เพ็งอิมและการออกเสียงแต้จิ๋ว 潮语拼音

เสียงวรรณยุกต์

 

 

เลข ระดับเสียง เทียบ

วรรณยุกต์ไทย

แปรเสียงเป็น ตัวอย่าง
1 กลางเรียบ ˧ (3) สามัญ 1 (ไม่เปลี่ยน) 分 = hung1 = ฮุง 刀 = do1 = ตอ
2 สูงไปต่ำ ˥˨ (52) โท 6 粉 = hung2 = ฮุ่ง 短 = do2 = ต้อ
3 ต่ำไม่เรียบ ˨˩˧ (213) เอก 5 หรือ 2 训/訓 = hung3 = หุ่ง 倒 = do3 = ต่อ
4 ต่ำกัก ˨̚ (2) เอก 8 忽 = hug4 = หุก 桌 = doh4 = เตาะ
5 สูงเรียบ ˥ (5) ตรี 7 云/雲 = hung5 = ฮุ้ง 逃 = do5 = ต้อ
6 กลางไปสูง ˧˥ (35) จัตวา 7 混 = hung6 = หุง 在 = do6 = ต๋อ
7 ต่ำเรียบ ˩ (1) เอก 7 (ไม่เปลี่ยน) 份 = hung7 = หุ่ง 袋 = do7 = ต่อ
8 สูงกัก ˦̚ (4) ตรี 4 佛 = hug8 = ฮุก 择/擇 = doh8 = เต๊าะ

✍ในที่นี้ 4 กับ 8 เป็นเสียงกัก หรือก็หมายถึงคำตายในภาษาไทยนั่นเอง สำหรับภาษาแต้จิ๋วนั้นคำตายจะเกิดในกรณีที่เป็นตัวสะกดแม่กก และ แม่กบ ซึ่งคือตัวสะกด g และ b ในเพ็งอิม หรือกรณีเสียงสั้นไร้ตัวสะกด ซึ่งในทางภาษาศาสตร์เรียกว่า "เสียงกักเส้นเสียง" ในเพ็งอิมจะลงท้ายด้วย h

✍ส่วนเสียงวรรณยุกต์ที่เหลือคือ 1, 2, 3, 5, 6, 7 จะเกิดขึ้นกับคำเป็นเท่านั้น จึงแยกต่างหากจากเสียง 4 และ 8 ชัดเจน

✍เสียง 1 เป็นเสียงกลางๆไม่สูงไม่ต่ำ ใกล้เคียงเสียงสามัญในภาษาไทย

✍เสียง 2 เป็นเสียงที่เริ่มจากสูงแล้วลงต่ำ ใกล้เคียงเสียงโทในภาษาไทย หรือเสียง 4 ในจีนกลาง

✍เสียง 5 เป็นเสียงสูง ใกล้เคียงกับเสียงตรีในภาษาไทย

✍เสียง 6 เป็นเสียงที่เริ่มจากต่ำแล้วค่อยๆขึ้นสูง ใกล้เคียงกับเสียงจัตวาในภาษาไทย หรือเสียง 2 ในจีนกลาง 

✍เสียง 4 กับ 8 เป็นเสียงกักทั้งคู่แต่ต่างกันตรงที่เสียง 4 ต่ำกว่าเสียง 8 เสียง 4 จึงใกล้เคียงกับเสียงเอกในภาษาไทย ส่วนเสียง 8 ใกล้เคียงกับเสียงตรี 

✍เสียง 3 กับ 7 โดยพื้นฐานแล้วเป็นต่ำ คล้ายเสียงวรรณยุกต์เอกในภาษาไทย แต่เสียง 7 เป็นต่ำแบบเรียบๆ ส่วน 3 เสียงจะมีกดลงต่ำตรงกลางและยกสูงขึ้นอีกทีตอนท้าย แต่ความแตกต่างค่อนข้างน้อย คนไทยจะฟังแล้วได้ยินเป็นเสียงเอกเหมือนกัน

✍แต่ข้อแตกต่างระหว่างเสียง 3 และ 7 จะชัดเจนเมื่อนำหน้าคำอื่น โดยเสียง 3 จะเปลี่ยนเป็นเสียง 5 (เสียงตรี) หรือเสียง 2 (เสียงโท) แต่เสียง 7 จะไม่เปลี่ยนเสียง ยังคงเป็นเสียงเอก

✍เสียง 3 จะเปลี่ยนไปเป็นเสียง 5 หรือ 2 ขึ้นอยู่กับสำเนียง แต่สำเนียงมาตรฐานซัวเถาจะใช้เสียง 5

✍เสียง 2 จะเปลี่ยนเป็นเสียง 5 ส่วนเสียง 5 และ 6 จะเปลี่ยนเป็นเสียง 7 

✍ เสียง 1 และเสียง 7 จะไม่มีการเปลี่ยนเสียงไม่ว่าอยู่ตรงไหนของคำ

การเปลี่ยนไปมาของเสียงอาจสรุปได้ดังนี้

 

⚡เสียงสามัญจะไม่มีการเปลี่ยนเสียง 

⚡เสียงโทจะเปลี่ยนเป็นเสียงจัตวา

⚡เสียงตรี (ทั้งเสียง 5 และ 8) และจัตวาจะเปลี่ยนเป็นเสียงเอก

⚡เสียงเอกจะยุ่งยากที่สุด เพราะมีอยู่สามเสียงคือ 3, 4, 7 ถ้าหากเป็น 3 หรือ 4 ให้เปลี่ยนเป็นเสียงตรี (ยกเว้นบางสำเนียง 3 เปลี่ยนเป็น 2 เสียงโท) 

⚡ 7 ให้คงเสียงเอกไว้

 

ขอยกตัวอย่างการเปลี่ยนเสียงด้วยคำว่า 牛肉丸粿条 "ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นเนื้อวัว"

อักษร 牛 "วัว"
เพ็งอิมเป็น ghu5 อ่านว่า "งู้"

แต่รวมกับ 肉 กลายเป็น 牛肉 "เนื้อวัว"
เพ็งอิมเป็น ghu5 nêg8 แต่เสียงที่อ่านจริงจะเป็น ghu7 nêg8 "หงู่เน็ก"

พอรวมกับ 丸 กลายเป็น 牛肉丸 "ลูกชิ้นเนื้อวัว"
เพ็งอิมเป็น ghu5 nêg8 in5 แต่เสียงที่อ่านจริงเป็น ghu7 nêg4 in5 "หงู่เหน็กอี๊"


คำว่า 粿条 ที่หมายถึง "ก๋วยเตี๋ยว"
เขียนเพ็งอิมว่า guê2 diao5 แต่อ่านจริงเป็นเสียง guê6 diao5 "ก๋วยเตี๊ยว"

ดังนั้นรวมแล้วคำว่า 牛肉丸粿条 "ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นเนื้อวัว"
เขียนเพ็งอิมเป็น ghu5 nêg8 in5 guê2 diao5
แต่อ่านจริงๆเป็น ghu7 nêg4 in7 guê6 diao5 "หงู่เหน็กอี่ก๋วยเตี๊ยว"

จะเห็นว่าทุกตัวนอกจากตัวแรกเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ไปหมด เพราะแต่ละตัวขยายตัวที่อยู่ข้างหลัง

เสียงพยัญชนะ

b 👉ปอ

p 👉พอ

bh 👉บอ

m 👉 มอ

d 👉ตอ

t 👉ทอ

n👉 นอ

l 👉ลอ

z 👉จอ

c 👉ชอ 

s 👉ซอ 

r 👉ยอ

g👉 ก

k 👉ค

gh 👉 งห์ 

ng 👉 ง

h 👉 ฮ

 

เสียงสระ

 

สระ ตัวสะกด
- แม่กม

[m]

แม่กบ

[p̚]

แม่กง

[ŋ]

แม่กก

[k̚]

กักเส้นเสียง

[ʔ]

อา

[a]

a

อา

am

อัม

ab

อับ

ang

อัง

ag

อัก

ah

อะ

อือ

[ɯ]

e

อือ

    eng

อึง

eg

อึก

 
แอ / เอ

[e]

ê

แอ

    êng

เอ็ง

êg

เอ็ก

êh

แอะ

อี

[i]

i

อี

im

อิม

ib

อิบ

ing

อิง

ig

อิก

ih

อิ

ออ / โอ

[o]

o

ออ

    ong

อง

og

อก

oh

เอาะ

อู

[u]

u

อู

    ung

อุง

ug

อุก

uh

อุ

ไอ

[ai]

ai

ไอ

         
เอา

[au]

au

เอา

        auh

เอา (อะว์)

เอีย
(อี^อา)

[ia]

ia

เอีย (อี^อา)

iam

เอียม

iab

เอียบ

iang

เอียง

iag

เอียก

iah

เอียะ
(อี^อะ)

เอีย
(อี^ออ)

[io]

io

เอีย (อี^ออ)

    iong

ยง

iog

ยก

ioh

เอียะ
(อี^เอาะ)

อิว

[iu]

iu

อิว

         
โอย

[oi]

oi

โอย

        oih

โอย (โอะย์)

โอว

[ou]

ou

โอว

         
อัว

[ua]

ua

อัว

uam

อวม

uab

อวบ

uang

อวง

uag

อวก

uah

อัวะ

อวย
(อู^เอ)

[ue]

อวย

        uêh

เอวะ

อุย

[ui]

ui

อุย

         
เอียว

[iau]

iao

เอียว

         
เอียว

[iou]

iou

เอียว

         
ไอว

[uai]

uai

ไอว

         
ไร้สระ   m

อึม

  ng

อึง

   

