่อนไหวเป็นลอนคลื่น ความละเมียดละไมและมองตัวอักษรเป็นเครื่องวัดคุณค่าความงามทางศิลปะนี้ เป็นจุดที่ทำให้隶书(Lìshū) ตอบสนองต่อการใช้งานเพื่อการสื่อสารได้ไม่เต็มที่อุปสรรคข้อนี้ทำให้เกิดตัวอักษร 楷书(Kǎishū) ที่พัฒนาโครงสร้างแบบสี่เหลี่ยมแบนป้านของ 隶书(Lìshū)ให้เป็นโครงสร้างแบบสี่เหลี่ยมจตุรัส เปลี่ยนลักษณะเส้นที่เป็นคลื่นลอนมีลักษณะเคลื่อนไหวให้เป็นเส้นตรงเรียบ (王秀荣,2013 : 111) เกิดเป็นเส้นขีดมาตรฐานที่ใช้ประกอบเป็นตัวอักษรจีนที่สมบูรณ์แบบที่สุด รูปแบบตัวอักษรแบบ 楷书(Kǎishū)ได้รับความนิยมและกลายเป็นตัวอักษรต้นแบบที่ยึดถือเป็นแบบแผนว่าเป็นตัวอักษรที่สมบูรณ์ที่สุดมาโดยตลอดจวบจนกระทั่งทุกวันนี้ เนื่องด้วยเส้นขีดูและวิธีการเขียนที่สมบูรณ์  มีหลักเกณฑ์ชัดเจน ส่งผลให้มีความสะดวกและรวดเร็วในการเขียน (赵学清、张喆,2011 : 52) ทั้งนี้ เมื่อเวลาเปลี่ยนผ่านไป เริ่มเกิดการเขียนที่เชื่อมเส้นต่อเส้นเข้าด้วยกัน เพื่อประหยัดเวลาในการเขียน ทำให้เขียนได้เร็วขึ้น ดังเช่นตัวอักษร 草书(Cǎoshū) ที่เริ่มแรกเกิดจากการเชื่อมเส้นขีดต่อเส้นขีดในอักษร 隶书(Lìshū) ตัวอักษร 草书(Cǎoshū)ในระยะเริ่มแรกจึงยังค่อนข้างชัดเจนและอ่านได้ง่ายเพราะโครงสร้างของตัวอักษรแต่ละตัวยังแยกออกจากกัน จนเมื่อพัฒนาเชื่อมโยงเส้นขีด

ในตัวอักษร 楷书(Kǎishū) ที่นอกจากเชื่อมเส้นต่อเส้นแล้ว ยังเชื่อมตัวอักษรต่อตัวอักษรเข้าด้วยกัน 草书(Cǎoshū) ในระยะหลังจึงเริ่มอ่านยาก เพราะย่นย่อเส้นหลายสิบเส้นให้เหลือเพียงสองหรือสามเส้น จนกระทั่งสามารถเขียนตัวอักษรหนึ่งตัวสำเร็จด้วยเส้นเพียงเส้นเดียวได้ ประโยชน์ในแง่การเป็นเครื่องมือสื่อสารของตัวอักษร 草书(Cǎoshū) นี้จึงค่อนข้างน้อยเพราะเข้าทำนองเขียนง่ายแต่อ่านยาก แต่กลับมีคุณค่าในด้านศิลปะสูงตรงกันข้ามกับตัวอักษร 行书(Xíngshū) ซึ่งเป็นตัวอักษรที่ผสมผสานข้อดีของ 楷书 (Kǎishū)และ草书(Cǎoshū)เข้าด้วยกัน ระหว่างเส้นขีดที่ชัดเจนได้มาตรฐานโครงสร้างสี่เหลี่ยจัตุรัสเป็นระเบียบอย่าง楷书(Kǎishū) กับการเขียนอักษรรูปแบบหวัดเร็วลดทอนและเชื่อมต่อเส้นต่อเส้นของ 草书(Cǎoshū)เกิดเป็นตัวอักษรรูปลักษณะใหม่ที่แม้เส้นขีดในตัวอักษรจะเชื่อมต่อกัน แต่โครงสร้างของตัวอักษรยังชัดเจนอ่านง่าย

