高 gāo สูง

           อักษรคำว่า 高 สำเนียงจีนกลางออกเสียงว่า gāo เกา  แปลว่าสูง ในอักษรกระดองเต่า-กระดูกสัตว์  ปรากฏเป็นรูป  30-11-2559-17-31-39ซึ่งก็คืออาคารที่มีหลังคาทรงแหลม ต่อมา อักษรสมัยจินเหวินก็ได้ปรับจาการวาดภาพอาคารสูงมาเป็นตัวอักษรเชิงสัญลักษณ์มากขึ้น แต่ทว่าก็ยังรักษาเอกลักษณ์ของการเป็นอักษรภาพอยู่ คือ 9ad81 สังเกตุได้ว่าจะมีการเพิ่มอักษร 口 เข้าไปตรงกลาง

           คำว่า 高 ใช้แสดงความหมายว่า "สูง" ในสมัยโบราณคนจีนยุคโบราณจะสร้างสถาปัตยกรรมที่มีความสูงลักษณนี้เพื่อใช้บูชาฟ้า ยุคอารยธรรมซางและโจว พิธีบูชาชาฟ้าจะจัดขึ้นกลางแจ้งนอกเมือง โดยจะก่อดินให้สูงขึ้นหรือก่อสร้างให้เป็นอาคารสูง จากนั้นก็นำเอาฟืนวางกองไว้ด้านบน  ครั้นได้ฤกษ์ก็จะนำเอาวัวและควายที่จะทำพิธีบูชายันต์วางไว้ด้านบนและจุดไฟ

           ในสมัยโบราณเชื่อกันว่า ควันไฟจากการเผาไหมนี้จะเป็นตัวกลางสำหรับสื่อสารกับเทพเจ้าบนท้องฟ้า

           การสร้างอาคารสูงนี้ถูกพัฒนามาใช้ในการก่อสร้างปราสาทและพระราชวังต่างๆ นักโบราณคดีพบว่าการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างให้มีทรงสูงนี้เป็นแฟชั่นในยุคนั้น สิ่งก่อสร้างทรงสูงลักษณะแบ่งเป็น 2 ส่วนด้วยกัน 1.คือเนินดินที่ถูกก่อให้สูงไว้ด้านล่าง 2.คือส่วนที่เป็นตัวอาคารทำด้วยไม้หรือวัสดุอื่นๆ

248175

           อักษร 30-11-2559-17-31-39 ที่เราเห็นนั้น ด้านล่างก็คือเนินดิน ด้านบนก็คือตัวอาคารที่ก่อสร้างด้วยไม้  สำหรับการก่อเนินดินนั้น พบว่าในสมัยซางเริ่มเกิดสังคมแบบทาส ชนชั้นปกครองจึงเกณฑ์ไพร่พลมาช่วยกันอัดดิน โดยเริ่มจากการนำไม้ฝามาตีเป็นบล็อก ๆแล้วก็เทดินลงไป ใช้ไม้อัดให้แน่น เรียกว่า 夯土  กำแพงเมืองจีนเฟสแรก ก็ใช้วิธีนี้ด้วยเช่นกัน  เมิ่งเจียงหนวี ที่ร้องไห้จนกำแพงทลาย สุดท้ายถึงได้รู้ว่าสามีของตัวเองตายแล้วก็โดนอัดอยู่ใต้กำแพงดิน (โถ่ ชีวิต)

เล่าจื้อกล่าวว่า  “九层之台,起于累土”  อาคารสูง 9 ชั้น เริ่มด้วย(อัด)กองดิน     สมัยซางมีสิ่งก่อสร้างโดยกษัตริย์ เรียกว่า 鹿台 โดยในบันทึก 《太平寰宇记》 สมัยซ่งเหนือระบุไว้ว่า 其大三里,高千尺  ยาว 3 ลี้ สูงพันเชี๊ยะ ( 1 เชี๊ยะ = 33.33 ซม.) ข้างบนก็ก่อสร้างเป็นปราสาทราชวังที่มีห้องหับเป็นร้อยๆห้อง อลังเว่อร์

高 (髙)ในปัจจุบันก็แปลว่าสูง อะไรที่สูงๆเราก็ใช้ 高 หมด ทั้งนามธรรมและรูปธรรม ทั้งยังใช้ประกอบเป็นคำศัพท์ว่า 高兴  ดีใจ

ปล. มีนักวิชาการสันนิษฐานว่า เกาเหลา ที่เรากินๆกันอยู่นี่มาจากคำว่า 高楼 แปลว่าตึกสูง เพราะถูกเสิร์ฟในเหลาหรือภัตตาคารเท่านั้น เป็นอาหารที่คนมีคลาสเท่านั้นที่จะได้ลิ้มชิมรสชาติอันโอชะเชลชวนชิม (โว๊ะ 修辞 เว่อร์ได้อีก)  ชาวบ้านตาสีตาสาก็กินอย่างอื่นไป ภายหลังแพร่หลายมากขึ้น ทุกคนเลยได้กิน  ว่าแล้วก็ขอตัวไปกินเกาเหล่าก่อนละกัน บาย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

error: Content is protected !!