 

สระเดี่ยว

 

มีทั้งหมด ๖ สระ ซึ่งส่วนใหญ่ใกล้เคียงกับภาษาไทยมาก สามารถแทนแต่ละสระด้วยสระในภาษาไทยดังนี้

 

a อา 鸦/鴉 = a1 = อา

饱/飽 = ba2 = ป้า

炒 = ca2 = ช่า

e อือ 余 = e2 = อื้อ

你 = le2 = ลื่อ

巨 = ge6 =กื๋อ

ê แอ 些 = sê1 = แซ

帕 = pê3 = แผ่

架 = gê3 = แก่

i อี 意 = i3 = อี่

丕 = pi2 = พี่

义/義 = ngi6 = หงี

o ออ 奥/奧 = o3 = อ่อ

退 = to3 = ถ่อ 

所 = so5 = ซ่อ

u อู 污/汙 = u1 = อู

虏/虜= lu2 = ลู่

付 = hu3 = หู่

 

ที่ควรระวังคือ e กับ ê เป็นคนละสระกัน โดย e เฉยๆจะแทนสระอือ แต่ถ้ามี ˆ อยู่ด้านบนเป็น ê จะแทนสระแอ

 

สระประสมสองเสียง

 

สระประสมมีอยู่มากมายในภาษาแต้จิ๋ว ส่วนใหญ่จะมีในภาษาไทย แต่ก็มีบางส่วนที่ไม่มีในภาษาไทยจึงได้แค่แทนด้วยเสียงที่ใกล้เคียง

 

ai ไอ 哀 = ai1 = ไอ

眉 = bhai5 = ไบ๊

再 = zai3 = ไจ่

ao เอา 呕/嘔 = ao2 = เอ้า

卯 = bhao2 = เบ้า

投 = dao5 = เต๊า

ia เอีย (อี^อา) 也 = ia7 = เอี่ย (อี^อ่า)

雅 = ngia2 = เงี่ย (งี^อ้า)

者 = zia2 = เจี้ย (จี^อ้า)

io เอีย (อี^ออ) 姚 = io5 = เอี๊ย (อี^อ๊อ)

庙/廟 = bhio7 = เบี่ย (บี^อ่อ)

桥/橋 = gio5 = เกี๊ย (กี^อ๊อ)

iu อิว 佑 = iu6 = อิ๋ว

手 = ciu2 = ชิ่ว

球 = giu5 = กิ๊ว

oi โอย 鞋 = oi5 = โอ๊ย

改 = goi2 = โก้ย

蟹 = hoi6 = โหย

ou โอว 湖 = ou5 = โอ๊ว

路 = lou7 = โหล่ว

雨 = hou6 = โหว

ua อัว 我 = ua2 = อั้ว

麻 = mua5 = มั้ว

沙 = sua1 = ซัว

อวย 卫/衛 = uê6 = อ๋วย

尾 = bhuê2 = บ้วย

最 = zuê3 = จ่วย

ui อุย 为/為 = ui5 = อุ๊ย

唯 = rui5 = ยุ้ย

隧 = sui7 = สุ่ย

 

แต้จิ๋วปกติจะไม่แยกแยะเสียงสั้นและยาว เสียง ai ที่จริงเสียงค่อนข้างยาว อาจเขียนเป็น "อาย" ก็ได้ แต่เนื่องจากส่วนใหญ่คนนิยมเขียนเป็น "ไอ" มากกว่า ในที่นี้จึงเลือกเขียนเป็น "ไอ"

 

เสียง ia กับ io มักถูกเขียนแทนด้วยสระเอีย แต่ทั้งสองเสียงไม่ได้ตรงกับสระเอียซะทีเดียว

 

ia คือสระอีต่อด้วยสระอา ใกล้เคียงกับสระเอีย แต่สระอาด้านหลังลากเสียงยาวกว่า

 

io คือสระอีต่อด้วยสระออ ที่จริงไม่ได้ใกล้เคียงกับสระเอียมาก แต่ไม่มีสระในภาษาไทยที่แทนได้ใกล้เคียงจริงๆอยู่

 

กรณีทับศัพท์ทั่วไปอาจเขียนเป็นสระเอียทั้งคู่ แต่เมื่อต้องการเขียนให้เห็นความต่างจะเขียนโดยแยกสระ โดยใช้ ^ เป็นตัวคั่น เป็น "อี^อา" กับ "อี^ออ"

 

กรณีที่เขียนแบบนี้ เสียงวรรณยุกต์จะใส่ไว้ที่ตัวหลัง ส่วนตัวหน้าใส่เสียงสามัญตลอด

 

ในบางสำเนียงเช่นเตี่ยอังและเถ่งไฮ่เสียง io จะถูกแทนด้วย iê (อี^เอ) 