สังเกตได้ว่า วิวัฒนาการของตัวอักษรจีนในแต่ละช่วงเวลาที่ได้เปลี่ยนแปลงมาอย่างต่อเนื่องนั้น เป็นไปเพื่อจุดประสงค์ที่เด่นชัดยิ่ง นั่นคือการทำให้ตัวอักษรจีนที่เคยมีมาแต่เดิม  “ ซับซ้อนน้อยลง ”  หรือ “ง่ายขึ้น ”  นั่นเอง เรามองเห็นการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ในแง่กลวิธีการประดิษฐ์ตัวอักษรที่พยายามนำเสียงเข้ามาเป็นองค์ประกอบในการสร้างตัวอักษรใหม่แทนการสื่อความหมายผ่านรูปอักษร เปลี่ยนการสื่อสารผ่านรูปภาพให้เป็นการสื่อสารผ่านสัญลักษณ์  เปลี่ยนแปลงโครงสร้าง เส้นขีดูและวิธีการเขียนด้วยการลดทอนจำนวนเส้นขีดให้น้อยลง ดึงเส้นโค้งให้เป็นเส้นตรง เปลี่ยนเส้นโค้งให้เป็นเส้นหักมุม กล่าวได้ว่าการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้เป็นไปใน 2 ลักษณะ คือลดจำนวนเส้น และทำเส้นให้เขียนง่ายขึ้น (张静贤, 2004 : 6 -10) ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงในหลากหลายลักษณะเหล่านี้ต่างล้วนมุ่งไปเพื่อทำให้ตัวอักษรจีนใช้งานได้สะดวก เร็วง่าย และสื่อสารชัดเจน ตอบสนองต่อการสื่อสาร ตอบสนองต่อเทคโนโลยีการพิมพ์  และตอบสนองต่อเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ ในการเขียน รวมทั้งตอบสนองต่อเหตุผลทางการปกครอง(邵敬敏, 2007 : 75) ซึ่งจากวิวัฒนาการของตัวอักษรจีนตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้น 张静贤(2004 : 6 - 10) ได้สรุปลักษณะการเปลี่ยนแปลงรอบด้านจากอดีตจนถึงปัจจุบันเหล่านี้ออกเป็น 3 ช่วงเวลา ได้แก่ช่วงที่ 1 ตัวอักษรรูปภาพ(图形化, Túxíng huà) ได้แก่ ตัวอักษรในช่วง甲骨文(Jiǎgǔwén) และ金文(Jīn wén)เป็นตัวอักษรในยุคบุกเบิกตัวอักษรมีลักษณะเหมือนภาพวาด การเขียนตัวอักษรเหมือนการวาดรูป มีความเสมือนจริงชัดเจนแต่ความเป็นมาตรฐานของตัวอักษรน้อย ไม่มีหลักเกณฑ์แบบแผนใด ๆ ในการเขียน ไม่ว่าจะเป็นขนาด หรือรูปลักษณะ ตัวอักษรมีความซับซ้อนสูง ไม่สะดวกในการเขียน สิ้นเปลืองเวลา เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้จารึกตัวอักษร คือมีด กระดองเต่า กระดูกสัตว์  เครื่องสัมฤทธิ์ ช่วงที่ 2 ตัวอักษรประกอบด้วยเส้นวาด(线条化) จากรูปวาดเสมือนจริงในช่วงเวลาแรก ตัวอักษรจีนลดทอนจำนวนเส้นขีดให้น้อยลง ลัดขั้นตอนการวาด ลดความยาวของเส้นให้สั้นลง ปรับส่วนโค้งส่วนงอให้ตรงมากขึ้น เพื่อประหยัดเวลาในการเขียนให้สะดวกและเร็วขึ้น ตัวอักษรเริ่มพ้นจากการเป็นรูปภาพ และมีขนาดเล็กใหญ่เท่ากันสม่ำเสมอ เป็นระเบียบ แต่เส้นในตัวอักษรก็ยังมีความโค้งงอคดเคี้ยว และยังคงเขียนยากอยู่อุปกรณ์การเขียนเปลี่ยนจากมีดเป็นพู่กัน จากกระดูกสัตว์และกระดองเต่าถูกแทนที่ด้วยแผ่นไม้ แผ่นไม้ไผ่ ตัวอย่างของตัวอักษรนี้ คือตัวอักษร 小篆(Xiǎozhuàn)ช่วงที่ 3 ตัวอักษรประกอบด้วยเส้นขีด(笔画化, Bǐhuà huà) ตัวอักษรในช่วงที่ 3 ของการเปลี่ยนแปลงมีโครงสร้างที่เป็นสี่เหลี่ยมชัดเจน หลุดพ้นจากการเป็นอักษรรูปภาพโดยสมบูรณ์  เส้นโค้งมีการยืดดึงเป็นเส้นตรง ส่วนโค้งเปลี่ยนเป็นการหักมุมและมีเส้นขีดมาตรฐานเกิดขึ้นหลากหลายรูปแบบรองรับการประกอบขึ้นเป็นตัวอักษรจีนตัวอย่างตัวอักษรในช่วงนี้ ได้แก่ 隶书(Lìshū) ที่เขียนง่ายกว่า 小篆(Xiǎozhuàn)และเมื่อเชื่อมเส้นต่อเส้นเพื่อย่นย่อเวลาเขียนให้เร็วขึ้นก็จะเป็นตัวอักษรแบบหวัด草书(Cǎoshū) หรือตัวอักษร 楷书(Kǎishū) ซึ่งไม่หลงเหลือความเป็นรูปภาพใด ๆบนตัวอักษรอีกต่อไป ความโค้งมนที่เคยมีก็หายไป เป็นตัวอักษรที่ได้รับความนิยมในการใช้ตลอด 2,000 ปีที่ผ่านมา หรือตัวอักษร 行书(Xíngshū) ซึ่งมีลักษณะคาบเกี่ยวอยู่ระหว่างอักษร 楷书(Kǎishū) กับ 草书(Cǎoshū) ซึ่งเขียนได้เร็วและอ่านได้ง่ายอุปกรณ์การเขียนพัฒนาเป็น พู่กัน กระดาษ หมึก อาศัยความอ่อนนุ่มสปริงตัวของพู่กันเป็นตัวช่วยในการเขียน แม้ตัวอักษรจีนจะผ่านการพัฒนาเปลี่ยนแปลงมานับครั้งไม่ถ้วนจนกลายเป็นตัวอักษรที่สมบูรณ์ในการสื่อความหมาย แต่จีนกลับไม่เคยหยุดนิ่งที่จะพัฒนาตัวอักษรประจำชาติของตน ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบสังคมนิยม ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนก็ได้ปฏิวัติวัฒนธรรมรวมทั้งตัวอักษรอีกหลายต่อหลายครั้ง หนึ่งในนั้นคือการสร้างอักษรจีนตัวย่อขึ้นแทนอักษรจีนตัวเต็มทุกการเปลี่ยนแปลงของตัวอักษรจีนที่เกิดขึ้น ล้วนมีหลักการมีแบบแผน และมีเป้าหมายการปรับลดทอนเส้นขีดูและโครงสร้างตัวอักษร ทุกการเปลี่ยนแปลงล้วนต่อเนื่องยาวนานและบังเกิดผลสัมฤทธิ์ที่ยิ่งใหญ่ ทั้งยังเป็นฐานให้กับการเปลี่ยนแปลงในครั้งต่อ ๆ ไปการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ใช่เพียงแค่การเอาตัวรอด  “ หนีตาย ”  เฉพาะหน้านี้เป็นมาอย่างมั่นคงแข็งแรงจนทำให้ตัวอักษรจีนเป็นตัวอักษรที่มีระบบแบบแผน เก่าแก่แต่ยังมีชีวิตตราบจนถึงทุกวันนี้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

error: Content is protected !!