 

ส่วน oi นั้นที่จริงแล้วเป็นเสียงค่อยข้างสั้น เป็น สระโอะ+ย โดยทั่วไปสระโอะเมื่อมีตัวสะกดจะลดรูปกลายเป็นไม่ใส่รูปสระ จึงมีบางคนเขียนเป็น "อย" เช่นเดียวกับที่ สระโอะ+น = อน แต่ว่าจริงๆ สระโอะ+ย ไม่เคยปรากฏในภาษาไทย การเขียนแบบนี้จึงยากที่คนทั่วไปจะเข้าใจ ดังนั้นในกรณีนี้จึงเขียนในรูปสระโอแทน เพราะความสั้นยาวของเสียงไม่ได้มีผลต่อความหมายของคำในภาษาแต้จิ๋ว

 

ส่วน uê นั้นจริงๆแล้วเป็นเสียง อู+เอ แต่ฟังดูแล้วจะใกล้เคียงกับเสียง "อวย" ในภาษาไทยจึงมักเขียนแบบนี้

 

สระประสมสามเสียง

 

สำหรับสระประสมสามเสียงมีอยู่แค่ ๒ แบบ ได้แก่

 

iao เอียว (อี^เอา) 夭 = iao1/iou1 = เอียว

表 = biao2/biou2 = เปี้ยว

了 = liao2/liou2 = เลี่ยว

iou เอียว (อี^โอว)
uai ไอว 挖 = uai1 = ไอว

拐 = guai2 = ไกว้

甩 = suai1 = ไซว

 

iao กับ iou เป็นคำเดียวกันในต่างสำเนียง ในสำเนียงมาตรฐานซัวเถาเองก็มีการใช้ทั้ง iao และ iou ในที่นี้จึงแสดงไว้ทั้งคู่ ความแตกต่างอยู่ที่เสียงสระตัวกลาง หากเขียนแยกจะเป็น อี^เอา กับ อี^โอว แต่ไม่ว่าจะเสียงไหนก็ใกล้เคียงกับ "เอียว" ในภาษาไทย จึงเขียนแบบนี้เหมือนกัน

 

สำหรับ uai นั้นจะคล้ายกับ uai ในจีนกลาง คือออกเสียงควบ ว

 

สระเดี่ยว+นาสิก

 

สระในกลุ่มนี้จะมีตัว n ต่อท้าย ซึ่ง n ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงตัวสะกดแม่กน เพราะในแต้จิ๋วไม่มีแม่กน แต่หมายถึงเสียงนาสิก (เสียงออกจมูก)

 

คนไทยทั่วไปจะไม่รู้จักเสียงนี้และแยกแยะไม่ออกว่ามีเสียงออกจมูกหรือไม่ ในการทับศัพท์เสียงออกจมูกนี้มักถูกละเลย เขียนเหมือนไม่มีตัว n อยู่ท้าย แต่ในการเขียนเพื่อแสดงเสียงอ่านโดยละเอียดบางคนก็เติม * หรือ น์ เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีเสียงออกจมูกอยู่

 

ในที่นี้ก็จะขอละ n ไปเลยในการทับศัพท์ทั่วไป ส่วนเวลาที่ต้องการแยกแยะเสียงจะเติม * เพื่อบอกให้รู้ว่าคำนี้มีเสียงออกจมูก

 

การมีเสียงออกจมูกไม่ได้ทำให้สระเปลี่ยนไป ดังนั้นเวลาทับศัพท์ให้ทำเหมือนกับตัด n ออกแล้วอ่านสระแบบเหมือนไม่มี n

 

an อา (อา*) 馅/餡 = an7 = อ่า (อ่า*)

怕 = pan3 = ผ่า (ผ่า*)

敢 = gan2 = ก้า (ก้า*)

ên แอ (แอ*) 楹 = ên5 = แอ๊ (แอ๊*)

梗 = gên2 = แก้ (แก้*)

青 = cên1 = แช (แช*)

in อี (อี*) 圆/圓 = in5= อี๊ (อี๊*)

鼻 = pin7 = ผี่ (ผี่*)

面/麵 = min7 = หมี่ (หมี่*)

 

สระประสมสองเสียง+นาสิก

 

ain ไอ (ไอ*) 爱/愛 = ain3 = ไอ่ (ไอ่*)
aon เอา (เอา*) 好 = haon3 = เห่า (เห่า*)
ian เอีย (เอีย*) 影 = ian2 = เอี้ย (เอี้ย*)

兄 = hian1 = เฮีย (เฮีย*)

声/聲 = sian1 = เซีย (เซีย*)

ion เอีย (อี^ออ*) 羊 = ion5 = เอี๊ย (อี^อ๊อ*)

帐/帳 = dion3 = เตี่ย (ตี^อ่อ*)

伤/傷 = sion1 = เซีย (ซี^ออ*)

iun อิว (อิว*) 幼 = iun3= อิ่ว (อิ่ว*)
oin โอย (โอย*) 闲/閑 = oin5 = โอ๊ย (โอ๊ย*)

肩 = goin1 = โกย (โกย*)

睇 = toin2 = โท่ย (โท่ย*)

oun โอว (โอว*) 虎 = houn2 = โฮ่ว (โฮ่ว*)
uan อัว (อัว*) 旱 = uan6 = อั๋ว (อั๋ว*)

半 = buan3 = ปั่ว (ปั่ว*)

欢/歡 = huan1 = ฮัว (ฮัว*)

uên อวย (อวย*) 横/橫 = huên5 = ฮ้วย (ฮ้วย*)
uin อุย (อุย*) 畏 = uin3 = อุ่ย (อุ่ย*)

 

ในบางสำเนียงเช่นเตี่ยอังและเถ่งไฮ่ ion จะออกเสียงเป็น iên

 

สระเดี่ยว+ตัวสะกด

 

แต้จิ๋วมีตัวสะกดอยู่ ๔ เสียง คือ แม่กม แม่กง แม่กบ แม่กก

 

เมื่อมีตัวสะกดเสียงสระจะกลายเป็นเสียงสั้นทั้งหมด a เป็นสระอะ i เป็นสระอิ u เป็นสระอุ

 

ส่วนเสียง ê นั้นจะซับซ้อนขึ้นหน่อย คือเมื่ออยู่เดี่ยวๆจะค่อนไปทางสระแอ แต่เมื่อมีตัวสะกดจะค่อนไปทางสระเอะ จึงอ่านเป็น "เอ็ง" "เอ็ก" 

 

เสียง o ก็มีการเปลี่ยนเสียงเช่นกัน เมื่ออยู่เดี่ยวๆจะค่อนไปทางสระออ แต่เมื่อมีตัวสะกดจะค่อนไปทางสระโอะ เป็น "อง" "อก"

 

am อัม 暗 = am3 = อั่ม

惨/慘 = cam2 = ชั่ม

憾 = ham6 = หัม

ab อับ 盒 = ab8 = อั๊บ

答 = dab4 = ตับ

峡/峽 = hab8 = ฮับ

ang อัง 宴 = ang3 = อั่ง

朗 = lang6 = หลัง

刊 = kang5 = คั้ง

ag อัก 抑 = ag4 = อัก

北 = bag4 = ปัก

贼/賊 = cag8 = ชัก

eng อึง 隐/隱 = eng2 = อึ้ง

女 = neng2 = นึ่ง

床 = ceng5 = ชึ้ง

eg อึก 乞 = keg4 = ขึก

吃 = ngeg4 = หงึก

êng เอ็ง 用 = êng7 = เอ่ง

胸 = hêng1 = เฮ็ง

令 = lêng6 = เหล็ง

êg เอ็ก 亿/億 = êg8 = เอ๊ก

击/撃 = kêg4 = เข็ก

碧 = pêg4 = เป็ก

im อิม 淫/滛 = im5 = อิ๊ม

凛/凜 = lim2= ลิ่ม

吟 = ngim5 = งิ้ม

ib อิบ 邑 = ib4 = อิบ

急 = gib4 = กิบ

入 = rib8 = ยิบ

ing อิง 引 = ing2 = อิ้ง

镇/鎮 = ding3= ติ่ง

臣 = cing5 = ชิ้ง

ig อิก 逸 = ig8 = อิ๊ก

匹 = pig4 = ผิก

乜 = mig4 = หมิก

ong อง 鹟/鶲 = ong1 = อง

鹏/鵬 = pong5 = พ้ง

孔 = kong2 = ค่ง

og อก 握 = og4 = อก

禄/祿 = log8 = ลก

福 = hog4 = หก

ung อุง 运/運 = ung7 = อุ่ง

文 = bhung5 = บุ๊ง

允 = rung2 = ยุ่ง

ug อุก 夗 = ug8 = อุ๊ก

吻 = bhug4= บุก

卒 = zug4 = จุก

 

สำหรับ êng กับ êg นั้นถ้าไม่ต้องใส่รูปวรรณยุกต์ให้ใส่ไม้ไต่คู่ แต่ถ้าต้องใส่รูปวรรณยุกต์ค่อยตัดไม้ไต่คู่ทิ้งไป

 

สระประสมสองเสียง+ตัวสะกด 

 

iam เอียม 盐/鹽 = iam5 = เอี๊ยม

点/點 = diam2 = เตี้ยม

染 = riam2 = เยี่ยม

iab เอียบ 叶/葉 = iab8 = เอี๊ยบ

协/協 = hiab8 = เฮี้ยบ

业/業= ngiab8 = เงี้ยบ

iang เอียง 映 = iang3 = เอี่ยง

良 = liang5 = เลี้ยง

仰 = ngiang2 = เงี่ยง

iag เอียก 跃/躍= iag4 = เอียก

却/卻 = kiag4 = เขียก

弱 = riag8 = เรี้ยก

iong ยง 永 = iong2 = ย่ง

恐 = kiong2 = คย่ง

雄 = hiong5 = ฮย้ง

iog ยก 育 = iog8 = ยก

畜 = tiog4 = ถยก

克 = iog4 = ขยก

uam อวม 泛 = huam3 = ห่วม
uab อวบ 法 = huab4 = หวบ
uang อวง 旺 = uang6 = อ๋วง

忘 = bhuang5 = บ๊วง

元 = nguang5 = ง้วง

uag อวก 获/獲 = uag8 = อ๊วก

扩/擴 = kuag4 = ขวก

浊/濁 = zuag8 = จ๊วก

 

ในบางสำเนียงเช่นสำเนียงเตี่ยเอี๊ยมีเสียง iêng, iêg, uêng, uêg ด้วย แต่ในสำเนียงมาตรฐานซัวเถายุบรวม iêng เป็น iang, iêg เป็น iag, uêng เป็น uang, uêg เป็น uag ทั้งหมด

 

iong และ iog นั้นจริงเป็นเสีย อี+ยง แต่เพื่อความง่ายให้เขียนเป็น "ยง" และ "ยก" เฉยๆ พอมีพยัญชนะต้นนำหน้าก็เขียนในรูปควบ ย เช่นเป็น "คยง" และ "คยก"

 

สระเดี่ยว+กักเส้นเสียง

 

เสียงกักเส้นเสียงคือเสียงที่ในเพ็งอิมลงท้ายด้วย h จะตรงกับสระเสียงสั้นไร้ตัวสะกดในภาษาไทย คือเป็นคำตาย เสียงจะหยุดที่ท้ายพยางค์

 

สำหรับสระเดี่ยวที่ลงท้ายด้วย h นี้ก็จะออกเสียงคล้ายกับสระเดี่ยวที่ไม่มี h ต่อท้าย แค่เปลี่ยนเป็นสระเสียงสั้นเท่านั้น 

 

ah อะ 鸭/鴨 = ah4 = อะ

甲 = gah4 = กะ

闸/閘 = zah8 = จ๊ะ

êh แอะ 扼 êh4 = แอะ

白 = bêh8 = แป๊ะ

册/冊 = cêh4 = แฉะ

ih อิ 浥 = ih4 = อิ

裂 = lih8 = ลิ

舌 = zih8 = จิ๊

oh เอาะ 呃 = oh4 = เอาะ

桌 = doh4 = เตาะ

绝/絶 = zoh8 = เจ๊าะ

 

สระประสมสองเสียง+กักเส้นเสียง

 

สำหรับสระประสมสองเสียงที่ลงท้ายด้วย h นั้นส่วนใหญ่จะแทนด้วยภาษาไทยยากเพราะที่มีในภาษาไทยมีแค่สระเอียะ (iah) และสระอัวะ (uah) เท่านั้น ส่วนที่เหลือนั้นยากที่จะเขียนในภาษาไทยให้ตรง ได้แต่เขียนให้ใกล้เคียงที่สุด

 

เสียงกลุ่มนี้มีดังนี้ 

 

aoh เอา (อะว์) 落 = laoh8 = เล้า (ละว์)

乐/樂 = ghaoh8 = เง้า ('งะว์)

oih โอย (โอะย์) 狭/狹 = oih8 = โอ๊ย (โอ๊ะย์)

八 = boih4 = โป่ย (โปะย์)

夹/夾 = goih8 = โก๊ย (โก๊ะย์)

iah เอียะ (อี^อะ) 溢 = iah4 = เอียะ (อี^อะ)

壁 = biah4 = เปียะ (ปี^อะ)

食 = ziah8 = เจี๊ยะ (จี^อ๊ะ)

ioh เอียะ (อี^เอาะ) 药/藥 = ioh8 = เอี๊ยะ (อี^เอ๊าะ)

挈 = kioh8 = เคียะ (คี^เอ๊าะ)

惜 = sioh4 = เสียะ (ซี^เอาะ)

uah อัวะ 活 = uah8 = อั๊วะ

割 = guah4 = กัวะ

杀/殺 = suah4 = สัวะ

uêh เอวะ 画/畫 = uêh8 = เวะ

月 = ghuêh8 = เงวะ (เ'งวะ)

刷 = suêh4 = เสวะ

 

สำหรับ aoh นั้นจริงๆคือสระเอาที่ลงท้ายด้วยการกักเส้นเสียง เนื่องจากไม่มีสระเอา ดังนั้นเวลาทับศัพท์ทั่วไปก็ทำได้แค่เขียนเป็น สระเอา ธรรมดา แต่เมื่อต้องการเขียนให้ต่างจาก ao อาจเขียนเป็น "อะว์"

 

สำหรับ oih ที่จริงคือ "โอย" ที่ลงท้ายด้วยการกักเส้นเสียง ภาษาไทยไม่มีเสียงแบบนี้จึงให้แทนด้วย "โอย" เฉยๆ แต่ถ้าต้องการแยกให้ต่างจาก oi อาจเขียนเป็น "โอะย์"

 

ioh จะหลายเป็น iêh ในบางสำเนียงเช่นเตี่ยอังและเถ่งไฮ่ เช่นเดียวกับที่ io กลายเป็น iê

 

uêh เป็น uê ที่มีการกักเส้นเสียง แต่เปลี่ยนมาเขียนโดยใช้สระเอะควบ ว เพราะไม่สามารถเขียนเสียง อวย ให้เป็นเสียงกักได้

 

ไร้สระ

 

คือเสียงที่เหมือนมีแต่ตัวสะกดลอยมาโดยไม่มีสระ แต่จะฟังดูคล้ายกับเป็นสระอือ จึงใช้สระอือแทน

 

m อึม 姆 = m2 = อึ้ม

唔 = m6 = อึ๋ม

ng อึง 黄/黃 = ng5 = อึ๊ง

园/園 = hng5 = ฮึ้ง

 

ตัวอย่าง

 

สุดท้ายนี้ขอยกตัวอย่างมาประกอบเพื่อความเข้าใจมากขึ้น

 

เริ่มจากการนับเลข

 

0 〇/零 lêng5 เล้ง
1 zêg8 / ig4 เจ๊ก / อิก
2 no6 / ri6 หนอ / หยี
3 san1 ซา (ซา*)
4 si3 สี่
5 ngou6 โหงว
6 lag8 ลัก
7 cig4 ฉิก
8 boih4 โป่ย (โปะย์)
9 gao2 เก้า
10 zab8 จั๊บ
100 bêh4 แปะ
1,000 coin1 โชย (โชย*)
10,000 万/萬 bhuang7 บ่วง
100,000,000 亿/億 êg8 เอ๊ก
1,000,000,000,000 diao6 เตี๋ยว

 

ชื่อสถานที่ในภูมิภาคแต้จิ๋วในมณฑลกวางตุ้ง หลายชื่อในนี้คนไทยคุ้นเคยเป็นอย่างดี แต่อาจจะเรียกแตกต่างกันผิดเพี้ยนไปบ้าง ในที่นี้จะเป็นการเขียนชื่อโดยใช้หลักที่ยกมาข้างต้น

 

อักษรจีน เพ็งอิม ทับศัพท์ จีนกลาง
รูปเดิม แปรเสียง
潮州 dio5 ziu1 dio7 ziu1 เตี่ยจิว (ตี^อ่อ) เฉาโจว
汕头/汕頭 suan1 tao5   ซัวเท้า (ซัว*) ซ่านโถว
揭阳/揭陽 gig4 ion5 gig8 ion5 กิ๊กเอี๊ย (อี^อ๊อ*) เจียหยาง
汕尾 suan1 bhuê5   ซัวบ้วย (ซัว*) ซ่านเหว่ย์
湘桥/湘橋 siang1 gio5   เซียงเกี๊ย (กี^อ๊อ) เซียงเฉียว
潮安 dio5 ang1 dio7 ang1 เตี่ยอัง (ตี^อ่อ) เฉาอาน
饶平/饒平 riao5 pêng5 riao7 pêng5 เหยี่ยวเพ้ง เหราผิง
金平 gim1 pêng5   กิมเพ้ง จินผิง
龙湖/龍湖 lêng5 ou5 lêng7 ou5 เหล่งโอ๊ว หลงหู
濠江 hao5 gang1 hao7 gang1 เห่ากัง เหาเจียง
澄海 têng5 hai2 têng7 hai2 เถ่งไฮ่ เฉิงไห่
潮阳/潮陽 dio5 ion5 dio7 ion5 เตี่ยเอี๊ย (ตี^อ่อ อี^อ๊อ*) เฉาหยาง
潮南 dio5 nam5 dio7 nam5 เตี่ยนั้ม (ตี^อ่อ) เฉาหนาน
南澳 nam5 o3 nam7 o3 หนั่มอ่อ หนานเอ้า
榕成 iong5 sian5 iong7 sian5 หย่งเซี้ย (ซี^อ๊า*) หรงเฉิง
揭东/揭東 gig4 dang1 gig8 dang1 กิ๊กตัง เจียตง
揭西 gig4 sai1 gig8 sai1 กิ๊กไซ เจียซี
普宁/普寧 pou2 lêng5 pou6 lêng5 โผวเล้ง ผู่หนิง
惠来/惠來 hui6 lai5 hui7 lai5 หุ่ยไล้ ฮุ่ยไหล
陆丰/陸豐 lok8 hong1 lok4 hong1 หลกฮง ลู่เฟิง
海丰/海豐 hai2 hong1 hai6 hong1 ไหฮง ไห่เฟิง

 

ตัวอย่างคำภาษาแต้จิ๋วที่กลายเป็นคำไทย

 

อักษรจีน เพ็งอิม ทับศัพท์ คำไทย
รูปเดิม แปรเสียง
把戏/把戲 ba2 hi3 ba6 hi3 ป๋าหี่ ปาหี่
畚箕 bung3 gi1 bung5 gi1 ปุ๊งกี ปุ้งกี๋
肉面/肉麵 bhah4 min7 bhah8 min7 บ๊ะหมี่ (หมี่*) บะหมี่
肉粽 bhah4 zang3 bhah8 zang3 บ๊ะจั่ง บ๊ะจ่าง
草粿 cao5 guê2 cao7 guê2 เฉาก้วย เฉาก๊วย
谶诗/讖詩 ciam1 si1   เชียมซี เซียมซี
豆腐 dao7 hu7   เต่าหู่ เต้าหู้
豆花 dao7 huê1   เต่าฮวย เต้าฮวย
豆酱 dao7 zion3   เต่าเจี่ย (จี^อ่อ*) เต้าเจี้ยว
交椅 gao1 in2   เกาอี้ เก้าอี้
菊花 gêg4 huê1 gêg8 huê1 เก๊กฮวย เก๊กฮวย
咸菜/鹹菜 giam5 cai3 giam7 cai3 เกี่ยมไฉ่ เกี้ยมไฉ่
膏药/膏藥 go1 ioh8   กอเอี๊ยะ (อี^เอ๊าะ) กอเอี๊ยะ
韭菜 gu2 cai3 gu6 cai3 กู๋ไฉ่ กุยช่าย
粿条/粿條 guê2 diao5 guê6 diao5 ก๋วยเตี๊ยว ก๋วยเตี๋ยว
粿汁 guê2 zab4 guê6 zab4 ก๋วยจับ ก๋วยจั๊บ
风水/風水 huang1 zui2   ฮวงจุ้ย ฮวงจุ้ย
字号/字號 ri7 ho7   หยี่ห่อ ยี่ห้อ
三辇/三輦 san1 ling2   ซาลิ่ง (ซา*) ซาเล้ง
豉油 si7 iu5   สี่อิ๊ว ซีอิ๋ว
先生 sing1 sên1   ซิงแซ (แซ*) ซินแส
头家/頭家 tao5 gê1 tao3 gê1 เถ่าแก เถ้าแก่
杂菜/雜菜 zab8 cai3 zab4 cai3 จับไฉ่ จับฉ่าย
杂工/雜工 zab8 gang1 zab4 gang1 จับกัง จับกัง
座山 zo7 suan1   จ่อซัว (ซัว*) เจ้าสัว

 

สุดท้ายขอยกบทกวี เซียงซือ (相思) โดยหวางเหวย์ (王維) กวีสมัยราชวงศ์ถัง

 

红豆生南国

春来发几枝

愿君多采撷

此物最相思

紅豆生南國

春來發幾枝

願君多採擷

此物最相思

ang5 dao7 sên1 nam5 gog4

cung1 lai5 huag4 gui2 gi1

nguang6 gung1 do1 cai2 kiag4

ce2 muêh8 zuê3 sio1 si1

เปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์

ang7 dao7 sên1 nam7 gog4

cung1 lai5 huag8 gui6 gi1

nguang7 gung1 do1 cai6 kiag4

ce6 muêh8 zuê5 sio1 si1

อั่ง เต่า แซ หนั่ม กก

ชุง ไล้ ฮ้วก กุ๋ย กี

หง่วง กุง ตอ ไฉ เขียก

ฉือ เมวะ จ๊วย เซีย ซี

อ้างอิง
https://zh.wikipedia.org/wiki/潮州话
https://zh.wikipedia.org/wiki潮州話拼音方案
หนังสือ ลูกหลานคนแต้จิ๋ว โดยเหล่าตั๊ง
พจนานุกรม 潮州音字典 โดย 林伦伦
https://phyblas.hinaboshi.com/20190404

 

One thought on “เพ็งอิมและการออกเสียงแต้จิ๋ว 潮语拼音

  1. ขอบคุณมากๆครับ ผมอยากฝึกภาษาแต้จิ๋ว (เตี่ยจิวสินะ -v-) แต่ที่บ้านไม่มีใครสอนให้เลย เลยอยากหาฝึกด้วยตัวเองดู

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

error: Content is protected !!